You are on page 1of 8

การใช้ยา Colistin แบบสูดพ่นและให้ทางหลอดเลือดดํา

ในการรักษาปอดอักเสบในโรงพยาบาล

งานเภสัชสนเทศและพัฒนาระบบยา กลุ่มงานเภสัชกรรม (กุมภาพันธ์ 2555)

ข้อมูลทั่วไป: Colistin เป็นยาต้านจุลชีพกลุ่ม polypeptide สามารถบริหารยาได้ทั้งรูปแบบยาฉีด


(intravenous) และแบบสูดพ่น (aerosolized) แต่ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอน โดยคาดว่า
ยา Colistin มีกลไกการออกฤทธิ์แบบ detergent effect ต่อผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย ทําให้เกิดการ
รั่วออกของสารประกอบภายในเซลล์และทําให้เซลล์แบคทีเรียตายในที่สุด ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ
ขึ้นกับระดับความเข้มข้นของยา ณ ตําแหน่งที่มีการติดเชื้อ (concentration-dependent) โดยสามารถ
ใช้ได้ทั้งเป็น ยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นๆ เพื่อเสริมฤทธิ์กัน
อย่างไรก็ตาม ยา Colistin มีคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ที่ไม่ค่อยดี คือ มีค่าปริมาตรการ
กระจายตัวค่อนข้างน้อย (Vd = 0.34 ลิตรต่อกิโลกรัม) ทําให้มีความสามารถในการกระจายตัวไปยัง
ตําแหน่งหรือบริเวณที่มีการติดเชื้อได้ไม่ค่อยดี เป็นต้น

ขนาดการใช้ยา
1. การให้ยาทางหลอดเลือดดํา
เด็กและผู้ใหญ่: การทํางานของไตปกติ (CrCl > 50 mg/dl)
ข้อบ่งใช้ ขนาดการใช้ยา
susceptible infection เด็กและ 2.5-5 mg/kg/day in 2-4 divided dose
pneumonia ผู้ใหญ่:
Cystic fibrosis เด็ก 3-8 mg/kg/day in 3 divided dose
maximum 70 mg
ผู้ใหญ่ 3-8 mg/kg/day in 3 divided dose
if tolerated, may increase to 80-100 mg iv q 8 hr
หมายเหตุ: การปรับขนาดยาตามการทํางานของไต
CrCl > 50 CrCl = 30-50 CrCl 10-30 CrCl < 10
Scr 1.3-1.5 Scr = 1.6-2.5 Scr = 2.6-4
2.5-5 mg/kg/day 3.5 mg/kg iv od 2.5 mg/kg iv od 1.5 mg/kg iv od

2. แบบสูดพ่น:
เด็กและผู้ใหญ่: กรณีน้ําหนัก ≤ 40 kg แนะนํา 40-50 mg NB q 12 hr
กรณีน้ําหนัก > 40 kg แนะนํา 75-80 mg NB q 8-12 hr
กรณี recurrent pulmonary infection 150-160 mg NB q8 hr
* ไม่จําเป็นต้องปรับขนาดตามการทํางานของไต
แนวทางการบริหารยา
1. การให้ยาทางหลอดเลือดดํา: ละลายผงยาด้วย NSS หรือ SWI จํานวน 2 ml
แล้วเจือจางต่อด้วย NSS/D5W 50-100 ml iv drip 30-60 hr
2. แนวทางการบริหารยา Colistin โดยการสูดพ่น
1. ละลายผงยาด้วย NSS เท่านั้น จํานวน 2 ml แล้วเจือจางต่อด้วย NSS จนได้
สารละลายยาประมาณ 4-5 ml แล้วเทใส่ใน chamber พ่นยา
2. ควรเลือกใช้เครื่องพ่นละออง (nebulizer) ที่สร้างหมอกยา (aerosol) ในขนาด
อนุภาคเท่ากับ 1-5 ไมครอน เนื่องจากถ้ามีขนาดอนุภาคน้อยกว่า 1 ไมครอน มัก
ทําให้หมอกยาถูกขับออกมาได้ในช่วงจังหวะการหายใจออกและถ้าขนาดอนุภาค
มากกว่า 5 ไมครอน มักจะถูกสะสมบริเวณคอหอยหรือค้างอยู่ในเครื่องพ่นยา
3. ควรเพิ่มปริมาตรของสารละลายยาที่ใช้สูดพ่น โดยการเตรียมสารละลายยาให้มี
ปริมาตร เท่ากับขนาดของช่องใส่สารละลายยาที่ใช้สูดพ่น (aerosol storage
chamber) หรือการเพิ่มขนาดช่องใส่สารละลายยาที่ใช้สูดพ่น
4. ควรเพิ่มอัตราเร็วของอากาศที่ผ่านเข้าสู่เครื่องพ่นละอองให้มากกว่า 6 ลิตรต่อ
นาที เพื่อทําให้เกิดความดัน (pressure gradient) ที่จะใช้ในการสร้างหมอกยาใน
ขนาดที่เหมาะสม
5. ควรจัดตําแหน่งของเครื่องพ่นละอองให้อยู่ห่างจาก endotracheal tube
ประมาณ 30 เซนติเมตร เนื่องจากเป็นระยะที่ทําให้ได้รับปริมาณยามากที่สุด
ซึ่งถ้าระยะห่างมากกว่า 30 เซนติเมตร พบว่าหมอกยาจะสะสมอยู่ในท่อนํายาเข้า
ทําให้ปริมาณยาเข้าสู่ปอดลดลง
6. ควรหยุดใช้เครื่องทําความชื้นระหว่างทําการพ่นยา เนื่องจากความชื้นจะไปรวมตัว
กับอนุภาคของหมอกยาทําให้มีขนาดอนุภาคที่ใหญ่ขึ้น
7. ควรกําหนดการทํางานของเครื่องช่วยหายใจให้พ่นยาเฉพาะช่วงที่ผู้ป่วยหายใจเข้า
เนื่องจากมีผลทําให้ได้รับปริมาณยามากกว่าการพ่นยาตลอดเวลา

ประสิทธิภาพการใช้ยา Colistin
สําหรับการบริหารยา Colistin โดยการสูดพ่น ปัจจุบันพบว่าเริ่มมีการนํายากลับมาใช้อย่าง
แพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อยา อย่างไรก็ตามจากคุณสมบัติ
ทางเภสัชจลนศาสตร์ที่ไม่ค่อยดีทําให้เกิดความสงสัยว่าเมื่อนํายา Colistin มาสูดพ่นจะมีประสิทธิภาพใน
การรักษาหรือไม่ จากผลการศึกษาของ Ratjen และคณะ6 ที่ทําการศึกษาคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์
เมื่อบริหารยา Colistin โดยการสูดพ่น ในขนาด 2 ล้านยูนิต (เทียบเท่า 160 มิลลิกรัม ของ
colistimethate sodium) ผลการศึกษาพบว่ายามีความเข้มข้นสูงสุด (maximum concentration,
Cmax) ในเสมหะมากกว่า 10 เท่าของค่า MIC breakpoint ของเชื้อ P. aeruginosa และ
A. baumannii ดังนั้น จึงเป็นข้อมูลสนับสนุนว่าสามารถใช้ยา Colistin โดยการสูดพ่นในการรักษา VAP
ที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าวได้ และจากการทบทวนข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีความน่าเชื่อถือ พบว่ามีผล
การศึกษาทางคลินิกหลายฉบับ6-11 ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยที่สนับสนุนว่าสามารถใช้ยา
Colistin โดยการสูดพ่นในการรักษา VAP ได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย
ตัวอย่างเช่น จากผลการศึกษาของ Kwa และคณะ7 ที่ทําการศึกษาย้อนหลังโดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา Colistin แบบสูดพ่นในขนาด 1 ล้านยูนิต
(เทียบเท่า 80 มิลลิกรัม ของ colistimethate sodium) วันละ 2 ครั้ง (ซึ่งเป็นขนาดการใช้ยาที่ไม่ต้อง
ปรับขนาดตามสภาวะการทํางานของไต) ร่วมกับการใช้ยาต้านจุลชีพชนิดอื่น ๆ ทางหลอดเลือดดํา ได้แก่
meropenem, imipenem/ cilastatin, piperacillin/ tazobactam, vancomycin และ
ciprofloxacin ในการรักษาผู้ป่วย VAP จํานวน 21 ราย ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบดื้อยา
ชนิดต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าเชื้อก่อโรคส่วนใหญ่ที่เป็นสาเหตุของการเกิด VAP คือ MDR-AB (ร้อยละ
81) และ MDR-PA (ร้อยละ 19) และพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอัตราการตอบสนองทางคลินิกที่ดีต่อการ
รักษา เท่ากับ ร้อยละ 87.5 แต่มีอัตราการตอบสนองทางจุลชีววิทยา เท่ากับ ร้อยละ 57.1 และมีอัตรา
การตายจากสาเหตุใด ๆ ภายใน 30 วันหลังได้รับการรักษาสูงถึงร้อยละ 46.6 โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยในการ
ใช้ยา Colistin นานเท่ากับ 14 วัน และไม่มีการรายงานถึงอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์จาก
การใช้ยา Colistin แบบสูดพ่น
ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Michalopoulos และคณะ8ที่ทําการศึกษาแบบติดตามไป
ข้างหน้าโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา Colistin แบบสูด
พ่น ในขนาด 3 ล้านยูนิต (เทียบเท่า 240 มิลลิกรัม ของ colistimethate sodium) แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
(ซึ่งเป็นขนาดการใช้ยาที่ไม่ต้องปรับขนาดตามสภาวะการทํางานของไต) ร่วมกับการใช้ยาต้านจุลชีพชนิด
อื่น ๆ ทางหลอดเลือดดําในผู้ป่วย VAP จํานวน 60 ราย ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบดื้อยา
ชนิดต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าเชื้อก่อโรคส่วนใหญ่ที่เป็นสาเหตุของการเกิด VAP คือ MDR-AB (ร้อยละ
61.6) และ MDR-PA (ร้อยละ 20) เป็นต้น และยาต้านจุลชีพชนิดอื่น ๆ ที่สั่งใช้ร่วมกับยา Colistin เรียง
ตามลําดับ ดังนี้ meropenem (ร้อยละ 51.6) รองลงมา คือ piperacillin/tazobactam (ร้อยละ 18.3)
และ ampicillin/tazobactam (ร้อยละ 10) ตามลําดับ และพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอัตราการตอบสนอง
ทางคลินิกที่ดีต่อการรักษาและอัตราการตอบสนองทางจุลชีววิทยา เท่ากับ ร้อยละ 83.3 แต่พบว่ามีอัตรา
การตายจากสาเหตุใด ๆ ภายใน 30 วันหลังได้รับการรักษา เท่ากับ ร้อยละ 25 โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยใน
การใช้ยา Colistin นานเท่ากับ 16.4 ± 10.9 วัน และไม่มีการรายงานถึงอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึง
ประสงค์จากการใช้ยา Colistin แบบสูดพ่นเช่นกัน
สําหรับในประเทศไทย พบว่ามีแต่ผลการศึกษาการใช้ยา Colistin โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดํา
เท่านั้น จากผลการศึกษาของพรพรรณ และคณะ12 ที่ทําการศึกษาเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา Colistin โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดําในการ
รั ก ษาโรคติ ด เชื้ อ ต่ า ง ๆ ที่ เ กิ ด จากการติ ด เชื้ อ แบคที เ รี ย แกรมลบดื้ อ ยาที่ เ ข้ า รั บ การรั ก ษาตั ว ใน
โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2
กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา Colistin เดี่ยว ๆ หรือร่วมกับการใช้ยาต้านจุลชีพชนิดอื่น ๆ ทางหลอด
เลือดดํา โดยมีขนาดการใช้ยา Colistin เท่ากับ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง (ซึ่งเป็นขนาด
การใช้ยาสําหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะการทํางานของไตปกติ)จํานวน 78 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านจุล
ชีพชนิดอื่น ๆ ทางหลอดเลือดดําทั้งชนิดเดียวหรือหลายชนิดร่วมกัน โดยที่ไม่ได้รับยา Colistin ได้แก่
vancomycin, amikacin, metronidazole, imipenem/cilastatin หรือ meropenem เป็นต้น
จํานวน 15 ราย ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อต่าง ๆ เรียง
ตามลําดับ ดังนี้ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวนหลอดเลือดและ
โรคติดเชื้อในช่องท้อง ตามลําดับ และเชื้อก่อโรคส่วนใหญ่ที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในกลุ่มผู้ป่วย
ที่ได้รับและไม่ได้รับยา Colistin ร่วมด้วย เรียงตามลําดับ ดังนี้ MDR-AB (ร้อยละ 91 และ 80 ตามลําดับ)
รองลงมา คือ MDR-PA (ร้อยละ 9 และร้อยละ 20 ตามลําดับ) ตามลําดับ โดยพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา
Colistin เดี่ยว ๆ หรือร่วมกับการได้รับยาต้านจุลชีพชนิดอื่น ๆ ทางหลอดเลือดดํามีอัตราการตอบสนอง
ทางคลินิกและอัตราการตอบสนองทางจุลชีววิทยาที่ดีต่อการรักษา (ร้อยละ 80.8 และ 94.9 ตามลําดับ)
มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา Colistin (ร้อยละ 26.7 และ 0 ตามลําดับ) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p
< 0.001) และพบว่ามีอัตราการตายจากสาเหตุใด ๆ ภายใน 30 วันหลังได้รับการรักษาน้อยกว่าอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติ (ร้อยละ 46.2 และ 80 ตามลําดับ, p = 0.03) โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้ยา
Colistin นานเท่ากับ 16.4 ± 10.9 วัน และมีการรายงานการเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา Colistin
แบบฉีดเข้าหลอดเลือดดํา คือ การเกิดพิษต่อไต (nephrotoxicity) เท่ากับ ร้อยละ 30.8 อย่างไรก็ตาม
พบว่าความเป็นพิษต่อไตจากการใช้ยา Colistin มีค่าน้อยกว่าการใช้ยาต้านจุลชีพชนิดอื่น ๆ ทางหลอด
เลือดดํา (ร้อยละ 66.7) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = 0.02) โดยที่ไม่มีการรายงานการเกิดอาการ
ข้างเคียงต่อระบบอื่น ๆ เช่น การเกิดพิษต่อระบบประสาท เป็นต้น
ดังนั้น จากผลการศึกษาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการใช้ยา Colistin เดี่ยว ๆ หรือร่วมกับการใช้ยา
ต้านจุลชีพชนิดอื่น ๆ โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดํา และ/หรือการสูดพ่น มีประสิทธิภาพที่ดีในการรักษา
โรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น VAP โรคติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใส่สายสวน
หลอดเลื อ ด และโรคติ ด เชื้ อ ในช่ อ งท้ อ งที่ เ กิ ด จากการติ ด เชื้ อ แบคที เ รี ย แกรมลบดื้ อ ยาชนิ ด ต่ า ง ๆ
โดยเฉพาะเชื้อ MDR-AB และ MDR-PA

ความปลอดภัยในการใช้ยา Colistin
สําหรับด้านความปลอดภัยจากการใช้ยา Colistin จากการทบทวนข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีความ
น่าเชื่อถือหลายฉบับ1,3,9,11,12,13 พบว่าอาการไม่พึงประสงค์หรืออาการข้างเคียงจากการใช้ยา Colistin ใน
รูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การฉีดเข้าหลอดเลือดดําและการสูดพ่นทําให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์หรืออาการ
ข้างเคียงจากการใช้ยาที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เมื่อได้รับยา Colistin โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดํา พบว่า
มักทําให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์หรืออาการข้างเคียงที่สําคัญ คือ การเกิดพิษต่อไตและระบบประสาท ซึ่ง
มีความสัมพันธ์กับขนาดการใช้ยา (dose-related) ในทางกลับกันถ้าได้รับยา Colistin โดยการสูดพ่น
พบว่ามักทําให้เกิดอาการไอ (cough) และหลอดลมหดเกร็ง (bronchospasm) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
กลไกการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา Colistin คือ ยามีผลเพิ่มการแทรกซึมผ่านของผนังเยื่อหุ้ม
เซลล์ที่ไต ส่งผลทําให้ประจุบวกและลบของอนุภาคต่าง ๆ และน้ําสามารถแทรกซึมผ่านเข้าออกได้สะดวก
จนทําให้เซลล์บวมและแตกได้ในที่สุดและทําให้มีการเพิ่มขึ้นของค่า serum creatinine และการลดลง
ของค่า creatinine clearance ซึ่งอาจทําให้เกิดอาการแสดง ดังนี้ ปัสสาวะเป็นเลือด (haematuria) การ
รั่วออกของโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria) และการทําลายของท่อไตอย่างเฉียบพลัน (acute tubular
necrosis) เป็นต้น โดยมีการรายงานอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไต เท่ากับ ร้อยละ 10-36 แต่จากการ
ทบทวนหลักฐานทางวิชาการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับความเป็นพิษ กลไกการเกิดพิษ ปัจจัยเสี่ยงและ
แนวทางการแก้ไขเมื่อเกิดอาการดังกล่าว ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1962 ถึง ค.ศ. 2005 โดย Falagas และคณะ13
ซึ่งได้แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 2 ช่วง คือ ในระยะแรก (ระหว่างปี ค.ศ. 1962 ถึง ค.ศ. 1997) และใน
ระยะหลัง (ระหว่างปี ค.ศ. 1995 ถึง ค.ศ. 2005) ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตจากการ
ใช้ยา Colistin ในระยะหลัง (ร้อยละ 10-18.6) ลดลงกว่าในระยะแรก (ร้อยละ 20-36) ซึ่งน่าจะเกิดจาก
ในช่วงระยะหลังได้มีการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา Colistin มากขึ้น หรืออาจ
เกิดจากการนิยามความหมายของการเกิดพิษต่อไตที่อาจมีความแตกต่างกันในแต่ละการศึกษา จึงอาจมี
ผลต่ออุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตที่ลดลงได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการนํายา Colistin กลับมาใช้ในการ
รักษาโรคติดเชื้อต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะ VAP เนื่องจากพบว่าเชื้อก่อโรคในโรงพยาบาลดื้อยามากขึ้น
แต่ยังคงมีความไวต่อยา Colistin อยู่ ดังนั้น จําเป็นต้องนํายา Colistin กลับมาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อ
และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา Colistin บุคลากร
ด้านสุขภาพควรทราบถึงปัจจัยที่มีผลส่งเสริมทําให้เกิดความเป็นพิษต่อไต แนวทางในการป้องกันและ
แก้ไขเมื่อเกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ปัจจัยที่มีผลส่งเสริมทําให้เกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา Colistin โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดํา
เพิ่มขึ้น คือ การใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ ที่มีพิษต่อไตเช่นกัน ได้แก่ ยาต้านจุลชีพกลุ่ม aminoglycosides
เช่น amikacin และ gentamicin และยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าวร่วมกัน หรือในกรณีที่จําเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวร่วมกัน
ควรเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อไตอย่างใกล้ชิด เช่น ควรติดตามระดับ serum creatinine การลดลงของค่า
creatinine clearance และปริมาณน้ําที่ผู้ป่วยได้รับและขับออกอย่างสม่ําเสมอ และเมื่อเกิดพิษต่อไต
ควรพิจารณาหยุดหรือลดขนาดการใช้ยา Colistin และให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้สารน้ําอย่าง
เพียงพอ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดความเป็นพิษต่อไตอย่างรุนแรงอาจพิจารณาขจัดยาออกจากร่างกายผ่าน
ทางช่องท้อง (peritoneal dialysis) เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ยา Colistin โดยการฉีดทางหลอดเลือดดํายังทําให้เกิดความเป็นพิษ
ต่อระบบประสาท เนื่องจากยาไปมีผลยับยั้งการหลั่งของสารสื่อประสาท คือ acetylcholine จึงทําให้เกิด
อาการแสดง ดังนี้ เวียนศีรษะ (dizziness), รบกวนการมองเห็น (visual disturbance), อ่อนแรง
(weakness), เดินเซ (ataxia), ชัก (seizure), สับสน (confusion) และการยับยั้งกล้ามเนื้อร่วมประสาท
(neuromuscular blockade) โดยพบอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อระบบประสาทประมาณ ร้อยละ 10
ปัจจัยที่มีผลส่งเสริมทําให้เกิดพิษต่อระบบประสาทจากการใช้ยา Colistin คือ การใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ
ที่มีผลต่อระบบประสาทเช่นกัน ได้แก่ ยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxant) เช่น atracurium และ
pancuronium ยาระงับประสาท (sedative drug) และยาสลบ (anesthetic drug) เป็นต้น ดังนั้น ควร
หลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าวร่วมกันหรือควรเฝ้าระวังการเกิดพิษต่อระบบประสาทอย่างใกล้ชิด แต่อาจ
สังเกตอาการแสดงการเกิดพิษต่อระบบประสาทได้ยาก และเมื่อเกิดพิษต่อระบบประสาทขึ้นควรพิจารณา
หยุดใช้ยา Colistin และให้ยาต้าน (antidote) กลุ่ม cholinesterase inhibitor เช่น neostigmine
ร่วมกับให้การรักษาอื่น ๆ ตามอาการ เช่นใส่เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ที่อาจ
พบได้จากการใช้ยา Colistin โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดํา ได้แก่ ผื่น เช่น contact dermatitis,
macular rash และ urticaria ไข้ (drug fever) และรบกวนระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal
disturbance) เป็นต้น
สําหรับอาการไม่พึงประสงค์หรืออาการข้างเคียงจากการใช้ยา Colistin โดยการสูดพ่น ที่พบได้
บ่อย คือ อาการไอและหลอดลมหดเกร็ง 1,3,9,11,12,13 นอกจากนี้ยังพบการรายงาน (case report) การเกิด
ภาวะความดันโลหิตต่ํา (hypotension) ขณะได้รับยา Colistin โดยการสูดพ่น แต่สามารถกลับสู่ภาวะ
ความดันโลหิตปกติได้เมื่อหยุดใช้ยานานประมาณ 15 นาที14 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พบว่าสามารถป้องกัน
หรือลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หรืออาการข้างเคียงจากการใช้ยา Colistin โดยการสูดพ่นได้ จากการ
ทบทวนและรวบรวมผลการศึกษาต่าง ๆ โดยมานิตย์ แซ่เตียว15 ได้สรุปแนวทางในการป้องกันหรือลดการ
เกิดอาการไม่พึงประสงค์หรืออาการข้างเคียงจากการใช้ยา Colistin โดยการสูดพ่น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับ
ความปลอดภัยจากการใช้ยา อีกทั้งยังได้สรุปแนวทางในการบริหารยา Colistin โดยการสูดพ่น เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อจากการใช้ยาดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

แนวทางในการป้องกันหรือลดอาการไม่พึงประสงค์หรืออาการข้างเคียงจากการใช้ Colistin โดยการ


สูดพ่น15
1. พ่นยาขยายหลอดลม เช่น salbutamol ก่อนการบริหารยา Colistin โดยการสูดพ่น
2. ปรับออสโมลาริตี (osmolarity) ของสารละลายที่ใช้สูดพ่นให้อยู่ในช่วง 150-1,200
มิลลิออสโมลาริตีต่อลิตร (mOsm/L) เนื่องจากมีผลการศึกษาพบว่าถ้าสารละลายยามี
ออสโมลาริตีน้อยกว่า 150 หรือมากกว่า 1,200 mOsm/L จะมีผลกระตุ้นทําให้เกิดอาการ
ไอหรือหลอดลมหดเกร็งได้
3. ปรับ pH ของสารละลายที่ใช้สูดพ่นให้อยู่ในช่วง 4.0–8.0 เพื่อช่วยลดอาการไอ
4. ปรับความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้สูดพ่นให้มีประจุคลอไรด์อยู่ในช่วง 77-154 มิลลิอิ-
ควิวาเลนซ์ต่อลิตร (mEq/L) ดังนั้น จึงควรละลายยาและเจือจางด้วยสารละลายยา 0.45%
หรือ 0.9% sodium chloride (NSS) เท่านั้น และไม่ควรเลือกใช้สารละลายยาที่มีสารกัน
เสีย (preservative free) เนื่องจากสารกันเสียอาจมีผลกระตุ้นให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์
จากการใช้ยา การเปลี่ยนแปลงขนาดอนุภาคและระยะเวลาในการบริหารยา เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
1. Falagus ME and Kasiakou SK. (2005). Colistin: The revival of polymycins for the
management of multidrug-resistant gram-negative bacterial infection. Clin Infect
Dis, 40(1), 1333-1341.
2. Li J, Nation RL, Milne RW, Turnidge JD and Coulthard K. (2005). Evaluation of
Colistin as an agent against multi-resistant gram-negative bacteria.
Int J Antimicrob Agents, 25(1), 11-25.
3. Falagas ME, Kasiakou SK, Tsiodras S and Michalopoulos A. (2006). The use of
intravenous and aerosolized polymyxins for the treatment of infections in
critically ill patients: a review of the recent literature. Clin Med research, 4(2),
138-46.
4. Linden PK and Paterson DL. (2006). Parenteral and inhaled Colistin for treatment
of ventilator-associated pneumonia. Clin Infect Dis, 1(43), S89-94.
5. Hermsen ED, Sullivan CJ and Rotschafer JC. (2003). Polymyxin: pharmacology,
pharmacokinetics, pharmacodynamic and clinical applications. Infect Dis Clin
North Am, 17, 545-562.
6. Ratjen F, Rietschel E, Kasel D, Schwiertz R, Starke K, Beier H, et al. (2006).
Pharmacokinetics of inhaled Colistin in patients with cystic fibrosis. J Antimicrob
Chemother, 57(2), 306-311.
7. Kwa AL, Loh C, Low JG, Kurup A and Tam VH. (2005). Nebulized Colistin in the
treatment of pneumonia due to multidrug-resistant Acinetobacter baumannii
and Pseudomonas aeruginosa. Clin Infect Dis, 41(5), 754-757.
8. Michalopoulos A, Fotakis D, Virtzili S, Vletsas C, Raftopoulou S, Mastora Z, et al.
(2008). Aerosolized Colistin as adjunctive treatment of ventilator-associated
pneumonia due to multidrug-resistant gram-negative bacteria: a prospective
study. Respir Med, 102(3), 407-412.
9. Wood GC and Swanson JM. (2007). Aerosolised antibacterial for the prevention
and treatment of hospital-acquired pneumonia. Drug, 67(6), 903-914.
10. Michalopoulos A, Kasiakou SK, Mastora Z, Rellos K, Kapaskelis AM and Falagas
ME. (2005). Aerosolized Colistin for the treatment of nosocomial pneumonia due
to multidrug-resistant gram-negative bacteria in patients without cystic fibrosis.
Crit Care, 9(1), R53-R59.
11. Ouderkirk JP, Nord JA, Turett GS and Kislak JW. (2003). Polymyxin B nephrotoxicity
and efficacy against nosocomial infections cause by multi-resistant gram-negative
bacteria. Antimicrob Agents Chemother, 47(8), 2659-2662.
12. Koomanachai P, Tiengrim S, Kiratisin P and Thamlikitkul V. (2007). Efficacy and
safety of Colistin (colistimethate sodium) for therapy of infections cause by
multidrug-resistant Pseudomonas aeruginosa and Acinetobacter baumannii in
Siriraj Hospital, Bankok, Thailand. Inter J Infec Dis, 11, 402-406.
13. Falagas ME and Kasiakou SK. (2006). Toxicity of polymyxins: a systematic review
of the evidence from old and recent studies. Crit Care, 10(R27), 1-13.
14. Hakeam HA, Almohaizeie AM. (2006). Hypotention following treatment with
aerosolized Colistin in a patient with multidrug-resistant Pseudomonas
aeruginosa. The Annals of Pharmacotherapy, 9(40), 1677-1680.
15. มานิตย์ แซ่เตียว. (2551). ยาต้านจุลชีพแบบสูดพ่น. ใน เฉลิมศรี ภุมมางกูร, ปรีชา
มนทกานติกุล และปวีณา สนธิสมบัติ (บรรณาธิการ), Contemporary reviews in
pharmacotherapy 2009 (หน้า 125-130). กรุงเทพฯ: ประชาชน.
16. Lacy CF, Armstrong LL, Gloden MP. and Lance LL. (2007). Drug Information
Handbook 2007-2008 (12thed.). Hudson: Lexi comp.
17. Gahart BL and Nazareno AR. (2005). Intravenous medications (21thed.). United
State of America: Mosby.

You might also like