You are on page 1of 6

1

โรคระบบทางเดินปัสสาวะของผู้สูงอายุ
พันตรี พันธ์ศักดิ์ โสภารัตน์
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
ระบบทางเดินปัสสาวะ
1. ไต 2. ท่อไต 3. กระเพาะปัสสาวะ 4. ท่อปัสสาวะ
กลไกการปัสสาวะ (Urination)
1.การเกิดปัสสาวะ (Urine formation)
-เมื่อไตทําหน้าที่กรองของเสีย และสร้างปัสสาวะออกมาเรื่อย ๆ ส่งมารวมกันที่กรวยไตและไหลลงสู่ท่อไต โดยอาศัยแรงดึงดูด
ของโลกร่วมกับการหดตัวแบบบีบรูดของท่อไตในอัตรา 1-5 ครั้งต่อนาที บีบไล่น้ําปัสสาวะลงไปที่กระเพาะปัสสาวะ
-กระเพาะปัสสาวะจะเก็บรวบรวมน้ําปัสสาวะจนได้ปริมาณมากพอ ทําให้เกิดแรงดันไปกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกซึ่งอยู่
ที่ผนังกระเพาะปัสสาวะให้สง่ กระแสประสาทไปตามเส้นประสาทไขสันหลังระดับเชิงกรานคู่ที่ 2-4 เข้าสู่ไขสันหลังไปยังสมองเกิด
ความรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะ
-แต่ถ้าขณะนั้นอยู่ในบรรยากาศที่ไม่เหมาะสม สมองจะส่งกระแสประสาทกลับไปตามไขสันหลัง กระตุ้นให้ระบบประสาท
อัตโนมัติซิมพาเตติก (Sympathetic) ทํางาน ทําให้กล้ามเนื้อเรียบของ กระเพาะปัสสาวะคลายตัวเพื่อยืดขยายรับจํานวนปัสสาวะ
เพิ่มขึ้นได้
2.การถ่ายปัสสาวะ (Micturition) เกิดจากการทํางานของกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะซึ่งอยู่ต่อกับท่อปัสสาวะ ประกอบด้วย
1.กล้ามเนื้อหูรดู ด้านใน 2.กล้ามเนื้อหูรดู ด้านนอก
จะหดตัวกลั้นไม่ให้ปัสสาวะไหลออกมา แต่ถ้าจํานวนปัสสาวะมีมากเต็มที่จะเกิดแรงดันภายใน กระเพาะปัสสาวะไปกระตุ้น
ปลายประสาทรับความรู้สึกซึง่ อยู่ที่ผนังกระเพาะปัสสาวะให้ส่งกระแส ประสาทไปตามเส้นประสาทไขสันหลัง ระดับเชิงกรานคู่ที่ 2-
4 เข้าสู่ไขสันหลังไปยังสมอง สมองเกิดความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะมากขึ้นกว่าครั้งแรก และรูส้ ึกว่าจะกลั้นต่อไปไม่ได้อีกแล้ว สมอง
จะส่งกระแสประสาทกลับไปที่ใยประสาทไขสันหลัง ผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติ เกิดการทํางานที่สัมพันธ์กันคือ
1.กล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะบีบตัว
2.กล้ามเนื้อหูรดู ชั้นในและชั้นนอกคลายตัว
3.มีการหดตัวของกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง ทําให้น้ําปัสสาวะถูกขับถ่ายออกมา
-ในเด็กเล็กไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ เพราะระบบประสาทยังไม่สมบูรณ์
-ปกติกระเพาะปัสสาวะจะจุปัสสาวะได้ถึง 300-500 ซีซี. แล้วขับออก
-ลักษณะการถ่ายบางคนอาจจะกลั้นปัสสาวะได้นาน แต่บางคนไม่ได้นานตามแต่นิสัย
ระบบปัสสาวะในผู้สงู อายุ
-มีความเสื่อมของร่างกายตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น เห็นชัดเจนที่กระเพาะปัสสาวะ ทําให้เกิดมีอาการกลุ่มความผิดปกติของระบบ
ปัสสาวะส่วนล่าง
-การรับความรู้สึกและแรงบีบตัวลดลงเท่ากันในเพศชายและหญิง แต่ในผู้หญิงความยาวท่อปัสสาวะจะสั้นร่วมกับ แรงบีบหดตัว
ของหูรูด และกล้ามเนื้อลดลงมากกว่าผู้ชาย
-ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายทําให้การบีบตัวหัวใจทํางานไม่เต็มที่
-ในช่วงกลางวันเลือดจึงไปอยู่ที่ส่วนล่างมากได้แก่ เท้าและขา สังเกตได้จากมีขาบวมในตอนสายมากกว่าตอนเช้า
-ในช่วงเวลากลางคืนเมื่อเข้านอน ระดับของไตที่อยู่ในระนาบเดียวกับขา ปริมาณน้ําทีค่ ั่งในเท้าและขามีการไหลเวียนกลับมาก
ขึ้น อัตราการกรองของเลือดที่ไตเพิ่มขึ้น จึงทําให้ปริมาณปัสสาวะกลางคืนมากกว่ากลางวัน
โรคระบบทางเดินปัสสาวะทีพ่ บบ่อยในผู้สงู อายุ
ผู้ชาย -โรคต่อมลูกหมากโต/ มะเร็งต่อมลูกหมาก
ผู้หญิง -ภาวะปัสสาวะเล็ดราด/ กลัน้ ไม่ได้
-การอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
2

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (urinary incontinence)


นิยามของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
-ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ตามที่ต้องการ
-ไม่สามารถกลัน้ หรือหยุดยั้งการไหลของปัสสาวะในเวลาหรือในสถานที่ทไี่ ม่เหมาะสม
-น้ําปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ
สาเหตุ
1. กระเพาะปัสสาวะ
2. กลไกหูรูด
3. สาเหตุร่วมกันระหว่างกระเพาะปัสสาวะและหูรูด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทาํ ให้เกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรีมีอะไรบ้าง?
1.การคลอดบุตร เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สาํ คัญ การคลอดจะทําให้เกิดการฉีกขาดของเส้นประสาทของกล้ามเนื้อหูรูด และของ
กล้ามเนื้อกระบังลมในอุ้งเชิงกราน (กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆในอุ้งเชิงกราน) ทําให้เกิดอุ้งเชิงกรานหย่อน
2.อายุมาก ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) จากรังไข่จะลดลง ทําให้ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อต่างๆเสียไป
3.การไอ หรือท้องผูกเรื้อรังจะเพิ่มความดันในช่องท้อง
4.โรคอ้วน
ประเภทของการกลัน้ ปัสสาวะไม่อยู่
1.ปัสสาวะเล็ดเมื่อไอ จาม (Stress incontinence)
-เวลาไอจาม หรือเมื่อมีการเพิ่มของความดันในช่องท้อง (เช่น ยกของหนักเป็นประจํา หรือท้องผูกเรื้อรัง) จะทําให้มีน้ําปัสสาวะ
เล็ดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ สาเหตุมักเกิดจากการปิดของหูรูดของท่อปัสสาวะไม่ดี เนื่องจากมีการหย่อนยานของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
ที่จะช่วยพยุงบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะตามอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
2.ปัสสาวะเล็ดเมื่อปวดปัสสาวะ (Urge incontinence)
-อาการปวดปัสสาวะนํามาก่อนแล้วมีปัสสาวะเล็ดราด มีปัสสาวะบ่อย ตอนกลางคืนต้องตื่นขึ้นมาถ่ายปัสสาวะ หรือมี
ปัสสาวะรดที่นอน แต่ผู้ป่วยจํานวนมากที่มีอาการเพียงปวดปัสสาวะรุนแรงต้องรีบขวนขวายเข้าห้องน้ํา แต่ไม่มีปสั สาวะราดออกมา
ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป้นกลุ่มหลักที่เราเรียกว่า กระเพาะปัสสาวะไวเกิน หรือ โอ เอ บี (OAB) สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อกระเพราะปัสสาวะ
ทํางานไม่ปกติ
3.ปัสสาวะเล็ดโดยไม่ปวดปัสสาวะ (Overflow incontinence)
-ผู้ป่วยจะไม่มอี าการปวดปัสสาวะหรือมีน้อยมาก มีปัสสาวะไหลรินออกมาตลอดเวลาไม่รู้ตัว หรืออาจจะไหลออกเมื่อมีการ
กระเทือน สาเหตุเกิดจากมีปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะจํานวนมาก เมื่อมีปัสสาวะล้นเกินกว่าที่จะเก็บไว้ได้ก็จะไหลออกมา
เอง เนื่องจากการทํางานของระบบประสาทที่ควบคุมการบีบรัดตัวของกระเพาะปัสสาวะเสียไปปัสสาวะก็จะท้นออกมาจะพบใน
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานนานๆ หรือผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณไขสันหลัง ทําให้เส้นประสาทที่เลี้ยงกระเพราะปัสสาวะเสียไป
การวินิจฉัย
แพทย์มีความจําเป็นต้องทําการวินิจฉัยให้ชัดเจนว่ามีปัสสาวะเล็ดราดออกมาจริง ซึ่งมีการตรวจร่างกายและการตรวจ
เพิ่มเติมหลายอย่าง
1.การให้ผู้ป่วยสวมผ้ารองซับไว้ แล้วชั่งน้ําหนักเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนสวมและหลังสวม
2.การตรวจปัสสาวะ
3.การถ่ายภาพรังสี/เอกซ์เรย์ของระบบทางเดินปัสสาวะ
4.บันทึกการถ่ายปัสสาวะ (Voiding diary)
การรักษาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
-ดื่มน้ําในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่เกิน 2 ลิตรต่อวัน
-หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มมีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ําอัดลม
3

-ลดหรือควบคุมน้ําหนัก
-เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากมากๆ เพื่อลดอาการท้องผูก
-งดสูบบุหรี่เพราะจะได้ลดอาการไอ
-หลีกเลี่ยงการออกแรงที่จะทําให้มีการเพิ่มแรงดันในช่องท้องเป็นประจํา
การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
1.Kegel exercise หรือการขมิบช่องคลอดนั่นเอง ครั้งแรกให้ฝึกขมิบเพื่อหยุดปัสสาวะขณะที่กําลังถ่ายปัสสาวะ แล้วจํา
ความรู้สึกนั้นไว้ (มีข้อห้ามที่ไม่ควรฝึกขมิบหลังตื่นนอนทันที เพราะมีน้ําปัสสาวะคั่งมาตลอดคืน) ต่อไปฝึกขมิบ โดยขมิบแล้วกลัน้ ไว้
นับ 1 ถึง 10 ต่อจากนั้นให้คลายการขมิบ นับเป็น 1 ครั้ง ทําเป็นชุดๆ ละ 30 ครั้ง เวลาใดก็ได้ที่สะดวก ทํา 3 เวลาต่อวัน นาน 3-6
เดือน
2.การรักษาด้วยยา
3.การใส่วงแหวนพยุงในช่องคลอด
4.การผ่าตัด
5.การกระตุ้นประสาทกระเพาะปัสสาวะด้วยไฟฟ้า
การอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุ
ประมาณ 75-95% ของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด อีโคไล (E.coli, Escherichia coli)
ซึ่งเป็นแบคทีเรียประจําถิ่นอยู่ในลําไส้ใหญ่ จึงปน เปื้อนอยู่ในอุจจาระและในบริเวณรอบปากทวารหนัก ซึ่งจะอยู่ใกล้เคียงกับปากท่อ
ปัสสาวะ โดยเฉพาะในผู้หญิง นอกจากนั้น ในผู้หญิงโอกาสรับเชื้อแบคทีเรียยังมาจากช่องคลอด ซึ่งปากช่องคลอดเปิดออกภายนอก
ใกล้กับปากท่อปัสสาวะ ดังนั้นท่อปัสสาวะในผู้หญิงจึงได้รับเชื้อโรคได้ง่ายทั้งจากช่องคลอดและจากทวารหนัก ซึ่งลักษณะทาง
กายภาพนี้จึงส่งผลให้ผหู้ ญิงเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะสูงกว่าผู้ชายมาก
อาการจากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อย
-ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ ปวดแสบเวลา ปัสสาวะโดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดปัสสาวะ และมักตื่นปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ
อาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นแรง หรือเหม็น ผิดปกติ อาจมีปัสสาวะเป็นเลือด ปวดท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน อาจมีไข้ต่ําๆ
ปวดเมื่อยปวดตัว ทั่วตัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บบริเวณอวัยวะเพศ และ/หรืออุ้งเชิงกรานเมื่อมีเพศสัมพันธ์
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?
โดยทั่วไปเมื่อพบแพทย์ได้เร็ว การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจะไม่รุนแรง อาการจะดีขึ้นหรือหายได้ภายใน 2-3 วัน ทั้งนี้โดย
เป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วยการกินยาปฏิชีวนะ แต่ในโรคกรวยไตอักเสบ มักรุนแรง การให้ยาปฏิชีวนะมักให้ทางหลอดเลือด
ดําและอาจจําเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล
ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
ควรรีบพบแพทย์ เพราะการรักษาจําเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องทั้งชนิดของยา ปริมาณยา (Dose) และระยะเวลาที่
ได้รับยา เพื่อลดโอกาสเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ําจากการรักษาที่ไม่เหมาะสมและเชื้อดื้อยา ดื่มน้ําสะอาดให้มากกว่าเดิม อย่างน้อยวัน
ละ 8-10แก้ว ไม่กลั้นปัสสาวะนาน งดการมีเพศสัมพันธ์ สวมใส่กางเกงในเป็นผ้าย100% ไม่รัดแน่นเกินไป เพื่อลดการระคายเคือง
บริเวณอวัยวะเพศ และปากท่อปัสสาวะ และเพิ่มการระบายอากาศไม่ให้บริเวณนั้นอับชื้น
ในผู้หญิงควรล้างบริเวณอวัยวะเพศและปากท่อปัสสาวะจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอเพื่อลดการปนเปื้อนจากปากทวารหนัก
ลองปรับเปลี่ยนชนิดยาคุมกําเนิด (ในผู้หญิง) หรือ เจลหล่อลื่น
ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากคืออะไร
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่พบในเพศชายอยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะส่วนต้นต่ํากว่าคอกระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะที่มี
ลักษณะคล้าย เกาลัด(chest nut) หรือ ลูกแพร์กลับหัว มีน้ําหนักปกติประมาณ 15 – 20 กรัม ทําหน้าที่ผลิตสารคัดหลั่ง ซึ่งเป็น
องค์ประกอบของน้ําอสุจิ ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเพศชาย นอกจากนี้ในเนื้อของต่อมลูกหมากยังมีส่วนของกล้ามเนื้อเรียบเป็น
องค์ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งสามารถถูกกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวได้โดยระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติค
4

สาเหตุของต่อมลูกหมากโต
1.ยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงสาเหตุที่แน่ชัด
2.พบว่าต่อมลูกหมากจะโตขึ้นตามอายุ อาจสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) และฮอร์โมนเพศหญิงที่อยู่ใน
เพศชาย (female hormone-estrogen) ซึ่งอาจกระตุ้นให้ต่อมลูกหมากเจริญรวดเร็วได้
3.พันธุกรรม
โรคต่อมลูกหมากโต กลไกที่ต่อมลูกหมากโตทําให้เกิดการอุดกั้นทางออกของกระเพาะปัสสาวะนั้นแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
1.การอุดกั้นแบบคงที่ (static obstruction) เกิดจากการใหญ่ขึ้นของเนื้อต่อมลูกหมากซึ่งได้รับอิทธิพลจากการกระตุ้นของ
ฮอร์โมนเพศชาย
2.การอุดกั้นแบบเคลื่อนที่ (dynamic obstruction) เกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมาก ซึง่ ได้รับ
อิทธิพลจากการกระตุ้นของระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติก
อาการของโรคต่อมลูกหมากโต
1. อาการของการอุดกั้นทางออกของกระเพาะปัสสาวะ
1.1 ลําปัสสาวะอ่อนแรง 1.2 ลําปัสสาวะขาดตอน 1.3 เริม่ ถ่ายปัสสาวะด้วยการเบ่ง
1.4 รู้สึกปัสสาวะไม่สุด 1.5 ปัสสาวะบ่อย 1.6 ปัสสาวะกลางคืน
1.7 ปัสสาวะต้องรีบ 1.8 ปัสสาวะคั่งเฉียบพลัน
อาการของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคต่อมลูกหมากโต พบในผู้ป่วยที่เป็นต่อมลูกหมากโตมานาน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของ
อวัยวะอื่นของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น
2.1 การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ 2.2 การเกิดนิว่ ในกระเพาะปัสสาวะ
2.3 อาการปัสสาวะเป็นเลือด 2.4 การทํางานของไตเสื่อมลง
การวินิจฉัยโรค
1. การซักประวัติ
แพทย์จะถามอาการของผู้ป่วย ประเมินอาการของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง 7 อาการ (ข้อ 1.1 – 1.7) ออกมาเป็นคะแนนตาม
แบบประเมิน คะแนนเหล่านีจ้ ะนําไปเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาวิธีการรักษา และสามารถใช้ประเมินผลของการรักษา แพทย์
จะถามถึงอาการของโรคอื่นที่อาจเป็นสาเหตุของอาการของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างนอกเหนือจากโรคต่อมลูกหมากโต
2. การตรวจร่างกาย
-การตรวจต่อมลูกหมาก แพทย์ใช้นิ้วสอดเข้าทางทวารหนักของผู้ป่วยเพื่อคลําต่อมลูกหมากจากทางด้านหลัง
-การตรวจอวัยวะเพศและท่อปัสสาวะ เพื่อหาสาเหตุอื่นที่อาจทําให้เกิดอาการของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เช่น หนังหุ้มปลาย
ไม่เปิด, ท่อปัสสาวะตีบ
3. การตรวจปัสสาวะ
4. การตรวจการทํางานของไต
5. การตรวจเลือดหาระดับ “พีเอสเอ” (PSA = prostatic specific antigen)
6. การตรวจอัตราไหลของปัสสาวะร่วมกับการวัดปัสสาวะตกค้าง
7. การตรวจทางรังสีวิทยาของทางเดินปัสสาวะส่วนบน
8. การส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ
การรักษา
1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
1.1 หลีกเลี่ยงการอั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ
1.2 หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
1.3 หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
1.4 หลีกเลี่ยงการดื่มน้ํามากๆ ช่วงก่อนนอน
1.5 ระวังเรื่องท้องผูก
5

2. การรักษาทางยา
2.1 ยาต้านระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติก
-ทําให้กล้ามเนือ้ เรียบที่เป็นองค์ประกอบของต่อมลูกหมากคลายตัว ออกฤทธิ์เร็ว โดยมักเริ่มเห็นผลในเวลา 2 – 3 วัน
มีผลทําให้ความดันโลหิตลดต่ําลง โดยเฉพาะในช่วงแรกที่เริ่มรับประทานผู้ป่วยอาจมีอาการหน้ามืดเวลาลุกขึ้นเร็วๆ ได้ แจ้งแพทย์
หากผู้ป่วยมียาลดความดันชนิดอื่น
2.2 ยาต้านเอนไซม์ 5 – อัลฟ่ารีดัคเตส
-ให้ต่อมลูกหมากที่เคยโต เกิดการฝ่อลง ยากลุ่มนี้จึงเหมาะในผู้ป่วยที่มีตอ่ มลูกหมากขนาดใหญ่ แต่กว่าจะเห็นผลการรักษา
ได้นั้น อาจต้องใช้เวลานานกว่า 6 เดือน
การผ่าตัดพิจารณาทําในกรณี
- มีปัสสาวะคั่งเฉียบพลันมากกว่า 1 ครั้ง
- มีปัสสาวะเป็นเลือดแบบซ้ําๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากต่อมลูกหมาก
- มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะแบบซ้ําๆ
- มีการโป่งยื่นออกไปเป็นถุงของกระเพาะปัสสาวะ
- มีไตเสื่อมอันเนื่องมาจากโรคต่อมลูกหมากโต
- ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคด้วยยากิน
- ผู้ป่วยต้องการ
3. การรักษาด้วยการผ่าตัด
3.1 การส่องกล้องตัดต่อมลูกหมาก
-การส่องกล้องย้อนกลับเข้าไปทางท่อปัสสาวะและใช้ลวดไฟฟ้าคว้านเอาเนื้อต่อมลูกหมากออกมา การผ่าตัดด้วยวิธีนี้
ปัจจุบันถือว่าเป็นการรักษามาตรฐานของโรคต่อมลูกหมากโต ภายหลังการผ่าตัด แพทย์จะคาสายสวนปัสสาวะไว้จนปัสสาวะใสดี
แล้วจึงจะถอดสายสวนออก ซึ่งมักจะใช้เวลาประมาณ 1 – 3 วัน
3.2 การผ่าตัดเปิดทางหน้าท้องเพื่อตัดต่อมลูกหมาก
-มักใช้วิธีนี้ในกรณีที่ต่อมลูกหมากโตมาก การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจะเจ็บตัว มากกว่าและต้องการพักฟื้นที่นานกว่าการส่อง
กล้องตัดต่อมลูกหมากออก
การป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต
1. อาหาร
-ลดการบริโภคอาหารจําพวกเนื้อสัตว์ และไขมันให้น้อยลง
-เพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ และธัญพืช เช่น แอปเปิ้ล แตงโม หัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ข้าว กระชาย ไพล พลัม
สาลี่ มะเขือเทศ ใบชา และชาเขียว
-สารพวกไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen) มีคุณสมบัตชิ ่วยลดการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศชายต่อต่อมลูกหมากได้ ดังนั้น
หากได้รับต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
2. การดูแลสุขภาพของร่างกายและจิตใจ
-คนที่มีเส้นเลือดแข็ง (atherosclerosis) มักมีปัญหาของโรคต่อมลูกหมากโตด้วย มีเลือดไปเลี้ยงต่อมลูกหมากน้อยลง ซึ่งอาจ
เป็นสาเหตุทําให้เกิดโรค
-โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคเส้นเลือด และโรคอ้วน การสูบบุหรี่ ภาวะความเครียด
และการขาดการออกกําลังกาย
มะเร็งต่อมลูกหมาก Prostate Cancer
มะเร็งต่อมลูกหมาก มีอาการอย่างไร
1. ไม่มีอาการ(ตรวจพบจากการคัดกรอง)
6

2. อาการเนื่องมาจากต่อมลูกหมากโตกดทับท่อทางเดินปัสสาวะ
• ปัสสาวะบ่อย ทั้งกลางวันและกลางคืน
• ปัสสาวะลําบาก ต้องเบ่ง เหมือนไม่สุด ปัสสาวะไม่ออก
• ปัสสาวะแสบขัด
3. อาการในระยะลุกลาม
• อาการของมะเร็งทั่วๆ ไป เช่น เบื่ออาหาร น้ําหนักลด ทานได้น้อย
• มักมีอาการตามอวัยวะที่ลุกลามไป ดังเช่น ปวดตามข้อกระดูก อาการอ่อนแรงครึ่งตัว ปัสสาวะแดง เป็นเลือด
วิธีการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก
-การคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
-การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก+การตรวจเลือดหาค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก (พี เอส เอ) PSA
การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
การคลําต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก เพื่อดูลักษณะของต่อมลูกหมาก
-ความแข็ง (consistency)
-มีก้อนนูนผิดปกติ (nodule)
-ขอบเรียบ (smooth surface)
ตรวจเลือดหาค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก (พี เอส เอ) PSA เป็น สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก(Tumor Marker) ในเลือด ที่สําคัญ
-สารชนิดนี้จะถูกผลิตออกมามากกว่าปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
-สามารถวัดค่าได้โดยการเจาะเลือด
-ในคนปกติค่าพีเอสเอจะอยู่ในระดับ 0-4 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร
เริ่มตรวจเมื่อไร
-ควรทําในผู้ชายทุกคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หรือ ในผู้ที่อายุมากกว่า 45 ปี ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อม
ลูกหมาก พวกประชากรเชื้อสาย อาฟริกันอเมริกัน(ผิวดํา)
ตรวจถึงเมื่อไร
-ควรตรวจถึงอายุ 75 ปี หรือ มีค่าประมาณอายุขัย(Life Expectancy) <10 ปี เพราะมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่โตช้า
แทบที่สุด ผู้ป่วยทีเป็นจะตายโดยโรคอื่นมากกว่าเช่น โรคหัวใจ ไตวาย อุบัติเหตุ
ค่าPSA นี้อาจสูงขึน้ กว่าภาวะปกติได้ โดยที่ไม่ได้เป็นมะเร็งได้ เนื่องจาก
-มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
-การใส่สายสวนปัสสาวะ
-ยาบางชนิด เช่น ยารักษาต่อมลูกหมากโต (avodart , proscar) หรือยารักษามะเร็งต่อมลูกหมาก(casodex)
-การหลั่งน้ําอสุจิ(ejaculation)
-การนวดต่อมลูกหมาก (prostatic message)
การรักษา
1. การเฝ้าติดตามดูโรคอย่างใกล้ชิด
2. การผ่าตัด
3. การฉายรังสี
4. การรักษาด้วยฮอร์โมน
5. การรักษาด้วยเคมีบําบัด

You might also like