You are on page 1of 46

หน่วยที่ 9

ฮอร์โมน (hormone)

เนื้อหาสาระ
1. ประวัติการค้นพบ
2. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
3. ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
4. ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
5. ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์, พาราไทรอยด์
6. ฮอร์โมนจากอวัยวะเพศ
7. ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล ต่อมไทมัสและเนื้อเยื่ออื่นๆ
8. การควบคุมการทางานของฮอร์โมน

แนวคิด

1. ในร่างกายของคนและสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นสูงบางชนิด มี
เนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อ ทาหน้าที่ผลิตสารเคมีที่เรียกว่าฮอร์โมน ฮอร์โมนจะควบคุมการเปลี่ยนแปลง
ของร่างกายในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ส่งเข้าสู่กระแสเลือดกระจายทั่วร่างกายเพื่อควบคุมการทางานของ
อวัยวะเป้าหมาย โดยการกระตุ้นหรือยับยั้งการทางานและไม่มีผลต่ออวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย
2. ฮอร์โมนเป็นสารประเภทโปรตีน เอมีนและสเตรอยด์
3. ฮอร์โมนที่สาคัญมีดังนี้ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์ ฮอร์โมนจากอวัยวะ
เพศฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล ฮอร์โมนจากต่อมไทมัส และเนื้อเยื่ออื่นๆ
4. การควบคุมการทางานของฮอร์โมน จะสัมพันธ์กับระบบประสาท การทางานของฮอร์โมนจะมี
กระบวนการควบคุมต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีกระบวนการควบคุมย้อนกลับ การควบคุมโดยระบบ
ประสาท และการควบคุมโดยระดับของสารบางชนิดในเลือดที่ไม่ใช่ฮอร์โมน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกความหมายของฮอร์โมน และสมบัติของฮอร์โมนได้
2. ระบุตาแหน่งของต่อมไร้ท่อที่สาคัญในร่างกายของคนได้
3. บอกชนิดของฮอร์โมนที่สาคัญๆ ที่สร้างมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลางส่วนหลังและฮอร์โมน
จากต่อมหมวกไต ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมไทมัส ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ ต่อมไพเนียล
อวัยวะเพศ และเนื้อเยื่ออื่นๆ และผลที่เกิดขึ้นกับ ร่างกายถ้ามีฮอร์โมนมากหรือน้อยเกินไป
4. อธิบายการควบคุมการทางานและกลไกการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่สาคัญๆ ของคนได้

2
หน่วยที่ 9
ฮอร์โมน (hormone)

ความนา
ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่สร้างมาจากต่อมไร้ท่อ( endocrine gland ) หรือเนื้อเยื่อ (endocrine tissue)
แล้วเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด ลาเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อควบคุมการทางานของอวัยวะ
เป้าหมาย ( target organ ) ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีน อามีนและสเตียรอยด์

1. ประวัติการค้นพบ
ในปีค.ศ. 1848 นักสรีรวิทยาชาวเยอรมันชื่ออาร์โนลด์ เอ เบอร์โทลด์ (Arnold A. Berthold) จัดชุด
ทดลองเพื่อแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของลูกไก่เพศผู้ไปเป็นไก่ตัวผู้ที่โตเต็มวัยโดยจัดการ
ทดลองออกเป็น 2 ชุด การทดลองชุดแรก เบอร์โทลด์ตัดอัณฑะของลูกไก่ออกแล้วเฝ้าสังเกตลักษณะของ
ลูกไก่จนเจริญเป็นไก่ที่โตเต็มวัย เขาพบว่าเมื่อโตเต็มวัย ไก่ตัวนี้จะมีลักษณะคล้ายไก่ตัวเมีย คือ หงอนและ
เหนียงคอสั้น ขนหางสั้น และมีนิสัยไม่ค่อยต่อสู้กับไก่ตัวอื่น
ชุดทดลองที่สอง เบอร์โทลด์ ตัดอัณฑะของลูกไก่ทดลองออก จากนั้นนาอัณฑะของลูกไก่อีกตัวหนึ่ง
มาปลูกลงด้านในผนังลาตัวบริเวณช่องท้องตรงตาแหน่งที่ต่ากว่าตาแหน่งอัณฑะเดิม ตรวจสอบจนพบว่า
อัณฑะใหม่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงและสามารถทางานได้ เมื่อติดตามสังเกตลักษณะของลูกไก่ทดลองจน
เป็นไก่ที่โตเต็มที่ ผลปรากฏว่าไก่ทดลองตัวนี้จะมีลักษณะของไก่หนุ่มปกติทั่วไปคือมีหงอน และเหนียงคอ
ยาว ขนหางยาว และมีนิสัยรักการต่อสู้ ปราดเปรียว ดังภาพที่ 9.1

ภาพที่ 9.1 แผนภาพแสดงผลการทดลองศึกษาการเจริญของหงอนและเหนียงของไก่ตัวผู้


ก. ไก่ตัวผู้ปกติ ข. ลักษณะไก่ตัวผู้ที่ถูกตัดอัณฑะออกตั้งแต่เล็ก

3
ค. ลักษณะไก่ตัวผู้ที่มีการปลูกอัณฑะให้ใหม่
ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนชีววิทยา เล่ม 5 ว 044 หน้า 56
การทดลองของเบอร์โทลด์ ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของหงอนและเหนียงคอซึ่งเป็น
ลักษณะเฉพาะของไก่เพศผู้นั้นเกี่ยวข้องกับอัณฑะอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ ตาแหน่งของอัณฑะที่
ปลูกใหม่อยู่ห่างจากตาแหน่งเดิม ห่างจากหงอนและเหนียงคอ อาจเป็นไปได้หรือไม่ว่ามีการลาเลียงสาร
บางอย่างจากอัณฑะไปยังหงอนและเหนียงคอและการลาเลียงสารนี้ไม่ได้ส่งไปตามท่อใดๆ ของร่างกาย
การศึกษาต่อๆ มาจึงทราบว่าอัณฑะของไก่ผลิตสารเคมีซึ่งลาเลียงไปตามระบบหมุนเวียนเลือด
และสารเคมีนี้เองที่เชื่อกันว่ามีบทบาทควบคุมการเจริญของหงอน เหนียงคอ และลักษณะอื่นๆ ของไก่เพศ
ผู้ที่เจริญเต็มวัย และยังพบว่าในร่างกายของคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังตลอดจนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
ชั้นสูงหลายชนิด มีอวัยวะที่สร้างสารเคมีแล้วลาเลียงสารเคมีเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะ
เป้าหมายเพื่อทาหน้าที่ควบคุมการทางานของ ระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น การทางานของระบบสืบพันธุ์
ระบบขับถ่าย ตลอดจนกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย สารเคมีกลุ่มนี้เรียกว่า ฮอร์โมน (Hormone)
ซึ่งผลิตจากเนื้อเยื่อหรือต่อมไร้ท่อ (Endocrine Tissue or Endocrine Gland)

ภาพที่ 9.2 แผนภาพเปรียบเทียบโครงสร้างของต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อ


ก. ต่อมมีท่อ ข. ต่อมไร้ท่อ
ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. เล่มเดิม หน้า 57

หน้าที่ของฮอร์โมน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท


1. ควบคุมกระบวนการ Metabolism ภายในร่างกายให้มีการใช้พลังงานของเซลล์ของอวัยวะต่างๆ
เช่น ควบคุมกระบวนการ Metabolism ของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน โดยมีฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง คือ
อินซูลิน เอพิเนฟริน คอติซอล ควบคุมเกลือแร่ และน้า เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมภายในร่างกายให้สมดุล
ได้แก่ แอลโดสเตอโรน ควบคุมโซเดียม ADH (Antidiuretic hormone) ควบคุมปริมาณน้า เป็นต้น

4
2. เร่งการเจริญเติบโต (Growth) และเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Metamorphosis) การเจริญเป็นตัวเต็มวัย
หรือเป็นผู้ใหญ่ (Maturation) และการแก่ชรา การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง คือ
Growth hormone, Thyroxin hormone และฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิง
3. ควบคุมการทางานโดยอัตโนมัติ การทางานของระบบประสาทส่วนกลาง ความไวของอวัยวะ
ต่างๆ ที่จะรับการกระตุ้นจาก เอพิเนฟริน และนอร์เอพิเนฟริน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับฮอร์โมนอื่นๆ อีก
หลายชนิด

ประเภทของฮอร์โมน
1. ฮอร์โมนที่สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโน ได้แก่ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอก
ซิน (Thyroxin) หรือฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เช่น อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือเอพิเนฟริน
(Epinephrine) เป็นฮอร์โมนที่จะเก็บสะสมไว้ในต่อมที่ผลิตในรูปของเหลว เรียกว่า คอลลอยด์ (Colloid)
หรือเป็นเม็ดเล็กๆ เรียกว่า แกรนูล (Granule) แล้วส่งเข้าสู่กระแสเลือด
2. ฮอร์โมนที่เป็นโพลีเปปไทด์ หรือโปรตีน ได้แก่ วาโซเปรสซิน หรือ DHA มีกรดอะมิโน 8
ชนิดต่อกัน อินซูลิน พาราฮอร์โมนและฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า เป็นพวกที่มีโมเลกุล
ประกอบด้วยกรดอะมิโนจานวนมากมาย
3. กลุ่มสเตรอยด์ (Steroid) ได้แก่ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex) ฮอร์โมน
อวัยวะเพศทั้งชายและเพศหญิงฮอร์โมนกลุ่มนี้จะละลายในไขมันและจะไม่เก็บสะสมไว้ในต่อมที่ผลิต
ออกมา แต่จะหลั่งออกมาสู่กระแสเลือด และจับกับโปรตีนที่จาเพาะในพลาสมา (Specific protein)จาก
ความสาคัญของฮอร์โมนที่ต่อมแต่ละชนิดผลิตขึ้นมา ทาให้สามารถจาแนกต่อมไร้ท่อได้เป็น 2 ประเภท
ตามความสาคัญของฮอร์โมนที่สร้างขึ้น คือ
1. ต่อมไร้ท่อจาเป็น (Essential endocrine gland) คือร่างกายไม่สามารถขาดต่อมชนิดนี้ได้ มิเช่นนั้น
จะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ ต่อมพวกนี้ ได้แก่ ต่อมพาราไทรอยด์ ผิวชั้นนอกของต่อมหมวกไต และไอส์
เลตในตับอ่อน
2. ต่อมไร้ท่อไม่จาเป็น (Non-essential endocrine gland) คือ ต่อมไร้ท่อที่สร้างฮอร์โมนที่มี
ความสาคัญต่อร่างกายน้อย ร่างกายเมื่อขาดฮอร์โมนนั้นจะไม่ถึงตาย แต่อาจแสดงความผิดปกติ
บางอย่างเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ผิวชั้นในของต่อมหมวกไต เป็นต้น

ประเภทของฮอร์โมน จาแนกตามคุณสมบัติทางเคมีได้ 3 กลุ่ม คือ


1. ฮอร์โมนกลุ่มเอมีนเล็กๆ ได้แก่ ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ มีสมบัติ ดังนี้
- ละลายได้ในน้า
- สร้างและเก็บไว้ในรูปของของเหลวหรือเป็นเม็ดเล็กๆ

5
- ออกฤทธิ์ที่ผิวเยื่อหุ้มเซลล์ของอวัยวะเป้าหมายหรือจับกับหน่วยรับเฉพาะ (Specific receptor) ที่
บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์แล้วเข้าไปมีฤทธิ์ภายในนิวเคลียส
2. ฮอร์โมนกลุ่มโปรตีน ได้แก่ กลุ่มฮอร์โมนที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น ฮอร์โมนจากต่อมใต้
สมองมีสมบัติ ดังนี้
- ละลายได้ในน้า
- สร้างและเก็บไว้ในเซลล์ในรูปของเม็ดเล็กๆ
- ออกฤทธิ์ที่ผิวเยื่อเซลล์
3. ฮอร์โมนกลุ่มสเตรอยด์ ได้แก่ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตและฮอร์โมนเพศ มีสมบัติดังนี้
- ไม่ละลายในน้า
- ไม่ถูกไว้ในเซลล์ที่สร้าง สร้างแล้วหลั่งออกทันที
- ออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมายโดยเข้าไปในเซลล์

ภาพที่ 9.3 แผนภาพแสดงโครงสร้างของต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อ


ก. ต่อมมีท่อ ข. ต่อมไร้ท่อ
ที่มา : สมาน แก้วไวยุทธ Analytical biology คู่มือชีววิทยา ม.6 เล่ม 5 ว 044 หน้า 156

2. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland or Hypophysis)
มีลักษณะเป็นก้อนสีเทาแกมแดง ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียวโดยประมาณ คือ ยาว 10 มิลลิเมตร กว้าง 13
มิลลิเมตร และหนา 5-6 มิลลิเมตร มีน้าหนักประมาณ 0.6 กรัม ต่อมนี้นับได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อที่สาคัญที่สุด
เพราะฮอร์โมนที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่ทาหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการสร้างฮอร์โมนของต่อมไร้ท่ออื่นอีกทีหนึ่ง
ค.ศ. 1543 นักกายวิภาคศาสตร์ชาวเบลเยี่ยมชื่อ Andrea Vesalins (ค.ศ. 1514-1564) ได้บัญญัติชื่อของต่อม
นั้นว่า Pituitary (L.pituita = เมือก)

6
ต่อมใต้สมองเกิดขึ้นจาก 2 ส่วนมารวมกันในขณะที่เป็นตัวอ่อน คือ ส่วนหนึ่งเกิดจากเยื่อบุผิวของ
ปากยื่นไปเป็นโพรงสมองของ Rathke’s pouch กับอีกส่วนหนึ่งเกิดจากพื้นของ third ventricle ในสมอง
ยื่นลงมาเป็น Infundibulum ดังนั้นจึงแบ่งต่อมใต้สมองออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ Adenohypophysis
(Gr.adren = ต่อม + Hypophysis = เติบโตน้อย) เป็นส่วนที่เจริญมาจากเยื่อบุผิวของปากและ
Neuruhypophysys (Gr.Neuron = ประสาท + Hypophysis = เติบโตน้อย) ซึ่งเป็นส่วนที่เจริญมาจากพื้นของ
สมอง แล้วทั้ง 2 ส่วนนี้ก็แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ แต่เดิมแบ่งต่อมใต้สมองออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันตาม
ตาแหน่งที่อยู่ ดังต่อไปนี้

ภาพที่ 9.4 แผนภาพแสดงส่วนต่างๆ ของต่อมใต้สมอง


ที่มา : Kimball, J.W. Biology. หน้า 1,203
ADENOHYPOPHYSIS
Adenohypophysis ประกอบด้วย ต่อมใต้สมองส่วนหน้ากับส่วนกลาง สร้างฮอร์โมนชนิด
ต่างๆ ซึ่งมีบทบาทสาคัญที่สุดของร่างกาย กล่าวคือ สร้างฮอร์โมนซึ่งทาหน้าที่ควบคุมและกระตุ้นการ
ทางานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ เกือบทั้งหมด ฮอร์โมนที่ได้จาก Adenohypophysis นี้มีอย่างน้อยที่สุด 7 ชนิด
ด้วยกัน คือ Growth hormone (GH), Adrenocorticotrophic hormone (ACTH), Thyroid-stimulating
hormone (TSH), Follicle-stimulating hormone (FSH), Luteinizing hormone (LH) หรือ Interstitial cell-
stimulating hormone (ICSH), Lactogenic hormone (LTH) หรือ Prolactin, Melanocyte –
stimulating hormone (MSH) ชนิด สุดท้ายนี้สร้างมาจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง ส่วน 6 ชนิดแรกสร้างมา
จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า สาหรับ FSH, LH, และ LTH นั้น เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับเพศ จึงเรียกรวมกันว่า
Gonadotrophin (Gonadotrophic hormone) ซึ่งการสร้างและการออกมาก็อาศัย Neurohormone จาก
Neurosecretory cell ใน Hypothalamus มาตามเส้นเลือดฝอย มาควบคุมอีกทีหนึ่ง
 Growth hormone (GH) หรือ Somatotrophic hormone (STH) หรือ Somatotrophin
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ชนิด Acidophil (alpha) cell สกัดออกจากต่อมได้ตั้งแต่ ปี ค.ศ.
1921 และแยกออกมาเป็นฮอร์โมนที่บริสุทธิ์ได้ในปี ค.ศ. 1944 โดย H.M. Evans และ J.A. Long เป็น

7
สารประกอบเคมีพวกโปรตีนหรือ Polypeptide สายเดียว (Single chain) และมีธาตุกามะถัน (เป็น
Disulphide) อยู่ด้วย
หน้าที่ของ Growth hormone
 ควบคุมและกระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกระดูกและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
 เพิ่มอัตราการผ่านของกรดอะมิโนเข้าสู่เซลล์ ทาให้การสังเคราะห์โปรตีนในร่างกาย
เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกาย
 ส่งผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
 เพิ่มอัตราการเปลี่ยนไกลโคเจนในตับและกล้ามเนื้อไปเป็นกลูโคส และขับออกมาในกระแสเลือด
ทาให้ระดับน้าตาลในเลือดสูงขึ้น (ทางานตรงข้ามกับอินซูลิน)
 ขัดขวางการทางานของไกลโคเจน โดยไปยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับ
การสังเคราะห์โดยไกลโคเจน คือ เอนไซม์เฮกโซไคเนส (Hexokinase)
 ลดการใช้คาร์โบไฮเดรตเปลี่ยนไปใช้ไขมันเป็นแหล่งสร้างพลังงานแทน สาหรับการควบคุมเมตา
บอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตนั้น GH ทาหน้าที่ร่วมกับ ACTH เพื่อไปกระตุ้น Adrenal cortex ให้
สร้างฮอร์โมนได้ดีขึ้นอีกทีหนึ่ง
 ส่งผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของไขมัน โดนจะไปกระตุ้นการสลายตัวของ
เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissue) ที่เก็บสะสมไว้ใต้ผิวหนังให้กลายเป็นกรดไขมันอิสระในกระแส
เลือด
ทาให้ปริมาณของกรดไขมันอิสระในพลาสมาสูงขึ้นและส่งเสริมการเผาผลาญกรดไขมันที่เซลล์
ให้เป็นพลังงาน
 ส่งผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของเกลือแร่ต่างๆ คือทาให้ฟอสเฟตและโพแทสเซียมสะสม
มากขึ้น แต่การสะสมของโซเดียมและแคลเซียมน้อย โดยแคลเซียมจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ
 มีฤทธิ์ต่อไต ทาให้การกรองของเสียที่ Glomerular filtration และการไหลของพลาสมาที่ไต
(Renal plasma flow) มากขึ้น
 มีฤทธิ์ต่อการหลั่งน้านม คือ กระตุ้นการสร้างและหลั่งน้านมเหมือนฮอร์โมน Prolactin แต่น้อยกว่า
นอกจากนี้แล้ว GH ยังทาหน้าที่รวมกับฮอร์โมนอื่นอีกบางอย่างด้วย เช่น ฮอร์โมนจากต่อม
ไทรอยด์ และฮอร์โมนเพศ เป็นต้น ถ้าร่างกายมี GH น้อยเกินไป จะทาให้การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ
และกระดูกลดลงจากปกติ และยังทาให้ Metabolic rate และการทางานของต่อมอื่นๆ ที่ GH เกี่ยวข้องด้วย
ลดลงไปสภาพหรืออาการเช่นนี้เกิดขึ้น ในขณะที่ยังเป็นเด็กอยู่ จะทาให้ผู้นั้นมีรูปร่างแคระเกร็น แม้ว่า
8
ต่อมาจะอายุมากเท่าไหร่ก็ตามเรียกว่า Dwarfism แต่ถ้าเกิดในขณะที่โตมีอายุมากแล้ว ก็ทาให้เป็นโรคผอม
แห้งและตายไป เรียกว่า Simmond’s desease
ส่วนการที่มี GH มากเกินไป ถ้าเกิดขึ้นในขณะที่ยังเด็กอยู่ ทาให้กระดูกแขน ขา งอกยาวกว่าปกติ มี
ร่างกายใหญ่โตมากมายเมื่อเทียบกับคนปกติและอาจสูงเกินกว่า 6 ฟุต เรียกสภาพหรืออาการ เช่นนั้น
ว่า Gigantism แต่กรณีที่มี GH มากเกินไปนั้น เกิดขึ้นในขณะที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็ทาให้ผู้นั้นมีมือเท้าโต
เก้งก้าง ฟันห่าง คางใหญ่ ขากรรไกรยื่นออกมามากกว่าปกติ จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา ผิวหนังหยาบ ผมและ
ขนดก ซึ่งเมื่อเทียบกับผู้หญิงจะทาให้ผู้หญิงนั้นมีหนวดเคราเกิดขึ้นด้วย อาการเช่นนี้เรียกว่า Acromegaly
ตารางที่ 9.1 แสดงการขาดฮอร์โมน GH และ มีฮอร์โมน GH มากเกินไป

เด็ก ผู้ใหญ่

การขาดฮอร์โมน GH Dwarfism ขา-แขน สั้น แคระ น้าตาลในเลือดน้อยกว่าคนปกติ ร่างกายทน


เกร็น ความเครียดได้ไม่เท่ากับคนปกติ อาจทาให้เกิด
Simmond’s disease เนื้อเยื่อเหี่ยวแห้ง ร่างกาย
ผอม แก่เร็ว

การมีฮอร์โมน GH มาก Giantism กระดูกแขน ขา ยาวมาก ร่างกายสูง Acromegaly พบกระดูกบางส่วนของร่างกาย


เกินไป ใหญ่ มักมีอายุสั้นเนื่องจากการรักษาสภาวะ เจริญเติบโต เช่น กระดูกแผ่ขยายกว้างขึ้น มือ เท้า
สมดุลในร่างกายมีประสิทธิภาพต่า ใบหน้าใหญ่กว่าปกติ

อนึ่ง GH นี้จะทางานไม่ได้เลยถ้าไม่มีฮอร์โมนอื่นมาช่วยเหลือด้วย ฮอร์โมนที่กล่าวถึงนี้คือ


Thyroxin จากต่อมไทรอยด์ และ Insulin จาก Islet of Langerhans ในตับอ่อน ซึ่งทาหน้าที่คล้ายกับเป็นตัว
Catalyst ให้มีการสลายน้าตาลในเลือด เป็นต้น

 Adrenocorticotrophic hormone (ACTH) หรือ Adrenocorticotrophin


เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจาก Basophil cell เนื่องจาก ACTH มีความจาเป็นต่อการเจริญเติบโตของ
ร่างกายและควบคุมหน้าที่ของ Adrenal cortex ให้เป็นปกติ ฉะนั้นถ้ามี ACTH มากหรือน้อยเกินไป จะไป
ทาให้ Adrenal cortex เจริญเติบโตมากหรือน้อยเกินไป มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับ ACTH กันมาก เพราะเป็น
ฮอร์โมนที่มีประโยชน์ในการรักษาโรคหลายอย่าง เช่น โรคข้อบวม อาการแพ้และอื่นๆ Robert Schwyzer
นักชีวเคมีสวิสเป็นคนแรกที่สามารถสกัดฮอร์โมนชนิดนี้ออกจากต่อมใต้สมองและทาการวิเคราะห์กัน
ปรากฏว่าเป็นสารประกอบพวก Polypeptide สายเดียว
หน้าที่ของ Adrenocorticotrophin hormone (ACTH)
1. กระตุ้น Adrenal cortex ของต่อมหมวกไตให้สร้างฮอร์โมน (Cortical hormone) ตามปกติ
2. ส่งผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
3. เพิ่มการสลายเนื้อเยื่อไขมัน และทาให้เกิดกรดไขมันอิสระในเลือดสูงขึ้น

9
4. ทาให้ผิวสีเข้มขึ้น คล้ายกับฮอร์โมนกระตุ้น Melanocyte
5. มีผลต่อการหลั่ง GH และ Insulin

 Thyroid-stimulating hormone (TSH) หรือ Thyrotrophin


เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก Basophil cell เป็นสารประกอบพวก Glycoprotien ซึ่งมีธาตุกามะถันเป็น
องค์ประกอบอยู่ด้วย
หน้าที่ของ Thyroid-stimulating hormone (TSH)
1. กระตุ้นการเจริญการสร้างและการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ทาให้ Metabolic rate
เพิ่มขึ้น หัวใจเต้นเร็ว และไกลโคเจนในตับลดลง
2. กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxin) ออกมามากหรือน้อย และเป็น
สาเหตุทาให้เกิดคอพอกหลายชนิดและอื่นๆ

 Follicle-stimulating hormone (FSH) สร้างมาจาก Basophil cell เป็นสารประกอบพวก


Glycoprotien
หน้าที่ของ Follicle-stimulating hormone (FSH)
ในหญิง
1. ทาหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของ Graafian follicle (ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่เป็นโครงสร้างของ
ไข่ขณะที่อยู่ในรังไข่)
2. กระตุ้นการเจริญเติบโตของผนังมดลูกชั้นใน
3. หลังจากตกไข่ จะกระตุ้นให้เซลล์ที่เหลือเปลี่ยนไปเป็น Corpus luteum ซึ่งจะเป็นตัวหลั่ง
Estrogen และ Progesterone โดยทางานร่วมกับ LH (หรือ ICSH)
ในชาย
1. กระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและหลอดสร้างอสุจิ (Seminiferous tubule) ในลูกอัณฑะ
2. กระตุ้นการสร้างตัวอสุจิ

 Luteinizing hormone (LH) หรือ Interstitial cell-stimulating hormone (ICSH) สร้างมาจาก


Basophil cell เป็นสารประกอบพวก Glycoprotien สามารถแยกออกมาเป็นฮอร์โมนบริสุทธิ์ได้
แล้วหน้าที่ของ Luteinizing hormone (LH)
ในหญิง
1. ทาหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของ Follicle และทาให้ Follicle สร้างฮอร์โมนเพศเมีย
2. กระตุ้นการเจริญเติบโตของเยื่อบุผนังมดลูก
3. ทาหน้าที่ร่วมกับ FSH ในการตกไข่
4. กระตุน้ ให้ Corpus luteum สร้าง EstrogenและProgesteroneโดยทางานร่วมกับ FSH

10
ในชาย
1. ทาหน้าที่กระตุ้น Interstitial cell หรือ Leydig’s cell ที่แทรกระหว่างหลอดอสุจิในลูกอัณฑะให้
สร้างฮอร์โมนเพศชาย Testosterone
2. กระตุ้นการสร้างตัวอสุจิร่วมกับ FSH

 Prolactin หรือ Lactogenic hormone หรือ Luteotrophic hormone หรือ Luteotrophin (LTH)
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก Acidophil cell เป็นสารพวก Polypeptide สายเดียวคล้ายๆ GH สามารถ
แยกออกมาได้ฮอร์โมนบริสุทธิ์
หน้าที่ของ Prolactin
ในสัตว์ปีก กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเลี้ยงดูลูกอ่อน
ในหญิง
1. ทาหน้าที่ร่วมกับ GH กระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมน้านมให้สร้างและขับน้านม หลังจาก
ต่อมน้านมได้เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ซึ่งการกระตุ้นให้ต่อมน้านมสร้างและขับน้านมออกมาได้นั้น จะมีผล
เฉพาะหลังจากที่เต้านมได้รับการกระตุ้นจาก Estrogen และ Progesterone แล้วเท่านั้น
2. ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม LTH ยังทาหน้าที่ร่วมกับ FSH และ LH ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของ
Corpus luteum รักษา Corpus luteum ไม่ให้สลายไป และสร้าง Progesterone จาก Corpus luteum อีกด้วย
3. ยับยั้งการหลั่งสารที่จะมากระตุ้นการสร้างฮอร์โมน Gonadotrophin (FSH และ LH) ที่สร้างมา
จาก Hypothalamus จึงทาให้ผู้หญิงที่ยังให้นมบุตรไม่มีการตกไข่
ในชาย
1. กระตุ้นการหลั่งน้าอสุจิ
2. กระตุ้นการทางานของต่อมลูกหมาก
3. กระตุ้นการบีบตัวของท่อนาอสุจิ

 Melanocyte-stimulating hormone หรือ Melanotrophin หรือ Intermedin (MSH)


เป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง เป็นพวก Polypeptide มีอยู่ 2 ชนิด คือ a-MSH
และ b-MSH โดยที่ b-MSH นี้จะแตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละชนิด นอกจากนั้นแล้วอณู MSH ของสัตว์
ต่างๆ ยังมีบางส่วนเหมือนกันและเหมือนกับ ACTH บางส่วนอีกด้วย

หน้าที่ของ Melanocyte-stimulating hormone


1. ทาหน้าที่ร่วมกับ ACTH กระตุ้นการสังเคราะห์และควบคุมการกระจายของเม็ดรงควัตถุ
(Pigment granule) ใน Melaphore cell หรือ Melanocyte ที่ผิวหนังของสัตว์เลือดเย็นเพื่อเปลี่ยนสีตัวให้เข้า
กับสิ่งแวดล้อม
2. ในสัตว์เลือดอุ่น MSH จะทาให้ Melanocyte ที่ผิวหนังเข้มขึ้น แต่เป็นไปอย่างช้าๆ ด้วยวิธีการที่
แตกต่างจากสัตว์กลุ่มอื่นๆ

11
การควบคุมการทางานของต่อมใต้สมองส่วนหน้า
นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า การสร้างและหลั่งฮอร์โมนต่างๆ จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าดังกล่าวแล้ว
นั้น ต้องมีฮอร์โมน (Neurohormone) ที่สร้างจาก Neurosecretory cell ในนิวเคลียสของสมองส่วน
Hypothalamus มาควบคุมอีกทีหนึ่ง คือ
 Corticotrophin-releasing factor (CRF) กระตุ้นการสร้างและหลั่ง ACTH
 Thyrotrophin-releasing factor (TRF) กระตุ้นการสร้างและหลั่ง TSH
 Growth hormone-releasing factor (GHRF) หรือ Somatotrophin-releasing factor (SRF)
 Luteinizing hormone-releasing factor (LRF) กระตุ้นการสร้างและหลั่ง LH
 Follicle-stimulating hormone-releasing factor (FRF or FSRF) กระตุ้นการสร้างและ หลั่ง FSH
 Prolactin-releasing factor (PRF) or Luteotrophic hormone-releasing factor (LTRF) กระตุ้นการ
สร้างและหลั่ง LTH
 Prolactin inhibiting factor (PIF) ยับยั้งการสร้างและหลั่ง LTH
 Growth hormone inhibiting factor (GIF) ยับยั้งการสร้างและหลั่ง GH
ฮอร์โมนต่างๆ เหล่านี้มีเพียง 2-3 ชนิดที่สามารถสกัดออกมาได้จากสัตว์ และทราบโครงสร้างทาง
เคมีแล้วว่าเป็นพวก Peptide คือ TRF เป็น tripeptide (มีกรดอะมิโน 3 อณู) LRF เป็น decapeptide (มีกรดอะ
มิโน 10 อณู) และ GIF เป็น tetradecapeptide (มีกรดอะมิโน 14 อณู)

Neurohypophysis

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior Lobe)


ต่อมใต้สมองส่วนหลัง เป็นส่วนเนื้อเยื่อประสาทที่มีกลุ่มปลายแอกซอนของเซลล์ นิวโรซีครีตอรี
(Neurosecretory) ภายใน Hypothalamus มาติดต่อด้วยกลุ่มเซลล์ Neurosecretory โดยจะปล่อย
ฮอร์โมน ที่ปลายแอกซอนในต่อมใต้สมองส่วนหลังก่อน แล้วจะถูกนาออกสู่อวัยวะเป้าหมาย โดยทาง
กระแสเลือด ดังนั้นต่อมใต้สมองส่วนหลังนี้ไม่ได้เป็นตัวสร้างฮอร์โมนเอง แต่จะได้รับฮอร์โมนที่สร้าง
จากไฮโปทาลามัส และจะได้รับการคุ้มครองโดยตรงจากไฮโปทาลามัส และยังทาหน้าที่เป็น Neurohaemal
organ สะสม Neurohormone ที่มาจาก Neurosecretory cell ในนิวเคลียสของ Hypothalamus ดังภาพ

12
ภาพที่ 9.5 แผนภาพแสดงโครงสร้างของ Neurosecretory cell

Neurosecretory cell อยู่ใน Hypothalamic nucleus แล้วมี axon บางอันผ่านมาตาม infundibular


stalk และไปสิ้นสุดใกล้ๆ กับเส้นเลือดฝอยในต่อมใต้สมองส่วนท้ายซึ่งเป็น Neurohaemal organ สะสม
ฮอร์โมน (Oxytocin และ Vasopressin) จาก Neurosecretory cell เหล่านั้นเอาไว้ ส่วน axon บางอันไป
สิ้นสุดที่เส้นเลือดฝอย แล้วปล่อย Neurohormone เข้าสู่กระแสเลือดไปยังต่อมใต้สมองส่วนหน้าเพื่อไป
กระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนนี้ให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนออกมา
ที่มา: เชาว์ ชิโนรักษ์, พรรณี ชิโนรักษ์ ชีววิทยา 1 หน้า 701
ฮอร์โมนที่กล่าวถึงมี 2 ชนิด คือ Oxytocin และ Vasopressin เป็นพวก peptide ซึ่งมีกรดอะมิโน 8
ชนิดต่อกันถึง 9 อณู (เป็น Octapeptide) แล้วมีธาตุกามะถัน 2 อณูเชื่อมระหว่าง cystein ทั้งสองเอาไว้
Oxytocin กับ Vasopressin ต่างกันตรงที่มีกรดอะมิโนต่างกัน 2 ชนิด โครงสร้างทางเคมีของฮอร์โมนทั้ง 2
ดังกล่าวนั้น Vincent Du Vigneaud เป็นคนแรกที่แยกและตรวจพบจากต่อมใต้สมองส่วนท้าย และสามารถ
สังเคราะห์ขึ้นได้ในปี ค.ศ. 1953

ฮอร์โมนประสาท (Neurohormone) มี 2 ชนิดที่สาคัญคือ


 Vasopressin หรือ Antidiuretic hormone (ADH) หรือ b-Hypophamine
มีอยู่หลายชนิดในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดต่างๆ แต่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีอยู่ 2 ชนิด คือ Arginine
vasopressin และLysine vasopressinในคนมี Vasopressin ชนิด Arginine vasopressin เพียงชนิดเดียวเท่านั้น
หน้าที่ของ Vasopressin
o ควบคุมสมดุลของน้าและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมการดูดน้ากลับของท่อหน่วยไต ซึ่งจาก
หน้าที่นี้ทาให้ปัจจุบันมีการเรียก vasopressin อีกชื่อหนึ่งว่า Antidiuretic hormone (ADH)
o กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบในผนังเส้นเลือด ทาให้เส้นเลือดบีบตัว ส่งผลให้ความดัน
เลือดสูงขึ้น
13
o ADH ออกฤทธิ์ต่อต้านกล้ามเนื้อเรียบ ของอวัยวะต่างๆ
o เพิ่มการหลั่ง ACTH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าได้
o ADH สามารถนามารักษาโรคเบาจืดได้ ซึ่งจะให้ผลดีเฉพาะโรคเบาจืดที่ขาดฮอร์โมน ADH อัน
เนื่องมาจากต่อมใต้สมองส่วนหลังหรือ ไฮโปทาลามัสพิการ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในกรณี
เกี่ยวกับโรคทางไต
o มักใช้ฉีดหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการช็อคเนื่องจากความดันโลหิตต่าลงเพราะเสียเลือดมากอาการ
ผิดปกติเนื่องมาจาก ADH
ต่าเกินไป เบาจืด (ร่างกายขับน้ามากเกินไป)
สูงเกินไป ซึมไม่สบายเบื่ออาหาร
o Oxytocin หรือ Pitocin หรือ a-Hypophamine

หน้าที่ของ Oxytocin
ทาหน้าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายในหลายชนิด เช่น
o กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก ในขณะที่มีการคลอด โดยฮอร์โมนนี้
จะทาให้กล้ามเนื้อเรียบของมดลูกหดตัวบีบเอาลูกออกมาได้ (ในกรณีที่คลอดลูกยากก็ฉีดฮอร์โมนนี้
เข้าไปจะช่วยให้คลอดลูกได้ง่ายขึ้น) และกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของมดลูกในขณะ
หลังคลอดเพื่อทาให้มดลูกเข้าอู่ได้ ถ้ามีการหลั่งออกมามากในขณะที่ยังไม่ถึงกาหนดคลอดจะทาให้
แท้งลูกได้
o กระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อรอบๆ ต่อมน้านมให้ขับน้านมออกมาเลี้ยงลูกอ่อน ฮอร์โมนนี้จะ
ช่วยให้เกิดการไหลของน้านมได้ง่ายขึ้น แต่ไม่มีผลต่อการสร้างน้านมเหมือน Prolactin
o ในเพศชาย ฮอร์โมนนี้จะช่วยในการหลั่งน้าอสุจิ (Semen) และช่วยกระตุ้นการเคลื่อนที่
ของอสุจิ (Sperm transport) ในมดลูกด้วย เป็นการช่วยให้เกิดการปฏิสนธิวิธีหนึ่ง

14
ภาพที่ 9.6 แผนภาพแสดงการควบคุมการหลั่ง Oxytocin
ที่มา: สมาน แก้วไวยุทธ เล่มเดิม หน้า 184
สรุปความผิดปกติของร่างกาย
ระดับฮอร์โมน อาการที่แสดง

ต่าเกินไป - วัยเด็ก Dwarfism (เตี้ยแคระ, แขนขาสั้น)


GH - วัยผู้ใหญ่ Simmond's disease (เนื้อเยื่อเหี่ยวแห้ง, แก่
เร็ว) สูงเกินไป - วัยเด็ก Gigantism (แขนขายาวผิดปกติ, อายุ
สั้น) - วัยผู้ใหญ่ Acromegaly (มือ เท้า หน้า ใหญ่ผิดปกติ)

ต่าเกินไป เบาจืด
(Diabetes insipidus) ร่างกายขับน้ามากเกินไป
ADH
สูงเกินไป ซึมไม่สบาย เบื่ออาหาร

15
ตารางที่ 9.2 แสดงตาแหน่งฮอร์โมนต่อมใต้สมอง (Pituitary gland)

ตาแหน่ง ฮอร์โมน อวัยวะเป้าหมาย ผลต่ออวัยวะเป้าหมาย


พูหน้า GH กระดูกและร่างกาย กระตุ้นการเจริญของกระดูกและร่างกาย

(Anterior lobe) ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึม


ของโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรต

เพิ่มระดับน้าตาลในเลือด

TSH ต่อมไทรอยด์ กระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนไทรอกซิน

ACTH อะดรีนัลคอร์เทกซ์ กระตุ้นการสร้างและหลั่งกลูโคคอร์ติคอยด์

LTH ต่อมน้านม รังไข่ กระตุ้นการเจิญของหลอดสร้างอสุจิ

หญิง กระตุ้นให้มีการสร้างน้านม

FSH รังไข่ อัณฑะ ชายกระตุ้นการเจริญของอัณฑะ กระตุ้นหลอดสร้างอสุจใิ ห้สร้างตัวอสุจิ

หญิงกระตุน้ การเจริญของฟอลลิเคิล
ในรังไข่ ทางานร่วมกับ LH กระตุ้นฟอลลิเคิลสร้าง Estrogen

LH รังไข่ อัณฑะ ชาย กระตุ้น Interstitial cell of Leydig ในอัณฑะ สร้าง Androgens หรือ
เรียก LH ว่า ICSH

หญิง ร่วมกับ FSH กระตุน้ การตกไข่ร่วมกับ FSH กระตุ้นการสร้างคอร์


ปัสลูเตียม และให้หลั่ง Progesterone

Endorphine สมอง ลดความเจ็บปวด มีฤทธิค์ ล้ายฝิ่น,มอร์ฟีน

พูกลาง MSH เซลล์เมลานิน สัตว์เลือดเย็น กระตุ้นรงควัตถุ Melanin ใน Melanophore ให้


ที่ผิวหนัง กระจายตัว ทาให้ผิวหนัง สีเข้มขึ้น
(Intermediate lobe)
สัตว์เลือดอุ่นยังไม่ทราบแน่ชัด

พูหลัง ADH ท่อหน่วยไต ควบคุมการดูดน้ากลับจากท่อหน่วยไต กระตุ้นการบีบตัวของหลอด


เลือด อาจเรียกฮอร์โมนชนิดนี้ว่า Vasopressin
(Posterior lobe)

Oxytocin กล้ามเนื้อเรียบรอบ กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบรอบต่อมน้านมเพื่อหลั่งน้านม


ต่อมน้านม
กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกขณะคลอด
กล้ามเนื้อเรียบผนัง
มดลูก

16
ตารางที่ 9.3 ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ชื่อฮอร์โมน บทบาทของฮอร์โมน
Growth Hormone (GH) กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกายทุกส่วนตั้งแต่วัยเด็ก

Gonadotrophin ในหญิง กระตุ้นการเจริญของรังไข่และการหลั่งออร์โมน


FSH อีสโทรเจน
LH ในชาย กระตุ้นการเจริญของอัณฑะและการสร้างตัวอสุจิ

ในหญิง ทางานร่วมกับ FSH ในการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนอีสโทรเจน


และโพรเจสเทอโรน และกระตุ้นให้เกิดการตกไข่
ในชาย ควบคุมการสร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) และ
ทางานร่วมกับ FSH ในการสร้างตัวอสุจิ

Prolactin กระตุ้นและควบคุมการสร้างน้านมของต่อมน้านม

ACTH กระตุ้นและควบคุมการสร้างฮอร์โมนของอะดรีนัลคอร์เทกซ์

TSH กระตุ้นและควบคุมการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์

ตารางที่ 9.4 ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง


ชื่อฮอร์โมน บทบาทของฮอร์โมน
Antidiuretic Hormone ADH - ควบคุมการดูดน้ากลับของท่อหน่วยไต

Oxytocin - ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบต่อมน้านม
- ควบคุมการหดตัวกลับของกล้ามเนื้อมดลูก

3. ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
ตับอ่อน (Pancreas) เป็นอวัยวะที่ทาหน้าที่เป็นทั้งต่อมมีท่อ คือ สร้างน้าย่อยส่งไปที่ลาไส้เล็ก
และเป็นต่อมไร้ท่อคือสร้างฮอร์โมน เนื้อเยื่อของตับอ่อนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เซลล์แอซินาร์ (Acinar cell) เป็นกลุ่มเซลล์ที่ทาหน้าที่สร้างและหลั่งน้าย่อยอาหารเข้าสู่ ลาไส้
เล็ก (ส่วนดูโอดีนัม) โดยมีท่อสาหรับลาเลียงน้าย่อย ส่วนนี้จึงทาหน้าที่เป็นส่วนของต่อมมีท่อ
2. เซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ (Islets of Langerhans cell) เป็นกลุ่มเซลล์เล็ก ๆ จานวนหลาย
แสนกลุ่มกระจัดกระจายอยู่เป็นหย่อม ๆ ในตับอ่อน เป็นเซลล์ที่ทาหน้าที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนของตับ
อ่อน ส่วนนี้จึงทาหน้าที่เป็นส่วนของต่อมไร้ท่อ
กลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ของคน ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์สาคัญ ๆ 2 ชนิด คือ
2.1 เบตาเซลล์ (b-Cell) เป็นเซลล์ที่มีขนาดเล็กมีจานวนมากประมาณ 60-80% และอยู่ด้านในของ
17
กลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน
2.2 อัลฟาเซลล์ (a-cell ) เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแต่มีจานวนน้อยกว่า b-cell มักจะอยู่บริเวณ
รอบ ๆ กลุ่มไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนกลูคากอน
ฮอร์โมนที่สาคัญที่สร้างขึ้นมี 2 ชนิด

o อินซูลิน (insulin)
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากกลุ่มเบาตาเซลล์ (b - cell) ซึ่งอยู่บริเวณส่วนกลางของไอส์เลต
ออฟแลงเกอร์ฮานศ์
หน้าที่สาคัญ รักษาระดับน้าตาลในเลือดให้เป็นปกติ
อินซูลินจะหลั่งออกมามากเมื่อระดับน้าตาลในเลือดสูงหรือหลังจากรับประทานอาหารที่มี
คาร์โบไฮเดรต อินซูลินจะกระตุ้นอาหารจาพวกคาร์โบไฮเดรตหรือกลูโคสให้สลายตัวเกิดพลังงานออกมา
และอินซูลินยังกระตุ้นเซลล์ในตับอ่อนให้เปลี่ยนกลูโคสที่มีมากเกินพอให้กลายเป็นไกลโคเจน เพื่อเก็บ
สะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ จึงทาให้ระดับน้าตาลในเลือดลดลงสู่ระดับปกติ
ทาหน้าที่ร่วมกับฮอร์โมนตัวอื่น ๆ ในการรักษาระดับน้าตาลในเลือดให้เป็นปกติ เช่น กลูคากอน
กลูโคคอร์ติคอยด์ โกรทฮอร์โมนควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมของโปรตีนและไขมันอวัยวะเป้าหมาย
ตับอ่อน กล้ามเนื้อ ก้อนไขมัน

ความผิดปกติของร่างกายเนื่องจากอินซูลิน
- เบตาเซลล์ของกลุ่มไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์มีความไวต่อระดับน้าตาลในเลือดมาก และใน
ระดับน้าตาลสูงเกินไปสามารถทาลายเบตาเซลล์ได้ ทาให้มีปริมาณฮอร์โมนอินซูลินน้อย ร่างกายไม่
สามารถใช้น้าตาลในเลือดได้ จึงเกิดโรคเบาหวาน
- ถ้าอินซูลินมีมากเกินไปจะทาให้เกิดอาการช็อต เพราะมีการใช้น้าตาลในเลือดไปมาก ทาให้
ระดับน้าตาลในเลือดลดลงมาก ระดับน้าตาลในเลือดที่อยู่ในสภาวะสมดุล คือ 0.1% (100 มิลลิกรัมต่อ
เลือด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร)
- โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) โรคนี้เป็นได้กับทุกเพศทุกวัย อาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์
อายุมากขึ้น ความเครียด ความอ้วน การตั้งครรภ์ การอักเสบที่ตับอ่อนจากเชื้อไวรัส
หรือยาบางชนิด เป็นต้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในระยะแรกอาการอาจไม่รุนแรงแต่ถ้าเป็นมากมี
อันตรายถึงชีวิตได้ อาการของคนเป็นโรคเบาหวานจะแสดงอาการสาคัญ ดังนี้

o ปริมาณน้าตาลในเลือดสูง (มีอินซูลินน้อย)
ทาให้ร่างกายมีความต้านทางโรคต่า เป็นแผลหายยาก มีอาการคันบริเวณอวัยวะ สืบพันธุ์และ
ผิวหนัง เพราะน้าตาลกลูโคสในเลือดสูงเป็นอาหารของแบคทีเรียอย่างดี ทาให้แบคทีเรียเจริญเติบโตดีและ
รวดเร็ว

18
o ปัสสาวะบ่อยและมาก
ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน เนื่องจากมีน้าตาลในเลือดมาก เมื่อผ่านไตจะไม่สามารถดูด
กลับคืนสู่ร่างกายได้หมด น้าตาลจึงถูกขับออกมาพร้อมปัสสาวะ โดยโมเลกุลของน้าตาลจะดึงโมเลกุลของ
น้าออกมาด้วย ทาให้ปัสสาวะมากกว่าปกติ และในบางครั้งอาจพบว่าปัสสาวะ มีมดขึ้น

o กระหายน้ามากและบ่อยผิดปกติ
กระหายน้าบ่อยกว่าปกติ ทั้งนี้เป็นผลมาจากมีการถ่ายปัสสาวะบ่อยและมาก

o กินจุแต่หิวตลอดเวลา
เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้น้าตาล หรือเผาผลาญกลูโคสให้เกิดพลังงาน

o น้าหนักตัวลด อ่อนเพลีย เซื่องซึม เมื่อยล้า


เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้พลังงานจากกลูโคสได้ จึงไปสลายไขมันที่เก็บสะสมไว้และโปรตีน
จากเนื้อเยื่อของร่างกายแทน เป็นเหตุให้ร่างกายซูบผอม น้าหนักตัวลด

o เลือดและปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรดมากกว่าปกติ
เนื่องจากมีสารคีโตน (Ketone body) จากการสลายไขมัน

o ทาให้สมอง หัวใจ ตับ ไต ตา (ตามัวพร่า) และกล้ามเนื้อเสื่อมหรือทางานไม่ได้เต็มที่ ถ้า


เป็นโรคเบาหวานนาน ๆ อาจจะทาให้ตาบอดและไตจะค่อย ๆ หมดสมรรถภาพในการทางาน

โรคเบาหวานที่พบในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ


1. โรคเบาหวานที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เลยในการรักษาผู้ป่วย จึง
ต้องรับการฉีดอินซูลินทุกวันเพื่อควบคุมปริมาณน้าตาล และที่สาคัญปริมาณของฮอร์โมนที่ฉีดต้องอยู่ใน
การดูแลควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ระดับน้าตาลในเลือดต่าจนเกิดสภาพช็อต เนื่องจากการ
ขาดน้าตาล
2. โรคเบาหวานที่เกิดจากเซลล์ร่างกายไม่สังเคราะห์ตัวรับอินซูลิน (หน่วยรับเฉพาะ) ทาให้
อินซูลินทางานไม่ได้ โรคเบาหวานแบบนี้ตับอ่อนของผู้ป่วยสามารถสร้างอินซูลินได้เป็นปกติ แต่อินซูลิน
ไม่สามารถทางานได้ทาให้ปริมาณน้าตาลในเลือดสูง และแสดงอาการของโรคเบาหวานออกมา ผู้ป่วยพวก
นี้มักจะมีอาการอื่น ร่วมด้วย ได้แก่ ตามัว ระบบการทางานของไตบกพร่อง ระบบหมุนเวียนเลือดผิดปกติ
เป็นต้น โรคเบาหวานแบบนี้พบมากถึง 90% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

19
การรักษาโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยาก แต่ถ้าเพิ่งเริ่มมีอาการหากรักษาให้ถูกวิธีก็อาจจะ
ทาให้เซลล์ของไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ฟื้นตัวเป็นปกติได้ ถ้าหากเป็นนาน ๆ และได้รับการรักษาไม่
ถูกต้องเซลล์ของไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์สูญเสียประสิทธิภาพการทางานโดยสิ้นเชิงหรือตายไป ก็
ย่อมไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้แต่สามารถช่วยผู้ป่วยให้ดารงชีวิตอยู่เป็นปกติได้ โดยการฉีดอินซูลิน และ
การระมัดระวังในการรับประทานอาหาร
การฉีดฮอร์โมนเข้าไปจะทาให้ร่างกายสามารถดารงสภาพปกติอยู่ได้หรืออาการผิดปกติทุเลาลง
แต่ส่วนใหญ่มักจะทาให้หายขาดไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากเซลล์ในไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ที่สร้างฮอร์โมนมี
ประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมนลดลงไป จึงจาเป็นต้องฉีดฮอร์โมนอยู่เสมอ

o กลูคากอน (Glucagons) กลูคากอนเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจาก a-cell ของกลุ่มไอส์เลตออฟแลง


เกอร์ฮานส์ ซึ่งเป็นเซลล์ขนาดใหญ่มีจานวนน้อยกว่า b-cell และอยู่รอบๆ ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
หน้าที่สาคัญ (กลูคากอนจะทาหน้าที่ตรงข้ามกับอินซูลิน)
- จะไปกระตุ้นการสลายตัวของไกลโคเจนจากตับและกล้ามเนื้อให้เป็นน้าตาลกลูโคสปล่อย
ออกมาในกระแสเลือด ทาให้ระดับน้าตาลในเลือดสูงขึ้น
- กระตุ้น b-cell ให้หลั่งอินซูลินออกมาทาให้ระดับน้าตาลในเลือดเป็นปกติ
- กระตุ้นการสลายโปรตีน และเปลี่ยนกรดอะมิโนเป็นกลูโคส
อวัยวะเป้าหมาย ตับ

ความผิดปกติของร่างกายเนื่องจากกลูคากอน
การขาดกลูคากอนไม่มีผลสาคัญต่อร่างกาย เพราะมีฮอร์โมนหลายชนิดที่คล้ายกลูคากอน เช่น กลู
โคคอร์ติคอยด์ อะดรีนาลีนฮอร์โมน เป็นต้น

ภาพที่ 9.7 แผนภาพแสดงวงจรการกระตุ้นและยับยั้งฮอร์โมนจากตับอ่อน


ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่มเดิม หน้า 69
20
4. ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
โครงสร้างของต่อมหมวกไต (Adrenal gland)
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีต่อมหมวกไต 2 ต่อม แต่ละต่อมอยู่เหนือไตทั้ง 2 ข้าง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2
ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอก เรียกว่า อะดรีนัลคอร์เทกซ์ (adrenal cortex) เนื้อเยื่อชั้นใน เรียกว่า อะดรีนัล
เมดัลลา (adrenal medulla)
เนื้อเยื่อทั้ง 2 ชั้น นี้จะผลิตฮอร์โมนแตกต่างกัน

ภาพที่ 9.8 แผนภาพแสดงตาแหน่งและโครงสร้างของต่อมหมวกไต


ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่มเดิม หน้า 71

อะดรีนัลคอร์เทกซ์ (Adrenal cortex)


อะดรีนัลคอร์เทกซ์เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกของต่อมหมวกไต ถูกควบคุมด้วยอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน
(ACTH) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าต่อมนี้ถือได้ว่าเป็นต่อมที่สามารถผลิตฮอร์โมนมากชนิดที่สุดที่เท่าที่
รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน (มากกว่า 50 ชนิด) ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นมีสมบัติเป็นสเตรอยด์ ซึ่งร่างกายสังเคราะห์ได้
จากสารคลอเลสเตอรอลทั้งสิ้น จึงรวมเรียกฮอร์โมนเหล่านี้ว่าคอร์ติคอยด์ (corticoid) ฮอร์โมนกลุ่มคอร์ติ
คอยด์ที่สาคัญ ได้แก่
1. ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) ทาหน้าที่ควบคุมเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
ฮอร์โมนที่สาคัญในกลุ่มนี้ คือ คอร์ติซอล (Cortisol)

หน้าที่สาคัญ
1. ควบคุมเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตภายในร่างกาย
2. โดยกระตุ้นการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตและไกลโคเจน (Glycogen) ในตับและกล้ามเนื้อให้เป็น
กลูโคส เพื่อเพิ่มปริมาณน้าตาลในเลือด

21
3. กระตุ้นการสร้างน้าตาลจากสารชนิดอื่น โดยกระตุ้นเซลล์ตับให้เปลี่ยน
กรดอะมิโน และกรดไขมันเป็นคาร์โบไฮเดรต
4. กระตุ้นการสังเคราะห์ไกลโคเจน โดยการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นไกลโคเจนเก็บสะสมไว้ในตับ
5. ควบคุมเมตาบอลิซึมของโปรตีนและไขมัน โดยเพิ่มอัตราการสลายตัวของโปรตีนและไขมันใน
ร่างกาย
6. ควบคุมสมดุลของแร่ธาตุภายในร่างกายได้เล็กน้อย
7. มีฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบ โดยจะยับยั้งการสร้างแอนติบอดี การสร้างเม็ดเลือด และขัดขวาง
การทาลายสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว เป็นต้น จึงมีการนามาใช้ในการรักษาโรคหลายอย่าง เช่น ไขข้อ
อักเสบ แต่การใช้กลูโคคอร์ติคอยด์จาเป็นต้องคานึงถึงผลข้างเคียงของยาเหล่านี้ด้วย เช่น จานวนเม็ดเลือดขาว
ลิมโฟไซด์ลดลง ผลต่อการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทาให้ลดการต้านทานเชื้อโรคของร่างกาย เป็นต้น

2. ฮอร์โมนมิเนราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid) มีหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้าและแร่ธาตุใน


ร่างกาย ฮอร์โมนสาคัญชนิดหนึ่งในกลุ่มนี้ คือ แอลโดสเตอโรน (Aldosterone)
หน้าที่สาคัญ
1. ควบคุมการทางานของไตในการดูดน้าและโซเดียมเข้าสู่เส้นเลือดและขับโพแทสเซียมออกจาก
ท่อของหน่วยไตให้สมดุลกับความต้องการของร่างกาย
2. ควบคุมสมดุลของความเข้มข้นของฟอสเฟต

อวัยวะเป้าหมาย ตับ

ความผิดปกติของร่างกายเนื่องจากฮอร์โมนจากอะดรีนัลคอร์เทกซ์
1. ถ้ามีฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์มากเกินไป ทาให้เกิดโรคคูชซิ่ง (Cushing’s syndrome) สภาวะ
เช่นนี้อาจเกิดจากตัวต่อมหมวกไตมีการเจริญและทางานมากกว่าปกติ หรือจากการที่ ACTH มากระตุ้นให้
ต่อมหมวกไตทางานมาก ทาให้มีความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน
ระดับน้าตาลในเลือดสูงขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากมีการสลายโปรตีน และไขมันตามบริเวณแขนขา
แต่มีการสะสมไขมันที่บริเวณแกนกลางลาตัว เช่น ใบหน้า ทาให้ใบหน้ากลมคล้ายพระจันทร์ (Moon face)
บริเวณต้นคอมีหนอกยื่นออกมา (Buffalo hump) ผมร่วง ผิวบางและเลือดออกง่าย
ความดันโลหิตสูง ฃ
2. การขาดแอลโดสเตอโรน จะมีผลทาให้ร่างกายสูญเสียน้าและโซเดียมไปพร้อมปัสสาวะเป็น
จานวนมากและส่งผลทาให้ปริมาณเลือดในร่างกายลดลงจนอาจทาให้ตายได้เพราะความดันเลือดต่า

22
3. ถ้าขาดฮอร์โมนจากอะดรีนัลคอร์เทกซ์ ทาให้เกิดโรคแอดดิสัน (Addison’s disease) เกิดจาก
อะดรีนัลคอร์เทกซ์ถูกทาลายจนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ ความผิดปกตินี้เกิดจากตัวต่อมหมวกไตเอง
ทาให้มีอาการซูบผอม ผิวหนังตกกระ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความดันเลือดและน้าตาล
ในเลือดต่า ลาไส้ทางานไม่ปกติ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้ และตายในที่สุด
4. ฮอร์โมนเพศ (Sex hormone หรือ Cortisol sex hormone) ในภาวะปกติฮอร์โมนที่อะดรีนัลคอร์
เทกซ์จะสร้างได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับฮอร์โมนเพศที่สร้างมาจากอัณฑะและ รังไข่ และส่วน
ใหญ่จะเป็นฮอร์โมนเพศชายมากกว่าจะมีฮอร์โมนเพศหญิงน้อยมาก
แต่ถ้าต่อมนี้สร้างฮอร์โมนเพศมากเกินปกติ จะทาให้เกิดความผิดปกติทางเพศได้ โดยเด็กจะแสดง
อาการเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วขึ้น มีขนตามร่างกายมากกว่าปกติ เสียงห้าว ส่วนในผู้หญิงที่โตเป็นสาวแล้วถ้ามี
ฮอร์โมนเพศจากต่อมนี้มาก จะมีหนวดเคราเกิดขึ้นได้

อะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla)


อะดรีนัลเมดัลลาเป็นเนื้อเยื่อชั้นในของต่อมหมวกไต เนื้อเยื่อนี้จะทาหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด
คือ อะดรีนาลีนฮอร์โมน และฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลีน

1. อะดรีนาลีนฮอร์โมน (Adrenaline hormone) หรือฮอร์โมนเอพิเนฟริน (Epinephrine) อะดรี


นาลีนฮอร์โมนเมื่อหลั่งออกมาแล้วจะมีผลอย่างรวดเร็วต่อการทางานของร่างกาย แม้ว่าการทางานของ
ระบบประสาทก็ตาม ทาหน้าที่เป็นหลักในการปรับสภาพของร่างกายให้เหมาะสมต่อภาวะตึงเครียด หรือ
เมื่อร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น โกรธ ตกใจ เสียใจ โดยฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นระบบ
ประสาทซิมพาเทติก

หน้าที่สาคัญ
1. เพิ่มระดับน้าตาลในเลือดให้สูงขึ้น โดยเพิ่มการสลายไกลโคเจนที่ตัวและกล้ามเนื้อลาย
2. กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วและแรง มีการสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น
3. กระตุ้นให้หลอดลมขยายตัวเพื่อให้อากาศผ่านเข้าปอดได้มาก ทาให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น เพื่อการใช้ O2
4. ทาให้ความดันเลือดสูง
5. ทาให้เส้นเลือดอาร์เตอรีขนาดเล็กที่บริเวณอวัยวะต่างๆ ขยายตัว ส่วนเส้นเลือดอาร์เตอรีขนาดเล็กที่บริเวณ
ผิวหนัง และช่องท้องหดตัว

23
2. นอร์อะดรีนาลีนฮอร์โมน (Noradrenalin hormone) หรือฮอร์โมนนอร์เอพเนฟริน
(Norepinephrine) นอร์อะดรีนาลีนฮอร์โมน นอกจากจะหลั่งมาจากอะดรีนัลเมดัลลาแล้วยังหลั่งออกมา
จากปลายเส้นประสาทซิมพาเทติก ด้วย

หน้าที่สาคัญ
1. มีหน้าที่คล้ายอะดรีนาลีนฮอร์โมน แต่มีผลต่อการเต้นของหัวใจ การขยายหลอดลม การ
เพิ่มน้าตาลในเลือด การเพิ่มอัตราการหายใจของร่างกายแต่น้อยกว่าอะดรีนาลีนฮอร์โมน
2. ทาให้ความดันเลือดสูง
3. ทาให้เส้นเลือดอาร์เตอรีที่ไปเลี้ยงอวัยวะภายในต่างๆ บีบตัว

อวัยวะเป้าหมาย ตับ กล้ามเนื้อ และอวัยวะทั่วไป

ความผิดปกติของร่างกายเนื่องจากฮอร์โมนจากอะดรีนัลเมดัลลา
การหลั่งฮอร์โมนจากอะดรีนัลเมดัลลานี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมของไฮโพทาลามัส ในภาวะปกติ
จะหลั่งฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย (มีการหลั่งนอร์อะดรีนาลีนฮอร์โมนมากกว่า
อะดรีนาลีนฮอร์โมน) แต่ในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความตึงเครียดทางจิตใจ เช่น โกรธ
ตกใจ กลัว ตื่นเต้น เป็นต้น
ภาวะเช่นนี้ทาให้อะดรีนัลเมดัลลาถูกกระตุ้น ร่างกายจะหลั่งอะดรีนาลีนฮอร์โมนออกมากกว่า
ระดับปกติ ทาให้มีระดับน้าตาลในเลือดสูงขึ้น เมตาบอลิซึมเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจึงมีพลังงานมากกว่าปกติ
อันมีผลทาให้มีการแสดงพฤติกรรมที่ยามภาวะปกติไม่กระทา หรือกระทาไม่ได้

5. ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์, พาราไทรอยด์
โครงสร้างของต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)
ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายอยู่ที่ส่วนหน้าของคอ
ลักษณะเป็นพู อยู่สองข้างของคอหอยโดยมีเนื้อเยื่อบางๆ เชื่อมต่อกัน ปกติมองดูภายนอกไม่สามารถเห็น
ได้ นอกจากมันจะโตผิดปกติเป็นคอพอก
ต่อมไทรอยด์เป็นกลุ่มเซลล์กลมๆ ที่มีความหนาชั้นเดียวแลละมีช่องกลวงตรงกลาง เรียกว่า
ไทรอยด์ฟอลลิเคิล (thyroid follicle) ดังนั้นต่อมไทรอยด์จึงประกอบด้วยไทรอยด์ฟอลลิเคิลหลายหมื่นอัน
ฮอร์โมนสาคัญที่สร้างจากต่อมนี้คือ ไทรอกซิน (thyroxin) และแคลซิโทนิน (calcitonon)

24
ภาพที่ 9.9 แผนภาพแสดงต่อมไทรอยด์และไทรอยด์ฟอลลิเคิล
ที่มา : พัชรี พิพัฒนวรรณกุล ชีววิทยา ชั้น ม.6 เล่ม 1 ว 044 หน้า 130

ไทรอกซิน (thyroxin)
ไทรอกซินเป็นฮอร์โมนที่มีไอโอดีนเป็นองค์ประกอบสาคัญ สร้างมาจากกลุ่มเซลล์ไทรอยด์
ฟอลลิเคิล (Thyroid follicle) โดยที่กลุ่มเซลล์นี้สามารถจับไอโอดีนในกระแสเลือด เพื่อนามาสร้างฮอร์โมน
ได้อย่างรวดเร็ว ไทรอกซินมีบทบาทสาคัญในการควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกาย จาเป็นต่อการเจริญและ
พัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะพัฒนาการของสมอง
หน้าที่สาคัญ
1. ควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกาย โดยทาให้ร่างกายได้ใช้อาหารและออกซิเจนในการสร้าง
พลังงานได้อย่างเต็มที่
2. ทางานร่วมกับ GH ในการควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายและสมอง
3. ควบคุมเมตามอร์โฟซิล (metamorphosis) ในสัตว์ครึ่งน้าครึ่งบก เช่น ในกบ พบว่าไทรอก
ซินจะกระตุ้นการเปลี่ยจากลูกอ๊อดเป็นตัวกบเต็มวัย พบว่า ลูกอ๊อดที่ขาดฮอร์โมนนี้จะไม่สามารถ
เปลี่ยนเป็นตัวเต็มวัยได้ แต่ถ้าลูกอ๊อดได้รับฮอร์โมนชนิดนี้มากเกินไป จะมีผลไปเร่งให้เกิด
เมตามอร์โฟซิสเร็วขึ้น ทาให้ขนาดของกบเล็กกว่าปกติ

อวัยวะเป้าหมาย กล้ามเนื้อ ตับ ไต หัวใจ

ความผิดปกติของร่างกายเนื่องจากไทรอกซิน
1. ครีทินิซึม (Cretinism) เป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ฝ่อหรือพิการตั้งแต่
กาเนิด ทาให้เกิดภาวะขาดไทรอกซินในวัยเด็ก จะมีผลให้พัฒนาการทางร่างกายและสมองด้อยลง การ

25
เจริญของกระดูกลดลง ร่างกายจึงเตี้ยแคระ แขนขาสั้น ผิวหยาบแห้ง ผมบาง การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
และมีภาวะปัญญาอ่อน พูดช้า
2. มิกซีดีมา (Myxedema) เป็นความผิดปกติของร่างกายเนื่องจากการขาด ไทรอกซินในวัยผู้ใหญ่
เพราะต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยกว่าปกติ จะทาให้มีอาการเหนื่อยง่าย น้าหนักเพิ่ม ทนความ
หนาวไม่ได้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชัก ผมและผิวหนังหยาบเหลือง หน้าและมือบวม หัวใจโต อัตราเม
ตาบอลิซึมต่า ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย มีอาการซึม เฉื่อยชา และความจาเสื่อม โรคนี้มักพบใน ผู้หญิง
มากกว่าผู้ชาย
3. โรคคอพอก ความผิดปกตินี้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ โรคคอพอกชนิดธรรมดา (Simple
goiter) หรือโรคคอพอกชนิดไม่เป็นพิษสาเหตุเนื่องจากกินอาหารที่ขาดธาตุไอโอดีนเป็นประจา ซึ่งธาตุ
ไอโอดีนเป็นองค์ประกอบสาคัญของฮอร์โมนไทรอกซิน ด้วยเหตุนี้การขาดธาตุไอโอดีนจะมีผลให้ต่อม
ไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซินได้เลย และทาให้คนนั้นเป็นโรคคอพอก
ผู้ป่วยโรคคอพอกลักษณะนี้มีอาการเหมือนมิกซีดีมาแต่จะมีคอโตร่วมด้วยทั้งนี้เพราะเมื่อร่างกาย
ขาดไทรอกซินจะส่งผลไปกระตุ้นไฮโพทาลามัส ให้หลั่งสารเคมีมากระตุ้นใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่ง
ฮอร์โมน TSH ส่งมาที่ต่อมไทรอยด์กระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างและหลั่งฮอร์โมน ต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้น
มากเกินกว่าระดับปกติจึงขยายขนาดโตขึ้น แต่ก็ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซินกลับไปยับยั้งการหลั่ง
TSH ได้ ในประเทศไทยโรคนี้มักพบในเด็กผู้หญิงวัยรุ่น ซึ่งมีภูมิลาเนาอยู่ห่างไกลจากทะเล ไม่มีโอกาส
รับประทานอาหารทะเล และเกลือในท้องถิ่นนั้นเป็นเกลือที่ขาดธาตุไอโอดีน
การรักษา ถ้ารักษาในระยะแรกๆ ให้ร่างกายได้รับอาหารที่มีธาตุไอโอดีนเพียงพอจะสามารถช่วย
ฟื้นฟูให้ต่อมทางานเป็นปกติ อาการผิดปกติต่างๆ จะหายไป รวมทั้งคอจะยุบลงได้ด้วย (ในแต่ละวันคน
ปกติต้องการไอโอดีนประมาณ 0.2 มิลลิกรัม) ถ้ารักษาในระยะที่เป็นมากๆ แล้ว จะพบว่ามีอาการหายใจ
หอบ หรือรับประทานอาหารลาบาก จะต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัดและให้ยาพวกไอโอดีนด้วย
4. โรคคอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter หรือ Exophthalmic goiter) เป็นภาวะผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์
สร้างฮอร์โมนไทรอกซินออกมามากกว่าปกติ ซึ่งส่วนมากมีสาเหตุจากการมีต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
ผู้ป่วยพวกนี้คอไม่ค่อยโตนัก มีอาการเหนื่อยง่าย มือสั่น ใจสั่น อ่อนเพลีย กินจุ น้าหนักลด อัตราเม
ตาบอลิซึมสูง ประสาทเครียด นอนไม่หลับ หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายในรายที่เป็นรุนแรงจะมีอาการตาโปนด้วย
การรักษา แพทย์มักรักษาโดยให้คนไข้กินยาที่ไปขัดขวางการสร้างฮอร์โมนซึ่งต้องใช้เวลานาน
ประมาณ 12-18 เดือน และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เพราะผลจากยาจะทาให้เม็ดเลือดขาวลดลง
ใช้วิธีการผ่าตัดบางส่วนของต่อมออก เพื่อลดส่วนของต่อมไทรอยด์ที่สร้างฮอร์โมนไทรอกซิน
ให้กินสารไอโอดีนกัมมันตรังสี เพือ่ ทาลายเนื้อเยื่อบางส่วนของต่อมทาให้การสร้างฮอร์โมนไทร
อกซินลดลง

26
แคลซิโทนิน (Calcitonin)
แคลซิโทนินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ที่อยู่นอกไทรอยด์ฟอลลิเคิล การหลั่งฮอร์โมนนี้ไม่ได้
ถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมองส่วนหน้า แต่ถูกควบคุมโดยระดับแคลเซียมในเลือด
หน้าทีส่ าคัญ
 ลดระดับแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินปกติให้เข้าสู่ระดับปกติ เพิ่มการขับแคลเซียมออกจาก
ปัสสาวะ และการดึงแคลเซียมส่วนเกินไปเก็บไว้ในกระดูกทาให้กระดูกหนาขึ้น (วิธีนี้เป็นการช่วยป้องกัน
ทาลายกระดูกในระยะตั้งครรภ์ และระยะให้นมบุตร)
Ca ในเลือดสูงขึ้น แคลซิโทนินสูงขึ้น

แคลซิโทนินน้อยลง Ca ในเลือดลดลง
 แคลซิโทนินจะทางานร่วมกับฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์ (พาราเทอร์
โมน) และวิตามินดี

อวัยวะเป้าหมาย กระดูก และไต

ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์

ภาพที่ 9.10 แผนภาพแสดงตาแหน่งต่อมพาราไทรอยด์


ที่มา : Kimball, J.W. เล่มเดิม หน้า 1,230

ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) เป็นต่อมขนาดเล็กจานวน 4 ต่อมขนาดเล็ก ฝังอยู่


ด้านหลังของเนื้อต่อมไทรอยด์ข้างละ 2 ต่อม มีความสาคัญมากในสัตว์เลี้ยงลูกด้วนน้านม ดังนั้นในคนที่
เป็นโรคคอพอกที่มีอาการคอโต ต่อมพาราไทรอยด์จึงอาจถูกบดบังด้วยเนื้อของต่อมไทรอยด์ การตัดส่วน
ของต่อมไทรอยด์ออกเพื่อรักษาอาการคอพอก จะต้องไม่ตัดต่อมพาราไทรอยด์ติดไปโดยเด็ดขาด เพราะจะ
ทาให้เกิดอันตรายถึงชีวิต อันเนื่องมาจากการขาดพาราฮอร์โมนได้
ฮอร์โมนสาคัญที่สร้างจากต่อมนี้ คือ พาราทอร์โมน (Parathormone) ทาหน้าที่รักษาระดับสมดุล

27
ของแคลเซียมในร่างกายให้คงที่ โดยทางานร่วมกับ แคลซิโทนินจากต่อมไทรอยด์
หน้าที่สาคัญ พาราทอร์โมนทาหน้าที่ควบคุมระดับสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย ดังนี้
1. กระตุ้นเซลล์ในกระดูกทาให้แคลเซียม และฟอสฟอรัสละลายจากกระดูกเข้าสู่เส้นเลือดเป็นผลทา
ให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดสูงขึ้น
2. กระตุ้นไตให้ขับฟอสฟอรัสออกนอกร่างกาย และดูดแคลเซียมกลับคืนมา เป็นผลให้ความเป็นกรด
ด่างในเลือดให้อยู่ในสภาพสมดุล
3. เพิ่มอัตราการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่ลาไส้เล็กลับเข้าสู่กระแสเลือด โดยทางานร่วมกับ
วิตามิน D และวิตามิน C
4. ทางานร่วมกับแคลซิโทนินจากต่อมไทรอยด์ สรุปได้ดังนี้

อวัยวะเป้าหมาย กระดูก ไต ลาไส้

ความผิดปกติของร่างกายเนื่องจากพาราฮอร์โมน
1. เนื่องจากแคลเซียมจาเป็นสาหรับกระดูก การทางานของประสาทและกล้ามเนื้อ ฟอสฟอรัสเป็นตัว
ประกอบสาคัญที่ทาหน้าที่ควบคุมสมดุลของกรดและเบสในเลือด ทั้งยังเป็นส่วนประกอบสาคัญของโค
เอนไซม์หลายชนิด ดังนั้นพาราทอร์โมนจึงทาหน้าที่ควบคุมร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ
2. ถ้าต่อมพาราไทรอยด์บกพร่องไม่สามารถสร้างพาราทอร์โมนได้จะมีผลทาให้การดูดแคลเซียม
กลับที่ท่อของหน่วยไตลดน้อยลง ทาให้สูญเสียแคลเซียมไปในปัสสาวะและเป็นผลให้ระดับแคลเซียมใน
เลือดลดต่าลงมาก กล้ามเนื้อจะเกิดอาการเกร็งและชักกระตุก ปอดไม่สามารถทางานได้ และตายในที่สุด

อาการผิดปกติเนื่องจากการขาดพาราทอร์โมน หรือพาราทอร์โมนมีน้อย อาการผิดปกติอาจจะหายไป


เมื่อฉีดด้วยพาราทอร์โมนพร้อมกับวิตามินดี เพราะวิตามินดีจะช่วยทาให้พาราทอร์โมนทางานหน้าที่ได้ดี
ยิ่งขึ้น

ถ้าต่อมพาราไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป จะไปกระตุ้นแคลเซียมและฟอสฟอรัสออกจาก
กระดูกและฟัน ทาให้เลือดมีแคลเซียมสูงกว่าปกติเกิดอาการกระดูกบาง ฟันหัก และผุง่าย
28
ความผิดปกติของร่างกายเนื่องจากฮอร์โมนต่อมพาราไทรอยด์
1. ภาวะการขาดพาราทอร์โมน (Hypoparathyroidism) ถ้าต่อมเกิดบกพร่องไม่สามารถสร้าง
ฮอร์โมนหรือต่อมถูกตัดออกไปพร้อมกับการตัดต่อมไทรอยด์ออก จะทาให้การดูดกลับคืนของแคลเซียมที่
ท่อของหน่วยไตลดน้อยลง ทาให้สูญเสียแคลเซียมไปในปัสสาวะและเป็นผลให้ระดับแคลเซียมลดต่าลง
ทาให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งและชักกระตุก ปอดไม่สามารถทางานได้ ตายในที่สุด ต้องให้การรักษาโดย
การฉีดแคลเซียมเพื่อเพิ่มระดับแคลเซียมในเลือดโดยเร็ว พร้อมกับให้วิตามินดีด้วย เพื่อเพิ่มการ
ดูดซึมแคลเซียมจากลาไส้หรืออาจรักษาโดยการฉีดพาราทอร์โมนร่วมกับการให้แคลเซียมและวิตามินดี
เพื่อให้การรักษาได้ผลเร็ว แต่การรักษาโดยการฉีดพาราทอร์โมนอาจทาให้เกิดพิษ โดยทาให้เกิด
Hypercalcemia ซึ่งมีผลทาให้แคลเซียมไปสะสมอวัยวะส่วนต่างๆ เช่น หัวใจ ไตและม้าม ทาให้เกิดนิ่วที่ไต
ได้และทาให้เกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากแคลเซียมมีผลไปกระตุ้นการหลั่งกรดไฮโดรคลอริก
(HC) ที่กระเพาะอาหาร อย่างไรก็ดี การรักษาโดยใช้พาราทอร์โมนสังเคราะห์ยังไม่ค่อยมีผลิตขายกัน
แพร่หลายนัก การขาดพาราทอร์โมนในวัยเด็กจะทาให้เด็กโตช้ากว่าปกติ ฟันขึ้นช้า และปัญญาอ่อน
2. ภาวะมีพาราทอร์โมนมากเกินไป (Hyperparathyroidism) ถ้าพาราทอร์โมนถูกสร้างมากเกินไป
จะทาให้เกิดการดึงแคลเซียมจากระดูกและฟันออกมาในเลือดทาให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้น เกิด
อาการกระดูกบาง ฟันหักและผุง่าย นอกจากนี้แคลเซียมจะไปสะสมที่อวัยวะต่างๆ ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม
โดยเฉพาะที่ไตจะทาให้เกิดเป็นนิ่วขึ้นได้ การรักษา Hypercalcemia (ระดับแคลเซียมในเลือดสูง) อาจทา
โดยการให้แคลซิโตนิน เพราะเป็นฮอร์โมนที่มีผลทาให้แคลเซียมในเลือดลดต่าลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งออก
ฤทธิ์ตรงข้ามกับพาราทอร์โมน จึงมักเรียนแคลซิโตนินว่าเป็น Hypocalcemic hormone (hypo = ต่า)

6. ฮอร์โมนจากอวัยวะเพศ
ฮอร์โมนจากต่อมอวัยวะเพศ (Gonad)

ภาพที่ 9.12 แผนภาพแสดงตาแหน่งและอวัยวะเพศชาย


ก. แสดงอวัยวะเพศชาย ข. – ค. แสดงหลอดสร้างตัวอสุจิและอินเตอร์สติเชียลเซลล์
ที่มา : พัชรี พิพัฒวรรณกุล เล่มเดิม หน้า 136
29
ฮอร์โมนจากอวัยวะเพศชาย

1. ฮอร์โมนจากอวัยวะเพศชาย แหล่งที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ กลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียล


(Interstitial cells) ซึ่งอยู่ระหว่างหลอดสร้างตัวอสุจิ (Seminiferous tubule)
ฮอร์โมนเพศชาย (Androgens) ที่สาคัญที่สุด คือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งจะสร้างขึ้น
เมื่อเริ่มวัยหนุ่ม โดยกลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียลจะได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
ส่วนหน้า คือ LH หรือ ICSH นอกจากสร้างเทสโทสเตอโรนแล้วยังพบว่าเซลล์อินเตอร์สติเชียลเซลล์ยัง
สามารถสร้างฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน (Estrogen) ได้อีกด้วย

บทบาทของเทสโทสเตอโรน
ฮอร์โมนนี้ทาหน้าที่ควบคุมลักษณะที่สองของเพศชาย (Secondary sexcharacteristic) ซึ่งมี
ลักษณะสาคัญ คือ เสียงแตก นมแตกพาน ลูกกระเดือกแหลม มีหนวดขึ้นบริเวณรอบฝีปาก มีขนขึ้นบริเวณ
ขนหน้าแข้ง รักแร้ และอวัยวะเพศ กระดูกหัวไหล่กว้าง กล้ามเนื้อตามแขน ขา เติบโตแข็งแรงมากกว่าเพศ
หญิง

ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน
1. ถ้าตัดอัณฑะออก นอกจากจะเป็นหมันแล้วยังมีผลให้ลักษณะต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเพศไม่เจริญ
เหมือนปกติ
2. ถ้าระดับฮอร์โมนสูงหรือสร้างฮอร์โมนก่อนถึงวัยหนุ่มมาก เนื่องจากมีเนื้องอกที่อัณฑะ จะทาให้
เกิดการเติบโตทางเพศก่อนเวลาอันควร (Precocious puberty) ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางเพศและอวัยวะเพศ
สืบพันธุ์

2. ฮอร์โมนจากอวัยวะเพศหญิง อวัยวะเพศหญิงจะสร้างฮอร์โมนสาคัญ คือ เอสโตรเจน (Estrogens) และ


โปรเจสเตอโรน (Progesterone)
2.1 ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนเอสโตรเจน สร้างมาจากรังไข่ และต่อมไร้ท่อบางอัน ได้แก่
1. จากกราเฟียน ฟอลลิเคิลของรังไข่ เป็นส่วนที่สร้างฮอร์โมนได้มากที่สุด
2. จากคอร์ปัสลูเทียม สร้างเพียง 7-8 วันหลังตกไข่
3. จากรก
4. จากอะดรีนัลคอร์เทกซ์
ข้อควรทราบ
ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนพบว่า ฮอร์โมนจะมีระดับต่่าสุดในวันที่ 1-7 ของรอบเดือน และสูงสุดในวันที่ 12-
13 ของรอบเดือน

30
บทบาทของฮอร์โมนเอสโตรเจน
1. ผลต่อระบบสืบพันธุ์ ออกฤทธิ์ทาให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
 ผลต่อลักษณะที่สองของเพศหญิงทาให้เกิดการขยายใหญ่ของเต้านม มีการเจริญของต่อม
น้านม มีเสียงแหลมเล็ก สะโพกผาย อวัยวะเพศขนาดใหญ่ มีขนขึ้นตามอวัยวะเพศและรักแร้ มีการ
เปลี่ยนแปลงที่รังไข่และเยื่อบุของมดลูก
 ทาให้มีการเจริญของกล้ามเนื้อและเยื่อบุท่อไข่ มีการเคลื่อนไหวและโบกพัดของซีเลียเพื่อนา
ไข่เข้าสู่โพรงมดลูก
ในเพศหญิงอายุ 45-50 ปี เมื่อย่างเข้าสู่วัยหมดประจาเดือนจะมีการสร้างเอสโตรเจนน้อยลง ทา
ให้ขนาดอวัยวะสืบพันธุ์ฝ่อเล็กลง
 กระตุ้นการหลั่ง LH จากต่อมใต้สมอง เพื่อให้ LH มากระตุ้นการตกไข่
2. ผลต่ออวัยวะอื่นๆ
 ทาให้มีไขมันสะสมตามที่ต่างๆ ทาให้เกิดลักษณะของหญิงสาว เช่น บริเวณสะโพก ต้นขาแล
ใต้ผิวหนังทั่วไป
 ทาให้มีการเจริญของกระดูก โดยเอสโตรเจนลดการละลายของกระดูก
 มีฤทธิ์ขัดขวางการทางานของแอนโดรเจน ทาให้ผิวหนังไม่มันมากเกิดสิวน้อยลง
 ช่วยรักษาน้าในร่างกาย โดยปริมาณน้านอกเซลล์

2.2 ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากส่วนของอวัยวะเพศ คือ คอร์ปัสลูเทียมและ
บางส่วนสร้างมาจากรกมีครรภ์ นอกจากนี้ยังอาจสร้างมาจากอะดรีนัลคอร์เทกซ์ได้อีกด้วย

บทบาทของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
เป็นฮอร์โมนที่สาคัญที่สุดในการเตรียมการมีครรภ์และตลอดระยะเวลาของการมีครรภ์ มีบทบาท
โดยเฉพาะต่อเยื่อบุมดลูกและบทบาททั้งที่เกี่ยวกับเพศและไม่เกี่ยวกับเพศ ดังนี้

1. ผลต่อระบบสืบพันธุ์
ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกชั้นใน (endometrium) โดยในตอนแรกจะ
ได้รับการกระตุ้นจากเอสโตรเจน ในช่วงแรกของระบบรอบประจาเดือนและเมื่อได้รับการกระตุ้นจากโป

31
รเจสเตอโรนจะทาให้กล้ามเนื้อมดลูก (myometrium) มีการหดตัวและความตึงตัวน้อยลง แต่ทั้งนี้การออก
ฤทธิ์ของโปรเจสเตอโรนมักจะอาศัยผลร่วมกับเอสโตรเจนเสมอ
 ผลที่ท่อนาไข่หดแรงขึ้น ทาให้ไข่เคลื่อนที่ได้สะดวก
ผลที่รังไข่ ทาหน้าที่ร่วมกับเอสโตรเจนสื่อกลับไปยับยั้งการหลั่ง FSH และ LH จาก

ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทาให้ไม่มีการตกไข่ซ้อน

2. ผลต่ออวัยวะและฮอร์โมนอื่นๆ เช่น
 ทาให้มีการเจริญของต่อมน้านมและกระตุ้นการสร้างน้านม
 ยับยั้งการหลั่งโกนาโดโทรฟิน คือ FSH และ LH
 มีผลด้านอัลโดสเตอโรน ทาให้เกิดการขับ NaCl และน้าออกจากร่างกาย
ทาให้กล้ามเนื้อเรียบของเส้นเลือด หลอดไต และทางเดินอาหารมีการคลายตัว ทาให้เกิด

“เส้นเลือดขอด (Varicose vein)” และริดสีดวงทวารได้ง่ายในคนมีครรภ์

ข้อควรทราบ

ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในรอบเดือน พบว่าโปรเจสเตอโรนจะมีระดับต่่าสุด ในวันที่


1-9 ของรอบเดือน และมีระดับสูงสุดในวันที่ 21 - 23 ของรอบเดือน
บทบาทของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในรอบเดือน (Menstruation cycle)
1. การมีประจาเดือนของผู้หญิงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายซึ่งจะเริ่มเมื่อ
ย่างเข้าวัยสาว อายุประมาณ 13-14 ปี ก็จะมีประจาเดือนเป็นครั้งแรก (menarche) ซึ่งปกติจะมีทุกๆ 25-35
วัน จนอายุ 49-50 ปี จึงจะหมด (menopause)
2. ในรอบประจาเดือนที่เกิดขึ้น เกิดจาการทางานร่วมกันของไฮโพทาลามัส ต่อมใต้สมองและ
การตอบสนองของอวัยวะเพศภายในเมื่อได้รับ FSH และ LH โดยจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโปรเจส
เตอโรน ซึ่งจะไปกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูก ซึ่งลาดับการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
มีการหลั่งฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัส คือ FSH-RH และ LH-RH ซึ่งจะไปกระตุ้นต่อมใต้
สมองส่วนหน้า
 FHS และ LH จะทาให้เกิดการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิลที่รังไข่และกระตุ้นให้ฟอลลิเคิลที่
กาลังเจริญเติบโตหลั่งเอสโตรเจน ซึ่งมีฤทธิ์ไปทาให้เยื่อบุมดลูกเริ่มหนาขึ้น ขณะเดียวกันเอสโตรเจนที่หลั่ง

32
ออกมาถ้ามีจานวนมากก็จะสื่อกลับไปยังไฮโพทาลามัสควบคุมการหลั่ง FSH และ LH จากต่อมใต้สมอง
ส่วนหน้า
 เมื่อฟอลลิเคิลเจริญเต็มที่ (Graafian follicle) เอสโตรเจนจะสูงสุดก่อนการตกไข่ และจะลดลง
ชั่วขณะ LH จะมีระดับสูงสุด และกระตุ้นให้มีการตกไข่ กระตุ้นเซลล์ฟอลลิเคิลที่ตกไข่แล้วให้เจริญเป็น
คอปัสลูเทียม พร้อมกระตุ้นให้หลั่งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจากคอปัสลูเทียมด้วย
ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองนี้จะไปควบคุมไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมองส่วนหน้าเกี่ยวกับการ
หลั่ง FSH และ LH

ภาพที่ 9.13 แผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในรอบประจาเดือน


ที่มา : สมาน แก้วไวยุทธ เล่มเดิม หน้า 220

ภาพที่ 9.14 แผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงต่างๆ ของรอบประจาเดือน


ที่มา : สมาน แก้วไวยุทธ เล่มเดิม หน้า 220

33
7. ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล ต่อมไทมัสและเนื้อเยื่ออื่นๆ
ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล (Pineal gland)

ตาแหน่งที่อยู่และรูปร่าง
ตาแหน่งที่อยู่และรูปร่างลักษณะต่อมไพเนียล (Pineal gland) เป็นต่อมเล็กๆ รูปกรวยหนัก
ประมาณ 120 มิลลิกรัม พบอยู่บริเวณกึ่งกลางสมอง ส่วนซีรบี รัมพูซ้ายและขวาติดต่อกัน

ภาพที่ 9.11 แผนภาพแสดงตาแหน่งที่อยู่ของต่อมไพเนียล


ที่มา : สมาน แก้วไวยุทธ เล่มเดิม หน้า 213
บทบาทหน้าที่ของฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล
1. ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะสร้างฮอร์โมนที่สาคัญ ชื่อ เมลาโทนิน เมลาโทนินในคนและ
สัตว์ชั้นสูงมีความสาคัญในช่วงก่อนวัยหนุ่มสาว โดยจะไปยับยั้งความเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าต่อม
ผิดปกติ เช่น ต่อมเป็นเนื้องอกและผลิตฮอร์โมนมากเกินไป จะทาให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ แต่ถ้าตัด
ต่อมไพเนียลออกไปจะทาให้อวัยวะสืบพันธุ์โตขึ้นและมีภาวะเป็นหนุ่มสาวเร็ว
2. ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้า เมลาโทนินจะทาให้สีตัวบริเวณผิวหนังจางลง โดยเมลาโทนินจะ
กระตุ้นรงควัตถุที่กระจายเข้ามารวมกันเป็นกลุ่ม ดังนั้นจึงมีฤทธิ์ด้าน MSH จากต่อมใต้สมองส่วนกลางของ
สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่า แต่เมลาโทนินในคนไม่มีผลต่อการรวมตัวของรงควัตถุ
3. มีความสัมพันธ์กับแสงสว่างและความมืดและฮอร์โมนของระบบสืบพันธุ์โดยเมื่ออยู่ใน
ที่ๆ มีแสงทาให้การสร้างฮอร์โมนเมลาโทนินมีผลทาให้โกนาโดโทรฟินถูกยับยั้งและร่างกายทางานลดลง
แต่เมื่ออยู่ในที่ๆ มีแสงจะไม่สามารถสร้างเมลาโทนิน เพราะว่าจะไม่มีการสร้างการหลั่งโกนาโดโทรฟิน
มาก ทาให้รังไข่เติบโต แต่ในคนบทบาทของเมลาโทนิน ไม่ทราบแน่ชัดเพราะแสงสว่างไม่มีผลต่อการตก
ไข่ของคน แต่อย่างไรก็ดีเมลาโทนิน ก็ยังให้การทางานของรังไข่ในคนลดน้อยลง

34
ฮอร์โมนจากต่อมไทมัส
ต่อมไทมัส (Thymus gland) มีลักษณะเป็นพู 2 พู มีตาแหน่งอยู่ตรงทรวงอกรอบเส้นเลือดใหญ่ของ
หัวใจ ในคนพบว่าเจริญเติบโตเต็มที่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา แล้วจะค่อยๆ เสื่อมมีขนาดเล็กลงเมื่อเริ่มเข้า
สู่วัยรุ่น จะเสื่อมสภาพและฝ่อไปในที่สุดเมื่อเป็นผู้ใหญ่
ต่อมไทมัสเป็นเนื้อเยื่อน้าเหลืองที่ทาหน้าที่สร้างลิมโฟไซต์ชนิดที (T-lymphocyte) หรือ เซลล์ที
(T-cell) การที่เนื้อเยื่อของต่อมไทมัสจะสร้างลิมโฟไซต์ชนิดที่ได้นั้น จะต้องได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมน
(Thymosin)

ภาพที่ 9.15 แผนภาพแสดงตาแหน่งของต่อมไทมัส


ที่มา : สมาน แก้วไวยุทธ เล่มเดิม หน้า 215
ฮอร์โมนไทโมซิน สร้างจากเนื้อเยื่อบางส่วนของต่อมไทมัส ทาหน้าที่กระตุ้นการสร้างลิมโฟไซต์
ชนิดที่ทาให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันและต่อต้านการติดเชื้อโรคได้ดี ต่อมไทมัสจึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งในวัย
เด็กในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในช่วงแรกของทารก แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ความจาเป็นจะลดลง เพราะจะมี
แหล่งเสริมภูมิคุ้มกันจากอวัยวะอื่น เช่น ม้าม ต่อมไทมัสจึงไม่พบในผู้ใหญ่
ฮอร์โมนจากเนื้อเยื่อชั้นในกระเพาะอาหารและลาไส้เล็ก
เนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหารและลาไส้เล็ก มีเซลล์สาหรับสร้างฮอร์โมนซึ่งเป็นสารประเภท
โปรตีน เพื่อไปกระตุ้นและควบคุมการทางานของอวัยวะที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารที่สาคัญ ได้แก่
1. แกสตริน (gastrin) สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร จะหลั่งออกมาภายหลัง
รับประทานอาหาร มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้าย่อยและกรดไฮโดรคลอลิกจากเนื้อเยื่อชั้นในของ
กระเพาะอาหาร และการหลั่งน้าย่อยจากตับอ่อน รวมทั้งยังควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและ
ลาไส้เล็ก
2. ซีครีติน (secretin) สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของลาไส้เล็กบริเวณดูโอดีนัม โดยซีครีตินจะ
กระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งน้าย่อยออกมา และกระตุ้นการบีบตัวของท่อน้าดีให้หลั่งน้าดี ในขณะที่อาหารจาก
กระเพาะอาหารผ่านเข้าไปยังลาไส้เล็ก

35
ตารางที่ 9. 5 สรุปต่อมไร้ท่อและหน้าที่ที่สาคัญของฮอร์โมน

แหล่งสร้าง ฮอร์โมน อวัยวะเป้าหมาย หน้าทีสาคัญ


1. ต่อมใต้สมอง
ก. ส่วนหน้า
GH กระดูกและร่างกาย เร่งการเจริญเติบโตของกระดูกและร่างกาย ควบคุมเมตาบอลิ
ซึมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต เพิ่มระดับน้าตาลใน
เลือด
TSH ต่อมไทรอยด์ กระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนไทรอกซิน

ACTH อะดรีนัลคอร์เทกซ์ กระตุ้นการสร้างและหลั่งกลูโคคอร์ติคอยด์

FSH รังไข่และอัณฑะ เพศหญิง – กระตุ้นการเจริญเติบโตและการหลั่งเอสโทรเจน


เพศชาย – กระตุ้นการเจริญเติบโตและการสร้างตัวอสุจิ
กระตุ้นการหลั่งโพรเจสเทอโรน เตรียมผนังมดลูกสาหรับการ
LH รังไข่ ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสม

ICSH อัณฑะ กระตุ้นอินเตอร์สติเชียลเซลล์ให้หลั่งเทสโทสเทอโรน

MSH เซลล์เมลานินที่ผิวหนัง กระตุ้นการสังเคราะห์และการแพร่กระจายของรงควัตถุสี


ข. ส่วนกลาง น้าตาลไปทั่วเซลล์

Vasopressin ท่อหน่วยไต ควบคุมการดูดน้ากลับจากท่อหน่วยไต กระตุ้นการบีบตัวของ


(ADH) หลอดเลือด
ค. ส่วนหลัง
Oxytocin
กล้ามเนื้อเรียบผนังมดลูก กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบรอบต่อมน้านมเพื่อหลั่ง
น้านม
กล้ามเนื้อผนังมดลูก กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกขณะคลอด

2. ไอส์เลตออฟแลง อินซูลิน เซลล์ตับ กล้ามเนื้อ และ เก็บกลูโคสในกระแสเลือดในรูปของไกลโคเจน กระตุน้ เซลล์


เกอร์ฮานส์ เซลล์ทั่วไป ให้ใช้กลูโคสในเลือดมากขึน้ ลดระดับน้าตาลในเลือด
กระตุ้นการสลายตัวของไกลโคเจนจากตับและกล้ามเนื้อ เพิ่ม
เซลล์ตับ กล้ามเนื้อ และ
กลูคากอน ระดับน้าตาลในเลือด
เซลล์ทั่วไป
กระตุ้นให้เซลล์ตับเปลี่ยนกรด อะมิโนและกรดไขมันเป็น
เซลล์ตับและเซลล์ทั่วไป
3. ต่อมหมวกไต คาร์โบไฮเดรต และสลายต่อไปได้เป็นน้าตาลในเลือด
กลูโค
ท่อหน่วยไต ควบคุมการทางานของท่อหน่วยไตในการดูดน้าและโซเดียมเข้า
ก. อะครีนัลคอร์ คอร์ติคอยด์
สู่หลอดเลือด และขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย
เทกซ์ อวัยวะแสดงเพศ
เซลล์ทั่วไป ดูหัวข้อฮอร์โมนจากอวัยวะเพศ
กระตุ้นการสลายตัวของไกลโคเจนจากเซลล์ตับและกล้ามเนื้อ

36
ข. อะดรีนัล เมดัลลา มิเนอราโลคอร์ หลอดเลือดแดง เสริมการทางานของระบบประสาทซิมพาเทติก
ติคอยด์ เพิ่มระดับน้าตาลในเลือด
หลอดเลือดบีบตัว ความดันโลหิตสูง
ฮอร์โมนเพศ
อะดรีนาลีน

นอร์อะดรีนา
ลีน

4. ต่อมไทรอยด์ ไทรอกซิน เซลล์ทั่วไป ควบคุมและเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึมของร่างกาย


ดึงแคลเซียมเข้าไปสะสมในกระดูก ลดระดับแคลเซียมในเลือด
แคลซิโทนิน กระดูก

5. ต่อมพารา พาราทอร์โมน กระดูก ลาไส้ ไต เพิ่มระดับแคลเซียมในเลือด ลดระดับฟอสเฟตในเลือด


ไทรอยด์

6. อวัยวะเพศ
ก. รังไข่
เอสโทรเจน ต่อมน้านม ทาให้อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงเจริญสมบูรณ์ทาให้เกิด
และ ลักษณะเฉพาะของเพศหญิง
อวัยวะสืบพันธุ์ เตรียมมดลูกสาหรับการฝังตัวของตัวอ่อน กระตุ้นการเจริญของ
โพรเจสเทอ มดลูก ต่อมน้านม ต่อมน้านมและเต้านม
ข. อัณฑะ โรน ทาให้อวัยวะเพศชายเจริญสมบูรณ์ ทาให้เกิดลักษณะของเพศ
ชาย
เทสโทสเทอ
ร่างกายและอวัยวะเพศ
โรน

7. ต่อมไพเนียล เมลาโทนิน ยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศก่อนวัยเจริญพันธุ์


ทาให้ผิวหนังของสัตว์มีสีจางลง

8. ต่อมไทมัส ไทโมซิน กระตุ้น T cell

9. ฮอร์โมนจาก แกสตริน กระเพาะ กระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งน้าย่อยและกรดไฮโดรคลอริก


เนื้อเยื่อชั้นในของ
กระเพาะอาหาร

10. ฮอร์โมนจาก ซีครีติน ลาไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม กระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้าย่อยออกมา


เนื้อเยื่อชั้นในของ กระตุ้นการบีบตัวของท่อน้าดีให้หลั่งน้าดี
ลาไส้เล็ก

37
ตารางที่ 9.6 แสดงความผิดปกติของร่างกายเนื่องจากระดับฮอร์โมนผิดปกติ

ฮอร์โมน ลักษณะความผิดปกติ อาการ


GH ขาดตั้งแต่เด็ก คนเตี้ยแคระ (dwarfism) กระดูกแขนขาถูกยับยัง้
ขาดเมื่อโตเต็มวัย ไม่ปรากฏอาการเด่นชัด ระดับน้าตาลในเลือด ต่ากว่าปกติ
คนยักษ์ (gigantism) ร่างกายโตผิดปกติแต่ได้ สัดส่วน ระดับน้าตาล
มีมากเกินเมื่อโตเต็มวัย
ในเลือดสูง
มีมากเกินเมื่อโตเต็มวัย อะโครเมกาลี (Acromegaly) กระดูกใบหน้า นิ้วมือ และนิ้วเท้า
เติบโตผิดปกติ

อินซูลิน ขาดฮอร์โมน โรคเบาหวาน (diabetes mellitus) ปัสสาวะมากมีน้าตาลปนออกมา


มาก น้าหนักลด อ่อนเพลีย

กลูโคคอร์ตคิ อยด์ มีมากเกินไป โรคคูชิง (Cushing’s syndrome) เมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรด


ไขมัน และโปรตีน ผิดปกติ หน้ากลมคล้ายพระจันทร์ (moon face)
ต้นคอมีหนอกยื่นออกมา (buffalo hump)

แอลโดสเทอโรน ขาดฮอร์โมน ร่างกายสูญเสียน้าและโซเดียมไปพร้อมปัสสาวะเป็นจานวนมาก

ฮอร์โมนเพศ มีมากเกินไป เป็นหนุ่มสาวเร็วขึ้น เพศหญิงมีหนวดเคราเกิดขึน้

ไทรอกซิน ขาดฮอร์โมนในวัยเด็ก ครีตินิซึม (cretinism) พัฒนาการทางสมองลดลง ร่างกายเตี้ยแคระ


แขนขาสั้น ผิวหยาบแห้ง ผมบาง และปัญญาอ่อน
มิกซีดีมา (Myxedema) เหนื่อยง่าย น้าหนักเพิ่ม กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ขาดฮอร์โมนในวัยผู้ใหญ่ หัวใจโต ความจาเสื่อม
คอพอกเป็นพิษ (toxic goiter)คอไม่โต ตาโปน เหนื่อยง่าย กินจุ
มรฮอร์โมนมากเกินไป
น้าหนักลด อัตราเมตาบอลิซึมสูง
ขาดฮอร์โมน คอพอกโต อาการอื่นเหมือนมิกซีดีมา
แต่ต่อมไทรอยด์เจริญดี

พาราทอร์โมน ขาดฮอร์โมน ระดับแคลเซียมในเลือดต่า กล้ามเนื้อเกร็งชัก ปอดไม่ทางาน


กระดูกเปราะบาง ฟันหักและผุง่าย
มีฮอร์โมนมากเกินไป

เมลาโทนิน ขาดฮอร์โมน เด็กเป็นหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ

38
8. การควบคุมการทางานของฮอร์โมน
8.1 สมบัติของฮอร์โมน
ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ต่อมไร้ท่อในร่างกายสร้างและหลั่งออกมาเพื่อการกระตุ้นหรือควบคุมการ
ทางานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้ดาเนินไปตามปกติ ฮอร์โมนมีผลต่อร่างกายทั้งการกระตุ้นและ
การยับยั้ง ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่สมบัติพอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นสารที่หลั่งออกมาแล้วไม่มีผลต่ออวัยวะที่ผลิต แต่มีผลที่อวัยวะอื่นในร่างกาย
2. ฮอร์โมนจะผลิตออกมาในปริมาณน้อย แต่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากและนาน เมื่อ
เทียบกับการทางานของระบบประสาท
3. ฮอร์โมนจะทางานที่อวัยวะเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง แต่การทางานบางอย่างของร่างกายอาจ
ควบคุมด้วยฮอร์โมนหลายชนิด
4. ฮอร์โมนแต่ละชนิดจะออกฤทธิ์ได้นานแตกต่างกัน
5. ความบกพร่องของฮอร์โมนไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อยเกินไปจะมีผลต่อการทางานของอวัยวะ
เป้าหมาย ซึ่งมีผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย

8.2 การทางานของฮอร์โมน
การทางานที่สาคัญของฮอร์โมน พอสรุปได้ดังนี้
 ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ เช่น ฮอร์โมนไทรอกซิน GH เป็นต้น
ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกาย เป็นการปรับดุลยภาพของสภาวะแวดล้อม
ภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้าตาล เช่น อินซูลิน อะดรีนาลีน กลูคากอน เป็นต้น
 ควบคุมเกี่ยวกับการเจริญของเพศ เช่น LH FSH อีสโทรเจน โพรเจสเทอโรน เทสโทสเตอโรน
เป็นต้น

8.3 การทางานของฮอร์โมนและประสาท
การสร้างและการหลั่งฮอร์โมนไม่ได้เกิดตลอดเวลา การสร้างฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อแต่ละต่อม
จะต้องมีสิ่งเร้าเฉพาะมากระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมน และฮอร์โมนแต่ละชนิดจะควบคุมการทางานของอวัยวะ
เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงด้วย เช่น ฮอร์โมน ADH มีหน้าที่เกี่ยวกับดูดน้ากลับที่ท่อของหน่วยไตเท่านั้น ไม่
เกี่ยวกับการควบคุมการเปลี่ยนแปลงเซลล์ฟอลิเคิลในรังไข่ เป็นต้น และที่อวัยวะเป้าหมาย แต่ละแหล่งจะมี
หน่วยรับเฉพาะ (specific receptor) ที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนแต่ละชนิด
หน่วยรับเฉพาะของเซลล์ที่อวัยวะเป้าหมายนี้เป็นสารพวกโปรตีน ถ้าหากร่างกายไม่สามารถสร้าง
หน่วยรับเฉพาะขึ้นมา ฮอร์โมนก็จะไม่สามารถออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมายได้ แม้ว่าร่างกายจะสามารถสร้าง
39
ฮอร์โมนนั้นออกมาก็ตาม เช่น ในกรณีโรคเบาหวานที่เกิดจากเซลล์ร่างกายไม่สังเคราะห์ตัวรับอินซูลิน
ทางานไม่ได้ แต่ร่างกายของคนป่วยเป็นโรคเบาหวานสามารถสร้างอินซูลินได้เป็นปกติ
การทางานของฮอร์โมนไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการหลั่งฮอร์โมน หรือการยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน จะ
มีกระบวนการควบคุมต่างๆ ของร่างกายควบคุมไว้ ดังนี้

8.4 กระบวนการควบคุมย้อนกลับ
กระบวนการควบคุมการย้อนกลับ เป็นควบคุมโดยใช้ปริมาณฮอร์โมนหรือผลการทางานของฮอร์โมน
ควบคุมกันเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาณย้อนกลับไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนมากกว่าไปกระตุ้นให้หลั่ง
ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เช่น ปริมาณอีสโทรเจนสูงๆ จะไปยับยั้งการหลั่ง FSH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ดัง
แผนภาพ

ภาพที่ 9.16 แผนภาพแสดงกระบวนการควบคุมย้อนกลับ


ที่มา : พัชรี พิพัฒนวรรณกุล. เล่มเดิม. หน้า 143.

40
8.5 การควบคุมโดยระบบประสาท
การควบคุมกลไกต่างๆ ของร่างกายให้เป็นปกติ ต้องอาศัยทั้งระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ
การทางานของต่อมไร้ท่อนั้นจะสัมพันธ์กับสมองส่วนไฮโพทาลามัส โดยไฮโพทาลามัสเป็นตัวเชื่อม
ระหว่างระบบประสาทกับระบบต่อมไร้ท่อ เช่น การสร้างและการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
จะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนประสาท (releasing hormone) ที่สร้างจาก เซลล์ประสาทของเซลล์ซิมพาเทติกที่
อะดรีนัลเมดัลลา เมื่อถูกกระตุ้นโดยระบบประสาทก็หลั่งฮอร์โมนทันที
ตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนไทรอกซินไปมีผลต่อเซลล์บางกลุ่มในไฮโพทาลามัส
ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะหลั่งฮอร์โมน TSH ไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นอวัยวะ เป้าหมาย
สร้างไทรอกซิน เมื่อต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่ง TSH ในปริมาณระดับหนึ่งก็จะไปยับยั้ง นิวโรซีครีทอรี
เซลล์ในการสร้างฮอร์โมนประสาท (thyroid releasing hormone : TRH) และเมือ่ ปริมาณไทรอกซินที่ต่อม
ไทรอยด์มีประมาณสูงก็จะไปยับยั้งการหลั่ง TSH ของต่อมใต้สมองส่วนหน้า และยับยัง้ การสร้างฮอร์โมน
ของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ในไฮโพทาลามัส ทาให้การสร้าง TSH ลดลงพอเหมาะแก่ระดับความต้องการของ
ร่างกาย ดังแผนภาพ

ภาพที่ 9.17 แผนภาพแสดงการควบคุมการหลั่งฮอร์โมนไทรอกซิน


ที่มา : พัชรี พิพัฒนวรรณกุล. เล่มเดิม. หน้า 143.
1. การควบคุมโดยระดับของสารบางชนิดในเลือดที่ไม่ใช่ฮอร์โมน
วิธีนี้จัดเป็นการควบคุมโดยผลการทางานของฮอร์โมน
ตัวอย่างเช่น - ระดับน้าตาลในเลือด ควบคุมการหลั่งอินซูลินและกลูคากอนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์

- ระดับแคลเซียมในเลือด ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์และต่อมไทรอยด์

- ปริมาณความเข้มข้นของเกลือแร่ในเลือด ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ADH จากต่อมใต้สมองส่วนหลัง

การทางานของทั้งระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อต่างก็มีผลให้ร่างกายสามารถแสดงพฤติกรรม
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ แต่การทางานของทั้งสองระบบนี้ต่างกัน ถ้าเป็นการทางานของระบบประสาทอย่างเดียว
จะควบคุมพฤติกรรมที่ต้องมีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว เช่น การเคลื่อนไหว การทรงตัว ฯลฯ

41
ส่วนการทางานของฮอร์โมนมักจะเป็นไปอย่างช้าๆ ทั้งนี้เพราะว่าฮอร์โมนต้องหลั่งออกมาจากต่อม แล้ว
จึงถูกลาเอียงโดยกระแสเลือดไปยังแหล่งที่จะทางาน (อวัยวะเป้าหมาย) ฮอร์โมนจะต้องซึมเข้าไปในเซลล์แล้ว
จึงจะทางานได้ ฮอร์โมนมักจะไม่ถูกทาลายอย่างรวดเร็ว จึงสามารถควบคุมการทางานของร่างกาย ได้ยาวนาน
กว่าการทางานของระบบประสาท หรือสามารถควบคุมการทางานของร่างกายอย่างสม่าเสมอ เช่น การควบคุม
กระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ หรือการเจริญเติบโตของเซลล์ ฯลฯ เป็นต้น แต่ก็มีอยู่เสมอที่ทั้งฮอร์โมน
และระบบประสาทต้องทางานร่วมกัน จึงอาจจะเรียกรวมกันเป็นระบบประสานงาน

ภาพที่ 9.18 แผนภาพแสดงการควบคุมกลไกต่างๆ ของการทางานของระบบประสาท


และระบบต่อมไร้ท่อในร่างกาย 3 วิธี
ก. โดยฮอร์โมน
ข. โดยระบบประสาท
ค. โดยฮอร์โมนและระบบประสาท
ที่มา : พัชรี พิพัฒนวรรณกุล. เล่มเดิม. หน้า 143.

42
ตารางที่ 9.13 แผนผังแสดงฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ

แบบฝึกหัด
1. ฮอร์โมนคืออะไร
2. ต่อมไร้ท่อที่สาคัญในร่างกายได้แก่ต่อมอะไรบ้าง
3. โครงสร้างของต่อมใต้สมองแบ่งเป็น กี่ส่วน คืออะไรบ้าง
4. โกรทฮอร์โมนทาหน้าที่อะไร ในเด็กถ้ามีฮอร์โมนนี้มากจะมีลักษณะอย่างไร
5. อะโครเมกาลีคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร
6. FSH มีหน้าที่อย่างไร ทั้งในเพศชายและเพศหญิง
43
7. มารดาที่ให้นมทารก จะมีฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างน้านมคืออะไร
8. ADH มีหน้าที่อะไร ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนนี้จะเป็นอย่างไร
9. จงบอกชื่อกลุ่มเซลล์และฮอร์โมนที่ตับอ่อนสร้าง
10. อินซูลินควบคุมระดับน้าตาลในเลือดอย่างไร
11. กลูคากอนมีหน้าที่คล้ายฮอร์โมนอะไร
12. อะดรีนัลคอร์เทกซ์ สร้างฮอร์โมนอะไร และถ้าถูกทาลายร่างกายเป็นอย่างไร
13. อะดรีนัลเมดัลลา สร้างฮอร์โมนอะไร
14. ต่อมไทรอยด์อยู่ที่ไหน ถ้าเด็กถูกตัดต่อมไทรอยด์จะมีลักษณะอย่างไร
15. โรคคอหอยพอกเกิดจาก
16. โรคคอหอยพอกเป็นพิษเกิดจาก
17. มิกซีดีมาเกิดขึ้นอย่างไร
18. ต่อมพาราไทรอยด์อยู่ที่ไหน ถ้าตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย
19. ไก่ตัวผู้มีหางและหงอนยาวกว่าไก่ตัวเมียเนื่องจากการทางานของฮอร์โมนอะไร
20. อัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชายที่สาคัญคือ
21. รังไข่มีแหล่งสร้างฮอร์โมนที่สาคัญ 2 แห่ง คือ
22. ฮฮร์โมนที่สร้างมาจากรกและออกมากับปัสสาวะ ทาให้ทดสอบได้ว่ามีการตั้งครรภ์คือ
23. ต่อมในร่างกายที่เป็นต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่อได้แก่อะไรบ้าง
24. ฮอร์โมนที่สร้างจากอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้แก่อะไรบ้าง
25. การมีประจาเดือนในเพศหญิงเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนใดบ้าง
26. การตั้งครรภ์ในหญิงจะทาให้มีการหยุดสร้างฮอร์โมนอะไรบ้าง และสร้างฮอร์โมนอะไรบ้าง ทาไมจึง
เป็นเช่นนั้น

44
ใบงานที่ 9.1
เรื่อง ฮอร์โมน

จงจับคู่ข้อความที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
..................... 1.ไทรอกซิน A ควบคุมสมดุลของน้า
..................... 2.อินซูลิน B กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งไทรอกซินและไตรไอโอโดไท
โรนิน
..................... 3.PTH C กระตุ้นให้มีการพัฒนาลักษณะทางเพศชาย
..................... 4.เอพิเนฟริน D เพิ่มระดับน้าตาลในเลือด
..................... 5.เมลาโทนิน E ควบคุมการตั้งครรภ์ กระตุ้นให้เยื่อบุผนังมดลูกหนาตัว
..................... 6.ADH F กระตุ้นรังไข่ให้สร้างไข่
..................... 7.Androgens G ลดระดับน้าตาลในเลือด
..................... 8.FSH H ควบคุมเมตาบอลิซึม
..................... 9.Progesterone I เพิ่มระดับแคลเซียมในเลือด
..................... 10.TSH J ลดระดับแคลเซียมในเลือด
K ทาให้ผิวหนังของสัตว์มีสีจางลง

45
ใบงานที่ 9.2
เรื่อง ศึกษาตาแหน่งและต่อมไร้ท่อ

จงศึกษาแผนภาพแสดงตาแหน่งต่อมไร้ท่อและอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนของคนในร่างกาย

46

You might also like