You are on page 1of 32

1

บทที่ 4 ความอุดมสมบูรณของดินและการเกษตรที่ยั่งยืน
(Soil Fertility and Sustainability of Crop Production )

ปจจัยที่มีผลตอความอุดมสมบูรณของดิน (Factors affecting soil fertility) ในกรณีนี้อาจจะแบงปจจัยได 2 ประเภทไดแก

- ปจจัยที่ไมมีมนุษยเกี่ยวของ (Non anthropogenic factors) ซึ่งอาจจะหมายถึงความอุดมสมบูรณดั่งเดิม (inherent


fertility) ความอุดมสมบูรณสวนนี้มีผลมาจากวัตถุตนกําเนิดดิน ภูมิอากาศ สภาพภูมิระเทศ เนื้อดิน องคประกอบทางแรตาง ๆที่
ผานการสลายตัวและการกําเนิดดินมาแลว (Weathering of minerals) ตลอดจนความสามารถในการเก็บธาตุอาหารของดิน
(nutrients buffering capacity) ซึ่งเปนสมบัติที่ติดตัวมาตั่งแตการเกิดดินชนิดนั้น ๆ

- ปจจัยที่มีมนุษยเกี่ยวของ (Anthropogenic factors) ปจจัยนี้จะเกิดจากกิจกรรมของมนุษยที่เกิดในชวงระยะเวลา


สั้นหรือยาว และจะเกิดการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณดั่งเดิมของดิน เชน การใสปุย การใสปูน การไถ เปนตน

กลยุทธในการจัดการที่เหมาะสม (appropriate management strategy) ในการรักษาความอุดมสมบูรณใหมีความ


ยั่งยืน นั้นจะตองพิจารณาทั้งปจจัยที่ไมมีมนุษยเกี่ยวของที่สงผลตอความอุดมสมบูรณดั่งเดิม และในขณะเดียวกันกิจกรรมที่มี
มนุษยเกี่ยวของก็มีผลตอความอุดมสมบูรณของดินอยางไรเพื่อใหการสูญเสียธาตุอาหารนอยเกิดขึ้นนอยที่สุด ในขณะเดียวกันก็
เปนการรักษาคุณภาพของทรัพยากรดินใหยั่งยืน เปนตน

สาเหตุการเสื่อมโทรมความอุดมสมบูรณของดิน

สืบเนื่องจากคําวา “คุณภาพ” หมายถึง ระดับของความดีเลิศ (degree of excellence) ดังนั้น ความหมายของคุณภาพ


ดินจึงมีความเกี่ยวของกับหนาที่และบทบาทของดินในขณะนั้นเปนอยางไรหรือมีขีดจํากัดอะไรบาง ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทําใหดินมี
ขีดจํากัดมีสาเหตุมาจากดินเสื่อมคุณภาพลง ดังนั้น จึงขอกลาวถึงสาเหตุของการเสื่อมโทรมของคุณภาพดิน โดยจะเนนดินภายใต
ระบบเกษตร

การเสื่อมโทรมคุณภาพของทรัพยากรดินที่อยูภายใตการการเกษตรนั้นอาจมาจากหลายสาเหตุ เชน การกรอนของดิน


(soil erosion) กระบวนการชะลาง (leaching) ดินเกิดการแนนทึบ (compaction) ธาตุอาหารลดลงหรือสูญเสียไป (nutrients
depletion) เปนตน ( ตารางที่ 1 )
2

ตารางที่ 1 สาเหตุของการเสื่อมคุณภาพของทรัพยากรดินภายใตระบบเกษตรที่มีการจัดการแบบตาง ๆ

สาเหตุ การเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นกับดิน

1.ระบบเกษตรแบบเขมขน สมบัติทางเคมีของดินไมดี ความไมสมดุลของธาตุอาหาร


การสูญเสียอินทรียวัตถุในดิน

2.ระบบเกษตรเคมีโดยปลูกพืชเชิงเดี่ยว การสูญเสียทางหลากหลายทางชีวภาพของดิน ดินเปนกรด

3.การเกษตรที่มีการใชเครื่องจักร สมบัติทางกายภาพของดินเสื่อมโทรม เชน ดินแข็ง ดิน


แนนทึบดินสูญเสียโครงสราง

4. พื้นที่ที่ปลอยหนาดินไวหรือไมมีวัสดุหรือพืชพรรณปก จะเรงการกรอนหรือการพังทลายของดินเนื่องลมและน้ํา
คลุมดิน

5.พื้นที่มีการระบายน้ําไมดี การทวมขังของน้ําและเกิดสภาพไรอากาศ

6. พื้นที่ที่มีการสะสมของเกลือสูง( การระเหยของน้ําสูง) ความแหงแลง พืชขาดน้ํา

การจัดการความสมดุลของธาตุอาหารพืชในระบบนิเวศเกษตร

การใชที่ดินอยางไมถูกตองตามสมรรถนะของดิน และ/หรือขาดการอนุรักษดินที่ดี ยอมทําใหดินเสื่อมโทรม จากภาพ


ที่ 1 แสดงใหเห็นถึงเคลื่อนยายเขาและเคลื่อนยายออกของธาตุอาหารพืชในระบบการเกษตร สําหรับการเคลื่อนยายเขาอาจจะ
เปนการใสปุยเคมี ปุยอินทรีย น้ําฝน (Atmospheric deposition) การตรึงไนโตรเจนของพืชตระกูลถั่ว และธาตุอาหารถูกพัดพา
มากับตะกอนดิน
3

ภาพที่ 1 การเคลื่อนที่เขาและเคลื่อนยายออกของธาตุอาหารพืชในระบบการเกษตร (A simplified depiction of nutrient


additions and removals) ที่มา: Smaling (1993)

ภาพที่ 1 แสดงใหเห็นวาระบบการเกษตรมีการสูญเสียธาตุอาหารออกไปจากระบบ ในแตละปจะมีปริมาณธาตุอาหาร


พืชจํานวนมากที่สูญเสียออกไปจากระบบ โดยกระบวนการชะลางพังทลายของดิน และยังมีธาตุอาหารพืชอีกสวนหนึ่งที่สูญเสีย
ไปจากระบบโดยกระบวนการอื่น ๆ เชน การไหลซึมลึกลงไปในดินโดยน้ํา (Leaching) การสูญเสียไนโตรเจนในรูปกาซโดย
กระบวนการดีไนทริฟเคชั่น (Denitrification) ฯลฯ ซึ่งเปนสาเหตุของการเกิดการลดลงของความอุดมสมบูรณของดินไดดังนั้น
ถาตองการจะรักษาระดับความสามารถในผลิตภาพของดิน (Soil productivity) ก็จําเปนตองรักษาความสมดุลของธาตุอาหารพืช
(Nutrient balance) ในระบบใหคงไวดวย

การเคลื่อนที่เขาของธาตุอาหาร

-แหลงธาตุอาหารที่ไดจากดิน

ในดินมีธาตุอยูหลายชนิดทั้งที่เปนธาตุอาหารพืชและไมใชธาตุอาหารพืช ซึ่งขึ้นอยูกับวัตถุตนกําเนิดและสิ่งมีชีวิตที่มาทับถม
โดยทั่วไปความเขมขนของธาตุอาหารพืชในดินที่อยูที่เปนประโยชนตอพืชไดดังตารางที่ 2
4

ตารางที่ 2 แหลงที่ให และปริมาณของธาตุอาหารที่จําเปนตอพืช

( %)
แหลง
ธาตุอาหาร

N อินทรียวัตถุ กาซจากอากาศ 0.03-0.3

P Ca,Al,Fe phosphate 0.01-0.1

S เหล็กซัลไฟลทและซัลเฟต 0.01-0.1

K แรไมกา ดินเหนียว (illite) แรโพแทสเซียมเฟสปาร 0.2-3.0

Ca แรแคลเซียมเฟลสปาร กอไจด 0.2-1.0

คลเซียมคารบอนเนต แคลเซียมซัลเฟต

Mg แรกอไจด ฮอลเบรน โอริวีน 0.1-1.0

ไบโฮไทด แมกนีเซียมคารบอเนต

B ทัวมาลิน ในแหลงที่มีแรซิลิเกตและเกลือมาก 5-100 ppm

Mo ในแหลงที่มีแรซิลิเกต เหล็กและอะลูมินัมออกไซดและไฮดรอกไซด 0.50-5 ppm

Cl เกลือที่มีองคประกอบของคลอไรด แรกอไจด ฮอลเรน ไบโอไท 50-1000 ppm

Fe เหล็กออกไซดและไฮดรอกไซด 0.5-4.0

Mn แรงแมงกาไนท ไบโรลูไซด 200-4000 ppm

แรที่มีซิลิเกตเปนองคประกอบ

Zn สังกะสีฟอสเฟต คารบอเนตและไฮดรอกไซด แรที่มีซิลิเกต 10-300 ppm

Cu ทองแดงซัลเฟต คารบอเนต แรซิลิเกต 5-100 ppm


5

จากตารางที่ 2 จะเห็นไดวา มีแรบางชนิดเมื่อสลายตัวแลวจะใหธาตุอาหารในดินหลายชนิด บางชนิดก็เปนประโยชน


ตอพืช บางชนิดนอกจากจะไมเปนประโยชนตอพืชแลวบางครั้งกลับเปนโทษก็มี แรจะมีการสลายตัวไดไมเทากัน ขึ้นอยูกับชนิด
ของธาตุและลักษณะการเกาะยึดกันระหวางธาตุ บางแรสลายตัวไดงาย บางแรสลายตัวยาก แลวแตสภาพแวดลอมที่กระทํา
โดยทั่วไปธาตุท่เี ปนองคประกอบในแรที่มีปริมาณมาก เมื่อสลายตัวแลวก็จะใหธาตุนั้นออกมามาก ฉะนั้นในสภาพธรรมชาติจะ
พบบอยครั้งที่ธาตุในดินที่มีอยูในระดับ "สูงมาก" จะเปนตัวกําหนดความเปนประโยชนของธาตุอื่น ๆ ในดิน ดังนั้นความสมดุล
ระหวางธาตุทั้งดานปริมาณและรูปแบบที่มีอยูในดิน จึงมีความสําคัญตอการดูดกินธาตุอาหารของพืชเชนกัน

-ธาตุอาหารพืชที่ไดจากน้ําฝน

ดินเปนแหลงธาตุอาหารพืชที่ปนมากับน้ําฝน ถึงแมปริมาณจะไมมากนักเมื่อเทียบกับพืชจะไดรับจากดินก็ตาม แตควร


ถือไดวาเปนสวนเสริมใหดินและพืชมีธาตุอาหารพืชเพิ่มขึ้น ตามธรรมชาติฝนจะนําเอาธาตุอาหารตาง ๆ ที่ลองลอยอยูใน
บรรยากาศปนลงมากับน้ํา สวนใหญจะเปนธาตุอาหารในรูปของอิออนประจุบวกและประจุลบ พอสรุปไดดังนี้ตารางที่ 3
ปริมาณและชนิดธาตุอาหารพืชที่ไดจากน้ําฝน

ตารางที่ 3 ธาตุอาหารพืชที่ไดจากน้ําฝน

ธาตุอาหาร ความเขมขน (มิลลิกรัม/ลิตร)

K+ 0-5

Na+ 8-24

Ca 2+ 70-216

Mg 2+ 8-36

NO3- 1-79

HPO4 2- 0-0.3

SO42- 1-87
6

ซึ่งอาจจะกลาวไดวา ธาตุอาหารพืชที่มีอยูในดินจึงเปนแหลงทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญสําหรับพืช เพื่อที่พืชสามารถ


เลือกดูดกินธาตุอาหารที่ตองการและนําไปใชในการเสริมสรางการเจริญเติบโตตลอดจนถึงใหผลผลิตได แตจะใชประโยชนได
มากหรือนอยก็เปนไปตามศักยภาพของดินแตละแหง หากเกษตรกรตองการที่จะเพิ่มผลผลิตของพืชใหสูงขึ้นสามารถกระทําได
ถามีการศึกษาถึงความตองการระดับธาตุอาหารของพืชแตละชนิด ตลอดจนปริมาณและรูปของธาตุอาหารที่มีอยูในดิน เมื่อ
ศึกษารายละเอียดจนแนชัดแลว เกษตรกรก็สามารถหาชองทางแกไขใหดินมีประสิทธิภาพมากขึ้นนี่คือชองทางหนึ่งที่นาจะเพิ่ม
ผลผลิตของพืชใหเปนไปตามตองการได

-การเคลื่อนที่ออกของธาตุอาหารพืช

แตในที่นี้จะขอกลาวเพียงสองกระบวนหลักที่พบไดในระบบนิเวศเกษตร ไดแก

1. การสูญเสียจากการชะลางพังทลายของดินและธาตุอาหารออกจากพื้นที่
การสูญเสียวิธีการนี้มากนอยแตกตางกันไปตามเนื้อดิน ความลาดชัน โดยปกติพื้นที่ลาดชันมากกวา 5 % เริ่มมีปญหา
การชะลางของดิน ซึ่งดินทรายจะมีปญหามากกวาดินเหนียว เกรียงไกร (2533) สรุปวาการสูญเสียหนาดินจากการชะลาง
พังทลายของหนาดินหนา 2.5 ซม. จะกอใหเกิดการสูญเสียเนื้อดินถึงปละกวา 50 ตัน/ไร การชะลางพังทลายนี้ไมเพียงแต
กอใหเกิดการสูญเสียเนื้อดินเทานั้น ธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดินก็ถูกพัดพาออกไปดวย (ตารางที่ 4) และ ตารางที่ 4 ได
แสดงใหเห็นถึงปริมาณธาตุอาหารและอินทรียวัตถุของดินชั้นไถพรวน ดินสีคล้ําที่ถูกพัดพามาทับถม และสวนของทรายที่ถูก
พัดพามาทับถม เกรียงไกร (2533) สรุปวาวาการชะลางพังทลายของหนาดินจะมีผลตอศักยภาพการผลิตคือพื้นที่ที่มีการชะลาง
พังทลายสูงผลผลิตพืชจะลดลงมาก

2.การสูญเสียธาตุอาหารในดินจากการที่พืชดูดไปใช
ในการสรางความเจริญเติบโตและใหผลผลิต ซึ่งจะแตกตางกันไปตามชนิดของพืชเพราะพืชมีความตองการธาตุอาหารแตกตาง
กัน ดังตารางที่ 5
7

ตารางที่ 4 การสูญเสียธาตุอาหารจากอิทธิพลของการชะลางพังทลายของหนาดิน

สถานที่ สวนของดิน อินทรียวัตถุ(%) ปริมาณธาตุอาหารพืชที่สําคัญ

(mg kg-1)

P K

กาฬสินธุ ชั้นไถพรวน 0.26 6.5 29

สวนสีเทา-ดําที่ถูกพัดพา 3.46 15.9 89

สวนที่ทรายที่ถูกพัดพา 0.10 3.0 20

รอยเอ็ด ชั้นไถพรวน 0.25 7.4 60

สวนสีเทา-ดําที่ถูกพัดพา 2.34 10.1 230

สวนที่ทรายที่ถูกพัดพา 0.02 5.0 38

มหาสารคาม ชั้นไถพรวน 0.72 5.2 31

สวนสีเทา-ดําที่ถูกพัดพา 2.65 3.4 109

สวนที่ทรายที่ถูกพัดพา 0.27 1.7 19


8

ตารางที่ 5 การสูญเสียธาตุอาหารในดินจากการที่พืชดูดไปใช
9
10
11

จากปริมาณการดูดใชธาตุอาหารของพืชแตละชนิดที่แตกตางกันไป และปริมาณการชดเชยธาตุอาหารคืนใหแกดินที่ไมไดสมดุล
โดยอาจจะกลาวไดวาการเพาะปลูกพืชและมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจากพื้นที่ทําใหดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ

Table 6 Examples of plant nutrients exported and imported through cereals, 1999
12

จากตารางที่ 6 จะเห็นไดวาประเทศไทยและเวียดนามไดสงขาวออกไปขายตางประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะเปน


สูญเสียธาตุอาหารไปจากพื้นที่เพาะปลูกดวยกลาวคือขาวทุก ๆ 1 ตัน จะทําใหมีการสูญเสียไนโตรเจนประมาณ 15 kg
ฟอสฟอรัส (P2O5) ประมาณ 5-6 kg และโปแตสเซียม (K2O) ประมาณ 5-6 kg ในชวงเวลาที่ผานมาสรสิทธิ์ (2534) ไดคํานวณ
การสูญเสียธาตุอาหารไปกับผลผลิตพืชพบวาจากการปลูกขาว ขาวโพด ออย และมันสําปะหลัง ดินสูญเสียธาตุไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมในรูปของการนําผลผลิตพืชทั้ง 4 ชนิด ออกจากพื้นที่โดยเฉลี่ยปละ 707,000 ตัน ในขณะที่มีการ
ชดเชยธาตุอาหารในรูปของการใชปุยเคมีเพียงปละ 253,500 ตัน เทานั้น แตในความเปนจริงไมใชเฉพาะธาตุอาหาร 3 ธาตุนี้
เทานั้น ยังมีการสูญเสียธาตุอาหารรองและจุลธาตุอีกดวย

ดังนั้น ดินที่มีการใชปลูกพืชเศรษฐกิจจะสูญเสียไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ปละหลายแสนตัน จึงไมตอง


สงสัยเลยวาทําไมดินของประเทศไทยโดยทั่วไปจึงเสื่อมโทรม การรักษาศักยภาพการผลิตใหยั่งยืนจําเปนตองรักษาสมดุล
ระหวางการชดเชยและการนําออกจากพื้นที่ของธาตุอาหารพืชตาง ๆ ปุยเคมีจึงจําเปนที่จะตองใช เพื่อรักษาความสมดุลดังกลาว
ซึ่งการลดการเสื่อมโทรมความอุดมสมบูรณของดิน โดยการสูญเสียธาตุอาหารพืช สามารถกระทําไดหลายวิธี เชน การคลุมดิน
การปลูกพืชตามแนวระดับ การปลูกพืชสลับเปนแถบ และการปลูกพืชตางระดับ ฯลฯ สวนการนําธาตุอาหารพืชเขาสูระบบก็
สามารถกระทําไดหลายวิธี เชน การใชพืชตระกูลถั่วในระบบการปลูกพืช การใสปุยซึ่งอาจจะเปนปุยอินทรีย (ปุยคอก ปุยหมัก
และปุยพืชสด) ปุยเคมี หรือปุยชีวภาพ โดยคํานึงถึงประสิทธิภาพของการใชเปนหลักสําคัญ

ความตองการระบบผลิตที่เอื้อตอเกษตรที่ยั่งยืน (Need for productive and sustainable agriculture)

จากผลการวิจัยทั่วไปพบวาเมื่อมีการใชประโยชนจากที่ดินในระบบเกษตรใด ๆ ก็ตาม เกษตรกรมักมีความตองการ


ผลตอบแทนที่เปนผลกําไรสูงในระยะสั้น ๆ โดยอาจมีการลงทุนทั้งดานแรงงาน เมล็ดพันธุ การดูแลรักษา โดยไมคํานึงถึงการ
อนุรักษระบบการผลิตใหยั่งยืน ความไมสมดุลระหวางการใชทรัพยากรการผลิต และความตองการผลตอบแทนที่สูงอาจ
กอใหเกิดประโยชนในระยะสั้น แตผลเสียหายตอความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดินและธรรมชาติสิ่งแวดลอมอยางมากใน
ระยะยาว เมื่อระบบสมดุลดังกลาวสูญเสียไป เปนการยากที่จะฟนฟูสภาพของระบบเกษตรดังกลาวใหมีศักยภาพในการใหผล
ผลผลิตกลับคืนสูสภาวะที่ดีดั่งเดิมได

การใชประโยชนที่ดินใหยั่งยืนได จําเปนตองสรางจิตสํานึกที่ดีใหเกษตรกรใหตระหนักถึงความเสียหายอันเกิดจากการ
ใชทรัพยากรโดยไมมีขีดจํากัดและมุงหวังแตผลประโยชนในระยะสั้น ใหมีความรูและความเขาใจในสมดุลของการใชที่ดินใน
ระบบเกษตรประเภทตาง ๆ ตลอดจนการรักษาสภาพแวดลอมและธรรมชาติใหสวยงามเพื่อคงประโยชนการใชที่ดินใหยาวนาน
เปนมรดกตกทอดถึงลูกหลานในอนาคต และลูกหลานจะไดใชทรัพยากรดิน น้ํา และธรรมชาติแวดลอมใหยั่งยืนเพื่อความสุข
ตราบนานเทานาน
13

มีผูใหคําจํากัดความหมายของคําวา “ระบบเกษตรที่ยั่งยืนหรือความยั่งยืนของการใชที่ดินในการเกษตร” ไวมากมาย ดังตารางที่ 2


จากคํานิยามดังกลาวจะเห็นไดวาไมมีระบบเกษตรใด ๆ เลยที่สามารถจัดอยูในระบบเกษตรที่ยั่งยืนอยางสมบูรณได อาจตองจัด
ใหเปนระบบที่ยั่งยืนมากหรือนอยเทานั้นเองทั้งนี้ตองดูการเสื่อมโทรมของดิน ซึ่งเปนปจจัยหลักในการผลิต หากดินเสื่อมโทรม
ลงอยางรวดเร็ว ระบบก็มีความยั่งยืนนอย และถาดินมีความเสื่อมโทรมลงอยางชา ๆ ระบบก็มีความยั่งยืนมาก เราอาจปรับปรุง
ใหเกิดสมดุลระหวางปจจัยการผลิตและผลผลิตที่ตองการภายใตการดูและการอนุรักษสิ่งแวดลอมใหมีคุณภาพที่ดีตลอดไปได
เพราะสิ่งแวดลอมที่ถูกทําลายหรือมีมลพิษเกิดขึ้นมาก เปนผลจากการไมมีการอนุรักษที่ถูกตองเปนสวนใหญ (ตารางที่ 7
และภาพที่ 2)

ตารางที่ 7 คําจํากัดความของคําวา “ ระบบเกษตรที่ยั่งยืน (Sustainable agricultural systems)”

ลําดับ คําจํากัดความ แหลงอางอิง

1 ความสําเร็จของการจัดการทรัพยากรสําหรับการเกษตรตามความตองการ FAO (1989 )


ของมนุษย และตองปรับปรุงหรืออนุรักษคุณภาพของสิ่งแวดลอมและ
ทรัพยากรธรรมชาติใหดีขึ้น

2 ระบบที่รักษาคงไวหรือเพิ่มศักยภาพการผลิตในระดับที่ตอบสนองที่สําคัญ Okibo (1991) อางตาม


ในปจจุบันและสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความตองการของมนุษย มัตติกา ( 2548)
ในอนาคตไดอยางพอเพียงและมีคุณคา

3 ระบบที่เกษตรกรสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตไดอยางตอเนื่องในระดับที่ Okibo (1991)อางตาม


นาพอใจทางดานเศรษฐกิจ สัมฤทธิ์ผลในการจัดการและคงคุณภาพของ มัตติกา ( 2548)
ระบบนิเวศนและระบบการผลิตโดยการจัดการทรัพยากรตาง ๆ อยางมี
ประสิทธิภาพ และมีการใชแตละหนวยของทรัพยากร ปริมาณ คุณภาพ
ความตอเนื่อง และระยะเวลาใหสอดคลองกลมกลืนกัน และมีผลทําลาย
สิ่งแวดลอม และมนุษยใหนอยที่สุด

4 ระบบที่เกี่ยวของกับการจัดการและอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติ FAO(1991)อางตาม
และมีการใชความรูและเทคโนโลยีในระบบเพื่อใหมั่นใจตอผลที่ไดซึ่ง มัตติกา ( 2548)
ตอบสนองความตองการของมนุษยในปจจุบันและอนาคต การพัฒนาการ
จัดการที่ยั่งยืนนี้ตองอนุรักษทรัพยากรที่ดิน น้ํา พืช และกรรมพันธุของ
14

5 ระบบการปลูกพืชไมใชระบบยั่งยืนจนกวาผลผลิตหรือ Spancer and Swift


ผลตอบแทนในแตละปมีแนวโนมคงที่หรือไมเปลี่ยนแปลง ใหผลผลิตที่มี (1992)อางตามมัตติกา (
เสถียรภาพสูง ตานทานตอสิ่งรบกวนที่เปนภัยตอระบบการผลิต 2548)

6 ระบบการจัดการที่ดินที่ยั่งยืนคือระบบที่ไมทําใหดินเสื่อมโทรม Greenland (1994) อาง


ลง หรือทําใหเกิดมลพิษตอสิ่งแวดลอมขณะเดียวกันตองใหสิ่งจําเปนที่ ตามมัตติกา ( 2548)
ตอบสนองตอการดํารงชีพของมนุษยไดอยางยิ่งยืน

ความยัง่ ยืนของระบบเกษตร
คุณภาพของ ความยัง่ ยืน ความยัง่ ยืน
สิ่งแวดลอม ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม

คุณภาพของสิ่ งแวดลอม
ดัชนีคุณภาพของ ดัชนีคุณภาพของ ดัชนีคุณภาพของ ดัชนีคุณภาพของ
ทรัพยากรดิน ทรัพยากรนํ้า ทรัพยากรป า อากาศ

ดัชนีของคุณภาพทรัพยากรดิน
ดัชนีทางกายภาพ ดัชนีทางเคมี ดัชนีทางชีวะ

ภาพที่ 2 คุณภาพของดินเปนดัชนีพื้นฐานที่สําคัญในการประเมินความยั่งยืนของระบบเกษตร
15

การประเมินคุณภาพดินในสภาพพื้นที่ของเกษตรกร (On – Farm Assessment of Soil Quality)

ลักษณะโดยทั่วไป
การประเมินคุณภาพดินสําหรับดินที่ใชทําการเกษตรถือวาเปนสิ่งที่มีความจําเปน โดยจะตองมีกระทําภายใตเงื่อนไขวา
ดินที่ถูกประเมินคุณภาพนั้นจะตองอยูในสภาพที่ยังมีการใชทางการเกษตรอยู นอกจากนี้ โดยจะตองมีการคัดเลือกวิธีการ
ประเมินอยางระมัดระวัง ซึ่งผลที่ไดจากการประเมินคุณภาพดินจะทําใหทราบผลการจัดการดินที่ผานมา หรือที่กําลังดําเนินการ
อยูนี้สงผลกระทบอยางไรตอคุณภาพดิน และยังเปนสิ่งบงชี้ถึงลักษณะหรือสมบัติของดินตาง ๆ ที่มีความสําคัญตอคุณภาพดิน
และผลิตภาพของดิน รวมถึงคุณภาพของทรัพยากรอื่น ๆ ดวย

สําหรับในระดับพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรแตละรายนั้น วิธีการที่ใชประเมินคุณภาพดินนั้นควรที่จะเปนการ
ประเมินทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเขตกรรมตาง ๆ และควรมีการประเมินปญหาที่จะเกิดขึ้น หรือสิ่งที่เปนขีดจํากัดที่
ปรากฏในพื้นที่ รวมทั้งขอเสนอแนะตางๆ เพื่อใหเกษตรกรไดรับผลประโยชนสูงสุด และไมเกิดผลกระทบทางลบตอ
สิ่งแวดลอมหรือทรัพยากรอื่น ๆ นอกจากนี้ในการประเมินคุณภาพดิน ผูประเมินมีตองการความรวมมือจากเกษตรกรในการ
ประเมินพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรในการใหขอมูลหรือประวัติการใชที่ดิน

ดังนั้นเครื่องมือและวิธีการที่นักวิจัยใชสําหรับการประเมิน จึงมีความจําเปนตองปรับใหมีรูปแบบที่เกษตรกรสามารถ
ประเมินคุณภาพไดดวย เชน งายตอการใชงาน ไมแพง และใหผลรวดเร็ว นอกจากนี้วิธีการวัดนั้นควรเปนการวัดสมบัติของดิน
ที่มีความสําคัญหรือมีประโยชนตอการเกษตร หรือเพื่อทําใหเกษตรกรที่จะมีความเขาใจเพิ่มขึ้นและสามารถนําไปใชประโยชน
ได และจะตองมีความนาเชื่อถือและความถูกตองไปพรอมกันดวย

ดัชนีประเมินคุณภาพดิน

คุณภาพดินเปนการประเมินประสิทธิภาพของดินที่มาจากหนาที่ของดิน และประเมินถึงการทําบทบาทและหนาที่ของ
ดินที่จะแสดงในอนาคต ซึ่งคุณภาพดินไมสามารถประเมินไดจากผลผลิตของพืช หรือคุณภาพของน้ํา หรืออยางใดอยางหนึ่ง
เทานั้น จากการที่คุณภาพดินไมสามารถวัดไดตรง ดังนั้นจึงจําเปนตองประเมินมาจากดัชนีคุณภาพดินตาง ๆ โดยดัชนีเหลานี้
เปนการสมบัติตาง ๆ ของดินที่สามารถบอกบทบาทและหนาที่ของดินอยางสมบูรณ สมบัติของดินไดแก สมบัติทางกายภาพ
เคมี และชีวภาพ กระบวนการตาง ๆ และลักษณะอื่น ๆ ของดิน ดัชนีวัดคุณภาพดินควรมีลักษณะ ดังนี้

- เปนวิธีการที่งาย
- สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของสมบัติของดินอันเนื่องจากการใชที่ดิน เวลาที่แตกตาง
กัน และสภาพภูมิอากาศที่แตกตาง
- เปนการรวมของสมบัติทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ เขาดวยกัน
16

- สามารถใชไดโดยบุคคลทั่วไป และสามารถใชไดในสภาพพื้นที่เพาะปลูกจริง

เครื่องมือสําหรับใชในการประเมินดัชนีวัดคุณภาพดินในพื้นที่

การประเมินคุณภาพดินในสภาพพื้นที่จริงนั้น ใชเครื่องมือและวิธีการแบบงาย หรือที่เราเรียกเครื่องมือแบบพกพา


(test kit) ไดถูกนํามาใชในสหรัฐอเมริกาและหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งคาวิเคราะหที่ไดจากการวัดแบบพกพานี้ สามารถเปรียบเทียบ
ไดกับคาที่วิเคราะหจากวิธีการมาตรฐานในหองปฏิบัติการ โดยดัชนีวัดคุณภาพดินที่ที่สามารถนํามาใชในการประเมิน ไดแก

- คา pH และ คาการนําไฟฟา

- การซาบซึมน้ําของดิน ( water infiltration)


- ความหนาแนนของดิน (bulk density)
- การหายใจของดิน (soil respiration)
- ความชื้นในดิน ( soil water content)
- ความสามารถในการดูดซับของดิน ( water holding capacity)
- ปริมาณไนเตรท ( soil nitrate)

นอกจากนี้เพื่อใหแปลความขอมูลที่ไดจากการประเมินอยางถูกตองและแมนยําเพิ่มขึ้นการใชขอมูลอื่นประกอบในการ
อธิบายก็มีความจําเปนอยางยิ่ง อาจจะเปนประวัติการใสปุย การจัดการตาง ๆ ประวัติการใชที่ดิน

การบันทึกสภาพพื้นที่ ชุดขอมูลของสภาพพื้นที่ที่ควรเก็บเพื่อใชประกอบในการในการประเมินคุณภาพดิน ไดแก

- ชุดดิน

- เนื้อดิน

- รองรอยการเกิดการพังทลายของดิน

- การจัดการดินและพืชที่ผานมาและปจจุบัน

- รายละเอียดของความชันและสภาพภูมิประเทศ

- ตําแหนงทางภูมิศาสตรของพื้นที่และจุดเก็บตัวอยาง (ละติจูดและลองติจูด)
17

- ขอมูลสภาพภูมิอากาศ เชน ปริมาณน้ําฝน อุณหภูมิ (รวมทั้งอุณหภูมิสูงสุดและต่ําสุดในแตละเดือน) โดย


ขอมูลเปนขอมูลระดับประเทศไปจนถึงระดับลุมน้ําก็ได

- ตําแหนงของแหลงน้ํา หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงตอการเปนปญหาตอสิ่งแวดลอมที่อยูเกิดพื้นที่

การประเมินคุณภาพดินโดยใชวิธีการเปรียบเทียบ (Making comparisons for assessments soil quality)


การเปรียบเทียบบางอยางยังเปนพื้นฐานที่สําคัญในการเปนมาตรฐานเพื่อใหทราบวาพื้นที่ของตนอยูในสภาพดีหรือ
เสื่อมโทรม ซึ่งมีหลายชองทางสําหรับการเปรียบเทียบ โดยอาจจะมีความเหมาะสมที่แตกตางกันไป

การเปรียบเทียบ : การจัดการที่แตกตางกันในพื้นที่เดียวกัน

วิธีการนี้ถูกใชทั่วไปในการประเมินคุณภาพดิน โดยเปนผลมาจากการจัดการการเกษตรแบบตาง ๆวามีความแตกตาง


กันหรือไม หรือเพื่อใชประเมินในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีแบบเกาไปใชในแบบใหม

การเปรียบเทียบ : พื้นที่เดียวกันแตเวลาที่ตางกัน

การเปรียบเทียบ : พื้นที่เกษตรบริเวณใกลเคียง

วิธีการนี้เหมาะสําหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการ ที่อาจจะแสดงใหเห็นความแตกตางอยางชัดเจนในพื้นที่เกษตรที่เปนคู
เปรียบเทียบ โดยคูเปรียบเทียบนี้ควรมีชนิดของดินและลักษณะของพื้นที่ที่เหมือนกัน นอกจากนี้มีเศรษฐกิจครัวเรือนที่
เหมือนกัน แตการจัดการในระบบเกษตรที่แตกตางกัน เชน การเกษตรเชิงพาณิชยกับเกษตรอินทรีย หรือการเกษตรเชิงพาณิชย
เปรียบเทียบกับเกษตรดั่งเดิม(ยั่งชีพ) เปนตน

การเปรียบเทียบ : ระบบนิเวศปาไมหรือพื้นที่ที่ไมถูกรบกวน

การเปรียบเทียบโดยวิธีการนี้อาจจะใชพื้นที่ปาที่ไมถูกรบกวนนั้นซึ่งถือวามีปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบ
กับพื้นที่เกษตรที่ตองการศึกษาหรือเปรียบเทียบ นอกจากนี้ตองควรมีพื้นที่ใกลเคียงกันโดยมีชนิดดินและสภาพภูมิอากาศที่
เหมือนกัน

คุณสมบัติความอุดมสมบูรณดินที่พืชตองการ (Soil Properties and Plant Requirements)

ดัชนีวัดคุณภาพดินที่จะกลาวตอไปนี้ (ตารางที่ 8) สามารถที่นําไปใชประเมินความอุดมสมบูรณดินทั้งในสภาพพื้นที่


และหองปฏิบัติการ ซึ่งจะมีวิธีการและเครื่องมือประกอบแตกตางกันไป จากตารางที่ 8 เปนตัวอยางของดัชนีที่สามารถนําไปใช
18

นอกจากนี้ ตารางที่ 8 ยังการแสดงใหถึงความสัมพันธระหวางดัชนีวัดคุณภาพดินที่มีบทบาทและหนาที่ของทรัพยากร


ดินภายใตระบบการผลิตทางการเกษตร หรือทรัพยากรดินที่ยังไมถูกรบกวนโดยมนุษย เชน ทรัพยากรดินภายใตปาชนิดตาง ๆ
เปนตน

Table 8 Examples of soil quality indicators:

ดัชนีคุณภาพดิน Relationship to Soil Quality

Soil organic matter (SOM) Soil fertility, structure, stability, nutrient retention; soil erosion

Physical: soil structure, depth of soil, Retention and transport of water and nutrients; habitat for
infiltration and bulk density; water microbes; estimate of crop productivity potential; compaction, plow pan,
holding capacity water movement; porosity; workability

Chemical: pH; electrical conductivity; Biological and chemical activity thresholds; plant and microbial
extractable N-P-K activity thresholds; plant available nutrients and potential for N and P
loss

Biological: microbial biomass C and N; Microbial catalytic potential and repository for C and N; soil
potentially mineralizable N; soil productivity and N supplying potential; microbial activity measure
respiration.

แนวทางในการใชสมบัติของดินเปนดัชนีประเมินความอุดมสมบูรณดิน

1. สมบัติทางเคมี
-อินทรียวัตถุในดิน (soil organic matter, SOM)
19

หนาที่ของ SOM ในดินสามารถกลาวไดอยางกวาง ๆ 3 รูปแบบคือ ทางดานชีววิทยาของดิน ทางกายภาพ และทาง


เคมีของดิน (ภาพที่ 3)

บทบาททางชีววิทยา (Biological Functions)


-แหลงพลังงาน
-แหลงสํารองธาตุอาหาร N,P,S
- Contribute to resilience of soil/ plant
systems

หนาที่ของ SOM
(Functions of SOM)

บทบาททางกายภาพ (Physical Functions) บทบาททางเคมี (Physical Functions)


-สงเสริม/ปรับปรุงความคงทนของเม็ดดินในระดับตาง ๆ -สงเสริม/ปรับปรุง CEC
-สงผลความสามารถในการเก็บรักษาความชืน้ -สงผลความสามารถในการตานทาน pH
-เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิดิน (buffering of pH)
-สงเสริมความเปนประโยชนฟอสฟอรัส

ภาพที่ 3 Functions ascribed to SOM

บทบาทของอินทรียวัตถุในดินในฐานะเปนแหลงธาตุอาหารพืช

เปนที่ทราบกันดีวาบทบาทของ SOM ตอความอุดมสมบูรณของดิน คือ SOM ใหธาตุอาหารที่จําเปนตอการ


เจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะอยางยิ่งไนโตรเจน ธาตุอาหารอาจถูกนําไปสู SOM หรือปลดปลอยออกมาจาก SOM โดย
กระบวนการที่สําคัญ 2 ประการ (Duxbury et al., 1989) คือ

1.กระบวนทางชีววิทยา ซึ่งควบคุมการเก็บกักและปลดปลอยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส (P) และกํามะถัน (S) เพราะธาตุ


เหลานี้อยูในหนวยโครงสรางของ SOM

2. กระบวนทางเคมี ซึ่งควบคุมปฏิสัมพันธของ SOM กับธาตุอาหารหลักและจุลธาตุที่อยูในรูปไอออนประจุบวก


(Ca,Mg,K,Fe,Cu,Zn,Mn)
20

กระบวนการทั้งสองกอใหเกิดสภาพการณที่ตรงกันขามกันไดถึงระดับหนึ่ง กลาวคือกระบวนการ mineralization


ของ SOM ทําใหมีการปลดปลอย N,P,S แตจะไปลดความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนประจุบวกของดิน ซึ่งเปนกระบวนการ
สมดุลทางเคมี (chemical equilibration processes) เพราะ SOM เปนแหลงหลักที่ใหประจุลบแกดินเขตรอน จึงจําเปนตอง
รักษาไวเพื่อใหสามารถดูดยึดไอออนประจุบวกไวได เพราะฉะนั้นควรมีการจัดการ SOM อยางเหมาะสม คือ ใหเกิดความสมดุล
ระหวางการดูดยึดไอออนประจุบวก และการปลดปลอย N,P และ S

-ปริมาณไนเตรทในดิน (Soil nitrate, NO3-)

สําหรับปริมาณ NO3- ในดินนั้นจะงายตอการเปลี่ยนแปลง เชน สามารถเปลี่ยนแปลงภายในระยะเวลาเพียง 2-3 วัน ใน


พื้นที่ที่อยูในสภาพภูมิอากาศชื้นนั้นถาในดินมี NO3- ต่ํากวา 5 mg kg-1 จัดวามีปริมาณต่ํา แตถาปริมาณ NO3- สูงเกินไปจะทํา
ให NO3- ถูกชะลางลงสูในดินชั้นลางและน้ําใตดิน ปริมาณ NO3- ที่พบในดินนั้นอาจมาจากการยอยสลายอินทรียวัตถุโดยจุลินท
รียดิน หรือเรียกกระบวนการนี้วา Nitrification นอกจากนี้ยังมาจากการใสปุยเคมี และการสลายของปุยอินทรีย ( ปุยคอก ปุยหมัก
เศษซากพืชที่มี N สูง) การวัดปริมาณ NO3- ในดินในชวงที่มีการปลูกพืช การแปลขอมูลควรที่ดําเนินการรวมการดูดใช N ของ
พืช

ขีดจํากัดในการประเมินความเปนประโยชนของไนโตรเจนในดินตอพืช

ปจจุบันยังไมมีวิธีการทั่วๆ ไปที่ยอมรับในการทําวิเคราะหดินเพื่อหาคาไนโตรเจนที่เปนประโยชน (ดัชนีความเปน


ประโยชนของไนโตรเจนในดิน) และเพื่อแนะนําปุยไนโตรเจน ซึ่งตางจากฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม สาเหตุมีดังนี้

1. ประมาณ 97-99 % ของไนโตรเจนในดินอยูในรูปอินทรีย ซึ่งจะไมเปนประโยชนตอพืชจนกวาจะไดรับการเปลี่ยนรูปให


เปนรูปอนินทรีย (mineralization)
2.ปริมาณไนโตรเจนอินทรียที่จะถูกเปลี่ยนเปนรูปอนินทรีย จะขึ้นอยูกับปจจัยตางๆ ที่มีอิทธิพลตอกิจกรรมของจุลินท
รียที่สําคัญ ไดแก อุณหภูมิ ความชื้น และปจจัยสภาพแวดลอมอื่นๆ จึงเปนยากตอการคาดคะเน
3.ไนเตรตซึ่งเปนรูปหลักของไนโตรเจนอนินทรียสูญเสียไปจากระบบดินไดงายและไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม มี
การเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว
4.ปจจัยที่มีอิทธิพลตอความตองการไนโตรเจนของพืช และการเจริญเติบโตรวมทั้งผลผลิต มีหลายปจจัยไมวาจะเปน
ปจจัยทางดิน สภาพแวดลอม และการจัดการซึ่งมีความมากนอยของปจจัยเหลานี้ที่จะมีผลกระทบตอความตองการไนโตรเจน
ของพืชคาดลวงหนาไดยาก
5.ปจจัยทางเศรษฐศาสตร เชนความคุมทางเศรษฐกิจ

-ปฏิกิริยาของดิน ( Soil pH )
21

ปฏิกิริยาของดิน หรือความเปนกรด-ดางของดิน เปนตัวบงชี้ประการสําคัญหนึ่งถึงสภาวะความเปนประโยชนของธาตุ


อาหารพืชในดิน ทั้งในรูปของแรธาตุที่มีอยูใน หรือในรูปของปุยที่ใส นอกจากนี้ปฏิกิริยาของดินยังมีอิทธิพลตอการ
เจริญเติบโต และกิจกรรมของจุลินทรียดินซึ่งมีผลในทางออมตอสถานะความเปนประโยชนของธาตุอาหารพืช
ดินที่เปนกรดจัด ( pH ต่ํากวา 5.0) ธาตุอาหารพืชพวก P ,Ca,Mg,Mo อยูในสภาวะที่ละลายออกมาเปนประโยชนตอ
พืชได พืชแสดงอาการขาดดังกลาวได ในสภาพความเปนกรดจัดดังกลาวมักจะมีธาตุอาหารพวก Al ,Fe, Mn ละลายออกมามาก
จนเปนพิษตอพืช ทั้งนี้ความรุนแรงจะขึ้นกับความรุนแรงของความเปนกรดของดิน ชนิดของดิน และสภาพภูมิอากาศ บางครั้ง
อาการผิดปกติของพืชเนื่องจาก การวิเคราะหดินควบคูกับการวิเคราะหพืชจะชวยยืนยันความความถูกตองในสาเหตุที่เกิดขึ้นได
มาก

ดินที่ดาง pH > ธาตุอาหารบางตัว เชน Fe, Zn, Mn ละลายเปนประโยชนตอพืชนอยลง อาการขาดธาตุอาหารพืช


เหลานี้จะแสดงออกตอพืชมากนอยเพียงไร ขึ้นกับความรุนแรงของความเปนดางของดิน และพืชแตละชนิดมีความออนไหวหรือ
ความตานทานตอการขาดธาตุอาหารหรือทนทานแตกตางกัน

ภาพที่ 4 ความเปนประโยชนของธาตุอาหารพืชในดิน ที่ถูกควบคุมโดย pH

โดยทั่วไปแลวคา pH ของดินและคาการนําไฟฟา (EC) จะมีการเปลี่ยนแปลงคอนขางยาก แตอยางไรก็ตาม การใส


ปุยเคมีในปริมาณสูง ปุยคอก หรือวัสดุปูน (liming materials) จะสงผลตอตัวชี้วัดทั้งสองนี้ นอกจากนี้ ควรมีการวัด pH และ
EC ในการประเมินคุณภาพดินปละ 1 ครั้ง ซึ่งถือวาเพียงพอและอาจจะทําชวงเวลาใดก็ได

-Redox potential changing (Eh)


22

การเกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบตาง ๆ ในดินที่มีน้ําขัง โดยเมื่อดินเปลี่ยนสภาพจากสภาพที่มีการระบายอากาศ


(oxidized) มาเปนสภาพที่มีการทวมขังของน้ํา (reduced) จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอยาง ไดแก Eh ลดลงเพียงเล็กนอย เมื่อ
ปริมาณ O2 ในดินลดลงจาก 21 เปน 4 % แตถาลดปริมาณ O2 มากกวานี้ Eh จะลดลงมากกวานี้ และในชวงเวบลานั้นไนเตรท
เปนตัว oxidant ตัวถัดไปที่จะถูกรีดิวซเมื่อ O2 หมดไป ซึ่งมีคา Eh จะทากับ + 388 mv จะเปน critical potential ในดินที่ใกล
ที่เปนกลางหรือถาเปลี่ยนคาใหเปนที่ pH 7 ปฏิกิริยา nitrate reduction จะเกิดขึ้นที่ Eh ประมาณ 220 mv ปฏิกิริยา nitrate
reduction อาจจะเริ่มขึ้นกอนที่ O2 จะหมด แตปฏิกิริยาจะเสร็จสมบูรณก็ตอเมื่อ O2 ถูกใชหมดไปแลว Mn4+ จะถูก reduced
ไปเปน Mn2+ เมื่อ Eh มีคาประมาณ 200 mv ในขณะที่ Fe+3 จะอยูคงตัวจนกระทั้ง Eh ลดลงเปน 120 mv สําหรับกระบวนการ
sulfate reduction จะเริ่มขึ้นเมื่อ Eh มีคา -150 mv โดยจุลินทรียที่จะ reduced ซัลเฟตจะมีกิจกรรมไดดีที่ -75 mv ซึ่งแบต
ทีเรียที่ทําใหเกิด methane จะมีมากที่สุด ระหวาง Eh มีคาเทากับ -250 ถึง -300 mv มัก และจะเชื่อกันวาสวนใหญ sulfate จะ
ถูกรีดิวซเปน sulfide กอนจะเกิด methane

-ความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนบวก (cation exchange capacity)

อนุภาคดินสวนที่มีขนาดเล็กกวา 0.002 mm. หรืออนุภาคดินเหนียว เปนกลุมที่มีบทบาทตอคุณสมบัติทางเคมีมาก


ที่สุด ไดแก การมีประจุไฟฟาบนพื้นผิวอนุภาคดิน การแลกเปลี่ยนแคทไอออน และการแลกเปลี่ยนแอนไอออน การที่อนุภาคดิน
มีประจุไฟฟากอใหเกิดผลสืบเนื่องหลายประการ เชน ธาตุอาหารไมสูญหายไปกับน้ํา ดินสามารถเก็บธาตุอาหารไวได ดินจึงเปน
แหลงธาตุอาหารพืช สภาพดินสามารถเปลี่ยนแปลงใหเหมาะสมตอการเพาะปลูกพืช

อนุภาคดินเหนียวหรือฮิวมัสที่ประจุไฟฟาบนพื้นผิวสุทธิเปนลบ (negative charge) ยอมที่จะดูดซับแคทไอออนไว เพื่อให


สามารถเปรียบเทียบปริมาณแคทไอออนที่ถูกดูดซับไวในดินแตละชนิด จึงไดมีการใชคําวา ความจุในการแลกเปลี่ยนไอออน
บวก (cation exchange capacity, CEC) ซึ่งหมายถึง ปริมาณแคทไอออนที่ดินสามารถดูดซับไวได และมีหนวยวัดเปน
meq มีคาเทากับมิลลิอิควิวาเลนท (milliequivalent) ตอดินแหง 100 กรัม ดินที่มี CEC สูงจะดูดซับแคทไอออนไดมากกวาดิน
ที่มี CEC ต่ํา ดินที่มี CEC สูงนี้เปนที่ตองการสําหรับการทําการเกษตร เพราะวามีปริมาณธาตุอาหารสําหรับพืชสูงดวย ดินที่ใช
ทําการเกษตรควรมี CEC อยางต่ํา 4 meq/100 กรัมดินแหง แตอยางไรก็ตาม คา CEC ของดินเปนสมบัติทางเคมีที่มีความ
เฉพาะเจาะจง และเปลี่ยนแปลงนอยมาก โดยคา CEC ในดินชนิดตาง ๆ นั้นจะสูงหรือต่ําขึ้นอยูกับปจจัยหลายประการ เชน ชนิด
และปริมาณของแรเหนียวในดินนั้น ปริมาณอินทรียวัตถุ โดยทั่วไปปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น 1 เปอรเซ็นต จะทําใหคา CEC
ของดินเพิ่มขึ้น 2 meq/100 กรัมดินแหง จึงเห็นไดวาปจจุบันนั้นไดมีการสงเสริมใหใชอินทรียวัตถุในการปลูกพืชเพื่อเปนเพิ่ม
คา CEC ของดินทางหนึ่ง นอกจากนี้ชนิดของแรดินเหนียวยังมีผลตอคา CEC โดยพบวาแรดินเหนียว montmorillonite (2:1) มี
คา CEC สูง ทั้งนี้เพราะแรดินเหนียวชนิดนี้มีพื้นที่ผิวจําเพาะสูง จึงสามารถดูดซับแคทไอออนไดมาก สวนปริมาณของแรดิน
23

ประโยชนและความสําคัญบางประการของการแลกเปลี่ยนไอออนบวกในดิน

ธาตุอาหารในดินที่จะเปนประโยชนตอพืชไดนั้น สวนใหญจะตองอยูในรูปที่แลกเปลี่ยนได (exchangeable form)


ซึ่งเปนความสามารถของดินที่จะดูดยึดพวก cations ตางๆ ไวในดิน ทําใหพวกธาตุอาหารพืชเหลานี้ ไมสูญหายไปจากดินได
งาย วิธีปฏิบัติในการจัดการดินไดแก การใสปุย และการใสปูน อาศัยหลักการดังกลาวเชนเดียวกัน

การใสปุย

การใสปุยโปแตสเซียมคลอไรด (KCl) ลงไปในดิน ธาตุ K ที่ไดจากปุยเปนจํานวนมากนั้นจะเขาไปไลที่ cations เดิม


ที่มีอยูในดิน เชน H+ เปนตน ใหหลุดออกไปจากผิวคอลลอยดที่เกาะอยู และ K เองจะเขาไปแทนที่ ดังสมการ

cla + K+ Cla
K +H+
y
H

ดังนั้น ธาตุ K ที่ใสลงไปในดินในรูปของปุย จะไมสูญหายไปงาย ๆ

การใสปูน

ดินที่ pH เปนกรดมาก ๆ สามารถแกไขไดโดยการไลที่ H+ ที่ถูกดูดยึดรอบๆ ผิว clay ใหหมดไปโดยการเติมปูน


(Ca2+) ซึ่ง Ca2+ เขาไปแลกเปลี่ยนและไลที่ H+ ออกมาจากผิวอนุภาคดิน ทําใหความเปนกรดลดลงดวย

การซาบซึมน้ํา
24

ดินที่ Na+ ปริมาณมาก ซึ่งพบไดในดินเค็ม น้ําจะซึมผานไดยากเนื่องจากอนุภาคดินมีการฟุงกระจาย (dispersion) มักทําใหน้ํา


ขังไดงาย ไถพรวนลําบาก เมื่อแหงก็จะทําใหดินแข็งและแตกระแหงไมเหมาะกับการปลูกพืช แตถาเราไลที่ Na+ ออกมาโดยใช
Ca2+(จากปูน) ทําใหรวมกลุมตะกอนของอนุภาคดิน (flocculation) ดินไมเหนียวแตรวนซุย น้ําซึมผานสะดวก

ตารางที่ 9 อิทธิพลของเนื้อดินที่มีตอปริมาณธาตุอาหารหลัก และการแปลความอุดมสมบูรณของดิน

2.สมบัติทางฟสิกส
-เนื้อดิน
เนื้อดินมีความสัมพันธกับปริมาณพื้นที่ผิวจําเพาะของดิน (specific surface) ปริมาณและขนาดของชองวางระหวางอนุภาคดิน
อยางมาก โดยทั่วไปเมื่อดินมีเนื้อละเอียดขึ้น ปริมาณพื้นที่ผิวจําเพาะและจํานวนชองวางจะเพิ่มขึ้น แตขนาดของชองวางจะเล็ก
ลง พื้นที่ผิวจําเพาะนี้มีผลกระทบตอการดูดยึดน้ํา และธาตุอาหารพืช ความรวนเหนียว ความยากงายในการไถพรวนและการไช
ชอนของรากพืช ขนาดและปริมาณชองวางในดินมีผลกระทบตอความสามารถในการอุมน้ํา (water holding capacity) การ
เคลื่อนที่ของการถายเทอากาศ ฯลฯ ซึ่งสมบัติตาง ๆ เหลานี้มีผลตอความสามารถในการใหผลผลิต (soil productivity) และ
ความยากงายของดินตอการเกิดกษัยการของดิน (soil erosion) อยางยิ่ง
25

ภาพที่ 5 USDA classification of soil texture classes according to proportions of sand, silt and clay

-ความลึกของดิน (Soil Depth)


ดินที่มีความเหมาะสมกับการทําการเกษตรควรที่จะมีหนาดินลึกที่รากพืชสามารถอยูได โดยประมาณทั่วไปตองการ
หนาดินลึกประมาณ 1 ม. สําหรับพืชปเดียว (annual crops) และไมผลหรือไมยืนตนอื่น ๆ ไมลึกต่ํากวา 2 ม. และดินชั้นลาง
ไมควรมีชั้นดานหรือชั้นหิน หรือสมบัติทางเคมีบางอยางไมเหมาะสมในชั้นดินนี้ สิ่งตาง ๆ เหลานี้อาจจะไปมีผลตอการ
เจริญเติบโตของรากพืชได ขณะที่ดินชั้นบนนั้นถือวาเปนแหลงของธาตุอาหารและน้ําที่รากพืชใชเปนสวนใหญจึงไมควรมีความ
ลึกนอยกวา 20 ซม. สําหรับการแกไขปญหาที่กลาวขางตนนั้นหลักเบื้องตนควรคํานึงถึงความลึกของรากพืชที่ใชปลูกเปน
เบื้องตนกอน
-คาความหนาแนนรวมของดิน (Bulk density, Db)

การไถเพื่อปรับสภาพพื้นที่ ไมวาจะเปนการใชรถไถชนิดหรือแบบใดตาม จะทําคา Db ของดินในพื้นที่เปลี่ยนอยาง


ฉับพลัน ในการวิเคราะห Db ในพื้นที่ทําการเกษตร ควรวิเคราะหอยางนอย 2 ครั้ง/ป ซึ่งครั้งที่ 1 คือหลังที่การไถ และอีกครัง้
คือหลังเก็บเกี่ยวพืชหรือกอนที่มีการไถครั้งตอไป อยางไรก็ตามการวัดความหนาแนนในแตละครั้งนี้ อาจจะดําเนินพรอมกับการ
26

สมการที่ 1

-อัตราซาบซึมน้ําของดิน (Infiltration rate)

การซาบซึมน้ําของดินอาจไดรับผลกระทบทางลบเปนระยะสั้น เนื่องมาจากการไถพรวน หรือรอยลอรถไถ ในขณะที่


อิทธิผลของรากพืช กิจกรรมของไสเดือนดิน และการเกิดเม็ดดิน ก็สงผลทางบวกตอการซาบซึมน้ําของดินเปนระยะปานกลาง
สวนปริมาณอินทรียวัตถุจะมีผลในระยะยาว แตพบวาความแปรปรวนของตัวชี้วัดชนิดนี้มีสูง ถามีการประเมินภายในรอบเวลา
เพียง 1 ป อาจจะไมเห็นความแตกตางอยางชัดเจน แตอยางไรก็ตามดัชนีคุณภาพนี้จะมีประโยชนอยางเดนชัดในกรณีที่
เปรียบเทียบดินที่มีการจัดการที่แตกตางกันอยางชัดเจน เชน พื้นที่ที่มีการไถเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่ไมมีการไถ โดยมักจะนิยมทํา
การวิเคราะห Db พรอมกันดวย (ตารางที่ 10 )

-ความสามารถในการอุมน้ําของดิน (Water holding capacity)

ดินโดยทั่วไปมักจะมีความแตกตางไมชัดเจนโดยเฉพาะดินที่มีอินทรียวัตถุสูง แตจะเห็นความแตกตางอยางชัดเจนใน
ดินไดที่รับผลกระทบจากการจัดการที่แตกตางกัน เชน มีการไถในการปรับและเตรียมพื้นที่เปรียบเทียบกับดินที่ไมมีการไถ โดย
มักจะนิยมทําพรอมกับการวิเคราะห Db ซึ่งความสัมพันธระหวางคุณสมบัติทางฟสิกสของดินที่มีลักษณะเนื้อดินแตกตางกัน
(ตารางที่ 10)
27

ตารางที่ 10 คุณสมบัติทางฟสิกสของดินที่มีลักษณะเนื้อดินแตกตางกัน

ประเภท Infiltation rate and Total porosity Bd Soil Moisture Content


Permeability
เนื้อดิน (%) (g cm-3) Field capacity Wilting Point Total
-1
(cm hr ) (%w/w) Available
(%w/w)
(mm m-1)

ดินทราย 5(2.5-25) 38(32-42) 1.65 6(6-12) 4(2-6) 80(60-


100)
(1.55-1.80)

ดินรวนปนทราย 2.5(1.3-7.6) 43(40-47) 1.50 14(4-8) 6(4-8) 120(90-


150)
(1.40-1.60)

ดินรวน 1.30(0.80-2.00) 47(43-49) 1.40 10(8-12) 10(8-12) 170(140-


190)
(1.35-1.50)

ดินรวนปนเหนียว 0.8(0.25-1.50) 49(47-51) 1.35 13(11-15) 13(11-15) 190(170-


220)
(1.30-1.40)

ดินเหนียวปนซิลท 0.25(0.03-0.50) 51(49-53) 1.30 15(13-17) 15((13-17) 210(180-


230)
(1.30-1.40)

ดินเหนียว 0.5().1-0.10) 53(51-55) 1.25 17(15-19) 17(15-19) 230(220-


250)
(1.20-1.30)

หมายเหตุ ;

1. คาตาง ๆในวงเล็บเปนชวงคาปกติที่มักพบเสมอในดินทั่วไปๆ ไปที่เนื้อดิน


28

2. คาอัตราการซึมน้ําเขาสูผิวดินและการซึมภายในดิน (Infiltration rate and permeability) มีคาแปรสูงมาก


โดยเฉพาะในดินที่มีเสถียรของเม็ดดินต่ํา
ตารางที่ 11 Physical properties of soils related to primary particle size fractions

3.สมบัติทางชีววิทยา
-การหายใจของดิน (Soil respiration)

โดยทั่วไปดินที่มีปริมาณจุลินทรียสูงมักจะเปนดินที่มีความอุดมสมบูรณสูง ทั้งนี้เนื่องจากจุลินทรียดินมีผลชวย
สงเสริมกระบวนการตางๆ ที่เปนประโยชนภายในดิน เชน กระบวนการยอยสลายอินทรียสาร กระบวนการตรึงไนโตรเจน เปน
ตน ซึ่งกิจกรรมของเชื้อจุลินทรียดินที่เปนประโยชน ไดแก การยอยสลายอินทรียวัตถุ เปนตน การเปลี่ยนแปลงปริมาณและ
กิจกรรมของจุลินทรียดินอันเนื่องมาจากปริมาณและชนิดของอินทรียวัตถุในดิน นอกจากนี้ สภาพแวดลอมก็มีบทบาทสําคัญ
มากตอชนิด ปริมาณ และกิจกรรมของเชื้อจุลินทรียดิน สภาพแวดลอมที่สําคัญไดแก ความชื้น การถายเทอากาศ อุณหภูมิ pH
ของดิน ปริมาณและชนิดอินทรียสาร(organic substance) ในดิน ปริมาณ และชนิดอนินทรียสาร (inorganic substance)ใน
ดิน เปนตน

กิจกรรมของจุลินทรียดินสามารถวัดได โดยการวัดปริมาณของ CO2 ซึ่งเกิดในกระบวนการหายใจของจุลินทรีย การ


ยอยสลายอินทรียวัตถุโดยจุลินทรียดิน สวนใหญคารบอนในอินทรียวัตถุจะถูกปลอยออกมาในรูปของคารบอนไดออกไซด
บางสวนจะรวมอยูในเซลลของจุลินทรีย และสวนที่ยอยยากจะเหลืออยูในดิน ซึ่งจะเปนสิ่งที่ใหกําเนิดฮิวมัสตอไป ซึ่งจะ
สลายตัวไปอยางชา ๆ
29

ดังนั้น ในการใชวัสดุอินทรียจะตองคํานึงคุณสมบัติตางๆ ของวัสดุอินทรีย เชน C/N ratio ไมควรสูงเกินไป มิฉะนั้น


อาจเปนโทษตอพืชมากกวาเปนคุณ ทําใหการเสื่อมสลายซึ่งเปนกระบวนการทางจุลชีววิทยาเปนไปไดชา และจุลินทรียตองใช
ไนโตรเจนจากดิน ทําใหพืชขาดไนโตรเจนได ซึ่งอาจกลาวไดวาวัสดุอินทรียมีคุณสมบัติที่ทําใหถูกยอยสลายไดชาเร็วตางกัน
โดยดูจาก C/N ratio ดังนั้นในการเลือกใชวัสดุอินทรียที่เหมาะสมในการปฏิบัติ

ภาพที่ 6 การหายใจของดิน

สภาพของภูมิอากาศและการเขตกรรมกับดูดใชธาตุอาหารของพืช

สภาพของอากาศ โดยเฉพาะความเขมของแสงและอุณหภูมิ จะมีผลตออัตราการเคลื่อนยายธาตุอาหารในพืช ทําใหเกิด


ลักษณะอาการขาดธาตุอาหารหรือความรุนแรงของการขาดธาตุอาหารมากหรือนอย เชน หากมีความเขมของแสงต่ําประกอบกับ
การมีอากาศหนาวเย็น ทําใหพืชมีโอกาสขาดสังกะสีได เนื่องรมเงาหรือมีแสงนอยและอากาศเย็น จะลดการเคลื่อนที่ของสังกะสี
จากรากสูสวนบนของลําตน มีการสังเกตวามักจะพบอาการขาดสังกะสีเมื่อมีอาการเย็น แตไมพบในสภาพที่มีอากาศรอน

- อาการขาดธาตุเหล็กจะรุนแรงในสภาพดินแหง แดดรอนจัด และจะลดลงเมื่อสภาพเมื่อทองฟามีเมฆ


มาก
- ดินที่มีความแนนทึบสูง พืชอาจขาดธาตุสังกะสี
- ดินที่น้ําแชขังไวนาน ๆ มีแสงนอย และอุณหภูมิต่ํา พืชตระกูลถั่วอาจขาดธาตุแมงกานิส
30

- ดินที่คอนขางเปนทราย แหงแลง และมีแสงจัด พืชตระกูลถั่วอาจแสดงอาการขาด B ได ดินที่เปนจอม


ปลวกที่ใชปลูกพืช ถั่วลิสง มันสําปะหลัง สับประรด จะแสดงอาการขาดธาตุเหล็ก สังกะสี
- การปูนมากเกินไปเพื่อลดความเปนกรดของดินอาจทําใหพืชแสดงอาการขาดโพแทสเซียม และเหล็กได
- การใสปุยฟอสฟอรัสในอัตราที่สูง สําหรับขาวโพดที่ปลูกในดินเหนียวสีดําที่เปนกลางถึงดาง ทําใหเกิด
การอาการขาดสังกะสี
- การใสปุยโปแตสเซียมอัตราสูงทําใหแรงการดูดใช B ในพืช หากดินมี B ต่ํา อาจทําใหถั่วลิสงขาด B
ได

การเขาใจลักษณะอาการขาดหรือเปนพิษของธาตุอาหารที่มีตอพืช สามารถนําไปใชประเมินคุณภาพดินของดินไดใน
ระดับเบื้องตนไดเปนอยางดี ดังลักษณะที่นําเสนอไวสวนของการวินิจฉัยโรคพืชอันเนืองมาจากความสมดุลของธาตุอาหาร

ปจจัยพื้นฐานที่ตองคํานึงถึงในการจัดการดินและน้ําเพื่อความยั่งยืนของระบบเกษตรคือ

1. โครงสรางดินหรือความเสถียรของเม็ดดิน
ผิวดินที่มีขนาดของเม็ดดินที่เสถียรโดยเฉลี่ย 2-5 ม.ม. ในปริมาณรอยละ 30-60 ของมวลดินทั้งหมด จัดเปนดินที่มี
โครงสรางดี มีความคงทนของเม็ดดินสูง ซึ่งปองกันการอัดแนนของหนาดิน (เนื่องจากการแตกกระจายเม็ดดินเปนอนุภาคดิน
หรือผลดินอุดตันหนาดินมีนอย) ลดการชะกรอนพังทลายของผิวหนาดินและการสูญเสียดิน ทําใหดินคงความอุดมสมบูรณทั้ง
ทางฟสิกส เคมี และชีวภาพ การดูดกลืนน้ําและธาตุอาหารของพืชเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ
2. ชนิดและปริมาณของอินทรียวัตถุในดิน

อินทรียวัตถุในดินควรมีองคประกอบสารอินทรียชนิดที่เปนโครงสรางลูกโซประเภทโพลีเมอรยาว ๆ สามารถดูดซับ
น้ําและธาตุอาหารไดดี (hydrophilic chain polymer) สวนอินทรียวัตถุที่มีองคประกอบเปนสารอินทรียประเภทโครงสรางวง
แหวนที่ไมดูดยึดโมเลกุลของน้ํา (hydrophobic ring structure) เชน ลิกนิน เปนตน ไมเปนที่พึ่งประสงคทางการเกษตร
ปริมาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสมควรมีประมาณรอยละ 2-5 ของมวลของดินแหงทั้งหมด ปริมาณอินทรียวัตถุดังกลาว ปริมาณ
อินทรียวัตถุดังกลาวจะชวยเสริมสรางเม็ดดินที่เสถียรในระดับที่พอเหมาะ สงเสริมกิจกรรมของจุลินทรียใหมีประสิทธิภาพ
ปริมาณอินทรียวัตถุที่สูงเกินไป ทําใหดินมีระดับความเปนกรดสูง (pH < 5) คุณสมบัติทางเคมีไมเหมาะสมตอการเจริญเติบโต
ของพืช ความเปนประโยชนของธาตุอาหารลดลง

3. การสะสมของสารเคมีจากปุยเคมีและสารเคมีกําจัดศัตรูพืช
31

การจัดการดินและน้ําที่ถูกตองคือการลดการสรางสิ่งที่เปนพิษซึ่งสะสมในดินและควบคุมเกลือในดินไมใหมีการ
สะสมมากขึ้น นอกจากนี้ยังตองคํานึงถึงคุณสมบัติทางเคมีของดิน เชน ระดับความเปนกรดลางของดิน (pH) ความจุในการแล
เปลี่ยนประจุบวกของดิน ปริมาณธาตุอาหารตาง ๆในดิน ชนิดและปริมาณของธาตุอาหารพืชที่บงบอกถึงความอุดมสมบูรณ
ของดิน เชน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และอื่น ๆ เปนตน ทั้งนี้ปจจัยดังกลาวตองเหมาะสมตอ
การเจริญเติบโตของพืช
4. การจัดการดินและน้ําในระบบเกษตรน้ําฝนบนที่ลาดชันอยางยั่งยืน

ในระบบเกษตรน้ําฝนบนที่ลาดชันควรมุงเนนการจัดการผิวหนาดิน เชน การปลูกพืชคลุมดินและใชระบบพืชที่


เหมาะสม เพื่อปรับปรุงผิวดินและโครงสรางดินชั้นลาง โดยมีการอนุรักษโครงสรางดินใหดี ใหดินมีอินทรียวัตถุในระดับที่
พอเหมาะอยูเสมอ อาจมีการปลูกพืชที่มีระบบการตรึงไนโตเจนรวมดวย เชนพืชตระกูลถั่วตาง ๆ เปนตน

5. การจัดการดินและน้ําในระบบเกษตรชลประทาน
การจัดการดินและน้ําในระบบเกษตรชลประทาน ตองยึดหลักวาน้ําในดินมีความสําคัญยิ่งตอการเจริญเติบโตของพืช
ปริมาณน้ําในดินที่มากเกินไปจะขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืชและการเติบโตของตนพืช ในเขตแหงแลงมักมีปญหาน้ํา
ไมเพียงพอตอการการเติบโตของพืชตลอดฤดูเพาะปลูก การชลประทานและการจัดการใหดินมีการเก็บกักน้ําในปริมาณ
พอเหมาะและเพียงพอสําหรับการเจริญเติบโตของพืช

6. ความรูเรื่องสัมพันธระหวางดิน น้ํา และพืช

ความรูเรื่องความสัมพันธระหวางดิน น้ําและพืช นับเปนสิ่งจําเปนสําหรับการจัดการชลประทานอยางมีประสิทธิภาพ


เพื่อใหเกิดการใชประโยชนจากน้ําในการผลิตพืชใหผลตอบแทนสูงสุด โดยจําเปนตองศึกษาถึงความสามารถของดินในการกัก
เก็บที่เปนประโยชนตอพืช การซึมน้ําผานผิวดินและการเคลื่อนที่หรือการไหลของน้ําในดิน ระดับน้ําใตดิน สภาพความเปนดิน
เกลือและดินดาง ตลอดจนความตองการน้ําของพืชชนิดตาง ๆ ในสภาพแวดลอมตาง ๆ
32

เอกสารอางอิง

FAO. 1989. Sustainable agricultural production. Implications for agricultural research, by Technical Advisory
Committee. FAO Research and Technology Paper No. 4. Rome.131 pp.

Smaling, E.M.A. 1993. Soil nutrient depletion in Sub-Saharan Africa. In H. van Reulen &W.H. Prins, eds. The role
of plant nutrients for sustainable food crop production in Sub-Saharan Africa. Leidschendan, The Netherlands.

You might also like