You are on page 1of 35

1

คํานํา

บทเรียบเรียง “การประเมินระบบหายใจ” จัดทําขึ้นเพื่อเปนแนวทางให


นิสิตสามารถประเมินระบบหายใจของผูใชบริการไดอยางถูกตอง อันจะเปน
สวนหนึ่งของการใหการพยาบาลผูใชบริการอยางมีประสิทธิภาพ

ผูเรียบเรียงขอขอบพระคุณผูเรียบเรียงตําราที่ผูเขียนไดอางอิง และ
ขอขอบพระคุณครู อาจารยทุกทานที่ไดใหความรู คําแนะนําในการจัดทําบท
เรียบเรียงนี้

ดร. ฐิติอาภา ตั้งคาวานิช


คณะพยาบาลศาสตร
มหาวิทยาลัยนเรศวร
เมษายน 2552
2
สารบาญ

หนา

กายวิภาคศาสตร
การประเมินภาวะสุขภาพระบบทางเดินหายใจ
การซักประวัติ
การตรวจรางกาย
การตรวจจมูก
การตรวจหลอดลม
การตรวจทรวงอก
การตรวจทางหองปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษ
3
การประเมินภาวะสุขภาพระบบทางเดินหายใจ

ดร. ฐิติอาภา ตั้งคาวานิช

แนวคิด ระบบทางเดินหายใจเปนระบบที่มีความสําคัญตอชีวิตมนุษย ความ


ผิ ด ปกติ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในระบบนี้ อ าจส ง ผลต อ ชิ วิ ต ได พยาบาลควรประเมิ น
ผูรับบริการอยางละเอียดและถูกตอง ทั้งนี้พยาบาลควรมีความรูพื้นฐานระบบ
ทางเดินหายใจ สามารถถามประวัติ ตรวจรางกาย รวมทั้งวิเคราะหผลการตรวจ
ทางหองปฏิบัติการและการตรวจพิเศษที่เกี่ยวของได เพื่อผูรับบริการไดรับการ
แกไขไดอยางถูกตองและรวดเร็ว ชวยลดภาวะแทรกซอนที่อาจเกิดขึ้นได

วัตถุประสงคของบทเรียน เมื่อจบบทเรียนนี้แลวผูเรียนสามารถ
1. บอกแนวทางการซักประวัติที่เกี่ยวของกับระบบทางเดินหายใจได
2. บอกแนวทางการตรวจรางกายระบบทางเดินหายใจได
3. สามารถระบุสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการตรวจรางกายระบบทางเดิน
หายใจได
4. ระบุการตรวจทางหองปฏิบัติการ การตรวจพิเศษที่สัมพันธกับระบบ
ทางเดินหายใจได
4
กายวิภาคศาสตร
ระบบทางเดิน หายใจเปน ระบบที่ สํา คัญ ต อร า งกายระบบหนึ่ ง การ
หายใจเข า จะนํ า ออกซิ เ จนเข า สู ร า งกาย และ การหายใจออกจะนํ า
คารบอนไดออกไซดออกจากรางกาย โดยผานกระบวนการระบายอากาศและ
การแพรกระจายของกาซ ระบบทางเดินหายใจประกอบดวย
1.สวนที่เปนทางผานของอากาศ (Air Passage) ประกอบดวย จมูก
(Nose) ปาก (Mouth) หลอดคอ (Pharynx) กลองเสียง (Larynx) หลอดลม
(Trachea) ขั้วปอด (Bronchus) และแขนงปอด (Bronchiole)
2.สวนที่ทําหนาที่แลกเปลี่ยนกาซ ไดแก ปอด (Lung) ภายในปอดสวน
ที่เกี่ยวของกับการหายใจประกอบดวย ทางเดินลมหายใจ (Alveolar Duct)
และถุงลม (Alveolus) ปอดมี 2 ขาง ซายและขวา อยูในชองอก ระหวางปอด 2
ขาง จะมีหัวใจ หลอดลม หลอดอาหาร เสนเลือดใหญ ทอน้ําเหลืองและตอม
น้ําเหลือง ปอดขางขวาใหญกวาปอดขางซาย และมีกระบังลมดานขวานูนสูง
ขึ้น มาเนื่ อ งจากมีตับหนุน อยู ใตก ระบั ง ลม สวนที่หอหุมปอดคือเยื่อหุ มปอด
(Pleura) เปนเยื่อ 2 ชั้น ระหวาง 2 ชั้นนี้ มีของเหลวบรรจุอยู เรียกวา Plural
Fluid ซึ่งจะชวยใหปอดชุมชื้นและปองกันการเสียดสีขณะหายใจ

การประเมินภาวะสุขภาพระบบทางเดินหายใจ
การประเมิ น ภาวะสุ ข ภาพระบบทางเดิ น หายใจที่ ถู ก ต อ งช ว ยให
ผูรับบริการไดรับการแกไขปญหาไดอยางมีประสิทธิภาพ การประเมินภาวะ
สุขภาพระบบทางเดินหายใจประกอบดวย การซักประวัติ และการตรวจรางกาย
5
การวิเคราะหผลการตรวจทางหองปฏิบัติการ การตรวจพิเศษที่เกี่ยวของกับ
ระบบทางเดินหายใจ

การซักประวัติ (History taking)


การซักประวัติในระบบทางเดินหายใจประกอบดวย
1. อาการสําคั ญ (Chief Complaint) โดยระบุ อาการและ
ระยะเวลาการ ที่เปนสาเหตุใหผูรับบริการมาโรงพยาบาล ตัวอยางอาการที่
เกี่ยวของกับระบบทางเดินหายใจไดแก ไอ เจ็บคอ มีไข เจ็บหนาอก หายใจ
ลําบาก เหนื่อย
2. ประวัติสุขภาพในปจจุบัน (Present health status) ถาม
ประวัติสุขภาพระบบทางเดินหายใจที่เกี่ยวของกับการปวยครั้งนี้ ใหคลอบคลุม
ประเด็นตางๆ ดังนี้
2.1 อาการไอ การไอเปนการหายใจออกอยางรวดเร็ว จะเกิด
จากความตั้งใจหรือไมตั้งใจก็ได อาการไอที่เกิดขึ้นเองเปนรีเฟล็กซ การถาม
ประวัติควรคลอบคลุมประเด็นตอไปนี้
2.1.1 เริ่มไอเมื่อใด ไอแบบเฉียบพลันหรือไอเรื้อรัง
2.1.2 ชวงเวลาที่ไอ เชน ไอเฉพาะตื่นนอนตอนเชา หรือไอเมื่อ
อากาศเปลี่ยนแปลง อาการไอที่เกิดขึ้นสัมพันธกับกิจกรรมที่ทํา เชน เดินมากๆ
แลวไอ ตื่นขึ้นมาไอกลางดึก หรือจะไอมากในชวงฤดูหนาว อาการไอนี้เปนทั้ง
วันหรือไม เปนตน
2.1.3 ลั กษณะของการไอ เช นไอแหง ๆ ไอมี เสมหะ ไอเปน
เลือด เปนตน
6
2.1.4 ความถี่ของการไอ ไอบอย ไอนานๆ ครั้ง หรือไอมาก
จนไมสามารถทํากิจวัตรประจําวันได เปนตน
2.1.5 ปจจัยที่กระตุนหรือบรรเทาอาการไอ เชน อุณหภูมิของ
สิ่งแวดลอม ความชื้น เปนตัวกระตุนใหไอหรือไม เชน อาการไอหลังฝนตก ไอ
เมื่อเปลี่ยนทา เปนตน
2.1.6 อาการอื่นๆ เชน หายใจลําบาก เจ็บหนาอก สําลัก เปน
ตน
2.2 เสมหะ การถามประวัติเ กี่ ย วกับเสมหะควรให คลอบคลุม
ประเด็นตอไปนี้
2.2.1 เริ่มมีเสมหะเมื่อใด
2.2.2 ลักษณะของเสมหะ เชน เสมหะเปนหนอง (Purulent)
เสมหะเปนมูกใส (Mucoid) เสมหะมูกปนหนอง (Muco purulent) เสมหะมีสี
อะไร เชน สีสนิม (Rusty) สีเลือด (Reddish) เสมหะเปนฟองสีชมพู (Frothy)
เปนตน เสมหะมีกลิ่นเหม็นหรือไม เสมหะออกมาสม่ําเสมอ ตลอดเวลา หรือมี
มากเฉพาะในชวงเวลาใดเวลาหนึ่ง
2.2.3 ปริมาณของเสมหะมีมากหรือนอย
2.2.4 ปจจัยกระตุน เชน อยูในที่มีฝุนควันมากจะมีเสมหะมาก
การดื่มน้ํานอยเสมหะจะนอยและเหนียว การไดรับยาบางอยางอาจทําใหไอมี
เสมหะมากขึ้น เปนตน
2.2.5 อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวของ เชน มีไข หายใจหอบเหนื่อย เจ็บ
หนาอก เปนตน
7
2.3 อาการเจ็บหนาอก (Chest Pain) ควรถามประวัติคลอบ
คลุมประเด็นตอไปนี้
2.3.1 จุดเริ่มตนของอาการ เริ่มมีอาการเจ็บหนาอกเมื่อใด
2.3.2 ชวงเวลาของการเจ็บหนาอก เปนอาการเจ็บหนาอก
แบบคงที่ หรือเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ อยางตอเนื่อง หรือเปนๆ หายๆ เจ็บหนาอก
เวลาใด เชา กลางวัน เย็น หรือตอนกลางคืน อาการเจ็บหนาอกสัมพันธกับการ
ออกกําลังกายหรือไม
2.3.3 ตําแหนงที่มีอาการ เจ็บหนาอกตําแหนงใด และปวดราว
ไปที่ใดหรือไม
2.3.4 ลักษณะของอาการเจ็บ ปวดแบบใด เชน รูสึก ปวด
เหมือนถูกแทงบริเวณดานหลัง หรือดานขาง และปวดมากขึ้นเวลาหายใจเขา
ลึกๆ
2.3.5 ปริม าณความเจ็ บปวด ปวดนอยหรือปวดมาก ปวด
นอย พอทนไหว หรือปวดมากจนตองนอนลง หรือประเมินดวย Pain Scale
2.3.6 อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวของ เชน คลื่นไส อาเจียน หายใจ
ลําบาก มีไข งวง ซึม ซีด เย็น ออนแรง เปนตน
2.3.7 ป จ จั ย กระตุ น เช น หลั ง จากออกกํ า ลั ง กาย ประสบ
อุบัติเหตุ อากาศรอนจัดหรือหนาวจัด หรือความเครียดทําใหมีอาการมากขึ้น
หรือไม เปนตน
2.4 อาการหายใจลําบาก (Dyspnea) เปนอาการที่รูสึกวาหายใจ
ขัด ตองออกแรงหายใจมากกวาปกติ และรูสึกเหนื่อยมากกวาปกติ อาการ
8
หายใจลํ า บากอาจเกิ ดขึ้ น โดยสั ม พัน ธกั บ การจัด ทา ของผู รั บบริ ก ารเช น มี
อาการหายใจลําบากเมื่อนอนราบ หรือนอนตะแคง เปนตน
2.4.1 จุดเริ่มตนของอาการ เริ่มมีอาการหายใจลําบากเมื่อใด
2.4.2 ชวงเวลาที่เกิดอาการหายใจลําบาก เกิดขึ้นในชวงเวลา
ใด ชวงเวลาเชา กลางวัน หรือกลางคืน อาการหายใจลําบากสัมพันธกับการทํา
กิจกรรมอะไรหรือไม ขณะมีอาการหายใจลําบาก อยูในทาใด
2.4.3 ลั ก ษณะของอาการหายใจลํ า บากเป น อย า งไร เช น
หายใจลําบากชวงหายใจเขาหรือหายใจออก หายใจลําบากเวลาอยูในทานอน
(Orthopnea) ตองนอนหนุนหมอนกี่ใบอาการจึงจะดีขึ้น หรือมีอาการหายใจ
ลําบากหลังจากนอนหลับไปแลวตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนเมื่อลุกนั่งสักพักอาการ
ดีขึ้น จะเปนอาการของ Paroxysmal nocturnal dyspnea เปนตน
2.4.4 อาการหายใจลําบากเกิดขึ้นหลังจากทํากิจกรรมใด เชน
ขึ้นบันไดไดกี่ขั้นจึงมีอาการหายใจลําบาก หรืออาการหายใจลําบากนี้สงผลตอ
การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันหรือไม เปนตน
2.4.5 เหตุการณหรืออาการอื่นที่เกี่ยวของ เชน มีความเครียด
ความวิตกกังวล มีอาการสั่น ปวดขา เปนลม เหงื่อออกมาก รวมดวยหรือไม
เปนตน
2.5 อาการเสียงแหบ เกิดขึ้นไดในผูรับริการที่มีรอยโรคบริเวณ
กลอ งเสี ย ง เชน การอัก เสบ การติด เชื้ อ โรคมะเร็ ง การใชเ สี ย งมาก หรื อ ใน
ผูรับบริการที่มีอารมณออนไหว การถามประวัติใหคลอบคลุมประเด็น
2.5.1 จุดเริ่มตนของอาการ เริ่มเปนเมื่อใด
9
2.5.2 อาการอื่นๆ ที่เกิดรวมอาการเสียงแหบ เชน มีไข ไอ มี
เสมหะ กลืนอาหารลําบาก เปนตน
2.5.3 ปจจัยกระตุน เชน อากาศเย็นหรือรอนเกินไป การใช
เสียงมากเกินไป เปนตน
3. ประวัติเจ็บปวยในอดีต (Past medical history)
3.1. ประวัติโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เชน มีการติดเชื้อประเภท
ใด โรคหอบหืด วัณโรค ถุงลมโปงพอง เปนตน
3.2. ประวั ติ ก ารบาดเจ็ บ ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ อวั ย วะในบริ เ วณทางเดิ น
หายใจ
3.3. ประวัติการผาตัดที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในบริเวณทางเดินหายใจ
3.4. ประวัติความเจ็บปวยเรื้อรัง หรือความเจ็บปวยในระบบอื่นๆ
เชน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคไต เปนตน
4. ประวัติสุขภาพในครอบครัว (Family history)
ควรถามพฤติกรรม ความเจ็บปวยของบุคคลในครอบครัว ทั้งในอดีต
และปจจุบัน เชน การสูบบุหรี่ ประวัติการปวยเปนโรควัณโรค มะเร็ง ภูมิแพ
หอบหืด เปนตน
5. ประวัติสวนตัว (Personal health history)
5.1 ควรถามถึ ง รายละเอี ย ดของลั ก ษณะงานที่ ทํ า เพื่ อ นํ า มา
ประกอบการวินิจฉัยโรค เชน ทํางานชางกอสรางอยูในที่มีฝุนมาก ที่ทํางานมี
สารเคมีฟุงกระจาย มีขนสัตวฟุงกระจาย เปนตน
5.2 มี ค วามเครี ย ดมาก บ อ ยหรื อ ไม และมี วิ ธี ก ารจั ด การกั บ
ความเครียดอยางไร
10
5.3 การแพยา อาหาร ตนไม ฝุน สัตวเลี้ยงตางๆ รวมทั้งการรักษา
หรือไม
5.4 ควรถาม ประเภทและปริมาณการใชสิ่งเสพติด เชน บุหรี่ เหลา
เปนตน
5.5 ใช ย าอะไรเป น ประจํ า มีย าประเภทสู ด ดม (Inhalants) ด ว ย
หรือไม
5.6 ตรวจสุขภาพเปนประจําหรือไม ครั้งสุดทายเมื่อไร ตรวจอะไร
5.7 ภาวะโภชนาการ น้ําหนักขึ้นหรือลดลงหรือไมในชวงเวลาเทาใด
5.8 ออกกําลังกาย สม่ําเสมอหรือไมชนิดใด
6. สิ่งแวดลอม (Environment)
สิ่ง แวดล อมทั้ ง ที่บา นและที่ทํ า งานมีฝุน ละออง ควั น มากหรือ ไม
ชนิดใดบาง และอยูในสิ่งแวดลอมที่มีผูสูบบุหรี่มากหรือไม
7. การเดินทาง (Travel)
ถามประวั ติ ก ารเดิ น ทาง พึ่ ง กลั บ จากประเทศหรื อ ที่ มี ก ารแพร
ระบาดของโรคหรือไม

การสังเกตอาการอื่นประกอบการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดิน
หายใจ
1. สีผิว สังเกตบริเวณปลายมือปลายเทา ริมฝปาก เยื่อบุตา อาจ
เกิด ภาวะเขีย วได หากเขี ย วบริเ วณปลายมือ ปลายเท า เรีย กวา Peripheral
cyanosis หรือ เขียวบริเวณริมฝปาก เรียกวา Central cyanosis
11
2. นิ้วปุม ตรวจโดยการประคองนิ้วผูรับบริการดวยนิ้วหัวแมมือ
และนิ้วกลาง ใชนิ้วชี้คลําผิวหนังที่โคนเล็บ บริเวณโคนเล็บจะมีลักษณะงุมลง
ปลายนิ้วมือมีลักษณะพองนูน พบในผูที่เปนโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การตรวจรางกาย (Physical examination)


การตรวจรางกายระบบทางเดินหายใจ ตรวจโดยใชเทคนิคการดู คลํา
เคาะ และฟง ตามลําดับ การตรวจควรตรวจจากสวนบนลงมาสวนลางของ
ทรวงอก และเปรียบเทียบความแตกตางของอวัยวะทั้งสองขาง ในภาวะปกติ
สิ่งที่ตรวจพบทั้ง 2 ขางควรจะเทากัน (Symmetry)
การตรวจจมูก
การถามประวัติเจ็บปวย มีน้ํามูก คัดจมูก เลือดกําเดา การรับกลิ่น
ผิดปกติ มีประวัติการบาดเจ็บที่จมูกหรือไม
ดูลักษณะภายนอกของจมูก เพื่อตรวจความสมมาตร รอยโรคตางๆ
อาการบวม และใชไฟฉายสองดูลักษณะภายในรูจมูก ใชคีมถางจมูก (Nasal
speculum) สังเกตลักษณะของผนังกั้นจมูก ผนังดานขาง ขนในรูจมูก ลักษณะ
สี กลิ่นของสารคัดหลั่งจากจมูก นอกจากนี้สังเกตลักษณะจมูกภายนอก หาก
พบวาปกจมูกบานออกและหุบเขา ขณะที่ผูรับบริการหายใจเขาออก แสดงวา
ผูรับบริการกําลังหายใจลําบาก
การตรวจหลอดลม (Trachea)
หลอดลมจะอยูตรงกลางคอดานหนา วิธีตรวจใชการคลํา โดยวางนิ้วชี้
ที่ Suprasternal notch เหนือ Manubrium sterni แลว คอยๆเคลื่อนขึ้นเปน
เสนตรง ถาอยูศูนยกลางของหลอดลมแสดงวาหลอดลมอยูในตําแหนงปกติ
12
ถาไมอยูตรงกลางใหดูวาเอียงไปดานไหน หลอดลมที่เอียงไปดานใดดานหนึ่ง
อาจมีกอนมาดันหรือปอดแฟบไปขางหนึ่งแลวดึงรั้งเอาหลอดลมเอียงไปขางนั้น
ดวย
การตรวจทรวงอก
อวัยวะสําคัญของระบบทางเดินหายใจที่อยูในทรวงอกไดแก แขนง
หลอดลมใหญทั้งซายและขวา (Bronchi) หลอดลมเล็ก (Bronchus) หลอดลม
ฝอย (Bronchiole) และปอด ซึ่งเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น อาการและอาการ
แสดงที่ปรากฏอาจเกิดจากพยาธิสภาพที่ระบบทางเดินหายใจโดยตรง หรืออาจ
เกิดจากอวัยวะระบบอื่นที่อยูในทรวงอก ดังนั้นในการตรวจรางกายบริเวณทรวง
อก จึงตองทราบถึงตําแหนงอางอิง (Land mark) ที่สําคัญ สําหรับใชบอก
ตําแหนงของอวัยวะตามลักษณะทางกายวิภาค
ตําแหนงอางอิง(Land mark) ที่สําคัญ ((Wilson & Gidden, 2009.,
page 208, ดังรูปที่ 1) ไดแก
ทรวงอกดานหนา (Anterior chest wall)
1. รอยบุมเหนือกระดูกอก (Suprasternal notch)
2. มุมกระดูกอก (Angle of Louis) เปนสวนตอระหวางกระดูก
Sternum กับ Manubrium ซึ่งมีลักษณะนูนคลําไดชัดเจน ตรงกับตําแหนง
กระดู ก ซี่ โ ครงที่ ส องที่ เ ป น จุ ด เริ่ ม ต น ในการนั บ กระดู ก ซี่ โ ครง (Intercostals
space) และเปนจุดที่หลอดลมใหญ (Trachea) แยกเปน Main bronchus 2
ขาง ซายและขวา
3 เสนกึ่งกลางกระดูกอก (Midsternal line)
13
4. ขอบของกระดูกซี่โครงที่ตัดกัน (Costal angle) ปกติไมเกิน
90O
5. กระดูกไหปลารา (Clavicle)
6. เสนกึ่งกลางกระดูกไหปลารา (Midclavicular line)
ทรวงอกดานขาง (Lateral chest wall)
1. เสนดานหลังรักแร (Posterior axillary line)
2. เสนดานหนารักแร (Anterior axillary line)
3. เสนกึ่งกลางรักแร (Mid axillary line)
ทรวงอกดานหลัง (Posterior Chest Wall)
1. ปุมกระดูกสันหลัง (Spinal Process) ของ Cervical spinal
spine ที่ระดับ 7 (C7) เมื่อใหผูรับบริการกมคอเต็มที่จะคลําไดปุมนูนของกระดูก
สันหลังที่เดนชัดคือ Spinal process ของ C7สวนปุมถัดไปเปน Spinal
process ของ Thoracic spinal spine ที่ระดับ 1 (T1) ตําแหนงนี้ใชสําหรับนับ
กระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครง ซึ่ง Spinal process ของ Thoracic spinal
Spine ที่ระดับ 3 (T3) จะเปนตําแหนงอางอิงในการแบงขอบเขตของปอดกลีบ
บนและกลีบลาง
2. สวนลางของกระดูกสะบัก (Inferior angle of scapula) ในทาที่
ผูรับบริการนั่งตัวตรง ปลอยแขนขางลําตัว สวนนี้จะตรงกับกระดูกซี่โครงที่ 7
ดานหลัง
14

ทรวงอกดานหนา ทรวงอกดานขาง ทรวงอกดานหลัง

ภาพที่ 1 แสดงตําแหนงอางอิง (Land mark) ทรวงอก


(Wilson & Gidden, 2009., page 208)

ขอบเขตของปอด
1. ปอดทั้ง 2 ขาง ประกอบดวยยอดปอด (Apex of lung) ซึ่งอยูเหนือ
กระดูกไหปลาราเล็กนอยทั้งดานหนาและหลัง ฐานปอดหรือชายปอด (Base of
lung) อยูบริเวณเดียวกับกระะบังลม โดยที่ชายปอดดานหนาตรงกับกระดูก
ซี่โครงที่ 6 บริเวณ Mid clavicular line ชายปอดดาน ขางจะอยูตรงกับกระดูก
ซี่โครงที่ 8 บริเวณ Mid axillary line และชายปอดดานหลังจะอยูตรงกับกระดูก
ซี่โครงที่ 10 หรือ Spinal process ของ Thoracic spinal spine ที่ระดับ 10
(T10)
2.ปอดขางซายมี 2 กลีบคือ กลีบบน (Left upper lobe) และกลีบลาง
(Left lower lobe) โดยมีเสนแบง (Left oblique fissure) ลากจากตําแหนงของ
15
T3 ของดานหลัง ผานซี่โครงที่ 5 ที่บริเวณ Mid axillary line ไปยังกระดูก
ซี่โครงที่ 6 ดานหนาบริเวณ Mid clavicular line
3.ปอดขางขวามี 3 กลีบคือ กลีบบน (Right upper lobe) กลีบกลาง
(Right middle lobe) และกลีบลาง (Right lower lobe) มีเสนแบงกลีบ 2 เสน
คือ เสนที่ 1 (Right oblique fissure) ลากจากตําแหนงของ T3 ดานหลังผาน
ซี่โครงที่ 5 บริเวณ Mid axillary line ไปยังกระดูกซี่โครงที่ 6 บริเวณ Mid
clavicular line ดานหนาและเสนที่ 2 เปนเสนในแนวเดียวกันกับกระดูกซี่โครงที่
4 ดานหนาลากไปบรรจบกับ Right oblique fissure ที่บริเวณกระดูกซี่โครงที่ 5
ดานหนาในแนว Mid axillary line
การตรวจทรวงอก และ ปอด (Chest and lung)
การตรวจทรวงอก ควรตรวจในหองที่มีแสงสวางเพียงพอ ใชหลักการ
ตรวจรางกายทั้ง 4 อยาง คือ ดู คลํา เคาะ และฟง เริ่มจากสวนบนลงมา
สวนลางของทรวงอกเปรียบ เทียบความแตกตางของทรวงอกและปอดทั้ง 2
ขาง เริ่มตรวจ ดังนี้
การดู
1. สังเกตดูลักษณะรูปรางและขนาดของทรวงอก เริ่มดูจากดานหลัง
ดา นขา ง ดา นหนา และบริเวณฐานของคอ ดูรูปร า งและขนาดของทรวงอก
เหมือนกันทั้งสองขางหรือไม ขางใดโปงออกมาหรือบุมเขาไป ในคนปกติถาตัด
ทรวงอกตามขวางจะไดรูปกลมแบน เสนผาศูนยกลางดานหนาลากไปดานหลัง
แคบกวาดานขวางในอัตรา 1:2 รูปรางและขนาดของทรวงอกที่ผิดปกติ ที่พบได
บอย (ดังภาพที่ 2)
16
อกถัง (Barrel chest) ทรวงอกที่มีขนาดใหญกวาปกติมีลักษณะ
เหมือนโองหรือถังเบียร อัตราสวนจากดานหนาและดานขาง 1:1 มักพบในผูที่
เปนโรคปอดหรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
อกไก (Pigeon chest) คือ อกที่มีกระดูกกลางหนาอกโปงยื่นออกมา
เหมือนอกไก ซึ่งพบในผูที่เปนโรคกระดูกออน (Rickets) ในวัยเด็กหรือเปนมา
แตกําเนิด
อกบุม (Funnel chest) อกที่มีกระดูกกลางหนาอกบุมลึกเขาไป
มากกวาปกติ พบในผูที่เปนโรคกระดูกออนในวัยเด็ก
อกแบนหรือโปงขางเดียว (Unilateral fattening) คือ อกที่แบนแฟบ
ข า งเดี ย วมั ก เกิ ด จากหลั ง คด หรื อ จากโรคปอดเรื้ อ รั ง ทํ า ให เ นื้ อ ปอดแฟบ
(Atelectasis) ปอดถูกทําลายไปขางหนึ่ง
หลังโกง (Kyphosis) พบไดในคนที่มีอายุมากๆ หรือเกิดจากการ
ยุบของกระดูกสันหลังอันใดอันหนึ่งสาเหตุจาก เนื้องอก วัณโรค กระดูกผุ
หลังคด (Scoliosis) เนื่องจากกระดูกสันหลังเอียงไปดานขาง มัก
เปนมาแตกําเนิด โรคเกี่ยวกับระบบกลามเนื้อและประสาท หรือไมทราบสาเหตุ
17

ภาพที่ 2 แสดงทรวงอกที่ปกติและผิดปกติ
(Jarvis, 2008.pp. 467-468)
18

2. การเคลื่อนไหวของทรวงอก การเคลื่อนไหวของทรวงอกเกิดขึ้นจาก
การหายใจ เมื่อหายใจเขากลามเนื้อซี่โครงจะหดตัวดึงกระดูกซี่โครงใหยกขึ้น
และกลามเนื้อกระบังลมจะหดตัวเคลื่อนลงลาง ทําใหทรวงอกและปอดขยาย
ใหญขึ้น และเมื่อหายใจออกกลามเนื้อกระบังลมและกลามเนื้อซี่โครงจะคลาย
ตัว ทําใหทรวงอกคืนเขาสูที่เดิมบีบรัดปอดใหแฟบลงการตรวจใหดูลักษณะการ
เคลื่อนไหวของทรวงอกทั้ง 2 ขางขยายเทากันหรือไม ถาพบวาไมเทากัน เชน
ทรวงอกขางซายเคลื่อนไหวนอยกวาขางขวา มักแสดงวาทรวงอกหรือปอดขาง
ซายผิดปกติ พบไดในผูที่มีเลือดในชองอก (Pneumothorax) เปนตน
3. ลักษณะการหายใจ สังเกต จังหวะ (Rhythm) ความลึกตื้นของการ
หายใจ อวัยวะที่ใชชวยในการหายใจ ในคนปกติจังหวะการหายใจจะสม่ําเสมอ
อัตราการหายใจในผูใหญปกติจะมีอัตราการหายใจประมาณ 12 – 20 ครั้งตอ
นาที (Wilson & Gidden, 2009. p. 215) ในเด็กอัตราการหายใจจะเร็วกวา
ผูใหญ การหายใจที่ผิดปกติ ที่พบบอย (ดังภาพที่ 3) ไดแก
3.1 การหายใจลําบาก (Dyspnea) การหายใจที่ใชกําลังมากกวา
ปกติ ผูรับบริการที่หายใจลําบากจะมีอาการเหนื่อยหรือหอบ ถาเปนมากจะ
นอนราบไมได ตองลุกขึ้นนั่งจึงหายใจได สังเกตดูจะพบวากระดูกไหปลารา
หัวไหล ยกขึ้นยกลงและปกจมูกจะหุบเขาบานออกตามจังหวะการหายใจ การ
หายใจลําบากเกิดไดหลายสาเหตุ เชน ออกกําลังมากๆ จะทําใหหายใจไมทัน มี
ไขสูงหรือไดรับความเจ็บปวดจากโรคประสาทบางอยาง หรือมีอารมณรุนแรง
19
ทําใหหายใจแรงและลึก โรคปอดหรือโรคเกี่ยวกับหลอดลมทุกชนิดที่เปนมาก
จะมีอาการหายใจลําบาก เปนตน
3.2 การหายใจเร็ว (Tachypnea) หมายถึงการที่มีอัตราการหายใจ
เร็วกวาปกติ สาเหตุจากโรคปอด โรคหัวใจ
3.3 การหายใจชา (Bradypnea) หมายถึงมีอัตราการหายใจที่ชา
กวาปกติ เกิดจากความผิดปกติทางสมอง เชน ศูนยควบคุมการหายใจในสมอง
ถูกกดดวยฤทธิ์ของยานอนหลับ ทําใหหายใจชาลงๆ จนหยุดหายใจ (Apnea)
เปนตน
3.4 การหายใจลึก (Hyperpnea) หมายถึง การหายใจที่ลึกกวา
ปกติซึ่งสังเกตไดจากการที่ทรวงอกสวนบนขยายตัวออกและหนาทองโปงออก
ขณะหารใจเขา เกิดจากสาเหตุ การออกกําลังกายมาก ความเจ็บปวด อารมณ
รุนแรง ความเครียดจากภาวะทางจิตใจ เรียกวา Hyperventilation syndrome
3.5 การหายใจตื้นและหยุด (Cheyne–Stroke respiration) คือ
การหายใจที่เริ่มดวยการหายใจตื้นๆ กอนแลวลึกขึ้นๆ จนลึกเต็มที่แลวหายใจ
ตื้นลงๆ จนหยุดหายใจชวงหนึ่ง แลวเริ่มตนใหมสลับไปเรื่อยๆ เกิดจากความ
ผิดปกติของศูนยการหายใจ พบไดในผูที่เปนโรคเสนเลือดในสมองแตก ตีบ หรือ
ตัน ภาวะหัวใจวาย
3.6 การหายใจเปนชวงๆ (Biot or cluster respiration) คือการ
หายใจที่ส ลั บ เป น ช ว งๆ มีช ว งหยุด หายใจสลั บกั บ ช ว งหายใจ ซึ่ ง แต ล ะช ว ง
ระยะเวลาไมเทากัน
20
3.7 การหายใจลึกและถอนหายใจอยางสม่ําเสมอ (Kussmaul
respiration) การกระตุนศูนยหายใจซึ่งเปนผลทําใหหายใจลึกและอัตราการ
หายใจเพิ่มขึ้น ลมหายใจมีกลิ่นผลไมหรือกลิ่นคลายสารอะซิโตน
3.8 การหายใจใกลสิ้นใจ (Air hunger) คือการหายใจชาๆ และลึก
ขณะที่หายใจเขาศีรษะและหนาอกจะเงยขึ้น ตาเหลือกขึ้นขางบน หนาบิดเบี้ยว
ริมฝปาก เล็บมือ เล็บเทาเขียว ปากแสยะเพราะการดึงของกลามเนื้อคอและมุม
ปาก การหายใจแบบนี้เกิดจากเสนเลือดที่ไปเลี้ยงสมองขาดออกซิเจน

ภาพที่ 3 แสดง รูปแบบการหายใจ


(Jarvis, 2008. pp. 468-469)
21
การคลํา
1. การคลําทั่วไปบริเวณทรวงอก หาตําแหนงที่เจ็บ บริเวณที่มีความ
ผิดปกติโดยคอยๆ คลํา บริเวณที่ผูรับบริการบอกวาเจ็บเบาๆ มีกอน แผล ฝ
หรือไม
2. การคลํ า ดู ก ารเคลื่ อนไหวของทรวงอกและปอดทั้ง สองข า ง
(Thoracic expansion) ขณะที่หายใจเขาออก
การคลําเพื่อดูการเคลื่อนไหว ใหผูรับบริการอยูในทานั่ง ผูตรวจวางมือ
ทั้ง 2 ขาง ทาบลงดานหลังใหนิ้วหัวแมมือวางขนานกันตรงระหวางกระดูก
ซี่โครงที่ 10 นิ้วที่เหลือทั้ง 4 นิ้ว วางแผไปตามแนวดานขางของขอบกระดูก
ซี่โครง ใหผูรับบริการหายใจเขาออกลึกๆแรงๆ ทรวงอกจะขยายตัวออกทําใหฝา
มือ นิ้วมือที่วางไวบนทรวงอกทั้ง 2 ขางแยกหางออกจากกัน สังเกตดูการ
เคลื่อนไหว ปลายนิ้วแมมือที่ขยายออกจากกันตามจังหวะการหายใจ และดูวา
ขางใดแยกออกจากจุดกึ่งกลางกระดูกสันหลังมากกวา แสดงวาทรวงอกหรือ
ปอดข า งนั้ น ขยายตั ว ได ม ากกว า ถ า ทรวงอกมี ก ารเคลื่ อ นไหวน อ ยหรื อ ไม
เคลื่อนไหว อาจมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นที่ปอด เยื่อหุมปอด (ดังภาพที่ 4)

ภาพที่ 4 แสดงการคลําเพื่อดูการเคลื่อนไหวทรวงอกดานหลัง
22
การตรวจการเคลื่อนไหวและการขยายของทรวงอกทางดานหนาที่
ชายโครง ใชนิ้วหัวแมมือทั้ง 2 วางใกลกระดูก Xyphoid process สังเกตดูการ
เคลื่อนไหว ปลายนิ้วแมมือที่ขยายออกจากกันตามจังหวะการหายใจ (ดังภาพที่
5)

ภาพที่ 5 แสดง การเคลื่อนไหวทรวงอกดานหนา

3. การคลําการสั่นสะเทือนของเสียงสะทอน (Tactile fremitus) โดย


การใชฝามือขางใดขางหนึ่ง หรือทั้ง 2 ขางวางบนผนังอกดานหลังและดานหนา
ในตําแหนงที่ตรงกันทั้ง 2 ขางจากบนลงลาง ใหผูรับบริการนับเลข หนึ่ง สอง
สาม ดังๆ การนับเลขซ้ําๆ กัน ทําใหเสียงที่เปลงออกมาเปนเสียงระดับเดียวกัน
เสียงที่ผูรับบริการเปลงออกมาจะเกิดความสั่นสะเทือนกับอากาศในหลอดลม
กระจายผานเนื้อเยื่อของปอดมายังผนังทรวงอกมากระทบมือผูตรวจ ในภาวะ
ปกติความสั่นสะเทือนจะเทากันทั้ง 2 ขาง ความสั่นสะเทือนของเสียงจะลด
นอยลงไปเมื่อมีน้ําหรือลมกั้นระหวางผนังทรวงอกกับเนื้อปอดหรือมีการอุดตัน
23
ของหลอดลมขางใดขางหนึ่ง ทําใหการกระจายความสั่นสะเทือนของเสียง
มายังผนังทรวงอกไดนอยลง (ดังภาพที่ 6)

ภาพที่ 6 แสดงการคลําการสั่นสะเทือนของเสียงสะทอน

การเคาะ
การเคาะปอดทางดานหลัง ใหผูรับบริการอยูในทานั่ง เริ่มเคาะจาก
ชองซี่โครงดานบนไลลงดานลาง หรือเคาะที่ซี่โครงขางซายครั้งหนึ่งขางขวา
ครั้งหนึ่งในตําแหนงที่ตรงกัน เพื่อเปรียบเทียบความโปรงความทึบของปอดทั้ง
2 ขาง ซึ่งจะมีเสียงกังวานเทากัน ถาไมเทากันแสดงวามีความผิดปกติเกิดขึ้น
ไมเคาะตรงสวนของกระดูกสะบัก เพราะมีกลามเนื้อและกระดูกหนาจะไมเกิด
เสียง
การเคาะปอดทางดานขาง เคาะจากชองวางระหวางซี่โครงดานบนลง
มาดานลาง (ซี่โครงที่ 4 ถึง 7) ทั้งดานซายและขวา
24
การเคาะปอดทางดานหนาใหผูรับบริการนอนหงาย เคาะที่กระดูกไห
ปลารา บริเวณใตกระดูกไหปลารา และชองกระดูกซี่โครงที่ 2 ถึง 6 โดยเคาะ
หางจาก Sternum ประมาณ 2.5 เซนติเมตร เคาะเปรียบเทียบกันทั้ง 2 ขาง
เคาะจากบนลงลาง
ผู ต รวจจะวางมื อ ข า งหนึ่ ง โดยนิ้ ว กลางให แ นบกั บ ทรวงอกของ
ผูรับบริการ และใชนิ้วกลางเคาะตรงตําแหนงนิ้วกลางที่แนบกับทรวงอกของ
ผูรั บ บริ ก าร การตรวจโดยการเคาะจะต อ งเคาะทั้ง ด า นหนา ด า นขา ง และ
ดานหลัง เสียงสะทอนที่เกิดขึ้นจากการเคาะเรียกวา Percussion note ซึ่ง
ความถี่ ห า งต า งกั น ตามความหนาแน น ของเนื้ อ เยื่ อ ที่ อ ยู ใ ต ผ นั ง ทรวงอก
ตามปกติจะเคาะทึบที่ระดับกระดูกซี่โครงที่ 6 ทางดานหนา และ ระดับกระดูก
ซี่โครงที่ 10 ทางดานหลัง (ดังภาพที่ 7)

ภาพที่ 7 แสดง การเคาะปอด


(Jarvis, 2008. p. 453)
25
ลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นจากการเคาะ
เสียงทึบสนิท (Flatness) การเคาะปอดไดเสียงทึบมาก แสดงวามี
ของเหลว เชน น้ํา หนอง เลือด อยูในชองปอดเปนจํานวนมาก เปนตน
เสียงทึบ (Dullness) เปนเสียงทึบที่ดังนอยกวาเสียงแรก พบในราย
ที่เยื่อหุมปอดหนาขึ้น ปอดแฟบ ปอดบวม
เสียงกังวาน (Resonance) เปนเสียงที่เกิดจากการเคาะบริเวณเนื้อ
ปอดปกติ
เสียงโปรง (Hyper resonance) เปนเสียงที่เกิดขึ้นจากการเคาะ
บริเวณที่มีลมอยูมาก พบในโรคถุงลมโปงพอง (Emphysema) และลมในชอง
เยื่อหุมปอด (Pneumothorax)
เสียงโปรงมาก (Tympany) เปนเสียงทีเ่ คาะบริเวณทีม่ ีฟองอากาศ
เชน กระเพาะอาหาร ทอง ถาเคาะปอดไดเสียงนี้แสดงวามีลมในชองปอด
จํานวนมาก

ทรวงอกดานหลัง
ทรวงอกดานหนา
ภาพที่ 8 แสดงเสียงที่เกิดจากการเคาะตําแหนงตางๆ
(Harkreader, Hogan, & Thobaben, 2007. p. 165)
26
การฟง
การฟงเปนการตรวจภายในทรวงอกที่สําคัญและจําเปน โดยใชหูฟง
(Stethoscope) ขณะฟงตองสังเกต
1. เสียงหายใจ (Breath sound) เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของอากาศ
ในหลอดลม ในขณะที่หายใจเขาและหายใจออกของคนปกติ ใหผูรับบริการ
หายใจเข า ออกแรงๆ จะทํ า ให ไ ด ยิ น เสี ย งหายใจผ า นหลอดลมและปอดได
ชัดเจน เสียงหายใจที่ไดยินตามตําแหนงตางๆ (ดังภาพที่ 9) ไดแก
1.1 เสียงหลอดลมใหญ (Bronchial or tracheal breath sound)
เปนเสียงที่เกิดจากลมผานเขาออกในหลอดลมใหญ ฟงไดยินตรงตําแหนงที่
หลอดลมตั้งอยู บริเวณคอดานหนาและคอดานหลัง ลักษณะการหายใจ ขณะ
หายใจเขาสั้น และหายใจออกยาว
1.2 เสียงหลอดลมและถุงลม (Broncho–Vesicular breath
sound) ฟงไดยินบริเวณ สวนกลางของทรวงอกดานบน ทั้งดานหนาและ
ดานหลัง มีลักษณะเปนเสียงผสมระหวางเสียงถุงลมกับเสียงหลอดลม
1.3 เสียงถุงลม (Vesicular breath sound) ฟงบริเวณทรวงอกตรง
ตําแหนงของปอดทั้ง 2 ขาง ทัง้ ดานหนาและดานหลัง เปนเสียงทีเ่ กิดจากลม
ผานเขาออกในเนื้อเยื่อปอด ลักษณะเสียงหายใจที่ไดยนิ ขณะหายใจเขาจะดัง
และยาวกวาขณะหายใจออก
27

ภาพที่ 9 แสดง ตําแหนงตางๆ ทีฟ่ งเสียงหายใจ


(Wilson & Gidden, 2009. p. 219)

2. ความกองของเสียง (Voice sound ) คือเสียงที่พูดออกมาจาก


ลําคอ เชนใหนับเลข 99 – 99 – 99 ใชหูฟง ตามตําแหนงตางๆ บนผนังทรวงอก
จะไดยินความกองของเสียงทางหูฟง เรียกวา Vocal fremitus หรือ Auditory
fremitus ทั้งนีเ้ พราะเนื้อเยื่อปอดมีคุณสมบัติในการนําคลื่นเสียง ในคนปกติ
ปอดทั้ง 2 ขางมีความกองของเสียงเทาๆ กัน โดย ความแรงและความกองของ
เสียงขึ้นอยูกับเนื้อเยื่อของปอด การฟงตองฟงทรวงอกทัง้ ซายและขวาเพื่อ
เปรียบเทียบกัน ถาความกองของเสียงมีลักษณะดังและชัดกวาปกติ เรียกวา
Bronchophony พบไดในภาวะ Consolidation ของเนื้อปอด เชน ปอดอักเสบ
เปนตน แตถา ความกองของเสียงลดนอยลงไป เสียงที่ไดยินเรียก Whispering
28
pectoriloguy แสดงวามีของเหลวหรือลมมากัน้ ระหวางผนังหนาอกกับ
หลอดลม (ดังภาพที1่ 0)

ภาพที่ 10 แสดงการฟงเสียงหายใจตามตําแหนงตางๆ

3. เสียงผิดปกติอื่นๆ (Adventitious sound) แสดงวามีพยาธิสภาพ


เกิดขึ้นในหลอดลมและปอด เสียงผิดปกติที่พบบอย ไดแก
3.1 Crepitation เปนเสียงที่เกิดขึ้นในหลอดลมและถุงลม หลอดลม
แขนงเล็ก ๆ ที่ มีน้ํ า เสมหะ ขณะหายใจออกถุ ง ลมจะแฟบ ถา มีน้ํา เมือ กหรือ
เสมหะอยูจะทําใหถุงลมแฟบติดกัน พอหายใจเขาลมจะดันถุงลมใหพองออก
จึ ง เกิ ด เสี ย งกรอบแกรบ ลั ก ษณะของเสี ย งที่ ไ ด ยิ น จะคล า ยเสี ย งแตกของ
ฟองอากาศ หรือเสียงเหมือนขยี้ผมใกลๆหู
29
3.2 Rhonchi และ Wheeze เกิดจากทางเดินหายใจแคบหรือ
ตีบลง เนื่อง จากการเกร็งของกลามเนื้อหลอดลม การบวมของเยื่อบุทางเดิน
หายใจ มีเสมหะหรือเนื้องอก ทําใหมีการอุดตันเปนบางสวน ลักษณะของ
เสียงที่ไดยินคลายเสียงกรนของแมวดังตอเนื่องกัน เสียงที่ไดยินจะแตกตางกัน
เปนเสียงสูงเสียงต่ําขึ้นอยูกับขนาดการตีบของรูหลอดลม
Sonorous rhonchi เปนเสียงที่ลมหายใจวิ่งผานหลอดลมที่
ขรุขระจากการอักเสบหรือมีเสมหะเหนียวติดอยูเปนหยอมๆ ถูกขับออกมาไมได
เสียงที่ไดยินจะเปนเสียงต่ํา ดังกรอบแกรบ ไดยินทั้งชวงหายใจเขาและหายใจ
ออก แตจะไดยินชัดเจนขณะหายใจออกมากกวาขณะหายใจเขา เกิดขึ้นใน
หลอดลมขนาดใหญ
Sibilant rhonchi หรือ Wheeze เกิดขึ้นในหลอดลมเล็กๆ มีการ
บีบรัดตัวของกลามเนื้อหลอดลม ทําใหลมหายใจผานหลอดลมแคบๆ ที่มีความ
ตานทานสูงดวยความลําบากจึงทําใหเกิดเสียงสูง ลักษณะเสียงที่ไดยินดังวี้ดๆ
หรือ ฮื้อๆ อาจไดยินโดยไมตองใชหูฟง ไดยินในขณะหายใจออกมากกวาหายใจ
เขา พบในผูที่มีอาการหอบ หืดหลอดลมอักเสบ
3.3 Friction rub or Plural rub เปนเสียงที่เกิดขึ้นเนื่องจากเยื่อหุม
ปอดเกิดการอักเสบ เวลาหายใจทําใหเกิดเสียงเสียดสีกันขึ้น ลักษณะเสียง
คลายเสียงที่ใชฝามือปดหูขางหนึ่งไวแลวใชมืออีกขางหนึ่งถูไปมาบนหลังมือ
ของฝามือขางที่ปดหูไว จะไดยินเสียงเสียดสีคลายเสียงของเยื่อหุมปอดเสียดสี
กัน ในคนปกติเยื่อหุมปอดเสียดสีกัน ไมมีเสียงเพราะเยื่อหุมปอดเรียบและมีน้ํา
หลอลื่นอยู เสียง Plural rub จะไดยินชัดบริเวณทรวงอกดานขางใตรักแร
30
การตรวจทางหองปฏิบัติการ
การตรวจทางหองปฏิบัติการ ที่เ กี่ยวของกับระบบหายใจที่พบบอย
ไดแก
1. การตรวจเสมหะ (Sputum examination/sputum culture)
วิธีการเก็บเสมหะ ควรเก็บเสมหะในตอนเชาหลังตื่นนอน โดยที่ยังไมตองแปรง
ฟนลางหนา บวนเสมหะใสภาชนะที่เก็บสงตรวจ ดังตอไปนี้
1.1. ตรวจดวยกลองจุลทรรศนโดยไมยอมสี จะชวยแยกเสมหะที
ติดเชื้อแบคทีเรีย และไมใชแบคทีเรีย
1.2. ตรวจดวยกลองจุลทรรศนโดยยอมสี โดย Gram’s strain ดู
รูปรางลักษณะเชื้อแบคทีเรีย
1.3. การเพาะเชื้อและทดสอบความไวของยา (Culture and
sensitivity) บอกชนิดของแบคทีเรียที่เปนสาเหตุของการติดเชื้อ ยาปฏิชีวนะที่
ไวตอเชื้อนั้น
การสังเกตสี และลักษณะเสมหะ สามารถระบุไดวาบุคคลนั้นมี
การติดเชื้อโรคประเภทไหน เชน เสมหะลักษณะเหลวใส (Watery) แสดงวามี
การติดเชื้อไวรัส พบใน Pulmonary congestion เสมหะลักษณะเปนมูกใส
(Mucoid) พบในโรคหวัด หลอดลมอักเสบ เสมหะเปนหนอง (Pururent) แสดง
วาติดเชื้อแบคทีเรีย พบใน Bronchiectasis , Lung abscess ลักษณะเสมหะ
เปนฟองสีชมพู (Frothy) พบใน Pulmonary edema สวนสีของเสมหะ ก็
สามารถบอกไดวาบุคคลนั้นติดเชื้ออะไร เชน เสมหะสีครีม (Creamy) พบใน
Staphylococcal infection เสมหะสี เ ขี ย ว แสดงว า มี ก ารติ ด เชื้ อ
31
Pseudomonas เสมหะสีสนิมเหล็ก (Rusty) เสมหะเปนเลือด (Reddish)
เชน วัณโรค มะเร็ง เปนตน
1.4. การสงเสมหะสงตรวจ Cytology เพื่อหาเซลลมะเร็ง
2. การตรวจทางโลหิตวิทยา (Hematology)
2.1 การตรวจนับเม็ดเลือด (Complete blood count, CBC)
โดยการเจาะเลือดประมาณ 2-3 ซีซี ใสในหลอดที่มีสาร EDTA ปองกันการ
แข็ ง ตั ว ของเลื อ ด ถ า มี ก ารติ ด เชื้ อ จะพบเม็ ด เลื อ ดขาวจํ า นวนมาก จํ า นวน
Neutrophil จะสูงขึ้นในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย
2.2 การวิเคราะหกาซในเลือดแดง (Arterial blood gas
analysis) โดยการเจาะเลือดจากบริเวณ Radial, Brachial, Femoral artery
ดูดเลือดใส Syringe ที่ฉาบ Heparin เพื่อปองกันการแข็งตัวของเลือด แลว
เสียบจุกยาง ภายหลังเจาะตองเอา Specimen แชในน้ําแข็งเพื่อปองกันการเกิด
เมตาบอลิสมของเม็ดเลือด ซึ่งอาจไดคาที่ผิดปกติได ระดับกาซในเลือดแดงชวย
บอกถึงความผิดปกติในการแลกเปลี่ยนกาซเกี่ยวกับการรับ O2 และการกําจัด
CO2 ภาวะกรด - ดางรางกาย
คาปกติ pH (7.35–7.45) PaO2 (90–100 mmHg) PaCO2
(35–45 mmHg) Actual HCO3 (22–26 mEq / L) O2 (saturation 97 %)
3. การตรวจสารน้ําในชองปอด (Pleural fluid) การตรวจลักษณะ
เซลล (Cytology) โดยแพทยจะเจาะปอด เพื่อนําสารน้ําในชองปอดมาตรวจ
ทางหองปฏิบัติการ
32
การตรวจพิเศษ
การตรวจพิเศษที่เกี่ยวของกับระบบหายใจที่พบบอย ไดแก
การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test) เปนการ
ตรวจโดยใชเครื่องมือตางๆ ไดแก Spirometer ตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่
หายใจเขาและออกจากปอด
การส อ งกล อ งเข า ทางหลอดลม (Brochoscopy) วิ ธี นี้ ทํ า โดยใช
กลองสองสอดเขาทางปาก หรือจมูก ลงไปหลอดลม จากนั้นแพทยจะไดภาพ
โดยตรงของหลอดลมและทอหลอดลมในปอด จนถึงกอนเนื้อ แพทยจะดูดหรือ
ตัดชิ้นเนื้อบริเวณนั้นมาเพื่อตรวจทางหองปฏิบัติการตอไป
เอกซเรยปอด (Chest x–ray) คือ การถายภาพปอด ซึ่งเปนอวัยวะ
ภายในทรวงอกลงบนแผนฟลม เมื่อนําฟลมไปผานขบวนการลาง จะไดภาพ
เอกซเรยของปอด ซึ่งแพทยจะใชประกอบการวินิจฉัยโรค

สรุป
การประเมิน ภาวะสุ ข ภาพระบบทางเดิน หายใจที่ถูก วิธีและมีค วาม
แมนยํา เปนสิ่งสําคัญที่จะชวยในการแกไขความผิดปกติ ลดอาการแทรกซอน
ของผูรับบริการ ดังนั้นพยาบาลในฐานะที่อยูใกลชิดผูรับบริการ ตองมีความรูใน
เรื่องการซักประวัติ การตรวจระบบทางเดินหายใจ และสามารถประเมินความ
ผิดปกติไดอยางถูกตอง เพื่อผูรับบริการไดรับการแกไขความผิดปกติที่เกิดขึ้น
สามารถฟนคืนสูภาวะปกติไดอยางรวดเร็ว
33
คําถามทายบท
..................1. ผูใชบริการใหประวัติวาหายใจลําบากขณะนอนอานหนังสือ
แสดงวาผูใชบริการรายนี้มีภาวะ Paroxymal nocturnal dyspnea
..................2. ผูใชบริการทีม่ ีอาการไขสูง ไอ เจ็บคอ พยาบาลควรซักประวัติ
การเดินทางไปตางประเทศรวมดวย
..................3. ทรวงอกที่ปกติ ควรมีเสนผาศูนยกลางดานหนาลากไปดานหลัง
และดานขาง มีขนาด 1:1
..................4. ลักษณะการหายใจที่สลับเปนชวงๆ มีขวงหยุดหายใจสลับกับ
ชวงหายใจซึ่งแตละเวลาไมเทากัน เรียกวา Cluster respiration
..................5. การเคาะปอดที่ถูกตอง ควรเคาะตรงตําแหนงซี่โครง
..................6. การเคาะปอดเสียงปกติคือเสียง Resonance
..................7. การฟงเสียงหายใจเขา จะฟงไดสั้นกวาเสียงหายใจออก
..................8. การเก็บเสมหะสงตรวจที่ไดผลถูกตอง ควรเก็บเสมหะสงตรวจ
หลังจากตืน่ นอนตอนเชา
..................9. การสองกลองเขาทางหลอดลม สามารถนําชิน้ เนื้อปอดมา
ตรวจหาความผิดปกติได
..................10. ผูรับบริการที่มีการติดเชื้อไวรัส ลักษณะเสมหะจะมีสีเขียว

เฉลย ขอ 1 ผิด ขอ 2 ถูก ขอ 3 ผิด ขอ 4 ถูก ขอ 5 ผิด ขอ 6 ถูก
ขอ 7 ผิด ขอ 8 ถูก ขอ 9 ถูก ขอ 10 ผิด
34

บรรณานุกรม

จินตนา ศิรินาวิน และสาธิต วรรณแสง. (2549). ทักษะทางคลินิก: Clinical


skills. (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบาน.
วิทยา ศรีมาดา. (2547) การสัมภาษณประวัติและการตรวจรางกาย (พิมพ
ครั้งที่ 11) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพยูนิตี้ พับลิชชิ่ง.
Harkreader, H., Hogan, M.A., & Thobaben, M. (2007). Fundamentals of
nursing caring and clinical judgment. St. Louis: Saunders.
Jarvis, C. (2008). Physical Examination & Health Assessment. (5th ed.).
St. Louis: Saunders.
Wilson, S.F., & Gidden, J.F. (2009). Health assessment for nursing
practice. (4th ed.). St. Louis: Mosby.

You might also like