You are on page 1of 12

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

(Basic Life Support)

รศ. ดร.พญ.ตันหยง พิพานเมฆาภรณ์

อ.นพ.กฤษณ์ ปัญจสวัสดิว์ งศ์

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 เน้นการตรวจพบภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โดยประเมินจากการไม่ตอบสนอง และการหายใจที่ผิดปกติ


ของผู้ป่วย

 ยกเลิกการประเมินการหายใจโดยใช้เทคนิค “ตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส”

 เน้นการกดหน้าอกอย่างถูกต้อง ทั้งอัตราเร็ว, ความลึก, การ า กก จนสุด, รบกวน


การก าก และหลีกเลี่ยงการช่วยหายใจที่มากเกินพอดี

 การเปลี่ยนแปลงลาดับขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานจาก “A-B-C” เป็น “C-A-B”

 กดหน้าอกด้วยอัตราเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที

 กดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว (5 เซนติเมตร)


2

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเป็นสาเหตุสาคัญที่นามาสู่การเสียชีวิต เกิดได้จากหลายสาเหตุ การใช้


หลักการในการช่วยชีวติ แนวทางเดียวกัน และเป็นข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ ดังนั้นจึงได้มีการบัญญัติ “ห่วงโซ่
แห่งการรอดชีวติ ” ขึ้น ประกอบไปด้วย

1. การประเมินผู้ปว่ ย และเรียกขอความช่วยเหลือ หรือเรียกบริการการแพทย์ฉุกเฉินทันที

2. การทาการกดหน้าอกอย่างถูกต้อง และทันท่วงที

3. การทาการช็อกไฟฟ้าหัวใจทันที เมื่อมีข้อบ่งชี้

4. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ

5. การดูแลภายหลังการช่วยฟื้นคืนชีพ
การ ฟื้นคืนชีพ พื้นฐาน 3

ขั้นตอนในการช่วยฟืน้ คืนชีพขั้นพืน้ ฐาน

1. การประเมินผู้ป่วย และเรียกขอความช่วยเหลือทันที

ทาได้โดยการตบที่หัวไหล่ของคนไข้เบาๆ และตะโกนเรียกเสียงดังๆ เพื่อประเมินการตอบสนอง


ของผู้ป่วย ควรระวังในผู้ป่วยที่มกี ารบาดเจ็บบริเวณกระดูกต้นคอ หากไม่มีการตอบสนอง ให้เรียกขอ
ความช่วยเหลือในทันที สามารถขอความช่วยเหลือได้ที่เบอร์โทรศัพท์หมายเลข 1669 โดยขอผู้ช่วย และ
เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ แจ้งข้อมูลเบื้องต้นที่สาคัญ เช่น สถานที่เกิดเหตุ, สภาพที่พบเห็น
เหตุการณ์รวมถึงสาเหตุที่นา่ จะเป็นไปได้, จานวนผู้ป่วย, การรักษาที่ให้ไปเบื้องต้น, เบอร์โทรที่ติดต่อกลับ
ได้ เป็นต้น

2. การคลาชีพจร

สาหรับประชาชนทัว่ ไป : ไม่แนะนาให้ทา

สาหรับบุคลากรทางการแพทย์ : ให้คลาชีพจร โดยใช้เวลาประเมินไม่เกิน 10 วินาที หาก


ผู้ประเมินไม่มั่นใจว่าผู้ป่วยมีชีพจรหรือไม่ ให้ทาการกดหน้าอกทันที และประเมินชีพจรซ้าทุก ๆ
2 นาทีของการช่วยฟื้นคืนชีพ

3. การกดหน้าอก

จัดผู้ป่วยให้อยูใ่ นท่านอนหงายบนพื้นผิวแข็ง ในสถานที่ปลอดภัย ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าอยูด่ ้านข้าง


ของผู้ป่วย (เช่น ภายนอกโรงพยาบาล) หรือ ยืนข้างเตียง (เช่น ในโรงพยาบาล) ผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
ควรระมัดระวังการเลื่อนหลุดของสายต่างๆ ที่ต่อเข้ากับผู้ป่วย เช่น สายน้าเกลือ, สายปัสสาวะ เป็นต้น
หากผู้ป่วยนอนบนที่นอนลม ควรระบายลมออกก่อนเริ่มกดหน้าอก

จากนั้นให้ผู้ช่วยเหลือใช้ส้นมือข้างหนึ่ง วางบริเวณครึง่ ล่างของกระดูกหน้าอก และวางมืออีก


ข้างหนึง่ ทาบ (หรือประสานลงไป) จากนั้นเริ่มทาการกดหน้าอก ซึง่ การกดหน้าอกนีท้ าให้มีการเพิม่ ขึ้นของ
ความดันภายในช่องทรวงอก และเพิ่งแรงดันที่หัวใจโดยตรง ทาให้เกิดการไหลเวียนโลหิต และขนส่ง
ออกซิเจนไปยังบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ และสมอง แนวทางปัจจุบนั มีการเน้นย้าความสาคัญของการกด
หน้าอกเป็นอย่างมาก ดังนี้
4

a. การกดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทาให้เกิดการไหลเวียนโลหิตที่เพียงพอ
ในขณะทาการช่วยฟื้นคืนชีพ

b. การกดหน้าอกที่แรงและเร็ว โดยกดหน้าอกลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว (5 ซม.) ด้วย


อัตราเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที ปล่อยให้มีการขยายของทรวงอกกลับคืนจน
สุด เพื่อให้หัวใจรับเลือดสาหรับการสูบฉีดครั้งต่อไป พบว่าการกดหน้าอกที่ไม่
ปล่อยให้ทรวงอกกลับคืนจนสุด ทาให้เกิดการเพิม่ ขึ้นของแรงดันในทรวงอก
ส่งผลให้ลดปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ, สมอง และหลอดเลือดส่วน
ต่างๆ ของร่างกาย

c. รบกวนการก าก โดยสามารถหยุดการกดหน้าอกได้ไม่เกิน 10
วินาที ในกรณี

1. การคลาชีพจร (สาหรับบุคลากรทางการแพทย์)

2. มีการช็อกไฟฟ้าหัวใจ

3. ต้องการหยุดเพื่อใส่อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจขั้นสูง (ในกรณีที่ใส่
ในขณะกดหน้าอกไม่ได้)

สาหรับการกดหน้าอก ได้แบ่งวิธกี ารปฏิบัติตามประเภทของผู้ช่วยชีวติ เป็น 3 วิธี ได้แก่

1. บุคคลทั่วไปที่ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรม

หากผู้ปฏิบัติเป็นบุคคลทัว่ ไปที่ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมมาก่อน ควรทาการกดหน้าอกเพียง


อย่างเดียว ไม่ต้องช่วยหายใจ เนือ่ งจากในช่วงแรกที่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ระดับออกซิเจนในกระแสเลือด
ยังคงพอเพียงอยู่อกี ระยะหนึง่ และในขณะที่มีการกดทรวงอกนั้น การขยายของทรวงอกจะทาให้เกิดการ
แลกเปลี่ยนก๊าซได้ โดยให้เน้นการกดหน้าอกที่แรงและเร็ว หรือปฏิบัติตามที่บุคลากรทางการแพทย์สั่ง ผู้
ปฏิบัติการฟื้นคืนชีพควรจะทาการกดหน้าอกแต่เพียงอย่างเดียวไปจนกระทั่งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจมาถึง
และพร้อมใช้งาน หรือมีบุคลากรทางการแพทย์มาดูแลผู้ป่วย
การ ฟื้นคืนชีพ พื้นฐาน 5

2. บุคคลทั่วไปที่เคยเข้ารับการฝึกอบรม

หากผู้ปฏิบัติเป็นบุคคลทัว่ ไปที่เคยได้รับการฝึกอบรมมาก่อน ควรกดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับการ


ช่วยหายใจ 2 ครั้ง (การจะทาการช่วยหายใจหรือไม่แล้วแต่ความสมัครใจของผู้ทา) และทาต่อเนื่องไป
จนกระทั่งเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจมาถึง และพร้อมใช้งาน หรือมีบุคลากรทางการแพทย์เข้ามาดูแลผูป้ ่วย

3. บุคลากรทางการแพทย์

สาหรับบุคลากรทางการแพทย์ให้ทาการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง


จนกว่าจะมีการใส่อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจขั้นสูง เช่นท่อช่วยหายใจ จากนั้นจึงเปลี่ยนวิธีการช่วย
หายใจเป็น ช่วยหายใจ 1 ครั้งทุก ๆ 6-8 วินาที (8-10 ครั้งต่อนาที) เพิ่มความระมัดระวังการรบกวนการกด
หน้าอก และหลีกเลี่ยงการช่วยหายใจที่มากจนเกินไป

สาหรับการกดหน้าอกนั้น พบว่าผู้ปฏิบัติจะเริ่มเหนื่อย และประสิทธิภาพในการกดหน้าอกลดลง


หลังจากทาไปประมาณ 1 นาที ดังนั้นในกรณีมีผู้ชว่ ยเหลืออย่างน้อย 2 คน ให้เปลี่ยนบทบาทผู้ทาการกด
หน้าอกทุกๆ 2 นาที หรือกดหน้าอกสลับการช่วยหายใจครบ 5 รอบ (30:2)

4. การเปิดทางเดินหายใจ

สาหรับประชาชนทัว่ ไป : ทาในกรณีที่มั่นใจว่าสามารถทาได้ทั้งการกดหน้าอก
และช่วยหายใจ โดยใช้วิธีการแหงนหน้า และเชยคาง (head tilt - chin lift)

สาหรับบุคลากรทางการแพทย์ : ให้ใช้วิธีการแหงนหน้า และเชยคางในผู้ป่วยที่ไม่มีการ


บาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ สาหรับผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บของไขสันหลัง ให้ใช้วิธี manual spinal
motion restriction โดยการวางมือ 2 ข้างบริเวณด้านข้างของศีรษะ เพื่อป้องกันการเคลื่อนของศีรษะ
สาหรับการใส่อุปกรณ์ป้องกัน แนะนาให้ใช้ในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีการ
บาดเจ็บของกระดูกสันหลังบริเวณคอ แนะนาให้เปิดทางเดินหายใจด้วยวิธีการยกขากรรไกร (jaw thrust)
เพื่อเปิดทางเดินหายใจ

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ ให้ประเมินว่าการอุดกั้นนั้นมีความรุนแรง
มากน้อยเพียงใด ให้ทาการเอาสิง่ อุดกั้นออก โดยการทา abdominal thrust แนะนาให้ทาในผู้ปว่ ยที่มีอายุตั้งแต่ 1
ปีขึ้นไป เพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่ออวัยวะภายในช่องท้อง การทา abdominal thrust ให้กดไปบริเวณใต้ต่อกระบัง
6

ลม เพื่อเกิดแรงดันยกกระบังลมขึน้ ส่งผลให้ airway pressure สูงขึ้น และดันเอาสิ่งแปลกปลอมออกไปจาก


ทางเดินหายใจ ในกรณีทาไม่ได้ หรือทาแล้วไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ให้ใช้วิธี chest thrust แทน โดยนิยมใช้วธิ ีนี้
ในคนอ้วน หรือ สตรีตั้งครรภ์

5. การช่วยหายใจ

สาหรับแนวทางปฏิบัติในปี ค.ศ. 2010 นั้น ได้ยกเลิกการประเมินการหายใจ และช่วยหายใจ


ในช่วงแรกออกไป แต่ให้ทาการกดหน้าอกไปก่อนการช่วยหายใจ การช่วยหายใจจะเริ่มทาหลังจากที่กด
หน้าอกไปแล้ว 30 ครั้ง จึงจะเริ่มช่วยหายใจ 2 ครั้ง โดย

a. ช่วยหายใจมากกว่า 1 วินาทีในแต่ละครั้ง

b. ให้ปริมาตรเพียงพอที่เห็นหน้าอกเคลื่อนไหว การช่วยหายใจด้วยปริมาตรสูง
เกินไปจะทาให้เกิดการโป่งพองของกระเพาะอาหาร และเสี่ยงต่อการสาลัก
อาหาร นอกจากนั้นยังทาให้เกิดการเพิม่ ขึ้นของแรงดันภายในทรวงอก ส่งผลให้
เลือดที่กลับไปเลี้ยงหัวใจลดลง ส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้น้อยลง

c. ใช้อัตราการกดหน้าอก 30 ครั้งต่อการช่วยหายใจ 2 ครั้ง (30:2)

d. เมื่อมีการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจขัน้ สูง เช่น ท่อช่วยหายใจ, Combitube หรือ


หน้ากากครอบกล่องเสียง (Laryngeal Mask Airway; LMA) ให้ทาการช่วย
หายใจ 1 ครั้งทุกๆ 6-8 วินาที (8-10 ครั้งต่อนาที) โดยที่ไม่ต้องหยุดรอในขณะทา
การกดหน้าอก

จุดประสงค์หลักในการช่วยหายใจ ก็คือการรักษาระดับออกซิเจนให้เพียงพอ และขับก๊าซ


คาร์บอนไดออกไซด์ออก ดังนั้นในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเนื่องจากการขาดอากาศ เช่น จมน้า จึงต้องรีบกดด
หน้าอก และช่วยหายใจ 5 รอบ หรือ 2 นาที ก่อนการร้องขอความช่วยเหลือ เนื่องจากผู้ปว่ ยกาลังมีระดับ
ออกซิเจนที่ต่ากว่าปกติ

อย่างไรก็ตามวิธีการช่วยหายใจ มีด้วยกันหลายวิธี เช่น

a. การช่วยหายใจแบบปากต่อปาก (Mouth-to-Mouth) ทาได้โดยการประกบ


ปากของผูช้ ่วยเหลือเข้ากับปากของผู้ป่วยให้สนิท ปิดจมูก ทาการสูดลมเข้า
การ ฟื้นคืนชีพ พื้นฐาน 7

ปอดด้วยปริมาตรเท่าปกติ (ไม่จาเป็นต้องสูดลมเข้าสุดเพื่อป้องกันการเกิด
อาการหน้ามืด เวียนศีรษะของผูช้ ่วยเหลือ และ ป้องกันภาวะ overinflation
ของผู้ป่วย) ในขณะเป่าลม ควรใช้ตาชาเลืองดูบริเวณทรวงอกของผู้ป่วยว่ามี
การขยับหรือไม่ เพื่อเป็นการประเมินประสิทธิภาพของการช่วยหายใจ หาก
ผู้ป่วยมีชีพจร แต่ต้องการการช่วยหายใจ ให้ทาการช่วยหายใจในอัตรา 5-6
วินาทีต่อครั้ง (10-12 ครั้งต่อนาที)

b. การช่วยหายใจแบบใช้อุปกรณ์ปอ้ งกัน (Mouth-to-Barrier Device) เพื่อเป็น


การป้องกันโรคติดต่อที่อาจติดต่อผ่านจากการสัมผัสโดยตรง

c. การช่วยหายใจแบบปากต่อจมูก (Mouth-to-Nose) และ การช่วยหายใจ


แบบ Mouth-to-Stoma สาหรับการเป่าจมูกแนะนาให้ทาในกรณีทไี่ ม่
สามารถช่วยหายใจทางปากได้ เช่น ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บบริเวณปาก หรือไม่
สามารถเปิดปากได้ เป็นต้น

d. การช่วยหายใจโดยใช้ Bag และ Mask โดยแนะนาให้เลือกใช้หน้ากากทีม่ ี


ความใส เพื่อให้เห็นว่าผู้ป่วยสาลักอาหารหรือไม่ และเลือกหน้ากากที่ครอบ
ใบหน้าได้พอดี คลุมบริเวณปาก และจมูกได้อย่างมิดชิด

e. การช่วยหายใจโดยใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูง (Advanced Airway) ใน


กรณีที่ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นสูงแล้ว แนะนาให้ชว่ ยหายใจในอัตรา
1 ครั้งทุก ๆ 6-8 วินาที (8-10 ครั้งต่อนาที)

การทา cricoid pressure ไม่แนะนาให้ทาในผู้ป่วยหมดสติทกุ ราย แม้วา่ การทา cricoid


pressure จะช่วยป้องกันการโป่งพองของกระเพาะอาหาร และลดโอกาสในการเกิดการ
สาลักอาหาร แต่ในขณะเดียวกันก็อาจขวางกั้นการช่วยหายใจ หรือการใส่อุปกรณ์ช่วย
หายใจ
8

6. การช็อกไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครือ่ งช็อกไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติ (AED)

มีขั้นตอนดังนี้

1. เปิดเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจ

2. ทาตามคาสั่งของเครื่อง เช่น แปะแผ่น electrode ตามตาแหน่งที่กาหนด

3. หากเครื่องแนะนาให้ช็อกไฟฟ้าหัวใจให้ถอยห่างจากผู้ป่วย กดปุ่มช็อก และกด


หน้าอกต่อทันที ระวังไม่ให้หยุดกดหน้าอกนานเกิน 10 วินาที

4. หากเครื่องไม่แนะนาให้ช็อกไฟฟ้าให้กดหน้าอกต่อทันที
การ ฟื้นคืนชีพ พื้นฐาน 9

ตรวจสอบผู้ป่วยแล้วพบว่า
ไม่ตอบสนอง, ไม่หายใจ หรือ หายใจเฮือก

โทรตามเบอร์ฉุกเฉิน 1669 และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ

มีชีพจร
ตรวจชีพจร ภายใน 10 วินาที  ช่วยหายใจ 1 ครัง้ ทุก 5-6 วินาที
 ตรวจชีพจรทุก 2 นาที

ไม่มีชีพจร

 กดหน้าอกด้วยความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที


กดหน้าอก 30 ครั้ง ต่อช่วยหายใจ 2 ครั้ง
 กดลึก 2 นิ้ว
 ปล่อยมือให้สุดแต่ไม่ยกจากอก
 หยุดการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด (อย่างมากที่สดุ 10 วินาที)
เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) หรือเครื่องช็อก  ไม่ช่วยหายใจมากเกินไป
ไฟฟ้าหัวใจมาถึง  กรอบเส้นประจะทาเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น

ตรวจจังหวะของหัวใจ
ช็อกได้หรือไม่ ?

ได้ ไมได้

ช็อกไฟฟ้า 1 ครั้ง CPR ต่อทันทีอีก 2 นาที


ตามด้วย CPR ต่อทันทีอีก 2 นาที ตรวจชีพจรทุกๆ 2 นาทีจนกว่าทีม ACLS มา หรือจน
ผู้ป่วยขยับตัว
10

การจัดท่าพักฟื้น (Recovery position) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยยังหมดสติอยู่แต่หายใจได้เอง มีชีพจร


และไม่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังบริเวณคอ การจัดท่าพักฟื้นมีประโยชน์ในแง่การช่วยเปิด
ทางเดินหายใจ ลดความเสี่ยงการอุดกั้นทางเดินหายใจ อีกทัง้ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการ
สาลักอาหารได้ มีขั้นตอนในการทา ดังนี้

1. คุกเข่าข้างตัวผู้ป่วย เหยียดขาผู้ป่วยออก

2. จัดแขนของผู้ป่วยข้างที่อยู่ใกล้ตัวผู้ชว่ ยเหลือให้ตั้งฉากกับลาตัว งอข้อศอกหงายฝ่ามือขึ้น

3. จัดให้แขนอีกข้างด้านบนวางบนหน้าอกผู้ป่วย จัดให้หลังมือของแขนนี้ แตะบริเวณแก้มด้านล่าง

4. จับต้นขาของผู้ป่วยด้านที่อยู่หา่ งตัวผู้ชว่ ยเหลือให้งอเข่าขึ้น

5. ใช้มืออีกข้างหนึ่ง จับบริเวณไหล่ของผู้ป่วยด้านที่อยู่หา่ งจากผูช้ ่วย แล้วพลิกเข้าหาตัวผู้ชว่ ยเหลือในท่า


นอนตะแคง จัดมือของผู้ป่วยข้างที่อยู่ด้านบนมาอยูใ่ กล้กับแก้ม

6. จัดให้ขาข้างที่อยูด่ ้านบน ข้อสะโพก และงอเข่าตั้งฉาก

7. จัดศีรษะแหงนขึ้นเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง จัดให้หลังมือของมือที่อยูด่ ้านบนรองใต้แก้มเพือ่ ทาให้


ศีรษะของผู้ป่วยแหงนไว้เสมอ
การ ฟื้นคืนชีพ พื้นฐาน 11

ขั้นตอน / การปฏิบัติ ผู้ใหญ่ เด็กอายุ 1-8 ปี ทารกอายุต่ากว่า 1 ปี

ไม่รู้สึกตัว

ไม่หายใจ หรือ หายใจ ไม่หายใจ หรือ หายใจเฮือก


การประเมินผู้ป่วย
ผิดปกติ เช่น หายใจเฮือก

คลาชีพจรไม่ได้ภายใน 10 วินาที (เฉพาะบุคลากรทางการแพทย์)

ขั้นตอน C-A-B C-A-B C-A-B


อัตราเร็วในการกดนวดทรวงอก อย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที

อย่างน้อย 2 นิ้ว (5 ซม.) อย่างน้อย 1/3 ของความลึกทรวงอก อย่างน้อย 1/3 ของความลึกทรวงอก


ความลึกในการกดนวดทรวงอก
ประมาณ 2 นิ้ว (5 ซม.) ประมาณ 1.5 นิ้ว (4 ซม.)

ปล่อยให้มีการคืนตัวของทรวงอกอย่างสมบูรณ์
การคืนตัวของทรวงอก
เปลี่ยนผู้กดนวดทรวงอกทุก ๆ 2 นาที

การขัดจังหวะการกดทรวงอก มีการขัดจังหวะการกดทรวงอกให้น้อยที่สุด และพยายามไม่ให้เกิน 10 วินาที

การเปิดทางเดินหายใจ ใช้วิธีแหงนหน้า-เชยคาง (สาหรับบุคลากรทางการแพทย์ให้ใช้วิธี jaw thrust หากสงสัยว่าจะมีการบาดเจ็บ)

30 : 2 30 : 2 30 : 2
อัตราส่วนระหว่างกายกดหน้าอกต่อการ
(ผู้ช่วยเหลือ 1 หรือ 2 (ผู้ช่วยเหลือ 1 คน) (ผู้ช่วยเหลือ 1 คน)
ช่วยหายใจ
คน)
(ในกรณีที่ยังไม่มีอุปกรณ์ช่วยหายใจขัน้ สูง) 15 : 2 15 : 2
(บุคลากรทางการแพทย์ 2 คน) (บุคลากรทางการแพทย์ 2 คน)

การช่วยหายใจ เมื่อผู้ช่วยชีวิตไม่ได้รับการ
ใช้วิธีการกดทรวงอกแต่เพียงอย่างเดียว
ฝึกสอน

การช่วยหายใจ (กรณีมีอุปกรณ์ช่วยหายใจ 1 ครั้ง ทุก ๆ 6-8 วินาที (8-10 ครั้งต่อนาที) ไม่ต้องรอจังหวะการนวดทรวงอก


ขั้นสูง) ช่วยหายใจมากกว่า 1 วินาทีในแต่ละครั้งและเห็นการเคลื่อนของทรวงอก

ติดและใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อพร้อมโดยเร็วที่สุด รบกวนการขัดจังหวะในการกดทรวงอกให้น้อย
การช็อกไฟฟ้า
ที่สุดทั้งก่อนและหลังการช็อกไฟฟ้า, ทาการกดนวดทรวงอกต่อทันทีหลังจากช็อกไฟฟ้า
12

You might also like