You are on page 1of 20

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก

ระยะแพร่กระจาย (Advanced Prostate Cancer)


จำนวนหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง ผู้เขียนบทความ
3 หน่วยกิต ผศ.ดร.ภญ.ศรีรัตน์ กสิวงศ์, อ.ภญ.พิชาวีร์ โควเศรษฐพล,
นศภ.ชญานี ชัยชิต, นศภ.ชีวรัตน์ สุนทรชัยนุกุล,
นศภ.ณัชชา ชินอัครพงศ์ และ นศภ.ณัฐวรา ชะตารัตน์
สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
บทคัดย่อ
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่พบได้มากในเพศชาย เกิดจากการแสดงออกของยีน ที่
ผิดปกติในเซลล์ต่อมลูกหมาก ซึ่งสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมน testosterone ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการ
เจริญของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนั้นจึงมีวิธีรักษาด้วยการลดฮอร์โมนเพศชาย (Androgen
Deprivation Therapy; ADT) บทความนี้จะกล่าวถึงยา relugolix ซึ่งเป็นยารูปแบบรับประทาน
กลุ่ม Gonadotropin Releasing Hormone (GnRH) Antagonist ซึ่งได้รับการรับรองโดย U.S.
FDA สำหรับรักษามะเร็งต่ อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย จากการศึกษาพบว่า relugolix มี
ประสิทธิภาพในการกดระดับฮอร์โมน testosterone ให้ต่ำกว่า 50 ng/dL ซึ่งเป็น castrate
levels ได้อย่างรวดเร็วหลังการเริ่มใช้ยา นอกจากนั้นระดับฮอร์โมน testosterone สามารถเพิ่ม
ระดับได้อย่างรวดเร็วหลังหยุดใช้ยา ซึ่งเป็นผลดีต่อการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจากฤทธิ์ ในการ
กดฮอร์โมน testosterone เช่น การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ความแข็งแรงทางกายลดลง
รบกวนการนอนหลับ เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่ น
ภาวะอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง เนื่องจากมีรายงานการเกิดเหตุการณ์
ไม่ พ ึ ง ประสงค์ ต ่ อ ระบบหั ว ใจและหลอดเลื อ ดที ่ ร ุ น แรง (major adverse cardiovascular
events)
วัตถุประสงค์
1. ทราบปัจจัยเสี่ยง การวินิจฉัย และการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเบื้องต้น
2. ทราบข้อมูลเกี่ยวกับยา relugolix ได้แก่ กลไกการออกฤทธิ์ ข้อบ่งใช้ ข้อห้ามใช้ อันตรกิริยา
ข้อมูลด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัย

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 1 จาก 20


คำสำคัญ
GnRH Antagonist, Relugolix, Androgen deprivation therapy, Advanced
Prostate Cancer, Metastatic prostate cancer, มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย,
มะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม, ยารักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
บทนำ
โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งชนิด ก้อนที่พบได้มากในผู้ป่วยมะเร็งเพศชาย จาก
ข้ อมู ล สถานการณ์ และสถิ ติ โรคมะเร็ง ของประเทศไทยปี 2563 โดยสถาบั นมะเร็ งแห่งชาติ
พบสถิติของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากเป็น อันดับที่ 4 (รองจากโรคมะเร็งตับ และท่อน้ ำ ดี
โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง) คิดเป็น 7.5 คนต่อประชากร 59,662 คนของ
ผู้ป่วยใหม่โรคมะเร็งที่เป็นเพศชาย และมีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น1
โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ต่อมลูกหมากที่ผดิ ปกติ
เพิ่มขึ้นทำให้ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นและกดเบียดไปยังอวัยวะข้างเคียง เช่น ท่อปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะ และถุงเก็บน้ำอสุจิ เป็นต้น อีกทั้งเซลล์มะเร็งยังสามารถแพร่กระจายไปยังต่อม
น้ำเหลืองบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายได้ 2
ฮอร์โมน androgen ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมลูกหมาก3, 4
การเจริ ญ ของเซลล์ ต ่ อมลู ก หมากปกติ เ ริ ่ ม จากการที่ ไ ฮโพทาลามั ส หลั่ ง ฮอร์ โ มน
gonadotropin-releasing hormone (GnRH) และฮอร์ โ มน cortisol releasing hormone
(CRH) โดยฮอร์ โ มน GnRH ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ยฮอร์ โ มน luteinizing hormone-releasing
hormone (LHRH) และฮอร์โมน follicle releasing hormone (FRH) ไปกระตุ้นต่อมใต้สมอง
ส่วนหน้าให้หลั่ง luteinizing hormone (LH) และ follicle-stimulating hormone (FSH) ไป
ออกฤทธิ์ในอัณฑะ โดย LH กระตุ้นการสร้างฮอร์โมน testosterone ส่วนฮอร์โมน FSH กระตุ้น
การสร้าง androgen-binding protein (ABP) มาจับกับฮอร์โมน testosterone และทำให้ระดับ
ของฮอร์ โ มน testosterone ในอั ณ ฑะสู ง กว่ า ในเลื อ ดประมาณ 50–100 เท่ า ซึ ่ ง จำเป็ น ใน
กระบวนการสร้างอสุจิในอัณฑะ ส่วนที่ต่อมลูกหมากฮอร์โมน testosterone จะถูกเปลี่ยนเป็น
ฮอร์โมน dihydrotestosterone (DHT) ด้วยเอนไซม์ 5α reductase ในไซโตพลาสซึมของเซลล์
ต่อมลูกหมาก จากนั้น DHT ที่เข้าสู่นิวเคลียสจะกระตุ้นยีนและทำให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ต่อม
ลูกหมากมีผลให้เพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์ สำหรับ CRH ที่หลั่งจากไฮโพทาลามัสมากระตุ้น
ต่ อมใต้ ส มองส่ วนหน้ าให้ หลั่ ง adrenocorticotropic hormone (ACTH) ไปออกฤทธิ ์ ท ี ่ ต ่อม
หมวกไตให้สร้างฮอร์โมน corticosteroid และ testosterone ซึง่ ฮอร์โมน testosterone ที่หลั่ง

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 2 จาก 20


จากต่อมหมวกไตจะมีผลต่อการเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์ต่อมลูกหมากได้เช่นเดียวกัน 15 ดัง
แสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1 กลไกการสร้างฮอร์โมน androgen ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมลูกหมาก


มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากการแสดงออกที่ มากเกินไปของยีนในเซลล์มะเร็ง ได้แก่
ยีน NKX3.1, FOXA1 และ Myc ส่งผลให้ตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptors) ทำงานมาก
ผิดปกติ สามารถจับกับฮอร์โมน testosterone และ DHT ได้มากขึ้นทำให้เกิดการแบ่งตัวของ
เซลล์ต่อมลูกหมากที่มากเกินไป มีขนาดใหญ่ขึ้น และก่อให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก และ
เซลล์มะเร็งดังกล่าวอาจพัฒนาเป็น มะเร็งต่ อมลู กหมากระยะแพร่ กระจายแบบ castration
resistant prostate cancer (CRPC) ซึ่งเซลล์มะเร็งยังสามารถแบ่งตัวได้มากแม้ว่าระดับฮอร์โมน
testosterone ต่ำลงเสมือนการตัดอัณฑะออกไป5, 6
ผู้ป่วยที่เป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมากอาจมีอาการปัสสาวะจะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่ง
มีอาการปวดขณะปัสสาวะหรือขณะหลั่งน้ำอสุจิเมื่อถึงจุดสุดยอด ปัสสาวะมีเลือดปน และ
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน เป็นต้น7
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก1
สาเหตุและปัจจัยของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัด แต่
พบว่ามีปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนี้

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 3 จาก 20


1. อายุ พบว่าผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้
มากกว่าผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่า
2. ประวัติครอบครัว พบว่าผู้ชายที่มีบิดาหรือพี่น้องเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาส
เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น
3. เชื้อชาติ มักพบในผู้ชายอเมริกันเชื้อสายแอฟริก าซึ่งมีระดับฮอร์โมน testosterone
และตัวรับแอนโดรเจนสูงกว่าเชื้อชาติอื่น26
4. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่าการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันอิ่มตัว
และเนื้อสัตว์ส่วนที่เป็นเนื้อแดงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ได้27
5. การติดเชื้อ พบว่าการติดเชื้อบริเวณต่อมลูกหมากอาจส่งเสริมให้มีการพัฒนาเป็นมะเร็ง
ต่อมลูกหมากได้
การวินิจฉัยโรค1
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ ผู้ชายอายุมากกว่า 50 ปี
หรือผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปี ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือผู้ที่มีอาการ
ผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะดังต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะเพื่อ
รับการตรวจอย่างละเอียด
1. ลำบากเวลาเริ่มปัสสาวะ
2. ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะราดเท้า
3. ปวดเวลาปัสสาวะ
4. ปวดเวลาหลั่งน้ำอสุจิเมื่อถึงจุดสุดยอด
5. มีเลือดในน้ำอสุจิหรือปัสสาวะ
6. ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน

วิธีที่ใช้ในการคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมี 3 วิธี คือ 1) การตรวจทางทวารหนัก


(digital rectal examination) เพื่อคลำหาก้อนมะเร็ง 2) การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง
(prostatic specific antigen; PSA) หากระดับ PSA ต่ำกว่า 4 ng/mL จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็ง
ต่อมลูกหมากต่ำ หากระดับ PSA เท่ากับ 4-10 ng/mL จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็ง ต่อมลูกหมาก
ประมาณร้อยละ 25 หากระดับ PSA มากกว่า 10 ng/ml มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
มากกว่าร้อยละ 50 ตามลำดับ และ 3) การตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก
หากพบความผิดปกติจากการคัดกรอง ได้แก่ คลำพบก้อนมะเร็ง หรือมีระดับ PSA ใน
เลื อดมากกว่ า 4 ng/mL แพทย์ ส ามารถยื นยั นผลการวิ นิ จ ฉั ย ด้ ว ยการส่ งตรวจชิ ้ นเนื ้อต่ อม

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 4 จาก 20


ลูกหมาก (prostate biopsy) อย่างไรก็ตามแม้ไม่พบความผิดปกติใดจากการคัดกรองข้างต้น
อาจพบมะเร็งต่อมลูกหมากจากการตรวจชิ้น เนื้ อ ได้เช่นกัน ดังนั้นการส่งตรวจชิ้น เนื้ อต่ อม
ลูกหมากเพื่อยืนยันโรคจึงขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
การแบ่งระยะของโรค1
การเเบ่งระยะของโรคเป็นการประเมินขอบเขตของโรคก่อนให้การรักษา โดยจะพิจารณา
จากขนาดของก้อนเนื้อ การกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง และการกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ
โดยสามารถแบ่งระยะของโรคออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 มะเร็งยังอยู่เ ฉพาะในต่อมลูกหมาก มีระดับ PSA สูงน้อยกว่า 10 ng/mL
และผลการตรวจทางพยาธิเป็นเซลล์ที่มีลักษณะการเเบ่งตัวช้า
ระยะที่ 2 มะเร็งยังอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก มีระดับ PSA สูงน้อยกว่า 20 ng/mL
และผลการตรวจทางพยาธิเป็นเซลล์ที่มีลักษณะการเเบ่งตัวช้า
ระยะที่ 3 มะเร็งมีการกระจายออกนอกต่อมลูกหมากไปยังอวัยวะข้างเคียง
ระยะที่ 4 มะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง หรือกระจายไปอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก8
จากแนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก พ.ศ. 2560
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถแบ่งการรักษาตามระยะการ
ดำเนินของโรคได้ 3 ระยะดังนี้
1. การรักษามะเร็งเฉพาะที่ (localized disease) สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการ
แพร่กระจายของมะเร็งระดั บตํ่าหรือเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 1 และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
ต่อการแพร่กระจายของมะเร็งปานกลางถึงสูงหรือเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 2 การรักษา
มะเร็งเฉพาะที่ มี 3 วิธี คือ การรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมลูกหมาก (radical prostatectomy;
RP) การรักษาด้วยการลดฮอร์โมนเพศชาย (androgen deprivation therapy; ADT) และการ
ใช้รังสีรักษา
2. การรั ก ษามะเร็ ง ระยะแพร่ ก ระจาย (metastatic หรื อ advanced disease)
สำหรับผู้ป่วยที่มีผลยืนยันว่ามีการกระจายของมะเร็งไปที่กระดูกหรืออวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้อง มี
วิธีการรักษาที่สามารถทำได้คือการทำ androgen deprivation therapy
3. การรักษามะเร็งระยะ castrated resistant prostate cancer (CRPC) สำหรับ
ผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยว่าเป็น CRPC ได้แก่ มีระดับฮอร์โมน testosterone น้อยกว่า 50 ng/dL
หรือ 1.7 nmol/L ร่วมกับมีระดับ PSA เพิ่มขึ้นจากค่า nadir ครั้งละร้อยละ 50 จากการตรวจ 3
ครั้งติดต่อกัน (แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ) โดยจะต้องมี ระดับ PSA ครั้ง สุดท้าย

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 5 จาก 20


มากกว่า 2 ng/mL หรือมีการประเมินภาวะผุกร่ อนของข้ อจากภาพถ่ายรังสี (radiographic
progression) พบ new bone lesion เพิ ่ ม ขึ ้ น มากกว่ า หรื อ เท่ า กั บ 2 ตำแหน่ ง หรื อ มี ก าร
แพร่กระจายไปยัง visceral organs วิธีการรักษา CRPC จะขึ้นกับการแพร่กระจาย ดังนี้
3.1 Non-metastatic CRPC แนะนำให้มีการเฝ้าระวังโรคเนื่องจากผู้ป่ วย
กลุ่มนี้มีการดำเนินโรคช้า อาจจะพิจารณารักษาด้วยฮอร์โมนเพิ่มเติม (secondary
hormone therapy) เช่น การให้ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย (anti-androgen) ในผู้ป่วยที่
ตัดอัณฑะแล้วหรือได้รับยาฉีดเพื่อลดฮอร์โมนเพศชาย (medical castration)
3.2 Metastatic CRPC จะใช้ การรั กษาแบบประคั บ ประคองร่ ว มกั บ การ
รักษาโดยใช้ chemotherapy
การรักษาด้วยการลดฮอร์โมนเพศชาย (Androgen Deprivation Therapy) 8, 9
การรักษาด้วยการลดฮอร์โมนเพศชาย หรือ ADT มี 2 วิธีคือ 1) การผ่าตัด (surgical
castration) เป็นการผ่าตัดอัณฑะเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน testosterone และ 2) การใช้ยา
(medical castration) ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากแบบเฉพาะที่ และ
แบบแพร่กระจายทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก และสามารถใช้กับมะเร็งต่อมลูกหมาก
ที่กลับมาเป็นซ้ำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับการใช้รังสีบำบัด
ยาที่ใช้เพื่อลดฮอร์โมนเพศชายสามารถแบ่งกลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์10 ดังนี้
1. กลุ ่ ม Gonadotropin-releasing hormone (GnRH) agonists ออกฤทธิ ์ ท ี ่ ต ่ อ ม
ใต้สมองส่วนหน้ากระตุ้นการหลั่ง ฮอร์โมน LH และ FSH ทำให้อัณฑะเพิ่มการสร้างฮอร์โมน
testosterone ร ะ ด ั บ testosterone ท ี ่ ส ู ง ข ึ ้ น จ ะ ส ่ ง ผ ล ใ ห ้ ม ี negative feedback
ให้ไฮโพทาลามัสลดการหลั่ง GnRH และลดการสร้างฮอร์โมน testosterone ตัวอย่างยาในกลุม่ นี้
ได้ แ ก่ leuprolide, goserelin, triptorelin และ histrelin มี ท ั ้ ง รู ป แบบฉี ด เข้ า กล้ า มเนื้ อ
ฉี ด ใต้ ผิ วหนั ง และฝัง ใต้ผ ิวหนั ง ในการเริ่ มใช้ ยากลุ ่ม นี้ ควรใช้ ยากลุ ่ม anti-androgen ก่ อน
ประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือใช้ยาทั้งสองกลุ่มร่วมกันเพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของ
ฮอร์โมน testosterone ในช่วงแรกของการใช้ยากลุ่ม GnRH agonist ซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า
"flare-up Phenomenon"
2. กลุ่ม GnRH antagonists ออกฤทธิ์ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้าต้านการออกฤทธิ ์ของ
GnRH และส่งผลลดการสร้างฮอร์โมน androgen ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ degarelix (รูปแบบ
ยาฉีด) และ relugolix (รูปแบบยารับประทาน)
3. กลุ่ม Anti-androgens หรือกลุ่มต้านแอนโดรเจน ออกฤทธิ์โดยการจับ androgen
receptor โดยตรงทำให้ ฮ อร์ โ มน testosterone หรื อ DHT ไม่ ส ามารถจั บ กั บ androgen

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 6 จาก 20


receptor ส่งผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่
apalutamide, bicalutamide, darolutamide, nilutamide, enzalutamide และ flutamide
4. กลุ่มยาที่ใช้ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน androgen โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 17α-
hydroxylase/C17,20-lyase (CYP17) ซึ่งใช้ในการสร้างฮอร์โมน testosterone ทั้งในอัณฑะ
และต่อมหมวกไต ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ abiraterone และ ketoconazole
5. กลุ ่ ม อื ่ น ๆ ที ่ ส ามารถกดการทำงานของแอนโดรเจน ได้ แก่ ฮอร์ โ มนเพศหญิ ง
estrogen ซึ่งเคยใช้เป็นยาทางเลือกในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจายได้เช่นกัน
แต่เนื่องจากผลข้างเคียงของฮอร์โมน estrogen จึงไม่มีการนำมาใช้ในปัจจุบัน
Relugolix
ยา relugolix เป็นยารับประทานกลุ่ม GnRH antagonists ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
ต่อมลูกหมากแบบการลดฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมน ADT เนื่องจากมีฤทธิ์ในการกดฮอร์โมน
testosterone ซึ่งเป็นสาเหตุการเจริญของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก
ข้อบ่งใช้ของยา relugolix11,12
ยา relugolix ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่ง สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่
18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สำหรับรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจายในผู้ใหญ่ และยัง
ได้รับการรับรองจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 สำหรับรักษาเนื้องอกมดลูก
(uterine fibroids) แต่ในปัจจุบัน relugolix ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในประเทศไทย
รูปแบบยา ขนาดและการบริหารยา relugolix สำหรับการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก11, 13
รู ป แบบยา relugolix ที ่ มี ใ ช้ ใ นปั จ จุ บ ั น ได้ แ ก่ ยาเม็ ด เคลื อ บฟิ ล ์ ม ความแรง 120
mg/tablet โดยแนะนำให้ใช้ขนาดยาเริ่มต้น 360 mg ในวันแรกของการรักษา ตามด้วยขนาด
120 mg วันละ 1 ครั้ง โดยบริหารยาในเวลาเดียวกันทุกวัน หากลืมรับประทานยาภายใน 12
ชั่วโมงสามารถรับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่หากลืม นานกว่า 12 ชั่วโมงให้ข้ามยาในมื้อนั้น
และรับประทานตามปกติในมื้อถัดไป
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่องระดับ เล็กน้อยถึงรุนแรง (mild to severe renal
impairment หรือมี CrCl 15-89 ml/min) และผู้ป่วยที่มีภาวะตับบกพร่องระดับ เล็กน้อยหรือ
ป า น ก ล า ง ( mild or moderate hepatic impairment ห ร ื อ มี Child-Pugh A ห ร ื อ B)
ไม่จำเป็นต้องได้รับการปรับขนาดยา อย่างไรก็ตามยังไม่มีการประเมินความปลอดภัยในการใช้ยา
ของผู ้ ป ่ ว ยไตวายเรื ้ อ รั ง ระยะสุ ด ท้ า ย (end-stage renal disease ที ่ ไ ด้ ร ั บ หรื อ ไม่ ไ ด้ รั บ
hemodialysis) หรือผู้ป่วยที่มีภาวะตับบกพร่องรุนแรง (severe hepatic impairment หรือมี
Child-Pugh C) 14

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 7 จาก 20


กลไกการออกฤทธิ์ และเภสัชพลศาสตร์ของยา relugolix14, 15
โดยปกติแล้วฮอร์โมน GnRH ซึ่งหลั่งจากไฮโพทาลามัสจะจับกับ GnRH receptor ใน
ต่อมใต้สมองส่วนหน้าส่งผลให้มีการหลั่งฮอร์โมน FSH และ LH ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมน
testosterone
ยา relugolix ออกฤทธิ์โดยการจับแบบจำเพาะกับ GnRH receptor ในต่อมใต้สมอง
ส่วนหน้า ซึ่งมีความสามารถในการจับได้ดีกว่าฮอร์โมน GnRH 260 เท่า12 ทำให้ฮอร์โมน GnRH ที่
หลั่งจากไฮโพทาลามัสไม่สามารถจับกับ GnRH receptor ได้ ส่งผลให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าไม่
สามารถหลั่งฮอร์โมน FSH และ LH ได้ ฮอร์โมน LH จึงไม่สามารถจับ LH receptor บน leydig
cell ที่ seminiferous tubule ในอัณฑะ ส่งผลให้ กดการสร้างฮอร์โมน testosterone ทำให้
ระดั บ ฮอร์ โ มน testosterone ลดลง จึ ง มี โ อกาสจั บ กั บ androgen receptor ที่ เ ซลล์ ต ่ อ ม
ลูกหมากลดลงได้ ส่งผลให้เกิดการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ต่อมลูกหมาก
เภสัชจลนศาสตร์ของยา relugolix11, 14
ยา relugolix เป็นสารตั้งต้น (substrate) ที่ไวต่อ P-glycoprotein (P-gp) ซึ่งทำหน้าที่
efflux ยาในลำไส้ จึงส่งผลให้ลดการดูดซึมและมีค่าชีวประสิทธิผล (bioavailability) ประมาณ
ร้อยละ 12 ระยะเวลาที่ระดับยาสูงสุดในเลือด (Tmax) ประมาณ 2 ชั่วโมง (0.5-5.0 ชั่วโมง) โดย
การรับประทานอาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมยา นอกจากนี้ relugolix มีค่าปริมาตรการกระจายตัว
(volume of distribution; Vd) ที่สูงประมาณ 26,000 ลิตร และมีร้อยละการจับกับโปรตีนใน
กระแสเลื อ ดประมาณ 68-71 ซึ ่ ง พบว่ า สามารถจั บ กั บ albumin ได้ ม ากกว่ า α1-acid
glycoprotein
ยา relugolix ถูกเปลี่ยนแปลงผ่าน cytochrome 450 โดย CYP3A เป็นส่วนใหญ่ และ
CYP2C8 เป็นส่วนน้อย ยาที่ไม่ถูกดูดซึมในทางเดินอาหารจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยจุลินทรีย์ในลำไส้
จากการศึกษาในมนุษย์โดยการให้รับประทาน relugolix ที่ติดสารกัมมันตภาพรังสีขนาด 80 mg
พบว่าสามารถตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีร้อยละ 81 และ 4.1 ของขนาดยาทั้งหมดในอุจจาระ
และปัสสาวะตามลำดับ และพบในรูปที่ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 93.6 นอกจากนี้
relugolix มีค่าครึ่งชีวิตของการกำจัดยาเท่ากับ 60.8 ชั่วโมง และค่าครึ่งชีวิตของการออกฤทธิ์
เท่ากับ 25 ชั่วโมง
การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาของยา relugolix11
เนื ่ อ งจากยา relugolix เป็ น สารตั ้ ง ต้ น ของ เอนไซม์ CYP3A , CYP2C8 และ
P-glycoprotien (P-gp) จึงควรระมัดระวังการใช้ยาร่วมกับยาที่มี ฤทธิ์ยับยั้ง หรือเหนี่ยวนำการ
ทำงานของ P-gp และเอนไซม์ CYP3A ดังแสดงในตารางที่ 1

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 8 จาก 20


ตารางที่ 1 ยาที่เกิดอันตรกิริยาและมีผลต่อยา relugolix11, 16
ยาทีเ่ กิดอันตรกิริยา กลไกการเกิด การจัดการ
combined P-gp and เหนี่ยวนำการทำงาน P-gp หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
strong CYP3A inducer และ CYP3A ส่ งผลให้ ล ด กรณีจำเป็นต้องใช้ร่วมกันให้เพิ่มขนาด
เช่น phenytoin, ร ะ ด ั บ AUC แ ล ะ Cmax ยา relugolix เป็น 240 mg/day หาก
carbamazepine, ของยา relugolix ทำให้ หยุดการใช้ยาร่วมกันแล้วสามารถใช้
rifampin, St. John's ลดประสิทธิภาพยาได้ ยา relugolix 120 mg/day ดังเดิมได้
wort, apalutamide
P-gp inhibitor เช่น ยั บ ยั ้ ง การทำงาน P-gp หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
erythromycin, ส่ ง ผลให้ เ พิ ่ ม AUC และ กร ณ ี จ ำ เ ป ็ นต ้ องใช้ ร ่ วม กั นให้
clarithromycin, Cmax ของยา relugolix ทำ รั บ ประทานยา relugolix ก่ อ นแล้ ว
ketoconazole, ให้ เ พิ ่ ม ความเสี ่ ยงในการ ตามด้วยยาอื่นห่างกันอย่างน้อย 6 ชม.
itraconazole, ritonavir เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ร่วมกับติดตามอาการไม่พึงประสงค์
amiodarone, verapamil, จากยา จากยา หากต้องใช้ยาร่วมกันนานกว่า
carvedilol, cyclosporine 7 วั น ภายหลั ง การหยุ ด ใช้ ย า P-gp
inhibitor ให้เพิ่มขนาด relugolix เป็น
360 mg ในวันแรก ตามด้วย 120 mg
ในวันถัดไป

การศึกษาประสิทธิภาพของยา Relugolix17, 18
จากการศึ ก ษา Phase II, open-label, parallel-group ของ David P. Dearnaley
และคณะ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบประสิ ทธิภาพและความปลอดภัยระหว่าง relugolix และ
degarelix ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม GnRH antagonist เช่นเดียวกัน โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็ง
ต่อมลูกหมากเฉพาะที่ ที่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายระดับปานกลาง จำนวน 103 คน โดย
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับ relugolix บริหารโดยการรับประทานขนาด 360 mg
(loading dose) ตามด้ ว ยขนาด 120 mg/day จำนวน 65 คน และกลุ ่ ม ที ่ ไ ด้ รั บ degarelix
บริ หารโดยการฉี ด เข้ า ใต้ ผ ิ ว หนั ง ขนาด 240 mg (loading dose) ตามด้ ว ย 80 mg/month
จำนวน 38 คน เป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ โดยรักษาควบคู่กับการใช้รังสีบำบัด (External beam
radiation therapy) และติดตามระหว่างรับการรักษา และภายหลัง สิ้นสุดการศึกษาไปแล้ว 12
สัปดาห์17
ผลลั พ ธ์ ห ลั ก (Primary endpoint) ได้ แ ก่ ประสิ ท ธิ ภ าพในการกดฮอร์ โ มน
testosterone ให้ต่ำกว่า 50 ng/dL (castrate level) และผลลัพธ์รอง (Secondary endpoint)
ได้แก่ การกดฮอร์โมน testosterone ให้ต่ำกว่า 20 ng/dL การติดตามระดับ PSA ที่ลดลงจาก

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 9 จาก 20


ค่าเริ่มต้น ขนาดของต่อมลูกหมากที่เล็กลง ระยะเวลาที่ใช้ในการกดฮอร์โมน testosterone ให้
ต่ำกว่า castrate levels การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน testosterone หลังสิ้นสุดการศึกษา คุณภาพ
ชีวิต และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา17
จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 95 ของกลุ่มที่ได้รับ relugolix และร้อยละ 89 ของกลุ่ม
ได้รับ degarelix สามารถกดฮอร์โมน testosterone ให้ต่ำกว่า 50 ng/dL ได้ในวันที่ 4 และวันที่
3 ตามลำดั บ และยั ง สามารถกดระดั บ testosterone ให้ ต ่ ำ กว่ า 20 ng/dL ตลอดช่ ว งของ
การศึ ก ษาได้ ส ู ง ถึ ง ร้ อ ยละ 82 และร้ อ ยละ 68 ในกลุ ่ ม ที ่ ไ ด้ ร ั บ relugolix และ degarelix
ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน testosterone หลังสิ้นสุดการศึกษาไป
แล้ว 12 สัปดาห์ของกลุ่มที่ได้รับ relugolix เกิดขึ้นเร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับ degarelix ซึ่งใช้เวลานาน
ถึง 84 วัน ดังแสดงในรูปที่ 217 ผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้ องกับ การศึ กษาก่ อนหน้ า ของ
Robert J. Nejat และคณะซึ่งพบว่าใน degarelix ต้องใช้เวลามากกว่า 100 วัน เพื่อให้ระดับ
ฮอร์โมน testosterone เพิ่มขึ้นหลังหยุดยา19 การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน testosterone ได้รวดเร็ว
จะมีผลต่อการเพิ่มคุณภาพชีวิต เนื่องจากการได้รับยากดฮอร์โมน testosterone ทำให้เกิดการ
สู ญ เสี ยความรู ้สึ กทางเพศ การเสื ่ อมสมรรถภาพทางเพศ ความแข็ งแรงทางกายลดลง ไม่มี
แรงจูงใจ เหนื่อยล้า รบกวนการนอนหลับ การสูญเสียมวลกระดูก และมีปัญหาการควบคุมระดับ
น้ำตาลในเลือด เป็นต้น20, 21 อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน testosterone หลังสิ้นสุดการ
รั กษาด้ ว ย ADT ขึ ้ น กั บ หลายปั จ จั ย เช่ น อายุ ระยะเวลาในการรั กษา และระดั บ ฮอร์ โ มน
testosterone ก่อนเริ่มการรักษา22

รูปที่ 2 ระดับฮอร์โมน testosterone เฉลี่ยของกลุ่มที่ได้รบั relugolix และ degarelix17

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 10 จาก 20


จากการติดตามระดับ PSA ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับความรุนแรงของโรค 23
พบว่าร้อยละ 55 ของกลุ่มที่ได้รับ relugolix และร้อยละ 47 ของกลุ่มที่ได้รับ degarelix มีระดับ
PSA ลดลงมากกว่าร้อยละ 90 จากระดับ PSA ก่อนได้รับยา ซึ่งมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 7.3 ng/mL
เช่นเดียวกันในทั้งสองกลุ่ม และพบว่ายาทั้งสองชนิดสามารถลดระดับ PSA เหลือเท่ากับ 0.1
ng/mL ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 24.1 จนสิ้นสุดการศึกษา17
จากการศึ ก ษาระยะที ่ 3 Multinational Phase III Randomized, Open-label,
Parallel Group หรื อ HERO trial โดย Neal D. Shore และคณะซึ ่ ง เป็ น การเปรี ย บเที ย บ
ประสิ ท ธิ ภ าพและความปลอดภั ย ระหว่ า ง relugolix (GnRH antagonist) และ leuprolide
acetate (GnRH agonist) โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจายจาก
155 สถาบัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับ relugolix บริหารโดยการรับประทานขนาด
360 mg (loading dose) ตามด้ ว ยขนาด 120 mg/day จำนวน 622 คน และกลุ่ ม ที ่ ไ ด้ รั บ
leuprolide บริหารโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทุก 3 เดือนในขนาด 22.5 mg หรือขนาด 11.25
mg (เฉพาะผู้ป่วยจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน) จำนวน 308 คน โดยให้การรักษาเป็นระยะเวลา
48 สัปดาห์ เพื่อติดตามอัตราการกดระดับฮอร์โมน testosterone ให้ต่ำกว่า 50 ng/dL และการ
ทดสอบความไม่ด ้ อยกว่ า ของยา relugolix เมื ่ อเปรี ย บเที ย บกั บยา leuprolide ด้ า นการกด
ฮอร์โมน testosterone ให้ต่ำกว่า castrate levels การลดลงของระดับ PSA และการเพิ่มขึ้น
ของฮอร์โมน testosterone หลังสิ้นสุดการศึกษา เป็นต้น18
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับ relugolix ร้อยละ 96.7 (95% CI: 94.9-97.9) และ
กลุ่มได้รับ leuprolide ร้อยละ 88.8 (95% CI: 84.6-91.8) สามารถกดฮอร์โมน testosterone
ให้ต่ำกว่า castrate level ได้ตั้งแต่วันที่ 29 จนสิ้นสุดการศึกษา เมื่อพิจารณาความสามารถใน
การกดระดั บ ฮอร์ โ มน testosterone ให้ ต ่ ำ กว่ า castrate levels พบว่ า ทั ้ ง สองกลุ ่ มมี ความ
แตกต่างกันร้อยละ 7.9 (95% CI 4.1-11.8) ซึ่งอยู่ในระดับที่เหนือกว่า Superiority threshold
แสดงให้เห็นว่า relugolix มีความเหนือกว่า leuprolide ในการกดระดับฮอร์โมน testosterone
ให้ต่ำกว่า castrate levels ดังแสดงในรูปที่ 318

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 11 จาก 20


รูปที่ 3 อัตราการกดระดับฮอร์โมน testosterone ให้ต่ำกว่า castrate level
ของกลุ่มที่ได้รับ relugolix และ leuprolide18
Relugolix สามารถกดระดับฮอร์โมน testosterone ได้ต่ำโดยมี ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 38
ng/dL ได้ตั้งแต่วันที่ 4 หลังเริ่มยา ในขณะที่ leuprolide ทำให้ระดับฮอร์โมน testosterone
สูงขึ้นถึง 625 ng/dL ในช่วงแรกของการรักษาซึ่งเป็นการ flare จากฮอร์โมน testosterone ที่
เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดท่อไตอุดตัน (ureteral obstruction) ปัสสาวะคั่ง (urinary retention)
ไขสันหลังถูกกดทับ (spinal cord compression) ภาวะบวมน้ำเหลือง (lymphedema) และ
อาจรุ น แรงถึ ง แก่ ช ี ว ิ ต ได้ 24 จึ ง ควรใช้ ย า anti-androgen เพื ่ อ ป้ อ งกั น การเกิ ด flare-up
Phenomenon ซึ่งจะเกิดใน 2-4 สัปดาห์หลังเริ่มใช้ leuprolide 18 ดังแสดงในรูปที่ 4

รูปที่ 4 ระดับฮอร์โมน testosterone เฉลี่ยของกลุ่มที่ได้รบั relugolix และ leuprolide18


การเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมน testosterone หลังสิ้นสุดการศึกษา 90 วัน ในผู้ป่วย
184 คนที่ได้รับการรักษาครบ 48 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับ relugolix (N=137) และกลุ่มที่
ได้รับ leuprolide (N=47) มีระดับฮอร์โมน testosterone เฉลี่ยเท่ากับ 288.4 ng/dL และ

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 12 จาก 20


58.6 ng/dL ตามลำดับ ซึ่งระดับฮอร์โมน testosterone ≥ 280 ng/dL คือค่าต่ำสุดของระดับ
ฮอร์โมนปกติ ดังแสดงในรูปที่ 5 18

(Lower limit of normal)

รูปที่ 5 การเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมน testosterone หลังสิน้ สุดการศึกษา


ของกลุ่มที่ได้รับ relugolix และ leuprolide18
จากการติดตามระดับ PSA ที่ลดลงมากกว่าร้อยละ 50 ของค่าเริ่มต้นในวันที่ 15 ของ
การศึกษา พบว่ากลุ่มที่ได้รับ relugolix (ร้อยละ 79.4) มีระดับ PSA ลดลงได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รบั
leuprolide (ร้อยละ 19.8) ทั้งนี้เนื่องจากยา leuprolide สามารถออกฤทธิ์ได้เต็มที่ในวันที่ 28
จึงเป็นสาเหตุให้ต้องมีการติดตามระดับ PSA ในวันที่ 29 อีกด้วย โดยระดับ PSA ที่ลดลงมากกว่า
ร้อยละ 90 ของค่าเริ่มต้นในวันที่ 29 ของการรักษาในกลุ่มที่ได้รับ relugolix คิดเป็นร้อยละ 44.9
และในกลุ่มที่ได้รับ leuprolide คิดเป็นร้อยละ 21.718
การศึกษาด้านความปลอดภัยของยา relugolix17, 18
จากการศึกษา HERO trial พบผู้ป่วยที่ถอนตัวออกจากการศึกษาเนื่องจากอาการไม่พึง
ประสงค์ของยาร้อยละ 23 และ 8 ในกลุ่มที่ได้รับ relugolix และ leuprolide ตามลำดับ โดยพบ
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ได้รับ relugolix ร้อยละ
1.1 และผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ได้รับ leuprolide ร้อยละ 2.9 18 ดังแสดงในตารางที่ 2

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 13 จาก 20


ตารางที่ 2 เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของกลุ่มที่ได้รับ relugolix และ leuprolide18
จำนวนผู้ป่วยที่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (ร้อยละ)
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
relugolix (N = 622) leuprolide (N = 308)
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งหมด 578 (92.9) 288 (93.5)
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับรุนแรง 76 (12.2) 47 (15.3)
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ถึงแก่ชีวิต 7 (1.1) 9 (2.9)
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ของระบบหัวใจ 18 (2.9) 19 (6.2)
และหลอดเลือดที่รุนแรง (Major adverse
cardiovascular events; MACE)
ไม่เคยมีประวัติการเกิด MACE 15/538 (2.8) 11/263 (4.2)
เคยมีประวัติการเกิด MACE 3/84 (3.6) 8/45 (17.8)
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับรุนแรง คือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ใด ๆ ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ถึงแก่ชีวิต คือ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ใด ๆ ที่ทำให้เสียชีวิต
Major adverse cardiovascular events (MACE) ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ไม่ถึงแก่ชีวิต
(nonfatal myocardial infarction) โรคหลอดเลือดสมองที่ไม่ถึงแก่ชีวิต (nonfatal stroke) และ
การเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น ๆ หลังสิ้นสุดการศึกษา 48 สัปดาห์

ภายหลังสิ้นสุดการรักษา 48 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับ relugolix พบอุบัติการณ์เกิด MACE


ในผู้ที่ไม่เคยมีประวัติการเกิด MACE จำนวน 15 คน จาก 538 คน (คิดเป็นร้อยละ 2.8) และพบ
ในผู้ที่เคยมีประวัติการเกิด MACE จำนวน 3 คนจาก 84 คน (คิดเป็นร้อยละ 3.6) เมื่อพิจารณา
ค่ า Hazard ratio มี ค ่ า เท่ า กั บ 0.46 (95% CI: 0.24–0.88) แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ในกลุ ่ ม ที ่ ไ ด้ รั บ
relugolix มีโอกาสเกิด MACE น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ กลุ่มที่ได้รับ leuprolide18 สอดคล้องกับ
บทความจาก Circulation Journal โดยสมาคม American Heart Association (AHA) ซึ่ ง
กล่ า วถึ ง ระดั บ ฮอร์ โ มน testosterone ที ่ ล ดลงจากการรั ก ษาด้ ว ย ADT จะมี ผ ลต่ อ การ
เปลี่ยนแปลงของร่างกาย โดยส่งผลให้มีระดับไขมันเพิ่มขึ้น และความไวต่ออินซูลิน (insulin
sensitivity) ลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบเมตาบอลิก และนำไปสู่การเกิด
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ของระบบหัวใจและหลอดเลือด 25 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาข้อมูล
ลักษณะประชากรของการศึกษา HERO trial พบว่ามากกว่าร้อยละ 90 มีปัจจัยเสี่ยงของการเกิด
โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ดอยู ่เดิม เช่ น การสู บ บุหรี ่ ดื ่ ม แอลกอฮอล์ ค่ า ดั ชนีม วลกาย (BMI)
มากกว่า 30 kg/m2 และมีโรคประจำตัว (ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน
กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น)18

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 14 จาก 20


อาการไม่พึงประสงค์ของยา relugolix18
อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ของยา relugolix ที่พบได้ ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ (ร้อยละ
54.34) อ่อนเพลีย (ร้อยละ 21.54) ท้องผูก (ร้อยละ 12.22) ท้องเสีย (ร้อยละ 12.22) ปวดข้อ
(ร้อยละ 12.06) น้ำหนักตัวเพิ่ม (ร้อยละ 7.88) ปวดหลัง (ร้อยละ 8.04) และนอนไม่หลับ (ร้อย
ละ 6.91) เป็นต้น
ข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้ยา relugolix11
Relugolix สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ QT/QTc Interval Prolongation ได้ จึงควร
ระมั ด ระวัง การใช้ ยานี้ใ นผู ้ ป่ว ยที ่มี ภาวะ QT Interval ยาวแต่กำเนิ ด (congenital long QT
syndrome) ภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ที่มีความผิดปกติของระดับอิเล็กโทรไลต์บ่อย และผู้ที่ได้รับยา
ชนิ ด อื ่ น ที ่ ม ี ผ ลต่ อ QT- Interval หากผู ้ ป ่ ว ยที ่ ม ี ป ั จ จั ย ข้ า งต้ น และมี ความจำเป็ น ต้ องใช้ ย า
relugolix ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และติดตามระดับอิเล็กโทรไลต์อย่างสม่ำเสมอ
สรุป
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากมีหลายวิธีซึ่งต้องพิจารณาจากระยะของโรค การรักษาที่
ได้รับอยู่ปัจจุบัน ข้อจำกัดของการรักษา และอายุขัยเฉลี่ย (life expectancy) เป็นต้น การรักษา
ด้วยการลดฮอร์โมนเพศชาย (ADT) มีเป้าหมายในการลดระดับฮอร์โมน testosterone เนื่องจาก
ระดับฮอร์โมน testosterone ที่สูงขึ้นมีผลต่อการเจริญของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก relugolix
ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม GnRH antagonist ได้รับการรับรองสำหรับรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะ
แพร่กระจาย พบว่ามีประสิทธิภาพในการกดระดับฮอร์โมน testosterone ได้ต่ำและเร็ว อีกทั้ง
ยังไม่ทำให้เกิด การ flare จากระดับฮอร์โมน testosterone ที่เพิ่มขึ้น ในช่วงแรกของการรักษา
เช่นเดียวกับยากลุ่ม GnRH agonist ภายหลังสิ้นสุดการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับ relugolix จะมีระดับ
ฮอร์โมน testosterone เพิ่มสูงขึ้นได้รวดเร็วซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้น อีกด้วย อย่างไรก็
ตามมีรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของระบบหัวใจและหลอดเลือดที่รุนแรง (major
adverse cardiovascular events) ในผู้ป่วยที่ได้รับ relugolix จึงควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้ที่
มีประวัติของโรคหัวใจและหลอดเลือด (pre-existing CVD) เนื่องจากมีการศึกษาสนับสนุนว่าการ
รักษาด้วย ADT ในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด cardiovascular event ได้
มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติ pre-existing CVD25 ปัจจุบัน relugolix ยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ใน
ประเทศไทย ยังไม่มีการศึกษาด้านต้นทุนประสิทธิผลของยาในการรักษา และยังไม่มีการศึกษาผล
จากการใช้ยาในระยะยาว จึงยังเป็นข้อจำกัดในการพิจารณาข้อมูลสำหรับเลือกใช้ยาในผู้ป่วย

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 15 จาก 20


เอกสารอ้างอิง
1. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์. (2563). สถานการณ์และสถิติโรคมะเร็งของ
ประเทศไทยปี 2563. สืบค้นข้อมูลจากhttp://thaicancernews.nci.go.th/_v2/
index.php/information/
2. Grubb, R. L., 3rd, & Kibel, A. S. (2007). Prostate cancer: screening, diagnosis
and management in 2007. Missouri medicine, 104(5), 408–414.
3. Gomez, L., Kovac, J. R., & Lamb, D. J. (2015). CYP17A1 inhibitors in
castration-resistant prostate cancer. Steroids, 95, 80–87. https://doi.org
/10.1016/j.steroids.2014.12.021
4. Banerjee, P. P., Banerjee, S., Brown, T. R., & Zirkin, B. R. (2018). Androgen
action in prostate function and disease. American journal of clinical and
experimental urology, 6(2), 62–77.
5. Schrecengost, R., & Knudsen, K. E. (2013). Molecular pathogenesis and
progression of prostate cancer. Seminars in oncology, 40(3), 244–258.
https://doi.org/10.1053/j.seminoncol.2013.04.001
6. Labbé, D. P., & Brown, M. (2018). Transcriptional Regulation in Prostate
Cancer. Cold Spring Harbor perspectives in medicine, 8(11), a030437.
https://doi.org/10.1101/cshperspect.a030437
7. Hamilton W, Sharp DJ, Peters TJ, et al. Clinical features of prostate cancer
before diagnosis: a population-based, case-control study. British Journal of
General Practice. 2006;56:756–62.
8. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์. (2560). แนวทางการตรวจตัดกรองวินิจฉัยและ
รักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก. สืบค้นข้อมูลจาก: https://drive.google.com/file/d/
1lAGQZSq3FYjxRsVvfev9AvwlDl1JuMh1/view
9. Agarwal, M., Canan, T., Glover, G., Thareja, N., Akhondi, A., & Rosenberg, J.
(2019). Cardiovascular Effects of Androgen Deprivation Therapy in Prostate
Cancer. Current oncology reports, 21(10), 91. https://doi.org/10.1007
/s11912-019-0841-z
10. The American Cancer Society medical and editorial content team. (2020,
June 11). Hormone Therapy for Prostate Cancer. American Cancer Society.
Retrieved from: https://www.cancer.org/cancer/prostate-cancer/treating
/hormone-therapy.html

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 16 จาก 20


11. FDA Approved Drug Products: Orgovyx (relugolix) tablets for oral use.
Available from: https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label
/2020/214621s000lbl.pdf
12. Markham A. Relugolix: First Global Approval. Drugs. 2019 Apr;79(6):675-679.
doi: 10.1007/s40265-019-01105-0. PMID: 30937733
13. Shore ND, Saad F, Cookson MS, et al. Oral relugolix for androgen-
deprivation therapy in advanced prostate cancer. N Engl J Med.
2020;382(23):2187-2196 and supplementary material, available online.
14. DrugBank Online: Relugolix [Internet] 2020 [cited 2020 Nov 10]. Available
from: https://go.drugbank.com/drugs/DB11853
15. Michaud JE, Billups KL, Partin AW: Testosterone and prostate cancer: an
evidence-based review of pathogenesis and oncologic risk. Ther Adv Urol.
2015 Dec;7(6):378-87. doi: 10.1177/1756287215597633. (PubMed ID
26622322)
16. Relugolix: Drug Interactions. (2021). In Micromedex (Columbia Basin
College Library ed.) [Electronic version]. Greenwood Village, CO: Truven
Health Analytics. Retrieved Apr 16, 2021, from
http://www.micromedexsolutions.com/
17. Dearnaley, D. P., Saltzstein, D. R., Sylvester, J. E., Karsh, L., Mehlhaff, B. A.,
Pieczonka, C., Bailen, J. L., Shi, H., Ye, Z., Faessel, H. M., Lin, H., Zhu, Y.,
Saad, F., MacLean, D. B., & Shore, N. D. (2020). The Oral Gonadotropin-
releasing Hormone Receptor Antagonist Relugolix as Neoadjuvant/Adjuvant
Androgen Deprivation Therapy to External Beam Radiotherapy in Patients
with Localised Intermediate-risk Prostate Cancer: A Randomised, Open-
label, Parallel-group Phase 2 Trial. European urology, 78(2), 184–192.
https://doi.org/10.1016/j.eururo.2020.03.001
18. Shore, N. D., Saad, F., Cookson, M. S., George, D. J., Saltzstein, D. R., Tutrone,
R., Akaza, H., Bossi, A., van Veenhuyzen, D. F., Selby, B., Fan, X., Kang, V.,
Walling, J., Tombal, B., & HERO Study Investigators (2020). Oral Relugolix for
Androgen-Deprivation Therapy in Advanced Prostate Cancer. The New
England journal of medicine, 382(23), 2187–2196.
https://doi.org/10.1056/NEJMoa2004325

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 17 จาก 20


19. Nejat RJ, Rashid HH, Bagiella E, Katz AE, Benson MC. A prospective analysis
of time to normalization of serum testosterone after withdrawal of
androgen deprivation therapy. J Urol 2000;164:1891–4
20. Mazzola, C. R., & Mulhall, J. P. (2012). Impact of androgen deprivation
therapy on sexual function. Asian journal of andrology, 14(2), 198–203.
https://doi.org/10.1038/aja.2011.106
21. Traish A. M. (2 0 1 8 ) . Benefits and Health Implications of Testosterone
Therapy in Men With Testosterone Deficiency. Sexual medicine reviews,
6(1), 86–105. https://doi.org/10.1016/j.sxmr.2017.10.001
22. Nascimento, B., Miranda, E. P., Jenkins, L. C., Benfante, N., Schofield, E. A.,
& Mulhall, J. P. (2019). Testosterone Recovery Profiles After Cessation of
Androgen Deprivation Therapy for Prostate Cancer. The journal of sexual
medicine, 16(6), 872–879. https://doi.org/10.1016/j.jsxm.2019.03.273
23. Spencer J, Chng W, Hudson E, et al. Prostate specific antigen level and
Gleason Score in predicting the stage of newly diagnosed prostate cancer.
Br J Radiol. 1998;851:1130-5.
24. Thompson I. M. (2001). Flare Associated with LHRH-Agonist Therapy.
Reviews in urology, 3 Suppl 3(Suppl 3), S10–S14.
25. Levine, G. N., D'Amico, A. V., Berger, P., Clark, P. E., Eckel, R. H., Keating, N.
L., Milani, R. V., Sagalowsky, A. I., Smith, M. R., Zakai, N., & American Heart
Association Council on Clinical Cardiology and Council on Epidemiology
and Prevention, the American Cancer Society, and the American Urological
Association (2010). Androgen-deprivation therapy in prostate cancer and
cardiovascular risk: a science advisory from the American Heart Association,
American Cancer Society, and American Urological Association: endorsed
by the American Society for Radiation Oncology. Circulation, 121(6), 833–
840. https://doi.org/10.1161/CIRCULATIONAHA.109.192695
26. Hsieh, K., & Albertsen, P. C. (2003). Populations at high risk for prostate
cancer. The Urologic clinics of North America, 30(4), 669–676.
https://doi.org/10.1016/s0094-0143(03)00058-2

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 18 จาก 20


27. Mandair D, Rossi RE, Pericleous M, Whyand T, Caplin ME. Prostate cancer
and the influence of dietary factors and supplements: A systematic review.
Nutr Metab (Lond) 2014;11:30. [PubMed: 24976856]

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 19 จาก 20


การเปิดเผยสถานภาพของผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับบทความ
ผศ.ดร.ภญ.ศรีรัตน์ กสิวงศ์ ภ.5975
อ.ภญ.พิชาวีร์ โควเศรษฐพล ภ.40786

การอนุญาตให้เผยแพร่บทความทางวิชาการที่ได้รับหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องฯ บน
website ของสถาบันหลัก
✓ อนุญาต  ไม่อนุญาต

Relugolix ยารับประทานสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย หน้า 20 จาก 20

You might also like