You are on page 1of 15

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา

1
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

ลาดับโครงสร้างสิ่งมีชีวิต

อะตอม (atom) เป็นหน่วยทีเ่ ล็กที่สุด อะตอมหลาย ๆ อะตอมรวมกันเป็นโมเลกุล (molecule)


โมเลกุลหลาย ๆ โมเลกุล ประกอบกันเป็นออร์แกเนลล์ (organelle) และแต่ละออร์แกเนลล์ทางานร่วมกัน
กลายเป็นเซลล์ (cell) ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกิจกรรมต่าง ๆ นี้เกิดขึ้นภายในเซลล์ 1 เซลล์เท่านัน้ ส่วน
สิ่งมีชีวิตที่มหี ลายเซลล์ ต้องอาศัยการทางานประสานกันของเซลล์จานวนมาก กลุ่มเซลล์ที่รปู ร่าง
เหมือนกันและทาหน้าที่อย่างเดียวกันรวมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กลุม่ เนื้อเยื่อ
หลาย ๆ กลุ่ม ประกอบกันเป็นอวัยวะ (organ) ซึ่งทาหน้าที่เฉพาะอย่าง ในสิ่งมีชีวิตทีซ่ ับซ้อนขึน้ อวัยวะ
หลายอวัยวะจะทางานร่วมกันเป็นระบบอวัยวะ (organ system) เช่น ระบบขับถ่าย ระบบประสาท ระบบ
ไหลเวียนเลือด เป็นต้น ดังภาพที่ 1.1 ระบบอวัยวะต่าง ๆ นี้ จะทางานประสานกันในกระบวนการดารงชีวิต

ภาพที่ 1.1 ลาดับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต

เนื้อเยื่อสัตว์ (Animal tissue)

เนื้อเยื่อสัตว์แบ่งออกเป็น 4 ชนิด (ภาพที่ 1.2 )แต่ละชนิดประกอบด้วยเซลล์ที่มีขนาด รูปร่าง และการ


จัดตัวเป็นแบบเฉพาะ ได้แก่
1. เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial tissue หรือ epithelium)
2. เนื้อเยื่อเกีย่ วพัน (connective tissue)

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
2
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

3. เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (muscle tissue)


4. เนือ้ เยื่อประสาท (nervous tissue)

ภาพที่ 1.2 ประเภทของเนื้อเยื่อในร่างกายของสัตว์ชั้นสูง

เนื้อเยื่อบุผิว ภาพที่ 1.3


ประกอบด้ วยเซลล์อยู่กั น แน่น เรีย งชั้น ต่อเนื่องกั นไป หรือเป็ นชิ้น หรือเป็น แผ่น เซลล์ปกคลุมผิว
ร่างกาย หรือบุช่องว่างภายในลาตัว หรือยอมให้สารผ่านได้หรือไม่ได้ โดยผิวด้านหนึ่งของเซลล์จะติดกับ
เยื่ อ รองรั บ พื้ น ฐาน (basement membrane) ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย เส้ น ใยคอลลาเจนบาง ๆ เล็ ก ๆ
ไกลโคโปรตีน (glycoprotein) และพอลิแซ็ก คาไรด์ ก ลุ่มไกลโคซามิโนไกลแคน (glycosaminoglycan
:GAG) ที่ สร้ างจากเซลล์ ของเนื้อ เยื่ อ บุ ผิ วเอง เนื้อ เยื่ อ ชนิ ดนี้ ท าหน้ าที่ ป้ อ งกั น ดูด ซึ ม หลั่ งสาร และ
รับความรู้สึก เช่น เนื้อเยื่อบุผิวที่พบชั้นนอกของผิวหนังจะทาหน้าที่ปกคลุมร่างกายทั้งหมดและป้องกั น
อวัย วะข้างใต้จากสิ่งแวดล้อมภายนอก รวมทั้งการบาดเจ็บทางกล สารเคมี การสูญเสีย ของเหลวจาก
ร่างกาย และเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย เยื่อบุทางเดินอาหาร จะดูดซึ มสารอาหาร และน้าเข้าสู่ร่างกาย
ทุกอย่างที่เข้าและออกจากร่างกายจะต้องผ่านเนื้อเยื่อบุผิว 1 ชั้นเป็นอย่างน้อย และนอกจากนี้เนื้อเยื่อบุผิว
ยังอาจดัดแปลงไปทาหน้าที่อื่นพิเศษได้อีก เช่น เป็นต่อมเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์จากเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์บุผิว
หลายชนิดจะมีการสูญเสีย และหมดสภาพไปตลอดเวลา ดังนั้นเซลล์เหล่านี้จะมีอัตราเร็วของการแบ่งตัวสูง
มาก เซลล์ใหม่จะแทนที่เซลล์เก่าที่สูญเสียไปทันอยู่เสมอ

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
3
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

ภาพที่ 1.3 เนื้อเยื่อบุผิว

ชนิดของเนื้อเยื่อบุผิว แบ่งตามการทางานได้ 2 ประเภท คือ


ประเภทที่ 1 ปกคลุมผิว (covering epithelium)
ประเภทที่ 2 เปลีย่ นแปลงไปที่หน้าที่ต่าง ๆ (modified epithelium) ได้แก่ สร้างสาร (glandular
epithelium) รับความรู้สึก (neuroepithelium) และการเคลื่อนไหวเกิดการหดตัวทางานของอวัยวะ
บางอย่าง (myoepithelium)

นักชีววิทยาแบ่งเนื้อเยื่อบุผิวประเภทปกคลุมผิวออกเป็นชนิดต่าง ๆ แตกต่างกันตามรูปร่างของเซลล์
ชั้นบนสุดและตามการจัดเรียงตัวของเซลล์
เมื่อพิจารณาจากรูปร่างเซลล์ชั้นบนสุดของเนื้อเยื่อ (ภาพที่ 1.4 ) พบว่าแบ่งเนื้อเยื่อบุผิวได้เป็น 3
ชนิด คือ
1. squamous epithelium เซลล์มีรปู ร่างแบนบาง
2. cuboidal epithelium เซลล์มีรูปร่างทรงกระบอกไม่สูงมาก หรือคล้ายลูกบาศก์ มองทางด้านข้าง
คล้ายลูกเต๋า แต่แท้จริงแล้วมีรูปร่างเป็นทรงแปดเหลีย่ ม
3. columnar epithelium เซลล์คล้ายทรงกระบอก หรือเสาเล็ก ๆ เมื่อมองทางด้านข้าง นิวเคลียส
มักใกล้ฐานของเซลล์ ถ้ามีซีเลียที่ผิวหน้าด้านที่เป็นอิสระ ทาหน้าที่โบกพัดสารต่าง ๆ ไปทิศทางเดียว เรียก
เป็น ciliated columnar epithelium เช่น ที่ทางเดินหายใจของคน
เมื่อพิจารณาตามการจัดตัวของเซลล์ (ภาพที่ 1.5) แบ่งเนือ้ เยื่อบุผิวได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
1. simple epithelium ประกอบด้วยเซลล์เรียงกันเป็นชั้นเดียว มักพบในบริเวณที่สารต้องแพร่ผ่าน
เนื้อเยื่อ หรือบริเวณที่สารต้องถูกหลั่งหรือถูกกาจัด หรือถูกดูดซึม

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
4
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

2. stratified epithelium ประกอบด้วยเซลล์เรียงซ้อนกัน 2 ชั้นขึ้นไป พบที่ผิวหนัง และเยื่อบุหลอด


อาหารของคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ
3. pseudostratified epithelium มีการเรียงตัวกันของเซลล์ทมี่ องดูเหมือนกับมีเซลล์อยู่ซ้อนกัน
หลายชัน้ แต่ความจริง ทุกเซลล์ยังติดอยู่บนเยื่อรองรับฐานทั้งสิ้น เพียงแต่บางเซลล์ไม่สูงพอที่จะยืน่ ไปถึง
ผิวหน้าอิสระของเนื้อเยื่อ และถูกเบียดอยู่ด้านล่าง ทาให้เห็นเหมือนมี 2 ชั้นหรือมากกว่านั้น พบที่
ทางเดินหายใจบางส่วน ซึ่งเซลล์ชั้นบนสุดมีซีเลีย และพบที่ท่อของต่อมหลายชนิด

ภาพที่ 1.4 ชนิดของเนื้อเยื่อบุผิว ตามลักษณะของรูปร่าง ภาพที่ 1.5 ชนิดของเนื้อเยื่อบุผิว ตามการจัดของเซลล์

ในการพิจารณาชนิดของเนื้อเยื่อบุผิว มักพิจารณาจากรูปร่างของเซลล์ชนั้ บนสุดและการจัดเรียงของ


เซลล์ควบคู่กันไป และเรียกชื่อระบุลักษณะทั้ง 2 ประการนี้ เช่น
- simple cuboidal epithelium หมายถึงเนื้อเยื่อบุผิวที่มเี ซลล์ลูกบาศก์เรียงตัวเป็นชัน้ เดียว
- stratified squamous epithelium หมายถึง เนื้อเยื่อบุผิวชนิดที่มเี ซลล์แบบแบนบางเรียงตัวกันอยู่
หลายชัน้
ดังนั้น จึงมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่
1. simple squamous epithelium เซลล์มีลักษณะแบนบาง เรียงตัว 1 ชั้นบนเยื่อรองรับพืน้ ฐาน
นิวเคลียสรูปกลม พบที่ชนั้ นอกของโบว์แมนแคปซูล (Bowman’s capsule) ผนังหลอดเลือด เยื่อบุช่องท้อง
ช่องหัวใจและปอด
2. simple cuboidal epithelium เซลล์มีลักษณะรูปร่างลูกบาศก์ นิวเคลียสกลม เรียงตัว 1 ชั้นอยู่
บนเยื่อรองรับพื้นฐาน พบทีท่ ่อต่าง ๆ เช่น ท่อรวม (collecting duct) ท่อน้าลาย ท่อตับอ่อน และหลอดลม

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
5
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

3. simple columnar epithelium เซลล์ทรงกระบอกสูง นิวเคลียสรูปรี เรียงตัว 1 ชั้นอยู่บนเยื่อ


รองรับพื้นฐาน พบทีเ่ ยื่อบุทางเดินอาหารส่วนต่าง ๆ ยกเว้นหลอดอาหารและทวารหนัก
4. stratified squamous epithelium เซลล์ชั้นบนสุดแบนบาง เรียงตัวซ้อนกันหลายชัน้ เซลล์ชนั้ ล่าง
รูปร่างลูกเต๋า พบที่บริเวณผิวหนัง เยื่อบุช่องปาก หลอดอาหาร ทวารหนัก
5. stratified cuboidal epithelium เซลล์มีลักษณะรูปร่างลูกบาศก์เรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้นบน
เยื่อรองรับพื้นฐาน พบที่ภายในท่อขนาดกลางของต่อมต่าง ๆ เช่น ต่อมน้าลาย ตับอ่อน ต่อมเหงื่อ
6. stratified columnar epithelium เซลล์มีลักษณะรูปร่างทรงกระบอกสูงเรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้น
ชั้นล่างเป็นเซลล์ที่มีรูปร่างหลายเหลีย่ มตั้งอยูบ่ นเยื่อรองรับพื้นฐาน พบได้น้อย เช่นที่บริเวณท่อปัสสาวะ
ของเพศชาย
7. pseudostratified epithelium มีการเรียงตัวกันของเซลล์ทมี่ องดูเหมือนกับมีเซลล์อยู่ซ้อนกัน
หลายชัน้ แต่ความจริง ทุกเซลล์ยังติดอยู่บนเยื่อรองรับฐานทั้งสิ้น เพียงแต่บางเซลล์ไม่สูงพอทีจ่ ะยืน่ ไปถึง
ผิวหน้าอิสระของเนื้อเยื่อ และถูกเบียดอยู่ด้านล่าง ทาให้เห็นเหมือนมี 2 ชั้นหรือมากกว่านั้น พบที่
ทางเดินหายใจบางส่วน ซึ่งเซลล์ชั้นบนสุดมีซีเลีย และพบที่ท่อของต่อมหลายชนิด

สาหรับเนื้อเยื่อบุผิวชนิด stratified ยังพบชนิดพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งเซลล์อาจเปลี่ยนรูปร่างได้ชั่วคราว


หรือเปลี่ยนรูปร่างกลับไปกลับมาได้ เช่น ที่ผนังกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีการยืดขยายตัวในบางครั้งเพื่อรองรับ
ปริมาณปั สสาวะที่เ พิ่มขึ้น เซลล์ที่บุ ผิวจะเปลี่ย นแปลงจากรูป ลูก บาศก์ เ ป็ น แบนราบลงกว่าเดิม เมื่ อ
ผนังกระเพาะปัสสาวะขยายออก เรียกเนื้อเยื่อบุผิวชนิดว่า เป็นแบบ stratified transitional epithelium

เนื้ อ เยื่ อ บุ ผิ ว ชนิ ด เปลี่ ย นแปลงไปท าหน้ า ที่ อื่ น ๆ นอกเหนื อ จากการปกคลุ ม ผิ ว (modified
epithelium)
1. ต่อม (glandular epithelium) ทาหน้าที่สร้างและหลั่งสาร สารที่ถูกสร้างมีหลายชนิด เช่น สาร
พวกโปรตีน จากเซลล์ตั บ อ่อน ไขมัน จากต่อมหมวกไต และสารประกอบของโปรตีน และแป้ งจากต่อม
น้าลาย โดยแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้
1) ต่อมเซลล์เดียว (unicellular gland) มีลักษณะสาคัญ คือ เซลล์หนึ่งเซลล์ทาหน้าที่เป็นต่อม มีชื่อ
เรียกพิเศษว่า globlet cell พบบริเวณเยื่อบุทางเดินอาหารหรือทางเดินหายใจ
2) ต่อมหลายเซลล์ (multicellular gland) เป็นต่อมที่เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่ทาหน้าที่ร่วมกันเป็นต่อม
โดยสร้างสารและขับสารออกสู่ภายนอกต่อม

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
6
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

3) ต่อมมีท่อ (exocrine gland) เป็นต่อมหลายเซลล์ที่มีท่อนาสารออกสู่ภายนอก เช่น ตับ ตับอ่อน


ต่อมน้าลาย ต่อมเหงื่อ
4) ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) เป็นต่อมหลายเซลล์ที่ไม่มีท่อนาสารออกสู่ภายนอก เช่น ไอส์เลต
ออฟเลงเกอร์ฮานส์ (Islet of Langerhans)
2. เนื้อเยื่อบุผิวที่รับ ความรู้สึก (neuroepithelium) เช่น เซลล์รับรส (teste cell) บนตุ่มรับรส
(teste bud) เซลล์รับกลิ่น (olfactory cell)ในเยื่อบุโพรงจมูกด้านบน
3. เนื้อเยื่อบุผิวที่ช่วยทาให้เกิดการทางานของอวัยวะบางอย่าง (myoepithelium) เป็นเซลล์ที่
อยู่ล้อมรอบเซลล์ของต่อมสร้างสาร เมื่อเซลล์กลุ่มนี้หดตัวทาให้เซลล์ของต่อมหลั่งสารออกมาสู่ท่อ พบที่
ต่อมน้านม ต่อมเหงื่อ และต่อมน้าลาย

เนื้อเยื่อเกีย่ วพัน
ลักษณะสาคัญของเนื้อเยื่อชนิดนี้ คือ ประกอบด้วยเซลล์จานวนไม่มากนัก และเส้นใย (fiber) เล็ก
บางคล้ายเส้นด้ายกระจายอยูท่ ั่วไปในสารประกอบพวกพอลิแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเจล (gel) บาง ๆ
หลั่งจากเซลล์ ซึ่งสารนัน้ เรียกว่า เมทริกซ์ (metrix)
หน้าที่สาคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน คือ เป็นตัวเชื่อมหรือประสานระหว่างเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกาย
ช่วยค้าจุนร่างกายหรือโครงสร้างต่าง ๆ และป้องกันอวัยวะที่อยู่ข้างใต้ โดยเกือบทุกอวัยวะในร่างกาย
จะต้องมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นร่างแหค้าจุน ช่วยทาหน้าที่คล้ายกันชน หรือหมอนกันกระเทือน

ชนิดของเส้นใยของเนื้อเยื่อเกีย่ วพัน
1. collagen fiber พบมีจานวนมากที่สุด กระจายอยูท่ ั่วไปทุกทิศทาง ประกอบด้วยมัดของเส้นใย
ขนาดเล็ก ๆ เรียงขนานกันอยู่ มีสมบัติโค้งงอได้ แต่ก็สามารถต้านทานแรงตึงได้ เมื่อถูกดึงจะยืดได้น้อยมาก
และถ้าใช้แรงดึงมาก ๆ ก็ขาดได้
2. elastic fiber มีลักษณะแตกแขนงเป็นกิ่งก้านสาขามากและเชื่อมกันเป็นตาข่ายเห็นเป็นลอน
คลื่น เมื่ออยู่ในสภาพเนื้อเยื่อสดมีสเี หลือง สามารถดึงให้ยืดได้ และเมื่อปล่อยจะกลับสู่ขนาดเดิมและ
รูปร่างเดิมได้
3. reticular fiber มีขนาดเล็กมากและแตกแขนงเป็นตาข่ายละเอียดมากมองไม่เห็นด้วยกล้อง
จุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา
collagen และ reticular fiber ประกอบด้วยโปรตีนที่เรียกว่า collagen ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน
หลายชนิด เช่น glycine, proline และ hydroxyproline ซึง่ collagen นี้เป็นโปรตีนที่แข็งและเหนียวมาก

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
7
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

ดังนั้น ถ้าอยูใ่ นโครงสร้างใด โครงสร้างนั้นจะแข็งแรงมาก เช่น เนื้อสัตว์ แต่ถ้าใส่น้าร้อน collagen จะ


เปลี่ยนเป็น gelatin ซึ่งเป็นโปรตีนที่ละลายน้าได้ เราพบว่า โปรตีนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเป็น
collagen ประมาณ 1/3 ของโปรตีนทั้งหมด

ชนิดของเซลล์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
1. เซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) และเซลล์เส้นใยทีม่ ีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว (fibrocyte) มี
ลักษณะเป็นเซลล์รูปยาวมีรูปร่างไม่แน่นอนและมีกจิ กรรมมากเป็นพิเศษในเนื้อเยื่อทีก่ าลังเจริญ และ
บาดแผลที่กาลังสมาน ขณะที่เนื้อเยื่อมีอายุมากขึน้ จานวน fibroblast จะลดลง และทาหน้าที่น้อยลง
เรียกชื่อใหม่ว่า fibrocyte
2. เซลล์มาสต์ (mast cell) เป็นเซลล์ขนาดใหญ่รูปกลมรี มีนิวเคลียสอยู่ริมขอบเซลล์ มีแกรนูล
ขนาดใหญ่จานวนมากที่บรรจุสารฮีสตามีน (histamine)
3. เซลล์มาโครฟาจ (macrophage) เป็นเซลล์ขนาดใหญ่รูปร่างไม่แน่นอน มีเท้าเทียม
(pseudopodium) เคลื่อนที่ทั่วไปในเนื้อเยื่อเพื่อเก็บเศษเซลล์และจับกินสารแปลกปลอม เช่น เชื้อโรค
แบคทีเรีย
4. เซลล์มเี ซนไคม์ (mesenchymal cell) เป็นเซลล์ของตัวอ่อนที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ไซโตพลาสซึม
ยื่นแขนงออกมาหลายแฉก
5. เซลล์พลาสมา (plasma cell) ทาหน้าทีเ่ กี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกัน เซลล์รูปกลมมีนิวเคลียส
อยู่ริมขอบเซลล์
6. เซลล์ไขมัน (fat cell หรือ adipose cell) เซลล์รูปกลมมีแวคิวโอลใหญ่ ซึ่งทาหน้าทีเ่ ก็บสะสม
ไขมัน นิวเคลียสอยู่ริมขอบเซลล์ฃ
7. เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ ที่แทรกผ่านหลอดเลือดออกจากกระแสเลือดเข้ามาอยู่ในบริเวณ
เนื้อเยื่อเกีย่ วพัน เช่น monocyte และ lymphocyte
8. เซลล์ทเี่ กีย่ วข้องกับการค้าจุนพยุงร่างกาย ได้แก่ เซลล์กระดูก (bone cell) และเซลล์กระดูก
อ่อน (cartilage cell)

เนื้อเยื่อเกีย่ วพันมีหลายชนิดหลัก ๆ 8 ชนิด ได้แก่


1. เนื้อเยื่อเกีย่ วพันชนิดโปร่งบาง (loose หรือ areolar connective tissue)
2. เนื้อเยื่อเกีย่ วพันชนิดแน่นทึบ (dense connective tissue)
3. เนื้อเยื่อเกีย่ วพันชนิดอิลาสติก (elastic connective tissue)

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
8
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

4. เนื้อเยื่อเกีย่ วพันชนิดตาข่าย (reticular connective tissue)


5. เนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue)
6. กระดูกอ่อน (cartilage)
7. กระดูก (bone)
8. เลือด (blood)

1. เนื้อเยื่อเกีย่ วพันชนิดโปร่งบาง (ภาพที่ 1.6)


เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่กระจายอยู่มากที่สุดในร่างกาย ทาหน้าที่เ กี่ยวกับการห่อหุ้มและยึดอวัยวะ
ต่าง ๆ ของร่างกายไว้ด้วยกัน เช่น เยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มปอด เยื่อบุภายในช่องท้อง พบเป็นแถบโปร่งบาง
ใส มีเซลล์อยู่หลายชนิด มีเส้นใยชนิดต่าง ๆ หลายชนิดกระจายอยู่ทั่วไปภายในเมทริกซ์ ซึ่งมีสารประกอบ
ไกลโคโปรตีน เช่น เส้น ใย collagen และ elastic มีสมบั ติโค้งงอได้ ฉะนั้น จึงท าให้ส่วนที่ติดต่ออยู่
เคลื่อนไหวได้ดี

ภาพที่ 1.6 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง

2. เนื้อเยื่อเกีย่ วพันชนิดทึบ (ภาพที่ 1.7)


เป็นเนื้อเยื่อที่มีความแข็งแรงมาก และโค้งงอได้ แต่น้อยกว่าชนิดโปร่งบาง ประกอบด้วยเซลล์สร้าง
เส้นใย (fibroblast) collagen fiber เป็นส่วนใหญ่ อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
- แบบ irregular มีcollagen fiber จัดตัวเป็นมัดกระจายทุกทิศทางทั่วไปในเนื้อเยื่อ พบทีช่ ั้น
dermis ของผิวหนัง

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
9
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

- แบบ regular มีcollagen fiber ที่เป็นระเบียบแน่นอน ทาให้เนื้อเยื่อแข็งแรงและต้านทาน


แรงต่าง ๆ ได้ดีมาก ตัวอย่าง คือ เอ็นที่ยดึ ระหว่างกล้ามเนือ้ และกระดูก (tendon)

ภาพที่ 1.7 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดทึบ

3. เนื้อเยื่อเกีย่ วพันแบบอิลาสติก
ประกอบด้วยมัดของ elastic fiber เรียงขนานกัน และถูกห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบาง
เนื้อเยื่ อบริเ วณนี้มั ก มีสี เ หลื องและมีคุ ณ สมบั ติยื ดหยุ่ น ได้ ดี พบที่ เ อ็น ที่ยึ ดระหว่า งกระดูก กั บ กระดู ก
(ligament) (ภาพที่ 1.8) และพบที่โครงสร้างที่ต้องขยายและกลับ สู่สภาพเดิม เช่น ผนังของเส้น เลือด
อาร์เทอรีขนาดใหญ่ และเนื้อเยื่อปอด

ภาพที่ 1.8 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบอิลาสติก

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
10
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

4. เนื้อเยื่อเกีย่ วพันชนิดตาข่าย(ภาพที่ 1.9)


เป็นเนื้อเยื่อที่มีช่องว่างเป็นรูพรุน เพื่อให้น้าเหลืองหรือของเหลวไหลผ่านได้ ประกอบด้วย reticular
fiber สานกั นไปมาจนเป็ น โครงร่างของอวัย วะ ทาหน้าที่ค้าจุน อวัย วะหลายอย่าง เช่น ตับ ม้าม ต่อม
น้าเหลือง

ภาพที่ 1.9 เนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบอิลาสติก

5. เนื้อเยื่อไขมัน (ภาพที่ 1.10)


เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ไขมันที่กระจายตัวหรือเรียงตัวอยู่เป็นกลุ่ม ๆ พบในชั้นใต้ผิวหนัง
และเนื้อเยื่อที่ป้องกันอวัยวะภายใน เนื้อเยื่อไขมันมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ common yellow fat พบสะสมทั่ว
ทุกแห่งในร่างกาย และbrown fat เป็นเนื้อเยื่อไขมันที่สะสมอยู่ในสัตว์จาศีล

ภาพที่ 1.10 เนื้อเยื่อไขมัน

6. กระดูกอ่อน (ภาพที่ 1.11)


ประกอบด้วยเซลล์ชนิดต่างๆ ได้แก่ chondoblast และ chondocyte ซึ่งสร้างสารออกมานอกเซลล์
ได้แก่ เส้น ใย และกรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) เซลล์กระดูก อ่อน เรีย กว่า chondrocyte สร้าง
เมทริกซ์ ซึ่งแข็งและเหนียวรอบ ๆ เซลล์ อยู่ในช่องว่างเล็ก ๆ จะพบ chondocyte อยู่เดี่ยวๆ หรืออาจเป็น

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
11
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

กลุ่ม 2 หรือ 4 เซลล์ อยู่ในช่องว่างเล็กๆ เรียก lacuna ซึ่งอยู่ในเมทริกซ์และเซลล์เหล่านี้เป็นเซลล์ที่มีชีวิต


โดยกระดูกอ่อนมีความทนต่อการกดกระแทก จึงสามารถทาหน้าที่รองรับเนื้อเยื่อที่มีความอ่อน ช่วยในการ
เคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูก ปกคลุมผิวของหัวกระดูก

Matrix
Matrix

Lacuna
Lacunar

Chondrocytes
Chondocyte

ภาพที่ 1.11 กระดูกอ่อน

อาจแบ่งกระดูกอ่อนได้เป็น 3 ชนิดของเส้นใยส่วนใหญ่ที่พบในเมทริกซ์ คือ


- hyaline cartilage (ภาพที่ 1.12) ประกอบด้วยเซลล์ chondocyte ประมาณ 1-10% และ
เมทริกซ์ มีเส้นใยคอลลาเจนจ านวนน้อยกระจายอยู่ ท าให้มีสีขาวปนฟ้าและโปร่งแสง สามารถรับแรง
กระแทกและกันกระเทือนได้ดี พบอยู่ตามข้อต่อของกระดูกต่างๆ เยื่อกั้นจมูก (Nassal septum) หลอดลม
และกระดูกอ่อนของซี่โครง

ภาพที่ 1.12 Hyaline cartilage

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
12
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

- elastic carilage (ภาพที่ 1.13) ภายในเมทริกซ์เต็มไปด้วย collagen fiber และelastic fiber


ที่สานกัน เป็ นร่างแหและมีค วามยืด หยุ่ นมาก ท าให้คงทนแข็งแรงและมีก ารเสื่อมได้ช้ากว่ากระดูก อ่อน
ชนิดอื่น ๆ พบตามใบหู กล่องเสียงและฝาปิดกล่องเสียง

ภาพที่ 1.13 Elstic cartilage

- fibrocartilage (ภาพที่ 1.14) ภายในเมทริกซ์เต็มไปด้วย collagen fiber เรียงตัวสานกันไม่


เป็นระเบียบแทรกกระจายระหว่ างตัวเซลล์ สามารถรับแรงกดได้หลายทิศทาง พบตามข้อต่อของกระดูก
สันหลัง (intervertebral disk) และข้อต่อของกระดูกอื่น ๆ

ภาพที่ 1.14 Elstic cartilage

7. กระดูก(ภาพที่ 1.15)
ประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด ได้แก่ เซลล์ทเี่ จริญมาเป็นเซลล์กระดูก (osteoprogenitor cell) เซลล์
กระดูกทีย่ ังอ่อน (osteoblast) เซลล์กระดูกที่มกี ารเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว (osteocyte) และเซลล์มาโครฟาจ
ที่พบเฉพาะแห่งในบริเวณเนื้อเยื่อกระดูก(osteoclast) เมทริกซ์มิได้มีแต่ collagen, mucopolysaccharide
และสารอินทรีย์อื่นเท่านั้น ยังมีแร่ธาตุ apatite ซึ่งเป็นสารประกอบของแคลเซียม

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
13
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

ฟอสเฟตอยู่ด้วย ดังนั้น การแพร่จะเกิดได้ช้ามาก การขนส่งสารอาหาร และออกซิเจนโดยอาศัยการแพร่


อย่างเดียวไม่เพียงพอทีจ่ ะเลีย้ งเซลล์กระดูกได้ เซลล์กระดูกหรือ osteocyte จึงมีการติดต่อกันเอง และการ
ติดต่อกับเส้นเลือดฝอย โดยทางช่องเล็ก ๆ บางๆ ของเซลล์เอง เกลือแคลเซียมทาให้เมทริกซ์ของกระดูก
แข็งมาก ส่วน collagen fiber ช่วยไม่ให้เปราะเกินไป ดังนั้นกระดูกจึงเบาและแข็งแรง (ภาพที่ 1.15)

ภาพที่ 1.15 กระดูก

8. เลือด (ภาพที่ 1.16)


ประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง (erythrocyth) ,เม็ดเลือดขาว (leucocyte) และเกล็ดเลือด (platelet)
แขวนลอยอยู่ในพลาสมาซึ่งเป็นของเหลว นักชีววิทยาส่วนใหญ่ถือว่าเลือดเป็นเนื้อเยื่อเกีย่ วพัน เพราะการ
ทางานของเลือดใกล้เคียงกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันโดยทั่วไป แต่บางคนแยกเป็นกลุ่มต่างหาก เพราะตาม
คาจากัดความ เซลล์เนื้อเยื่อเกีย่ วพันจะต้องสร้างเมทริกซ์ออกมารอบ ๆ แต่เซลล์เม็ดเลือดไม่ได้สร้าง
พลาสมา มีการจาแนกความแตกต่างของเม็ดเลือดทั้ง 2 ชนิด และเกล็ดเลือดได้ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์
แบบใช้แสงธรรมดา
- เม็ดเลือดแดง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้านมส่วนใหญ่ เมื่อเจริญเต็มที่จะไม่มนี ิวเคลียส จึงเห็นเป็น
ลักษณะเว้า 2 ด้าน ส่วนของสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นจะเป็นเซลล์รปู ไข่และมีนิวเคลียส ในสัตว์ที่ไม่มีกระดูก
สันหลังส่วนใหญ่รงควัตถุที่จบั ออกซิเจนได้ จะไม่อยู่ทเี่ ม็ดเลือด แต่อยู่ในพลาสมามีสีแดง หรือสีฟ้าขึ้นกับ
ชนิดของรงควัตถุ ส่วนในสัตว์มกี ระดูกสันหลังส่วนใหญ่รงควัตถุจับออกซิเจน คือ ฮีโมโกลบิน ซึ่งเกาะอยูท่ ี่
เม็ดเลือดแดง
- เม็ดเลือดขาว ในคนมีหลายชนิด ต่างกันที่รปู ร่าง โครงสร้าง นิวเคลียส การติดสีและหน้าที่
- เกล็ดเลือด ไม่ใช่เซลล์ทั้งเซลล์ แต่เป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่แตกจากเซลล์ในไขกระดูก

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
14
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

ภาพที่ 1.16 เลือด

เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (ภาพที่ 1.17)


เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อมีลักษณะเฉพาะ คือ เซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) มีลักษณะยาวมาก จึงเรียก
อีกชื่อว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) เยื่อหุม้ เซลล์มชี ื่อเรียกเฉพาะว่า sarcolemma และ
ไซโทพลาสซึมมีชื่อเรียกเฉพาะว่า sarcoplasm เรียก endoplasmic reticulum ว่า sarcoplasmic
reticulum ในสัตว์มกี ระดูกสันหลัง พบเนื้อเยื่อกล้ามเนือ้ มี 3 ชนิด ได้แก่ กล้ามเนื้อเรียบ (smooth
muscle) กล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle) และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
1.กล้ามเนื้อเรียบ พบที่อวัยวะภายใน เช่นที่ผนังของทางเดินอาหาร มดลูก เส้นเลือด และอวัยวะ
ภายในอื่น ๆ รูปร่างของเซลล์มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์ เมื่อ
มองด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา จะไม่เห็นมีลาย แต่เห็นเป็นเนื้อเยื่อเดียวกันหมด กล้ามเนื้อ
เรียบหดตัวได้ช้า แต่หดตัวได้นานมาก และการทางานอยูน่ อกอานาจจิตใจ
2. กล้ามเนื้อยึดกระดูก เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่อยู่ติดกับกระดูก เช่น กล้ามเนื้อที่แขนขา จึงทา
หน้าทีเ่ กี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดใช้แสงธรรมดา จะเห็น
แถบสีเข้มและจางพาดขวางสลับกันไป เรียกว่าลาย (striations) เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลกั ษณะเป็น
ทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์มหี ลายนิวเคลียสซึ่งเรียงกันอยู่ทางด้านข้างบริเวณใต้เยื่อหุ้มเซลล์ การทางาน
ของกล้ามเนื้อนี้อยู่ภายใต้อานาจจิตใจ
3.กล้ามเนื้อหัวใจ พบที่ผนังหัวใจ เซลล์มีรปู ร่างยาวทรงกระบอก มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลาง
บริเวณส่วนปลายของเซลล์มีการแตกแขนงแยกออกเป็น 2 แฉก เรียกว่า การแตกแบบไบเฟอเคท
(bifurcate) และบริเวณส่วนปลายเยื่อหุ้มเซลล์ของด้านทัง้ สองของเซลล์ทั้งสองที่มีประชิดกันทาให้เห็นรอย
ตามขวางที่มีสีเข้ม และเห็นเด่นชัด เรียกว่า intercalated disk เมื่อมองด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
ธรรมดา จะเห็นเป็นลาย แต่การทางานไม่เหมือนของเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกเพราะอยู่นอกอานาจจิตใจ

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สาขาวิชาชีววิทยา
15
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา (ว 40244) บทที่ 1 เนื้อเยื่อสัตว์

ภาพที่ 1.17 เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

เนื้อเยื่อประสาท (ภาพที่ 1.18)


เนื้อเยื่อประสาทประกอบด้วยเซลล์ประสาท (nerve cell หรือ neuron) และเซลล์เกลีย
(neuroglia) กระจายแทรกอยู่ระหว่างเซลล์ประสาทกับเส้นใยประสาท (nerve fiber) ในบริเวณเนื้อเยื่อ
ประสาท โดยเซลล์ประสาทมีโครงสร้างประกอบด้วย ตัวเซลล์ (cell body) ที่มีไซโทพลาสซึมและแขนงของ
ไซโทพลาสซึม ซึ่งเป็นส่วนของเส้นใยประสาท ได้แก่ เส้นใยแอกซอน (axon fiber) และเส้นใยเดนไดรท์
(dendrite fiber) สาหรับเซลล์เกลียนัน้ มีหน้าที่ต่าง ๆ คือ สร้างเยื่อหุ้มเส้นใยประสาท จัดหาอาหารให้กบั
เซลล์ประสาท ทาลายสิ่งแปลกปลอมในบริเวณเนื้อเยื่อประสาท ยึดพยุงโครงสร้างของเนื้อเยื่อประสาทให้
อยู่ในลักษณะที่เป็นอวัยวะ เช่น สมอง ไขสันหลัง ปมประสาท และยังทาหน้าที่บุช่องภายในไขสันหลังและ
ช่องภายในสมองแต่ไม่ได้ทาหน้าเกี่ยวกับการรับและส่งกระแสประสาท
Nissl’s granules (จุดๆติดสีแดงใน cytoplasm)
Neuron

Glial cell

ภาพที่ 1.18 เนื้อเยื่อประสาท

เอกสารประกอบการเรียนการสอนฉบับนี้ยังอยู่ระหว่างดาเนินการปรับปรุงแก้ไข
ใช้สาหรับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่านั้น

You might also like