You are on page 1of 189

ชุดที่ ๒๔ ปีที่ ๑

ครั้งที่ ๑
(สมัยสามัญนิตบิ ัญญัต)ิ
วังพุธที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

สํานักรายงานการประชุมและชวเลข
สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการตรวจแล้ว วันที่……..….เดือน…………………….พ.ศ. …….…..
สภารับรองในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่...........ปีที่.......
ครั้งที่……... (....……………...............) วัน…..........…….เดือน………...………….พ.ศ. ……….....
สารบัญ
รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๔ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
ณ ตึกรัฐสภา
-----------------

หน้า
ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี ๑
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
๒.๑ รับทราบ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ
พ.ศ. ๒๕๕๔ ๑
๒.๒ รับทราบ เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรอนุญาต
ให้คณะกรรมาธิการขอขยายเวลาการพิจารณา จํานวน ๒ คณะ ๓

เรื่องหารือ
ผู้อภิปราย
- นายสัมพันธ์ ตั้งเบญจผล ๓
- นายอํานวย คลังผา ๔
- นายวัชระ เพชรทอง ๕
- นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ ๖
- นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ๗
- นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท ๘
- นายรุ่งโรจน์ ทองศรี ๙
- นายนิยม วรปัญญา ๑๐
- นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ๑๑
- นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ๑๒
- นางสาวพิมพ์ภทั รา วิชัยกุล ๑๓
- นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม ๑๓

หน้า
- นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ๑๔
- นายสหรัฐ กุลศรี ๑๕
- นางสาวบุณย์ธิดา สมชัย ๑๖
- นางชมภู จันทาทอง ๑๗
- นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร ๑๘
- นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ ๑๙
- นางสาวรังสิมา รอดรัศมี ๑๙
- นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๒๐

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ไม่มี ๒๒

เรื่องด่วน
๑. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. ....
(คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ๒๒
ผู้อภิปราย
- นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ๒๓, ๕๗, ๖๑
- นายนริศ ขํานุรักษ์ ๒๔
- นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ๒๖
- นายเหวง โตจิราการ ๓๓
- นายอลงกรณ์ พลบุตร ๔๐
- นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ๔๔
- คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ๔๗
- นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ๕๐
- นายสถาพร มณีรัตน์ ๕๒
- นายเชิดชัย ตันติศริ ินทร์ ๕๔
ผลการตรวจสอบองค์ประชุม ๕๙
ผลการลงมติ ๖๐

หน้า
รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. …. ๖๔
ผู้อภิปราย
- นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ๖๑, ๖๔
- นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ ๖๑
- นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ๖๓
- นายบุญดํารง ประเสริฐโสภา ๖๓
- พันโท สินธพ แก้วพิจิตร ๖๓
- นายรณเทพ อนุวัฒน์ ๖๓
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต พ.ศ. ....
(คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ๖๕
ผู้อภิปราย
- นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ๖๖, ๑๐๙
- นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ๖๘
- นายวิทยา แก้วภราดัย ๗๒, ๗๓, ๗๕
- นายชลนาน ศรีแก้ว ๗๒
- นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ ๗๖
- นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ๗๗
- นายประกอบ รัตนพันธ์ ๗๙, ๑๐๑
- นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร ๘๑
- นายวรงค์ เดชกิจวิกรม ๘๒
- นายนิยม เวชกามา ๘๓
- นายณรงค์ ดูดิง ๘๕
- นายสถาพร มณีรัตน์ ๘๘
- นายเจะอามิง โตะตาหยง ๙๑
- นายวัชระ เพชรทอง ๙๕, ๙๗
- นายปวีณ แซ่จึง ๙๕
- นายถาวร เสนเนียม ๑๐๑, ๑๐๕

หน้า
- นายสุเมธ รอยกุลเจริญ ๑๐๓
- นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ๑๐๖
ผลการตรวจสอบองค์ประชุม ๑๐๗
ผลการลงมติ ๑๐๘
รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต พ.ศ. .... ๑๑๓
ผู้อภิปราย
- นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ๑๐๙, ๑๑๓
- นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ ๑๑๐
- นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ๑๑๐
- นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ๑๑๑
- พันโท สินธพ แก้วพิจิตร ๑๑๑
- นายรณเทพ อนุวัฒน์ ๑๑๑
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองเพชรบุรี พ.ศ. ....
(คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ๑๑๓
ผู้อภิปราย
- นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ๑๑๔
- นายอรรถพร พลบุตร ๑๑๔
- นายไพจิต ศรีวรขาน ๑๑๘
- นายชุมพล จุลใส ๑๒๐, ๑๒๘
- นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ ๑๒๒
- นายเชิดชัย ตันติศิรินทร์ ๑๒๔
- นายสุเมธ รอยกุลเจริญ ๑๒๘
ผลการตรวจสอบองค์ประชุม ๑๒๙
ผลการลงมติ ๑๓๐
รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองเพชรบุรี พ.ศ. .... ๑๓๓

หน้า
ผู้อภิปราย
- นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ๑๓๑, ๑๓๓
- นางสาวบุณย์ธิดา สมชัย ๑๓๒
- นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ๑๓๒
- นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง ๑๓๒
- นายประสาท ตันประเสริฐ ๑๓๒
๔. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองนครสวรรค์ พ.ศ. ....
(คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ๑๓๓
ผู้อภิปราย
- นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ๑๓๔, ๑๔๔
- นายประสาท ตันประเสริฐ ๑๓๕
- พันตํารวจโท นุกูล แสงศิริ ๑๓๖
- นายวัชระ เพชรทอง ๑๓๗, ๑๔๑
- นายสมคิด บาลไธสง ๑๓๙
ผลการตรวจสอบองค์ประชุม ๑๔๑
ผลการลงมติ ๑๔๒
รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองนครสวรรค์ พ.ศ. .... ๑๔๑
ผู้อภิปราย
- นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ๑๔๔, ๑๔๔, ๑๔๕
- นางสาวบุณย์ธิดา สมชัย ๑๔๔
- นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ๑๔๔
- นายสรชัด สุจิตต์ ๑๔๔
- นายรณเทพ อนุวัฒน์ ๑๔๕
๕. ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ๑๔๕

หน้า
ผู้อภิปราย
- นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ๑๔๖, ๑๗๔, ๑๗๗
- นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง ๑๔๗
- นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๑๔๘
- นายนคร มาฉิม ๑๕๓
- นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ๑๕๕
- นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ๑๕๙
- นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ ๑๖๓
- นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๖๕
- นางสาวบุณย์ธิดา สมชัย ๑๖๘, ๑๗๗
ผลการตรวจสอบองค์ประชุม ๑๗๑
ผลการลงมติ ๑๗๒
รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. .... ๑๗๘
ผู้อภิปราย
- นางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ ๑๗๓, ๑๗๗
- นางสาวขัตติยา สวัสดิผล ๑๗๔
- นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ ๑๗๔
- นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ๑๗๕
- นายสรชัด สุจิตต์ ๑๗๕
- นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา ๑๗๕
๖. ร่างพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่ง
เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก พ.ศ. ... (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) ๑๗๘
ผู้อภิปราย
- นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ๑๗๙

แบบรายงานการตรวจแก้ไขรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
------------------------------
รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๔ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
ณ ตึกรัฐสภา
--------------

เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๐๓ นาฬิกา


จํานวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๘๔ คน

นายสมศั ก ดิ์ เกี ย รติ สุ ร นนท์ (ประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร) : ในนามของ


รัฐสภายินดีต้อนรับ ฯพณฯ มาเรีย ไพเซา ดา คอสต้า รองประธานรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยติมอร์เลส-ตา และคณะกรรมาธิการ บี นะครับ Welcome H.E. Mrs. Maria
Paixao da Costa Vice-President of the National Parliament of Democratic
Republic of Timor-Leste and the Delegation of the Committee B
ขณะนี้มีสมาชิกมาครบองค์ประชุมนะครับ ผมขออนุญาตดําเนินการประชุม
นะครับ
ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มีครับ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
๒.๑ รับทราบพระบรมราชโองการ เมื่อได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๕๔
จึงขอเชิญท่านสมาชิกลุกขึ้นยืนรับฟังพระบรมราชโองการ เชิญท่านเลขาธิการครับ
(สมาชิกและผู้ที่อยู่ในที่ประชุมได้ยืนขึ้นเพื่อรับฟังพระบรมราชโองการ)
นายพิทูร พุ่มหิรัญ (เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) :

สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๑/๒

“พระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกา
เรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ
พ.ศ. ๒๕๕๔
---------------------

(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔


เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ ส ภาผู้ แ ทนราษฎรได้ กํ า หนดวั น เริ่ ม ประชุ ม รั ฐ สภาสมั ย ประชุ ม
สามัญนิติบัญญัติในวันที่ ๒๑ ธันวาคม
อาศั ย อํ า นาจตามความในมาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๘๗
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกา
เรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี”

(ที่ประชุมรับทราบ)

- ๒/๑

สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๒/๑

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ขอบคุณครับ


๒.๒ รับทราบเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรอนุญาตให้คณะกรรมาธิการวิสามัญ
ขยายเวลาการพิจารณา จํานวน ๒ คณะนะครับ
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
ขอขยายเวลาพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวไปอีก ๙๐ วันนับตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ําท่วม และการบริหาร
จัดการทรัพยากรน้ํา ขอขยายเวลาอีก ๓๐ วันนับตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ซึ่งผม
ได้ พิ จ ารณาแล้ ว เห็ น ว่ า เป็ น การสมควร เพื่ อ ประโยชน์ แ ก่ กิ จ การของสภาจึ ง ได้ อ นุ ญ าต
ให้คณะกรรมาธิการทั้ง ๒ คณะขยายเวลาดังกล่าวได้ตามที่ร้องขอ จึงแจ้งเพื่อให้ที่ประชุม
ทราบนะครับ
(ที่ประชุมรับทราบ)
นายสมศั กดิ์ เกี ยรติ สุ รนนท์ (ประธานสภาผู้ แทนราษฎร) : ก่ อนที่ จะเข้ าสู่
ระเบียบวาระต่อไป ผมขออนุญาตให้ที่ประชุมได้ปรึกษาหารือ เชิญท่านสัมพันธ์ ตั้งเบญจผล ครับ
นายสัมพันธ์ ตั้งเบญจผล (สุโขทัย) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
ผม สั ม พั น ธ์ ตั้ ง เบญจผล สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร พรรคประชาธิ ปั ต ย์ จั ง หวั ด สุ โ ขทั ย
ต้องขอบคุณต่อท่านประธานที่ได้ให้เวลาในการหารือต่อสมาชิกถึงความเดือดร้อนของพี่น้อง
ประชาชน ก่อนอื่นผมต้องกราบขอบคุณต่อทาง ธ.ก.ส. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตรที่ได้อนุมัติเงินในการช่วยเหลือเกษตรกรหรือที่เรียกว่าเงินเยียวยา ถ้าเมื่อก่อน
ก็เรียกว่าเงินส่วนต่างในเรื่องของข้าว ซึ่งพี่น้องที่ถูกน้ําท่วมในหลายพื้นที่ก็ได้เรียกร้องว่า
อยากให้รัฐบาลช่วยจ่ายเงินในค่าเยียวยานอกเหนือจากเงินน้ําท่วม ๒,๒๒๒ บาท แล้วก็ขอให้
จ่ายเงินในเรื่องของเงินส่วนต่าง ซึ่งถูกน้ําท่วมไม่มีข้าวไปจํานํา ก็ต้องกราบขอบคุณต่อทาง
ธ.ก.ส. ด้ว ยที่เ มื่อ วานนี้ได้โ อนเงิ นให้กั บพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะในจั งหวัดสุโขทัย ถึง
๔๙๗,๐๓๐,๖๐๓ ราย ส่วนปัญหาอันที่ตามมาผมหารือแล้วก็ฝากไปถึงทางกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ แล้ ว ก็ ก รมส่ ง เสริ ม การเกษตร เพราะว่ า หลั ง จากน้ํ า ลดพี่ น้ อ งเกษตรกร
ได้ ดํ า เนิ น การปลู ก ข้ า วต่ อ ในเดื อ นพฤศจิ ก ายน เดื อ นธั น วาคมนี้ แต่ ท างกรมส่ ง เสริ ม
การเกษตรยังไม่มีการสั่งการในการให้ขึ้นทะเบียนผู้ทําการเกษตรในเรื่องของข้าวเลย ฉะนั้น
ถ้ า พี่ น้ อ งเกษตรกรนํ า ข้ า วที่ จ ะออกประมาณเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ เดื อ นมี น าคมไปจํ า นํ า ต่ อ

สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๒/๒

ไม่สามารถที่จะไปจํานําได้ ก็ฝากถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร


ได้ รี บ สั่ ง การในเรื่ อ งนี้ ไ ปถึ ง ทางเกษตรอํ า เภอ เกษตรจั ง หวั ด แล้ ว โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง
ฝากถึ ง รั ฐ บาลว่ า ทํ า อย่า งไรจะขยายเวลาในเรื่ อ งของการรั บ จํ า นํ า จากเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์
ไปสักอีก ๑ เดือนครับ เพราะพี่น้องที่จังหวัดสุโขทัย ภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลกก็ดี
จังหวัดกําแพงเพชรก็ดี ได้เกิดปัญหาว่ามันจะไม่ทันเพียงเดือนเดียว ก็ฝากถึงทางรัฐบาลด้วย
ในเรื่องของโครงการจํานําของท่านที่กําหนดไว้ที่เดือนกุมภาพันธ์ ขอไปถึงเดือนมีนาคม
เพื่อให้พี่น้องที่ถูกน้ําท่วมที่เริ่มปลูกข้าวใหม่ได้เข้าสู่โครงการจํานําทันครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ขอบคุณครับ
ท่านอํานวย คลังผา ครับ
นายอํานวย คลังผา (ลพบุรี) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ
กระผม นายอํานวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่น
ต้องขอขอบคุณทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะ
ในเรื่องของจํานําข้าว ซึ่งในขณะนี้อําเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี เดิมนั้นก็ได้รับผลกระทบ
ในเรื่องราคาข้าวแต่ก็ได้แก้ปัญหาในเรื่องของจํานําข้าวของรัฐบาลก็ได้ให้พี่น้องประชาชน
มีรายได้เพิ่มขึ้น นี่คือส่วนแรก

- ๓/๑

สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๓/๑

ส่ ว นที่ ๒ ท่ า นประธานครั บ ก็ อ ยากจะฝากถึ ง รั ฐ บาลและโดยเฉพาะ


ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็อยากจะให้ท่านรัฐมนตรี
และรัฐบาลได้ ท บทวนในเรื่ องของวั งน้ํ า เขี ย ว ผมได้ดูข่าวทางที วีแล้ ว ไม่ ส บายใจเลยครั บ
ท่ านประธาน เพราะว่ าในขณะนี้กรมอุ ทยานแห่ งชาติ สั ตว์ ป่าและพั นธุ์ พื ชได้ ไปทํ าการรื้ อถอน
ทุบรีสอร์ทของพี่น้องประชาชน ซึ่งจริง ๆ แล้วพี่น้องประชาชนก็ถูกคําสั่งศาลให้รื้อถอนอยู่แล้ว
แต่สิ่งหนึ่งผมอยากจะฝากทางรัฐบาลได้ให้ท่านรัฐมนตรีให้เป็นค่าเช่า โดยให้ผู้ประกอบการเดิม
ให้เขาเช่ากับรัฐบาล เงินเป็นพัน ๆ ล้านบาทในขณะนี้ไปทุบเสียหายหมด ผมอยากจะให้ทางรัฐบาล
ได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนั้นได้เช่าที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะในด้านแรงงาน
ต่าง ๆ ไม่ว่าเด็กเสิร์ฟหรือพนักงานโรงแรม รีสอร์ทก็ดีจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็อยากจะฝากให้
ท่านประธานแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยระงับ โดยเฉพาะให้ทําเป็นสัญญาเช่าต่อปี
รัฐบาลก็มีรายได้ พี่น้องประชาชนก็มีงานทํา ก็อยากจะฝากให้ทางท่านประธานแจ้งหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องได้เร่งรัดให้หยุดการรื้อถอนของพี่น้องประชาชนหรือรีสอร์ทในวังน้ําเขียวหรือว่า
ทั่วประเทศหลาย ๆ แห่งที่มีการก่อสร้างรีสอร์ทในพื้นที่อุทยานก็ดี จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
และเป็นเงินที่ทางรัฐบาลจะได้นํามาชดเชยอีกส่วนอื่นต่อไป ขอบคุณครับ
นายสมศั ก ดิ์ เกี ย รติ สุ ร นนท์ (ประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร) : ท่ า นวั ช ระ
เพชรทอง ครับ
นายวัชระ เพชรทอง (บัญชีรายชื่อ) : ท่านประธานที่เคารพ ความทุกข์ยาก
ของพี่น้องประชาชนมีทุกวัน กระผม วัชระ เพชรทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธานครับ
เรื่องแรก เจ๊หมวย หมู่บ้านเบญจพร ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งใต้ เขตหนองแขม
และคุณวรพจน์ หมู่บ้านศศิธร ถนนบางบอน ๓ เขตหนองแขม เรียกร้องให้รัฐบาลรีบกําจัดยุง
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากว่ายุงชุมเป็นอันมาก ทุกหนทุกแห่งครับ
ประชาชนไม่มีความสุข
เรื่ อ งที่ ๒ คุ ณ ธวั ช ชั ย ชาติ ไ กรศั ก ดิ์ เขตหนองแขมและพี่ น้ อ งประชาชน
จํานวนมากร้องเรียนว่ายังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือน้ําท่วมบ้านหลังละ ๕,๐๐๐ บาท ขอให้
นายกรัฐมนตรีเร่งดําเนินการ

สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๓/๒

เรื่องที่ ๓ ชาวหนองแขมร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือเงินค่าซ่อมแซมบ้านหลังละ
๓๐,๐๐๐ บาท เท่ากับที่ท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปแจกที่จังหวัดนครสวรรค์
เรื่องที่ ๔ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ เขตภาษีเจริญ คุณกรรณิการ์ น้ําท่วมสูง
ถึง ๒.๕๐ เมตร ที่เขตหนองแขม คุณสุทัศน์น้ําท่วมถึง ๒ เมตร ปรากฏว่าชาวสวนกล้วยไม้
เจ๊งกันเป็นแถบ ๆ เป็นล้านบาท ขอให้รัฐบาลมีมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ชัดเจน
และจะช่วยเกษตรกรผู้ปลูกผักในเขตบางแคอย่างไร
เรื่องที่ ๕ ชาวบ้านและชาวสวนที่ถูกน้ําท่วมนาน ๑-๓ เดือนในภาคกลางและ
กรุงเทพมหานคร ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
เรื่ อ งที่ ๖ ญาติ ป ระชาชนร้ อ งเรี ย นว่ า มี น้ํ า ท่ ว มและคนตายถึ ง ๗๐๐ ศพ
รัฐบาลจะจ่ายให้ศพละ ๑๐ ล้านบาทได้หรือไม่
เรื่องที่ ๗ ชาวฝั่งธนบุรีร้องว่าถนนชํารุดน้ําท่วมจากการที่น้ําท่วมทําให้ถนน
ชํารุด ถนนพุทธมณฑล สาย ๑ สาย ๒ สาย ๓ สาย ๔ สาย ๕ ชํารุด ถนนเพชรเกษมชํารุด
ถนนสายต่าง ๆ ชํารุดนั้น จะถามว่ารัฐบาลจะซ่อมแซมโดยเร็ววันเมื่อไร
เรื่องที่ ๘ ท่านประธานที่เคารพครับ ปรากฏว่าขยะตกค้างเป็นจํานวนมาก
ทั้งในเขตหนองแขม บางแค และภาษีเจริญ รวมถึงเขตรอยต่อกรุงเทพมหานครที่ถนนพุทธมณฑล
สาย ๔ มี ก องขยะสูงเป็ น จํา นวนมาก ต้อ งการให้ ก รุง เทพมหานครและจัง หวัด นครปฐม
เร่งดําเนินการเก็บขยะโดยด่วน ขอขอบคุณ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : เชิญท่านเกียรติ์อุดม
เมนะสวัสดิ์
นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ (อุดรธานี) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย
เขตเลือกตั้งที่ ๖ ท่านประธานที่เคารพ มีชาวบ้านมาร้องเรียนเรื่องน้ํา รัฐบาลได้จัดสรรเงิน
งบประมาณไปขุดลอกลําปาวต่อจากหนองหาน กุมภวาปี ตรงระหว่างบ้านบางปง ตําบลตากทอง
อําเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี ขึ้นมาทางโรงเรียนน้ําตาลสิบาโต้ กุมภวาปี เนื่องจากว่า
งบประมาณของกรมทรัพยากรน้ําได้ไปขุดลอกลําปาว ---------------------------------------------

- ๔/๑

สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๔/๑

ขุดลงลึก แต่ว่าด้านเหนือไม่ได้ขุดทําให้น้ําแห้ง ไม่มีน้ําให้พี่น้องประชาชนและสัตว์เลี้ย ง


ได้อุปโภคและบริโภค เพราะฉะนั้นผมได้สอบถามไปยังผู้อํานวยการฝายกุมภวาปี จนป่านนี้
ยังไม่มีคําตอบจากหัวหน้าฝายกุมภวาปี เพราะฉะนั้นก็เลยฝากท่านประธานที่เคารพไปยัง
กรมทรั พ ยากรน้ํ า หรื อ ว่ า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก ระทรวงใดก็ ไ ด้ ที่ รั บ ผิ ด ชอบ
ฝายกุมภวาปีช่วยเร่งให้ผู้อํานวยการหรือว่าหัวหน้าฝายไปแก้ปัญหาความเดือดร้อนของ
พี่น้องดังกล่าว
ประเด็นที่ ๒ เรื่องถนนไร้ฝุ่นจากทางแยกบ้านหนองไผ่-พรเจริญ เข้าไปบ้านดงง่าม
ตําบลคําโคกสูง อําเภอวังสามหมอ ทะลุออกไปยังบ้านคําโคกสูงลงไปสู่แม่น้ําลําปาวนะครับ
ขอให้กระทรวงคมนาคมช่วยดําเนินการให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : เชิญท่านรัชฎาภรณ์
แก้วสนิท ครับ
นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท (บัญชีรายชื่อ) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
ดิฉัน รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ดิฉันมีเรื่องจะหารือ
ท่านประธานว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ไปจัดสัมมนาของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง
การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมีผู้ที่ทําหน้าที่สื่อแล้วก็มีผู้นําชุมชน
มาร่ ว มในการสั ม มนา ดิ ฉั น ได้ รั บ เรื่ อ งร้ อ งเรี ย นว่า พี่ น้ อ งที่ เ ป็ น ชาวนาได้ นํ า ข้ า วไปจํ า นํ า
เขามาร้องเรียนว่าเขาไปจํานําข้าวตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน จนที่ดิฉันไปเมื่อวันที่ ๑๖
เขายังไม่ได้รับใบประทวนเลย เพราะฉะนั้นก็ทําให้พี่น้องประชาชนก็ยังไม่ได้รับเงินค่าจํานําข้าว
แล้วอีกกรณีหนึ่งก็มีชาวบ้านอยู่ตําบลตับเต่า อําเภอเทิงของจังหวัดเชียงราย
เขาอยู่บนพื้นที่สูง เขาก็มาร้องเรียนนะคะว่าตอนที่รัฐบาลประกาศรับจํานําข้าวแล้วให้เขามา
ขึ้ น ทะเบี ย นเกษตรกรนี่ เ ขาก็ ม าขึ้ น ทะเบี ย นเกษตรกรได้ เ รี ย บร้ อ ยครบถ้ ว นทุ ก อย่ า ง
แต่ถึงเวลาที่เขานําข้าวไปจํานําเป็นข้าวเจ้า ปรากฏว่าโรงสีไม่รับจํานําอ้างว่าเป็นข้าวไร่
เขารับจํานําเฉพาะข้าวนา ข้าวไร่ไม่รับจํานํา แล้วก็ถ้าเป็นข้าวไร่นี่โรงสีรับซื้อไม่รับจํานํา
แล้วก็ซื้อ ๑๐,๐๐๐ บาท ในขณะที่ของคนอื่นถ้าเป็นข้าวนาเหมือนกันนี่จะได้ ๒๐,๐๐๐ บาท
เพราะฉะนั้นพี่น้องก็ไม่ขาย แต่เขาก็จํานําไม่ได้ เขาก็ร้องเรียนว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม
แล้วถึงขณะนี้เขาก็ยังไม่ขายแล้วก็ยังไม่ได้รับจํานําเลย ก็ฝากรัฐบาลด้วยค่ะ มันเป็นกรณี
ที่แ ตกต่ า งกั น ในแต่ ล ะพื้ น ที่ น ะคะ ก็ ร วบรวมแล้ ว ก็ แ ก้ ปั ญ หาให้ พี่ น้ อ งประชาชนด้ ว ยค่ ะ

สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๔/๒

เพราะว่าเขาก็เปรียบเทียบว่าถ้าเป็นสมัยประกันรายได้นี่ป่านนี้เขาได้เงินประกันไปแล้วนะคะ
แล้วก็ต้องบอกเขาว่าเขาต้องรับผิดชอบที่เขาตัดสินใจ เพราะฉะนั้นฝากรัฐบาลดูแลให้เขา
ด้วยค่ะ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ท่านนิยม วรปัญญา
ครับ ท่านพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ครับ ท่านสหรัฐ กุลศรี ครับ ท่าน กุสุมาลวตี ศิริโกมุท ครับ
นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท (มหาสารคาม) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ
ดิฉัน กุสุมาลวตี ศิริโกมุท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม ดิฉันขอกราบเรียน
หารือท่านประธานในเรื่องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคามนะคะ เนื่องจาก
ภูมิศาสตร์ของจังหวัดมหาสารคามนั้นถือว่าเป็นจุดกึ่งกลางของภาคอีสานค่ะ โดยกรมแผนที่ทหาร
ได้วัดแล้ว ๔๘ องศา ๑๑ ลิปดา ซึ่งถือว่าเป็นสะดืออีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ออกแบบ
วางแผนแม่บทในการทํา -------------------------------------------------------------------------------

- ๕/๑

สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๕/๑

โครงการสะดืออีสานให้เป็นเอดูเทนเมนท์ (Edutainment) เพื่อที่จะให้ลูกหลานชาวอีสาน


ได้เรียนรู้ ซึ่งในโครงการนี้นั้นมีหอดูดาว มีพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ําด้วยนะคะ ในรัฐบาลท่านอดีต
นายกรั ฐ มนตรี พั น ตํ า รวจโท ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร ได้ เ ห็ น ชอบในโครงการนี้ แ ล้ ว ได้ อ นุ มั ติ
งบประมาณแล้ ว แต่ เ มื่ อ มี ก ารปฏิ วั ติ ง บประมาณถู ก ตั ด ไปค่ ะ ดิ ฉั น เห็ น ว่ า โครงการนี้
จะเป็นประโยชน์ในการที่จะสร้างการท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนให้จังหวัดมหาสารคาม
รวมทั้งจังหวัดมหาสารคามนั้นเป็นพุทธมณฑลอีสานก็คือมีพระธาตุนาดูนด้วย เพราะฉะนั้น
ตรงนี้ ดิฉัน จึ งอยากขอกราบเรี ย นท่านประธานผ่านไปยัง การท่องเที่ ย วแห่งประเทศไทย
และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อที่จะมาดูแลบรรจุแผนเพื่อที่จะให้มีการท่องเที่ยว
เกิดขึ้นในจังหวัดมหาสารคามค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ท่านรุ่งโรจน์
ทองศรี ครับ
นายรุ่งโรจน์ ทองศรี (บุรีรัมย์) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม รุ่งโรจน์
ทองศรี สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด บุ รี รั ม ย์ เขต ๘ พรรคภู มิ ใ จไทย ขออนุ ญ าต
ที่จะหารือท่านประธานในเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ โดยเฉพาะ
อํ า เภอบ้ า นกรวด จัง หวัด บุรี รั ม ย์ ซึ่ง ถนนหลายสายหลั ง จากที่ น้ํ า ท่ ว มมาแล้ ว ปรากฏว่ า
มาถึงวันนี้ถนนไม่สามารถที่จะวิ่งได้นะครับ แม้ว่ากรมทางหลวงเองแขวงการทางจะเข้าไป
ดํา เนินการซ่ อม ปะ แต่ว่าเนื่องจากความเสียหายนี้ เสี ยหายมาก โดยเฉพาะกรมทางหลวง
หมายเลข ๒๑๙ ซึ่ ง เป็ น สายหลั ก สายเดี ย วที่ เ ข้ า สู่ ตั ว อํ า เภอบ้ า นกรวดและสายนี้
เป็ น สายยุ ท ธศาสตร์ ที่ เ ชื่ อ มต่ อ มาทางฝั่ ง ตะวั น ออกหรื อ อี ส เทิ ร์ น ซี บ อร์ ด (Eastern
Seaboard) ระยะทางประมาณเกือบ ๑๐ กิโลเมตร ก็ต้องฝากท่านประธานไปถึงรัฐบาล
ถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ช่ วยไปดํา เนินการ จริงอยู่ ว่า ปั ญหาน้ํ าท่ว ม
ภาพรวมของประเทศเราในภาคกลางและปริมณฑลซึ่งหนักหนาสาหัสงบประมาณส่วนใหญ่
จะลงที่ นี่ แต่ ก็ ฝ ากรั ฐ บาลว่ า ในบางพื้ น ที่ ถึ ง แม้ ว่ า จะเป็ น ภาคอี ส านของเราซึ่ ง เสี ย หาย
ก็ช่วยกรุณาจัดงบประมาณบ้างในการไปซ่อมแซม อีกจุดหนึ่งท่านประธานครับ ๓๔๘ ช่องตะโก
เมื่ อช่ วงเช้ าผมเองได้ มี โอกาสคุ ยกั บท่ านผู้ ว่ าราชการจั งหวั ดสระแก้ วว่ า ตรงช่ วงคอขวด
ประมาณ ๓ กิ โ ลเมตร ถ้ า เป็ น ไปได้ ข ยายเป็ น ๖ เลน ระยะทางประมาณ ๓ กิ โ ลเมตร
เพราะว่ า ช่ ว งนี้ เ ป็ น ช่ ว งที่ เ ป็ น ทางเลี่ ย งทางหนึ่ ง ในการที่ เ ชื่ อ มต่ อ ภาคตะวั น ออกและ
๑๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๕/๒

กรุงเทพมหานครก็ต้องขอฝากด้วย เพราะว่าภาคอีสานเป็นภาคที่ทางรัฐบาลเองก็ต้องให้
ความสนใจดูแลในการแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนด้วยครับ ขอกราบขอบพระคุณมากครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : เชิญท่านนิยม
วรปัญญา ครับ
นายนิยม วรปัญญา (บัญชีรายชื่อ) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ
ผม นิยม วรปัญญา ส.ส. ลพบุรี แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพ
ผมเองได้รับการร้องเรียนจากราษฎรจํานวนมากทั้งจังหวัดลพบุรีและจั งหวั ดเพชรบูร ณ์
มีความเดือดร้อนเรื่องผลกระทบจากภัยพิบัติน้ําท่วม ถนนที่รอ้ งมา ๕๑ สาย แล้วก็มีแหล่งน้ํา
แล้วก็ลุ่มแม่น้ําป่าสัก ลําเหียง ลําภาค ลําสนธิ แล้วก็ลําคลองไทร รายละเอียดนั้นผมจะขอส่ง
เป็นหนังสือ เพราะว่ามันเขียนแล้วถ้าจะเอาตามนั้นมาเสนอก็จะไม่ทั่วถึง ทั้งหมดก็มีอยู่
๙ รายการสําคัญ ๆ ๙ หมวดด้วยกันครับ ท่านประธานครับ ปีนี้น้ําท่วมครั้งนี้เสียหายมาก
ถนนบางแห่งปัจจุบันนี้ไม่ได้ซ่อมเลยครับ สายที่ยังไม่ได้ซ่อมจะยกตัวอย่างเช่น เส้นสายจาก
วัดเขาตําบล ไปลําภาค ไปน้ําร้อน ไปวิเชียรบุรี รถยังผ่านไม่ได้เลย ต้องวิ่งแยกอ้อมเอา
ไปได้แต่ต้องวิ่งแยกอ้อมเอา แต่ว่าขนอ้ อย ขนข้ าวเปลือก ขนมัน สําปะหลัง ขนข้าวโพด
ทีนี้ค่าใช้จ่ายก็สูงคนก็ยากจนอยู่แล้วก็อยากจะให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น -----------

- ๖/๑
๑๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๖/๑

ทางทหารก็มีทหารช่าง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยก็มีเครื่องจักร กรมทางหลวงชนบท


ก็มีเครื่องจักร แล้วทางหลวงแผ่นดินก็มีเครื่องจักร ก็อยากจะขอหน่วยงานต่าง ๆ ไปช่วย
ให้รีบปรับปรุงให้ใช้การได้ เพราะฉะนั้นผมขออนุญาตส่งเป็นหนังสือนะครับ เพราะถ้าหมดมาก
ท่านประธาน ขอบคุณมากครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ท่านอภิชาต
ศักดิเศรษฐ์ครับ
นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ (นครศรีธรรมราช) : กราบเรียนท่านประธานสภา
ที่เคารพ กระผม นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดนครศรีธรรมราช
เขตเลือกตั้งที่ ๑ พรรคประชาธิปัตย์ กระผมขอหารือท่านประธาน ๓ เรื่องนะครับ
เรื่องแรก ก็คือขอให้ประธานได้เร่งรัดไปยังรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในการตอบกระทู้
ในราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากว่าในสมัยประชุมที่แล้วมีกระทู้ที่จะต้องตอบในราชกิจจานุเบกษา
๑๔๗ กระทู้ ไม่ ไ ด้ ต อบเลยแม้ แ ต่ ก ระทู้ เ ดี ย วนะครั บ แล้ ว กระทู้ ถ ามทั่ ว ไปที่ ต้ อ งตกไป
ตามข้อบังคับอีกหลายสิบฉบับจะต้องไปสมทบรวมกัน ก็ขอให้ประธานเร่งรัดในเรื่องนี้ด้วย
เพราะว่าเป็นไปตามข้อบังคับ ข้อ ๑๖๑
เรื่องที่ ๒ พี่น้องชาวชุมชนชายทะเลอยู่ในเขตเทศบาลตําบลปากนคร อําเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับความเดือดร้อนจากน้ําทะเลกัดเซาะชายฝั่งซึ่งอยู่บริเวณสะพานตัวที
บริเวณนั้นเป็นแหล่งที่อยู่ของพี่น้องชาวชุมชนชายทะเลซึ่งเป็นชาวประมงและเป็นแหล่งท่องเที่ยว
พนั งกั้นคลื่ นชํ ารุ ดเสี ยหายเมื่ อเข้ าสู่ ฤดู มรสุ ม เทศบาลตํ าบลปากนครเองก็ ไม่ มี งบประมาณ
เพียงพอที่จะจัดสรรมาซ่อมแซม ก็ขอให้หารือไปยังกรมเจ้าท่าเพื่อดําเนินการซ่อมแซมด้วย
เรื่องที่ ๓ ครับท่านประธาน พี่น้องผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะพี่น้องชาวสวนยางพารา
ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันนี้บริโภคกาแฟสําเร็จรูปเป็นจํานวนมาก แล้วก็มี ๒ ยี่ห้อดัง
ที่แข่งขันกัน ยี่ห้อหนึ่งก็เป็นซองสีแดง ซึ่งพี่น้องที่เป็นผู้ใช้แรงงานเรียกว่า เสพติดกาแฟ
สําเร็จรูปทรีอินวัน (Three in one) กันอย่างมาก บางคนใช้กาแฟยี่ห้อนี้กินรวมกับใบกระท่อม
แล้วก็เคี้ยวกลืน บางคนก็ติดหนักถึงขนาดว่าต้องดื่มวันละ ๔-๕ แก้ว ก็อยากจะให้สํานักงาน
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไปตรวจสอบคุณสมบัติของกาแฟประเภทนี้ แล้วก็ให้ทาง อย.
เข้าไปดูแลเรื่องนี้ด้วย เพื่อให้สุขภาพของพี่น้องประชาชนที่เสพกาแฟเหล่านี้มีความปลอดภัย
ขอบคุณครับ
๑๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๖/๒

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ขอบคุณครับ


เรื่องกระทู้ก็ฝากท่านเลขาธิการด้วยนะครับ เชิญท่านพิษณุ หัตถสงเคราะห์
นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานที่เคารพครับ
กระผม พิษณุ หัตถสงเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดหนองบัวลําภู ใคร่ขอหารือ
ท่านประธาน ๓-๔ ประเด็นด้วยกัน
ประเด็นแรก เรื่องของการรับจํานําข้าว เนื่องจากว่าขณะนี้ทางรัฐบาลเอง
ได้ออกรับจํานําแต่ว่ามีปัญหา เมื่อพี่น้องประชาชนนําข้าวไปจํานํานะครับ มีบางแปลงที่นาติดกัน
แต่ว่าได้ราคาการรับจํานําต่างกัน ก็ฝากให้ท่านประธานดูที่ส่วนที่รับผิดชอบด้วย
เรื่องที่ ๒ ครับ เรื่องของปัญหาโรงงานน้ําตาลในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลําภู
ชาวบ้านเข้าคิวใช้เวลาเกือบจะสัปดาห์หรือ ๒ สัปดาห์เพื่อที่จะลงอ้อยครับ ใช้เวลานานมาก
ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล แล้วก็รถอ้อยที่บรรทุกน้ําหนักมาก ๆ เพราะว่าต้องไปรอนาน
ก็เลยบรรทุกหนักมาก ก็ส่งผลให้ถนนในพื้นที่เสียหายเยอะ
เรื่องที่ ๓ ครับ ให้ทางรัฐบาลช่วยติดตามเรื่องของถนนที่เกิดความเสียหาย
จากพายุในรอบปีที่ผ่านมา ตอนนี้ก็มีหลายเส้นที่ไม่สามารถสัญจรได้ ผมก็จะส่งเป็นหนังสือ
ถึงท่านประธานต่อไปนะครับ
เรื่องที่ ๔ อยากให้ทางรัฐบาลส่งเสริมเรื่องกีฬา โดยเฉพาะเยาวชนไทยหันมา
ทําการกีฬากันเยอะ ๆ โดยเฉพาะนั ก กีฬาอาชีพเช่ น มวยสากลหรือมวยไทยนี่ กระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬาน่าจะสนับสนุนอุปกรณ์ให้เยาวชนเหล่านั้นได้ห่างไกลยาเสพติด
เรื่องสุดท้ายครับ เรื่องของอากาศ ท่านประธาน ช่วงนี้อากาศในภาคอีสาน
ค่อนข้างหนาวก็ขอฝากรัฐบาล โดยเฉพาะกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยช่วยดูเรื่องของ
ผ้าห่มให้กับคนชราแล้วก็เด็กด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประสานสภาผู้แทนราษฎร) : ท่านพิมพ์ภัทรา
วิชัยกุล ครับ

- ๗/๑
๑๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๗/๑

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล (นครศรีธรรมราช) : กราบเรียนท่านประธานสภา


ที่ เคารพ ดิ ฉั น นางสาวพิ มพ์ ภั ทรา วิ ชั ยกุ ล สมาชิ กสภาผู้ แทนราษฎร พรรคประชาธิ ปั ตย์
จังหวัดนครศรีธรรมราชค่ะ เนื่องจากดิฉันได้รับหนังสือจํานวน ๒ ฉบับจากนายวิโรจน์ พิมเสน
ดํารงตําแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตําบลสระแก้ว อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตําบลสระแก้วได้รับเรื่องแจ้งความเดือดร้อนจากราษฎร หมู่ ๓
บ้านเราะ ตําบลสระแก้ว ซึ่งประสบปัญหาเดือดร้อนเนื่องจากคลื่ นทะเลได้กัดเซาะตลิ่ ง
ริมฝั่งทะเลบ้านเราะ ตอนนี้ท่านประธานคะ ถ้าไปดูบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย เราโดนกัดเซาะไป
ต่อปีประมาณ ๕ เมตร กินชายฝั่งเข้ามานับตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
ลงไปถึงจังหวัดสงขลาค่ะ สําหรับพื้นที่ที่มีปัญหาก็คือบ้านเราะ หมู่ ๓ ตอนนี้ปัญหากัดเซาะ
เข้ามาถึงบริเวณถนน ถนนชื่อสายโคกตะเคียน ถึงท่าสูงบน ถนนสายดังกล่าวต้องใช้สัญจร
ไปมากว่า ๓ ตําบลค่ะ ตําบลสระแก้ ว ตําบลท่าขึ้น และตําบลท่ าศาลา ของอําเภอท่าศาลา
ซึ่งมีประชากรที่ใช้สัญจรไปมากว่า ๑,๙๐๐ ครัวเรือนค่ะ ซ้ําไปกว่านั้นตอนนี้น้ําทะเลกัดเซาะ
บริเวณชายฝั่งมาถึงถนน เหลืออีกนิดเดียวจะไปถึงหน้าเมรุวัดโคกตะเคียนแล้วค่ะ ดิฉันก็เลย
นําเอกสารที่เขานําส่งดิฉันมาผ่านไปยังท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งให้กรมเจ้าท่าส่งเจ้าหน้าที่ลงไปช่วยบรรเทาปัญหาเบื้องต้น แก้ไขปัญหาเร่งด่วนก่อน
เนื่องจากไปกระทบเส้นทางการจราจรนะคะ พร้อมทั้งต้องมีนโยบายแก้ไขปัญหาระยะยาว
ตอนนี้ ช ายฝั่ ง นครศรี ธ รรมราชเจอปั ญ หาอย่ า งหนั ก กั บ การกั ด เซาะชายฝั่ ง จึ ง นํ า เรี ย น
ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาระยะยาว
ด้วยค่ะ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ท่านประสิทธิ์
วุฒินันชัย ครับ เชิญท่านเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม
นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม (อุดรธานี) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย
เขต ๘ ขอกราบเรี ย นหารื อ ท่ า นประธาน เนื่ อ งจากก่ อ นอื่ น ต้ อ งขอขอบคุ ณ ทางรั ฐ บาล
ที่ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเยียวยาพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยและได้ผลักดันนโยบายที่ทางรัฐบาล
ได้เสนอต่อพี่น้องประชาชนทยอยลงไปแล้ว
๑๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๗/๒

เรื่องที่ ๒ ก็อยากฝากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ
เรื่องภัยหนาวครับ ตอนนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยของเรามี ๓ ฤดู แต่ถ้าตามโบราณ
แล้วมันจะเรียกว่าหน้า มี ๔ หน้านะครับ คือหน้าร้อน หน้าฝน หน้าน้ํา ซึ่งผ่านไปเมื่อสักครู่นี้
แล้ ว ก็ ห น้ า หนาวครั บ หน้ า หนาวเข้ า มาแล้ ว ความเดื อ ดร้ อ นของพี่ น้ อ งซึ่ ง อยู่ ใ นชนบท
ผู้อยู่ห่างไกล ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องประชาชน แม้แต่ลูกหลานเยาวชน นักเรียนก็ขาดเครื่องห่ม
กันหนาว อยากฝากทางป้องกันภัยแล้วก็กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ตลอดจนมหาดไทยได้ลงไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากว่าได้รับการร้องเรียนมา
เกือบทุกหมู่บ้าน ทุกตําบล แม้แต่ทุกจังหวัด กรุงเทพมหานครเองก็ยังบ่นว่าเริ่มหนาวแล้ว
ในปีนี้นะครับ
เรื่ อ งที่ ๓ ก็ คื อ เรื่ อ งการพั ก หนี้ เ กษตรกรซึ่ ง มี ปั ญ หามากในหลายพื้ น ที่
ก็อยากฝากทางรัฐบาลว่าให้ทางธนาคารและหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหา
พี่น้องซึ่งส่วนมากก็ประสบอุทกภัยแล้วก็ต้องเดือดร้อนถ้าไม่ได้รับการพักหนี้ ตรงนี้ก็ฝาก
ทางผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ขอบคุณครับ
นายสมศั กดิ์ เกี ยรติ สุ รนนท์ (ประธานสภาผู้ แทนราษฎร) : ท่ านมั ลลิ กา
จิระพันธุ์วาณิช
นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช (ลพบุรี) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ
ดิ ฉั น มั ล ลิ ก า จิ ร ะพั น ธุ์ ว าณิ ช สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด ลพบุ รี พรรคภู มิ ใ จไทย
วันนี้มีเรื่อง ๒ เรื่องที่จะนําเรียนท่านประธานคือ

- ๘/๑
๑๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๘/๑

เรื่องที่ ๑ เกี่ยวกับความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ที่แจ้งเวลาการเก็บเกี่ยว


ในช่วงวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๖ ตุลาคม ปรากฏว่าเกษตรกรที่แจ้งการเก็บเกี่ยวอยู่ในกลุ่มตรงนี้
ยังไม่ได้รับการช่วยเหลืออะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นค่าชดเชยเวลาน้ําท่วมหรือว่าเงินเยียวยา
ที่จะได้ให้ตันละ ๑,๔๓๗ บาท ฝากท่านประธานไปถึงท่านนายกรัฐมนตรี เพราะว่าเกษตรกร
ที่อยู่ในช่วงตรงนี้ยังไม่ได้รับการเยียวยาไม่ว่าด้านใด ๆ ขอให้มีคําสั่ง แล้วก็มีหนังสือสั่งการ
โดยเร่ ง ด่ ว น เพราะว่ า ช่ ว งก่ อ นวั น ที่ ๓๐ กั น ยายน เขาได้ รั บ ๒ อย่ า ง ได้ ทั้ ง เงิ น ชดเชย
และได้ ทั้ ง เงิ น เยี ย วยา ส่ ว นเกษตรกรที่ แ จ้ ง ว่ า เก็ บ เกี่ ย วช่ ว ง ๗ ตุ ล าคมก็ จ ะเข้ า ไปอยู่ ใ น
โครงการของการรับจํานําของรัฐบาล ตรงนี้ก็ขอฝากท่านประธานไว้คือเรื่องที่ ๑
ส่วนเรื่องที่ ๒ จากภาวะน้ําท่วมถนนที่อยู่ในอําเภอบ้านหมี่ จากสายตําบลบางงา
ไปที่อําเภอบ้านหมี่เสียหายตลอดทั้งเส้น ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของแขวงการทางสิงห์บุรี
ฝากท่านประธานว่าจะมีงบที่ลงไปในการดู แลซ่ อมแซมงบประมาณ แต่ในขณะเดี ยวกั น
เพื่อที่จะให้ไม่ให้เสียงบประมาณขอให้พิจารณาถึงการขอขยายเป็น ๔ ช่องจราจรไปเลย
จะได้เป็นการทํางานครั้งเดียว เพราะว่าถนนเส้นนี้ก่อนหน้าน้ําท่วมมีการบูรณะซ่อมแซม
ตลอดสายไปแล้ว หลังจากที่ทําได้ประมาณ ๕-๖ เดือนก็เกิดภาวะน้ําท่วม ดังนั้นเพื่อที่จะให้
เม็ดเงินทุกอย่างเกิดประสิทธิภาพอย่างสมบูรณ์แบบ ฝากท่านประธานนําเรียนท่านรัฐมนตรีว่า
ถ้าอย่างไรก็ซ่อมแซมแล้วก็ขยายช่องจราจรด้วยเลยจะเป็นสิ่งที่ดีนะคะ ขอบพระคุณค่ะ
นายสมศั ก ดิ์ เกี ย รติ สุ ร นนท์ (ประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร) : นายสหรั ฐ
กุลศรี
นายสหรัฐ กุลศรี (สุพรรณบุรี) : ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ
กระผม สหรัฐ กุลศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี เขต ๕ พรรคเพื่อไทย
ผมได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านตําบลยางนอน อําเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
เนื่องจากเขาขายข้าวไม่ได้ราคา เนื่องจากว่าในขณะนี้ในพื้นที่ตําบลยางนอนนั้นมีการรับซื้อ
ข้ า วอยู่ ใ นราคาเกวี ย นละประมาณ ๘,๐๐๐ บาทเศษ ซึ่ ง ราคาจํ า นํ า ควรจะได้ ป ระมาณ
๑๕,๐๐๐ บาท เพราะฉะนั้ น วั น นี้ ช าวบ้ า นจึ ง ร้ อ งเรี ย นมาเพื่อ ที่ จ ะให้ก ระทรวงพาณิ ช ย์
และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่รับผิดชอบช่วยดําเนินการที่จะพยุงราคาข้าวให้ได้ราคา
ตามที่รัฐบาลกําหนด
๑๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๘/๒

เรื่องที่ ๒ เมื่อเช้านี้ผมได้รับการร้องเรียนจากพื้นที่ข้างเคียงคือจังหวัดอ่างทอง
โดยเฉพาะชาวตําบลสีบัวทอง อําเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากว่า
ในขณะนี้เขาได้รับเงินส่วนต่างเพีย งประมาณแค่ ๘๐๐ บาท ซึ่งเขาได้ รับความแปลกใจ
เป็นอย่างสูงว่าทําไมเขาจึงได้แค่นี้ เพราะฉะนั้นวันนี้จึงฝากร้องผ่านมายังสภาผู้แทนราษฎร
ให้ผู้ที่รับผิดชอบโดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ช่วยดําเนินการ
แก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวด้วยครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ท่านบุณย์ธิดา
สมชัย
นางสาวบุณย์ธิดา สมชัย (อุบลราชธานี) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
ดิฉัน บุณย์ธิดา สมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์
ท่านประธานคะ วันนี้ดิฉันมีเรื่องหารือสําคัญ ๆ อยู่ ๑-๒ เรื่อง
เรื่องแรก เกี่ยวเนื่องจากการรับจํานําข้าว ประชาชนในเขตอําเภอพิบูลมังสาหาร
อําเภอสว่างวีรวงศ์ และอําเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีเรื่องร้องเรียนมายังดิฉัน
เพราะว่าจากที่มีนโยบายเรื่องการรับจํานําข้าวและได้มีการโฆษณาเชื้อเชิญให้ประชาชน
นําข้าวไปจํานํา และบอกว่าหลังจากที่นําข้าวไปจํานําแล้วจะได้รับเงินภายใน ๓ วันหลังจากที่
ท่านนําข้าวไปจํานํา แต่ในขณะนี้มีหลายคนได้เข้ามาแจ้งกับดิฉันว่า ถึงขณะนี้เลยระยะเวลา
มากกว่า ๓ วัน บางท่านเกือบ ๒ เดือนถึงจะได้รับเงินในการเข้าโครงการรับจํานําหลังจากที่
โดนหักค่าต่าง ๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ท่านประธาน แล้วก็เรื่องต่อเนื่องจากการรับจํานําค่ะ
ท่านประธาน หลังจากที่รับเงินแล้วเกษตรกรบางรายปิดบัญชีธนาคารกับของทาง ธ.ก.ส.

- ๙/๑
๑๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๙/๑

ได้รับเงินจํานําผ่านทาง ธ.ก.ส. บางท่านมีหนี้อยู่ติดที่กับ ธ.ก.ส. ซึ่ง ธ.ก.ส. ยังไม่ได้แจ้งล่วงหน้าว่า


จะนําเงินที่ได้จากการจํานําข้าวของเกษตรกรไปหักหนี้เลยไม่ได้แจ้งให้เกษตรกรได้รับทราบล่วงหน้า
แล้วพอเกษตรกรจะไปเบิกเงินกับทาง ธ.ก.ส. ก็บอกว่าได้หักหนี้ที่ท่านยังคงค้างอยู่กับ ธ.ก.ส.
หมดเรียบร้อยแล้ว ทีนี้ประชาชนก็ไม่สามารถจะนําเงินออกมาเพื่อจะเตรียมในการทํานา
ในฤดูต่อไปได้ค่ะท่านประธาน เรื่องนี้คือขอฝากไว้ค่ะ แล้วก็หลาย ๆ ท่านไปสอบถามกับทาง
ธ.ก.ส. ธ.ก.ส. ก็บอกว่ายังไม่มีนโยบายที่จะให้เกษตรกรได้ยื่นกู้เพิ่มในช่วงนี้ ก็ขอให้ท่านประธาน
ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลส่วนตรงนี้ด้วย เพราะประชาชนตอนนี้ไม่มีเงินที่จะ
เตรียมในการทํานาในฤดูต่อไปนะคะท่านประธาน ขอบพระคุณค่ะ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ชมภู จันทาทอง
นางชมภู จันทาทอง (หนองคาย) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
ดิ ฉั น นางชมภู จั น ทาทอง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด หนองคาย พรรคเพื่ อ ไทย
ท่านประธานคะ ช่วงปิดสมัยประชุมของผู้แทนราษฎรนั้นดิฉันก็ออกไปเยี่ยมพี่น้องประชาชน
ในเขตพื้นที่อําเภอสังคม ท่านประธานคะ ก็ได้ไปเยี่ยมพี่น้องและได้รับการร้องเรียนจากพี่น้อง
หมู่ ๑ บ้านนางิ้ว ตําบลนางิ้ว อําเภอสังคม ท่านประธานคะ และบังเอิญดิฉันก็ไปยืนอยู่ใกล้ ๆ
ตรงที่เกิดเหตุด้วยนะคะ เนื่องจากปีนี้เป็นปีที่มีพายุฝนกระหน่ําแต่ละจังหวัดนั้นเป็นอย่างมาก
ตรงนั้นจะมีฝายของกรมเจ้าท่าของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ เขาเรียกว่าฝายกั้นห้วยนางิ้ว
น้ํ ามั นเยอะมากบ้ านนี้ เป็ นบ้ านที่ มี ภู เขาสู งรั บน้ํ าไม่ ไหว มั นก็ กระเด็ นออกไปข้ าง ๆ ทํ าให้
ข้างห้วยน้ําล้นนั้นเกิดกัดเซาะทําให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง ไม่ว่าทรัพย์สินของพี่น้อง
ประชาชนนั้นเกิดความเสียหายมาก ก็อยากฝากท่านประธานผ่านไปยังกรมทรัพยากรน้ํา
และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ออกไปตรวจสอบและแก้ไขปั ญหา
ในการเสียหาย แล้วก็ทําให้พี่น้องประชาชนนั้นเดือดร้อนด้วย
เรื่ อ งที่ ๒ ที่ ดิ ฉั น จะนํ า มากราบเรี ย นท่ า นประธานผ่ า นไปยั ง หน่ ว ยงาน
ที่ รั บ ผิ ด ชอบก็ คื อ ปี นี้ เ ป็ น ปี ที่ ห นาวจั ด ในเขตพื้ น ที่ ดิ ฉั น นั้ น ไม่ ว่ า อํ า เภอหลาย ๆ อํ า เภอ
โดยเฉพาะอําเภอสังคมเหมือนกันนะคะเพราะว่ามีภูเขามากหนาวจัด อยากฝากกระทรวง
หน่วยงานที่รับผิดชอบในการที่จะเยียวยาเอาผ้าห่มหรือว่าสิ่งกันหนาวไปให้พี่น้องประชาชน
ที่ ร ากหญ้ า แล้ ว ก็ ไ ด้ รั บ ความเดื อ ดร้ อ น อยากให้ ฝ ากเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ความหนาของผ้ า ห่ ม
แล้ ว ก็ ข นาดของผ้ า ห่ ม ด้ ว ย ซึ่ ง รั ฐ บาลนี้ เ ป็ น รั ฐ บาลที่ ดู แลรากหญ้ าอย่ างดี อยู่ แล้ วนะคะ
๑๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๙/๒

ก็อยากฝากให้ไปปรับปรุงเรื่องขนาดของผ้าห่มแล้วก็ความหนา ซึ่งจะเป็นการกันความหนาว
ให้พี่น้องประชาชนได้ ขอบคุณค่ะ
นายสมศั ก ดิ์ เกี ย รติสุ ร นนท์ (ประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร) : ท่ า นสุ พั ช รี
ธรรมเพชร ครับ
นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร (พัทลุง) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน
สุพัชรี ธรรมเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ดิฉันขออนุญาต
หารือท่านประธานด้วยกัน ๒ เรื่องนะคะ
เรื่ อ งแรก วั น นี้ จั ง หวั ด พั ท ลุ ง เราเป็ น เมื อ งแห่ ง การกี ฬ าเป็ น จั ง หวั ด ที่ เ รา
ให้ ค วามสํ า คั ญ ในเรื่ อ งของการกี ฬ าเป็ น อัน ดับ หนึ่ง แต่ว่ า ณ ปั จจุ บั น นี้ ส นามกี ฬ ากลาง
จังหวัดพัทลุงมีความทรุดโทรมมาก การจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของภาคส่วนต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นภาคส่วนของเอกชน ภาคส่วนของรัฐบาลในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับจังหวัด
ระดับภาคและระดับประเทศสามารถต้องเข้ามาใช้ในสนามกีฬาจังหวัดพัทลุงอยู่ตลอดเวลา
ณ ปัจจุบันอัฒจันทร์ก็ดี ในส่วนของระบบไฟของสนามฟุตบอลก็ดีตอนนี้ชํารุด ก็เลยอยากจะ
ฝากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาช่วยดูในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณ
ให้กับสนามกีฬาจังหวัดพัทลุงด้วยค่ะ
เรื่องที่ ๒ วันนี้พี่น้องชาวตําบลเขาชัยสน อํ าเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ได้ รั บ ความเดื อ ดร้ อ นในเรื่ อ งของถนนหนทาง ถนนสายชลประทาน-โคกยาง หมู่ที่ ๑๔
ตําบลเขาชัยสนไปถึงหัวสะพานครูไสว หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ ตําบลเขาชัยสน ซึ่งเป็นถนนเส้นหลัก
ที่พี่น้องชาวตําบลเขาชัยสนใช้เดินทางสัญจรไปมา วันนี้ยังเป็นถนนลูกรังอยู่ อยากจะให้
ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวงชนบทก็ดี หรือว่าในส่วนขององค์กร
ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ช่ ว ยดู แ ลในเรื่ อ งของการจั ด หางบประมาณที่ จ ะทํ า ถนนลาดยาง
หรือคอนกรีตให้กับพี่น้องชาวตําบลเขาชัยสนด้วยค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ

- ๑๐/๑
๑๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ธัญรดา ๑๐/๑

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ท่านประสิทธิ์


วุฒินันชัย ครับ ท่านวิรัตน์ วิริยะพงษ์
นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ (สุโขทัย) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม
นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ผมมีเรื่อง
หารือท่านประธานอยู่ ๓ เรื่อง
เรื่ อ งแรก ก็ คื อ เรื่ อ งการก่ อ สร้ า งถนนลาดยางสายเลี ย บคู เ มื อ งชั้ น ในของ
อุ ท ยานประวั ติ ศาสตร์ สุ โขทั ย ตํ าบลเมื องเก่ า อํ าเภอเมื อง จั งหวั ดสุ โขทั ย ซึ่ งยั งมี ปั ญหา
ในด้านการก่อสร้างอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกตั้งแต่ประตูศาลปู่ผาดํา ข้างบ้านนายแบค
ถึงชุมชนบ้านเหนือยังไม่มีถนน เป็นลักษณะถนนลาดยาง ซึ่งการจัดงานประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ
ที่ผ่านมาก็ประสบปัญหาในเรื่องการจราจร ผมพูดในสภาหลายครั้งแล้วก็ฝากไปยังกระทรวงวัฒนธรรม
กรมศิลปากรได้พิจารณาในเรื่องนี้ด้วย
เรื่องที่ ๒ ขอให้ทางกรมทางหลวงแผ่นดินขอไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณทางหลวง
หมายเลข ๑๓๑๘ หมู่ที่ ๙ ตําบลสามเรือน อําเภอศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งบริเวณทางโค้งนี้
ไม่มีไฟฟ้าแสงสว่าง เกิดอุบัติมากครับ ได้มีการร้องเรียนจากทางสมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบล
หมู่ที่ ๙ ตําบลสามเรือน อยากให้กรมทางหลวงได้ไปดําเนินการด้วยนะครับ
เรื่องที่ ๓ โรงเรียนอนุบาลศรีสําโรง ซึ่งเป็นโรงเรียนอนุบาลขนาดใหญ่มีนักเรียน
๘๐๐ กว่าคน ขาดแคลนอาคารเรียน ซึ่งฤดูฝนที่ผ่านมาโรงเรียนนี้ถูกน้ําท่วม เป็นเวลาเดือนเศษ
โรงเรียนก็ได้ปิด อาคารเรียนชํารุดมาก ขอสร้างอาคารเรียนแบบ ส ๒๘ จํานวน ๑๕ ห้องเรียน
ก็อยากฝากไปยังกระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณไปสร้างอาคารเรียนนั้นด้วย
ขออี ก เรื่ อ งหนึ่ ง ขอให้ ขุ ด ลอกคลองแห้ ง หมู่ ที่ ๑ ตํ า บลราวต้ น จั น ทน์
และคลองบั วพานหมู่ ที่ ๑๐ ตํ า บลบ้ า นสร้ า งของอํ า เภอศรี สํ า โรง ตลอดจนขุ ด สระน้ํ า
เพื่อการเกษตรหนองน้ําแดงตําบลบ้านสร้างของอําเภอศรีสําโรง เพื่อให้พี่น้องเกษตรกร
ได้มีน้ําทํานา ขอบพระคุณครับ
นายสมศั กดิ์ เกี ยรติ สุ รนนท์ (ประธานสภาผู้ แทนราษฎร) : ท่ านรั งสิ มา
รอดรัศมี ครับ
๒๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ธัญรดา ๑๐/๒

นางสาวรังสิมา รอดรัศมี (สมุทรสงคราม) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ


ดิฉัน นางสาวรังสิมา รอดรัศมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดสมุทรสงคราม
ขอหารื อ ท่ า นประธานเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ปั ญ หาน้ํ า ท่ ว ม คื อ จั ง หวั ด สมุ ท รสงครามน้ํ า ไม่ ท่ ว ม
แต่ผลกระทบจากน้ําท่วมทําให้พี่น้องประชาชนที่เลี้ยงหอยแมลงภู่ หอยแครง ประมงพื้นบ้าน
ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก แต่ว่าได้ให้การช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่เลี้ยงหอยแมลงภู่
แต่ว่า ผู้ ที่ป ระกอบอาชีพ เลี้ ย งหอยแครงเขาก็ได้รับ ความเดื อ ดร้ อน แต่ ว่ า ทางหน่ ว ยงาน
ไม่ประกาศให้ชดเชยผู้ที่มีผลกระทบในการเลี้ยงหอยแครง แล้วก็พวกประมงพื้นบ้านก็เช่นกัน
เมื่อน้ําท่วมกรุงเทพฯ ปล่อยลงไปในอ่าวไทยมันทําให้น้ําทะเลมันจะเค็มน้อยลง แล้วก็น้ํา
ที่ปล่อยลงไปน้ําก็เสียด้วยทําให้กุ้ง หอย ปู ปลาตาย ทําให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถ
หาปลาได้ ต้ อ งออกไปหาปลาในทะเลลึ ก ต้ อ งเสี ย งบประมาณค่ า น้ํ า มั น เป็ น จํ า นวนมาก
เพราะฉะนั้นก็ขอให้ช่วยชดเชยให้กับผู้ที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านด้วย
อี ก ประการหนึ่ ง คื อ เรื่ อ งค่ า ชดเชยผู้ ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบน้ํ า ท่ ว มบ้ า นละ
๕,๐๐๐ บาท ดิฉันมองว่า มีคนมาร้องเรี ยน คอนโดบางที่น้ํ าไม่ท่วมก็ มีก ารยื่นขอรายละ
๕,๐๐๐ บาท ขอให้ตรวจสอบให้จริง ๆ นะคะว่าคนนั้นน้ําท่วมจริง ไม่ใช่เขายื่นเรื่องมา
ท่านก็ให้เลย แม้กระทั่งในสภาก็เช่นกันดิฉันอยากจะฝากท่านประธาน --------------------------

- ๑๑/๑
๒๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๑๑/๑

เจ้ า หน้ า ที่ บ างท่ า นน้ํ า ไม่ ท่ ว ม แต่ ไ ปบั ง คั บ กํ า นั น ผู้ ใ หญ่ บ้ า นนะคะ มี ห นั ง สื อ ร้ อ งเรี ย น
มาที่ดิฉันว่าให้ช่วยมาพูดให้ท่านประธานฟังหน่อย ว่าแม้กระทั่งในสภาเองข้าราชการน้ําไม่ท่วม
แต่ไปบังคับกํานัน ผู้ใหญ่บ้านบอกว่าเป็นคนของ ส.ส. ให้ออกหนังสือรับรองมาให้หน่อย
เพราะฉะนั้นอยากให้คณะกรรมาธิการกิจการสภาฯ ได้ตรวจสอบข้าราชการในสภาทุกท่าน
เลยว่าใครทําเรื่องมาขอได้รับผลกระทบเกี่ยวกับน้ําท่วมบ้าง ถ้าขอแล้วน้ําไม่ท่วมให้ประธาน
ดําเนินการด้วย เพราะว่าเอาชื่อ ส.ส. ไปแอบอ้างทําให้สภาเสื่อมเสีย เพราะฉะนั้นท่านต้อง
เอาจริงเอาจังนะคะ ถ้าในสภาไม่มีความซื่อสัตย์จะทําให้สภาเสียชื่อเสียงแล้วก็ถดถอยลง
ประธานต้องเอาจริงนะคะ ขอบคุณค่ะ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ท่านสมบูรณ์
อุทัยเวียนกุล ครับ
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล (ตรัง) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง พรรคประชาธิปัตย์
ท่านประธานที่เคารพครับ เนื่องจากเมืองตรังได้มีนโยบายที่จะสร้างเป็นเมืองกีฬาแล้วก็
เมื อ งน่ า อยู่ เรามี ส นามกี ฬ าของระดั บ จั ง หวั ด ที่ ไ ด้ รั บ การปรั บ ปรุ ง ดู แ ลเพื่ อ เป็ น สถานที่
สําหรับให้พี่น้องประชาชนได้ออกกําลังกาย สนามกีฬาระดับอําเภอที่อําเภอกันตังเราเรียกกันว่า
สนามกี ฬ าเทศบาลเมื อ งกั น ตั ง ครั บ ที่ นั่ น พี่ น้ อ งประชาชนมาออกกํ า ลั ง กายแล้ ว ก็ ม าชม
การแข่งขันฟุตบอลกันเต็มครับ โดยเฉพาะในช่วงลอยกระทงที่ผ่านมา ทางพี่น้องประชาชน
ก็เลยขอความอนุเคราะห์จากทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ก็คือปรับปรุงสนามกีฬา
เทศบาลเมืองกันตังให้มีการขยายอัฒจันทร์ทั้ง ๒ ฝั่ง ทั้งด้านฝั่งประธานแล้วก็ฝั่งคบเพลิง
เพื่อพี่น้องประชาชนจะได้มาชมกีฬาเป็นนันทนาการสําหรับครอบครัว สนามกีฬาระดับ
ตํ าบลครั บที่ ตํ าบลทุ่ งค่ าย อํ าเภอย่ านตาขาว พี่ น้ องประชาชนขอความกรุ ณาจากกระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬาได้ไปจัดสร้างสนามกีฬาในระดับตําบลที่ตําบลทุ่งค่าย อําเภอย่านตาขาว
จังหวัดตรัง
เรื่ องที่ ๒ ครั บ เป็ นเรื่ องที่ ขณะนี้ มี ความแปลกใจมากว่ ารั ฐบาลท่ าทางไม่ ค่ อย
สนใจเรื่องปัญหาน้ําท่วมขังครับท่านประธาน ขณะนี้ทราบว่ามีหลายแห่งที่ยังน้ําท่วมขัง
แต่ทางรัฐบาลดูเหมือนว่าน้ําแห้งหมดแล้ว ก็ขอให้ทางรัฐบาลได้ไปกู้บ้านกู้เมืองโดยการสูบน้ํา
ออกให้เร็วที่สุด ขณะนี้คนกล่าวขานกันว่าเรามีนายกฯ ที่สวยแต่ว่าบ้านเมืองสกปรกครับ
๒๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๑๑/๒

อยู่ ไ ม่ ไ ด้ เพราะฉะนั้ น ขอความกรุ ณ าทางรั ฐ บาลได้ ส ร้ า งบ้ า นเมื อ งให้ ส วยงามด้ ว ยครั บ
ขอบคุณครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ขอเข้าระเบียบวาระที่ ๓
นะครับ ไม่มีครับ
ระเบียบวาระที่ ๔ ไม่มี
ต่อไปพิจารณาเรื่องด่วนนะครับ เรื่องแรกร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรี
กัลยาณิวัฒนา พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ)
๒๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๑๑/๑

เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ (รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี) : กราบเรียน
ท่ า นประธานสภาผู้ แ ทนราษฎรที่ เ คารพครั บ กระผม นายแพทย์ สุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์
รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ขอนํ า เสนอร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ส ถาบั น ดนตรี
กัลยาณิวัฒนา พ.ศ. .... โดยมีหลักการและเหตุผลดังต่อไปนี้
หลักการ จัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
เหตุ ผ ล เพื่ อ ให้ มี ส ถาบั น การดนตรี ที่ ใ ห้ ค วามสํ า คั ญ ต่ อ ดนตรี ค ลาสสิ ก
อย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์
ด้านดนตรีคลาสสิกสู่สาธารณชน เพื่อให้สังคมไทยมีโอกาสได้สัมผัสและซาบซึ้งในดนตรีคลาสสิก
รวมถึงเป็นสถาบันดนตรีระดับอุดมศึกษาที่สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความเป็นเลิศ
ด้านดนตรีคลาสสิก และเพื่อเป็นการสนองพระปณิธานและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะองค์อุปถัมภ์วงการดนตรีคลาสสิก
ของประเทศไทย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้
คณะรัฐมนตรีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะได้รับความเห็นชอบ
จากสภาผู้แทนราษฎรเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ขอบคุณครับ

- ๑๒/๑
๒๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สวรรยา ๑๒/๑

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : เชิญท่าน นริศ


ขํานุรักษ์ ครับ
นายนริศ ขํานุรักษ์ (พัทลุง) : ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นริศ ขํานุรักษ์
สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด พั ท ลุ ง พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ผมขออนุ ญ าตได้ อ ภิ ป ราย
เพื่อสนับสนุนและจะให้ความเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
โดยมีเหตุผล ๓ ประการนะครับ
ประการที่ ๑ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่รัฐบาลชุดที่แล้ว
ได้นําเสนอเข้ามาสู่การพิจารณาของสภาแห่งนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว และด้วยเหตุที่มีการยุบสภา
แล้วรัฐบาลชุดนี้ก็ขออนุมัติต่อการประชุมร่วมรัฐสภา แล้วก็ยืนยันเข้ามาอีกครั้งหนึ่งนะครับ
เป็นเหตุผลที่ ๑ เพราะว่าเป็นร่างของรัฐบาลชุดที่แล้ว
ประการที่ ๒ ผมเห็นด้วยที่จะให้มีสถาบันที่มีการเรียนการสอนเรื่องดนตรี
โดยเฉพาะดนตรีคลาสสิกนะครับ ซึ่งประเทศไทยมีอยู่น้อยมากครับ มีอยู่มีกี่ที่ ไม่มีสถาบัน
ถือได้ว่าอยู่ในภาวะที่ขาดแคลนแล้วก็คิดว่าสังคมไทยมีความจําเป็นที่จะต้องมีดนตรีประเภทนี้
อยู่ ด้ ว ย ประการสุ ด ท้า ยที่ สํา คั ญ ที่ สุ ด ก็ เ ป็ น การสนองพระปณิ ธ านและเฉลิ ม พระเกี ย รติ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตามเหตุผล
ประกอบร่างฉบับนี้นะครับ ท่านประธานที่เคารพครับ แม้ว่าผมจะเห็นด้วยและจะยืนยันว่า
จะรับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยนั้น แต่ว่าผมขออนุญาตที่จะขอความกระจ่างจากผู้ชี้แจง
หรือไม่ฝากกรรมาธิการวิสามัญไปช่วยพิจารณาอยู่ ๒ ประเด็นเท่านั้นเองครับท่านประธานครับ
คือสถาบันแห่งนี้ในมาตรา ๘ การที่สถาบันแห่งนี้จะรับสถาบันชั้นสูงหรือสถาบันอื่นเข้าสมทบ
ในสถาบันนี้ก็ได้ แล้วก็สามารถมีอํานาจให้ปริญญา อนุปริญญาและประกาศนียบัตรชั้นหนึ่ง
หรือชั้ น ใดแก่ ผู้สํา เร็ จ การศึก ษาจากสถาบั น สมทบนั้ น ได้ ผมขออนุ ญ าตสอบถามครั บว่ า
โดยหลั ก ทั่ ว ไปแล้ ว การรั บ นั ก ศึ ก ษาจากสถาบั น อื่ น นั้ น โดยการโอนหน่ วยกิ ต อั นนี้ ทํ ากั น
เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ว่าในเนื้อหาของร่างฉบับนี้การที่นักศึกษาคนหนึ่งลงทะเบียนที่สถาบันอื่น
แล้วมาเรียนที่สถาบันนี้ แล้วได้รับปริญญาของสถาบันนี้ ในขณะที่ลงทะเบียนในสถาบันอื่น
ผมอยากขอความกระจ่างในแนวทางในวิธีปฏิบัติ เพราะว่าเท่าที่มีอยู่ถ้าลงทะเบียนในสถาบันใด
แล้วมาเรียนในสถาบันนี้ต้องกลับไปได้ปริญญาในสถาบันที่ลงทะเบียนนะครับ ตรงนี้ขอทราบ
เหตุผล ขอคําอธิบายนะครับ
๒๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สวรรยา ๑๒/๒

ประการที่ ๓ เรื่ องที่ สถาบันอาจจัดการศึกษาและดํ าเนิ นการวิจัยร่วมกั บ


สถาบันชั้นสูงหรือสถาบันวิจัยอื่นในประเทศหรือต่างประเทศหรือกับองค์กรระหว่างประเทศ
อันนี้ผมเห็นด้วยครับ -----------------------------------------------------------------------------------

- ๑๓/๑
๒๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) วาสนา ๑๓/๑

แต่ ผ มกราบเรี ย นท่ า นประธานว่ า นิ ย ามดนตรี ค ลาสสิ ก ผมไม่ อ ยากให้ จํ า กั ด อยู่ เ พี ย งแต่
ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเช็ก ประเทศโปแลนด์ หรือออสเตรีย ผมคิดว่าในอาเซียน (ASEAN)
เรามีดนตรีที่ในความหมายผมมีความคลาสสิก และโดยเฉพาะเรากําลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ผมคิดว่าดนตรีในพม่า ในลาว ในกัมพูชา ในบรูไน สถาบันแห่งนี้ควรจะได้ร่วมกันจัดการศึกษา
และทําวิจัยร่วมกัน ผมยืนยันกับท่านประธานครับว่าไม่เพียงแต่กับประเทศเพื่อนบ้านครับ
ดนตรีในแต่ละภาคท่านก็ไปเอามาทําเป็นดนตรีคลาสสิกให้เข้ามาอยู่ในสถาบันนี้เถอะครับ
จะทําให้ดนตรีในประเทศเราได้รับการอนุรักษ์ปกป้อง ดนตรีหนังตะลุง ดนตรีมโนราห์บ้านผม
ผมกราบเรียนท่านประธานยืนยันได้ว่าเป็นดนตรีคลาสสิก เป็นความสวยงาม เป็นความงดงาม
ไม่แพ้ดนตรีของชาวฝรั่งเศส ไม่แพ้ดนตรีของชาวออสเตรีย ด้วยเหตุผลทั้งหมด ผมเพียงแต่
มีข้อสังเกตแล้วก็ฝากถามไปยังผู้ชี้แจงร่างฉบับนี้เพื่อให้เกิดความกระจ่าง แต่โดยภาพรวมแล้ว
ผมเห็ นด้ วยที่ จะรั บร่ างพระราชบั ญญั ติ ฉบั บนี้ เพื่ อที่ จะให้ สภาได้ พิ จารณาในวาระที่ สอง
วาระที่สามต่อไป กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายสมศั กดิ์ เกี ยรติสุ รนนท์ (ประธานสภาผู้ แทนราษฎร) : สภาผู้ แ ทนราษฎร
ยินดีต้อนรับพี่น้องประชาชนจากจังหวัดลพบุรี เชิญท่านชินวรณ์ บุณยเกียรติ
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ (นครศรีธรรมราช) : กราบเรียนท่านประธานสภา
ที่ เ คารพ กระผม ชิ น วรณ์ บุ ณ ยเกี ย รติ สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร พรรคประชาธิ ปั ต ย์
จากจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช ผมรู้ สึ ก ภู มิ ใ จเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ไ ด้ มี โ อกาสอภิ ป รายสนั บ สนุ น
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. .... ในวันนี้ เพราะวันนี้เป็นวันแรก
ที่เราได้เปิดสภาในสมัยสามัญนิติบัญญัติ และได้นํากฎหมายฉบับนี้เป็นฉบับแรกเข้ามาสู่
การพิจารณาของสภา เมื่อกี้เพื่อนสมาชิก ขอประทานโทษที่เอ่ยนาม ท่านนริศ ขํานุรักษ์
ได้กราบเรียนต่อท่านประธานสภาไปแล้วว่ากฎหมายฉบับนี้ได้เสนอมาตั้งแต่คณะรัฐมนตรี
ชุดที่แล้ว แล้วก็ค้างอยู่ในวาระการประชุมจนยุบสภา และวันนี้ทางคณะรัฐมนตรีก็เห็นว่า
มีความจําเป็นที่จะต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เพื่อจะให้มี
สถาบันในการจัดการศึกษาในระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจัง แล้วก็มุ่งเน้น
ในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ด้านดนตรีคลาสสิก
สู่ ส าธารณชน เป็ น การยกระดั บ ทางวั ฒ นธรรมร่ ว มสมั ย ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในบ้ า นเมื อ งของเรา
๒๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) วาสนา ๑๓/๒

เพราะว่ า ชนใดไม่ มี ด นตรี ก ารส่ อ สั น ดานเป็ น คนชอบกลนั ก ท่ า นประธาน ผมอยากจะ


กราบเรียนท่านประธานก่อนที่จะลงไปสู่สาระก็คือว่า ผมเป็นห่วงที่เพื่อนสมาชิกได้ซักถาม
ต่อรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีถึงประเด็นในมาตรา ๘ และผมมีประเด็นที่จะซักถาม
ที่ลงลึกไปมากกว่านั้นในมาตราอื่นด้วย แต่ว่าผมก็ไม่ค่อยมั่นใจครับท่านประธานว่ารัฐมนตรี
ที่มาเสนอกฎหมายในวันนี้ บังเอิญไม่ได้เป็นรัฐมนตรีที่รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ครับ
เพราะฉะนั้ น ประเด็ น แรกที่ ผ มอยากจะเรี ย นถามท่า นประธานผ่ า นไปยั ง
รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ว่ า ท่ า นรั ฐ มนตรี ผู้ ที่ รั ก ษาการตามกฎหมายฉบั บ นี้
คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ท่านติดภารกิจอะไรล่ะครับ ที่ท่านมาสภาเพื่อเสนอ
กฎหมายสําคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสถาบันดนตรีในระดับสูง และเป็นการจัดตั้งสถาบันดนตรี
เพื่ อ เป็ น การสนองพระราชปณิ ธ านและเฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระเจ้ า พี่ น างเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ท่านติดภารกิจอะไร ท่านจึงไม่สามารถ
ที่จะมานําเสนอกฎหมายฉบับนี้ต่อที่ประชุมสภา ---------------------------------------------------

- ๑๔/๑
๒๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) พรธิดา ๑๔/๑

ซึ่งเป็นที่ประชุมที่เลือกให้ท่านไปเป็นฝ่ายบริหาร ท่านประธานที่เคารพครับ แต่ว่าอย่างไร


ก็ตามผมก็คงไม่เรียกร้องให้ท่านมาหรอกครับ เพราะว่าถึงท่านอยู่ที่ไหนก็ยังมีปัญหาอยู่ว่า
ท่านได้สนใจและเข้าใจปรัชญาการศึกษาในฐานะที่ท่านนั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
มากน้อยเพียงใด เพราะ ๓ เดือนที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการท่านนี้ไปนั่ง
ที่กระทรวงศึกษาธิการก็พบอยู่เสมอว่าท่านยังไม่สามารถที่จะเสนอนโยบายใดที่เป็นรูปธรรม
ได้เลย เพราะฉะนั้นผมคิดว่าถ้าผมจะซักถามท่านรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีที่จะ
ลงไปสู่รายละเอียดในมาตราต่าง ๆ ก็คงจะไม่ติดใจว่าท่านรัฐมนตรีจะตอบหรือไม่ เพราะว่า
ท่านไม่ได้รักษาการตามกฎหมายฉบับนี้ แต่ว่าอย่างไรก็ตามท่านประธานเพื่อให้ได้บันทึกไว้
ในที่ประชุมนี้ กระผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่าสถาบันการดนตรีในประเทศของเรานั้น
ต้องยอมรับว่าเราได้มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว ซึ่งถือว่าได้ริเริ่มในการนําดนตรีสากลเข้ามา และที่สําคัญที่สุดก็คือพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในรัชกาลปัจจุบันของเราถือว่าเป็นผู้ที่ได้บุกเบิกการดนตรี
และขยายผลการดนตรี ค ลาสสิ ก อย่ า งจริ ง จั ง และส่ ง เสริ ม ความรู้ ความเข้ าใจตลอดถึ ง
ทรงเป็นแบบอย่างในการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ด้านดนตรีสู่สาธารณชน ซึ่งเป็ น
ที่ทราบกันโดยทั่วไปครับ ก็นับว่าเป็นคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ และวันนี้สภาแห่งนี้ก็จะได้พิจารณา
เสนอร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ดนตรี กั ล ยาณิวัฒ นา แต่ ท่ า นประธานครับ เรามี สถาบั น ดนตรี
กัลยาณิวัฒนาเดิมอยู่ในกํากับของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งก็ถือว่าเป็นสถาบันที่อยู่ในกํากับ
ของมหาวิ ท ยาลั ย แล้ ว ก็ ไ ด้ มี ก ารพั ฒ นามาตามลํ า ดั บ มี ค วามพร้ อ มที่ จะยกฐานะขึ้ นมา
เป็นสถาบัน เพื่อให้มีอิสระในการที่จะดําเนินการในการจัดการเรียนการสอนในการที่จะส่งเสริม
ความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่ความรู้ประสบการณ์ด้านดนตรีตลอดถึงการพัฒนาดนตรี
ให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าท่านรัฐมนตรีที่รักษาการตามกฎหมายฉบับนี้
ต้องเข้าใจในจุดตรงนี้ก่อน เพราะเราไม่ได้มีเฉพาะสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาที่จะร่างขึ้นมา
เป็นกฎหมาย ขณะนี้เรามีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ซึ่งอยู่ในสังกัด อยู่ในกํากับของมหาวิทยาลัยมหิดล
ก็ถือว่าเป็นวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ และพัฒนาการเรียนการสอน
ทั้งในระดับก่อนปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก วันนี้ถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่าน
และรัฐบาลได้เร่งรัดในการดําเนินการตามรายละเอียดสาระสําคัญที่ร่างอยู่ในกฎหมายฉบับนี้
แสดงว่าเราพร้อมที่จะขับเคลื่อนให้มีสถาบันดนตรีที่เป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง
๒๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) พรธิดา ๑๔/๒

ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การศึกษาส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ แล้วก็วิชาชีพชั้นสูงทางดนตรี
และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทําการสอน ทําการวิจัยและสามารถที่จะดําเนินการในการที่จะ
พัฒนาและทํานุบํารุงในเรื่องกิจการของดนตรี ในเรื่องของวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อที่มีส่วนสําคัญ
ในการพัฒนาชุมชน พัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไปด้วย ท่านประธานครับ ที่ผมเอ่ยถึง
วิ ท ยาลั ย ดุ ริ ย างคศิ ล ป์ ใ นกํ า กั บ ของมหาวิ ทยาลั ยมหิ ดล เพราะคิ ดว่ าท่ านประธาน แล้ วก็
ท่านรัฐมนตรีคงจําได้นะครับ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเรามีปัญหาในเรื่องของการอนุมัติหลักสูตร
ให้กับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ที่ผมอยากจะเรียนถามท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีก็คือว่า
เมื่อมาดูในกฎหมายฉบับนี้ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเราได้มีการให้อํานาจสภาสถาบันที่จะเป็น
คนกําหนดอนุมัติหลักสูตร ตรงนี้ที่ผมอยากจะเรียนถามเป็นเบื้องต้นว่าท่านรัฐมนตรีที่รักษาการ
ตามกฎหมายฉบับนี้ได้มีความคิดเห็นสอดคล้องตรงกันไหมครับว่าต่อไปนี้จะให้สถาบันดนตรี
กัลยาณิวัฒนาของเราได้มีหลักสูตรเป็นอย่างไร -----------------------------------------------------

- ๑๕/๑
๓๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๑๕/๑

ในระดั บ ปริ ญ ญาตรี เ ป็ น อย่ า งไร ในระดั บ ปริ ญ ญาโทเป็ น อย่ า งไร ในระดั บ ปริ ญ ญาเอก
หรื อ แม้ แ ต่ ใ นระดั บ ที่ จ ะต้ อ งให้ ป ระกาศนี ย บั ต รต่ า ง ๆ ซึ่ ง ตรงนี้ ที่ ผ มอยากจะเรี ย นถาม
ความสํ า คั ญ ว่ า ถ้ า กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารซึ่ ง มี ห น้ า ที่ ที่ จ ะต้ อ งควบคุ ม กํ า กั บ ตามมาตรา ๖
ที่ให้สถาบันได้ดําเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
สอดคล้ อ งกั บ มติ ข องคณะรั ฐ มนตรี และที่ สํ า คั ญ ที่ สุ ด ก็ คื อ ว่ า จะต้ อ งเป็ น เรื่ อ งที่ ส่ ง เสริ ม
ต่อวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถาบั นแห่งนี้ ทํ าไมผมจึ งตั้ งประเด็ นนี้ ขึ้นมา เพราะผมคิดว่ า
ถ้ าคนที่ มากํ ากั บนโยบายไม่ เข้ าใจถึ งปรั ชญา เจตนารมณ์ และวั ตถุ ประสงค์ ในการจั ดตั้ ง
ก็จะมีปัญหาในการที่จะนําไปสู่การบริหารจัดการ นําไปสู่การดําเนินการ นําไปสู่ในการที่จะ
มีการพัฒนา การเรียนการสอน ซึ่งเราต้องการที่จะให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ท่านประธานที่เคารพ
และแน่ น อนก็ ต่ อ เนื่ อ งกั บ ประเด็ น ที่ เ ราจะดํ า เนิ น การในการที่ จ ะให้ มี ก ารอนุ มั ติ ส มทบ
หลักสูตรจากสถาบันอื่นเข้ามาเรียนร่วมกัน และแน่นอนที่สุดถ้าหากว่ากรรมการสภาสถาบัน
ซึ่งในช่วงระยะเริ่มต้น ผมก็ดีใจว่ากฎหมายได้กําหนดไว้ในบทเฉพาะกาลที่จะให้อธิการบดี
มหาวิทยาลัยศิลปากรรักษาการอธิการบดีสถาบัน ซึ่งผมคิดว่าก็จะทําให้เกิดความเชื่อมโยง
อย่างต่อเนื่องได้ แต่สิ่งที่เขาเป็นห่วงกันมากก็คือ เขาเป็นห่วงมากครับว่าในช่วงที่ผ่านมานั้น
ความจริงแนวความคิดที่เรายอมรับว่าถึงเวลาที่เราจะต้องพัฒนาระบบการศึกษาของเรา
ที่ จ ะให้ ร องรั บ กั บ วิ ท ยาการที่ เ จริ ญ ก้ า วหน้ า อย่ า งรวดเร็ ว ในทางวิ ช าการโดยทั่ ว ไป
ท่านประธานครับในขณะนี้ คณะรัฐมนตรีชุ ดที่แล้ว ได้มีการอนุมั ติให้ มีก ารจั ดตั้งสถาบัน
ความเป็นเลิศด้านต่าง ๆ ถึง ๙ สาขาด้วยกัน เราต้องยอมรับความจริงวันนี้วิทยาการเรื่อง
นาโนเทคโนโลยี (Nano Technology) เรื่ อ งชี ว ภาพและอี ก หลายเรื่ อ งที่ เ กิ ด ขึ้ น ในโลกนี้
ในประเทศของเรายังไม่มีความพร้อมในส่วนนี้ ผมคิดว่าคนที่รับผิดชอบในการที่จะขับเคลื่อน
นโยบายให้ เ ป็ น ไปตามเจตนารมณ์ ต้ อ งมี ค วามเข้ า ใจในปรั ช ญา ต้ อ งมี ค วามเข้ า ใจ
ในเจตนารมณ์ ข องกฎหมายฉบั บ นี้ ด้ ว ย และแน่ น อนที่ สุ ด กฎหมายฉบั บ นี้ ก็ เ หมื อ นกั บ
การจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยทั่วไปท่านประธานครับ ผมอยากจะเรียนผ่านไปยังท่านรัฐมนตรี
เพราะหลักการของกฎหมายฉบับนี้ก็คือว่าเราต้องการที่จะให้มีสภาสถาบัน ให้มีกรรมการ
สภาสถาบันที่จะมีอํานาจหน้าที่ในการที่จะดูแลการบริหารงานของสถาบันให้เป็นไปตาม
วั ต ถุ ป ระสงค์ ก็ เ หมื อ นกั บ มหาวิ ท ยาลั ย ที่ เ ราให้ มี ส ภามหาวิ ท ยาลั ย ที่ จ ะต้ อ งให้ มี
สภามหาวิทยาลัยหรือสภาสถาบัน สิ่งสําคัญที่สุดที่ต้องการให้เกิดขึ้นก็คือว่าเราต้องการ
๓๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๑๕/๒

ให้เขามีความเป็นอิสระทางวิชาการครับ ถ้าสภามหาวิทยาลัยหรือสภาสถาบันไม่มีอิสระ
ทางวิชาการ ก็ไม่สามารถที่จะสนองตอบในการที่จะพัฒนางานวิจัย หรือพัฒนาให้เป็นวิชาชีพ
ชั้นสูงได้ ผมกราบเรียนว่าสภาสถาบันนั้นมีอํานาจหน้าที่ที่เขียนไว้ชัดเจนครับ ไม่ว่าจะเป็น
การกําหนดนโยบายแผนพัฒนาสถาบัน ออกข้อบังคับ ระเบียบ อนุมัติการจัดตั้ง การรวม
การยกเลิก อนุมัติปริญญา ตลอดถึงการดําเนินการในการที่จะแต่งตั้งถอดถอนผู้บริหาร
ของสถาบัน อนุมัติหลักสูตรการศึกษาการเปิดสอน อนุมัติการรับเข้าสมทบ การจัดการศึกษาร่วม
ตามที่เพื่อนสมาชิกในสภานี้ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ และที่สําคัญครับคืออนุมัติงบประมาณรายรับ
และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายของสถาบัน ----------------------------------------------------------

- ๑๖/๑
๓๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๑๖/๑

ตรงนี้เพราะเราต้องการที่จะยกระดับการบริหารจัดการของสถาบันที่จัดการศึกษาระดับสูง
ตั้ ง แต่ ร ะดั บ ปริ ญ ญาตรี ขึ้ น ไป หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า ระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ขึ้ น ไปนั้ น ให้ ไ ด้ มี อิ ส ระ
ในการที่ จ ะบริ ห ารจั ด การอย่ า งแท้ จ ริ ง ไม่ อ ย่ า งนั้ น เราไม่ ส ามารถที่ จ ะให้ ม หาวิ ท ยาลั ย
หรือสถาบันที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาเป็นหัวรถจักรในการที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูป
การศึกษาของประเทศไทยเราได้ และแน่นอนท่านประธานครับนี่คือเรื่องที่ผมอยากจะฝาก
ท่านประธานผ่านไปยังท่านรัฐมนตรี
เรื่องที่ ๒ ที่ค่อนข้างจะเป็นห่วงมาก ก็คือเรื่องที่กําหนดเอาไว้ในบทเฉพาะกาล
คือเรื่องที่จะให้มีการโอนทรัพย์สินต่าง ๆ ของสถาบัน ผมอยากจะกราบเรียนนะครับว่า
กรณีใ นการจัด ตั้ง สถาบัน นั้น เราพบความเป็ นจริ งครั บ ว่า เวลากฎหมายออกมาผ่ า นแล้ ว
ช่วงเปลี่ยนผ่านดังกล่าวนั้นก็จะเกิดปัญหาต่อการโอนบรรดาทรัพย์สิน บุคลากรต่าง ๆ ให้กับสถาบัน
ผมจึ ง กราบเรี ย นท่ า นประธานฝากไปยั ง ท่ า นรั ฐ มนตรี ว่ า ท่ า นต้ อ งเอาใจใส่ เ ป็ น พิ เ ศษว่ า
การโอนบรรดากิ จการ ทรั พย์ สิ น หนี้ สิ น สิ ทธิ งบประมาณ ภาระผู กพั น รายได้ ตลอดถึ ง
พนักงานท่านจะต้องดําเนินการอย่างจริงจังแล้วก็คํานึงถึงการที่จะดึงเอาคนที่มีศักยภาพ
คนที่ มี ค วามรู้ ค วามสามารถในด้ า นกิ จ การดนตรี อ ย่ า งแท้ จ ริ ง เพราะถ้ า เราไม่ ส ามารถ
ที่จะดําเนินการในการที่จะจัดหาสิ่งเหล่านี้ให้สอดรับกับความเป็นไปและวัตถุประสงค์ของ
สถาบั น แล้ ว ผมคิ ด ว่ า ถึ ง แม้ เ ราจะมี ก ฎหมายการพั ฒ นาทางด้ า นการศึ ก ษาทางด้ า นนี้
ก็ จ ะไม่ เ จริ ญ ก้ า วหน้ า เพราะฉะนั้ น ทั้ ง ๒ เรื่ อ งที่ ผ มกราบเรี ย นไปคื อ เรื่ อ งของหลั ก สู ต ร
เรื่องการบริหารจัดการ จึงถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง แต่ผมก็ยังมั่นใจนะครับ
ว่ า ในระยะเริ่ ม แรกนี้ เ มื่ อ ให้ อ ธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรไปรั ก ษาการ ก็ เ ข้ า ใจว่ า
การดําเนินการก็จะต่อเนื่องเป็นไปได้อย่างดีต่อไป
ประการสุ ดท้ าย ผมก็หวังว่ าเพื่ อนสมาชิ กในสภาแห่ งนี้ คงจะได้ ให้ ความเห็ นชอบ
ต่ อ กฎหมายฉบั บนี้ เพราะถื อว่า เป็ น กฎหมายที่ อํา นวยประโยชน์ อ ย่า งสู ง ยิ่ง ในการที่ จ ะ
ยกระดั บ การศึ กษา ยกระดั บทางวิช าการด้ านดนตรี คลาสสิก ของเราให้ไปสู่ก ารยอมรั บ
ในระดับสากลและเผยแพร่ไปสู่ชุมชน สังคม ในบ้านเราต่อไป และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
การจั ดตั้งสถาบั นดนตรีกัลยาณิวั ฒนานี้จะขยายผลต่อเนื่อง ซึ่งเราจะต้องเชื่อมต่อไปยั ง
โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา หรือแม้แต่ในโรงเรียนประถมศึกษาที่จะต้องให้มีการปูพื้นฐาน
การสอนวิ ช าดนตรี เพราะพลเมื อ งยุ ค ใหม่ ผ มอยากจะกราบเรี ย นกั บ ท่ า นประธานว่ า
๓๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๑๖/๒

นอกจากจะเป็นพลเมืองที่ต้องมีความรู้ความสามารถในทางวิชาการแล้วก็จะต้องเป็นพลเมืองที่ดี
ก็คือมีความงาม มีความดี มีความสุขร่วมอยู่ด้วย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าคนของเรา
ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านอย่างแท้จริง ขอขอบคุณครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : เชิญคุณหมอเหวงครับ
นายเหวง โตจิราการ (บัญชีรายชื่อ) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายแพทย์เหวง โตจิราการ ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
ของพรรคเพื่ อ ไทย ท่ า นประธานที่ เ คารพครั บ กระผมสนั บ สนุ น พระราชบั ญ ญั ติ ฉ บั บ นี้
คือการจัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เพราะผมต้องกราบเรียนท่านประธานอย่างนี้นะครับว่า
ผมใฝ่ฝันที่จะเห็นประเทศไทยเป็นเลิศในโลกนี้ ซึ่งผมคิดว่าพี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศ
เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลก็ตาม
ก็คงจะมีความใฝ่ฝันเช่นเดียวกับผม ก็คือว่าอยากจะเห็นประเทศไทยมีความเป็นเลิศในโลกนี้
หรืออย่างน้อยก็ในซีกโลกตะวันออก ผมกราบเรียนท่านประธานอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่า
ผมจะเพ้อฝันนะครับ เพราะว่าทางด้านดนตรีของเราผมต้องกราบเรียนท่านประธานนะครับ
ว่าในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ----------------------------

- ๑๗/๑
๓๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๑๗/๑

ขอประทานอภัย ที่ต้องเอ่ยพระนามพระองค์ท่าน ประเทศไทยเคยเป็นเด่ น เคยเป็นเลิศ


ทางด้ า นดนตรี ใ นภู มิ ภ าคนี้ ข องโลก กระทั่ ง ประเทศญี่ ปุ่ น ต้ อ งส่ ง คนมาศึ ก ษาจากเรา
แต่เป็นที่น่าเสียดายเพราะว่าอนุชนรุ่นหลังสืบทอดกันมา ความเป็นเลิศทางด้านดนตรีของเรา
เสียหายไป ค่อย ๆ จางหายไป กระผมเองโทษว่าการเมืองของเราพัฒนาไม่ดี เพราะว่ า
การเมื อ งของเรามี แ ต่ ก ารรั ฐ ประหารซ้ํ า แล้ ว ซ้ํ า อี ก เพราะฉะนั้ น ไม่ เ พี ย งแต่ ก ารพั ฒ นา
ด้ า นการเมื อ ง เศรษฐกิ จ สั ง คม และวั ฒ นธรรมก็ ถู ก ทํ า ลายไปโดยสิ้ น เชิ ง ด้ ว ยเช่ น กั น
ดังนั้นต้องกราบเรียนท่านประธาน
ประการแรก ก็คือว่าตั้งแต่นี้เป็นต้นไปสภาผู้แทนราษฎรของเราและพี่น้องประชาชน
ทั่วทั้งประเทศต้องช่วยกันรักษาไม่ให้ประเทศไทยเกิดการรัฐประหารซ้ําซากอีกเป็นอันขาดนะครับ
ถ้าหากว่ามีการรัฐประหารซ้ําซากอีกดนตรีก็ไม่ไปไหนเช่นกัน ไม่เพียงแต่เรื่องเศรษฐกิจ
ท่านประธานครับ ผมได้มีโอกาสอ่านในตัวร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
ผมสนั บ สนุ น เพี ย งแต่ ต้ อ งกราบเรี ย นท่ า นประธานนะครั บ ว่ า ลํ า พั ง เฉพาะการไปอ่ า น
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เราจะไม่ได้ทราบรายละเอียดว่าแล้วจะนําไปสู่ความเป็นเลิศได้
อย่างไร ท่านประธานครับในวันนี้ต้องกราบเรียนท่านประธานเพิ่มเติมอย่างหนึ่งก็คือว่า
ในวันนี้มีการวิจัยของหลายประเทศในโลกนี้ แม้ว่าอาจจะยังไม่ได้ยอมรับเป็นที่ยุติแต่ผมเชื่อว่า
ส่ว นใหญ่ ใ นโลกนี้ ย อมรั บ แล้ว นะครั บ ว่ า การฟัง ดนตรี ค ลาสสิ ก พั ฒ นาจิ ต ใจผู้ค น หากว่ า
เป็นคนที่คลอดแล้ว แล้ วก็ตั้งแต่เด็กไล่เรียงกันมาจนไปถึงเฒ่าชแรแก่ชรา การฟังดนตรี
คลาสสิกจะทําให้กล่อมเกลาจิตใจให้ละเอียด นิ่มนวลแล้วก็ให้ยกระดับจิตใจสูงขึ้นได้นะครับ
แล้วสําหรับทารกในครรภ์มีการวิจัยด้วยเช่นกันว่า ถ้าเปิดดนตรีคลาสสิกให้ทารกฟังตั้งแต่
ยังตั้งครรภ์อยู่ โอกาสที่จะพัฒนาเส้นประสาทในสมองและการถักทอเยื่อใยของประสาท
ซึ่งนําไปสู่ความฉลาดมีโอกาสมากกว่าคนซึ่งไม่ได้รับฟังดนตรีคลาสสิกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่
ที่ผมกราบเรียนคร่าว ๆ เพื่อกราบเรียนให้ท่านประธานเห็นว่าดนตรีคลาสสิกมีความสําคัญมาก
ต่อการพัฒนาผู้คนตั้งแต่ทารกในครรภ์ไปจนถึงผู้หลักผู้ใหญ่จนมีอายุมาก ดนตรีคลาสสิก
มี ค วามสํ า คั ญ ที่ ผ มต้ อ งกราบเรี ย นท่ า นประธานเพิ่ ม เติ ม ก็ คื อ ว่ า ผมได้ มี โ อกาสไปอ่ า น
ในโครงการจัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ซึ่งเขียนต่างหากจากตัวร่างพระราชบัญญัติ
ซึ่ ง ผมต้ อ งกราบเรี ย นสมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรทุ ก ท่ า นรวมทั้ ง พี่ น้ อ งประชาชนชาวไทย
ที่ฟังการถ่ายทอดอยู่ในวันนี้ว่า ควรจะไปหาโครงการจั ดตั้ งสถาบั นดนตรี กัล ยาณิวัฒ นา
๓๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๑๗/๒

มาอ่านประกอบด้วย แล้วท่านจะเห็นด้วยโดยเต็มใจว่าควรจะผลักดันให้พระราชบัญญัติฉบับนี้ผ่าน
และให้มีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาเกิดขึ้นในประเทศไทย ผมขออนุญาตที่จะกราบเรียนสั้น ๆ
ให้ท่านประธานได้รับทราบว่า วัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งสถาบันดนตรีคลาสสิก โดยอัญเชิญ
พระนามสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ในฐานะองค์อุปถัมภ์ดนตรีคลาสสิกในประเทศไทยและพัฒนาสู่ความเป็นศูนย์สังคีตศิลป์
ระดับชาติและระดับนานาชาตินะครับ นี่ประการที่ ๑ นะครับ
ประการที่ ๒ เพื่อเป็นแหล่งเสริมสร้างศักยภาพสําหรับเยาวชนและบุคคลทั่วไป
ที่มีพรสวรรค์และอัจฉริยภาพด้านดนตรีคลาสสิก ผมขออนุญาตอภิปรายตรงนี้เพิ่มเติมนะครับ
ผมเองได้มีโอกาสได้ไปสัมผัสกับเด็ก ๆ ในโรงเรียนหลายแห่ง ผมต้องกราบเรียนท่านประธาน
ด้วยความภูมิใจว่าเด็กไทยเรามีความสามารถทางดนตรีไม่แพ้เด็กอื่นทั่วโลก ผมเจอเด็ก
ในระดับประถมศึกษา อยู่ ๆ วันดีคืนดีเขาเดินไปหาคุณพ่อเขา บอกคุณพ่อซื้อเปียโนให้ผม
สักเครื่องสิครับ คุณพ่อเขายังแปลกใจเลย ผมขออนุญาตไม่เอ่ยนามเขานะครับ คุณพ่อเขา
ทํางานบริษัทการบินไทย แล้วปรากฏว่าเขาสามารถเล่นดนตรีให้คุณพ่อเขาฟังในขั้นต้นได้
คุณพ่อเขาก็เลยไปซื้อเครื่องเปียโนมาให้ แล้วปรากฏว่าเด็กคนนี้ในขณะนี้สามารถเล่นดนตรีได้
อย่างเลิศมากนะครับ เพราะฉะนั้นจึงกราบเรียนท่านประธานว่าในวันนี้เยาวชนของเรา
ที่มีความสามารถทางดนตรีมีมากพอสมควรแต่ไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ดังนั้นผมดีใจ
เป็นอันมากที่เราจะมีสถาบันดนตรีคลาสสิก โดยอัญเชิญพระนามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอมา
เป็ น มงคลขึ้ น มา ---------------------------------------------------------------------------------------

- ๑๘/๑
๓๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๑๘/๑

แล้วในนี้ยังมีเขียนภารกิจไว้ว่าเป็นที่บ่มเพาะเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษให้เป็นดนตรีชั้นสูง
ของประเทศ ตรงนี้ผมเชื่อมั่นว่าสถาบันอันนี้สามารถบรรลุภารกิจนี้ได้เพราะมีวัตถุประสงค์
อยู่ในนี้ด้วยและเป็นภารกิจด้วย คนที่มีความสามารถทางด้านไวโอลินก็มี ตรงนี้ยังเขียนไว้ด้วยว่า
ภารกิจนี้จัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผมต้องกราบเรียน
ท่านประธานอย่างนี้นะครับว่าผมสนับสนุนอย่างใจจริงนะครับ ขณะเดียวกันก็อยากจะกราบเรียน
ผ่านท่านประธานไปยังผู้รับผิดชอบสถาบันดนตรีว่าขออนุญาตด้วยความเคารพอย่าสักแต่ว่าเขียน
เป็นตัวอักษรไว้เฉย ๆ นะครับ ถ้าหากว่าเราสนับสนุนให้พระราชบัญญัตินี้ผ่านสภาของเราไป
และจัดตั้งสถาบันขึ้นได้จริง ๆ ขอให้ครูบาอาจารย์และท่านผู้รับผิดชอบทั้งหลายได้ทุ่มเท
ในการที่ จ ะทํ า ให้ เ ราบ่ ม เพาะเยาวชนที่ มี ค วามสามารถพิ เ ศษให้ เ ป็ น นั ก ดนตรี ร ะดั บ สู ง
ของประเทศได้และของโลกด้วยนะครับอย่างที่ผมเรียน ก็คือผมอยากจะเห็นความเป็นเลิศ
ในโลกนี้ของประเทศไทย อย่างน้อยทางดนตรีทางด้านอื่นผมก็เห็นเช่นกันไม่ว่าเป็นกีฬา
หรืออย่างอื่น แต่ว่าในวันนี้ผมอภิปรายเฉพาะ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพราะฉะนั้นผมก็เลยจํากัด
วงเฉพาะเรื่องดนตรี ดังนั้นถ้าหากว่าเราจัดตั้งสถาบันขึ้นได้เรียบร้อย อยากจะกราบเรียน
ไปยังบุคลากรซึ่งเป็นใครไม่ทราบได้ แต่ฝากเป็นภารกิจว่าท่านมีภารกิจในการที่จะสอดส่อง
แสวงหาเยาวชนที่ มี ศั ก ยภาพทางดนตรี ตั้ ง แต่ เ ด็ ก ๆ อย่ า งเช่ น ในระดั บ ประถมศึ ก ษา
อย่างที่ผมได้กราบเรียนท่านประธานไปแล้วว่ามีเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาเขาเดินไปหาพ่อ
แล้วก็ขอให้พ่อเขาซื้อเปียโน และในวันนี้เขาเป็นนักดนตรีระดับโลกท่านหนึ่งในวงดนตรี
ที่ประเทศนิวยอร์ก ที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นคนซึ่งอยู่ในสถาบันต้องสอดส่อง สอดส่องไป
ค้นหาดูสิว่าเยาวชนของเราในระดับประถมศึกษาโรงเรียนไหนบ้างที่มีวี่แววทางด้านดนตรี
จะได้เอาเขามาฝึกปรือ ท่านประธานครับ ดนตรีนี้ต้องฝึกปรือตั้งแต่เด็กนะครับ หากว่าไม่ฝึกปรือ
ตั้งแต่เด็กนี้ มาฝึกปรือตอนผู้ใหญ่แล้ว อายุเกิน ๒๕ ปีหรือ ๓๕ ปีไปแล้ว มีความเป็นไปได้
ที่จะฝึกปรือได้ แต่ว่าโอกาสเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาเราฝึกปรือเขาตั้งแต่เด็กมันจะต่างกันมาก
ดังนั้นวัตถุประสงค์กราบเรียนต่อนะครับ เพื่อพัฒนาเป็นสถาบันต้นแบบและเป็นแหล่งผลิต
นั ก ดนตรี ค ลาสสิ ก ระดั บ ชาติ ระดั บ นานาชาติ เพื่ อ ก้ า วสู่ ค วามเป็ น นั ก ดนตรี ร ะดั บ โลก
ผมถึ ง สนั บ สนุ น อย่ า งไรครั บ ท่ า นประธาน ผมอยากเห็ น ความเป็ น เลิ ศ ทางด้ า นดนตรี
ของประเทศไทยให้ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลกด้วยเช่นกันนะครับ ต่อมาก็คือเพื่อเป็นเวที
และแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันดนตรีคลาสสิกระดับโลกเพื่อสร้างเครือข่าย
๓๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๑๘/๒

ความร่วมมือระหว่างกัน อันนี้คงทําได้ไม่ยาก ต่อมาเพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการกําหนด


มาตรฐานความสามารถด้านดนตรีคลาสสิกสําหรับบุคคลทั่วไปเพื่อให้เทียบเคียงกับมาตรฐาน
แห่งสากล อันนี้ก็ทําได้ไม่ยาก ต่อมาก็คือเพื่อผลิตบัณฑิตด้านดนตรีคลาสสิกที่มีคุณภาพ
ทั้ง ด้า นวิ ช าการ คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม ตามกรอบมาตรฐานคุณ วุ ฒิ อุ ด มศึก ษา บนพื้ น ฐาน
ของบุคคลที่มีพรสวรรค์และอัจฉริยภาพด้านดนตรีคลาสสิก แต่ต้องกราบเรียนท่านประธานว่า
แม้ว่า เราจะขี ด กรอบว่าสนั บสนุน นั ก ดนตรีที่ มี วี่ แ ววมีความสามารถพิเศษแต่ก็อย่ าปิ ดกั้ น
เยาวชนท่านอื่นนะครับ ดังนั้นสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาถ้าหากว่าตั้งขึ้นแล้วต้องกราบเรียน
ไปยังบุคคลซึ่งยังไม่ทราบว่ าจะเป็ นใครบ้ างว่ าอย่ ามองข้ามเยาวชนคนอื่น ๆ ด้ว ยนะครับ
อย่าไปเอาใจใส่เฉพาะเด็กนักเรียนหรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษเพียงเท่านั้น เพราะดนตรี
เป็นเครื่องมือสําคัญในการที่จะยกระดับจิตใจและดนตรีเป็นเครื่องมือสําคัญในการยกระดับ
คุณภาพในการเรียนด้วย เพราะว่าจะทําให้เด็ก ๆ ที่ใส่ใจในเรื่องดนตรีมีสมาธิและสามารถ
เรียนหนังสือได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ในนี้ยังเขียนเลยว่าพัฒนาให้เป็นสถาบันต้นแบบ เป็นแหล่ง
ผลิตดนตรีคลาสสิกระดับชาติเพื่อก้าวสู่ความเป็นนักดนตรีระดับนานาชาติ นี่เป็นภารกิจครับ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสรรค์ สร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษาด้านดนตรีคลาสสิก
ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ คือผมเห็นมีหลายมหาวิทยาลัยเขาก็พยายามที่จะ
สนับสนุนดนตรีคลาสสิก ดังนั้นกราบเรียนท่านประธานนะครับว่าผมเป็นห่วงว่าสถาบันนี้
หากจั ดตั้ งขึ้นแล้ว กรุ ณ าเป็นศูนย์ กลางแห่ง ความสามั ค คี เราสามั ค คี เราแลกเปลี่ ย นกั น
ขอความกรุณาอย่าไปเกิดความขัดแย้งแตกแยกระหว่างสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาที่มี
การให้การศึกษาด้านดนตรีด้วยนะครับ
อีกประการหนึ่งที่อยากจะกราบเรียนท่านประธานก็คือว่า ผมอยากเห็นสถาบันนี้
รับผิดชอบในการที่จะสร้างเวทีดนตรีคลาสสิกเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสมารับฟัง มาชื่นชม
มาเสพความไพเราะเสนาะโสตของดนตรีคลาสสิกอย่างเป็นประจํา อย่างเช่นเราจะต้องมี
การจัดดนตรีเวทีคลาสสิกเดือนละหนเป็นต้น ตรงสถานที่แห่งไหนก็แล้วแต่ แล้วเปิดฟรี
ให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้ามารับ --------------------------------------------------------------

- ๑๙/๑
๓๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๑๙/๑

อย่าไปกังวลนะครับว่าถ้าเปิดการแสดงดนตรีฟรีแล้วจะไม่มีใครมาฟัง ไม่จริงครับ ผมเชื่อว่าดี


ไม่ ดี อ าจจะแน่ น เสี ย ด้ ว ยซ้ํ า ไป และนอกจากนี้ ก ารเปิ ด เวที ด นตรี ค ลาสสิ ก ให้ ฟั ง ฟรี นี่
จะเป็นสถานีหรือจะเป็นสถานที่ที่จะให้เด็กนักเรียนของเราฝึกฝนตัวเองด้วย เพราะว่าดนตรี
คลาสสิกก็เหมือนกับเป็นวิชาชีพอันหนึ่งนะครับ วิชาชีพจะมีความเจนจัด จะมีความสามารถได้
ก็ต่อเมื่อต้องผ่านการฝึกปรือครั้งแล้วครั้งเล่า เฉกเช่นเดียวกับวิชาแพทย์ถ้าคุณจะผ่าตัดไส้ติ่ง
ได้เก่งคุณต้องผ่านการผ่าตัดไส้ติ่งจํานวนมาก ๆ แล้วคุณก็จะเก่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ดนตรีคลาสสิก
ก็เช่นกันนะครับว่าถ้าคุณได้มีโอกาสในการที่จะแสดงต่อสาธารณชนเป็นจํานวนครั้งมาก ๆ
ระดับความสามารถของคุณก็จะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วประชาชนก็จะได้มีโอกาสที่จะบริโภค
หรือเสพความไพเราะเสนาะโสตของดนตรีคลาสสิกด้วยแล้วพี่น้องประชาชนทั่วทั้งประเทศ
เขาจะได้ มี ค วามรู้ สึ ก ว่ า สถาบั น ดนตรี ค ลาสสิ ก แห่ ง นี้ ไ ม่ ไ ด้ ห่ า งไกลประชาชนนะครั บ
แล้ วประชาชนโดยทั่ วไปเขาจะได้ มี ความรู้ สึ กด้ วยเช่ นกั นว่ าดนตรี คลาสสิ กไม่ ใช่ เป็ นสิ่ งสู ง
เกินเอื้อมกว่าที่ประชาชนจะมาเสพความไพเราะได้ เพราะที่ผ่านมากราบเรียนท่านประธานว่า
มีความเข้าใจไม่ตรงความจริงอยู่ประการหนึ่ง ก็คือว่าความเข้าใจทั่วไปคิดว่าดนตรีคลาสสิก
เป็ น ของสู ง ดั ง นั้ น คนทั่ ว ไปจะฟั ง ไม่ รู้ เ รื่ อ ง ฟั ง ไม่ ไ พเราะจะต้ อ งมี ก ารไต่ บั น ไดขึ้ น ไปฟั ง
ซึ่งอันนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนะครับ เพราะเหตุว่าดนตรีคลาสสิกในเมืองไทยไม่ได้รับ
การสนับสนุน ก็เลยทําให้คนมีความรู้สึกห่างเหินดนตรีคลาสสิก แล้วทําให้คนมีความรู้สึกว่า
ดนตรีคลาสสิกเป็นสิ่งแปลกปลอมของสังคมไทยซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้านะครับ เพราะว่าอย่างที่
ผมได้กราบเรียนท่านประธานเมื่อสักครู่นี้แล้วว่ามีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนเลยว่า
ถ้าทารกในครรภ์มารดาได้มีโอกาสฟังดนตรีคลาสสิกจะกระตุ้นให้การพัฒนาเซลล์ (Cell)
ประสาทจะสลับซับซ้อนและจํานวนเซลล์จะมากขึ้นได้นะครับ แล้วตรงนี้จะเสริมสติปัญญา
ความเฉลียวฉลาดได้ วันนี้ได้มีการทําเป็นธุรกิจก็คือการขายแผ่นของโมสาร์ทให้กับผู้ที่ตั้งครรภ์
ในระยะแรก ๆ ฟังเป็นต้น ดังนั้นตรงนี้ต้องกราบเรียนท่านประธานครับ เป็นภารกิจของสถาบัน
ต้ อ งดํ า เนิ น การในเรื่ อ งนี้ ด้ ว ย ก็ คื อว่ าจั ดเวที ให้ เด็ กนั กเรี ยนได้ มี โอกาสแสดงความสามารถ
พร้อม ๆ กับเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนไปรับฟังฟรีโดยไม่ต้องคิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
และผมเชื่อครับว่าด้วยการทําเช่นนี้บรรยากาศของการฟังดนตรีคลาสสิกก็จะคึกคักขึ้นมา
ในประเทศไทย
๓๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๑๙/๒

ข้อต่อมาท่านประธานครับ ผมเองไม่ได้ไปชื่นชมกับทางตะวันตกเสียจนลืม
รากเหง้ า ของตั ว เอง ต้ อ งกราบเรี ย นท่ า นประธานด้ ว ยความเคารพนะครั บ ว่ า เพลงไทย
ก็มีความไพเราะลึกล้ําด้วยเช่นกัน ผมจําได้นะครับว่าท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ตอนที่ท่านสร้าง
ภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือกเพื่อเรียกร้องความสันติภาพขึ้นในโลก ในระหว่างสงครามโลก
ครั้งที่ ๒ คือท่านเห็นต่างจากชาวโลกที่เขาใช้สงครามแก้ปัญหา ท่านเห็นว่าวิธีการแก้ปัญหานั้น
ก็ คือสั นติ ภาพ ท่ านบอกเสี ยงกึกก้องกั มปนาทของสั นติภาพนี่มีความสนั่นหวั่ น ไหวไม่ แ พ้
เสียงกึกก้องกัมปนาทของกระสุนสงครามด้วยเช่นกัน ตัวอักษรผมอาจจะไม่สามารถจําคําพูด
ของอาจารย์ปรีดีได้ แต่ว่าความหมายเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นผมอยากจะกราบเรีย น
ท่านประธานนะครับ อยากจะมอบให้เป็นภารกิจของสถาบันด้วยเช่นกันว่าจะทําอย่างไร
ให้สถาบันไปศึกษาดนตรีไทยเดิมของเราให้ลึกซึ้งและยกระดับดนตรีไทยเดิมของไทยเราขึ้นมา
ในระดั บของคลาสสิ กนะครั บ อาทิ เช่ น ลาวดวงเดื อนผมคิ ด ว่ า เป็ น เพลงตั ว อย่ า งอั น หนึ่ ง
ที่ ส ามารถที่ จ ะไปเรี ย บเรี ย งเสี ย งประสานใหม่ ใ ห้ ขึ้ น มาอยู่ ใ นระดั บ คลาสสิ ก ได้ น ะครั บ
เขมรไทรโยก ผมเชื่อว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านรวมทั้งพี่น้องประชาชนไทย
ที่กําลังฟังการอภิปรายอยู่ท่านก็คงจะคุ้นเคยกับ ๒ เพลงดังกล่าว ดังนั้นสถาบันนี้มีหน้าที่
ผมขออนุญาตฝากเป็นหน้าที่ให้สถาบันดนตรีคลาสสิกอันนี้ไปทําการวิจัยค้นคว้าและยกระดับ
ทํ าให้ เพลงไทยเราขึ้ นสู่ ในคุ ณภาพสากลก็ คื อคุ ณภาพของคลาสสิ ก และผมเชื่ อว่ าทั่ วโลก
จะนิยมชมชอบเพลงไทยเดิมอย่างแน่นอน ที่ผมมีความมั่นใจอย่างนี้เพราะว่าผมขออนุญาต
กราบเรียนท่านประธานเอ่ยนามท่านท่านหนึ่งครับ ไม่ได้เสียหายอะไร ก็คือครูเอื้อ สุนทรสนาน
ถ้าท่านประธานยังจําได้นะครับ ครูเอื้อก็คือผู้นําวงดนตรีสุนทราภรณ์ ครูเอื้อเป็นแบบฉบับ
ที่ประทับใจผมมาก ท่านแต่งเพลงในช่วงชีวิตของท่านนี่น่าจะเป็นหลายพันเพลงนะครับ และเท่าที่
ผมทราบหรือเท่าที่ผมเข้าใจ ครูเอื้อได้รับแรงบันดาลใจจากดนตรีไทยเดิมครับ ---------------------

- ๒๐/๑
๔๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๒๐/๑

แล้วท่านคิดดูสิครับว่าดนตรีไทยเดิมหลังจากผ่านการสร้างสรรค์ของครูเอื้อแล้วปรากฏเป็นเพลง
ที่ไพเราะมากเป็นจํานวนนับพัน ๆ เพลงเป็นต้น ดังนั้นสถาบันดนตรีที่ผมคิดว่ากําลังจะเกิดขึ้น
ตามพระราชบั ญ ญั ติ ฉ บั บ นี้ ก็ ค วรจะต้ อ งถื อ เอาเป็ น ภารกิ จ ในการที่ จ ะไปศึ ก ษาค้ น คว้ า
และยกระดับดนตรีไทยเดิมของเราขึ้นสู่ระดับคลาสสิกด้วยเช่นกัน กระผมก็ไม่อยากจะรบกวน
เวลาของสภาให้มากไปกว่านี้ โดยสรุปรวมแล้วกระผมอยากจะกราบเรียนท่านประธาน
ด้วยความเคารพว่ากระผมสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. .... ฉบับนี้
และผมฝากความหวังไว้อย่างยิ่งว่าภายหลังจากมีสถาบันเช่นดังกล่าวนี้แล้วคงจะประสบผลสําเร็จ
ในการที่จะผลักดันทําให้ประเทศไทยมีความเป็นเลิศทางด้านดนตรีอีกแขนงหนึ่งด้วยเช่นกัน
ท่านประธานขอบคุณมากครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : ท่านสมาชิกครับ
ขอสัก ๓ ท่านสุดท้ายก็น่าจะเหมาะนะครับ ท่านอลงกรณ์ พลบุตร แล้วก็ท่านดอกเตอร์พีรพันธุ์
พาลุสุข ท่านพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน คุณหญิงด้วยนะครับ เชิญท่านอลงกรณ์ครับ
นายอลงกรณ์ พลบุ ต ร (บั ญ ชี ร ายชื่ อ ) : ท่ า นประธานที่ เ คารพ กระผม
อลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. .... ฉบับนี้ขึ้นมานั้น ถือได้ว่าเป็นการสานต่อ
จากงานที่ได้ดําเนินการกันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เฉพาะอย่างยิ่งในรัฐบาลชุดที่แล้ว
ก็ได้มีการจัดงบประมาณ ปี ๒๕๕๒ ปี ๒๕๕๓ เพื่อให้มีการจัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
ความจริงกระผมต้องเรียนท่านประธานไปถึงรัฐบาลว่าแนวความคิดในการจัดตั้งสถาบันดนตรี
กัลยาณิวั ฒนานั้น ในเบื้องต้นเป็นการสานต่ อในเรื่ องของการส่งเสริ มดนตรี คลาสสิกหรือว่ า
ดนตรีสากล เพื่อให้มีสถาบันสถานศึกษาซึ่งสอนในระดับปริญญา ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท
ปริ ญ ญาเอก เพื่ อ สร้ า งทั้ ง นั ก ปฏิ บั ติ นั ก ทฤษฎี และนั ก ธุ ร กิ จ ทางด้ า นของดนตรี ชั้ น สู ง
โดยเฉพาะดนตรีสากล ขณะเดียวกันในรัฐบาลที่ผ่า นมาได้ขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิ จ
สร้างสรรค์ขึ้นและได้มีการดําเนินนโยบายในการส่งเสริมสาขาการดนตรีซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่ง
ในอุตสาหกรรมสร้ างสรรค์ ๑ ใน ๑๕ สาขาด้วยกัน การดํ าเนิ นการจัดตั้ งสถาบั นสร้า งสรรค์
ที่เรียกว่าครีเอทีฟ อะคาเดมี (Creative Academy) เพื่อให้ครอบคลุม ๑๕ อุตสาหกรรม
สร้างสรรค์จึงดําเนินการมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยศิลปากรนั้นได้รับเลือกให้เป็นหนึ่ง
ในสถาบันสร้างสรรค์หรือว่าครีเอทีฟ อะแคดดิมีทางด้านของดนตรี ความจริงถ้ากล่าวเช่นนี้
๔๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๒๐/๒

อาจจะเห็นว่าเราไม่ใช่แต่เพียงการสานต่อข้อริเริ่มในปี ๒๕๕๐ เพียงเท่านั้น แต่เราได้ดําเนินการ


ในการขยายข้อริเริ่มดังกล่าวมาสู่การเชื่อมโยงกับการสร้างรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่
ของประเทศ ก็ คื อเศรษฐกิ จสร้ างสรรค์ หรื อว่ าครี เอที ฟ อี โคโนมี (Creative Economy)
โดยที่ เ ชื่ อ มโยงระหว่ า งสถาบั น การศึ ก ษาภาครั ฐ ภาคเอกชน ทั้ ง ในและต่ า งประเทศ
ด้วยมีความหวังว่านอกเหนือจากการที่ดนตรีจะเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่มีอารยธรรมแล้ว
ทั้งดนตรีสากล ดนตรีคลาสสิกหรือว่าดนตรีไทย แต่ยังหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริม
สนั บ สนุ น ธุ ร กิ จ การท่ อ งเที่ ย ว ยั ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการส่ ง เสริ ม อาชี พ ใหม่ ๆ ให้ เกิ ดขึ้ น
ในเมื องหลวงเมื องใหญ่ แม้ แต่ ในชนบท และรวมไปถึ งในภู มิ ภาคอาเซี ยนซึ่ งกํ าลั งจะก้ าวสู่
การเป็นประชาคมอาเซียน ดังนั้นการที่มีการคัดเลือกในการจัดตั้งสถาบันสร้างสรรค์หรือว่า
ครี เ อทีฟ อะคาเดมี ใ นสาขาดนตรีจึง ได้ สอดคล้ อ งต่ อ การรองรั บการจั ดตั้ ง สถาบั น ดนตรี
กัลยาณิวัฒนาขึ้น -------------------------------------------------------------------------------------

- ๒๑/๑
๔๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๒๑/๑

แล้วมหาวิทยาลัยศิลปากรก็ได้ทําหน้าที่ในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ รวมถึงการที่รัฐบาลได้เสนอ
เป็นร่างพระราชบัญญัติ เผอิญว่าเรามีการยุบสภา สภายังไม่ให้ความเห็นชอบ แต่ก็เป็นการสานต่อ
ที่ รั ฐ บาลชุ ด นี้ ไ ด้ ข อให้ มี ก ารนํ า ร่ า งกฎหมายฉบั บ เดิ ม มาสู่ ก ารพิ จารณาภายใน ๖๐ วั น
ตามที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว้ก็เท่ากับว่าเป็นการรับไม้ต่อ แต่การรับไม้ต่อนั้นจําเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องเข้าใจพื้นฐานของเจตนารมณ์ของการนําเสนอร่างกฎหมาย และการที่จะก่อให้เกิด
สถาบันดนตรีคลาสสิกแห่งนี้ต่อไป ความจริงดนตรีคลาสสิกหรือดนตรีสากลนั้นก็เพิ่งเข้ามา
ในประเทศไทยเมื่อ ๑๐๐ กว่าปีเท่านั้นเอง เข้ามาพร้อมกับยุคอาณานิคม เข้ามาพร้อมกับ
ยุคของการที่เราต้องเปิดประเทศในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อรัชสมัยของรัชกาลที่ ๔ มาพร้อมกับ
หลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นอารยธรรมของตะวันตก แต่ความเป็นอารยธรรมความเจริญนั้น
มันไม่มีขีดจํากัดหรือการแบ่งกั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา ดนตรีเป็นศิลปะชั้นสูง
โดยเฉพาะดนตรีคลาสสิกได้พัฒนาการมาเป็นเวลา ๕๐๐-๖๐๐ ปี จนกระทั่งมาสู่ประเทศไทย
เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา เมื่อเรามีการเปลี่ยนแปลงการปกครองวิวัฒนาการก็เปลี่ยนแปลง
ตามไปด้ ว ย จากที่เ คยอยู่ใ นการดู แ ลและส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น โดยกรมวั ง หรื อ กระทรวงวั ง
ก็ ม าสู่ ก ารดู แ ลของกรมศิ ล ปากร แล้ ว ในที่ สุ ด การส่ ง เสริ ม ดนตรี ค ลาสสิ ก ก็ ทํ า อย่ า งเป็ น
กิจจะลักษณะภายใต้ระบบการศึกษา แต่ท่านประธานก็คงจะทราบว่าไม่แต่เพียงที่เรามุ่งหวัง
ในการที่จะให้มีการผลิตบัณฑิต หรือนักดนตรี หรือว่านักธุรกิจทางด้านของดนตรีคลาสสิก
แต่เรายังหวังว่าดนตรีคลาสสิกนั้น หรือดนตรีสากลที่เป็นพื้นฐานโดยส่วนใหญ่จะสามารถ
ผสมผสานที่เรียกว่าดนตรีในยุคสมัยศตวรรษที่ ๒๑ เป็นดนตรีแนวร่วมสมัยหลังจากที่มีดนตรี
คลาสสิ ก เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ๕๐๐-๖๐๐ ปี ที่ แ ล้ ว ตั้ ง แต่ ยุ ค บาโรก (Baroque) มายุ ค คลาสสิ ก
มาสู่ ยุ ค ของอิม เพรสชั่ นนิ สม์ (Impressionism) มาควบคู่ข นานระหว่ า งดนตรี กั บ จิต รกร
ภาพศิลปะนั้น และรวมถึงสถาปัตยกรรมนั้นจะมาคู่ขนานในการพัฒนาในยุคสมัยที่มีแนว
รูปแบบที่พัฒนาเป็นแต่ละช่วง แต่ละอัตลักษณ์ แต่ละเอกลักษณ์ วันนี้อาจกล่าวได้ว่าดนตรี
ไม่ใช่แต่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต แต่ยังเป็นส่ วนหนึ่งของการสร้างเศรษฐกิจแนวใหม่ขึ้น
ประเทศไทยนับแต่เราได้ขับเคลื่อนอย่างจริงจังในเรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในปี ๒๕๑๒
เมื่อรัฐบาลของท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศพันธสัญญา ๑๒ ข้อ แล้วประกาศให้เรา
เป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในอาเซียนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียน
ในปี ๒๕๕๘ แล้วรวมถึงการเปลี่ยนโมเดล (Model) เศรษฐกิจของเราจากการที่เราเลียนแบบ
๔๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๒๑/๒

การพัฒนาอุตสาหกรรมหลั กจากตะวันตกมาในช่ว ง ๑๐๐ กว่ า ปี มาสู่ ก ารเปลี่ยนแปลง


ที่ เ รี ย กว่ า เป็ น สมาร์ ท โพรดั ค ชั น (Smart Production) แทนที่ จ ะเป็ น แมส โพรดั ค ชั น
(Mass Production) อย่างในอดีต ที่ต้องขายแรงงานถูก ๆ ขายทรัพยากรที่เรามี สิ่งแวดล้อมที่เรามี
มาสู่แนวใหม่ดนตรี แล้วดนตรีคลาสสิกนั้นสามารถที่จะส่งออก วันนี้ท่านประธานคงจะทราบว่า
ทั้งวงดุริยางค์ไม่ว่าจะของรัฐหรือของเอกชนได้สร้างชื่อเสียง แม้แต่ไวทยากรของเราก็มีชื่อเสียง
ในระดับโลก การที่เราได้มีการพิจารณาร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาขึ้น
ในวันนี้ จึงถือว่าเป็นความเหมาะสมสอดคล้องต่อแนวทางการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นการรับไม้ต่อ
ท่านรัฐมนตรีนั่ งอยู่ที่นี่เป็นตั วแทนคณะรั ฐมนตรี จะได้นํ าความเห็น ความเป็นมาเป็นไป
ของการจั ดตั้งสถาบัน ไม่ใ ช่เ ป็ นเพีย งการตั้งสถาบั นการศึก ษาขึ้นมาสถาบั นหนึ่งเท่า นั้น
แต่ความหมายยังเป็นสถาบันหลักอันหนึ่งในการที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
มาสู่โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ถ้าท่านประธานได้เห็นและได้ไปเยี่ยม
ชมวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ของมหิดล ท่านจะเกิดความเข้าใจว่านั่นคือเวิลด์ มิวสิค วิลเลจ
(World music village) เรากล้าพูดได้ถึงขนาดนั้น ว่านั่นคือหมู่บ้านดนตรีของโลก หรือว่า
เฉพาะในอาเซียนก็ถือว่าเป็นหนึ่ง เป็นเอก เรามีของดีอยู่มากมาย แต่คนไทยมักจะไม่ได้รับรู้
รับทราบ หรือมองไม่เห็น ------------------------------------------------------------------------------

- ๒๒/๑
๔๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๒๒/๑

เราอาจจะมีความขัดแย้งทางการเมืองมากเกินไป เราอาจจะหมกมุ่นประเด็นเรื่องอํานาจ
ผลประโยชน์มากเกินไปจนลืมสิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือระดับการพัฒนาที่ก้าวหน้าของประเทศ
และชีวิต ที่มีคุณ ภาพของชุม ชนและประชาชน สถาบั น ที่ มี อยู่ แ ละสถาบั น ที่ กํ า ลั งเกิดขึ้ น
ต้องการการสนับสนุนจากสภาผู้แ ทนราษฎร ทั้ งในเชิ งของงบประมาณและในเรื่ องของ
นโยบาย ผมหวั งอย่ างยิ่ งว่ าการสานต่ อภารกิ จดั งกล่ าวโดยเฉพาะในเรื่ องของสถาบั นดนตรี
กัลยาณิวัฒนานั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ของการก้าวพ้นความแตกแยกขัดแย้งมาสู่
การทํางานที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ก็สืบสานกันต่อไป ประชาชนก็จะเกิดความสุขและเกิดมอง
อนาคตไปข้างหน้าว่าวันนี้ประเทศไทยของเรานั้นมีมุมที่เราสามารถที่จะร่วมมือกัน มีมุมของ
การที่เราจะทํางานร่วมกันเพื่อประโยชน์และเป้าหมายเดียวกันในการสนับสนุน และผมยินดี
ที่จะยกมือสนับสนุนสําหรับร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาที่คณะรัฐมนตรี
ได้นําเสนอต่อสภาแห่งนี้ ขอบคุณครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : เชิญดอกเตอร์
พีรพันธุ์ พาลุสุข
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข (ยโสธร) : ท่านประธานที่เคารพ ผม พีรพันธุ์ พาลุสุข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทยจากจังหวัดยโสธร ท่านประธานครับ ผมก็เป็นผู้หนึ่ง
เข้าใจว่าในสมาชิกจํานวนมากที่เห็นด้วยที่จะสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรี
กัลยาณิวัฒนาในวันนี้ ก่อนอื่นต้องขอบคุณกลุ่มงานบริการวิชาการ สํานักวิชาการ สํานักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่ทําเอกสารประกอบการพิจารณาฉบับนี้ขึ้นมา ในเอกสารนี้ได้
พู ดถึ งความพยายามที่ จะจั ดตั้ งสถาบั นดนตรี กั ลยาณิ วั ฒนาขึ้ นมา ทํ าให้ พวกเราทราบถึ ง
ความเป็นมา ถึงพระประสงค์ขององค์ผู้ทรงต้องการให้เกิดสถาบันแห่งนี้ขึ้นมาในประเทศไทยครับ
จนกระทั่งสุดท้ายก็ได้มีการจัดตั้งเป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยศิลปากร จนกระทั่งวันนี้
ก็จะมีการจัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันดนตรีขึ้นอีกแห่งหนึ่งโดยการออกพระราชบัญญัติจัดตั้งเป็น
สถาบันการศึกษา ท่านประธานครับ ผมได้ดูทั้งหมดแล้ว แม้จะเห็นด้วยแล้วก็ยินดีสนับสนุน
ให้ มี ก ารดํ า เนิ น การจั ด ตั้ ง สถาบั น แห่ ง นี้ แต่ เ นื่ อ งจากว่ า เมื่ อ ดู ใ นพระราชบั ญ ญั ติ นี้ แ ล้ ว
ผมก็ มี ข้ อ สั ง เกตที่ อ ยากจะเรี ย นไปยั ง ท่ า นประธานและคณะกรรมาธิ ก ารที่ จ ะตั้ ง ขึ้ น ไป
พิจารณาต่อไป ก็คือเมื่อดูในร่างทั้งหมด หมวดทั่วไป มาตรา ๖ ถ้าใครไปอ่านดูมาตรา ๖
แล้ ว ก็ จะเหมื อนเป็ นการตั้ งสถาบั นการศึ กษาทางวิ ชาการชั้ นสู ง มี วั ตถุ ประสงค์ เพื่ อสอน
๔๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๒๒/๒

ให้การศึกษาพัฒนาวิชาชีพชั้นสูงในทางดนตรีและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คนที่บริหารอุดมศึกษา


อ่านแค่นี้ก็จะมีความรู้สึกเหมือนผมเลยบอกว่า เขีย นไว้อย่ างนี้ สั กวั นหนึ่งถ้า การบริห าร
สถาบัน นี้ มั น ไปไม่ดี ก็ จะมี ความพยายามที่ จะตั้ งศาสตร์ อื่ นที่ไม่ เกี่ยวข้ องกั บดนตรี เกิ ดขึ้ น
เพราะเขียนไว้อย่างนี้ แล้วท้ายที่สุดสถาบันดนตรีแห่งนี้ที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางต้องการจะเห็น
เกิดขึ้นนั้นก็จะไม่สามารถทําหน้าที่อย่างที่ท่านมีพระราชประสงค์ไว้ ที่ผมพูดเช่นนี้ก็เพราะ
เห็นตัวอย่างมาแล้วจากที่เรามีสถาบันเฉพาะทางเกิดขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็มีการตั้งสาขาอื่น ๆ
ขึ้นมากมาย จนกระทั่งสถาบันแห่งนั้นไม่ต่างอะไรกับมหาวิทยาลัยทั่วไปที่มีอยู่แล้วนะครับ
ในเมื่ อมีการจัดตั้งขึ้นมาให้เ ป็นสถาบั นที่มี ฐานะเป็ นหน่วยงานในกํากั บของรั ฐ ก็ คือไม่ เป็น
ส่วนราชการ แต่พอมาดูบทต่อไปนะครับท่านประธาน พลิกไปดูบทว่าด้วยการดําเนินการ
ซึ่งเป็นหัวใจของเรื่อง ก็คือเมื่อมีวัตถุประสงค์อย่างนี้ -----------------------------------------------

- ๒๓/๑
๔๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๒๓/๑

สถาบันแห่งนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์แค่ไหนก็ต้องไปดูว่าใครเป็นผู้บริหาร ใครเป็นผู้ดําเนินการ
ในการดําเนินการก็มีสภาสถาบันประกอบด้วยนายกสภาสถาบัน กรรมการสถาบัน อื่น ๆ ต่อไป
พลิกดูบทต่อไปครับ ว่าด้วยการบริหาร มาตรา ๑๙ ก็จะมีคณะกรรมการบริหารสถาบัน
ประกอบด้วยอธิการบดีและคณะอื่น ๆ พูดง่าย ๆ ว่าถ้าอ่านดูทํานองนี้ไม่ได้เห็นลักษณะ
เฉพาะทางของสถาบั นแห่งนี้ เลย ก็คื อ ท่านได้กํ า หนดบทบาทให้ ส ถาบันแห่ งนี้ เ ป็น เพีย ง
สถาบันการศึกษาทางด้านดนตรีอีกแห่งหนึ่งเท่านั้นไม่ได้แตกต่างอะไร ในเอกสารฉบับนี้
ได้บอกไว้แล้วว่าสถาบันที่สอนดนตรีมีเยอะมาก อยู่ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งก็มี เป็นคณะ
เป็นภาควิชาก็มี แต่ว่ามันไม่บรรลุความเป็นเลิศ เพราะอะไร เพราะเราไม่ได้วางบทบาท
ไม่ได้วางหน้าที่อย่างชัดเจนให้สถาบันแห่งนี้ และเมื่อดูจากวัตถุประสงค์ ดูจากโครงสร้างของ
การบริหาร ผมจึงเสียดายว่าตอนยกร่างฉบับนี้ผู้ยกร่างอาจจะไม่ได้ศึกษากันอย่างแท้จริง
ให้มีค วามสมบู ร ณ์ม ากกว่า นี้ ก็คื อมีก ารวางบทบาทสถาบั นแห่ งนี้ ไว้ ใ ห้ม ากกว่ า การเป็ น
สถาบันการศึกษา อยากจะเห็นอย่างนี้ครับ ไม่อย่างนั้นสุดท้ายเราก็จะมีสถาบันอีกแห่งหนึ่ง
ทางด้านดนตรีขึ้นมาเท่านั้นเอง ท่านประธานครับ ในข้อเสนอที่ผมอ่านดูในเอกสารฉบับนี้
เช่ น เดี ย วกั น มี ข้ อ ศึ ก ษาที่ ผู้ ที่ ส นใจในเรื่ อ งนี้ ถึ ง แม้ จ ะไม่ ใ ช่ นั ก ดนตรี ค ลาสสิ ก แต่ ก็ เ ป็ น
ผู้ ที่ ส นใจทางด้ า นดนตรี เขาก็ เ สนอว่ า ถ้ า สถาบั น ดนตรี กั ล ยาณิ วั ฒ นาจะสมพระนาม
และเทิดพระเกียรติได้ดี ถ้าเสริมส่วนที่ขาดให้กับวงการดนตรีคลาสสิกในบ้านเรา ก็คือว่า
วางบทบาทของสถาบั น แห่ง นี้เ ป็ นผู้ อุป ถั ม ภ์ ด นตรีค ลาสสิ ก อย่ า งแท้ จริ ง ไม่ เ ลื อ กว่ า เป็ น
นักดนตรีจากในหรือต่างประเทศ นี่คือการวางบทบาทให้มากกว่าการเป็นสถาบันการศึกษา
ให้สถาบันแห่งนี้เป็นแหล่งอุปถัมภ์นักดนตรีฝีมือเลิศ เป็นแหล่งข้อมูลประเทศ มีหอแสดงดนตรี
ไม่จํากัดเฉพาะในกรุงเทพฯ แต่ว่ากระจายไปต่างจังหวัดด้วย สุดท้ายก็คือนําเอาทุกฝ่าย
ที่ เ กี่ ย วข้ อ งเข้ า มาเป็น ผู้มี ส่ ว นร่ว มเป็น ผู้ อุป ถัม ภ์ส ถาบั น แห่ ง นี้ จึ ง จะทํ า ให้ส ถาบั น แห่ ง นี้
สามารถที่จะมีผลงานเป็นองค์รวม เหมือนกับสถาบันอื่นที่เราตั้งขึ้นแล้วก็ประสบความสําเร็จ
ที่ เ ขายกตั ว อย่ า งเช่ น สกว. การท่ อ งเที่ ย ว สสส. เหล่ า นี้ เ ป็ น ต้ น นี่ คื อ สิ่ ง ที่ อ ยากจะเห็ น
ผมก็อยากจะเรียนท่านประธานว่า ขอให้คณะกรรมาธิการที่จะตั้งขึ้นมาช่วยดูเรื่องนี้ด้วย
ลําพังมีสภาสถาบัน มีอธิการบดีบริหารเหมือนอื่นทั่วไปไม่ประสบความสําเร็จครับ จะต้อง
วางบทบาทของสถาบันนี้ให้ชัดเจนว่าทําอะไรบ้าง ให้มากกว่าสถาบันการศึกษา จะสําเร็จก็ต่อเมื่อ
๔๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๒๓/๒

เอาบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ามารวมกันตรงนี้ให้ได้ อย่างนั้นจึงจะเห็นความสําเร็จของสถาบันดนตรี
แห่งนี้ครับ ขอบคุณครับท่านประธานครับ
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : คุณหญิงกัลยา
โสภณพนิช
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช (บัญชีรายชื่อ) : ท่านประธานคะ ดิฉัน คุณหญิงกัลยา
โสภณพนิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธานคะ ดิฉัน
ขออนุญาตที่จะแสดงความคิดเห็นสัก ๒-๓ ประเด็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรี
กัลยาณิวัฒนา พ.ศ. ....
ประการแรก ดิฉันดีใจที่รัฐบาลนี้ให้ความสําคัญแล้วก็ส่งเรื่องสานต่อ พ.ร.บ.
ฉบับนี้เข้าสภาในวันนี้ ประการแรกก็เป็นการสนองพระราชปณิธานและเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็น
ที่ทราบกันอยู่แล้วว่าพระองค์ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องดนตรีทุกด้าน ไม่ใช่เฉพาะ
คลาสสิ ก เท่ า นั้ น แต่ ว่ า ท่ า นเป็ น องค์ อุ ป ถั ม ภ์ ต่ อ ดนตรี ค ลาสสิ ก ของประเทศไทยมานาน
แล้วก็เป็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกทางหนึ่งด้วย
ดิฉันคิดว่าการที่เสนอพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. .... ในครั้งนี้มีความหมาย
กับประเทศไทยมากกว่าการตั้งสถาบันดนตรีเท่านั้น -----------------------------------------------

- ๒๔/๑
๔๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๒๔/๑

เพราะดิฉันคิดว่าดนตรีไม่ว่าจะเป็นดนตรีพื้นเมือง ดนตรีท้องถิ่น ดนตรีสากล หรือว่าลูกทุ่ง


ก็ตาม ต่างก็เป็นสิ่งที่เสริมสร้ างให้ ประชาชนมีดนตรี ในหั วใจ อัน นี้ คิ ดว่ าเป็ นเรื่ องที่ดิฉัน
ให้ความสําคัญ เพราะว่าเป็นการสร้างความอ่อนโยน ความละเอียดอ่อนของคนในประเทศ
ที่คนมีดนตรีในหัวใจอย่างที่กล่าวไปแล้วว่าชนใดไม่มีดนตรีกาลในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
ซึ่งก็เ ป็ นที่ ทราบกันแล้วนะคะ แล้ว ก็ คิดว่ าถ้ าประชาชนคนไทยมี ดนตรีใ นหัว ใจแล้วก็ จะ
ป้องกันความแตกแยก ความรุนแรงในสังคมได้ ท่านประธานคงเห็นด้วยนะคะว่าปัจจุบันนี้
เยาวชนไทย คนไทยจะมีอารมณ์ที่รุนแรงแล้วก็ไม่ยอมกัน เพราะเราจะเห็นจากเหตุการณ์
ใน ๒-๓ ปีที่ผ่านมาในด้านการเมือง มีความโหดเหี้ยม มีความก้าวร้าวมากขึ้นในหน้าหนังสือพิมพ์
เหตุ การณ์ ต่ าง ๆ ที่ เกิ ดขึ้ น ฆ่ ากั น ยิ งกั น ข่ มขื นกั น มากมายจนเรานั บไม่ ถ้ วนในทุ ก ๆ วั น
ในหน้าหนังสือพิมพ์ เพราะฉะนั้นการที่เสนอพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
จึงเป็นหนทางหนึ่งที่สําคัญมาก ที่จะป้องกันไม่ให้คนไทยมีความโหดร้ายทารุณกับเพื่อนมนุษย์
ด้วยกัน กับสัตว์ กับอะไรต่าง ๆ ได้ ดิฉันเชื่อโดยส่วนตัวว่าเหตุที่ประเทศไทยหรือคนไทย
เป็นอย่างนี้มากขึ้น ๆ ก็เพราะว่าเราถูกโลกาภิวัตน์ถาโถมเข้ามาโดยที่เรายังไม่ได้ตั้งตัวให้ดี
จึงนําพาให้คนไทยหันไปสนใจเรื่องวัตถุและเงินทองเป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์
ระหว่ า งคนกั บ คน และความคิ ด อ่ า นของคนแต่ ล ะคนมั น ขาดหายไป เพราะว่ า คนไทย
และเยาวชนไทยส่ วนใหญ่จะทํ างานหรืออยู่ หน้ าจอ หน้ าเครื่ อง ใช้ เวลาแต่ ละวั นมากที เดี ยว
การที่คนมีสัมพันธ์กับเครื่องจะมีความรู้สึกว่าเราเป็นผู้ออกคําสั่ง แล้วก็เครื่องจะต้องทําตามเรา
ช้าไปสักนิดนาที ๒ นาทีก็จะทนไม่ได้ ไม่มีความอดทน เพราะฉะนั้นการที่มีเครื่องมาหลอกล่อ
ให้คนไทยหันไปสนใจเครื่องมากกว่าคนจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งยวด ถ้าใช้ไม่เหมาะสมกับเวลา
และวัยของเยาวชน ดิฉันเชื่อว่าการที่นําเสนอเรื่องการตั้ง พ.ร.บ. สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
พ.ศ. .... จะมีประโยชน์หลายด้านเลยทีเดียว โดยเฉพาะสังคมในอนาคตของความสัมพันธ์
ระหว่ า งคนและคน โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เยาวชนกั บ ครอบครั ว ของเยาวชน นอกจากนี้
การมีสถาบันนี้ก็จะเป็นการยกระดับการดนตรีคลาสสิกของประเทศไทยเข้าสู่ระดับสากลได้
ดิ ฉั น เชื่ อ แล้ ว ทุ ก คนก็ ค งเชื่ อ เช่ น เดี ย วกั น ท่ า นประธานก็ ค งเหมื อ นกั น นะคะว่ า คนไทย
มี พ รสวรรค์ ท างนี้ อ ยู่ แ ล้ ว เราคงไม่ ต้ อ งพู ด ลึ ก ลงไปถึ ง ว่ า มั น จะสร้ า งรอยหยั ก ในสมอง
หรืออะไรมากน้อยแค่ไหน เราก็ทราบแล้วว่าถ้าคนเรียนวิทยาศาสตร์มันใช้สมองด้านซ้าย
ถ้าคนเรียนอักษรศาสตร์หรือศิลปะจะใช้สมองด้านขวาอะไรอย่างนี้เป็นต้น แม้ดิฉันจะเห็นด้วย
๔๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๒๔/๒

แล้วก็สนับสนุนอย่างยิ่ง แล้วก็คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสําคัญต่ออนาคตของไทยอย่างยิ่งยวด
ดิฉันอยากจะขอถามในรายละเอียดเพิ่มเติมจากรัฐมนตรีที่มาเสนอเรื่องนี้ก็คือว่า สถาบัน
แล้ว ก็ ห ลั ก สูตรที่จะตั้ง ขึ้นต่ อ ไปในสถาบันดนตรี กั ลยาณิวัฒนานี้เพื่ อให้เป็ นวิ ชาชี พชั้นสู ง
แล้วก็มีวิทยฐานะตามสมควรที่จะเป็นนี้ รายละเอียดเป็นอย่างไรบ้าง
อั น ที่ ๒ ที่ ข อถามก็ คื อ ว่ า องค์ ป ระกอบของกรรมการสภาสถาบั น ดนตรี
กัลยาณิวัฒนามีรายละเอียดของฝ่ายไหน อย่างไร แค่ไหน ดิฉันก็ทราบโดยจากเอกสารที่มีอยู่
แต่ดิฉันคิดว่าเมื่อวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าไปมากมายไกลกว่าที่เราคาดคิด
น่าจะได้มีบุคลากรความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีด้านดนตรีเข้ามาประกอบเป็น
กรรมการสถาบั น ด้ ว ย ก็ ค งจะให้ ก ารตั้ ง สถาบั น นี้ มี ค วามครบถ้ ว นแล้ ว ก็ ไ ด้ ใ ช้ วิ ท ยาการ
ที่สมบูรณ์แบบต่อไปในอนาคตค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ

- ๒๕/๑
๕๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ธัญรดา ๒๕/๑

นายสมศั ก ดิ์ เกีย รติ สุร นนท์ (ประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร) : คง ๒ ท่า น


สุดท้ายกระมังครับ ท่านพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ตามด้วยท่านสถาพร
นายพิ เ ชษฐ์ เชื้ อ เมื อ งพาน (เชี ย งราย) : กราบเรี ย นท่ า นประธานสภา
ที่ เคารพ กระผม นายพิ เชษฐ์ เชื้ อเมื องพาน สมาชิ กสภาผู้ แทนราษฎรจั งหวั ดเชี ยงราย
พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพครับ ผมต้องกราบขอบพระคุณมหาวิทยาลัยศิลปากร
ซึ่ง เป็น มหาวิท ยาลัย แห่ง การสร้ า งสรรค์ไ ด้ ส ร้า งศิ ล ปิ น ระดั บโลกไว้ ม ากมาย โดยเฉพาะ
จังหวัดเชียงรายผม ท่านถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ท่านก็ผ่านสถาบันมหาวิทยาลัยศิลปากร
ท่านอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งกําลังเป็นศิลปินที่โด่งดังระดับโลก ท่านก็ผ่านสถาบัน
มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านประธานที่เคารพ ผมดีใจนะครับที่เกิดร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
ขึ้นมา มหาวิทยาลัยศิลปากรและกระทรวงวัฒนธรรมต้องร่วมมือถึง ๒ สถาบันถึงจะเริ่มต้น
ตรงนี้ได้ ถ้าไม่มีกระทรวงวัฒนธรรมแล้วก็มหาวิทยาลัยที่สร้างสรรค์ทางความคิดทางการริเริ่ม
สร้างสรรค์แล้วสถาบันแห่งนี้อาจจะไม่มาถึงตรงนี้ก็ได้ ท่านประธานครับ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะองค์อุปถัมภ์วงการดนตรีคลาสสิก
ของประเทศไทย พระองค์ท่านได้อยู่ต่างประเทศ พระองค์ท่านได้ศึกษาเรียนรู้ทางด้านการดนตรี
มาเยอะถึงมองเห็นว่าความจําเป็นทางด้านดนตรีคลาสสิกมีความจําเป็นอย่างยิ่งต่อประเทศ
ทุกประเทศในโลกนี้ ท่านประธานครับ เยาวชนไทยของเราไปประกวดแข่งขันทางด้านดนตรี
ทางด้ า นดุ ริ ย างค์ ร ะดั บ โลกก็ ช นะอั น ดั บ ๑ ของโลกมาจนนั บ ครั้ ง ไม่ ถ้ ว นหลายสถาบั น
หลายโรงเรียนในประเทศไทย แม้แต่ศิลปินที่ไปแข่งขันระดับโลกทางด้านการดนตรีก็ชนะมา
หลายคน ท่านประธานครับ ที่บ้านผมเด็กบ้านนอกคนหนึ่ง บ้านอยู่หลังเขาเลยอยากจะ
เรียนดนตรีมาขอคําแนะนําจากผม ผมก็ไม่ทราบว่าจะให้เขาไปเรียนที่ไหน เขาก็ไปสรรหา
เขาบอกว่า มีโรงเรีย นดุริย างค์ ท หารครั บ แล้ว โรงเรี ย นนี้ อยู่ตรงไหนผมอยากจะไปศึ กษา
ผมช่วยค่ารถแล้วก็พาไปส่งสอบ เขาก็สอบได้ ปรากฏว่าวันนี้เป็นทหารซึ่งเป็นดุริยางค์ทหาร
ก็เป็นเด็กมีความสามารถพิเศษ นี่คือเยาวชนไทยขวนขวายที่จะมีความก้าวหน้าทางด้านดนตรี
ผมเสียดายว่าเยาวชนของประเทศไทยขาดการพัฒนาทางด้านดนตรีอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
ในวั น นี้ ถื อ ว่ า เป็ น โอกาสดี ที่ ค นไทยจะได้ พั ฒ นารสนิ ย ม ท่ า นประธานครั บ รสนิ ย มก็ คื อ
ค่านิยมที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่พัฒนาแล้ว คนของเขาจะมีรสนิยมสูง รสนิยมก็คือศิลปะ
๕๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ธัญรดา ๒๕/๒

คื อ การมองเห็ น คุ ณ ค่ า ของความสวยงาม ฉะนั้ น ดนตรี คลาสสิ ก คนที่ มี รสนิ ยมสู งเท่ านั้ น
ที่จะซาบซึ้งและเข้าใจ ฟังแล้วเกิดอารมณ์ที่สุนทรี ถ้าไม่มีรสนิยมฟังไม่รู้เรื่องครับท่านประธาน
สถาบัน กัลยาณิวั ฒนาเป็นสถาบันศึกษาทางด้านวิชาการและวิ ชาชี พชั้น สู งในทางดนตรี
และศาสตร์อื่น ๆ สําคัญที่สุดครับท่านประธาน สถาบันแห่งนี้จะเป็นหลักในการทํานุบํารุงศิลปะ
และวัฒนธรรมของชาติ ผมขอให้การสนับสุนนอย่างเต็มที่ ท่านประธานครับ ขอบคุณครับ

- ๒๖/๑
๕๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๒๖/๑

นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร) : คงเป็นท่านสุดท้าย


กระมังครับ ท่านสถาพรเชิญครับ
นายสถาพร มณีรัตน์ (ลําพูน) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม สถาพร มณีรัตน์
พรรคเพื่อไทย จังหวัดลําพูน ขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. ....
กระผมขอชื่นชมในพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์วงการดนตรีคลาสสิกของประเทศไทย
ท่านประธานครับ การที่คนที่อยู่ที่จะได้สัมผัสกับดนตรีคลาสสิก ผมเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ก็ไม่รู้ว่าเขาแยกแยะอย่างไรระหว่างคลาสสิกชั้นสูง ถ้าเราสมมุติฐานว่าในเรื่องของดนตรี
แล้ วขั บกล่ อมอารมณ์ ของมนุ ษย์ ที่ รุ นแรงแล้ วก็ ให้ กล่ อมเกลาเย็ นลง เราจะถื อ ว่ า คลาสสิ ก
หรือไม่ สะล้อ ซอ ซึง ซึ่งถือว่าคลาสสิกที่สุดในภาคชนบทของพวกผมนะครับอย่างนี้จะถือว่า
คลาสสิก หรือ ไม่ เพราะนี่คือ อารยธรรมที่หล่อ หลอมกั น มาเป็น พัน ๆ ปี สถาบั น ที่ ตั้งขึ้ น
เราอยากจะรวบรวมคําว่า คลาสสิก ไม่เน้นเฉพาะเจาะจงมาจากยุโรปหรืออเมริกา ภาคชนบท
ภาคโปงลาง ภาคหมอลํา หมอแคน คลาสสิกสําหรับพี่น้องอย่างพวกเรามาก ก็อยากจะให้
สถาบันเหล่านี้ช่วยเชื่อมโยงให้เป็นหลักสูตรด้วย ชื่นชมครับว่าเราได้มีสถาบันหลักของสถาบัน
ดนตรีกัลยาณิวัฒนา แต่บางครั้งนี่นะครับเราเห็นว่าดนตรีนั้นไม่จําเป็นที่จะต้องแยกส่วนนั้น
ส่วนนี้ อันไหนที่เป็นคลาสสิกในสังคมอีกระดับหนึ่งกับคลาสสิกในสังคมระดับรากหญ้าก็ควร
ที่จะเป็นคลาสสิก ควรจะสนับสนุน สถาบันก็ควรจะสนับสนุนทุกระดับ เพราะฉะนั้นตรงนี้
ฝากกรรมาธิการว่าเราจะทําอย่างไรที่จะให้สถาบันเพื่อเทิดพระเกียรติของพระองค์ท่าน
ได้ขจรขจายไปถึงภาคชนบท ภาคดนตรีทุรกันดาร อย่างซออู้ได้กล่อมให้เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
ซึง สะล้อ เวลาท่านเสด็จมาภาคเหนือก็ได้ขับกล่อม อันนี้ถือว่าคลาสสิกในหมู่ของคนพื้นเมือง
คนทางเหนือ หรือหมอลํา หมอแคนก็ถือว่าคลาสสิกที่ได้ขับกล่อมแขกบ้านแขกเมืองเหล่านี้
อยากจะให้ สถาบั น นอกจากที่ เราจะตั้ งในการที่ จะเผยแพร่ ดนตรี คลาสสิ กของทางยุ โรป
ก็อยากจะให้สถาบันเชื่อมโยงทางท้องถิ่นศึกษาด้วย เพราะหายากครับในการที่เราจะเข้าถึง
ดนตรีกาลจริง ๆ เราอยากจะเห็นอัจฉริยะเหมือนกับวณิพกคนหนึ่งที่มีคลาสสิกมากในแง่
ของสะล้อ ซอ ซึง และหล่อเลี้ยงวิถีชีวิต เราอยากจะเห็นสถาบันที่ตั้งขึ้นมาไม่อํานวยเฉพาะ
คลาสสิกของยุโรป อยากจะให้ท้องถิ่นพื้นที่ซึ่งเป็นศิลปะครับ ท่านประธานครับ เพราะฉะนั้น
กรรมาธิการที่จะตั้งขึ้นขอได้โปรดเมตตาดูว่านอกจากเราจะเทิดพระเกียรติในเรื่องของสถาบันแล้ว
๕๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๒๖/๒

เราจะทําอย่างไรที่จะให้สถาบันเหล่านี้ได้บัญญัติใส่เข้าไปในเรื่องดนตรีท้องถิ่นศึกษา มิฉะนั้น
สิ่ ง เหล่ า นี้ ก็ จ ะถู ก หลงลื ม เราคงไม่ อ ยากจะให้ ศิ ล ปิ น ที่ ดี ด กี ต าร์ แ ล้ ว ก็ สู บ ยาออกมา
เอะอะโวยวายเป็นภาษาอะไรก็ไม่รู้ และทําเป็นตัวอย่างให้เด็กเยาวชนคนหนุ่มคนสาวเข้าใจ
ภาพพจน์ศิลปิน ศิลปะผิด ๆ ---------------------------------------------------------------------------

- ๒๗/๑
๕๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สวรรยา ๒๗/๑

เพราะฉะนั้นสถาบันมีหน้าที่ศึกษาวิจัยแล้วก็เทิดดนตรีคลาสสิกทุกส่วนของโลกนี้ ไม่ว่าจะ
เกิดที่อเมริกา ไม่ว่าจะเกิดที่ยุโรป หรือจะเกิดขุนเขาลําเนาไพรบนป่าบนเขา นี่ก็คลาสสิก
พี่น้องชนเผ่าผม พี่น้องปกากะญอผม เขาก็คลาสสิกครับ ได้เต้น ได้รํา อันนี้คือวิญญาณจริง ๆ ครับ
ของดนตรีคลาสสิก เพราะฉะนั้ น เราเองขอให้สถาบั นดนตรี กั ล ยาณิ วั ฒ นานี้ เ ป็ นสถาบั น
ที่เทิดพระเกียรติดนตรีคลาสสิก แต่ในขณะเดียวกันสถาบันนี้มีหน้าที่ประคับประคองศึกษา
ค้นคว้าวิจัย ผมเป็นเผ่ายองนี่ เป็นเผ่ายองครับ มาจากสิบสองปันนา ผมก็มีดนตรีคลาสสิก
ของผมครับ คือสะล้อครับ ได้ขับกล่อมลื้อ ขับกล่อมยอง เล่าความเป็นมาของวิถีชนเผ่าต่าง ๆ
ผู้เฒ่า ผู้แก่น้ําตาไหลเลยครับ เวลาผมขับลื้อขับยองนี่ อย่างนี้จะถือว่าเป็นคลาสสิกไหมครับ
ที่ทําให้ความรู้สึกผู้คนน้ําตาไหลนึกถึงอดีตกาลต่าง ๆ อย่างนี้ถือว่าคลาสสิกไหม เพราะฉะนั้น
อยากจะให้สถาบันนี้นอกจากจะเทิดพระเกียรติแล้ว ก็อยากจะให้ได้ปกป้องรักษาเจาะลึกถึง
ศิลปะดนตรีกาลของมนุษย์ทั่วโลก มนุษย์ชนเผ่าทั่วโลก มีดนตรีอยู่ในหัวใจหมด เพราะฉะนั้น
ฝากครับท่านประธานที่จะเป็นกรรมาธิการในอนาคตว่าเราควรที่จะให้สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
สมกับเจตนารมณ์ของพระองค์ท่าน และในขณะเดียวกันเป็นสถาบันที่ศึกษาค้นคว้าวิจัย
กลุ่ ม ชนชาติ พั น ธุ์ ค ลาสสิ ก ของส่ ว นต่ า ง ๆ ผมเองขอให้ ข้ อ สั ง เกตผมให้ ก รรมาธิ ก าร
เพื่อที่อย่าหลงประเด็นในเรื่องของกลุ่มใดเพราะว่างบประมาณทั้งนั้น ก็ฝากท่านกรรมาธิการ
ทั้งหลายช่วยด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับ
(การประชุ ม ดํ า เนิ น มาถึ ง ตอนนี้ นายสมศั ก ดิ์ เกี ย รติ สุ ร นนท์ ประธาน
สภาผู้ แ ทนราษฎร ได้ ล งจากบั ล ลั ง ก์ โดยมอบให้ นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทน)
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
ท่ านคุ ณหมอเชิ ดชั ย ขอความกรุ ณ าท่ า นสุ ด ท้ า ยนะครั บ แล้ ว ผมจะขอปิ ด การอภิ ป ราย
และจะขอลงมติรับหลักการหรือไม่นะครับ เชิญคุณหมอเชิดชัย ตั้งข้อสังเกต
นายเชิดชัย ตันติศิรินทร์ (บัญชีรายชื่อ) : กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม นายแพทย์เชิดชัย
ตันติศิรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นะครับ ท่านประธานครับ
เกี่ ยวกั บร่ างพระราชบั ญญั ติ สถาบั นดนตรี กั ลยาณิ วั ฒนา พ.ศ. .... นี้ นะครั บ มี วั ตถุ ประสงค์
๕๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สวรรยา ๒๗/๒

เพื่อเทิดพระเกียรติ อันนี้เป็นเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านครับ เพราะว่าพระองค์ท่านได้ให้


ความสนใจดนตรีมานาน
อันที่ ๒ ก็เป็นเหมือนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เหมือนกัน ท่านประธานที่เคารพครับ
มหาวิทยาลัยเขามีหน้าที่อยู่ ๔ อย่างนะครับ คือสอนแล้วก็ผลิตบัณฑิต อันที่ ๒ ก็ต้องทําวิจัย
อันที่ ๓ ก็คือบริการวิชาการต่อสังคม อันที่ ๔ ก็คือบํารุงศิลปวัฒนธรรม ที่ผมต้องพูดอย่างนี้
เพราะอะไรครับ เพราะว่ามหาวิทยาลัยที่เป็นเฉพาะทางต่าง ๆ ถ้าจะต้องกําหนดเวลาท่านไปร่าง
ในพระราชบัญญัตินี้ต้องเฉพาะให้มันชัด ๆ นะครับ ผมกําลังกลัวว่ามันจะลามไปอย่างอื่น
ตามภารกิจของมหาวิทยาลัยทั่ว ๆ ไปนะครับ ข้อที่ ๑ ครับ ข้อที่ ๒ เกี่ยวกับคลาสสิกต่าง ๆ
ผมเห็นว่าคลาสสิกที่เราพูดถึงคือคลาสสิกตะวันตก ผมก็เห็นด้วยกับท่านผู้อภิปรายหลาย ๆ ท่าน
ถ้ าไปดู ประวั ติ ศาสตร์ ของโลกมั นก็ มี การเจริ ญมาเยอะแยะหลาย ๆ ที่ เอาง่ าย ๆ ก็ ได้ ครั บ
ทางตะวั น ออกก็ มี ป ระเทศจี น ประเทศอิ น เดี ย พวกนี้ เ ขาก็ มี ด นตรี ม าตั้ ง นานแล้ ว ครั บ
เราพูดถึงหรือเปล่า คลาสสิก บังเอิญเราไปก๊อบปี้ตะวันตก เพราะว่าตะวันตกมีเขาเรียกอะไร
ล่ะครับ ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางเศรษฐกิจมันไปเป็นทางทุนนิยมหมด
เพราะฉะนั้นเมื่อเรามาอยูใ่ นทุนนิยมเราก็ไปตามเขา ทั้ง ๆ ที่ตะวันตกเดี๋ยวนี้ก็มาดูตะวันออกว่า
มีดีอะไรบ้าง ผมฟังดนตรีของจีนของแขกแล้วใครที่มาผลิตว่าเป็นคลาสสิกทางตะวันตก
ดูบางทีมันมีคล้าย ๆ กับทางตะวันออกก็มี ------------------------------------------------------------

- ๒๘/๑
๕๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) วาสนา ๒๘/๑

เพียงแต่ว่าเราไม่ได้ไปยกย่องทางนี้เฉย ๆ เราก็ไปยกย่องเขาว่าตะวันตกมันคลาสสิก เป็นดนตรี


ของไฮคลาส (High class) ของชนชั้นสูง ซึ่งไม่ใช่นะครับ ดนตรีนี่ของประชาชนทั่ว ๆ ไปก็มี
ที่ออกมาแล้วก็มีการวิวัฒนาการขึ้นมา เพื่อให้คนหรือว่ามนุษย์ได้มีสิ่งประโลมจิตใจทําให้สังคม
อยู่ได้เพราะว่ามนุษย์มีความทุกข์ยาก เพราะฉะนั้นการที่มีดนตรีอบรมจิตใจนอกเหนือจาก
ทางศาสนาที่อบรมจิตใจด้วย อันนี้ก็มีประโยชน์ครับ เพราะฉะนั้นคําว่า คลาสสิก ผมอยากจะ
ให้ทางคณะกรรมาธิการไปดูให้ดีว่าคลาสสิกอะไรนะครับ
อันที่ ๓ หน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีเรื่องดนตรีเขาก็มี
คลาสสิกเหมือนกันนะครั บ ผมยกตั วอย่างเช่ นในมหาวิทยาลัยมหิดลที่ มีเ รื่ องราวต่าง ๆ
ลงหนังสือพิมพ์ เขาก็อยากจะพัฒนาของเขาขึ้นมาเหมือนกัน แค่ออกใบปริญญายังยากเลยครับ
ผมอยากจะให้ทางคณะกรรมาธิการที่ไปร่าง พ.ร.บ. นี้นะครับ อยากจะให้พูดถึงเรื่องความสัมพันธ์
กับหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับภาควิชา ระดับคณะในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ นะครับว่า
จะมีการประสานงานกันอย่างไร เพราะว่ ามั นจะไปเกี่ ยวข้ องกั บงบประมาณที่ เขาพึงได้ รั บ
ถ้ามีมหาวิทยาลัยที่เฉพาะทางขึ้นมาอาจจะมีการดูดเอาเงิน พูดง่าย ๆ นะครับ เอาไปใช้ทําให้
ที่อื่นเขาเสียประโยชน์ที่พึงได้รับ
อั น ที่ ๔ ก็ คื อ ว่ า ผมเห็ น มหาวิ ท ยาลั ย ต่ า ง ๆ ที่ อ ยู่ ใ นกํ า กั บ ของรั ฐ บาล
ตอนที่ผมรับราชการอยู่ในมหาวิทยาลัยเป็นอาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เราก็อยากจะเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับเหมือนกันครับ เพราะว่าได้เงินมาใช้ดีและมีอิสระ
คล่องตัว แต่เท่าที่ผมดูมหาวิทยาลัยที่ออกไปมันขาดการประเมินอยู่อย่างหนึ่งก็คือความคุ้มค่า
ความคุ้มค่าก็คือในฐานะที่เราไปเป็น ส.ส. เราพิจารณาว่าภาษีอากรราษฎรที่เราจะให้ไปแก่
หน่วยงานต่าง ๆ ๑ บาทมันคุ้มค่าหรือเปล่าที่เขาจะใช้ ผมเห็นแล้วอยากจะฝากนะครับว่า
ใน พ.ร.บ. อันนี้น่าจะกล่าวถึงการประเมินนอกจากทางกู๊ดกัฟเวอร์นเมนท์ (Good Government)
อยากจะให้มีการประเมินความคุ้มค่าที่เป็นกิจจะลักษณะด้วยนะครับ
ท่านประธานข้อสุดท้ายนะครับ เราเทิดพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้าพี่นาง
ขอให้เทิดพระเกียรติจริง ๆ นะครับ ผมจะยกตัวอย่างที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเรามีศูนย์หัวใจ
สิริกิติ์ เป็นการยกฐานะการผ่าตัดหัวใจเฉพาะทาง ซึ่งในภาคอีสานมีเฉพาะที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขึ้นมาเป็นเป็นระดับคณะวิชา แล้วคณะสถาบันศูนย์วิจัยสิริกิติ์ เมื่อทําเสร็จแล้วก็วิวัฒนาการ
สามารถผ่าตัดหัวใจได้มากที่สุดอับดับหนึ่งของประเทศ แต่สภามหาวิทยาลัยขอนแก่นแทนที่จะคํานึง
๕๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) วาสนา ๒๘/๒

ไปยุบเขา ตอนนี้ยุบจากระดับคณะมาเป็นน้อยกว่า ภาควิ ชาอีก ผมก็ ไม่อ ยากให้เ กิ ดขึ้น กับ


สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาเช่นเดียวกัน ผมคิดว่าถ้าสถาบันต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย
ได้อ้างถึงทางพระราชวงศ์ เพื่อเทิดพระเกียรติจริง ๆ ทุกคนก็ควรจะทําตามไปอีก ไม่ใช่ว่าวันนี้
เราเทิดพระเกียรติท่าน วันข้างหน้าเราไม่เทิดพระเกียรติท่าน ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องลักลั่น
เพราะฉะนั้นผมก็สนับสนุนนะครับ แต่อยากให้คณะกรรมาธิการที่ไปพิจารณาร่าง พ.ร.บ.
สถาบั น ดนตรี กั ล ยาณิ วั ฒ นา พ.ศ. .... ได้ นํ า ข้ อ เสนอที่ ผ มกล่ า วถึ ง ไปประกอบด้ ว ยครั บ
ขอบคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ผมเห็นว่า
อภิปรายพอสมควรนะครับ ไม่มีท่านใดอภิปราย ถือว่าที่ประชุมปิดการอภิปรายนะครับ
ท่านรัฐมนตรีไม่ติดใจสรุปนะครับ เชิญครับ
นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ (รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี) : กราบเรียน
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายแพทย์สุรวิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ รัฐมนตรี ประจํา สํา นั ก
นายกรัฐมนตรี ในนามของคณะรัฐมนตรีที่ได้มอบหมายให้กระผมนําเสนอและชี้แจงนั้น
กระผมกราบเรี ย นว่ า กฎหมายฉบั บนี้ เ ป็น กฎหมายฉบับ แรกสํา หรั บ การเปิ ดประชุ ม สภา
สมัยสามัญนิติบัญญัติ -----------------------------------------------------------------------------------

- ๒๙/๑
๕๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) พรธิดา ๒๙/๑

และเป็นกฎหมายที่เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง


นราธิวาสราชนครินทร์ จะเห็นได้ว่าทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ๑๐ ท่าน
ที่อภิปรายนั้นต่างก็ให้การสนับสนุน ซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจที่จะสนับสนุนงานดนตรีคลาสสิก
ที่เป็นงานที่ถือว่าเป็นงานที่จะส่งเสริมในระดับอุดมศึกษา ผมกราบเรียนว่าในส่วนที่บางท่าน
ได้สอบถามนั้นผมคงจะไม่ลงไปลึก แต่ผมกราบเรียนยืนยันว่าสถาบันแห่งนี้ ในเรื่องของสถาบัน
สมทบนั้นจะมีระเบียบ มีข้อบังคับต่าง ๆ ที่จะกําหนดว่าผู้ที่ศึกษาในสถาบันอื่นที่จะเข้ามา
รับปริญญาในสถาบันแห่งนี้จะมีระเบียบต่าง ๆ ที่จะกําหนดชัดเจน และในส่วนของการผสมผสาน
ดนตรีจากดนตรีพื้นบ้าน จากภาคเหนือก็ดี ภาคอีสานหรือจากประเทศเพื่อนบ้านนั้น ผมเชื่อว่า
คณะกรรมาธิการก็จะไปกําหนดในรายละเอียด
ส่วนในเรื่องหลักสูตรหรือการจัดการบริหาร การโอนทรัพย์สิน โอนบุคลากรนั้น
ผมยังเชื่อมั่นว่าคณะกรรมาธิการของสภาหรือคณะกรรมการผู้บริหารก็คงจะได้พิจารณา
ในรายละเอียด เพราะสถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันที่มีเกียรติ เป็นสถาบันที่เรียกว่าพวกเรา
ต่างก็ร่วมกันที่จะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ซึ่งในขณะนี้
ได้ดําเนินการไปมากพอสมควรและการดําเนินการก่อสร้างต่าง ๆ ได้เริ่มไปมากพอสมควร
กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายเพื่อรองรับในการดําเนินการต่าง ๆ กระผมคงจะไม่ลงลึกไปใน
รายละเอียด เพราะผมได้ติดตามแล้วทุกท่านให้การสนับสนุนและขอขอบคุณในนามของ
คณะรัฐมนตรีครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ต่อไป
ผมจะขอมติจากที่ประชุมนะครับ
(นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง มีสัญญาณ
ให้สมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนลงมติ)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ก่อนจะ
ลงมติผมขอตรวจสอบองค์ประชุมก่อนนะครับ ขอเชิญท่านสมาชิกช่วยกรุ ณาแสดงสิท ธิ
ของตนเอง กรุณาเสียบบัตรกดปุ่มแสดงตนเพื่อตรวจสอบองค์ประชุมก่อนนะครับ
(สมาชิกทําการเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตน)
๕๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) พรธิดา ๒๙/๒

นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : มีท่านใด


ยังไม่แสดงตนอีกไหมครับ ท่านคมเดชเรียบร้อยหรือยังครับ เรียบร้อยแล้วนะครับ มีอีกไหมครับ
เมื่อท่านกดปุ่มแสดงตนแล้ว เชิญเจ้าหน้าที่ส่งผล มีผู้เข้าร่วมประชุม ๓๙๒ ท่าน ครบองค์ประชุม
นะครับ

- ๓๐/๑
๖๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๓๐/๑

ผมจะขอถามมติที่ประชุมว่าที่ประชุมแห่งนี้จะรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้หรือไม่ ถ้าท่านใดเห็นควรรับหลักการให้กดปุ่มคําว่า เห็นด้วย ถ้าท่านใดไม่เห็นควร
รับหลักการให้กดปุ่มคําว่า ไม่เห็นด้วย ผู้ใดงดออกเสียงให้กดปุ่ม งดออกเสียง ขอเชิญ
ออกเสียงลงคะแนนได้ครับ
(สมาชิกทําการเสียบบัตรแสดงตนและกดปุ่มลงคะแนน)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านสมาชิก
ท่ า นใดยั ง ไม่ ล งคะแนนมี ไ หมครั บ ถื อ ว่ า ที่ ป ระชุ ม ลงคะแนนเรี ย บร้ อ ยนะครั บ ผมขอ
ปิดการลงคะแนน เชิญเจ้าหน้า ที่ส่งผลลงคะแนน เห็นด้ว ย ๔๑๑ ท่า น ไม่เ ห็นด้ว ย ไม่ มี
งดออกเสียง ๒ ท่าน ไม่ลงคะแนน ๑ ท่าน ถือว่าที่ประชุมนี้มีมติเห็นชอบรับหลักการนะครับ
๖๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๓๐/๒

เมื่ อ เห็ น ชอบรั บ หลั ก การแล้ ว ขอเชิ ญ ท่ า นสมาชิ ก ทางฝ่ า ยรั ฐ บาลจะตั้ ง
กรรมาธิการเท่าไรครับ ท่านรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกี่ท่าน เชิญท่านวิป (Whip)
รัฐบาล ท่านไพจิต กี่ท่านครับ เชิญครับ
นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม
พิษณุ หัตถสงเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดหนองบัวลําภู พรรคเพื่อไทย
ขอเสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญ จํานวน ๓๑ ท่าน ขอผู้รับรองครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ผู้รบั รอง
ถูกต้อง มีเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ
(ไม่มีสมาชิกมีความเห็นเป็นอย่างอื่น)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ถ้าไม่มี
สัดส่วนจะเป็นอย่างนี้นะครับ รัฐบาล ๕ ท่าน พรรคเพื่อไทย ๑๕ ท่าน พรรคประชาธิปัตย์ ๘ ท่าน
พรรคภูมิใจไทย ๒ ท่าน พรรคชาติไทยพัฒนา ๑ ท่าน พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชลรวมกัน
๑ ท่าน พรรคเพื่อไทย ๑๔ ท่านนะครับ เชิญรัฐบาลเสนอครับ
นายสุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ (รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ) :
ท่ านประธานสภาที่ เคารพ กระผม นายแพทย์ สุ รวิ ทย์ คนสมบู รณ์ รั ฐมนตรี ประจํ าสํ านั ก
นายกรัฐมนตรี ขอเสนอกรรมาธิการในสัดส่วนของรัฐบาลจํานวน ๕ ท่าน ๑. นายแพทย์สุรวิทย์
คนสมบูรณ์ ๒. นางบุญรื่น ศรีธเรศ ๓. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ
๔. นายอภิชาติ จีรวุฒิ ๕. นางสาวอัญชลิตา กองอรรถ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
เชิญพรรคเพื่อไทยครับ ๑๔ ท่าน เชิญครับ
นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ (นครพนม) : เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่เคารพ ผม ยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ขอเสนอ
รายชื่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. ....
ในสั ด ส่ ว นของพรรคเพื่ อ ไทย ดั ง มี ร ายนามดั ง ต่ อ ไปนี้ คื อ ๑. นายสามารถ แก้ ว มี ชั ย
๖๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๓๐/๔

๒. นายพ้อง ชีวานันท์ ๓. นางสาวพรพิมล ธรรมสาร ๔. ร้อยตํารวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์


๕. นายยุร นันท์ ภมรมนตรี ๖. นายทศพล เสรี รัก ษ์ ๗. นางสาวนพสรั ญ วรรณศิ ริกุ ล
๘. นายเกรี ย งศั ก ดิ์ ฝ้ า ยสี งาม ๙. นายดิ สทั ต คํ า ประกอบ ๑๐. นางชมภู จั น ทาทอง
๑๑. นายบุ ญ ฐิ ณ ประทุ ม ลี ๑๒. นายปิ ย วั ฒ น พั น ธ์ ส ายเชื้ อ ๑๓. นายวิ ส า คั ญ ทั พ
๑๔. นายรังษีเสรีชัยใจมุ่ง ขอผู้รับรองครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ผู้รับรอง
ถูกต้องนะครับ เชิญพรรคประชาธิปัตย์ ๘ ท่าน

- ๓๑/๑
๖๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๓๑/๑

นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ (กาญจนบุรี) : เรียนท่านประธานที่เคารพ


ดิฉัน ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ขอเสนอรายชื่อ
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. ....
ในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ดังนี้ ๑. ดอกเตอร์คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ๒. นายวิรัตน์
กัลยาศิริ ๓. นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ๔. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๕. นางอานิก อัมระนันทน์
๖. นายกษิต ภิรมย์ ๗. ดอกเตอร์ประกอบ จิรกิตติ ๘. นายธีระ สลักเพชร ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ถูกต้องครับ
เชิญพรรคภูมิใจไทย ๒ ท่านครับ
นายบุญดํารง ประเสริฐโสภา (ราชบุรี) : เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่เคารพ ผม นายบุญดํารง ประเสริฐโสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี ขอเสนอ
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. ....
ในส่ ว นของพรรคภู มิ ใ จไทย จํ า นวน ๒ ท่ า น คื อ ๑. นางสาวมั ล ลิ ก า จิ ร ะพั น ธุ์ ว าณิ ช
๒. นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร ขอผู้รับรองครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : มีผู้รับรอง
ถูกต้อง เชิญพรรคชาติไทยพัฒนา ๑ ท่านครับ
พันโท สินธพ แก้วพิจิตร (นครปฐม) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม พันโท สินธพ แก้วพิจิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม ขอเสนอรายชื่อ
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. ....
ในสัดส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา จํานวน ๑ ท่านดังนี้ นายสรชัด สุจิตต์ ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ถูกต้องครับ
เชิญพรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล ๑ ท่านครับ
นายรณเทพ อนุ วั ฒ น์ (ชลบุ รี ) : กราบเรี ย นท่ า นประธานสภาที่ เ คารพ
ผม รณเทพ อนุวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี พรรคพลังชล ขอเสนอรายชื่อ
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. ....
๖๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๓๑/๒

ในสั ด ส่ ว นของพรรคพลั ง ชล จํ า นวน ๑ ท่ า น ได้ แ ก่ นายปรเมศวร์ งามพิ เ ชษฐ์ ครั บ


ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ถูกต้องครับ
เชิญท่านเลขาธิการอ่านรายชื่อคณะกรรมาธิการครับ
นายสมพล วณิคพันธุ์ (รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) : รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. .... ๑. นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ๒. นางบุญรื่น ศรีธเรศ
๓. ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ ๔. นายอภิชาติ จีระวุฒิ ๕. นางสาวอัญชลิตา
กองอรรถ ๖. นายสามารถ แก้วมีชัย ๗. นายพ้อง ชีวานันท์ ๘. นางสาวพรพิมล ธรรมสาร
๙. ร้อยตํารวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ ๑๐. นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ๑๑. นายทศพร เสรีรักษ์
๑๒. นางสาวนพสรั ญ วรรณศิ ริ กุ ล ๑๓. นายเกรี ย งศั ก ดิ์ ฝ้ า ยสี ง าม ๑๔. นายดิ ส ทั ต
คําประกอบ ๑๕. นางชมภู จันทาทอง ๑๖. นายบุญฐิณ ประทุม ลี ๑๗. นายปิ ยวัฒ น
พันธ์สายเชื้อ ๑๘. นายวิสา คัญทัพ ๑๙. นายรังษี เสรีชัยใจมุ่ง ๒๐. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
๒๑. นายวิ รั ต น์ กั ล ยาศิ ริ ๒๒. นายวรงค์ เดชกิ จ วิ ก รม ๒๓. นายอลงกรณ์ พลบุ ต ร
๒๔. นางอานิก อัมระนันทน์ ๒๕. นายกษิต ภิรมย์ ๒๖. นายประกอบ จิรกิตติ ๒๗. นายธีระ
สลั กเพชร ๒๘. นางสาวมั ลลิ กา จิ ระพั นธุ์ วาณิ ช ๒๙. นางสาวชะวรลั ทธิ์ ชิ นธรรมมิ ตร
๓๐. นายสรชัด สุจิตต์ และ ๓๑. นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : จะแปรญัตติ
กี่วัน
นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานที่เคารพครับ
กระผม พิษณุ หัตถสงเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดหนองบัวลําภู พรรคเพื่อไทย
แปรญัตติ ๗ วัน ตามข้อบังคับครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : มีท่านสมาชิก
เห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ
(ไม่มีสมาชิกมีความเห็นเป็นอย่างอื่น)
๖๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๓๑/๓

นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ถ้าไม่มี


ถือว่า ๗ วัน จบเรื่องที่ ๑ นะครับ
ผมขอพิจารณาต่อในเรื่องที่ ๒ เป็นร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
ภูเก็ต พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ)
๖๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๓๒/๑

ด้วยร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต พ.ศ. .... นี้ได้บรรจุระเบียบวาระ


การประชุมสภาผู้แทนในชุดที่แล้ว และรอการพิจารณาในวาระที่หนึ่ง ในขั้นรับหลักการ
จนมี พ ระราชกฤษฎี ก ายุ บ สภาเมื่ อ วั น ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ดั ง นั้ น จึ ง ขอให้ ท าง
สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ต่อไปตามข้อบังคับ ข้อ ๑๓๘ โดยมี
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ก่อนที่จะให้ท่านรัฐมนตรีได้แถลงหลักการและเหตุผล ทางรัฐบาล
ได้ขอให้บุคคลภายนอกมาร่วมประชุมชี้แจงด้วย มีอยู่ประมาณ ๖ ท่าน และท่านประธาน
ได้อนุญาตแล้วนะครับ เชิญผู้ที่จะร่วมประชุมเข้าประจําที่ได้แล้ว เจ้าหน้าที่จัดที่นั่งด้วยนะครับ
เชิญรัฐบาลแถลงหลักการและเหตุผลครับ
นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ (รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี) : กราบเรียน
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติทุกท่าน กระผม
นายแพทย์ สุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ได้ รั บ มอบหมาย
จากคณะรัฐมนตรีให้นําเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองต่อสภาผู้แทนราษฎร
รวม ๓ ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติ
จัดตั้งศาลปกครองเพชรบุรี พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองนครสวรรค์
พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยมีหลักการและเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ดังนี้ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง รวม ๓ ฉบับ
หลั ก การ เป็ น การจั ด ตั้ ง ศาลปกครองในภู มิ ภ าคขึ้ น ใน ๓ จั ง หวั ด ได้ แ ก่
ศาลปกครองภูเก็ต ศาลปกครองเพชรบุรี และศาลปกครองนครสวรรค์
เหตุ ผ ล ในการเสนอร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ทั้ ง ๓ ฉบั บ ดั ง กล่ า วเป็ น ไป
เพื่ออํานวยประโยชน์ให้แก่ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานทางปกครองในจังหวัด
ดังกล่าว สําหรับการดําเนินคดีทางปกครองโดยกําหนดเขตอํานาจศาลไว้ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต พ.ศ. .... ให้มีเขตตลอดท้องที่
จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดระนอง
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองเพชรบุรี พ.ศ. .... ให้มีเขตตลอดท้องที่
จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม
๖๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๓๒/๒

๓. ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ จัด ตั้ งศาลปกครองนครสวรรค์ พ.ศ. .... ให้มี เ ขต


ตลอดท้ อ งที่ จั ง หวั ด นครสวรรค์ จั ง หวั ด เพชรบู ร ณ์ จั ง หวั ด ลพบุ รี และจั ง หวั ด อุ ทั ย ธานี
ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติในมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ได้บัญญัติไว้ว่า บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ ประกอบกับมาตรา ๘
วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
บั ญ ญั ติ ว่ า การจั ด ตั้ ง และการกํ า หนดเขตอํ า นาจของศาลปกครองในภู มิ ภ าคให้ ก ระทํ า
โดยพระราชบัญญัติ
และโดยที่ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับดังกล่าวเป็นเรื่องการบริหารจัดการ
โครงสร้างของศาลปกครอง จึงขอความกรุณาจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรขอได้โปรด
อนุญาตให้ผู้แทนจากศาลปกครองจํานวน ๖ ท่าน ได้แก่ ๑. นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการ
ศาลปกครองสูงสุด ๒. นายสุเมธ รอยกุลเจริญ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ๓. นายสมชัย
วัฒนการุณ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ๔. นายประเวศ รักษพล ตุลาการ
ศาลปกครองกลาง ๕. นายตรีภพ คริสต์รักษา ตุลาการศาลปกครอง ๖. นายดิเรกฤทธิ์
เจนครองธรรม รองเลขาธิการสํานักงานศาลปกครอง เพื่อให้ทั้ง ๖ ท่านได้เข้าร่วมชี้แจงต่อ
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ในการนี้ได้มีหนังสือ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว ------------------------------------------

- ๓๓/๑
๖๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๓๓/๑

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับนี้ จะได้รับความเห็นชอบ


จากฝ่ายนิติบัญญัติคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ให้ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
ทั้ ง นี้ เ พื่ อ เป็ น การอํ า นวยความสะดวกแก่ ป ระชาชน เจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ และหน่ ว ยงาน
ทางปกครองในภู มิ ภ าคให้ ส ามารถเข้ า ถึ ง กระบวนการยุ ติ ธ รรมทางปกครองได้ โ ดยง่ า ย
ตลอดจนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายปกครอง อันเป็นกฎหมาย
ที่สําคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป ขอบคุณครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
ท่านสมาชิกครับ ผมจะให้พิจารณาเป็นแต่ละฉบับไปก่อนนะครับ คือขณะนี้เรากําลังพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต พ.ศ. .... ก่อนนะครับ หลังจากนั้นแล้วลงมติ
ตั้งกรรมาธิก ารแล้ว ก็จะพิจารณาเป็น ลํ า ดับต่อไป ต่ อไปจะให้ทางรัฐบาลแถลงหลัก การ
และเหตุผลเป็นลําดับไปนะครับ เชิญท่านประเสริฐครับ
นายประเสริ ฐ พงศ์ สุ ว รรณศิ ริ (ยะลา) : กราบเรี ย นท่ า นประธานสภา
ที่เคารพครับ กระผม นายประเสริฐ พงศ์สุวรรณศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา
พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธานครับ วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราได้มีโอกาสพิจารณาการจัดตั้ง
ศาลปกครองถึง ๓ แห่ง ท่านประธานครับ ต้องย้อนกลับไปดูเมื่อปี ๒๕๔๒ เมื่อปี ๒๕๔๒
สภาแห่งนี้ได้พิจารณาและได้ผ่าน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองขึ้นมา
ฉบับที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นะครับ สมัยนั้นเป็นสมัยที่ท่านชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
ท่านประธานครับ นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน ศาลปกครองเดินทางมาแล้ว ๑๒ ปี
ใน ๑๒ ปีนี้เกิดอะไรขึ้นบ้างครับ ตามบทเฉพาะกาล มาตรา ๙๔ ของ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง
ฉบับนี้เขียนไว้ว่า ในวาระเริ่มแรกให้จัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาคขึ้นดังต่อไปนี้ มีทั้งสิ้น ๑๖ ศาล
ในภูมิ ภาคที่ จะต้ องจัดตั้ง ใน ๑๒ ปี มานี้เ ปิดไปแล้ว ๙ ศาลและเปิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี
เพิ่ม อี ก ๑ ศาล รวมแล้ว ๑๐ ศาลปกครอง ยั งไม่ ได้เ ปิ ดอี ก ๖ ศาล ตามบทเฉพาะกาล
ท่านยังไม่ได้เปิดอีก ๖ ศาล ใน ๖ ศาลที่ยังไม่ได้เปิดท่านบอกไว้ว่า ๔ ศาลไม่มีความจําเป็น
ต้องเปิดก็คือที่จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดแพร่ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสกลนคร และท่าน
ก็ บ อกว่ า มี ค วามจํ า เป็ น มากกว่ า ที่ จ ะต้ อ งเปิ ด อี ก ๓ ศาล ก็ คื อ ศาลจั ง หวั ด นครสวรรค์
ศาลจังหวัดเพชรบุรี และศาลจังหวัดภูเก็ต ที่เรากําลังพิจารณากันอยู่ในวันนี้ มีอยู่ ๒ ศาล
ตามบทเฉพาะกาล มาตรา ๙๔ ที่ท่านไม่ได้ปฏิเสธ และที่ท่านไม่ได้พูดถึงและท่านก็ยังไม่ได้
๖๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๓๓/๒

ดําเนินการจัดตั้งก็คือที่จังหวัดยะลาและจังหวัดชุมพร วันนั้นเมื่อปี ๒๕๔๒ คณะกรรมาธิการ


ได้พิจารณาเสร็จสิ้นตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้และได้นํากลับเข้าสู่สภาในวาระที่สอง วาระที่สาม
วันนั้ นกรรมาธิการพิ จารณาเสร็จก็ไม่ มี เรื่องศาลปกครองที่ จังหวัดยะลา ก็คือศาลปกครอง
จังหวัดยะลาที่เราบัญญัติไว้ในบทบัญญัติ ผมเป็นตัวแทนของพ่อแม่พี่น้องชาวจังหวัดยะลา
ผมก็ลุกขึ้นอภิปรายให้สภาแห่งนี้เห็นว่าเรามีความจําเป็นต้องมีศาลปกครองจังหวัดยะลาขึ้น
ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ๓ ประการ
ประการที่ ๑ ก็คือระยะทางที่ไกลถ้าอยู่ภายใต้การปกครองของศาลปกครอง
จังหวัดสงขลา
ประการที่ ๒ การคมนาคมที่ลําบาก
ประการที่ ๓ เรื่องภาษาถิ่น ขณะนั้นที่อภิปรายอยู่จนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่าง
ให้เห็นชัด ๆ ง่าย ๆ ก็คือที่จังหวัดยะลาจังหวัดเดียวยังต้องมีถึง ๒ ศาล ก็คือมีศาลจังหวัด
ยะลาและศาลจังหวัดเบตง ถ้าศาลปกครองจังหวัดยะลาได้จัดตั้งขึ้นใน ๓ จังหวัด ดูแลพื้นที่
ใน ๓ จังหวัด ก็จะมีจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส และดูแลภายใต้
๔ ศาล ----------------------------------------------------------------------------------------------------

- ๓๔/๑
๗๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๓๔/๑

วันนั้นเมื่อปี ๒๕๔๒ กรรมาธิการเห็นว่ามีความจําเป็นครับ มีเหตุผล จึงยอมเพิ่มศาลปกครอง


ยะลาขึ้นในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ครับ ให้มีศาลปกครองยะลาขึ้นจนเป็น พ.ร.บ. ฉบับปี ๒๕๔๒
ที่เรา ๆ ท่าน ๆ ถือและใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน วันนั้นเมื่อปี ๒๕๔๒ ยังไม่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ
ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ กรรมาธิการที่มาจากตัวแทนของพ่อแม่พี่น้องประชาชน
กรรมาธิการที่มาจากตัวแทนของศาล กรรมาธิการที่มาจากตัวแทนของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ยังเห็นตรงกันครับว่าให้จัดตั้งศาลปกครองที่ยะลาขึ้นนะครับ จึงได้บัญญัติขึ้นไว้ในบทเฉพาะกาล
ตามมาตรา ๙๔ ที่ผมกราบเรียนให้ท่านทราบแล้วครับ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองเดินทางมาได้
๕ ปีก็เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เหตุการณ์ความไม่สงบ
เดินทางมาจนถึงปัจจุบันก็มีอายุไป ๘ ปีแล้วครับ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ๘ ปีเต็มแล้วครับ ความไม่สงบ
ก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิมครับ วันนี้ถ้าท่านได้มีโอกาสเดินทางไปใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ตามสี่แยกใหญ่ ๆ ท่านจะพบเห็นป้ายขนาดใหญ่พูดถึงเรื่องความยุติธรรม ผมคิดว่าความยุติธรรม
ตามสี่แยกที่พูดกันไว้นั้น ที่เขียนกันไว้นั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ครับ ความยุติธรรมที่มีอยู่เท่าไร
ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมคิดว่ า ปัจจุ บันก็มีอยู่เ ท่ าเดิ ม ครับ ถ้ ามี ศาลปกครองขึ้ น
ที่จังหวัดยะลาความยุติธรรมก็อาจจะเพิ่มขึ้น ในจังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส
ผมมาดูหลักการการพิจารณาเปิดทําการศาลปกครองของท่านครับ ตามเอกสารที่ท่านเอามา
ให้พวกผมได้ดูกันนี้นะครับ หน้า ๖ ที่ท่านแจกในวิป หรือหน้า ๑๒ ของสภาทําขึ้นมานะครับ
การจัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาคข้อ ๒ หลักเกณฑ์การพิจารณาการเปิดทําการศาลปกครอง
แล้วก็ย่อหน้าว่า การจัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาค ท่านก็เขียนต่อว่าท่านบัญญัติตามมาตรา ๘
ที นี้ ท่ า นก็ มี หั ว ข้ อ ที่ ๒.๓ เพื่ อ ประหยั ด เวลาของสภา ผมจะพู ด ให้ ท่ า นฟั ง ว่ า หั ว ข้ อ ๒.๓
ท่านกําหนดไว้ว่าจังหวัดที่จะกําหนดให้เป็นที่ตั้งศาลปกครองในภูมิภาคจะต้องมีความเหมาะสม
ในหลายด้านดังนี้ ข้อ ๒.๓.๑ ผมข้ามเลยครับ ก็ไปข้อ ๒.๓.๒ ท่านก็พูดเรื่องสภาพเศรษฐกิจ
และสังคมของจังหวัด พูดถึงรายได้ประชากร พูดถึงจํานวนสถาบันการเงินหลักหรือธนาคาร
พู ด ถึ ง สนามบิ น พาณิ ช ย์ พู ด ถึ ง สถาบั น อุ ด มศึ ก ษา ถ้ า เอาหลั ก เกณฑ์ นี้ จั ง หวั ด ยะลา
ไม่มีสนามบินพาณิชย์ ไม่ได้เปิดแน่นอนครับ ไปถึงข้อ ๒.๓.๓ ท่านก็พูดถึงหน่วยงานราชการ
ที่สําคัญ มีภารกิจคล้ายคลึงกันกับภารกิจของศาลปกครอง เช่น จํานวนศาลยุติธรรมในจังหวัด
การเป็ นที่ ตั้ งของศาลยุ ติ ธรรมประจํ าภาค ถ้ าเอาหลั กเกณฑ์ นี้ จั งหวั ดยะลาก็ ไม่ ได้ เ ปิ ด ครั บ
เพราะจังหวัดยะลาไม่ได้เป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมประจําภาคครับ แต่ผมอยากจะกราบเรียนว่า
๗๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๓๔/๒

ที่ท่านเอามาใช้ในการพิจารณาเปิดศาลปกครอง ท่านไม่ได้พิจารณาถึงความเดือดร้อนของ
พ่อแม่พี่น้องประชาชนในการเปิดศาลเลย ท่านพูดถึงหลักเกณฑ์เมื่อสักครู่ที่ผมกราบเรียนท่าน
หลักเกณฑ์อย่างนี้ แต่วันที่ปี ๒๕๔๒ เราพิจารณากันเราไม่ได้พูดหลักเกณฑ์นี้ เราพูดหลักเกณฑ์ว่า
ตามบทบัญญัติเฉพาะกาลนี่เราต้องการเห็นศาลปกครองครอบคลุมทุกพื้นที่ และอํานวยความสะดวก
ให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนในการนําคดีขึ้นสู่ศาลปกครอง แต่วันนี้ท่านมาบัญญัติหลักเกณฑ์
ขึ้นมาใหม่ ศาลปกครองตามบทเฉพาะกาลนี่ก็ไม่สามารถจะเดินหน้าได้ โดยเฉพาะในพื้นที่
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีปัญหาเดือดร้อน มีปัญหาความรุนแรง ซึ่งทุกท่านทราบดีอยู่แล้ว
ก็ จะไม่ สามารถเปิ ดไปได้ ครั บ ผมจึ งอยากจะเรี ยนกั บท่ านว่ าขอให้ ศาลปกครองปฏิ บั ติ ตาม
บทเฉพาะกาล มาตรา ๙๔ เถอะครับ -----------------------------------------------------------------

- ๓๕/๑
๗๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๓๕/๑

โดยการจัดตั้งศาลปกครองยะลาขึ้นโดยเร็วและเร่งด่วน เพื่อร่วมกันช่วยกันแก้ไขปัญหา
ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกแรงหนึ่ง ในพื้นที่จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานีและ
จังหวัดนราธิวาส แต่ขณะเดียวกันผมก็ไม่ได้ขัดข้องและผมก็จะให้การสนับสนุนในการจัดตั้ง
ศาลปกครองนครสวรรค์ ศาลปกครองเพชรบุรี และศาลปกครองภูเก็ต จึงขอเรียนถามท่าน
เป็นคําถามว่าท่านจะจัดตั้งศาลปกครองยะลาตามบทเฉพาะกาลมาตรา ๙๔ ซึ่งเราได้เขียนไว้
ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ได้เมื่อไรครับ ขอบคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านวิทยา
เชิญครับ
นายวิทยา แก้วภราดัย (นครศรีธรรมราช) : ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่ เ คารพ กระผม วิ ทยา แก้ วภราดั ย สมาชิ กสภาผู้ แทนราษฎรจั งหวั ดนครศรี ธรรมราช
พรรคประชาธิปัตย์ เบื้องต้นผมขออนุญาตหารือท่านประธานสักนิดหนึ่งก่อนครับ ผมเข้าใจว่า
ถ้าเราจะพิจารณารวมไปทั้ง ๓ ฉบับเลย แล้วก็ลงมติเรียงเป็นรายฉบับไปน่าจะเป็นการสะดวก
มากกว่า เพราะว่าทิศทางกฎหมายทั้ง ๓ ฉบับที่แตกต่างกัน ก็คือการแบ่งเขตอํานาจของจังหวัด
ศาลแต่ละจังหวัดเท่านั้นเอง จะเป็นไปได้ไหมท่ านประธาน จะได้อภิปรายคราวเดีย วทั้ ง
๓ ฉบับครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
เชิญคุณหมอชลน่านครับ
นายชลน่าน ศรีแก้ว (น่าน) : ท่านประธานขออนุญาตครับ ท่านประธานที่เคารพ
ผม นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อไทยจากจังหวัดน่าน ประเด็นข้อหารือของท่านสมาชิก
ต้องขออนุญาตท่านวิทยาครับ เมื่อสักครู่ท่านประธานอนุญาตให้ท่านรัฐมนตรีได้นําเสนอ
จริง ๆ ผมก็อยากจะท้วงตั้งแต่ตอนนั้นแต่ทีนี้เกรงว่าจะไม่ชอบด้วยข้อบังคับ กรณีพิจารณากฎหมาย
ถึงแม้จะชื่อกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณะศาลปกครองเหมือนกัน แต่เนื้อหาสาระคนละฉบับ
มันเป็นคนละญัตติจะไปเหมารวมว่าเป็นญัตติทํานองเดียวกัน เนื้อหาทํานองเดียวกัน ผมคิดว่า
น่าจะไม่ชอบ แล้วเป็นพระราชบัญญัติด้วยนะครับ ท่านประธานดําริถูกแล้วว่าเราพิจารณา
ทีละฉบับแล้วลงมติไป จบก็ลงมติไป จบก็ลงมติไป ไม่น่าจะเสียเวลาครับ เกิดมีคนท้วงว่า
ไม่ชอบด้วยข้อบังคับในการพิจาณาร่างพระราชบัญญัติมันก็จะมีปัญหาในเรื่องของกระบวนการ
ผมไม่อยากให้เกิดปัญหาตรงนั้นครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
๗๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๓๕/๒

นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านวิทยา


เอาทีละฉบับแล้วกันแล้วก็เราลงมติเป็นทีละฉบับ ๆ ไปครับ
นายวิทยา แก้วภราดัย (นครศรีธรรมราช) : ทีนี้เวลาอภิปรายทีละฉบับ
มันก็จะมีปัญหาครับ กรณีการอภิปรายของท่านประเสริฐที่ผ่านมาไม่ได้เกี่ยวกันสักฉบับเลย
แล้วท่านติดใจว่าทิศทางของกฎหมายซึ่งมันเคยมากําหนดทิศทางว่าเราจะสร้างศาลปกครอง
ที่ไหนบ้าง แล้วก็เป็นทิศทางที่เราต้องดําเนินตามนั้น แต่ความเปลี่ยนแปลงตามสภาพการณ์ต่าง ๆ
ความจําเป็นจึงต้องเสนอออกมาแค่ ๓ ฉบับ คราวนี้พอข้ออภิปรายมันก็จะไม่ครอบอยู่ใน
จะไล่ในจังหวัดไหนก็ลําบากครับ ท่านลองดูว่าข้อบังคับเป็นไปได้ไหมว่าจะพิจารณารวมคราวเดียว
ทั้ ง ๓ ฉบั บ อภิ ปรายรวมไปคราวเดี ยวกั น ส่ วนการลงมติ ก็ แยกลงมติ ที ละฉบั บ ท่ านลองดู
ข้อบังคับดูครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : คือเมื่อสักครู่
คุณหมอชลน่านทักท้วงขึ้นมา
นายวิทยา แก้วภราดัย (นครศรีธรรมราช) : ผมหารือท่านครับ เป็นข้อเสนอแนะ
คุณหมอชลน่าน ท่านหารือเลขาธิการดู ผมคิดว่ามันไม่น่าจะถึงขั้นขัดข้อบังคับ มันเป็นลักษณะ
ของกฎหมายพวงแล้วก็ถึงชั้นตั้งกรรมาธิการเราก็ต้องตั้งกรรมาธิการรวมทีเดียวทั้ง ๓ ฉบับ
เป็นคณะกรรมาธิการชุดเดียวกัน
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : คือผมว่า
เอาทีละฉบับเพราะว่ามันอาจจะดูแล้วเป็นเรื่องประเภทชนิดเดียวกันแต่การจัดตั้งมันคนละที่กัน
มันจะต้องจัดตั้งตามพระราชบัญญัติแต่ละฉบับกันไป ดังนั้นเชิญอภิปรายต่อเลย เอาทีละฉบับ
แล้วกันครับ
นายวิ ท ยา แก้ ว ภราดั ย (นครศรี ธ รรมราช) : ได้ ค รั บ ท่ า นประธานครั บ
ถ้าท่านต้องการอย่างนั้นผมก็มีเรื่องเดียว คือผมเห็นด้วยกับทิศทางในการที่จะเปิดศาลปกครอง
เพิ่มขึ้นในภูมิภาค เพราะว่าจากสภาพการณ์ปัจจุบันปริมาณคดีที่เข้าสู่ศาลปกครองก็เป็น
ที่ทราบกันดีว่าจํานวนคดีเข้าไปมาก แล้วก็มีคดีที่ค้างคาอยู่ในศาลปกครองเยอะครับ ข้อกังวล
ประการเดียวว่าเราเปิดศาลปกครองเพิ่มขึ้นมา ผมไม่ได้เป็นห่วงว่าภาคประชาชนจะเสียหาย
ผมเข้าใจว่าภาคประชาชนจะได้ประโยชน์ ข้อกังวลก็คือจํานวนตุลาการในศาลปกครอง
เราจะมีการที่จะสามารถแบ่งกําลังไปรองรับในการเปิดศาลปกครองขึ้นมาอีก ๓ แห่งได้หรือไม่
๗๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๓๕/๓

คือจะอภิปรายทีละอันผมก็คิดว่าผมก็จะอภิปรายซ้ําอย่างนี้ ปัญหาก็คือฉบับแรกที่ท่านพิจารณา
ก็คือการจัดตั้งศาลปกครองที่จังหวัดภูเก็ต ฉบับไหนพิจารณาฉบับแรกครับ เอาจังหวัดภูเก็ตก่อน
หรือจังหวัดเพชรบุรี หรืออะไรก่อนดีครับท่าน

- ๓๖/๑
๗๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๓๖/๑

นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : เขาเสนอ


จังหวัดภูเก็ตไปนานแล้วครับท่าน
นายวิทยา แก้วภราดัย (นครศรีธรรมราช) : จังหวัดภูเก็ตนะครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ครับ
นายวิทยา แก้วภราดัย (นครศรีธรรมราช) : ศาลจังหวัดภูเก็ตนี่ผมคิดว่า
โดยสภาพการณ์ที่เสนอเข้ามาทั้ง ๔ จังหวัดนะครับ โดยความเหมาะสมเป็นโซน (Zone)
ที่เหมาะสมในการคมนาคม ตั้งแต่จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ แล้วก็จังหวัดภูเก็ต
เดิมทั้ง ๔ จังหวัดนี้จะต้องเดินทางไปจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องยอมรับว่าเส้นทางการคมนาคม
จากจังหวัดภูเก็ตไปจังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างรวดเร็วที่สุดแล้วก็ต้องใช้เวลาประมาณ
๔ ชั่วโมง ถ้าจากจังหวัดระนองเดินทางไปจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกทีก็ต้องใช้เวลาประมาณ
๕-๖ ชั่ว โมง เพราะฉะนั้น ความสะดวกในภาคประชาชนเป็นไปได้น้อ ยมาก แต่ช่ว งแรก
ที่เราออกกฎหมายศาลปกครอง ผมเข้าใจว่ากระบวนการในการออกกฎหมายพวกผมอยู่
มาตลอดครับกว่าจะตั้งศาลปกครองมาได้มันก็มีแรงเสียดทานในกระบวนการพอสมควร
การจะตั้งศาลคู่ขึ้นในประเทศไทยหลายคนก็กังวล เพราะฉะนั้นระยะเวลาของการเริ่มต้น
เราก็ คิ ด ว่ า เป็น ระยะของการทดลองงานของศาลปกครอง และ ๑๐ ปี ที่ผ่ า นมานะครั บ
ต้องยอมรับว่าเราประสบความสําเร็จในการตั้งศาลปกครองแล้ว ปริมาณคดีที่เข้าไปอยู่
ศาลปกครองทุกศาลครับ เดี๋ยวถึงศาลปกครองกลางที่แยกจากจังหวัดนครสวรรค์ออกไป
ผมจะอภิปรายอีกที แต่เฉพาะของศาลจังหวัดภูเก็ตที่แยกออกไป ผมคิดว่าเป็นความจําเป็น
ของสถานการณ์ที่จะรองรับให้กับภาคประชาชนอย่างเป็นจริง ผมจึงมีความคิดเบื้องต้นว่า
ในการที่จะออกกฎหมายตั้งศาลจังหวัดปกครองภูเก็ต ผมมีความเห็นด้วย ส่วนเพื่อนสมาชิก
บางคนจะมีข้อท้วงติงประการใดในการที่จะเปิดเพิ่มในบางจังหวัดนั้น ผมคิดว่าจะทําให้เห็น
ว่าประชาชนเรียกร้องให้เห็นความจําเป็นของศาลปกครอง ผิดกับระยะเมื่อ ๑๐ กว่าปีที่แล้ว
วันที่เราเอากฎหมายจัดตั้งศาลปกครองเข้ามาในสภามีทั้งคนเห็นด้วยและคนไม่เห็นด้วย
แล้วกว่าจะผ่านกฎหมายฉบับนี้ได้ลําบากครับ วันนี้ผมเชื่อว่าทุกฝ่ายเห็นด้วยในการที่จะ
เปิดบริการด้านกฎหมายปกครอง ศาลปกครองให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง แล้วก็สะดวก
รวดเร็วยิ่งขึ้น จะแตกต่างจาก ๑๐ ปีที่แล้วครับ ก็ขอแสดงความชื่นชม แล้วก็ยินดีด้วยในการที่
เราจะได้ให้บริการกับประชาชนอย่างทั่วถึงครับ
๗๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๓๖/๒

นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านสุรเชษฐ์ครับ


แล้วก็ท่านจากจังหวัดภูเก็ตนะครับ
นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ (นราธิวาส) : ท่านประธานที่เคารพ ผม สุรเชษฐ์ แวอาแซ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดนราธิวาส เนื่องจากว่าวันนี้เราให้ความสําคัญในเรื่องของ
การจัดตั้งศาลปกครองซึ่งมี ๓ จังหวัด ผมเองก็มีเหตุผลเช่นเดียวกับท่าน ส.ส. จากจังหวัดยะลา
คือคุณประเสริฐที่ได้นําเสนอให้เห็นถึงพื้นที่พิเศษ ซึ่งเราทุกคนก็ทราบดีว่าในพื้นที่ดังกล่าวนั้น
ก็เป็นพื้นที่ที่เรียกร้องในเรื่องของความยุติธรรมหลาย ๆ ประการ หลาย ๆประเด็น หลาย ๆ ด้าน
เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเราไม่จัดตั้งศาลสถิตยุติธรรมในด้านการปกครองก็ดีหรือว่าในกรณีที่จะ
พิพาทหรือว่าวินิจฉัยในด้านของความยุติธรรมนั้น ถ้าหากว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่แล้ว ผมคิดว่า
มันจะมีปัญหาและอุปสรรคในด้านข้อเท็จจริง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเดินทางของพี่น้อง
ในพื้นที่ ๓ จังหวัด คือจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาสนั้นการที่จะเดินทางมา
นอกจาก ๓ จังหวัดนั้น ถ้าหากว่าเป็นผู้ทุกข์ หรือว่าผู้ที่เดือดร้อนเป็นพี่น้องชาวไทยที่นับถือ
ศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่แล้วการพูดจา การสื่อโดยปกตินั้นจะสื่อได้เป็นภาษาไทย แต่ถ้าจะให้
เป็นภาษาราชการพูดให้เข้าใจในข้อกฎหมายแล้วเป็นปัญหาอย่างแน่นอน จําเป็นอย่างยิ่งที่จะ
ต้องมีล่าม เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเรามีการจัดตั้งศาลปกครองให้มีในพื้นที่พิเศษ ไหน ๆ เรา
ก็เรียกว่าเป็นพื้นที่พิเศษอยู่แล้ว ถ้าหากว่าจัดตั้งได้ในที่นั่นซึ่งมีศูนย์ราชการก็คือศูนย์การบริหาร
ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งอยู่ที่จังหวัดยะลา ผมคิดว่ามันก็จะอํานวยความสะดวก
ให้กับพี่น้ อ งในพื้ นที่ดังกล่ า ว โดยเฉพาะอย่า งยิ่ ง ในกรณี พิพ าทระหว่า งพี่ น้อ งประชาชน
และภาคราชการในกรณีที่เป็นคดีปกครองมากมาย ------------------------------------------------

- ๓๗/๑
๗๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๓๗/๑

แต่ถ้าหากว่าอยู่นอกพื้นที่ดังกล่าวนั้นผมคิดว่าการที่จะพึ่งหรือการที่จะใช้บริการนั้นค่อนข้าง
ที่จะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารหรือว่าในการที่จะเดินทาง เพราะฉะนั้น
ขอสนับสนุนครับว่าที่ท่าน ส.ส. ประเสริฐ ส.ส. ยะลาได้นําเสนอผ่านไปยังรัฐบาลนะครับว่า
สมควรที่จะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษเพื่อในการที่จะจัดตั้งศาลปกครองในพื้นที่ ๓ จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ขอขอบคุณครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
ท่านอัญชลีครับ
นางอัญชลี วานิช เทพบุตร (ภูเก็ต) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
ดิ ฉั น อั ญชลี วานิ ช เทพบุ ตร สมาชิ กสภาผู้ แทนราษฎรจั งหวั ดภู เก็ ต พรรคประชาธิ ปั ตย์
สืบเนื่ องจากพระราชบัญญั ติการจั ดตั้ งศาลปกครองที่จังหวั ดภูเก็ ต ดิฉันคงจะให้ความเห็ น
ในทางสนับสนุนค่ะ เพราะว่าตลอดระยะเวลา ๑๐ ปีเศษที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อศาลปกครองกลาง
หรือว่าศาลปกครองสูงสุดได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ นั้น ตลอดระยะเวลา
๑๐ ปีที่ผ่านมาทางศาลปกครองเองก็ได้เป็นที่พึ่งหลักให้กับพี่น้องประชาชนในการเข้าถึง
ความยุ ติ ธ รรมต่ อ ข้ อ พิ พ าทในกรณี ข องรั ฐ หรื อ เจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ แล้ ว ก็ พี่ น้ อ งประชาชน
เมื่อมีข้อพิพาทต่อกันได้อย่างดีมาโดยตลอดนะคะ สําหรับการจัดตั้งศาลปกครองที่ภูเก็ต
หากจะถามดิฉันว่ามีความจําเป็นหรือไม่ ก็คงต้องเรียนยืนยันเหมือนที่ท่านวิทยาได้กรุณา
กล่ า วแล้ ว ค่ ะ ดิ ฉั น คิ ด ว่ า มี ค วามจํ า เป็ น อยู่ ค่ อ นข้ า งมากที เ ดี ย วสํ า หรั บ การกระจาย
สถานที่ ตั้ งนั้ นคงต้ องเรี ยนว่ าจนถึ งปั จจุ บั นนี้ ศาลปกครองในภู มิ ภาคมี อยู่ ด้ วยกั น ๙ แห่ ง
ที่ ได้ เปิ ดดํ า เนิ น การไปแล้ ว ไม่ ว่ า จะทางภาคเหนื อ ซึ่ ง มี อ ยู่ ๒ แห่ ง ด้ ว ยกั น ที่ เ ชี ย งใหม่
กับพิษณุโลก ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็จะมีอยู่ประมาณ ๔ แห่ง ตะวันออกก็มีแล้ว
ภาคกลางก็มี ทางภาคใต้นั้นมีอยู่ ๒ แห่งก็คือที่จังหวัดสงขลาและที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
แต่ทางฝั่งอันดามันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นภูเก็ต พังงา กระบี่ หรือว่าระนองเองการเดินทางที่จะต้องไป
ยื่นเรื่องในข้อพิพาทระหว่างรัฐกับพี่น้องประชาชนนั้นต้องเดินทางไปถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช
ใช้ระยะเวลาเดินทางค่อนข้างไกลค่ะ แล้วก็ค่อนข้างไม่สะดวกอยู่มาก เพราะฉะนั้นการที่มา
จั ด ตั้ ง ศาลปกครองอยู่ ที่ จั ง หวั ด ภู เ ก็ ต นั้ น ดิ ฉั น คิ ด ว่ า ก็ จ ะอํ า นวยความสะดวกให้ กั บ
พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้การพัฒนาเมืองภูเก็ตเป็นไปอย่างรวดเร็ว
แล้วก็มีแนวโน้มที่กว้างขวางในบริบทของข้อขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ
๗๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๓๗/๒

ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นแน่ในโซนของฝั่งอันดามันไม่ว่าจะในเรื่องของการบริการต่าง ๆ ที่รัฐควรจะ
พึงมี การอนุญาต อนุมัติต่าง ๆ ที่รัฐจะต้องดําเนินการควบคู่ไปกับทางภาคเอกชน ดิฉันคิดว่า
จํานวนปริมาณของคดีความต่อไปในอนาคตก็ต้องขยายวงกว้าง เพียงแต่ว่าดิฉันอยากจะฝาก
ข้อสังเกตอย่างนี้ค่ะ ๒-๓ ประการ ข้อสังเกตซึ่งทางไม่ว่าจะเป็นพี่น้องประชาชนเองก็ตาม
ในจังหวัดพังงาหรือว่าจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งเพื่อนข้าราชการทั้งหลายได้ฝากข้อสังเกตว่าทําไม
เวลาส่วนราชการจากทางส่วนกลางเวลาจะลงไปในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปทางโซน
อันดามันไม่ค่อยมีใครที่จะลงไปจัดตั้งที่จังหวัดพังงาเท่าไรค่ะ คงต้องเรียนว่าทุกหน่วยงาน
ก็ขยัน ตั้งใจไว้ว่าจะลงไปที่จังหวัดภูเก็ต ทั้ง ๆ ที่จังหวัดพังงาเองจะเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง
กับภูเก็ต ใช้สนามบินพาณิชย์ก็ใช้สนามบินร่วมกับภูเก็ตได้ ระยะเวลาการเดินทางจากภูเก็ต
ไปถึงพังงาก็ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ๘๐ กิโลเมตรเท่านั้น ตรงนี้เป็นสิ่งที่พี่น้องประชาชน
ทั้งภูเก็ต ทั้งพังงาเองเรามีแนวโน้มในการวางยุทธศาสตร์ของการพัฒนาเมืองที่ควบคู่กันไป
ภูเก็ตนั้นต้องรองรับเป็นเมืองท่องเที่ยว เป็ นประตูเชื่อมการท่องเที่ยวโลก เพราะฉะนั้ น
ต้องรับจํานวนนักท่องเที่ยวเป็นจํานวนมากอยู่แล้วในแต่ละปีนะคะ ไม่รวมพี่น้องประชาชน
ทั่ ว ทั้ ง ประเทศค่ ะ ๗๖-๗๗ จั ง หวั ด ก็ ไ ปทํ า งานอยู่ ท่ี ภู เ ก็ ต มากแล้ ว ส่ ว นจั ง หวั ด พั ง งานั้ น
เราตั้งใจจะพัฒนาไปเป็นเมืองของการเพิ่มองค์ความรู้ เมืองของศูนย์ราชการ ไปเป็นครัวของ
อันดามัน เหล่านี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้ามีการขยายและพัฒนาเมืองควบคู่กันไป ดิฉันคิดว่า
จะเป็นประโยชน์อยู่ค่อนข้างมาก นี่ก็เป็นประเด็นข้อสังเกตที่ฝากเอาไว้นะคะ นอกจากนั้น
คงต้องเรียนในเรื่องของงบประมาณของการจัดตั้งในอนาคตค่ะ งบประมาณของการจัดตั้ง
ศาลปกครองในภูมิภาคต่าง ๆ ดิฉันเองก็ไม่ค่อยติดใจเท่าไรนัก เพราะว่าดูสิ่งที่เกิดขึ้นของ
ศาลปกครองที่ไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ก็ใช้งบประมาณอย่างสมเหตุสมผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อย่างที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ดิฉันคิดว่าเมื่อศาลปกครองไปตั้งอยู่แล้ว ใช้งบประมาณ
ไม่ ม าก --------------------------------------------------------------------------------------------------

- ๓๘/๑
๗๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๓๘/๑

แต่ ก็ เ อื้ อ อํ า นวยประโยชน์ ใ ห้ กั บ พี่ น้ อ งประชาชนได้ เ ช่ น เดี ย วกั น ก็ เ หมื อ นกั น ค่ ะ ว่ า


ศาลปกครองเมื่ อ ไปตั้ ง อยู่ ที่ ภู เ ก็ ต ก็ อ ยากจะฝากประเด็ น ว่ า ควรจะใช้ ง บประมาณ
อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างนี้ก็จะช่วยอํานวยความสะดวกให้กับประชาชนแล้วก็เป็นที่
ชื่นชมให้ กับพี่ น้องประชาชน แล้ว ก็ใช้ งบประมาณของพี่น้องประชาชนอย่างระมัดระวั ง
คงต้องเรียนว่าทางภูเก็ตมีเนื้อที่อยู่ค่อนข้างจํากัดอยู่แล้ว ในขณะนี้กองบัญชาการตํารวจ
ภาค ๘ ก็ ไ ปใช้ เ นื้ อ ที่ อ ยู่ ที่ จั ง หวั ด ภู เ ก็ ต แล้ ว ดิ ฉั น ก็ เ ข้ า ใจว่ า ศาลปกครองก็ ค งจะใช้ พื้ น ที่
ในบริเวณเดียวกัน อย่างกองบังคับการตํารวจภูธร ภาค ๘ ก็เหมือนกัน จริง ๆ ตั้งที่สุราษฎร์ธานี
ก็ดีอยู่แล้ว แต่สุดท้ายก็ไปใช้พื้นที่ที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อจะย้ายกองบังคับการตํารวจภูธร ภาค ๘
มาอยู่ที่ภูเก็ต อย่างนี้ก็จะเป็นประเด็นที่จะต้องมีการพิจารณาต่อไปว่าคุ้มกับการลงทุนหรือว่า
การใช้งบประมาณของรั ฐ แล้ วก็จะสะดวกสบายต่อเพื่อนข้าราชการที่เป็นตํารวจที่ต้อง
เดินทางจากทุกจังหวัด ซึ่งเดิมเคยเดินทางกันค่อนข้างสะดวก แล้วก็ไปลงที่สุราษฎร์ธานี
แต่วันนี้ทุกจังหวัดที่ขึ้นกับภาค ๘ ต้องเดินทางไปที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งการจราจรก็จะแออัด
เพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย ตรงนี้เป็นประเด็นที่ดิฉันอยากจะฝากไว้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
ก็ตามการที่ศาลปกครองจะไปตั้งที่จังหวัดภูเก็ต ด้วยเหตุผลและด้วยความจําเป็นทุกประการ
ดิฉันคิดว่าก็จะมีการให้การสนับสนุนแล้วก็เห็นด้วยกับการจัดตั้งศาลปกครองที่ภูเก็ตค่ะ
ขอบพระคุณคะท่านประธาน
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
อาจารย์ประกอบเชิญครับ
นายประกอบ รั ต นพั น ธ์ (นครศรี ธ รรมราช) : กราบเรี ย นท่า นประธาน
ที่เคารพครับ กระผม ประกอบ รัตนพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
พรรคประชาธิปัตย์ กระผมขออนุญาตอภิปรายต่อประเด็น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต
เพียงสั้น ๆ นะครับ ก่อนอื่นผมกราบเรียนท่านประธานว่าผมเห็นด้วย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นะครับ
เหตุผล ๒ ประการ
ประการที่ ๑ ขณะนี้คดีความทางศาลปกครองมีเพิ่มจํานวนมาก ประชาชน
ร้ อ งเรี ย นทางราชการ ทางราชการต่ อ ทางราชการที่ มี ปั ญ หาในทางปกครองเพิ่ ม ทวี ขึ้ น
มากมาย เพราะฉะนั้นศาลปกครองที่มีอยู่แล้วในบ้านเราไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นประเด็นแรก
เห็นด้วย
๘๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๓๘/๒

ประเด็นที่ ๒ การจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ตนั้น ผมคิดว่าสมควรเนื่องจากเดิม


ที่จังหวัดภูเก็ต ระนอง พังงา กระบี่ ต้องไปขึ้นศาลปกครองนครศรีธรรมราชซึ่งต้องใช้ระยะทาง
ในการเดินทางร่วม ๒๐๐ กิโลเมตรเศษ ถ้าจากระนองต้องใช้เวลาอย่างต่ํา ๓-๔ ชั่วโมง การเดินทาง
ลําบากมาก เพราะฉะนั้นเพื่อที่จะเอื้ออํานวยความสะดวกให้พี่น้องประชาชนใช้สิทธิในการ
ปกครอง ก็เห็นด้วยที่จะไปจัดตั้งที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นศูนย์รวมที่มีความสําคัญ แต่ประเด็น
ที่ท่านอัญชลีได้กรุณาติติงนิดหนึ่งว่า ในโซนพังงา ภูเก็ต ระนอง กระบี่ ทําไมทางศาลปกครอง
ไม่ตัดสินใจตั้งศาลปกครองที่จังหวัดพังงา เพราะว่าเป็นศูนย์กลางในแถบอันดามัน ตรงนี้ผมคิดว่า
จะต้องเป็นคําตอบที่ท่านจะต้องตอบวันนี้
ประเด็นที่ ๓ ผมขออนุญาตกราบเรี ยนผู้ชี้แจงนิดหนึ่ง กรณีศาลปกครอง
นครศรี ธ รรมราชที่ ย้ า ยที่ ตั้ ง ใหม่ ม าที่ อํ า เภอทุ่ ง สง ขณะนี้ ไ ด้ ที่ แ ละก่ อ สร้ า งแล้ ว นะครั บ
แต่ เ ป็ น ที่ กั ง ขาของพี่ น้ อ งชาวจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชว่ า การก่ อ สร้ า งทํ า ไมไม่ คื บ หน้ า
มีแต่โครงสร้าง ทิ้งเลยครับ ทิ้งงานเป็นอนุสาวรีย์ ก็อยากจะทราบข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร
และทางศาลปกครองจะดํ า เนิ น การเรื่ อ งนี้ อ ย่ า งไร พี่ น้ อ งชาวจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช
เขาติดใจมาก เขาติดใจมากว่าเพราะอะไรที่งานไม่คืบหน้าเลย ทั้ง ๆ ที่ตั้งศาลปกครองใหม่
จังหวัดนครศรีธรรมราชที่อําเภอทุ่งสงนั้นมีความเหมาะสม มีความสะดวกสบายทุกอย่าง
และทุกอย่างสามารถดําเนินการได้แล้ว ณ ขณะนี้มีงบประมาณแล้ว ก่อสร้างแล้วแต่มีปัญหา
ในเรื่องที่ไม่มีความคืบหน้า ผู้รับเหมาทิ้งงานเพราะอะไรครับ อยากจะให้ท่านชี้แจงประเด็นนี้ด้วย
ถ้าท่านไม่บริหารจัดการเรื่องนี้ให้เรียบร้อย ผมคิดว่าการก่อตั้งศาลปกครอง ไม่ว่าจังหวัดเพชรบุรี
ไม่ว่าจังหวัดภูเก็ตจะมีปัญหาเช่นนี้ และไม่อยากให้เกิดปัญหาครับ ขออนุญาตเพียงเท่านี้ครับ
ขอบคุณมากครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านฉัตรพันธ์
สุดท้ายแล้วเดี๋ยวผมให้ทางผู้ชี้แจงได้ชี้แจงนะครับ เชิญครับ

- ๓๙/๑
๘๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๓๙/๑

นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร (กาญจนบุรี) : ท่ านประธานสภาผู้แทนราษฎร


ที่เคารพ ผม ฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์
ท่านประธานครับ วันนี้ตามที่ได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ตนั้น
จริ ง ๆ แล้ ว ผมไม่ ไ ด้ มี ค วามขั ด ข้ อ งหรื อ ไม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ การจั ด ตั้ ง ศาลปกครองดั ง กล่ า ว
เพราะผมถือว่าในปัจจุบันนี้ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐกับประชาชนนั้นมีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน
แต่สิ่งที่ผมอยากจะท้วงติงเหมือนที่ท่านสมาชิกท่านอื่นได้ท้วงติงคือสถานที่จัดตั้ง ตามที่ท่าน
ได้แจ้งว่าศาลปกครองจังหวัดภูเก็ตนั้นมีเขตอํานาจศาลครอบคลุมถึงจังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา
และจังหวัดระนองนั้น โดยที่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาในการจัดตั้งศาลคือดูเรื่องความสะดวก
ของประชาชนในการเดินทางเป็นที่ตั้ง และดูที่ปริมาณคดีซึ่งท่านได้แจ้งมาว่าเหตุผลที่ตั้ง
ที่จังหวัดภูเก็ตนั้น เนื่องจากปริมาณคดีที่จังหวัดอื่นนั้นมีปริมาณคดีน้อย จริง ๆ แล้วสถานที่
ที่เหมาะสมผมเห็นว่า ควรจะเป็นจังหวัดพั งงาเสี ย มากกว่า เพราะเป็ นเหมื อนศูน ย์ ก ลาง
ในการเดินทางของพี่น้องประชาชน การที่มาจัดตั้งที่จังหวัดภูเก็ตนั้น การที่พี่น้องประชาชน
ที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีนี้เดินทางจากจังหวัดระนองไปจังหวัดภูเก็ต ผมก็ถือว่า
ใช้ระยะทางที่ไกล เดินทางจากจังหวัดพังงา เดินทางจากจังหวัดกระบี่ ก็เป็นการเดินทาง
ที่ไกลกว่าที่จะเดินทางโดยใช้จังหวัดพังงาเป็นศูนย์กลาง การที่ท่านอ้างว่าจัดตั้งที่จังหวัดภูเก็ต
เนื่อ งจากปริม าณคดี ที่อื่ นน้อ ยนั้น ผมเห็น ว่ า สิ่ ง ที่จะต้ อ งพิ จ ารณาเพิ่ ม เติ ม ก็คือ เรื่ อ งของ
การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีความเข้าใจ ผมเชื่อเหลือเกินว่าขณะนี้ประชาชน
มีค วามต้ อ งการที่ จ ะเข้ า ถึง กระบวนการยุ ติ ธ รรม แต่ ยั ง ไม่ ท ราบว่ า ขณะนี้ มีกระบวนการ
ยุติธรรมที่ประชาชนสามารถร้องเรียนหน่วยงานราชการเพื่อเข้าถึงความเป็นธรรมได้ ทําอย่างไร
ผมขอฝากประเด็นไว้ว่าอยากให้ทางศาลปกครองนั้นได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน
ทราบให้ทั่วถึงว่าขณะนี้มีการจัดตั้งศาลปกครองที่จังหวัดภูเก็ตแล้ว นี่ผมพูดในกรณีที่ว่า
เราคงไม่สามารถแก้ไขไปอยู่ที่จังหวัดพังงาได้ ดังนั้นเราต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน
ได้รับทราบข้อเท็จจริงตรงนี้
และอีกประการหนึ่ง ซึ่งเมื่อวานนั้นผมก็ได้มีโอกาสรับฟังถึงข้อท้วงติงบางประการ
ที่ว่าอย่างกรณีศาลจังหวัดภูเก็ตนั้น เรามาจัดตั้งในภายหลัง ส่วนศาลที่ภาคอีสานบางจังหวัดนั้น
ผมเข้าใจว่าอยู่ในกฎหมายการจัดตั้งอยู่แล้วแต่ยังไม่ดําเนินการ เหตุใดจังหวัดภูเก็ตทีหลัง
ถึงมาดําเนินการก่อน ตรงนี้ผมอยากให้ท่านผู้มาชี้แจงได้ชี้แจงและให้ท่านได้ประชาสัมพันธ์
๘๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๓๙/๒

ให้ประชาชนชาวจังหวัดระนองได้ทราบให้ทั่วถึง เพราะผมคิดว่าถ้าประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึงนั้น
ประชาชนชาวจังหวัดระนองคงไม่สามารถเดินทางมาที่ศาลจังหวัดภูเก็ตได้ ผมก็ขอเห็นด้วย
ที่มีการจัดตั้งศาลที่จังหวัดภูเก็ตนี้ แต่ก็ขอท้วงติงในเรื่องการจัดที่จังหวัดที่ไม่เป็นศูนย์กลางครับ
ขอบพระคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : คุณหมอวรงค์
แล้วก็ท่านนิยม เวชกามา แล้วผมจะให้ทางศาลได้ชี้แจง เชิญคุณหมอวรงค์ครับ
นายวรงค์ เดชกิจวิกรม (พิษณุโลก) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายแพทย์วรงค์
เดชกิจวิกรม พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดพิษณุโลก ผมมีข้อสังเกตที่อยากจะกราบเรียนท่านประธาน
ไปยังผู้แทนของศาลปกครองที่มานําเสนอ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการจัดตั้งศาลปกครอง เพราะโดยหลักการ
เราเห็นด้วยอยู่แล้วว่าศาลปกครองจะต้องมีการขยับขยายเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับความสะดวก
ในการเข้ าถึ งเพื่ อเรี ยกร้ องความเป็ นธรรมจากการดํ าเนิ นการของทางเจ้ าหน้ าที่ รั ฐ ไม่ ว่ าจะ
เป็นเจ้าหน้าที่รัฐต่อรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐต่อประชาชน ผมอยากจะย้ํากับท่านประธานไปยัง
ผู้แทนศาลปกครองว่าวันนี้องค์กรศาลปกครองสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ย้ํากับท่านเลยนะครับ
ผมถือว่าศาลปกครองเป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งของชาติในการดูแลความทุกข์สุขของ
พี่น้องประชาชน แล้วก็มีส่วนในการชี้ความเป็นไปของประเทศในอนาคต เพราะว่าถ้าศาลปกครอง
ไม่มีหรือไม่สะดวกผมเชื่อว่าสังคมจะแย่กว่านี้ ในอดีตที่ผ่านมาผมจําได้ผมไม่ค่อยเข้าใจ
ศาลปกครองเป็นอย่างไรบ้าง --------------------------------------------------------------------------

- ๔๐/๑
๘๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ธัญรดา ๔๐/๑

หลั ง จากโตขึ้ น และรั บ รู้ ว่ า เจ้ า หน้ า ที่ รั ฐ มี ส่ ว นในการดูแ ลประชาชน หรือ ว่า เจ้ า หน้ า ที่ รั ฐ
มีส่วนในการดูแลรัฐด้วยกันเองแล้วก็มีการเอาเปรียบกัน ศาลปกครองถึงมีความจําเป็น
อย่ า งยิ่ ง ยวด ประเด็ น ที่ ผ มต้ อ งการจะย้ํ า ผ่ า นท่ า นประธานไปยั ง ศาลปกครองก็ คื อ ว่ า
ความรู้ สึ ก ผมกระบวนการดํ า เนิ น การของศาลจนกระทั่ ง มี คํ า พิ พ ากษาออกมามั น ช้ า
ในเมื่อมันช้าแล้วบางครั้งความช้ามันคือความไม่เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ผมอยากจะยกตัวอย่าง
ให้ท่านฟังสัก ๒ ตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ ๑ ผมรู้จักคนคนหนึ่งเขาเป็นคุณครูครับ แล้วอยู่ ๆ ถูกย้ายไปในตําแหน่ง
ที่ต่ํากว่าแล้วไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็มีการร้องศาลปกครอง สิ่งที่เขาดีใจคือศาลพิพากษา
ให้เขาชนะคดีต้องคืนตําแหน่งให้เขา แต่สิ่งที่เขาเสียใจคือเขาเกษียณไปแล้ว คือมันก็เหมือนกับว่า
เป็นความเป็นธรรมที่ช้า เท่ากับว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม
กรณีที่ ๒ ที่ชี้ให้เห็นคือผมรู้จักเขาเป็นนักธุรกิจคนหนึ่ง เขามีที่ที่จะทําปั๊มน้ํามัน
ปรากฏว่าทางหลวงอะไร ผมเรียกไม่ถูก ไปรับผลประโยชน์แล้วทําให้มีการตัดพื้นที่ ที่ไปกั้นพื้นที่
ของเขาทําให้เขาไม่สามารถทําปั๊มแก๊สได้ เขาร้องศาลปกครอง กว่าศาลจะตัดสินต้องใช้เวลา
ประมาณ ๓ ปีกว่า ปรากฏว่าธุรกิจมันเปลี่ยนไปแล้วแต่เขาชนะ มันก็เลยชี้ให้เห็นว่าบางครั้ง
ความเป็นธรรมถ้าให้ช้าไปนิดหนึ่งมันก็คือความไม่เป็นธรรม ผมจึงขออนุญาตด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ครับว่าอยากจะให้ทางศาลได้ปรับกระบวนการเท่าที่ท่านจะปรับได้ นอกจากมีสถานที่ในการบริการ
ประชาชนมากขึ้น ซึ่งอันนี้เราสนับสนุนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นภูเก็ต หรือที่นครสวรรค์ที่จะ
ตั้งขึ้น หรือเพชรบุรีที่จะตั้งขึ้น หรือจะตั้งมากกว่านั้นก็ได้ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงมากขึ้น
และท่านมีบุคลากรมากขึ้น เพื่อให้ความเป็นธรรมและที่ท่านเคยชี้แจงว่าใช้เวลาประมาณ ๓ ปี
ถ้ าสั ก ๖ เดื อนได้ ผมว่ าสุ ดยอดครั บ ประเทศมั นจะดี กว่ านี้ เยอะเลยที่ ผ มต้ อ งพู ด อย่ า งนี้
มันคือจิตวิทยา มันเหมือนเราเป็นครูกับนักเรียนตีกัน ถ้าครูไม่ค่อยสนใจนักเรียนก็ตีกันเรื่อย
แต่ถ้าเกิดขึ้นปุ๊บครูลงโทษทันทีนักเรียนจะไม่ค่อยกล้า เหมือนกันครับ ระบบการใช้อํานาจ
ของรัฐเหมือนกัน ถ้าศาลใช้เวลาในการพิจารณา ๓-๖ เดือนเร็วขึ้น ผมเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐ
จะกลั ว มากขึ้ น แต่ ถ้า ศาลบอกว่ า รออีก ๓ ปี ๕ ปี ผมว่ า คนสบายใจเพราะเกษีย ณแล้ ว
ก็เลยถือโอกาสเรียกร้องด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อสังคม ขอบคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านนิยม
๘๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ธัญรดา ๔๐/๒

นายนิ ยม เวชกามา (สกลนคร) : กราบเรี ยนท่านประธานสภาที่เคารพ


กระผม นิ ย ม เวชกามา สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด สกลนคร พรรคเพื่ อ ไทย
ท่านประธานครับ ผมก็มีความเห็นอย่างยิ่งกับไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นในการจัดตั้งศาลปกครอง
ทั้งภูเก็ต ทั้งเพชรบุรี และนครสวรรค์ แต่ว่าความเห็นของผมมันเนื่องจากการจัดตั้งศาลปกครอง
มันเป็นความหวังหนึ่งของพี่น้องประชาชนที่เขาอยากจะได้ความเป็นธรรม ยิ่งมีศาลปกครอง
มากเท่ า ไรความเป็ น ธรรมก็ จ ะเกิ ด ขึ้ น กั บ พี่ น้ อ งประชาชน เพราะว่ า เป็ น ความหวั ง ของ
พี่น้องประชาชนว่า และข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ พี่น้องประชาชน
ก็ อ าศั ย ศาลปกครองนี่ ละเป็ นสื่ อกลางที่ จะดู แลให้ แต่ วั นนี้ ยิ่ งตั้ งศาลปกครองมากเท่ าไร
ก็ ยิ่ งเป็ นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนยิ่งครอบคลุมทุกจังหวั ดยิ่งดี แต่ วั นนี้ ผมก็ แปลกใจที่ ว่ า
ตามพระราชบั ญ ญั ติ ก ารจั ด ตั้ ง ศาลปกครองและวิ ธี พิ จ ารณาศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ในชั้นแรกกําหนดว่าสกลนครบ้านผมก็เป็นจังหวัดหนึ่งต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจัดตั้ง จะตั้ง
ในปี ๒๕๕๔ นี่ละครับ แต่วันนี้บอกว่ายกเลิก ท่านครับสกลนครก็เป็นกลุ่มหนึ่ง สกลนคร
นครพนม มุ ก ดาหาร ๓ จั ง หวั ด มี พื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น ดู ต ามแผนที่ ก็ ไ ด้ ค รั บ เขตติ ด ต่ อ กั น
การเดินทางไม่ไกล นครพนมมาสกลนครก็ ๘๐-๙๐ กิโลเมตร มุกดาหารมาก็ ๑๐๐ กิโลเมตร
สกลนครเป็นสื่อกลางได้ แต่วันนี้บอกท่านยกเลิก ผมเองก็ไม่เข้าใจ ถ้าผมไม่ได้พูดวันนี้พี่น้อง
บ้านผมเขาก็ยังข้องใจอยู่ ท่านครับ ผมต้องขอกราบเรียนว่าท่านยกเลิกไปเฉย ๆ ต้องมีคําตอบ
หรือท่านคิดเอาตอนแรก เพราะในพระราชบัญญัติฉบับนี้บอกชัดเจนว่าวาระเริ่มแรกรวม
๑๖ แห่ง ของการจัดตั้งศาลปกครอง สกลนครเป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งจําเป็นต้องจัดตั้ง แต่วันนี้
ท่ า นบอกว่ า ท่ า นไม่ จั ด ตั้ ง ยกเลิ ก ครั้ ง แรกบอกว่ า ๑๖ แห่ ง ท่ า นเอาเกณฑ์ อ ะไรมาจั ด
วันนี้ท่านบอกไม่จัดแล้ว --------------------------------------------------------------------------------

- ๔๑/๑
๘๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๔๑/๑

คนที่บ้านผมเขาก็อ่านหนังสือรู้เรื่องแต่แรกอยู่ เพราะฉะนั้นวันนี้บอกไม่มี แล้วผมไม่พูด


ผมไม่ทราบว่าทางศาลจะบอกว่าอย่างไร ส่วนถ้าท่านจะบอกว่าความไม่เหมาะสมอย่างอื่น
เพราะคดีมันน้อย ผมไม่ทราบนะ แต่ว่าน้อยหรือมาก เดิมทีเดียวคนสกลนครมาใช้บริการ
ของศาลปกครองจังหวัดขอนแก่น เพราะอุดรธานีเพิ่งตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ก็เดินทางไกลมากอยู่
แล้ว ๒๐๐ กว่ากิโลเมตร พูดถึงนครพนมยิ่ง ๓๐๐ กว่ากิโลเมตร อันนี้ยิ่งไกล แต่มาอุดรธานี
ใกล้มานิดหนึ่ง ๑๘๐ กิโลเมตร แต่นครพนมมาอุดรธานีก็เกือบ ๓๐๐ กิโลเมตร อันนี้ก็ฝาก
เป็นความหวัง ฝากทางศาลว่า ถ้ามันไกลกว่านี้ไม่มีใครอยากที่จะเดินทาง โดยเฉพาะพยานครับ
การที่เป็นพยานต้องมาให้ปากคําต่อศาลไกล ๆ แบบนี้ มันเป็นภาระแก่พี่น้องประชาชน
อันนี้ก็ต้องฝากเป็นความหวังให้ท่านว่าศาลต้องกลับไปทบทวนหน่อย ไม่ใช่คิดแล้วบอกว่า
เอาละตั้งก่อน ตอนนั้นบอกว่า ๑๖ แห่ง สกลนครด้วย ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในโซนลุ่มน้ําโขง
ตรงนั้น แต่วันนี้บอกยกเลิกละ ต้องมีคําตอบครับ พูดถึงวาระของท่านที่บอกว่าความเหมาะสม
สกลนครสนามบินก็มีครับ หลายอันมีครบสมบูรณ์หมด แต่วันนี้ท่านบอกไม่พร้อม ผมไม่รู้
จะตอบอย่างไร ในข้อ ๒ ของท่าน หลักเกณฑ์การพิจารณาการเปิดทําการศาลปกครอง
ผมดูแล้วสกลนครครบสมบูรณ์เลย ข้อ ๒.๑ ๒.๒ ๒.๓ โดยเฉพาะ ๒.๓.๑ ลักษณะที่สําคัญ
การตั้งศาลปกครอง สกลนครมีครบ ไม่ว่าประชากรตอนนี้ ๑,๑๐๐,๐๐๐ คน เขตปกครอง
อาชีพครบหมด มา ๒.๓.๒ สภาพเศรษฐกิจท่านไปดูครับ สนามบินพาณิชย์ก็มี ธนาคารมีครับ
สถาบันอุดมศึกษามีตั้งหลายแห่งมหาวิทยาลัย ผมว่ามันสมบูรณ์อยู่ แต่วันนี้ท่านยกเลิกไป
ผมต้องตอบพี่น้องประชาชนให้ผมทราบหน่อย หน่วยงานราชการไม่ต้องถึงภารกิจตรงนี้
ศาลสกลนครมีทั้งศาลธรรมดา ศาลยุติธรรม แล้วก็ศาลเยาวชนเด็ก มีหมดครับ ผมกราบเรียน
ท่านประธานว่า บ้านผมสกลนคร นครพนม มุกดาหาร ทําไมต้องไม่ได้รับความเป็นธรรม
จากภาคราชการด้ ว ย ส่ ว นศั ก ยภาพไม่ต้ อ งพู ด ถึ ง ครั บ อัน นี้ มั น ทํา ได้ ที หลั ง ตอนนี้ จ ะใช้
ศาลปกติก็ยังได้อยู่ ท่านไปใช้เลย ใช้ศาลยุติธรรมธรรมดา ๒ หลัง ๓ ชั้น ใช้อย่างไรก็ได้ครับ
ไปใช้เปิดบริการได้อยู่แล้ว อันนี้ฝากว่าผมเห็นด้วยทางภูเก็ตครับ แต่ว่าสกลนครก็เป็นจุดหนึ่ง
ซึ่งจะดูแลทั้งสกลนคร ทั้งนครพนมและมุกดาหาร ขอฟังคําตอบด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านณรงค์
ดูดิง
๘๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๔๑/๒

นายณรงค์ ดู ดิ ง (ยะลา) : ท่ า นประธานที่ เ คารพ ผม นายณรงค์ ดู ดิ ง


สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด ยะลา พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ผมเห็ น ด้ ว ยครั บ การที่ วั น นี้
สภาของเราจะมาพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับศาลปกครอง เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคณะรัฐมนตรี
ที่เสนอให้มีการจัดตั้งศาลปกครอง เพราะผมคิดว่าหลายท่านได้พูดถึงแล้วว่าความสําคัญ
ของศาลปกครองนั้ น วั น นี้ ต้ อ งยอมรั บ ว่ า มี ค วามสํ า คั ญ มากที เ ดี ย วนะครั บ เราจะเห็ น
จากวิกฤติต่าง ๆ ศาลปกครองนั้นช่วยบรรเทาวิกฤติของชาติได้ไม่ใช่น้อยทีเดียวเลยที่ผ่านมา
แล้วก็มีแนวโน้มในอนาคต ข้อผิดพลาดระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐที่มีเขตอํานาจ
ในการพิ จ ารณา เกี่ ย วกั บ คดี ก ารปกครองนั้ น ยิ่ ง จะทวี ม ากขึ้ น เป็ น ลํ า ดั บ เพราะฉะนั้ น
ผมคิ ด ว่ า เมื่ อประเทศของเรา บ้ านเมื องของเรานั้ นและโดยเฉพาะรั ฐบาลนั้ นจํ าเป็ นที่ จะต้ อง
อํ านวยความยุ ติ ธ รรม ความเป็ น ธรรมให้ กั บ ประชาชน วั น นี้ ค วามเป็ น ธรรมที่ ป ระชาชน
จะพึงได้รับตามสิทธิของความเป็นพลเมือง ตามสิทธิของรัฐธรรมนูญนั้นผมคิดว่าเห็นด้วย ----

- ๔๒/๑
๘๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สวรรยา ๔๒/๑

เห็นด้ว ยอย่า งมากที่ จะต้อ งจัดตั้ ง โดยเฉพาะศาลปกครองถ้ า หากเราจะไม่ ติ ดขั ดในเรื่ อ ง


งบประมาณหรือว่าความคล่องตัวในเรื่องอื่น ๆ จะมีทุกจังหวัดจะยิ่งดีเป็นอย่างมากครับ
อย่ า งไรก็ แ ล้ ว แต่ ท่ า นครั บ ผมอยากเสนอว่ า ผมเห็ น ด้ ว ยกั บ ข้ อ เสนอที่ ส มาชิ ก ที่ พู ด ไป
เมื่อตอนแรกของจังหวัดยะลาคือท่านประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ แล้วก็ท่านสุรเชษฐ์ แวอาแซ
ได้สนับสนุนไปก็คือในจังหวัดน่าจะมีศาลปกครองในจังหวัดภาคใต้โดยเฉพาะในบริเวณ
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสักแห่งหนึ่ งก่อนก็ได้ ก่อนที่จะมีที่อื่ น ผมคิดว่า จังหวัดยะลา
ก็เ ป็นจังหวัด หนึ่งที่ มี ค วามเหมาะสมที่ ค วรจะมี ศ าลปกครองด้ว ยเหตุผลที่ ผ มจะได้เ รีย น
เบื้องต้นสั้น ๆ นะครับท่านครับ
ประการที่ ๑ ก็คือวันนี้ศาลปกครองที่มีอยู่ก็คือศาลตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา
ซึ่งระยะทางเป็นระยะทางที่ไกลนะครับ ถ้านับจากอําเภอเบตงซึ่งเป็นอําเภอที่สุดชายแดน
ซึ่งเป็นอําเภอที่สุดชายแดนไปถึงสงขลานั้นต้องใช้ระยะเวลาการเดินทางถึง ๔ ชั่วโมงนะครับ
๔ ชั่ ว โมงกว่ า นะครั บ ๓๐๐ กว่ า กิ โ ลเมตร เพราะฉะนั้ น ประชาชน ๓๐๐ กว่ า กิ โ ลเมตร
จะไปหาความเป็ น ธรรม ผมคิ ด ว่ า เหนื่ อ ยพอสมควรนะครั บ แล้ ว แถมยั ง จะต้ อ งสู ญ เสี ย
งบประมาณอีก ไม่ว่าจะอําเภอเบตง หรืออําเภอสุไหงโก-ลก อําเภอแว้ง อําเภอชายแดน
อยู่ ไ กลมาก เพราะฉะนั้ น ๓ จั ง หวั ด ถ้ า จะมี สั ก ที่ ห นึ่ ง ที่ อ ยู่ ก ลาง ๆ อยู่ ที่ ย ะลาอย่ า งที่
ท่านประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ได้เสนอนั้นผมคิดว่าน่าจะเหมาะสมกว่านะครับ ด้วยเหตุนี้
ผมเห็ น ว่ า ในบริเ วณเขต ๓ จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ น อกจากจะเป็ น ระยะทางที่ ห่ า งไกล
แล้ ว ก็ ด้ า นภาษาครั บ ท้ อ งถิ่ น นั้ น ใช้ ภ าษามลายู แม้ แ ต่ ใ นศาล ศาลจั ง หวั ด เบตงก็ ดี
ศาลจังหวัดยะลาก็ดี ศาลจังหวัดนราธิวาส ศาลจังหวัดปัตตานี ก็ยังจะต้องใช้ล่ามเวลาศาล
ดํา เนิ น กระบวนการพิจ ารณาจะใช้ล่ า มนะครั บ นั่ น แสดงให้ เ ห็น ว่า ภาษาก็ เ ป็ น อุป สรรค
พอสมควรสําหรับการที่ ประชาชนตรงนั้ นจะไปใช้ สถานที่ ที่เ ป็นอยู่ทุกวั นนี้ก็ คือที่สงขลา
ถ้าหากเราจะอํานวยความสะดวกให้ไปอยู่ใน ๓ จังหวัดผมคิดว่าน่าจะเหมาะสมทีเดียวนะครับ
แล้วผมจะไม่พูดถึงเหตุผลอื่น ๆ อีกหลายอย่างนะครับ โดยเฉพาะการอํานวยความสะดวก
การอํ า นวยความยุ ติ ธ รรมในเชิ ง ของวั ฒ นธรรม เชิ ง ของความเชื่ อ ที่ จํ า เป็ น จะต้ อ งใช้
คํ า ปรึ ก ษาหารื อ ของศาลยุติ ธ รรมหรือ ว่ า ดาโต๊ ะ ยุ ติธ รรมที่ มี ค วามรู้ อี ก ด้ า นหนึ่ ง เกี่ ย วกั บ
ด้านกฎหมายอิสลามจะต้องมาฟังประกอบด้วยก็จะเป็นการดีมาก ผมคิดว่าวันนี้จังหวัดสงขลา
๘๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สวรรยา ๔๒/๒

ยังเป็นเขตอํานาจของศาลปกครองที่อยู่ภาคใต้ที่กินเนื้อที่กว้างไกลมาก ดังนั้นผมอยากจะเสนอ
ให้ท่านรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่อยู่ในที่นี้นะครับ ควรจะอยู่
เพราะว่าเป็นเรื่องของความยุติธรรมนั้นผมคิดว่าน่าจะรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาว่าทําอย่างไร
ในเขต ๓ จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ควรจะมี ศ าลปกครอง แล้ ว ก็ ท้ า ยนี้ ผ มเห็ น ด้ ว ยกั บ
การที่จะจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ตอย่างที่กําลังพิจารณาอยู่ขณะนี้ครับ ขอบคุณครับท่าน
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านสถาพร
นะครับ แล้วก็ท่านเจะอามิง โตะตาหยง สุดท้ายแล้วผมจะขอให้ทางท่านผู้มาชี้แจงได้ตอบ
แล้ ว ก็ จ ะได้ ล งมติ กั น นะครั บ แล้ ว ก็ จ ะได้ พิ จ ารณาในกฎหมายฉบั บ อื่ น ต่ อ เห็ น ทุ ก ท่ า น
ก็เห็นด้วยนะครับ เชิญท่านสถาพร ครับ
นายสถาพร มณีรัตน์ (ลําพูน) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม สถาพร มณีรัตน์
พรรคเพื่อไทย จังหวัดลําพูน ขอแสดงความยินดีกับเพื่อนพี่น้องประชาชนในจังหวัดภูเก็ต
จังหวัดเพชรบุรี ------------------------------------------------------------------------------------------

- ๔๓/๑
๘๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) วาสนา ๔๓/๑

จังหวัดนครสวรรค์ที่ท่านจะได้มีหน่วยงานในการปกป้องรักษาสิทธิ รักษาสิทธิในฐานะพลเมือง
ของประเทศที่ จ ะมี ศ าลดู แ ลความเท่ า เที ย มยุ ติ ธ รรม โดยเฉพาะระหว่ า งรั ฐ กั บ ราษฎร
และราษฎรกับรัฐ ท่านประธานที่เคารพครับ แต่สิ่งหนึ่ งผมต้องท้ วงติงทางศาลปกครอง
ก็ คื อ ว่ า ทางศาลขาดการประชาสั ม พั น ธ์ ชาวบ้ า นไม่ รู้ ค รั บ ว่ า ระยะทาง ๒๐๐ กิ โ ลเมตร
๓๐๐ กิ โ ลเมตร ส่ ง ฟ้ อ งทางไปรษณี ย์ ไ ด้ นี่ ถ้ า รู้ ช าวบ้ า นเขาก็ จ ะฟ้ อ งทางไปรษณี ย์ ค รั บ
ไม่รู้เขาก็บอกว่าระยะทางห่าง และค่าอรรถคดีความทางศาลปกครอง เพราะพี่น้องประชาชน
รากหญ้าที่อยู่ห่างไกลไม่จําเป็นไม่ฟ้องศาลหรอกครับ เสียเวลาทํามาหากินครับ นี่แสดงว่าอึดอัด
เต็มทีต้องพึ่งพาอํานาจศาล แต่ไม่รู้ครับว่าผมเดินขึ้นบันไดศาลปกครองผมจะต้องเสียเงิน
เท่าไร เพราะคําว่า ฟ้องศาล จะต้องมีค่าฤชาธรรมเนียม คนบ้านนอกอย่างพวกผมนี่นะครับ
บางทีพระราชบัญญัติเวนคืนออกแล้วครับ ปั๊มตราโฉนดเรียบร้อยด้านหลังจะโอนก็ไม่ได้
รัฐบาลก็ไม่เอาเงินไปเวนคืนเสียที อย่างถนนสาย ค ๑ ค ๒ ค ๓ ของจังหวัดลําพูน ๖ ปีแล้วครับ
ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนมานี่ จะโอนก็โอนไม่ได้ จะขายก็ขายไม่ได้ เสียหายกันหมด
อย่างนี้จะให้ทําอย่างไร ฟ้องศาลปกครองให้บังคับรัฐบาลเอาสตางค์ไปซื้อ พ.ร.บ. เวนคืน
๒๐๐ กว่าล้านบาทเองครับ อย่างนี้ถ้าเราประชาสัมพันธ์ชาวบ้านเฮโลฟ้องแน่ ส.ค. ๑ ยกเลิก
ไปตั้งนานแล้ว ไม่ไปออกโฉนดให้พวกชาวบ้านเสียที อย่างนี้รัฐผิดแล้วจะทําให้ศาลปกครอง
มีอํานาจบังคับ บอกให้รัฐตั้งงบประมาณไปออกโฉนดให้ชาวบ้าน ศาลปกครองต้องลุกครับ
อย่ า ให้ ช าวบ้ า นต้ อ งเดิ น มาไหว้ ค รั บ บอกประเด็ น เลยอย่ า งนี้ ฟ้ อ งได้ เ ลย บอกเลยครั บ
ท่านประธานศาลปกครองที่เคารพ บอกชาวบ้านตาดํา ๆ อย่างผมว่าอย่างนี้รัฐผิดฟ้องเลย
ชาวบ้านจะได้ลืมตาอ้าปาก จะได้อํานวยความเป็นธรรมครับ พวกผมไม่รู้ครับ ผู้แทนราษฎร
บ้ า นนอกอย่ า งพวกผมวั น ๆ หนึ่ ง ก็ รั บ เรื่ อ งอย่ า งนี้ ศาลปกครองอยู่ ที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่
แต่เรื่องมันอยู่ที่ทุ่งหัวช้าง อยู่บนเขา ส.ค. ๑ เขาก็ไม่รู้ครับ ช่วยอรรถาธิบายความสภาพ
บังคั บง่า ย ๆ ให้พี่ น้ องตาดํา ๆ ลูก หลานชาวไร่ช าวนาอย่ า งพวกผมรู้ บ้า งครั บว่ า อย่ า งนี้
ฟ้องศาลปกครองได้นะ รัฐคุณทําอย่างนี้ไม่ถูก กรณีที่เจ็บปวดที่สุดก็คือกรณีที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ
พี่น้องประชาชนในเขตอําเภอแม่เมาะฟ้องศาลปกครอง ฟ้องเสร็จชาวบ้านชนะแต่การไฟฟ้า
เฉยแล้วจะทําอย่างไร ไม่จ่ายค่าเยียวยาเขา ไม่อพยพเขา เฉยดื้อแพ่งอย่างนี้ หน่วยงานรัฐ
ดื้อแพ่งจะทําอย่างไร ชนะแล้วนะ อย่างนี้เราจะมีสภาพบังคับอย่างไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่ชื่นชม
ถู ก ต้ อ งคื อ การมี ศ าลที่ อํ า นวยความบริ สุ ท ธิ์ ยุ ติ ธ รรมให้ กั บ ราษฎรตาดํ า ๆ ๖๓ ล้ า นคน
๙๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) วาสนา ๔๓/๒

แต่ สิ่ งที่ จะต้ องท้ วงติ งผู้ พิ พากษาทั้ งหลายว่ าช่ วยบอกพี่ น้ องผมหน่ อย เอาแผ่ นพั บโบรชั วร์
(Brochure) อย่างนี้ฟ้องได้ อย่างนี้ฟ้องไม่ได้ รับจํานําข้าวชักช้า ๓ วันดอกเบี้ยขึ้นราษฎร
เสี ย หาย อย่ า งนี้ บอกหน่อ ยเป็นแผ่น พับ เป็ นหนังสื อ ท่ า นตั้ งงบประชาสั ม พั น ธ์เ ลยครั บ
บอกเลย ดีกว่าที่เราจะมีสํานักงานใหญ่โตมโหฬารเป็นตึกสูง คนแก่คนเฒ่าจะไปฟ้องศาล
ต้ อ งหามกั น ขึ้ น ไปอย่ า งนี้ เวลาออกแบบศาลปกครองรู้ ว่ า เป็ น ศาลคนชั้ น ระดั บ ล่ า ง
ชาวไร่ชาวนาที่แพ้ เวลาออกแบบที่ทําการท่านอย่าทําสูงครับ หมดแรงคาบันไดศาลก่อน
เอาห้องแถวธรรมดานี่ละครับ เดินไปถึงเปิดประตูไหว้ผู้พิพากษานั่งบัลลังก์ปุ๊บ ท่านขึ้นมาจบครับ
ไม่ต้องสร้างตึกใหญ่โตมโหฬาร ------------------------------------------------------------------------

- ๔๔/๑
๙๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) พรธิดา ๔๔/๑

ขึ้นก็ลําบาก ลงก็ลําบากครับ หมดแรงก่อนครับ เพราะฉะนั้นการออกแบบอรรถคดีความ


ขอให้เชื่อมโยงในแง่ของสังคมเราด้วย สิ่งที่เราต้องการให้ศาลปกครองอํานวยความยุติธรรม
นอกจากอํานวยความยุติธรรมแล้วก็ชี้แจงชาวบ้าน พี่น้องประชาชนให้รับรู้รับทราบถึงประเด็น
ที่จะฟ้องรัฐได้ ค่าฤชาธรรมเนียมมีไหม มูลค่าทรัพย์สินแค่นี้หรือฟรีตลอดชาติจะได้รู้ครับ
เราไม่ได้มีเงินมีทองอะไรหรอกครับ พี่น้องของผมก็อยากจะพึ่งพาอํานวยความยุติธรรม
ถ้าฟรีหมดก็บอกว่าค่าฤชาธรรมเนียมไม่มี ฟรี ติดประตูศาลเลยครับ ตัวใหญ่ ๆ มันจะได้ชื่นใจ
กันหน่อย แล้วเวลาท่านสบาย เจ้าหน้าที่ของท่านถ้าขึ้นศาลปกครองก็แสดงว่าเป็นชาวไร่
ชาวนาขอให้ยิ้มแย้มแจ่มใส บันไดแรก ประตูแรกที่พี่น้องผมไปอย่าตีหน้ายักษ์ เจ้าหน้าที่
ธุรการนะครับ ไม่ใช่ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาทุกคนดีหมดนะครับ ถ้าไม่ดีไม่ได้เป็นผู้พิพากษา
หรอกครับ แต่ลูกน้องของท่านบางคนใหญ่กว่าผู้พิพากษา ชาวบ้านไม่รู้ก็นึกว่าผู้พิพากษา
ทําไมรุนแรงอย่างนี้ ทําไมตวาดดิฉันอย่างนี้ท่าน ส.ส. ไปเป็นเพื่อนหน่อย เราต้องให้คนขับรถ
ใส่ชาวบ้านท้ายปิคอัพ (Pickup) ไปเชียงใหม่โน่นนะครับ เพื่อจะไปดูเจ้าหน้าที่ของท่านคนไหน
ที่มันหน้ายักษ์ก็เอาไปไว้ที่อื่น เอาคนที่มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นลูกชาวบ้านหลานชาวนา
มาบริ ก าร เพราะมั น มี โ จทก์ ก็ คื อ ชาวบ้ า นตาดํ า ๆ จํ า เลยคื อ รั ฐ เพราะฉะนั้ น โดยสรุ ป
ผมสนับสนุนให้มีศาลปกครอง สนับสนุนให้ศาลปกครองได้ขยายพื้นที่ แต่ให้ตั้งข้อสังเกตว่า
ต่อไปศาลปกครองต้องทํางานเชิงรุกชาวบ้านจะได้รู้ว่าฟ้องทางไปรษณีย์ก็ได้ อยู่ตีนเขาลําเนาไพร
ปั๊มตราไปรษณีย์แล้วจะตามอย่างไรท่านช่วยบอกด้วย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ขอชื่นชมกับพี่น้อง
๓ จังหวัด ที่จะได้ศาลปกครอง แล้วก็ขอฝากประเด็นที่ผมห่วงใยท้วงติงการวิพากษ์วิจารณ์
ของกระผมในครั้งนี้ถือว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ตามเจตนาที่บริสุทธิ์ และเป็นข้อเท็จจริง
ที่เกิดขึ้น ถ้าท่านต้องการรู้ว่าลูกน้องของท่านเป็นคนอย่างไร ถาม ส.ส. บ้านนอกอย่างพวกผม
รู้หมดว่าหน่วยงานของท่าน หน่วยงานรัฐ หน่วยงานไหน เพราะฉะนั้นขอให้ท่านรับข้อสังเกต
และไปปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขหน่ ว ยงานของท่ า น ผมยิ น ดี ส นั บ สนุ น ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง
ศาลปกครองภูเก็ต เพชรบุรี และนครสวรรค์ กราบขอบคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านเจะอามิง
โตะตาหยง
๙๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) พรธิดา ๔๔/๒

นายเจะอามิง โตะตาหยง (นราธิวาส) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม เจะอามิง


โตะตาหยง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ กระผมขออนุญาต
ท่ า นประธานได้ ตั้ ง ข้ อ สั ง เกตจากกรณี ที่ มี ก ารร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง ศาลปกครอง
ของจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต จั ง หวั ด เพชรบุ รี และจั ง หวั ด นครสวรรค์ ก่ อ นอื่ น ก็ ไ ม่ แ ตกต่ า งครั บ
ท่า นประธาน ผมขออนุ ญ าตชื่น ชมว่ า ๓ จั ง หวั ด และจั ง หวั ดใกล้ เ คี ย งคงจะได้ ใ ช้ บ ริ ก าร
ของศาลปกครอง เพื่อความเป็นธรรมและการเข้าถึงของพี่น้องประชาชนอย่างเป็นธรรมที่สุด
ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขออนุญาตตั้งข้อสังเกตต่อศาลในกรณีการจัดตั้งศาลปกครอง
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สิ่งที่ผมจําเป็นที่จะต้องพูดเรื่องนี้เพราะว่าคนในจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ได้รับผลกระทบจากการกระทําของภาครัฐ โดยการใช้อํานาจ พ.ร.ก. พระราชกําหนด
จนทําให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็ นธรรม แต่สิ่งที่ ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ก็ไม่ได้รับการเหลียวแลและการดูแลจากศาลปกครอง ท่านประธานที่เคารพครับ เราต้อง
ยอมรั บว่ า จังหวัด ชายแดนภาคใต้เวลาประชาชนมี ปัญ หากับเจ้ าหน้ า ที่ และกลไกของรั ฐ
ความเข้าถึงของพี่น้องประชาชนเกี่ยวกับความยุติธรรมของทางการปกครอง ของศาลปกครอง
เราต้องยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าพี่น้องประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เข้าถึง
ความหมายของศาลปกครองเท่าที่ควร ---------------------------------------------------------------

- ๔๕/๑
๙๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๔๕/๑

นั่นแสดงให้เห็นว่าการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ระหว่างศาลปกครองกับพี่น้องประชาชน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้น้อยมาก จะสังเกตเห็นว่าวันนี้ผมถามไปถึงทางผู้มาชี้แจงทางศาลว่า
วั น นี้ ใ นกรณี ข องจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ประชาชนที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ความเป็ น ธรรมในกรณี
๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้กับ ๔ อําเภอ ไปใช้บริการของทางศาลปกครอง มีทั้งหมดจํานวนกี่คดี
สิ่งที่ผมอยากจะถามตรงนี้เพราะว่าความเป็นธรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้จําเป็นที่รัฐ
จะต้องให้กับเขา ท่านประธานที่เคารพครับ ถ้าเรามาดูในเนื้อหาสาระในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ก็ได้ให้การจัดตั้งศาลปกครองแยกต่างหาก
จากศาลยุติธรรม เพื่ออํานวยความสะดวกกับพี่น้องประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ที่จะต้อง
ไปใช้ในการบริการของศาลปกครอง ท่านประธานทราบไหมครับ วันนี้ผมเพิ่งทราบครับ
ว่าศาลปกครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในจังหวัดยะลา ศาลปกครองของจังหวัดยะลา
ที่จริงจะต้องได้รับเงินจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล เพราะอาศัยตามกรอบของกฎหมายนี้
จั ง หวั ด ยะลาต้ อ งได้ ศ าลปกครอง แต่ ท่ า นประธานทราบไหมครั บ ว่ า วั น นี้ ผ มตกใจครั บ
จากการของบประมาณของศาลมานี้ต้องไปขอจากใครครับ ไม่ใช่ตัวศาลปกครองเป็นผู้ขอโดยตรง
ต้องไปขอจากศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. แต่ที่น่าเสียใจมาก
ที่สุดของคน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้วันนี้งบประมาณในการจัดตั้งศาลปกครองที่จังหวัดยะลา
ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ วันนี้รัฐบาลตัดหมดเลยครับท่านประธาน ไม่เหลือสักบาทครับ
นั่นแสดงให้เห็นว่าวันนี้ผมเข้าใจแล้วครับว่าการให้ความสําคัญกับคนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
วันนี้รัฐบาลไม่ได้ให้ความสําคัญเลย ถ้าให้ความสําคัญวันนี้ ผมจะต้องเรียนอย่างตรงไปตรงมา
ผ่านไปยังท่านประธานไปถึงท่านผู้มาชี้แจงว่า ถ้าเป็นไปตามกฎหมาย ศาลยะลาจะต้อง
ได้ ง บประมาณไปจั ด ตั้ ง ศาล ที่ สํ า คั ญ ที่ สุ ด คื อ จั ง หวั ด ยะลามี ส ถานที่ เ รี ย บร้ อ ยที่ ท่ า สาป
อํ า เภอเมื อ ง จั ง หวั ด ยะลา ถ้ า ให้ ง บประมาณกั บ เขาไปวั น นี้ ส ามารถจั ด ตั้ ง ศาลได้ เ ลย
ผมเรี ย นถามท่ า นประธานผ่า นไปถึ งท่ า นผู้ ม าชี้ แจงว่ า วัน นี้ ท่านได้ ท้ ว งติ งหรื อ แปรญั ต ติ
ในขณะนี้ซึ่งกรรมาธิการกําลังพิจารณางบประมาณในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ อยู่ในขณะนี้
ท่านได้ทําแปรญัตติไปยังกรรมาธิการวิสามัญในการจัดสรรงบประมาณปี ๒๕๕๕ หรือไม่
อย่า งไร ผมขออนุญ าตถามผ่ า นไปยั งท่ า นประธานผ่ า นไปถึ ง ทางศาลว่ า วั น นี้ ท่ า นได้ใ ห้
หลักการและเหตุผลในขณะที่สํานักงบประมาณได้ตัดเงินงบประมาณของท่านในการที่ไป
จัดตั้งศาลในจังหวัดยะลาหรือไม่ อย่างไร ผมขออนุญาตถามท่านประธานผ่านไปถึงผู้มาชี้แจง
๙๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๔๕/๒

ว่าขออนุญาตทราบเหตุผลว่าท่านได้ให้ข้อคิดเห็น และการชี้แจงเหตุผลอะไรถึงทําให้กรรมาธิการ
ได้ตัดงบประมาณของท่านทั้งหมดเลยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านประธานที่เคารพครับ
วันนี้เราต้องยอมรับว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้บอกว่ามันไกลไหมเวลาจะมาศาลปกครอง
ที่ดูแลครอบคลุมถึงจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา มันไกลครับ ถามว่าคนเวลาที่จะไปร้องเรียน
ขึ้นศาล ระยะการเดินทางเราต้องยอมรับ ถ้าตามเรื่องสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า
คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงเป็นคนภาคใต้ก็จริงไม่ได้มีฐานะร่ํารวย คนที่ได้รับผลกระทบ
มากที่ สุ ดในจั งหวั ดชายแดนภาคใต้ คื อคนยากจน การที่ เวลาจะมาขึ้ นศาล มาร้ อ งเรี ย น
ต่ อ ศาลปกครองที่ จั ง หวั ด สงขลา ระยะเวลาการเดิ น ทางถ้ า อยู่ ที่ จั ง หวั ด นราธิ ว าสมาถึ ง
จั ง หวั ด สงขลา ๔๐๐ กว่ า กิ โ ลเมตร นอกเหนื อ หลั ก เกณฑ์ ที่ ท่ า นได้ ใ ห้ ไ ว้ ใ นหลั ก เกณฑ์
ของศาลปกครอง ----------------------------------------------------------------------------------------

- ๔๖/๑
๙๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๔๖/๑

ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขออนุญาตให้เหตุผลอย่างนี้ครับว่าถ้ามีการจัดตั้งศาลปกครอง
ในจังหวัดยะลาแล้วสามารถควบคุมพื้นที่ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และคดีที่ไม่ได้
รับความเป็นธรรมที่พี่น้องประชาชนถูกกระทําจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งสืบเนื่องจากการใช้
พระราชกํ า หนดในระบบการเหวี่ ย งแหก่ อ นหน้ า นี้ มั น จะสามารถนํ า ไปสู่ ศ าลปกครอง
อํ า นวยความเป็ น ธรรมกั บ พี่ น้ อ งประชาชน สร้ า งความพึ ง พอใจกั บ พี่ น้ อ งประชาชนได้
แต่วันนี้คนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ขาดการเหลียวแลอีกแล้วครับ ท่านประธานที่เคารพ
ผมขออนุญาตฝากคําถามและผมขอทราบหลักการและเหตุผลที่ผมได้เรียนต่อท่านประธาน
ผ่านไปถึงผู้มาชี้แจงได้กรุณาให้หลักการและเหตุผลที่ได้ตัดงบประมาณในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เพราะอะไร ขอบคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านปวีณ
กับท่านวัชระ ของท่านเป็นฉบับต่อไปได้ไหมครับ เดี๋ยวผมจะให้ทางท่านผู้ชี้แจงได้ชี้แจง
แล้วลงมติ แล้วท่านค่อยพูดในฉบับจัดตั้งที่เพชรบุรีดีไหมครับ เชิญครับ
นายวัชระ เพชรทอง (บัญชีรายชื่อ) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายวัชระ
เพชรทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธาน
ผมขออนุญาตอภิปรายเลยครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
ก่อนท่านอภิปรายเดี๋ยวท่านนั่งก่อนครับ เชิญท่านปวีณก่อนครับตามลําดับ แล้วก็ท่านวัชระ
สุดท้าย ท่านปวีณจะพูดไหมครับ เชิญครับ
นายปวีณ แซ่จึง (ศรีสะเกษ) : ท่านประธานที่เคารพ ผม ปวีณ แซ่จึง พรรคเพื่อไทย
จังหวัดศรีสะเกษ เขตเลือกตั้งที่ ๘ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองเพชรบุรี พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
นครสวรรค์ พ.ศ. .... หลักการและเหตุผลผมอภิปรายรวบครับ ผมเห็นด้วยในหลักการที่จะ
จัดตั้งศาลปกครอง ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถดําเนินการในครั้งเดียวให้ครบถ้วนและสามารถ
อํานวยความยุติธรรมในเรื่องของคดีทางการปกครองให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงครบถ้วน
ทุกพื้นที่ก็ตาม การดําเนินการเป็นภาระของรัฐบาลในการที่จะจัดตั้งงบประมาณ สิ่งเหล่านี้
เป็ น แนวคิ ด ที่ ดี อย่ า งน้ อ ยที่ สุ ด ก็ ต้ อ งไม่ ห ยุ ด นิ่ ง กั บ ที่ การเคลื่ อ นไหว การเปลี่ ยนแปลง
การเพิ่มปริมาณงานของสถานที่หรือศาลนี้เป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสนับสนุนการอํานวย
๙๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๔๖/๒

ความยุติธรรมให้กับประชาชนนั้นคงไม่มีใครที่ไม่อยากจะอํานวยให้ แต่จะเป็นปัญหาในเรื่อง
ของอุปสรรคก็คือ ๑. งบประมาณของแผ่นดิน ๒. ความพร้อมของหน่วยงานนั้นที่จะขยาย
อย่างทันทีทันใดได้หรือไม่ ศาลปกครองมีบุคลากรพร้อมเพรียงที่จะขยายหน่วยงานให้พร้อมทันที
ได้หรือไม่ นี่เป็นประเด็นเหมือนกัน งบประมาณก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง จริงอยู่ครับ ผมเห็นใจ
พี่น้องชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ท่านสมาชิกได้แสดงความคิดเห็น เนื่องจากเรามีประเพณี
วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่นั้นแตกต่างกัน การอํานวยความสะดวกให้แต่ละกลุ่ม แต่ละจังหวัด
ได้รับความสะดวกจึงเป็นสิ่งจําเป็น ผมเคยเรียนว่าจังหวัดศรีสะเกษ ไม่อยากจะยกตัวอย่าง
จังหวัดของตัวเอง ก่อนที่ศาลปกครองจังหวัดอุบลราชธานีจะเปิดขึ้น ผมอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ
อยู่ ในเขตของศาลปกครองนครราชสีม า เราเดินทางกั น เกือบ ๓๐๐ กิ โลเมตร การฟ้ อง
ศาลปกครองทําอย่างไร เรามีอยู่ ๒ วิธี วิธีที่ ๑ ก็คือเราสามารถที่จะส่งทางไปรษณีย์ได้
เราสามารถที่จะฟ้องด้วยตัวเองได้ ในขณะเดียวกันเราก็สามารถที่จะไปยื่นที่ศาลปกครอง
ตัวที่ทําการ แต่ความต้องการของคนและความเชื่อมั่นของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ต่างคน
ก็อยากจะไปให้ถึงที่ ไม่อยากส่งทางไปรษณีย์ -------------------------------------------------------

- ๔๗/๑
๙๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๔๗/๑

ก็เลยเกิดปัญหาว่าเรายังต้องให้เขาได้ไปที่ทําการของศาลปกครองอยู่ ๖๐ กว่าเปอร์เซ็นต์
ก็ คื อ คนที่ ไ ปยื่ น ฟ้ อ งเอง เพี ย ง ๓๐ กว่ า เปอร์ เ ซ็ น ต์ ก็ คื อ คนที่ ยื่ น ฟ้ อ งทางไปรษณี ย์
ท่ า นประธานที่ เ คารพ การอํ า นวยความยุ ติ ธ รรมให้ กั บ ประชาชนที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ
จากหน่วยงานของรัฐหรือคําสั่งทางการปกครอง หรือหน่วยงานของรัฐต่อหน่วยงานของรัฐเองนั้น
เป็นสิ่งที่จําเป็นจะต้องมีหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบ ศาลปกครองรับผิดชอบในเรื่องนี้ทําให้
สามารถอํ า นวยความยุ ติ ธ รรมให้ กั บ ผู้ ที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ความเป็ น ธรรม และในภาวะปั จ จุ บั น นี้
ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ประชาชนสามารถที่จะฟ้องทางการปกครองได้ ผมยังเคยบอกกับพี่น้อง
ของผมเลยว่าในกรณีที่เราไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถดําเนินการตามคําร้องขอที่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติ
แล้วไม่ทําหรือกระทําก็ตามก็สามารถที่จะฟ้องศาลปกครองได้ แต่สิ่งที่อยากจะฝากทางศาลปกครอง
ก็คือการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์นี้มีความจําเป็นเป็นอย่างยิ่ง เป็นการที่จะแจ้ง
ให้ พี่ น้ อ งประชาชนของเราได้ ท ราบว่ า เขายั ง มี สิ ท ธิ ที่ จ ะต้ อ งปกป้ อ งสิ ท ธิ ข องเขาได้ อ ยู่
ในกรณีที่เขาเห็นว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคําสั่งทางการปกครองนั้นหรือจากการกระทํา
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ปฏิบัติตามกรอบของระเบียบกฎหมาย ซึ่งเป็นการปกป้องสิทธิ
ผมขอสนั บ สนุ น ในการจั ด ตั้ ง ศาลปกครอง ใน ๓ จั ง หวั ด ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น แล้ ว ก็ ค าดหวั ง ว่ า
จะมี ก ารจั ด ตั้ ง ศาลปกครองเพิ่ ม ขึ้ น ทุ ก ปี ง บประมาณ เพื่ อ ให้ ป ระชาชนได้ รั บ ประโยชน์
อย่างสูงสุด ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับนี้
ทั้งหลักการและเหตุผล ผมเห็นด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
เชิญท่านวัชระครับ
นายวัชระ เพชรทอง (บัญชีรายชื่อ) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายวัชระ
เพชรทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธานครับ
ในฐานะสมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรแบบบั ญ ชี ร ายชื่ อ ซึ่ ง นั บ ประเทศเป็ น เขตเลื อ กตั้ ง
ผมสนับสนุนการจัดตั้งศาลปกครอง ไม่ว่าที่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดเพชรบุรี หรือจังหวัดใด ๆ ก็ตาม
รวมทั้งใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอนาคตถ้าหากพึงมี ในวาระนี้ท่านประธานพิจารณา
การจั ด ตั้ ง ศาลปกครองที่ จั ง หวั ด ภู เ ก็ ต ท่ า นประธานครั บ ศาลปกครองได้ เ ริ่ ม ต้ น ตั้ ง แต่
สมั ย ท่า นอดีต นายกรั ฐ มนตรี ท่ า นชวน หลี ก ภั ย เป็ น นายกรัฐ มนตรี และเจริ ญ งอกงาม
๙๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๔๗/๒

มาจนบั ด นี้ เ พื่ อ พิ จ ารณาข้ อ พิ พ าทระหว่ า งหน่ ว ยงานของรั ฐ กั บ พ่ อ แม่ พี่ น้ อ งประชาชน
หน่วยงานของรัฐที่กระทําการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดต่อหน้าที่หรือทําหน้าที่ที่ล่าช้า
เกินสมควร หรือละเมิดต่อสิทธิของประชาชน ท่านประธานครับ นี่ละครับคือสิ่งที่วิเศษสุด
ที่ พี่ น้ อ งประชาชนจะพึ ง ได้ รั บ และกฎหมายทั้ ง ๓ ฉบั บ นี้ ก็ คื อ กฎหมายเดิ ม ที่ รั ฐ บาล
ท่านอาจารย์อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เสนอไว้ต่อสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลนี้มาดําเนินการต่อ
ท่านประธานครับ เราสนับสนุนให้พี่น้องประชาชนมีความกล้าหาญ กล้าที่จะลุกขึ้นมาปกป้อง
สิทธิประโยชน์ของพี่น้องประชาชนของตนเองให้มากขึ้น และเมื่อได้ขยายการจัดตั้งศาล
ปกครองไปยังที่ต่าง ๆ ไปที่จังหวัดภูเก็ต ทําให้พี่น้องจังหวัดพังงา จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่
จังหวัดภูเก็ต ได้ประโยชน์ ไม่ต้องไปที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านประธานครับ และจัดตั้ง
ศาลปกครองเพิ่ ม ขึ้นอี ก ๒ แห่งย่อ มเป็น สิ่ งที่ดี ทั้ งนี้ ทั้ งนั้ นอย่ า งที่เ พื่ อ นสมาชิกบางท่ า น
ได้ บ อกไปแล้ ว ว่ า เมื่ อ รั ฐ ละเมิ ด พี่ น้ อ งประชาชน รั ฐ ผิ ด เพื่ อ นสมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร
พรรครั ฐ บาลบางท่ า นก็ บ อกว่ า ให้ ฟ้ อ งเลย ๆ ผมก็ จ ะยกตั ว อย่ า ง ท่ า นประธานครั บ
ยกตั ว อย่ า งเช่ น กรณี น้ํ า ท่ ว ม พี่ น้ อ งประชาชนที่ เ ห็ น ว่ า ตนเองไม่ ไ ด้ รั บ ความเป็ น ธรรม
ไม่ ไ ด้ รั บ สิ ท ธิ ไม่ ไ ด้ รั บ การเยี ย วยาจากรั ฐ ไม่ ไ ด้ รั บ ความยุ ติ ธ รรมจากรั ฐ ที่ เ พี ย งพอ
ก็สามารถฟ้องได้ ----------------------------------------------------------------------------------------

- ๔๘/๑
๙๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๔๘/๑

ถามว่าพี่น้องประชาชนที่ถูกน้ําท่วมนานนับเดือน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ท่วมตั้งแต่หัวเข่า


จนถึงมิดศีรษะ ท่านประธานครับ ฟ้องได้ทั่วประเทศ แต่พี่น้องประชาชนบางท่านก็ขาดความเข้าใจ
แล้วจะไปฟ้องศาลปกครองที่ไหน อย่างพี่น้องประชาชนในเขตรอบ ๆ นอกกรุงเทพมหานครจังหวัด
นครปฐม พี่น้องจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พี่น้องกรุงเทพมหานคร พี่น้องจังหวัดปทุมธานี พี่น้อง
๔-๕ จังหวัดที่ผมกล่าวมานี้สามารถฟ้องได้ที่ศาลปกครองกลาง ตอนนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี
รวมทั้ งพี่ น้ องจั งหวั ดนนทบุ รี ก็ ฟ้ องได้ ท่ านประธานครั บ และสิ ทธิ ของประชาชนอั นนี้ ที่ รั ฐ
ไม่ สามารถที่ จะปกป้ องคุ้ มครองพี่ น้ องประชาชนให้ รอดพ้ นจากมหาตภั ย อุ ทกภั ยครั้ งใหญ่
พี่น้องประชาชนก็ย่อมมีสิทธิและมีข่าวว่าพี่น้องประชาชนก็เริ่มทยอยใช้สิทธิอันนี้ในการฟ้อง
ต่อศาลปกครองกลางแล้ว ท่านประธานครับ แต่ถ้าพี่น้องประชาชนที่ถูกน้ําท่วมสม่ําเสมอ
แถวจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จะฟ้องที่ศาลไหนครับ
ท่านประธานครับ ถ้าเป็นจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง
ฟ้ อ งที่ ศ าลปกครองจั ง หวั ดสุ พ รรณบุ รี และผมดี ใ จที่ จ ะมี ศ าลปกครองกลางอีก ศาลหนึ่ ง
ที่จังหวัดนครสวรรค์ พอต่อไปพี่น้องที่จังหวัดนครสวรรค์ที่มีพื้นที่น้ําท่วมต่อเนื่องมาโดยตลอด
ถ้าจะฟ้องก็ฟ้องได้ที่ศาลปกครองจังหวัดนครสวรรค์ที่ท่านจะจัดตั้งขึ้น ท่านประธานครับ
ผมจํ า ได้ ว่ า ศาลปกครองต้ อ งมารายงานประจํ า ปี ต่ อ สภาผู้ แ ทนราษฎรแห่ ง นี้ ทุ ก ปี ๆ
และเมื่อปีกลายเพื่อนสมาชิกหลายสิบท่านได้ลุกขึ้นมาอภิปรายถึงการพิจารณาคดีที่ล่าช้า
ของท่านทั้งหลาย การพิจารณาคดีที่ล่าช้ามากเหลือเกินของศาลปกครองและมีคดีค้างอยู่ใน
การพิจารณาคดีของศาลปกครองจํานวนมากนับหมื่นคดี เมื่อจัดตั้งศาลปกครองมากเพิ่มขึ้น
ข้ อ ที่ น่ า วิ ต กและกราบเรี ย นความห่ ว งใยผ่ า นท่ า นประธานไปยั ง ศาลปกครองก็ คื อ ว่ า
การพิจารณาคดีของท่านยังล่าช้าอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ ถ้ายังล่าช้าอยู่เหมือนเดิม ช้าเป็น
เรือเกลือ ช้ายิ่งกว่ารถไฟของประเทศไทยแล้วจะมีประโยชน์อันใด แต่อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่า
ในแผนยุทธศาสตร์ศาลปกครอง ฉบั บที่ ๓ ที่ ศาลปกครองกําลังดําเนิ นการอยู่ นี้ ในช่วงปี
๒๕๕๔ ถึ งปี ๒๕๕๗ ที่ จ ะอํ า นวยความยุ ติ ธ รรมในการปกครองให้ กั บ พี่ น้ อ งประชาชน
ให้ สะดวกรวดเร็ วทั่ วถึ งและไม่ เป็ นภาระเกิ นสมควร น่ าจะปรากฏเป็ นจริ ง เพราะฉะนั้ น
เมื่อสภาผู้แทนราษฎรของเราเห็นด้วยในการจัดตั้งศาลปกครองให้เพิ่มมากขึ้น ศาลท่านก็ควร
ที่จะพิจารณาคดีให้รวดเร็วขึ้นเช่นเดียวกัน ท่านประธานที่เคารพ สิทธิของพี่น้องประชาชน
ที่ ผ มได้ ก ราบเรี ย นท่ า นประธานไปแล้ ว ครั บ ในเรื่ อ งน้ํ า ท่ ว มนั้ น มั น แสนสาหั ส เหลื อ เกิ น
๑๐๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๔๘/๒

ถ้ า บ้ า นท่ า นประธานน้ํ า ไม่ ท่ ว มท่ า นประธานอาจจะไม่ รู้ สึ ก แต่ พี่ น้ อ งในเขตหนองแขม


เขตบางแค เขตภาษีเจริญ ฝั่งธนบุรีท่วมนานนับเดือน พี่น้องที่อยู่นอกออกไปอีก เขตบางบัวทอง
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี แสนสาหัสยิ่งนักและพี่น้องแต่ละครอบครัวก็มีสิทธิที่จะ
ใช้สิทธิทางปกครองในการฟ้องคดี แม้กระทั่งทางไปรษณีย์ส่งจดหมายฟ้องได้ที่ศาลปกครอง
ท่านประธานครับ เพราะฉะนั้นผมจึงอยากจะสนองตอบเพื่อนสมาชิกฝ่ายรัฐบาลที่บอกว่า
ถ้ารัฐผิดให้ฟ้องเลย ฟ้องได้เลยครับพี่น้องครับ ฟ้องได้เลยครับท่านประธาน พี่น้องประชาชน
ทั่วประเทศที่คิดว่าตัวเองไม่ได้รับสิทธิ ไม่ได้รับการเยียวยาหรือรัฐได้ละเลยความรับผิดชอบ
ในการแก้ไขปัญหาน้ําท่วม ปล่อยให้เสียทรัพย์สินมหาศาล สวนกล้วยไม้นับล้านต้นเจ๊งกัน
เป็นแถบ ๆ สวนกล้วยไม้แม้กระทั่งในเขตกรุงเทพมหานครเป็นล้าน ๆ บาทท่านประธานเจ๊ง
ไปรับแค่ ๕,๐๐๐ บาทได้อย่างไร ก็ต้องฟ้องศาลปกครอง ท่านประธานครับ ผมจึงสนับสนุน
เพื่อนสมาชิกฝ่ายรัฐบาลที่ได้กล่าวไปแล้วว่าให้ฟ้อง ถ้าเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ---------

- ๔๙/๑
๑๐๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๔๙/๑

ท่านประธานครับ โดยรวมแล้วผมเห็นว่าเจตนารมณ์การที่จะจัดตั้งศาลปกครองโดยออกกฎหมาย
ผ่านสภาผู้แทนราษฎรนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่ดีทั้งหลักการและเหตุผลรวมทั้งสถานที่ที่จะดําเนินการ
ผมขอสนับสนุนการจัดตั้งศาลปกครองที่จังหวัดภูเก็ต ขอบพระคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ทางผู้ชี้แจง
มีอะไรจะชี้แจงไหมครับ ข้อซักถามของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายเรื่อง ทางศาลปกครอง
จะมีอะไรตอบไหม ไม่ตอบนะครับ อาจารย์ประกอบมีอะไรครับ
นายประกอบ รั ต นพั น ธ์ (นครศรี ธ รรมราช) : ผม ประกอบ รั ต นพั น ธ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ผมคิดว่าบางประเด็น
ต้องตอบนะครับ อย่างเช่นประเด็นว่าในย่านอันดามันทําไมท่านไม่ตั้งที่จังหวัดพังงาใช่ไหมครับ
ซึ่งเจ้าของพื้นที่ท่านอัญชลีก็ถามท่าน ส่วนที่ ๒ ผมถามข้อสงสัยว่าศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่ย้ายมาจากตัวเมืองมาอยู่อําเภอทุ่งสง และอาคารขณะนี้ทิ้งร้างไว้เลยไม่สามารถที่จะทําต่อได้
ผู้รับเหมาทิ้งงาน ไม่ทราบว่าท่านทําอย่างไร เพราะว่าพี่น้องชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอําเภอทุ่งสงก็สงสัยว่าศาลปกครองทําอะไรอยู่ ท่านไม่ดําเนินการ
อะไรเลย พูดมาอย่างนี้ครับ ทําไมทรัพย์สินทางราชการเกิดความเสียหาย อย่างน้อยท่านต้อง
ตอบ ๒ ประเด็นนะครับ ขอบคุณมากครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
เดี๋ยวให้ท่านตอบ ขอเชิญทางศาลปกครองชี้แจงข้อสงสัยท่านครับ ให้ท่านตอบก่อนได้ไหมครับ
เชิญท่านถาวรครับ ท่านอดีตรัฐมนตรียุติธรรมจะใช้สิทธิพูดด้วยไหมครับ จะได้ต่อทีเดียวเลย
เชิญท่านถาวรครับ
นายถาวร เสนเนียม (สงขลา) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายถาวร เสนเนียม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ สิ่ งแรกอยากจะกราบเรี ยน
ท่านประธานไปยังผู้แทนของศาลปกครองว่าการจัดตั้งศาลปกครองนั้น เป็นสิ่งที่มีความจําเป็น
เป็นสิ่งที่จะต้องเร่งด่วนเพื่อดูแลอํานวยความยุติธรรมให้กับพี่น้องประชาชน ในยุคปัจจุบันนี้
มักจะมีคําสั่งทางปกครองที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนอยู่เสมอ หรือการกระทํา
ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐมักจะทําให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่
โดยมิ ช อบหรื อ เรื่ อ งที่ เ กี่ ย วเนื่ อ ง ท่ า นประธานครั บ ถ้ า ผมจะยกตั ว อย่ า ง กรณี ที่ เ รามี
ศาลปกครองบริการพี่น้องประชาชนไม่เพี ยงพอ อย่างกรณีเมื่อปี ๒๕๔๗ มีม็อบ (Mob)
๑๐๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๔๙/๒

จํ า นวนหนึ่ ง ไปบุ ก รุ ก สวนปาล์ ม ของพี่ น้ อ งประชาชนซึ่ ง เช่ า ที่ ดิ น จากรั ฐ หรื อ อยู่ ร ะหว่ า ง
การเจรจาเพื่อตกลงค่าเช่าจากการที่คณะกรรมการอนุญาตให้เช่าแล้ว แต่อยู่ในระหว่าง
การตกลงรายละเอียด และปรากฏว่าทางฝ่ายภาครัฐเกิดความล่าช้าในการลงนามในสัญญาเช่า
เมื่ อม็ อบเข้าไปยึ ดสวนปาล์ มของพี่น้องประชาชนที่ จังหวัด กระบี่ ที่ จังหวัดสุร าษฎร์ธ านี
และบางส่ ว นในจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชเกิ ด ความขั ด แย้ ง ระหว่ า งพี่ น้ อ งประชาชนกั บ
ผู้ที่มีอํานาจรัฐ เพราะเหตุว่าผู้มีอํานาจรัฐคือข้าราชการบางกลุ่มไปหากินไปหาผลประโยชน์
กับม็อบบางม็อบ หรือผู้ที่มีโอกาสที่จะเช่า หรือกําลังอยู่ในระหว่างทําสัญญาเช่า เข้าสู่สัญญา
โดยมิชอบ เรื่องเหล่านี้ติดค้างอยู่ในศาลปกครองเป็นระยะเวลา ๕-๖ ปี ศาลปกครองยังไม่ได้
วินิจฉัย ความเสียหายทางเศรษฐกิจ ความเสียหายในเรื่องของการกระจายที่ดินเพื่อการถือครอง
ให้กับพี่น้องประชาชนยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ดังนั้นศาลปกครองหรือฝ่ายบริหารของศาลปกครอง
หรือแม้แต่รัฐบาลควรจะได้จัดเงินงบประมาณมาให้ทางฝ่ายศาลปกครองเพื่อจัดตั้งศาลปกครอง
ให้ เ ท่ า ทั น ตามที่ ส ถานการณ์ เ กิ ด แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามครั บ สิ่ ง ที่ ผ มอยากจะตั้ ง ข้ อ สั ง เกต
และฝากไปยังรัฐบาล ในช่วงที่พวกผมเป็นรัฐบาล มีคณะรัฐมนตรีภาคใต้หรือที่เรียกว่า รชต.

- ๕๐/๑
๑๐๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๕๐/๑

หรือต่อมาเปลี่ยนชื่อไปเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ได้มีม ติใ ห้ จัดตั้ ง ศาลปกครองขึ้ นที่ จัง หวั ด ยะลาด้ ว ยวงเงิ น ๓๘๐ ล้ า นบาทโดยประมาณ
ขณะนี้ทางหน่วยงานราชการได้จัดหาที่ในพื้นที่ตําบลท่าสาป จังหวัดยะลาเนื้อที่ ๓๐ ไร่
ไว้ ใ ห้ เ รี ย บร้ อ ย เม็ ด เงิ น งบประมาณผมคิ ด ว่ า ถ้ า ศาลปกครองหรื อ รั ฐ บาลจะจั ด ลํ า ดั บ
ความสําคัญเร่งด่วนสอดคล้องกับมติของรัฐบาลคราวที่แล้วไม่ถือเป็นการเสียหน้าจะส่งผล
ให้พี่น้องประชาชนซึ่งอยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับบริการความยุติธรรมที่รวดเร็ว
อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายบอกว่าศาลปกครองจะตั้งได้นั้นจะต้องมีอาคาร จะต้องมีสถานที่
แต่ถ้าหากว่างบประมาณยังไม่พร้อม หรือยังไม่ครบ ๓๘๐ ล้านบาท รัฐบาลก็น่าจะแปรญัตติ
แล้วก็ตั้งงบประมาณผูกพันข้ามปีเอาไว้ นั่นคือเรื่องที่ ๑
เรื่องที่ ๒ ถ้าเรามีเงินงบประมาณไม่มากเพียงพอสิ่งสําคัญที่อยากฝากเอาไว้
ก็คือศาลไม่ได้มีความสําคัญอยู่ที่สถานที่ ใช้อาคารที่ไหนเป็นการชั่วคราว จัดกรอบอัตรากําลัง
ตุ ลาการไป เจ้ าหน้ าที่ ธุ รการไป เสร็ จแล้ วไปอํ านวยความยุ ติ ธรรมให้ กั บพี่ น้ องประชาชน
ผมคิดว่าจะเกิดประโยชน์ ผมอยากให้ท่านเลขาธิการหรือรองเลขาธิการช่วยชี้แจงเรื่องนี้
ว่ารัฐบาลชุดที่แล้วได้มีมติแล้วก็ผูกพันเอาไว้ กฎหมาย ศอ.บต. ถ้ารัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด
ได้มีมติผูกพันเอาไว้ส่วนราชการจะต้องถือปฏิบัติ อยากให้พี่น้องประชาชนใน ๓ จังหวัด
จะได้พึ่งพาศาลปกครอง ดังนั้นถ้าหากว่าท่านได้ตั้งเงินงบประมาณไว้แล้ว แล้วก็ไม่ได้รับ
จากรัฐบาลท่านก็ตอบมา หรือถ้าหากว่าอยู่ระหว่างการแปรญัตติก็ขอให้ต่อสู้เพื่ออํานวยความ
ยุติธรรมให้กับพี่น้องประชาชนตามมติคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดที่แล้วได้มีมติเอาไว้ครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
เชิญท่านผู้แทนศาลปกครองครับ
นายสุ เ มธ รอยกุ ล เจริ ญ (ตุ ล าการศาลปกครองสู ง สุ ด ) : กราบเรี ย น
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติทุก ๆ ท่านครับ
ก่ อ นอื่ น ผมก็ ข อขอบพระคุ ณ สมาชิ ก ทุ ก ท่ า นที่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น สภาแห่ ง นี้ ไ ด้ อ นุ มั ติ
พระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง ศาลปกครองเกิ ด ขึ้ น ซึ่ ง ในขณะนั้ น คดี ข้ อ พิ พ าทระหว่ า งรั ฐ ก็ ดี
เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ดี เรายังไม่ทราบว่าในท้องที่ใดจะมีคดีมากน้อยเพียงใดซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น
เพราะฉะนั้นในขณะนั้นก็เลยสมมุติฐานเกิดขึ้นว่าเราควรจะมีที่ทําการในบทเฉพาะกาลอย่างไร
๑๐๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๕๐/๒

โดยมี ก ฎหมายกํ า หนดไว้ ๑๖ ศาล ๑๖ ศาลนั้ น เป็ น ๑๖ ศาลเบื้ อ งต้ น เนื ่อ งจากว่า
ทางสํานักงานเองก็ดี ทางผู้บริหารศาลก็ดีได้งบประมาณมาในจํากัดเราจึงเห็นความสําคัญ
ว่าสถานที่ใดควรจะดําเนินการอย่างไรเพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และจังหวัดใดก็ตาม
ที่ยังไม่มีศาลปกครองก็ให้ศาลปกครองที่ใกล้เคียงนั้นที่เปิดทําการแล้วมีพื้นที่ครอบคลุม
ไปถึงจังหวัดนั้น ๆ ด้วย ระยะเวลาที่มีการเปิดมา ๑๐ ปีนับแต่ถึงปัจจุบันสถิติคดีแต่ละท้องที่
แต่ ล ะพื้ น ที่ มี ค ดี ข้ อ พิ พ าทนั้ น เข้ า มาสู่ ก ารพิ จ ารณาของศาลปกครองนั้ น แตกต่ า งกั น
เพราะฉะนั้ น เราจึ ง เห็ น ความสํ า คั ญ ยกตั ว อย่ า งง่ า ย ๆ เราเปิ ด ศาลปกครองภู มิ ภ าค
ซึ่ ง มี ค รอบคลุ ม พื้ น ที่ ที่ ศ าลปกครองนครศรี ธ รรมราช ซึ่ ง มี พื้ น ที่ ค ลุ ม ไปถึ ง จั ง หวั ด ภู เ ก็ ต
จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ และจังหวัดระนองใกล้เคียงกันนั้น ปรากฏว่าระยะเวลา ๑๐ ปี
ที่ ผ่ า นมาคดี พิ พ าทที่ เ กิ ด ขึ้ น รองลงมาจากจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชปรากฏว่ า ไปเกิ ด
ที่จังหวัดภู เก็ตมามากเป็นอั นดับ ๒ ในขณะเดียวกันจังหวัดข้างเคียงก็มีสถิติเพิ่มเติมเข้ามา
ประการที่เราพิจารณาถึงประเด็นนี้ว่าทุกศาลนั้นมีความสําคัญ ประชาชนมีความสําคัญ
แต่ ทํ า อย่ า งไรที่ จ ะให้ ป ระชาชนที่ มี ร ะยะเวลาเดิ น ทางจากจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต มาฟ้ อ ง
จากศาลนครศรีธรรมราชซึ่งระยะทางถึง ๓๓๖ กิโลเมตร แล้วในระยะทางตรงนี้เองถ้าเราไปตั้ง
ที่จังหวัดภูเก็ต -------------------------------------------------------------------------------------------

- ๕๑/๑
๑๐๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๕๑/๑

ทําไมถึงนึกถึงจังหวัดภูเก็ตครับ จังหวัดภูเก็ตนอกจากมีคดีความเยอะแล้ว เราต้องนึกถึงว่า


หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่อยู่จังหวัดภูเก็ต คู่กรณีส่วนใหญ่อยู่จังหวัดภูเก็ต ประการสําคัญ
ที่สุดครับ คนที่ไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับคู่กรณีเลยคือพยาน ที่จะไปชี้เป็นชี้ตายว่าคดีดังกล่าว
ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง จังหวัดภูเก็ตเมื่อรวมจังหวัดภูเก็ต
จั ง หวั ด พั ง งา จั ง หวั ด กระบี่ ซึ่ ง อยู่ ใ นบริ เ วณ บริ บ ทแถวนั้ น จะได้ รั บ ความเป็ น ธรรม
หรือร่นระยะเวลาการเดินทางได้มาก แล้วในขณะเดียวกันเป็นการแยก คือเป็นการช่วยภาระ
ในศาลปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย นั่นคือพื้นที่เดียวกัน แต่ว่าทําอย่างไรที่จะให้
คดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเยอะได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วตามที่สมาชิกท้วงติง นี่คือจุดครับ
เพราะฉะนั้นเราจึงนึกถึงความเป็นธรรม มันผิดด้วยงบประมาณ ทางเราอยากจะเปิดทุกที่ทําการ
กลั บ ไม่ ไ ด้ เ ปิ ด ส่ ว นที่ ส มาชิ ก ท้ ว งติ ง ว่ า แล้ ว บทเฉพาะกาลตั ด ทิ้ ง ไหม ขอตอบว่ า ยั ง ครั บ
เมื่อเราได้งบประมาณ เราเห็นปริมาณคดี และเมื่อเป็นการคุ้ม เป็นการให้บริการพร้อมด้วย
บุคลากรเราพร้อมทํา
อีกประการหนึ่ง เมื่อกฎหมายผ่านเราก็ต้องมีระยะเวลาเตรียมการตามที่ได้รับ
การสนับสนุนจากงบประมาณอีกเช่นเดียวกัน กฎหมายเราเห็นถึงความสําคัญหลาย ๆ ประการ
นี่ คื อ การแก้ ข้ อ ขั ด ข้ อ งในการบริ ห ารจั ด การคดี ด้ ว ย คนด้ ว ย และสํ า นั ก งานด้ ว ยครั บ
จึงขอกราบเรียนท่านสมาชิกที่มีความเป็นห่วงเป็นใยครับ เราขอน้อมรับความห่วงใยดังกล่าว
เพื่ อ จะนํ า ไปแก้ ไ ขในสิ่ ง ที่ ท่ า นต้ อ งการ ส่ ว นศาลจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช เรื่ อ งสั ญ ญา
ตอนนี้ขณะนี้เขาเป็นคนที่ทิ้งงานแล้วเขาก็ฟ้อง เป็นสัญญาทางปกครองอีกเช่นเดียวกันครับ
เราจะต้ อ งพิ จ ารณาว่ า การดํ า เนิ น การดั ง กล่ า วนั้ น ในขณะเดี ย วกั น เราต้ อ งฟ้ อ งเขาอี ก
เช่นเดียวกันว่าเขาผิดสัญญา แต่เนื่องจากงบประมาณครับ ถ้าเกิดว่ามีความเสียหายอะไร
อย่างไร มันจะเสียหายต่อแผ่นดิน เราจึงค่อย ๆ ดําเนินตามขั้นตอน ตามที่กฎหมายกําหนด
ขณะนี้กําลังทําอยู่ แล้วส่วนที่ทําการก็จะดําเนินการต่อเร็ว ๆ นี้ครับ กราบขอบพระคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านถาวร
ก่อนได้ไหมครับ ท่านถาวรติดใจ
๑๐๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๕๑/๒

นายถาวร เสนเนียม (สงขลา) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายถาวร


เสนเนีย ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เมื่ อกี้ผู้แทน
จากศาลปกครองยั งไม่ ได้ ตอบคํ าถามผมว่า มติ คณะรั ฐมนตรี ก็ดี มติคณะรัฐมนตรี ภาคใต้
ที่ ได้ ส่งมอบหมายเรื่ องให้ ท่ านเพื่อไปดํ าเนิ นการจัดตั้ งศาลปกครองจังหวั ดยะลานั้ น ท่านได้
ดํ าเนิ นการไปถึ ง ไหน อย่ า งไร หรื อ มี ปั ญ หาอุ ป สรรคอย่ า งไร เพื่ อ เป็ น ที่ ไ ด้ รั บ ทราบของ
สภาผู้แทนราษฎร แล้วนําไปสู่การแก้ไขปัญหา หรือได้เจรจากับฝ่ายทางรัฐบาลเพื่อดําเนินการ
ดูแลความยุติธรรมให้กับพี่น้องประชาชนใน ๓ จังหวัดครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
เชิญท่านผู้แทนศาลครับ บอกชื่อ บอกตําแหน่งด้วยครับท่าน
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม (รองเลขาธิการสํานักงานศาลปกครอง) :
ผม นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม รองเลขาธิการสํานักงานศาลปกครองครับ ผมขออนุญาต
ตอบให้ข้อมู ลเรื่องของการเปิดที่ ทําการศาลปกครองจั งหวั ดยะลานะครั บ ศาลปกครอง
จังหวัดยะลาอยู่ในแผนที่จะเปิดทําการในปี ๒๕๕๕ เราได้เสนองบประมาณ ๓๘๙ ล้านบาท
เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทําการ ๒๕๐ ล้านบาท อีก ๑๓๐ กว่าล้านบาท เป็นอาคารบ้านพัก
ในพื้นที่บริเวณศูนย์ราชการของยะลาที่จัดไว้ที่ท่าสาป ประมาณ ๓๐ ไร่ ตามที่ท่านได้กล่าว
เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แล้วเราก็ได้เสนอขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์
ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ได้รับการสนับสนุน แล้วก็ ครม. สมัยที่แล้วก็ได้มีมติ
ให้การสนับสนุนซึ่งเราก็ได้ตั้งงบประมาณในปี ๒๕๕๕ แล้ว แต่ว่าในชั้นของร่างที่เรามาชี้แจงนี้
ถูกปรับลดออกไป ขณะนี้ทางสํานักงานก็ได้ทําเรื่องขอแปรญัตติอยู่ครับ ท่านครับ

- ๕๒/๑
๑๐๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๕๒/๑

นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :


ผมคิดว่าเราได้อภิปรายพอสมควรนะครับ ผมขอปิดการอภิปรายนะครับ มีท่านใดขัดข้องไหม
(ไม่มีสมาชิกมีความเห็นเป็นอย่างอื่น)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ถ้าไม่มี
ก็ถือว่าที่ประชุมมีมติให้หยุดการอภิปรายนะครับ เดี๋ยวก่อนจะถึงลงมติรับหลักการหรือไม่นะครับ
รัฐบาลไม่มีอะไรที่จะสรุปนะครับ ผมขอตรวจสอบองค์ประชุมก่อนนะครับ ก่อนที่จะรับ
หลักการหรือไม่นะครับ
(นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง มีสัญญาณ
ให้สมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนทําการตรวจสอบองค์ประชุม)
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
เชิญท่านสมาชิกเข้าห้องประชุมครับ ก่อนจะลงมติ ผมขอตรวจสอบองค์ประชุ มนะครับ
ขอเชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิแสดงตนโดยเสียบบัตรกดปุ่มแสดงตนเพื่อตรวจสอบองค์ประชุม
ก่อนลงมติรับหลักการหรือไม่นะครับ เชิญแสดงตนก่อนครับ
(สมาชิกทําการเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตน)
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
เรียบร้อยแล้วนะครับ มีท่านใดยังไม่แสดงตน มีไหมครับ ท่านสุทัศน์แสดงตนแล้วใช่ไหมครับ
เจ้าหน้าที่ส่งผล มีผู้เข้าร่วมประชุม ๓๗๙ ท่าน ครบองค์ประชุมนะครับ
๑๐๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๕๒/๒

นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :


ผมจะขอถามมติที่ประชุมว่าจะรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้หรือไม่นะครับ
ท่า นสมาชิก ใช้ สิทธิอ อกเสีย งลงคะแนนนะครั บ ถ้ า ท่า นใดเห็น ควรรั บหลั ก การให้กดปุ่ ม
เห็นด้วย ท่านสมาชิกท่านใดไม่เห็นควรรับหลักการให้กดปุ่ม ไม่เห็นด้วย ท่านสมาชิกท่านใด
งดออกเสียงให้กดปุ่ม งดออกเสียง นะครับ เชิญท่านออกเสียงลงคะแนนได้ครับ มีท่านใด
ยังไม่ลงไหมครับ ผมขอปิดการลงคะแนนครับ เจ้าหน้าที่ส่งผลลงคะแนน เห็นด้วย ๔๐๗ ท่าน
ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง ๑ ท่าน ก็ถือว่าที่ประชุมมีมติรับหลักการในร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้นะครับ
๑๐๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๕๒/๓

เมื่อเห็นด้วยแล้วผมขอถามท่านสมาชิกและรัฐบาลว่าจะตั้งกรรมาธิการจํานวน
เท่าไร เชิญครับ
นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม
พิ ษ ณุ หั ต ถสงเคราะห์ สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด หนองบั ว ลํ า ภู พรรคเพื่ อ ไทย
เสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญ จํานวน ๓๑ ท่าน ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : สัดส่วน
อย่างนี้นะครับ ๓๑ ท่าน มีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ
(ไม่มีสมาชิกมีความเห็นเป็นอย่างอื่น)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ถ้าไม่มี
คณะรัฐมนตรี ๕ ท่าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๒๖ ท่าน ประกอบไปด้วยพรรคเพื่อไทย
๑๔ ท่าน พรรคประชาธิปัตย์ ๘ ท่าน พรรคภูมิใจไทย ๒ ท่าน พรรคชาติไทยพัฒนา ๑ ท่าน
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล รวมกัน ๑ ท่านครับ เชิญรัฐบาลครับ
นายสุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ (รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ) :
ท่ า นประธานสภาผู้ แ ทนราษฎรที่ เ คารพครั บ กระผม นายแพทย์ สุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์
รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี -----------------------------------------------------------------

- ๕๓/๑
๑๑๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๕๓/๑

ขอเสนอสัดส่วนคณะกรรมาธิการในส่วนของรัฐบาลจํานวน ๕ ท่าน ๑. นายแพทย์สุรวิทย์


คนสมบูรณ์ ๒. นายสมชัย วัฒนการุณ ๓. นายประเวศ รักสกุล ๔. นายตรีภพ คริสต์รักษา
๕. นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล ขอบคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : พรรคเพื่อไทย
๑๔ ท่าน เชิญครับ ท่านเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์
นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ (อุดรธานี) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย
ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต
ในจํานวน ๑๔ ท่านของพรรคเพื่อไทย ๑. นายประชา ประสพดี ๒. นายสหรัฐ กุลศรี
๓. นายสั ญชั ย วงษ์สุนทร ๔. พันตํารวจโท นุกูล แสงศิ ริ ๕. นางวราภรณ์ ตั้ง ภากรณ์
๖. นายพายัพ ปั้นเกตุ ๗. นายเหวง โตจิราการ ๘. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๙. นายพีรพันธุ์
พาลุ สุ ข ๑๐. นายมานพ เกตุ ม ณี ๑๑. นายนิ ย ม เวชกามา ๑๒. นายโกศล ปั ท มะ
๑๓. นายวันชัย บุษบา และ ๑๔. นายประสพ บุษราคัม ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ผู้รับรอง
ถูกต้อง เชิญพรรคประชาธิปัตย์ ๘ ท่านครับ
นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ (กาญจนบุรี) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ
ดิฉัน ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ขอเสนอรายชื่อ
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต รายนามดังต่อไปนี้
๑. นายอรรถพร พลบุตร ๒. นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ๓. นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร
๔. นายวิ รั ต น์ วิ ริ ย ะพงษ์ ๕. นายวิ ท ยา แก้ ว ภราดั ย ๖. นางอั ญ ชลี วานิ ช เทพบุ ต ร
๗. นายสาคร เกี่ยวข้อง ๘. นายราเมศ รัตนะเชวง ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ผู้รับรอง
ถูกต้องนะครับ เชิญพรรคภูมิใจไทย ๒ ท่านครับ
๑๑๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๕๓/๒

นางสาวมั ลลิ ก า จิ ร ะพัน ธุ์ ว าณิช (ลพบุ รี ) : เรี ย นท่ า นประธานที่ เ คารพ
ดิฉัน นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรคภูมิใจไทย
ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต พ.ศ. ....
จํานวน ๒ ท่าน ๑. นายบุญดํารง ประเสริฐโสภา ๒. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ผู้รับรอง
ถูกต้องครับ เชิญพรรคชาติไทยพัฒนา ๑ ท่าน
พันโท สินธพ แก้วพิจิตร (นครปฐม) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ
กระผม พันโท สินธพ แก้วพิจิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม ขอเสนอรายชื่อ
กรรมาธิ ก ารวิ ส ามั ญ พิ จ ารณาร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง ศาลปกครองภู เ ก็ ต ในสั ด ส่ ว น
พรรคชาติไทยพัฒนา จํานวน ๑ ท่าน คือนายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ผู้รับรอง
ถูกต้องนะครับ เชิญพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินและพรรคพลังชล ๑ ท่านครับ
นายรณเทพ อนุวัฒน์ (ชลบุรี) : ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม รณเทพ
อนุวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี พรรคพลังชล ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการ
วิ ส ามั ญ พิ จ ารณาร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง ศาลปกครองภู เ ก็ ต พ.ศ. ... ในสั ด ส่ ว นของ
พรรคชาติ พั ฒ นาเพื่ อ แผ่ น ดิ น และพลั ง ชล ๑ ท่ า น ก็ คื อ ท่ า นประสาท ตั น ประเสริ ฐ
ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ผู้รับรอง
ถูกต้องนะครับ เชิญท่านเลขาธิการอ่านรายชื่อท่านคณะกรรมาธิการ
นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย (รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่
แทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) : คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
จัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต พ.ศ. .... จํานวน ๓๑ ท่าน ๑. นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์
๑๑๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๕๓/๓

๒. นายสมชัย วัฒนการุณ ๓. นายประเวศ รักษกุล ๔. นายตรีภพ คริสต์รักษา ๕. นายโกมล


จิรชัยสุทธิกุล ๖. นายประชา ประสพดี -------------------------------------------------------------

- ๕๔/๑
๑๑๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๕๔/๑

๗. นายสหรัฐ กุลศรี ๘. นายสัญชัย วงษ์สุนทร ๙. พันตํารวจโท นุกูล แสงศิริ ๑๐. นางวราภรณ์


ตั้งภากรณ์ ๑๑. นายพายัพ ปั้นเกตุ ๑๒. นายเหวง โตจิราการ ๑๓. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๑๔. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ๑๕. นายมานพ เกษมณี ๑๖. นายนิยม เวชกามา ๑๗. นายโกศล
ปัทมะ ๑๘. นายวันชัย บุษบา ๑๙. นายประสพ บุษราคัม ๒๐. นายอรรถพร พลบุตร
๒๑. นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ๒๒. นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร ๒๓. นายวิรัตน์
วิริยะพงษ์ ๒๔. นายวิทยา แก้วภราดัย ๒๕. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ๒๖. นายสาคร
เกี่ยวข้อง ๒๗. นายราเมศ รัตนะเชวง ๒๘. นายบุญดํารง ประเสริฐโสภา ๒๙. นายวิสิทธิ์
พิทยาภรณ์ ๓๐. นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง และ ๓๑. นายประสาท ตันประเสริฐ ครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
เชิญท่านพิษณุจะกําหนดแปรญัตติกี่วัน
นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานที่เคารพครับ
พิษณุ หัตถสงเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดหนองบัวลําภู พรรคเพื่อไทย
แปรญัตติ ๗ วัน ตามข้อบังคับครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
มีท่านสมาชิกเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ
(ไม่มีสมาชิกมีความเห็นเป็นอย่างอื่น)
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ถ้าไม่มี
แปรญัตติ ๗ วันนะครับ จบเรื่องด่วนที่ ๒ ต่อไปเป็น
เรื่องด่วนที่ ๓ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองเพชรบุรี พ.ศ. ....
(คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ)
๑๑๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๕๔/๒

เชิญรัฐบาลแถลงหลักการและเหตุผลครับ
นายสุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ (รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ) :
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์
รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ขอเสนอกฎหมายร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
เพชรบุรี พ.ศ. ....
หลักการ จัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาคขึ้นในจังหวัดเพชรบุรี
เหตุผล โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาคขึ้นในจังหวัดเพชรบุรี
ให้มีเขตตลอดท้องที่จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี
และจั ง หวั ด สมุ ท รสงคราม เพื่ อ ประโยชน์ แ ก่ ห น่ ว ยงานทางปกครองเจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ
และประชาชนในท้องที่จังหวัดดังกล่าว และโดยที่มาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติว่า บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ
ประกอบกับมาตรา ๘ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี
ปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า การจัดตั้งและการกําหนดเขตอํานาจของศาลปกครอง
ในภูมิภาค ให้กระทําโดยพระราชบัญญัติ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ขอบคุณครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
เชิญท่านอลงกรณ์ พลบุตร หรือท่านอรรถพร พลบุตร ๒ ท่านที่แจ้งความประสงค์ ๒ ท่าน
เอาท่านเดียวได้ไหม เอาท่านอรรถพรนะ เชิญท่านอรรถพรก่อนท่านอลงกรณ์นะ ประธาน
อนุญาตให้อรรถพรก่อน เชิญ
นายอรรถพร พลบุ ตร (เพชรบุ รี ) : เรี ยนท่ านประธานสภาผู้ แทนราษฎร
ที่เคารพ กระผม อรรถพร พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์
ในเบื้องแรกกระผมขอกราบขอบพระคุณเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้ให้ความคิดเห็น
ในเชิ ง สนั บ สนุ น ให้ มี ก ารจั ด ตั้ ง ศาลปกครองใน ๓ จั ง หวั ด ไม่ ว่ า จะเป็ น ที่ จั ง หวั ด ภู เ ก็ ต
ที่ จั ง หวั ด นครสวรรค์ หรื อ ว่ า ที่ จั ง หวั ด เพชรบุ รี บ้ า นผม ขณะเดี ย วกั น ในนามของ
คณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรีต้องขอขอบคุณคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็น
คณะรัฐมนตรีภายใต้การนําของ ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้เริ่มดําเนินการในเรื่องนี้
จนคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน เพราะสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ชาวจังหวัดเพชรบุรี ชาวจังหวัดชุมพร
๑๑๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๕๔/๓

ชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชาวจังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงครามหรือแม่กลองรอคอย


อยู่เป็นเวลานาน กราบเรียนท่านประธานในช่วงเวลาสั้น ๆ ว่าพวกเราในที่นี้ล้วนแต่มาจาก
ชาวบ้ า น และส่ ว นใหญ่ ก็ เ ป็ น ผู้ แ ทนบ้ า นนอก ความรู้ สึ ก นึ ก คิ ด ที่ ล งไปล่ ว งรู้ ลึ ก ถึ ง หั ว ใจ
และความเจ็ บ ปวดของพี่ น้ อ งประชาชนที่ เ ขามี ค วามรู้ สึ ก ว่ า เขาได้ รั บ ความไม่ เ ป็ น ธรรม
ไม่ ว่ า จะได้ รั บ ความไม่ เ ป็ น ธรรมจากคนที่ มี กํ า ลั ง มากกว่ า เงิ น มากกว่ า หรื อ กลุ่ ม ทุ น
ถึงความไม่เป็นธรรมที่เกิดจากอํานาจรัฐที่เหนือกว่าในทุกทิศทาง --------------------------------

- ๕๕/๑
๑๑๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ธัญรดา ๕๕/๑

สิ่งเหล่านี้เป็นความเจ็บปวดและทําให้พี่น้องประชาชนตกเป็นผู้แพ้อยู่ตลอดทั้งชีวิตตลอดมา
ผมเองและเพื่อนสมาชิกหลายท่าน ณ ที่นี้ เคยมีส่วนร่วมในการต่อสู้ของชาวบ้าน ที่เขามี
ความรู้สึกเขาถูกรังแก เขามีความรู้สึกว่าทรัพยากรในพื้นที่ของเขา บ้านของเขา ชุมชนของเขา
มีใครสักคนหนึ่งซึ่งหิ้วกระเป๋าเงินโต ๆ มาแล้วก็มารุกล้ําทําลายเพื่อสร้างประโยชน์ที่เป็น
ตัวเลขกําไรในบัญชีธนาคาร ในขณะที่ปากท้องของเขา หม้อข้าวของเขาถูกทุบทําลายลงไป
และเขาไม่พร้อมต่อการสร้างชีวิตใหม่ในกติกาใหม่ที่กําหนดโดยกลุ่มทุน ผมเคยมีส่วนเข้าไป
เกี่ยวข้อง เคยไปตากแดด เคยไปขึ้นศาล เคยไปประกันตัวร่วมกับชาวบ้าน ยังไม่เคยติดคุก
กั บ ชาวบ้ า นเท่ า นั้ น ละครั บ เคยไปอุ้ ม ศพผู้ ที่ ต่ อ สู้ เ พื่ อ รั ก ษาแผ่ น ดิ น และชุ ม ชนของเขา
ผมมองนักต่อสู้ของชาวบ้านที่นอนไร้ลมหายใจและผมก็เห็นคําตอบว่าคนที่สังหารผลาญชีวิต
นักสู้ของชาวบ้านมันอาจจะเป็นกลุ่ม มันอาจจะเป็นผู้มีอิทธิพล หรืออาจจะเป็นคนซึ่งมีกําลังวังชา
เหนือ กว่าหลายสิ บหลายร้อ ยเท่า แต่แท้ที่ จริ งถ้าเปรียบให้เ ห็น ภาพชั ดที่สุด คนกลุ่ม นั้ น
ก็เป็นเพียงผู้บรรจุกระสุน แต่คนที่เหนี่ยวไกฆ่าชาวบ้านก็คือการใช้อํานาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม
หรืออํานาจรัฐที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนเพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่ก้อนใหญ่ขึ้นไปอีก
ฉะนั้นผมจึงมีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่าถ้าชาวบ้านเขามีที่หวัง เขามีที่พึ่ง เขามีแสงสว่าง
ไม่ว่าแสงสว่างนั้นมันจะไม่ได้สว่างเจิดจ้าเหมือนตะเกียงเจ้าพายุ แม้จะสว่างเหมือนแค่ธปู ดอกเดียว
ในความมืดมิด แต่เขาก็ยังมั่นใจว่าโลกนี้มีแสงสว่าง ศาลปกครองจึงเป็นดังแสงสว่างเดียวแสงสว่างหนึ่ง
ที่ ทํ า ให้ สั ง คมของเรามี ท างออก มี ท างเดิ น ชาวบ้ า นไม่ ต้ อ งเสี ย ชี วิ ต ศพแล้ ว ศพเล่ า
เพื่ อ ปกปั ก รั ก ษาปากท้ อ งและอนาคตและชี วิ ต ของเขาในวั น พรุ่ ง นี้ ผมจึ ง มี ค วามชื่ น ชม
มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เราจะมีการจัดตั้งศาลปกครองที่จะดูแลพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพร
ประจวบคี รี ขั น ธ์ ราชบุ รี เพชรบุ รี และสมุ ท รสงคราม เราไม่ พู ด ถึ ง สถิ ติ ก ารดํ า เนิ น คดี
ของศาลปกครองที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ ๔๓.๓๗ เปอร์เซ็นต์ เป็นคดีที่เกิดขึ้นในภาคกลาง
เกือบครึ่งหนึ่งของคดีที่เข้าสู่ศาลปกครองเกิดขึ้นในภาคกลาง แต่ถ้าเรามองในเชิงโครงสร้าง
ทางกายภาพของพื้นที่ในจังหวัดเหล่านี้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรเรื่อยถึงจังหวัดราชบุรีและแม่กลอง
จังหวัดเพชรบุรี เราจะเห็นว่าสภาพทางกายภาพทั้งภูมิศาสตร์ที่ตั้ง และกระแสในเชิงเศรษฐกิจนั้น
เอื้อให้เกิดแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างประชาชน กลุ่มทุน และอํานาจรัฐอยู่
ตลอดเวลา พื้ น ที่ เ หล่ า นี้ ตั้ ง แต่ จั ง หวั ด ชุ ม พร จั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ จั ง หวั ด เพชรบุ รี
จังหวัดราชบุรี ด้านตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาตะนาวศรี เป็นพรมแดนครับ เป็นผืนป่าครับ
๑๑๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ธัญรดา ๕๕/๒

ตรงนั้ น กฎหมายทั บ ซ้ อ นอยู่ ไ ม่ รู้ กี่ ฉ บั บ ต่ อ กี่ ฉ บั บ เรื่ อ งเชื้ อ ชาติ เรื่ อ งกฎหมายป่ า สงวน
กฎหมายอุ ท ยานแห่ ง ชาติ เรื่ อ ง สศก. เรื่ อ ง ส.ป.ก. ฝั่ ง ตะวั น ออกเป็ น พื้ น ที่ อ่ า วไทย
ซึ่ง ก็ มี ท รั พ ยากรธรรมชาติ ที่ มี อ ยู่ อย่ า งจํ า กั ด ขณะเดี ย วกั น ก็ กํ า ลั งถู ก รุ ก ล้ํ า ให้ ก ลายเป็ น
การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ การท่ อ งเที่ ย ว จั ง หวั ด สมุ ท รสงครามอยู่ ก้ น อ่ า วไทยเป็ น จั ง หวั ด
ซึ่ ง มี ค วามสํ า คั ญ อย่ า งยิ่ ง ในเรื่ อ งของระบบนิ เ วศวิ ท ยา คนจั ง หวั ด สมุ ท รสงครามเอง
ก็เผชิญกับการรุกล้ําของกลุ่มทุน ไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชนที่เขาก็ต่อต้านมาจนถึงทุกวันนี้
ยิ่ ง ในขณะเดี ย วกั น ในอนาคตอั น ใกล้ ก็ มี แ นวโน้ ม ที่ พื้ น ที่ บ ริ เ วณนี้ จ ะถู ก พั ฒ นาเศรษฐกิ จ
อย่ า งใหญ่ ห ลวงด้ ว ยโครงการที่ เ รี ย กว่ า สะพานเศรษฐกิ จ ก็ คื อ การเชื่ อ มโยงภาวะ
ทางเศรษฐกิจระหว่างภาคตะวันออก ภาคตะวันตก จนถึงท่าเรือน้ําลึกที่ทวายประเทศพม่า
นั่นหมายความว่าพลวัตรทางเศรษฐกิจ การใช้ทรัพยากร การจัดการทรัพยากร การใช้กฎหมาย
จะเพิ่มขึ้น ------------------------------------------------------------------------------------------------

- ๕๖/๑
๑๑๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๕๖/๑

เข้ ม ข้ น ขึ้ น ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด เหล่ า นี้ ฉะนั้ น การที่ เ รามี ศ าลปกครองเกิ ด ขึ้ น ในพื้ น ที่ เ หล่ า นี้
โดยมีเพชรบุรีเป็นศูนย์กลางจึงจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนว่า
ในท่ า มกลางการเปลี่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ ในท่ า มกลางการเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คม
ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสู่ทิศทางใหม่ของประเทศ อย่างน้อยเขามีศาลปกครองที่อยู่ในบ้าน
เขาไม่ ต้ องไปสู้ ไกลบ้ าน เขาสู้ ในบ้ าน ความมั่ นใจ ความอุ่ นใจ ความกล้ าหาญในการต่ อสู้
ก็ มี อย่ างบริ บู รณ์ ผ มจึ ง ขอขอบพระคุ ณ และขอใช้ โ อกาสนี้ ที่ จ ะได้ ข อการสนั บ สนุ น จาก
ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาเพื่อให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองเพชรบุรี
ในโอกาสต่อไปกราบขอบพระคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ผมลําดับ
อย่างนี้นะครับท่านจะได้เตรียมตั วได้ถูก ลํ า ดับต่อไปจะเป็ นท่ าน ส.ส. ไพจิต ศรีวรขาน
แล้วก็ลําดับจากท่านไพจิต ท่าน ส.ส. ชุมพล จุลใส แล้วก็ท่าน ส.ส. เกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์
เชิญครับ
นายไพจิต ศรีวรขาน (นครพนม) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม ไพจิต
ศรีวรขาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พรรคเพื่อไทย แท้จริงการจัดตั้งศาลปกครอง
ที่เพชรบุรี ผมไม่ขัดข้อง แต่โดยนัยของการจัดตั้งศาลปกครองต้องกราบเรียนท่านประธานว่า
ผมกับท่านประธานได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติศาลปกครองตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ และในสภาแห่งนี้
ได้กําหนดจุดที่จะจัดตั้งศาลปกครองไว้ ๑๖ แห่ง นี่คือเจตนารมณ์ที่ทํากัน ผมชื่นชมต่อการมี
ศาลปกครอง ซึ่งเป็นทางที่จะช่วยคนยากคนจน คุณญาติ ไหวดี อดีต ส.ส. สุรินทร์ได้รณรงค์
ต่ อ สู้ จ นพั ฒ นามาเป็ น ศาลปกครอง ปี ๒๕๔๒ มาจนถึ ง วั น นี้ ตั้ ง ๙ ศาล ๙ แห่ ง ทํ า คดี
เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ พี่ น้ อ งประชาชนที่ น่ า ภาคภู มิ ใ จ ผมดู ภ าระที่ มี แ ล้ ว แม้ น ในภาคอี ส าน
มีจํานวนคดีมากใน ๔ แห่งที่ท่านตั้งขึ้นแล้ว ที่จังหวัดขอนแก่น ที่โคราช ที่จังหวัดอุดรธานี
และสุดท้ายที่จังหวัดอุบลราชธานี สถิติคดีที่มีคนที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมไปร้อง
ศาลปกครอง ๓,๐๐๐ ขึ้นหมดครับท่านประธาน แปลว่าคนอีสานได้รับความไม่เป็นธรรม
จากเจ้ า หน้ า ที่ ท างปกครอง ก็ เ ป็ น ธรรมดาครั บ ท่ า นประธานครั บ ที่ ท่ า นได้ อํ า นวย
ความสะดวก ความจริงมีท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร คุณนิยม เวชกามา
ทวงถามสิ ท ธิ ว่ า ด้ ว ยเหตุ ใ ดจั ง หวั ด นครพนม จั ง หวั ด สกลนครและจั ง หวั ด มุ ก ดาหาร
ซึ่งเป็นจังหวัดที่เขียนไว้เมื่อปี ๒๕๔๒ นะครับว่าให้ตั้งนะ ศาล ๓ จังหวัดต้องกราบเรียน
๑๑๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๕๖/๒

เพื่อเป็นเครดิต (Credit) ให้อดีต ส.ส. ที่วันนี้ไม่มีโอกาสมายืน ท่านประธานครับ เขาก็คอยอยู่ว่า


พี่น้องประชาชนใน ๓ จังหวัด ผมต้องเอ่ยชื่อท่านทวีวัฒน์ ฤทธิ์ฤาชัย อดีต ส.ส. จังหวัดสกลนคร
คุณเฉลิมยศ แสนวิเศษ อดีต ส.ส. จังหวัดมุกดาหาร เขาคอยเหมือนกันนะครับท่านประธานครับ
คอยว่าจะตั้งอีกไหม ผม ๒๔๐ กิโลเมตรนะครับจะต้องไปศาลปกครอง ไปร้องด้วยตนเอง
เสียส่วนใหญ่ ดูตัวเลขนี่นะครับ เกือบ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ คนที่ไปร้องศาลปกครองไปด้วยตนเอง
แล้วเจตนารมณ์ของศาลปกครองก็คืออํานวยความสะดวก ให้ความเป็นธรรมกับคนที่ไม่ได้รับ
ความเป็นธรรม คนยากคนจน เพราะฉะนั้ นที่ท่านตั้งใหม่มันก็จะอนุมานคล้าย ๆ กันว่ า
พอจะไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ก็อีกนั่นละครับ เปลี่ยนมาจากเดิมซึ่งเป็นจังหวัดแพร่มาเป็น
นครสวรรค์เป็นแห่งที่ ๓ ของภาคเหนือ เดี๋ยวพี่น้องภาคเหนือก็ทวงถามกันเอง ผมถามในฐานะ
ที่เป็น ส.ส. ภาคอีสาน จังหวัดนครพนม เขาก็มีสถิติมีความใฝ่ฝัน ดอกเตอร์พีรพันธุ์กระซิบ
บอกผมว่าไม่ต้องตั้งอีกเยอะหรอก ถ้าหากทํากระบวนการพิจารณาให้มันเป็นระบบในการที่จะ
จัดระเบียบวิธีในการพิจารณาคดีก็จะไม่คั่งค้างมาก แต่ว่ามันยัง ๒๔๐ กิโลเมตรอยู่ที่จะต้อง
เดินทางไปศาลด้วยตนเอง -----------------------------------------------------------------------------

- ๕๗/๑
๑๒๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สวรรยา ๕๗/๑

ท่านประธานครับ ผมอยากได้ยินคําตอบว่าศาลปกครองวันนี้ได้ทําความพึงพอใจในการลด
ช่องว่างระหว่างการใช้อํานาจรัฐของคนที่มีอํานาจกับคนที่ไม่ค่อยมีความรู้แต่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
นะครั บ ท่ า นเติ ม เต็ ม ในสิ่ง นี้ ผมถามเมื่ อ อยู่ ใ นห้ อ งมี โ อกาสได้ ซั ก ถามว่ า ขอกรุ ณ าได้ ถื อ
ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ถือประชาชนที่เขายากไร้เดินทางด้วยความลําบาก แล้วไปศาลเขต
อํานาจศาลเหล่า นี้อย่าถืออย่างอื่นนะครับเป็ นสํา คัญ ท่านประธานครั บ กรุ ณาได้ยื นยั น
ในสภาแห่งนี้ว่าจังหวัดที่มีอยู่จังหวัดสุพรรณบุรีก็มีนะครับ แต่ว่าวันนี้ไปอยู่จังหวัดเพชรบุรี
ข้ามจังหวัดสุพรรณบุรีไป ผมดูคดีแล้วคดีน้อยท่านบอก แต่ว่ารายละเอียดที่คิดไว้ขอให้ได้
ให้ความสําคัญกับเจตนารมณ์ที่เราได้คิดได้ทํากัน ถือว่าเป็นพัฒนาการในการที่จะอํานวย
ความเป็ น ธรรมให้ กั บ พี่ น้ อ งประชาชน แปลว่ า ท่ า นจะต้ อ งเสนออี ก นะครั บ ปี ๒๕๕๖
อีก ศาล ๒ ศาลสุ ด แท้ แต่ แต่ ว่ า ให้ คํ า นึ งถึ ง เรื่ อ งเหล่ า นี้ น ะครั บ เราเห็น เป็ น ระยะ ๆ อยู่
ต้องกราบขอบคุณแทนพี่น้องคนอีสานนะครับ เหลือสุดท้ายที่คิดกันไว้แต่ถ้าคิดโดยสัดส่วน
ของคดี จํานวนคดีความเป็นศูนย์กลางในการคมนาคมเหมือนจังหวัดภูเก็ต ผมเกรงว่ามันจะเปลี่ยนไป
อีกนะครับ เพราะฉะนั้นก็ดูเจตจํานง ระยะทางการให้บริการเหล่านี้ให้ประโยชน์กับพี่น้อง
ประชาชน ก็จะถือว่าเป็นการทําให้เจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาลปกครอง ก็แปลว่าในขณะนี้
ยังไม่ต้องทําที่ทําการศาลเช่าอะไรเหมือนอย่างที่ท่านทํานี่ละครับ แต่อํานวยประโยชน์สูงสุด
ให้กับพี่น้องประชาชนก็จะเป็นคุณประโยชน์ อย่างไรก็ตามกรรมาธิการในชั้นการพิจารณา
ก็จะเอาความคิดความเห็นของสมาชิกที่ได้อภิปรายกันไปหลอมรวมความคิดกันให้ตกผลึกกันเสีย
ถ้าจะคิดไว้เผื่อที่จะมีแห่งต่อ ๆ ไปไว้ก็จะเป็นพระคุณนะครับ ในการที่แสดงความชัดเจน
ในอนาคตให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชน ขอขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
ท่านชุมพล ครับ
นายชุม พล จุ ลใส (ชุ ม พร) : กราบเรี ย นท่ า นประธานที่ เ คารพ กระผม
นายชุมพล จุลใส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธาน
ครับ ผมดีใจวันนี้ที่สภาได้นําเอาร่างพระราชบัญญัติศาลปกครองเข้ามาสู่สภาแห่งนี้เพื่อให้ได้
พิ จ ารณา ท่ า นประธานครั บ ผมเห็ น ด้ ว ยในหลั ก การครั บ ว่ า การจั ด ตั้ ง ศาลปกครองนั้ น
จะได้ อํ า นวยความยุ ติ ธ รรมให้ แ ก่ พี่ น้ อ งประชาชน ผมไม่ ติ ด ใจในข้ อ สงสั ย ใด ๆ ทั้ ง สิ้ น
ท่านประธานครับ แต่ผมเองก็มีข้อกังวลที่จะพิจารณาอยู่นิดหนึ่งนะครับท่านประธานว่า
๑๒๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สวรรยา ๕๗/๒

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองของปี ๒๕๔๒ นั้น ในวาระแรกผ่านสภาไปแล้วจํานวน


๑๖ แห่ ง ซึ่ ง ดํ า เนิ น การไปแล้ ว ๙ แห่ ง ยั ง เหลื อ อี ก ๗ แห่ ง ที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ดํ า เนิ น การ
ผมขอนําเรียนผ่านท่านประธานไปยังเจ้าหน้าที่ที่มาชี้แจงว่าทําไมเราไม่หยิบยกในอีก ๗ แห่ง
ขึ้นมาล่ะครับ นี่คือความสงสัยของกระผมนะครับ ท่านประธานครับ การจัดตั้งศาลปกครอง
เพชรบุรีมีหนึ่งในจังหวัดของกระผมครับมาอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีดัวย อันนี้ตามฉบับเดิมนั้น
ของผมขึ้นอยู่กับจังหวัดนครศรีธรรมราช พี่น้องประชาชนบ้านผมนะครับหากมีคดีความกับรัฐ
กับเจ้าหน้าที่เขาก็สะดวกอยู่แล้วที่เดินทางไปนครศรีธรรมราช -----------------------------------

- ๕๘/๑
๑๒๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) วาสนา ๕๘/๑

แต่มา ณ วันนี้ให้จังหวัดชุมพรของกระผมมาขึ้นกับจังหวัดเพชรบุรี ผมไม่ได้รังเกียจนะครับ


แต่อย่างน้อยความสะดวกสบายในการเดินทาง หรือประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ ท่านประธานครับ
ผมเป็นข้อกังวล แล้วก็อย่างน้อยพี่น้องประชาชนบ้านผมจะได้หายสงสัยว่าอยู่ ๆ ทําไมเรา
มาขึ้นที่เพชรบุรี ผมก็เรียนผ่านท่านประธานว่าขอทราบเหตุผลว่าทําไมเอาจังหวัดชุมพร
บ้านผมมาขึ้นอยู่ที่เพชรบุรี ทั้ง ๆ ที่ของผมก็มีโอกาสที่จะได้ตั้งศาลปกครองที่จังหวัดชุมพร
เช่ น เดี ย วกั น เพราะฉะนั้ น อยู่ ๆ ไม่ ไ ด้ ตั้ ง แล้ ว มาอยู่ ที่ เ พชรบุ รี อี ก ผมว่ า ความเป็ น ธรรม
ไม่เกิดขึ้นครับ เพราะฉะนั้นผมขอฟังคําชี้แจงเหตุผล ขอบคุณครับ
นายเจริญ จรรย์โกมล (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง) : ท่านเกียรติ์อุดม
เชิญครับ
นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ (อุดรธานี) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายเกียรติ์อุดม เมนะสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย
วันนี้ดีใจที่ได้มีโอกาสได้มาสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง ศาลซึ่งเป็นที่เคารพ
ของพี่น้องประชาชนชาวไทย ฉะนั้นในวันนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดตั้งศาล ที่จริงแล้ว
อยากจะให้ตั้งทุกจังหวัดถ้ามีเงินงบประมาณ เพราะอะไรล่ะครับท่านประธาน ศาลนั้นเป็น
สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ทุกคนกราบไหว้ศาล แต่ว่าอยากจะฝากคณะตุลาการ อยากจะให้ตุลาการ
ได้ทําตัวเหมือนศาลให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จริง ๆ อย่าให้คนเอาตุลาการขึ้นมากล่าวครหานินทา
เพราะฉะนั้ น ผมเป็ น ผู้ แ ทนราษฎรบ้ า นนอก ส.ส. บ้ า นนอก จะได้ รั บ คํ า พู ด จากพี่ น้ อ ง
ประชาชนซึ่งอยู่ห่างไกลความเจริญไม่มีโอกาสที่มีดีเหมือนเศรษฐีมีเงิน เวลาเขาจะไปศาลนั้น
เขาลําบากมาก เขาจะบอกผมในฐานะเป็นผู้แทนราษฎรเสมอว่าเราคนจนอาจจะไม่มีสิทธิ
สู้ ค ดี เ หมื อ นกั บ คนมี เ งิ น เพราะฉะนั้ น อยากจะให้ ค ณะตุ ล าการนั้ น ได้ ยิ น ได้ ฟั ง เสี ย งจาก
ผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนนั้น นําเอาสิ่งเหล่านี้เข้าไปเพื่อที่จะไปตัดสินคดีความ
ให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังที่พี่น้องประชาชนได้คาดฝัน ผมจะยกตัวอย่างคดีสัก ๒ คดี คดีเดียวกัน
นะครับท่านประธาน อีกคดีหนึ่งยก อีกคดีหนึ่งตัดสิน ยกตัวอย่างผู้บริหารท้องถิ่นเลือกตั้ง
ในแบบเดียวกันซื้อเสียง กกต. มีมติตัดสิทธิให้ใบแดง อีกเทศบาลหนึ่งก็เหมือนกันคดีเดียวกัน
ซื้อเสียง กกต. มีมติให้ใบแดง ศาลก็เลยให้ใบแดงด้วย แต่ประเด็นแรกศาลให้ยกคําร้อง
๑๒๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) วาสนา ๕๘/๒

กลั บ มาเป็ น ผู้ บ ริ ห ารอี ก ครั้ ง หนึ่ ง เพราะฉะนั้ น คดี ดั ง กล่ า วนี้ เ กิ ด ขึ้ น ที่ จั ง หวั ด อุ ด รธานี
ยกตั ว อย่ า งให้ ก็ ไ ด้ ค รั บ -----------------------------------------------------------------------------

- ๕๙/๑
๑๒๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) พรธิดา ๕๙/๑

เทศบาลตําบลหนองหว้า กกต. ให้ใบแดง แต่ศาลปกครองยกคําร้อง เทศบาลตําบลหนองหญ้าไซ


อํา เภอวังสามหมอ กกต. ให้ ใบแดง ศาลก็เ ลยให้ใบแดง คดี เ ดี ย วกัน เหมือนกัน นะครับ
ท่านประธาน เพราะฉะนั้นคนที่ถูกตัดสินได้ใบแดงตาม กกต. ก็มาเล่าให้ผมฟังทําไม อบต. นั้น
เทศบาลนี้คดีเดียวกันทําไมศาลถึงยกคําร้อง อันนี้ละครับอยากจะชี้ให้ท่านเห็น เพราะฉะนั้น
พี่น้องประชาชนถ้าพูดถึงเรื่องศาลเขาจะกราบไหว้ เพราะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะศาลเป็นที่พึ่ง
สุดท้ายของพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นในวันนี้การเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้เข้ามาเป็นสิ่งที่ดี
พี่น้ องประชาชนที่รับฟัง รายการอยู่ก็ จะชมเชยสภาบอกว่ า วันนี้ทั้งฝ่ายค้า น ฝ่ายรัฐ บาล
ได้เห็นพ้องต้องกันว่าต้องการที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนด้วยคณะตุลาการที่ไปอยู่ศาล
ไม่ว่าจะเป็นศาลปกครอง ศาลฎีกา ศาลยุติธรรมอะไรก็แล้วแต่ อันนี้ละครับอยากจะฝาก
ท่ า นประธานไปถึ ง คณะตุ ล าการด้ ว ยว่ า สิ่ ง ที่ พี่ น้ อ งประชาชนคาดหวั ง ที่ เ ขาตั้ ง ใจที่ สุ ด
ที่พึ่งสุดท้ายก็คือศาล เพราะฉะนั้นก็อยากจะให้ท่านทรงความยุติธรรมอันนี้ดังที่พี่น้องประชาชน
ได้ ตั้ ง หวั ง ไว้ ก็ ข อขอบคุ ณ คณะตุ ล าการที่ ไ ด้ ม านั่ ง ฟั ง แนวความคิ ด ของผู้ แ ทนราษฎร
ในสภาแห่งนี้ ก็ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งนะครับ
นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ) :
หมอเชิดชัยเชิญครับ
นายเชิดชัย ตันติศิรินทร์ (บัญชีรายชื่อ) : ขอบพระคุณครับท่านประธาน
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม นายแพทย์เชิดชัย
ตันติศิรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่ อไทย วันนี้ร่างพระราชบัญญั ติ
จัด ตั้ ง ศาลปกครองจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต จั ง หวั ด เพชรบุ รี จั ง หวั ด นครสวรรค์ ที่ ม าเสนอนะครั บ
ผมขอให้ ค วามเห็ น เพื่ อ ประกอบการพิ จ ารณา คื อ เท่ า ที่ ผ มดู ศ าลก็ เ หมื อ นโรงพยาบาล
ในเมื่ อ โรงพยาบาลทั่ ว ประเทศไม่ พ อสมั ย เก่ า เราก็ ไ ปกํ า หนดเอาตามภู มิ ป ระเทศ
ตามประชากร รวมทั้งคํานึงถึงหมอ พยาบาลพอเพียงไหม ทีนี้ท่านทําเริ่มต้นท่านเขียนไว้
๑๖ แห่ ง มี จั ง หวั ด แพร่ กั บ จั ง หวั ด สกลนครแล้ ว ท่ า นก็ ไ ม่ ทํ า ท่ า นไม่ มี เ หตุ ผ ลนะครั บ
เพราะว่าอันนั้นเป็นไปตามหลัก วิชาการด้ว ย จริงอยู่จะมี เหตุผลที่จะไปหัก ล้างว่าอั นนั้น
ไม่เหมาะสม อันนี้ไม่เหมาะสมมันก็ต้องอธิบายความ เพราะว่าอันนี้ถือว่าเป็นงานที่จะต้อง
บริ ก ารประชาชน เพราะฉะนั้ น ผมอยากจะให้ ท างศาลปกครองไปคํ า นึ ง พวกนี้ ด้ ว ย
เพราะว่าความคาดหวังประชาชนมีมากเหมือนการจัดตั้งโรงพยาบาล อันที่ ๑ นะครับ
๑๒๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) พรธิดา ๕๙/๒

ผมขอก้าวไปถึงเกณฑ์ของท่านนิดหนึ่งนะครับ คมนาคมสะดวก ๒ ชั่วโมง


ห่างกัน ๒๐๐ กิ โลเมตร เห็ นด้ว ย เพราะว่ าทางสาธารณสุ ขที่ จะมีพ วกศูน ย์ ดูแลสุข ภาพ
เฉพาะทางเรา ๑๐๐ กิโลเมตร แต่อันนั้น มันเรื่องชีวิตมันรอไม่ได้ แล้วก็อั ตรารองรับคดี
ซึ่งอันนี้ก็เป็นทั้ง ๒ แง่ เพราะว่าถ้าคดียิ่งเยอะแสดงว่าสังคมมันแย่แล้ว ก็เหมือนคนไข้เยอะ
ก็แสดงว่าการดูแลสุขภาพไม่ดี เพราะฉะนั้นมันต้องไปแก้วิธีอื่นไม่ใช่เพิ่มโรงพยาบาล
อันที่ ๓ ผมกล่าวไปแล้ว ท่านประธานที่เคารพ ความไม่เป็นธรรมในสังคม
เป็นเรื่องสําคัญ บ้านเมืองที่เกิดปัญหาในปัจจุบันนี้ก็คือเรื่องความไม่เป็นธรรม ตอนนี้ผมขอสะท้อน
ความเข้ า ใจของประชาชนในเขตโดยเฉพาะภาคอี ส านกั บ ต่ า งจั ง หวั ด ความยุ ติ ธ รรม
นี่ศ าลเอี ย งนะครั บ ว่ า ตรง ๆ ปกติ ศ าลของเราที่มี ชื่ อ ก็ คื อ ศาลรั ฐ ธรรมนู ญ ศาลยุ ติธ รรม
แล้วก็ศาลปกครอง บางครั้งศาลก็แก้วิกฤติชาติได้ บางครั้งศาลก็ซ้ําเติมวิกฤติชาติ ----------

- ๖๐/๑
๑๒๖
สผ /๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๖๐/๑

ผมยกตัวอย่างนิดหนึ่งครับ เรื่องมาบตาพุดที่มีศาลปกครองให้คุ้มครองพิเศษ แล้วก็รัฐมีการลงทุน


ไปแล้วเป็นแสนล้านบาท แล้วเกิดความเสียหาย เพราะว่าเท่าที่ผมดูในเอกสารของท่าน
ท่านอ้างว่าที่ต้องมีอย่างนี้ออกกฎหมาย เพราะว่ามี เมกะโปรเจกต์ (Mega Project) ต่าง ๆ
ผมก็อยากจะให้ท่านผู้พิพากษา บางทีก็ต้องคํานึงพวกเมกะโปรเจกต์ แล้วถ้าท่านจะแนะนํา
รัฐอะไรบ้างน่าจะทํา ไม่ใช่ปล่อยไปแล้วไปตัดสินคุ้มครองพิเศษก็มีปัญหา
หรืออีกอันหนึ่งผมก็ไม่แน่ใจ ก็คือเขตอํานาจศาล กรณีที่ไปเจรจาระหว่าง
เขมรกับไทย แล้วก็มีคุ้มครองพิเศษให้อะไรต่าง ๆ เป็นโมฆะไป ผลปรากฏว่ามันเรื่องยุ่งยาก
ตามมามากมาย อันนี้ผมก็อยากให้ศาลปกครองไปดูจริง ๆ ว่าขอบเขตอํานาจศาลจริง ๆ
มันควรจะเป็ นอย่ างไร การใช้ดุลยพินิจที่สุดโต่ งต่า ง ๆ เป็ นเรื่องที่ ผมว่าควรจะต้องดูแล
เหมือนท่านสมาชิกที่พูดไปเมื่อสักครู่นี้ บังเอิญเมื่อสักครู่นี้อาจจะมีเกี่ยวข้องกับท่านทั้งหลาย
เกี่ยวกับ กกต. แต่อันนี้จะเป็นคล้าย ๆ ว่ามันเป็นสิ่งปลูกฝังในจิตใจว่าประชาชนที่เขาหวังว่า
ศาลจะเป็นที่พึ่งที่สุดท้าย แต่ก่อนไม่มีใครเถียง แต่ตอนนี้มันเริ่มมีความรู้สึกคลางแคลงใจ
ขึ้ น มา ถ้ า ศาลถูก คลางแคลงใจมาแล้ ว นี้ ทุ ก อย่ า งในประเทศไทยจะเปลี่ ย นไปหมดครั บ
อันนี้ผมเรียนท่านนะครับ
ท่านประธานที่เคารพ ผมอยากจะให้ฝากไปยังศาล คือผมคิดว่าผู้พิพากษา
เขาเป็นคนธรรมดาเป็นข้าราชการเหมือนกัน เรียนกฎหมายมาเหมือนกัน การตัดสินคดีต่าง ๆ
ควรจะมีไกด์ไลน์ (Guideline) ก็เหมือนคุณหมอที่เขารักษา เรายังมีไกด์ไลน์ให้ว่าควรจะมี
อย่างนี้ ๆ เลือกวิธีไหนที่ปลอดภัยกับคนไข้มากที่สุด ศาลก็คงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นดุลยพินิจ
ที่สุดโต่งอันนี้ไม่ควรอย่างยิ่งนะครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผมเห็นคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แล้วท่านไปตั้งศาลต่าง ๆ
ผมก็ ช อบใจท่ า นสมาชิ ก ผู้ ท รงเกี ย รติ ท่ า นหนึ่ ง ที่ บ อกว่ า แนวทางการดํ า เนิ น คดี ข องศาล
ก็มีหลายแบบ การไปลงทุนศาลแต่ละแห่ง ๓๐๐ ล้านบาท แล้วก็ต้องไปสร้างบ้าน ผมก็นึกถึง
สมัยก่อนที่เราไปสร้างโรงพยาบาล ต้องสร้างบ้านพักให้คุณหมอต่าง ๆ ขึ้นมา ปัจจุบันนี้ไม่มี
เพราะเขาเป็ น แฟลต เพราะว่ า บ้ า นเมื อ งมั น เจริ ญ ขึ้ น ก็ ค วรจะเป็ น ลั ก ษณะเป็ น แฟลต
ประหยัด และอีกอย่างหนึ่งถ้าเป็นไปได้ในที่บางที่มันไม่ใช่เป็นที่ต้องมากมายไปเช่าได้ไหม
อย่างนั้นนะครับ คือในบ้านเมืองถ้ามีเงินมีทองเยอะแยะ ผมเห็นด้วยเต็มที่เอาให้หรูหราเลย
๑๒๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๖๐/๒

ก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้ายังไม่เหมาะน่าจะมีการปรับนิดหนึ่ง โดยเฉพาะในที่ที่ท่านคิดว่าจําเป็นก็ไป


เช่าหรือไปดําเนินการอย่างนั้นก็ได้
ท่ า นประธานที่ เ คารพ อี ก อั น หนึ่ ง คดี ต่ า ง ๆ ที่ ม ากมายขึ้ น วั น ต่ า ง ๆ
ที่ท่านเปิดโอกาสให้ยื่นไปทางไปรษณีย์บ้าง เขียนด้วยลายลักษณ์อักษรบ้าง ผมก็มีโอกาส
ได้ รั บ คํ า ร้ อ งจากประชาชนว่ า ที่ ท่ า นทํ า อย่ า งนั้ น มั น เป็ น ความคิ ด ที่ ท่ า นก็ เ ขี ย นเองว่ า
มันไม่ค่อยได้ผล เขาไม่เข้าใจนะครับ แล้วเวลาเขียนจริง ๆ ไม่รู้จะเขียนอย่างไร ผมไปดูที่
ศาลปกครองเองก็ยังดีที่ท่านตั้งหน่วยงานที่จะให้คําปรึกษาการเขียน แต่ทีนี้ถ้าเขาอยู่บ้านเขา
ไม่ รู้ จ ะเขี ย นอย่ า งไร ปรึ ก ษาไม่ ไ ด้ ถ้ า ไปศาลนะมี ห น่ ว ยแนะนํ า ผมก็ คิ ด ว่ า ถ้ า เป็ น ไปได้
การฟ้ อ งคดี ห รื อ ว่ า ยื่ น คํ า ร้ อ งทางไปรษณี ย์ หรื อ ว่ า ให้ ไ ปถึ ง ที่ อ าจจะผ่ า นหน่ ว ยงานอื่ น
ที่แนะนําไปให้เขาทําได้ ก็เหมือนถ้ามีโรคเยอะ ๆ ถ้าคุณหมอตั้งรับที่โรงพยาบาลคงไม่ทัน
คงจะต้องมีการส่งหน่วยออกไปส่งเสริมสุขภาพ เช่น ให้ออกกําลังกาย ระวังเรื่องอาหาร
หรืออะไรดูแล ผมคิดว่าน่าจะทําคล้าย ๆ กัน โดยเฉพาะเรื่องการลดคดีต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้อง
กับท่านบ้างครับ ท่านประธานที่เคารพ ผมอยากจะเสนอแนะนิดหนึ่งครับ ในองค์กรของท่าน
ได้มีการตรวจสอบกันหรือไม่ เพราะว่าพอพูดถึงศาลแล้วคนก็ไม่กล้าที่จะพูด เพราะว่าเดี๋ยวไป
ล่วงอํานาจศาล ทั้งที่บางทีก็อาจจะต้องวิจารณ์ได้เพราะเป็นเรื่องวิชาการ เกิดในองค์กรของท่าน
ท่านไปเกี่ยวข้องเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองใช่ไหมครับ เช่นมีอดีตประธานศาลปกครอง
ที่ลงข่าวในหนังสือพิมพ์ ผมไม่แน่ใจว่าท่านอะไร แล้วก็ไปมีข่าวพัวพันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
การปกครองในบ้า นเมือ งไทย อย่ า งนี้ ใ นองค์ก รของท่ า นมีก ารจัด การกันหรือ ไม่ น ะครั บ
ผมก็อยากจะฝากอันนี้ไปถือว่าเป็นการอภิปรายที่เราต้องการจะสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคม
ที่ มี ค วามยุ ติ ธ รรม ----------------------------------------------------------------------------------

- ๖๑/๑
๑๒๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๖๑/๑

ทุกคนก็เคารพกติก า ก้าวไปข้ างหน้ า ถ้าไปมองแบบการเมื องเก่ า หรื อว่าทํ าแบบเก่า ๆ


ดั้งเดิมมันไปไม่ได้ ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็อยากให้ท่านช่วยพิจารณาเรื่องนี้นะครับ
สุ ด ท้ า ยนี้ ผ มก็ ส นั บ สนุ น ศาลปกครอง แต่ ผ มก็ ไ ม่ เ ห็ น ด้ ว ยที่ จ ะต้ อ งไปตั้ ง ครบทุ ก จั ง หวั ด
น่าจะเป็นบางตําแหน่ง แล้วไปแก้ไขปัญหาที่จะลดคดีอย่างอื่นมากกว่า หรืออํานวยความสะดวก
ให้ประชาชน แล้วก็เร่งตัดสินคดีให้เร็ว ขอบพระคุณครับ
(การประชุ ม ดํ า เนิ น มาถึ ง ตอนนี้ นายเจริ ญ จรรย์ โ กมล รองประธาน
สภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ห นึ่ ง ได้ ล งจากบั ล ลั ง ก์ โดยมอบให้ นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทน)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ท่านจะตอบไหมครับ
นายสุเมธ รอยกุลเจริญ (ตุลาการศาลปกครองสูงสุด) : กราบเรียนท่านประธานสภา
และท่ า นสมาชิ ก ผู้ ท รงเกี ย รติ ผม นายสุ เ มธ รอยกุ ล เจริ ญ ตุ ล าการศาลปกครองสู ง สุ ด
ขอกล่าวสั้น ๆ นะครับ สิ่งที่ท่านแนะนํามาทางเราเองก็จะรับไปปรับในองค์กร แล้วก็สิ่งที่มี
พิ พ าทเกิ ด ขึ้ น มั น เป็ น ปริ ม าณคดี ที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง ๆ แล้ ว เราก็ พ ยายามที่ จ ะแบ่ ง เบาภาระ
กั บ ประชาชนเท่ า นั้ น เอง คื อ เรายึ ดถึ ง ประโยชน์ป ระชาชนแล้ ว ก็ง บประมาณที่ เ ราได้ รั บ
ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : ไม่มีท่านใด
อภิปรายต่อนะครับ ผมปิดการอภิปรายนะครับ ก็คงเชิญสมาชิกลงมติ
(นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง มีสัญญาณ
ให้สมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนทําการตรวจสอบองค์ประชุม)
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : เชิญครับ
นายชุมพล จุลใส (ชุมพร) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม
นายชุมพล จุลใส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธานครับ
ผมขอหารือท่านประธานสัก ๑ นาที ก่อนที่จะมีการลงคะแนนครับ ในการจัดตั้งศาลปกครอง
ที่จังหวัดเพชรบุรีตามหลักการผมเห็นด้วย แต่ว่าของผมจังหวัดชุมพรถ้าพี่น้องประชาชน
เดื อ ดร้ อ นต้ อ งมาขึ้ น ที่ เ ขตปกครองของจั ง หวั ด เพชรบุ รี มาขึ้ น ศาลที่ จั ง หวั ด เพชรบุ รี

- ๖๒/๑
๑๒๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๖๒/๑

แต่ เ ดิ ม นั้ น คนชุ ม พรต้ อ งไปขึ้ น ที่ จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช ตรงนี้ ผ มยั ง ติ ด ใจสงสั ย ว่ า
ทั้ง ๆ ที่ผมมีโอกาสที่เป็น ๑ ใน ๑๖ จังหวัดที่จะต้องได้ตั้งอยู่แล้ว แต่ก็ไม่เป็นอะไรครั บ
ท่านประธาน แต่ว่าอย่างน้อยเอาพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนไปขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
ไม่ได้หรือครับ เพราะว่าระยะทางมันลําบาก แล้วผมไปตอบปัญหากับพี่น้องประชาชนไม่ได้ครับ
แล้วผมถามศาลแล้วศาลก็ไม่ตอบครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : เดี๋ยวลงมติแล้ว
ผมจะให้ ตอบ ท่ า นไม่ ต้อ งไปขึ้น ศาลแล้ว นะครั บ ขอเชิญ ท่ า นสมาชิ ก ได้ ใ ช้สิทธิ แ สดงตน
โปรดเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตน
(สมาชิกทําการเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตน)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ผมขอคะแนนครับ มีผู้เข้าประชุม ๓๘๕ ท่าน ถือว่าครบองค์ประชุมนะครับ
๑๓๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๖๒/๒

ผมจะขอมติจากที่ประชุมว่าจะรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
หรือไม่ ขอเชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงนะครับ ผู้ใดเห็นควรรับหลักการโปรดกดปุ่ม
เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่าไม่ควรรับหลักการโปรดกดปุ่ม ไม่เห็นด้วย ท่านผู้ใดเห็นควรว่างดออกเสียง
โปรดกดปุ่ม งดออกเสียง เชิญลงมติครับ
(สมาชิกทําการเสียบบัตรแสดงตนและกดปุ่มลงคะแนน)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ผู้เข้าประชุม ๔๐๐ ท่าน เห็นด้วยทั้ง ๔๐๐ ท่านนะครับ
๑๓๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๖๒/๓

ท่ า นสมาชิ ก เป็ น อั น ว่ า รั บ หลั ก การร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ และต้ อ งตั้ ง


คณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา ขอเชิญท่านสมาชิกกําหนดจํานวนกรรมาธิการครับ
เชิญครับ
นายพิ ษ ณุ หั ต ถสงเคราะห์ (หนองบั ว ลํ า ภู ) : ท่ า นประธานที่ เ คารพ
ผม พิษณุ หัตถสงเคราะห์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลําภู พรรคเพื่อไทย
เสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญ จํานวน ๓๑ ท่านครับ ขอผู้รับรองครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : ขอแต่งตั้ง
๓๑ ท่าน ในสัดส่วนของรัฐมนตรีจํานวนกี่ท่านครับ
นายสุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ (รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ) :
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรี
ประจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ในสั ด ส่ ว นของรั ฐ บาลขอเสนอคณะกรรมาธิ ก าร ๕ คน
๑. นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ๒. นายสมชัย วัฒนการุณ ๓. นายประเวศ รักษพล
๔. นายตรีภพ คริสต์รักษา ๕. นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล ขอบคุณครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : ส่วนของ
สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร จํ า นวน ๒๖ ท่ า น เป็ น ของพรรคเพื่ อ ไทย ๑๔ ท่ า น
พรรคประชาธิปัตย์ ๘ ท่าน พรรคภูมิใจไทย ๒ ท่าน พรรคชาติไทยพัฒนา จํานวน ๑ ท่าน
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินและพรรคพลังชล จํานวน ๑ ท่าน เชิญพรรคเพื่อไทยครับ
นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานที่เคารพครับ
กระผม พิษณุ หัตถสงเคราะห์ พรรคเพื่อไทย จังหวัดหนองบัวลําภู ขออนุญาตใช้ชุดเดิม
กับคณะของเมื่อสักครู่ครับ ของจังหวัดภูเก็ตครับ ขอผู้รับรองครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : ผู้รับรองถูกต้อง
เชิญพรรคประชาธิปัตย์ครับ

- ๖๓/๑
๑๓๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๖๓/๑

นางสาวบุ ณ ย์ ธิ ด า สมชั ย (อุ บ ลราชธานี ) : ท่ า นประธานที่ เ คารพคะ


บุ ณ ย์ ธิ ด า สมชั ย สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี พรรคประชาธิ ปั ต ย์
ในสัด ส่ว นของพรรคประชาธิ ปัตย์ ข อใช้ ชุ ดเดี ย วกับ พ.ร.บ. จั ดตั้ ง ศาลปกครองภู เ ก็ตค่ ะ
ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้อง พรรคภูมิใจไทยครับ
นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช (ลพบุรี) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ
ดิฉัน นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรคภูมิใจไทย
ขอใช้ชุดเดิมเหมือนกันค่ะ ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้อง เชิญพรรคชาติไทยพัฒนา จํานวน ๑ ท่าน ครับ
นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง (บัญชีรายชื่อ) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา
ขอเสนอให้ใช้กรรมาธิการชุดเดิมเหมือนกันครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินและพรรคพลังชล จํานวน ๑ ท่าน
นายประสาท ตันประเสริฐ (นครสวรรค์) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายประสาท ตันประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ ในสัดส่วน
ของพรรคชาติ พั ฒ นาเพื่ อ แผ่ น ดิ น และพรรคพลั ง ชล ขอเสนอ นายรณเทพ อนุ วั ฒ น์
ขอผู้รับรองครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ เชิญท่านเลขาธิการอ่านรายชื่อคณะกรรมาธิการครับ
๑๓๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๖๓/๒

นายจเร พันธุ์เปรื่อง (รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทน


เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) : คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองเพชรบุ รี ๑. นายแพทย์ สุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ ๒. นายสมชั ย วั ฒ นการุ ณ
๓. นายประเวศ รั ก ษพล ๔. นายตรี ภ พ คริ ส ต์ รั ก ษา ๕. นายโกมล จิ ร ชั ย สุ ท ธิ กุ ล
๖. นายประชา ประสพดี ๗. นายสหรัฐ กุลศรี ๘. นายสัญชัย วงษ์สุนทร ๙. พันตํารวจโท นุกูล
แสงศิริ ๑๐. นางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์ ๑๑. นายพายัพ ปั้นเกตุ ๑๒. นายเหวง โตจิราการ
๑๓. นายวั ฒ นา เซ่ ง ไพเราะ ๑๔. นายพี ร พั น ธุ์ พาลุ สุ ข ๑๕. นายมานพ เกตมณี
๑๖. นายนิยม เวชกามา ๑๗. นายโกศล ปัทมะ ๑๘. นายวันชัย บุษบา ๑๙. นายประสพ
บุษราคัม ๒๐. นายอรรถพร พลบุตร ๒๑. นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ๒๒. นายสงกรานต์
จิ ตสุ ทธิ ภากร ๒๓. นายวิ รั ตน์ วิ ริ ยะพงษ์ ๒๔. นายวิ ทยา แก้ วภราดั ย ๒๕. นางอั ญชลี
วานิช เทพบุตร ๒๖. นายสาคร เกี่ยวข้อง ๒๗. นายราเมศ รัตนะเชวง ๒๘. นายบุญดํารง
ประเสริ ฐ โสภา ๒๙. นายวิ ศิ ษ ฐ์ พิ ท ยาภรณ์ ๓๐. นายนิ ติ วั ฒ น์ จั น ทร์ ส ว่ า ง และ
๓๑. นายรณเทพ อนุวัฒน์
นายรณเทพ อนุวัฒน์ (ชลบุรี) : ขออนุญาตท่านประธานครับ ผม รณเทพ
อนุวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี พรรคพลังชล ตามที่ได้มีการเสนอชื่อผม
เป็นกรรมาธิการชุดนี้ ผมขออนุญาตขอถอน และขอเสนอท่านประสาท ตันประเสริฐ แทนครับ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้อง เลขาธิการเปลี่ยนชื่อด้วยนะครับ ขอเชิญกําหนดระยะเวลาแปรญัตติครับ
นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานที่เคารพครับ
พิษณุ หัตถสงเคราะห์ พรรคเพื่อไทย จังหวัดหนองบัวลําภู แปรญัตติ ๗ วันตามข้อบังคับครับ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองนครสวรรค์ พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ)
๑๓๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๖๓/๓

เชิญท่านรัฐมนตรีแถลงหลักการและเหตุผลครับ
นายสุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ (รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ) :
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์
รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ได้ รั บ มอบหมายจากคณะรั ฐ มนตรี ใ ห้ นํ า เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองนครสวรรค์ พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎรโดยมีหลักการ
และเหตุผลดังต่อไปนี้
หลักการ จัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาคขึ้นในจังหวัดนครสวรรค์
เหตุผล โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาคขึ้ นในจังหวั ด
นครสวรรค์ ให้มีเขตตลอดท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรีและ
จั ง หวั ด อุ ทั ย ธานี --------------------------------------------------------------------------------------

- ๖๔/๑
๑๓๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๖๔/๑

เพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานทางปกครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนในท้องที่จังหวัด
ดังกล่าว และโดยที่มาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติว่า
บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ ก็แต่โดยพระราชบั ญญัติประกอบกับมาตรา ๘ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า
การจัดตั้งและการกําหนดเขตอํานาจของศาลปกครองในภูมิภาคให้กระทําโดยพระราชบัญญัติ
จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : มีท่านใด
จะอภิปรายอะไรหรือไม่ครับ เชิญครับข้างหลังสุด
นายประสาท ตั น ประเสริ ฐ (นครสวรรค์ ) : ท่ า นประธานสภาที่ เ คารพ
ผม ประสาท ตันประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ พรรคชาติพัฒนา
ท่านประธานครับ ชาวจังหวัดนครสวรรค์คงจะยินดี ไม่อย่างนั้นแต่ก่อนนี้เรามีปัญหาอะไร
เราต้องเดินทางไปถึงพิษณุโลก เพชรบูรณ์ก็ไปพิษณุโลก ลพบุรี อุทัยธานีต้องไปกรุงเทพฯ
เพราะฉะนั้นวันนี้จากศักยภาพของจังหวัดนครสวรรค์ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน
เป็นจุดศูนย์รวม ผมเห็นว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งนะครับ จากเพชรบูรณ์มานครสวรรค์
ก็ ๑๐๐ กว่ากิโลเมตร ลพบุรีก็ประมาณ ๑๐๐ กว่ากิโลเมตร อุทัยธานีก็ ๔๐-๕๐ กิโลเมตร
จากศูนย์กลางวันนี้แม้ว่าหลาย ๆ ที่อยากจะได้ศาลปกครองกลางไปสู่จังหวัดของตัวเอง วันนี้
ที่นครสวรรค์ก็จะทําให้พี่น้องในอีก ๓ จังหวัดได้รับความสะดวกสบาย การที่มีคดีกับรัฐ
ประชาชน ท่านประธานครับ เหมือนอย่างที่ท่านผู้แทนราษฎรท่านผู้มีเกียรติหลาย ๆ ท่านได้
อภิปรายเป็นความจริง ศาลปกครองเป็นที่พึ่งของประชาชนที่มีปัญหากับรัฐเป็นอย่างมาก
เพราะฉะนั้นเท่าที่ผมประสบมาเราต้องเดินทางมาศาลปกครองกลางกรุงเทพฯ หรือไม่อย่างนั้น
ก็ ต้ อ งไปศาลปกครองพิ ษณุ โ ลก ลํ า บากจริ ง ๆ ครับ วั น นี้ ใ นส่ ว นของกระทรวงยุติ ธ รรม
คณะรัฐมนตรีได้เสนอนี่ผมจึงเห็นด้วยในหลักการทุกประการ แล้วก็อยากจะขอรับการสนับสนุน
จากท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านเพื่อที่จะผ่านร่างพระราชบัญญัติศาลปกครองจังหวัด
นครสวรรค์ พ.ศ. .... ในโอกาสนี้ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : เชิญครับ
๑๓๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๖๔/๒

พันตํารวจโท นุกูล แสงศิริ (นครสวรรค์) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม


พันตํารวจโท นุกูล แสงศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณ
คณะรั ฐ มนตรี ที่ ไ ด้ เ สนอร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ จั ด ตั้ ง ศาลปกครองนครสวรรค์ พ.ศ. ....
เพื่อนสมาชิกหลายคนอภิปรายว่าการจัดตั้งศาลปกครองนั้นเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน
ส่วนหนึ่งผมเคยเป็นข้าราชการในจังหวัดนครสวรรค์ แล้วก็เคยถูกร้องเรียนและให้เข้าสู่
กระบวนการของศาลปกครอง ก็ทําให้มีปัญหาในการรับราชการ ข้าราชการท่านใดถ้าถูกดําเนินคดี
ก็จะไม่ได้รับพิจารณาความดีความชอบ และประกอบที่ผ่านมาก็จะมีสํานวนคดีความต่าง ๆ
ค้างเป็นเวลาหลายปี เพราะฉะนั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนและข้าราชการ
โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ระเบียบต่าง ๆ กฎหมายต่าง ๆ ก็บัญญัติขึ้นมาใหม่ เพราะฉะนั้น
สามารถเป็นที่พึ่งได้ทั้งพี่น้องประชาชนและข้าราชการ ผมขอสนับสนุนร่างพระราชบั ญ ญั ติ
จัดตั้งศาลปกครองนครสวรรค์ ประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งนะครับ

- ๖๕/๑
๑๓๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๖๕/๑

เพราะพี่น้องจากจังหวัดนครสวรรค์ แล้วก็ข้าราชการที่ถูกดําเนินคดีแล้วที่ผ่านมาก็ต้องไป
จัง หวัด พิ ษณุ โ ลก โดยเฉพาะในครั้ งนี้ ถ้ า จั ด ตั้ งที่ จั ง หวั ด นครสวรรค์ ก็จ ะมีเ ขตรั บ ผิ ด ชอบ
ทั้งจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดลพบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็ถือว่าจังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลาง
กระผมก็ขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ขอบคุณครับ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ท่านวัชระ เพชรทอง
นายวัชระ เพชรทอง (บัญชีรายชื่อ) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายวัชระ
เพชรทอง สมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรบัญ ชีร ายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ท่ านประธานครั บ
ผมขอสนับสนุนการจัดตั้งศาลปกครองจังหวัดนครสวรรค์ที่กําลังจะมีขึ้นโดยผ่านการพิจารณา
จากสภาแห่งนี้ เดิมทีนั้นพี่น้องจังหวัดนครสวรรค์ต้องไปขึ้นศาลปกครองที่จังหวัดพิษณุโลก
อย่ า งเช่ น เพื่ อ นสมาชิ ก ได้ ก ล่ า วไปแล้ ว ท่ า นประธานครั บ คนที่ จ ะดี ใ จหลาย ๆ คน
นอกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์แล้วอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครสวรรค์อย่างท่านกํานันสมควร โอบอ้อม ซึ่งเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน
ก็ดีใจด้วยและเชื่อว่าพี่น้องประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดอุทัยธานี
และจั ง หวั ด นครสวรรค์ ทุ ก คนก็ ดี ใ จ ท่ า นประธานครั บ นั่ น ก็ คื อ หมายความว่ า ต่ อ ไปนี้
ถ้าเกิดกรณีน้ําท่วมในจังหวัดนครสวรรค์ น้ําท่วมที่จังหวัดเพชรบูรณ์ น้ําท่วมที่จังหวัดลพบุรี
น้ํ า ท่ ว มที่ จั ง หวั ด อุ ทั ย ธานี ก็ ส ามารถฟ้ อ งศาลปกครองที่ จั ง หวั ด นครสวรรค์ ไ ด้ เ ลย
ท่านประธานครับนี่คือสิทธิของพี่น้องประชาชนเป็นสิทธิที่น่ายินดี เหมือนกันครับพี่น้อง
ประชาชนที่ถูกน้ําท่วมขังในเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑลก็ฟ้องไปยังศาลปกครองกลางได้
ผมจึ ง กราบเรี ย นท่ า นประธานไปยั ง ท่ า นตุ ล าการศาลปกครองว่ า ถ้ า เป็ น ไปได้ ณ เวที
ในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ท่านควรที่จะอภิปรายแนะนําพี่น้องประชาชนเบื้องต้นในการฟ้องคดี
ต่อศาลปกครอง ซึ่งผมเชื่อว่าตัวแทนจากศาลปกครองสามารถที่จะอธิบายให้กับพ่อแม่พี่น้อง
ประชาชนทั้งประเทศให้ได้ฟังโดยง่ายโดยใช้ระยะเวลาอันสั้น เพราะอะไรครับท่านประธาน
ก็เพราะว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านก็ได้ท้วงติงกราบเรียนไปยังท่านประธานว่าประชาชน
ไม่รู้ว่าจะฟ้องไปยังศาลปกครองอย่างไร ซึ่งแม้ว่าคําฟ้องจะเขียนง่าย ๆ และส่งทางไปรษณีย์
ติดแสตมป์ ๓ บาทเท่านั้น ก็ถือว่าเป็นคําฟ้องแล้วแต่คําฟ้องนั้นต้องสมบูรณ์ ท่านประธานครับ
และผมเชื่ อ ว่ า ตั ว แทนของคณะตุ ล าการศาลปกครอง ณ ที่ นี่ จ ะสามารถที่ จ ะอธิ บ าย
๑๓๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๖๕/๒

รายละเอียดให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นฟ้อง ศปภ.


ซึ่ ง รั บ ผิ ด ชอบการบริ ห ารจั ด การน้ํ า รั บ ผิ ด ชอบอุ ท กภั ย ครั้ ง ใหญ่ ฟ้ อ งกรมชลประทาน
ฟ้องหน่วยราชการต่าง ๆ ก็สามารถที่จะฟ้องร้องได้ ท่านประธานครับนั่นก็คือประชาชน
เห็นว่าสิทธิของตัวเองนั้นไม่ได้รับความเป็นธรรมถูกกระทบกระเทือนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ซึ่ ง ปล่ อ ยปละละเลยให้ มี น้ํ า ท่ ว มขั ง ให้ มี น้ํ า ท่ ว มน้ํ า เน่ า เป็ น เวลานานและทํ า ให้ พี่ น้ อ ง
ประชาชนเดือดร้อนประสบกับภาวะหายนะทางเศรษฐกิจ ทรัพย์สินเสียหาย ไร่นาเสียหาย
เรื อ กสวนไร่ น าเสี ย หายทั้ ง สิ้ น ท่ า นประธานครั บ เมื่ อ รั ฐ เยี ย วยาในอั ต ราที่ ไ ม่ เ หมาะสม
ประชาชนทุกคนทุกครอบครัวก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องไปยังศาลปกครอง เพราะฉะนั้นพี่น้อง
แถบจังหวัดนครสวรรค์ก็สามารถฟ้องนับตั้งแต่ศาลปกครองนี้ได้จัดตั้งขึ้น ท่านประธานครับ
จึ ง ขอกราบเรี ย นท่ า นประธานไปยั งท่ า นคณะตุ ล าการจากศาลปกครองได้ โ ปรดแนะนํ า
พี่ น้อ งประชาชนสั้น ๆ ไม่ ใ ช่เ ฉพาะในกรณี น้ํา ท่ ว มเท่ า นั้ น ในกรณีอื่ น ๆ ท่ า นก็ ส ามารถ
แนะนําได้ ท่านประธานครับ โดยรวมโดยหลักการแล้วผมเชื่อว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ทุ ก คนเราสนั บสนุ น เพราะการลงมติ การจั ดตั้งศาลปกครองในฉบั บที่ ผ่านมา ท่ านประธาน
ไม่น่าเชื่อครับ ๔๐๐ เสียง และไม่มีลงไม่เห็นด้วยเลย ไม่มีลงงดออกเสียงเลย ทุกคนสนับสนุน
เพื่อที่ให้ท่านนั้นได้เยียวยาสิทธิให้กับพี่น้องประชาชน ---------------------------------------------

- ๖๖/๑
๑๓๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๖๖/๑

ผมกราบขอความกรุณาท่านประธานไปยังศาลปกครองเพียงนิดเดียว นั่นก็คือกระบวนการ
พิจ ารณาคดี ขอได้โปรดเมตตาด้ว ยความรวดเร็ว เพราะกฎหมาย หรือ พวกเราซึ่งเรี ย น
กฎหมายมานั้น ถือว่าความล่าช้าคือความอยุติธรรม ท่านประธานครับ ผมนั้นจบนิติศาสตรบัณฑิต
จากมหาวิทยาลัยรามคําแหง ท่านอาจารย์ ร้อยโท สพโชค ลชิตากุล เป็นผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง
ในขณะนั้น ซึ่ งมีท่า นอาจารย์ พี ร พัน ธุ์ พาลุ สุข สอนวิ ช ากฎหมายรัฐธรรมนู ญในขณะนั้ น
น่าเสียดายว่าท่านอาจารย์ ร้อยโท สพโชค ลชิตากุล ซึ่งเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชากฎหมายปกครอง
แอลเอ ๔๐๙ ท่านถึงแก่กรรมไปก่อน ไม่เช่นนั้นก็คงจะได้เห็นการพัฒนาการของกฎหมายปกครอง
ในประเทศไทยได้มีการจัดตั้งศาลปกครองโดยเกิดจากวิสัยทัศน์ในยุครัฐบาลนายชวน หลีกภัย
และจนมาถึงทุกวันนี้ ท่านประธานครับ ผมขอสนับสนุนการจัดตั้งศาลปกครองนครสวรรค์
พ.ศ. .... ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เสนอมา ขอขอบคุณ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ท่านสมคิด บาลไธสง
นายสมคิด บาลไธสง (หนองคาย) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ
ผม สมคิ ด บาลไธสง สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎร พรรคเพื่ อ ไทย จั ง หวั ด หนองคายครั บ
ขอแสดงความดีใจกับพี่น้อง ไม่ว่าจังหวัดภูเก็ตหรือจังหวัดนครสวรรค์ก็ตามที่จะมีศาลปกครอง
เพราะทุกคนต้องการความยุติธรรมและความสะดวกสบาย แต่ผมขอเสนอแนะให้ทางศาลปกครอง
เพื่อความสะดวกกับประชาชนมากยิ่งขึ้น เช่น ถ้าศาลปกครองถ้ามีอย่างที่จังหวัดนครสวรรค์
เป็นศูนย์กลางของหลายจังหวัด ถ้าศาลปกครองมีการตั้งศาลปกครองเคลื่อนที่โดยมีรถบัส (Bus)
๒ ชั้น เป็นห้องตัดสินเลย เกิดอําเภอไหน ไปอําเภอนั้น ศาลปกครองคือผู้พิพากษาประจําจังหวัด
สมมุ ติ ว่ า จั ง หวั ด เพชรบู ร ณ์ อยู่ จั ง หวั ด นครสวรรค์ ก็ จ ริ ง แต่ ว่ า อยู่ จั ง หวั ด เพชรบู ร ณ์
คื อ กลุ่ ม ตั ด สิ น จั ง หวั ด เพชรบู ร ณ์ ศาลปกครองกลุ่ ม นี้ ตั ด สิ น จั ง หวั ด อะไรที่ อ ยู่ ข้ า งเคี ย ง
ที่ อ ยู่ ใ นเขตศาลปกครองให้ เ ป็ น ชุ ด ๆ ถ้ า เกิ ด คดี ที่ จั ง หวั ด ไหนก็ เ คลื่ อ นที่ อ อกไปเลย
กลุ่มที่อยู่นครสวรรค์ก็ตัดสินที่นครสวรรค์ อันนี้จะสร้างความสะดวกสบายให้ประชาชนยิ่งขึ้น
แล้วไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดเหตุอะไรกับผู้พิพากษา ถ้าท่านทรงความยุติธรรม ผมว่าทุกคน
จะป้องกันท่าน ผมว่าถ้าคิดอย่างนี้เราอาจจะกําหนดว่าให้ที่ว่าการอําเภอทุกอําเภอเป็นที่ตั้ง
ศาลปกครองชั่วคราว โดยที่มีรถศาลปกครองเคลื่อนที่ไปที่อําเภอนั้น เขาอาจจะมีการตัดสิน
กับศาลปกครอง เพราะมันเกี่ยวกับเรื่องรัฐกับประชาชน เพราะฉะนั้นไม่มีใครจะไปทําให้รัฐ
๑๔๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๖๖/๒

เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐทําผิดกับประชาชน เพราะฉะนั้นผมว่าเอาแค่กําลัง อส. ป้องกัน


รถศาลตัดสินเคลื่อนที่ ผมก็ว่าดีนะครับ แต่ละอําเภอ พอจะไปตัดสินฝ่ายเจ้าหน้าที่ประจําอําเภอนั้น
เขาก็เตรียมการแล้ว มันจะทําให้คนใกล้ชิดศาลมากขึ้น ไม่ให้ศาลห่างประชาชน ศาลจะเป็น
ศาลของประชาชนจริง ๆ นะครับ ผมก็อยากจะกราบเรี ยนอย่างนี้ว่าถ้ามีแ นวคิดแบบนี้
ความเป็ น ศาล ความรู้ สึ ก นึ ก คิ ด ของประชาชนจะรู้ สึ ก ดี ขึ้ น เพราะว่ า ท่ า นไปบริ ก าร
อํานวยความยุติธรรมจริง ๆ ไม่ใช่ทรงความยุติธรรมนะ ไปอํานวยความยุติธรรมนะครับ
ผมก็ขอแสดงความคิดเห็นเท่านี้ครับ ขอบคุณมากครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : ท่านจะ
ตอบคําถามท่านชุมพล จุลใส ไหม เมื่อกี้ที่ถามท่านไว้ ไม่ตอบก็ได้นะครับ ตกลงไม่ตอบนะครับ
ไม่มีท่านอื่นนะครับ ผมขอปิดการอภิปรายนะครับ ก็ต้องเชิญสมาชิกเข้าห้องประชุมนะครับ
(นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง มีสัญญาณให้
สมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนทําการตรวจสอบองค์ประชุม)

- ๖๗/๑
๑๔๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๖๗/๑

นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :


ท่านวัชระ ผมปิดการอภิปรายไปแล้วนะครับท่าน เหลือแต่ลงมติอย่างเดียว ไม่อภิปรายนะครับ
โอเคครับ
นายวั ช ระ เพชรทอง (บั ญ ชี ร ายชื่ อ ) : ท่ า นประธานครั บ ระหว่ า งรอ
เพื่อนสมาชิกให้ท่านตุลาการแนะนําพี่น้องประชาชนคร่าว ๆ ได้ไหมครับว่าคําฟ้องศาลปกครอง
ทําอย่างไร
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ท่านวัชระ เมื่อกี้ผมได้เรียนถามท่านแล้ว ท่านไม่ตอบ ก็เป็นสิทธิของท่าน เชิญท่านสมาชิก
ใช้สิทธิแสดงตนครับ โปรดเสียบบัตรแสดงตนครับ
(สมาชิกทําการเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตน)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ส่งผลคะแนนนะครับ มีผู้อยู่ในห้องประชุม ๓๖๕ ท่าน ถือว่าครบองค์ประชุมนะครับ
๑๔๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๖๗/๒

ผมจะขอมติจากที่ประชุมว่าจะรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
หรือไม่ เชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดเห็นควรรับหลักการโปรดกดปุ่ม
เห็ น ด้ ว ย ผู้ ใ ดเห็ น ไม่ ค วรรั บ หลั กการโปรดกดปุ่ ม ไม่ เห็ นด้ วย ผู้ ใดเห็ นควรงดออกเสี ย ง
โปรดกดปุ่ม งดออกเสียง เชิญลงมติได้แล้วครับ
(สมาชิกทําการเสียบบัตรแสดงตนและกดปุ่มลงคะแนน)
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : มีท่านใด
ไม่ ได้ ใ ช้สิ ทธิ ค รับ ส่ ง ผลคะแนนด้ ว ยครั บ ผู้ เ ข้ า ประชุ ม ๓๘๒ ท่ า น เห็ น ด้ ว ย ๓๘๒ ท่ า น
ตกลงว่าสมาชิกรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้นะครับ
๑๔๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๖๗/๓

ต่อไปขั้นตอนของการตั้งกรรมาธิการครับ เชิญครับ
นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม
พิ ษ ณุ หั ต ถสงเคราะห์ สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด หนองบั ว ลํ า ภู พรรคเพื่ อ ไทย
เสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญ จํานวน ๓๑ ท่าน ขอผู้รับรองครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

- ๖๘/๑
๑๔๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๖๘/๑

นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :


มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ เป็นของรัฐมนตรี ๕ ท่าน ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๒๖ ท่าน
พรรคเพื่อไทย จํานวน ๑๔ ท่าน พรรคประชาธิปัตย์ จํานวน ๘ ท่าน พรรคภูมิใจไทย ๒ ท่าน
พรรคชาติไทยพัฒนา จํานวน ๑ ท่าน พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล ๑ ท่าน
เชิญท่านรัฐมนตรีครับ
นายสุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ (รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ) :
ท่านประธานสภาผู้แทนที่เคารพ รัฐบาลขอเสนอ ๕ ท่าน โดยใช้ชุดเดิมครับ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
พรรคเพื่อไทยล่ะครับ ท่านพิษณุครับ
นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานที่เคารพครับ
พิษณุ หัตถสงเคราะห์ พรรคเพื่อไทย จังหวัดหนองบัวลําภู ขออนุญาตใช้ชุดเดิมกับของภูเก็ตครับ
ขอผู้รับรองครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้อง เชิญพรรคประชาธิปัตย์ครับ
นางสาวบุณย์ธิดา สมชัย (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานคะ บุณย์ธิดา สมชัย
พรรคประชาธิปัตย์ ขอใช้ชุดเดิมค่ะ ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้องครับ พรรคภูมิใจไทย จํานวน ๒ ท่าน เชิญครับ
นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช (ลพบุรี) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ
มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ของพรรคภูมิใจไทยใช้ชุดเดิมค่ะ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
พรรคชาติไทยพัฒนา จํานวน ๑ ท่านครับ
นายสรชัด สุจิตต์ (สุพรรณบุรี) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม
สรชัด สุจิตต์ พรรคชาติไทยพัฒนา ขอใช้ชุดเดิมครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
๑๔๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๖๘/๒

นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :


มีผู้รับรองถูกต้อง เชิญพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล
นายรณเทพ อนุ วั ฒ น์ (ชลบุ รี ) : กราบเรี ย นท่ า นประธานสภาที่ เ คารพ
กระผม รณเทพ อนุวัฒน์ พรรคพลังชล ขอเสนอท่านประสาท ตันประเสริฐ ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้อง ท่านเลขาธิการกรุณาอ่านชื่อครับ เพราะมีเปลี่ยนชื่อพรรคพลังชลด้วย
ใช่ไหมครับ คนเดิมใช่ไหม ชุดเดิมก็ไม่ต้องอ่านรายชื่อนะครับ ระยะเวลาการแปรญัตติครับ
นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ (หนองบัวลําภู) : ท่านประธานที่เคารพครับ
พิษณุ หัตถสงเคราะห์ เสนอแปรญัตติ ๗ วันตามข้อบังคับครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : ๗ วัน
ตามข้อบังคับนะครับ
ต่ อ ไปผมจะไปเรื่ อ งที่ ๕ ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ค วบคุ ม การใช้ ส ารต้ อ งห้ า ม
ทางการกีฬา พ.ศ. ....
๑๔๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๖๘/๓

ขอเชิญท่านรัฐมนตรีแถลงหลักการและเหตุผล
นายสุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ (รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ) :
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์
รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ได้ รั บ มอบหมายจากคณะรั ฐ มนตรี ใ ห้ นํ า เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้ สารต้ องห้ ามทางการกี ฬา พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี
เป็นผู้เสนอ ต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยมีหลักการและเหตุผล ดังต่อไปนี้
หลักการ เป็นการกําหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการใช้สารต้องห้าม
ทางการกีฬา
เหตุผล สืบเนื่องมาจากองค์ กรต่ อต้านการใช้สารต้องห้ามซึ่งเป็นองค์ก ร
เอกชนที่องค์กรกีฬานานาชาติยอมรับในมาตรฐานการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
ได้ ป ระกาศให้ ดํ า เนิ น การต่ อ ต้ า นการใช้ ส ารต้ อ งห้ า มทางการกี ฬ า โดยการสร้ า งทั ก ษะ
ความพร้อมทางกายภาพและจิตสํานึกทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ในการแข่งขันกีฬาด้วย
ความบริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นไปด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรมโดยไม่ต้องใช้สารต้องห้าม
รวมทั้ ง ให้ ก ารคุ้ ม ครองต่ อ สุ ข ภาพและความปลอดภั ย ของนั ก กี ฬ า เพื่ อ ให้ มี ม าตรการ
การควบคุมการใช้สารต้องห้ามที่สอดคล้องกับคําประกาศโคเปนเฮเกนว่าด้วยการต่อต้าน
สารต้องห้ามทางการกีฬา และส่งเสริมความร่วมมือด้านการกีฬากับนานาประเทศ
คณะรัฐมนตรีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะได้รับความเห็นชอบ
จากสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันกีฬาอย่างเป็นธรรม
พัฒนาศักยภาพและคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัยของนักกีฬาของประเทศไทย อันจะเป็น
ประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาประเทศไทย ในระดับนานาชาติต่อไป ขอบคุณครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : เนื่องจาก
มีพระราชบัญญัติทํานองเดียวกัน ๒ ฉบับนะครับ ของคุณนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง กับคณะ
เป็นผู้เสนอ เชิญคุณนิติวัฒน์ครับ

- ๖๙/๑
๑๔๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๖๙/๑

นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง (บัญชีรายชื่อ) : กราบเรียนท่านประธานครับ


กระผม นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา
ขอเสนอหลั ก การและเหตุ ผ ลประกอบร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ค วบคุ ม การใช้ ส ารต้ อ งห้ า ม
ทางการกีฬา พ.ศ. ....
หลักการ ให้มีกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
เหตุผล โดยที่องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกซึ่งเป็นองค์กรเอกชน
ที่องค์การกีฬานานาชาติยอมรับในมาตรฐานการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
ได้ ป ระกาศให้ ดํ า เนิ น การต่ อ ต้ า นการใช้ ส ารต้ อ งห้ า มทางการกี ฬ า โดยการสร้ า งทั ก ษะ
ความพร้ อ มทางร่ า งกาย และจิต สํ า นึ ก ทางด้ า นคุณ ธรรม จริ ย ธรรม ในการแข่ งขั น กี ฬ า
ด้ ว ยความบริ สุ ท ธิ์ ยุ ติ ธ รรม เป็ น ไปด้ ว ยความเสมอภาคและเป็ น ธรรมโดยไม่ ต้ อ งใช้
สารต้ อ งห้ า ม รวมทั้ ง ให้ ก ารคุ้ ม ครองต่ อ สุ ข ภาพ และความปลอดภั ย ของนั ก กี ฬ า
เพื่ อ ให้ มี ม าตรการควบคุ ม การใช้ ส ารต้ อ งห้ า มที่ ส อดคล้ อ งกั บ คํ า ประกาศโคเปนเฮเกน
ว่ า ด้ ว ยการต่ อ ต้ า นสารต้ อ งห้ า มทางการกี ฬ า และส่ ง เสริ ม ความร่ ว มมื อ ด้ า นการกี ฬ า
กั บ นานาชาติ ทางพรรคชาติ ไ ทยพั ฒ นาจึ ง เห็ น สมควรที่ จ ะต้ อ งตราพระราชบั ญ ญั ติ นี้
ขอบคุณครับ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
เรื่องทํานองเดียวกันนะครับ ของท่านสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อีกฉบับหนึ่งนะ ผมเห็นควรว่า
น่าจะพิจารณาไปพร้อมกัน ไม่มีท่านใดขัดข้องนะครับ
(ไม่มีสมาชิกมีความเห็นเป็นอย่างอื่น)
๑๔๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๖๙/๒

นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :


เชิญท่านสมบูรณ์ครับ
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล (ตรัง) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง พรรคประชาธิปัตย์
ท่ า นประธานที่ เ คารพครั บ กระผมและคณะ ส.ส. พรรคประชาธิ ปั ต ย์ ไ ด้ ร่ ว มกั น เสนอ
ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. .... เนื่องจากกฎหมาย
ฉบับดั งกล่าวทางรัฐบาลได้หยิบยกมาจากกฎหมายของรั ฐบาล ของท่ า นนายกรัฐมนตรี
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเราถือว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นกฎหมายเพื่อไว้ควบคุมการใช้
สารต้องห้ามทางการกีฬา โดยมีเหตุผลก็คือ โดยที่องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก
ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่องค์กรกีฬานานาชาติยอมรับในมาตรการควบคุมการใช้สารต้องห้าม
ทางการกีฬา ได้ประกาศให้ดําเนินการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
ท่านประธานครับ โดยเฉพาะเรื่องของการใช้สารต้องห้าม หรือการใช้ยาโด๊ป
(Dope) ในนักกีฬาเป็นที่สนใจมากในวงการกีฬา โดยเฉพาะถ้าท่านประธานจําได้การแข่งขัน
กีฬาโอลิมปิกเกมส์ที่ประเทศเกาหลี ขณะนั้นนักวิ่งดังของโลกก็คือ เบน จอห์นสัน กับคาร์ล ลูอิส
หลายคนเฝ้ า จออยู่ อ ย่ า งเต็ ม ที่ ดู ก ารแข่ ง ขั น วิ่ ง ๑๐๐ เมตร ผลปรากฏว่ า เบน จอห์ สั น
เข้าเส้นแบบฉายเดี่ยวเลยครับ เพียงแค่ ๓ วัน วงการกีฬาทั่วโลกก็ช็อก (Shock) เนื่องจาก
มีการตรวจสารสเตียรอยด์ (Steroid) จากนักกีฬาเบน จอห์นสัน ได้ทําให้วงการเรื่องยาโด๊ป
ในนักกีฬาจึงเป็นที่กล่าวขวัญแล้วก็เป็นที่พูดกันมาก ท่านประธานครับ การตรวจยาโด๊ป
เปรีย บเที ย บ ถ้า เหมื อ นกับ การเลื อ กตั้ง ก็ คือ เรามี กกต. ไว้ ต รวจจั บ ถ้ า เปรีย บเที ย บกั บ
การปฏิ บั ติ หน้ า ที่ ร าชการเราก็ คื อมี ป.ป.ช. หน่ ว ยงานนี้ ที่ ตั้ง ขึ้ น มา ก็คื อ คณะกรรมการ
ควบคุ ม ดู แ ลการใช้ ส ารต้ อ งห้ า มในคณะนั ก กี ฬ า ก็ คื อ หน่ ว ยงานที่ ไ ว้ จั บ โกงนั ก กี ฬ า
ท่านประธานครับ ผมพยายามได้ศึกษากฎหมายที่ทางรัฐบาลนําเสนอเข้ามา แต่ว่ามีบางประเด็น
ในรายละเอียดของกฎหมายฉบับดังกล่าวที่ผมคิดว่าทางพรรคประชาธิปัตย์และเพื่อน ส.ส.
หลายท่าน เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะมีการแก้ไขในรายละเอียดบางมาตรา ---------------------

- ๗๐/๑
๑๔๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ธัญรดา ๗๐/๑

เรื่องแรกก็คือที่ทางพรรคประชาธิปัตย์เราเป็นห่วงว่าการตั้งหน่วยงานใหม่
ขึ้นมามันจะกระทบต่องบประมาณหรือไม่ หลังจากที่เราได้สอบถามเจ้าหน้าที่เขาก็แจ้งว่า
อันนี้เป็นการตั้งสํานักงานของคณะกรรมการ แต่ สําหรับห้องทดลองหรือห้ องตรวจสอบ
สารกระตุ้ น ยั ง ตั้ ง อยู่ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ลเช่ น เดิ ม ท่ า นประธานครั บ การใช้ บุ ค ลากร
ก็ใช้บุคลากรของการกีฬาแห่งประเทศไทย และของมหาวิ ทยาลั ยเช่นเดิ ม เพราะฉะนั้น
ก็ คิ ด ว่ า การตั้ ง หน่ ว ยงานดั ง กล่ า วก็ ไ ม่ ก ระทบในเรื่ อ งของบุ ค ลากรและงบประมาณ
แต่เรายังเป็นห่วงว่าเรื่องโครงสร้างเนื่องจากเป็นโครงสร้างของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
แต่ ว่ า คนที่ เ ป็ น เลขานุ ก ารก็ คื อ ผู้ ว่ า การการกี ฬ าแห่ ง ประเทศไทย แล้ ว ก็ ผู้ ว่ า การ
ตั้งผู้ อํานวยการสถาบันเป็นเจ้าหน้า ที่คนใดคนหนึ่ งเป็น ผู้อํ านวยการ เพราะฉะนั้ นตรงนี้
มันอาจจะมีการลักลั่นกันในเรื่องของงบประมาณ ก็อยากให้คณะกรรมาธิการได้ดูแลเรื่องนี้
ให้อย่างใกล้ชิด
สิ่งที่เราเป็นห่วงเรื่องที่ ๒ ก็คือเรื่องสิทธิของนักกีฬา ท่านประธานคงทราบว่า
การใช้ยาโด๊ปหรือสารต้องห้ามนักกีฬาที่ตรวจพบมีอยู่ ๒ กรณี
ส่ว นที่ ๑ เจตนา หมายถึ งว่ า นั ก กี ฬาบางคนเจตนาที่จะได้ รั บสารกระตุ้ น
เพื่อไปเอาเปรียบคู่ต่อสู้ไม่ว่าจะโดยการเสพยาเข้าไป ไม่ว่าจะโดยการฉีดเข้าไปหรืออย่างไร
ก็แล้วแต่
ส่วนที่ ๒ ก็คือการที่นักกีฬารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ท่านประธานครับ สารเสพติด
หรื อ ยาโด๊ ป มี ห ลายประเภทครั บ บางครั้ ง อยู่ ใ นยาแก้ ห วั ด บางครั้ ง อยู่ ใ นยาแก้ ป วด
บางครั้งอยู่ในยาสเปรย์ (Spray) ชา นักกีฬาบางคนอาจจะมีโรคประจําตัว พอใช้ไปเสร็จ
ผลปรากฏว่ า พอตรวจโด๊ ป เขาถู ก จั บ เพราะฉะนั้ น ตรงนี้ ล ะครั บ เมื่ อ เราตั้ ง หน่ ว ยงาน
หรือตั้งคณะกรรมการเราดูว่าไปกระทบสิทธิเขาหรือไม่ ถ้าตั้งเราก็เชื่อว่าหน่วยงานดังกล่าว
คงจะทําให้สิทธิของนักกีฬาได้ดีขึ้น
ส่วนที่ ๓ เราเป็นห่วงว่าตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาแล้วมันไปกระทบกับ
ระบบการจัดการแข่งขันภายในประเทศหรือไม่ ในต่างประเทศผมไม่พูดถึง แต่ในประเทศ
มันกระทบหรือไม่ เพราะค่าใช้จ่ายในการตรวจโด๊ปของแต่ละคนท่านประธานครับใช้จํานวนเงิน
มหาศาล ท่านประธานคงจําได้ มันมีกีฬาแห่งชาติ มีการตรวจโด๊ปหรือตรวจสารต้องห้าม
ในนักกีฬาระดับกีฬาแห่งชาติในประเทศไทยครั้งแรกคือปี ๒๕๓๑ เป็นการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ
๑๕๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ธัญรดา ๗๐/๒

ครั้งที่ ๒๒ ที่จังหวัดสงขลา ท่านประธานทราบไหมครับ ขณะนั้นผมยังเป็นนักกีฬาแห่งชาติอยู่เลย


แต่เวลาเขาจะตรวจโด๊ปท่านประธานครับ เขาเอาผลของปัสสาวะหรือผลเลือดไปตรวจที่ไหน
ท่านทราบไหมครับ ต้องพาไปตรวจที่ประเทศออสเตรเลีย ไปตรวจที่ประเทศจีน ไปตรวจที่
ประเทศเกาหลี ใ ต้ ไปไกลมากจนกระทั่ ง สุ ด ท้ า ยเรามาได้ ตั้ ง ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล
พอตั้งที่มหาวิทยาลัยมหิดลก็ทําให้ขณะนี้ต่างประเทศเริ่มที่จะยอมรับประเทศไทยของเรา
ว่ า มี ห น่ ว ยงานที่ เ ป็ น มาตรฐานสามารถมั่ น ใจได้ ว่ า ถ้ า เกิ ด นั ก กี ฬ าประเทศอื่ น มาแข่ ง ขั น
ที่ประเทศไทย แน่นอนครับเรามีมาตรฐานในการตรวจสารต้องห้าม แต่ว่าเรื่องค่าใช้จ่ายนี่ครับ
ท่านประธาน ในส่วนที่ กกท. รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ หรือกีฬา
เยาวชนแห่งชาติ ค่าใช้จ่าย กกท. ตั้งไว้แล้ว แต่ว่าการแข่งขันอื่นครับ เช่น กีฬามหาวิทยาลัย
เช่น กีฬาของเหล่าทหาร หรือกีฬาอาชีพที่นอกเหนือจาก กกท. ตั้งงบ ตรงนี้เป็นค่าใช้จ่าย
ของใคร เป็นสิ่งที่เราเป็นห่วง เราก็ได้สอบถามกับทางคณะกรรมาธิการ ท่านประธานครับ
นอกจากนั้ น นอกจากด้ ว ยความเป็ น ห่ ว งครั บ ท่ า นประธาน เนื่ อ งจากการออกกฎหมาย
ฉบั บ ดั ง กล่ า วมั น ไปกระทบเรื่ อ งสิ ท ธิ ต ามรั ฐ ธรรมนู ญ แล้ ว มี ห ลายเรื่ อ งในรายละเอี ย ด
ที่ผมขออนุญาตท่านประธานก็คืออยากจะชี้แนะ โดยเฉพาะท่านรัฐมนตรีวันนี้รับหลายฉบับ
ด้ ว ยกั น ทั้ ง เรื่ อ งของศาลที่ เ ป็ น ศาลปกครองวั น นี้ ก็ รั บ เรื่ อ งของสาร แต่ เ ป็ น สารกระตุ้ น
ท่า นประธานครับ เรื่ อ งรายละเอี ย ดของ พ.ร.บ. ควบคุ ม การใช้ ส ารต้ อ งห้ า ม เรื่ อ งแรก
ที่ผมอยากให้โดยเฉพาะท่านรัฐมนตรีได้ไปแจ้งถึงผู้ที่รับผิดชอบ -------------------------------

- ๗๑/๑
๑๕๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๗๑/๑

ท่านรัฐมนตรีได้ไปแจ้งถึงผู้ที่รับผิดชอบนะครับ ท่านประธานครับ ท่านประธานเคยได้ยิน


ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองที่ดูแลเรื่องกีฬา ถูกสั่งห้ามเรื่องมีการตรวจจับโด๊ปได้ไหมครับ
ท่านประธานอาจจะเคยได้ยินว่ามีนักกีฬาไทยบางคนไปแข่งขันกีฬาซีเกมส์ (Sea Games)
บางคนไปแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian Games) สุดท้ายถูกตรวจสารต้องห้าม นักกีฬา
ถูกบังคับ ถูกตัดสิทธิห้ามแข่งขันกีฬาภายใน ๒ ปี ถ้าตรวจพบเจอต่อไปห้ามแข่งขันตลอดชีวิต
ห้ามโคช (Coach) เข้ ามาแข่งขั นกีฬา ท่านประธานทราบไหมครั บ ผู้ หลั กผู้ ใหญ่ ไม่ เคยโดน
เหตุผลเพราะอะไรครับ เพราะกฎหมายเอื้อมไปไม่ถึง วันนี้กฎหมายของทางรัฐบาลเสนอเข้ามา
มันจะมีคนที่เกี่ยวข้องก็คือนักกีฬาและก็ผู้ที่ให้การสนับสนุนหรือบุคคลที่สนับสนุนการกีฬา
ตามมาตรา ๓ นะครับ หมายถึงผู้ฝึกซ้อม ผู้จัดการ ตัวแทนเจ้าหน้าที่ร่วมทีม ท่านประธาน
เห็นไหมครับวันนี้ผมต่างกับทางรัฐบาล ผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่าของผมต่า ง
ก็ คื อ ผมเพิ่ ม เติ ม คํ า ว่ า คณะกรรมการบริ ห ารสมาคมกี ฬ า ทํ า ไมผมพู ด อย่ า งนี้ ค รั บ
ผมยกตัวอย่างให้ท่านประธานฟังว่าเวลานักกีฬาไปแข่งขันต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่แล้วนักกีฬา
ไม่ ค่ อยรู้ หรอก กลยุ ทธ์ ที่ จะทํ าให้ เขาชนะโดยการโกงทํ าอย่ างไรบ้ าง ในการไปตรวจโด๊ ป
บางสมาคม ขออภัยนะครับท่านประธานใช้การฉีดสารฮอร์โมน (Hormone) เพศชายให้กับ
นั ก กี ฬ าผู้ ห ญิ ง เพราะมี ค วามเชื่ อ ว่ า ถ้ า นั ก กี ฬ าผู้ ห ญิ ง ได้ รั บ ฮอร์ โ มนเพศชายทํ า ให้
สามารถแข่งขันแข็งแรงขึ้น ทนทานขึ้น สุดท้ายครับนักกีฬาหญิงบางคนเสียงห้าว มีหนวด
บางคนประจํา เดื อ นยัง ไม่ ห มดเลยครั บ มั น ส่ งผลต่ อ ระยะยาว นัก กีฬ าคนนี้ ถูก ตรวจจั บ
สุดท้า ยผู้บ ริห ารสมาคมโดนตรวจจับ ไหมครั บ ไม่ ยัง ลอยหน้ า ลอยตาอยู่ ส บาย นั ก กีฬ า
บางคนเป็นถึงแชมป์ (Champ) โลกครับ ผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่าเป็นถึงแชมป์โลก
ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับโลกนะครับ ถูกห้ามเนื่องจากถูกตรวจจับเรื่องสารต้องห้าม
แล้วการใช้ชีวิตปัจจุบันท่านประธานทราบไหมครับ เข้าโรงพยาบาลบ้าทุกเดือนผู้บริหารสมาคม
เป็ นอย่ างไรครั บ อยู่ สบายมาก สามารถที่ จะก้ าวไปสู่ ระดั บนานาชาติ ได้ เลยสบายวั น นั้ น
เขายกเหรียญชูมือนักกีฬาเต็มที่ ผมเลยบอกว่าบางทีครับเราลงโทษเฉพาะนักกีฬา โคช
แต่เราไม่ได้เคยถึงผู้จ้างวานเลย วันนี้ผมเลยใส่เข้าไป เพื่อใครก็แล้วแต่ถ้าเกิดมีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการโด๊ปนักกีฬาหรือให้สารต้องห้ามจะต้องมีความผิดเช่นเดียวกัน
๑๕๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) กนกวรรณ ๗๑/๒

เรื่องที่ ๒ เรื่องสิทธิของนักกีฬา ก็คือเขาให้อํานาจของเจ้าหน้าที่ครับท่านประธาน


สรุปก็คือให้อํานาจของเจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปตรวจในเคหะสถานได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้น
และพระอาทิตย์ตก โดยไม่ต้องมีหมายศาล ผมเชื่อว่ากฎหมายขณะนี้นะครับ เขาให้สิทธิ
กับพี่น้องประชาชนในเรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๓ ก็คือการจะเข้าไปตรวจค้นเคหะ
จะต้องใช้หมายศาลเท่านั้น แต่ว่าในกฎหมายฉบับดังกล่าวให้สิทธิเจ้ าหน้า ที่ซึ่งผมคิดว่ า
มั น จะไปละเมิ ด สิ ท ธิ ข องพี่ น้ อ งประชาชน ท่ า นประธานครั บ ก็ ค งมี อี ก หลายประเด็ น
ที่ผมอยากให้ทางคณะกรรมาธิการได้ทํากฎหมายฉบับนี้ให้ดี เราจะได้รับการยอมรับจาก
ทั่วโลกครับว่าประเทศไทยของเรามีหน่วยงาน มีคณะกรรมการที่ควบคุมการใช้สารต้องห้าม
และสิ่งสําคัญครับ จะเป็นประโยชน์สําหรับเยาวชนหรือคนรุ่นหลังเขาจะได้ไม่ต้องหลงผิดนะครับ
เขาจะได้ไม่ต้องเดือดร้อนบาดเจ็บเหมือนกับเช่นปัจจุบัน และโดยเฉพาะเราจะได้สร้างความเชื่อถือ
กลับมาครับ จากความเชื่อถือการแก้ปัญหาน้ําท่วม ซึ่งทั่วโลกกําลังสะบัดหน้า วันนี้เราเอา
ความเชื่อมั่นกลับมา ผมสนับสนุนให้มี พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวให้ผ่านวาระที่หนึ่งด้วยครับ
ขอบคุณครับท่านประธาน
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : อย่างนี้
นะครับ ผมดูแล้วจะมีผู้ใช้สิทธิในการอภิปรายหลายท่าน ผมขอท่านละไม่เกิน ๑๐ นาที
นะครับ เชิญท่านนคร มาฉิม ครับ

- ๗๒/๑
๑๕๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สวรรยา ๗๒/๑

นายนคร มาฉิม (พิษณุโลก) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายนคร


มาฉิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธานที่เคารพครับ
ผมขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. .... ทุกฉบับ
ที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ ท่านประธานที่เคารพครับ
โดยที่องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามของโลกซึ่งเป็นองค์กรภาคเอกชนในระดับสากล
ในระดั บ โลกนะครั บ ซึ่ ง เป็ น การรวมตั ว กั น ขององค์ ก รของภาคเอกชนในระดั บ สากล
เพื่อที่จะให้กระบวนการหรือการแข่งขันทางการกีฬาเป็นการพัฒนาศักยภาพทางกายภาพ
ของมนุษย์ของมวลมนุษยชาติให้เป็นไปเพื่อความแข็งแรง เพื่อความมีระเบียบ ความมีวินัย
ทางการกีฬาอย่างแท้จริง แล้วก็เพื่อที่จะพัฒนาสมรรถภาพขั้นสูงสุดของมนุษย์ที่จะสามารถ
ที่จะพัฒนาได้ แต่กระบวนการของการใช้สารกระตุ้นหรือสารเคมีเพื่อที่จะเพิ่มสมรรถภาพ
หรือสมรรถนะทางร่างกายของนักกีฬาบางคน บางกลุ่มก็กลายเป็นว่าทําให้สภาพร่างกาย
ของเขาแข็ ง แกร่ ง เกิ น กว่ า ร่ า งกายของคนที่ เ ป็ น ปกติ ส ามารถที่ จ ะทํ า ได้ ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น
การดํ า เนิ น การหรื อ เป็ น การกระทํ า ที่ ข าดคุ ณ ธรรม แล้ ว ก็ ข าดจริ ย ธรรมในการที่ จ ะให้
มวลมนุ ษ ยชาติ พั ฒ นาทางกายภาพของตนเองให้ เ ป็ น หนึ่ ง แล้ ว ก็ โ ดยความสุ จ ริ ต
แล้ ว ก็ ยุ ติ ธ รรม ไม่ ว่ า จะเป็ น ชนชาติ ไ หนหรื อ ว่ า เผ่ า พั น ธุ์ ใ ดก็ แ ล้ ว แต่ อั น นี้ ก็ คื อ หลั ก การ
ที่ทางองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกนี้ได้รวมตัวกัน แล้วก็กําหนดเป็นคําประกาศ
ขึ้ น มาที่ โ คเปนเฮเกน ท่ า นประธานที่ เ คารพครั บ เพราะฉะนั้ น ผมเองจึ ง ขอถื อ โอกาสนี้
สนับสนุนหลักการ เหตุผล เพื่อที่จะให้รัฐบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการที่จะบังคับใช้
กฎหมาย ถ้าเกิดว่าผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วนะครับ ดําเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง
และร่ ว มกั น ปลู ก จิ ต สํ า นึ ก ต่ อ นั ก กี ฬ าหรื อ องค์ ก รที่ เ กี่ ย วกั บ กี ฬ าทุ ก ประเภทนะครั บ ว่ า
จากนี้ ไปประเทศไทยของเรา หน่ว ยงานของเรา และรั ฐ บาลของเราจะไม่ มีก ารส่ งเสริ ม
หรือสนับสนุนทุกกระบวนการในการที่จะให้มีการใช้สารกระตุ้น ซึ่งจะทําให้ความผิดปกติ
เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างเช่นที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปแล้ว ท่านประธานที่เคารพครับ
นอกเหนือจากนั้นการอนุวัติตามสากล การอนุวัติตามหลักที่เป็นสากลทั่วโลกก็ควรที่ประเทศ
ของเราจะเร่งดําเนินการ
๑๕๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สวรรยา ๗๒/๒

ส่วนประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากกราบเรียนต่อท่านประธานฝากไปยัง
รัฐบาลแล้วก็โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ก็คือในปัจจุบัน
การบริหารจัดการองค์กรทางกีฬาหรือหน่วยงาน หรือสมาคมทางการกีฬา แน่นอนครับ
บางสมาคม บางหน่วยงาน บางองค์กรเขาก็มีอิสระในการที่จะบริหารจัดการในองค์กรนั้น
แต่สิ่งที่ผมอยากจะตั้งข้อสังเกตก็คือการบริหารจัดการองค์กรบางองค์กร ผมยกตัวอย่าง
ที่สื่อสารออกมาในระดับประเทศต่อสาธารณะ แล้วก็ในระดับสากลมีข่าวต่อเนื่องในทางที่
เป็นผลลบต่อประเทศและสมาคมนั้น ๆ ก็คือสมาคมฟุตบอล ท่านประธานที่เคารพครับ
ถึ ง เวลาแล้ ว หรื อ ยั ง ที่ รั ฐ บาลและรั ฐ มนตรี ที่ กํ า กั บ ดู แ ลจะเข้ า มากํ า กั บ และมี ส่ ว นร่ ว ม
ในการสะสางเพื่อที่จะพัฒนาฟุตบอลไทยให้เป็นหนึ่งในภูมิภาคให้ได้ สมัยก่อนตั้งแต่สมัยผม
เป็ น เด็ ก การแข่ ง ขั น กี ฬ าฟุ ต บอลแต่ ล ะครั้ ง จะมี ก ารถ่ า ยทอดทั้ ง วิ ท ยุ ทั้ ง โทรทั ศ น์
และการแข่งขันกีฬาฟุตบอลไทย นักฟุตบอลไทยในสมัยก่อน ๑๐ กว่าปี ๒๐ ปี ก่อนหน้านี้
คู่แข่งของไทยที่สูสีแล้วก็สมน้ําสมเนื้อมากที่สุดก็คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ

- ๗๓/๑
๑๕๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) วาสนา ๗๓/๑

แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่าพัฒนากันอย่างไรครับ ตอนนี้เราตกแล้วตกอีกในทุกการแข่งขันกับประเทศ
เพื่อนบ้าน ไม่ต้องพูดถึงในระดับเอเชียครับ เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง
ก็ขอถือโอกาสนี้ก ราบเรียนผ่ านท่านประธานฝากไปยังรัฐบาลและรัฐมนตรี ที่รั บผิ ดชอบ
โดยตรงว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะถือโอกาสนี้มาสะสางกระบวนการในการบริหารจัดการ
เพื่อคนในชาติ เพื่อความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยที่ได้เห็นกีฬาของเราทุกประเภทพัฒนา
และพวกเราจะมีความภูมิใจในความเป็นชาติไทยด้วย ขอบพระคุณครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : ท่านจิรายุครับ
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ (กรุงเทพมหานคร) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม จิรายุ
ห่วงทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ฟังท่านนคร มาฉิม
แล้วพลอยนึกถึงตอนเด็ก ๆ ท่านประธานครับ เวลาดูฟุตบอล ตอนเย็น ๆ โอ้โฮลุ้นตั้งแต่
ไทย-เกาหลีใต้ ไทย-ญี่ปุ่น หลัง ๆ นี้ดูไทย-เวียดนามยังไม่แน่ใจว่าจะชนะหรือเปล่านะครับ
แต่ประเด็ นที่น่ าสนใจท่านประธานครับ พระราชบั ญญั ติฉบับนี้ ผมเคยเป็น ผู้สื่อข่ าวกีฬา
ตามนักกีฬาอาชีพท่านหนึ่งไปแข่งขันที่ประเทศอังกฤษครับ แล้วก็นักกีฬาท่านนั้นปรากฏว่า
ร้องไห้ทั้งน้ําตาก็คือถูกปรับโด๊ป ท่านประธานครับ ประเด็นที่น่าสนใจก็คือพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้มีคํานิยามหลากหลายท่านประธานครับ อย่างที่ท่านสมาชิกที่เสนอแล้วก็มีการปรับแก้
เป็ น คณะกรรมการสมาคมกี ฬ า ผมเห็ น ด้ ว ยครั บ เพราะว่ า นั ก กี ฬ ามั น มี ห ลายประเภท
ท่ า นประธานครั บ ทั้ ง แข่ ง ประเภทเดี่ ย ว ประเภทที ม ประเภทใช้ อุ ป กรณ์ แน่ น อนครั บ
บุ ค คลซึ่ ง สนั บ สนุ น การกี ฬ าตามคํ า นิ ย ามนี้ ท่ า นประธานครั บ ไม่ ไ ด้ ห มายความรวมถึ ง
สปอนเซอร์ (Sponsor) นะครั บ เดี๋ ยวนี้ มี สปอนเซอร์ ครั บ จิ รายุ ลู กเจ้ าแม่ คลองสามวายิ ม
อย่างนี้เป็ นต้น พวกนี้ มีเ ดิม พัน เดิมพั นมากกว่ านั กกี ฬาที่ต่อยมวย หรือเดิ มพั นมากกว่ า
นักกีฬาที่วิ่ง ๔ คูณ ๑๐๐ เมตร ผมอยากจะให้เพิ่มคําเหล่านี้เข้าไปครับ คํานิยามที่ว่าพวกร่างทรง
ทั้งหลายแหล่ที่เป็นสปอนเซอร์ไปแปะตรงกางเกงมวย อีกหน่อยแปะหน้าผากได้แปะกันไป
แล้วท่านประธานครับ พวกนี้มีผลต่อกระบวนการที่จะทําให้นักกีฬาชนะครับ นี่เป็นประเด็น
ที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ต้องดูรายละเอียดด้วยนะครับ ไม่ใช่ท่านแค่จะไปดูตัวนักกีฬา
คนที่อยู่รอบ ๆ ตัวนักกีฬา คนที่ให้เงินอุดหนุนนักกีฬานอกจากสมาคมที่เป็นประเภทเดี่ยว
ก็ น่ า สนใจ นอกจากนี้ ท่ า นประธานครั บ พระราชบั ญ ญั ติ ฉ บั บ นี้ เ กิ ด ขึ้ น ในประเทศไทย
ผมก็ต้องฝากท่านรัฐมนตรีไปดูเนื้อหาด้วยครับ สมมุติว่าเขามาแข่งกับเราเขาแฮปปี้ (Happy) ครับ
๑๕๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) วาสนา ๗๓/๒

เขามาจากเกาหลีใต้ เขามาจากอเมริกา มาจากยุโรปเขาแฮปปี้ครับ เพราะเขาใช้พระราชบัญญัติ


ของไทยประกอบกับไอโอซี (IOC) ก็คือคณะกรรมการโอลิมปิก (Olympic) แต่ท่านประธาน
ทราบไหมครั บ และถ้ า เราไปแข่ ง กั บ เขาเราจะเสี ย เปรี ย บ ผมยกตั ว อย่ า งอย่ า งนี้ ค รั บ
ทําให้ผมนึกถึงนักฟุตบอลสมัยก่อนที่ไปแข่งขันฟุตบอล ซึ่งวันนี้เราอาจจะมองว่าฟุตบอลไทย
ไปมวยโลกนี่นะครับ สมัยก่อนเราไปแข่งยังรู้สึกว่าเขาอึดกว่า ท่านประธานครับ เราถามต่อว่า
เขาทานอะไรไป สมัยก่อนทําข่าวกีฬากันนักกีฬาหิ้วอะไรไปรู้ไหมครับ เวลาผู้สื่อข่าวไปถาม
สายกีฬาเอาอะไรมาทานบ้างมาเมืองนอกอเมริกานี่ ข้าวเหนียวท่านประธานครับ น้ําพริกบ้าง
สารพัดที่จะนําไปทานด้วยความเชื่อว่ากินเข้าไปแล้วมันมีพลังครับ ที่ผมจะบอกไปยังคนที่
ร่างพระราชบัญญัตินี้แล้วก็เป็นข้อสังเกตไว้ให้ท่าน พืชพันธุ์ธัญญาหารหลากหลายในประเทศไทย
มีคุณประโยชน์เป็นเชิงบวก พืชพันธุ์ธัญญาหารบางชนิดน่าสนใจนะครับ ทานเข้าไปไม่ได้
ถูกระบุเลยนะครับว่าเป็นสารต้องห้าม แต่ทําให้เกิดมีพลังครับ เช่นทานเข้าไปแล้วเพิ่มโปรตีน
โปรตีนเหล่านี้ไปเพิ่มกล้ามเนื้อ อย่างนี้เป็นต้น ท่านต้องเขียนให้ชัดเจนนะครับ รวมไปถึง
เรื่ อ งของการแพทย์ ด้ ว ยว่ า กรมการแพทย์ ต่ า ง ๆ ไม่ ว่ า จะเป็ น แพทย์ แ ผนไทย สมมุ ติ ว่ า
นักกีฬาของเราเข้าไปอบในตู้เซานา (Sauna) แล้วก็มีสารอะไรต่าง ๆ ที่ใส่เข้าไปในหินร้อน ๆ
แล้วก็โขมงโฉงเฉงกั นอยู่ในห้องแล้ว มันทําให้ร่ างกายสดชื่น ปรากฏว่าสารเหล่านี้ มันซึม
เข้าตามผิวหนัง เข้าสู่เส้นเลือด แล้วก็ไปแข่งขันกีฬาอย่างนี้ แล้วถ้าเกิดมีการตรวจสอบขึ้นมา
อย่างนี้ถือว่าโด๊ปหรือไม่ เอาละสมมุติว่าว่าถูกกล่าวหาว่าโด๊ปเพราะไปรมควันสมุนไพรไทย
ปรากฏว่าพอตรวจโด๊ปปุ๊บลงโทษ ๒ ปี ห้ามแข่งขัน อย่างนี้ทําอย่างไรครับ ฝรั่งที่เขามาใช้
พระราชบัญญัติแบบนี้เขาบอกถ้าอย่างนั้นไทยบอกว่าลงโทษเพราะมีสารต้องห้าม วิธีการ
เข้ าสู่ ร่างกายมี หลากหลายท่ านประธานครับ การฉี ดนี่ ชั ดเจนอยู่ แล้ วมันคื อโด๊ป สเตี ยรอยด์
จะทําให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะวิ่ง ๔ คูณ ๑๐๐ เมตร วิ่งได้เร็วกว่า อันนี้ชัดเจนครับว่าเจตนา

- ๗๔/๑
๑๕๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) พรธิดา ๗๔/๑

แต่ประเภทที่ไม่เจตนาท่านประธานน่าเป็นห่วงครับ เพราะนักกีฬาหลายท่านก็มีนัยสําคัญ
ที่ เ วลาจะแข่ ง ขั น กี ฬ า เช่ น ดื่ ม น้ํ า บางชนิ ด เช่ น น้ํ า สมุ น ไพร น้ํ า แปะก๊ ว ย อย่ า งนี้ ค นที่
ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ท่ า นต้ อ งไปเขี ย นให้ ล ะเอี ย ดว่ า บั ญ ชี ย าทั้ ง หลายแหล่ ค นไทยทาน
ไม่มีปัญหาพอไปแข่งที่โอลิมปิก ไปแข่งที่อเมริกา ไปแข่งกีฬาอาเซียนต่าง ๆ กลายเป็นบัญชียา
ของฝรั่งเขาเพราะเกิดจะมีสารบางอย่างเข้าไปเกี่ยวข้อง อย่างนี้เป็นข้อสังเกตที่ท่านต้องรับรู้ไว้
นะครับ
เรื่ อ งต่ อ มาที่ น่ า สนใจท่า นประธาน ขอโทษครั บ ไปดู ใ นบทนิย ามท้ า ยสุ ด
บทลงโทษน่ารักมาก เต็มที่ก็ห้ามแข่งขัน บางอย่างมากสุดก็คือตลอดชีวิต ผมถามว่านักกีฬา
คนหนึ่งถ้าไม่ได้มีเจตนา เช่น สมมุติว่าเราจะไปฆ่าคนตาย มีคนยืนข้างหลังผมถือมีดอยู่ดี ๆ
ผลักมือผมไปแทงอย่างนี้ ผมไม่ได้เจตนาแต่ตายเหมือนกัน แต่การลงโทษก็ต้องแยกแยะ
ท่านประธานไปดูในรายละเอียด คณะกรรมการโอลิมปิกเขียนไว้ชัดเจน ถ้าจับได้ว่ามีการโด๊ป
ไม่ว่าจะเป็นสารชนิดใด จะเอาเข้าร่างด้วยวิธีการใดก็แล้วแต่ จะการฉีด การทา การดม
วิ ธี ก ารหลากหลายเขาปรั บ เท่ า ไรท่ า นประธานรู้ ไ หมครั บ ๑๐๐,๐๐๐ เหรี ย ญสหรั ฐ
วันนี้ ๓๐ บาทท่านประธานครับ สูงสุดไม่เกิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท ของเรานี้เขียนง่าย ๆ
ท่า นประธานครั บ บทลงโทษ ผู้ใ ดฝ่ า ฝืน ไม่ป ฏิบัติ ต ามก็ ตัด สิ ท ธิ เ ข้ า ร่ว มการแข่ งขั น กี ฬ า
ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการพิจารณาโทษกําหนด ตัดสิทธิการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา
ทุกรายการตลอดชีวิต ต่อยมวยแล้วไปปั่นจักรยานไม่ได้นะท่านประธานครับ เพราะฉะนั้น
เรื่องนี้น่าสนใจนะครับท่านประธาน เพื่อนสมาชิกอภิปรายไว้เมื่อสักครู่นั้นว่าละเมิดสิทธิ
ส่ ว นบุ ค คลหลายเรื่ อ ง ผมก็ คิ ด อย่ า งนั้ น แต่ ภ าพรวมดี ตั ด สิ ท ธิ เ ข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น กี ฬ า
ทุกรายการตลอดชีวิต ทั้ง ๆ ที่เ ขาต่ อ ยมวย สมมุติว่ าเขาจะโดนโด๊ ปด้ วยวิ ธีก ารอย่ างไร
ก็แล้วแต่ หลับไปคืนหนึ่งใครแกล้งเอายามารม หรือไปแอบฉีด หรือไปผสมเข้าไปในอาหาร
ต่าง ๆ เขาต้องถูกตัดสิทธิ เขาจะไปปั่นจักรยานไม่ได้นะครับ เขาจะไปวิ่ง ๔ คูณ ๑๐๐ เมตร
ไม่ ไ ด้ น ะครั บ ท่ า นประธาน นอกจากนี้ ก ารตั ด การแข่ ง ขั น ตลอดชี วิ ต นั้ น ผมไม่ เ ห็ น ด้ ว ย
ท่านประธานครับ คนเรายังมีการอภัยโทษ ถ้าโทษสูงสุดแบบนี้ก็จะไปอยู่ที่ดุลยพินิจของ
คณะกรรมการ บางเรื่องนัก กีฬาคนไทยบางคนเก่งวิ่ง ๔ คู ณ ๑๐๐ หรื อวิ่ง ๑๐๐ เมตร
เราเชี ย ร์ กั น ใจขาด สมั ย ก่ อ นลมกรดสาวตั ว ดํ า ๆ ขออภั ย ครั บ ผมจํ า ได้ เ ธอวิ่ ง เร็ ว มาก
นั่นหมายความว่าสมัยก่อนเราไม่มีเรื่องพวกนี้ คนเหล่านั้นวิ่งเร็วเพราะอะไร เพราะฉะนั้น
๑๕๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) พรธิดา ๗๔/๒

ประเด็นที่น่าสนใจ ก็ คื อท่ า นช่ว ยกรุ ณาพิจ ารณาว่า ถ้ าเกิดบุ คคลที่เ ป็น นั ก กีฬาไปใช้ สาร
ด้วยวิธีเจตนา เช่น ตั้งใจเลยใช้ไซรินจ์ (Syringe) ดึงเข้าไป ป๊าบเข้าไป แล้วเดี๋ยววิ่งออกไป
แข่งอย่างนี้ชัดเจน แต่ถ้าเกิดมีคนรอบตัวเข้าไปทําให้เขามีพลังมากขึ้น วิ่งทน วิ่งมาราธอน
วิ่งได้นานขึ้นถึง ๑๕ นาที อย่างนี้ก็ชนะคนอื่นอยู่แล้วท่านประธานครับ ก็เ ป็นข้อสังเกต
ที่ หลากหลาย แต่ ว่ า อย่า งไรก็แล้ว แต่ ผ มขอให้คิ ดถึงระหว่า งประเทศ ท่ า นประธานครั บ
ฝรั่งเขาได้เปรียบกว่าเราทางกายภาพ สูง ต่ํา ดํา เตี้ย สู้เขาไม่ได้อยู่แล้ว กีฬาบางชนิดเขาพัฒนา
ทางด้ านกายภาพ ผมเชื่ อ ว่า คนญี่ ปุ่น คนเกาหลี คนเกาหลี กิน กิ ม จิ เ ขาก็ เ ชื่อว่ า เขามี พลั ง
ถ้าวันดีคืนดีเขาบอกกิมจิมีสารฮอร์โมนสเตียรอยด์ผสมเข้าไป เขากินมาทั้งชีวิตก็ทําให้มีแรง
อย่างนี้จะทําอย่างไร ก็ฝากให้กับคณะกรรมการที่ร่างพระราชบัญญัตินี้ ตอนร่างท่านเห็น
ภาพรวมเขียนกว้างมาก แต่รายละเอียดน่ากลัวกว่าที่คิด เช่น ผู้ให้การสนับสนุน ตัวนักกีฬา
ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลังจากที่ไปแข่งแล้วโดนจับได้ว่าตรวจโด๊ปปรากฏว่ามีสาร ส่วนกรณีที่ท่าน
บอกว่ากรณีที่ไม่สบาย ผมอ่านในพระราชบัญญัติฉบับนี้ตั้งแต่การกีฬาร่างตั้งแต่ประมาณ
ปี ๒๕๔๕ เขาเขียนไว้ชัดเจน นักกีฬาบางประเภทที่ไม่ได้ใช้พลังแข่งขัน เช่นเล่นหมากรุก
มันก็ไม่ใช่กีฬา อย่างนี้เขาใช้สารต้องห้ามบางชนิดได้แต่ท่านต้องมีใบแพทย์ อย่างนี้ท่านก็ต้อง
ระบุในรายละเอียดว่า เช่นเป็นโรคหืดหอบ เขาจะมีฉีด มีพ่น พวกนี้เป็นสารกระตุ้นที่จะขยายปอด
ให้กว้างขึ้น ขยายปอดกว้างขึ้นก็มีพลังมากขึ้น เดินได้นานขึ้น วิ่งได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นอย่างนี้
ท่านต้องเขียนให้ชัด ในชั้นคณะกรรมาธิการผมก็ขอเรียนเสนอว่าท่านช่วยกรุณาพิจารณา
ผู้ให้การสนับสนุนว่าผู้ให้การสนับสนุนนอกเหนือจากที่ท่านเขียน พวกสปอนเซอร์ทั้งหลายแหล่
ที่มีเดิมพันกันหลัก ๑๐๐ ล้านบาท ๑,๐๐๐ ล้านบาท จะทําอย่างไร อุปกรณ์ต่อเนื่องต่าง ๆ
ที่จะใช้วิธีการมากกว่าสารที่จะไปพึ่งจากร่างกาย เช่น เสื้อผ้า เสื้อผ้าบางชนิดก็มีสรรพคุณ
ที่ทําให้นักกีฬาอดทนมากขึ้น นาโน (Nano) ทั้งหลายแหล่ก็มีศักยภาพที่เป็นแรงกระตุ้นเหมือนกัน
ถ้าท่านจะเขียนท่านต้องครอบคลุมคําว่า สาร ไม่ใช่เอาแต่เข้าร่างกายอย่างเดียว --------------

- ๗๕/๑
๑๕๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๗๕/๑

บางทีสัมผัสกายมันก็มีพลังครับ เหมือนผมนั่งอยู่นี้ คุณพลภูมิพูดจาให้ผมมีพลัง ส.ส. กทม.


เหมือนกัน อย่างนี้ก็มีพลังครับ เพราะฉะนั้นไม่จําเป็นที่บางอย่างจะต้องเข้าไปในร่างกายครับ
เห็ น ด้ ว ยกั บ ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ฉ บั บ นี้ แต่ ข อดู ใ ห้ ค รบทั้ ง ๔ มิ ติ เพื่ อ ที่ จ ะได้ ไ ปต่ อ สู้ กั บ
การแข่ ง ขั น กี ฬ า คราวหน้ า ผมจะได้ ดู ฟุ ต บอลไทยไปแข่ ง ขั น กั บ ประเทศเกาหลี ห รื อ ว่ า
ประเทศญี่ปุ่นครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : ท่านจุลพันธ์ครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ (เชียงใหม่) : ท่านประธานที่เคารพ กระผม จุลพันธ์
อมรวิวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่จากพรรคเพื่อไทย ต่อร่างพระราชบัญญัติ
ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. .... ซึ่งทาง ครม. และเพื่อนสมาชิกหลายท่าน
ได้เสนอประกบเข้ามานะครับ ผมกราบเรียนอย่างนี้ โดยร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม
ผมเองให้ความเห็นชอบแล้วก็สนับสนุนในวาระที่หนึ่งที่จะให้มีการผ่านจากสภาผู้แทนราษฎร
แห่งนี้ไป เพราะว่ามันเป็นความจําเป็นและเป็นความสําคัญอย่างยิ่งยวดในการที่จะพัฒนา
มาตรฐานของการกีฬาไทยให้เทียบเท่ากับประชาคมโลก วันนี้หลายประเทศ เขาได้มีการผ่าน
ร่างกฎหมายที่เป็นไปตามล้อไปกับคําประกาศโคเปนเฮเกนเกี่ยวกับเรื่องของการห้ามใช้
สารต้องห้ามทางกีฬาเรียบร้อยแล้ว วันนี้ไทยเราก็กําลังจะมีร่างพระราชบัญญัติซึ่งจะทําให้
ระดับมาตรฐานของเราเข้าสู่สากลเสียที ผมเองรอพระราชบัญญัติฉบับนี้มาเป็นเวลานาน
พอสมควรนะครับ
ในส่วนประโยชน์คงไม่ต้องพูดถึงกันของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เพราะว่า
เป็นความจําเป็น ไม่ใช่เป็นประโยชน์อย่างเดียวแต่เป็นความจําเป็นต่อการกีฬาของไทย
แต่ ผ มเองจะเข้ า สู่ ป ระเด็ น ที่ อ ยากจะฝากเพื่ อ นที่ มี โ อกาสเป็ น กรรมาธิ ก ารเกี่ ย วกั บ
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปช่วยพิจารณา เป็นประเด็นปัญหาครับ
ปั ญ หาแรก มั น มี ก ารตราเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งของพนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ซึ่ ง ได้ รั บ
มอบหมายจากคณะกรรมการที่เกี่ยวเนื่องกับสารต้องห้ามนี้ โดยมีการให้อํานาจเขาไว้กว้าง
พอสมควร ซึ่งอาจจะเป็นการละเมิดถึงสิทธิส่วนบุคคล ผมเองอ่านร่างพระราชบัญญัติแล้ว
ผมก็เห็นถึงความน่าเป็นห่วง เช่น เรื่องของการสามารถเข้าไปเก็บตัวอย่างเพื่อการตรวจหา
สารต้ อ งห้ า มในสถานที่ ใ ด ๆ ที่ นั ก กี ฬ าอยู่ ใ นระหว่ า งพระอาทิ ต ย์ ขึ้ น ถึ ง พระอาทิ ต ย์ ต ก
ใช้คําซึ่งกว้างมากครับ ผมอาจจะนอนตื่นสาย ๘ โมง ตื่นขึ้นมา ๖ โมงครึ่ง พระอาทิตย์ข้ึน
๑๖๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เสาวลักษณ์ ๗๕/๒

เขาไปเคาะประตูบ้านผมต้องเปิดให้เขาเข้ามาค้นเลยนะครับ มากกว่ามีหมายศาลอีกนะครับ
นี่เทียบเท่ากับท่านมีหมายศาลตลอดเวลา สําหรับนักกีฬาทุกประเภทที่ท่านกําหนดไว้ ซึ่งจุดนี้
เป็นจุดซึ่งอาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิ ดสิทธิของคนที่จะมาเป็น นัก กีฬาของเราในอนาคต
วันนี้ผมต้องกราบเรียนว่าประเด็นนี้อาจจะต้องมีการปรับแก้เพื่อให้มีความรัดกุม โดยเฉพาะคําว่า
พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ นี่ ไ ม่ ไ ด้ ตี ค วามไว้ อ ย่ า งชั ด เจนว่ า หมายถึ ง ใคร ไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง ตํ า รวจ
ไม่ได้หมายถึงฝ่ายปกครอง อาจจะเป็นเพียงแค่พนักงานของสํานักงานคณะกรรมการของเขา
ที่จะสามารถมี สิทธิในการเข้าไปตรวจสอบก็ ได้ ซึ่ งตอนนี้ มั นกว้ างเกินไปครั บ ๒. ก็ คือสิท ธิ
ในการตรวจสอบควรมีการกําหนดให้ชัดเจนว่าในช่วงของการแข่งขัน ในช่วงของการเตรียมตัว
ฝึกซ้อมอาจจะไปค้นที่ค่ายฝึกซ้อม ค่ายเก็บตัวอย่างนี้มันมีสมเหตุสมผล ไม่ใช่ว่าที่ใดก็ได้
อย่างนี้ผมไปค้นบ้านของเขาที่อยู่ ที่เขาหลับ ที่เขานอนกับครอบครัว อย่างนี้มั นก็เกินไป
มันเป็นการละเมิดสิทธิมากเกินไปนะครับ
ส่วนที่ ๒ ที่อาจจะติงก็คือในส่วนของการกําหนดโทษ ผมกราบเรียนอย่างนี้ครับ
ในส่วนของการกําหนดโทษนั้น ผมมองว่ามันไม่ได้แรงไปหรือว่าเบาไปเท่าไร อาจจะมีการ
เติมประเด็นในเรื่องค่าปรับเพื่อให้มีความน่าเกรงขามมากยิ่งขึ้น แต่ในส่วนของการตัดสิทธิ
เข้าร่วมการแข่งกีฬาตามระยะเวลากําหนด หรือตัดสิทธิตลอดชีวิตนั้นก็เป็นสิ่งซึ่งเหมาะสม
เพื่อให้การกีฬาของประเทศไทยมันสามารถก้าวไปข้างหน้าได้ แต่อย่างไรก็ตามนั้นสิ่งที่เป็น
ประเด็นปัญหาก็คือการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการเอง เพราะว่าตามร่างพระราชบัญญัติ
ที่ได้ร่างมานี้ มันยังเปิดกว้างเกินไปที่จะให้ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินว่าบุคคลนี้กระทําผิด
เช่นนี้ได้รับโทษอย่างไร คนต่อมาได้รับผิดเช่นเดียวกันอาจจะได้รับโทษมากหรือน้อยกว่ากัน
เพราะฉะนั้นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการควรจะมีการบัญญัติเพิ่มเติมในส่วนของการที่จะ
บอกว่าควรจะตั้งมาตรฐาน อาจจะออกเป็นกติกาสากลในส่วนนี้ว่ามีมาตรฐานว่าทําผิดลักษณะนี้
โดยเจตนาหรือไม่เจตนาจะโดนโทษพักการแข่งขันกี่เดือน กี่ปีก็ว่ากันไปให้ชัดเจนนะครับ ----

- ๗๖/๑
๑๖๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๗๖/๑

ไม่ ใ ช่ ว่ า รอให้ เ ข้ า ไปคุ ย กั บ คณะกรรมการแล้ ว ก็ เ ลื อ กปฏิ บั ติ ไ ด้ สามารถใช้ ดุ ล ยพิ นิ จ ได้


เพราะว่าเราเห็นมาเยอะแล้วกับการใช้ดุลยพินิจมันเป็นช่องทางของการทุจริตคอร์รัปชัน
(Corruption) ซึ่งการกีฬาในวันนี้ต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะเป็นฝ่ายสปอนเซอร์จะเป็นผู้อุดหนุน
อุ ป ถั ม ภ์ มั น เยอะไปหมด เงิ น ทองมั น หมุ น เวี ย นอยู่ ใ นระบบการกี ฬ ามาก ก็ อ ยากจะให้
ปิดช่องโหว่ในจุดนี้ด้วยการสร้างให้กรรมการมีอํานาจในการบัญญัติในส่วนของมาตรฐาน
ในการลงโทษให้ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่นะครับ
ส่วนบทกําหนดโทษนั้น วันนี้เรายังตั้งแต่บทกําหนดโทษในส่วนที่เป็นของ
นักกีฬาเอง ผมกราบเรียนด้วยความเคารพว่าบางครั้งผมเป็นนักกีฬา บางครั้งไม่ใช่เราหรอกครับ
ที่เป็นคนตัดสินใจว่าเราจะโด๊ป หรือไม่โด๊ป หรือว่าจะกินสารบํารุงประเภทใด จะรับประทาน
อาหารประเภทใด เพราะว่าในการแข่งขันกีฬาที่เป็ นสากลนั้น มันจะมีที มงานซึ่ งเป็น คน
กํ า หนดให้ ห มด คณะนั ก กี ฬ าจะบอกว่ า ต้ อ งรั บ ประทานมื้ อ เช้ า อย่ า งนี้ มื้ อ เที่ ย งอย่ า งนี้
มื้อเย็นอย่างนี้ ทานยาที่ผ่านเกณฑ์ หรือไม่ผ่านเกณฑ์ การเป็นสารต้องห้ามก็ตาม บางครั้ง
นักกีฬาไม่ใช่คนกําหนด แต่สิ่งที่เราจะต้องทําก็คือให้มีคณะกรรมการที่จะสามารถตรวจสอบ
ได้ว่าสิ่งที่เขากระทําผิดไปนั้นมีสารต้องห้ามในร่างกายนั้นเกิดจากสาเหตุใด เกิดจากความต้องการ
ของเจ้าตัวเองที่บอกว่าอยากจะแข็งแกร่งขึ้น อยากจะไปแข่งกีฬาได้เหรียญก็โด๊ปเข้าไป
หรือว่าเกิดจากการที่คนของสมาคม หรือว่าโคช หรือว่าผู้เกี่ยวข้องที่ได้มีการกําหนดให้เขารับ
สารต้องห้าม เมื่อเป็นกรณีนั้นเราควรจะมีบทกําหนดโทษให้ชัดเจน และหนักกว่าการที่นักกีฬา
ได้รับด้วย ในการที่จะกําหนดโทษกับบุคคลผู้เกี่ยวข้องและเป็นผู้สนับสนุน เพราะว่าบางครั้ง
นักกีฬาที่อยู่ในสังกัดการกีฬาต่าง ๆ ไม่ใช่มีชีวิตที่อิสระ เพราะว่าเขาจะต้องอยู่ในกรอบ
ในเกณฑ์ ในการกํากับดูแลของสมาคมกีฬาต่าง ๆ ซึ่งตรงจุดนี้เป็นจุดซึ่งควรจะตั้งเกณฑ์
การลงโทษไว้ให้หนัก ไม่ให้มันเกิดขึ้นในอนาคต
ในส่ ว นประเด็ น สุ ด ท้ า ย เป็ น ประเด็ น เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งของคณะกรรมการ
ผมต้องกราบเรียนท่านประธานอย่างนี้นะครับ วันนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการที่ใช้ชื่อว่า
คณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา ประกอบด้วย รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง
คณะกรรมการโอลิมปิก ผู้ทรงคุณวุฒิที่ตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการควบคุม
การใช้สารต้องห้าม ครอบคลุมดีครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไปผมกราบเรียนด้วยความเคารพ
เราควรจะเติมให้เขานะครับ คือส่วนของนักกีฬาเอง เพราะมันเป็นองค์ประกอบที่สําคัญ
๑๖๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สิริพร ๗๖/๒

เพราะว่าเขาเป็นผู้เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการแข่งขันต่าง ๆ เขาจะมีความเข้าใจ มีความรู้


เกี่ ย วกับ เรื่อ งของสารต้อ งห้า มเพีย งพอ และมี ค วามเข้ า ใจในเรื่ อ งของผู้ ที่ผิ ด พลั้ ง เข้า ไป
ใช้สารต้องห้าม เพื่อให้มันมีความสมดุล เราต้องเติมส่วนของฝ่ายนักกีฬาเข้าไปบ้าง อาจจะ
ไม่ ใช่ สั ดส่ วนที่ มากนั ก แต่ ควรจะมี การรั บฟั งเสี ยงของเขา ผมต้ องกราบเรี ยนอย่ างนี้ ครั บ
เราอาจจะคัดเลือกจากนักกีฬาในอดีตที่มีชื่อเสียง และได้ทําคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ
บ้านเมือง และไม่เคยมีข่าว ไม่เคยมีเรื่องของการข้องแวะกับสารต้องห้าม บุคคลเหล่านี้
ควรจะให้เกียรติเขา แล้วก็นํามารวมอยู่ในคณะกรรมการด้วย
ส่วนสุดท้ายครับ คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก็คือกรรมการของ
คณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้าม ส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ กราบเรียนอย่างนี้ครับ
ผมดู ด้ ว ยความช้ํ า ใจจริ ง ๆ ลั ก ษณะต้ อ งห้ า มดู ไ ปเรื่ อ ย ๆ ๑. เป็ น บุ ค คลล้ ม ละลาย
๒. เป็ น คนไร้ ค วามสามารถ ๓. เคยได้ รั บ โทษจํ า คุ ก ปกติ ค รั บ อั น นี้ ไ ม่ มี ปั ญ หากั น
๔. เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กรรมการ หรือผู้ดํารงตําแหน่ง
ที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
อันนี้ล้อมาจากพวกกองทุนพวกอะไรที่เคยผ่านร่างพระราชบัญญัติกับสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนั้นเลย ผมกราบเรียนอย่างนี้ครับ อาชีพนักการเมืองมันไม่ใช่อาชีพสังคมรังเกียจนะครับ
พวกผมเป็ นนั ก การเมือ ง ผมเป็ น ส.ส. ผมต้ อ งกราบเรี ย นอย่ า งนี้ ว่ า ผมไม่ ไ ด้ทํ า อะไรผิ ด
ผมเชื่อว่าทุกคนที่นั่งนี่ก็คิดดีกับประเทศชาติบ้านเมือง นี่เป็นกรรมการที่เกี่ยวกับสารต้องห้าม
บางครั้งอาจจะต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เรื่องของสารต้องห้าม เขาอาจจะมาเป็น ส.ส. ก็ได้
เขาอาจจะมาเป็นนักการเมือง อาจจะเป็นผู้บริหารพรรคก็ได้ เกิดเขาไปมีความรักชอบกับ
พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแล้วไปเป็นกรรมการบริหารขึ้นมา กลายเป็นโดนตัดสิทธิไป
เราก็ตัดบุคลากรที่มีความสามารถ นี่ไม่ใช่กองทุนที่มีเงินงบประมาณเป็นหมื่นเป็นพันล้านบาท
อันนี้เป็นแค่กรรมการที่จะวินิจฉัยในเรื่องของสารต้องห้าม หรือว่ากําหนดเกณฑ์ในเรื่องสารต้องห้าม
นี่กลายเป็นว่าต่อไปต่อไปนี้นักการเมืองเป็นผู้รักชอบทางการเมือง เข้ามาอยู่ในวงการเมือง
โดนตัดสิทธิทุกอย่าง ------------------------------------------------------------------------------------

- ๗๗/๑
๑๖๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๗๗/๑

ผมก็อยากจะฝากประเด็นนี้ไปว่าถ้ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่เราลองทําพระราชบัญญัติสักฉบับไหมครับ
ที่มันไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับการใช้งบประมาณเกี่ยวเนื่องกับการบริหารงานราชการแผ่นดิน
เราลองให้โอกาสคนที่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองสามารถจะเป็นที่ปรึกษาพรรคการเมือง
หรืออาจจะเป็นนักการเมืองเองก็ได้มีโอกาสเข้าไปทํางานในส่วนนี้ดู อันนี้ก็อยากจะฝากไว้ครับ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
เชิญนายแพทย์สุกิจครับ
นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ (ตรัง) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม
นายแพทย์ สุ กิ จ อั ถ โถปกรณ์ สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวั ด ตรั ง พรรคประชาธิ ปั ต ย์
เรื่องของการใช้สารต้องห้ามในการกีฬาเราก็คงได้ยินคําว่า ยาโด๊ป มานานเหลือเกินแล้ว
เมื่ อ ก่ อ นผมก็ เ ข้ า ใจว่ า ยาโด๊ ป ต้ อ งมี พ ลั ง มหาศาลชนิ ด ที่ ว่ า ถ้ า ใช้ แ ล้ ว คงจะสามารถ
ที่ จ ะได้ เ ปรี ย บคนอื่ น เขา เคยวิ่ ง ช้ า ใช้ ย าโด๊ ป แล้ ว ก็ วิ่ ง เร็ ว อะไรอย่ า งนั้ น เป็ น ต้ น นะครั บ
แต่ เ มื่ อ มาดู ส ารแต่ ล ะกลุ่ ม ที่ ใ ห้ ชื่ อ มาในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ แ ล้ ว ผมก็ มี ค วามรู้ สึ ก ว่ า มั น ก็ ไ ม่ ไ ด้
เป็นยาอะไรที่วิเศษวิโสอะไรมากมายนัก อย่างเช่นกลุ่มยากระตุ้นถือว่าเป็นยาที่กระตุ้นแล้ว
หมายถึ ง ว่ า เขาบอกว่ า ใช้ สํ า หรั บ นั ก กี ฬ าที่ ต้ อ งการความเร็ ว เพื่ อ ลดความเหน็ ด เหนื่ อ ย
ก็มีอย่างเช่นแอมเฟตามีน (Amphetamine) ก็คือยาบ้า ซึ่งปกติก็เป็นยาที่ต้องห้ามอยู่แล้ว
ในการใช้เอฟิดรีน (Ephedrine) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาหวัดอะไรอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งผมดูแล้ว
คนกิ น ยาบ้ า ก็ ค งจะไม่ วิ่ ง เร็ ว กว่ า คนปกติ สั ก เท่ า ไรครั บ แล้ ว ก็ มี ผ ลข้ า งเคี ย งที่ ม ากด้ ว ย
นอกจากนั้นก็อาจจะทําให้เกิดอารมณ์ปรวนแปรด้วย อีกกลุ่มหนึ่งอันนี้มันต้องห้ามอยู่แล้ว
ชั ด เจนคื อ กลุ่ ม ยาเสพติ ด อย่ า งเช่ น พวกมอร์ ฟี น (Morphine) เมทาโดน (Methadone)
เพทิดีน (Pethidine) พวกนี้ อาจจะมีผลครับเพราะว่าทําให้ความเจ็บปวดน้อยลง ถ้าเป็น
กีฬาประเภทชกมวย ฉีดมอร์ฟีนไปก่อนเพื่อต่อยเท่าไรก็ไม่เจ็บหรือเจ็บน้อยลงอันนี้ได้เปรียบ
แน่นอน อีกกลุ่มหนึ่งคือ สเตียรอยด์ อย่างเช่นฮอร์โมนเพศชายอะไรอย่างนี้ พวกนี้เป็นยา
ที่ต้องใช้ระยะยาวถ้าฉีดเข้าไปแล้วก่อนไปแข่งขันก็คงจะไม่มีผลอะไรมากนัก เพราะฉะนั้น
ยาพวกนี้ผมว่าก็คงจะตรวจยากพอสมควร กลุ่มยาขับปัสสาวะน่าจะใช้ก็มีอยู่ที่เดียวครับ
พวกต้องการลดน้ําหนัก อย่างเช่นนักมวยที่น้ําหนักเกินเอาฉีดหรือกินยาขับปัสสาวะไปก่อน
แล้วก็ฉี่มาก ๆ น้ําหนักก็ลดลงมา และก่อนเข้าไปแข่งขันก็ไปกินน้ําเพิ่มขึ้นสักหน่อยหนึ่ง
เดี๋ ยวก็ คงจะมี กํ าลั งเพิ่ มขึ้ นมา นอกนั้ นก็ กลุ่ มฮอร์ โมน สรุ ปแล้ วว่ าตามความเข้ าใจของผม
๑๖๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) เปมิศา ๗๗/๒

ผมว่านักกีฬาที่ใช้ยาโด๊ปแล้วชนะมาได้คงไม่ใช่เพราะยาโด๊ปอย่างเดียว จริง ๆ แล้วอาจจะ


ฝีมือเขาด้วย อันหนึ่งก็คือกําลังใจที่ได้มาว่าเราได้โด๊ปแล้วก็คงจะมีแรงมหาศาลที่จะสู้คนอื่น
เขาได้ ผมมีความเป็นห่วง ตัวเองก็เป็นผู้ร่วมเสนอร่าง พ.ร.บ. อันนี้ด้วยเพียงแต่ว่าก็ยังเห็น
จุ ด บกพร่ อ งของกฎหมายฉบั บ นี้ อ ยู่ พ อสมควร ซึ่ ง อยากจะเรี ย นฝากไปยั ง ผู้ ที่ จ ะมาเป็ น
กรรมาธิการสักนิดหนึ่งก็คือเรื่องของงบประมาณที่จะใช้ เพราะว่าในร่าง พ.ร.บ. นี้ท่านต้อง
มีการตั้งกรรมการหลายชุดทีเดียว ชุดใหญ่ก็คือชุดที่เรียกว่า คณะกรรมการควบคุมการใช้
สารต้ อ งห้ า มทางการกี ฬ า อั น นี้ เ ป็ น กรรมการใหญ่ นอกจากนั้ น ก็ จ ะมี ก รรมการย่ อ ย ๆ
อย่างเช่น คณะกรรมการการแพทย์ คณะกรรมการพิจารณาโทษ คณะกรรมการวินิจฉัย
อุทธรณ์ ซึ่งกรรมการเหล่านี้มีเบี้ยประชุม มีอะไรอย่างนี้เป็นต้น ก็ต้องฝากกรรมาธิการว่า
ร่างกฎหมายมาแล้วก็ต้องร่างให้มันครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินต้องระบุว่าต้องเอามา
จากไหน จากกระทรวงไหน จากงบประมาณส่วนไหน ---------------------------------------------

- ๗๘/๑
๑๖๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิรริ ัตน์ ๗๘/๑

นอกจากนั้นแล้วเรื่องของการตรวจสารพวกนี้ก็ต้องใช้ห้องแล็บอย่างที่ท่านสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
ผู้เสนอ ท่านก็ได้บอกไว้แล้วว่ามีอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล แต่การใช้จ่ายก็ต้องเยอะนะครับ
ยิ่งตรวจมากเท่าไรก็ยิ่งลงทุนเยอะเท่านั้น ก็ต้องฝากกรรมาธิการด้วยในการที่จะดูให้ครบวงจร
ว่าเราจะใช้งบจากไหน อันที่เป็นระเบียบของ กกท. ก็ได้ระบุเอาไว้ในข้อที่ ๘ บอกว่าผู้รับผิดชอบ
ค่ า ใช้ จ่ า ยในการควบคุ ม การใช้ ส ารต้ อ งห้ า มก็ คื อ จั ง หวั ด หรื อ เจ้ า ภาพที่ จั ด การแข่ ง ขั น
แต่ในกรณีนี้ยังไม่ได้ระบุชัดเจนหรือว่าจะใช้ระเบียบเก่าก็ต้องเขียนให้ชัดเจนว่ากันไปนะครับ
ทีนี้ที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างหนึ่งก็คือความยุติธรรม การไม่เอาเปรียบหรือให้มีความรู้สึกว่ามีการใช้
๒ มาตรฐานหรืออย่างนั้น ก็คือในกรณีที่ว่าเราจะตรวจใคร สมมุติว่าวิ่งแข่งกันเป็นสิบ ๆ คน
อย่างนี้ ท่านจะเอาใครมาตรวจ จะเอาคนที่ได้เหรียญทองมาตรวจคนเดียวอย่างนั้นหรือ
อันนี้ต้องทําให้เสมอภาคแล้วก็อาจจะต้องเขียนระบุให้ชัดเจนด้วยเพื่อจะได้เป็นแนวทาง
ในการปฏิ บั ติ หลายท่ า นก็ เ ป็ น ห่ ว งว่ า คนที่ เ ขาใช้ โ ดยไม่ ตั้ ง ใจอาจจะผิ ด ไปด้ ว ยนะครั บ
อย่ า งเช่ น กรณี กิ น ยาแก้ ห วัด อย่ า งนี้ ถ้า ดู ต าม พ.ร.บ. ฉบั บ นี้แ ล้ ว ก็ โ ดนแน่ น อนเลยครั บ
เพราะยาแก้ ห วั ด มี ส่ ว นผสมของพวกอี เ ฟดรี น ซู โ ดอี เ ฟดรี น (Pseudoephedrine) อยู่
แต่ผมก็ไม่เชื่อนะครับว่าคนกินยาแก้หวัดไปแล้ว ไปลงแข่งกีฬาแล้วจะชนะคนอื่นเขานะครับ
อย่ า งไรก็ ต ามกฎหมายก็ ต้ อ งเขี ย นให้ ร อบคอบเพราะว่ า ต้ อ งเอามาใช้ กั บ คนหมู่ ม าก
แล้วก็ต้องให้ความยุติธรรมด้วย โดยเนื้อหาทั้งหมดของกฎหมายผมก็เห็นว่าเป็นกฎหมายที่ดี
อย่างน้อยในวงการกีฬาได้มีกฎหมายเพิ่มมากขึ้น ให้เห็นว่าเราให้ความสําคัญกับการกีฬา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทําให้ต่างชาติเขามองเราในแง่ที่ว่าเราก็ให้ความสําคัญกับเรื่องนี้แล้ว
ก็ไว้วางใจได้ที่จะมาร่วมแข่งขันกับเราในโอกาสต่อไป ผมก็ขอสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ครับ
ขอบคุณครับ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ท่านสามารถ แก้วมีชัย ครับ
นายสามารถ แก้วมีชัย (เชียงราย) : ท่านประธานที่เคารพครับ ผม สามารถ
แก้วมีชัย พรรคเพื่อไทยจากจังหวัดเชียงราย ผมนั่งฟังคําอภิปรายของเพื่อนสมาชิกมาโดยตลอด
ก็มีประเด็นที่ผมสนใจจะตั้งข้อสังเกตและยังไม่มีเพื่อนสมาชิกท่านใดได้อภิปรายนะครับ
ท่านประธานครับ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางกีฬา พ.ศ. .... ฉบับนี้
ดูผิวเผินก็ดี อย่างน้อยก็เป็นการยกระดับมาตรฐานทางการกีฬาของเราให้เป็นที่ยอมรับ
๑๖๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริรัตน์ ๗๘/๒

ของนานาชาติว่าเราก็จะมีการตรวจสอบการใช้สารกระตุ้นหรือสารต้องห้ามต่าง ๆ อนุวัติให้
เป็นไปตามประกาศของโคเปนเฮเกน แต่ เ วลาท่า นประธานออกกฎหมายมั นก็มีทั้งข้ อดี
ข้อเสีย ควบคู่กันไปถ้าเราไม่ดูให้ดี ๆ ถามว่าถ้าไม่มีกฎหมายฉบับนี้เราไปแข่งกีฬากันได้ไหม
ในระดับนานาชาติ ไปได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นโอลิมปิก ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ เขาก็มีมาตรฐาน
การควบคุมการใช้สารต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ มีการตรวจสอบของเขาอยู่แล้วนะครับ แต่วันนี้เรากําลัง
จะทําให้ทั่วโลกได้เห็นว่าเราก็ทันสมัย เราก็มีมาตรฐานของเราเหมือนกันก็เลยมาออกกฎหมาย
ฉบับนี้ ทีนี้ท่านประธานลองไปดูนิยามกฎหมายฉบับนี้ที่ผมเป็นห่วงนะครับดูทั้ง ๓ ฉบับจะใช้
ถ้อยคําเหมือนกันหมด นิยามดังกล่าวก็คือนิยามของคําว่า นักกีฬา ------------------------------

- ๗๙/๑
๑๖๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๗๙/๑

นิยามดังกล่าวนี้บัญญัติบอกว่านักกีฬาหมายถึงผู้ซึ่งเป็นสมาชิกหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสมาคมกีฬา
และหมายความรวมถึ ง ผู้ ซึ่ ง เข้ า แข่ ง ขั น กี ฬ าในนามของสมาคมกี ฬ าหรื อ เข้ า แข่ งขั น กี ฬ า
ในรายการแข่งขันที่สมาคมกีฬาให้การรับรอง ถ้าเขียนไว้อย่างนี้ก็แปลว่าต่อไปนี้นักกีฬา
ในประเทศไทยทุ ก คนที่ อ ยากเป็ น นั ก กี ฬ าอาชี พ ที่ อ ยากไปแข่ ง ต่ า งประเทศท่ า นก็ ต้ อ ง
ถูกต้อนเข้าสมาคมใดสมาคมหนึ่งคงไม่มีช้างเผือกที่เราเคยเห็นเด็กชนบทที่อาจจะไม่รู้จัก
สมาคมไม่รู้จะไปเข้ากับสมาคมไหนให้ตรงกับความสามารถของตัว แล้วในที่สุดพอกฎหมาย
ฉบั บ นี้ อ อกไปถ้ า เขี ย นคลุ ม แบบนี้ ก็ ต้ อ งมาดู น ะครั บ สมาคมที่ เ รามี อ ยู่ นี่ มั น มี อ ยู่ ต รงไหน
หลากหลายสมาคมไหม นิ ย ามคํ า ว่ า สมาคม ก็ บ อกว่ า หมายถึ ง สมาคมที่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าต
ให้จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉะนั้นก็จําเป็นที่จะต้องไปขอจดทะเบียน
ตั้งสมาคมกันอีกมากมายหลายสมาคมเพื่อจะรองรับนักกีฬาในประเทศซึ่งจะถูกกฎหมาย
ฉบับนี้เข้าไปบังคับใช้ ฉะนั้นฝากนะครับท่านที่เป็นกรรมาธิการ ถ้าเรายังอยากมีกฎหมาย
ฉบับนี้เพื่อให้ดูดี ให้รู้สึกว่าเรามีมาตรฐานสากลในทางการกีฬาของเรานี่ท่านต้องไปเขียนดี ๆ
ไม่ใช่เขียนไปแล้วไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไปปิดโอกาสของเด็กเยาวชนและนักกีฬา
ของเราโดยใช่เหตุนะครับ ผมเป็นห่วงเพราะบางครั้งเราออกกฎหมายก็เอาตามที่เขาบอก
เราออกกฎหมายเพราะว่ า ผ่ า นการล็ อ บบี้ (Lobby) จากต่ า งประเทศบ้ า งอะไรบ้ า ง
หรื อ แม้ ก ระทั่ ง ตั ว แทนของเราที่ ไ ปร่ ว มประชุ ม ไปรั บ ฟั ง ไปรั บ ข้ อ มู ล มาก็ ม าคิ ด ว่ า สิ่ ง นี้
เป็ นสิ่ งที่ ดี แล้ วก็ ร่ างออกมา จริ ง ๆ ร่ างพระราชบั ญญั ติ นี้ กว่ าจะมาถึ งสภาผู้ แทนราษฎร
ก็ ต้ อ งผ่ า นคณะรั ฐ มนตรี ผ่ า นคณะกรรมการกฤษฎี ก าตรวจแก้ ม าแล้ ว ฉะนั้ น ก็ น่ า จะดู
ให้ชัดเจนผมไม่อยากจะให้กฎหมายมาปิดล็อก (Lock) ตัวเอง มาปิดล็อก ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ
ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกีฬาของเรานะครับ ฉะนั้นก็ฝากให้กรรมาธิการ
ถ้าเมื่อเรารับหลักการไปแล้วนี่ก็ไปช่วยกันดูแก้เขียนให้มันเปิดกว้างกว่านี้ไม่อย่างนั้นทุกคน
จะต้องไปรีบหาสมาคมสังกัด เพราะกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้ท่านไม่อยู่ในสมาคมนี่ท่านไป
แข่งไม่ได้นะครับ ขอบคุณท่านประธานครับใช้เวลาแต่เพียงเท่านี้ครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : คุณบุณย์ธิดา
สมชัยครับ
๑๖๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ภาวดี ๗๙/๒

นางสาวบุ ณ ย์ ธิ ด า สมชั ย (อุ บ ลราชธานี ) : เรี ย นท่ า นประธานที่ เ คารพ


ดิฉัน บุณย์ธิดา สมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์
ต่ อ ข้ อ คิ ด เห็ น ในเรื่ อ งของร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ค วบคุ ม การใช้ ส ารต้ อ งห้ า มทางการกี ฬ า
หลั ง จากที่ ดิ ฉั น ได้ ศึ ก ษามาทั้ ง หมดนะคะท่ า นประธาน ดิ ฉั น ไม่ ไ ด้ ติ ด ใจในข้ อ ต่ า ง ๆ ที่ มี
เพียงแต่ว่าในเรื่องบทกําหนดโทษเพียงเท่านั้นค่ะท่านประธาน ในหลาย ๆ ครั้งที่เราได้เห็น
ข่าวคราวในเรื่องว่านักกีฬาตรวจจับว่าโด๊ป กีฬาแข่งขันภายในประเทศหรือระดับนานาชาติ
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบทลงโทษที่เราได้รับทราบหรือเราได้เห็นกัน ส่วนมากก็คือลงโทษเพียงแต่
ตัวของนักกีฬาเอง ทีนี้ได้ฟังเพื่อนสมาชิกหลายท่านบอกว่านักกีฬาบางครั้งอย่างหนึ่งเลย
อาจจะมีทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจคือไม่รู้ตัวค่ะว่าได้รับการโด๊ปเข้าไปแต่ทีนี้ในเรื่องข้อบัญญัติ
ของการโด๊ปของโอไอซีออกมาว่าไม่ว่านักกีฬานั้นจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจคุณได้รับยาไม่ว่าจะ
ทางการฉี ด หรื อ ทางกิ น เข้ า ปากนี้ ค่ ะ ท่ า นประธานก็ ถื อ ว่ า คุ ณ รั บ รู้ ว่ า สิ่ ง นั้ น คื อ การโด๊ ป
ทีนี้ค่ะท่านประธานเหตุผลหลาย ๆ อย่าง อย่างในของประเทศไทยเรานะคะท่านประธาน
ส่ ว นหนึ่ ง แล้ ว ต้ อ งยอมรั บ ว่ า ในระดั บ กี ฬ าสมั ค รเล่ น ที่ เ ป็ น ในนามของที ม ชาติ ไ ปแข่ ง ขั น
ในระดับต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคทั้งในระดับอาเซียนเองหรือระดับโลก ในระดับกีฬาโอลิมปิกนี้
ท่ านประธาน ระดั บนั้ นนี่ คื อนั กกี ฬาจะเข้ าใจในความหมายของการแข่ งขั นกี ฬา แต่ ที นี้ ค่ ะ
ท่านประธานยังมีกีฬาอีกหลายประเภทในบ้านเราที่แข่งขันกันในระดับอาชีพที่เราเห็นกัน
ประจําค่ะ ไม่ว่าจะเป็นฟุตบอลเอย หรือมวย --------------------------------------------------------

- ๘๐/๑
๑๖๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๘๐/๑

มวยไทยนี่ละค่ะ มวยกีฬาประจําชาติของเรา ซึ่งกีฬาประเภทนี้ท่านประธานต้องยอมรับ


ถามว่ามีการตรวจจับโด๊ปให้เราได้เห็นบ้างไหม ในการออกข่าวก็ต้องบอกว่าไม่เคยเห็นค่ะ
ท่านประธาน ทีนี้ในเรื่องบทลงโทษท่านประธานเราจะแยกแยะอย่างไรว่า ๑. คือความตั้งใจ
๒. คือความไม่ตั้งใจ ท่านประธานคะดิฉันอยากจะฝากอย่างหนึ่งที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนแรกว่า
เราได้ เ ห็ น แต่ นัก กีฬ าที่โ ดนบทลงโทษ จริง ๆ แล้ ว ผู้ ที่ มีส่ ว นสํ า คั ญ ที่สุ ด ในการที่ นั ก กี ฬ า
จะลงแข่งหรือว่าในการฝึกซ้อมในการอะไรต่าง ๆ ก็คือ ๑. โคชหรือผู้จัดการในการแข่งขัน
กีฬานั้น ๆ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ท่านประธานถ้าจะบอกว่าเราต้องลงโทษนักกีฬาเพราะนักกีฬา
มีส่วนได้เสียมากที่สุดในการแข่งขันกีฬาชนิดนั้น ๆ ไม่ว่าจะเกียรติยศ ชื่อเสียง หรือว่าเงินทอง
แต่ อ ย่ า ลื ม นะคะท่ า นประธานทุ ก ครั้ ง ที่ มี ก ารแข่ ง ขั น กี ฬ า หลั ง จากเสร็ จ สิ้ น แล้ ว นั ก กี ฬ า
ได้รับคําชื่นชม ได้รับรางวัลเป็นในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องเงินเราก็จะได้ยินข่าวว่า
ต้องมีส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์เท่านั้นเท่านี้ให้กับกลุ่มที่เขาเป็นสมาชิกอยู่ไม่ว่าจะเป็นค่ายต่าง ๆ
หรื อ เป็ น สมาคมต่ า ง ๆ เพราะฉะนั้ น ในส่ ว นตรงนี้ เ ราก็ ถื อ ว่ า ผู้ ที่ เ ป็ น โคชหรื อ ผู้ ที่ เ ป็ น
ผู้ ส นั บ สนุ น ทางการกี ฬ าตามคํ า นิ ย ามในนี้ น ะคะ ก็ ต้ อ งมี ส่ ว นร่ ว มที่ จ ะต้ อ งรั บ ผิ ด
รับผิดเฉกเช่นเดียวกับนักกีฬาค่ะ ถึงแม้ว่าในบางครั้งเราไม่สามารถที่จะไปสืบเสาะหาได้เลยว่า
ยาในตัวนักกีฬามันมาจากทางไหน ถึงแม้นักกีฬาเองเขาจะอ้างว่าได้รับการสนับสนุนมาก็ตามค่ะ
ท่านประธาน ส่วนหนึ่งที่อยากจะฝากไว้คือว่านักกีฬาโดยส่วนมากโดยเฉพาะกีฬาอาชีพ
ที่เราเห็นในบ้านเราทุก ๆ ครั้งค่ะ นักกีฬาหลาย ๆ ท่านไม่ทราบหรอกค่ะว่ายาที่ได้รับหรือว่า
น้ําเกลือแร่ น้ําวิตามินต่าง ๆ ที่ได้รับทุกวันเป็นยาโด๊ปหรือเปล่า ส่วนหนึ่งเพราะความต้องการ
ภายในค่ ะ เราต้ อ งยอมรั บ อย่ า งหนึ่ ง เช่ น กี ฬ ามวย มวยที่ ต่ อ ยกั น ทุ ก วั น ทุ ก อาทิ ต ย์
ท่านประธาน อย่างหนึ่งคือพื้นฐานความต้องการของนักกีฬาคือต้องการ ๑. เขาไม่มีโอกาส
ในหลาย ๆ อย่างในชีวิต เมื่อเขามาเป็นนักมวยแล้ว เมื่อคุณเริ่มมีชื่อเสียง เริ่มเป็นนักมวยเงินหมื่น
นักมวยเงินแสนนี่ละค่ะเกียรติยศชื่อเสียงต่าง ๆ เงินทองต่าง ๆ ไหลมาเทมาทําอย่างไรก็ได้ให้ชนะ
อันนี้ก็เป็นเรื่องน่าห่วง และอย่างหนึ่งค่ะ อย่างที่ได้บอกไว้ถ้าไม่มีผู้สนับสนุนทางการกีฬา
หรือโคช หรือผู้จัดการโปรโมเตอร์ (Promoter) ต่าง ๆ เขาไม่สามารถที่จะไปสืบเสาะหาได้เอง
หรอกค่ะว่าอ้ายยาชื่อภาษาอังกฤษต่าง ๆ มันจะช่วยให้เขาชนะได้อย่างไร อันนี้คือบทลงโทษ
ดิฉันอยากว่าอาจจะไม่ถึงขั้นว่าต้องรุนแรงว่าต้องปรับเงินหรือต้องถึงขั้นจําคุกอะไรอย่างนี้
ไม่ถึงขนาดนั้นค่ะ เพียงแต่ว่าเราต้องมีมาตรฐานเพื่อที่จะให้คนในกลุ่มต่อ ๆ ไปในการที่จะ
๑๗๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) อริสา ๘๐/๒

แข่งขันกีฬาอะไรก็ตามไม่ว่าจะในประเทศหรือว่าต่างประเทศจะได้ดูเอาเป็นตัวอย่างค่ะ
เพราะเมื่อเราไปแข่งกันต่างประเทศแล้วไม่ได้เสียชื่อเฉพาะนักกีฬาไม่ได้เสียชื่อเฉพาะสมาคม
แต่ เ สี ย ชื่ อ มาในระดั บ ประเทศของเราด้ ว ยว่ า คุ ณ มี คุ ณ ส่ ง นั ก กี ฬ าที่ โ ด๊ ป ยาเข้ า ไปแข่ ง ขั น
เพื่อหวังที่จะชนะอย่างเดียวค่ะท่านประธาน แล้วก็เมื่อวานนี้ท่านประธานดิฉันได้ฟังคําชี้แจง
ในที่ประชุมของวิปนะคะในเรื่องการใช้สารต้องห้าม แต่ดิฉันติดใจอยู่อย่างหนึ่งที่ผู้ชี้แจงได้
บอกว่า ที่เราต้องตั้งกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพราะว่าในอนาคตถ้าประเทศไทยของเรายังไม่ผ่าน
ร่างพระราชบัญญัติตัวนี้ หลังจากโอลิมปิก ๒๐๑๒ ซึ่งปีหน้าจะแข่งที่ลอนดอนเราจะมีปัญหาว่า
เราจะไม่สามารถส่งนักกีฬาเข้าไปร่วมแข่งขันได้ ดิฉันเลยคิดว่าอย่างน้อย ๆ การตั้งกรรมการ
ชุดนี้ขึ้นมา ๑. เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อวงการกี ฬาของบ้านเราและเป็น ที่ยอมรับในระดั บ
นานาชาติมากขึ้น และ ๒. ดิฉันหวังว่าการตั้งกรรมการชุดนี้ขึ้นมามิใช่เพื่อที่จะหวังว่าเราจะ
มีโอกาสส่งนักกีฬาไปแข่งโอลิมปิกในปีต่อ ๆ ไปค่ะท่านประธาน ดิฉันหวังว่ากรรมาธิการชุดนี้
จะทํางานอย่างสมความตั้งใจในการที่จะทําให้วงการกีฬาบ้านเราใสสะอาดและยกระดับ
พัฒนานักกีฬาให้ต่อสู้กับนานาชาติได้ โดยอาศัยวิทยาศาสตร์การกีฬามากกว่าที่จะอาศัย
วิทยาศาสตร์ทางด้านยาเพื่อมากระตุ้น เพื่อมาเป็นการโด๊ปในอนาคตต่อไปค่ะท่านประธาน
ต้องขอขอบพระคุณมากค่ะ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ท่ านที่ เสนอญั ตติ มี สิ ทธิ อภิ ปรายปิ ดนะครั บ ไม่ อภิ ปรายใช่ ไหมครั บ เพราะฉะนั้ นผมขอปิ ด
การอภิปรายนะครับ เชิญสมาชิกใช้สิทธิแสดงตนนะครับ
(นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง มีสัญญาณให้
สมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนทําการตรวจสอบองค์ประชุม)

- ๘๑/๑
๑๗๑
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๘๑/๑

นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :


ผมขอตรวจนับองค์ประชุม เชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิแสดงตนครับ โปรดเสียบบัตรและกดปุ่ม
แสดงตนครับ
(สมาชิกทําการเสียบบัตรและกดปุ่มแสดงตน)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ส่งผลคะแนนด้วยครับ มีผู้เข้าร่วมประชุม ๓๕๑ ท่าน เป็นอันว่าครบองค์ประชุมนะครับ
๑๗๒
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๘๑/๒

ผมจะขอมติจากที่ประชุมว่าจะรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินี้หรือไม่
ขอเชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดเห็นควรรับหลักการโปรดกดปุ่ม เห็นด้วย
ผู้ใดเห็นว่าไม่ควรรับหลักการโปรดกดปุ่ม ไม่เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่าควรงดออกเสียงโปรดกดปุ่ม
งดออกเสียง เชิญลงมติได้ครับ
(สมาชิกทําการเสียบบัตรแสดงตนและกดปุ่มลงคะแนน)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ขอผลคะแนนด้วยครับ มีเข้าร่วมประชุม ๓๖๖ ท่าน เห็นด้วยทั้งหมด ๓๖๖ ท่านครับ
๑๗๓
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ปิยาพัชร ๘๑/๓

ต่อ ไปจะขอให้ ที่ป ระชุ ม ตั้ ง คณะกรรมการวิส ามั ญ เพื่ อพิจ ารณา เชิ ญ ท่ า น
สมาชิกครับ จํานวนกรรมาธิการครับ
นางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ (กรุงเทพมหานคร) : เรียนท่านประธานสภา
ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคเพื่อไทย ขอเสนอตั้งกรรมาธิการจํานวน ๓๑ ท่าน ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)

- ๘๒/๑
๑๗๔
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๘๒/๑

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : มีผู้รับรอง


ถูกต้องครับ จํานวน ๓๑ ท่าน คณะรัฐมนตรี จํานวน ๕ ท่านครับ เชิญครับ
นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ (รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี) : ท่านประธานสภา
ที่ เ คารพ กระผม นายแพทย์ สุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี
ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้าม
ทางการกีฬา พ.ศ. .... ในส่วนของคณะรัฐมนตรี จํานวน ๕ คนคือ ๑. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
๒. พลเอก ยุ ทธศั กดิ์ ศศิประภา ๓. นายแพทย์ ธงธวั ช อนุ คระหานนท์ ๔. นายกนกพั น ธุ์
จุลเกษม ๕. นายแพทย์วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ ขอบคุณครับ
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : พรรคเพื่อไทย
จํานวน ๑๔ ท่านครับ เชิญครับ
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล (บัญชีรายชื่อ ) : กราบเรียนท่านประธานสภา
ที่ เ คารพ ดิ ฉั น นางสาวขั ต ติ ย า สวั ส ดิ ผ ล สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรระบบบั ญ ชี ร ายชื่ อ
พรรคเพื่อไทย ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุม
การใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. .... ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทยดังนี้ค่ะ ๑. นายสุรสาล
ผาสุข ๒. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ ๓. นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล ๔. นางสาวอรุณี ชํานาญยา
๕. นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ๖. นายเชิดชัย ตันติศิรินทร์ ๗. นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันท์
๘. นางเปล่ ง มณี เร่ ง สมบู ร ณ์ สุ ข ๙. นางอนุ รั ก ษ์ บุ ญ ศล ๑๐. นางเอมอร สิ น ธุ ไ พร
๑๑. นายครู ม านิ ต ย์ สั ง ข์ พุ่ ม ๑๒. นายไตรรงค์ ติ ธ รรม ๑๓. นายวั ฒ นา เซ่ ง ไพเราะ
๑๔. นายทศพร เสรีรักษ์ ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : มีผู้รับรอง
ถูกต้อง เชิญพรรคประชาธิปัตย์ครับ ๘ ท่านครับ
นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ (สงขลา) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์
ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้าม
ทางการกีฬา พ.ศ. .... ในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ จํานวน ๘ ท่านครับ ๑. นายสมบูรณ์
อุทัยเวียนกุล ๒. นายสามารถ มะลูลีม ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์รัชดา ธนาดิเรก
๑๗๕
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๘๒/๒

๔. นายนิ พ นธ์ บุ ญ ญามณี ๕. นางสาวบุ ณ ย์ ธิ ด า สมชั ย ๖. นายประกอบ รั ต นพั น ธ์


๗. นายรํารี มามะ ๘. รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์ ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
เชิญพรรคภูมิใจไทย ๒ ท่านครับ
นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ (ศรีสะเกษ) : กราบเรียนท่านประธานสภา
ที่เคารพ ดิฉัน นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพั ฒ น์ สมาชิ กสภาผู้แทนราษฎรจังหวั ดศรีสะเกษ
พรรคภู มิ ใจไทย ขอเสนอคณะกรรมาธิการวิสามั ญ พิ จ ารณาร่ างพระราชบั ญ ญัติควบคุม
การใช้ ส ารต้ อ งห้ า มทางการกี ฬ า พ.ศ. .... ในสั ด ส่ ว นของพรรคภู มิ ใ จไทย ๒ ท่ า นค่ ะ
คือ ๑. นายมนู พุกประเสริฐ ๒. นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : ผู้รับรอง
ถูกต้องครับ เชิญพรรคชาติไทยพัฒนา จํานวน ๑ ท่านครับ
นายสรชัด สุจิตต์ (สุพรรณบุรี) : กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม
นายสรชัด สุจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดสุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา
ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญในสัดส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนาในการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. .... ขอเสนอท่านยุทธพล
อังกินันทน์ ขอบคุณครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
พรรคพลังชลอีก ๑ ท่านครับ เชิญครับ
นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา (ชลบุรี) : กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ
กระผม นายพั น ธุ์ ศั ก ดิ์ เกตุ วั ต ถา สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรจั ง หวัด ชลบุ รี พรรคพลั ง ชล
ขอเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้าม
ทางกีฬา พ.ศ. .... ในสัดส่วนของพรรคพลังชล คือคุณอุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์ ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
๑๗๖
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศิริวรรณ ๘๒/๓

นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :


มีผู้รับรองถูกต้อง ท่านสมบูรณ์มีอะไรครับ ท่านบุณย์ธิดา เชิญครับ

- ๘๓/๑
๑๗๗
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๘๓/๑

นางสาวบุณย์ธิดา สมชัย (อุบลราชธานี) : ท่านประธานที่เคารพคะ บุณย์ธิดา


สมชัย พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดอุบลราชธานี ขอเปลี่ยนแปลงรายชื่อกรรมาธิการในสัดส่วน
พรรคประชาธิปัตย์ ๑ ท่าน จากรองศาสตราจารย์ไพบูลย์ ศรีชั ยสวั สดิ์ เป็นนายเลอภพ
โสรัจจ์ ขอผู้รับรองด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้อง เปลี่ยนได้นะครับ กําหนดระยะเวลาการแปรญัตติครับ เชิญครับ
นางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ (กรุงเทพมหานคร) : เรียนท่านประธานสภา
ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
พรรคเพื่อไทย ขอเปลี่ยนแปลงรายชื่อคณะกรรมาธิการในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย ลําดับที่ ๑๓
จากนายวัฒนา เซ่งไพเราะ เป็นนายธวัชชัย สุทธิบงกช
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ขอผู้รับรองด้วยครับ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ ระยะเวลาการแปรญัตติครับ
นางสาวธีรรัตน์ สําเร็จวาณิชย์ (กรุงเทพมหานคร) : เรียนท่านประธานสภา
ที่เคารพค่ะ ขอเสนอระยะเวลาในการแปรญัตติระยะเวลา ๗ วันตามข้อบังคับ ขอผู้รับรอง
ด้วยค่ะ
(มีสมาชิกยกมือขึ้นรับรอง)
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ เมื่อสักครู่นี้มี ๓ ร่าง ใช้ร่างไหนเป็นหลักครับ
นายสุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ (รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ) :
ท่ า นประธานที่ เ คารพ กระผม นายแพทย์ สุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์ รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก
นายกรัฐมนตรี ขอใช้ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักครับ
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๘๓/๒
๑๗๘
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๘๓/๒

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง) : เมื่อสักครู่นี้


ผมลื ม ให้ อ่ า นรายชื่ อ กรรมาธิ ก าร เพราะติ ด จากเรื่ อ งของใช้ เ หมื อ นเดิ ม หมดทุ ก อย่ า ง
เชิญท่านเลขาธิการครับ ข้ามขั้นตอนไป เชิญครับ
นางพรรณิภา เสริมศรี (รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) : รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. .... ๑. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ๒. พลเอก ยุทธศักดิ์
ศศิ ป ระภา ๓. นายแพทย์ ธ งธวั ช อนุ ค ระหานนท์ ๔. นายกนกพรรณ จุ ล เกษม
๕. นายแพทย์ ว าริ น ทร์ ตั น ฑศุ ภ ศิ ริ ๖. นายสุ ร สาล ผาสุ ข ๗. นายสุ ร พงษ์ ปิ ย ะโชติ
๘. นายนิยม วิวัฒนดิษฐกุล ๙. นางสาวอรุณี ชํานาญยา ๑๐. นายอรรถกร ศิริลัทธยากร
๑๑. นายเชิ ด ชั ย ตั น ติ ศิ ริ น ทร์ ๑๒. นางบุ ษ ริ น ทร์ วรพั ฒ นานั น ต์ ๑๓. นางเปล่ ง มณี
เร่งสมบูรณ์สุข ๑๔. นางอนุรักษ์ บุญศล ๑๕. นางเอมอร สินธุไพร ๑๖. นายครูมานิตย์
สังข์พุ่ม ๑๗. นายไตรรงค์ ติธรรม ๑๘. นายธวัชชัย สุทธิบงกช ๑๙. นายทศพร เสรีรักษ์
๒๐. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๒๑. นายสามารถ มะลูลีม ๒๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัชดา
ธนาดิเรก ๒๓. นายนิพนธ์ บุญญามณี ๒๔. นางสาวบุณย์ธิดา สมชัย ๒๕. นายประกอบ
รั ตนพั นธ์ ๒๖. นายรํ า รี มามะ ๒๗. นายเลอภพ โสรั จ จ์ ๒๘. นายมณู พุ ก ประเสริ ฐ
๒๙. นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ๓๐. นายยุทธพล อังกินันทน์ ๓๑. นายอุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
เอาอย่างนี้นะครับ รัฐมนตรีแถลงเรื่องที่เสนอพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศ
ในทางแพ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมเด็ก พ.ศ. ....
๑๗๙
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) ศันสนีย์ ๘๓/๓

เชิญครับ
นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ (รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี) : กราบเรียน
ท่ า นประธานสภาผู้ แ ทนราษฎรที่ เ คารพครั บ กระผม นายแพทย์ สุ ร วิ ท ย์ คนสมบู ร ณ์
รั ฐ มนตรี ป ระจํ า สํ า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ได้ รั บ มอบหมายจากคณะรั ฐ มนตรี ใ ห้ นํ า เสนอ
ร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ค วามร่ ว มมื อ ระหว่ า งประเทศในทางแพ่ ง เกี่ ย วกั บ การละเมิ ด สิ ท ธิ
ควบคุมดูแลเด็ก พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยมีหลักการ
และเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ดังนี้
หลักการ กําหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในทางแพ่ง
เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก

- ๘๔/๑
๑๘๐
สผ ๑/๒๕๕๔ (ส. นิติบัญญัติ) สะแกวัลย์ ๘๔/๑

เหตุผล โดยที่ ป ระเทศไทยยังไม่ มี ก ฎหมายในเรื่อ งความร่ว มมือ ระหว่า ง


ประเทศเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการปกป้องคุ้มครองเด็ก
ให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากถูกพาไปหรือกักตัวไว้โดยมิชอบ และส่งคืนเด็กกลับสู่ประเทศ
ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ปกติโดยเร็ว รวมทั้งรับรองให้มีการคุ้มครองสิทธิในการพบและเยี่ยมเยียนเด็ก
ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยลักษณะทางแพ่งในการลักพาเด็ก
ข้ามชาติ ค.ศ. ๑๙๘๐ (Convention on The Civil Aspect of International Child
Abduction, 1980) แล้ว จึงมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าวในเรื่องต่าง ๆ เช่น
ผู้ประสานงานกลาง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้มีอํานาจหน้าที่ดําเนินการสืบหาแหล่งที่อยู่ของเด็ก
ดําเนินการให้มีการส่งตัวเด็กกลับคืน และใช้สิทธิในการพบและเยี่ยมเยียนเด็ก หน่วยงาน
ของรัฐที่มีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลเด็กชั่วคราวในระหว่างการดําเนินการเกี่ยวกับการส่งตัวเด็ก
กลับคืน ตลอดจนการกําหนดอํานาจหน้าที่และกระบวนพิจารณาของศาล จึงจําเป็นต้อง
ตราพระราชบัญญัตินี้
คณะรั ฐมนตรี หวั งเป็ นอย่ างยิ่ งว่ าร่ างพระราชบั ญญั ติ ฉบั บนี้ จะได้ รั บความ
เห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วย
ลักษณะทางแพ่งในการลักพาเด็กข้ามชาติ ค.ศ. ๑๙๘๐ อย่างสมบูรณ์ และสามารถใช้สิทธิ
ในฐานะรัฐภาคีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปกป้องคุ้มครองเด็กให้พ้น
จากภยันตรายอันเกิดจากการถูกพาไป หรือกักตัวไว้โดยมิชอบต่อไป ขอบคุณครับ
นายวิ สุ ท ธิ์ ไชยณรุ ณ (รองประธานสภาผู้ แ ทนราษฎร คนที่ ส อง) :
ท่านสมาชิกครับ วันนี้ผมว่าประชุมมาพอสมควรครับ ผมขอปิดการประชุมครับ

เลิกประชุมเวลา ๒๐.๐๒ นาฬิกา


การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๔ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิตบิ ัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
_____________

รายนามคณะผู้จัดทํา

ที่ปรึกษา นายวัชรินทร์ จอมพลาพล รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


นางสาวยุพา ศิรประภาพร ผู้อํานวยการสํานักรายงาน
การประชุมและชวเลข

ผู้ตรวจทานรายงานการประชุม
นางฐานิสา แก้วสถิตย์ เจ้าพนักงานชวเลขอาวุโส
บังคับบัญชาข้าราชการกลุ่มงานชวเลข ๒
นางณิชานันท์ ดียามา เจ้าพนักงานชวเลขอาวุโส
นางสาวอัมพา กันทิโกวิทย์ เจ้าพนักงานชวเลขอาวุโส
สิบตํารวจโทหญิง ประทีป รักเมือง เจ้าพนักงานชวเลขอาวุโส

ผู้จดรายงานการประชุม
นางสาวสิริพร ณ น่าน นางสาวเปมิศา เจริญรักษ์
นางสาวศิริรตั น์ สมัครเขตรการ นางภาวดี ทองรักษ์
นางสาวอริสา นึกรัมย์ นางปิยาพัชร จันทร์ส่อง
นางศิริวรรณ สากลวารี นางศันสนีย์ ฤทธิ์ประเสริฐศรี
นางสะแกวัลย์ ตั้งพิพัฒน์พงศ์ นางสาวธัญรดา สุจิระวงศ์
นางกนกวรรณ แสงมณี นางสาวสวรรยา วงศ์หมัดทอง
นางสาววาสนา อินตรา นางสาวพรภิมล ยอดทอง
นางสาวพรธิดา สุพรม นางเสาวลักษณ์ เพชรา

กลุ่มงานชวเลข ๒
สํานักรายงานการประชุมและชวเลข
สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

You might also like