You are on page 1of 6

บทที่ 1

บทนํา

1. ความเปนมาและความสําคัญของปญหา
หลัก สูตรการศึกษาขั้ นพื้ นฐาน พุ ทธศักราช 2544 กลุมสาระการเรียนรู ชวงชั้น ที่ 3 เพื่อให
เยาวชนมี ค วามรู พื้ น ฐานทางด า นศิ ล ปะสามารถนํ า ไปพั ฒ นาบุ ค ลิ ก ภาพ พั ฒ นาจิ ต ใจของตน
ใหสามารถอยูในสังคมไดอยางมีความสุข สาระการเรียนรูศิลปะรหัสวิชา ศ 31101 เรื่องดนตรี
เปนสวนหนึ่งของความรูพื้นฐานทางดานดนตรี ที่หลักสูตรมุงเนนใหเยาวชนมีความรูพื้นฐาน
เกี่ยวกับดนตรีและหลักการทางทฤษฎีดนตรี เพื่อใหเยาวชนนําความรูและหลักการทางดนตรีมาใช
กับกลุมสาระอื่นๆ สามารถนําไปประยุกตใชในชีวิตประจําวันได
จากผลการวิจัยของ อรวรรณ ชมวัฒนา (2533) พบวาปญหาในการเรียนการสอนวิชาดนตรีสากล
คือ ขาดครูผูสอนที่มีความรูในเรื่องโนตสากล ครูมีจํานวนไมเพียงพอและขาดแคลนอุปกรณในการ
เรียนการสอน
พึงจิตร สวามิภักดิ์ (2525) กลาวไววาในการเรียนการสอนวิชาดนตรี เปรียบเหมือนวิชาสามัญ
ครูจะตองสอนวิธีพูด วิธีเขียนและวิธีอาน การสอนดนตรีก็เชนเดียวกัน คือ
1. การสอนวิธีเขียน จัดอยูในภาคทฤษฎี ไดแก วิชาทฤษฎีโนตดนตรี วิชาหลักประสานเสียง
วิชาการประพันธเพลง
2. การสอนวิธีอาน คือ อานชื่อโนตถูก อานออกเสียง อานถูกจังหวะ เชน อานโนตไดถูกเสียง
เติมเครื่องหมายกําหนดจังหวะและอัตราตัวโนต
3. การสอนวิธีพูด จัดอยูในภาคปฏิบัติ คือ การแสดงออกทางจังหวะ ไดแก การบรรเลง และ
การขับรอง
ดนตรีเปนสิ่งที่ทําใหจิตใจเบิกบานราเริงแจมใส ที่ใดมีเสียงดนตรีที่นั่นเต็มไปดวยไมตรี
จิตมิตรภาพ ปราศจากความวุนวาย มนุษยเรามีความเฉลี ยวฉลาดสามารถประดิษฐเ สียงตางๆ
อันไดแก เสียงสูง เสียงกลาง เสียงต่ํา ที่ไดจากธรรมชาติทั้งหลายใหเปนเสียงดนตรี โดยนํามาเรียบ
เรียงเสียงดวยความประณีตบรรจงเกิดเสียงไพเราะมีอิทธิพลตออารมณของมนุษยเราเปนอยางมาก
2

มนุษยกับเสียงดนตรีเปนของคูกันโลกมีความเจริญกาวหนาในดานเทคโนโลยีเพียงใด ดนตรีก็เปน
สิ่งที่มนุษยตองการมากเพียงนั้น (วิรัช ซุยสูงเนิน, 2520)
ดนตรีมีประโยชนตอชีวิตประจําวัน เมื่อมีความรูสึกเครงเครียดดนตรีจะชวยผอนคลาย
อารมณ ชโลมใจให เ ย็ น ลง และเป น เพื่ อ นยามเหงา กระตุ น ให รู สึ ก คึ ก คัก กล า หาญ ในยามที่
หวาดกลัวภัย เมื่อไดฟงดนตรีจะรูซาบซึ้ง กระหยิ่ม อิ่มอก อิ่มใจ ดนตรีเปนอาหารทางใจใหชีวิต
มีความสดชื่นภิรมยยิ่งขึ้น (สมศักดิ์ สรอยระยา, 2539) นอกจากนี้ดนตรียังเปนมรดกทางวัฒนธรรม
ของสังคม ที่มีอยูทั่วโลก ทุกชาติ ทุกภาษา ดนตรีจึงเขาไปมามีบทบาทอันสําคัญตอสังคมมนุษย
และจะแทรกอยู ทุก แห ง หน ซึ่ ง เปน ป จ จัย หนึ่ งที่รับ ใชสัง คมพรอมๆ กับปจ จั ย อื่น ๆ ตั้ ง แตสมั ย
โบราณใช ด นตรี ใ นการแสดงออกทางอารมณ ข องมนุ ษ ย เช น ความสํ า เร็ จ ในการล า สั ต ว
การแสดงออกถึงความรักความออนโยนตอผูที่เขารัก นอกจากนั้นดนตรียังรับใชสังคมมนุษยใน
ลักษณะของสัญญาณตางๆ เชน ดานการทหาร จะมีสัญญาณในการรวมพล สัญญาณรบ การเขาสู
สมรภูมิก็ตองอาศัยดนตรีเปนเครื่องปลุกใจ ใหทหารเกิดความคึกคัก ฮึกเหิม ใชเพลงเปนเครื่องปลุกใจ
ใหประชาชนรักบานเกิดเมืองนอนของตน ในพิธีกรรมความเชื่อและศาสนาพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
เช น ความเชื่ อ จากเทพนิ ย ายกรี ก เชื่ อ ว า ดนตรี ส ามารถรั ก ษาความเจ็ บ ป ว ยทั้ ง ทางกาย และ
ทั้งทางจิตใจใหหายไดมอยางธรรมชาติ (สุกรี เจริญสุข, 2530)
ดนตรี เ ป น ศาสตร แ ละศิ ล ป ที่ มี ค วามสํ า คั ญ ต อ มนุ ษ ยชาติ ม าตั้ ง แต แ รกเกิ ด คนทั่ ว ไป
มองเห็ น คุ ณ ค า และความสํ า คั ญ ของดนตรี แม แ ต เ ด็ ก ทารกเองยั ง ตอบสนองต อ เสี ย งดนตรี
(ดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา, 2520)
ในทางสั ง คมไทยดนตรี มีบทบาทสําคัญต อ ชีวิตของคนไทย ตั้ ง แตสมัยโบราณ จนถึ ง
ปจจุบันถาพิจารณาวันสําคัญตางๆ ของไทย จะพบวางานเหลานั้นมักจะมีดนตรีเขาไปเกี่ยวของ
ทั้งสิ้น เชน งานวันเกิด งานบวช งานแตงงาน งานศพ ฯลฯ จนสามารถกลาวไดวาที่ไหนมีงาน
ตองมีดนตรี ดนตรีมีบทบาท ทําใหงานครึกครื้น ดนตรีมีบทบาทตอชีวิตมนุษย และมีประโยชน ตอ
การดํารงชีวิตของมนุษยเรา (วัชรินทร สายสาระ, 2530 )
ในการสอนดนตรีนั้นมิไดมุงหวังใหเด็กทุกคนจะตองเลนเกง แตถาทราบถึงความสําคัญ
คุณประโยชน และชวยกันมุงสงเสริมแลว ดนตรีก็เปนศาสตรและศิลปที่ชวยสรางเด็กในวันนี้
ซึ่งจะเปนผูใหญในวันหนาใหเปนคนสุขุมเยือกเย็น ชางสังเกต พิจารณาไตรตรอง ดนตรีสามารถ
3

กล อ มเกลาอารมณ และความคิ ด ของเด็ ก ในวั ย เด็ ก ผู ป กครอง และคณะครู อ าจารย ค วรเห็ น
ความสนใจของเด็กใหเขาหาศิลปะดนตรีมากกวาจะปลอยใหเขาคิดคนสิ่งใหมที่อาจจะเปนอันตราย
ตออนาคต (โกวิทย ขันธศิริ, 2520 )
การเรีย นดนตรี ไ ม ว า แขนงใดผู เ รีย นต อ งมี ส มาธิ ความตั้ ง ใจ ความอดทน จึ ง จะเรี ย น
ไดสําเร็จ ในขณะที่เราจับเครื่องดนตรี สมาธิจะเกิดโดยธรรมชาติทําใหจิตวางจากการคิดฟุงซาน
สมาธิที่เกิดขึ้นชวยสรางนิสัยสุขุมและสรางความสงบใหจิตใจไดดี ขณะเดียวกันก็ไดรับอิทธิพล
จากเพลงที่ ฝ ก ซ อ ม ทํ า ให เ ป น คนที่ มี ค วามรู สึ ก ที่ ล ะเอี ย ดอ อ น สามารถสั ม ผั ส ลี ล าเพลงได
ความกาวราว แล ความแข็งกระดาง จะถูกขจัดออกไปอยางมาก (ธีร สุมิตร และพรอนงค นิยมคา, 2528)
สื่อการสอนดนตรีเปนสิ่งที่ชวยใหการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ จึงเปนความจําเปน
ของผูสอนที่ควรศึกษาคนควาวามีสื่ออะไรบางที่นํามาใชในการสอนดนตรีได และควรนํามาใช
ใหเกิดประโยชนมากที่สุด สื่อการสอนดนตรีที่ใชกันอยูเสมอไดแก บทเพลง แผนภูมิและแผนภาพ
เครื่องดนตรี สื่อประเภทเสียง สิ่งพิมพ และสื่อประเภทอื่นๆ เชน แถบภาพ สไลด คอมพิวเตอร
ชวยสอนเปนตน การเลือกสรรหรือจัดหาและประดิษฐสื่อดนตรี ควรคํานึงถึงความเหมาะสมกับ
บทเรียนและผูเรียนในแตละระดับการศึกษาเปนสําคัญ (ณรุทธ สุทธจิตต, 2528)
สื่อการสอนนับวาเปนสิ่งที่มีบทบาทอยางมากในการเรียนการสอน นับแตในอดีตจนถึง
ป จ จุ บั น เนื่ อ งจากเป น ตั ว กลางที่ จ ะช ว ยให ก ารสื่ อ สารระหว า งผู ส อนและผู เ รี ย นดํ า เนิ น ไป
อยางมีประสิทธิภาพทําใหผูเรียนมีความหมายของเนื้อหาบทเรียนไดโดยตรงกับผูสอนตองการไม
วาสื่ อนั้ น จะเป น สื่ อ ในรู ป แบบใดก็ต าม ล ว นแตเ ป น ทรั พ ยากรที่ สามารถอํ า นวยความสะดวก
ในการเรียนรูไดทั้งสิ้น ในการใชสื่อการสอนนั้นผูสอนจําเปนจะตองศึกษาถึงลักษณเฉพาะกาล และ
คุ ณ สมบั ติ ข องสื่ อ แต ล ะชนิ ด เพื่ อ เลื อ กสื่ อ ให ต รงกั บ วั ต ถุ ป ระสงค ข องการสอน และการจั ด
ประสบการณเรียนรูใหแกผูเรียน โดยตองมีการวางแผนอยางเปนระบบในการใชสื่อดวยทัง้ นีเ้ พือ่ ให
กระบวนการเรียนการสอนดําเนินไปอยางมีประสิทธิภาพ (กิดานันท มลิทอง, 2536 )
การจัดการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญหมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่ผูเรียนไดจากการจัดมวลประสบการณที่หลากหลาย คํานึงถึงประโยชนจะเกิดกับผูเรียนและ
ตอบสนองการเรียนรูของผูเรียนตามความแตกตางระวางบุคคล โดยผูเรียนมีโอกาสเลือกกิจกรรม
และได ลงมื อ ปฏิ บัติจ ริ ง สรุ ป เป น ความรู ใ หม และเกิ ด ความภูมิใ จต อผลสํา เร็จ ของตน ครูเ ป น
4

ผูอํานวยความสะดวก จัดสถานการณ แหลงความรู และสื่อที่เหมาะสมเอื้ออํานวยตอการพัฒนาการ


เรียนรูของผูเรียน (หนวยศึกษานิเทศก สํานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา, 2541: 153)
พิมพันธ เดชะคุปต (2542: 70) กลาววา การเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ หมายถึง
แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ใหผูเรียนใชกระบวนการสรางความรูดวยตนเอง เปนการเรียน
การสอนใหผูเรียนมีสวนรวมในการเรียน มีสวนรวมในการทํากิจกรรมอยางกระฉับกระเฉง เกิดการ
เรียนรูอยางมีความหมาย เปนวิธีการที่ใหอํานาจแกผูเรียน ซึ่งจะนําไปสูการเรียนรูตลอดชีวิต
ทิศนา แขมณี (2542: 4) กลาววาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ
นั้นมาจากแนวคิดทางการศึกษาของจอหน ดิวอี้ ซึ่งเปนตนคิดในเรื่อง “การเรียนรูโดยการกระทํา”
หรือ “Learning by Doing” (Dewey. 1963) อันเปนแนวคิดที่แพรหลายและไดรับการยอมรับ
ทั่วโลกมานานแลว การจัดการเรียนการสอนโดยใหผูเรียนลงมือปฏิบัติจัดกระทํานี้ นับวาเปนการ
เปลี่ ย นบทบาทในการเรี ย นรู ข องผู เ รี ย นจากการเป น ผู รั บ มาเป น ผู เ รี ย น และเปลี่ ย นบทบาท
จากครู ผู ส อน หรื อ ผู ถ า ยทอดข อ มู ล ความรู มาเป น ผู จั ด ประสบการณ เ รี ย นรู ให ผู เ รี ย น ซึ่ ง
การเปลี่ ย นแปลงบทบาทนี้ เ ท า กั บ เป น การเปลี่ ย นจุด เน น ของการเรี ย นรู วา อยูที่ ผูเ รี ย นมากกว า
อยูที่ผูสอน ดังนั้นผูเรียนจึงกลายเปนศูนยกลางการเรียนการสอน เพราะบทบาทในการเรียนรูสวน
ใหญจะอยูที่ผูเรียนเปนสําคัญ
การจัดการเรียนการสอนที่เนนผูเรียนเปนสําคัญใหสําเร็จไดนั้น ผูสอนตองปรับเปลี่ยน
ทัศนะของตนเองเกี่ยวกับผูเรียนจากที่เคยมองวาผูเรียนเปน “ผูรับ” มาเปน “ผูเรียนรู” เปลี่ยนทัศนะ
จาก “ผูสอนหรือผูถายทอดความรู” มาเปน “ผูจัดประสบการณการเรียนรู” และตระหนักวาบทบาท
และความรับผิดชอบในการเรียนรูเปนของผูเรียน ดังนั้นผูเรียนจึงเปนศูนยกลางของการเรียนการสอน
(สุลัดดา ลอยฟา, 2545)
กระบวนการกลุม เปนกระบวนการในการทํางานรวมกันของบุคคล ตั้งแต 2 คนขึ้นไป
โดย มีวัตถุประสงครวมกัน และมีการดําเนินงานรวมกัน โดยผูนํากลุมและสมาชิกกลุม ตางก็ทํา
หนาที่ของตนอยางเหมาะสม และมีกระบวนการทํางานที่ดี เพื่อนํากลุมไปสูวัตถุประสงคที่กําหนดไว
การเปดโอกาสใหผูเรียนไดเรียนรูกระบวนการทํางานกลุมที่ดี จะชวยใหผูเรียนเกิดทักษะทางสังคม
และขยายขอบเขตของการเรียนรูใหกวางขวางขึ้น
5

การจัดการเรียนการสอนโดยเนนกระบวนการกลุม คือ การดําเนินการเรียนการสอน โดย


ที่ผูสอนใหผูเรียนทํางาน/กิจกรรมรวมกันเปนกลุม พรอมทั้งสอน/ฝก/แนะนํา ใหผูเรียนเกิดการ
เรียนรูเกี่ยวกับ กระบวนการทํางานกลุมที่ดีควบคูไปกับ การชวยใหผูเรียนเกิดการเรียนรูเนื้อหา
สาระตามวัตถุประสงค
การเรียนการสอนในวิชาดนตรีสากล มีความจําเปนอยางมากที่ผูเรียนจะตองศึกษา การ
จดจําเครื่องหมาย สัญลักษณ ตางๆ ทางดนตรีสากล ผูเรียนจะตองมีความเขาใจจึงจะสามารถนํา
หลักการ ทฤษฏี นําไปใชในการบรรเลง และการปฏิบัติเครื่องดนตรีสากลไดอยางถูกตอง
สภาพปญหาของโรงเรียน ปญหาที่พบ เชน การจดจํา ความรูความเขาใจ และการปฏิบัติ
เครื่องดนตรีของผูเรียนนั้น ผูเรียนยังขาดความรูความเขาใจ ในทฤษฎีดนตรี การฝกปฏิบัติเครื่อง
ดนตรี เนื่องจากยังขาดแคลน สื่อวัสดุอุปกรณ สื่อตางๆ ที่ทันสมัย เครื่องดนตรีที่มีไมเพียงพอตอ
จํานวนผูเรียน ทําใหผูเรียนขาดความกระตือรือรน ความสนใจ และทัศนะคติที่ดีของผูเรียนที่มีตอ
วิชาดนตรี จํานวนเวลาที่ใชในการเรียนการสอนในวิชาดนตรี เนื่องจากมีเวลาเรียนนอยเพียงสัปดาห
ละ 1 ชั่วโมง เครื่องดนตรีที่ขาดแคลนเปนปญหาสําคัญ ที่มีผลตอความสนใจของผูเรียน เนื่องจาก
เปนสื่ออุปกรณที่ทําใหผูเรียนไดเรียนรูไดศึกษาและฝกปฏิบัติเครื่องดนตรีจริง จนทําใหผูเรียนเกิด
ความรูความชํานาญในการฝกฝน
จากเหตุผลดังกลาวจึงทําใหผูศึกษาตองการที่จะศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู โดยใช
รูปแบบการสอนกระบวนการกลุ ม สามารถทํา ใหผูเรียนเรีย นรูรวมกันเกิดความรู ความเขา ใจ
การจดจํา และฝกฝนการปฏิบัติเครื่องดนตรีไดเปนอยางดี จนเกิดความรูซึ่งจะเปนพื้นฐานในการ
ที่ผูเรียนจะสามารถนําไปใชไปใชในการขับรอง การบรรเลง และการปฏิบัติเครื่องดนตรีไดอยาง
ถูกตอง จนนําสูไปความชํานาญในการปฏิบัติเครื่องดนตรีของผูเรียนอยางมีประสิทธิภาพ

2. วัตถุประสงคของการวิจัย
เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู กลุมสาระการเรียนรูศิลปะสาระดนตรีสากล ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 โดยใชวิธีการสอนที่เนนกระบวนการกลุม และมีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนรอยละ 70 ขึ้นไป
6

3. ขอบเขตของการวิจัย
3.1 ประชากร หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 โรงเรียนแจงตราคลองไทร อําเภอ
ภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ ที่กําลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2552
3.2 ตัวแปรที่ศึกษา ไดแก
3.2.1 ตัวแปรตน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรูโดยใชวิธีการสอนที่เนนกระบวน การกลุม
เรื่องดนตรีสากล
3.2.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูของนักเรียน โดยใชวิธีกระบวนการกลุม
3.3 เนื้ อ หาที่ ใ ช ใ นการศึ ก ษาอิ ส ระครั้ ง นี้ ใช เ นื้ อ หาตามหลั ก สู ต รการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน
พ.ศ. 2544 กลุมสาระศิลปะ สาระดนตรี ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1

4. นิยามศัพทเฉพาะ
4.1 นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 โรงเรียนแจงตราดคลองไทร อําเภอภักดีชุมพล
จังหวัดชัยภูมิ ที่กําลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2552
4.2 กระบวนการกลุ ม หมายถึ ง การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู ที่ ใ ช เ นื้ อ หาในกลุ ม สาระ
การเรี ย นรู ศิ ล ปะ สาระดนตรี โดยจั ด การเรี ย นการสอนที่ มุ ง เน น ให ผู เ รี ย นได มี โ อกาสทํ า งาน
เปนกลุมรวมกัน เปดโอกาสใหสมาชิกภายในกลุมมีสวนรวมในกิจกรรม ทํางานเปนทีม รวมแสดง
ความคิดเห็น ชวยเหลือซึ่งกันและกันกับสมาชิกภายในกลุม
4.3 ผลการจั ด กิจกรรมการเรียนรู หมายถึง ระดับผลคะแนนในการเรียนรู ของนั กเรี ย น
ในกลุมสาระการเรียนรูศิลปะ สาระดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 ซึ่งไดจากคะแนน
การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผูวิจัยสรางขึ้น โดยใหมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รอยละ 70 ขึ้นไป
4.4 เกณฑการผาน หมายถึง ผลของคะแนนนักเรียนที่ทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนกลุมสาระศิลปะ สาระวิชาดนตรีสากล ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 มีจํานวนนักเรียนไมนอยกวา
รอยละ 70 ที่ผานเกณฑรอยละ 70 ของคะแนนเต็ม

5. ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ
5.1 เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู กลุมสาระการเรียนรูศิลปะ สาระดนตรี สําหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1
5.2 เพื่อเปนแนวทางในการจัดการเรียนรู โดยใชกระบวนการกลุม ในสาระการเรียนรูศิลปะ
สาระดนตรี

You might also like