You are on page 1of 110

การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม: กรณีศกึ ษาตําบลทุ่งโฮ้ง

อําเภอเมือง จังหวัดแพร่

ปริญญานิพนธ์
ของ
ภาวินี อินทวิวฒ
ั น์

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพือ่ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา


ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตทิต สาขาวิชาศิลปศึกษา
มิถุนายน 2555
การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม: กรณีศกึ ษาตําบลทุ่งโฮ้ง
อําเภอเมือง จังหวัดแพร่

ปริญญานิพนธ์
ของ
ภาวินี อินทวิวฒ
ั น์

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษา


ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตทิต สาขาวิชาศิลปศึกษา
มิถุนายน 2555
ลิขสิทธิ ์เป็ นของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม: กรณีศกึ ษาตําบลทุ่งโฮ้ง
อําเภอเมือง จังหวัดแพร่

บทคัดย่อ
ของ
ภาวินี อินทวิวฒ
ั น์

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพือ่ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา


ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตทิต สาขาวิชาศิลปศึกษา
มิถุนายน 2555
ภาวินี อินทวิวฒ ั น์. (2555). การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม: กรณีศกึ ษาตําบลทุ่งโฮ้ง
อําเภอเมือง จังหวัดแพร่. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (ศิลปศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะกรรมการควบคุม: รองศาสตราจารย์พฤทธิ ์ ศุภเศรษฐศิ,ร ิ
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสกิ ะปาน.

การวิจยั ครัง้ นี้ มี จุดมุง่ หมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชน สภาพปญั หา และ


อุปสรรคเกีย่ วกับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุง่ โฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัด
แพร่ และ 2) เพือ่ นําเสนอแนวทางเกีย่ วกับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุง่
โฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนหมูท่ ่ี 6 ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
จํานวน 307 คน เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั คือ 1) แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีคา่ ความ
เชือ่ มัน่ 0.81 และ 2) แนวทางการสนทนากลุม่ วิเคราะห์ขอ้ มูล เชิงปริมาณ โดยใช้สถิ ติ ค่าเฉลีย่ ค่า
เบีย่ งเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Independent และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง
เดียว (one - way ANOVA) วิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(content analysis)
ผลการวิจยั พบว่า
1. การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับ
ปานกลาง โดยชุมชนมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้มากทีส่ ดุ รองลงมา คือ การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่
และการมีสว่ นร่วมในการวางแผนตามลําดับ
2. การมีสว่ นร่วมในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําทุบล่งโฮ้ง ทัง้ ภาพรวมและรายด้านไม่ แตก ต่างกันตาม
เพศ อายุ อาชีพ และระยะเวลาในการอาศัยอยูใ่ นพือย่น้ าทีงมี ่ นยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ0.05
3. ปญั หาและอุปสรรคในการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบล ทุ่งโฮ้ง
โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก โดยเรียงตามลําดับจากมากไ ปน้อย ได้แก่ ด้านการมีสว่ นร่วมในการ
วางแผน รองลงมาได้แก่ ด้านการมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ และด้านการมีสว่ นร่วมในการรักษาและธํารง
ไว้ ตามลําดับ
4. แนวทางทีเ่ หมาะสมในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วในการอนุม รกั ษ์ผ า้ หม้อห้อม ได้แก่
1) ควรสร้างความตระหนักและปลูกฝงั ค่านิยมในเรือ่ งของการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมให้กบั ชุมชนเพือ่ ก่อให้เกิด
แรงบันดาลใจในการรักษาอัตลักษณ์ของชุมชน 2) จัดอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารเพื่อให้ความรูแ้ ละทักษะเกีย่ วกับ
การมีสว่ นร่วมในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมให้กบั ชุมชนโดยผูเ้ ชีย่ วชาญ3) ควรจัดสรรงบประมาณสําหรับการ
ดําเนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผ้าหม้อห้อมให้เป็นทีร่ จู้ กั ระดับชาติและระดับสากล
COMMUNITY PARTICIPATION IN CONSERVATION OF MORHOM CLOTH:
ACASE STUDY OF TAMBON TUNGHONG, CITY DISTRICT, PHRAE PROVINCE

AN ABSTRACT
BY
PAWINEE INTAWIWAT

Presented in Partial Fulfillment of the Requirements for the


Master of Education Degree in Art Education
at Srinakharinwirot University
June 2012
Pawinee Intawiwat. (2012). Community Participation in Conservation of Morhom Cloth: A Case
Study Tambon Tunghong, City District, Phrae Province. Master thesis, M.Ed.
(Art Education). Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Advisor committee: Assoc. Prof. Prit Supasetsiri, Assist. Prof. Dr. Ravitep Musikapan.

The purposes of this research are: 1) To study the levels of community participation,
the problems and the obstacles of community participation in conservation of Morhom cloth in
Tambon Tunghong, City District, Phrae Province and 2) To propose the guidelines of community
participation in conservation of Morhom cloth in Tambon Tunghong, City District, Phrae Province.
The samples were 307 people of the population in Moo 6, Tambon Tunghong, City District,
Phrae Province. The research was conducted using two research instruments: 1) The Five-
point Likert scale questionnaires with the reliability rate of 0.81 and 2) the Focus Group Method
which analyzes the quantitative data using Mean, Standard Deviation, t-test for Independent
and One - way ANOVA , and analyzes the qualitative data using the content analysis.
The research finding revealed that:
1. The community participation in conservation of Morhom cloth in Tambon Tunghong
in overall was at the average level with the highest rate of the participation in preservation
aspect, followed by the participation in dissemination aspect and the participation in planning
aspect, respectively
2. No significant differences at the 0.05 level were found in the participation in
conservation of Morhom cloth in Tambon Tunghong according to sex, age, occupation and
duration of dwelling in both overall and each aspect
3. Problems and obstacles in the community participation in conservation of Morhom
cloth in Tambon Tunghong in overall were at high level with the highest rate in the participation
in planning aspect, followed by the participation in dissemination aspect and the participation in
preservation aspect, respectively.
4. The appropriate guidelines to promote the community participation in conservation
of Morhom cloth are: 1) The recognition and the values of Morhom cloth conservation should
be instilled to the community in order to inspire them to preserve the identity of their community.
2) Several trainings should be conducted to provide the knowledge and skills about the
participation in conservation of Morhom cloth by the experts to the community. 3) There should
be the budget allocated for the dissemination and the advertisement of Morhom cloth in both
national and international levels.
ปริญญานิพนธ์
เรือ่ ง
การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม: กรณีศกึ ษาตําบลทุ่งโฮ้ง
อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
ของ
ภาวินี อินทวิวฒั น์

ได้รบั อนุ มตั จิ ากบัณฑิตวิทยาลัยให้นบั เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร


ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาศิลปศึกษา
ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

...................................................................... คณบดีบณ
ั ฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ดร.สมชาย สันติวฒ ั นกุล)
วันที.่ .........เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คณะกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์ คณะกรรมการสอบปากเปล่า

................................................. ประธาน ..................................................... ประธาน


(รองศาสตราจารย์พฤทธ์ศุภเศรษฐศิร ิ) (ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ สาธิต ทิมวัฒนาบรรเทิง)

........................................... กรรมการ ................................................... กรรมการ


(ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ดร. รวิเทพ มุสกิ ะปาน) (รองศาสตราจารย์พฤทธ์ศุภเศรษฐศิร ิ)

................................................... กรรมการ
(ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสกิ ะปาน)

................................................... กรรมการ
(ดร. ชาติชาย .............................................)
ประกาศคุณูปการ

ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้สาํ เร็จด้วยดีโดยได้รบั ความกรุณาจากรองศาสตราจารย์พฤทธิ ์


ศุภเศรษฐศิร ิ ประธานกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. รวิเทพ มุสกิ ะปาน
กรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์ ท่านทัง้ สองได้ให้ความรู้ ท่านทัง้ สองได้สละเวลาอันมีคา่ เพือ่ ให้
คําปรึกษาแนะนํา และตรวจแก้ไขข้อบกพร่องเกีย่ วกับการทํางานวิจยั ทุกขัน้ ตอน ซึง่ ทําให้ผวู้ จิ ยั
ได้รบั ประสบการณ์ในการทําวิจยั อย่างลึกซึง้ รูห้ ลักการเขียนงานวิจยั ทีด่ ี ผูว้ จิ ยั รูส้ กึ ซาบซึง้ ในความ
กรุณาทีไ่ ด้รบั และขอกราบขอบพระคุณเป็ นอย่างสูงไว้ ณ ทีน่ ้ี
ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านทีไ่ ด้ให้คาํ ปรึกษา และคําแนะนําทีม่ ปี ระโยชน์สง่ ผลให้
งานวิจยั ครังนี ้ ้มคี วามสมบูรณ์อย่างยิง่ และผูว้ จิ ยั ขอกราบขอบพระคุรองศาสตราจารย์
ณ วรรณรัตน์ ตัง้ เจริญ
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์จกั รพงษ์ แพทย์หลักฟ้า และผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ศิรยิ ภุ า พูลสุวรรณ ทีก่ รุณา
เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญตรวจเครือ่ งมือในการวิจยั รวมถึงให้คาํ แนะนําในการแก้ไขเครือ่ งมือให้มคี ณ ุ ภาพ
รวมทัง้ ขอขอบพระคุณคณาจารย์สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
และอาจารย์ทกุ ท่านทีไ่ ด้ประสิทธิประสาทวิชาความรูใ้ ห้กบั ผูว้ จิ ยั เพือ่ เป็นพืน้ ฐานในการทําวิจยั ครัง้ นี้
ขอขอบพระคุณ ชุมชนตําบลทุ่ งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ทีใ่ ห้ความอนุเคราะห์ในการ
เก็บข้อมูลเพือ่ การวิจยั และการพัฒนาเครือ่ งมือการวิจยั ครัง้ นี้ให้สาํ เร็จลุลว่ งไปด้วยดี และขอขอบพระคุณ
พีๆ่ เพือ่ นๆ สาขาศิลปศึกษา ทีค่ อยให้คาํ ปรึกษา และคําแนะนําให้ความช่วยเหลือในการดําเนินการ
วิจยั แก่ผวู้ จิ ยั ด้วยดีตลอดมา
สุดท้ายนี้ ผูว้ จิ ยั ขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา ผูใ้ ห้กําลังใจอันยิง่ ใหญ่ คุณค่าและ
ประโยชน์อนั ใดทีพ่ ึ งได้จากปริญญานิพนธ์น้ี ผูว้ จิ ยั ขอมอบเป็นเครือ่ งบูชาพระคุณของบิดา มารดา
ตลอดจนบูรพาจารย์ทกุ ท่านทีป่ ระสิทธิประสาทวิชาความรูใ้ นการอบรมสังสอนผู ่ ว้ จิ ยั ม าตัง้ แต่เล็ก
จนกระทังประสบความสํ
่ าเร็จในปจั จุบนั

ภาวินี อินทวิวฒ
ั น์
สารบัญ
บทที่ หน้ า
1 บทนํา …………………………………………………………………………............. 1
ภูมหิ ลัง………………………………..……………………………………..……..... 1
ความมุง่ หมายของการวิจยั ................................................................................. 3
ความสําคัญของการวิจยั ..................................................................................... 3
ขอบเขตของการวิจยั ……………………………..……………………….………… 4
นิยามศัพท์เฉพาะ............................................................................................... 4
กรอบแนวคิดในการวิจยั ..................................................................................... 5

2 เอกสารและงานวิ จยั ที่เกี่ยวข้ อง.......................................................................... 6


เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับการมีสว่ นร่วมของชุมชน………………..……………………. 7
เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุ รกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทย……………..…………......... 14
เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับผ้าหม้อห้อมบ้านทุง่ โฮ้ง …………………….………………… 24
งานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง…………….……………………………………………………... 36

3 วิ ธีดาํ เนิ นการศึกษาค้นคว้า ................................................................................. 38


การกําหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง.......................................................... 38
การสร้างเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการศึกษาค้นคว้า............................................................ 39
การเก็บรวบรวมข้อมูล.......................................................................................... 45
การจัดกระทําและการวิเคราะห์ขอ้ มูล.................................................................... 46

4 ผลการวิ เคราะห์ข้อมูล......................................................................................... 48

5 สรุปผลการวิ จยั อภิ ปรายผล และข้อเสนอแนะ................................................... 73


สรุปผลการวิจยั ………………………………………………………………….......... 73
อภิปรายผลการวิจยั ……………………………………………………..….………... 76
ข้อเสนอแนะสําหรับนําผลการวิจยั ไปใช้……………………………………………... 80
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจยั ต่อไป………………………………………………………. 80
สารบัญ (ต่อ)

บทที่ หน้ า
บรรณานุกรม................................................................................................................... 82

ภาคผนวก........................................................................................................................ 86
ภาคผนวก ก รายนามผูท้ รงคุณวุฒ/ิ ผูเ้ ชีย่ วชาญ …………………………………........... 87
ภาคผนวก ข เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั …………………………………….……………… 89

ประวัติย่อผูว้ ิ จยั ………………………………………………………………………............. 98


บัญชีตาราง

ตาราง หน้ า
1 โครงสร้างเนื้อหา นําหนัก และจํานวนข้อของระดับการมีสว่ นร่วม
ของชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อ ม …………………….............................. 42
2 โครงสร้างเนื้อหา นําหนัก และจํานวนข้อของระดับปญั หาและอุปสรรค
ในการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม…..…………………… 43
3 จํานวนและร้อยละของผูต้ อบแบบสอบถาม จําแนกตามเพศ อายุ
ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาในการอาศัยอยูใ่ นพืน้ ที่..………............ 49
4 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับการมีสวนร่วมของชุมชน
ในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง โดยภาพรวม..……………………….. 51
5 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับการมีสวนร่วมของชุมชน
ในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุง่ โฮ้ง ด้านการวางแผน..………………….. 51
6 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับการมีสวนร่วมของชุมชน
ในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง ด้านการรักษาธํารงไว้......…………... 52
7 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับการมีสวนร่วมของชุมชน
ในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการเผยแพร่…….……………… 53
8 ผลการเปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง จําแนกตามเพศ…..……………………………........ 55
9 ผลการเปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง จําแนกตามอายุ..………………………………….… 55
10 ผลการเปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง จําแนกตามระดับการศึกษา..……………………….. 56
11 ผลการเปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง จําแนกตามอาชีพ ..………………………….………. 57
12 ผลการเปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง จําแนกตามระยะเวลาในการอาศัยในพืน้ ที……..…..
่ 58
13 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับปญั หาและอุปสรรคในการมีส่ วนร่วม
ของชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง โดยภาพรวม…………….. 59
14 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับปญั หาและอุปสรรคในการมีสวนร่วม
ของชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการวางแผน………… 59
15 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับปญั หาและอุปสรรคในการมีส่ วนร่วม
ของชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง ด้านการรักษาธํารงไว้ …… 60
16 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับปญั หาและอุปสรรคในการมีส่ วนร่วม
ของชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการเผยแพร่ .............. 61
บทที่ 1
บทนํา

ภูมิหลัง
ผ้า เป็ นวัสดุสาํ หรับทําเครือ่ งนุ่งห่ม นับว่าเป็นปจั จัยทีจ่ าํ เป็นอย่างหนึ่งในการดํารงชีวติ ของ
มนุษย์ควบคูไ่ ปกับอาหาร ยารักษาโรค และทีอ่ ยูอ่ าศัย (สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนเล่ม 21.
2540) การผลิตผ้าเป็ นวัฒนธรรมโบราณทีส่ ตรีมบี ทบาทอย่างยิง่ เพร าะถือเป็นภาระหน้าทีโ่ ดยตรง
เนื่องจากเสือ้ ผ้าเครือ่ งนุ่ งห่มถือเป็ นสิง่ ทีบ่ ่งบอกสถานภาพทางฐานะของผูส้ วมใส่ได้อย่างเด่นชัด อีก
ทัง้ ยังเป็ นเครือ่ งหมายบอกสถานภาพทีแ่ ตกต่างกันโดยเฉพาะสตรีโสด และสตรีทแ่ี ต่งงานแล้ว เป็ น
สัญลักษณ์ของชนเผ่าต่างๆ ลวดลายบนผ้ายังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความคิดต่อความเป็นไปของ
สภาพสังคมในแต่ละท้องถิน่ (ศูนย์ขอ้ มูลเมืองโบราณ . 2534) นอกจากนัน้ ผ้ายังมีความผูกผัน และ
เกีย่ วโยงกับพิธที างศาสนา และวิถชี วี ติ มานานนับศตวรรษ จนอาจเรียกได้วา่ เป็นมรดกทางสังคม
ซึง่ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็ นมาในอดีต การย้ายถิ่ น โครงสร้างสังคม ระบบการค้า ตลอดจน
แนวความคิดทางนามธรรม ซึง่ กลันกรองมาจากการสั
่ งเกตปรากฏการณ์รอบตัว เปรียบเสมือนเป็น
บันทึกเรือ่ งราวของสังคมโดยสะท้อนความคิดความอ่านของคนทอ (ทรงศักดิ ์ ปรางค์วฒ ั นากุล ; และ
แพทรีเซีย ซีสแมน แน่ นหนา. 2536: 45)
ผ้าพืน้ เมืองของไทย เป็ นผ้าประเภทหนึ่งทีม่ ลี กั ษณะเป็ นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชนต่างๆ
ทีก่ ระจายอยูห่ ลายท้องถิน่ ในทุกภาคของประเทศ (วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ. 2530: 34) จึงจัดเป็นงานศิลปะ
ท้องถิน่ ทีส่ ามารถบ่งบอกถึงความรุง่ เรืองของวัฒนธรรมประจําชาติ และความคิดสร้างสรรค์ของคน
ในชาติ เฉกเช่นเดียวกับการทอผ้าหม้อห้อมของชาวไทยพวน ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
การทําผ้าหม้อห้อมในจังหวัดแพร่ได้สบื ทอดกันมานานกว่า 100 ปี เนื่องจากชาวไทยพวนทีอ่ าศัยอยู่
ในปจั จุบนั นี้ได้อพยพมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในแขวงเชียงขวาง
หรือเรียกกันว่าลาวพวน เมือ่ มาอยูใ่ นประเทศไทยจึงเรียกตัวเองว่าไทยพวนมาจนทุกวันนี้ และได้นํา
ความรูเ้ รือ่ งการทําผ้าหม้อห้อมเข้ามาด้วย เมือ่ ประมาณ พ .ศ. 2340-2350 แม้วา่ ในระยะแรกจะผลิต
ผ้าขึน้ เพือ่ ใช้ในครัวเรือน ต่อมาได้นําไปแลกเปลีย่ นกับเพือ่ นบ้าน จนกระทังป ่ จั จุบนั ผ้าหม้อห้อมได้
กลายเป็นสินค้าทีร่ ะลึก หรือของฝากจากผูค้ นต่างถิน่ ทีแ่ วะเวียนเดินทางไปท่องเทีย่ วทีจ่ งั หวัดแพร่
จนกลายเป็ นสินค้าพืน้ เมืองทีม่ ชี อ่ื เสียง และส่งขายทัวประเทศไทย
่ โดยมีการแข่งขันในตลาดว่าหม้อ
ห้อมทีแ่ ท้ตอ้ งมาจาก จังหวัดแพร่ เท่านัน้ (จารุวรรณ ขําเพชร; และรวิญา พนาพฤกษ์ ไพร. 2536:
47)
ผ้าหม้อห้อม เป็ นชื่อของผ้าย้อมพืน้ เมืองสีกรมท่า ทีแ่ สดงถึงความเป็ นเอกลักษณ์ และ
ศิลปวัฒนธรรมของชาวล้านนา ในอดีตผ้าหม้อห้อมเป็นผ้าฝ้ายทอมือทีน่ ําดอกฝ้ายสีขาวมาทําเป็น
เส้นด้ายแล้วทอด้วยกีเ่ ป็ นผ้าพืน้ สีขาว จากนัน้ จึงนําไปตัดเย็บให้เป็ นเสือ้ ผ้าแล้ วนํามาย้อมในนํ้าห้อม
ทีไ่ ด้จากการหมักต้นห้อมไว้ในหม้อ (ศูนย์วฒ ั นธรรมจังหวัดแพร่. ม.ป.ป.)
2

ผ้า หม้อห้อม ซึง่ เป็ นผ้าพืน้ เมืองทีน่ ยิ มสวมใส่กนั ในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะ


ภาคเหนือ ทัง้ นี้ชาวเมืองต่างๆ ในภาคเหนือ และอีกหลายจังหวัดในประเทศไทย นิยมสวมใส่เสือ้
หม้อห้อมทีผ่ ลิตมาจากจังหวัดแพร่เพราะมีช่อื เสียงโด่งดัง อีกทัง้ เสือ้ หม้อห้อมเมืองแพร่ยงั เป็ นทีร่ จู้ กั
และยอมรับกันโดยทัวไป ่ เนื่องจากความมีคณ ุ ภาพ ความคงทนของเนื้อผ้า สีหอ้ มทีใ่ ช้ยอ้ มผ้า
ตลอดจนมีรปู แบบทีเ่ รียบง่าย สะดวกสบายแก่การสวมใส่ การผลิตเสือ้ ห้อมห้อมทํากันเป็น
อุตสาหกรรมในครัวเรือน ซึง่ ได้รบั การถ่ายทอดภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ในการทําผ้าหม้อห้อมโดยวิธกี าร
ย้อมแบบดัง้ เดิมมาจากบรรพบุรษุ ถือได้ว่าผ้าหม้อห้อมเป็ นผลิตภัณฑ์พน้ื บ้านทีเ่ ก่าแก่ และเป็ น
เอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ เป็ นสินค้าอีกประเภทหนึ่งทีส่ ร้างชื่อเสียง และมูลค่าทางเศ รษฐกิจให้กบั
จังหวัดแพร่ โดยยังคงรักษาไว้ซง่ึ ภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ กลุ่มผูผ้ ลิต และตัดเย็บเสือ้ หม้อห้อมในจังหวัด
แพร่ ได้แก่ ตําบลทุ่งโฮ้ง ตําบลเหมืองหม้อ ตําบลกาญจนา อําเภอเมืองแพร่ ตําบลเวียงทอง และ
ตําบลดอนมูล อําเภอสูงเม่น โดยมีแหล่งผลิต และจําหน่ายทีส่ าํ คัญมีช่อื เสีย ง และใหญ่ทส่ี ุดตัง้ อยูใ่ น
ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมืองแพร่
เนื่องจากในปจั จุบนั สภาพตลาดในการผลิต และจําหน่ายผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมมีความ
คล่องตัวในการประกอบธุรกิจ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และมีการรณรงค์
อนุ รกั ษ์ ฟื้นฟูการแต่งกายแบบพืน้ เมือง และมีการส่ งเสริมการใช้สนิ ค้าไทย ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม
จึงเป็นสินค้าทีต่ อ้ งการของตลาดมากขึน้ ทําให้ผา้ ทอมีราคาแพงขึน้ และมีสวี ทิ ยาศาสตร์ซง่ึ ติดผ้าได้
ง่ายกว่าสีหอ้ มธรรมชาติ ทําให้ผปู้ ระกอบการส่วนใหญ่จงึ นิยมใช้ผา้ หม้อห้อมทีผ่ ลิตจากโรงงานผลิต
ผ้าในกรุงเทพฯ หรือใช้ผา้ ดิบแล้วนํา มาย้อมสีวทิ ยาศาสตร์ แทนการทําผ้าหม้อห้อมโดยวิธกี ารย้อม
แบบดัง้ เดิม นอกจากนัน้ เสือ้ หม้อห้อมยังได้มกี ารผลิตหลากหลายรูปแบบมากขึน้ เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของกลุ่มผูบ้ ริโภค ซึง่ จะเห็นได้จากเสือ้ หม้อห้อมทีผ่ ลิตในปจั จุบนั มีหลากหลายแบบ
เช่น เสือ้ กุยเฮง เสือ้ หม้อห้อมคอจีน เสือ้ เชิต้ เสือ้ ซาฟารี เสือ้ หม้อห้อมแฟชันสํ ่ าหรับสุภาพสตรี และ
สุภาพบุรษุ นอกจากนี้ยงั ได้มกี ารพัฒนา และประยุกต์เสือ้ หม้อห้อมโดยการนําผ้าปกั มาตกแต่งกับผ้า
หม้อห้อม ทําการเขียนลายบนผ้า การพิมพ์ลายบนผ้า แต่เสือ้ หม้อห้อมแบบดัง้ เดิมโดยเฉพาะ
เสือ้ หม้อห้อมแ บบกุยเฮงยังคงได้รบั ความนิยมอยู่ เนื่องจากสวมใส่งา่ ย ใส่สบาย และใส่ได้หลาย
โอกาส ซึง่ ยังคงมีการผลิต และจําหน่ ายในตําบลทุง่ โฮ้ง อําเภอเมืองแพร่ นอกจากนัน้ ในปจั จุบนั ยังมี
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อมทีแ่ ตกต่างไปจากเดิม กลายเป็นสินค้าอื่นๆ อาทิ ของตกแต่ง
บ้าน กระเป๋า รองเท้า หมวก ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง หมอนอิง เป็ นต้น
จากที่ กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า ผ้าหม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นที่
รูจ้ กั ของคนทัวไปทั ่ ง้ ในและต่างประเทศ อีกทัง้ มีประวัตขิ องการประดิษฐ์คดิ ค้นรังสรรค์ผา้ ที่
ทรงคุณค่ามาเป็ นระยะเวลาอัน ยาวนาน จนกระทังป ่ จั จุบนั ผ้าหม้อห้อมได้กลายเป็นสินค้าทีร่ ะลึก
หรือของฝากจากผูค้ นต่างถิน่ ทีแ่ วะเวียนเดินทางไปท่องเทีย่ วทีจ่ งั หวัดแพร่ จนกลายเป็ นสินค้า
พืน้ เมืองทีม่ ชี ่อื เสียง และส่งขายทัวประเทศไทย
่ โดยมีการแข่งขันในตลาดว่าหม้อห้อมทีแ่ ท้ตอ้ งมา
จาก จังหวัดแพร่ เท่านัน้ (จารุวรรณ ขําเพชร; และรวิญา พนาพฤกษ์ไพร. 2536)
3

ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงเกิดแนวคิดว่า การทีส่ นิ ค้าบางชนิดทีม่ เี พียงหนึ่งเดียวแหล่งเดียวจนคน


ทัวไปยอมรั
่ บได้ และหาทีใ่ ดเหมือนได้ยากนัน้ กลไกสําคัญทีจ่ ะขับเคลื่อนให้ประสบความสําเร็จได้
อย่างมีประสิทธิภาพก็คอื ชุมช นตําบลทุง่ โฮ้ง นันเอง ่ เพราะหากชุมชนไม่เข้มแข็งพอก็ไม่สามารถที่
จะอนุ รกั ษ์ ผา้ พืน้ เมืองทีเ่ รียกว่า “ผ้าหม้อห้อม ” ได้มาจนถึงปจั จุบนั นี้ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดทีม่ าของ
วิจยั ครัง้ นี้ โดยผูว้ จิ ยั ทําการศึกษาเกีย่ วกับ “การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม :
กรณีศกึ ษาตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ” เพือ่ ใช้เป็ นข้อมูลประกอบสําหรับผูท้ ส่ี นใจในทุก
ระดับ ประชาชนทัวไป ่ หรือองค์กรต่างๆ ทีเ่ ล็งเห็นถึงความสําคัญ และคุณค่าของผ้าพืน้ เมือง ซึง่ จะ
นําไปสูก่ ารพัฒนาส่งเสริมผ้าหม้อห้อม เพือ่ ให้เกิดการพึง่ พาตนเองในระดับครัวเรือน และชุมชน อัน
จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนต่อไป อีกทัง้ การรูใ้ นคุณค่าของงานศิลปะประจําชาติ มี
จิตสํานึกในการอนุ รกั ษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมทีบ่ รรพบุรษุ ได้สร้างสม ไว้อย่างต่อเนื่องให้สบื ทอด
ต่อไปแก่เยาวชนรุน่ ลูกรุน่ หลานอย่างไม่รจู้ กั จบสิน้

ความมุ่งหมายของการวิ จยั
1. เพือ่ ศึกษาระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชน สภาพปญั หา และอุปสรรคเกีย่ วกับการมีสว่ น
ร่วมของชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
2. เพือ่ นําเสนอแนวทางเกีย่ วกับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่

ความสําคัญของการวิ จยั
1. ได้สารสนเทศเกีย่ วกับระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม อันจะ
เป็นประโยชน์เชิงนโยบาย กับกลุ่มผูอ้ นุรกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองในท้องถิน่ หน่วยงานงานทัง้ ภาครัฐและ
เอกชน ตลอดจนผูป้ ระกอบกา รด้านหัตถศิลป์เกีย่ วกับ ผ้าหม้อห้อม อีกทัง้ เป็ นข้อ มูลพืน้ ฐานในการ
ปรับปรุงผ้าหม้อห้อมให้มคี ณ
ุ ภาพทีด่ ขี น้ึ ภายใต้ความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะทีส่ บื ทอดมาแต่โบราณ
2. ได้แนวทางและข้อเสนอแนะเกีย่ วกับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อ
ห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ อันเป็นแนวทาง สําหรับกลุ่มอนุรกั ษ์นิ ยมและผูม้ อี าํ นาจ
ในการวางแผนหหรือกําหนดนโยบาย ตลอดจนผูท้ เ่ี กีย่ วข้องใช้ในการอนุรกั ษ์เชิงสร้างสรรค์ต่อไป
4

ขอบเขตของการวิ จยั
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิ จยั
ประชากรที่ใช้ในการวิ จยั คือ ประชาชนทีอ่ าศัยอยูใ่ นตําบลทุ่งโฮ่ง อําเภอเมือง
จังหวัดแพร่ ทีม่ อี ายุ ตัง้ แต่ 18 ปีขน้ึ ไป จํานวน 6,293 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิ จยั คือ ประชาชนตําบลทุ่งโฮ้ ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
จํานวน 307 คน ซึง่ ได้จากการกําหนดขนาดกลุม่ ตัวอย่างโดยใช้สตู รของ Yamane (1967)

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิ สระ (independent variable) ได้แก่ สถานภาพส่วนบุคคล ประกอบด้วย
1.1 เพศ
1.2 อายุ
1.3 ระดับการศึกษา
1.4 อาชีพ
1.5 ระยะเวลาของการอาศัยในพืน้ ที่

2. ตัวแปรตาม (dependent variable) ได้เแก่ การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการ


อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม โดยศึกษาจากการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมจาก 3 ด้าน
ต่อไปนี้
2.1 การมีสว่ นร่วมในการวางแผน (Planning)
2.2 การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) และ
2.3 การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ (Dissemination)

นิ ยามศัพท์เฉพาะ
1. ชุมชน หมายถึง ประชาชนทีอ่ าศัยอยูใ่ นเขตตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
อายุตงั ้ แต่ 18 ปี ขึน้ ไป
2. ผ้าหม้อห้อม หมายถึง ผ้าย้อมพื้นเมืองสีกรมท่า ทีแ่ สดงถึงความเป็ นเอกลักษณ์
และศิลปวัฒนธรรมของชาวล้านนา ซึง่ เป็นผ้าฝ้ายทอมือทีน่ ําดอกฝ้ายสีขาวมาทําเป็นเส้นด้ายแล้ว
ทอด้วยกีเ่ ป็ นผ้าพืน้ สีขาว จากนัน้ จึงนําไปตัดเย็บให้เป็นเสือ้ ผ้าแล้วนํามาย้อมในนํ้าห้อมทีไ่ ด้จากการ
หมักต้นห้อมไว้ในหม้อ
3. การอนุรกั ษ์ หมายถึง การรักษาหรือธํารงไว้ซง่ึ ผ้าหม้อห้อมอันเป็ นเอกลักษณ์
ดังเดิมทีส่ บื ทอดกันมาตัง้ แต่บรรพบุรษุ และทรงคุณค่าของชาวตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
5

4. การมีส่วนร่วมของชุมชน หมายถึง การมีส่วนร่วมของประชาชนในตําบลทุ่งโฮ้ง


อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมอันเป็นหัตถศิลป์อนั ทรงคุณค่าให้คงอยูส่ บื ชัวลู
่ ก
ชัวหลานต่
่ อไป โดยศึกษาจากการมีสว่ นร่วมของชุมชนใน 3 ด้าน คือ การมีสว่ นร่วมในการวางแผน
(Planning) การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่
(Dissemination)
4.1 การมีส่วนร่ว มในการวางแผน (Planning) หมายถึง ชุมชนมีสว่ นร่วมใน
ระดับนโยบาย เช่น การเข้าร่วมประชุม หรือวางแผนงานทีเ่ กีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ตลอดจนการมีสว่ นร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจในการมีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์
ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม
4.2 การมีส่วนร่วมในการ รักษาธํารงไว้ (Preservative) หมายถึง ชุมชนมี
ส่วนร่วมในการปกป้องรักษาผ้าหม้อห้อมด้วยวิธกี ารต่างๆ เชิงสร้างสรรค์เพือ่ ให้คงสืบต่อไปยังรุน่ ลูก
รุน่ หลาน โดยไม่เปลีย่ นแปลงหรือรับเอากรรมวิธแี บบใหม่มาดัดแปลงจนทําลายแบบดัง้ เดิม
ตลอดจนการสอดส่องดูแลผูท้ ป่ี ฏิบตั ติ นในทาง ลบต่อการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมทัง้ โดยเจตนาหรือไม่
เจตนา
4.3 การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ (Dissemination) หมายถึง ชุมชนมีสว่ น
ร่วมในการให้ความรูห้ รือถ่ายทอดกรรมวิธใี นการผลิตเกีย่ วกับผ้าหม้อห้อม ทัง้ การศึกษาในระบบ
โรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนการปฏิบตั ิ ประพฤติตน
เพื่อเป็ นแบบอย่าง

กรอบแนวคิ ดในการวิ จยั


ในการศึกษาวิจยั เรือ่ งการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม: กรณีศกึ ษาตําบล
ทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีกรอบแนวคิดการวิจยั ดังนี้

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

สถานภาพส่วนบุคคล
1. เพศ
2. อายุ
3. ระดับการศึกษา การมีสว่ นร่วมของชุมชน
4. อาชีพ ในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
5. ระยะเวลาของการ
อาศัยในพืน้ ที่
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง

ในการวิจยั เรือ่ ง การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม: กรณีศกึ ษาตําบลทุ่งโฮ้ง


อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ผูว้ จิ ยั ได้ศกึ ษาเอกสารและงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง และได้นําเสนอตามหัวข้อ
ต่อไปนี้
1. เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับการมีสว่ นร่วมของชุมชน
1.1 ความหมายของการมีสว่ นร่วมของชุมชน
1.2 ขัน้ ตอนของการมีสว่ นร่วม
1.3 รูปแบบของการมีสว่ นร่วมของชุมชน
1.4 ปจั จัยทีส่ ่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน
1.5 ปญั หาและข้อจํากัดของการมีสว่ นร่วมของชุมชน
2. เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุ รกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทย
2.1 ประวัตผิ า้ พืน้ เมืองในประเทศไทย
2.2 ความสําคัญของการอนุรกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทย
2.3 ปญั หาและอุปสรรคของการอนุรกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทย
2.4 วิธกี ารอนุ รกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทย
2.5 การส่งเสริมและการเผยแพร่การอนุ รกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทย
3. เอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับผ้าหม้อห้อมบ้านทุง่ โฮ้ง
3.1 สภาพภูมศิ าสตร์ของจังหวัดแพร่
3.2 ภูมหิ ลังทางประวัตศิ าสตร์ของชาวไทยพวน
3.3 ประวัตคิ วามเป็ นมาของผ้าหม้อห้อม
3.4 ขัน้ ตอนการผลิตผ้าหม้อห้อม
3.5 เครือ่ งมือและอุปกรณ์ในการผลิตผ้าหม้อห้อม
3.6 ข้อควรระวังจากการใช้ผา้ หม้อห้อม
4. งานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง
7

1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน
1.1 ความหมายของการมีส่วนร่วมของชุมชน
ความหมายของการมีสว่ นร่วมของชุมชนนัน้ ได้มนี กั วิชาก ารหลายท่านได้ให้
ความหมายไว้ต่างๆ กัน ดังรวบรวมเสนอเป็นแนวคิด ดังนี้
กรรณิการ์ ชมดี (2524: 32) ให้คาํ จํากัดความการมีสวนร่วมของประชาชนว่า หมายถึง
ความร่วมมือของประชาชนไม่วา่ ของปจั เจกชน บุคคล หรือกลุม่ คนทีเ่ ห็นพ้องต้องกันและเข้ามา
รับผิดชอบเพือ่ การดําเนินการพัฒนาและการเปลีย่ นแปลงในทิศทางทีต่ อ้ งการ โดยการกระทําผ่าน
กลุ่ม หรือองค์กรเพื่อให้บรรลุถงึ ความเปลีย่ นแปลงทีพ่ งึ ประสงค์
เจิมศักดิ ์ ปิ่นทอง (ศรินทร์ทพิ ย์ จานศิลา . 2540: 43; อ้างอิงจาก เจิมศักดิ ์ ปิ่นทอง.
2527: 33) ได้ให้ความหมายของการมีสว่ นร่วมว่า เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมของชาวบ้านตามที่
หน่ วยงานของรัฐหรือเอกชนจัดขึน้ และชาวบ้านเป็นผูเ้ สนอโดยมีการเข้าร่วมในหลายระดับ เช่น การ
เข้าร่วมในการฟงั เฉย ๆ ฟงั และออกความคิดเห็น ตลอดจนร่วมในการวางแผน และมีผเู้ ข้าร่วมตัง้ แต่
ผูใ้ หญ่บา้ น กรรมการหมูบ่ า้ น และชาวบ้านทัวไป ่
ปรัชญา เวสารัชช์ (2530: 14) ได้ให้ความหมาย การมีสว่ นร่วมของประ ชาชนในการ
พัฒนาท้องถิน่ และชนบทว่า หมายถึง การทีป่ ระชาชน หรือชุมชน หรือองค์กรของประชาชนได้เข้า
มามีสว่ นร่วมในการดําเนินงานพัฒนาท้องถิน่ และชนบทในขัน้ ตอนใดขัน้ ตอนหนึ่งหรือทุกขัน้ ตอนใน
รูปแบบของการตัดสินใจในการกําหนดชีวติ ของตน โดยมีจดุ มุง่ หมายเพือ่ ทีจ่ ะพัฒนาหรือยกระดับขีด
ความสามารถของตนในการกําหนดชีวติ ของตนในการจัดการเกีย่ วกับทรัพยากร และปจั จัยการผลิต
ทีม่ อี ยูใ่ นสังคมเพือ่ ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวติ ในทุก ๆ ด้านของตนทีเ่ ป็นอยูใ่ ห้ดขี น้ึ กว่าเดิม
ทวีทอง หงส์ววิ ฒ ั น์ (2527: 21) ได้สรุปความหมายของการมีสว่ นร่วมไว้วา่ กา รมีสว่ น
ร่วมคือการทีป่ ระชาชนหรือชุมชนพัฒนาขีดความสามารถของตนในการจัดการควบคุมการใช้และ
การกระจายทรัพยากรทีม่ อี ยูเ่ พือ่ ประโยชน์ต่อการดํารงชีพทางเศรษฐกิจและสังคมตามความจําเป็น
อย่างสมศักดิ ์ศรีในฐานะสมาชิกของสังคม ในการมีสว่ นร่วมประชาชนได้พฒ าั ญ
ั นาการรับรูแ้ ละภูมปิ ญ ซึง่
แสดงออกในรูปการตัดสินใจในการกําหนดชีวติ ของตนเองอย่างเป็นตัวของตนเอง
นิรนั ดร์ จงวุฒเิ วศย์ (2527: 16) ได้กล่าวว่า การมีสว่ นร่วมของประชาชน หมายถึง
การเกีย่ วข้องทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคลหนึ่งในสถานการณ์กลุม่ ซึง่ ผลของการเกีย่ วข้อง
ดังกล่าวเป็ นเหตุเร้าใจให้กระทําบรรลุมงุ่ หมายของกลุม่ นัน้ กับทัง้ ทําให้เกิดความรูส้ กึ ร่วมรับผิดชอบ
กับกลุ่มดังกล่าวด้วย
ไพรัตน์ เดชะรินทร์ (ศรินทิพย์ จานศิลา . 2540: 33; อ้างอิงจากไพรัตน์ เดชะรินทร์ .
2527: 30) ได้ให้ความหมายและหลักการสําคัญเกีย่ วกับนโยบายการมีสว่ นร่วมของชุมชนในก าร
พัฒนาว่า หมายถึง กระบวนการทีร่ ฐั บาลทําการส่งเสริม ชักนํา และสร้างโอกาสให้กบั ประชนใน
ชุมชน ทัง้ ส่วนบุคคล กลุม่ ชน ชมรม สมาคม และองค์กรอาสาสมัครให้เข้ามามีสว่ นในการดําเนินงาน
เรือ่ งใดเรือ่ งหนึ่งหรือหลายเรือ่ งรวมกัน
8

อคิน ระพีพฒ ั น์ (2527: 41) ได้ให้ความหมายของการมสี ว่ นร่วมว่า เป็นการให้ประชาชนเป็ นผู้


คิดค้นปญั หา เป็ นผูท้ ท่ี าํ ทุกอย่าง ซึง่ ไม่ใช่การกําหนดจากภายนอกแล้วให้ประชาชนเข้ามาร่วมใน
เรือ่ งใดเรือ่ งหนึ่ง หากแต่ทุกอย่างจะต้องเป็นเรือ่ งของประชาชนทีจ่ ะคิดขึน้ มา
เออร์วนิ (พูลศรี ไม้ทอง. 2543: 44; อ้างอิงจาก Erwin. 1976: 32) ได้ให้แนวคิดการพัฒนา
แบบมีสว่ นร่วมว่า หมายถึง กระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการดําเนินการพัฒนาร่วม
คิด ร่วมตัดสินใจ แก้ปญั หาของตนเอง ใช้ความคิดสร้างสรรค์และความชํานาญของประชาชน
ร่วมกับการใช้วทิ ยาการทีเ่ หมาะสมในการแก้ปญั หา
จากการให้ความหมายของกา รมีสว่ นร่วมของชุมชนข้างต้น สรุปได้วา่ การมีสว่ นร่วมของ
ชุมชน หมายถึง กระบวนการทีป่ ระชาชนในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและท้องถิน่ ได้เข้าไป
เกีย่ วข้อง โดยร่วมแสดงความคิดเห็น และกระทําในสิง่ ทีเ่ ห็นพ้องต้องกัน ตลอดจนร่วมพิจารณา
กําหนดปญั หา ความต้องการของประชาชน

1.2 ขัน้ ตอนของการมีส่วนร่วม


แนวความคิดของ โคเฮนและอับฮอฟ (พูลศรี ไม้ทอง . 2543: 56-57; อ้างอิงจาก
Cohen; & Uphop. 1981: 23) ซึง่ ได้จาํ แนกขัน้ ตอนของการมีสว่ นร่วมในเรือ่ งของการตัดสินใจ
(decision making) การดําเนินการ (implementation) ผลประโยชน์ (benefits) และการประเมินผล
(evaluation) ดังนี้
ขัน้ ที่ 1 การมีสว่ นร่วมในการตัดสินใจ
ขัน้ ที่ 2 การมีสว่ นร่วมในการดําเนินงาน
ขัน้ ที่ 3 การมีสว่ นร่วมในการรับผลประโยชน์
ขัน้ ที่ 4 การมีสว่ นร่วมในการประเมินผล
เจิมศักดิ ์ ปิ่นทอง (2527) อ้างถึงใน พูลศรี ไม้ทอง (2543) ได้เสนอจากประสบการณ์
ภาคสนามในประเทศไทยเกีย่ วกับขัน้ ตอนการมีสว่ นร่วม พบว่า
ขัน้ ที่ 1 การมีสว่ นร่วมในการค้นหาปญั หาและสาเหตุของปญั หา
ขัน้ ที่ 2 การมีสว่ นร่วมในการวางแผนดําเนินกิจกรรม
ขัน้ ที่ 3 การมีสว่ นร่วมในการลงทุนและการปฏิบตั ิ
ขัน้ ที่ 4 การมีสว่ นร่วมในการติดตามและประเมินผล
ซึง่ แนวคิดข้างต้นดังทีไ่ ด้นําเสนอไว้นนั ้ มีสว่ นใกล้เคียงกับแนวคิดเรือ่ งการมีสว่ น
ร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิน่ ซึง่ พูลศรี ไม้ทอง (2543: 50) ได้สงั เคราะห์ขนั ้ ตอนใน
การมีสว่ นร่วมโดยจําแนกออกเป็ น 4 ขัน้ ตอน ดังนี้
9

ขัน้ ที่ 1 การมีสว่ นร่วมในขัน้ ริเริม่ โครงการ เป็นขัน้ ทีช่ มุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการ
ตัดสินใจค้นหาปญั หาและกําหนดความต้องการ ในขัน้ ชุมชนจะเข้ามามีสว่ นร่วมในการวิเคราะห์
สภาพปญั หา และความต้องการของท้องถิน่ ตลอดจนมีสว่ นร่วมในการตัดสินใจกําหนดความ
ต้องการของชุมชนและมีสว่ นร่วมในการจัดลําดับความต้องการนัน้ ๆ
ขัน้ ที่ 2 การมีสว่ นร่วมในขัน้ วางแผน เป็นขัน้ ทีช่ มุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการกําหนด
เป้าหมายและกําหนดลักษณะ /แนวทางการพัฒนาหลักสูตร ตลอดจนการวางแผนพัฒนาหลักสูตร
ได้แก่ การออกแบบหลักสูตร การนําหลักสูตรไปใช้ การประเมินผลหลักสูตร ซึง่ ในขัน้ นี้ชมุ ชนจะมี
ส่วนร่วมตัดสินใจและวางแผน กําหนดวิธกี าร และแนวทางการดําเนินงาน
ขัน้ ที่ 3 การมีสว่ นร่วมในขัน้ ดําเนินการ เป็นขัน้ ทีช่ มุ ชนเข้ามามีสว่ นเกีย่ วข้องกับ
การดําเนินงานการพัฒนาหลักสูตร ในแต่ละขัน้ ตอนของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร โดยคํานึงถึงว่า
ใครจะเข้ามามีสว่ นที่ จะทําประโยชน์ หรือจะเข้ามามีสว่ นร่วมได้บา้ ง และจะทําประโยชน์หรือมี ส่วน
ร่วมได้อย่างไร โดยวิธกี ารใด เช่น โดยการช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์ ทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ และ
ขัน้ ที่ 4 การมีสว่ นร่วมในการประเมินผล การมีสว่ นร่วมในการประเมินผลชุมชนเข้า
มามีสว่ นร่วมในการประเมิ นว่า บรรลุวตั ถุประสงค์ทก่ี าํ หนดไว้หรือไม่ การประเมินผลนี้อาจเป็นการ
ประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) ซึง่ เป็นการประเมินผลเป็นระยะๆ หรือการ
ประเมินผลสรุปรวม (sumative evaluation)

1.3 รูปแบบของการมีส่วนร่วม
อคิน รพีพฒ ั น์ (2527: 31-32) ได้กล่าวถึงรูปแบบของการมีสว่ นร่วม ซึง่ อาจจําแนกได้
3 ประการ ตามลักษณะการมีสว่ นร่วม ดังนี้
1. การทีป่ ระชาชนมีสว่ นร่วมโดยตรง (direct participation) โดยผ่านองค์กรจัดตัง้ ของ
ประชาชน
2. การทีป่ ระชาชนมีสว่ นร่วมทางอ้อม (indirect participation) โดยผ่านองค์กร ผูแ้ ทน
ของประชาชน เช่น กรรมการของกลุม่ หรือชุมชน
3. การทีป่ ระชาชนมีสว่ นร่วมโดยการเปิดโอกาสให้ (open participation) โดยผ่าน
องค์กรทีไ่ ม่ใช่ผแู้ ทนของประชาชน เช่น สถาบัน หรือหน่วยงานทีเ่ ชิญชวนหรือเปิดโอกาสให้
ประชาชนเข้ามามีสว่ นร่วมเมือ่ ไรก็ได้ทกุ เวลา
10

กรรณิการ์ ชมดี (2524: 41 - 43) ได้สงั เคราะห์และสรุปรูปแบบในการพิจารณาการมีสว่ นร่วม


ไว้ 10 แบบ คือ
1. การมีสว่ นร่วมประชุม (attendance at meeting)
2. การมีสว่ นร่วมในการออกเงิน (financial contribution)
3. การมีสว่ นร่วมเป็ นกรรมการ (membership on committee)
4. การมีสว่ นร่วมเป็ นผูน้ ํา (position of leadership)
5. การมีสว่ นร่วมสัมภาษณ์ (interviewer)
6. การมีสว่ นร่วมเป็ นผูช้ กั ชวน (solicitor)
7. การมีสว่ นร่วมเป็ นผูบ้ ริโภค (customers)
8. การมีสว่ นร่วมเป็ นผูร้ เิ ริม่ หรือผูเ้ ริม่ การ (entrepreneus)
9. การมีสว่ นร่วมเป็ นผูใ้ ช้แรงงาน (employers)
10. การมีสว่ นร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ (material contribution)
กรมการพัฒนาชุมชน (2529: 34) ได้สรุปลักษณะต่าง ๆ ของการมีสว่ นร่วมของประชาชน
ออกเป็ น 18 ลักษณะ ดังนี้
1. การมีสว่ นร่วมเป็ นผูร้ เิ ริม่
2. การมีสว่ นร่วมในการตัดสินใจดําเนินงาน
3. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้ทรัพยากร
4. การมีสว่ นร่วมในการออกความเห็นและข้อเสนอแนะ
5. การมีสว่ นร่วมในการค้นหาปญั หาและสาเหตุของปญั หา
6. การมีสว่ นร่วมในการคิดหาวิธใี นการแก้ปญั หา
7. การมีสว่ นร่วมในการวางแผน
8. การมีสว่ นร่วมในการประชุม
9. การมีสว่ นร่วมในกิจกรรมกลุ่ม
10. การมีสว่ นร่วมในการออกเสียงสนับสนุนหรือคัดค้านปญั หา
11. การมีสว่ นร่วมในการเป็ นคณะกรรมการหรือบริหารงาน
12. การมีสว่ นร่วมในการเป็ นสมาชิก
13. การมีสว่ นร่วมในการเป็ นผูช้ กั ชวนหรือประชาสัมพันธ์
14. การมีสว่ นร่วมในการดําเนินการตามกิจกรรมทีว่ างไว้
15. การมีสว่ นร่วมในการลงทุนหรือบริจาคเงิน/ ทรัพย์สนิ
16. การมีสว่ นร่วมในการออกแรง หรือสละแรงงาน
17. การมีสว่ นร่วมในการออกวัสดุอุปกรณ์
18. การมีสว่ นร่วมในการดูแลรักษา ติดตามหรือประเมินผล
11

ศิรกิ าญจน์ โกสุมภ์ (2542: 56) ได้กล่าวถึงรูปแบบของการมีสว่ นร่วมของ ชุมชนและ


โรงเรียน ดังนี้
1. การมีสว่ นร่วมของชุมชนและโรงเรียนแบบชายขอบ (marginal participation) เป็น
ลักษณะการร่วมมือหรือการทํากิจกรรมร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนทีม่ ขี อ้ จํากัดอันทําให้การมี
ส่วนร่วมไม่เต็มทีค่ อื มีน้อยนันเอง
่ ข้อจํากัดนี้อาจเกิดจากความสัมพันธ์ เชิงอํานาจทีไ่ ม่เท่าเทียมกัน
ระหว่าง 2 ฝา่ ย ฝา่ ยหนึ่งรูว้ า่ ตนเองด้อยอํานาจกว่า หรือมีทรัพยากรเชิงอํานาจ เช่น เป็นผูม้ คี วามรู้
น้อยกว่าจึงทําให้ไม่ปรารถนาเข้ามามีสว่ นร่วมอย่างเต็มที่ นันคื่ อความเข้มของการมีสว่ นร่วมน้อย
การมีสว่ นร่วมของชุมชนแบบชายขอบเป็นการมีสว่ นร่วมของผูป้ กครอง นักเรียนและ
ประชาชนทัวไปกั ่ บโรงเรียน ซึง่ จะเข้ามามีสว่ นร่วมกิจกรรมโดยการร่วมงานหรือให้ความร่วมมือ
หรือร่วมสนับสนุ นโดยจะแสดงความคิดเห็นหรือร่วมกิจกรรมบ้าง แต่ไม่มกี ารตัดสินใจและมอบภาระ
การตัดสินใจให้เป็ นของฝา่ ยโรงเรียน ลักษณะของการมีสว่ นร่วม ระหว่างโรงเรียนกับกลุ่มผูป้ กครอง
นักเรียนหรือประชาชนทัวไปมี ่ ลกั ษณะในการมาร่วมงาน ให้ความร่วมมือในการประชุมและให้ความ
สนับสนุนโดยการบริจาคเงินหรือสิง่ ของ หรือร่วมดําเนินงาน บางครัง้ อาจแสดงความคิดเห็นในการ
ดําเนินการบ้าง แต่กไ็ ม่มนี ้ําหนัก เพราะส่วนมากมักจะคล้อยต ามการตัดสินใจของกลุม่ ทีม่ อี าํ นาจใน
การตัดสินใจมากกว่า เช่น กลุม่ ของคณะกรรมการโรงเรียนหรือกลุม่ ผูน้ ําในโรงเรียนทีม่ อี าํ นาจในการ
ตัดสินใจมากทีส่ ดุ ผูป้ กครองของนักเรียนส่วนใหญ่เข้ามามีสว่ นร่วมน้อยโดยเฉพาะในเรือ่ งการออก
ความคิดเห็นเพือ่ เสนอแนะให้โรงเรียนปรับปรุงเรื่ องการเรียนการสอนในโรงเรียนเพราะถือว่าหน้าที่
ในการจัดการศึกษาเป็ นของโรงเรียนและครู หากผูป้ กครองนักเรียนจะแสดงความคิดเห็นหรือ
ข้อเสนอแนะอะไรก็ยงั เกรงว่าจะไม่ถูกหลักการของครูหรือของโรงเรียน
2. การมีสว่ นร่วมของชุมชนและโรงเรียนแบบเป็นบางส่วน (partial participation) การมี
ส่วนร่วมแบบบางส่วน เป็ นการเข้ามามีสว่ นร่วมแบบบางส่วน เป็นการเข้ามามีสว่ นเกีย่ วข้องของ
ประชาชนในชุมชน หรือกิจกรรมการศึกษาในระดับความเข้มข้นมากกว่าแบบชายขอบ กิจกรรมโดย
คณะกรรมการโรงเรียนจึงมีความสําคัญ ทีร่ ฐั ถือว่าเป็นนโยบายสําคัญซึง่ สามารถสร้างความชอบ
ธรรมในการจัดการศึกษาของไทย การมีสว่ นร่วมแบบเป็นบางส่วนนี้จะมีลกั ษณะทีเ่ ป็นส่วนร่วมแบบ
ร่วมริเริม่ งาน มาร่วมงาน ร่วมให้การสนับสนุนด้วยการบริจาคหรือการร่วมมือในการทํางาน โดยมี
บทบาทมากกว่าแบบชายขอบ ได้แก่ กลุม่ ของคณะกรรมการโรงเรียนสามารถร่วมแสดงความ
คิดเห็น และร่ วมตัดสินใจได้บา้ งซึง่ การตัดสินใจนัน้ อาจจะไม่สามารถเปลีย่ นแปลงการดําเนินการได้
ทัง้ หมดก็ตาม อย่างไรก็ตาม การคิดริเริม่ กิจกรรมต่าง ๆ ยังคงเริม่ ต้นจากฝา่ ยโรงเรียน และในการ
ร่วมกิจกรรมสามารถมีสว่ นได้ทกุ กิจกรรม ยกเว้นกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดการเรียนการสอน
12

3. การมีสว่ นร่วมของชุมชนและโรงเรียนแบบสมบูรณ์ (full participation) เป็นการมีสว่ น


ร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน โดยทัง้ สองฝา่ ยร่วมกันอย่างเข้มข้นและเท่าเทียมกัน ต่างฝา่ ยต่างมี
อิทธิพลต่อกิจกรรมร่วมกัน ทุกฝา่ ยมีสว่ นร่วมได้เต็มที่ เป็นการมีสว่ นร่วมของกลุม่ ผู้ นําหลักในชุมชน
เช่น เจ้าอาวาส ผูบ้ ริหารโรงเรียน ประธานคณะกรรมการโรงเรียน เป็นกลุม่ ทีม่ บี ทบาทในอันทีจ่ ะ
ชีน้ ําให้เกิดการเปลีย่ นแปลงในชุมชน เป็นแบบแผนของการมีสว่ นร่วมและมีอาํ นาจในการตัดสินใจ
อย่างเต็มที่ กลุม่ ผูน้ ําชุมชนทีเ่ ป็ นผูม้ อี ทิ ธิพลเพราะมีทรัพยากรทางอํานาจ ทํา ให้มบี ทบาทตามหน้าที่
ทีเ่ ป็นทีย่ อมรับของคนในชุมชน จะเป็ นผูน้ ําในการริเริม่ งาน ผูค้ ดิ งาน ร่วมดําเนินการ ร่วมสนับสนุน
ร่วมงานและร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างจริงจังทุกขัน้ ตอนและมีอาํ นาจ
ในการตัดสินใจได้มากทีส่ ดุ

1.4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน
อัพฮอฟ (ชูเกียรติ ลีสวุ รรณ์ . 2534: 34; อ้างอิงจาก Uphoff. 1981: 20) ได้แบ่ง ลักษณะ
การมีสว่ นร่วม ออกเป็ น 4 ลักษณะ คือ การมีสว่ นร่วมในการตัดสินใจ การมีสว่ นร่วมในการ
ดําเนินการ การมีสว่ นร่วมในผลประโยชน์ และการมีสว่ นร่วมในการประเมินผล โดยมุง่ เน้ นการมี
ส่วนร่วมในการตัดสินใจเป็ นประการสําคัญ และควรแย่งพิจารณาการมีสว่ นร่วมออกเป็น 2 นัย คือ
1. มิตกิ ารมีสว่ นร่วมและบริบทหรือสภาพเงือ่ นไขสถานการณ์สง่ิ แวดล้อม การมีสว่ น
ร่วมในแง่บริบท ได้แก่ ลักษณะการมีส่วนร่วมดังกล่าวข้างต้น
2. การมีสว่ นในกิจกรรมของการมีสว่ นร่วม อาจจะเป็นบุคคลภายใน หรือบุคคลภายนอก
หมูบ่ า้ นก็ได้ ประเด็นทีน่ ่ าสนใจ คือ ลักษะสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผูม้ สี ว่ นร่วม อีกทัง้
วิธกี ารเข่าร่วมพิจารณาจากสาเหตุของแรงจูงใจลักษณะการร่วมขอบเขตระยะเวลาหรือลักษณะ
กิจกรรมทีเ่ ข้าร่วม ตลอดจนผลของการเข้าร่วม
ส่วนในแง่ของบริบท หรือเงือ่ นไขสภาพแวดล้อม อัพฮอฟ ได้พจิ ารณาจากสภาพแวดล้อม
แง่ตวั โครงการ ได้แก่ ส่วนทีน่ ําเข้า ลักษณะประโยชน์ทไ่ี ด้รบั รูปแบบของโครงการ และจาก
สภาพแวดล้อมอื่นๆ ซึง่ กระทบกิจกรรม ได้แก่ สภาพแวดล้อมในอดีต ตลอดจนประสบการณ์ของผูท้ ่ี
เกีย่ วข้องกับสภา พแวดล้อมทางกายภาพและธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมทางสังคม (วัฒนธรรม
สังคม การเมือง เศรษฐกิจ) ซึง่ มีสว่ นทําให้คนในชุมชนเข่าร่วมหรือไม่ ในการพิจารณาภายในชุมชน
ของตนเอง
จากกรอบวิเคราะห์ขา้ งต้นจะเห็นว่า ประชาชนมีสว่ นในกิจกรรมต่างๆ มากขึน้ เพียงใด
ขึน้ อยูก่ บั องค์ประกอบต่างๆ อย่างสลับซับซ้อน มิใช่ดา้ นใดด้านหนึ่ง จะต้องพิจารณาถึงมิตขิ องการ
มีสว่ นร่วม นอกจากนัน้ ในด้านองค์ประกอบทางประวัตศิ าสตร์ ภูมศิ าสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ก็เป็นสิง่ สําคัญในการพิจารณาการมีสว่ นร่วมของ
ชุมชนและสังคมไทยทีม่ ลี กั ษณะทางวัฒนธรรม
13

โดยสรุปแล้ว ปจั จัยทีท่ าํ ให้เกิดแรงกระตุน้ แก่ชุมชนทีส่ ่งผลกระทบต่อการมีส่วนร่วม ได้แก่


ปจั จัยภายในตัวบุคคล คือ ความรูส้ กึ ความคาดหวัง และความต้องการทีจ่ ะผลักดันและปจั จัย
ภายนอก คือ แรงเสริมทีช่ ว่ ยกระตุน้ ให้ปจั จัยตัวบุคคล เกิดการมีสว่ นร่วมมากขึน้ คือ รางวัลตอบแทน
สภาพแวดล้อมทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ความปลอดภัย และวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม
ประเพณี

1.5 ปัญหาและข้อจํากัดของการมีส่วนร่วมของชุมชน
เจิมศักดิ ์ ปิ่นทอง (2527: 54) ได้เสนอความคิดเห็นไว้วา่ เจ้าหน้าทีแ่ ละระบบราชการ
เป็นอุปสรรคต่อการมีสว่ นร่วมของชุมชนได้ 2 ด้าน คือ
ปญั หาเกีย่ วกับตัวของชาวชนบทเองถึงความเป็นปจั เจกบุคคล นอกจากนัน้ ชาวชนบท
ยังอยูภ่ ายใต้ระบบอุปถัมภ์ หรือพึง่ บุคคลภายนอกมากเกินไป มีการดูถกู ฐานะของตนเอง โดยทํา
การเลือกผูน้ ําทีส่ ามารถอุปถัมภ์ตนเองได้
1. ปญั หาเกีย่ วกับตัวของเ จ้าหน้าทีแ่ ละระบบราชการต่อการมีสว่ นร่วมของชุมชน มี
ลักษณะดังนี้
1) นโยบายในระบบราชการมักจะมาจากเบือ้ งบน
2) การจัดสรรงบประมาณมาจากส่วนกลาง คํานึงถึงเฉพาะกิจกรรมทีส่ ว่ นกลาง
กําหนด
3) ระบบราชการและเจ้าหน้าทีใ่ นระดับต่างๆ ขาดการประสานงาน และรับปฏิบตั ิ
เฉพาะนโยบายหลักของหน่วยงาน
4) มีความสัมพันธ์แบบผูใ้ หญ่ผนู้ ้อย มักจะเชือ่ ว่าตนเองมีฐานะสูงกว่าชาวชนบท
5) เจ้าหน้าทีร่ าชการชอบทํางานสํานักงาน
6) ระบบราชการใช้การให้คณ ุ ให้โทษ ทําตัวให้พอใจแก่ผบู้ งั คับบัญชา มิได้ปฏิบตั งิ าน
เพือ่ ประชาชนอย่างแท้จริง
7) บุคคลภายนอกหรือผูเ้ กีย่ วข้อง ไม่ตอ้ งการให้ชาวชนบทเข้ามาร่วมในการพัฒนา
นําชัย ทนุผล (2531: 45) ได้ระบุวา่ ปญั หาในการมีสว่ นร่วมในกิจกรรมของการ
พัฒนาชุมชนชองประชาชนมีสาเหตุอยูด่ ว้ ยกันหลายประการ คือ
1. เกิดจากตัวของประชาชนเอง ข้อจํากัดในกรณีน้ี เกิดขึน้ ด้วยความเ คยชินของตัว
ประชาชนเอง ซึง่ มักจะเป็ นผูร้ บั บริการอยูเ่ สมอ ทัง้ ในรูปของการได้รบั บริการค่าตอบแทนหรือ
ยัดเยียดให้บริการประชาชนเองเลยมีคา่ นิยมและทัศนคติวา่ รัฐบาลจะเป็นผูใ้ ห้ความช่วยเหลือ
อยูเ่ สมอทําให้พวกเขาเหล่านัน้ เกิดความรูส้ กึ แบบการพึง่ พาตลอดเวลา จะ เห็นบ่อยครัง้ ทีเ่ ดียวที่
โครงการพัฒนาของรัฐบาลซึง่ ได้พยายามเข้าไปพัฒนาชุมชนเพือ่ ยกระดับคุณภาพชีวติ ของ
ประชาชนโดยเน้นในปรัชญาของการช่วยเหลือตนเอง แต่กจิ กรรมของโครงการเหล่านัน้ มักจะ
ออกมาในรูปของการกระทําเพือ่ ประชาชนมิใช่กระทําร่วมกับประชาชน
14

2. การเกิดองค์กร เจ้าหน้าที่ และระบบราชการ ซึง่ ปฏิบตั กิ นั อยูท่ กุ วันนี้ นับได้วา่ เป็ น


ข้อจํากัดทีท่ าํ ให้การมีสว่ นร่วมของประชาชนลดน้อยถอยลง กล่าวคือ
2.1 นโยบายการพัฒนาในระบบราชการไทย มักมีคาํ สังมาจากเบื ่ อ้ งบน จึงเป็น
การยากทีเ่ จ้าหน้าทีห่ รือนักพัฒนา จะให้ประชาชนเข้ามามีสว่ นร่วมอย่างแท้จริง
2.2 ทางด้านตัวเจ้าหน้าทีห่ รือบุคลากร การยึดระบบให้คณ ุ ให้โทษ ซึง่ ถือความพึง
พอใจของผูบ้ งั คับบัญชา และกิจกรรมทีเ่ กิดขึน้ เป็ นหลัก
2.3 ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างผูใ้ หญ่ผนู้ ้อย
ประชาชนในชนบทโดยมากแล้ว มักจะถือว่าข้าราชก ารหรือนักพัฒนาต่างๆ เป็นผูม้ คี วามรู้ มีอาํ นาจ
หรือหน้าทีเ่ ป็ นนายของประชาชน ทําให้เจ้าหน้าทีห่ รือนักพัฒนามีแนวโน้มทีค่ ดิ ว่าตัวเองมี
คุณภาพสูงกว่าชนบท ดังนัน้ นักพัฒนามักจะแสดงตนเป็นผูน้ ําและดําเนินการเองทุกอย่าง
กล่าวโดยสรุป ปญั หาและอุปสรรคทีเ่ ป็นตัวขัดขวางการมีส่ วนร่วมของประชาชน ได้แก่
การขาดจิตสํานึกในความเป็ นเจ้าของโครงการการพัฒนาต่างๆ ในชุมชนของตนเอง การไม่กระจาย
อํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบให้แก่ประชาชน และโครงสร้างอํานาจทางการเมือง การปกครอง
และการบริหาร รวมถึงระบบอุปถัมภ์ของสังคมไทย

2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทย


2.1 ประวัติของผ้าทอมือในประเทศไทย
จากการศึกษาถึงเรือ่ งราวของผ้าทอมือในประเทศไทย ได้คน้ พบข้อมูลหลักฐานทีเ่ ป็น
การแสดงถึงประวัตคิ วามเป็ นมา กรรมวิธ ี และวัฒนธรรมการทอผ้าทีป่ รากฏอยูบ่ นดินแดนทีเ่ ป็น
ประเทศไทยในปจั จุบนั ดังนี้
การทอผ้านับได้วา่ เป็ นงานหัตถกรรมทีม่ ปี ระวัตเิ ก่าแก่มากทีส่ ดุ ในโลกงานหนึ่ง
ถึงแม้วา่ จะไม่สามารถกล่าวถึงต้นกําเนิดของการทอผ้าว่ามีการเริม่ ต้นขึน้ เมือ่ ใด ใครเป็นผูร้ เิ ริม่ ขึน้ ก็
ตาม แต่มสี ง่ิ หนึ่งทีค่ น้ พบได้งา่ ย และสามารถใช้เป็นหลักฐานเชือ่ มโยงได้เป็นอย่างดีคอื การนําไม้มา
ขัดกันเพื่อใช้ทาํ รัว้ หรือใช้เป็ น ฝาผนังสําหรับสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัย เป็นต้น สําหรับในประเทศไทยนัน้ จะ
พบว่า มีการนําไม้ไผ่มาสานเพือ่ ใช้งานในรูปแบบต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นการทํารัว้ บ้าน การนํามาสร้าง
เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยแล้ว ยังมีการนํามาทําเป็นภาชนะ และสิง่ ของเครือ่ งใช้ใ นชีวติ ประจําวันต่างๆ อีก
มากมาย ด้วยหลักฐานเหล่านี้เองคือทีม่ าของการทอผ้า
ถ้าจะกล่าวถึงหลักของกรรมวิธที อผ้าแล้ว หลักของการทอผ้านัน้ ก็ใช้วธิ กี ารเดียวกัน
กับการสานไม้ไผ่นนเอง ั่ เพียงแต่การทอผ้าจะใช้เส้นใยในการทอเป็นผืนผ้า และหลักในการทอผ้าคือ
การนําเส้นใยสองพวกมาขัดกัน โดยทัง้ สองพวกนัน้ ต้องตัง้ ฉากกัน เส้นใยกลุ่มแรกเรียกว่า
“เส้นยืน” และเส้นด้ายอีกพวกเรียกว่า “เส้นพุ่ง ” เป็ นกรรมวิธเี ดียวกันกับ การสานด้วยไม้ไผ่ หรือการ
สานด้วยกระดาษ ลักษณะของการขัดกันของเส้นยืน และเส้นพุง่ จะใช้วธิ ขี ดั กันแบบธรรมดา ซึง่ เ ป็น
กรรมวิธขี องการทอขัน้ พืน้ ฐาน หรืออาจจะมีการทอเป็นลวดลายอื่นๆ อีกก็ได้ขน้ึ อยูก่ บั กรรมวิธกี าร
ทอผ้าทีแ่ ตกต่างกันออกไป (ยุพนิ ศรี สายทอง 2528: 23)
15

ในประเทศไทยนัน้ มีประวัตกิ ารทอผ้าใช้กนั ในชุมชนเองมาแต่โบราณกาล ไม่วา่ จะเป็ น


ในหมูบ่ า้ น หรือในสังคมเมื องยุคสมัยต่ อมา (สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน เล่ม 21. 2539: 106)
ดังที่ จิราภรณ์ อรัณยะนาค (2536: 151 - 156) ได้ทาํ การศึกษาวิจยั เรือ่ งผ้าจากแหล่งโบราณคดีใน
ประเทศไทยและได้คน้ พบหลักฐานจากงานจิตรกรรมทีฝ่ าผนังถํ้า หรือบนเพิงผาในหลายๆ แห่ง ซึง่
มีอายุอยูร่ ะหว่างประมาณ 3,000 – 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นถึงการแต่งกายของมนุษย์
ในยุคสมัยนัน้ ว่าไม่ได้เปลือยกายเสียทีเดียว หากแต่มกี ารปกปิด หรือมีการห่อหุม้ ร่างกาย ตัง้ แต่ช่วง
เอวลงไปดวยวัสดุชน้ิ เล็กๆ โดยไม่สามารถระบุหรือทราบแน่ชดั ว่าวัสดุเหล่านัน้ ทํามาจากสิง่ ใด จึง
สันนิษฐานได้วา่ มนุ ษย์ ในยุคหินเก่าทีอ่ าศัยอยูใ่ นดินแดนทีเ่ ป็นประเทศไทยในปจั จุบนั ยังคงไม่รจู้ กั
กรรมวิธใี นการทอผ้า เนื่องจากเสือ้ ผ้าเครือ่ งนุ่งห่มสําหรับมนุษย์ในยุคนัน้ อาจทํามาจากใบไม้ เปลือก
ไม้ หรือหญ้าซึง่ เป็ นพืชทีม่ อี ยูใ่ นแหล่งอาศัย หรืออาจจะใช้หนังสัตว์ทไ่ี ด้จากการล่านันเอง

ั ่ ายหรือ
จากการศึกษาในเรือ่ งนี้ ยังไม่มกี ารพบหลักฐานทีจ่ ะระบุแน่ ช ั ดได้วา่ มีการปนด้
มีการทอผ้าในประเทศไทยได้เริม่ ต้นขึน้ ในสมัยใด แต่พอสันนิษฐานได้วา่ ได้มกี ารทอผ้าเกิดขึน้ ในยุค
ก่อนประวัตศิ าสตร์แน่ นอน แต่หลักฐานทีจ่ ะเป็นสิง่ ยืนยันได้คอื เสือ้ ผ้า เครือ่ งแต่งกายและสิง่ ทอในยุค
สมัยต้นๆ ได้ผพุ งั สูญสลายไปในระยะเวลาไม่นานนัก ทัง้ นี้เกิดจากสาเหตุทว่ี า่ เสือ้ ผ้า และสิง่ ทอ
ต่างๆ นัน้ ได้ทาํ มาจากวัสดุธรรมชาติทเ่ี ป็นอินทรียวัตถุจงึ เป็นวัตถุทไ่ี ม่คงทนนัก นอกจากนี้ยงั
ประกอบกับลักษณะภูมอิ ากาศในดินแดนทีเ่ ป็นประเทศไทยซึง่ อยูใ่ นภูมเิ ขตภูมอิ ากาศแบบร้อนชืน้ มี
ความร้อน และความชืน้ จัด เหตุน้ีจงึ เป็นตัวการในการทําลายวัสดุทท่ี าํ มาจากอินทรียวัตถุทไ่ี ม่
สามารถทีจ่ ะคงสภาพให้อยูร่ อดได้ในสภาพภูมอิ ากาศดังกล่าว เพราะฉะนัน้ หลักฐานทีเ่ ป็นผ้า หรือ
สิง่ ทอจึงมีหลงเหลือจนถึงปจั จุบนั มีปริมาณเป็นจํานวนทีน่ ้อยมา ก และจากการขุดค้นในแหล่ง
โบราณคดีไทยนัน้ ได้พบวัตถุบางอย่างทีใ่ ช้เป็นหลักฐานทีใ่ ช้ในการศึกษา และสามารถเชือ่ มโยงถึง
วิวฒ ั นาการทางเทคโนโลยีของการทอผ้าในยุคโบราณบางส่วนตัง้ แต่ยคุ หินเป็นต้นมา
2.2 ความสําคัญของการอนุรกั ษ์ผา้ พื้นเมืองของไทย
วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ (2532: 61) กล่าวว่า ผ้าพืน้ เมืองนัน้ เป็นศิลปหัตถกรรมไทยทีม่ ี
เอกลักษณ์เฉพาะถิน่ ต่างกันไป แต่ดว้ ยความเปลีย่ นเแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทําให้ผา้ ทอบาง
ชนิดเปลีย่ นรูปแบบไป จึงนับเป็ นงานศิลปหัตถกรรมประเภทหนึ่งทีค่ วรได้รบั การอนุรกั ษ์ไว้
นอกจากนี้วบิ ลู ย์ ลีส้ วุ รรณ (2530: 45-46) ยังได้กล่าวเพิม่ เติมไว้อกี ว่า หัตถกรรม
ท้องถิน่ พืน้ บ้านพืน้ เมืองนัน้ ถือได้วา่ เป็นสิง่ ผลิตพืน้ ฐานของชีวติ มาแต่อดีต และเป็นสิง่ ของเครือ่ งใช้
ทีม่ คี วามจําเป็ นในการดํารงชีพตามสภาพความความเป็นอยูข่ องแต่ละกลุม่ ชน สิง่ เหล่านัน้ จะผลิตขึน้
เพือ่ สนองประโยชน์ ใช้สอยและสนองความเชื่อของบุคคลในกลุ่ มชนเป็นสําคัญ และเนื่องจาก
วัฒนธร รมพืน้ บ้านนัน้ มีความสําคัญในท้องถิน่ คือ วัฒนธรรมท้องถิน่ หรือวัฒนธรรมพืน้ บ้านเป็น
วัฒนธรรมทีค่ นธรรมดาสามัญกลุม่ หนึ่งคิดขึน้ และปฏิบตั สิ บื ทอดกันมาทัง้ นี้ ก็เพือ่ ความเป็นระเบียบ
ในสังคม อีกทัง้ สามารถแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมความ เจริญรุง่ เรือง หรือความก้าวหน้าของสังคม
ในอดีตซึง่ เป็ นฐานเชือ่ มโยงมาถึงปจั จุบนั
16

การอนุ รกั ษ์งานหัตถกรรมผ้าพืน้ เมืองของไทยให้คงอยูน่ นั ้ มีความสําคัญอยูห่ ลายประการ


ซึง่ พอสรุปได้ดงั นี้ คือ
1. มีคณ ุ ค่าทางด้านความงาม ทําให้เกิดความสุนทรียแ์ ก่ผใู้ ช้และผูส้ มั ผัสพบเห็น
2. เป็ นสิง่ แสดงถึงลักษณะเฉพาะถิน่ ของแต่ละยุคสมัย อันได้แก่ สภาพทางภูมศิ าสตร์
วัสดุ ความเชือ่ และคตินยิ มในแต่ละถิน่ ทําให้เราสามารถทราบถึงสภาพความเป็นอยูข่ องคนในอดีต
ในแต่ละท้องถิน่ ได้
3. ทําให้เรารูถ้ งึ ภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ของชาวไทยในอดีต และเกิดความภาคภูมใิ จในความเป็น
ชาติไทย ก่อให้เกิดความสามัคคีกนั ของคนในชาติ
4. มีประโยชน์ในแง่เศรษฐกิจ เป็นการเพิม่ การสร้างงานอาชีพในแต่ละท้องถิน่ ทําให้ตอ้ ง
พึง่ พาสินค้าของต่างชาติ มีความมันคงทางเศรษฐกิ
่ จมากขึน้
จากความสําคัญดังกล่าวกระทรวงอุตสา หกรรมจึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีพจิ ารณาแต่งตัง้
“คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาหัตถกรรมไทย ” ขึน้ เพื่อส่งเสริมและอนุ รกั ษ์หตั ถกรรมแต่ละ
ประเภท ได้แก่ ประเภทเครือ่ งหนัง ประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์ผา้ ประเภทไม้ หวาย ไม้ไผ่และเส้นใย
พืช ประเภทเครือ่ งปนดิ ั ้ นเผา และประเภทโลหะ (กระทรวงอุตสาหกรรม. 2538: 61) นอกจากนี้ยงั มี
การตัง้ หน่ วยงานทีเ่ กีย่ วกับการอนุ รกั ษ์ศลิ ปวัฒนธรรมไทย ซึง่ ทําหน้าทีร่ บั ผิดชอบงานด้านอนุรกั ษ์
มรดกของไทยโดยตรง เช่น สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการ
เอกลักษณ์ไทย ตลอดจนการจัดตัง้ ศูนย์สบื ทอดผ้าพืน้ เมืองขึน้ ในบางท้องถิน่ เป็นต้น

2.3 ปัญหาและอุปสรรคของการทอผ้าพื้นเมืองของไทย
การผลิตผ้าพืน้ เมืองในปจั จุบนั มีขอ้ จํากัด ปญั หาและอุปสรรคมากมายหลายประการ
ทัง้ ในด้านเครือ่ งมือ วัตถุดบิ การขาดแคลนช่างทอ ตลอดจนการสูญเสียเอกลักษณ์ดงั ้ เดิมของ
ท้องถิน่ ซึง่ ส่งผลต่อการอนุ รกั ษ์และพัฒนาผ้าพืน้ เมืองของไทยในปจั จุบนั เป็นอย่างมาก
วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ (2530: 61) กล่าวถึงเป็นหาของการทอผ้าพืน้ เมืองไว้ ดังนี้
1) ปญั หาในด้านเครือ่ งมือ
1.1) กีพ่ ุ่งและกีก่ ระตุก เป็นกีโ่ บราณทีเ่ หมาะสมกับการทอผ้าทีเ่ ป็นลวดลาย
ต้องการความประณีต แต่ทอได้ชา้ มาก เช่น ข้อจํากัดของกีท่ จ่ี ะต้องมีผงั เป็นไม้ชน้ิ เล็กๆ ขนาดยาว
กว่าความกว้างของหน้าผ้าปาดปลายเสีย้ มแหลม หรือบางทีใช้โลหะปลายแหลมสวมปลายทัง้ สอง
ข้าง ขึงริมผ้าขณะทออยูต่ ลอดเวลา เพือ่ ช่วยให้ผา้ ทุกระยะมีความกว้างและตึงสมํ่าเสมอเท่ากัน
ตลอดผืน เมือ่ ทอผ้า ได้ระยะหนึ่งผูท้ อจะต้องเลือ่ นผังอยูเ่ รือ่ ยๆ ตลอดการทอผ้าทัง้ ผืน ซึง่ ทําให้
เสียเวลา ทําให้ทอผ้าได้ชา้
17

1.2) ฟืม เป็ นเครือ่ งมือสําคัญและเป็นตัวกําหนดความกว้างของผ้า ความถีห่ ่ าง


ของเส้นยืนขึน้ อยูก่ บั จํานวนซีข่ องฟนั ฟืม ความละเอียดของฟนั ฟืมจะมีผลสัมพันธ์กบั ความเ รียบของ
ผ้าด้วย เพราะฟืมจะเป็ นตัวกระแทกเส้นด้าย ให้เรียงประสานกันเป็นระเบียบ เนื้อแน่น ขนาดความถี่
ห่างของฟืมจะต้องสัมพันธ์กบั เส้นใย เพราะจะต้องสืบหูกทําเส้นยืนจากช่องว่างระหว่างฟนั ฟืมและ
ฟนั ซี่ ดังนัน้ ฟืมจึงเป็ นเครือ่ งมือทีต่ อ้ งการประณีตในการสร้างมาก จึงทําให้ ฟืมเริม่ เป็ นสิง่ ทีห่ ายาก
และราคาสูง แต่ปจั จุบนั มีการทําฟืมเหล็กแต่มรี าคาแพงมากเกินกําลังซือ้ ของชาวบ้านทีไ่ ม่ได้มอี าชีพ
หลักด้วยการทอผ้า และคิดว่าอาจเป็ นการลงทุนทีไ่ ม่คมุ้ ค่า
2) ปญั หาการขาดแคลนช่างทอ
เกิดความไม่พร้อม ทอได้ใช้ ได้ค่าตอบแทนไม่คมุ้ ค่าเวลา โด ยเฉพาะการทอผ้าขิด
ผ้ามัดหมีแ่ ละผ้าจกซึง่ ต้องใช้เวลามาก เช่น การสืบหูก และเดินเครือ่ งเพื่อทอผ้ามัดหมี่ ซึง่ ต้องใช้
เวลา 1 – 2 วัน แต่ถา้ เป็ นผ้าทีม่ ลี วดลายละเอียดจะต้องใช้เวลามากกว่านัน้ เช่น ผ้าจก ส่วนทีใ่ ช้ทาํ
ตีนซิน่ บางแห่งใช้เวลาเป็ นเดือน และเมือ่ ทอเสร็จแล้ วราคาทีจ่ าํ หน่ ายได้ทวไปจะไม่
ั่ คมุ้ กับเวลาทีเ่ สีย
ไป จึงทําให้ชา่ งทอผ้าทีม่ ฝี ีมอื หันไปประกอบอาชีพทีม่ รี ายได้ดกี ว่าเป็นส่วนใหญ่ มากกว่าทีจ่ ะยึด
อาชีพทอผ้าด้วยความรักหรือภูมใิ จในฝีมอื ของตน (วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ. 2530: 61)
3) ปญั หาด้านวัตถุดบิ
แต่เดิมชาวบ้านสามารถผลิตวัตถุดบิ ได้เอง ไม่ว่าจะเป็ นการปลูกฝ้ายหรือเลีย้ งไหม
แต่ดว้ ยการขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่สามารถพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้ผลดี ทําให้ผลิตได้น้อย
ไม่คมุ้ ทุน คุม้ เวลา เชือ่ มโยงไปถึงกรรมวิธกี ารผลิตสืบเนื่อง เช่น การย้อม การปนฝ ั ่ ้ าย และการสาว
ไหม ซึง่ เป็ นกรรมวิธพี น้ื บ้านทีไ่ ม่ได้พฒ ั นาปรับปรุงด้วยการศึกษาวิเคราะห์วจิ ยั อย่างลึกซึง้ ชาวบ้าน
ทําไปด้วยความสามารถของตน แม้วา่ ทางราชการจะเข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมอยูบ่ า้ งแต่กย็ งั ไม่
เพียงพอ ช่างทอผ้าพืน้ เมืองส่วนใหญ่เลิกผลิตวัตถุดบิ เอง หันไปซือ้ วัตถุดบิ สําเร็จรูปจากภายนอก
ทําให้ผา้ พืน้ เมืองเปลีย่ นรูปแบบไป ขาดเอกลักษณ์เฉพาะถิน่ ทีท่ าํ ให้ไม่ได้รบั ความนิยมเท่าทีค่ วร
และการใช้วตั ถุดบิ สําเร็จรูปจากผูแ้ ทนจําหน่ าย ยังนําไปสู่การลงทุนแบบกูย้ มื ในลักษณะตกเขียว
เป็นการผูกมัดช่างทีม่ กั ไม่ได้รบั ความเป็นธรรม เป็นการก่อหนี้สนิ ให้แก่ชา่ งทอผ้าและเ กีย่ วโยงไปถึง
การผูกมัดผลผลิต ช่างทอจะไม่มโี อกาสเป็นผูก้ าํ หนดราคาผลผลิตและค่าแรงงานของตนเองได้
(วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ. 2530: 61)
4) ปญั หาการสูญเสียเอกลักษณ์
การทอผ้าพืน้ เมืองของไทยในปจั จุบนั มีแนวโน้มของความเปลีย่ นแปลงและความ
เสื่อมสลายของเอกลักษณ์เฉพาะถิน่ ค่อนข้างสูง เพราะผูท้ อผ้ามักเปลีย่ นแปลงรูปแบบของผ้าไปตาม
ความนิยมของผูบ้ ริโภคเพือ่ ให้จาํ หน่ ายได้ ขณะทีผ่ บู้ ริโภคทีน่ ยิ มผ้าพืน้ เมืองทีม่ คี วามรู้ ความเข้าใจ
ในคุณค่าของผ้าพืน้ เมืองมีน้อยทําให้ปริมาณการซือ้ จํากัด ซึง่ เป็ นปญั หาหนึ่งทีเ่ ป็ นตัวเร่งให้เกิด
ความเสือ่ มสลายของผ้าพืน้ เมืองในปจั จุบนั (วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ. 2530: 61)
18

ซึง่ สอดคล้องกับที่ ณัฏฐภทร จันทวิช (2547: 20) ได้กล่าวไว้วา่ การทอผ้าพืน้ เมือง


ในปจั จุบนั ได้เปลีย่ นแปลงจากการผลิตเพือ่ ใช้ในครัวเรือนมาเป็นการผลิตเพือ่ จําหน่ายและกําลังจะ
เติบโตขึน้ เป็ นอุสาหกรรมในอนาคต เพือ่ ตอบสนองความนิยมและความต้องการในการใช้ผา้ พืน้ เมือง
ทีเ่ พิม่ มากขึน้ จึงเกิดการทอผ้าด้วยเครือ่ งจักรมากขึน้ รวมทัง้ มีการมัดลายขายส่งให้ผทู้ อซือ้ ไปทอได้
เลย ทําให้ขาดความคิดสร้างสรรค์ของช่างทอและทําให้ลายดัง้ เดิมของแต่ละถิน่ ลดความสําคัญลง
เกิดการนําลายต่างถิน่ มาทอผสมผสานขาดความเป็ นเอกลักษณ์ของแต่ละถิน่ ทีม่ มี าแต่เดิม
สารานุ กรมไทยสําหรับเยาวชน เล่มที่ 21 (2540: 45) ได้กล่าวถึง ปญั หาในการอนุ รกั ษ์และ
สืบทอดศิลปะผ้าไทยไว้ ดังนี้
1. ศิลปหัตถกรรมในหลายๆ ท้องถิน่ ยังถูกละเลย การผลิตศิลปหัตถกรรมกระจัดกระจาย
อยูท่ วไปไม่
ั่ มแี หล่งรวมในบางท้องถิน่
2. ขาดการกระตุน้ หรือประกวดให้ผลิตผลงานทีม่ คี ณ ุ ภาพมากๆ ขึน้
3. ผูม้ ฝี ีมอื เปลีย่ นไปประกอบอาชีพอื่น
4. ไม่รกั ษาคุณภาพให้สมํ่าเสมอ เมือ่ ผ้าทอขายดีจะผลิตผ้าทีด่ อ้ ยฝีมอื มาขายแทน ช่างทอ
ก็มคี ุณภาพด้อยลง และมีจาํ นวนน้อยลงเรือ่ ยๆ
5. ช่างฝีมอื คุณภาพดีมกั ทํางานได้ชา้ ขายยาก เพราะต้องการขายราคาแพงให้คมุ้ กับเวลา
หมดกําลังใจ ขาดการส่งเสริม
6. ช่างทอฝีมอื ดีหลายคนยังไม่มคี นรูจ้ กั และเห็นคุณค่า ช่างฝีมอื ขาดการแข่งขันทางความคิด
7. การถ่ายทอดทํากันในวงจํากัด ขาดตัวผูส้ บื ทอดอย่างจริงจังและกว้างขวาง
นอกจากนี้มหาวิท ยาลัยศิลปากรยังได้จดั ทําโครงการพัฒนาผ้าพืน้ เมืองในทุกจังหวัดของ
ประเทศซึง่ เป็ นโครงการทีท่ าํ การสํารวจผูผ้ ลิตผ้าทอพืน้ เมืองในทุกจังหวัดของประเทศ ทําให้ทราบ
ถึงเรือ่ งของสภาพของปญั หาและอุปสรรคทางด้านกระบวนการผลิตและการจําหน่ายผ้าพืน้ เมืองของ
ไทย ซึง่ สามารถสรุปได้ดงั นี้ (มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2544: 34)
1. ผูท้ อส่วนหนึ่งขาดความตื่นตัวในอาชีพและขาดผูส้ บื ทอดและการอนุรกั ษ์เอกลักษณ์หรือ
ศิลปะของการทอแบบดัง้ เดิม ทัง้ นี้เนื่องจากเห็นว่ามีกรรมวิธใี นการทอทีย่ งุ่ ยากซับซ้อนและใช้
เวลานาน ทําให้ไม่คุม้ กับความพยายาม ส่วนหนึ่ งจึงได้ยกเลิกอาชีพการทอผ้าหรือหันไปทอผ้าลวด
ผ้าลวดลายประยุกต์ ซึง่ มีกรรมวิธใี นการทอทีง่ า่ ยกว่าทดแทน
2. ขาดการรวมกลุม่ ทีเ่ ข้มแข็งของผูท้ อผ้าในพืน้ ที่ ทําให้ขาดประสิทธิภาพในด้านการผลิต
หรือวางแผนการผลิตในทุกขัน้ ตอน อีกทัง้ ขาดอํานาจต่อรองหรือกําหนดทิศทางในเรือ่ งการจําหน่าย
3. ขาดความคิดริเริม่ ในการพัฒนา หรือ คิดค้นการทอผ้าลวดลายประยุกต์ลวดลายใหม่
รวมทัง้ การทําผลิตแปรรูปทีห่ ลากหลายเพือ่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
4. ขาดตลาดจําหน่ ายทีเ่ พียงพอเพือ่ รองรับสินค้าทีผ่ ลิตได้ในพืน้ ที่ รวมทัง้ ถูกกดราคา จาก
พ่อค้าคนกลาง
19

5. ขาดการสนับสนุ น หรือ ช่วยเหลือจากหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องในพืน้ ทีอ่ ย่างเพียงพอใน


เรือ่ งของปญั หาดังทีก่ ล่าวมา อาทิ เงินทุนการสนับสนุนการจัดซือ้ วัตถุดบิ อุปกรณ์ในการผลิต การ
อบรมเทคนิคหรือวิธกี ารทอผ้าและประยุกต์ลาย เงินทุนสนับสนุนการรวมกลุม่ และบริหารจัดการ อี ก
ทัง้ การช่วยเหลือในด้านการจัดหาตลาดและประชาสัมพันธ์สนิ ค้า ซึง่ มักพบว่าขาดแนวทางในการ
แก้ไขทีย่ งยื
ั ่ นโดยมักใช้การช่วยเหลือโดยการรับซือ้ สินค้าไว้เองซึง่ จะทําได้เพียงบางครัง้ บางคราว
เท่า นัน้
ด้วยเหตุอนั เป็ นข้อจํากัดและปญั หาอันเป็นอุปสรรคของการทอผ้าพืน้ เ มืองตามท้องถิน่ ต่างๆ
ของประเทศในปจั จุบนั จึงควรมีหน่ วยงานของรัฐเข้าไปศึกษาวิจยั เพือ่ หาข้อสรุปในการส่งเสริมและ
อนุรกั ษ์ผา้ ทอพืน้ บ้านพืน้ เมืองไว้ก่อนทีศ่ ลิ ปหัตกรรมประเภทนี้จะเสือ่ มสูญไป เนื่องจากตามศิลปะ
การทอตามแบบศิลปะการทอของไทยนัน้ ก็เช่นเดียวกับศิลปหัตถกร รมประเภทอื่นๆ คือ ต้องมีการ
ส่งเสริมให้ใช้สอยเป็ นประโยชน์ในชีวติ ประจําวันของสังคมทีม่ กี ารผลิตขึน้ เองให้มากขึน้ เพราะหา
ผูค้ นในสังคมไม่นยิ มใช้ผา้ ทอตามแบบศิลปะของไทย หรือขาดความรูใ้ นศิลปะการทอแบบไทย ขาด
ความนิยมยกย่องในฝีมอื ช่างทอทีม่ คี ณ ุ ภาพแล้ว ศิลปะการทอผ้าของไทยก็หายากทีจ่ ะสืบทอดต่อไป
ถึงลูกหลานของเราได้ (สารานุ กรมไทยสําหรับเยาวชน เล่ม 21. 2540: 45)

2.4 วิ ธีการอนุรกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทย


การอนุ รกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทยซึง่ เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะท้องถิน่ นัน้ นักการศึกษา
หลายท่านได้ให้แนวคิดไว้ ดังนี้
พงศ์ศริ ิ นาคพงศ์ (2536: 18) กล่าวว่า การอนุ รกั ษ์และสืบทอดหัตถศิลป์ผา้ พืน้ เมืองอาจ
อนุรกั ษ์ได้โดยพิจารณาด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านบุคลากร การอนุ รกั ษ์ดา้ นผูถ้ ่ายทอดวิทยาการได้เห็นคุณค่าในการถ่ายทอด
ส่วนมากคนไทยเราจะรักลูกหลาน ใครทีม่ คี วามรูจ้ กั คุน้ มีความเป็นลูกเป็นหลานก็ จะถ่ายทอดศิลป
วิทยาการให้ ฉะนัน้ เราจึงต้องยกย่องศิลปินไม้ใกล้ฝงเหล่ ั ่ านี้ ส่วนผูร้ บั การถ่ายทอดก็ควรจะมีรายได้
เพียงพอแก่การดํารงชีวติ นอกเหนือไปจากการผลิตศิลปะด้านนี้เพือ่ การสันทนาการ
2. ด้านรูปแบบและวัสดุของงานศิลปหัตถกรรม ทําอย่างไรจะอนุรกั ษ์ศลิ ปะฝีมอื ดัง้ เดิมให้
คงอยู่ ในปจั จุบนั มีการใช้ดา้ ยโทเร และใยไหมสังเคราะห์กนั มาก ผ้าแม้จะผลิตแบบดัง้ เดิมแต่กใ็ ห้
ความงามทางสุนทรียภาพแตกต่างกันถ้าใช้เส้นใยโทเรหรือใยสังเคราะห์ ถ้าอนุรกั ษ์รปู แบบดัง้ เดิม
ไว้ได้และในด้านเส้นใย ถ้าตัง้ กองทุนผลิตและจําหน่ ายเส้นใยแบบดัง้ เดิมจะเป็ นใยฝ้ายหรือไหมไทย
ก็จะดีมาก
3. คุณภาพของผลิตผลหรือผลงานและตลาด การผลิตศิลปหัตถกรรมควรคํานึงถึงคุณภาพ
เป็นต้นว่า แม้สธี รรมชาติจะมีกรรมวิธที ผ่ี ลิตลําบากและสวยสดสูส้ เี คมีไม่ได้ สีเคมีราคาถูกหาได้งา่ ย
แต่สสี นั ของผ้าพืน้ เมืองทีเ่ กิดจากสีธรรมชาติจะให้ความงามไปอีก แบบหนึ่งจะมีเสน่ หต์ รงทีห่ าได้ยาก
นันเอง
่ ผลผลิตมีลวดลายคงเดิม มีสสี นั แบบเคมี แต่หาตลาดไม่ได้เพราะราคาแพง ต้นทุนสูง ทําให้
20

จําหน่ ายไม่ได้ ผูผ้ ลิตก็ตอ้ งหยุดผลิต ฉะนัน้ คุณภาพของผลผลิตหรือผลงานต้องอยูใ่ นความนิยมของ


ตลาด คืออาจจะอนุรกั ษ์ลวดลาย สีสนั และรูปแบบแล้วต้อง ดูตลาดด้วย การเป็นทีน่ ยิ มจําหน่ายได้
ราคาพอทีจ่ ะให้ผผู้ ลิตผลิตได้กเ็ ป็ นแนวทางทีท่ าํ ให้การอนุรกั ษ์เป็นผลสําเร็จ ฉะนัน้ การอนุรกั ษ์และ
สืบทอดหัตถศิลป์ผา้ พืน้ เมืองนัน้ จึงต้องคํานึงถึงด้านบุคลากร คือผูถ้ ่ายทอดวิทยาการ ผูผ้ ลิต วัสดุ
และรูปแบบการผลิต คุณภาพและตลาดดังกล่าวมาแล้ว
วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ (2530: 19) กล่าวว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมผ้าทีด่ นี นั ้ ต้องสร้างความ
มันคงขึ
่ น้ ในวงอุตสาหกรรมประเภทนี้ในประเทศซึง่ เป็นส่วนสําคัญขึน้ ก่อน ภาวะทีม่ นคงของ ั่
อุตสาหกรรมผ้าในประเทศควรจะตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐานทีเ่ กิดขึน้ จากความร่วมมือกันทัง้ ภาครัฐและเอกชน
คือ
1. ส่งเสริมการผลิตวัตถุดบิ ในประเทศโดยเฉพาะฝ้ายและไหมให้มคี ุณภาพดี และมีปริมาณ
เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ซึง่ จะส่งผลให้ผลผลิตมีราคาต้นทุนตํ่าอันเป็นปจั จัยสําคัญ
ในการแข่งขันในตลาดสากลและส่งผลให้มกี าํ ลังการบริโภคในประเทศสูงขึน้
2. ส่งเสริมให้มกี ารลงทุนในอุตสาหกรรมผ้าให้มากขึน้ ทัง้ ทางด้านอุตสาหกรรมผ้าพืน้ เมือง
และในโรงงานอุ ตสาหกรรมขนาดใหญ่ทต่ี อ้ งได้รบั การพัฒนาเทคโนโลยีให้สงู ขึน้ ทัดเทียมกับ
ต่างประเทศ ส่วนด้านอุตสาหกรรมผ้าพืน้ เมืองนัน้ ควรจะมีการส่งเสริมให้มกี ารลงทุนและการบริหาร
อย่างเป็นระบบ เกิดขึน้ และเน้นให้เห็นคุณค่าของฝีมอื และเอกลักษณ์ของท้องถิน่ อันเป็ นคุณสมบัติ
สําคัญยิง่ ของผ้าพืน้ เมืองพืน้ บ้านของไทย
3. ส่งเสริมให้เกิดความนิยมและรูค้ ณ ุ ค่าของผ้าทีผ่ ลิตในประเทศ เพือ่ เพิม่ ปริมาณการบริโภค
ในประเทศให้สงู ขึน้ อาจจะโดยวิธกี ารโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือ จัดนิทรรศการเผยแพร่ให้ความรูใ้ น
แนวทีก่ ่อให้เกิดความชื่นชม และรูค้ ุณค่าในหมูผ่ บู้ ริโภคให้กว้างขวางยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ผา้
พืน้ บ้านพืน้ เมืองของไทยซึง่ เป็ นผ้าทีม่ คี วามปราณีตงดงามอย่างยิง่ นัน้ ควรจะมีการส่งเสริมให้เกิด
ความนิยมในระดับต่างประเทศด้วย
นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังได้กล่าวถึงวิธกี ารเก็บรักษาผ้าโบราณ ซึง่ สามารถนํามา
ประยุกต์ใช้กบั การอนุ รกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองได้เช่นกัน โดยกล่าวไว้ดงั นี้ วิธกี ารอนุรกั ษ์ผา้ โบราณทีม่ ี
ประสิทธิภาพสูงทีส่ ดุ คือ การเก็บรักษาผ้าโบราณไว้ในทีป่ ลอดภัยจากภยันตรายทัง้ ปวง การนําผ้า
โบราณมาจัดแ สดงการทําลายผ้าโบราณโดยไม่รตู้ วั ผ้าโบราณทีน่ ํามาจัดแสดงเป็นเวลานาน จะมี
สภาพทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชดั เนื่องจากสาเหตุต่างๆ วิธกี ารเก็บรักษาผ้าโบราณมีผลอย่างมากต่อ
การ “คงสภาพ” หรือ “เสือ่ มสภาพ” ของผ้าโบราณ หากเก็บรักษาด้วยวิธที ถ่ี กู ต้องจะสามารถยืดอายุ
ของผ้าโบราณออกไปได้อกี ยาวนานมาก ในทางตรงกันข้ามหากเก็บรักษาด้วยวิธกี ารทีไ่ ม่ถกู ต้องผ้า
โบราณจะเสือ่ มชํารุดหมดสภาพเพิม่ ขึน้ ไปทุกชัวขณะ ่ ผูท้ าํ หน้าทีเ่ ก็บรักษาผ้าโบราณควรปฏิบตั ติ าม
ข้อแนะนําอย่างเคร่งครัด (กรมศิลปากร. 2539) โดยขอยกตัวอย่างเพียงบางส่วนทีเ่ ห็นว่าจะสามารถ
นํามาเป็นแนวทางในการอนุ รกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองได้ ดังนี้
21

1) ควรเก็บรักษาผ้าในทีท่ ม่ี อี ากาศไหลเวี ยนถ่ายเทได้ด ี ปราศจากฝุน่ ละออง แมลงและ


จุลนิ ทรีย์ ทีส่ าํ คัญคือ ความชืน้ และอุณหภูมคิ วรคงทีต่ ลอด 24 ชัวโมง ่ ห้องเก็บรักษาผ้าควรมีแสง
สว่างสลัวๆ หรือมืดสนิท
2) ควรเก็บรักษาโดยการวางราบในลิน้ ชัก หรือในกล่องทีร่ ะบุดว้ ยกระดาษสา หรือกระดาษ
บางขาวหรือผ้าฝ้ายสีขาวทีซ่ กั สะอาด
3) หากจําเป็ นต้องพับผ้า ควรหนุนตรงรอยพับด้วยกระดาษนุ่มๆ แล้วพับผ้าให้มรี อยพับ
น้อยทีส่ ดุ และให้รอยพับนัน้ มีมมุ ป้านมากที่ สุด หมันนํ ่ ามาคลีแ่ ละเปลีย่ นแนวเป็นระยะๆ ไม่ควรนํา
ผ้าซ้อนทับกันหลายๆ ผืนในตูห้ รือลิน้ ชักเดียวกัน หากจําเป็นต้องทับซ้อนกัน ควรคํานึงถึงนํ้าหนัก
ของผ้าด้วย ผ้าทีม่ นี ้ําหนักมากควรอยูข่ า้ งล่าง และควรใช้กระดาษนุ่มๆ คันระหว่ ่ างผ้าแต่ละผืน
4) ตู้ ลิน้ ชัก กล่องหรือหีบทีเ่ ก็บรักษาผ้าควรปิดให้แน่ นสนิทไม่ให้ฝนุ่ ละออง และแมลงเข้า
ไปได้ ในกรณีทจ่ี าํ เป็ นอาจต้องใส่สารเคมีกนั แมลงไว้ภายใน
5) ห้องเก็บรักษาผ้าควรมีระดับอุณหภูมแิ ละความชืน้ ทีเ่ หมาะสม และสิง่ ทีค่ วรระวังมากเป็น
พิเศษ คือ แสงสว่าง ห้องทีเ่ ก็บรักษาผ้าควรเป็นห้องทีม่ ดื ไม่มแี สงแดดสาดส่อง ช่องหน้าต่างและ
ช่องแสงควรติ ดตัง้ ผ้าม่านหรือมูล่ ่ี หลอดไฟที่ เหมาะสมสําหรับห้องดังกล่าวควรเป็ นหลอดทังสเตน
ไม่ควรใช้หลอดฟูออเรสเซนซ์ธรรมดา
6) ห้องทีเ่ ก็บผ้าควรปลอดแมลง ควรมีมาตรการป้องกันปลวก แมลงสาบ และแมลงอื่นๆ มี
การรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด ห้ามนําอาหารและเครือ่ งดืม่ มาอยูใ่ นห้องแ ละบริเวณใกล้เคียง
ถังขยะควรอยูห่ า่ งไกลห้องเก็บรักษาผ้ามากทีส่ ดุ ควรทําการตรวจสอบหาร่องรอยของแมลงอย่าง
สมํ่าเสมอ เมือ่ พบร่องรอยของแมลงต้องรีบปรึกษานักอนุ รกั ษ์เพื่อทําการกําจัดและหาทางป้องกัน
7) ตู้ ชัน้ ลิน้ ชัก หีบ กล่องทีเ่ ก็บรักษาผ้าควรทําจากวัสดุทท่ี นทานต่อแม ลงได้ด ี ควร
ออกแบบให้ตู้ ลิน้ ชัก ฯลฯ เหล่านี้ปิดได้แน่ นสนิท ไม่มชี ่องว่างทีแ่ มลงและจิง้ จกจะเล็ดลอดเข้าไปอยู่
อาศัย ควรอุดรูและช่องว่างให้หมด ในกรณีทจ่ี าํ เป็นอาจต้องใส่สารเคมีกนั แมลงไว้ในตู้ ลิน้ ชัก
เหล่านัน้ ด้วย
และเนื่องจากในปจั จุบนั นี้ ช่างพืน้ บ้านขาดผูส้ บื ต่อ สาเหตุหนึ่งมาจากค่านิยมทีไ่ ม่อาํ นวยให้
ช่าง ไม่ ได้รบั เกียรติจากสังคมเท่าทีค่ วร เพือ่ เป็นการอนุรกั ษ์และส่งเสริมช่างหัตถกรรมประจําชาติ
กฎหมายจึงได้ครอบคลุมไปถึงคนเหล่านี้ดว้ ย โดยยกย่องส่งเสริมไว้ในฐานะเป็นคนสําคัญโดยให้
ประกาศนียบัตรและความช่วยเหลือในฐานะ “ช่างศิลป์แห่งชาติ ” เป็นการให้เกียรติและกําลังใจแนว
หนึ่ง (วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ. 2530: 61)
สําหรับในเรือ่ งการยกย่องเชิดชูเกียรติชา่ งทอผ้านัน้ สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ ก็ได้เล็งเห็นคุณค่าของศิลปินผูท้ อผ้าพืน้ เมือง และได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติช่างทอผ้า
ฝีมอื เอก 2 คน ให้เป็ นศิลปินแห่งชาติ คือ นางแสงดา บัณสิทธิ ์ จังหวัดเชียงใหม่ กับ นางพยอม
ลีนวัฒน์ จังหวัดร้อยเอ็ด (สารานุ กรมไทยสําหรับเยาวชนเล่มที่ 21. 2540)
22

กล่าวโดยสรุป คือ ในการแสวงหาแนวทางเพือ่ การอนุรกั ษ์ พัฒนา และส่งเสริมศิลปะท้องถิ่ น


นัน้ จําเป็นอย่างยิ่ งทีจ่ ะต้องศึกษาสภาพวัฒนธรรมของแหล่งกําเนิดงานศิลปะท้องถิน่ และต้องศึกษา
เกีย่ วโยงถึงองค์ประกอบสําคัญ ซึง่ เป็ นตัวกําหนดรูปแบบการสร้างสรรค์ของงานศิลปะในท้องถิน่
ต่างๆ ด้วย ตัง้ แต่สภาพภูมศิ าสตร์ไปจนถึงประวัตศิ าสตร์ทางวัฒนธรรมของท้องถิน่ เพราะสภาพ
ภูมศิ าสตร์จะเป็ นตั วกําหนดและเป็ นองค์ประกอบสําคัญทีผ่ ลักดันให้กลุม่ ชนต่างๆ สร้างเครือ่ งมือ
เครือ่ งใช้ ซึง่ ส่วนมากจะเป็ นงานศิลปะท้องถิน่ ทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ สนองความต้องการในการใช้สอยใน
ชีวติ ประจําวัน ให้สอดคล้องกับการดํารงชีวติ ตามสภาพของท้องถิน่ (การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย ,
2535) และนอกจากนี้วธิ กี ารอนุ รกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทยนัน้ จึงควรคํานึงถึงสภาพทางสังคมและ
เศรษฐกิจทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป โดยรูจ้ กั ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบดัง้ เดิมของผ้าพืน้ เมืองให้สอดคล้อง
กับสภาพทางสังคม อีกทัง้ ยังต้องมีการรักษาของเดิมทีเ่ ป็ นอดีตไว้ และเผยแพร่ผลงานผ้าพืน้ เมือง
ไปสูช่ มุ ชนหรือท้องถิน่ รวมทัง้ มีการรับเอารูปแบบผ้าพืน้ เมืองของท้องถิน่ อื่นเข้ามาประยุกต์ เพือ่ ให้
เกิดการเปลีย่ นแปลงของผ้าพืน้ เมืองในแต่ละท้องถิน่ ให้เหมาะสมกับยุคสมัย

2.5 การส่งเสริ มและเผยแพร่การอนุรกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทย


เนื่องจากในปจั จุบนั ประเท ศชาติกาํ ลังมีการพัฒนาทางด้านเศรษ ฐกิจจึงทําให้การทอผ้า
พืน้ เมืองของไทยได้เปลีย่ นแปลงไปจากการผลิตขึน้ เพื่อใช้ในครัวเรือนมาเป็ นการผลิตในรูปแบบ
อุตสาหกรรมโดยใช้เครือ่ งจักรในการทอ นอกจากนี้ยงั ประสบกับปญั หาและข้อจํากัดอื่นๆ ทําให้
รูปแบบของผ้าพืน้ เมืองของไทยเปลีย่ นไปจากเดิมจนเกิดการสูญเสียเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิน่ ดังนัน้
จึงควรทีจ่ ะมีการส่งเสริมและเผยแพร่การอนุ รกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทยไว้ให้กว้างขวางขึน้ เพื่อเป็ นการ
รักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติไว้ โดยจะขอยกแนวทางในการจัดกิจกรรมเพือ่ การอนุรกั ษ์ของพี
นาลิน สาริยา (2542: 76) ทีส่ ามารถมีสว่ นช่วยในการส่งเสริมและเผยแพร่การอนุรกั ษ์ผา้ พืน้ เมือง
ของไทยได้ โดยกล่าวไว้อย่างกว้างๆ ดังนี้
1. กิจกรรมการอนุ รกั ษ์ทเ่ี กีย่ วกับตนเอง
1.1 ฝึกตนเองให้เป็ นบุคคลทีส่ นใจเรือ่ งราวทีเ่ ป็นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติหรือ
เรือ่ งทีต่ อ้ งการอนุ รกั ษ์
1.2 นําสิง่ ทีค่ ดิ ว่าเป็ นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ หรือเรือ่ งทีต่ อ้ งการอนุรกั ษ์ไปทําให้
มีคณ ุ ค่า และนํามาใช้ให้เป็ นส่วนหนึ่งของชีวติ ประจําวัน
1.3 ควรแนะนําให้บคุ คลอื่นเห็นความสําคัญต่อสิง่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ
หรือเรือ่ งราวทีต่ อ้ งการอนุ รกั ษ์
2. กิจกรรมเกีย่ วกับชุมชน
2.1 จัดเผยแพร่ความรูเ้ รือ่ งราวทีเ่ ป็ นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ หรือเรือ่ งที่
ต้องการอนุ รกั ษ์
2.2 สํารวจความสนใจของสมาชิกในชุมชนเกีย่ วกับเรือ่ งราวทีต่ อ้ งการอนุรกั ษ์
23

2.3 จัดตัง้ ศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมเผยแพร่สงิ่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเ ทศชาติ หรือ


เรือ่ งทีต่ อ้ งการอนุ รกั ษ์
3. กิจกรรมเกีย่ วกับหน่ วยงาน
3.1 ควรจัดให้มกี ารเผยแพร่เรือ่ งราวทีเ่ ป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ หรือเรือ่ งราว
ทีต่ อ้ งการอนุ รกั ษ์ โดยผ่านสื่อสิง่ พิมพ์ประเภทต่างๆ
3.2 ควรจัดทํารายการโทรทัศน์เพือ่ เผยแพร่เรือ่ งราวที่ เป็นประโยชน์ต่อสังคม
ประเทศชาติ หรือเรือ่ งราวทีต่ อ้ งการอนุรกั ษ์ เพือ่ ให้ผชู้ มรายการได้รบั รูถ้ งึ คุณค่าของเรือ่ งราวที่
ต้องการสื่อได้รวดเร็วยิง่ ขึน้
นอกจากนี้โครงการการสํารวจผูผ้ ลิตผ้าทอพืน้ เมืองในทุกจังหวัดของประเทศของ
มหาวิทยาลัยศิลปากรยังได้สรุปถึงแนวทางแก้ ไขปญั หาทางด้านกระบวนการของการผลิตและการ
จําหน่าย ว่าจะต้องเป็ นหน้าทีข่ องหน่ วยงานทีเ่ กีย่ วข้องในพืน้ ทีใ่ นการสนับสนุน ส่งเสริม หรือ
ผลักดันในเรือ่ งต่อไปนี้ (มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2544: 56)
1. ให้การสนับสนุ นทางด้านเงินทุนในการจัดซือ้ วัตถุดบิ อุปกรณ์ในการผลิต สถ านทีใ่ นการ
ผลิต การรวมกลุม่ ในการผลิตและการจัดการต่างๆ
2. สนับสนุ นการรวมกลุม่ โดยชีใ้ ห้เห็นถึงผลดีทจ่ี ะได้รบั ในแง่ของมาตรฐานในการผลิต
ปริมาณสินค้า หรือความสามารถในการกําหนดราคาและสภาวะของการจําหน่าย
3. สนับสนุ นการอบรม พัฒนาความรูใ้ นด้านการทอและเทคนิคในการทอทั ้ งในด้านการ
รักษาศิลปะหรือเอกลักษณ์ของภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ดัง้ เดิม หรือการประยุกต์ทย่ี ดึ การตลาดเป็ นทีต่ งั ้
รวมทัง้ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทีจ่ ะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในระยะยาว
4. ส่งเสริมแนวทางในการอนุรกั ษ์หรือรักษาวัฒนธรรมของการทอผ้า วิธกี าร ได้แก่ การ
จัดการอบรมหรือการเรียนการสอนในระดับนักเรียน เพือ่ เป็นการวางพืน้ ฐานและก่อให้เกิดจิตสํานึก
ทีม่ นคง
ั ่ รวมทัง้ การจัดกิจกรรมเพือ่ การอนุรกั ษ์ และสถานทีส่ าํ หรับจัดเผยแพร่ศลิ ปะของการทอผ้า
อันได้แก่ การรณรงค์การแต่งชุดผ้าทอพืน้ เมืองในโอกาสงานพิธกี ารทีส่ าํ คัญในพืน้ ทีแ่ ละการจัดตั ้ ง
ศูนย์ขอ้ มูลหรือห้องสมุดสําหรับศึกษาศิลปวัฒนธรรมของการทอผ้า หรือเป็นแหล่งเพือ่ การค้นคว้า
อ้างอิง เป็ นต้น
5. สร้างระบบการตลาดหรือแหล่งจําหน่ายทีร่ องรับความตื่นตัวหรือปริมาณผลผลิตผ้าใน
พืน้ ทีท่ ย่ี งยื
ั ่ นในระยะยาว ได้แก่ จัดหาตลาดสําหรับจําหน่ายทีม่ คี วามแน่นอนและก ว้าง ทัง้ นี้อาจ
อาศัยกลไก เช่น การจัดงานแสดงสินค้าผ้าทอในพืน้ ทีโ่ ดยให้ผทู้ อนําสินค้าไปแสดง รวมทัง้ จัด
กิจกรรมทีก่ ระตุน้ ความพยายามในการพัฒนา เช่น การจัดการประกวดผ้าทอโดยให้รางวัลเป็น
ผลตอบแทน รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผา่ นสือ่ ในระดับประเทศ เป็นต้น (พีนาลิน สาริย า 2542: 76)
จากทีก่ ล่าวมาแล้วในข้างต้นนี้ จะเห็นได้วา่ การอนุรกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองของไทย ซึง่ ถือได้วา่ เป็ น
ศิลปะท้องถิน่ แขนงหนึ่งนัน้ มีความสําคัญอย่างมากและเป็นเรือ่ งทีจ่ าํ เป็นอย่างยิง่ เนื่องจากผ้า
พืน้ เมืองนัน้ เป็ นสิง่ แสดงถึงลักษณะเฉพาะถิน่ ของแต่ละยุคสมัย อันได้แก่ สภาพทางภูมศิ าสตร์ วัสดุ
ความเชือ่ และคตินยิ มในแต่ละถิน่ ทําให้เราสามารถทราบถึงสภาพความเป็นอยูข่ องคนในอดีตในแต่
24

ละท้องถิน่ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทําให้เรารูถ้ งึ ภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ของชาวไทยในอดีตและเกิดความ


ภาคภูมใิ จในความเป็ นชาติไทย ก่อให้เกิดความสามัคคีกนั ของคนในช าติ แต่เนื่องจากสภาพการ
เปลีย่ นแปลงของสังคมมีอยูต่ ลอดเวลา ทําให้เกิดข้อจํากัดและปญั หาอันเป็นอุปสรรคของการทอผ้า
พืน้ เมืองตามท้องถิน่ ต่างๆ ของประเทศในปจั จุบนั จึงควรจะมีหน่วยงานของรัฐเข้าไปศึกษาวิจยั เพือ่
หาข้อสรุปในการส่งเสริมและการอนุ รกั ษ์ผา้ ทอพืน้ บ้านพืน้ เมือ งไว้ก่อนทีศ่ ลิ ปหัตกรรมประเภทนี้จะ
เสือ่ มสูญไป ดังนัน้ วัตถุประสงค์หลักของการอนุรกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองก็เพือ่ เก็บรวบรวมผลงานให้คนรุน่
หลังได้มโี อกาสพบเห็นและได้สมั ผัสถึงมรดกทางวัฒนธรรมอันมีคา่ ทีส่ บื ทอดกันมาแต่บรรพบุรษุ
นอกจากนี้ยงั เป็ นสิง่ ทีใ่ ห้คนรุน่ หลังได้ศกึ ษาค้นคว้าเพือ่ ทีจ่ ะได้ทราบถึงวิถชี วี ติ คตินยิ มและประเพณี
ความเชือ่ ของช่วงยุคสมัยนัน้ ๆ อีกทัง้ ยังก่อให้เกิดการตระหนักในคุณค่าและความสําคัญ อัน
ก่อให้เกิดความรัก ความหวงแหน และส่งผลให้รว่ มกันอนุ รกั ษ์มรดกของชาติในแขนงนี้ไว้ โดยมี
แนวทางคือ การเก็บรวบรวมผลงาน จัดนิทรร ศการเผยแพร่เพื่อให้เห็นถึงความสําคัญ เปิดอบรม
เพือ่ ให้ความรูแ้ ก่ประชาชนทัวไปที ่ ส่ นใจ ตลอดจนการจัดตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ผา้ พืน้ เมืองขึน้ ในแต่ละ
ท้องถิน่ และสําหรับการส่งเสริมและเผยแพร่นนั ้ สถาบันการศึกษาถือเป็นหน่วยงานหนึ่งทีม่ ี
ความสําคัญอย่างยิง่ ในการดําเนินการดังกล่าว โ ดยเฉพาะสถาบันการศึกษาในท้องถิน่ ซึง่ สามารถมี
บทบาทในการปลูกฝงั ความรูใ้ ห้แก่เยาวชนทีจ่ ะเป็นกําลังสําคัญของชาติในอนาคต อีกทัง้ ยังมี
บทบาทในการจัดกิจกรรมในด้านต่างๆ เพือ่ ก่อให้เกิดการอนุรกั ษ์ศลิ ปะท้องถิน่ ในแต่ละแขนง จึงอาจ
กล่าวได้ว่า การส่งเสริมและเผยแพร่การอนุ รกั ษ์ผา้ พืน้ เมืองในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับสถาบันการศึกษา
นัน้ ประกอบด้วย การให้การศึกษาแก่ประชาชนในท้องถิน่ การจัดการเรียนการสอนใน
สถาบันการศึกษา การจัดกิจกรรมเผยแพร่ตลอดจนการรณรงค์ในด้านต่างๆ เป็นต้น

3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผ้าหม้อห้อมบ้านทุ่งโฮ้ง
3.1 สภาพภูมิหลังของจังหวัดแพร่
จังหวัดแพร่ (จารุวรรณ ขําเพชร ; และรวิญา พนาพฤกษ์ไพร . 2536: 3 - 28) เป็ นเมือง
ทีต่ งั ้ ขึน้ มาช้านานแต่โบราณกาล ประมาณในราวพุทธศตวรรษที่ 12 แต่จะได้เริม่ สร้างเมือ่ ใดนัน้ ยัง
ไม่พบหลักฐานแน่ ชดั แต่เข้าใจว่าได้สร้างขึน้ หลังจากได้สร้างเชียงใหม่เป็ นราชธานีแล้ว จึงได้สง่ บุตร
หลานพร้อมด้วยไพร่พลออกไปทําการสร้างบ้านแปลงเมือง เป็ นการขยายอาณาเขตไปในตัว และ
ปรากฏว่าตระกูลเจ้านายผูค้ รองนครต่างๆ เป็นผูส้ บื ตระกูลจากจ้าวเจ็ดตนทัง้ นัน้
เมือ่ ปีพุทธศักราช 1389 ว่ามีขนุ หลวงพล เป็ นเจ้าหลวงผูค้ รองเมืองแพร่ ซึง่ ในขณ ะนัน้
มีช่อื ว่า เมืองพล หรือพลรัฐนคร และมีทา้ วพหุสงิ ห์ ขุนพนมสิงห์ เป็ นเจ้าผูค้ รองเมืองสืบๆ ต่อกันมา
ประมาณปี พ .ศ. 1542 ขอมส่งกองทัพเข้ารุกรานอาณาจักรเชียงแสน เมืองพลคือ เมืองแพร่กถ็ ูก
ขอมโจมตี เผาวัดวาอาราม และเข้ายึดเมืองได้ ใน พ.ศ. 1559 ท้าววังสุพลเจ้าเมื องแพร่สมัยต่อมา ก็
รวบรวมสมัครพรรคพวกเข้าโจมตีขบั ไล่ขอมออกไปได้ ตกถึง พ .ศ. 1650 ขอมกลับยึดได้เมืองแพร่
อีก ตอนนัน้ ก็ให้เมืองแพร่ คือ พลรัฐนคร เปลีย่ นชื่อเป็ นเมืองโกศัย หรือโกสิยะนคร ล่วงถึง
25

พุทธศักราช 1728 พญาพีระไชยวงศ์เจ้าผูค้ รองนคร ได้โปรดให้ทาํ การเฉลิมฉลอง เมือง แล้วก็ให้


เปลีย่ นชื่อเมืองแพลว่า เมืองแป้ คือ ให้หมายถึง เมืองแห่งชัยชนะ (แป้คอื ชนะ) จนกระทังกลายมา ่
เป็นเมืองแพร่ ตราบทุกวันนี้
ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมือ่ ปี พ .ศ. 2445 พวกเงีย้ วทีอ่ าศัยทํามาหากินใน
จังหวัดนี้ ได้สอ้ งสุมผูค้ นก่อการจลาจลขึน้ ในเมื องแพร่ เจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยบ้านเมืองซึง่ ปกครองบังคับ
บัญชาเมืองแพร่ไม่สามารถปราบปรามลงได้ เนื่องจากฝา่ ยปกครองได้แตกแยกกันทางความคิดเห็น
บางพวกก็คดิ สูเ้ ช่นพระยาไชยบูรณ์ แต่เจ้าพิรยิ ะเทพวงศ์อุดรเจ้าผูป้ กครองนครขณะนัน้ ไม่คดิ สูก้ ลับ
เล็ดลอดหนีไปพํานัก ณ เมืองหลวงพระบ างจวบจนสิน้ อายุขยั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ ์มนตรี เป็นแม่ทพั ยกกําลังขึน้ มา
ปราบปรามจลาจล พวกเงีย้ วจนสงบราบคาบ และโปรดให้เปลีย่ นแปลงการปกครองจากเจ้า
ผูป้ กครองนคร มาเป็ นแบบเทศาภิบาล ปี พ .ศ. 2476 ยกเลิ กการปกครองระบอบเทศาภิบาล และ
แต่งตัง้ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดมาปกครองจนกระทังทุ ่ กวันนี(จารุ
้ วรรณ ขําเพชร และรวิญา พนาพฤกษ์ไพร.
2536: 3 - 28)
“หม้อห้อมไม้สกั ถิน่ รักพระลอ พระธาตุช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่น้ใี จ
งาม” คํากล่าวข้างต้นเป็ นคําขวัญประจําจังหวัดแพร่ทช่ี าวเมืองแพร่โดยทัวไปรู ่ จ้ กั เป็ นอย่างดี จังหวัด
แพร่เป็นเมืองเล็กๆ อยูท่ างภาคเหนือของประเทศไทย ทีเ่ ปรียบเสมือนประตูสลู่ า้ นนา เนื่องจากจะ
เดินทางสู่ลา้ นนาไทยต้องผ่านจังหวัดแพร่เป็ นแห่งแรก ไม่ว่าจะเดินทางไปโดยรถยนต์ รถไฟ หรือ
เครือ่ งบินก็ตาม (มหาวิทยาลัยศิลปกร. 2544: 31)
เมืองแพร่เป็ นเมืองทีต่ งั ้ ขึน้ มาตัง้ แต่สมัยโบราณ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 เชือ่
กันว่าสร้างขึน้ ก่อนกรุงสุโขทัยและเชียงใหม่ ชื่อดัง้ เดิมของเมืองแพร่ในสมัยก่อสร้างเมืองครัง้ แรก
เรียกว่า “พลนคร” ต่อมากสมัยขอมเรืองอํานาจในเขตล้านนาไทย ได้ เปลีย่ นชือ่ เป็ น “เวียงโกศัย ”
จากหลักฐานทีป่ รากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ได้ขยายอาณาเขตขึน้ มาทางเหนือ
เรียกว่า “เมืองแพล ” สมัยต่อมาเมืองแพลกลายเสียงเป็ นเมืองแพร และแพร่ จนกระทังป ่ จั จุบนั นี้
(จารุวรรณ ขําเพชร; และรวิญา พนาพฤกษ์ไพร. 2536: 26)
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการจัดตัง้ หัวเมืองฝา่ ยเหนือปกครอง และในสมัยรัชกาลที่ 5
ได้มกี ารเปลีย่ นแปลงการปกครองเป็ นแบบเทศาภิบาล ในปี พ .ศ. 2440 โปรดเกล้าให้พระยาไชย
บูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร ) มาเป็ นข้าหลวงปกครองเมืองแพร่เป็ นคนแรก ต่อมาเกิดเหตุการณ์
เงีย้ วปล้นเมืองแพร่ เ ป็ นผลให้ทางการต้องยกเลิกการปกครองแบบเทศาภิบาล พ .ศ. 2550 และ
จัดการปกครองให้จงั หวัดขึน้ ตรงต่อกระทรวงมหาดไทย เช่นทุกวันนี้ (จารุวรรณ ขําเพชร; และรวิญา
พนาพฤกษ์ไพร. 2536: 27)
จังหวัดแพร่ตงั ้ อยูล่ ะติจดู ที่ 17 - 18 องศาเหนือ ลองติจดู ที่ 99 – 100 องศาตะวันออก อยู่
สูงจากระดับนํ้าทะเลประมาณ 600 ฟุต (150 – 300 เมตร) ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวง
แผ่นดิน ประมาณ 555 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ (โพธิ ์ แซมลําเจียก. 2537: 33)
26

ทิศเหนือ ติดต่อ จังหวัดลําปาง จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน


ทิศใต้ ติดต่อ จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดสุโขทัย
ทิศตะวันออก ติดต่อ จังหวัดน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อ จังหวัดลําปาง

3.2 ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของชาวไทยพวน
ถิน่ เดิมของเผ่าไทยพวนตามแผนทีซ่ ง่ึ ฝรังเศสเขี
่ ยนไว้ในปี 2483 อันปรากฏว่าเป็น
แผนทีก่ ารปกครองแคว้นลาวนัน้ ประเทศลาวแบ่งการปกค รองออกเป็ น 10 จังหวัดใหญ่ๆ
(โพธิ ์ แซมลําเจียก. 2537: 30 – 31) ดังนี้
1. จําปาสัก (ศาลากลางตัง้ อยูท่ เ่ี มืองปากเซ)
2. คําม่วน (ศาลากลางตัง้ อยูท่ เ่ี มืองแขก)
3. หัวพัน (ศาลากลางตัง้ อยูท่ เ่ี มืองซําเหนือ)
4. สาระวัน
5. สุวรรณเขต
6. ตรันนิน (ศาลากลางตัง้ อยูท่ เ่ี มืองเชียงขวาง)
7. นครเวียงจันทน์
8. นครหลวงพระบาง
9. แม่โขงเหนือ (ศาลากลางตัง้ อยูบ่ า้ นห้วยทราย)
10. พงศาลี (จังหวัดทหารบกที่ 5)
ถิน่ ไทยเดิมของเผ่าไทย หมายถึง จังหวัดตรันนิน ซึง่ ใช้ชอ่ ื นี้ตามภาษาญวน (เวียดนาม )
ทว่าแต่เดิมมานัน้ ปรากฏเรียกว่า แขวงเมืองพวน อันมีเชียงขวางเป็ นเมืองหลวงจากการดูตามแผนที่
จะเห็นว่า เมืองพวน เชียงขวาง อยูร่ ะหว่างเมืองต่างๆ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อ หัวพัน (ซําเหนือ) และนครหลวงพระบาง


ทิศใต้ ติดต่อ นครเวียงจันทน์
ทิศตะวันออก ติดต่อ คําม่วน และญวนกลาง
ทิศตะวันตก ติดต่อ นครหลวงพระบาง

จากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 9 เกีย่ วกับเรือ่ งราว “แว่นแคว้นสิบสองปนั นา แยกกันเป็ น


หลายเมืองต่างมีเจ้านายปกครอง แต่อยูใ่ นญาติวงศ์เดียวกัน เจ้าเมืองเชียงรุง้ เป็นหัวหน้า ” มี
คําอธิบายพระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพมีความบางตอนทีเ่ กี่ ยวกับเรือ่ งราวของไทย
พวน ตอนหนึ่งว่า
27

“ … กล่าวกันมาว่า แรกทีช่ นชาติไทยจะอพยพลงมาสยามประเทศแต่ดกึ ดําบรรพ์มาตัง้ อยูท่ แ่ี ว่น


แคว้นสิบสองจุไทยนี้ก่อน คําว่าสิบสองจุไทยว่าตรงกับสิบสองเจ้าไทย เพราะแต่เดิมไทยทีต่ งั ้ อยู่ใน
แว่นแคว้นนัน้ อยูแ่ ยกกันเป็ นสิบสองอาณาเข ต แม้ทกุ วันนี้พลเมืองทีอ่ ยูใ่ นทีน่ ้ีนนั ้ ก็เป็ นไทยโดยมาก
เรียกกันว่า “ผูไ้ ทย” เขตแดนท้องทีท่ พ่ี วกผูไ้ ทยอยูใ่ นแว่นแคว้นอันนี้กว้างขวาง ข้างเหนือไปจนถึง
มณฑลฮุนหนําแดนจีน ข้างตะวันออกถึงมณฑลตังเกีย๋ แดนญวน ข้างตะวันตกต่อแนไทยสิบสองปนั นา
ซึง่ ขึน้ พม่าทีก่ ล่าวมาแล้ว ข้างใต้ต่อแดนไทยสิบสองปนั นา ซึง่ ขึน้ พม่าทีก่ ล่าวมาแล้ว ข้างใต้ต่อกับกรุง
ศรีสตั นาคนหุต ซึง่ ไทยพวกนี้เองได้ลงมาตัง้ ขึน้ เมื่อกรุงศรีสตั นาคนหุตมีอาํ นาจ จึงได้รวบรวมแว่น
แคว้นสิบสองจุไทย ซึง่ เป็ นพวกเดิมของตนไว้ในอาณาจักร ต่อมาเมือ่ อํานาจกรุงศรีสตั นาคนหุตอ่อน
ลง ตัง้ แต่เสียเมืองแก่พม่าครัง้ พระเจ้าหงสาวดีบเุ รงนองเป็ นต้นมา อํานาจการปกครองหัวเมืองที่
ห่างไกลก็มนี ้อยลงโดยลําดับ ทีหลังมาเมือ่ กรุงศรีสตั นาคนหุตแยกกันออกเป็ น 2 อาณาเขต คือ หลวง
พระบาง และ เวียงจันทน์ หัวเมืองผูไ้ ทยก็แยกกันออกไป ทีอ่ ยู่ขา้ งฝา่ ยตะวันออก เรียกว่า เมืองพวน
มีเมืองเชียงขวาง เป็ นต้น ไปขึน้ แก่เจ้านครเวียงจันทน์ หัวเมืองข้างฝา่ ยเหนือ รวมทัง้ เมืองไล และ
เมืองแถงนี้ขน้ึ กับเจ้านครหลวงพระบางทีเ่ ป็ นเมืองใกล้ๆ เจ้าหลวงพระบางตัง้ ท้าวพระยาไปเป็ นหัวพัน
ปกครองเรียกส่วนนี้วา่ เมืองหัวพันทัง้ หก เมืองทีอ่ ยูห่ า่ งออ กไป คงเรียกว่าสิบสองจุไทย ให้ปกครอง
กันเองเป็ นทํานองประเทศราช เมืองไล และเมืองแถงอยูใ่ นพวกหลังนี้
หัวเมืองของจีนซึง่ ต่อแดนสิบสองจุไทยข้างฝา่ ยเหนือก็ดี หัวเมืองของญวนซึง่ ต่อแดนเมือง
พวน ข้างฝา่ ยตะวันออกก็ดี แต่เดิมมาการปกครองชายแดนก็หละหลวม กําหนดแต่ว่ าเขตแดนถึง
เพียงนัน้ ๆ แต่การภายในแล้วแต่พวกทีอ่ ยูใ่ นนัน้ จะปกครองกันอย่างไร …หัวเมืองทีพ่ วกผูไ้ ทยอยู่ใน
ทัง้ ในแดนจีน แดนญวน และในแว่นแคว้นสิบสองจุไทย และเมืองพวน จึงคล้ายๆ กับแผ่นดินกลางมา
ช้านาน เมืองใดทีอ่ ยูใ่ กล้ขา้ งไหนก็ขน้ึ ข้างนัน้ ทีอ่ ยูห่ า่ งก็ขน้ึ ทัง้ สอ งฝา่ ย สามฝา่ ย แล้วแต่อาํ นาจข้าง
ไหนมาถึงตัวเมือ่ ใด ก็ยอมอ่อนน้อมต่ออํานาจนัน้ พออย่าให้เบียดเบียน … ” (มหาวิทยาลัยศิลปากร .
2544: 65-67)

เมืองสิบสองจุไทยนัน้ มีชอ่ื คูก่ บั ดินแดนทีต่ ดิ ต่อกับพม่า เรียกว่าสิบสองปนั นา อย่างไรก็


ตาม ภาคกลางทีต่ ่อแดนจีนคงเรียกว่า สิ บสองจุไทย ภาคตะวันออกทีต่ ่อแดนญวน เรียกว่า เมือง
พวน พวกไทยทีเ่ ป็ นชาวเมืองในท้องที่ 3 ภาคนัน้ ก็ได้ชอ่ ื ต่างๆ กัน คือ ชือ่ ทีเ่ รียกเฉพาะในหมูข่ อง
ตนเอง เช่น พวกชาวสิบสองปนั นา ได้ช่อื ว่า ลือ้ พวกชาวสิบสองจุไทย ได้ช่อื ว่า ผูไ้ ทย ส่วนพวก
ชาวเมืองพวน ได้ช่อื ลาวพวน แต่พดู ภาษาไทยถือตัวว่าเป็นคนไทยด้วยกันทัง้ 3 พวก คําว่า ลาว
พวน พอมาอยูใ่ นแดนไทยปจั จุบนั จึงเรียกพวกตนว่า ไทยพวน สืบมา (โพธิ ์ แซมลําเจียก . 2537:
33 – 36)
วิเชียร วงศ์วเิ ศษ (2525: 5 – 7) ได้เสนอคําว่า “พวน” เป็นชือ่ ของคนไทยสาขาหนึ่ง ซึง่
ทางภาคอีสานเรียกว่า “ไทยพวน” แต่ทางภาคกลางเรียกว่า “ลาวพวน” เหตุทเ่ี รียกดังนัน้ สันนิษฐาน
ตามเหตุผลได้ดงั นี้
ชื่อของไทยสาขาต่างๆ สังเกตได้ว่าตัง้ ตามเครือ่ งแต่งกายบ้าง ตัง้ ตามถิน่ ทีอ่ ยู่ และอื่นๆ
อีกบ้าง
28

ตัง้ ตามเครือ่ งแต่งกาย เช่น ไทยดํา เพราะเสือ้ และกางเกงทีส่ วมใส่มสี ดี าํ ไทยโซ้ งหรือลาว
โซ้ง เพราะนุ่ งกางเกงผิดจากไทยสาขาอื่นทีน่ ิยมนุ่งผ้า นุ่งตามแบบอินเดีย และเขมร
ตัง้ ตามปริมาณของคนบ้าง เช่น ไทยน้อย ไทยใหญ่ คือ ไทยน้อยมีจาํ นวนน้อยเพียง 12
เจ้าไทยเท่านัน้ ส่วนไทยใหญ่มจี าํ นวนมาก คือ มีถงึ 16 เจ้าฟ้า ซึง่ แสดงถึงจํานวนของเมือง และ
ปริมาณของพลเมือง
ตัง้ ตามท้องถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย คือ ตามธรรมดา คนไทยเมือ่ อพยพแยกย้ายกันไปอยูใ่ นทีต่ ่างๆ
นิยมเอาชื่อแม่น้ํา ห้วย หนอง คลอง บึง ภูเขา ต้นไม้ ตลอดถึงลักษณะภูมปิ ระเทศ เป็ นชื่อของบ้าน
ของเมือง เช่น เชียงของ (ชื่อแม่น้ําโขง เชียง เมือง ของ โขง ) เมือ่ มีชอ่ื บ้า นแล้วก็เรียกชือ่ คนตามชือ่
บ้าน เช่น ไทยเชียงของ ไทยเมืองหนอนหาน ฯลฯ
คําว่า พวน ซึง่ เป็ นสมญาของไทยสาขาหนึ่งก็คงทํานองเดียวกัน คือ เรียกชือ่ ตามถิน่ ทีอ่ ยู่
ไทยสาขานี้สว่ นใหญ่อยูท่ แ่ี ขวงเชียงขวาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่เหตุใด
จึงมิได้นามตามเมืองว่ า “ไทยเชียงขวาง” หรือ ไทยขวางกับได้นามว่า “พวน” สันนิษฐานอีก คือ ใน
แขวงเชียงขวางมีภเู ขาลูกหนึ่งชื่อ “ภูพวน” แรกทีไ่ ทยสาขานี้อพยพมาอยูเ่ ข้าใจว่าคงจะอยูใ่ กล้กบั ภู
พาน ซึง่ เรียกสัน้ ๆ ก็วา่ “บ้านพวน ” หรือ “เมืองพวน ” ต่อมาเมือ่ ย้ายเมืองใหม่จงึ ได้ช่อื ว่า “เชียง
ขวาง” แต่เพราะคําว่าไทยเมืองพวน หรือไทยพวนเรียกกันมาจนชินแล้ว จึงไม่นิยมเรียกตามชื่อใหม่
คงนิยมเรียกชือ่ เก่ามาตลอด (จารุวรรณ ขําเพชร; และรวิญา พนาพฤกษ์ไพร. 2536: 25)
ชาวไทยพวนอพยพเข้ามาอยูบ่ นผืนแผ่นดินไทย มีลกู หลานสืบต่อกันมาตราบจนทุกวันนี้
มีอยูจ่ าํ นวนมาก ยั งปรากฏว่ามีการอพยพกวาดต้อนกันเข้ามาหลายครัง้ หลายพวก และมีอยูก่ นั
หลายภาค หลายจังหวัด บางกลุม่ ก็มผี นู้ ําพามา มีการบันทึกจดจํา คงจะเริม่ อพยพเข้ามาตัง้ แต่สมัย
กรุงธนบุรเี รือ่ ยมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และตอนกลางจากรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 (จารุ
วรรณ ขําเพชร และรวิญา พนาพฤกษ์ไพร. 2536: 26)
กลุ่มชาวไทยพวนทีต่ งั ้ หลักแหล่งมันคง ่ มีอาชีพมันคง
่ และมีลกู หลานสืบสายกันมา
มากมาย เท่าทีส่ บื ค้นได้ มีหลักแหล่งทีอ่ ยูต่ ามภาคต่างๆ ดังนี้

ภาคกลาง จังหวัดลพบุร ี สิงห์บุร ี สระบุร ี สุพรรณบุร ี


สระบุร ี อุทยั ธานี กาญจนบุร ี
ภาคเหนือ จังหวัดแพร่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจติ ร
สุโขทัย นครสวรรค์
ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก ปราจีนบุร ี ฉะเชิงเทรา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี
29

ชาวไทยพวนทีอ่ ยูจ่ งั หวัดแพร่ คือ อําเภอเมืองแพร่ ได้แก่ บ้านทุ่งโฮ้งเหนือ และบ้านทุ่ง


โฮ้งใต้ สําหรับชาวไทย พวนทีน่ ้ี ลูกหลานยังคงอนุรกั ษ์ศลิ ปะ และวัฒนธรรม ตัง้ แต่บรรพบุรษุ ไว้
อย่างเหนียวแน่ น มีช่อื เสียงเด่นดังไปทัวประเทศ
่ นันคื
่ อ การทําเสือ้ หม้อห้อม (โพธิ ์ แซมลําเจียก .
2537: 33 – 36)

3.3 ประวัติความเป็ นมาของผ้าหม้อห้อม


ผ้าหม้อห้อมในจังหวัดแพร่ได้รบั การสืบทอดกั นมานานกว่า 100 ปี จากหลักฐานชาว
ลาวพวนทีอ่ พยพมาจากประเทศลาว และนํามาผลิตครัง้ แรกทีบ่ า้ นทุง่ โฮ้ง เมือ่ ประมาณ .ศ. 2340
พ – 2350
หม้อห้อมเป็ นภาษาพืน้ เมือง มาจากคํา 2 คํา คือ “หม้อ” และ “ห้อม” หม้อเป็นภาชนะ
อย่างหนึ่งทีใ่ ช้ในการบรรจุน้ํา หรือของเหลว มีทงั ้ ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ส่วนห้อมนัน้ เป็ น
พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง โดยการนําลําต้นและใบ มาหมักในนํ้าตามกรรมวิธที ส่ี บื ทอดกันมาแต่โบราณ จะ
ทําให้ได้น้ําสีกรมท่า แล้วนําไปย้อมผ้าขาวให้เป็นผ้าสีกรมท่า ทีเ่ รียกว่า “ผ้าหม้อห้อม”
หม้อห้อม จากพจนานุ กรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ .ศ. 2542 ได้ให้คาํ นิยามไว้วา่
(ถิ่น – พายัพ ) ใช้เรียกเสือ้ คอกลม แขนสัน้ ผ่าอกตลอด มักย้อมสีน้ําเงินเข้ม หรือดํา ว่า เสือ้ หม้อ
ห้อม เขียนเป็ น ม่อห้อม หรือ ม่อฮ่อม
เสือ้ “ม่อฮ่อม” เป็ นเสือ้ ผ้าฝ้ายย้อมสีคราม ดํา คอกลม ผ่าอก แขนยาว หรือแขนสัน้ มี
ทัง้ แบบทีใ่ ช้กระดุมกลัด แ ละทีใ่ ช้ผา้ เย็บเป็ นเชือกผูก เป็ นเสือ้ ทีช่ ายชาวภาคเหนือสวมใส่กนั เป็ น
ปรกติในชีวติ ประจําวัน (สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์. 2543: 56)
ม่อฮ่อม เป็ นคําภาษาถิน่ ล้านนา โดยแท้จริงมิได้หมายถึงเสือ้ แต่หมายถึงสีของเสือ้ ที่
เป็นสีครามอมดํา ปจั จุบนั ถ้าเอ่ยว่า ม่อฮ่อม จะหมายถึง เสือ้ ดังลักษณะทีก่ ล่าวไว้ขา้ งต้น เสือ้ ชนิดนี้
มิใช่เสือ้ สําหรับผูช้ ายชาวล้านนาสวมใส่มาแต่เดิม แต่เสือ้ ทีช่ ายชาวล้านนานิยม คือ เสือ้ ผ้าฝ้ายสีขาว
แบบทีเ่ รียกว่า เสือ้ ห้าดูก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตั ๋วก้อมแอวลอย เสือ้ ม่อฮ่อมเกิดขึน้ ภายหลัง
สงครามโลกครัง้ ที่ 2 โดยเริม่ ทีจ่ งั หวัดแพร่ เนื่องจากพวกลาวพวนทีอ่ พยพเข้าไปอยูท่ อ่ี ําเภอเมือง
แพร่ได้เย็บเสือ้ ผ้าฝ้ายย้อมสีครามดําออกจําหน่ายแก่คนงาน และลูกจ้างทําปา่ ไม้ขน้ึ ก่อน จึงได้รบั
ความนิยมซือ้ สวมใส่กนั แพร่หลาย ต่อมาเมือ่ พ.ศ. 2496 นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ ได้จดั งานเลีย้ ง
อาหารแบบขันโตกเพื่อเป็ นเกียรติแก่ ฯพณฯ นายสัญญา ธรรมศักดิ ์ และกงสุลอเมริกนั ขึน้ ทีจ่ งั หวัด
เชียงใหม่ และได้กาํ หนดให้ผมู้ าร่วมงานสวมเสือ้ ผ้าฝ้ายคอกลม ย้อมสีคราม คาดผ้าขาวม้า หลังจาก
งานนี้จงึ มีผนู้ ยิ มใช้เสือ้ ม่อฮ่อมกันแพร่หลายยิง่ ขึน้ คนทัวไปจึ
่ งคิดว่าเป็นเสือ้ ประเ พณีนยิ มสําหรับ
ชายชาวล้านนา (จารุวรรณ ขําเพชร และรวิญา พนาพฤกษ์ไพร. 2536: 34 - 35)
ในคราวทีร่ าชบัณฑิตยสถานได้ปรับปรุงพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ .ศ.
2493 มาเป็ นพจนานุ กรมฯ พ .ศ. 2525 นัน้ คณะกรรมการชุดปรับปรุงพจนานุกรม ได้เห็นควรให้
เก็บคํานี้เพิม่ เติมเข้าไป และเก็บในรูปทีเ่ ขียนว่า ม่อฮ่อม ตามทีน่ ยิ มใช้เขียนกันโดยทัวไป ่ ต่อมามีนกั
ภาษาทีศ่ กึ ษาทางด้านภาษาถิน่ พายัพ ได้แสดงความคิดเห็น และแสดงผลการศึกษาเทียบเสียงคํา
ไทยภาคเหนือกับคําไทยกรุงเทพฯ แล้วเห็นว่าคํานี้ควรเขียนว่า หม้อห้อม จึงจะถูกต้อง (จดหมาย
ข่าวราชบัณฑิตยสถาน. 2533: 45)
30

3.4 ขัน้ ตอนการผลิ ตผ้าหม้อห้อม


การผลิตผ้าหม้อห้อมของชาวไทยพวนบ้านทุง่ โฮ้ง ได้ทาํ สืบทอดกันมานานกว่า 100
ปีแล้ว สืบเนื่องจากในอดีตทีต่ อ้ งยังชีพด้วยตนเอง ผลิต และใช้ในครัวเรือน โดยมีกรรมวิธขี นั ้ ตอน
ดังนี้ (สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์. 2543: 56-58)
4.2.1 การเตรียมฝ้าย
ฝ้ายเป็ นพืชทีข่ น้ึ ได้ในดินเกือบทุกชนิด ยกเว้นดินทีเ่ ป็นทรายจัด เหนียวจัด
หรือดินลูกรัง ฝ้ายชอบขึน้ ในดินปนทราย นํ้าไม่แช่ขงั ทางภาคเหนือจะปลูกฝ้ายประมาณต้นเดือน
กรกฎาคม ต้นฝ้ายใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตประมาณ 150 วัน จึงจะนํามาปนฝ ั ่ ้ ายไ ด้ (สีวลา
วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์. 2543: 56-58)
1) การปลูกฝ้าย การปลูกฝ้ายจะกระทําหลังจากการปลูกพืชไร่ ปลูกข้าวโพด
แตง พริก มะเขือ ข้าวไร่ หลังจากเก็บเกีย่ วพืชไร่ แล้วจะตัดทิง้ ให้ทบั ถมลงพืน้ ดิน จึงนําเมล็ดฝ้าย
หว่านทับลงไป เมือ่ ฝนตกต้นพืชทีต่ ดั ทิง้ ให้ทบั ถมจะหล่อเลีย้ งเมล็ดฝ้ายให้งอกเติบโตเป็ นลําต้น และ
งอกงามขึน้ ตามลําดับ
2) การคัดเลือกฝ้าย หรือการทําความสะอาดฝ้าย คือ การเลือกฝ้ายทีด่ ี ส่วน
ฝ้ายทีเ่ มล็ดลีบทิง้ ไป
3) การหีบฝ้าย คือ เอาเมล็ดฝ้ายออกใช้หบี ด้วยมือ มือขวาหมุนลูกหีบ มือซ้าย
ป้อนฝ้ายเข้าในหีบ เรียกว่า “อิว้ ฝ้าย
4) ดีดฝ้ายทีเ่ อาเมล็ดออกแล้วให้พองตัว เรียกว่า “การยิงฝ้าย ” กงฝ้ายมี
ลักษณะเหมือนคันธนู คันธนูตอ้ งใช้คนั ธนู และสายเป็ นแรงส่งลูกธนู ส่วนกงฝ้ายไม่ตอ้ งใช้คนั ใช้แค่
เพียงสายดีดให้ไปกระทบฝ้ายเท่านัน้ จึงต้องดีดคันกงฝ้ายทัง้ สองข้างให้เป็นรูปโค้ง และใช้ไม้ ไผ่
กลมๆ ยาวประมาณ 6 – 7 นิ้ว เหนี่ยวสายเวลาดีดใช้มอื ซ้ายจับคันกงฝ้ายมือขวาจับไม้ไผ่กลมๆ ตัง้
ชันขึน้ ใช้ปลายไม้ไผ่สว่ นข้างล่างเหนี่ยวสายกงเข้ามาทางตัวผูด้ ดี ทําเช่นนี้เรือ่ ยไปฝ้ายจะพองตัว
5) ล้อมฝ้าย คือ คลึงฝ้ายเป็ นรูปกลมๆ ยาวๆ คือ เอาฝ้ายทีด่ ดี พองตัวแล้ วนัน้
มาทําให้มลี กั ษณะกลมขนาดประมาณเท่านิ้วมือยาวประมาณ 7 – 8 นิ้ว วิธที าํ โดยหยิบเอาปุยฝ้าย
มาคลีล่ งบนกระดานให้ยาวไปตามแผ่นกระดาน เมือ่ ยาวได้ขนาดเอาไม้กลมๆ วางลงตรงกลางของ
ฝ้าย ใช้ฝา่ มือซ้ายคลึงฝ้ายให้มว้ นเข้าไปกับไม้ หมุนกลับไปกลับมาเบาๆ เหมือนอย่างฟนเที ั ่ ยนแล ะ
ธูป มือขวาจับไม้กลมทางด้ามเพียงแต่ประคองไว้ให้หมุนไปตามทีม่ อื ซ้ายคลึง เมือ่ ฝ้ายกลม
เรียบร้อยแล้ว ถอดไม้ออกเก็บฝ้ายไว้ดา้ ยทีท่ าํ เป็ นรูปกลมๆ ยาวๆ นี้เรียกว่า “ล้อมฝ้าย”
6) การปนฝ ั ่ ้ าย คือ การล้อมฝ้ายให้เป็นเส้นด้ายเรียกว่า “เข็นฝ้าย” วิธกี ารทํา
ให้เป็นเส้นด้ายคือ เอาฝ้ายเข้าเครือ่ งหมุนเรียกว่า “ใน” เพือ่ ทําเป็นเส้นด้าย อุปกรณ์เครือ่ งใช้ในการ
ั ่ ้ ายเรียกว่า “หลา” การปนฝ
ปนฝ ั ่ ้ ายจะทํายากกว่าวิธกี ารทําอย่างอื่นๆ เพราะมือทัง้ สองข้างจะต้อง
สัมพันธ์ให้ได้ระยะพอดี คือ มือขวาหมุนหลา เพื่อให้ไนหมุนเรียกว่า “ไลหลา” มือซ้ายบีบล้อมฝ้ายให้
พ้นกับไลหลา เมือ่ พันติดดีแล้วก็ดงึ ออกมาให้เป็นเส้นด้ายในระดับเดียวกันกับไลหลาจน สุดแขน
แล้วหยุดบีบล้อมยกแขนขึน้ ให้ตรงกับระดับไลหลา แล้วค่ อยหย่อนลงมาเพือ่ ให้ดา้ ยพันกับ ไลหลา
31

เท่ากับว่าเก็บเส้นด้ายไว้ทไ่ี ลหลา และทําเช่นนี้ต่อไปอีกจนกว่าจะได้ดา้ ยเป็ นกลุ่มพอแก่ความ


ต้องการจึงหยุด แล้วถอดด้ายออกจากไลหลาเก็บไว้ ด้ายทีถ่ อดออกมาเก็บไว้น้เี รียกว่า “หลอดฝ้าย”
หรือ “หลอดด้าย”
7) การทําเส้นด้ายซึง่ เป็ นหลอดแล้วให้เป็ นไจเป็ นเข็ด(เป็ นกํา) เรียกว่า “เปียฝ้าย”
อุปกรณ์เครือ่ งใช้ในการทํา คือ “เปีย ” ด้ายทีเ่ ปียพอแก่ ความต้องการแล้วถอดออก เรียกว่า “เข็ด ”
เมือ่ ทําเส้นด้ายเป็ นเข็ด เสร็จแล้วต้องนําไปแช่ในนํ้าซาวข้าวก่อนเสมอ (สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์ .
2543: 56-58)
4.2.2 การทอ
การทอ คือ การต่อด้ายให้ตดิ กับด้ายซึง่ อยูก่ บั ฟืม คําว่า “ฟืม” คือ อุปกรณ์อย่าง
หนึ่งในการทอผ้า ประกอ บด้วยซีแ่ นวตัง้ วางเรียงกันอยูใ่ นกรอบไม้ใช้สาํ หรับกรอเส้นด้าย พุ่งให้ชดิ
เป็ นระเบียบ หากไม่มฟี ื มแล้วไม่สามารถทอผ้าให้เป็นผืนได้เลย โดยเฉพาะผ้าทีม่ คี วามกว้าง และมี
เส้นด้ายทีเ่ ล็กละเอียด (สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์. 2543: 59)
4.2.3 การผลิตผ้าหม้อห้อมแบบดัง้ เดิม
1) การหมักสียอ้ ม
นําใบ หรือกิง่ ก้านของต้นห้อม หรือต้นครามทีม่ อี ายุประมาณ 3 เดือน มา
มัดรวมกันแช่น้ําทิง้ ไว้ประมาณ 7 วัน หรือพอให้ตน้ ครามเน่า ระวังอย่าให้กง่ิ ก้านทีม่ ดั รวมโผล่พน้ นํ้า
เมือ่ ครบกําหนดนํามาขยํารวมกัน แล้วจึงนําไปกรอง จะได้น้ําสีน้ําเงิน นํ้านี้จะนําไ ปย้อมยังไม่ได้ตอ้ ง
นําไปผสมกับปูนขาว หรือปูนแดงในอัตราส่วน 1/1 นํานํ้าทีผ่ สมให้เข้ากันได้น้นี ําไปกรองอีกครัง้ หนึ่ง
จะได้หวั นํ้าครามสีเข้มและเหนียว ส่วนนํ้าทีเ่ หลือจากการกรองจะนําไปย้อมก็ได้ แต่คุณสมบัตขิ องสี
ไม่ดเี ท่าทีค่ วร สีทไ่ี ด้จากการกรองซึง่ มีสว่ นผสมของปูนขาวมี ลักษณะเหนียวนี้เรียกว่า “นํ้าคราม ”
หรือ “นํ้าหัวคราม” (สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์. 2543: 60)
2) การเตรียมนํ้าด่าง หรือนํ้าขีเ้ ถ้า
ขีเ้ ถ้าทีน่ ํามาเตรียมนํ้าด่างมีหลายชนิด ได้แก่ ขีเ้ ถ้าทีไ่ ด้จากแกลบฟืน ใบไม้
และถ่าน นําขีเ้ ถ้าใส่ป๊ีบทีเ่ จาะรูโดยทัว่ ใส่ขเ้ี ถ้าปร ะมาณ 3/4 ของปี๊บ เทนํ้าใส่ลงไปโดยนํ้าจะค่อย
ไหลรินลงสูภ่ าชนะทีเ่ ตรียมไว้รองรับ โดยมากจะใช้ภาชนะดินเผา เพราะด่างจะได้ไม่กดั ภาชนะ
นํ้าด่างทีไ่ ด้จะมีสนี ้ําตาลแดง ขีเ้ ถ้าทีใ่ ช้ทาํ นํ้าด่างจะเปลีย่ นทุกวัน เพราะในแต่ละวันความเข้มข้นของ
ขีเ้ ถ้าจะหมดไป คุณสมบัตขิ องขีเ้ ถ้าจะช่วยให้สเี ข้ม เมือ่ ใช้มอื สัมผัสแล้วล้างออกมือจะลืน่ นํ้าทีเ่ ติม
ในปี๊บต้องเติมตลอดเวลา เมือ่ เติมในภาชนะทีร่ องรับแล้ว จึงตักใส่โอ่งใบใหญ่เพือ่ ทําเป็นโอ่งสําหรับ
ย้อมต่อไป (สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์. 2543: 60)
3) การเตรียมผ้าก่อนการย้อมสี
แต่เดิมการย้อมผ้ายังไม่พฒ ั นา ผ้าทีย่ อ้ มโดยมากเป็นผ้าฝ้าย หรือผ้าดิบ เมือ่
ย้อมออกมามักจะสีตก และเกิดรอยด่าง มีกลิน่ เหม็น และแข็งจากแป้งทีเ่ คลือบเส้นใย ฉะนัน้ ก่อน
ย้อมผ้าต้องนําไปแช่ในโอ่งมังกรนานประมาณ 1 – 2 วัน เพื่อให้ผา้ นิ่ม และแป้งทีเ่ คลือบอยูห่ ลุด
ออกไป เมือ่ แช่ครบกําหนดแล้วจึงไปซักในนํ้าสะอาดอีกครัง้ นําไปผึง่ แดดให้แห้(สี ง วลา วงศ์ไพบูลย์วฒ
ั น์.
2543: 60)
32

4) การเตรียมสียอ้ ม
เมือ่ ได้น้ําด่างในปริมาณทีเ่ พียงพอ คือ ประมาณเกือบเต็มโอ่ง ขัน้ ต่อไปนํา
ภาชนะเช่นถัง หรือโอ่งขนาดเล็ก นําปูนขาว หรือปูนแดง 1 ถ้วย นํ้าด่างประมาณ 5 ถ้วย สีคราม
(หัวนํ้าคราม ) 100 กรัม ผสมให้เข้ากัน พักไว้นานประมาณ 4 ชัวโมง ่ เพื่อให้ส่วนผสมของทัง้ สาม
อย่างทําปฏิกริ ยิ า จากนัน้ จึงเทลงในโอ่งทีม่ นี ้ําด่างเกือบเต็ม ใช้ไม้คนให้เข้ากันจะเกิดฟองสีเหลือง
ปนเขียว ส่วนนํ้าจะเป็ นสีน้ําเงิน แสดงว่าสีครามทีผ่ สมใช้ได้ พักไว้ 1 คืน หรือประมาณ 12 ชัวโมง ่
พร้อมทีจ่ ะย้อมในวันรุง่ ขึน้ ถ้าหากจะแยกหม้อนํ้าห้อมใหม่สามารถกระทําได้ แต่มธี รรมเนียมโบราณ
ปฏิบตั สิ บื มากระทังป ่ จั จุบนั คือ หาหม้อ หรือโอ่งตามต้องการนําหมาก และพลูมาบูชาเพือ่ ขึน้ ครู
ต่อไปจึงนํานํ้าด่างใส่เกือบเต็มโอ่ง แล้วนําหัวเชือ้ หรือต ะกอนทีต่ กอยูก่ น้ โอ่งนํ้าย้อมอยูเ่ ดิม มาใส่ใน
โอ่งทีเ่ ตรียมไว้ โดยมีวสั ดุอุปกรณ์ทใ่ี ช้ในการแยกหม้อนํ้าห้อมใหม่ คือ โอ่ง 1 ใบ ต่อหัวเชือ้ 1 ถังเล็ก
(ประมาณ 5 ลิตร) นํ้าด่าง หรือนํ้าขีเ้ ถ้า 5 ถ้วย ปูนขาว หรือปูนแดง 1 ถ้วย สีคราม 100 กรัม ผสม
ทัง้ 3 อย่างเข้าด้วยกัน พักไว้นาน 4 ชัวโมง ่ นําเทลงในโอ่งคนให้เข้ากันทิง้ ไว้ 1 คืน พร้อมจะนําไป
เป็ นหม้อนํ้าย้อมต่อไป (สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์. 2543: 61)
5) กรรมวิธกี ารย้อมผ้าแบบดัง้ เดิม
ผ้าทีจ่ ะนําไปย้อมได้นนั ้ ต้องแช่น้ําทิง้ ไว้ 2 คืน นําผึง่ แดดให้แห้งแล้วนําไปชุบ
นํ้าอีกครัง้ หากไม่ชบุ นํ้าเมือ่ ย้อมเสร็จ ผ้าอาจจะมีสไี ม่สมํ่าเสมอด่างได้ เพราะนํ้าเป็นตัวนําสี ก่อนนํา
ผ้าลงย้อมต้องคนสีทห่ี มักไว้ 1 คืนนัน้ ให้เกิดฟองทิง้ ระยะไว้สกั ครูใ่ ห้ฟองหาย นําตะกร้าสานห่างๆ
ทีม่ ขี นาดเท่ากับปากโอ่งวางตะกร้าลงไปในโอ่งให้ลกึ ประมาณ 2/4 ของโอ่ง ต้องนําผ้าใส่ตะกร้ า เพือ่
มิให้ผา้ ตกถึงก้นโอ่ง เพราะมิฉะนัน้ ขีเ้ ถ้าจากการกรองนํ้าด่างจะปนเปื้อนติดผ้าได้ ขณะทีย่ อ้ มให้ยอ้ ม
ทีละตัวโดยการขยําผ้าให้สกี ระจายทัวทั ่ ง้ ผืน ผ้าทีถ่ กู สีจะมีสเี ขียวขยําต่อไป แล้วบิดให้หมาดนําออก
ผึง่ แดด เมือ่ ผ้าทําปฏิกริ ยิ ากับออกซิเจนทีอ่ ยูใ่ นอากาศสีเขียวจะ กลายเป็นสีฟ้าอ่อน และสีน้ําเงิน
ในทีส่ ุดปล่อยให้แห้งสนิท นําไปย้อมอีก 3 – 4 ครัง้ หรือคาดว่าผ้านัน้ ได้สเี ข้มตามต้องการ (สีวลา
วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์. 2543: 61)
ผ้าทีน่ ําลงย้อมในโอ่งนี้จะย้อมเสือ้ ได้ประมาณ 4 – 5 ตัว หากจะย้อมใหม่ในวันรุง่ ขึน้ ต้อง
เติมนํ้าด่าง ปูนขา ว สีคราม เท่ากับอัตราส่วนครัง้ แรก คือ นํ้าด่าง 5 ถ้วย ปูนขาว 1 ถ้วย สีคราม
100 กรัม ผสมให้เข้ากันพักไว้ 4 ชัวโมง ่ แล้วนําไปเทลงโอ่งนํ้าย้อมทีย่ อ้ มในครัง้ แรกทําอย่างนี้
ติดต่อกันทุกครัง้ ทีจ่ ะมีการย้อม
เมือ่ ย้อมสีแล้วแต่จากการย้อมครัง้ แรกยังมีรอยด่างสีไม่สมํ่าเสม อ ถ้าต้องการให้สเี รียบ
เสมอ และสวยต้องนําไปต้มย้อมทับอีกครัง้ หนึ่งด้วยสีกรมท่า โดยการตัง้ กระทะใส่น้ําประมาณท่วม
ผ้ายกขึน้ ตัง้ ไฟ พอนํ้าเดือดนําสีทล่ี ะลายไว้แล้วเทลงในกระทะคนให้สลี ะลาย (สีทใ่ี ช้เป็ นสีชนิดผง )
นําเปลือกมะขามขนาดเท่าฝา่ มือใส่ลงไป เพราะจะทําให้สไี ม่ตก เ กลือ 1ช้อนโต๊ะ เมือ่ นํ้าเดือดนําผ้า
ทีย่ อ้ มครัง้ แรกใส่ลง และพลิกกลับไปมาบ่อยๆ มิให้ผา้ ด่าง ต้มนานประมาณ30 นาที เมือ่ ครบ 30 นาที
นําขึน้ พาดราวผึง่ แดดให้แห้ง (สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์. 2543: 61)
33

6) การลงแป้ง
เพื่อเป็ นการตกแต่งให้ผา้ มีความคงรูป เนื้อเรียบไ ม่มรี อยย่น เวลารีดเป็นมัน
เงางาม นิยมใช้วธิ กี ารลงแป้ง โดยใช้แป้งมันสํามะหลัง หากจะลงแป้งเสือ้ ประมาณ 5 ตัว ใช้แป้งมัน
สําปะหลังประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมในนํ้าเย็นประมาณ 1 ลิตร คนให้เข้ากัน นําขึน้ ตัง้ ไฟหมันคนพอ ่
แป้งสุก มีลกั ษณะใสคล้ายกาว ยกลงผสมนํ้าเย็นประมาณ 10 ลิตร หรือพอท่วมผ้าคนให้ทวอย่ ั ่ าให้ม ี
เม็ดแป้ง นําผ้าทีย่ อ้ มเสร็จลงขยําให้ทวบิ ั ่ ดให้หมาดนําขึน้ ผึง่ แดด(สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒั น์. 2543: 62)
7) การรีดผ้าหม้อห้อม
การรีดผ้าหม้อห้อมทัง้ อดีต และปจั จุบนั นิยมใช้เตารีดถ่าน เพราะความร้อน
สูง และหนักทําให้ผา้ เรียบ ก่อนรี ดพรมนํ้าให้ทวผื ั ่ นผ้าทิง้ ไว้ประมาณ 5 นาที เพือ่ ให้ผา้ ชืน้ จะได้รดี
ง่าย ปจั จุบนั การรีดผ้าเพือ่ การพาณิชย์ให้เรียบง่าย และรวดเร็ว ผูร้ ดี มักจะใช้สบูซ่ ลั ไลละลายนํ้า นํา
เศษผ้าชุบนํ้าสบูเ่ ช็ดเสือ้ ทัง้ ผืน เมือ่ นําไปรีดผ้าจะเรียบ และเป็นมันรีดง่าย แต่วธิ นี ้ไี ม่สามารถเก็บ ไว้
ได้นาน เพราะหากอากาศชืน้ ผ้าจะมีลกั ษณะเป็นสีขาวขุน่ คล้ายขึน้ รา (สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น์ .
2543: 62)

3.5 เครือ่ งมือและอุปกรณ์ ในการผลิ ตผ้าหม้อห้อม


การผลิตผ้าหม้อห้อมต้องเตรียมเครือ่ งมือและอุปกรณ์ให้พร้อมก่อน เพื่อจะทํางานได้
สะดวก ไม่เสียเวลา เครือ่ งมือและอุปกรณ์ทใ่ี ช้ในการผลิต แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครือ่ งมือและ
อุปกรณ์ในการผลิตผ้าหม้อห้อม2) วัสดุในการผลิต (การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทยม. 2535: 34 – 37)

เครือ่ งมือและอุปกรณ์ในการผลิตผ้าหม้อห้อม(การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย. 2535: 34)


1. เตา
เตาสํา หรับต้มผ้า ในสมัยก่อนต้องเป็นเตาขนาดใหญ่ทก่ี ระทะใบบัวสามารถตัง้ ได้
มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 24 – 30 นิ้ว โดยการขุดดินเป็นหลุมลึกประมาณ 12 นิ้ว กว้าง 24 นิ้ว
นําหินวางทีข่ อบเตา เพื่อตัง้ กระทะ และใส่ฟืนเป็ นเชือ้ เพลิง
2. ราวตากผ้า
ราวตากผ้าเป็ นอุปกรณ์ทม่ี คี วามจําเป็นอย่างหนึ่งในการผลิตผ้าหม้อห้อม หลังจาก
การย้อมสีผา้ เรียบร้อยแล้ว สีอาจจะไม่เสมอกันทัง้ ผืนจึงต้องมีการคลีผ่ า้ ตาก เพือ่ ความสมํ่าเสมอของ
สี ทัง้ ในอดีต และปจั จุบนั นิยมราวตากผ้าทีท่ าํ ด้วยไม้ไผ่ เพราะราวตากผ้าทีท่ าํ จากลวดอาจทําให้
เกิดเนื้อสนิมติดเนื้อผ้าได้ สถานทีท่ าํ ราวตากผ้าอาจจะแยกกันตามลักษณะใช้สอย เช่น หลังจากการ
ย้อมสีครัง้ แรกผ้า ควรตากในทีร่ ม่ หรือบริเวณทีม่ หี ลังคากรองแสง เพื่อป้องกันผ้าสีซดี หลังจากการ
ย้อมทับสีครัง้ ต่อไปราวตากผ้าควรอยูใ่ นทีร่ ม่
34

3. โอ่งดินและโอ่งเคลือบ
โอ่งดินธรรมดาใช้สาํ หรับย้อมผ้าหม้อห้อมเหตุผลทีต่ อ้ งใช้โอ่งดินธรรมดา เนื่องจาก
หากใช้โอ่งเคลือบแล้วสารทีเ่ คลือบในโอ่ง อาจปนเข้าไปในสียอ้ มผ้า ทําให้สเี น่าเสียได้ โอ่งเคลือบ ใช้
สําหรับแช่ผา้ ดิบก่อนการย้อม เนื่องจากผ้าทีจ่ ะนํามาย้อมได้นนั ้ ต้องผ่านการแช่น้ํานานถึง 2 – 3 วัน
เพือ่ ให้ผา้ มีความอ่อนล้า และสามารถดูดซับสีได้งา่ ยขึน้ หลังจากแช่ไว้ 2 – 3 วัน แล้วจึงนํามาซัก
และย้อมได้ เกรงว่าหากใช้โอ่งดินธรรมดาอาจไม่ทนทาน หรือผุกร่อนได้งา่ ย
4. ไม้สาํ หรับคนผ้าและสี เพือ่ ให้ส ี และเนื้อผ้าผสมกันได้งา่ ยขึน้ ไม้น้มี คี วามยาว
ประมาณ 1 เมตร อาจทําจากไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ไผ่กไ็ ด้
5. ปี๊บเจาะรู สําหรับเตรียมนํ้าด่าง โดยใส่ขเ้ี ถ้าลงไปเทนํ้าผ่าน ขีเ้ ถ้าจะกลายสภาพ
เป็นนํ้าด่างไหลผ่านลงไป
6. รางสังกะสี เพื่อให้น้ําด่างสามารถไหลลงสู่โอ่งดิน เพื่อเตรียมย้อมผ้าได้สะดวก จึง
ต้องมีรางรองรับนํ้าด่างเพื่อให้ไหลสะดวกขึน้
7. กระทะใบบัวขนาดใหญ่สาํ หรับต้มผ้า ขนาดความกว้างประมาณ 24 – 30 นิ้ว
8. ภาชนะสําหรับผสมสี ต้องมีการผสมสีจากภาชนะทีไ่ ม่ใช่โลหะ หรือเคลือบสี
เนื่องจากเกลือ หรือนํ้าขีเ้ ถ้าอาจกัดภาชนะนัน้ ให้ผกุ ร่อน หรือสีเปลีย่ นสภาพได้ ฉะนัน้ ภาชนะผสมสี
จึงควรทําจากดินเผาธรรมดา หรือโอ่งขนาดเล็กก็ได้
9. ตะกร้าสานปากกว้างก้นแคบ สานด้วยไม่ไผ่เพือ่ นํามารองรับผ้าจากปากโอ่งขณะที่
กําลังย้อมผ้าหม้อห้อม
10. ถุงมือยาง แต่เดิมชาวบ้านจะใช้มอื เปล่าย้อมผ้า มือจึงมีสดี าํ ทัง้ 2 ข้าง แต่ปจั จุบนั
นิยมใช้ถุงมือยาง มีความยาวประมาณ 1 ศอก
11. เตารีด เครื่ องมือทีจ่ ะใช้ประกอบให้ผา้ หม้อห้อมทีย่ อ้ มสําเร็จออกมาแล้วมีความ
สวยงามมากขึน้ ได้คอื เตารีด เพือ่ ให้ผา้ เรียบ สมัยก่อนเตารีดทีใ่ ช้รดี ผ้าหม้อห้อมจะใช้เตาถ่าน
เพราะมีความร้อนสูง และนํ้าหนักมาก

วัสดุท่ีใช้ในการย้อมผ้าหม้อห้อม
วัสดุทใ่ี ช้ในการผลิตผ้าหม้อห้อมมีหล ายชนิด การใช้วสั ดุทถ่ี กู ต้อง และเหมาะสมจะทําให้
ผลงานสําเร็จออกมาอย่างมีคณ ุ ภาพ และลดต้นทุนในการผลิตได้อกี ด้วย ฉะนัน้ ผูผ้ ลิตจึงต้องเลือกใช้
วัสดุให้เหมาะสมกับงานด้วย(กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2526: 35-38)
35

ต้นคราม
ต้นครามหรือต้นห้อม คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่งขึ้ นได้ทุกฤดูกาล ชอบอากาศชืน้ และดินร่วม
ปนทราย (ต้นครามมี 2 ชนิด คือ ต้นครามบ้าน และต้นครามปา่ แต่ครามทีน่ ํามาทํานํ้าย้อมคือ ต้น
ครามบ้าน ลําต้นสูงประมาณ 1 เมตรครึง่ ใบมีลกั ษณะคล้ายใบมะขาม สีเขียวสด ลําต้นมีลกั ษณะ
เป็นพุม่ ใช้เวลาปลูกนานประมาณ 3 เดือน เมือ่ แก่ใบจะมี สเี ขียวแก่คอ่ นข้างดํา หรือเมือ่ ครบ 3 เดือน
จะออกดอกแสดงว่าแก่จดั พร้อมทีจ่ ะขยายพันธุไ์ ด้
ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย
แต่เดิมผ้าทีน่ ํามาย้อมต้องผลิตเองเริม่ ต้นแต่การปลูกต้นฝ้ายจนกระทังนํ ่ าฝ้ายไปทอ
สีสาํ หรับย้อม
แต่เดิมสีทใ่ี ช้ในการย้อมผ้าจะได้จากธรรมชาติ อาทิเช่น สีแ ดง ได้จากครังตั ่ วเมีย สําหรับ
ย้อมผ้าไหม หรือขนสัตว์จะได้สสี วย และสีไม่ตก สีดาํ ได้จากผลมะเกลือ ใช้ยอ้ มผ้าฝ้าย สีเหลือง ได้
จากไพรหรือขมิน้ ต้นคร้ามหรือต้นห้อมทีแ่ ก่จดั นําส่วนต้น และใบมามัดรวมกัน นําไปหมักนาน
ประมาณ 7 วัน เพือ่ ให้ตน้ ครามเน่ า นํามากรองเอานํ้าย้อมผ้าผสมปูนขาว หรือ ปูนแดง จะได้น้ํา
ย้อมผ้าสีน้ําเงิน นอกจากนัน้ คนสมัยโบราณยังรูจ้ กั เอาเหล็กมาแช่น้ําส้มจนเป็นสนิท แล้วกรองจะได้
สีน้ําตาลแดง เป็ นต้น
สําหรับสีคราม หรือสียอ้ มทีไ่ ด้จากต้นห้อม มี 2 ชนิดได้แก่ สีหอ้ มชนิดผง และสีหอ้ มชนิด
เหลว สีทน่ี ยิ มใช้ยอ้ มผ้าหม้อ ห้อม คือ สีชนิดเหลว เพราะมีความเข้มข้นสูงเวลาย้อมจะยาก
เนื่องจากสีผา้ อาจด่างได้งา่ ย เวลาย้อมต้องไม่ให้ผา้ โผล่พน้ นํ้า มิฉะนัน้ ผ้าทีพ่ นั นํ้าขึน้ มาถูกอากาศ สี
จะเปลีย่ นได้ เช่น ในขณะกําลังย้อมนํ้าย้อมจะเป็นสีน้ําเงิน แต่ผา้ ในขณะกําลังย้อมจะเป็นสีเขียวปน
เหลือง เมือ่ นําขึน้ ผึง่ แดดทีเ่ ห็นเขียวปนเหลืองจะกลายยเป็นสีน้ําเงินทันที
ส่วนประกอบอื่นทีน่ ํามาผสมกับสีครามย้อมผ้า คือ เกลือแกง มีคณ ุ สมบัตชิ ว่ ยให้สตี ดิ ทน
และมีสเี ข้ม ปูนขาว และปูนแดง มีคุณสมบัตชิ ่วยให้สเี ข้ม ขีเ้ ถ้า มีคุณสมบัตชิ ่วยให้สเี ข้ม และติดทน
ขีเ้ ถ้ามีหลายชนิด อาทิ เช่น ขีเ้ ถ้าจากแกลบ ฟืน ถ่าน ใบไม้ แต่ทช่ี ่วยให้สตี ดิ ทนได้ด ี คือ ขีเ้ ถ้าทีไ่ ด้
จากถ่าน เปลือกมะขาม ทีไ่ ด้จากลําต้นมีรสฝาด มีคณ ุ สมบัตชิ ว่ ยไม่ให้สตี ก (กรมส่งเสริม
อุตสาหกรรม. 2526: 35-38)

3.6 ข้อควรระวังจากการใช้ผา้ หม้อห้อม


ผ้าทีย่ อ้ มจากสีคราม หรือห้อม มักจะอยูใ่ นสภาพทีท่ นต่อการใช้งาน ฉะนัน้ เพือ่ ให้การ
ดูแลรักษาผ้าอยูใ่ นสภาพคงทน และสวยงามควรปฏิบตั ดิ งั นี้ (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. 2526: 42)
1. ก่อนทีจ่ ะนําเสือ้ ผ้าทีย่ อ้ มจากสีครามไปสวมใส่จะต้องนําเสือ้ นัน้ ไปแช่ในนํ้าเกลือ
หรือนํ้าซาวข้าวก่อนประมาณ 1 คืน นําไปซักในนํ้าธรรมดาประมาณ 2 ครัง้ ผึง่ ในทีร่ ม่ เพือ่ มิให้สซี ดี
จากแสงแดด เพราะการย้อมสีธรรมชาติสมี กั จะซีดเร็ว
36

2. เมือ่ ใช้งานไปได้สกั ระยะเวลาพอสมควร สีหม้อห้อมนัน้ จะซีดขาว หรือ สีตก หาก


ต้องการให้สอี ยูใ่ นสภาพเช่นเดิม สามารถนําไปย้อมทับอีกครัง้ หนึ่ง และสามารถนําไปใช้ได้ อีก ทํา
เช่นนี้กระทังเสื
่ อ้ ผ้าหมดสภาพไป

4. งานวิ จยั ที่เกี่ยวข้อง


4.1 งานวิ จยั ที่เกี่ยวข้องกับผ้าหม้อห้อม
สีวลา วงศ์ไพบูลย์วฒ ั น (2543: บทคัดย่อ ) ได้ทาํ การศึกษาเรือ่ ง การดําเนินงานใน
ธุรกิจผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมของผูป้ ระกอบการในอําเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยมี วัตถุประสงค์
เพือ่ ศึกษาการดําเนินงานในธุรกิจผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมของผูป้ ระกอบการในอําเภอเมือง จังหวัด
แพร่ และเพือ่ ศึกษาปญั หาและอุปสรรคในการดําเนินงานในธุรกิจผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมของ
ผูป้ ระกอบการในอําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ในการศึกษาครัง้ นี้ได้ศกึ ษารวบรวมข้อมูลโดย
แบบสอบถามสัมภาษณ์ผปู้ ระกอบการในธุรกิจผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมของผูป้ ระกอบการในอําเภอ
เมืองแพร่ จํานวนทัง้ สิน้ 33 ราย
ผลการวิจยั พบว่า ธุรกิจผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมทุกรายดําเนินงานในลักษณะกิจการ
เจ้าของคนเดียวและได้ดาํ เนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมมาเป็นระยะเวลาตัง้ แต่ 1 - 5 ปี
ผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่มวี ฒ ุ กิ ารศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและตํ่ากว่ามัธยมศึกษา และส่วนใหญ่
เป็ นสมาชิกสหกรณ์หม้อห้อมทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่
บุญส่ง เอือ้ อรุณ (2548: บทคัดย่อ ) ได้ทาํ การศึกษาเรือ่ ง การสร้างหน่วยการเรียนรู้
เรือ่ ง หม้อห้อมภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ สูงเม่ น โรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ เขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาแพร่ เขต 2
โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ สร้างและประเมินคุณภาพหน่วยการเรียนรูเ้ รือ่ งหม้อห้อมภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ สูง
เม่น สําหรับใช้ประกอบการสอนกลุม่ สาระหน้าที่ พลเมือง วัฒนธรรม และการดําเนินชีวติ ในสังคม
ในช่วงชัน้ ที่ 4 ประชากรทีใ่ ช้ในการศึกษาครัง้ นี้ คือ ผูป้ ระเมินด้านภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ จํานวน 5 คน
ผลการวิจยั พบว่า ผลการประเมินหน่วยการเรียนรูแ้ ละคูม่ อื การใช้ หน่วยการเรียนรู้
เรือ่ งหม้อห้อมภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ สูงเม่น โดยผูป้ ระเมินอยูใ่ นระดับมีคณ
ุ ภาพมาก
สุมติ รา วีรณรงค์กร (2550: บทคัดย่อ ) ได้ทาํ การศึกษาเรือ่ ง ต้นทุนและผลตอบแทน
ของการผลิตเสือ้ หม้อห้อมในตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมืองแพร่ โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและ
ผลตอบแทนของการผลิตเสือ้ หม้อห้อมในตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมืองแพร่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้
แบบสอบถามผูผ้ ลิตเสือ้ หม้อห้อมแบบดัง้ เดิ ม ในปี พ .ศ. 2550 จํานวนทัง้ หมด 15 ราย แบ่งกลุ่ม
ผูผ้ ลิตเป็ น 4 กลุม่ ตามปริมาณการผลิตในแต่ละเดือน
ผลการศึกษาพบว่า ในการผลิตเสือ้ หม้อห้อมนัน้ จะเห็นได้ว่ากลุ่มที่ 4 มีตน้ ทุนต่อตัวของ
ขนาด S M L XL และ XXL ตํ่าทีส่ ดุ คือ 82.91 บาท 84.61 บาท 89.88 บาท 94.53 บาท และ97.89
บาท ตามลําดับ ในขณะทีต่ น้ ทุนต่อตัวในการผลิตของขนาด S M L และ XXL ของกลุ่มที่ 2 มีตน้ ทุน
สูงสุด คือ 96.15 บาท 97.41 บาท 106.64 บาท และ 115.34 บาท ตามลําดับ ส่วนต้นทุนต่อตัวใน
37

การผลิตของขนาด XL ของกลุ่ม 3 มีตน้ ทุนสูงสุด คือ 110.38 บาท อัตรากําไรต่อต้นทุน ของขนาด S


และ M ของกลุ่มที่ 1 มีอตั ราสูงสุด คือ ร้อยละ 27.71 และ ร้อยละ 32.13 ตามลําดับ อัตราของกลุม่ ที่
2 มีอตั ราตํ่าสุด คือ ร้อยละ 14.10 และร้อยละ20.62 ตามลําดับ ส่วนอัตรากําไรต่อต้นทุนของขนาด L
XL และ XXL ของกลุ่มที่ 4 มีอตั ราสูงสุด คือ ร้อยละ 33.51 ร้อยละ 37.52 และร้อยละ 53.23
ตามลําดับ ในขณะทีข่ องกลุม่ ที่ 3 มีอตั ราตํ่าสุด คือ ร้อยละ 25.80 ร้อยละ 26.80 และร้อยละ 30.65
ตามลําดับ อัตรากําไรต่อค่าขายของขนาด S และ M ของกลุ่มที่ 1 มีอตั ราสูงสุด คือ ร้อยละ 21.70
และร้อยละ 24.32 ตามลําดับ ในขณะทีข่ องกลุม่ ที่ 2 มีอตั ราตํ่า สุด คือ ร้อยละ 12.59 และร้อยละ
17.10 ตามลําดับ ส่วนอัตรากําไรต่อค่าขายของขนาด L XL และ XXL ของกลุ่มที่ 4 มีอตั ราสูงสุด
คือ ร้อยละ 25.10 ร้อยละ 27.28 และร้อยละ 34.74 ตามลําดับ ในขณะทีข่ องกลุม่ ที่ 3 คือ มีอตั รา
ตํ่าสุด คือ ร้อยละ 20.51 ร้อยละ 21.16 และร้อยละ 23.46 ตามลําดับ
สุรางรัตน์ ช้างคํา (2545: บทคัดย่อ) ได้ทาํ การศึกษาเรือ่ ง “การประกอบอาชีพอิสระผ้าหม้อ
ห้อมเมืองแพร่ ” จากการศึกษาพบว่า อาชีพการผลิต และจําหน่ายผ้าหม้อห้อม เป็นอาชีพทีป่ ระสบ
ความสําเร็จอาชีพหนึ่งของจังหวัดแพร่ โดยได้รบั การจัดให้เป็ นอาชีพ “หนึ่งตําบล หนึ่ งผลิตภัณฑ์” ที่
นําออกเผยแพร่ และจําหน่ ายในงานต่างๆ และในต่างจังหวัดทีห่ น่วยงานราชการจังหวัดแพร่ คือ
สํานักงานสหกรณ์จงั หวัดแพร่ นําผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมไปเผยแพร่ในทุกๆ แห่ง รวม 20 จังหวัด มี
ประชาชนให้ความสนใจเข้าชมสินค้ากว่า 10,000 คน มีรายได้เป็นจํานวนเงินถึง 455,700 บาท ส่วน
การจําหน่ ายของสมาชิกสหกรณ์ตามโครงการผูผ้ ลิตพบผูบ้ ริโภคปีรณรงค์การสหกรณ์จงั หวัดแพร่ ปี
พ.ศ. 25434 – 2544 มีแนวโน้มการจําหน่ายสูงขึน้ อาชีพการผลิต และจําหน่ายผ้าหม้อห้อมทีม่ กี าร
เปลีย่ นแปลงกว่า 30 ปี ทีผ่ า่ นมาการผลิต และการเปลีย่ นแปลงรูปแบบการตัดเย็ บผ้าหม้อห้อม
จังหวัดแพร่ จากเดิมมีแต่ตดั ย้อมผ้าด้วยนํ้าคราม ต้นครามโดยมีการคงสภาพเดิม มีรอ่ งรอยไว้สบื
ทอดอนุชนรุน่ หลัง แต่มกี ารดัดแปลง พัฒนารูปแบบตามสมัยนิยม ในยุดโลกาภิวตั น์ มีการปกั การ
เพ้นท์ผา้ การสกรีนผ้า และมีการเขียนเทียนลงบนผ้าหม้อห้อม ทําให้ผา้ หม้อห้ อมแต่เดิมได้พฒ ั นา
รูปแบบการเสนอจําหน่ ายในหลากหลายรูปแบบ
บทที่ 3
วิธีดาํ เนินการศึกษาค้นคว้า

ในการวิจยั ครัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั ได้ดาํ เนินการตามขัน้ ตอนดังนี้


1. การกําหนดประชากรและเลือกกลุม่ ตัวอย่าง
2. การสร้างเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการศึกษาค้นคว้า
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทําและการวิเคราะห์ขอ้ มูล

การกําหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิ จยั คือ ประชาชนทีอ่ าศัยอยูใ่ นตําบลทุ่งโฮ่ง อําเภอเมือง จังหวัด
แพร่ ทีม่ อี ายุ ตัง้ แต่ 18 ปีขน้ึ ไป จํานวน 6,293 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิ จยั คือ ประชาชนหมูท่ ่ี 6 ตําบลทุ่งโฮ้ง อํา เภอเมือง จังหวัด
แพร่ จํานวน 307 คน โดยมีวธิ กี ารได้มาซึง่ กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
1. เลือกหมูบ่ า้ นทีม่ คี วามโดดเด่น และมีการปฏิบตั ิ ในด้านของการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ทีด่ ี
ทีส่ ดุ (best practice) โดยพิจารณาจากปริมาณการผลิต ความมีชอ่ ื เสียง และการยอมรับจาก
ประชาชนโดยทัวไป ่ และหมูบ่ า้ นทีผ่ า่ นการพิจารณาคัดเ ลือก คือ หมูท่ ่ี 6 ซึง่ มีประชากรทีอ่ ายุตงั ้ แต่
18 ปี ขึน้ ไป ทัง้ สิน้ 885 คน
2. กําหนดขนาดกลุม่ ตัวอย่างโดยใช้สตู รของ Yamane (1967)

N
สูตรคํานวณ n=
1 + N (e)
2

เมือ่ n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
N = ขนาดของประชากร
e = ความคลาดเคลื่อนของกลุ่มตัวอย่าง

ความคลาดเคลื่อนของกลุ่มตัวอย่าง กําหนดระดับควา มคลาดเคลือ่ นทีร่ ะดับ .05 ได้ขนาด


ของกลุ่มตัวอย่างทัง้ หมด 275 คน เนื่องจากการวิจยั ครัง้ นี้ใช้เครือ่ งมือเป็นแบบสอบถาม จะมีอตั รา
การตอบกลับประมาณร้อยละ 70 (สุวมิ ล ว่องวาณิช. 2548: 67; อ้างอิงจาก Wiersma. 1991) เพือ่ เพิ่ม
ความมันใจในเรื
่ อ่ งของอัตราการตอบกลับและความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงใช้กลุ่ม
ตัวอย่างทัง้ สิน้ 393 คน
39

3. เลือกกลุม่ ตัวอย่างจากประชากรแบบโควตา (quota sampling) ซึง่ เป็ นการเลือกกลุ่ม


ตัวอย่างเป้าหมายทีม่ ลี กั ษณะและจํานวนตามทีก่ ําหนด และได้ครบทุกลักษณะของประชากรอีกทัง้
เลือกหน่ วยตัวอย่างได้งา่ ยและสะดวก (วรรณี แกมเกตุ. 2549: 154)
หลังจากการเก็บรวบรวบรวมข้อมูลจริง ผูว้ จิ ยั ได้ทาํ การตรวจสอบความสมบูรณ์ของ
แบบสอบถาม พบว่า ได้รบั แบบสอบถามกลับคืนมา จํานวน 307 ชุด คิดเป็นร้อยละ 78.11

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1. เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาครัง้ นี้ใช้แบบสอบถาม (questionnaire) และแนวทางการสนทนากลุม่ (focused
group) โดยสร้างขึน้ จากการศึกษาค้นคว้าตํารา แนวคิด ทฤษฎี วิทยานิพนธ์ เอกสารอื่นๆ และ
งานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง เป็ นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามและแนวทางในการสนทนากลุม่ เพือ่ เป็ น
เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการศึกษา โดยนําไปเก็บข้อมูลการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ในพืน้ ทีต่ ําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 แบบสอบถามการมีมสี ว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม แบ่งออกเป็น
4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลทัวไปของกลุ
่ ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา
อาชีพและระยะเวลาของการอาศัยในพืน้ ที่ โดยมีลกั ษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (check list)
และแบบเติมคํา
ตอนที่ 2 สอบถามเกีย่ วกับระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อ
ห้อม มีลกั ษณะเป็ นมาตรประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ โดยแต่ละระดับมีความหมายดังนี้
1 หมายความว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมในด้านนัน้ อยูใ่ น
ระดับน้อยทีส่ ดุ
2 หมายความว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ ผ้าหม้อห้อมในด้านนัน้ อยูใ่ น
ระดับน้อย
3 หมายความว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ในด้านนัน้ อยูใ่ น
ระดับปานกลาง
4 หมายความว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมในด้านนัน้ อยูใ่ น
ระดับมาก
5 หมายความว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ ผ้าหม้อห้อมในด้านนัน้ อยูใ่ น
ระดับมากทีส่ ดุ
40

โครงสร้างเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การมีสว่ นร่วมในการวางแผน


(Planning) การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) และการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่
(Dissemination)
ตอนที่ 3 สอบถามเกีย่ วกับสภาพปญั หาในการมีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อ ห้อม
มีลกั ษณะเป็ นมาตรประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ โดยแต่ละระดับมีความหมายดังนี้
5 หมายถึง ประเด็นนัน้ มีปญั หา หรืออุปสรรคอยูใ่ นระดับมากที่สดุ
4 หมายถึง ประเด็นนัน้ มีปญั หา หรืออุปสรรคอยูใ่ นระดับมาก
3 หมายถึง ประเด็นนัน้ มีปญั หา หรืออุปสรรคอยูใ่ นระดับปานกลาง
2 หมายถึง ประเด็นนัน้ มีปญั หา หรืออุปสรรคอยูใ่ นระดับน้ อย
1 หมายถึง ประเด็นนัน้ มีปญั หา หรืออุปสรรคอยูใ่ นระดับน้ อยที่สดุ
โครงสร้างเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การมีสว่ นร่วมในการวางแผน
(Planning) การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) และการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่
(Dissemination)
ตอนที่ 4 สอบถามเกีย่ วกับแนวทางในการพัฒนาการมีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อ
ห้อม เป็นแบบสอบถามปลายเปิด

1.2 แนวทางการสนทนากลุ่ม (focused group)


มีลกั ษณะเป็ นข้อคําถามปลายเปิดกว้างๆ ใช้สาํ หรับเป็ น คําถามในการเปิดประเด็นใน
การสนทนากลุม่ ของผูท้ รงคุณวุฒทิ างด้าน ผ้าหม้อห้อม โดยข้อคําถามในการสนทนากลุม่ นัน้ จะได้
จากผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณ ซึง่ การศึกษาครัง้ นี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครือ่ งมือในการ
รวบรวมข้อมูล หลังจากนัน้ ผูว้ จิ ยั จะเป็ นผูก้ าํ หนดประเด็นต่ างๆ ทีค่ น้ พบจากผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล
ในเบือ้ งต้นมาเป็ นแนวทางในการสนทนากลุม่ โดยการศึกษาครัง้ นี้ได้ทาํ การรวบรวมข้อมูลเชิง
คุณภาพประกอบข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุม่ เพือ่ ตอบวัตถุประสงค์การวิจยั ข้อ
ที่ 3 คือ การเสนอแนวทางเกีย่ วกับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง
อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
ผูว้ จิ ยั เลือกวิธกี ารเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพสําหรับการวิจยั ในครัง้ นี้เนื่องจาก การจัดกลุ่ม
สนทนา (focus group technique) เป็นวิธกี ารอย่างหนึ่งในการวิจยั เชิงคุณภาพทีใ่ ช้กนั อย่าง
แพร่หลายในการวิจยั ทางด้านพฤติกรรม ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ใช้การสัมภาษณ์กลุม่ ในการเก็บ
ข้อมูล โดยการฟงั และเรียนรูจ้ ากกลุ่มผูเ้ ข้าประชุม วิธเี ก็บข้อมูลแบบนี้เปิดโอกาสให้ผเู้ ข้าร่วมและ
ผูด้ าํ เนินการมีปฏิสมั พันธ์โด ยการเผชิญหน้ากัน ทําให้เกิดพลวัต ของกลุ่ม เพื่อไปกระตุน้ ความ
คิดเห็นของตนเองและความคิดเห็นของผูอ้ ่นื ออกมาอย่างเปิดเผยและจริงใจในขณะดําเนินการ ทําให้
ได้ขอ้ มูลทีม่ คี วามละเอียด ลึกซึง้ ลุ่มลึก และมีแง่มมุ ต่าง ๆ ของความคิดและประสบการณ์ของคนใน
กลุม่ สามารถดําเนินการได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดเวลา การสนทนากลุม่ เริม่ ด้วยการแนะนําตัว
41

ของผูด้ าํ เนินการสนทนาและผู้ เข้าร่วมการสนทนา หลังจากนัน้ ผูด้ าํ เนินการสนทนาทําการชีแ้ จง


จุดมุง่ หมาย การเตรียมคําถามสําหรับการสัมภาษณ์กลุม่ จากคําถามทัวไปจนถึ่ งคําถามเจาะลึก ใช้
คําถามง่าย ไม่ลาํ เอียง ไม่เจาะจง การกําหนดและเลือกผูเ้ ข้าร่วมกระบวนการทีม่ ภี มู หิ ลังคล้ายกัน
การเตรียมสถานทีท่ ป่ี ระชุมทีม่ คี วามเงียบ บทบาทของผูด้ าํ เนินการ คือ ต้องเป็นผูฟ้ งั ทีด่ ี ไม่เข้าไปมี
ส่วนในการแสดงความคิดเห็นกับสมาชิกอื่น หลังจากได้ขอ้ มูลแล้วก็ทาํ การวิเคราะห์ขอ้ มูลโดย
กําหนดความสําคัญ จัดกลุม่ ข้อความทีเ่ ป็นประเด็นหลัก จัดกลุม่ คําตอบทีเ่ ป็นกลาง คําตอบทางลบ
ทางบวก และข้อเสนอแนะ แปลความหมาย ประเด็นสําคัญ คือ ต้องระวังการเก็บรักษาความลับของผูใ้ ห้
ข้อมูล ไม่ควรระบุความคิดเห็นทีน่ ําเสนอเป็นความเห็นหรือคําพูดของใคร(กนกวรรณ ชูชพี . 2543: 43;
สุวมิ ล ว่องวาณิช. 2548: 145)

2. การสร้างเครือ่ งมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
2.1 แบบสอบถาม
การสร้างเครือ่ งมือแบบสอบถามในการศึกษาครัง้ นี้ มีขนั ้ ตอนการสร้างและพัฒนา
แบบสอบถาม ดังนี้
ขัน้ ที ่ 1 การกําหนดวัตถุประสงค์
การสร้างแบบสอบถามมี วัตถุประสงค์เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการรวบรวมข้อมูลใน
การศึกษาการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม สภาพปญั หา และอุปสรรค ตลอดจน
แนวทางในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม โดยการวิจยั ครัง้ นี้ศกึ ษา
เก็บข้อมูลทีต่ ําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
ขัน้ ที ่ 2 การนิ ยามปฏิ บตั ิ การสําหรับตัวแปรหลัก
1. การมีส่วนร่วมของชุมชน หมายถึง การมีสว่ นร่วมของ ประชาชนในตําบลทุ่งโฮ้ง
อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมอันเป็นหัตถศิลป์อนั ทรงคุณค่าให้คงอยูส่ บื ชัวลู
่ ก
ชัวหลานต่
่ อไป โดยศึกษาจากการมีสว่ นร่วมของชุมชนใน 3 ด้าน คือ การมีสว่ นร่วมในการวางแผน
(Planning) การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่
(Dissemination)
1.1 การมีส่วนร่วมในการวางแผน (Planning) หมายถึง ชุมชนมีสว่ นร่วมในระดับ
นโยบาย เช่น การเข้าร่วมประชุม หรือวางแผนงานทีเ่ กีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตลอดจนการ
มีสว่ นร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจในการมีส่ วนร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
วัดเป็นคะแนนโดยการให้รายงานระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชน มีลกั ษณะเป็นมาตรประมาณค่า
5 ระดับ
42

1.2 การมีส่วนร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) หมายถึง ชุมชนมีสว่ นร่วม


ในการปกป้องรักษาผ้าหม้อห้อมด้วยวิธกี ารต่างๆ เชิงสร้างสรรค์เพือ่ ให้คงสืบต่อไปยังรุน่ ลูกรุน่ หลาน
โดยไม่เปลีย่ นแปลงหรือรับเอากรรมวิธแี บบใหม่มาดัดแปลงจนทําลายแบบดัง้ เดิม ตลอดจน การ
สอดส่องดูแลผูท้ ป่ี ฏิบตั ติ นในทางลบต่อการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมทัง้ โดยเจตนาหรือไม่เจตนา วัดเป็น
คะแนนโดยการให้รายงานระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชน มีลกั ษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ
1.3 การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ (Dissemination) หมายถึง ชุมชนมีสว่ นร่วมใน
การให้ความรูห้ รือถ่ายทอดกรรมวิธใี นการผลิตเกีย่ วกับผ้าหม้อห้อม ทัง้ การศึกษาในระบบโรงเรียน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนการปฏิ บัติ ประพฤติตนเพื่อเป็น
แบบอย่าง วัดเป็ นคะแนนโดยการให้รายงานระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชน มีลกั ษณะเป็นมาตร
ประมาณค่า 5 ระดับ
2. สภาพปัญหาในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ ผลิ ตภัณฑ์ ผา้ หม้อห้อม
หมายถึง สิง่ ทีเ่ ป็ นอุปสรรคในการดําเนินการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมของชุมชนตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง
จังหวัดแพร่ หรือสิง่ ทีค่ อยขัดขวาง หรือภาวะคุกคามใดๆ อันส่งผลให้การอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมไม่เป็น
ตามสภาพทีค่ วรจะเป็ น ซึง่ วัดเป็ นคะแนนโดยการให้รายงานสภาพ
3. แนวทางการส่งเสริ มการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ ผลิ ตภัณฑ์ ผา้ หม้อ
ห้อม หมายถึง แนวทางในการทีช่ มุ ชนจะใช้เพือ่ พัฒนาการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้
หม้อห้อมให้เกิดผลเป็ นรูปธรรมมากขึน้ และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนตําบลทุ่งโฮ้ง
อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ วัดเป็ นคะแนนโดยเป็นแบบสอบถามปลายเปิด
ขัน้ ที ่ 3 การกําหนดโครงสร้างของเนื้ อหาที่ต้องการวัด
โครงสร้างหลักของเนื้อหาทีต่ อ้ งการวัด ประกอบด้ วย ระดับการมีสว่ นร่วมของ
ชุมชนใน การอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ซึง่ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ การมีสว่ นร่วมในการวางแผน
(Planning) การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) และการมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่
(Dissemination) โดยมีรายละเอียดแสดงค่านํ้าหนักของโครงสร้างเนื้อหาดังตารางที่ 1

ตาราง 1 โครงสร้างเนื้อหา นํ้าหนัก และจํานวนข้อของระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชน


ในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม

เนื้ อหา นํ้าหนักโดยประมาณ (%) จํานวนข้อ


การมีสว่ นร่วมในการวางแผน (Planning) 33.33 10
การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) 33.33 10
การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ (Dissemination) 33.33 10
รวม 100.00 30
43

สําหรับ โครงสร้างหลักของเนื้อหา ในส่วนของสภาพปญั หาและอุปสรรคในการ มีส่วนร่วม


ของชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ซึง่ ประกอบด้ วย 3 ด้าน ได้แก่ การมีสว่ นร่วมในการวางแผน
(Planning) การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) และการมีสว่ นร่วมใน การเผยแพร่
(Dissemination) โดยมีรายละเอียดแสดงค่านํ้าหนักของโครงสร้างเนื้อหาดังตาราง 2

ตาราง 2 โครงสร้างเนื้อหา นํ้าหนัก และจํานวนข้อของระดับปญั หาและอุปสรรคในการมีสว่ น


ร่วมของชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม

เนื้ อหา นํ้าหนักโดยประมาณ (%) จํานวนข้อ


การมีสว่ นร่วมในการวางแผน (Planning) 33.33 10
การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) 33.33 10
การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ (Dissemination) 33.33 10
รวม 100.00 30

ขัน้ ที ่ 4 การกําหนดรูปแบบของเครือ่ งมือ


ผูว้ จิ ยั แบ่งแบบสอบถามออกเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลพืน้ ฐานของผูต้ อบแบบสอบถาม มีลกั ษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
(checklist) และแบบเติมคํา
ตอนที่ 2 การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้ อห้อม มีลกั ษณะเป็นมาตรประมาณ
ค่า 5 ระดับ โดยโครงสร้างเนื้อหาแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ การมีสว่ นร่วมในการวางแผน (Planning)
การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) และการมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ (Dissemination)
จํานวน 30 ข้อ
ตอนที่ 3 สภาพปญั หาในการมีสว่ นร่วมข องชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม มีลกั ษณะมี
ลักษณะเป็ นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยโครงสร้างเนื้อหาแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ การมีส่วนร่วม
ในการวางแผน (Planning) การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative) และการมีสว่ นร่วมใน
การเผยแพร่ (Dissemination) จํานวน 30 ข้อ
ตอนที่ 4 แนวทางในการให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม เป็นแบบสอบ
ถาม
ปลายเปิด จํานวน 1 ข้อ

ขัน้ ที ่ 5 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
สร้างข้อคําถามในแต่ละตอน แล้วนําแบบสอบถามทีส่ ร้างขึน้ ไปตรวจสอบเครือ่ งมือ โดย
ผูเ้ ชีย่ วชาญ จํานวน 3 ท่าน โดยทําการตรวจสอบความเทีย่ งตรงเชิงเนื้อหา(content validity) และการ
ใช้ภาษา โดยผูเ้ ชีย่ วชาญประกอบด้วยบุคคลทีม่ คี วามเชีย่ วชาญในด้านต่อไปนี้
44

1) ผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านการวัดประเมินผล หรือวิจยั การศึกษา จํานวน 1 ท่าน โดยพิจารณา


จากเกณฑ์ต่อไปนี้
1.1) สําเร็จการศึกษาตัง้ แต่ระดั บปริญญามหาบัณฑิตขึน้ ไปทางการวัดและประเมินผล
หรือการวิจยั ทางการศึกษา
1.2) มีประสบการณ์ในการออกแบบการวิจยั หรือพัฒนาเครือ่ งมือวิจยั อย่างน้อย 10 ปี
ขึน้ ไป
1.3) มีผลงานวิจยั ทีเ่ ป็ นประโยชน์ต่อทางการศึกษาและเป็นทีย่ อมรับของนักวิชาการ
และบุคคลทัวไป ่
1.4) มีความยินดีในการให้ความมือในการเป็นเชีย่ วชาญตรวจเครือ่ งมือวิจยั
จากเกณฑ์ดงั กล่าวข้างต้น ผูว้ จิ ยั ได้พจิ ารณาผูท้ ม่ี คี วามเหมาะสมตรงตามเกณฑ์ ได้แก่
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร .ศิรยิ ภุ า พูลสุวรรณ อาจารย์ประจําคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ
2) ผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านศิลปวัฒนธรรม จํานวน 2 ท่าน โดยพิจารณาจากเกณฑ์ต่อไปนี้
2.1) สําเร็จการศึกษาตัง้ แต่ระดับปริญญามหาบัณฑิตขึน้ ไปทางด้านศิลปะ
2.2) มีผลงานการวิจยั เกีย่ วกับทางด้านศิลปะ การศึกษา หรือการอนุรกั ษ์เชิงสร้างสรรค์
การออกแบบผลิตภัณฑ์ และเป็ นทีย่ อมรับในวงวิชาการและบุคคลทัวไป ่
2.3) มีความยินดีในการให้ความมือในการเป็นเชีย่ วชาญตรวจเครือ่ งมือวิจยั
จากเกณฑ์ดงั กล่าว ผูว้ จิ ยั ได้พจิ ารณาผูท้ ม่ี คี วามเหมาะสมตรงตามเกณฑ์ ได้แก่ รอง
ศาสตราจารย์วรรณรัตน์ ตัง้ เจริญ และ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์จกั รพงษ์ แพทย์หลักฟ้า อาจารย์ประจํา
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ขัน้ ที ่ 6 การนําเครือ่ งมือไปทดลองใช้


หลังจากผ่านการตรวจสอบความเทีย่ งตรงเชิงเนื้อหา content validity) และ
ปรับเปลีย่ นภาษาตามคําแนะนําของผูเ้ ชีย่ วชาญแล้ ว จากนัน้ นําเครือ่ งมือไปทดลองใช้ (try out) กับ
กลุ่มตัวอย่างอื่ น ทีม่ ลี กั ษณะเหมือนกลุ่มตัวอย่างแต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างทีใ่ ช้ในการศึกษาครัง้ นี้
จํานวนอย่างน้อย 30 คน เพือ่ ตรวจสอบคุณภาพของเครือ่ งมือทีว่ ดั ตัวแปร โดยการวิเคราะห์คา่
ความเชือ่ มันแบบความสอดคล้
่ องภายในของเครือ่ งมือทีว่ ดั ตัวแปร (internal consistency reliability)
โดยใช้สตู รการหาสัมประสิทธิ ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ดังนี้
45

α =
K 
1 −
∑si 2


K − 1  st2


เมือ่ α แทน ค่าความเชือ่ มันของแบบสอบถาม



K แทน จํานวนข้อความของแบบสอบถาม
Si2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนเป็นรายข้อ
St2 แทน ความแปรปรวนคะแนนรวมทัง้ ฉบับ

โดยผลการวิเคราะห์คา่ ความเชือ่ มัน่ มีคา่ เท่ากับ 0.811 ซึง่ ถือว่าอยูใ่ นระดับดี สามารถ
นําไปใช้เก็บข้อมูลจริงได้

2.2 แนวทางในการสนทนากลุ่ม
ข้อคําถามในการสนทนากลุม่ นัน้ จะได้จากผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณ ซึง่ การศึกษา
ครัง้ นี้ใช้แบบสอบถามเป็ นเครือ่ งมือในการรวบรวม ข้อมูล หลังจากนัน้ ผูว้ จิ ยั จะเป็นผูก้ าํ หนดประเด็น
ต่างๆ ทีค่ น้ พบจากผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลในเบือ้ งต้นมาเป็นแนวทางในการสนทนากลุม่ โดย
การศึกษาครัง้ นี้ได้ทาํ การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิคการ
สนทนากลุม่ เพือ่ ตอบวัตถุประสงค์การวิจยั ข้อที่ 3 คือ การเสนอแนวทางเกีย่ วกับการมีสว่ นร่วมของ
ชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่

การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลสําหรับการวิจยั ครัง้ นี้ แบ่งเป็น 2 ตอน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ตอนที่ 1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (จากแบบสอบถาม)
ผูว้ จิ ยั ได้ทาํ การเก็บรวบรวมขอมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามทีผ่ วู้ จิ ยั ได้สร้างและ
พัฒนาขึน้ ซึง่ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครือ่ งมือแล้วกับกลุม่ ตัวอย่างในการวิจยั โดย ผูว้ ิจยั เก็บ
รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ซึง่ มีขนั ้ ตอนในการดําเนินการ ดังนี้
1. ทําหนั งสือขอความร่วมมือ ไปยังองค์การบริหารส่วนตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัด
แพร่เพือ่ ขออนุ ญาตทําการเก็บรวบรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับประชากรในหมู่ ที่ 6 ตําบลทุ่ง
โฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
2. ผูว้ จิ ยั เก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเองจาก กลุม่ ตัวอย่างทีเ่ ป็นประชาชนใน หมูท่ ่ี 6
ตําบลทุ่งโฮ้ง อายุตงั ้ แต่ 18 ปี ขึน้ ไป
3. ผูว้ จิ ยั ทําการตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลทุกฉบับ เพือ่ เตรียมพร้อมวิเคราะห์
ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ต่อไป
46

ตอนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม
หลังจากผูว้ จิ ยั เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และทําการวิเคราะห์ขอ้ มูลแล้ว ซึง่ จะทําให้
ทราบสารสนเทศเกีย่ วกับระดับ การมีสว่ นร่วมของชุมชน และสภาพ ปญั หาและอุปสรรคของการเข้า
มามีสว่ นร่วมของชุมชนใน การอนุ รกั ษ์ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม ของชุมชนตําบลทุ่งโฮ้ง หลังจากนัน้
ผูว้ จิ ยั ได้เลือกใช้เทคนิคการสนทนากลุม่ (focus group) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพกับ
ผูท้ รงคุณวุฒทิ างด้านผ้าหม้อห้อม เพือ่ หาแนวทางในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการ
อนุรกั ษ์ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม ซึง่ มีขนั ้ ตอนในการดําเนินการ ดังนี้
1. ทําหนังสือเชิญผูท้ รงวุฒทิ างด้านผ้าหม้อห้อม จํานวน 8 ท่าน เพือ่ ขอความอนุเคราะห์ ใน
การทําสนทนากลุม่ ซึง่ ประกอบด้วย
1.1 ประธานกลุม่ ผลิตผ้าหม้อห้อม (จํานวน 1 ท่าน)
1.2 ผูน้ ําชุมชน ได้แก่ นายก อบต.ตําบลทุ่งโฮ้ง และผูใ้ หญ่บา้ นหมูท่ ่ี 6 (จํานวน 2 ท่าน)
1.3 ประธานกลุม่ อนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม (จํานวน 1 ท่าน)
1.4 ข้าราชการระดับสูงทีอ่ าศัยอยูใ่ นชุมชนมากกว่า 30 ปี (จํานวน 1 ท่าน)
1.5 ปราชญ์ชมุ ชนทีม่ คี วามรูแ้ ละเชีย่ วชาญด้านผ้าหม้อห้อม (จํานวน 3 ท่าน)
2. ดําเนินการสนทนากลุม่ ตามวัน เวลา ทีผ่ วู้ จิ ยั กําหนด โดย ผูว้ จิ ยั จะทําหน้าทีเ่ ป็น
ผูด้ าํ เนินการสนทนากลุม่ (moderator) และมีผชู้ ว่ ยผูว้ จิ ยั เพือ่ ทําหน้าทีเ่ ป็นผูจ้ ดบันทึกการสนทนากลุม่
1 คน และผูอ้ าํ นวยความสะดวกในขณะทําการสนทนากลุม่ เช่น บันทึกภาพ และเสียงอี 1 คน

3. ทําการวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุม่ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
(content analysis) เพือ่ สรุปให้ได้แนวทางในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้า มามีสว่ นร่วมในการ อนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อม

การจัดกระทําและการวิ เคราะห์ข้อมูล
การจัดกระทําข้อมูลในการวิจยั ครัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั แบ่งการวิเคราะห์ขอ้ มูลออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 การจัดกระทําข้อมูลเชิ งปริ มาณ
ผูว้ จิ ยั ได้นําข้อมูลจากแบบสอบถามทัง้ หมดมาตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ ก่อนลงรหัส
แล้ววิเคราะห์ผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS for windows version 11.5 โดยมี
ขัน้ ตอนการนําเสนอผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล ด้งนี้
1. ข้อมูลพืน้ ฐานทัวไปของกลุ
่ ่มตัวอย่าง นํามาแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ และค่าเฉลีย่
เลขคณิต ( X )
2. ข้อมูลระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม วิเคราะห์โดยการหา
ค่าเฉลีย่ เลขคณิต ( X ) และส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน (SD) เมือ่ ได้คา่ เฉลีย่ เลขคณิต แล้ว ผูว้ จิ ยั ได้
กําหนดความหมายของระดับค่าเฉลีย่ ดังนี้
47

คะแนนเฉลีย่ 4.51 – 5.00 หมายถึง การมีสว่ นร่วมอยูใ่ นระดับสูงทีส่ ดุ


คะแนนเฉลีย่ 3.51 – 4.50 หมายถึง การมีสว่ นร่วมอยูใ่ นระดับสูง
คะแนนเฉลีย่ 2.51 – 3.50 หมายถึง การมีสว่ นร่วมอยูใ่ นระดับปานกลาง
คะแนนเฉลีย่ 1.51 – 2.50 หมายถึง การมีสว่ นร่วมอยูใ่ นระดับน้อย
คะแนนเฉลีย่ 1.00 – 1.50 หมายถึง การมีสว่ นร่วมอยูใ่ นระดับน้อยทีส่ ดุ
3. การเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อ
ห้อม จําแนกตามเพศ โดยใช้สถิตทิ ดสอบที (t – test for independent) และจําแนกตาม อายุ ระดับ
การศึกษา อาชีพ ระยะเวล าของการอาศัยในพืน้ ที่ โดยใช้สถิตทิ ดสอบเอฟ (F-test) ด้วยเทคนิค
วิเคราะห์ One-way ANOVA
4. ข้อมูลเกีย่ วกับปญั หาและอุปสรรคในการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลีย่ ( X ) และส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน (SD) โดยผูว้ จิ ยั ได้กาํ หนดความหมาย
ของระดับค่าเฉลีย่ ดังนี้
คะแนนเฉลีย่ 4.51 – 5.00 หมายถึง สภาพปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับสูงทีส่ ดุ
คะแนนเฉลีย่ 3.51 – 4.50 หมายถึง สภาพปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับสูง
คะแนนเฉลีย่ 2.51 – 3.50 หมายถึง สภาพปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับปา นกลาง
คะแนนเฉลีย่ 1.51 – 2.50 หมายถึง สภาพปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับน้อย
คะแนนเฉลีย่ 1.00 – 1.50 หมายถึง สภาพปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับน้อยทีส่ ดุ

ตอนที่ 2 การจัดกระทําข้อมูลเชิ งคุณภาพ


การวิเคราะห์แนวทางทีเ่ หมาะสมในการส่งเสริมการ อนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม จากการสนทนา
กลุ่ม โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจยั ครัง้ นี้มงุ่ ศึกษา การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม : กรณีศกึ ษา


ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ผูว้ จิ ยั ได้ดาํ เนินการตามขัน้ ตอนและกําหนดสัญลักษณ์และ
อักษรย่อ ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลดังต่อไปนี้
n แทน กลุ่มตัวอย่างในการวิจยั
Χ แทน ค่าเฉลีย่
SD แทน ค่าเบีย่ งเบนเฉลีย่
MS แทน ค่าเฉลีย่ ผลบวกกําลังสองของคะแนน (Mean of Squares)
SS แทน ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน (Sum of Squares)
df แทน ชัน้ ของความเป็นอิสระ (degree of freedom)
t แทน ค่าทีใ่ ช้พจิ ารณา t- Distribution
p แทน ค่าความน่ าจะเป็น (probability) สําหรับบอกนัยสําคัญทางสถิติ
* แทน ค่าความแตกต่างอย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05
** แทน ค่าความแตกต่างอย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.01

การนําเสนอผลการวิ เคราะห์ข้อมูล
ในการนําเสนอผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลของการวิจยั ครัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั ได้วเิ คราะห์และนําเสนอในรูป
ของตารางประกอบคําอธิบายโดยเรียงตามลําดับ ดังนี้
การวิ เคราะห์ข้อมูลเชิ งปริมาณ
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ขอ้ มูลพืน้ ฐานทัวไปของผู
่ ต้ อบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเกีย่ วกับระดับการมีสวนร่
่ วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้
หม้อห้อม จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาของการอาศัยในพืน้ ที่
ตอนที่ 4 การวิเคราะห์ขอ้ มูลเกีย่ วกับปญั หาและอุปสรรคในการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
49

การวิ เคราะห์ข้อมูลเชิ งคุณภาพ


การวิเคราะห์แนวทางทีเ่ หมาะสมในการส่งเสริมการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม จากการสนทนา
กลุ่ม

ผลการวิ เคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณ
ตอนที่ 1 การวิ เคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทัวไปของผู
่ ต้ อบแบบสอบถาม

ตาราง 3 จํานวนและร้อยละของผูต้ อบแบบสอบถาม จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา


อาชีพ และระยะเวลาในการอาศัยอยูใ่ นพืน้ ที่

ตัวแปร จํานวน ร้อยละ


เพศ ชาย 144 46.91
หญิง 163 53.09
รวม 307 100.00
อายุ 18 – 30 ปี 65 21.17
31 – 40 ปี 68 22.15
41 – 50 ปี 60 19.54
51 – 60 ปี 63 20.52
มากกว่า 60 ปี 51 16.61
รวม 307 100.00
ระดับการศึกษา ประถมศึกษา 45 14.66
มัธยมต้น หรือเทียบเท่า 76 24.76
มัธยมปลายหรือเทียบเท่า 79 25.73
ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 74 24.10
สูงกว่า ปริญญาตรี 33 10.75
รวม 307 100.00
อาชีพ เกษตรกรรม 41 13.36
รับจ้าง 95 30.94
ค้าขาย 92 29.97
50

ตาราง 3 (ต่อ)

ตัวแปร จํานวน ร้อยละ


รับราชการ 47 15.31
รัฐวิสาหกิจ 32 10.42
รวม 307 100.00
ระยะเวลาของการอาศัยในพืน้ ที่
น้อยกว่า 5 ปี 40 13.03
6 – 10 ปี 72 23.45
11 – 20 ปี 105 34.20
มากกว่า 20 ปี 90 29.32
รวม 307 100.00

จากตาราง 3 พบว่า ผูต้ อบแบบสอบถามเป็ นเพศหญิงและเพศชายมีจาํ นวนทีใ่ กล้เคียงกัน


โดยเป็นเพศหญิง จํานวน 163 คน คิดเป็นร้อยละ 53.09 และเป็นเพศชาย จํานวน 144 คน คิดเป็น
ร้อยละ 46.91
เมือ่ พิจารณาด้านอายุของผูต้ อบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่มอี ายุในในช่วง
31 – 40 ปี จํานวน 68 คน คิดเป็ นร้อยละ 22.15 รองลงมาคือ ช่วงอายุ 18 – 30 ปี จํานวน 65 คน คิด
เป็ นร้อยละ 21.17 และช่วงอายุ 51 – 60 ปี จํานวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 20.52 ตามลําดับ
เมือ่ พิจารณาระดับการศึกษาของผูต้ อบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่จบชัน้ มัธยมศึกษา
ตอนปลายหรือเทียบเท่า จํานวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 25.73 รองลงมา คือ ชัน้ มัธยม ศึกษา
ตอนต้นหรือเทียบเท่าจํานวน 76 คน คิดเป็ นร้อยละ 24.76 และปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จํานวน 74 คน
คิดเป็ นร้อยละ 24.10 ตามลําดับ
เมือ่ พิจารณาด้านอาชีพของผูต้ อบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างมาก
ทีส่ ดุ จํานวน 95 คน คิดเป็ นร้อยละ 30.94 รองลงมา คือ อาชีพค้าขาย จํานวน 92 คน คิดเป็ นร้อยละ
29.97 และรับราชการ จํานวน 47 คิดเป็นร้อยละ 15.31 ตามลําดับ
เมือ่ พิจารณาระยะเวลาของการอาศัยในพืน้ ที่ ตําบลทุ่งโฮ้ง ของผู้ ตอบแบบสอบถาม พบว่า
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่เป็ นระยะเวลา 11 – 20 ปี จํานวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 34.20 รองลงมา อาศัย
นานกว่า 20 ปี จํานวน 90 คน คิดเป็ นร้อยละ 29.32 และ 6 -10 ปี จํานวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ
23.45 ตามลําดับ
51

ตอนที่ 2 ผลการวิ เคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ


อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง

ตาราง 4 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับการมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์


ผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง โดยภาพรวม

รายการ Χ SD ระดับการมีส่วนร่วม
1. การมีสว่ นร่วมในการวางแผน 2.43 0.21 น้อย
2. การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ 3.11 0.25 ปานกลาง
3. การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ 3.08 0.26 ปานกลาง
รวม 2.88 0.24 ปานกลาง

จากตาราง4 พบว่า ระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อหม้อ ตําบลทุง่ โฮ้


โดย

ภาพรวมอยูใ่ นระดับปานกลาง ( Χ = 2.88)
เมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า ชุมชนมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ มากทีส่ ดุ ( Χ = 3.11)
รองลงมา คือ การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ ( Χ = 3.08) และ การมีสว่ นร่วมในการวางแผน ( Χ =
2.43) ตามลําดับ

ตาราง 5 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับการมี


วนร่
ส วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการวางแผน

การมีส่วนร่วมในการวางแผน Χ SD ระดับการมีส่วนร่วม
1. ท่านมีสว่ นร่วมในการประชุมเกีย่ วกับกิจกรรมต่างๆ
ในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม 2.28 0.64 น้อย
2. ท่านมีสว่ นร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกีย่ วกับการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม 2.18 0.56 น้อย
3. ท่านมีสว่ นร่วมในการเสนอแนวทางในการอนุรกั ษ์ผา้
หม้อห้อมให้กบั กลุม่ อนุรกั ษ์ต่างๆ 2.16 0.58 น้อย
4. ท่านมีสว่ นร่วมในการวางแผน / วางกลยุทธ์ในการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม 2.10 0.50 น้อย
5. ท่านมีสว่ น ร่วมในการค้นพบปญั หาและสาเหตุของ
ปญั หาเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม 2.57 0.60 ปานกลาง
6. ท่านมีสว่ นร่วมในการคิดหาวิธใี นการแก้ไขปญั หา
เกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม 2.71 0.53 น้อย
52

ตาราง 5 (ต่อ)

การมีส่วนร่วมในการวางแผน Χ SD ระดับการมีส่วนร่วม
7. ท่านมีสว่ นร่วมในการเป็ นคณะกรรมการ หรือสมาชิก
ของกลุม่ ทีเ่ กีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม 1.98 0.42 น้อย
8. ท่านมีสว่ นร่วมในการตัดสินหรือประเมินผลงาน
เกีย่ วกับผ้าหม้อห้อม 2.29 0.56 น้อย
9. ท่านมีสว่ นร่วมในการสร้างเครือข่ายผ้าหม้อห้อม 2.68 0.59 ปานกลาง
10. ท่านมีสว่ นร่วมในการรณรงค์การใช้วตั ถุดบิ แบบ
ดัง้ เดิมในการผลิตงานศิลปะต่างๆ จากผ้าหม้อห้อม 3.35 0.60 ปานกลาง
รวม 2.43 0.21 น้ อย

จากตาราง 5 พบว่า ระดับการมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้ อมตําบลทุ่งโฮ้ง


ด้านการมีสว่ นร่วมในการวางแผน อยูใ่ นระดับน้อย ( Χ = 2.43)
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายข้อ พบว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการวางแผน อยูใ่ นระดับปาน
กลาง จํานวน 3 ข้อรายการ ได้แก่ มีสว่ นร่วมในการรณรงค์การใช้วตั ถุดบิ แบบดัง้ เดิมใน การผลิต
งานศิลปะต่างๆ จากผ้าหม้อห้อม ( Χ = 3.35) มากทีส่ ดุ รองลงมาได้ แก่ มีสว่ นร่วมในการสร้าง
เครือข่ายผ้าหม้อห้อม ( Χ = 2.68) และมีสว่ นร่วมในการค้นพบปญั หาและสาเหตุ ของปญั หาเกีย่ วกับ
การอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ( Χ = 2.57) ตามลําดับ ส่วนข้อรายการทีเ่ หลือมีสว่ นร่วมอยูใ่ นระดับน้อย

ตาราง 6 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับการมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์


ผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการรักษาธํารงไว้

การมีส่วนร่วมในการรักษาธํารงไว้ Χ SD ระดับการมีส่วนร่วม
11. ท่านมีสว่ นร่วมในการสอดส่องดูแลผูใ้ ช้ผา้ หม้อห้อม
ในทางทีไ่ ม่เหมาะไม่สม 3.18 0.47 ปานกลาง
12. ท่านมีสว่ นร่วมในการออกแบบลวดลายผ้าหม้อ
ห้อมชนิดต่างๆ 3.22 0.56 ปานกลาง
13. ท่านมีสว่ นร่วมในการศึกษาประวัตคิ วามเป็ นมา
ของผ้าหม้อห้อมอย่างลึกซึง้ 2.72 0.56 ปานกลาง
14. ท่านมีสว่ นร่วมในการเป็ นสมาชิกกลุม่ / สมาคม หรือ
ชมรมทีเ่ กีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม 3.05 0.46 ปานกลาง
15. ท่านเคยร่วมประกวดเกีย่ วกับผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม 2.51 0.65 ปานกลาง
53

ตาราง 6 (ต่อ)

การมีส่วนร่วมในการรักษาธํารงไว้ Χ SD ระดับการมีส่วนร่วม
16. ท่านมีสว่ นร่วมในการบริจาค เงิน /สถานที่ /วัสดุ
อุปกรณ์ต่างๆ ในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม 3.33 0.58 ปานกลาง
17. ท่านมีสว่ นร่วมในกิจกรรมต่างๆ เกีย่ วกับการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม 3.34 0.59 ปานกลาง
18. ท่านมีสว่ นร่วมในการเลือกใช้ผา้ หม้อห้อมทีม่ คี วาม
เป็ นเอกลักษณ์ดงั ้ เดิม 3.31 0.63 ปานกลาง
19. ท่านมีสว่ นร่วมในการส่งเสริมให้บคุ คลใกล้ตวั ใช้ผา้
หม้อห้อม 3.43 0.64 ปานกลาง
20. ท่านมีสว่ นร่วมในการปลูกฝงั จิตสํานึกให้กบั ลูกหลาน
หรือญาติพน่ี อ้ งเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม 3.44 0.65 ปานกลาง
รวม 3.11 0.25 ปานกลาง

จากตาราง 6 พบว่า ระดับการมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง


ด้านการมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ อยูใ่ นระดับปานกลาง ( Χ = 3.11)
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายข้อ พบว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ อยูใ่ นระดับ
ปานกลางทุกข้อรายการ โดยเรียงลําดับจากมากไปน้อย 3 รายการแรก ได้แก่ มีส่วนร่วม ในการ
ปลูกฝงั จิตสํานึกให้กบั ลูกหลานหรือญาติพน่ี ้องเกีย่ วกับการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้ อห้อม ( Χ = 3.44) มีสว่ น
ร่วมในการส่งเสริมให้บุคคลใกล้ตวั ใช้ผา้ หม้อห้อม ( Χ = 3.43) และมี สว่ นร่วมในกิจกรรมต่างๆ
เกีย่ วกับการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ( Χ = 3.34) ตามลําดับ

ตาราง 7 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับการมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์


ผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการเผยแพร่

การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ Χ SD ระดับการมีส่วนร่วม
21. ท่านมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผา้
หม้อห้อมให้กบั นักท่องเทีย่ วทัง้ ในและ
ต่างประเทศ 2.86 0.73 ปานกลาง
22. ท่านมีสว่ นร่วมในการให้ความรูเ้ กีย่ วกับผ้าหม้อ
ห้อมแก่บุคคลอื่นๆ 2.97 0.60 ปานกลาง
23. ท่านมีสว่ นร่วมในการแต่งกายด้วยผ้าหม้อห้อมเพือ่
เป็ นแบบอย่าง 3.42 0.63 ปานกลาง
54

ตาราง 7 (ต่อ)

การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ Χ SD ระดับการมีส่วนร่วม
24. ท่านมีสว่ นร่วมในการใช้ผา้ หม้อห้อมเป็ นของฝาก
หรือของทีร่ ะลึกแก่บคุ คลอืน่ ตามโอกาสต่างๆ 3.46 0.67 ปานกลาง
25. ท่านมีสว่ นร่วมในการถ่ายทอดกรรมวิธใี นการผลิต
สินค้าต่างๆ จากผ้าหม้อห้อม 2.83 0.81 ปานกลาง
26. ท่านมีสว่ นร่วมในการเป็ นวิทยากรทัง้ ในและนอก ปานกลาง
สถานศึกษา 2.80 0.72
27. ท่านมีสว่ นร่วมในการนําผ้าหม้อห้อมออกแสดงโชว์
ในโอกาสต่างๆ 3.43 0.65 ปานกลาง
28. ท่านมีสว่ นร่วมในการเป็ นวิทยากรหรือผูใ้ ห้ความรู้
เกีย่ วกับผ้าหม้อห้อม 2.72 0.67 ปานกลาง
29. ท่านมีสว่ นร่วมในการบริจาคผ้าหม้อห้อมเพือ่ เป็ น
วิทยาทาน 3.37 0.64 ปานกลาง
30. ท่านมีสว่ นร่วมในการเชิญชวนให้คนต่างถิน่ ใช้ผา้
หม้อห้อม 2.94 0.75 ปานกลาง
รวม 3.08 0.26 ปานกลาง

จากตาราง 7 พบว่า ระดับการมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง


ด้านการมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ อยูใ่ นระดับปานกลาง ( Χ = 3.08)
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายข้อ พบว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ อยูใ่ นระดับปาน
กลางทุกข้อรายการ โดยเรียงลําดับจากมากไปน้อย 3 รายการแรก ได้แก่ มีสว่ นร่วมในการใช้ผา้
หม้อห้อมเป็ นของฝากหรือของทีร่ ะลึกแก่บคุ คลอื่นตามโอกาสต่างๆ ( Χ = 3.46) มีสว่ นร่วมในการนํา
ผ้าหม้อห้อมออกแสดงโชว์ในโอกาสต่างๆ ( Χ = 3.43) และมีสว่ นร่วมในการแต่งกายด้วยผ้าหม้อ
ห้อมเพื่อเป็ นแบบอย่าง ( Χ = 3.42) ตามลําดับ
55

ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนใน
การอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม จําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาของ
การอาศัยในพืน้ ที่
ตาราง 8 ผลการเปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ตําบลทุ่งโฮ้ง จําแนกตามเพศ

การมีสว่ นร่วมในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม n Χ SD t


ชาย 144 2.86 0.13 -1.265
หญิง 163 2.87 0.18

จากตาราง 8 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ ผา้


หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง จําแนกตามเพศ พบว่า ค่า sig น้อยกว่า 0.05 นันคื ่ อ ยอมรับสมมติฐานหลัก
(H o ) แสดงว่า การมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ไม่มคี วามแตกต่างกันอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05
ตาราง 9 ผลการเปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง
จําแนกตามอายุ
แหล่งความ df SS MS F p
การมีส่วนร่วมของชุมชน
แปรปรวน
1. การวางแผน 1.91 0.10
ระหว่างกลุ่ม 4 0.318 0.080 1 9
ภายในกลุม่ 302 12.566 0.042
รวม 306 12.884
2. การรักษาธํารงไว้ 1.03 0.38
ระหว่างกลุ่ม 4 0.264 0.066 7 8
ภายในกลุม่ 302 19.227 0.064
รวม 306 19.491
3. การเผยแพร่ 1.06 0.37
ระหว่างกลุ่ม 4 0.285 0.071 3 5
ภายในกลุม่ 302 20.238 0.067
รวม 306 20.523
รวม 0.71 0.58
ระหว่างกลุม่ 4 0.075 0.019 7 1
ภายในกลุม่ 302 7.916 0.026
รวม 306 7.991
56

จากตาราง 9 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลีย่ การมีสว่ นร่วมของชุมชนใน การอนุรกั ษ์


ผ้าหม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง จําแนกตามอายุ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่า โดย
ภาพรวม ค่า p เท่ากับ 0.581 ซึง่ มากกว่า 0.05 แสดงว่า การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้
หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง ไม่แตกต่างกันตามอายุ อย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ0.05
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า การมีสว่ นร่วมของชุมชนทุกด้านไม่แตกต่างกันตามอายุ
อย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05

ตาราง 10 ผลการเปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง


จําแนกตามระดับการศึกษา

แหล่งความ df SS MS F p
การมีส่วนร่วมของชุมชน
แปรปรวน
1. การวางแผน ระหว่างกลุ่ม 4 0.526 0.132 3.216 0.063
ภายในกลุม่ 302 12.358 0.041
รวม 306 12.884
2. การรักษาธํารงไว้ ระหว่างกลุ่ม 4 0.745 0.186 2.999 0.059
ภายในกลุม่ 302 18.746 0.062
รวม 306 19.491
3. การเผยแพร่ ระหว่างกลุ่ม 4 0.141 0.035 0.524 0.718
ภายในกลุม่ 302 20.381 0.067
รวม 306 20.523
รวม ระหว่างกลุ่ม 4 0.275 0.069 2.695 0.061
ภายในกลุม่ 302 7.716 0.026
รวม 306 7.991

จากตาราง 10 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลีย่ การมีสว่ นร่วมของชุมชนใน การ


อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุง่ โฮ้ง จําแนกตามระดับการศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปร วน
ทางเดียว พบว่า โดยภาพรวม ค่า p เท่ากับ 0.061 ซึง่ มากกว่า 0.05 แสดงว่า การมีสว่ นร่วมของ
ชุมชนในการอนุ รกั ษ์ ผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ไม่แตกต่างกันตาม ระดับการศึกษา อย่างมีนยั สําคัญ
ทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า การมีสว่ นร่วมของชุมชนทุกด้าน ไม่แตกต่างกันตามระดับ
การศึกษา อย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05
57

ตาราง 11 ผลการเปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์หม้


ผา้ อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง
จําแนกตามอาชีพ

แหล่งความ Df SS MS F p
การมีส่วนร่วมของชุมชน
แปรปรวน
1. การวางแผน ระหว่างกลุ่ม 4 0.529 0.132 3.234 0.063
ภายในกลุม่ 302 12.355 0.041
รวม 306 12.884
2. การรักษาธํารงไว้ ระหว่างกลุ่ม 4 0.394 0.098 1.557 0.186
ภายในกลุม่ 302 19.097 0.063
รวม 306 19.491
3. การเผยแพร่ ระหว่างกลุ่ม 4 0.357 0.089 1.338 0.256
ภายในกลุม่ 302 20.165 0.067
รวม 306 20.523
รวม ระหว่างกลุ่ม 4 0.224 0.056 2.174 0.072
ภายในกลุม่ 302 7.768 0.026
รวม 306 7.991

จากตาราง 11 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลีย่ การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์


ผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง จําแนกตามอาชีพ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่า โดย
ภาพรวม ค่า p เท่ากับ 0.072 ซึง่ มากกว่า 0.05 แสดงว่า การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ ผา้
หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ไม่แตกต่างกันตามอาชีพ อย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ระดั
่ี บ 0.05
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า การมีสว่ นร่วมของชุมชนทุกด้านไม่แตกต่างกันตามอาชีพ
อย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05
58

ตาราง 12 ผลการเปรียบเทียบระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง


จําแนกตามระยะเวลาในการอาศัยในพืน้ ที่

แหล่งความ df SS MS F P
การมีส่วนร่วมของชุมชน
แปรปรวน
1. การวางแผน ระหว่างกลุ่ม 3 0.032 0.011 0.249 0.862
ภายในกลุม่ 303 12.853 0.042
รวม 306 12.884
2. การรักษาธํารงไว้ ระหว่างกลุ่ม 3 0.256 0.085 1.343 0.261
ภายในกลุม่ 303 19.235 0.063
รวม 306 19.491
3. การเผยแพร่ ระหว่างกลุ่ม 3 0.168 0.056 0.835 0.476
ภายในกลุม่ 303 20.355 0.067
รวม 306 20.523
รวม ระหว่างกลุ่ม 3 0.047 0.016 0.601 0.615
ภายในกลุม่ 303 7.944 0.026
รวม 306 7.991

จากตาราง 12 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลีย่ การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์


ผ้าหม้อห้อม ตําบลทุง่ โฮ้ง จําแนกตามระยะเวลาในการอาศัยในพืน้ ที่ โดยใช้การวิเคราะห์ความ
แปรปรวนทางเดียว พบว่า โดยภาพรวม ค่า p เท่ากับ 0.615 ซึง่ มากกว่า 0.05 แสดงว่า การมีส่วน
ร่วมของชุมชนในการอนุ รกั ษ์ ผ้าหม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง ไม่แตกต่างกันตามระยะเวลาในการอา ศัยใน
พืน้ ที่ อย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายด้าน พบว่า การมีสว่ นร่วมของชุมชนทุกด้านไม่แตกต่างกันตาม
ระยะเวลาในการอาศัยในพืน้ ที่ อย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ0.05
59

ตอนที่ 4 ผลการวิ เคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในก ารมีส่วนร่วมของ


ชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม

ตาราง 13 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับปญั หาและอุปสรรคในการมีสวนร่วมของ


ชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง โดยภาพรวม

ระดับปัญหา
รายการ Χ SD
และอุปสรรค
1. การมีสว่ นร่วมในการวางแผน 3.86 0.48 มาก
2. การมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ 3.69 0.43 มาก
3. การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ 3.73 0.39 มาก
รวม 3.76 0.35 มาก

จากตาราง 13 พบว่า ปญั หาและอุปสรรคในการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้


หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก ( Χ = 3.76)
เมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง
มีปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลําดับปญั หาและอุปสรรคจากมากไปน้อย
ได้แก่ การมีสว่ นร่วมในการวางแผน ( Χ =3.86) รองลงมาได้แก่ การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่
( Χ =3.73) และการมีสว่ นร่วมในการรักษาและธํารงไว้ ( Χ = 3.69) ตามลําดับ

ตาราง 14 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับปญั หาและอุปสรรคในการมีสวนร่วมของ


ชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการวางแผน

ระดับปัญหา
การมีส่วนร่วมในการวางแผน Χ SD
และอุปสรรค
1. ขาดความรูค้ วามเข้าใจในเชิงอนุรกั ษ์ 3.95 0.78 มาก
2. ขาดความร่วมมือจากประชาชาชนในท้องถิน่ 3.99 0.85 มาก
3. ไม่ได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 3.94 0.74 มาก
4. กลุม่ หรือองค์กรเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมใน
ท้องถิน่ ไม่มคี วามเข้มแข็งพอ 3.83 0.85 มาก
5. ประชาชนในท้องถิน่ ขาดความตระหนักในการอนุรกั ษ์ 4.15 0.86 มาก
6. ขาดเวทีในการแสดงความคิดเห็น หรื อเสนอแนะ
แนวทางทีเ่ ป็ นประโยชน์ต่อการอนุรกั ษ์ 3.53 0.69 มาก
60

ตาราง 14 (ต่อ)

ระดับปัญหา
การมีส่วนร่วมในการวางแผน Χ SD
และอุปสรรค
7. ไม่มเี วลาในการรวมกลุม่ ในการประชุมหรือแสดงความ
คิดเห็นต่างๆ 4.08 0.73 มาก
8. ขาดผูน้ ํากลุ่ มทีม่ ปี ระสิทธิภาพในการโน้มนาวให้เกิด
การรวมกลุม่ 3.93 0.76 มาก
9. ชุมชนคิดว่าเรือ่ งการวางแผนการอนุรกั ษ์เป็ นหน้าที่
ของหน่วยงานระดับภาครัฐและเอกชน 3.50 0.68 มาก
10. ขาดงบประมาณในการดําเนินการจัดประชุมเพือ่
วางแผน 3.51 0.66 มาก
รวม 3.86 0.48 มาก

จากตาราง 14 พบว่า การมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้าน


การวางแผน มีปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับมาก ( Χ = 3.86)
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายข้อ พบว่า การมี ส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ตําบลทุ่ งโฮ้ง ด้านการวางแผน มีปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับมากทุกข้อรายการ โดยเรียงลําดับ
จากมากไปหาน้อย 3 ลําดับแรก ได้แก่ ประชาชนในท้องถิน่ ขาดความตระหนักในการอนุรกั ษ์ ( Χ =
4.15) ไม่มเี วลาในการรวมกลุม่ ในการประชุมหรือแสดงความคิดเห็นต่างๆ ( Χ = 4.08) และขาด
ความร่วมมือจากประชาชาชนในท้องถิน่ ( Χ = 3.99) ตามลําดับ

ตาราง 15 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับปญั หาและอุปสรรคในการมีสวนร่วมของ


ชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการรักษาธํารงไว้

ระดับปัญหา
การมีส่วนร่วมในการรักษาธํารงไว้ Χ SD
และอุปสรรค
11. ขาดความรูค้ วามเข้าใจในการรักษาให้คงอยูส่ บื ทอดต่อไป 3.92 0.77 มาก
12. ขาดความตะหนักในความสําคัญของผ้าหม้อห้อม 3.58 0.72 มาก
13. ไม่เห็นคุณค่าของมรดกอันลํ้าค่าทีค่ ง ความเป็ น
เอกลักษณ์ 3.83 0.85 มาก
14. ไม่ได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 3.84 0.71 มาก
15. ชุมชนคิดว่าการเก็บรักษาเป็ นการเสียโอกาสในการ
สร้างรายได้ 3.56 0.87 มาก
61

ตาราง 15 (ต่อ)

ระดับปัญหา
การมีส่วนร่วมในการรักษาธํารงไว้ Χ SD
และอุปสรรค
16. ชุมชนเห็นว่าผ้าหม้อห้อมไม่มคี วามทันสมัยและความ
นิยมเท่ากับผ้าอื่นๆ 3.51 0.7 มาก
17. มีการดัดแปลงลวดลายจนไม่เหลือความเป็ นดัง้ เดิม 3.78 0.85 มาก
18. มีการเลียนแบบวัตถุดบิ และกรรมวิธอี น่ื ทีไ่ ม่ใช่แบบดัง้ เดิม 3.88 0.7 มาก
19. ขาดแรงบันดาลใจในการเก็บรักษาผ้าหม้อห้อม 3.55 0.7 มาก
20. ขาดแหล่งเก็บรักษาทีเ่ หมาะสมเพือ่ รักษาสภาพ 3.51 0.85 มาก
รวม 3.69 0.43 มาก

จากตาราง 15 พบว่า การมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้งด้าน


การรักษาธํารงไว้ มีปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับมาก ( Χ = 3.69)
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายข้อ พบว่า การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผ้ าหม้อห้อม ตําบล
ทุง่ โฮ้ง ด้านการรักษาธํารงไว้ มีปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับมากทุกข้อรายการ โดยเรียงลําดับ
จากมากไปหาน้อย 3 ลําดับแรก ได้แก่ ขาดความรูค้ วามเข้าใจในการรักษาให้คงอยูส่ บื ทอดต่อไป
( Χ = 3.92) มีการเลียนแบบวัตถุดบิ และกรรมวิธอี ่นื ทีไ่ ม่ใช่แบบดัง้ เดิม ( Χ = 3.88) และไม่ได้รบั การ
สนับสนุนจากหน่ วยงานภาครัฐและเอกชน ( Χ = 3.84) ตามลําดับ

ตาราง 16 ค่าเฉลีย่ ค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน และระดับปญั หาและอุปสรรคในการมีสวนร่วมของ


ชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการเผยแพร่

ระดับปัญหา
การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ Χ SD
และอุปสรรค
21. ขาดความรูค้ วามเข้าใจในกระบวนการเผยแพร่ประชาสัมพ 4.12 0.67 มาก
22. ขาดความรูค้ วามเข้าใจในเนื้อหาหรือความเป็ นมา
เกีย่ วกับผ้าหม้อห้อมอย่างลึกซึง้ 3.54 0.67 มาก
23. ขาดความตระหนักในคุณค่าของผ้าหม้อห้อม 3.86 0.74 มาก
24. ไม่ได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 3.59 0.74 มาก
25. ขาดงบประมาณในการดําเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 4.17 0.70 มาก
26. ขาดความร่วมมืออย่างจริงจังจากชุมชนในท้องถิน่ 3.54 0.70 มาก
27. ขาดผูน้ ํากลุม่ ทีม่ คี วามสามารถในการรณรงค์ให้เกิด มาก
การเผยแพร่ 3.45 0.66
62

ตาราง 16 (ต่อ)

ระดับปัญหา
การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ Χ SD
และอุปสรรค
28. ไม่มเี วทีในการจัดแสดงโชว์ผา้ หม้อห้อมให้คนทัวไปได้

รูจ้ กั 3.54 0.75 มาก
29. ขาดแรงบันดาลใจใจการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 3.50 0.73 มาก
30. ขาดทักษะและเทคนิคในการสือ่ สาร เช่น ด้านภาษา
ความกล้าแสดงออก เป็ นต้น 3.94 0.82 มาก
รวม 3.73 0.39 มาก

จากตาราง 16 พบว่า การมีสวนร่วมข องชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง


ด้านการเผยแพร่ มีปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับมาก ( Χ = 3.73)
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายข้อ พบว่า การมี ส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผ้ าหม้อห้อม
ตําบลทุง่ โฮ้ง ด้านการเผยแพร่ มีปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับมากทุกข้อรายการ โดยเรียงลําดับ
จากมากไปหาน้อย 3 ลําดับแรก ได้แก่ ขาดงบประมาณในการดําเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
( Χ = 4.17) ขาดความรูค้ วามเข้าใจในกระบวนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ( Χ = 4.12) และขาด
ทักษะและเทคนิคในการสือ่ สารเช่น ด้านภาษา ความกล้าแสดงออกเป็ นต้น ( Χ = 3.94) ตามลําดับ

การวิ เคราะห์ข้อมูลเชิ งคุณภาพ


ผลการวิ เคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการส่งเสริ มการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
จากการสนทนากลุ่ม (Focus group)
ผลการวิเคราะห์แนวทางทีเ่ หมาะสมในการส่งเสริมการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุง่ โฮ้ง
จากการสนทนากลุม่ ในการวิจยั นี้นําเสนอจําแนกประเด็นตามกรอบของการมีสว่ นร่วมของชุมชนใน
การอนุรกั ษ์ 3 ด้าน คือ การมีสว่ นร่วมในการวางแผน การมีสวนร่วมในการรักษาธํารงไว้ และ การมี
ส่วนร่วมในการเผยแพร่ ดังนี้
63

1. ผลการวิ เคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการให้ชมุ ชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ


วางแผน จากการสนทนากลุ่ม
จากการวิเคราะห์สภาพปญั หาและอุปสรรคใน การให้ชมุ ชนเข้ามามีส่ วนร่วมในการอนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการวางแผน จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนผูท้ รง คุณ วุฒใิ นชุมชน
พบว่า มีแนวทางทีเ่ หมาะสมในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการวางแผนเพือ่ อนุรกั ษ์ผา้
หม้อห้อม ทีส่ อดคล้องกัน 4 ประเด็น ดังนี้
1) หน่ วยงานระดับกระทรวงหรือภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง กับการอนุรกั ษ์ศิลปวัฒนธรรม
ควรปลุกระดมให้ชมุ ชนมีความตระหนักในการเป็ นส่วนหนึ่ งของการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมมากขึน้
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการวางแผนการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม คือ ปจั จุบนั นี้ชาวตําบลทุ่งโฮ้ง ไม่ค่อยตระหนักในการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมมากนัก อาจเนื่องมาจากเยาวชนรุน่ ใหม่ๆ เมือ่ สําเร็จ การศึกษาขัน้ พืน้ ฐานจาก
สถานศึกษาในชุมชนแล้ว ส่วนใหญ่กไ็ ปศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดอื่ นๆ ทีม่ ี
สถานศึกษาเฉพาะด้านรองรับ เมือ่ จบแล้วก็หางานทําในตัวเมืองหลวง หรือจังหวัดอื่นๆ ทีม่ ี
หน่วยงานรองรับ ซึง่ พบว่า มีจาํ นวนน้อยมากทีจ่ ะกลับมาพัฒนาท้องถิน่ ดังนัน้ การวางแผนการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ซึง่ ต้องอาศัยผูท้ ม่ี คี วามรู้ เกีย่ วกับผ้าหม้อห้อมโดยตรง ซึง่ บุคคลเหล่านี้จะเข้าใจ
และวางแผนการอนุ รกั ษ์ได้ด ี โดยเฉพาะหน่วยงานระดับกระทรวง ได้แก่ กระทรวงศิลปวัฒนธรรม
หรือหน่วยงานที่ เกีย่ วกับศิลปวัฒนธรรมระดับภูมภิ าค ควรเข้ามาดูแลให้มากขึน้ และจัดระบบการ
อนุ รกั ษ์ใ ห้ เกิดขึน้ กับชุมชนให้ได้ เพือ่ ให้ภมู ปิ ญั ญาท้องถิน่ นี้คงอยูส่ บื ไ ป ซึง่ ตัวแทนชุมชนได้ เสนอ
แนวทางการวางแผนการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมโดยให้ขอ้ มูลทีส่ อดคล้องกัน ดังนี้

“หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม ต้องเข้ามาดูแล ต้องมีมาตรการในการให้ชมุ ชนสร้างความ


ตระหนักเป็ นอันดับแรก เพราะถ้าหากชุมชนไม่มคี วามตระหนัก ซึง่ เป็ นสามัญสํานึกทีอ่ ยู่ในตัวบุคคลแต่ละ
คนแล้ว การอนุรกั ษ์ ไม่วา่ จะเป็ นการมีสว่ นร่วมในการวางแผนหรือการกระทําใดอันเกีย่ วกับกับการอนุรกั ษ์
ไม่สามารถบรรลุผลสําเร็จได้”
(ผูแ้ ทนชุมชน 2)

“ผูท้ เี ่ กีย่ วข้องทัง้ หมดต้องร่วมมือกันสร้างความตระหนักให้ประชาชนในท้องถิน่ เกิดความอยากในการทีจ่ ะ


อนุรกั ษ์ให้ได้ ซึง่ เรียกว่าความตระหนัก หากมีความตระหนักแล้วการดําเนินการด้านอืน่ ๆ ก็จะง่ายขึน้ เช่น
การเจรจา การขอความร่วมมือ หรืออืน่ ๆ ก็จะง่ายขึน้ ตามๆ กัน”
(ผูแ้ ทนชุมชน 3)
64

“ปจั จุบนั นี้จะสังเกตเห็นว่าชุมชนทุง่ โฮ้งของเรายังไม่เกิดความตระหนั กทีจ่ ะช่วยกันวางแผนการอนุรกั ษ์


ร่วมกันเลย เวลามีประชุมเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมก็จะเห็นว่ามีเฉพาะกรรมการชุมชนหรือผูท้ ี ่
เกีย่ วข้องโดยตําแหน่งเท่านัน้ น้อยครัง้ นักทีจ่ ะมีชาวบ้านคนอืน่ ๆ ทีจ่ ะมาร่วมประชุมด้วย ทัง้ ๆ ทีไ่ ด้มกี าร
ประชาสัมพันธ์ให้ทราบล่วงหน้าแล้ว ดังนัน้ คิดว่าเราต้องสร้างความตระหนักให้เกิดขึน้ ก่อนให้ได้ อย่างอืน่
ก็จะตามมาเอง”
(ผูแ้ ทนชุมชน 7)

2) คัดเลือกตัวแทนชุมชน จากหลากหลายอาชีพเพื่อเป็ นตัวแทนในการประชุมวาง


แผนการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมและพยายามเปิ ดโอกาสให้กบั คนในชุมชนเข้ามามีบทบาทใน
การรับรูป้ ญั หาและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันมากขึน้
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการวางแผนการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมอีกประการ คือ ประชาชนในชุมชนยังไม่ให้ความร่วมมือ
ในการร่วมประชุมวางแผนเท่าทีค่ วร ทําให้การระดมสมองเป็นไปได้ย าก ซึง่ เป็ นปญั หาทีเ่ กิดขึน้ มา
ยาวนานและ ยัง คงมีอยู่ ในปจั จุบนั ดังนัน้ แนวทางทีจ่ ะแก้ไขปญั หาดังกล่าวได้ คือต้องเปิดโอกาส
ให้กบั คนในชุมชนเข้ามีบทบาทในการรับรูป้ ญั หา เพือ่ หาแนวทางแก้ไขปญั หา ดังกล่าวร่วมกันให้ ได้
มากทีส่ ดุ อาจจะจัดเป็ นระบบรูปแบบของสหกรณ์ผา้ หม้อห้อมที่ เข็มแข็งและสร้างแรงจูงใจให้กบั
สมาชิกเพื่อให้ทุกคนมีความรูส้ กึ เป็ นเจ้าของกิจการ เพื่อจะได้แนวทางแก้ไขทีห่ ลากหลายและ
เหมาะสมกับสภาพปญั หาทีเ่ กิดขึน้ โดยตัวแทนชุมชนได้เสนอแนวคิดทีส่ อดคล้องกันดังนี้

“การประชุมวางแผนแต่ละครัง้ มีแต่หน้าเดิมๆ ไม่กคี ่ น เราควรกระ จายคนในชุมชนให้มสี ว่ นร่วมมากขึ้น


โดยจัดตัง้ เป็ นระบบสหกรณ์ผา้ ห้อมแล้วเปิ ดรับสมัครสมาชิกสหกรณ์ ซึง่ จะทําให้ชมุ ชนเกิดความเป็ น
เจ้าของกิจการ และจะร่วมประชุมวางแผนเพือ่ รับรูส้ ภาพปญั หาทีเ่ กิดขึน้ จริงในปจั จุบนั ได้มากขึน้ ”
(ผูแ้ ทนชุมชน 2)

“น่าจะให้คนอืน่ ๆ ทีเ่ ขาไม่เคยร่วมประชุมเข้ามาประชุมบ้าง เผือ่ เขาจะมีแนวคิดดีๆ และเวลามีการประชุม


แต่ละครัง้ ควรให้คนอืน่ ๆ ร่วมรับฟงั ปญั หาด้วย จะทําให้เขาเกิดความกระตือรือร้นและเห็นความสําคัญของ
การวางแผนอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมมากขึน้ ซึง่ เห็นด้วยกับการจัดให้อยูใ่ น îรูปแบบสหกรณ์ผา้ หม้อห้อม แต่
ต้องมีโครงสร้างการบริหารงานทีช่ ดั เจน อันจะทําให้ชมุ ชนได้มบี ทบาทและร่วมเป็ นเจ้าของมากขึน้ ในทีส่ ดุ
ก็จะทําให้การมีสว่ นร่วมในการประชุมวางแผนมีสมาชิกทีห่ ลากหลายมากขึน้ แน่นอน เพราะทุกคนก็อยาก
รับทราบถึงสภาพปญั หาทีเ่ กิดขึน้ ของกิจการทีต่ นเองเป็ นภาคีหนุ้ ส่วนอยู” ่
(ผูแ้ ทนชุมชน 5)
65

3) จัดอบรมเชิ งปฏิ บตั ิ การเพื่อให้ความรูแ้ ละทักษะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการวาง


แผนการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมให้กบั ชุมชนโดยผูเ้ ชี่ยวชาญ
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการวางแผนการอนุ รกั ษ์ผ้าหม้อห้อมอีกประเด็น คือ ชาวตําบลทุ่งโฮ้งส่วนใหญ่ยงั ขาดความรู้
ทักษะ หรือความเชีย่ วชาญเกีย่ วกับการวางแผนอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ซึง่ พบว่าส่วนใหญ่จะเป็ นการ
วางแผนแก้ปญั หาทีป่ ลายเหตุมากกว่า เช่น เมือ่ เกิดปญั หาแล้วก็จะนัดกันประชุมแก้ปญั หาเป็ นครัง้ ๆ
ไป โดยการประชุมดังกล่าวไม่ได้เป็ นการวางแผนแก้ปญั หาระยะยาว หรือแบบยังยื ่ น ดังนัน้ แนวทางที่
จะแก้ไขปญั หาดังกล่าวได้ คือ อาจจะต้องให้ผเู้ ชียวชาญด้
่ านวางแผนและนโยบายเข้ามาช่วยถ่ายทอด
ความรู้ โดยอาจจัดในรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารให้กบั ตัวแทนชุมชนเพือ่ ให้เกิดทักษะก่อน
แล้วหลังจากนัน้ ตัวแทนชุมชนกลุม่ แรกก็ถ่ายทอดให้กบั ชุมชนทีเ่ หลือต่อไปเรือ่ ยๆ โดยตัวแทนชุมชน
ได้เสนอแนวคิดทีส่ อดคล้องกัน ดังนี้

“จุดอ่อน คือทัง้ ผูน้ ําและชุมชนยังขาดทักษะในการจัดทําแผนการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมของเรา ถ้าให้ดคี วร


ขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องส่งผู้ เชีย่ วชาญมาให้ความรูใ้ นการทําแผนอนุรกั ษ์ เพือ่ นําสู่
การปฏิบตั จิ ริงได้ หลังจากนัน้ เมือ่ ชุมชนเกิดความรู้ และทักษะในการวางแผนแล้ว จะทําให้ชมุ ชนเรา
สามารถวางแผนการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมได้ดขี น้ ึ ไม่เพียงแต่เป็ นการแก้ไขปญั หาทีป่ ลายเหตุดงั ทีผ่ า่ นๆ
มาเท่านัน้ แต่จะเป็ นการแก้ไขปญั หาทีย่ งยืั ่ นได้อกี ด้วย ”
ผูแ้ ทนชุมชน 2)

“น่าจะจัดอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารให้ชมุ ชนได้ทาํ แผนได้จริงๆ เพราะตอนนี้เราไม่รเู้ ลยว่าทําอย่างไรกัน เป็ น


การประชุมแบบชาวบ้านๆ จริงๆ ประชุมแต่ละครัง้ ไม่ได้เกิดแนวคิดอะไรทีห่ ลากหลายหรือแตกต่างจากไป
จากเดิมเลย อยากให้ผเู้ ชีย่ วชาญทีเ่ ชีย่ วชาญจริงๆ ได้เข้ามาช่วยเหลือในเรือ่ งของการจัดทําแผนอนุรกั ษ์
ให้กบั ชุมชนของเรา อาจจัดเป็ นการอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารทีช่ าวบ้านได้เข้ามาฝึกทักษะการวางแผนจริ”ง
(ผูแ้ ทนชุมชน 6)

4) ควรจัดหาเวลาว่างที่ตรงกันเพื่อให้ชมุ ชนได้มโี อกาสเข้าร่วมวา งแผนการอนุรกั ษ์


ผ้าหม้อห้อมมากขึน้
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการวางแผนการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมอีกประเด็น คือ ชุมชนไม่มเี วลาว่างในการเข้ามามีสว่ น
ร่วมในการประชุมวางแผน เนื่องจากแต่ละครอบครัวต้องมีภาระหน้า ทีใ่ นการหาเงินเพือ่ จุนเจือ
ครอบครัวของตน ทําให้การร่วมประชุมเป็นกิจกรรมทีม่ คี วามสําคัญในระดับรองๆ ลงมา อีกทัง้
การประชุมส่วนใหญ่มกั จะประชุมในวันปกติ หรือวันราชการ ดังนัน้ แนวทางทีจ่ ะแก้ไขปญั หาดังกล่าว
ได้ คือ ควรจะนัดเวลาประชุมเป็ นวันหยุดราชการ หรือวันนักขัต ฤกษ์แทน เนื่องจากชุมชนบาง
ส่วนประกอบอาชีพรับราชการ จะได้มโี อกาสเข้ามามีสว่ นร่วมในการประชุมได้ดว้ ย อีกทัง้ การประชุม
ในแต่ละครัง้ ควรใช้เวลาในประชุมไม่มากนัก เพราะทีผ่ า่ นมาการประชุมจะเกิดความล่าช้า และไม่เป็น
66

ระบบทําให้ชมุ ชนบางส่วนเบือ่ การประชุมและไม่มาร่วมประชุมใ นครัง้ ต่อไปอีก นอกจากนี้ควรจัดทํา


เป็นปฏิทนิ การประชุมให้มคี วามชัดเจน เพือ่ ให้ชมุ ชนได้ทราบวันประชุมล่วงหน้าเพือ่ จะได้เตรียมตัว
ก่อนการประชุมได้ โดยตัวแทนชุมชนได้เสนอแนวคิดทีส่ อดคล้องกันดังนี้

“ปญั หาทีส่ าํ คัญของคนในชุมชนในเรือ่ งของการประชุมวางแผนก็คอื ไม่มเี วลาวา่ งมาประชุมกัน เราน่าจะ


หาวันนัดทีต่ รงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ สักชัวโมง่ สองชัวโมง่ สําหรับการ
ประชุมวางแผนแต่ละครัง้ เพือ่ ให้คนทีร่ บั ราชการ หรือคนทีห่ ยุดทํางานตรงกับวันหยุดราชการได้ม ี
โอกาสในการเข้ามามีสว่ นร่วมในการประชุมได้ดว้ ย ”
(ผูแ้ ทนชุมชน 1)

“เวลานัดไม่มใี ครมา เพราะชาวบ้านทํางานกันหมด น่าจะหาโอกาสโดยคํานึงถึงวันทีช่ าวบ้านว่างกัน


เยอะๆ และควรนัดประชุมในวันทีต่ รงกับวันหยุด ขอเวลาชาวบ้านสักสองชัวโมง ่ ไม่เกินนี้ เพราะเขาจะได้
ไม่เบือ่ และไม่เสียเวลามากนัก หลายคนเคยเล่าให้ฟงั ว่า การประชุมนานเกินไป ไม่เป็ นระบบ น่าเบือ่ ทํา
ให้ครัง้ ต่อไปไม่อยากร่วมประชุมด้วย เพราะบรรยากาศไม่น่าเข้าร่วม นอกจากนี้ควรจัดทําเป็ นปฏิทนิ
และแจ้งให้ชาวบ้านทราบล่วงหน้าก่อน เพราะเขาจะได้เตรียมตัวเคลียร์ทกุ อย่างก่อนเข้าร่วมประชุมได้”
(ผูแ้ ทนชุมชน 5)

2. ผลการวิ เคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการให้ชมุ ชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษา


ธํารงไว้ซ่ีงผ้าหม้อห้อม จากการสนทนากลุ่ม
จากการวิเคราะห์สภาพปญั หาและอุปสรรคในการให้ชมุ ชนเข้ามามีวนร่
ส่ วมในการอนุรกั ษ์ผ้า
หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการรักษาธํารงไว้ จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนผูท้ รงคุณวุฒใิ นชุมชน
พบว่า มีแนวทางทีเ่ หมาะสมในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ ทีส่ อดคล้อง
กัน 3 ประเด็น ดังนี้

1) ควรสร้างความตระหนักและปลูกฝังค่านิ ยมในเรือ่ งของการรักษาธํารงผ้าหม้อ


ห้อมให้กบั ชุมชนเพื่อก่อให้เกิ ดแรงบันดาลใจในการรักษาหัตถศิ ลป์ ซึ่ งเป็ นอัตลักษณ์ของชุมชน
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการรักษาธํารงไว้ซง่ึ ผ้าหม้อห้อม คือ ชุมชนยังไม่ให้ความสําคัญกับการรักษาธํา รงไว้ซง่ึ ผ้า
หม้อห้อม จะมีเพียงกลุม่ ผูส้ งู อายุทผ่ี กู พันกับผ้าหม้อห้อมเท่านัน้ จะเห็นว่าคนรุน่ ใหม่ในท้องถิน่ ยังขาด
ความตระหนักในการรักษาและธํารงไว้ อาจเป็นเพราะขาดการปลูกฝงั จากชุมชนรุน่ ก่อนๆ เนื่องจาก
ส่วนใหญ่เมือ่ จบการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานก็ไปศึกษาต่อในตัวเมืองหลวง หรือจังหวัดใกล้เคียง จึงส่งผลทํา
ให้ความตระหนักเหล่านี้ขาด หายไปด้วย นอกจากนี้จะเห็ นว่าการรักษาและธํารงไว้ซง่ึ ผ้าหม้อห้อมจะ
พบในกลุม่ ของผูท้ เ่ี กีย่ วข้องกับผ้าหม้อห้อม โดยตรง เช่น กลุม่ ผูท้ าํ การค้าผ้าหม้อห้อม หรือผู้ทส่ี ะสม
และอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม เท่านัน้ โดยตัวแทนชุมชนได้เสนอแนวทางการรักษาและธํารงไว้ซง่ึ ผ้าหม้อ
ห้อมทีส่ อดคล้องกันดังนี้
67

“อันดับแรกก็ควรสร้างความตระหนักให้ชมุ ชนมีแรงขับในการมีสว่ นร่วมในการรักษาหม้อห้อมให้คงอยู่


สืบไป โดยอาจจะจัดเป็ นกิจกรรมต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับผ้าหม้อให้เกิดขึน้ ในชุมชนให้มากขึน้ และให้เกิด
ความเคลือ่ นไหวของการอนุรกั ษ์บอ่ ยครัง้ มากขึน้ ซึง่ จะส่งผลให้คนในชุมชนค่อยๆ เกิดการซึมซับ และเกิด
ความตระหนักในทีส่ ดุ ”
(ผูแ้ ทนชุมชน 1)

“สําคัญทีส่ ดุ ก็ตอ้ งสร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักก่อน เพราะส่วนใหญ่ยงั ไม่ให้ความสําคัญ จึงทําให้


ไม่ค่อยมีใครสนใจผ้าหม้อห้อมนอกจากกลุ่มทีท่ าํ การค้า ดังนัน้ ควรช่วยกันเชิญชวนให้ชุมชนหันมามอง
ความสําคัญของผ้าหม้อห้อมให้มากขึน้ โดยเริม่ จากคนในครอบครัวช่วยกันปลูกฝงั สมาชิกก่อน แล้วค่อยๆ
แผ่วงกระจายไปยังบุคคลใกล้เคียงต่อไป”
(ผูแ้ ทนชุมชน 3)

2) ควรจัดอบรมให้ความรูเ้ กี่ยวกับการเก็บรักษาผ้าหม้อห้อมอย่างถูกวิ ธี และรักษา


สภาพได้นานขึน้
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการรักษาธํารงไว้ซง่ึ ผ้าหม้อห้อมอีกประเด็น คือ ชุมชนยังขาดความรูใ้ นการเก็บรักษาผ้า
หม้อห้อมทีถ่ ูกวิธ ี ยังเก็บตามสภาพความเคยชิน จึงส่งผลทําให้ผา้ หม้อห้อมเกิดความเสียหาย และ
เก็บรักษาได้ไม่นาน เช่น เกิดเชือ้ ราบนผ้ า ผ้าถูกสัตว์จาํ พวก ปลวก และแมลงกัดทําลาย หรือโดน
แสงแดดทําให้ผา้ สีจางลง เป็ นต้น นอกจากนี้ การนําผ้า หม้อห้อม โบราณมาจัดแสดง โชว์เป็ น การ
ทําลายผ้าโดยไม่รตู้ วั ผ้าโบราณทีน่ ํามาจัดแสดงเป็นเวลานาน จะมีสภาพทรุดโทรมอย่างเห็นได้ ชัด
เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น แสงทีส่ ่องมีปริ มาณมากเกินไป อุณหภูมสิ งู เกินไป วิธกี ารเก็บ รักษาผ้า
โบราณมีผลอย่างมากต่อการเสือ่ มสภาพของผ้าโบราณ หากเก็บรักษาด้วยวิธที ถ่ี กู ต้องจะสามารถยืด
อายุของผ้าโบราณออกไปได้อกี ยาวนานมาก ในทางตรงกันข้ามหากเก็บรักษาด้วยวิธกี ารทีไ่ ม่ถกู ต้อง
ผ้าโบราณจะเสือ่ มชํารุดหมดสภาพเพิม่ ขึ้ นไปทุกชัวขณะ
่ ผูท้ าํ หน้าทีเ่ ก็บรักษาผ้าโบราณควรปฏิบตั ิ
ตามข้อแนะนําอย่างเคร่งครัด โดยตัวแทนชุมชนได้เสนอแนวทางการรักษาและธํารงไว้ซง่ึ ผ้าหม้อห้อม
ทีส่ อดคล้องกันดังนี้

“ให้หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องจัดอบรมให้ความรูก้ บั ชุมชนเกีย่ วกับการรักษาผ้าหม้อห้อมทีถ่ กู ต้องนเช่ควรเก็บ


รักษาผ้าในทีท่ มี ่ อี ากาศไหลเวียนถ่ายเทได้ดี ปราศจากฝุน่ ละออง แมลงและจุลนิ ทรีย์ ทีส่ าํ คัญคือ ความชื
และอุณหภูมคิ วรคงทีต่ ลอด 24 ชัวโมง ่ ห้องเก็บรักษาผ้าควรมีแสงสว่างสลัวๆ หรือมืดสนิท และควรเก็บ
รักษาโดยการวางราบในลิ้นชัก หรือในกล่องทีร่ ะบุดว้ ยกระดาษสา หรือกระดาษบางขาวหรือผ้าฝ้ายสีขาวที
ซักสะอาด หากจําเป็ นต้องพับผ้า ควรหนุนตรงรอยพับด้วยกระดาษนุ่มๆ แล้วพับผ้าให้มรี อยพับน้อยทีส่ ดุ
และให้รอยพับนัน้ มีมมุ ป้านมากทีสุด่ เพือ่ ป้องกันการหักของเส้นใยผ้าและควร หมันนํ
่ ามาคลีแ่ ละเปลีย่ นแนว
เป็ นระยะๆ ไม่ควรนําผ้าซ้อนทับกันหลายๆ ผืนในตูห้ รือลิ้นชักเดียวกัน หากจําเป็ นต้องทับซ้อนกัน ควร
คํานึงถึงนํ้าหนักของผ้าด้วย ผ้าทีม่ นี ้ ําหนักมากควรอยูข่ า้ งล่าง และควรใช้กระดาษนุ่มๆ คันระหว่่ างผ้ละ
าแต
ผืน เป็ นต้น ซึง่ จะเห็นว่าบางครัง้ ความรูเ้ บื้องต้นเกีย่ วกับการเก็บรักษาผ้าเหล่านี้ชาวบ้านเองยั
ม่ทราบเลย
งไ ”
(ผูแ้ ทนชุมชน 3)
68

“เนือ่ งจากผ้าหม้อห้อมทําจากธรรมชาติ ให้สธี รรมชาติ ดังนัน้ การรักษาค่อนข้างยาก ต้องขึน้ อยูก่ บั ปจั จัย
หลายๆ อย่าง ดังนัน้ น่าจะให้ผทู้ มี ่ คี วามรูแ้ ละเกีย่ วข้อกับผ้าโดยตรงเข้ามาเป็ นวิทยากรแกนนําจัดอบรมใ
ความรูก้ บั ชาวบ้าน ว่าควรเก็บรักษาอย่างไรให้คงอยูน่ านทีส่ ดุ หรืออาจจะจัดสถานทีท่ มี ่ คี วามพร้อมและ
เหมาะสมในรูปแบบพิพธิ ภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม เพือ่ รวบรวมตัวอย่างผ้าหม้อห้อมเก็บไว้เป็ นแหล่งการเรียน ู
ของชุมชนและของประเทศโดยมีผเู้ ชีย่ วชาญหรือนักวิชาการทีเ่ ชีย่ วชาญด้านผ้าดูแลเป็ นพิ”เศษ
(ผูแ้ ทนชุมชน 8)

3) ควรรณรงค์ให้ชมุ ชนใช้กรรมวิ ธีในการผลิ ตผ้าหม้อห้อมแบบดัง้ เดิ มเพื่อเป็ น


การรักษาธํารงไว้ให้คงอยู่แก่เยาวชนรุ่นหลังต่อไป
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการรักษาธํารงไว้ซง่ึ ผ้าหม้อห้อมอีกประเด็น คือ ผ้าหม้อห้อมในปจั จุบนั มักใช้กรรมวิธ ี
สมัยใหม่ เช่น ใช้เส้นใยสังเคราะห์และสีสงั เคราะห์ แต่เดิมชาวบ้านสามารถผลิตวัตถุดบิ ได้เอง ไม่วา่
จะเป็นการปลูกฝ้าย หรือขัน้ ตอนการทําสีจากต้นห้อม แต่ดว้ ยการขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่สามารถ
พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้ผลดี ทําให้ผลิตได้ น้อยไม่คมุ้ ทุน คุม้ เวลา เชื่อมโยงไปถึงกรรมวิธกี าร
ผลิตสืบเนื่อง เช่น การปนฝั ่ ้ าย และการเตรียมการย้อมสีจากต้นห้อม ซึง่ เป็ นกรรมวิธพี น้ื บ้านทีไ่ ม่ได้
พัฒนาปรับปรุงด้วยการศึกษาวิเคราะห์วจิ ยั อย่างลึกซึง้ ชาวบ้านทําไปด้วยความสามารถของตน
แม้วา่ ทางราชการจะเข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมอยูบ่ า้ งแต่กย็ งั ไม่เพียงพอ ช่างทอผ้าพืน้ เมืองส่วน
ใหญ่เลิกผลิตวัตถุดบิ เอง หันไปซือ้ วัตถุดบิ สําเร็จรูปจากภายนอก ทําให้ผา้ พืน้ เมืองเปลีย่ นรูปแบบไป
ขาดเอกลักษณ์เฉพาะถิน่ ทีท่ าํ ให้ไม่ได้รบั ความนิยมเท่าทีค่ วร และการใช้วตั ถุดบิ สําเร็จรูปจากผูแ้ ทน
จําหน่าย ยังนําไปสู่การลงทุนแบบกูย้ มื ในลักษณะตกเขียว เป็ นการผูกมัดช่างทีม่ กั ไม่ได้รบั ความเป็น
ธรรม เป็นการก่อหนี้สนิ ให้แก่ชา่ ง ทําผ้าและเกีย่ วโยงไปถึงการผูกมัดผลผลิต ด้วยโดยชุมชน จะไม่ม ี
โอกาสเป็ นผูก้ าํ หนดราคาผลผลิตและค่าแรงงานของตนเองได้ ทําให้ความเป็ นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
สูญหายไป โดยตัวแทนชุมชนได้เสนอแนวทางการรักษาและธํารงไว้ซง่ึ ผ้าหม้อห้อมทีส่ อดคล้องกัน
ดังนี้

“ถึงแม้วา่ กระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อมจะมีความซับซ้อน ใช้ระยะเวลาในการผลิตค่อนข้างนาน ไม่วา่ จะ


เป็ น การหมักสียอ้ ม การเตรียมนํ้าด่างหรือนํ้าขีเ้ ถ้า การเตรียมผ้าก่อนการย้อมสี การเตรียมสียอ้ ม การ
ย้อมแบบดัง้ เดิม การลงแป้ง การรีดผ้าหม้อห้อม เป็ นต้น ทุกขัน้ ตอนล้วนแต่มกี รรมวิธแี ละเทคนิค
เฉพาะตัว หากใครไม่มคี วามรูห้ รือความเชีย่ วชาญทีส่ งสมมานานพอก็
ั่ ใช่ว่าจะผลิตออกมาให้มคี ุณภาพ
และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ ดังนัน้ ชุมชนควรมีความภูมใิ จในค วามแตกต่างตรงนี้ทไี ่ ม่พบในชุมชน
ท้องถิน่ อืน่ ๆ และควรจะสืบทอดกรรมวิธเี หล่านี้ให้คงสืบทอดต่อไป นอกจากนี้ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุง่ โฮ้ง
มีชอื ่ เสียงติดตลาดอยูแ่ ล้ว ใครๆ ก็รจู้ กั ดี เพราะฉะนัน้ หากคุณภาพของเรายังคงมีอยู่ เชือ่ ว่าคนทีเ่ ขา
นิยมและต้องการผ้าหม้อห้อมแบบดัง้ เดิมจริงๆ ก็ยงั คงมีความต้องการอยูแ่ น่นอน”
(ผูแ้ ทนชุมชน 1)
69

“เราต้องสร้างความเข้าใจให้กบั ผูใ้ ช้ผา้ หม้อห้อมให้รบั ทราบโดยทัวไปก่


่ อนว่า ผ้าหม้อห้อมของแท้ ที ่
ผลิตจากธรรมชาติจริงๆ นัน้ ย่อมไม่มอี นั ตรายต่อผูส้ วมใส่ เพราะทุกอย่างคือมาจากธรรมชาติ ไม่ม ี
สารเคมีเข้ามาเกีย่ วข้อง ผ้าหม้อห้อมแท้สจี ะตกในการซักระยะแรก เนือ่ งจากใช้สธี รรมชาติ หลังจากนัน้
สีจะคงทีเ่ องโดยไม่ตกอีก และสีจะมีความสวยงามขึน้ กว่าตอนแรกๆ และมีความทนทานต่อการ
นําไปใช้งาน ดังนัน้ อยากให้ใช้สจี ากต้นห้อมเหมือนเดิม ถึงแม้กรรมวิธจี ะยุง่ ยากหลายขัน้ ตอน แต่นนั ้
มันคือภูมปิ ญั ญาของชาวบ้านเราแท้ๆ”
(ผูแ้ ทนชุมชน 4)

3. ผลการวิ เคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการให้ชมุ ชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ


เผยแพร่ผา้ หม้อห้อม จากการสนทนากลุ่ม
จากการวิเคราะห์สภาพปญั หาและอุปสรรคในการให้ชมุ ชนเข้ามามีส่ วนร่วมในการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการเผยแพร่ จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนผูท้ รง คุณวุฒ ใิ น
ชุมชน พบว่า มีแนวทางทีเ่ หมาะสมในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการ เผยแพร่ ที่
สอดคล้องกัน 4 ประเด็น ดังนี้

1) หน่ วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดสรรงบประมาณสําหรับการดําเนิ นการเผยแพร่


และประชาสัมพันธ์ผา้ หม้อห้อมให้เป็ นที่รจู้ กั ระดับชาติ และระดับสากล
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการเผยแพร่ผา้ หม้อห้อม คือ ขาดการสนับสนุนหรือ ช่วยเหลือจากหน่ วยงานทีเ่ กีย่ วข้องใน
พืน้ ทีอ่ ย่างเพียงพอในเรือ่ งของเงินทุนสนับสนุนการรว มกลุม่ และบริหารจัดการ โดยเฉพาะด้านการ
จัดหาตลาดและประชาสัมพันธ์สนิ ค้าให้เป็ นทีร่ จู้ กั ของคนทัวไป
่ ซึง่ มักพบว่าขาดแนวทางในการแก้ไข
ทีย่ งยื
ั ่ นโดยไม่มกี ารประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ทําให้คนทัวไปไม่
่ สามารถทราบได้เลยว่าฝีมอื การ
ผลิตและคุณภาพของผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้งได้พฒ ั นาไปถึงระดับใดแล้ว โดยตัวแทนชุมชนได้เสนอ
แนวทางการรักษาและธํารงไว้ซง่ึ ผ้าหม้อห้อมทีส่ อดคล้องกันดังนี้

“ควรให้หน่วยงานภาครัฐจัดสรรงบประมาณให้ชมุ ชนได้ดาํ เนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์


ผลิตภัณฑ์พ้นื บ้านให้มากขึน้ อาจจะเป็ นในรูปแบบของงานจัดแสดงโชว์สอวิ ื ่ ทยุ โทรทัศน์ รายการสาร
คดีต่างๆ หรือทางเว็บไชต์ ทีค่ นทัวไปสามารถเข้
่ าถึงได้งา่ ย เพราะตอนนี้เราแทบจะไมได้รบั ความ
ช่วยเหลือด้านนี้เลย ถึงแม้ว่าชือ่ เสียงด้านการผลิตผ้าหม้อห้อมของตําบลทุ่งโฮ้งจะมีชอื ่ เสียงมานาน
แล้ว แต่ถา้ หากขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนือ่ ง ทําให้คนทัวไปไม่
่ ทราบว่าปจั จุบนั นี้ผลิตภัณฑ์ผา้
หม้อห้อมได้พฒ ั นาฝีมอื ทีม่ คี ณ
ุ ภาพไปถึงไหนแล้ว หรือมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อะไรเกิดขึน้ แล้วบ้าง”
(ผูแ้ ทนชุมชน 3)
70

“ผ้าหม้อห้อมถือได้วา่ เป็ นอัตลักษณ์ของชุมชนและเป็ นภูมปิ ญั ญาของชาติเลยก็วา่ ได้ ไม่มที ใี ่ ดโดดเด่น


เท่าชุมชนตําบลทุง่ โฮ้ง เพราะฉะนัน้ รัฐควรกําหนดเป็ นวาระแห่งชาติหรือนโยบายเฉพาะกิจ เพือ่ ให้การ
ส่งเสริมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างเป็ นรูปธรรมมากขึน้ สิง่ ทีผ่ มคิดว่าจําเป็ นทีส่ ดุ ในการดาํ เนินการ PR
ก็คอื เงินทุนสนับสนุน หากเงินทุนน้อยการประชาสัมพันธ์ไม่ได้ผลแน่นอน ถ้าจะเผยแพร่แล้วต้องทําให้
จริงจังทัง้ ออกสือที
่ วี หรือทําสารคดีเผยแพร่ทางสือต่
่ างๆ ให้มากขึน้ ”
(ผูแ้ ทนชุมชน 5)

2) ผูเ้ ชี่ยวชาญหรือปราชญ์ท้อง ถิ่นควรอบรมให้ความรูเ้ กี่ยวกับผ้าหม้อห้อมแก่


ชุมชนเพื่อให้เข้าใจถึงความเป็ นมา และความสําคัญ ของผ้าหม้อห้อมอย่างแท้จริง ก่อนที่ จะ
ดําเนิ นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนต่อไป
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการเผยแพร่ผา้ หม้อห้อมอีกประการ คือ ชุมชนทีย่ งั เป็นเยาวชน หรือคนรุน่ ใหม่ไม่สามารถที่
จะเผยแพร่หรือให้ความรูแ้ ก่นกั ท่องเทีย่ วหรือบุคคล ต่างพืน้ ทีไ่ ด้ เนื่องจากไม่ รูป้ ระวัตคิ วามเป็นมาที่
แท้จริงของผ้าหม้อห้อม และกระบวนการผลิตแบบดัง้ เดิม จะเห็นได้ว่าผูป้ ระกอบการบางคนก็ไม่
สามารถให้รายละเอียดเกีย่ วกับผ้าหม้อห้อมได้ หรืออาจจะให้ขอ้ มูลทีผ่ ดิ พลาดได้เนื่องจาก
ผูป้ ระกอบการบางส่วนไม่ได้ทาํ การผลิตเองเพี ยงแต่รบั มาอีกทอดหนึ่ง ดังนัน้ ควร ส่งเสริมให้เกิด
ความนิยมและรูค้ ุณค่าของผ้า หม้อห้อมทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะตัว เพือ่ เพิม่ ปริมาณการบริโภคใน
ประเทศให้สงู ขึน้ อาจจะโดยวิธกี ารโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือจัดนิทรรศการเผยแพร่ให้ความรูใ้ นแนว
ทีก่ ่อให้เกิดความชื่นชม และรูค้ ุณค่าในหมูผ่ บู้ ริโภคให้กว้างขวางยิง่ ขึน้ และควรจะมีการส่งเสริมให้เกิด
ความนิยมในระดับต่างประเทศด้วย โดยตัวแทนชุมชนได้เสนอแนวทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ผ้าหม้อห้อมทีส่ อดคล้องกันดังนี้

“บางคนเป็ นชาวบ้านทุง่ โฮ้งโดยแท้ แต่ยงั ไม่รทู้ มี ่ าทีไ่ ปของผ้าหม้อห้อมเลย ใครถามก็ตอบไมได้ ดังนัน้


น่าจะปูความรูใ้ ห้ชาวบ้านก่อน อย่างน้อยก็สามารถบอกประวัตคิ วามเป็ นมาได้ เรามีปราชญ์ชาวบ้าน
เยอะ น่าจะให้บคุ คลเหล่านี้เป็ นวิทยากรบรรยายความเป็ นมาทีถ่ กู ต้องให้กบั ชาวบ้านหรือนักเรียนทีเ่ ป็ น
คนรุน่ ใหม่ได้รบั ทราบกันทุกคนก่อนทีจ่ ะทําการประชาสัมพันธ์ เพราะเกรงว่าจะประชาสัมพันธ์ไปอย่าง
ผิดๆ ซึง่ จะทําให้ความเป็ นเอกลักษณ์หนึง่ เดียวของผ้าหม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้งหายไปในทีส่ ดุ”
(ผูแ้ ทนชุมชน 2)

“ควรให้ปราชญ์ทอ้ งถิน่ ของเราเป็ นผูถ้ ่ายทอดกระบวนการผลิตแบบดัง้ เดิม รวมถึงเทคนิควิธตี ่างๆ ที ่


เป็ นเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้ก ับลูกหลาน เพราะชุมชนเรายังมีผเู้ ชีย่ วชาญอีกจํานวนมาก แต่สว่ นมากจะ
สูงอายุกนั หมดแล้ว เพราะฉะนัน้ เราจึงควรเร่งรับการถ่ายทอดความรูใ้ ห้เร็วทีส่ ดุ โดยเริม่ จากให้
ความสําคัญกับปราชญ์ชมุ ชนเหล่านี้เพือ่ ให้ทา่ นมีความภาคภูมใิ จก่อนโดยอาจพิจารณามอบรางวัลเชิด
ชูเกียรติเพือ่ เ ป็ นขวัญและกําลังใจก่อน หลังจากนัน้ ก็จดั เวทีให้ทา่ นเหล่านี้ได้มบี ทบาทในการเป็ นผู้
ถ่ายทอดความรูใ้ ห้กบั ลูกหลานในชุมชนต่อไป ซึง่ ทีผ่ ่านมาเราไม่ได้เปิ ดโอกาสให้ปราชญ์ชุมชนได้ม ี
บทบาทอย่างเต็มที ่ รูปแบบการถ่ายทอดจะเกิดขึน้ เฉพาะภายในครอบครัว และเป็ นบางคนเท่านั”น้
(ผูแ้ ทนชุมชน 8)
71

3) นําองค์ ความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับหัตถศิ ลป์ พื้นบ้าน (ผ้าหม้อห้อม ) มาบรรจุเป็ น


หลักหลักสูตรสถานศึกษาที่นอกเหลือจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานที่ทาง
กระทรวงศึกษาธิ การกําหนด เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นหลังได้ตระหนักและเข้าใจ ตลอดจน
ทําหน้ าที่เป็ นผูเ้ ผยแพร่ที่ดีต่อไป
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการเผยแพร่ผา้ หม้อห้อมอีกประการ คือ เยาวชนรุน่ ใหม่ๆ ไม่ค่อยตระหนักและให้
ความสําคัญกับมรดกอันลํา้ ค่าผ้าหม้อห้อมทีส่ บื ทอดกันมาอย่างช้านาน อาจเนื่องมาจากไม่ ได้รบั การ
ปลูกฝงั และถ่ายทอดภูมปิ ญั ญาเหล่านี้ ให้กบั ลูกหลาน เพราะวิถชี วี ติ และการเลีย้ งดูคอ่ นข้างมีความ
แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชดั เช่น ในปจั จุบนั เยาวชนเข้าไปอยูใ่ นระบบการศึกษาตัง้ แต่อายุ 3 ขวบ
แล้ว ทําให้การศึกษาในรูปแบบตามอัธยาศัย (informal education)ทีเ่ คยเกิดขึน้ ในสมัยก่อนนัน้ ค่อยๆ
หายไป ตลอดจนการปลูกฝงั เรือ่ งค่านิยมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมก็คอ่ ยๆ หายไปด้วย โดย
การศึกษาในระบบ (formal education) นัน้ จะเน้นการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานซึง่ มีหลักสูตรการศึกษา
แกนกลางทีเ่ ป็ นมาตรฐานร่วมกันทัวทั ่ ง้ ประเทศ ทําให้การศึกษาทีเ่ กีย่ วกั บภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ทีม่ ี
เอกลักษณ์เฉพาะก็ไม่ได้รบั การถ่ายทอดสูค่ นรุน่ ใหม่เท่าทีค่ วร อีกทัง้ ความจําเป็นในการทีจ่ ะต้อง
ประกอบอาชีพในการผลิตผ้าหม้อห้อมก็มคี วามสําคัญน้อยลงด้วย เนื่องจากการศึกษาทําให้ คนมี
โอกาสในการเลือกประกอบอาชีพอื่นๆ ได้อย่างหลากหลายขึน้ ดังนัน้ สิ่ งทีจ่ ะช่วยให้เยาวชนรุ่นใหม่
ไม่ลมื และไม่ทอดทิง้ ภูมปิ ญั ญาพืน้ บ้าน ซึง่ มีเอกลักษณ์เฉพาะ ถิ่นได้กค็ อื การบรรจุเรือ่ งราวและองค์
ความรูเ้ กีย่ วกับผ้าหม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง ไว้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร สถานศึกษา อาจจะจัดอยูใ่ น
โครงสร้างของหลักสูตรท้องถิน่ ทีท่ างสถานศึกษ าแต่ละแห่งสามารถเพิม่ เติมได้ตามความพร้อมและ
ความเหมาะสมของแต่ละบริบท ซึง่ ในส่วนหลักสูตรสถานศึกษานัน้ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้เปิด
กว้างเอาไว้แล้ว โดยอาจเชิญผูท้ รงวุฒใิ นท้องถิน่ มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรูผ้ ลัดเปลีย่ นกันไป
อีกทัง้ ยังเป็ นการสร้างความภาคภูมใิ นให้ กับบุคคลในท้องถิน่ อีกด้วย นอกจากนี้ยงั สอดคล้องกับ
หลักการจัดการศึกษาในปจั จุบนั ทีว่ า่ “ให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการจัดการศึกษา ” โดยตัวแทน
ชุมชนได้เสนอแนวทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผา้ หม้อห้อมทีส่ อดคล้องกันดังนี้

“โรงเรียนหรือสถานศึกษาในตําบลควรนําความรูเ้ กี ่ ยวกับผ้าหม้อห้อม มาเป็ นหลักสูตรหนึง่ ของทาง


โรงเรียน เพือ่ ปลูกฝงั ให้นกั เรียนได้ศกึ ษาและนําสูก่ ารเผยแพร่ต่อไปได้ เพราะบุคคลกลุม่ นี้เป็ นคนรุน่
ใหม่ และเป็ นกําลังในการเผยแพร่ทดี ่ ตี ่อไป”
(ผูแ้ ทนชุมชน 1)

“ควรเป็ นหน้าทีข่ องทางโรงเรียนในการส่งเสริมให้นกั เรียนได้เรีย นรูว้ ถิ ชี วี ติ ของคนในชุมชนตลอดจน


กรรมวิธกี ารผลิต และแนวทางการอนุรกั ษ์ผา้ ห้อมห้อม ให้คงสืบทอดต่อไป เพราะเด็กจะใช้ชวี ติ ใน
สถานศึกษามากกว่าทีบ่ า้ น ดัง้ นัน้ ทางโรงเรียนควรจัดการศึกษาแบบมีสว่ นร่วมโดยให้ชมุ ชนเข้ามามี
บทบาทในการจัดการศึกษาให้กบั ลูกหลานบ้าง เช่น จัดทําเป็ นหลักสูตรสถานศึกษา บรรจุองค์ความรู้
ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วกับหม้อห้อม เพือ่ ถ่ายทอดให้กบั เยาวชนรุน่ ใหม่ต่อไป”
(ผูแ้ ทนชุมชน 5)
72

4) ควรฝึ กอบบรมทักษะพืน้ ฐานและเทคนิ คในการสื่อสารกับคนต่างถิ่ นหรือคน


ต่างชาติให้กบั ชุมชนเพื่อจะได้เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับผ้าหม้อห้อมได้ดียิ่งขึ้น
จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนชุมชน ซึง่ มีความคิดเห็นทีส่ อดคล้องกันว่า ปญั หาที่
สําคัญในการเผยแพร่ผา้ หม้อห้อมอีกประการ คือ การใช้ภาษาในการสือ่ สาร เนื่องจากชาวตําบล
ทุง่ โฮ้ง จะใช้ภาษาถิน่ ล้านนาในการสือ่ สาร ทําให้บางครัง้ ไม่สามารถสือ่ สารให้กบั คน ต่างถิน่ หรือ
ชาวต่างชาติทเ่ี ข้ามาท่องเทีย่ วได้ จึงเป็นการเสียโอกาสในการทีจ่ ะเผยแพร่องค์ความรูต้ ่างๆ ที่
เกีย่ วกับผ้าหม้อห้อม ดังนัน้ ควรฝึกอบรมให้คนในชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มทีม่ สี ่วนสําคัญในการเผยแพร
ได้แก่ กลุม่ ผูป้ ระกอบการในการผลิตและจําหน่ายผ้าหม้อห้อมเป็นของที่ ระลึก ตลอดจนลูกจ้าง และ
ชาวบ้านทัวไป ่ ได้มโี อกาสฝึกทักษะพืน้ ฐานและเทคนิคในการสื่ อสารกับคนต่างถิน่ หรือคนต่างชาติ
โดยมีการฝึกพูดภาษาไทยกลาง และภาษาอังกฤษพืน้ ฐานทีเ่ ป็นการแนะนําผ้าหม้อห้อมให้กบั ชาว
ต่างประเทศ ซึง่ ถ้าหากชุมชนสามารถถ่ายทอดองค์ความรูต้ ่างๆ ทีเ่ กีย่ วกับผ้าหม้อห้อมให้กบั คนต่าง
ถิน่ และคนต่างชาติได้แล้วจะเป็ นการเผยแพร่ช่อื เสี ยงของผ้าหม้อห้อมตําบ ลทุ่งโฮ้งได้ดอี กี ทางหนึ่ง
โดยวิธปี ากต่อปาก อีกทัง้ เป็ นการกระตุน้ ทําให้เห็นความสําคัญและเห็นคุณค่าของผ้าหม้อห้อมมาก
ขึน้ ด้วย โดยตัวแทนชุมชนได้เสนอแนวทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผา้ หม้อห้อมทีส่ อดคล้องกัน
ดังนี้

“เสนอแนะว่าควรจะฝึกอบรมเกีย่ วกับการพูดนําเสนอเผยแพร่ผา้ หม้อห้อมให้กบั คนในชุมชน อาจจะเป็ น


การพูดแนะนําข้อมูลทีจ่ าํ เป็ นพื้นฐานทีเ่ กีย่ วกับผ้าหม้อห้อม อย่างน้อยทําให้ผทู้ มี ่ าเยีย่ มชมได้เข้าใจเพือ่
จะได้ต่อยอดความรูต้ ่อไปได้”
(ผูแ้ ทนชุมชน 3)

“เห็นด้วยว่า น่าจะให้คนในชุมชน อย่างน้อยก็กลุม่ พ่อค้าแม่คา้ ทีจ่ าํ หน่ายผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมได้


เผยแพร่ไปในตัว อาจจะอบรมภาษาอังกฤษพื้นฐานง่ายๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับผ้าหม้อห้อมเพือ่ ให้เขาสามารถ
สือสารให้
่ กบั ต่างชาติได้ดว้ ย เพราะปจั จุบนั นี้จะเห็นว่าคนทีม่ คี วามรูท้ พี ่ อจะสือสารได้
่ กไ็ ปทํางานอืน่ กัน
หมด แต่คนทีท่ าํ งานเกีย่ วข้องกับผ้าหม้อห้อมกลับไม่สามารถสือสารได้ ่ เพราะส่วนใหญ่เป็ นกลุม่ คนใน
ท้องถิน่ ทีม่ รี ะดับการศึกษาไม่สงู มากนัก”
(ผูแ้ ทนชุมชน 5)
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การวิจ ัยเรือ่ งการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม : กรณีศกึ ษาตําบลทุ่งโฮ้ง


อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็ นการวิจยั เชิงสํารวจ (survey research) มีการเก็บรวบข้อมูลแบบ
ผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีผลสรุปการวิจยั การอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สําหรับการวิจยั ซึง่ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สรุปผลการวิ จยั
1. ผลการวิ เคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้
หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง
ระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้ออมตํ ห้ าบลทุ่งโฮ้งโดยภาพรวมอยูใ่ นระดับ
ปานกลาง เมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า ชุ มชนมีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ มากทีส่ ดุ รองลงมา คือ
การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ และการมีสว่ นร่วมในการวางแผน ตามลําดับ
ด้านการวางแผน พบว่า ระดับการมีสวนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ ผ้าหม้อห้อม
ตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการวางแผนอยูใ่ นระดับน้อย
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายข้อ พบว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการวางแผน อยูใ่ นระดับปาน
กลาง จํานวน 3 ข้อรายการ ได้แก่ มีสว่ นร่วมในการรณรงค์การใช้วตั ถุดบิ แบบดัง้ เดิมในการผลิตงาน
ศิลปะต่างๆ จากผ้าหม้อห้อ มมากทีส่ ุด รองลงมาได้แก่ มีสว่ นร่วมในการสร้างเครือข่ายผ้าหม้อห้อม
และ มีสว่ นร่วมในการค้นพบปญั หาและสาเหตุของปญั หาเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ตามลําดับ
ด้านการรักษาธํารงไว้ พบว่า ชุมชนเข้ามามีสวนร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่
โฮ้ง ด้านการรักษาธํารงไว้ อยูใ่ นระดับปานกลาง
เมือ่ พิจารณาเป็ นรายข้อ พบว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ อยูใ่ นระดับปาน
กลางทุกข้อรายการ โดยเรียงลําดับจากมากไปน้อย 3 รายการแรก ได้แก่ มีส่วนร่วมในการปลูกฝงั
จิตสํานึกให้กบั ลูกหลานหรือญาติพน่ี ้องเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม
ให้บุคคลใกล้ ตัวใช้ ผา้ หม้อห้อม และมี สว่ นร่วมในกิจกรรมต่างๆ เกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ตามลําดับ
ด้านการเผยแพร่ พบว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง
ด้านการมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ อยูใ่ นระดับปานกลาง
74

เมือ่ พิจารณาเป็ นรายข้อ พบว่า ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ อยูใ่ นระดับปานกลาง


ทุกข้อรายการ โดยเรียงลําดับจากมากไปน้อย 3 รายการแรก ได้แก่ มีสว่ นร่วมในการใช้ผา้ หม้อห้อม
เป็นของฝากหรือของทีร่ ะลึกแก่บคุ คลอื่นตามโอกาสต่างๆ การมีสว่ นร่วมในการนําผ้าหม้อห้อมออก
แสดงโชว์ในโอกาสต่างๆ และการ มีสว่ นร่วมในก ารแต่งกายด้วยผ้าหม้อห้อมเพือ่ เป็นแบบอย่าง
ตามลําดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม จําแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาของการ
อาศัยในพืน้ ที่
การมีสว่ นร่วมในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ ง ทัง้ ภาพรวมและรายด้านไม่มคี วาม
แตกต่างกันตามเพศอย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05
การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง ทัง้ ภาพรวมและรายด้าน
ไม่มคี วามแตกต่างกันตามอายุอย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ0.05
การมีสว่ นร่วมของชุมชนในกา รอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง ทัง้ ภาพรวมและรายด้าน
ไม่มคี วามแตกต่างกันตามอาชีพอย่างมีนยั สําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ0.05
การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง ทัง้ ภาพรวมและรายด้าน
ไม่มคี วามแตกต่างกันตามระยะเวลาในการอาศัยในพืน้ ที่ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ 0.05
3. ผลการวิ เคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของชุมชนใน
การอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ปญั หาและอุปสรรคในการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง
โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก เมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า มีปญั หาแ ละอุปสรรคอยูใ่ นระดับมาก
ทุก ด้าน โดยเรียงตามลําดับปญั หาและอุปสรรคจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการมีสว่ นร่วมในการ
วางแผน รองลงมาได้แก่ ด้านการมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ และด้านการมีสว่ นร่วมในการรักษาและ
ธํารงไว้ ตามลําดับ
ด้านการวางแผน การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุ รักษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้าน
การวางแผน มีปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับมากทุกข้อรายการ โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย
3 ลําดับแรก ได้แก่ ประชาชนในท้องถิน่ ขาดความตระหนักในการอนุรกั ษ์ ไม่มเี วลาในการรวมกลุม่
ในการประชุมหรือแสดงความคิดเห็นต่างๆ และขาดความร่วมมือจ ากประชาชาชนในท้องถิน่
ตามลําดับ
ด้านการรักษาธํารงไว้ การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ ผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง
ด้านการรักษาธํารงไว้ มีปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับมากทุกข้อรายการ โดยเรียงลําดับจากมากไป
หาน้อย 3 ลําดับแรก ได้แก่ ขาดความรูค้ วามเข้าใจในการรักษาให้ค งอยูส่ บื ทอดต่อไป มีการ
เลียนแบบวัตถุดบิ และกรรมวิธอี ่นื ทีไ่ ม่ใช่แบบดัง้ เดิม และไม่ได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ
และเอกชน ตามลําดับ
75

ด้านการเผยแพร่ การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง ด้าน


การเผยแพร่ มีปญั หาและอุปสรรคอยูใ่ นระดับมากทุ กข้อรายการ โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย
3 ลําดับแรก ได้แก่ ขาดงบประมาณในการดําเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ขาดความรูค้ วาม
เข้าใจในกระบวนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และขาดทักษะและเทคนิคในการสือ่ สารเช่น ด้านภาษา
ความกล้าแสดงออกเป็ นต้น ตามลําดับ

4. ผลการวิ เคราะห์แนวทางที่ เหมาะสมในการส่งเสริ มการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม จาก


การสนทนากลุ่ม (Focus group)
ด้านการวางแผน จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนผูท้ รงคุณวุฒใิ นชุมชน พบว่า มีแนวทาง
ทีเ่ หมาะสมในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการวางแผนเพือ่ อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ทีส่ อดคล้องกัน 4 ประเด็น ดังนี้
1) หน่ วยงานระดับกระทรวงหรือภูมภิ าคทีเ่ กีย่ วข้องกับการอนุรกั ษ์ศลิ ปวัฒนธรรมควร
ปลุกระดมให้ชมุ ชนมีความตระหนักในการเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมมากขึน้
2) คัดเลือกตัวแทนชุมชนจากหลายหลายอาชีพเพือ่ เป็นตัวแทนในการประชุมวาง
แผนการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมและพยายามเปิดโอกาสให้กบั คนในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการรับรู้
ปญั หาและหาทางแก้ไขปญั หาร่วมกันมากขึน้
3) จัดอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารเพือ่ ให้ความรูแ้ ละทักษะเกีย่ วกับการมีสว่ นร่วมในการวาง
แผนการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมให้กบั ชุมชนโดยผูเ้ ชีย่ วชาญ
4) ควรจัดหาเวลาว่างทีต่ รงกันเพื่ อให้ชมุ ชนได้มโี อกาสเข้าร่วมวางแผนการอนุรกั ษ์ผา้
หม้อห้อมมากขึน้

ด้านการรักษาธํารงไว้ จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนผูท้ รงคุณวุฒใิ นชุมชน พบว่า มี


แนวทางทีเ่ หมาะสมในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการรักษาธํารงไว้ผา้ หม้อห้อม ที่
สอดคล้องกัน 4 ประเด็น ดังนี้
1) ควรสร้างความตระหนักและปลูกฝงั ค่านิยมในเรือ่ งของการรักษาธํา รงผ้าหม้อห้อม
ให้กบั ชุมชนเพือ่ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการรักษาหัตถศิลป์ซง่ึ เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
2) ควรจัดอบรมให้ความรูเ้ กีย่ วกับการเก็บรักษาผ้าหม้อห้อมอย่างถูกวิธ ี และรักษาสภาพ
ได้นานขึน้
3) ควรจัดให้มสี ถานที่ เก็บรักษาผ้าหม้อห้อมโดยเฉพาะ และมีนกั วิชาการทําหน้าทีด่ แู ล
โดยเฉพาะ เช่น สร้างเป็ นพิพธิ ภัณฑ์เกีย่ วกับผ้าหม้อห้อม เพื่อเป็ นแหล่งการเรียนรูข้ องชุมชนและ
ของประเทศ หรือ ควรรณรงค์ให้ชมุ ชนใช้กรรมวิธใี นการผลิตผ้าหม้อห้อมแบบดัง้ เดิมเพือ่ เป็นการ
รักษาธํารงไว้ให้คงอยูแ่ ก่เยาวชนรุน่ หลังต่อไป
76

ด้านการเผยแพร่ จากการสนทนากลุม่ ของตัวแทนผูท้ รงคุณวุฒใิ นชุมชน พบว่า มีแนวทาง


ทีเ่ หมาะสมในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ทส่ี อดคล้องกัน4 ประเด็น ดังนี้
1) หน่ วยงานทีเ่ กีย่ วข้องควรจัดสรรงบประมาณสําหรับการดําเนินการเผยแพร่และ
ประชาสัมพันธ์ผา้ หม้อห้อมให้เป็ นทีร่ จู้ กั ระดับชาติและระดับสากล
2) ผูเ้ ชีย่ วชาญหรือปราชญ์ทอ้ ง ถิ่น ควรอบรมให้ความรูเ้ กีย่ วกับผ้าหม้อห้อมแก่ชมุ ชน
เพือ่ ให้เข้าใจถึงความเป็ นมาและความสําคัญของผ้าหม้อห้อมอย่างแท้จริง ก่อนทีจ่ ะดําเนินการ
ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ออกสูส่ าธารณชนต่อไป
3) นําองค์ความรูท้ เ่ี กีย่ วข้องกับหัตถศิลป์พน้ื บ้าน (ผ้าหม้อห้อม ) มาบรรจุเป็นหลัก
หลักสูตรสถานศึกษาทีน่ อกเหลือจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานทีท่ าง
กระทรวงศึกษาธิการกําหนด เพือ่ ปลูกฝงั ให้เยาวชนรุน่ หลังได้ตระหนักและเข้าใจ ตลอดจนทําหน้าที่
เป็ นผูเ้ ผยแพร่ทด่ี ตี ่อไป
4) ควรฝึกอบบรมทักษะพืน้ ฐานและเทคนิคในการสือ่ สารกับคนต่างถิน่ หรือคนต่างชาติ
ให้กบั ชุมชนเพื่อจะได้เผยแพร่เรือ่ งราวเกีย่ วกับผ้าหม้อห้อมได้ดยี งิ่ ขึน้

อภิ ปรายผลการวิ จยั


ข้อค้นพบจากการวิจยั ครัง้ นี้มปี ระเด็นทีค่ วรนํามาอภิปรายหลายประเด็น ดังรายละเอียด
ต่อไปนี้
1. จากการศึกษาวิจยั พบว่าระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้ออมตํ ห้ าบลทุ่ง
โฮ้ง โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับปานกลาง เมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า ชุมชนมีสว่ นร่วมในการรักษา
ธํารงไว้มากทีส่ ดุ รองลงมา คือ การมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ และการมีสว่ นร่วมในการวางแผน
ตามลําดับ โดยการมีส่ วนร่วมในการวางแผนอยูใ่ นระดับน้อย เพียงด้านเดียว ซึง่ อาจจะเนื่องมาจาก
ชุมชนยังขาดความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับการวางแผนงาน ซึง่ เป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับเชิงนโยบาย
ชุมชนอาจมองว่าเป็ นเรือ่ งทีย่ ากและจําเป็นต้องอาศัยผูเ้ ชีย่ วชาญในการวางแผนให้ บางครัง้ การใช้
ภาษาเฉพาะทีเ่ ป็ นทางการ ในการเขียนแผนหรือสรุปเป็นแผนการปฏิบตั งิ านอาจ กลายเป็นอุปสรรค
ทําให้ชมุ ชนไม่กล้าพูด หรือแสดงความคิดเห็นต่อทีป่ ระชุม เพราะชุมชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาถิน่ ล้านนา
(คําเมือง) ในการสือ่ สารระหว่างกัน และจากการประชุมแต่ละครัง้ ก็จะพบว่าเป็น ผูส้ งู อายุ ได้แ ก่ ผูน้ ํา
ชุมชน ผูน้ ํากลุม่ ทอผ้าพืน้ เมืองต่างๆ หรือผูเ้ ชีย่ วชาญทีเ่ ป็นปราชญ์ชาวบ้านซึง่ ล้วนแต่อายุมากแล้ว
จึงทําให้ไม่สามารถแปลงภาษาท้องถิน่ เป็นภาษาเขียนทางราชการได้ดเี ท่าทีค่ วร นอกจากนี้ระดับ
การศึกษาของชุมชนโดยภาพรวมไม่สงู มากนัก จึงไม่มคี วามมันใจในการร่ ่ วมประ ชุมวางแผน หรือ
เสนอความคิดเห็นต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจยั ของ ศิรกิ าญจน์ โกสุมภ์
(2542: 56) ทีไ่ ด้กล่าวถึงระดับการมีสว่ นร่วม ของชุมชนแบบชายขอบ (marginal participation) ซึง่
เป็นลักษณะการร่วมมือหรือการทํากิจกรรมร่วมกันกับชุมชนทีม่ ขี อ้ จํากัดอันทําให้การมีสว่ นร่วมไม่
77

เต็มทีค่ อื มีน้อยนันเอง ่ ข้อจํากัดนี้อาจเกิดจากความสัมพันธ์เชิงอํานาจทีไ่ ม่เท่าเทียมกันระหว่าง


2 ฝา่ ย ฝา่ ยหนึ่งรูว้ า่ ตนเองด้อยอํานาจกว่า หรือมีทรัพยากรเชิงอํานาจ เช่น เป็นผูม้ คี วามรูน้ ้อยกว่า
จึงทําให้ไม่ปรารถนาเข้ามามีสว่ นร่วมอย่างเต็มที่ นันคื ่ อความเข้มของการมีสว่ นร่วมน้อย
2. จากการศึกษาวิจยั พบว่าปญั หาและอุปสรรคในการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อม ตําบลทุง่ โฮ้ง โดยภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก เมือ่ พิจารณารายด้านพบว่า มีปญั หาและ
อุปสรรคอยูใ่ นระดับมากทุกด้าน โดยปญั หาทีช่ ุมชนมองว่าเป็ นปญั หาหลักๆ คือ การขาดความรู้
และความเข้าใจ ตลอดจนความตระหนักในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมอย่างแท้จริง ซึง่ หากวิเคราะห์
ข้อมูลจากการสนทนากลุม่ พบว่า เยาวชนรุน่ หลัง เช่น กลุม่ วัยรุน่ หรือ นักเรียน นักศึกษา มักจะ
ละเลยไม่สนใจและเริม่ จะมองข้ามศิลปะวัฒนธรรม และศิลปะพื้นบ้านอันงดงามของตนไป แต่ในทาง
กลับ กันมักจะ ไปนิยมชมชอบวัฒนธรรมใหม่ๆ ทีเ่ ข้ามาตามยุคตามสมัยแทน อีกทัง้ การรณรงค์ก็
เกิดขึน้ หรือมีให้เห็นน้อยมาก หากมีบา้ งก็จะเป็นกิจกรรมทีท่ าง จังหวัด หรือทางราชการจัดขึน้ ปีละ
ไม่กค่ี รัง้ และก็ไม่ได้สร้างความตระหนักให้กบั เยาวชนรุ่ นใหม่มากนัก หากจะวิเคราะห์ในอีกแง่มมุ
หนึ่งคือ ครอบครัวซึง่ ถือได้วา่ เป็ นสถาบันหลักทางสังคมทีม่ สี ว่ นในการปลูกฝงั แนวคิด ค่านิยม และ
ความตระหนักในเรือ่ งต่างๆ ได้ดที ส่ี ดุ แต่กไ็ ม่ได้ปลูกฝงั ในเรือ่ งของการอนุรกั ษ์ศลิ ปวัฒนธรรม
โดยเฉพาะผ้าหม้อห้อมศิลปะพืน้ บ้านทีอ่ าจ กล่าวได้ว่า เป็ นเอกลักษณ์อนั ลํ้าค่าหนึ่งเดียวและแห่ง
เดียวในโลกได้ดเี ท่าทีค่ วร บางครอบครัวละเลยโดยสิน้ เชิง บางครอบครัวก็ปลูกฝงั บ้างแต่กใ็ น
ลักษณะทีผ่ วิ เผิน จึงส่งผลทําให้การดําเนินการในการอนุรกั ษ์ไม่สามารถบรรลุผลเท่าทีค่ วร และเป็น
ปญั หาทีต่ ่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่ มมากขึน้ เรือ่ ยๆ เนื่องจากปจั จัยภายในตัวบุคคลมีอทิ ธิพลต่อการ
แสดงออกทางด้านพฤติกรรม หากไม่มแี รงขับหรือแรงกระตุน้ จากภายในตัวบุคลแล้ว การกระทําจึง
ไม่ปรากฏผลเท่าทีค่ วร เพราะ ผ้าพืน้ เมืองนัน้ ถือ เป็ นศิลปหัตถกรรมไทยทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะถิน่
ดังทีว่ บิ ลู ย์ ลีส้ ุวรรณ (2532: 61) ได้กล่าวไว้ว่า ผ้าพืน้ เมืองนัน้ เป็ นศิลปหัตถกรรมไทยทีม่ เี อกลักษณ์
เฉพาะถิน่ ต่างกันไป แต่ดว้ ยความเปลีย่ น แปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ทําให้ผา้ ทอบางชนิดเปลีย่ น
รูปแบบไป จึงนับเป็ นงานศิลปหัตถกรรมประเภทหนึ่งทีค่ วรได้รบั การอนุรกั ษ์ไว้ หัตถกรรมท้องถิน่
พืน้ บ้านพืน้ เมืองนัน้ ถือได้วา่ เป็ นสิง่ ผลิตพืน้ ฐานของชีวติ มาแต่อดีต และเป็นสิง่ ของเครือ่ งใช้ทม่ี คี วาม
จําเป็นในการดํารงชีพตามสภาพความเป็นอยูข่ องแต่ละกลุม่ ชน สิง่ เหล่านัน้ จะผลิตขึน้ เพือ่ สนอง
ประโยชน์ใช้สอยและสนองความเชื่อของบุคคลในกลุ่ มชนเป็นสําคัญ และเนื่องจากวัฒนธรรมพืน้ บ้าน
นัน้ มีความสําคัญในท้องถิน่ คือ วัฒนธรรมท้องถิน่ หรือวัฒนธรรมพืน้ บ้านเป็นวัฒนธรรมทีค่ นธรรมดา
สามัญกลุม่ หนึ่งคิดขึน้ และปฏิบตั สิ บื ทอดกันมาทัง้ นี้กเ็ พือ่ ความเป็นระเบียบในสังคม อีกทัง้ สามารถ
แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมความเจริญรุง่ เรือง หรือความก้าวหน้าของสังคมในอดีตซึง่ เป็นฐานเชือ่ มโยง
มาถึงปจั จุบนั
3. จากการศึกษาวิจยั พบว่าปญั หาและอุปสรรคในการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ด้านการรักษาธํารงไว้ ทีส่ าํ คัญประเด็นหนึ่ง คือ มีการเลียนแบบวัตถุดบิ
และกรรมวิธอี ่นื ทีไ่ ม่ใช่แบบดัง้ เดิ ม ทําให้อตั ลักษณ์ถกู ทําลายไป เช่น จากการสนทนากลุม่ สามารถ
วิเคราะห์ได้วา่ ในสภาพปจั จุบนั นี้ชมุ ชนตําบลทุง่ โฮ้งทีม่ สี ว่ นในการผลิตผ้าหม้อห้อม บางครัวเรือน
78

ไม่ได้ผลิตตามขัน้ ตอนแบบดัง้ เดิม ทําให้คุณภาพของผ้าหม้อห้อมเปลีย่ นไปจากเดิม เช่น การย้อม


ด้วยต้นห้อมทีเ่ ป็ นพืชธรร มชาติและเป็นทีม่ าของชือ่ ผ้าหม้อห้อมก็ลดน้อยลง เพราะมีขนั ้ ตอนและ
กรรมวิธตี ลอดจนเทคนิคเฉพาะทีค่ อ่ นข้างซับซ้อนและละเอียดอ่อน อีกทัง้ ยังต้องใช้ระยะเวลาในการ
เตรียมสียอ้ มจากต้นห้อมนานพอสมควร จึงส่งผลทําให้หลายครัวเรือนใช้สสี งั เคราะห์แทนซึง่ มีความ
รวดเร็วและสามารถผลิ ตได้ทนั ตามความต้องการของลูกค้า แต่สง่ิ ทีต่ ามมาและมีความสําคัญยิง่ ก็
คือ เป็ นการทําลายอัตลักษณ์ของผ้าหม้อห้อมแบบดัง้ เดิมไปโดยไม่รตู้ วั ซึง่ สอดคล้องกับที่
ณัฏฐภัทร จันทวิช (2547: 20) ได้กล่าวไว้วา่ การทอผ้าพืน้ เมืองในปจั จุบนั ได้เปลีย่ นแปล งจากการ
ผลิตเพือ่ ใช้ในครัวเรือนมาเป็ นการผลิตเพือ่ จําหน่ายและกําลังจะเติบโตขึน้ เป็นอุสาหกรรมในอนาคต
เพือ่ ตอบสนองความนิยมและความต้องการในการใช้ผา้ พืน้ เมืองทีเ่ พิม่ มากขึน้ จึงเกิดการทอผ้าด้วย
เครือ่ งจักรมากขึน้ รวมทัง้ มีการมัดลายขายส่งให้ผทู้ อซือ้ ไปทอได้เลย ทําให้ ขาดความคิดสร้างสรรค์
ของช่างทอและทําให้ลายดัง้ เดิมของแต่ละถิน่ ลดความสําคัญลง เกิดการนําลายต่างถิน่ มาทอ
ผสมผสานขาดความเป็ นเอกลักษณ์ของแต่ละถิน่ ทีม่ มี าแต่เดิม นอกจากนี้ยงั สอดคล้องกับผลการวิจยั
ของ วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ (2530: 61) ที่กล่าวถึง ปญั หาของการทอผ้าพืน้ เมืองไว้ ส่วนหนึ่งว่า แต่เดิม
ชาวบ้านสามารถผลิตวัตถุดบิ ได้เอง ไม่วา่ จะเป็นการปลูกฝ้ายหรือเลีย้ งไหม แต่ดว้ ยการขาดความรู้
ความเข้าใจ ไม่สามารถพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้ผลดี ทําให้ผลิตได้น้อยไม่คมุ้ ทุน คุม้ เวลา
เชื่อมโยงไปถึงกรรมวิธกี ารผลิ ตสืบเนื่อง เช่น การย้อม การป ั ่ นฝ้าย ซึง่ เป็ นกรรมวิธพี น้ื บ้านทีไ่ ม่ได้
พัฒนาปรับปรุงด้วยการศึกษาวิเคราะห์วจิ ยั อย่างลึกซึง้ ชาวบ้านทําไปด้วยความสามารถของตน
แม้วา่ ทางราชการจะเข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมอยูบ่ า้ งแต่กย็ งั ไม่เพียงพอ ช่างทอผ้าพืน้ เมืองส่วน
ใหญ่เลิกผลิตวัตถุดบิ เอง หันไปซือ้ วัตถุดบิ สําเร็จรูปจากภายนอก ทําให้ผา้ พืน้ เมืองเปลีย่ นรูปแบบไป
ขาดเอกลักษณ์เฉพาะถิน่ ทีท่ าํ ให้ไม่ได้รบั ความนิยมเท่าทีค่ วร และการใช้วตั ถุดบิ สําเร็จรูปจากผูแ้ ทน
จําหน่ าย ยังนําไปสู่การลงทุนแบบกูย้ มื ในลักษณะตกเขียว เป็ นการผูกมัดช่างทีม่ กั ไม่ได้รบั ความเป็น
ธรรม เป็นการก่อหนี้สนิ ให้แก่ช่างทอผ้าและเกีย่ วโยงไปถึงการผูกมัดผลผลิต ช่างทอจะไม่มโี อกาส
เป็นผูก้ าํ หนดราคาผลผลิตและค่าแรงงานของตนเองได้
4. จากการสนทนากลุม่ ตัวแทนของชุมชน พบว่า แนวทางการให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นในการ
อนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุ่งโฮ้ง ทีค่ วรจะทําให้ทาํ ให้เกิดขึน้ เป็นลําดับแรก ๆ คือ การจัดอบรมให้
ความรูแ้ ก่ชมุ ชนเกีย่ วกับ การอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมเพื่อให้ชุมชนได้เกิดความรูค้ วามตระหนักก่อน โดย
อาจจะอยูใ่ นรูปแบบของการส่งเสริมแนวทางในการอนุร ั กษ์หรือรักษาวัฒนธรรมของการทอผ้าและ
วิธกี าร ได้แก่ การจัดการอบรมหรือการเรียนการสอนในระดับนักเรียน โดยร่วมมือกับทางโรงเรียน
เพราะเป็นศูนย์รวมของเยาวชนและสามารถจัดกิจกรรมได้เป็นอย่างดีทส่ี ดุ เพือ่ เป็นการวางพืน้ ฐาน
และก่อให้เกิดจิตสํานึกทีม่ นคง
ั ่ รวมทัง้ การจัดกิจกรรมเพือ่ การอนุรกั ษ์ และสถานทีส่ าํ หรับจัด
เผยแพร่ศลิ ปะของการผลิตผ้าหม้อห้อม อันได้แก่ การรณรงค์การแต่งชุ ดผ้า หม้อห้อม หรือ
ผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อม ในโอกาสงานพิธกี ารทีส่ าํ คัญในพืน้ ทีแ่ ละการจัดตัง้ ศูนย์ขอ้ มูลหรือ
ห้องสมุดสําหรับศึกษาศิลปวัฒนธรรมของการ ทําผ้าหม้อห้อม โดยเป็นแหล่งเพือ่ การค้นคว้าอ้างอิง
ของชาติต่อไป และทีส่ าํ คัญบุคคลทีจ่ ะเป็ นผูถ้ ่ายทอดความ รูจ้ ะต้องเป็ นผูท้ ่ี มีความรูแ้ ละเชีย่ วชาญ
79

เกีย่ วกับผ้าหม้อห้อมอย่างลึกซึง้ อาทิเช่น ปราชญ์ชาวบ้าน เพราะบุคคลเหล่านี้มคี วามรูท้ ส่ี งสมมาั่


ยาวนานอีกทัง้ เป็ นแหล่งข้อมูลปฐมภูมทิ ค่ี ่อนข้างถูกต้องชัดเจน และเชื่อถือได้ ดังทีพ่ งศ์ศริ ิ นาคพงศ์
(2536: 18) กล่าวว่า การอนุรกั ษ์และสืบทอดหั ตถศิลป์ผา้ พืน้ เมือง ส่วนหนึ่ งคือควรมี ผถู้ ่ายทอด
วิทยาการ เพือ่ ให้ชมุ ชน ได้เห็นคุณค่า ซึง่ ส่วนมากคนไทยเราจะรักลูกหลาน ใครทีม่ คี วามรูจ้ กั คุน้ มี
ความเป็นลูกเป็ นหลานก็จะถ่ายทอดศิลปวิทยาการให้ ฉะนัน้ เราจึงต้องยกย่องศิลปินไม้ใกล้ฝงเหล่ ั ่ านี้
ส่วนผูร้ บั การถ่ายทอดก็ควรจะมีรายได้เพียงพอแก่การดํารงชีวติ นอกเหนือไปจากการผลิตศิลปะด้าน
นี้เพือ่ การสันทนาการ นอกจากนี้ยงั ได้แนวทางในการอนุรกั ษ์ผา้ ผ้าห้อมทีส่ าํ คัญอีกประการ คือ ควร
ผลักดันให้เข้าสูห่ ลักสูตรสถานศึกษา เพือ่ ให้เยาวชนได้มคี วามรูเ้ กีย่ วกับอัตลักษณ์ของชุมชนของตน
ซึง่ สอดคล้อ งกับงานวิจยั ของ Epstein และ Jansorn (2004) ทีก่ ล่าวไว้วา่ ผูบ้ ริหารควรสร้างความ
ตระหนักให้ให้ทกุ คนเห็นความสําคัญของการร่วมมือรวมพลังของชุมชนในการจัดการศึกษา และ
งานวิจยั ของ Baker (2000) ทีก่ ล่าวว่า สถานศึกษาควรมีการจัดอบรมครูและบุคลากรในโรงเรียน
เกีย่ วกับวิธ ีการทํางานร่วมกับชุมชนทัง้ นี้เพื่อส่งเสริมการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมได้อกี ช่องทางหนึ่งและ
เป็นการพัฒนาท้องถิน่ อย่างยังยื ่ น
5. จากการสนทนากลุม่ ตัวแทนของชุมชน พบว่า แนวทางการให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นในการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมตําบลทุง่ โฮ้ง ด้านการธํารงรักษาไว้ ทีส่ าํ คัญคือ ควรจั ดให้มสี ถานทีเ่ ก็บรักษาผ้า
หม้อห้อมโดยเฉพาะ และมีนกั วิชาการทําหน้าทีด่ แู ลโดยเฉพาะ เช่น สร้างเป็ นพิพธิ ภัณฑ์เกีย่ วกับผ้า
หม้อห้อม เพือ่ เป็ นแหล่งการเรียนรูข้ องชุมชนและของประเทศ เนื่องจากปจั จุบนั ชาวบ้านมีการเก็บ
รักษากันเองและมักจะเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากปจั จั ยหลายประการ เช่น อุณหภูมแิ ละแสดง
สว่างจะต้องคงที่ และปราศจากแมลงและสัตว์ต่างๆ เป็นต้น เหตุผลสําคัญทีใ่ ห้ชาวบ้านนิยมเก็บผ้าไว้
เอง คือ ต้องการเก็บไว้ให้ลกู หลานของตนโดยถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมทีส่ ง่ ต่อกันจากรุน่ สูร่ นุ่ และ
ล้วนแต่มมี ลู ค่า ตามกาลเวลาทีผ่ า่ นไป ดังนั ้ นจึงมักจะเก็บรักษาไว้เอง โดยน้อยคนทีจ่ ะบริจาคหรือ
มอบให้ทางราชการ หรือหน่ วยงาน เช่น พิพธิ ภัณฑ์เก็บรักษาไว้แทน ซึง่ การเก็บรักษาของแต่ละ
ครัวเรือนก็ไม่ได้คาํ นึงถึงคุณภาพหรือหลักการทีถ่ ูกต้องเท่าทีค่ วร ส่วนมากเก็บไว้ในตูท้ ค่ี ดิ ว่า
ปลอดภัยจากการถูกลักขโมยเท่านัน้ เอง ซึง่ จริงๆ แล้ว การเก็บรักษาผ้าหม้อห้อม มีรายละเอียดทีต่ อ้ ง
คํานึงถึงอีกมากมาย เช่น ระดับความเข้มข้นของแสง ความชืน้ การถ่ายเทของอากาศ หรือแม้กระทัง่
การพับเก็บ เป็ นต้น ล้วนแต่สง่ ผลต่อคุณภาพ ของผ้าหม้อห้อมในระยะยาวทัง้ สิน้ ดังที่ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร (2544) ได้เสนอวิธกี ารเก็บรักษาผ้าโบราณไว้วา่ วิธกี ารอนุรกั ษ์ผา้ โบราณทีม่ ปี ระสิทธิภาพ
สูงทีส่ ดุ คือ การเก็บรักษาผ้าโบราณไว้ในทีป่ ลอดภัยจากภยันตรายทัง้ ปวง การนําผ้าโบราณมาจัด
แสดงการทําลายผ้าโบราณโดยไม่รตู้ วั ผ้าโบราณทีน่ ํามาจัดแสดงเป็นเวลานาน จะมีสภาพทรุดโทรม
อย่างเห็นไดชั ด เนื่องจากสาเหตุต่างๆ วิธกี ารเก็บรักษาผ้าโบราณมีผลอย่างมากต่อการ “คงสภาพ”
หรือ “เสือ่ มสภาพ” ของผ้าโบราณ หากเก็บรักษาด้วยวิธที ถ่ี กู ต้องจะสามารถยืดอายุของผ้าโบราณ
ออกไปได้อกี ยาวนานมาก ในทางตรงกันข้ามหากเก็บรักษาด้วยวิธกี ารทีไ่ ม่ถกู ต้องผ้าโบราณจะเสือ่ ม
ชํารุดหมดสภาพเพิม่ ขึน้ ไปทุกชัวขณะ่ ผูท้ าํ หน้าทีเ่ ก็บรักษาผ้าโบราณควรปฏิบตั ติ ามข้อแนะนําอย่าง
เคร่งครัด
80

ข้อเสนอแนะสําหรับการนําผลการวิ จยั ไปใช้


1. เนื่องจากการวิจยั ครัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั เก็บข้อมูลจากกลุม่ ตัวอย่างทีเ่ ป็ นชุมชนซึง่ มีอตั ลักษณ์
เฉพาะด้าน นันคื ่ อ ผ้าหม้อห้อม ดังนัน้ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลทีไ่ ด้จะสะท้อนสภาพปจั จุบนั ในการมี
ส่วนร่วมของชุมชนในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม สภาพปญั หาและอุปสรรค และแนวทางในการอนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อม ของชุมชนตําบลทุ่งโฮ้งเท่านัน้ ดังนัน้ ในการนําผลการวิจยั ไปใช้โดยเฉพาะการนําผล
การจัดลําดับความสําคัญของ ปญั หาและอุปสรรค เพื่อนําผลไปแก้ปญั หาควรทีจ่ ะนําผลการวิเคราะห์
ในระดับมากทีส่ ดุ ไปดําเนินการก่อนเพือ่ สนองความต้องการจําเป็นของชุมชน
2. จากการศึกษา ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเกีย่ วกับระดับการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง พบว่า ชุมชนมีสว่ นร่วมใน การวางแผนน้อยทีส่ ดุ ดังนัน้ ควรเปิด
โอกาสให้ชมุ ชนได้เข้ามามีบทบาทในการประชุมหารือ ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ
เกีย่ วกับการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมให้มากขึน้ อาจจะเป็นลักษณะของการจัดประชุมแบบมีสว่ นร่วมหรือ
เปิดเวทีในการร่วมวางแผนต่างๆ ให้มากขึน้ เพือ่ ให้ประชาชนได้แสดงศักยภาพและเ ป็นส่วนหนึ่งใน
การวางนโยบายต่างๆ
3. สําหรับแนวทางในการให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมนัน้ มีหลาย
แนวทาง ซึง่ ได้เสนอไว้เป็ นภาพรวมและเป็นแนวทางทีไ่ ด้กลันกรองพิ ่ จารณาจากผูท้ รงคุณวุฒวิ า่ เป็ น
แนวทางทีม่ คี วามเหมาะสมในระดับหนึ่งแล้ว แต่สาํ หรับการนําไปปฏิบ ั ติจริงนัน้ ควรพิจารณาถึง
บริบทของชุมชน โอกาส และความเป็ นไป ด้วย โดยสามารถเลือกแนวทางทีค่ ดิ ว่าดีทส่ี ุดไปปฏิบตั ิ
ก่อนเพราะไม่มแี นวทางใดที่เหมาะสมทีส่ ดุ สําหรับในการให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการ อนุรกั ษ์ผ า้
หม้อห้อม แต่การสร้างความตระหนักให้ทกุ ฝา่ ยทีเ่ กีย่ วข้องเห็นถึ งความสําคัญของการ อนุรกั ษ์ผ า้
หม้อห้อมตลอดจนการให้ความรูเ้ ป็ นสิง่ ทีค่ วรทําเป็นลําดับแรก เพราะจะเป็นหนทางไปสูแ่ นวทางการ
ปฏิบตั อิ ่นื ๆ

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิ จยั ต่อไป


1. การศึกษาในครัง้ นี้เป็ นการศึกษาการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการ อนรักษ์ผา้ หม้อห้อม
กรณีศกึ ษาตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ เท่านัน้ ดังนัน้ ในการวิจยั ครัง้ ต่อไปควรมีการศึกษา
หลากหลายพืน้ ที่ (พหุกรณี ) เพือ่ ศึกษาเปรียบเทียบการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการ อนุ รกั ษ์ผา้ หม้อ
ห้อมในแต่ละพืน้ ที่ เพือ่ จะได้ขอ้ มูล และสารสนเทศทีห่ ลากหลายขึน้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวาง
แนวทางในการให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมทีเ่ หมาะสมต่อไป
2. เนื่องจากข้อมูลเกีย่ วกับแนวทางในการให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการ อนุ รกั ษ์ผา้ หม้อ
ห้อม เป็นข้อมูลทีไ่ ด้จากการตอบแบบสอบถามและการสนทนากลุม่ เท่านัน้ ดังนัน้ หากมีการวิจยั
ต่อไป ควรจะนําแนวทางทีไ่ ด้ไปทดล องปฏิบตั ิ และทําการทดสอบเพือ่ เปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลของแนวทางในการให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการ อนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ต่อไป
เพือ่ ให้ทราบความเป็ นไปได้และความเหมาะสมของแนวทางการให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมใน การอน
รักษ์ผา้ หม้อห้อมอย่างแน่ ชดั
81

3. งานวิจยั นี้เ ก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มเก็บข้อมูลเพื่อหา


แนวทางใน อนุ รกั ษ์ผา้ หม้อห้อมเฉพาะกลุ่มผูท้ รงวุฒเิ ท่านัน้ การวิจยั ต่อไปควรเก็บข้อมูล จาก
หลากหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มอาชีพต่างๆ กลุ่มผูค้ า้ ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม เป็ นต้น แล้ว
ทําการศึกษาเปรียบเที ยบความคิดเห็น เนื่องจาก ปจั จัยด้านอาชีพ หรือวัยวุฒ ิ อาจมีความ คิดเห็น
หรือมุมมองทีแ่ ตกต่างกัน อันจะทําให้คน้ พบข้อมูลทีล่ กึ ซึง้ มากขึน้
บรรณานุกรม
83

บรรณานุกรม

กนกวรรณ ชูชพี . (2543). กรณีศกึ ษาคุณลักษณะของผูด้ าํ เนินการสนทนาในการวิจยั แบบสนทนากลุ . ม่


วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
กรรณิการ์ ชมดี. (2524). การมีสว่ นร่วมของประชาชนทีม่ ผี ลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ: ศึกษาเฉพา
กรณี โครงการสารภี ตําบลท่าช้าง อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์.
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
การพัฒนาชุมชน, กรม. (2529). รายงานการวิจยั เรือ่ งปจั จัยทีม่ ผี ลต่อการมีสว่ นร่วมของสมาชิก
องค์กรสตรีในการพัฒนาชนบท: ศึกษาเฉพาะ กพสม. กรุงเทพฯ: กองการวิจยั และ
ประเมินผล.
การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย. (2535). “เทอดหัตถา” สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ
กับงานศิลปวัฒนธรรมพืน้ บ้านไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์พลชัย.
จารุวรรณ ขําเพชร; และรวิญา พนาพฤกษ์ไพร. (2536). พัฒนาการผ้าหม้อห้อม เมืองแพร่ .
ดดดดดด กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสําเนา.
จิราภรณ์ อรัณยะนาค. (2536). การศึกผ้าจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริน้ ติง้ แอนด์พลับลิชชิง่ .
ชูเกียรติ ลีสวุ รรณ์. (2541). แนวคิดและแนวทางเตรียมการวิจยั ทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรม
ศาสตร์ สําหรับคนรุน่ ใหม่. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฏฐภัทร จันทวิช. (2547). ผ้าทอพืน้ เมืองภาคเหนือ (ล้านนา). กรุงเทพฯ: สํานักพิพธิ ภัณฑสถาน
แห่งชาติ กรมศิลปากร.
ทวีทอง หงส์ววิ ฒ ั น์. (2527). การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ ์สภาการพิมพ์.
ทรงศักดิ ์ ปรางค์วฒ ั นากุล; และแพทรีเซีย ซีสแมน แน่ นหนา. (2536). นิทรรศการผ้าเอเชีย :
กกกกกก มรดกร่วมทางวัฒนธรรม. ในผ้าเอเชียมรดกร่วมทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ:
กกกกกก อมรินทร์พริน้ ติง้ แอนด์พบั ลิชชิง่ .
นิรนั ดร์ จงวุฒเิ วศย์. (2527). แนวนโยบายวิธกี ารส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของประชาชนในการพัฒนา
ชุมชน. กรุงเทพฯ: ศักดิ ์สภาการพิมพ์.
นําชัย ทนุ ผล. (2531). วิธกี ารเตรียมโครงการวิจยั . เชียงใหม่: สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้.
นิภาพรรณ หงส์ชเู กียรติ. (2544). สภาพและปญั หาการมีสว่ นร่วมของผูป้ กครองในการดําเนินงาน
ของศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาล. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
บุญส่ง เอือ้ อรุณ. (2548). การสร้างหน่ วยการเรียนรูเ้ รือ่ งผ้าหม้อห้อมภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ สูงเม่น
โรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ เขตพื้นทีก่ ารศึกษาแพร่ เขต 2. วิทยานิพนธ์. เชียงใหม่: บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ถ่ายเอกสาร.
84

ปรัญญา เวสารัชช์. (2530). รายงานการวิจยั เรือ่ งการมีสว่ นร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพือ่ พัฒนา


ชนบท. กรุงเทพฯ: สถาบันคดีศกึ ษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปฏิรปู การศึกษา, สํานักงาน. (2543). พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กรุงเทพฯ: คุรุ
สภาลาดพร้าว.
พงศ์ศริ ิ นาคพงศ์. (2536). อันเนือ่ งมาจากลวดลายและสีสนั บนผืนผ้าไทยพืน้ เมืองในภาคกลาง. ในผ้า
ไทย: อดีต ปจั จุบนั และอนาคต: สัมมนาวิชาการ.
พียาลิน สาริยา. (2542). การศึกษาความรูแ้ ละความคิดเห็นเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ทศั นศิลป์พน้ ื บ้านของ
นักศึกษาสถาบันราชภัฏนครราชสีมา. รายงานการวิจยั คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
พูลศรี ไม้ทอง. (2543). การศึกษาการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิน่ ในระดับ
มัธยมศึกษาของโรงเรียนทีไ่ ด้รบั การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์.
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
โพธิ ์ แซมลําเจียก. (2537). ตํานานไทยพวน. กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์ พริน้ ติง้ .
มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2544). โครงการพัฒนาผ้าพืน้ เมืองในทุกจังหวัดของประเทศ. ผ้าทอพืน้ เมือง:
การสํารวจผูผ้ ลิตทัวประเทศ.
่ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุพนิ ศรี สายทอง. (2528). งานทอ. กรุงเทพฯ: โอ เอส. พริน้ ติง้ เฮ้าส์.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธวี ทิ ยาการวิจยั ทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วิเชียร วงศ์วเิ ศษ. (2525). ไทยพวน. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางละมัย วงศ์วเิ ศษ.
วิบลู ย์ ลีส้ ุวรรณ. (2530). ผ้าไทย : พัฒนาการทางอุตสาหกรรมและสังคม . กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริน้ ติง้ กรุ๊ฟ.
-------------. (2532). ศิลปหัตถกรรมไทย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ศรินทร์ทพิ ย์ จานศิลา. (2540). การศึกษาการมีสว่ นร่วมของประชาชน ภาคธุรกิจเอกชนและสมาคม
พัฒนาประชากรและชุมชนในการพัฒนาทักษะอาชีพในโครงการธุรกิจเพือ่ สังคม จังหวัด
บุร รี มั ย์. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
ศิรกิ าญจน์ โกสุมภ์. (2542). การมีสว่ นร่วมของชุมชนและโรงเรียนเพือ่ การจัดการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน
วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ศูนย์ขอ้ มูลเมืองโบราณ. (2534, กรกฏาคม – กันยายน). รายงานผ้าไทย: ลึกลงไปในลวดลาย และ
สีสนั . เมืองโบราณ. 17: 132 – 135.
สารานุกรมไทย สําหรับเยาวชน เล่ม 21. (2540). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สุมติ รา วีรณรงค์กร. (2550). ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตเสื้อหม้อห้อมในตําบลทุ่งโฮ้ง
อําเภอเมือง จังหวัดแพร่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ถ่ายเอกสาร.
สุรางรัตน์ ช้างคํา. (2545). อาชีพอิสระทีป่ ระสบผลสําเร็จในจังหวัดแพร่ “ผ้าหม้อห้อมเมืองแพร่.
กกกกกกกรุงเทพฯ: กรมการจัดหางาน.
85

สุวมิ ล ว่องวาณิช. (2548). การวิจยั ประเมินความต้องการจําเป็ น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์


มหาวิทยาลัย.
สีวลา วงศ์ไฟบูลย์วฒ ั น. (2543). การดําเนินงานในธุรกิจผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมของผูป้ ระกอบการใน
อําเภอเมือง จังหวัดแพร่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ถ่ายเอกสาร.
ส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรม. (2526). ผ้ามัดหมี.่ กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสําเนา.
อคิน ระพีพฒ ั น์. (2527). การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาสังคมและวัฒนธรรมไทย .
กรุงเทพฯ: ศักดิ ์โสภณการพิมพ์.
Baker, P. A. (2000). Measurement of Community Participation and Use of Leisure by Service
Users with Intellectual Disabilities: the Guernsey Community Participation and
Leisure Assessment (GCPLA). 13(3): 169–185.
Epstein, J.L.; & Janson, N.R. (2004). Developing Successful Partnership Programs Principal.
83(3): 10 – 15.
Yamane, T. (1967). Elementary sampling theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
ภาคผนวก
87

ภาคผนวก ก
รายนามผูท้ รงคุณวุฒิ / ผูเ้ ชี่ยวชาญ
88

รายนามผูท้ รงคุณวุฒิ / ผูเ้ ชี่ยวชาญ


การแนะนํา / ตรวจสอบและแก้ไขเครื่องมือสําหรับการวิ จยั

1. รองศาสตราจารย์วรรณรัตน์ ตัง้ เจริญ อาจารย์ประจําสาขาวิชาออกแบบทัศนศิลป์


คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

2. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์จกั รพงษ์ แพทย์หลักฟ้า อาจารย์ประจําสาขาวิชาศิลปศึกษา


คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

3. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ศิรยิ ภุ า พูลสุวรรณ อาจารย์ประจําคณะศึกษาศาสตร์


มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
89

ภาคผนวก ข
เครือ่ งมือที่ใช้ในการวิ จยั

1. ตัวอย่างแบบสอบถามเพื่อการวิ จยั เรือ่ ง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้


หม้อห้อม: กรณี ศึกษาตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่
2. แนวทางในการสนทนากลุ่ม
90

แบบสอบถามเพื่อการวิจยั
เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม: กรณี ศึกษา
ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่

เรียน ท่านผูต้ อบแบบสอบถามทุกท่าน

แบบสอบถามนี้มวี ตั ถุ ประสงค์เพือ่ สํารวจระดั บการมีสว่ นร่วมของชุมชน สภาพปญั หา และ


แนวทางในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม : กรณีศกึ ษาตําบลทุง่
โฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ซึง่ การวิจยั ครัง้ นี้จะประสบความสําเร็จและลุล่วงไปได้ดว้ ยดีนนั ้ อัน
เนื่องมาจากความอนุ เคราะห์ของท่านในการตอบแ บบสอบถาม ผูว้ จิ ยั ถึงขอความกรุณาให้ทา่ นตอบ
แบบสอบถามตามความเป็ นจริง และครบทุกข้อ ทุกตอน ซึง่ จะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของการวิจยั

ขอขอบพระคุณอย่างสูงยิ ง่ ในความร่วมมือ
ผูว้ จิ ยั : นางสาวภาวินี อินทวิวฒ
ั น์

อาจารย์ผคู้ วบคุมวิทยานิพนธ์: รศ.พฤทธิ ์ ศุภเศรษฐศิร ิ


สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คําชี้แจง
แบบสอบถามแบ่งข้อคําถามออกเป็ น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลพืน้ ฐานของผูต้ อบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ข้อมูลเกีย่ วกับระดับการมีสว่ นร่วมของชุม ชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ตอนที่ 3 ข้อมูลเกีย่ วกับสภาพปญั หาและอุปสรรคในการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อ
ห้อม
ตอนที่ 4 ข้อมูลเกีย่ วกับแนวทางในการให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
91

ตอนที่ 1 ข้อมูลพืน้ ฐานของผูต้ อบแบบสอบถาม


คําชี้แจง โปรดทําเครือ่ งหมาย  ลงใน  หรือกรอกข้อความลงในช่องว่างตรงกับความเป็นจริง
เกีย่ วกับตัวท่าน

1. เพศ  (1) ชาย  (2) หญิง

2. อายุ  (1) 18 - 30 ปี  (2) 31 – 40 ปี


 (3) 41 – 50 ปี  (4) 51 – 60 ปี  (5) มากกว่า 60 ปี

3. ระดับการศึกษา  (1) ไม่ได้รบั การศึกษา  (2) ประถมศึกษา


 (3) ม.ต้น หรือเทียบเท่า  (4) ม.ปลาย หรือเทียบเท่า
 (5) ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า  (6) สูงกว่า ปริญญาตรี

4. อาชีพปจั จุบนั  (1) เกษตรกรรม  (2) รับจ้าง


 (3) ค้าขาย  (4) รับราชการ
 (5) รัฐวิสาหกิจ  (6) อื่นๆ ระบุ ....................

5. ระยะเวลาของการอาศัยในพืน้ ที่ ตําบลทุง่ โฮ้ง


 (1) ตํ่ากว่า 5 ปี  (2) 6 – 10 ปี
 (3) 11 – 20 ปี  (4) มากกว่า 20 ปี

6. รายได้ต่อเดือน ...................................... บาท

ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม


คําชีแ้ จง โปรดทําเครือ่ งหมาย  ลงในช่องว่าง แสดงระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนทัง้ ด้านการ
วางแผน การรักษาธํารงไว้ และการเผยแพร่ ทีส่ อดคล้องกับความต้องการของท่าน โดยมีเกณฑ์
การพิจารณาให้คะแนน ดังนี้
5 หมายถึง ท่านเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ในประเด็นนัน้ อยูใ่ นระดับ มากที่สดุ
4 หมายถึง ท่านเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ในประเด็นนัน้ อยูใ่ นระดับ มาก
3 หมายถึง ท่านเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ในประเด็นนัน้ อยูใ่ นระดับ ปานกลาง
2 หมายถึง ท่านเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ในประเด็นนัน้ อยูใ่ นระดับ น้ อย
1 หมายถึง ท่านเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ในประเด็นนัน้ อยูใ่ นระดับ น้ อยที่สดุ
92

ระดับการมีส่วนร่วม

ปานกลาง

น้ อยที่สุด
มากที่สุด

น้ อย
ข้อความ

มาก
5 4 3 2 1
การมีส่วนร่วมในการวางแผน (Planning)
1. ท่านมีสว่ นร่วมในการประชุมเกีย่ วกับกิจกรรมต่างๆ ในการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
2. ท่านมีสว่ นร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์
ผ้าหม้อห้อม
3. ท่านมีสว่ นร่วมในการเสนอแนวทางในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
ให้กบั กลุม่ อนุรกั ษ์ต่างๆ
4. ท่านมีสว่ นร่วมในการวางแผน/ วางกลยุทธ์ในการอนุรกั ษ์ผา้
หม้อห้อม
5. ท่านมีสว่ นร่วมในการค้นพบปญั หาและสาเหตุของปญั หา
เกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
6. ท่านมีสว่ นร่วมในการคิดหาวิธใี นการแก้ไขปญั หาเกีย่ วกับการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
7. ท่านมีสว่ นร่วมในการเป็ นคณะกรรมการ หรือสมาชิกของกลุม่
ทีเ่ กีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
8. ท่านมีสว่ นร่วมในการตัดสินหรือประเมินผลงานเกีย่ วกับผ้า
หม้อห้อม
9. ท่านมีสว่ นร่วมในการสร้างเครือข่ายผ้าหม้อห้อม
10. ท่านมีสว่ นร่วมในการรณรงค์การใช้วตั ถุดบิ แบบดังเดิ
้ มใน
การผลิตงานศิลปะต่างๆ จากผ้าหม้อห้อม
การมีส่วนร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative)
11. ท่านมีสว่ นร่วมในการสอดส่องดูแลผูใ้ ช้ผา้ หม้อห้อมในทางที่
ไม่เหมาะไม่สม
12. ท่านมีสว่ นร่วมในการออกแบบลวดลายผ้าหม้อห้อมชนิดต่างๆ
13. ท่านมีสว่ นร่วมในการศึกษาประวัตคิ วามเป็ นมาของผ้าหม้อ
ห้อมอย่างลึกซึง้
14. ท่านมีสว่ นร่วมในการเป็ นสมาชิกกลุม่ / สมาคม หรือ ชมรมที่
เกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม
15. ท่านเคยร่วมประกวดเกีย่ วกับผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม
16. ท่านมีสว่ นร่วมในการบริจาค เงิน/สถานที/่ วัสดุอปุ กรณ์ต่างๆ
ในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
93

ระดับการมีส่วนร่วม

ปานกลาง

น้ อยที่สุด
มากที่สุด

น้ อย
ข้อความ

มาก
5 4 3 2 1
17. ท่านมีสว่ นร่วมในกิจกรรมต่างๆ เกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อ
ห้อม
18. ท่านมีสว่ นร่วมในการเลือกใช้ผา้ หม้อห้อมทีม่ คี วามเป็ น
เอกลักษณ์ดงั ้ เดิม
19. ท่านมีสว่ นร่วมในการส่งเสริมให้บคุ คลใกล้ตวั ใช้ผา้ หม้อห้อม
20. ท่านมีสว่ นร่วมในการปลูกฝงั จิตสํานึกให้กบั ลูกหลาน หรือ
ญาติพน่ี ้องเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม
การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ (Dissemination)
21. ท่านมีสว่ นร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผา้ หม้อห้อม
ให้กบั นักท่องเทีย่ วทัง้ ในและต่างประเทศ
22. ท่านมีสว่ นร่วมในการให้ความรูเ้ กีย่ วกับผ้าหม้อห้อมแก่
บุคคลอื่นๆ
23. ท่านมีสว่ นร่วมในการแต่งกายด้วยผ้าหม้อห้อมเพือ่ เป็ น
แบบอย่าง
24. ท่านมีสว่ นร่วมในการใช้ผา้ หม้อห้อมเป็ นของฝากหรือของที่
ระลึกแก่บคุ คลอืน่ ตามโอกาสต่างๆ
25. ท่านมีสว่ นร่วมในการถ่ายทอดกรรมวิธใี นการผลิตสินค้า
ต่างๆ จากผ้าหม้อห้อม
26. ท่านมีสว่ นร่วมในการเป็ นวิทยากรทัง้ ในและนอกสถานศึกษา
27. ท่านมีสว่ นร่วมในการนําผ้าหม้อห้อมออกแสดงโชว์ในโอกาส
ต่างๆ
28. ท่านมีสว่ นร่วมในการเป็ นวิทยากรหรือผูใ้ ห้ความรูเ้ กีย่ วกับผ้า
หม้อห้อม
29. ท่านมีสว่ นร่วมในการบริจาคผ้าหม้อห้อมเพือ่ เป็ นวิทยาทาน
30. ท่านมีสว่ นร่วมในการเชิญชวนให้คนต่างถิน่ ใช้ผา้ หม้อห้อม
94

ตอนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ
อนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม

คําชี้แจง โปรดทําเครือ่ งหมาย  ลงในช่องว่าง แสดงระดับของสภาพปญั หาหรืออุปสรรคทีเ่ กิดขึน้


จริงในการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อม ทัง้ ด้านการวางแผน การรักษาธํารงไว้
และการเผยแพร่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนน ดังนี้
5 หมายถึง ประเด็นนัน้ มีปญั หา หรืออุปสรรคอยูใ่ นระดับมากที่สดุ
4 หมายถึง ประเด็นนัน้ มีปญั หา หรืออุปสรรคอยูใ่ นระดับ มาก
3 หมายถึง ประเด็นนัน้ มีปญั หา หรืออุปสรรคอยูใ่ นระดับ ปานกลาง
2 หมายถึง ประเด็นนัน้ มีปญั หา หรืออุปสรรคอยูใ่ นระดับ น้ อย
1 หมายถึง ประเด็นนัน้ มีปญั หา หรืออุปสรรคอยูใ่ นระดับ น้ อยที่สดุ

ระดับของปัญหาและอุปสรรค

ปานกลาง

น้ อยที่สุด
มากที่สุด

น้ อย
ข้อความ มาก

5 4 3 2 1
การมีส่วนร่วมในการวางแผน (Planning)
1. ขาดความรูค้ วามเข้าใจในเชิงอนุรกั ษ์
2. ขาดความร่วมมือจากประชาชาชนในท้องถิน่
3. ไม่ได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
4. กลุม่ หรือองค์กรเกีย่ วกับการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อห้อมในท้องถิน่ ไม่ม ี
ความเข้มแข็งพอ
5. ประชาชนในท้องถิน่ ขาดความตระหนักในการอนุรกั ษ์
6. ขาดเวทีในการแสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนะแนวทางทีเ่ ป็ น
ประโยชน์ต่อการอนุรกั ษ์
7. ไม่มเี วลาในการรวมกลุม่ ในการประชุมหรือแสดงความคิดเห็น
ต่างๆ
8. ขาดผูน้ ํากลุม่ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพในการโน้มนาวให้เกิดการ
รวมกลุม่
9. ชุมชนคิดว่าเรือ่ งการวางแผนการอนุรกั ษ์เป็ นหน้าทีข่ อง
หน่วยงานระดับภาครัฐและเอกชน
10. ขาดงบประมาณในการดําเนินการจัดประชุมเพือ่ วางแผน
95

ระดับของปัญหาและอุปสรรค

ปานกลาง

น้ อยที่สุด
มากที่สุด

น้ อย
ข้อความ

มาก
5 4 3 2 1
การมีส่วนร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative)
11. ขาดความรูค้ วามเข้าใจในการรักษาให้คงอยูส่ บื ทอดต่อไป
12. ขาดความตะหนักในความสําคัญของผ้าหม้อห้อม
13. ไม่เห็นคุณค่าของมรดกอันลํ้าค่าทีค่ งความเป็ นเอกลักษณ์
14. ไม่ได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
15. ชุมชนคิดว่าการเก็บรักษาเป็ นการเสียโอกาสในการสร้าง
รายได้
16. ชุมชนเห็นว่าผ้าหม้อห้อมไม่มคี วามทันสมัยและความนิยม
เท่ากับผ้าอืน่ ๆ
17. มีการดัดแปลงลวดลายจนไม่เหลือความเป็ นดัง้ เดิม
18. มีการเลียนแบบชนิดของวัตถุดบิ และกรรมวิธอี ่นื ทีไ่ ม่ใช่แบบ
ดัง้ เดิม
19. ขาดแรงบันดาลใจในการเก็บรักษาผ้าหม้อห้อม
20. ขาดแหล่งเก็บรักษาทีเ่ หมาะสมเพือ่ รักษาสภาพ
การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ (Dissemination)
21. ขาดความรูค้ วามเข้าใจในกระบวนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
22. ขาดความรูค้ วามเข้าใจในเนื้อหาหรือความเป็ นมาเกีย่ วกับผ้า
หม้อห้อมอย่างลึกซึง้
23. ขาดความตระหนักในคุณค่าของผ้าหม้อห้อม
24. ไม่ได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
25. ขาดงบประมาณในการดําเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
26. ขาดความร่วมมืออย่างจริงจังจากชุมชนในท้องถิน่
27. ขาดผูน้ ํากลุม่ ทีม่ คี วามสามารถในการรณรงค์ให้เกิดการ
เผยแพร่
28. ไม่มเี วทีในการจัดแสดงโชว์ผา้ หม้อห้อมให้คนทัวไปได้
่ รจู้ กั
29. ขาดแรงบันดาลใจใจการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
30. ขาดทักษะและเทคนิคในการสือ่ สาร เช่น ด้านภาษา ความ
กล้าแสดงออก เป็ นต้น
96

ตอนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรกั ษ์ผา้ หม้อ


ห้อม

ท่านมีขอ้ เสนอแนะ หรือแนวทางใดในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์


ผ้าหม้อห้อม ในด้านต่อไปนี้

การมีส่วนร่วมในการวางแผน (Planning)
1…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
2…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
3…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………

การมีส่วนร่วมในการรักษาธํารงไว้ (Preservative)
1…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
2…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
3…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………

การมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ (Dissemination)
1…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
2…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
3…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
ขอขอบพระคุณอย่างสูงในความร่วมมือของท่านครัง้ นี้
ั น์ (ผูว้ ิ จยั )
นางสาวภาวิ นี อิ นทวิ วฒ
97

แนวทางการสนทนากลุ่ม
หัวข้อ
แนวทางในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรกั ษ์ผลิ ตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม
ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่

วัตถุประสงค์

เพือ่ สังเคราะห์แนวทางในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการอนุรกั ษ์ผลิตภัณฑ์ผา้


หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่

สถานที่จดั สนทนากลุ่ม

ตําบลทุ่งโฮ้ง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่

แนวทางในการสนทนากลุ่ม

1. ท่านคิดว่ามีแนวทางใดบ้างในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นร่วมในการวางแผนใน


การอนุ รกั ษ์ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการอนุ รกั ษ์ต่อไป
2. ท่านคิดว่ามีแนวทางใดบ้างในการส่งเสริมให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นในการรักษาธํารงไว้ซง่ึ
ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง
3. ท่านคิดว่ามีแนวทางใดบ้างในการส่งเสริมให้ชุม ชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่และ
ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุง่ โฮ้ง
4. ท่านคิดว่าจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อม ตําบลทุ่งโฮ้ง มีประเด็นใดบ้าง และควรจะ
นําจุดแข็งมาใช้ในการดําเนินงานในการอนุ รกั ษ์ผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมอย่างไร
5. ท่านคิดว่าจุดทีค่ วรพัฒนาผลิตภัณฑ์ผา้ หม้อห้อมมีอะไรบ้าง และควรพัฒนาต่อไป
อย่างไร
98

ประวัติย่อผู้วิจยั
99

ประวัติย่อผู้วิจยั

ชือ่ ชือ่ สกุล นางสาวภาวินี อินทวิวฒั น์


วันเดือนปีเกิด 29 สิงหาคม 2527
สถานทีอ่ ยูป่ จั จุบนั 76 หมูบ่ า้ นมณีวรรณ ตําบลปา่ แมต
อําเภอ เมืองจังหวัดแพร่ 54000
ประวัตกิ ารศึกษา
พ.ศ. 2542 มัธยมศึกษาปีท่ี 3
จาก โรงเรียนนารีรตั น์จงั หวัดแพร่
จังหวัดแพร่
พ.ศ. 2545 มัธยมศึกษาปีท่ี 6
จาก โรงเรียนนารีรตั น์จงั หวัดแพร่
จังหวัดแพร่
พ.ศ. 2549 ศิลปกรรมศาสตร์ การออกแบบทัศนศิลป์
การออกแบบแฟชัน่ (ศป.บ.)
จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2555 การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปศึกษา (กศ.ม.)
จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

You might also like