You are on page 1of 37

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ตรัง

แผนการพยาบาลรายบุคคล/รายงานกรณีศึกษา
วิชา ฝึ กปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล
(พย.1203)

เรื่อง Suction (การดูดเสมหะ)

โดย

นางสาว มุ่งหมาย รหัส 6411630


หทัยภัทร นักศึกษา 1094
นางสาวอริ นุ่นคง รหัส 6411630
สา นักศึกษา 1097
นางสาว แก้วทวี รหัส 6411630
อุบลรัตน์ นักศึกษา 1099
เสนอ
อาจารย์เพ็ญจันทร์ มณีโชติ

รายงานฉบับนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชา ฝึ กปฏิบัติหลัก


การและเทคนิคการพยาบาล
ภาคการศึกษาที่ 2 ปี การศึกษา 2565
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
ตรัง
สถาบันพระบรมราชชนก
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ตรัง
แผนการพยาบาลรายบุคคล/รายงานกรณีศึกษา
วิชา ฝึ กปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล
(พย.1203)

เรื่อง Suction (การดูดเสมหะ)

โดย

นางสาวหทัย มุ่งหมาย รหัส 6411630


ภัทร นักศึกษา 1094
นางสาวอริ นุ่นคง รหัส 6411630
สา นักศึกษา 1097
นางสาว แก้วทวี รหัส 6411630
อุบลรัตน์ นักศึกษา 1099
เสนอ
อาจารย์เพ็ญจันทร์ มณีโชติ

รายงานฉบับนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชา ฝึ กปฏิบต


ั ิหลักการ
และเทคนิคการพยาบาล
ภาคการศึกษาที่ 2 ปี การศึกษา 2565
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
สถาบันพระบรมราชชนก

คำนำ

รายงานฉบับนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิค
การพยาบาล (พย 1203) ปี การศึกษา 2565 แหล่งฝึ กหอผู้ป่วยอายุร
กรรมชาย 5 โรงพยาบาลตรัง โดยได้ศก
ึ ษาเกี่ยวกับการให้เลือดแก่ผู้ป่วย
และได้มียกตัวอย่างกรณีศึกษามา 1 กรณี ซึ่งสามารถใช้รายงานเล่มนี ้
สำหรับประกอบการศึกษาหรือใช้หาความรู้ เพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่ง
ขึน
้ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการฝึ กภาคปฏิบัติได้
สามารถให้คำแนะนำและการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ และมีความรู้
ความชำนาญสามารถนำไปใช้ดูแลผู้ป่วย และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไป
ใช้ในการฝึ กภาคปฏิบัติในครัง้ ต่อไปได้หรือนำไปใช้เมื่อปฏิบัติงานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
ขอขอบคุณอาจารย์จันทร์เพ็ญ มณีโชติ ที่คอยให้คำปรึกษาคำ
แนะนำ ข้อเสนอแนะ และให้ข้อมูลความรู้ในการทำรายงานเล่มนีจ
้ นเสร็จ
สมบูรณ์ ได้เพิ่มพูนความรู้ซึ่งเป็ นประสบการณ์ที่ดีในการฝึ กปฏิบัติงาน
นอกสถานที่ในครัง้ นี ้ โดยมีการคำนึงถึงการให้บริการ ด้วยหัวใจความเป็ น
มนุษย์ยึดหลักจริยธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนแก่ผู้ป่วยและญาติต่อไป

สารบัญ

เนื้อหา
หน้า
คำนำ ก

สารบัญ ข

Suction (การดูดเสมหะ) 1

วัตถุประสงค์ 1

แนวทางการดูดเสมหะ 1

1.การดูดเสมหะระบบเปิ ด (Open suction system) 1

2. การดูดเสมหะระบบปิ ด (Closed suction system) 5

การดูดเสมหะทางปาก 7

การดูดเสมหะทางหลอดทางเดินหายใจเทียม (Tracheostomy
Tube) 8

การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ (Endotracheal tube) 9

ข้อควรระวัง 10

ความแตกต่างของการดูดเสมหะแบบระบบปิ ดและการดูดเสมหะแบบ
ระบบเปิ ด 11

ข้อมูลเบื้องต้นเคสกรณีศึกษา 13

สรุปการนำมาใช้กับเคสกรณีศึกษา 14

บรรณานุกรม ค

1

Suction (การดูดเสมหะ)
การดูดเสมหะ หมายถึง การใช้สายยางดูดเสมหะซึ่งปราศจากเชื้อ
ผ่านเข้าทางท่อช่วยหายใจ เพื่อนำ
เสมหะออกจากทางเดินหายใจ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง ควรดูดเสมหะ
เมื่อมีข้อบ่งชี ้ ดังนี ้
ผู้ป่วยหายใจมีเสียงเสมหะ ผูป
้ ่ วยหายใจหอบ หายใจลำบาก ใช้แรง
ในการหายใจมากขึน
้ ผู้ป่วยไอบ่อยเสียงเสมหะ ผู้ป่วยร้องขอให้ดูดเสมหะ
และดูดก่อนให้อาหารทางสายยางหรือก่อนถอดท่อช่วยหายใจโดยต้องทำ
ก่อน Deflate balloon

วัตถุประสงค์
1. ช่วยขจัดเสมหะทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
2. ป้ องกันการอุดกัน
้ ทางเดินหายใจ
3. ป้ องกันหรือลดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
4. ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

แนวทางการดูดเสมหะ
การดูดเสมหะในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจควรดำเนินการด้วย
ผู้ปฏิบัติ 2 คน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้ อน (Contamination)
มากกว่าทำเพียงคนเดียว ซึ่งการดูดเสมหะในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วย
หายใจ แบ่งออกเป็ น 2 ระบบ ดังนี ้
1.การดูดเสมหะระบบเปิ ด (Open suction system)
อุปกรณ์
1. เครื่องดูดเสมหะชนิดปรับแรงดันได้ (Mobile suction หรือ Wall
suction)
2

2. สายดูดเสมหะปลอดเชื้อ สายดูดเสมหะที่ขนาดเหมาะสม ในรายที่ใส่


ท่อช่วยหายใจ ขนาดสายไม่ควรเกิน 12 ของขนาดท่อช่วยหายใจ สายดูด
เสมหะควรมีรูที่ตรงปลายและด้านข้าง
ทารก (Neonatal) ขนาดเบอร์ 5-6 Fr
เด็กเล็ก-เด็กโต (Infants-children) ขนาดเบอร์ 6-
10 Fr
วัยรุ่น-ผู้ใหญ่ (Adolescents-adult) ขนาดเบอร์
10-16 Fr
3. Self inflating with reservoir bag (AMBU) ต่อออกซิเจน 100%
4. ถุงมือปราศจากเชื้อ ถุงมือสะอาด ผ้าปิ ดปากปิ ดจมูก และแว่นตา
5. หูฟัง (Stethoscope)
6. เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจน (Pulse oximeter)

การดูดเสมหะวิธีการนีต
้ ้องปลดเครื่องช่วยหายใจออกจากผู้ป่วย
ก่อน แล้วจึงใส่สายดูดเสมหะ
ปราศจากเชื้อชนิดใช้ครัง้ เดียวทิง้ เข้าไปดูดเสมหะผ่านท่อช่วยหายใจ มีขน
ั้
ตอนในการดำเนินการการดูด
เสมหะระบบเปิ ดแบ่งออกเป็ น 3 ระยะ (Phase) ดังนี ้
1.1 ระยะก่อนดูดเสมหะ (Pre suctioning phase)
1.1.1 การประเมินข้อบ่งชีก
้ ารดูดเสมหะ
ปั จจุบันการดูดเสมหะผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่จำเป็ นต้องทำ
เป็ นประจำ (Routine) แต่จะทำเมื่อ
3

มีความจำเป็ นหรือมีข้อบ่งชี ้ จากการประเมินอาการของผู้ป่วย เช่น มอง


เห็นเสมหะ ได้ยินเสียงเสมหะดังครืดคราดหรือได้ยินจากท่อช่วยหายใจ
การใช้หูฟัง (Stethoscope) ฟั งเสียงปอดได้ยินเสียงกรอบแกรบหรือเสียง
เปรี๊ยะแบบหยาบ (Coarse crackles sound) บริเวณเหนือหลอดลม
สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง ความอิ่มตัวของออกชิเจนในเลือดลดลงเป็ นต้น
รวมทัง้ ก่อนการให้อาหารทางสายยาง ก่อนการถอดท่อช่วยหายใจ แต่
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจอย่างน้อยภายใน 8
ชั่วโมง ควรจะได้รับการดูดเสมหะเพื่อลดการสะสมการคั่งค้างของเสมหะ
และการอุดกัน
้ ของท่อทางเดินหายใจ
1.1.2 การให้ข้อมูลการดูดเสมหะ การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติผู้
ป่ วยทราบถึงความจำเป็ นในการดูดเสมหะจะช่วยให้เกิดความร่วมมือไม่
เกิดการต้านขณะดูดเสมหะ อีกทัง้ ช่วยลดความกลัวความกังวล ความปวด
ภาวะไม่สุขสบายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึน

1.1.3 การจัดท่า ควรจัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายศีรษะสูง 30-
45 องศา (Semi-fowler position) เพื่อให้หลอดลมตรงและเปิ ดกว้าง
สะดวกต่อการใส่สายดูดเสมหะลงไป
1.1.4 การยึดหลักปลอดเชื้อ (Aseptic technique) และการทำให้
ปราศจากเชื้อ (Sterile technique) เป็ นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติต้องเข้มงวดตลอด
กระบวนการดูดเสมหะ เนื่องจากการดูดเสมหะเป็ นหัตถการที่ลุกล้ำเข้าไป
ในร่างกาย หากมีการปนเปื้ อนก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดิน
หายใจส่วนล่างได้ ผู้ปฏิบัติควรเตรียมตัวและอุปกรณ์ให้พร้อมและครบ
ถ้วน ได้แก่ ถุงมือปราศจากเชื้อ สายดูดเสมหะสำลีแอลกอฮอล์ รวมไปถึง
การล้างมืออย่างถูกต้องทุกครัง้ ก่อนและภายหลังการดูดเสมหะ
4

1.1.5 ขนาดสายดูดเสมหะ (Suction catheter size) การเลือก


ขนาดของสายดูดเสมหะ มีข้อที่พิจารณาให้เลือกที่พอดี ไม่ใหญ่หรือเล็ก
เกินไป
1.1.6 การให้ออกซิเจน (Oxygenation) (Pre-oxygenation) และ
การเพิ่มความเข้มข้นของ
1) การให้ออกซิเจนก่อนการดูดเสมหะออกซิเจน
(Hyperoxygenation) เป็ นการให้
ออกซิเจนที่มีความเข้มข้น 100% เป็ นเวลา 30-60 วินาที ก่อนการดูด
เสมหะ เพื่อคงไว้ซึ่งระดับความ
เข้มข้นของออกซิเจนในเลือดให้ปกติคือ 95-100% สำหรับการดูดเสมหะ
ระบบเปิ ดผู้ปฏิบัติสามารถทำได้
โดยกดปุ ่มออกซิเจน 100% บนหน้าจอของเครื่องช่วยหายใจ หรือกรณี
ไม่มีเครื่องช่วยหายใจแบบควบคุม
ปริมาตร ผู้ปฏิบัติสามารถใช้ถุงลมช่วยหายใจแบบมือบีบ (Air Mask Bag
Unit: AMBU) ที่ต่อกับออกซิเจน
100% ด้วยอัตราการไหล 10-15 มิลลิลิตรต่อนาที โดยบีบช้าๆ ประมาณ
4-6 ครัง้

2) การเพิ่มปริมาตรปอด (Hyperinflation) คือ การเพิ่ม


ปริมาตรให้กับปอดโดยผ่าน
เครื่องช่วยหายใจหรือใช้ถุงลมช่วยหายใจแบบมือบีบ ทำให้ปอดมีการโป่ ง
ขยายเป็ นการเพิ่มความยืดหยุ่นของปอด (Lung compliance) โดย
พิจารณาจากการคำนวณปริมาตรขนาดรูปร่างของผู้ป่วยเพื่อลดภาวะ
เสี่ยงที่
5

อาจจะเกิดขึน
้ โดยคำนวณจากปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าออกในแต่ละ
ครัง้ (Tidal volume) ซึ่งค่าปกติในผู้ใหญ่เท่ากับ 8-10 มิลลิลิตร/น้ำหนัก
ตัว 1 กิโลกรัม 225 หรือประมาณ 500 มิลลิลิตรในผู้ใหญ่ปกติ หาก
ปริมาตรอากาศมากกว่า 900 มิลลิลิตรจะทำให้ผู้ป่วยเกิดการหายใจ
ลำบากได้
กรณีใช้ AMBU ให้ต่อกับออกซิเจน 100% ด้วยอัตราการไหล 10-
15 มิลลิลิตรต่อนาที เพื่อเพิ่ม
ปริมาตรอากาศ ซึ่งโดยทั่วไป AMBU ของผู้ใหญ่จะมีความจุประมาณ
1,500 มิลลิลิตร หากผู้ปฏิบัติใช้สองมือบีบ AMBU ให้ยุบลงครึ่งหนึ่ง จะ
ได้ปริมาตรอากาศประมาณ 800 มิลลิลิตร 225 ในการเพิ่มปริมาตรของ
ปอดนัน
้ จะให้ 2-3 ครัง้ โดยในแต่ละครัง้ ของการเพิ่มปริมาตรปอดจะให้
เพียงประมาณ 1 เท่าครึ่งของปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าออกในแต่ละ
ครัง้

1.2 ระยะดูดเสมหะ (Suctioning phase)


1.2.1 การดูดเสมหะในปาก ก่อนการดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจ ให้
ทำการดูดเสมหะน้ำลายในปากและลำคอก่อน โดยใช้คนละสายกับท่อ
ช่วยหายใจ จะช่วยป้ องกันการสำลัก (Aspiration) ที่อาจเกิดขึน
้ ใน
ระหว่างการดูดเสมหะภายในท่อช่วยหายใจ ความดันที่ใช้ดูดเสมหะ
น้ำลายในปากและลำคอไม่ควรเกิน 80 มิลลิเมตรปรอท และควรทำความ
สะอาดภายในช่องปาก (Oral hygiene) ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจก่อน
การดูดเสมหะ เพื่อลดการสะสมและการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในช่อง
ปากซึ่งสามารถป้ องกันการติดเชื้อจากการใส่ท่อช่วยหายใจและลดการติด
เชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower respiratory tract infection) ได้
6

1.2.2 การใช้น้ำเกลือ NSS (Normal saline solution: NSS) การ


ใช้น้ำเกลือ NSS หยอดในท่อช่วยหายใจทัง้ ก่อนและระหว่างดูดเสมหะ
เป็ นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องในแง่ของการช่วยให้เสมหะอ่อนตัว หรือช่วยให้
เสมหะที่เหนียวขับออกไปได้ง่าย แต่กลับพบว่าทำให้เกิดการกระตุ้นการ
ไอของผูป
้ ่ วยมากขึน
้ ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดลงหลอดลมหด
เกร็ง ความดันในกะโหลกศีรษะสูงแบคทีเรียสามารถผ่านลงสู่ทางเดิน
หายใจส่วนล่างและเจริญเติบโตเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง
และอาจจะไม่สามารถเอาน้ำเกลือ NSS ที่เข้าไปออกมาหมดได้ อีกทัง้ ไม่
ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทงั ้ ต่ออัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต
แต่จะนำไปสูก
่ ารลดลงของความเข้มข้นออกซิเจน (Oxygen saturation)
ภายใน 5 นาทีหลังการดูดเสมหะ
นอกจากนี ้ ยังพบว่าการหยอดน้ำเกลือนอร์มัลเร่งทำให้เกิดภาวะหายใจ
ลำบากในนาทีที่ 10 ขึน
้ ไป กรณีที่เสมหะเหนียวมากให้ใช้การปรับ
อุณหภูมิของเครื่องช่วยหายใจให้มีความชื้นในทางเดินหายใจอย่างเพียง
พอ
1.2.3 ขนาดความดัน ความดันที่ใช้ในการดูดเสมหะจะเป็ นความดัน
ลบ (Negative pressure)
โดยเฉลี่ยค่าความดันที่ใช้จะอยู่ในช่วง 80-120 มิลลิเมตรปรอท สิ่งสำคัญ
คือผู้ปฏิบัติต้องเลือกใช้ความดันให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อ
ป้ องกันอันตรายที่อาจเกิดขึน
้ เช่น ผู้ป่วยที่มีเลือดออกง่ายหยุดยาก ควร
ใช้ความดันลบให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็ นไปได้ ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บศีรษะ
รุนแรงหรือมีความดันในกะโหลกศีรษะสูง ควรใช้ความดันลบในการดูด
เสมหะ 80-120 มิลลิเมตรปรอท เป็ นต้น
1.2.4 ตำแหน่งความลึกใส่สาย การดูดเสมหะในท่อจะใช้สายดูด
เสมหะคนละสายกับที่ใช้ดูดในปาก การใส่สายดูดเสมหะในท่อช่วยหายใจ
7

จะไม่ใส่ลึกมากเกินไป เพราะจะเป็ นสาเหตุของการไอ และไปกระตุ้นเส้น


ประสาทวากัส (Vagus nerve) ซึง่ ตำแหน่งความลึกที่เหมาะสมของการ
ดูดเสมหะคือตำแหน่งทางแยกของแขนงหลอดลม (Carina) เมื่อใส่สายดูด
เสมหะเข้าไปภายในท่อแล้ว จนกระทั่งถึงตำแหน่ง Carina แล้ว ให้ถอย
สายออกมาประมาณ 1-2 เชนติเมตร แล้วจึงทำการดูดเสมหะ และ
การนำสายดูดเสมหะเข้าและออกจากท่อช่วยหายใจให้กระทำด้วยความ
นุ่มนวล โดยการพลิกสายช้าย-ขวาไปมาเบาๆ ไม่กระชาก ไม่หมุนวนรอบ
เพราะจะทำให้เกิดการครูดกับผิวของท่อช่วยหายใจ เชื้อจุลชีพที่เกาะอยู่
บนผิวของท่อช่วยหายใจอาจตกลงสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างได้
เสมหะจำนวนครัง้ ที่ใช้ในการดูดเสมหะแต่ละรอบ
1.2.5 ระยะเวลาและความถี่ในการดูดไม่ควรมากกว่า 2 ครัง้ มาก
ที่สุดไม่เกิน 3 ครัง้ ครัง้ ละไม่เกิน 15 วินาที เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนใน
การขาดออกซิเจน หัวใจเต้นช้า การบาดเจ็บของเยื่อบุหลอดลมให้น้อย
ที่สุด และระยะห่างของแต่ละครัง้ ประมาณ 20-30 วินาที อย่างไรก็ตาม
หากผูป
้ ่ วยที่มีเสมหะมากไม่สามารถดูดออกได้หมดในรอบดังกล่าว ขอให้
ผู้ปฏิบัติได้พิจารณาเป็ นกรณีไป เช่น การพิจารณาเพิ่มจำนวนครัง้ ในการ
ดูดเสมหะ โดยประเมินอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยร่วมด้วย เป็ นต้น
ทัง้ นีเ้ พื่อป้ องกันภาวะแทรกซ้อนจากการพร่องออกซิเจนตามมาด้วย
เนื่องจากระยะเวลาของการดูดเสมหะที่ยาวนาน จะทำให้ระดับความดัน
ออกซิเจนในเลือดลดลงเรื่อยๆ
1.2.6 การเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนการเพิ่มปริมาตรปอด
และการเพิ่มการระบายอากาศเป็ นสิง่ สำคัญที่ต้องปฏิบัติระหว่างการดูด
เสมหะ เพื่อป้ องกันภาวะขาดออกซิเจนและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่จะเกิด
ขึน
้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ ความ
8

ดันเลือดที่ไปเลีย
้ งสมองลดลงเป็ นต้น โดยใช้หลักการเช่นเดียวกับในระยะ
ก่อนดูดเสมหะ

1.3 ระยะหลังดูดเสมหะ (Post suctioning phase)


1.3.1 การให้ออกซิเจนหลังดูดเสมหะ (Post-oxygenation) ภาย
หลังการดูดเสมหะให้ผู้ปฏิบัติต่อเครื่องช่วยหายใจทันทีภายใน 10 วินาที
เพื่อป้ องกันภาวะพร่องออกซิเจน และควรให้ออกซิเจนที่ความเข้มข้น
100% นานอย่างน้อย 1 นาที ซึ่งสามารถทำได้โดยกดปุ ่มออกซิเจน
100% บนหน้าจอของเครื่องช่วยหายใจ หรือกรณีไม่มี เครื่องช่วยหายใจ
แบบควบคุมปริมาตร ให้ใช้การบีบ AMBU ที่ต่อกับออกชิเจน 100% ด้วย
อัตราการไหล 10-15 มิลลิลิตรต่อนาที โดยบีบช้าๆ ประมาณ 4-6 ครัง้
1.3.2 การจัดการอุปกรณ์ที่ใช้แล้ว อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการดูด
เสมหะ เช่น สายดูดเสมหะ ถุงมือ
สำลีแอลกอฮอล์ เป็ นต้น ให้ทงิ ้ ในขยะติดเชื้อ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับผู้ป่วย
เช่น เครื่องดูดเสมหะ AMBU เป็ นต้น หากไม่มีการใช้อีกแล้ว ให้นำไป
ทำความสะอาดทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อตามหลักการของการ
ป้ องกันและควบคุมการติดเชื้อ AMBU หากยังต้องใช้ซ้ำ ควรเช็ดหัว
AMBU ด้วยแอลกอฮอล์ 70% และปิ ดจุกทุกครัง้
หลังใช้ ส่วนตัว AMBU เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% ทุก 8 ชั่วโมง และ
เปลี่ยนใหม่อย่างน้อยทุก 24 ชั่วโมง
1.3.3 การประเมินอาการหลังดูดเสมหะ ผู้ป่วยควรได้รับการ
ประเมินอาการและอาการแสดงภายใน 10 นาทีหลังการดูดเสมหะ เพื่อ
ติดตามการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ระดับความรู้สึกตัว สีผิว ค่าความอิ่มตัว
ของออกซิเจนในเลือด สัญญาณชีพ เสียงหายใจ ลักษณะการหายใจ รูป
แบบการหายใจ โดยเฉพาะการฟั งปอดเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อน
9

หลังการดูดเสมหะ และบันทึกข้อมูลลักษณะ สี กลิ่น ปริมาณของเสมหะ


ที่ดูดได้ พร้อมกับอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยประเมินอาการไม่พึง
ประสงค์ที่อาจเกิดขึน
้ เช่น การบาดเจ็บของหลอดลม ภาวะขาดออกซิเจน
ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ การเพิ่มของความดันในกะโหลก
ศีรษะสูง เป็ นต้น หากมีอาการหรืออาการแสดงผิดปกติต้องรายงานแพทย์
รับทราบทันที
2. การดูดเสมหะระบบปิ ด (Closed suction system)
อุปกรณ์
1. ชุดสายดูดเสมหะระบบปิ ดปราศจากเชื้อ (Sterile suction catheter)
เลือกขนาดของสายดูดเสมหะ โดยใช้สูตร [ขนาดของท่อช่วยหายใจ
(Number)-2] x2 ทัง้ นีข
้ นาดของสายดูดเสมหะที่เหมาะสม ควรมีเส้นผ่า
ศูนย์กลางภายนอกไม่เกินครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อช่วย
หายใจเพื่อหลีกเลี่ยงความดันลบที่มากเกินไปในทางเดินหายใจโดย และ
เพื่อไม่ให้ออกซิเจนในเลือดแดงลดลง
2. Stethoscope ฟั งเสียงเสมหะภายในปอด
3. เครื่องดูดเสมหะสุญญากาศ (Vacuum) พร้อมขวดรองรับและสายยาง
ต่อเครื่องดูดเสมหะ
4. สำลีปลอดเชื้อและแอลกอฮอล์ 70%
5. ชุดให้สารน้ำทางหลอดเลือด (IV SET)
6. น้ำเกลือนอร์มัล (Normal Saline) ปราศจากเชื้อ 500 มิลลิลิตร บาง
แหล่งข้อมูลใช้น้ำกลั่น (Sterile Water) หรือน้ำต้มสุกสำหรับใช้ล้างสาย
ยางที่ใช้ดูดเสมหะ
7. ถุงมือสะอาด
8. เครื่องตรวจความเข้มออกซิเจนปลายนิว้ (Pulse oximeter)
10

การดูดเสมหะวิธีการนีไ้ ม่ต้องปลดเครื่องช่วยหายใจออกจากผู้ป่วย
ผู้ป่วยจึงไม่สูญเสียแรงดันภายใน
ถุงลมขณะดูดเสมหะและลดการสูญเสียปริมาตรความจุของปอด
เนื่องจากสายดูดเสมหะจะมีปลอกพลาสติกปราศจากเชื้อห่อหุ้มตลอด
แนว จึงสามารถใช้สายดูดเสมหะนีซ
้ ้ำได้หลายครัง้
แนวทางการดูดเสมหะระบบปิ ดจะค่อนข้างคล้ายกับการดูดเสมหะระบบ
เปิ ด โดยแบ่งออกเป็ น 3 ระยะ ดังนี ้
2.1 ระยะก่อนดูดเสมหะ (Pre suctioning phase) การปฏิบัติในหัวข้อ
การประเมินข้อบ่งชีก
้ ารดูดเสมหะ การให้ข้อมูลการดูดเสมหะ การจัดท่า
และการยึดหลักปลอดเชื้อ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการดูดเสมหะระบบเปิ ด
2.1.1 ขนาดสายดูดเสมหะ (Suction catheter size) หลักการ
เลือกสายดูดเสมหะ
เช่นเดียวกับการใช้ในระบบเปิ ด กล่าวคือ เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของ
สายดูดเสมหะประมาณครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อ
2.1.2 การให้ออกซิเจน (Oxygenation) ให้ออกซิเจน 100% จาก
เครื่องช่วยหายใจนาน 1-2 นาที ก่อนดูดเสมหะ (Pre-oxygenation) เพื่อ
เพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน (Hyperoxygenation) เพิ่มการระบาย
อากาศ (Hyperventilation) และขยายปอดหรือเพิ่มปริมาตรปอด
2.2 ระยะดูดเสมหะ (Suctioning phase)
2.2.1 การดูดเสมหะในปาก ควรปฏิบัติทุกครัง้ ก่อนการดูดเสมหะใน
ท่อช่วยหายใจ เพื่อป้ องกันการสำลักระหว่างการดูดเสมหะ โดยหลักการ
ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการดูดเสมหะระบบเปิ ด
2.2.2 การใช้น้ำเกลือนอร์มัล (Normal saline solution: NSS) ไม่
แนะนำให้ใช้ด้วยหลักการและเหตุผลตามที่เสนอไว้ในระบบเปิ ด
11

2.2.3 ขนาดความดัน ความดันที่ใช้ในการดูดเสมหะอยู่ในช่วง 80-


120 มิลลิเมตรปรอทเช่นเดียวกับที่ใช้ในระบบเปิ ด แต่บางการศึกษา
แนะนำไม่ให้ใช้ความดันเกิน 150 มิลลิเมตรปรอท
2.2.4 ตำแหน่งความลึกใส่สาย ระยะเวลาและความถี่ของการดูด
เสมหะ มีหลักการปฏิบัติเช่นเดียวกับระบบเปิ ดการใส่สายดูดเสมหะใน
ระบบปิ ดนัน
้ ผู้ปฏิบัติจะใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณข้อต่อกับท่อช่วยหายใจ
อีกมือหนึ่งค่อยๆ ดันสายดูดเสมหะเข้าไปในท่อช่วยหายใจอย่างนุ่มนวล
จนกระทั่งถึงตำแหน่ง Carina คือจะรู้สึกมีแรงต้าน หรือสังเกตว่าปลาย
สายดูดเสมหะพ้นท่อช่วยหายใจไม่เกิน 2 เซนติเมตร จากนัน
้ ให้ถอยสาย
ออกมาประมาณ 1-2 เซนติเมตร แล้วจึงดูดใช้นว
ิ ้ หัวแม่มือข้างซ้ายกด
บริเวณปุ ่มควบคุม (Thumb control valve) อย่างต่อเนื่องพร้อมกับดึง
สายดูดเสมหะออก ใช้เวลาไม่เกิน 15 วินาที หยุดดึงสายดูดเสมหะเมื่อ
เห็นแถบดำออกมาอยู่ในถุง ปล่อยนิว้ หัวแม่มือที่กดควบคุม ปล่อยระยะ
ห่างก่อนดูดเสมหะครัง้ ต่อไป 20-30 วินาที ซึ่งในช่วงนีผ
้ ู้ปฏิบัติต้อง
ประเมินถึงความจำเป็ นในการดูดเสมหะซ้ำอีกครัง้

2.3 ระยะหลังดูดเสมหะ (Post suctioning phase)


2.3.1 การให้ออกซิเจนหลังดูดเสมหะ (Post-oxygenation) ให้
ออกซิเจน 100% จากเครื่องช่วยหายใจนาน 1-2 นาที หลังดูดเสมหะ
เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน เพิ่มการระบายอากาศและเพิ่มการ
ขยายตัวของปอด
2.3.2 การจัดการอุปกรณ์ที่ใช้แล้ว เมื่อดูดเสมหะเสร็จแล้วให้ล้าง
สายดูดเสมหะ โดยเปิ ดจุกสำหรับล้างสายดูดเสมหะออก แล้วค่อยๆ ดัน
น้ำเกลือนอร์มัลปราศจากเชื้อที่บรรจุในกระบอกฉีดยาหรือหากต่อกับชุด
ให้สารน้ำให้เปิ ดไหลช้า พร้อมกดปุ ่มควบคุมเพื่อป้ องกันน้ำเข้าสู่ท่อช่วย
12

หายใจ และเพื่อดูดน้ำเกลือนอร์มัลที่ใส่เข้าไป ให้ทำต่อเนื่องจนกว่าสาย


จะสะอาด เปลี่ยนชุดให้สารน้ำและขวดน้ำเกลือนอร์มัลทุก 24 ชั่วโมง
และเปลี่ยนสายดูดเสมหะทุก 1 สัปดาห์หรือเมื่อถุงคลุมสายดูดเสมหะมี
การฉีกขาด ส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการดูดเสมหะให้ทงิ ้ ในถังขยะติด
เชื้อ ยึดตามหลักการของการป้ องกันและควบคุมการติดเชื้อ
2.3.3 การประเมินอาการหลังดูดเสมหะใช้การประเมินเช่นเดียวกับ
การดูดเสมหะระบบเปิ ด

การดูดเสมหะทางปาก
วิธีปฏิบัติ
1.เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม และทดสอบแรงดันของเครื่องดูด
เสมหะ

2.ล้างมือให้สะอาด
13

3.บอกให้ผู้ป่วยรับทราบ
4.ใส่ถุงมือตรวจโรค หยิบสายดูดเสมหะต่อเข้ากับเครื่อง โดยมือข้างถนัด
จับปลายสาย และอีกข้างจับสายระบายเสมหะ ระวังไม่ให้สายยางดูด
เสมหะสกปรก หรือสัมผัสกับสิ่งอื่นๆ
5.เปิ ดเครื่องดูดเสมหะ บอกให้ผู้สูงอายุทราบอีกครัง้
6.เปิ ดบริเวณข้อต่อตัววาย (Y - tube) หรือพับสายยางดูดเสมหะนัน
้ ไว้
พร้อมสอดสายยางเข้าช่องปาก ด้วยความนุ่มนวล
7.ในขณะดูดเสมหะไม่ควรดูดนาน แล้วค่อยๆถอยสายยางดูดเสมหะออก
อย่างเบาๆและนุ่มนวล ให้มีช่วงจังหวะหยุดพักให้ผู้ป่วยได้หายใจหรือได้
รับออกซิเจน
8.ระหว่างดูดเสมหะให้สังเกตลักษณะของเสมหะ สี ปริมาณ รวมทัง้
สังเกตดูว่ามีสีเลือดปนหรือไม่ สังเกตการหายใจ และสีผิวของผู้ป่วย
9.หากผูป
้ ่ วยเกร็ง หรือมีฟันในช่องปาก สามารถใช้ mouth gag โดยสอด
เข้าช่องปากเพื่อนำทางสายยางดูดเสมหะได้ง่าย
(ขัน
้ ตอนการใส่ mouth gag)

10.เมื่อดูดเสมหะเรียบร้อย ล้างสายยางดูดเสมหะในน้ำสำหรับล้างสาย
แล้วเก็บสายยางดูดเสมหะและถุงมือทิง้ ถังขยะ
11.ปิ ดเครื่องดูดเสมหะ
14

12.จัดท่าผู้ป่วยให้สุขสบาย สังเกตลักษณะของสีผิว อัตราการหายใจ และ


อัตราการเต้นชีพจรของผู้ป่วย

การดูดเสมหะทางหลอดทางเดินหายใจเทียม (Tracheostomy
Tube)
วิธีปฏิบัติ
1.เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ กรณีมีเสมหะมาก
ให้ดูแลเคาะปอดเพื่อไล่เสมหะโดยจัดท่าผู้ป่วยตะแคงกึ่งคว่ำ

2.ล้างมือให้สะอาด
3.ใส่ถุงมือให้ใช้เป็ นแบบถุงมือสเตอไรด์ ระวังไม่ให้สายยางดูดเสมหะ
สกปรก หรือสัมผัสกับสิง่ อื่นๆ โดยมืออีกข้างจับสายระบายเสมหะ
4.เปิ ดเครื่องดูดเสมหะ บอกให้ผู้ป่วยทราบอีกครัง้
5.เปิ ดบริเวณข้อต่อตัววาย (Y - tube) หรือพับสายยางดูดเสมหะนัน
้ ไว้
พร้อมสอดสายยางลงในหลอดหายใจเทียม โดยใส่ให้ลึกจนรู้สึกติด และ
ดึงขึน
้ มาเล็กน้อยค่อยๆหมุนสายไปรอบๆ แล้วค่อยๆถอยสายยางดูด
เสมหะออกอย่างเบาๆและนุ่มนวล
15

6.การดูดเสมหะแต่ละครัง้ ไม่เกิน 10 วินาที เมื่อดูดเสมหะครัง้ ที่ 1 แล้ว ผู้


ป่ วยยังมีเสียงเสมหะอยู่ ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกประมาณ 10 วินาที หรือ
ในผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน แล้วดูดเสมหะอีกครัง้
7.ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการเจาะคอ ควรดูดเสมหะจากหลอดทางเดินหายใจ
เทียมก่อน แล้วจึงดูดเสมหะในปากต่อ
8.เมื่อดูดเสมหะเรียบร้อยจนทางเดินหายใจโล่ง ล้างสายยางดูดเสมหะใน
น้ำสำหรับล้างสาย แล้วเก็บสายยางดูดเสมหะและถุงมือทิง้ ถังขยะ
9.ปิ ดเครื่องดูดเสมหะ
10.จัดท่าผู้ป่วยให้สุขสบาย สังเกตลักษณะของสีผิว อัตราการหายใจ และ
อัตราการเต้นชีพจรของผู้ป่วย

การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ (Endotracheal tube)


ข้อปฏิบัติ
1. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
2. แจ้งให้ผู้ป่วยทราบทุกครัง้ ก่อนดูดเสมหะแม้ผู้ป่วยจะไม่ร้ส
ู ึกตัว
3. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 30 องศา
4. เปิ ดปลายสายดูดเสมหะระบบปิ ด และเช็ดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์
70%
5. เช็ดสายยางดูดเสมหะด้วยสำลีซุบแอลกอฮอล์ 70% และต่อเข้ากับ
ปลายสายดูดเสมหะระบบปิ ด
16

6. เปิ ดเครื่องดูดเสมหะ ปรับความดันให้อยู่ในระดับ 120-200 มิลลิเมตร


ปรอท
7. ใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณข้อต่อของสายดูดเสมหะที่ต่อกับท่อช่วย
หายใจ อีกมือหนึง่ ดันลายดูดเสมหะเข้าไปในท่อช่วยหายใจ ใส่เข้าไปอย่าง
นุ่มนวลลงไปลึกจนถึงระดับที่ควร คือ ปลายสายดูดเสมหะพันท่อช่วย
หายใจไม่เกิน 2 ชม. หรือเมื่อรู้สึกมีแรงต้านและดึงสายดูดเสมหะขึน
้ มา 1
ชม.เพื่อป้ องกันการดูดเยื่อบุหลอดลมคอ
8. ใช้นว
ิ ้ หัวแม่มือข้างซ้ายกดบริเวณปุ ่มควบคุม (Thrumb control
valve) อย่างต่อเนื่องพร้อมกับดึงสายดูดเสมหะออก ใช้เวลาในการดูด
เสมหะแต่ละครัง้ ไม่เกิน 10- 15 วินาที
9. หยุดดึงสายดูดเสมหะเมื่อเห็นแถบดำออกมาอยู่ในถุง
10. ปล่อยนิว้ หัวแม่มือที่กดปุ ่มควบคุม ให้ผู้ป่วยหยุดพักหายใจ 20-30
วินาที ก่อนที่จะดูดเสมหะครัง้ ต่อไป
11. ในกรณีเสมหะเหนียวข้นทำให้ดูดเสมหะไม่ได้ ให้ใช้สำลีชุบ
แอลกอฮอล์ 70% เช็ดที่ข้อต่อท่อใส่น้ำเกลือ 0.9% และเปิ ดออกต่อกับ
กระบอกฉีดยาที่บรรจุน้ำเกลือ 0.9% ใส่น้ำเกลือ 0.9% เข้าทางท่อช่วย
หายใจก่อนการดูดเสมหะครัง้ ละ 3-5 ซีซี ขณะใส่น้ำเกลือ 0.9% ควร
ระมัดระวังไม่ให้มีการปนเปื้ อน และควรมีการตัง้ อุณหภูมิของเครื่อง
ทำความชื้นของเครื่องช่วยหายใจ 35-37 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้เสมหะ
เหนียวแห้ง
12. ทำซ้ำตามขัน
้ ตอนที่ 7-9 จนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงหรือไม่มีเสมหะ
13. ขณะดูดเสมหะให้สงั เกตลักษณะและสีของเสมหะ อาการหายใจ
ลำบาก ริมฝี ปากหรือผิวของผู้ป่วยเขียวคล้ำ
14. กรณีผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน ให้ทำการให้
ออกซิเจนความเข้มข้นสูงและเพิ่มการขยายตัวของปอดให้ผู้ป่วยโดยใช้
17

เครื่องช่วยหายใจ คือ ให้ตงั ้ ค่าออกซิเจนของเครื่องช่วยหายใจให้อยู่ที่


ระดับ 100% และตัง้ ค่าปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าออกแต่ละครัง้ เป็ น
1.5 เท่าของปริมาตรอากาศที่หายใจเข้าออกแต่ละครัง้ ตามแผนการรักษา
และกลับมาตัง้ ค่าเดิมภายหลังดูดเสมหะเสร็จ 30 วินาที
15. ภายหลังดูดเสมหะผู้ป่วยเสร็จแล้ว ให้ล้างสายดูดเสมหะ ดังนี ้
15.1 ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแถบดำบนสายดูดเสมหะเข้ามาอยู่ในถุง
15.2 เช็ดข้อต่อท่อล้างสายดูดเสมหะด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
และเปิ ดออกต่อกับกระบอกฉีดยาที่บรรจุน้ำเกลือ 0.9% หรือต่อชุดให้
สารน้ำทางหลอดเลือดที่ต่อขวดน้ำเกลือ 0.9% เข้ากับท่อล้างสาย
15.3 ฉีดน้ำเกลือ 0.9% จากกระบอกฉีดยาหรือเปิ ดตัวเลื่อนควบคุม
การหยด (Roller clamp) ของชุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดที่ต่อกับขวด
น้ำเกลือ 0.9% ให้น้ำเกลือ 0.9% ไหลเข้าสู่ท่อล้างอย่างช้า ๆ พร้อมกับ
กดปุ ่มควบคุม เพื่อป้ องกันน้ำเข้าสู่ท่อช่วยหายใจ ทำอย่างต่อเนื่องจนสาย
ดูดเสมหะสะอาด
16. ปลดสายดูดเสมหะระบบปิ ดออกจากสายยางดูดเสมหะ เช็ดข้อต่อ
สายดูดเสมหะและสายยางดูดเสมหะ ด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% และ
ปิ ดจุกสายดูดเสมหะระบบปิ ด
17. ถ้ามีเสมหะหรือน้ำลายในปาก ให้เปลี่ยนมาใช้การดูดเสมหะแบบ
ระบบเปิ ด โดยใช้สายดูดเสมหะแบบครัง้ เดียวทิง้ ดูดเสมหะหรือน้ำลาย
จนหมด ห้ามนำสายคู่ดเสมหะที่ใช้ในปากหรือจมูกกลับไปดูดเสมหะในท่อ
ช่วยหายใจอีก
18. ปิ ดเครื่องดูดเสมหะ
19. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
20. บันทึกลักษณะ สี ปริมาณเสมหะและอาการของผู้ป่วย
18

ข้อควรระวัง
1. การเลือกขนาดสายดูดเสมหะให้เหมาะสมกับขนาดท่อช่วยหายใจโดย
เส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอกของ สายดูดเสมหะไม่เกิน 1⁄2 ของเส้นผ่าน
ศูนย์กลางด้านในของท่อช่วยหายใจ
2. ควรเตรียมอุปกรณ์ฉุกเฉินให้พร้อมข้างเตียงผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
ทุกราย
3. ระวังการปนเปื้ อนของถุงมือสายดูดเสมหะบริเวณข้อต่อ
4.การต่อเครื่องช่วยหายใจอย่างถูกต้องหลังดูดเสมหะ
5. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมในการดูดเสมหะครัง้ ต่อไป

ทัง้ ระบบเปิ ดและระบบปิ ดมีลำดับขัน


้ ตอนการดูดโดยสรุป การดูด
เสมหะในท่อช่วยหายใจเสมหะที่เหมือนกันทัง้ 3 ระยะ คือ ระยะก่อนดูด
เสมหะ ระยะดูดเสมหะ และระยะหลังดูดเสมหะ แต่การดูดเสมหะในท่อ
ช่วยหายใจระบบเปิ ดจะต้องปลดข้อต่อของเครื่องช่วยหายใจออกจากผู้
ป่ วยขณะดูดเสมหะและสายดูดเสมหะเป็ นแบบใช้แล้วทิง้ ส่วนระบบปิ ด
จะมีสายดูดเสมหะอยู่ในสายเครื่องช่วยหายใจใช้ซ้ำได้และสามารถดูด
เสมหะในท่อช่วยหายใจของผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องปลดข้อต่อเครื่องช่วย
หายใจ
19

ความแตกต่างของการดูดเสมหะแบบระบบปิ ดและการดูดเสมหะแบบ
ระบบเปิ ด

รายการ การดูดเสมหะระบบ การดูดเสมหะระบบ


ปิ ด เปิ ด
(Closed (Open suctioning;
suctioning; CS) OS)
1. การเปลี่ยนแปลง - หลังการดูดเสมหะ -ระหว่างดูดเสมหะ
ของค่าความเข้มข้น ค่า Sp02 ลดลงน้อย พบระดับของค่า
ของออกซิเจนในเลือด กว่าการดูดเสมหะ SpO2 ระหว่างการดูด
(Oxygen saturation; แบบ OS เสมหะทัง้ CS & OS มี
SpO2) การเปลี่ยนแปลงเพียง
เล็กน้อย (0.3%-
0.7%)
-หลังดูดเสมหะมีแนว
โน้มของการสูญเสีย
SpO2 มากกว่ากลุ่มที่
ได้รับ CS
- หลังดูดเสมหะไม่พบ
การเปลี่ยนแปลงค่า
และในนาทีที่ 1, 5
20

และ 10 ค่า SpO2 ไม่


แตกต่างกัน
2. การเปลี่ยนแปลง - หลังการดูดเสมหะ - หลังการดูดเสมหะ
ของอัตรา พบ HR เพิ่มขึน
้ (จาก พบ HR เพิ่มขึน
้ (จาก
การเต้นของหัวใจ baseline 20%) baseline 20%) 4.6
(Heart rate; HR) 1.6% %
3. การเปลี่ยนแปลง - หลังการดูดเสมหะ - หลังการดูดเสมหะ
ของค่าความดันเลือด พบ MAP เพิ่มขึน
้ พบ MAP เพิ่มขึน

แดงเฉลี่ย(Mean (จาก baseline 20%) (จาก baseline 20%)
arterial pressure: 9.2 % 3.4%
MAP)
4. การเปลี่ยนแปลง - พบค่าเฉลี่ยของ - พบค่าเฉลี่ยของ
ของปริมาตรปอด ปริมาตรปอด (Tidal ปริมาตรปอด (Tidal
volume) ลดลงน้อย volume) ลดลง
กว่าหลังทำการดูด มากกว่าหลังทำการดูด
เสมหะ เสมหะ
5. การเกิดปอดอักเสบ - อัตราการเกิด VAP อัตราการเกิด VAP
จากการใช้เครื่องช่วย ลดลง ไม่มค
ี วามแตกต่างกับ
หายใจ (Ventilator- กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ CS
associated
Pneumonia: VAP)
6. การแพร่กระจาย - มีความเสี่ยงต่อการ - มีโอกาสแพร่
เชื้อจากตัวผู้ป่วยสู่ แพร่กระจายเชื้อต่ำ กระจายเชื้อมากกว่า
บุคลากรและสิ่ง เนื่องจากโอกาสเกิด CS เนื่องจากมีโอกาส
แวดล้อม การกระจายของ สัมผัสกับเสมหะผูป
้ ่ วย
21

ละอองสู่สิ่งแวดล้อม และมีการปนเปื้ อน
ภายนอกน้อยมาก ขณะดูดเสมหะ
มากกว่า CS

รายการ การดูดเสมหะระบบ การดูดเสมหะระบบ


ปิ ด เปิ ด
(Closed (Open suctioning;
suctioning; CS) OS)
7. จำนวนครัง้ การดูด - จำนวนครัง้ การดูด - เนื่องจาก OS มี
เสมหะต่อวัน เสมหะต่อวันมากกว่า ประสิทธิภาพในการ
OS กำจัดเสมหะได้สงู กว่า
CS จำนวนครัง้ จึงน้อย
กว่า
8. ระยะเวลา - ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยใน - ระยะในการดูด
การให้การ เสมหะขึน
้ อยู่กับ
พยาบาล 23 วินาที จำนวนเสมหะของผู้
ป่ วย
- OS ใช้ระยะเวลา
เฉลี่ย 38 วินาที
9. จำนวนบุคลากรที่ - ใช้จำนวนบุคลากรใน -ใช้อย่างน้อย 2 คน
ใช้ การดูดเสมหะในแต่ละ
ครัง้ น้อยกว่า OS
10. ความสะดวกใน - มีความสะดวกใน มีหลายขัน
้ ตอนในการ
การใช้งาน การใช้งานมากกว่า OS ใช้งานมากกว่า ตัง้ แต่
ร้อยละ 51.5 สวมถุงมือและการ
22

- ผู้ใช้งานไม่จำเป็ น เปลี่ยนถุงมือปราศจาก
ต้องสวมถุงมือ เชื้อ
ปราศจากก็สามารถ
ดูดเสมหะได้เลย
11. ความต้องการนำ - พยาบาลผู้ปฏิบัติงาน - ใช้ OS ในการปฏิบัติ
มาใช้ในหน่วยงาน ต้องการนำ CS มาใช้ งานอยู่แล้ว
ในหน่วยงานในระดับ
มาก
12. ค่าใช้จ่าย - ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน - ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยใน
ต่อวัน น้อยกว่า OS การดูดเสมหะทัง้ CS
และ OS ไม่แตกต่าง
กัน
23

ข้อมูลเบื้องต้นเคสกรณีศึกษา

ผู้รับบริการเพศ : ชาย อายุ : 76 ปี เตียงที่ 16


เชื้อชาติ : ไทย สัญชาติ : ไทย ศาสนา : สถานภาพสมรส : คู่
ระดับการศึกษา : - อาชีพ : - รายได้ของครอบครัว : - บาท/เดือน
ที่อยู่ปัจจุบัน : 146 ม.4 ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง
ภูมิลำเนาเดิม : ตรัง
วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล : 8 มีนาคม 66 วันที่นักศึกษารับไว้ใน
การดูแล : 8 มีนาคม 66
การวินิจฉัยแรกรับ : Sepsis with COPD with AE with pneumonia
ความหมาย : ภาวะติดเชื่อร่วมกับปอดอุดกัน
้ เรื้อรังร่วมกับมีอาการกำเริบ
ร่วมกับปอดอักเสบ
การวินิจฉัยปั จจุบัน : Sepsis with COPD with AE with pneumonia
ความหมาย : ภาวะติดเชื่อร่วมกับปอดอุดกัน
้ เรื้อรังร่วมกับมีอาการกำเริบ
ร่วมกับปอดอักเสบ
การผ่าตัด : - วันที่ : -
ความหมาย: -
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล : รับ Refer จากโรงพยาบาลหาดสำราญ
มีอาการหายใจเหนื่อย 1 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่ วยปั จจุบัน : 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ ไอมีเสมหะ
สีเหลืองขุ่น มีอาการหายใจเหนื่อยมาก พ่นยาเองไม่ดีขน
ึ ้ 1 ชั่วโมงก่อนมา
โรงพยาบาล มีอาการหายเหนื่อยมาก จึงมาโรงพยาบาล

เเรกรับถึงปั จจุบัน
24

ผู้ป่วยชายอายุ 76 ปี ภาวะติดเชื้อร่วมกับปอดอุดกัน
้ เรื้อรังร่วมกับ
มีอาการกำเริบร่วมกับปอดอักเสบ มาด้วยหายใจเหนื่อยมากขึน
้ พ่นยา
เองไม่ดีขน
ึ ้ ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก จึงมาโรงพยาบาล
วันที่ 8 มีนาคม 2566 Refer มาจากโรงพยาบาลหาดสำราญ หายใจ
เหนื่อยมากขึน
้ 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล 2 วันก่อนมาโรงพยาบาล มี
ไข้ ไอ เสหะ หายใจเหนื่อยมากขึน
้ พ่นยาเองไม่ดีขน
ึ ้ ไม่มีเจ็บหน้าอก
ไม่มีorthopnea/PND ไม่มีขาบวม V/S เเรกรับ BT 38 องศาเซลเซียส
BP 148/59 mmHg RR 42 O2sat RA 79 GA : good conscious พูด
ได้เป็ นคำๆ Lung : subcostal retraction,wheezing+ coars
crepitation both lung, Heart :no murmur, abd: no
distension,soft,not tender,Ext:no pitting edema , CXR:
hyperaeration,no new infiltration #COPD AE # Respiratory
failure
วินิจฉัยโรคขัน
้ ต้น Respiratory failure
การรักษาที่ให้ไว้ Berodual NB คูณ 3 dose ระหว่างพ่นยา O2sat
100% RR 40 Dexamethasone 8 mg iv -Cef-3 2g iv -NPO,Nss iv
rate 80 mL/hr - valium 10 mg iv for sedate ETT NO 7.5 depth
22 on foley cath,-blood for CBC,BUN,Cr,Elyte,H/Cx2
แรกรับ ER วันที่ 8 มีนาคม 2566 ที่ รพ.ตรัง Hx. 2 วันก่อนมาโรง
พยาบาล มีไข้ ไอ เสมหะ มีหายใจเหนื่อยมาก เช้านี ้ 07.00 น. มีอาการ
หายใจเหนื่อยมาก พ่นยาเองไม่ดีขน
ึ ้ V/S BT 38 องศาเซลเซียส BP
107/51 mmHg PR 138 min RR 67 min O2sat 100% DTX 164
mg% GCS:E4 V1 M6 Bw 55 kgs High 160 Cms แพทย์จึงสั่งเจาะ
เลือด CBC : WBC 19.6 ul สูง RBC 4.24 ul ต่ำ HGB 12.7 g ต่ำ
MCHC 32 pg ต่ำ Neutrophil 94.8 %สูง
25

Lymphocyte 1.5 % ต่ำ Eosinophil 0.1 % ต่ำ แพทย์สั่งเก็บปั สสาวะ


BUN 22 mg สูง Cr 1.45 mg สูง Chloride 99 mmol ต่ำ เจาะ BS :
PT 15.4 sec สูง PTT 34.3 sec สูง แพทย์วินิจฉัยเป็ น Sepsis with
COPD with AE with Pneumonia
แพทย์สั่ง On 0.9 % NSS 1000 ml rate 60 ml/hr. On 5% DW 250
ml + levophed 4 mg On CMV TV 450 PEEP 5 RR 16 O2sat 0.4
แพทย์สั่งยา Ceftazidime 2 g IV q 12 hr Zithromax inj 500mg vial
500 mg drip in 1 hr q 24 hr Omeprazole 40 mg iv push OD
Berodual 1 NB q 4 hr
วันที่ 9 มีนาคม 2566 รู้สึกตัวดี ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ On 0.9
% NSS 1000 ml rate 60 ml/hr On 5% DW +levophe 4 mg iv
10 ml/hr On foley cath มี U.ออก 200 ในตอนเช้า V/S 126/64
mmHg O2sat 98 % PR 86 ครัง้ /นาที ได้รับยา Ceftazidime 2 9m
iv q 8 hr ยา Omeprazole 40 mg iv push OD ยา Zithromax inj
500 mg vial 500 mg drip in 1 hr q 24

สรุปการนำมาใช้กับเคสกรณีศึกษา
การวางแผนการพยาบาลและผลลัพธ์
การวางแผน
เนื่องจากผู้ป่วยมีการ On ETT จึงเลือกวิธีการดูดเสมหะแบบระบบ
ปิ ด
ผลลัพธ์
1. ผู้ป่วยหายใจสะดวก เสียงหายใจปกติ อัตราการหายใจ ลักษณะการ
หายใจปกติ ไม่แสดงอาการหายใจลำบาก
26

2. ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนปกติอยู่ที่ 98%

บรรณานุกรม

กรรัตน์ สุวรรณฉาย, ประภาพร เจริญชัย, มณฑิชา กันทา, อุมาภรณ์ ร่วม


ทอง, และ คนึงนิจ เพชรรัตน์.
(2551). แนวปฏิบัติที่เป็ นเสิศสำหรับการดูดเสมหะในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่
ใส่ท่อช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤติ. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กรรณิกา กลิ่นหอม . (2548). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการ
ดูดเสมหะในผูบ
้ ่วยที่ใส่ท่อทางเดิน
หายใจโรงพยาบาลลำบาง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
สายาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
วัฒนา พันธุ์ศักดิ.์ การดูดเสมหะ (Suctioning).สิริรัน ฉัตรชัยสุดา, ปรางค์
ทิพย์ อุจะรัตน์,ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์.
บรรณาธิการ. ทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: หจก.
เอ็น พีเพรส; 2549. หน้า 215-26.
พงษ์ธารา วิจิตรเวซไพศาล. อุปกรณ์ช่วยการหายใจ.ในการใส่ท่อช่วย
หายใจ. กรุงเทพฯ: บริษัทพี.เอ.ลีฟวิ่ง
จำกัด; 2539. หน้า 131-75.

You might also like