You are on page 1of 25

กรณีศึกษา

PNEUMONIA
WITH
RASPIRATORY FAILURE
PICU

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
อาจารย์ประจำกลุ่ม

อาจารย์.ดร.รวิวรรณ คำเงิน
ณ หอผู้ป่วยเด็กวิกฤต PICU
(Pediatric Intensive Care Unit)

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
กายวิภาค

ปอด(Lung หรือ Pulmonary)


เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่หลัก คือ การหายใจ ความหมายของการหายใจนั้นหมาย
ถึง การทำให้มีลมหายใจเข้าและออกที่เราคุ้นเคยกันดีก็ได้หรือที่มีความหมายใน
ทางการแพทย์คือ ปอดเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน
และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างถุงลมขนาดเล็กในปอดกับหลอดเลือดฝอยใน
ผนังของถุงลมเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายและนไคาร์บอนได
ออกไซด์ออกจากร่างกายทางลมหายใจออก

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
กายวิภาค

ปอด ทำหน้าที่ในการนำลมหายใจภายนอกจากอากาศที่มีออกซิเจนสูงเข้ามาในปอด
โดยต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลม กล้ามเนื้อซี่โครง กล้ามเนื้อรอบๆทรวงอก
และกล้ามเนื้อช่องท้องร่วมกับลมหายใจเข้าจะถูกทำให้อิ่มตัวด้วยไอน้ำโดยการทำงานของไซนัส
(Sinus)ต่างๆในโพรงกระดูกรอบๆจมูก เวลาหายใจเข้า ปอดจะโป่งพองลมอย่างเต็มที่ และจะ
หดตัวแฟบลงเวลาหายใจออก การที่ปอดสามารถยืดหดตัวได้นี้เนื่องจากมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ชนิดอิลาสติค (Elastic fiber) อยู่เป็นจำนวนมากในเนื้อปอดซึ่งสามารถยืดหดได้เมื่อลมหายใจ
เข้าไปถึงถุงลม ก็จะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้เข้าไปในหลอดเลือดฝอยในผนังถุงลม
และรับคาร์บอนไดออกไซด์จากเลือดเข้ามาในถุงลม จากนั้นก็ปล่อยออกนอกร่างกายทางลม
หายใจออก

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ความหมายของโรคปอดอักเสบ

ปอดบวมหรือปอดอักเสบ(Pneumonia) เป็นกระบวนการอักเสบของถุงลมปอดทําให้ เนื้อปอดแข็งและมี


หนองในถุงลมปอด มักพบในคนที่ไม่แข็งแรง(มีภูมิด้านทานโรคต่ํา) เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคพิษสุรา
เรื้อรัง ผู้ที่เป็นโรดทางปอดเรื้อรัง (เช่น หืด หลอดลมอักเสบ ถุงลมพอง) หรือผู้ที่กินสเตอรอยด์เป็นประจํา
ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น อาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทอนซิล อักเสบ หัด
อีสุกอีไส ไอกรน ฯลฯ บางครั้งพบในเด็กที่กินน้ํามันก๊าดหรือผู้ที่สําลักเศษอาหารเข้าไปในปอด (สุรเกียรติ
อาชานุภาพ,2544)

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อมูลผู้ป่วย

ผู้ป่วยเด็กชายไทย
อายุ 1 เดือน 29วัน
เพศชาย เตียง4
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ
การวินิจฉัยแรกรับ PNEUMONIA (โรคปอดอักเสบ)
การวินิจฉัยครั้งสุดท้าย
PNEUMONIA WITH RESPIRATORY FAILURE
(โรคปอดอักเสบร่วมกับภาวะหายใจล้มเหลว)

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล

Refer จากโรงพยาบาลบ้านนาสาร ด้วยอาการไข้

หายใจ เหนื่อยหอบ 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน

3 วันก่อนมา ไม่มีไข้ ไอมีเสมหะ มีเหนื่อยหลังไอ รับประทานอาหารได้ปกติ มารดาไปซื้อยาที่

ร้านยา เเต่ไม่มียาวำหรับเด็ก1-2ขวบ จึงซื้อลูกยางเเดงเพื่อมาดูดเสมหะให้ผู้ป่วย หลังจาก

นั้น เริ่มมีจุดผื่นตามตัว

1 วันก่อนมาดูเหนื่อยมาก หายใจเร็ว อกบุ๋ม ไม่มีไข้ ไอมีเสมหะ มารดาพาไปโรงพยาบาล

บ้านนาสาร ได้รับการพ่นยา จำนวน 3 ครั้ง อาการดีขึ้น ได้รับยาขับเสมหะ ยาพ่นขยาย

หลอดลม ยาเเก้ไอ อาการทุเลา เเพทย์พิจารณาให้กลับบ้าน วันนี้มาตามนัด ยังมีอาการ

เหนื่อย พ่นยา จำนวน 2 ครั้ง เหนื่อย อาการไม่ดีขึ้น on ETT

Refer มาโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
ประวัติการคลอดของผู้ป่วย

ผู้ป่วยเป็นครรภ์เเรก ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลบ้านนาสาร เพศชาย


คลอดปกติ คลอดที่โรงพยาบาลบ้านนาสาร เมื่ออายุครรภ์ 37+5 สัปดาห์
น้ำหนักเเรกคลอด 3,775 กรัม ปัจจุบันอายุ 1 เดือน 23 วัน

ประวัติการคลอดของผู้ป่วย

มารดาของผู้ป่วยเล่าว่า ผู้ป่วยกินนมผสม ชงวันละ 20 ออนซ์


น้ำหนัก 5.9 กิโลกรัม ส่วนสูง 59 เซนติเมตร
การประเมินภาวะโภชนาการ ภาวะโภชนาการปกติ

ผลการตรวจร่างกายที่ผิดปกติ

mouth: On Endotracheal tube 3.5 depth 10 cm. no with Ventilator SIMV


mode PIP 12+6, PEEP 6, PS 12+6, FiO2 0.4, Ti 0.4, RR 30/min
skin : Generalized MP rash.
lung : Secretion mild + coarse crepitation both lung, subcostal retraction

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
พยาธิสรีรภาพของผู้ป่วย
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
การวางแผนการพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ปัญหาที่ 1 : เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน
เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลงและการติดเชื้อที่ปอด

ข้อมูลสนับสนุน
o : ผล CXR วันที่ 23/11/65 พบ Perihilar infiltration
o : ผู้ป่วยไอ มีเสมหะสีขาวขุ่น 2-3 สาย
o : ฟังปอดพบ Secration+ coarse crepitation + mild subcostal retraction
o : ผู้ป่วย on ETT no 3.4 depth 10 cms with Ventilator SIMV mode PIP 12+6, PEEP 6, PS 12+6, FiO2 0.4, Ti 0.4, RR
30/min

o : ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบค่า WBC 16.88 x 10*3/uL , Neu.


44% , Eo. 10.2% , pCo2 55.8 mmHg , pO2 37.4 mmHg

วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
เกณฑ์การประเมินผล 1. ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน ได้แก่ หายใจเหนื่อยหอบ , cyanosis
2. ผล CXR ไม่พบ infiltration และฟังปอดไม่พบความผิดปกติ
3. มีอาการไอและมีเสมหะลดลง
4. อัตราการหายใจ ≤ 40/min , Spo2 ≥ 95%
5. ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ คือ พบค่า WBC 4.5-10 x 10*3/uL , Neu. 50-70% , Eo.1-5%
. 6. ผลกราตรวจ ABG ปกติ คือค่า pCO2 35-45 mmHg , pO2 80-100 mmHg
กิจกรรมการพยาบาล

ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน ได้แก่ หายใจหอบเหนื่อย อกบุ๋ม cyanosis


ดูแลให้ได้รับ On ETT no 3.4 depth 10 cms with Ventilator SIMV mode PIP 12+6, PEEP 6, PS 12+6,
FiO2 0.4, Ti 0.4, RR 30/min เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนเพียงพอและหายใจสะดวกมากขึ้น
ดูแลให้ได้รับยา ventolin solution 1/2 NB + NSS up to 4 ml q 6 hr , Berodual 1/2 NB + NSS up to 4 ml
q 6 hr, Glyceryl guaiacolate 1/2 tsp po tid pc ตามแผนการรักษา เพื่อขยายหลอดลมและขับเสมหะ ให้ผู้ป่วย
หายใจได้ดีขึ้น
เคาะปอดและ Suction clear airway เพื่อให้ทางเดินหายใจไม่เกิดการอุดกั้นและทางเดินหายใจโล่งขึ้น
จัดท่านอนศีรษะสูง 15-30 องศา อาจใช้ผ้าหนุนคอแหงนเล็กน้อยในเด็ก เพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
ดูแลให้ได้รับยา Cefoperazone 230 mg V q 12 hr. เพื่อรักษาอาการติดเชื้อที่ปอด
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
ให้การพยาบาลโดยใช้หลักปราศจากเชื้อ ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ดูแลรักษาความสะอาดรอบเตียงผู้ป่วย สุขวิทยาส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ปัญหาที่ 2 : ไม่สุขสบาย เนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง
ของผิวหนัง

ข้อมูลสนับสนุน
o : ตรวจร่างกาย พบ Generalized MP rash
วัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาความไม่สุขสบายจากการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง
เกณฑ์การประเมินผล
ผลตรวจร่างกายปกติไม่พบ ผื่นแดงหรือผื่นแดงลดลง
กิจกรรมการพยาบาล

ดูแลทำความสะอาด Bed Bath ทารกโดยใช้สบู่สูตรอ่อนโยน


เสร็จแล้วให้ใช้ผ้าเช็ดผ้าให้แห้ง
ดูแลให้ได้รับยาทา cold cream เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวหนัง
ของทารกอีกทั้งเพื่อซ่อมเเซมและป้องกัน ผิวหนังจากมลภาวะ
ใส่เสื้อผ้าหรือห่อตัวทารกไม่หยาบและไม่รัดรูปเกินไป
รักษาความสะอาดและซับให้แห้งทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับคนอื่น เพื่อป้องกันการเเพร่กระจายเชื้อ
หมั่นล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสกับทารก
ปัญหาที่ 3 : เสี่ยงต่อกการเกิดอุจจาระเฉียบพลัน
เนื่องจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร

ข้อมูลสนับสนุน
o : ผู้ป่วยมีอุจจาระเหลว สีเหลือง เป็นน้ำ
o : ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ stool culture พบ เชื้อ E.coli
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการเเสดงของอุจจาระเฉียบพลัน
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ stool culture ไม่พบความผิดปกติ
กิจกรรมการพยาบาล

บันทึกจำนวนครั้งการขับถ่ายอุจจาระ สังเกตลักษณะ สี และการมีเลือดปน


ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินภาวะทุพโภชนาการจากการสูญเสียน้ำจากอุจจาระร่วงและป้องกันภาวะขาดน้ำ
และให้อาหารทาง สาย on NG และชั่งน้ำหนักทารกทุกวัน
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อทดแทนสารน้ำและอิเล็กโทรไลท์ที่สูญเสียไป
วัดประเมินสัญญาณชีพ ทุกๆ 1 ชั่วโมง ถ้ามีไข้ให้เช็ดตัว และให้ยาตามเเผนการรักษา
ระมัดระวังความสะอาดของอวัยวะเพศ ภายหลังการขับถ่ายและทำความสะอาดบริเวณที่
ทารกอยู่
ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ stool culture ปกติไม่พบเชื้อ
ปัญหาที่ 4 : พร่องกิจวัตร เนื่องจากความสามารถใน
การช่วยเหลือตนเองลดลง

ข้อมูลสนับสนุน
o : ผู้ป่วย on ETT no 3.5 depth 10 cm. with ventilator SIMV mode
PIP 12+6 , PEEP 6 , RR 40 , Fio2 0.40 , keep O2 > 95 %
o : On NG tube
วัตถุประสงค์
เพื่อไม่ให้พร่องกิจวัตรประจำวัน
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยสุขสบาย มีสีหน้าแจ่มใส ร่างหายไม่มีกลิ่นหรือสิ่งสกปรก
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น เช่น พลิกตัวเเคงตัวได้เอง
กิจกรรมการพยาบาล

ร่างกาย สุขวิทยาส่วนบุคคล การขับถ่าย การรับประทานอาหาร เพื่อให้ผู้ป่วยไม่พร่อง


กิจวัตรประจำวัน
ดูแลให้พลิกตะแคงตัวทุกๆ 8 ชั่งโมง เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบาย และป้องกันการเกิดแผลกด
ทับ
จัดท่านอนให้ผู้ป่วยสุขสบาย โดยให้นอนศีรษะสูง 15 -30 องศา เพื่อให้ผู้ป่วยนอนหลับ
และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมรอบเตียงให้เหมาะสมและสะดวกต่อการใช้งาน
ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล ดูแลทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยนอน
หลับผักผ่อนเพียงพอ
บรรณานุกรม

อะเคี้อ อุณหเลขกะ. การป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาล. แนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล.


เชียงใหม่. มิ่งเมืองนวรัตน์. 2560:205-16.

สุภาพร ผลกล่ำ.(2558).การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบ.นครศรีธรรมราช;โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อยามัยที่

ประสาน เปรมะสกุล, พลเอก. (2562). คู่มือเเปลlab การตรวจเลือดเล่มเเรก. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

สุปาณี เสนาดิลัย เเละวรรณา ประไพพานิช. (บรรณาธิการ). (2561). การพยาบาลพื้นฐาน. เเนวคิดเเละการปฏิบัติ. พิมพ์


ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ. โรงพยาบาลรามาธิบดี.

Chawla R. Epidemiology, etiology, and diagnosis of hospital-acquired pneumonia and ventilator-


associated pneumonia in Asian countries. Am J Infect Control 2008;36: S93-S100.

Kalanuria AA, Ziai W, Mirski M. Ventilator-associated pneumonia in the ICU. Crit Care.
2014;18(2):208.

Robert A. Goyer.(1986) Casarett and Doull' S. The Basis Science of Poisons:Toxic Effects of Metal .

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
รายชื่อสมาชิก

1.นางสาวดารารัตน์ หวังพัฒน์ รหัสนักศึกษา 63114301036

2.นางสาวดิศราพร ยอดโมรา รหัสนักศึกษา 63114301037

3.นางสาวฟิรฮานา ชิดเอื้อ รหัสนักศึกษา 63114301069

4.นางสาวรสริน สยอง รหัสนักศึกษา 63114301084

นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 36
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

You might also like