You are on page 1of 3

ชื่อเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้ฉี่หนู : กรณีศึกษา

ผู้นำเสนอ นางพนิดา ภาดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ


ชื่อองค์กร กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรม กลุ่มภารกิจด้านการ
พยาบาล โรงพยาบาลศรีสะเกษ
ความเป็ นมาของปั ญหา โรคไข้ฉี่หนูหรือเล็ปโตสไปโรซีส เป็ นปั ญหา
สำคัญทางสาธารณสุข สถิติจังหวัดศรีสะเกษ 3 ปี ย้อนหลังมีจำนวนผู้ป่วย
และเสียชีวิตเป็ นลำดับ 1 ของประเทศ ปี 2559, 2560 และ 2561 มีผู้
ป่ วย 372 ราย เสียชีวิต 8 ราย, 776 ราย เสียชีวิต 16 ราย และ 397 เสีย
ชีวิต 7 ราย ตามลำดับ(กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2561)โรคไข้ฉี่
หนูเป็ นโรคของสัตว์ที่สามารถติดต่อมาสู่คน(Zoonotic Disease)ก่อให้เกิด
อาการหลากหลายขึน
้ กับชนิดของเชื้อ (serovars) และปริมาณเชื้อที่ได้รับ
ตัง้ แต่ไม่ปรากฏอาการ จนถึงขัน
้ เสียชีวิต เป็ นโรคที่สามารถป้ องกันได้และ
แพทย์สามารถวินิจฉัยและแยกโรคได้เร็ว สามารถให้การรักษาด้วยความ
เหมาะสม พยาบาลต้องมีความรู้ความสามารถในการประเมินอาการและ
อาการแสดงที่เปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงทีและนำมาวางแผน ให้ข้อมูล ให้การ
พยาบาลแบบองค์รวมที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ผู้ป่วยอาการทุเลา
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินโรคของผู้ป่วย ปั ญหาสุขภาพที่ผู้
ป่ วยต้องเผชิญ การรักษาพยาบาลที่ได้รับ ผลของการรักษาพยาบาลและ
การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน
กรณีศึกษาและสถานที่ เลือกแบบเฉพาะเจาะจง 1 ราย จากจำนวนผู้
ป่ วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็ นโรคฉี่หนู
หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 โรงพยาบาล ศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 7 –
22 มกราคม 2562
วิธีการศึกษาโดยศึกษาเป็ นรายกรณี เก็บข้อมูลขณะผู้ป่วยรับการรักษา
พยาบาลและจากเวชระเบียนผู้ป่วย
ผลการศึกษา ผู้ป่วยชายไทยอายุ 67 ปี อาชีพทำนา ประวัติลุยน้ำ
เนื่องจากสูบน้ำเพื่อนำปลาไปขาย มีอาการไข้หนาวสัน
่ ปวดตามตัว 4 วัน ไป
รับการรักษาทีโ่ รงพยาบาลเอกชนแล้วส่งกลับไปรับการรักษาต่อทีโ่ รงพยาบาล
ชุมชนพบว่าผู้ป่วยมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และอาการเปลี่ยนแปลง
รวดเร็วมาก ความดันโลหิต 80/40 mmHg แพทย์ได้แก้ไขภาวะ Shock และ
ส่งไปรักษาต่อทีโ่ รงพยาบาลศรีสะเกษนอนพักรักษาตัวทีห
่ อผูป
้ ่ วยอายุรกรรม
ชาย 1และหอผูป
้ ่ วยหนักอายุรกรรม 1 แพทย์วน
ิ จ
ิ ฉัย Severe leptospirosisผล
การตรวจทางรังสีวท
ิ ยาพบLungInfiltration, Minimal pleural effusion ผล
ตรวจทางห้องปฏิบต
ั ก
ิ ารพบ BUN 43 mg/dl,Cr 3.32 mg/dl,Plt 47,000/ul,
IgMpositive,Dtx 87 mg% ผูป
้ ่ วยรูส
้ ก
ึ ตัวดี สื่อสารรูเ้ รื่องหายใจหอบ 30 ครัง้ ต่อ
นาทีเหนื่อย ความดันโลหิต84/50 mmHgออกซิเจนในร่างกาย 87% แพทย์
พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ 9 วัน Hemodialysis 2 ครัง้ แก้ไขภาวะ Shock
และเฝ้ าระวังอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด โดยใช้ SOS score ผู้ป่วยมี
ภาวะแทรกซ้อนได้แก่Acute Respiratory Failure, Septic shock , Acute
Renal failure, Pulmonary hemorrhage, Thrombocytopenia from DIC,
Hematemesis, Hypoglycemia, Hyperkalemia และ Phlebitis ผู้ป่วยได้
รับการรักษาพยาบาลและแก้ไขปั ญหาภาวะแทรกซ้อนจากทีมสหวิชาชีพ
โดยการประสานที่ดี ได้รับการพยาบาลแบบองค์รวม ได้ประยุกต์แบบแผน
สุขภาพกอร์ดอนมาใช้ตามปั ญหาและความต้องการ 12 ปั ญหา ผู้ป่วยและ
ญาติได้รับการให้ข้อมูลและเปิ ดโอกาสให้สอบถามตลอดเวลา วางแผนการ
จำหน่ายโดยใช้หลัก D-method แผล Phlebitis และแผล DLC แห้งดี สอน
การปฏิบัติตัวที่บ้านผู้ป่วยและญาติเข้าใจดี ตัง้ ใจจะเลิกสุราและเลิกบุหรี่ ทีม
การพยาบาลพยาบาลให้กำลังใจ รวมอยู่รับการรักษาที่โรงพยาบาล 15 วัน
ได้โทรศัพท์ติดตามเยี่ยม 2 ครัง้ (ครัง้ สุดท้ายเดือนเมษายน 2562) ญาติให้
ข้อมูลว่าผูป
้ ่ วยเลิกสุราและบุหรีแ
่ ล้ว สามารถดำเนินชีวต
ิ ได้ตามปกติและคอยให้
คำแนะนำเรื่องการป้ องกันโรคไข้ฉห
่ี นูแก่สมาชิกในชุมชน
ข้อเสนอแนะ โรคไข้ฉี่หนูชนิดรุนแรงสามารถทำให้เกิดภาวะช็อก ไตวายตับ
วายเกล็ดเลือดต่ำเลือดออกง่าย และการทำงานของอวัยวะล้มเหลวหลาย
ระบบพยาบาลซึ่งเป็ นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยจึงต้องมีความรู้ความสามารถ
ในการดูแลผู้ป่วยไข้ฉี่หนูสามารถประเมินอาการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
ตลอดจนประสานงานในการรักษาพยาบาลกับทีมสหวิชาชีพจะทำให้การดูแล
รักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพ รวมทัง้ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อกลับ
บ้านและการให้ความรู้เพื่อป้ องกันโรคไข้ฉี่หนูแก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย ตลอด
จนถึงชุมชนโดยทีมสหวิชาชีพ
การนำผลการศึกษาไปใช้การใช้ SOS score เพื่อประเมินอาการ
เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย และการกำหนดแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคไข้ฉี่หนู
ในหอผูป
้ ่ วยและเครือข่ายโรงพยาบาลศรีสะเกษ

You might also like