You are on page 1of 25

บทที่ 9

การปรับพฤติกรรมและ
การแก้ปัญหาพฤติกรรมในชั้นเรียน
บทนา
การปรับพฤติกรรมเป็นศาสตร์หนึ่งที่นามาประยุกต์นาไปใช้ในห้องเรียน เพี่อแก้ไขความ
ประพฤติที่ไม่เหมาะสมของเด็กในชั้นเรียนซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะพฤติกรรมนั้นดูผิวเผินจะเข้าใจง่าย หากศึกษาให้ละเอียด
แล้วนามาศึกษาวิเคราะห์ จะพบว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ละเอียดอ่อน และจะเห็นความแตกตางได้อ
ยางชัดเจน ซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นเอกลักษณ์ที่สาคัญที่สุดของมนุษย์ ดังนั้น จึงต้องศึกษา
เทคนิคทางจิตวิทยาในการแก้ไขพฤติกรรมที่ไมเหมาะสมบางอย่างได้จาก พื้นฐานที่มาของพฤติกรรม
บุคคล ทฤษฎีพื้นฐานในการปรับพฤติกรรม การปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน และขั้นตอนในการปรับ
พฤติกรรมในชั้นเรียน การแก้ปัญหาพฤติกรรมในชั้นเรียน

พื้นฐานที่มาของพฤติกรรมบุคคล
นักจิตวิทยาใช้คาว่า “พฤติกรรม" เป็นสื่อระบุถึงการกระทาอันเนื่องมาจากการกระตุ้น หรือ
ถูกจูงใจจากสิ่งเร้าต่าง ๆ ซึ่งเมื่อศึกษาให้ละเอียดแล้ว การกระทาหรือพฤติกรรมที่เราได้เห็นหรือได้
สั มผั ส รั บ รู้ นั้ น ส่ ว นหนึ่ งของการกระท าเป็น การกลั่ นกรอง ตกแต่งและตั้งใจที่จ ะทาให้ เกิด ขึ้น มี
พฤติกรรมอยู่มากทีเดียวที่แม้จะทาด้วยสาเหตุหรือจุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่ลักษณะท่าทีกริยาอาจจะ
แตกต่างกันไป เมื่อเปลี่ยนบุคคล เปลี่ยนเวลา หรือเปลี่ยนสถานที่และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ความ
แตกต่างที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะการกระทาในแต่ละครั้ง จะต้องผ่านกระบวนการคิดและการตั ดสินใจ
อันประกอบด้วยอารมณ์และความรู้สึกของผู้กระทาพฤติกรรมนั้น ๆ จึงทาให้พฤติกรรมของแต่ละคน
และพฤติกรรม แต่ละคราวเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนไปตามเรื่องที่เกี่ยวข้องเสมอ (สุรพล พะยอม
แย้ม, 2545)

พฤติกรรมส่วนบุคคล (Individual Behavior)


จากการศึกษาของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมได้อธิบายว่า พฤติกรรมส่วนบุคคลเกิดขึ้น
จากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ (สุรางค์ โค้วตระกูล. 2553)
1. เชาวน์ปัญญา ความสามารถพิเศษ ความถนัดและความสนใจ บุคคลที่มีเชาวน์ปัญญาดี
ย่อมมีพฤติกรรมต่างจากบุคคลที่มีเชาวน์ปัญญาต่า บุค คลที่มีเชาวน์ปัญญาดีจะชอบค้นคว้าหาความรู้
ชอบศึกษาวิจัย ชอบอ่านหนังสือ สวนบุคคลที่มีเชาวน์ปัญญาต่ามักชอบกิจกรรมที่ใช้แรงงาน เช่น ทา
ไร ทาสวน ชกต่อย เป็นต้น
2. เพศและขนาดของรางกาย เพศต่างกัน ทาให้มีพฤติกรรมต่างกัน เช่น หญิงมีกิริยาวาจา
อ่อนหวาน นุมนวล ส่วนชายจะหยาบกระด้างกว่า ขนาดของร่างกาย รูปร่างหน้าตา ก็มีส่วนทาให้
161

พฤติกรรมแตกต่างกัน ผู้มีรูปรางหน้าตาดี ก็จะชอบออกสังคม ปรากฏตัวต่อหน้าชุมชน ส่วนผู้มีปม


ด้อยเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา เช่น อ้วน เตี้ย จะเก็บตัวไม่ค่อยกล้าแสดงออก เป็นต้น
3. สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสภาพสิ่งแวดล้อม บุคคลที่มีฐานะเศรษฐกิจดีมีฐานะร่ารวย
จะอยู่ ใ นสภาพแวดล้ อ มที่ ดี แ ละพฤติ ก รรมจะแตกต่ า งจากบุ ค คลที่ มี ฐ านะด้ อ ยกว่ า และอยู่ ใ น
สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เป็นต้น
4. วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และการใช้ภาษาของแต่ละท้องถิ่น สิ่งเหลานี้ ทาให้บุคคล
มีพฤติก รรมแตกต่ างกัน อย่ า งหลากหลาย การดาเนิน ชีวิ ต การพูด การรั บประทานอาหาร การ
แสดงออกเกือบทุกด้านจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และการใช้ภาษาของแต่
ละท้องถิ่นแทบทั้งสิ้น เช่น คนภาคเหนือกับคนภาคใต้ คนภาคตะวันตกกับคนภาคตะวันออก จะมี
พฤติกรรมที่แตกต่างกันอยางเห็นได้ชัด เป็นต้น
5. สภาพภู มิ ศ าสตร์ ข องแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น สภาพภู มิ อ ากาศ ภู มิ ป ระเทศ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ
พฤติกรรม โดยเฉพาะนิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิดของบุคคล เช่น ผู้อยู่ในอากาศร้อนจะมีความเฉื่อยชา
เบื่อหนาย ไม่ค่อยกระตือรือร้น เท่ากับผู้อยู่ในอากาศหนาว หรือผู้อยู่ในเมืองหลวงจะมี พฤติกรรมที่
คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง
6. อาชีพ อาชีพที่ต่างกัน มีอิทธิพลให้พฤติกรรมแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยูกับฐานะ บทบาท
สถานภาพ และกาลเทศะ ของบุคคล เช่น อาชีพนักธุรกิจกับครูสอนหนังสือ เกษตรกรกับคนงานใน
โรงงาน ล้วนแต่มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เป็นต้น

สิ่งที่กาหนดพฤติกรรม (Determinant of behavior)


ในทางจิตวิทยาสรุปสิ่งที่เป็นตัวกาหนดพฤติกรรมบุคคลไว้ 2 ประการ คือ กรรมพันธุและ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งศัพท์ภาษาอังกฤษในทางจิตวิทยาอาจใช้คาแตกต่างกัน (สุรพล พะยอมแย้ม, 2545)
1. Heredity and Environment
2. Nature and Nurture
3. Genetics and Environment
สิ่งที่เป็นกรรมพันธุและสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นเรื่องที่เราแต่ละคนไม่สามารถควบคุมให้เป็นไป
ตามใจที่เราต้องการได้ ถึงแม้ว่าเราอาจเลือกสิ่งแวดล้อมได้บ้างในบางครั้ง หรือจัดการควบคุมทาง
พันธุกรรมในบางประการ แต่ทั้งสิ่งแวดล้อมที่เราเลือก หรือพันธุกรรมที่เรากาหนดนั้น ไม่สามารถ
จัดการได้ทั้งหมดและตลอดเวลาหรือเสมอไป โดยเฉพาะการกาหนดพันธุกรรมให้กับตนเอง ดังนั้น สิ่ง
ที่กาหนดพฤติกรรมบุคคลใช้หลักการ 3 ประการ คือ (สุรพล พะยอมแย้ม, 2545)
1. พฤติกรรมบุคคลมีผลมาจากองค์ประกอบ 2 ประการ ได้แก่ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
2. พันธุกรรมจะเป็นตัวกาหนดลักษณะหรือคุณสมบัติทางร่างกาย และส่งผลต่อเนื่องถึง
การกระทาในระยะต่อมาในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายทิศทาง
3. การเปลี่ ย นแปลงแก้ไขพฤติกรรมของบุคคล สิ่งแวดล้ อมจะเป็นตัว กาหนดที่ส าคัญ
มากกว่าสิ่งอื่น ๆ
162

กระบวนการเกิดพฤติกรรม
เมื่อบุคคลกระทาสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมา การแสดงออกเช่นนั้นได้ ย่อมต้องอาศัยขั้นตอนของ
การเกิดอยางเป็นกระบวนการมาก่อนทั้งสิ้น และในกระบวนการเกิดพฤติกรรมทั้งหมดนี้ เราอาจแยก
ออกเป็นกระบวนการย่อยได้อีกอย่างน้อย 3 กระบวนการ คือ (สุรางค์ โต้วตระกูล, 2553)
1. กระบวนการรับรู (Perception Process) กระบวนการรับรู้เป็นกระบวนการเบื้องต้นที่
เริ่มจากการที่บุคคลไต้รับสัมผัสหรือรับข่าวสารสัมผัสจากสิ่งเร้าต่างๆ โดยผ่านระบบประสาทสัมผัส
ซึ่งรวมถึงการที่รู้สึก (Sensation) กับสิ่งเร้าที่รับสัมผัสนั้นๆ ด้วย
2. กระบวนการคิ ด และเข้ า ใจ (Cognition Process) กระบวนการนี้ อ าจเรี ย กได้ ว่ า
กระบวนการทางปั ญ ญา ซึ่ ง เป็ น กระบวนการที่ ป ระกอบไปด้ ว ยการเรี ย นรู้ การคิ ด และการจ า
ตลอดจนการนาไปใช้หรือเกิดพัฒนาการจากการเรียนรู้นั้นๆ ด้วยการรับสัมผัส การรู้สึก ที่นามาสู่การ
คิดและเข้าใจ นี้เป็นระบบการทางานที่มีความละเอียดซับช้อนมาก และเป็นกระบวนการภายในทาง
จิตใจ
3. กระบวนการแสดงออก (Spatial behavior process) หลังจากผ่านขั้นตอนของการรับรู้
และการคิดและเข้าใจแล้ว บุคคลจะมีอารมณ์ตอบสนองต่อสิ่งที่ได้รับรู้นั้น ๆ แต่ยังมิได้แสดงออกให้
ผู้อื่นได้รับรู้ ยังคงเป็นพฤติกรรมที่อยู่ภายใน (Covert behavior) แต่เมื่อได้คิดและเลือกที่จะแสดง
การตอบสนองให้ บุ ค คลอื่ น สั ง เกตได้ เราจะเรี ย กว่ า พฤติ ก รรมภายนอก (Overt behavior) ซึ่ ง
พฤติ กรรมภายนอกนี้ เป็ น เพีย งสวนหนึ่ง ของพฤติ กรรมที่มี อ ยู่ทั้ ง หมดภายในตัว บุ ค คลนั้ น เมื่ อ มี
ปฏิ กิ ริ ย าตอบสนองต่อ สิ่ ง เร้ า ใดสิ่ ง เร้ าหนึ่ ง การแสดงออกมาเพีย งบางส่ ว นของที่ มี อยู่ จ ริ งเช่ น นี้
จึงเรียกวา (Spatial behavior) โดยแท้ที่จริงแล้ว กระบวนการย่อยทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ ไม่สามารถแยก
เป็ น ขั้น ตอนต่างหากหรื อเป็ น อิส ระจากกัน เพราะการเกิ ดพฤติกรรมในแต่ล ะครั้งนั้น จะมี ความ
ต่อเนื่องสัมพันธ์กันอย่างมาก

แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานในการปรับพฤติกรรม
การปรับพฤติกรรมเป็นวิชาการสาขาหนึ่งของการบาบัดทางจิต (Psychotherapy) ที่เน้น
เฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตได้ การปรับพฤติกรรมเป็นวิธีการนาเอาหลักการเรียนรู้และหลักพฤติกรรมที่
ได้จากการทดลองมาใช้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข พฤติกรรมที่เป็นปัญหาให้เป็นพฤติกรรมที่พึงปรารถนา
และเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาให้ถาวรขึ้น แนวคิดทฤษฎีที่กล่าวถึงในที่นี้ คือ ทฤษฎีการ
เรี ย นรู้ ทฤษฎี ก ารเรี ย นรู้ ดั ง กล่ า ว เน้ น ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสิ่ ง เร้ า กั บ ปฏิ กิ ริ ย าตอบสนองหรื อ
ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือความประพฤติของ
บุคคล ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นามาปรับพฤติกรรมที่กล่าวถึงในที่นี้มี 3 ประเภท คือ ทฤษฎีการเรียนรู้
แบบคลาสสิก ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขการกระทา และทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม
(สมพร สุทัศนีย.์ 2544)
1. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบคลาสสิก (Classical Conditioning)
เป็นการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์ระหวางสิ่งเร้าและปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้าที่ว่านี้ เป็นสิ่ง
เร้าภายนอกที่มากระตุ้นให้คนแสดงพฤติกรรมที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้
เกิ ด ขึ้ น อย่ า งรู้ ตั ว ทั้ ง หมด เช่ น ถ้า คนเอามื อ ไปถู ก เตาร้ อ น ๆ ก็จ ะหดมื อ อย่ า งรวดเร็ ว ปฏิ กิ ริ ย า
163

ตอบสนองเช่นนี้ ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่มันจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ สิ่งเร้าที่มากระตุ้นไม่ได้เป็นสิ่ง


เร้ า ที่ ว างเงื่ อ นไข แต่มั น จะเป็ น ไปโดยอั ต โนมั ติ สิ่ ง เร้า ที่ ม ากระตุ้น ไม่ ไ ด้ เ ป็น สิ่ ง เร้ า ที่ ว างเงื่ อ นไข
(Unconditioned Stimulus) ดั ง นั้ น เมื่ อ น าสิ่ ง เร้ า หนึ่ ง มาควบคู กั บ สิ่ ง เร้ า ซึ่ ง ท าให้ เ กิ ด ปฏิ กิ ริ ย า
ตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่าปฏิกิริยาสะท้อน (Unconditioned Response) สิ่งเร้า
ใหม่ที่มีความเป็นกลางจะทาให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกวางเงื่อนไขได้ ดัง เช่น การทดลองสั่นกระดิ่งให้สุนัข
ฟัง สุนัขจะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่อาจทานายได้ (อาจเฉยๆ หรือกระดิกหาง ฯลฯ) เมื่อเอาผงเนื้อใส่
ปากสุนัข สุนัขจะน้าลายไหล ต่อมาเมื่อทาการทดลองโดยสั่นกระดิ่ง (สิ่งเร้าที่เป็นกลาง) แล้วเอาผง
เนื้อซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ทาให้เกิดปฏิกิริยาสะท้อน (Unconditioned Stimulus)ใส่ปากสุนัข โดยทาช้า ๆ
ในเวลาที่ใกล้ชิดติดกันหลาย ๆ ครั้ง ในระยะหลังเมื่อสั่นกระดิ่งเพียงอย่างเดียว สุนัขจะน้าลายไหล
เพราะเกิดการเรียนรู้และเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่งกับอาหาร นั่นคือ แต่เดิมน้าลายของสุนัขไม่ไหล
เมื่อได้ยิ นเสียงกระดิ่ง แต่เมื่อน าเสี ยงกระดิ่งไปควบคู่กับผงเนื้อน้าลายสุ นัขจะไหลเมื่อได้ยินเสียง
กระดิ่งอย่างเดียวในเวลาต่อมา เขียนเป็นไดอะแกรมได้ดังนี้

จากไดอะแกรมจะเห็นว่าเสียงของกระดิ่ง ในตอนแรกเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (CS) โดยเราไม่


ทราบว่าสุนัขจะตอบสนองต่อเสียงกระดิ่งในลักษณะใด ต่อมาเมื่อเอาผงเนื้อใส่ปากสุนัขควบคู่กับเสียง
กระดิ่งในเวลาที่ซ้ากันหลาย ๆ ครั้ง กระดิ่งจะกลายเป็น “สิ่งเร้าที่ถูกวางเงื่อนไข" (Conditioned
Stimulus) หมายความว่า สุนัขเกิดการเรียนรู้ว่า เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งจะได้กินเนื้อ การที่สุนัขน้าลาย
ไหลในครั้งหลัง ๆ จึงเป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข" (Conditioned Response)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขการกระทา (Operant Conditioning)
รูปแบบของการเกิดพฤติกรรมตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขการกระทา
ของสกินเนอร์ เป็นทฤษฎีที่พัฒนาโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเน้นการกระทาที่บุคคลต้องลงมือ
164

กระทาเอง (Emitted Behavior) สกินเนอร์ เชื่อว่า พฤติกรรมเกิดรวมกันระหว่างตัวผู้แสดงพฤติกรรม


(Genetic Endowment) และเงื่ อ นไขสิ่ ง แวดล้ อ มในรู ป ผลกรรม (Consequences) ท าให้ เ กิ ด
พฤติกรรมที่เรี ยกว่า พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเอง (Emitted Response) ซึ่งผู้แสดงพฤติกรรมแสดงเอง
และพฤติกรรมดังกล่าวถูกควบคุมโดยผลกรรมนั้น รูปแบบการเกิดพฤติกรรมมีดังนี้

Sd R S1

ภาพประกอบที่ 9.1 รูปแบบของการเกิดพฤติกรรมตามแนวคิดของสกินเนอร

จากภาพประกอบที่ 9.1 อธิบายได้ว่า สัญญาณสิ่งแวดล้อม (Sd) จัดโอกาสให้บุคคลแสดง


พฤติกรรม (R) และเกิดผลกรรมหลังพฤติกรรม (S1) ผลกรรมจะควบคุมพฤติกรรมนั้น ๆ คาตอบ คือ
สาเหตุข องพฤติก รรมคือ เงื่อ นไขสิ่ ง เร้า ดังนั้ น พฤติก รรมจึงเกิดจากเงื่อนไขสิ่ งเร้ าที่ชี้ นาให้ เกิ ด
พฤติกรรมและพฤติกรรมที่เกิดขึ้น จะถูกควบคุมและถูกปรับโดยสิ่ ง เร้าซึ่งเป็นแรงเสริ มที่เกิดหลั ง
พฤติกรรม อย่างไรก็ตาม สกินเนอร์ ก็มิ ได้ปฏิเสธสิ่งที่อยู่ ในตัวคน (Inner events) ที่เชื่อมโยง กับ
พฤติก รรม แต่ เ ขาให้ ความส าคั ญกั บสิ่ งเร้า ภายนอกที่ ทาให้ เกิ ด พฤติก รรมมากกว่ า สิ่ ง เร้ าภายใน
(Bandura, 1986) ดังนั้น พฤติกรรมจะถูกควบคุมโดยสิ่งแวดล้อมที่ทาให้เกิดพฤติกรรมอย่ างอัตโนมัติ
นั่น คือ สิ่ งเร้ าที่เป็น แรงเสริ มนั่ น เอง พฤติกรรมในที่นี้เรียกว่ า พฤติกรรมตอบสนองหรือปฏิกิริยา
ตอบสนอง (Response)
ปฏิกิริยาตอบสนองในที่นี้หมายถึง พฤติกรรมที่พึงประสงค์เป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
ชัดเจน วัดได้ นับได้ เช่น พูดจาสุภาพ นั่งกับที่ พูดชัดเจน ฯลฯ สิ่งเร้าที่เป็นแรงเสริ มหรือรางวัล
อาจจะเป็นสิ่งของ คาชมเชย หรือสัญลักษณ์ การให้สิ่งเร้า ดังกล่า ว ควรให้ทันทีที่เกิดพฤติกรรมที่พึง
ประสงค์ พฤติกรรมที่พึงประสงค์จะเพิ่มขึ้น ส่วนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ พูดจาหยาบคาย ลุก
จากที่ พูดไม่ชัด ฯลฯ จะไม่ได้รับความสนใจ พฤติกรรมดังกล่าวก็จะลดลงและหายไปในที่สุด
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory)
ทฤษฎีก ารเรี ย นรู้ ทางปั ญ ญาสั ง คมพั ฒ นาโดยนั กจิ ต วิท ยาชาวแคนาดา ชื่ อ อั ล เบอร์ ต
แบนดูรา (Albert Bandura. 1977) แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสั งคมเกี่ยวกับ
การเรียนรู้แบนดูรามีทัศนะว่า การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นไม่จาเป็นต้องแสดงพฤติกรรมออกมาทันที แต่การ
เรี ย นรู้ เ ป็ น การได้ม าซึ่ ง ความรู้ ใหม่ (Acquired new knowledge) ซึ่ง ยัง ไม่ จ าเป็ นที่ จะต้ องแสดง
ออกมา ดังนั้น การเรียนรู้ในแนวทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่
เกิดขึ้นภายในโดยไม่จาเป็นต้องแสดงออกมาให้เห็น แต่ถ้าแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมภายนอกก็เป็น
การยืนยันว่าเกิดการเรียนรู้ การที่แบนดูราเชื่อเช่นนี้ เพราะเขาเน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการสังเกตตัว
แบบหรื อ การเรี ย นรู้ โ ดยการสั ง เกต (Observational learning) เมื่ อ บุ ค คลสั ง เกตตั ว แบบแสดง
พฤติกรรมต่าง ๆ ก็จะจดจาพฤติกรรมต่ าง ๆ ของตัวแบบเอาไว้ แต่มิได้แสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ
ในทัน ที ทัน ใด ต่อ มาเมื่อมีโ อกาสจึงได้แสดงพฤติกรรมนั้นออกมา ตัว อยางเช่น เด็กสั งเกตเห็ น
165

พฤติกรรมก้าวร้าวของพ่อแม่ที่มีต่อกัน เด็ก ก็จะจดจาเอาไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้แบนดูราถือว่ าได้เกิดการ


เรียนรู้ (ต่อมาเมื่อมีโอกาสเหมาะเด็กก็จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมาทันที) แบนดูราเชื่อว่า บุคคล
มีความสามารถในการใช้สัญลักษณ์ คือเปลี่ยนประสบการณ์ชั่วคราวที่พบเห็นให้เป็นรูปแบบภายในซึ่ง
ทาหน้าที่เป็นตัวชี้แนะการกระทาในเวลาต่อมา ดังนั้น พฤติกรรมของบุ คคลจึงเกี่ยวข้องกับปัจจัย
ภายในของบุคคลซึ่งหมายถึง สติปัญญา ตัวแปรชีวภาพ และสิ่งอื่น ๆ ในตัวคนรวมกับสภาพแวดล้อม
การแสดงพฤติกรรมจึงสามารถอธิบายได้ในลักษณะการมีปฏิสัมพัน ธ์หรือเป็นตัวกาหนดซึ่งกันและกัน
ระหว่างองค์ประกอบ 3 ด้าน (Triad Reciprocal Determinant) ดังภาพประกอบที่ 9.2

ภาพประกอบที่ 9.2 การกาหนดซึ่งกันและกันระหว่างพฤติกรรม (B) องค์ประกอบตัวบุคคล


(P) และสภาพแวดล้อม (E)

เพี่อให้เข้าใจชัดเจนจึงขอแยกกล่าวปฎิสัมพันธ์ที่ละคู่ ดังนี้
1. ระหว่าง P B เป็นปฎิสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล ได้แก่ ความคิด ความคาดหวัง
ความเชื่อ ความรู้สึก การรับรู้ตนเอง เป้าหมาย ความตั้งใจกับพฤติกรรม ปัจจัยดังกล่ าวกาหนดวาจะ
แสดงพฤติกรรมไปในทิศทางใด ในขณะ เดียวกันพฤติกรรมก็เป็นตัวกาหนดปัจจัยภายในตัวบุคคลด้วย
คือ ตอบสนองความรู้สึก เชน บุคคลคิดวาการดูทิวีรายการเกม โชว์ให้ความบันเทิงแกตน และรู้สึก
อยากดูรายการดังกลาว จึ งเปิดรายการเกมโชว์ การเปิดทีวีจึงเป็นการสนองอารมณ์และ ความรู้สึก
ด้วย
2. ระหว่าง E P เป็นปฎิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและตัวบุคคล สิ่งแวดล้อมซึ่ง
อาจจะเป็นสื่อข้อความหรือตัวแบบจะกระตุ้นความคิด ความคาดหวัง ความรู้สึก การรับรู้ตนเองและ
ลั ก ษณะอื่ น ๆ ของบุ ค คล โดยผ่ า นตั ว แบบการอบรมสั่ ง สอนหรื อ การชั ก จู ง ทางสั ง คม
ในขณะเดียวกันบุคคลจะมีปฏิกิริยาตอบสนองภายในตอสิ่งแวดล้อมด้ว ย เช่น รายการทีวีจะกระตุ้นให้
บุคคลรับรู้ว่ามีประโยชน์และทาให้เกิดความอยากดู เกิดการวางแผนที่จะดูและเลือกรายการทีวี แม้ว่า
รายการทีวีต่าง ๆ มีให้คนดูเหมือนกันหมด แต่บุคคลก็จะเลือกดูทีวีเมื่อไรโปรแกรมไหนก็ได้ การเลือก
รายการทีวีก็จะจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับความชอบตน
3. ระหวาง B E เป็นปฏิสั มพันธ์ระหว่ างพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม นั่นคือ
พฤติกรรมจะเปลี่ยนเงื่อนไขสภาพแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจะเปลี่ยนพฤติกรรมด้วย
เช่น จากตัวอย่างข้างต้น บุคคลจะเปลี่ยนรายการทีวี (สิ่งแวดล้อม) ตามความชอบ เมื่อสิ่งแวดล้อม
เปลี่ยนก็จะทาให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปด้วย
166

การอธิบายปัจจัย 3 ด้าน ซึ่งเป็นตัวกาหนดซึ่งกันและกันแต่ละตัวมีอิทธิพลไม่เท่ากัน และ


อาจจะเกิดขึน้ ไม่พร้อมกัน (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2550)

การปรับพฤติกรรมในห้องเรียน
ในสภาพการณ์จัดการเรียนกรสอน ครูมีอิทธิพลในการแก้ไขพฤติกรรมมากโดยเฉพาะการ
ให้แรงเสริมทั้งการให้แรงเสริมบวก และวิธีการอื่นๆ แม้แต่การลงโทษสถานเบา และการให้แรงเสริม
ทางสังคม แฮริ่งและพิลลิปส์ (Haring & Phillips. 1972) กลาวว่า ครูสามารถให้แรงเสริมในห้องเรียน
ได้ด้วยการให้ความสนใจและให้คาชมเชย ซึ่งเป็นแรงเสริมที่มีประสิทธิภาพมาก ประการสาคัญ แรง
เสริมทางสังคมเป็นแรงเสริมที่นามาใช้ได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
ออลท์แมน และสิน ตัว (Altman and Linton) ได้ให้ เหตุผล 3 ประการว่า ครูเหมาะสม
สาหรับเป็นผู้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กเพราะ (สมพร สุทัศนีย์. 2544)
1. สภาพห้องเรียนเป็นที่ที่เรามองเห็นได้ทั้งพฤติกรรมทางสังคมและพฤติกรรมทางวิชาการ
2. ในสภาพการเรียนเด็กต้องตั้งใจพังครูอยู่แล้ว
3. ในหลักสูตร มีเนื้อหาบางสวนที่เกี่ยวกับการแล้

แนวทางในการปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน
สาหรับการแก้ไขพฤติกรรมในห้องเรียนที่เรียกว่า “การปรับพฤติกรรม” สามารถกระทาได้
2 แนวทาง คือ การจัดบรรยากาศในการเรียนการสอน และใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรม (สมพร สุ
ทัศนีย์. 2544)
แนวทางที่ 1 การจัดบรรยากาศในการเรียนการสอน เป็นการเน้นแนวคิดของมนุษยนิยมที่
เน้นอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการโดยเฉพาะความต้องการตามลาดับขั้นของมาสโลว์ซึ่งได้แก่
1) ความต้องการทางด้านร่างกาย 2) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย 3) ความต้องการความรัก
และความเป็นเจ้าของ 4) ความต้องการเกียรติและการยอมรับ 5) ความต้องการตระหนักในตน

เพื่อให้เด็กที่มีปัญหาเศรษฐกิจ ความมั่นคงปลอดภัย ขาดความรัก ความอบอุ่นและการ


ยอมรับให้เด็กได้รับในสิ่งที่ไม่เคยได้รับมาก่อน ให้เด็กรู้สึกว่าโรงเรียนเป็นสถานที่น่าอยู่ น่าเล่าเรียน
ดังนั้นการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอน มีดังนี้
1. ควรสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่ช่วยให้นักเรียนมีความรู้สึกว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของ
ห้อง หรือเป็นสมาชิกคนหนึ่งของห้องเรียน และมีแรงจูงใจภายในที่จะเรียนรู้ บรรยากาศในห้องเรียน
ไม่ร้อนอบอ้าว ห้องเรียนควรโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ส ะดวกหรือมีพัดลมระบายอากาศ จัดโต๊ะ เก้าอี้ให้
เด็กนั่งสบายๆ เหมาะกับวัยและรูปร่างของเด็ก ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียดบ้าง
หลังจากนั่งเรียนมาเป็นเวลานานพอสมควร โดยอนุญาตให้ออกไปล้างหน้า หรือทาตัวให้สบายที่สุด
2. คานึงถึงสภาพร่างกายว่าเด็กได้รั บอาหารเพียงพอแล้วหรือยัง ควรจัดอาหารกลางวัน
เด็กที่ขัดสน จัดหาน้าดื่มไว้ให้เพียงพอ จัดหาของว่างให้เด็กได้รับประทานในเวลาบ่าย หรือให้มีเวลา
พักตอนบ่ายสัก 10-15 นาที เพื่อให้เด็กออกไปหาอาหารรับประทาน นอกจากนี้ครูควรสารวจว่าเด็ก
167

คนใดเจ็ บ ป่ ว ยบ้ าง ถ้ามีเด็กเจ็ บ ป่ ว ยควรให้ พักผ่ อน รับประทานยาให้ ร่างกายพร้อมที่จะเรียนได้


3. ทาให้เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น โต๊ะเรียน ม้านั่งควรอยู่ใน
สภาพที่แข็งแรงทนทาน อาคารเรียนก็ต้องมั่นคงแข็งแรง สามารถต้านทานลมพายุได้ เพดานห้องเรียน
ไม่เก่า ผุ จนเกิดความน่ากลัว อุปกรณ์เครื่องใช้ในห้องเรียน เช่น พัดลมที่ติดอยู่บนเพดานอยู่ในสภาพ
แข็งแรง เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในสภาพดี ปลอดภัย นอกจากนี้ครูควรจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมความมั่นคง
ปลอดภัย
4. จัดประสบการณ์การเรียนที่ช่วยให้เด็กประสบความสาเร็จ เมื่อเด็กประสบความสาเร็จ
จะรู้สึกภาคภูมิใจและมีความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self -Concept) ไปในทางที่ดี
5. ครูควรแสดงการยอมรับเด็กไม่ว่าเด็กจะอยู่ในสภาพใด เช่น ถ้าเป็นเด็กที่เรียนอ่อน มีปมด้อย
ครูก็ควรแสดงให้เห็นว่าครูยอมรับในสภาพที่เด็กเป็นอยู่และเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถ
ด้านอื่นๆ เป็นการชดเชยเพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกว่าตนก็เป็นคนมีคุณค่า
6. การเปิดโอกาสให้เด็กได้รับการยอมรับอีกวิธีหนึ่งคือ การให้ทางานเป็นกลุ่ม จากการศึกษา
และวิจัยพบว่า การทางานเป็นกลุ่มมีประสิทธิภาพมากกว่าการทางานคนเดียว เพราะคนต้องการ
มีความสัมพันธ์กับคนในกลุ่ม ต้องการปรึกษาหารือ ดังนั้น การทางานเป็นกลุ่มย่อมทาให้เด็กได้รับการ
ยอมรับและได้รับความสาคัญ แม้ว่าบางครั้งการทางานเป็นกลุ่มจะทาให้คนทาตามกลุ่มและสูญเสีย
อิสรภาพ ความเป็นตัวของตัวเองไปบ้างก็ไม่เป็นไร (สุรางค์ โค้วตระกูล. 2553)
แนวทางที่ 2 เทคนิคการปรับพฤติกรรม เป็นวิธีการปรับพฤติกรรมที่อยู่บนพื้นฐานการ
เรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
1. การให้แรงเสริม การให้แรงเสริมเป็นวิธีการของการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขการกระทา
ของสกิน เนอร์ เป็ น วิธีการที่ส ามารถนามาใช้ในการแก้ไขพฤติกรรมของเด็กในโรงเรียนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ มีข้อมูลยืนยันการใช้แรงเสริมในหลายรูปแบบ เช่น การให้แรงเสริมที่เป็นสิ่งของที่จับ
ต้องได้ กินได้ แรงเสริมทางสังคมที่เป็นคาชมเชย การให้ความสนใจ แรงเสริมที่เป็นกิจกรรมที่เด็กชอบ
มากกว่ากิจกรรมการเรียน แรงเสริมที่แลกเปลี่ยน ฯลฯ มีงานวิจัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ยืนยันว่า
แรงเสริมประสิทธิภาพแก้ไขพฤติกรรมการเรียน พฤติกรรมทางสังคมและอื่น ๆ เช่น งานวิจัยของ
พิมพ์วิสาข์ ติ่งเคลือบ (2555) ผลการวิจัยพบว่า เมื่อใช้วิธีการเสริมแรงทางบวก (การเพิ่มคะแนน) จะ
กระตุ้นให้นักศึกษาเล่นอินเทอร์เน็ตระหว่างเรียนลดลงน้อยกว่า การใช้ วิธีการเสริมแรงทางลบ (การ
หักคะแนน) โดยเมื่อได้รับการเสริมแรงทางบวกจะทาให้มีความสนใจเรียนมากขึ้น และเมื่อนักศึกษา
เข้าใจเนื้อหาและสามารถทาแบบฝึกหัดได้จะส่งผลต่อคะแนนของนักศึกษาสูงขึ้นอีกด้วย และงานวิจัย
ของวั น ดี จู เ ปี่ ย ม (2554) ผลการศึ ก ษา พบว่ า นั ก เรี ย นระดั บ ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 3/5
มีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทางานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้ นหลังการใช้
แรงเสริมทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกรและมีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทางานที่ได้รับมอบหมาย
สูงกว่าร้อยละ 70 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. การฝึกพฤติกรรมแสดงออกที่เหมาะสม (Assertive behavior) เป็นเทคนิคการปรับ
พฤติกรรมที่ใช้ในการแก้ไขความกลั วและความวิตกกังวล โดยจะใช้วิธีการและขั้นตอนในการฝึ ก
พฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม ซึ่งประกอบด้วยการฝึกทักษะทางสังคม (Social Skills) และ
การใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การให้คาแนะนา (Coaching Instruction) การแสดงตัวอย่าง (Modeling)
168

การซ้ อ มบทบาทของพฤติ ก รรม (Behavior rehearsal) การให้ แ รงเสริ ม ทางบวก (Positive


reinforcement) การแสดงบทบาทสมมติ (Role-playing) และการให้การบ้าน (Home assignment)
เพื่อให้ เกิ ดการแสดงออกตามความรู้สึ กนึกคิด และความต้องการที่ แท้จริงของแต่ล ะคนได้อย่า ง
เหมาะสมเป็นธรรมชาติ ด้วยความมั่นใจอย่างตรงไปตรงมา ตามสิทธิของแต่ละบุคคลอื่นด้วย ในการ
วิจัยครั้งนี้พฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมวัดด้วยคะแนนจากแบบวัดพฤติกรรม การแสดงออก
อย่างเหมาะสม (ตรรกพร สุขเกษม. 2554)
3. การเตื อ นตนเอง (Self – monitoring) เป็ น เทคนิ ค ง่ า ย ๆ ที่ ใ ห้ บุ ค คลหรื อ เด็ ก ที่ มี
พฤติกรรมที่เป็นปัญหา สังเกตและรายงานพฤติกรรมของตนเองว่าเกิดขึ้นเวลาใด ในสถานการณ์ใด
มากที่สุด แล้วรายงานต่อผู้ที่จะแก้ปัญหาหรือรายงานให้ครูทราบ เพื่อจะได้ดาเนินการแก้ไขพฤติกรรม
ต่ อ ไป วิ ธี นี้ เ ป็ น วิ ธี ค วบคุ ม ตนเองจากทั้ ง ภายนอกและภายใน นั่ น คื อ การสั ง เกตและจดบั น ทึ ก
พฤติกรรมตนเอง นับเป็นวิธีควบคุมจากภายใน แต่การที่ครูหรือบุคคลภายนอกให้แรงเสริมเป็นวิธี
ควบคุมจากภายนอก
4. การเสนอตัวแบบ (Modeling Procedure) การเสนอตัวแบบเป็นเทคนิคที่พัฒนามา
จากงานของแบนดูร่า ในช่วงปี ค.ศ. 1969 คือ การเสนอตัวแบบในโรงเรียน การเสนอตัวแบบเป็น
เทคนิคที่สามารถใช้ปรับพฤติกรรม ทางอารมณ์ทางสังคม หรือทักษะทางกาย ซึ่งนับว่าเป็นเทคนิค
ที่ใช้ได้อย่ างกว้างขวางและเป็น ธรรมชาติ ซึ่งแบนดูร่า (Bandura, 1969) กล่ าวว่า ตัว แบบนั้นให้
ประโยชน์ 3 ด้านคือ ช่วยให้บุคคลเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ ช่วยให้พฤติกรรมที่เรียนรู้มาแล้วได้มีโอกาส
แสดงออกและมีผลให้เกิดการระงับพฤติกรรมบางอย่าง การเสนอตัวแบบทาให้เด็กเกิดการสังเกตและ
ทาตามแบบอย่าง เช่น สังเกตตัวแบบจริง ตัวแบบจากภาพยนตร์ จากรูปภาพ ฯลฯ การเสนอตัวแบบ
จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กมาก ดังตัวอย่างการศึกษาของรอสและคณะ (Ross, et.al., 1971)
ซึ่งให้เด็กที่แยกตัวออกจากสังคม ดูตัวแบบจากรูปภาพการเล่าเรื่อง ภาพยนตร์ และตัวแบบคนจริงซึ่ง
แสดงการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นให้เด็กดู และให้แรงเสริมเมื่อเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น สอดคล้องกับ
การศึกษาของ ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ และบุญยิ่ง ทองคุปต์ การทาคลอดปกติ และทาคลอดรกและการรับรู้
ความสามารถของตนในการทาคลอดปกติและการทาคลอดในนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จานวน 59 คนที่กาลัง
ศึกษาภาคการศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ซึ่งได้รับการสอนทักษะการทาคลอดปกติ และการทา
คลอดรกจากนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัย จานวน 30
คน ในห้องปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้แนวคิดของ Bandura (1969) คือให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์
ชั้นปีที่ 3 ซึ่งเป็นรุ่นน้องได้สังเกต และทาตามแบบอย่างนักศึกษารุ่นพี่ ซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์
ชั้นปีที่ 4 ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า นักศึกษาสามารถฝึกทักษะการทาคลอดได้สมบูรณ์ และมีทักษะการ
ทาคลอดรก แบบ Controlled Cord Traction ได้สมบูรณ์ขึ้น
5. การชี้แนะ (Prompts) เป็นการให้สิ่งเร้ากระตุ้นให้เด็กแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการ
การชี้แนะมักนิยมใช้ร่วมกับการให้แรงเสริม การชี้แนะอาจจะเป็นคาพูด กิริยาท่าทางหรือสื่อต่างๆ
เครื่องชี้แนะอาจจะช่วยปรับพฤติกรรมทางการเรี ยน หรือพฤติกรรมทางสังคม ถ้าเป็นเด็กที่มีปัญหา
ทางการเรียน แก้ได้โดยตรงด้วยการอาศัยเครื่องชี้แนะ ได้แก่ “บทเรียนแบบโปรแกรม” หรือสื่ออย่างอื่น
สาหรับเครื่องชี้แนะในการปรับพฤติกรรมอื่น ๆ มีหลายวิธี เช่น การพูดกระตุ้น การใช้กิริยาท่าทาง
169

6. การลงโทษ เป็นการให้สิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ (aversive stimulus) หลังจาก


การตอบสนองอันใดอันหนึ่ง ซึ่งทาให้โอกาสที่จะแสดงออกแล้วควบคุมด้วยสิ่งเร้าที่ไม่น่าพึงพอใจ
ซึ่ง เป็ น วิ ธีก ารควบคุ มพฤติ กรรมที่ก่ อให้ เ กิด ผลเสี ยเพราะเป็ นการให้ สิ่ ง ที่ไ ม่น่ าพึ งพอใจหลั ง จาก
พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นการลงโทษมักจะเป็นวิธีที่ใช้กับเด็กที่ปรับตัวไม่ได้อย่างรุนแรง เช่น ก้าวร้าว ต่อสู้
ทุบตี เป็นต้น การลงโทษ อาจจะเป็นการทาให้เจ็บกาย เช่น ตี และเจ็บปวดทางใจ เช่น ตาหนิ เยาะเย้ย
นอกจากนี้ยังมีการช็อตด้วยไฟฟ้าเสียงรบกวน เป็นต้น
7. การควบคุมตนเอง วิธีการควบคุมตนเองที่ใช้ในห้องเรียนนั้นจะกระทาตามขั้นตอน
ที่กล่าวไว้แล้ว คือ 1) การกาหนดพฤติกรรมเป้าหมายด้วยตนเอง 2) กาหนดเงื่อนไขแรงเสริมหรือ
การลงโทษด้วยตนเอง 3) การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมด้วยตนเอง 4) การประเมินตนเอง 5) ให้
แรงเสริมหรือลงโทษตนเอง
8. การฝึกสอนตนเอง (Self-instructional Training) เป็นเทคนิคได้พัฒนามาจากแนวคิด
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทาของสกินเนอร์ และงานของนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย
ที่ศึกษาถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างภาษา ความคิด และพฤติกรรมและได้เสนอว่า การควบคุม
พฤติกรรมของบุคคลนั้นเริ่มจากบุคคลที่มีความสาคัญต่อเขา โดยเริ่มจากการควบคุมด้วยคาพูดหรือ
ภาษา ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมพัฒนาไปสู่การควบคุมตนเองโดยการที่เด็กใช้คาพูดภายนอก
(พูดเสียงดัง) ต่อมาจึงพูดจากภายในใจตนเอง เขาจึงได้พัฒนาโปรแกรมการสอนตนเองขึ้ นสอนเด็กที่มี
ลักษณะหุนหันพลันแล่น (Impulsive) โดยเริ่มให้เด็กดูตัวแบบว่าเขาจะทาอะไรแล้วให้เด็กพูดตามด้วย
เสียงดัง จากนั้นค่อยๆ พูดให้เบาลง จนในที่สุดพูดกับตัวเองภายในใจ ซึ่งพบว่าได้ผลดี (Meichenbaum
and Goodman 1971 อ้างถึงใน สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, 2550)
9. วิธีพฤติกรรมบาบัด เป็นวิธีการที่มีคนนิยมใช้กันมากในคลินิกโดยอาศัยหลักการเรียนรู้
ในห้องทดลอง มาใช้บาบัดคนเป็นโรคจิต โรคประสาทเพราะเชื่อว่า อาการของโรคจิต โรคประสาทนั้น
เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ ที่ไม่สมเหตุสมผลและขาดการปรับตัวที่ดีจึงทาให้คนไข้แสด ง
พฤติกรรมออกมาในลั กษณะที่ผิ ดปกติธ รรมดาขั้นตอนในการปรับพฤติกรรม การปรับพฤติกรรม
เป็นการปรับที่อยู่บนพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีระบบ มิใช่เกิดขึ้นตามแต่จะเป็นไปหรืออารมณ์ของ
บุคคลรอบข้าง แต่เมื่อกล่าวถึงการปรับพฤติกรรมหลายคนมักจะกล่าวว่า ก็ได้ปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ผล
ดังนั้นควรทาความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมดังต่อไปนี้จากลักษณะของการปรับพฤติกรรม

ลักษณะของการปรับพฤติกรรม
1. เน้ น การแก้ ไ ขพฤติ ก รรมหรื อ กิ ริ ย าอาการที่ สั ง เกตเห็ น ได้ ชั ด เจน เช่ น พู ด เสี ย งดั ง
เดิน ตะโกน เป็นต้น พฤติกรรมดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ตรงกัน วัดได้เป็นรูปธรรม
2. ไม่ใช้คาที่ประณามหรือตีตรา เช่น คาว่า ซน ก้าวร้าว ดื้อ ชอบขโมย โกหก เป็นต้น
เพราะเป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะของการประเมิน มีความหมายกว้างและซับซ้อน มีหลายพฤติกรรม
รวม ๆ กัน ยากแก่การสังเกตหรือสังเกตเห็ นได้แต่ต่างคนต่างก็เข้าใจไม่ตรงกัน ทาให้ยากแก่การจัด
โปรแกรมการปรับหรือแก้ไขพฤติกรรม
170

3. พฤติกรรมต่าง ๆ เกิดจากการเรียนรู้ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ก็เกิดจากการเรียนรู้ที่ไม่


เหมาะสม ฉะนั้น พฤติกรรมย่อมเปลี่ยนแปลงได้ โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมหรือการจัด
สภาพแวดล้อมใหม่ที่เหมาะสม
4. การปรับพฤติกรรมเน้นสภาพการณ์ในปัจจุบันเท่านั้น แม้ว่าพฤติกรรมนั้นเกิดจากการ
เรียนรู้ในอดีต แต่เงื่อนไขสิ่งเร้าและผลกรรมในสภาพการณ์ปัจจุบันเป็นตัวกาหนดว่าพฤติกรรมนั้นมี
แนวโน้มจะเกิดขึ้น บ่อยครั้ง หรื อมีแนวโน้มที่จะลดลง ถ้าสามารถรู้ว่าสิ่ งเร้าหรือผลกรรมใดทาให้
พฤติกรรมเกิดขึ้น บ่อยครั้งหรือลดลงก็สามารถจัดสภาพการณ์สิ่งเร้าและผลกรรมนั้นได้เหมาะสม
เพื่อให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปตามเป้าหมาย
5. การปรั บ พฤติกรรมเน้น การเพิ่มพฤติ กรรมที่ พึง ประสงค์ โดยการให้ สิ่ ง ที่เด็ กพอใจ
หลังจากเด็กแสดงพฤติกรรมที่ พึงประสงค์นั้น มากกว่าการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยการให้
สิ่งเร้าที่เด็กไม่พอใจหลังการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้น หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า เน้นวิธีการ
ทางบวกมากกว่าการลงโทษ
6. วิธีการปรับพฤติกรรมแต่ละวิธีนั้นจะใช้ได้เหมาะสมหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปั ญหาแต่ละ
ปัญหา เนื่องจากเด็กแต่ละคนย่อมมีภูมิหลังที่แตกต่างกัน การปรับพฤติกรรมจึงต้องตระหนักในเรื่อง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย
7. วิธีการปรับพฤติกรรมเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและขั้นตอนที่ได้รับการ
ทดสอบแล้วว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการปรับพฤติกรรมที่นามาใช้ในชั้นเรียน
เมื่อครู เข้าใจลั กษณะของการปรับพฤติกรรม ครูก็ส ามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการปรับ
พฤติกรรมดังนี้
1. เลือกพฤติกรรมที่ต้องการแก้ไข หรือเลือกพฤติกรรมเป้าหมายก่อนที่จะจัดรายการการ
ใช้เทคนิคในการแก้ไขพฤติกรรม หรือที่เรียกว่า “การปรับพฤติกรรม” (behavior modification) นั้น
เราต้องสารวจดูว่าพฤติกรรมอะไรบ้างที่ต้องแก้ไขพฤติกรรมที่ต้องการแก้ไขเรียกว่า “พฤติกรรม
เป้าหมาย” (target behavior) พฤติกรรมเป้าหมายดังกล่าวคือ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั่นเอง
2. วิเคราะห์พฤติกรรมที่ต้องการแก้ไข หมายถึง การจาแนกพฤติกรรมออกเป็นพฤติกรรม
ย่อย ที่บ่งบอกพฤติกรรมที่ต้องการแก้ไขเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีปริมาณหรือจานวนบ่ง
บอกไว้
3. เลือกตัวแรงเสริมในการแก้ไขพฤติกรรม เมื่อทราบพฤติกรรมเป้าหมาย และสามารถ
วิเคราะห์พฤติกรรมเป้าหมายแล้ว ขั้นต่อไปคือการเลือกตัวแรงเสริม แรงเสริมที่ต้องเลือกคือ “ตัวแรง
เสริมบวก” ซึ่งมีมากมายดังกล่าวแล้วข้างต้น เหตุที่ต้องเลือกเพราะต้องการให้แรงเสริมนั้นเหมาะสม
และสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน
4. เลือกเทคนิคต่างๆ ในการปรับพฤติกรรม เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขพฤติกรรมนั้น
ต้องเลือกให้เหมาะกับพฤติกรรมและทิศทางที่ต้องการ เช่น ต้องการลดพฤติกรรมหรือต้องการเพิ่ม
พฤติกรรม เทคนิคที่นามาใช้ในสถานการณ์จริงของห้องเรียน อาจจะใช้ในรูปของกิจกรรมง่าย ๆ ที่เป็น
เทคนิคการให้แรงเสริมบวก
171

5. วัดพฤติกรรม หมายถึง การนับความถี่ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง


โดยการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือบันทึกระยะเวลาที่เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ
6. ปฏิบัติตามขั้นตอนในการแก้ไข หรือปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน เมื่อครูทราบขั้นตอน
ในการแก้ไขและปรับพฤติกรรมแล้ว ก็สามารถดาเนินการตามขั้นตอนได้
7. ประเมินผลการปรับพฤติกรรม เมื่อครูทาการวัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในช่วงก่อน
การให้แรงเสริมและช่วงของการให้แรงเสริมช่วงเวลาละ 30 นาทีแล้ว นาความถี่ของพฤติกรรมที่ไม่พึง
ประสงค์นั้นมาเปรียบเทียบกัน เพื่ อดูความเปลี่ยนแปลงว่า พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลงไปมาก
น้อยเพียงใด เป็นการประเมินว่า โปรแกรมการให้แรงเสริมได้ผลหรือไม่มากน้อยเพียงใดและเพื่อเป็น
การยืนยันว่า โปรแกรมการให้แรงเสริมเชื่อถือได้
8. ติดตามผล เป็ นการติดตามผลหลั งจากโปรแกรมการแก้ไขพฤติกรรมสิ้นสุ ดลง เมื่อ
โปรแกรมการแก้ไขพฤติกรรมสิ้นสุดลงควรมีการตรวจสอบดูว่า พฤติกรรมที่ได้รับแรงเสริมนั้นคงที่
หรือกลับสู่สภาพเดิมหรือไม่ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลหรือหลักฐานในการยืนยันว่าแรงเสริมชนิดนี้ใช้ได้ผล
และเพื่อเป็นข้อมูลเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมการปรับพฤติกรรมในครั้งต่อ ๆ ไป

การแก้ปัญหาพฤติกรรมในชั้นเรียน
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาทางการเรียน
เป็นพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกได้หลายรูปแบบ ลักษณะปัญหาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการ
เรียนโดยเฉพาะ ซึ่งแสดงออกทางพฤติกรรมลักษณะต่างๆ มีดังนี้
1. ผลการเรียนต่า สอบตก บกพร่องในการเรียนรู้บางวิชา
2. ไม่ตั้งใจ ไม่สนใจเรียน เล่น พูดคุยในชั้นเรียน
3. เบื่อหน่าย นั่งหลับ ไม่มีสมาธิ ความสนใจสั้น เหม่อลอย
4. ทางานช้า ไม่ทางานที่ได้รับมอบหมาย
สาเหตุของพฤติกรรม
1. ระดับเชาวน์ปัญญา ต่ากว่าเกณฑ์ปกติ มีความบกพร่องในการเรียนรู้ ไม่ถนัดในบางวิชา
2. ปัญหาสุขภาพ
3. ลั ก ษณะบุ คลิ กภาพ อุ ปนิสั ย มี ลั กษณะเฉื่อยชา ไม่กระตื อรือร้น ขาดความเชื่อมั่ น
ไม่กล้าแสดงออก
4. ปัญหาทางอารมณ์จิตใจ มีความเครียด ความกดดัน ความก้าวร้าว ทาให้ขาดแรงจูงใจ
ไม่สามารถใช้ศักยภาพทางเชาวน์ปัญญาที่มีอยู่ได้เต็มที่ นักเรียนที่มีปัญหาทางอารมณ์อาจเกิดจาก
สาเหตุดังนี้
4.1 ฐานะครอบครัว เช่น ยากจน ขาดการกระตุ้นส่งเสริมทั้งทางด้านวัตถุและแรงจูงใจ
ในการเรียน
4.2 ครอบครัวย้ายที่อยู่บ่อย ต้องย้ายโรงเรียน เกิดปัญหาเรื่องการปรับตัวกับเพื่อน ครู
และ สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ
4.3 ครอบครัวแตกแยก บิดา-มารดาหย่าร้าง แยกกันอยู่
4.4 การอบรมเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ขาดการดูแลเอาใจใส่ ถูกทอดทิ้ง
172

5. ปัญหาทางสังคมสิ่งแวดล้อม ได้แก่
5.1 ปัญหาทางโรงเรียน เช่น กิจกรรมการเรียนการสอนไม่เหมาะสม ไม่ตอบสนอง
ความ ต้องการของนักเรียน กฎระเบียบเข้มงวดหรือปล่อยมากเกินไป
5.2 ปัญหาครู เช่น ครูขาดความพร้อมในการเตรียมจัดการเรียนการสอน วิธีสอนไม่
เหมาะสม บุคลิกภาพของครู ใช้วิธีการลงโทษที่รุนแรง ขาดเหตุผล ขาดการประสานงานกับเพื่อนครู
และผู้ปกครอง
5.3 ปัญหาการปรับตัวกับเพื่อน เช่น ทาตามเพื่อน เพื่อนข่มขู่หรือชักจูงให้มีพฤติกรรม
ที่เป็น ปัญหา หรือชอบลอกเลียนแบบทาตามเพื่อน
5.4 สภาพสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในชุมชนแออัด แหล่งการพนันและสารเสพติด แหล่ง
มั่วสุมทางเพศ
5.5 สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ จูงใจให้เลียนแบบและประพฤติปฏิบัติตาม
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. กรณีเรื่องเชาวน์ปัญญา ควรประเมินระดับเชาวน์ปัญญา โดย
1.1 ดูประวัติผลการเรียนที่ผ่านมา
1.2 ทดสอบเชาวน์ปัญญา
2. กรณีมีปัญหาในเรื่องของสุขภาพ ควรส่งพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย รักษา
3. กรณีจากบุคลิกภาพ ครูควรใช้วิธีปรับพฤติกรรมโดยใช้เทคนิคการเสริมแรงทางบวก ซึ่ง
ครู อาจจะใช้การให้แรงเสริมทางสังคม หรือการทาสัญญาพฤติกรรม
ครู
1. สร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่น่าสนใจ
2. ให้นักเรียนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีส่วนในการจัดกิจกรรมการดาเนินงานของโรงเรียน
และมี ส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎระเบียบ
3. สร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน
ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูลการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมในครอบครัว
2. ชี้ให้เข้าใจปัญหา สาเหตุ ให้มีส่วนร่วมในการแก้ไข
3. ให้คาแนะนาในการปรับบทบาท พฤติกรรม การสร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารความ
เข้าใจ ในครอบครัว
พฤติกรรมปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้
พฤติกรรมปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ หมายถึง การที่นักเรียนชอบอยู่คนเดียว ไม่สามารถ
เข้ากลุ่ม พูดคุย เล่น ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน
สาเหตุของพฤติกรรม
1. บุคลิกภาพ
1.1 อุปนิสัยการแสดงออกที่ก้าวร้าว เอาเปรียบผู้อื่น เห็นแก่ตัว
1.2 อ่อนแอ ไม่เชื่อมั่น ไม่กล้าแสดงออก ขี้อาย ขลาดกลัว
173

1.3 ขาดทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การแสดงออก การพูดคุยสื่อสาร


1.4 มีปมด้อยด้านร่างกาย รูปร่างหน้าตา และความพิการ
2. ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวไม่ดี
3. ครอบครัวย้ายที่อยู่บ่อย ทาให้ต้องย้ายโรงเรียน การอบรมเลี้ยงดูไม่เหมาะสม อาจจะ
ปล่อยปละละเลยหรือเข้มงวดเกินไป ทาให้เด็กขาดความรักความอบอุ่น
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. ให้คาปรึกษากับนักเรียนในเรื่องของการปรับตัวในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจตนเอง
และ สามารถหาแนวทางการแก้ปัญหาของตนเองได้ พร้อมทั้งชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติ
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการใช้แรงเสริมทางสั งคม เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่พึง
ประสงค์ เช่น คาชมเชย การแตะบ่าไหล่ เพื่อให้นักเรียนรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ
3. ใช้กระบวนการกลุ่ม โดยจัดบทบาทสมมติให้กลุ่มได้วิเคราะห์บทบาท การปรับตัว การ
ยอมรับ ไม่ยอมรับของกลุ่ม และสรุปแนวทางร่วมกันในการช่วยเหลือแก้ไข
เพื่อนนักเรียน
1. ให้ความเข้าใจ เห็นใจ ไม่ปฏิเสธ หรือมีปฏิกิริยาโต้ตอบรุนแรง
2. ช่วยกระตุ้นชักชวนให้เข้าร่วมกิจกรรม
3. เป็นผู้นาแบบอย่างในการกระทาและการแสดงออก
พฤติกรรมกิริยามารยาท ท่าทาง การใช้ภาษาไม่สุภาพ
พฤติกรรมกิริยามารยาท ท่าทาง การใช้ภาษาไม่สุภาพ หมายถึง การที่นักเรียนแสดงท่าทาง
หรือวาจาไม่เหมาะสมต่อผู้อื่น เช่น พูดคาหยาบคาย ใช้คาด่าทอ แสดงกิริยาท่าทาง หรือวาจาไม่
เคารพผู้ใหญ่ ฯลฯ เป็นต้น
สาเหตุของพฤติกรรม
1. ต้องการเรียกร้องความสนใจจากครูหรือกลุ่มเพื่อน
2. เรียนรู้ ลอกเลียนแบบจากบุคคลในครอบครัว สิ่งแวดล้อม และสื่อ
3. ขาดการฝึกฝน เรียนรู้ในการแสดงกิริยามารยาทที่เหมาะสม
4. ทดแทน ชดเชย ปมด้อยของตนเอง
แนวทางแก้ไขปัญหา
1. สังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
2. ให้คาปรึกษาโดยให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อพฤติกรรมที่แสดงออก และ
ประเมินผล ครูชี้ให้เห็นถึงข้อเสียที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ ยอมรับปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไข
ต่อไป
3. ใช้การปรับพฤติกรรมโดยใช้เทคนิค
3.1 การหยุดยั้ง คือ ไม่สนใจต่อพฤติกรรมการแสดงออก คาพูดที่ไม่เหมาะสม
3.2 การชี้แนะ คือ ให้คาชี้แนะถึงการแสดงพฤติกรรม คาพูดที่เหมาะสม
3.3 การใช้ตัวแบบ คือ ให้ดูตัวแบบที่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนนักเรียนในชั้น หรือดู
จาก วีดีทัศน์ เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตาม
174

3.4 ใช้การเสริมแรงทางบวก เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์


4. จัดกิจกรรมรณรงค์ ส่งเสริมเรื่องกิริยามารยาท ความประพฤติ การประกวดนักเรียน
ตัวอย่าง ชั้นเรียนตัวอย่าง เพื่อเป็นแบบอย่างการสร้างค่านิยมที่ดีงาม
พฤติกรรมการไม่เชื่อฟังครู
พฤติกรรมการไม่เชื่อฟังครู หมายถึง การไม่ประพฤติปฏิบัติตนตามคาสั่งสอนของครู เช่น
ไม่ทางานตามที่ได้รับมอบหมาย ก่อกวน คุยส่งเสียงดังในห้องเรียน โต้เถียงครู ฯลฯ เป็นต้น
สาเหตุของพฤติกรรม
1. ได้รับการเลี้ยงดูแบบตามใจเกินไป ทาให้เด็ กเอาแต่ใจตนเอง ทาตามความต้องการของ
ตนเอง จนเป็นนิสัย
2. ได้รับการเลี้ยงดูแบบเข้มงวดเกินไป ทาให้เด็กไม่กล้าแสดงออกที่บ้านใช้การแสดงออกที่
โรงเรียนเป็นการระบายทดแทน
3. ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการการยอมรับ
4. สร้างปมเด่นให้กับตนเอง เพื่อข่มปมด้อยของตนเอง
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. สั งเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ ส ภาพแวดล้ อม เช่น สภาพครอบครัว สภาพห้ องเรีย น
สัมภาษณ์ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
2. ให้คาปรึกษากับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อสิ่งที่ก ระทา
ครู ที่ นั ก เรี ย นเห็ น ผลเสี ย ที่เกิ ดขึ้ น เพื่อ ให้ นั กเรียนเข้า ใจและยอมรับ ปัญ หาที่ เกิ ดขึ้น เพื่ อหาแนว
ทางแก้ไขต่อไป
3. ใช้การปรับพฤติกรรม โดยใช้เทคนิคการเสริมแรงทางบวก ได้แก่ การให้แรงเสริมทาง
สังคม เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ในกรณีที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจ ครูอาจจะใช้เทคนิค
การ หยุดยั้งควบคู่ไปกับการเสริมแรงทางบวกแก่พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ทั้งนี้เพราะการหยุดยั้งเพียง
อย่างเดียว ไม่ทาให้นักเรียนทราบว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์
4. มอบหมายหน้ าที่ ความรับผิ ดชอบ ให้ ความส าคัญ ให้ ร่วมบทบาทกับกิจกรรมของ
ส่วนรวม เช่น เป็นหัวหน้าห้อง หัวหน้ากลุ่ม
ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูลการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมในครอบครัว
2. ชี้แจงให้เข้าใจปัญหา สาเหตุ และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
3. ให้ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูให้เหมาะสม ในเรื่องกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย
พฤติกรรมทาผิดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของโรงเรียน
พฤติกรรมทาผิดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของโรงเรียน หมายถึง การแสดงพฤติกรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นการฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อตกลงร่วมกันของโรงเรียน เช่น แต่งกายผิด
ระเบียบ ไว้ผมยาว ฯลฯ เป็นต้น
175

สาเหตุของพฤติกรรม
1. ต้องการเรียกร้องความสนใจจากครูและเพื่อน
2. ทาตามแฟชั่น ค่านิยม ตามกลุ่มเพื่อน
3. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของโรงเรียนเข้มงวด บังคับมากเกินไป ทาให้นักเรียนมีปฏิกิริยา
ต่อต้าน ทาในสิ่งที่ห้าม
4. นักเรียนมาจากครอบครัวที่มีการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ ขาดระเบียบวินัย
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. สร้างพฤติกรรมใหม่ โดยให้นักเรียนดูตัวแบบซึ่งเป็นนักเรียนที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน
และ เป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน เพื่อนักเรียนจะได้เลียนแบบการกระทานั้น
2. ใช้วิธีการเสริมแรง โดยให้แรงเสริมทางสังคม เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เช่น
ถ้านักเรียนปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบ ครูควรกล่าวคาชมเชยหรือแสดงการยอมรับโดยการพยักหน้า
3. ใช้วิธีเพิ่มพฤติกรรมโดยใช้การชี้แนะ โดยครูชี้แจงสิ่งที่ถูกต้องและควรปฏิบัติให้เด็ก
ทราบเพื่อ ให้เด็กได้ปฏิบัติตาม หรือครูนารูปภาพป้ายนิเทศเกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้องมาให้
นักเรียนดู หลังจากนั้น ถ้านักเรียนสามารถปฏิบัติพฤติกรรมเป้าหมายได้ถูกต้องหรือเกือบถูกต้อง ครู
จะให้คาชี้แนะน้อยลง และจะส่งผล ให้นักเรียนมีพฤติกรรมเป้าหมายติดเป็นนิสัย
4. ใช้เทคนิคการปรับสินไหม ควบคู่กับการเสริมแรงทางบวก เช่น ใช้ควบคู่กับเบี้ยอรรถกร
ซึ่ง นักเรียนสามารถเก็บสะสมได้ เพื่อนาไปแลกสิ่งที่ต้องการต่อไป แต่เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึง
ประสงค์ ครูอาจจะใช้การปรับเบี้ยที่นักเรียนได้มาแล้วคืน
5. ส่งเสริมให้ทากิจกรรมที่มีคุณค่าเกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เช่น ให้เป็นผู้นากลุ่ม
ใน การทากิจกรรม ให้เป็นหัวหน้าห้อง
พฤติกรรมพูดโกหก
พฤติกรรมพูดโกหก หมายถึง ลักษณะที่นักเรียนสื่อสารให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน พูดในสิ่งที่
ตรงข้ามกับความเป็นจริง ปกปิดความจริงบางสิ่งบางอย่าง
สาเหตุของพฤติกรรม
1. บุคลิกภาพ เช่น ต่อต้านสังคม เรียกร้องความสนใจ มีความสุข สนุกสนานในการสร้าง
เรื่อง ให้ผู้อื่นเชื่อ
2. รับรู้ เรียนรู้ เลียนแบบจากบุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดจนติดเป็นนิสัย
3. มีประสบการณ์ที่ถูกลงโทษเมื่อพูดความจริง จึงใช้การพูดโกหกเพื่อจะได้ไม่ถูกลงโทษ
4. มีปมด้อย ขาดความมั่นคงทางจิตใจ ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. สังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
2. ให้คาปรึกษาเพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อสิ่งที่กระทา ชี้ให้นักเรียน
เห็น ผลที่เกิดขึ้นต่อตนเองและผู้อื่นเมื่อไม่พูดความจริง ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น และ
ยอมรับ เพื่อหาทางแก้ไข
3. ไม่ตาหนิ ไม่ลงโทษ เมื่อนักเรียนยอมรับผิด และชมเชยยกย่อง เมื่อสามารถพูดความจริง
176

4. ใช้วิธีการปรับพฤติกรรม โดยใช้เทคนิค การปรับสินไหม หรือการลงโทษ เมื่อนักเรียน


พูดโกหก และใช้เบี้ยอรรถกรในการสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ไปพร้อมกับการให้แรงเสริมทาง
สังคม
ครู
จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันปัญหา เช่น
1. จัดกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ ชี้ให้เห็นคุณลักษณะที่ดีของผู้ที่มีความซื่อสัตย์
2. จัดป้ายนิเทศเกี่ยวกับเรื่อง “ความซื่อสัตย์” เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรม ของผู้เรียน ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูลด้านครอบครัว เช่น การอบรมเลี้ยงดู สภาพครอบครัว ความสั มพันธ์ของ
บุคคล ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว
2. ชี้แจงให้ผู้ปกครอง เข้าใจ รับรู้ปัญหา สาเหตุ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
3. ให้ความรัก ความอบอุ่น ยอมรับในสิ่งที่เด็กทาผิดพลาด ให้โอกาสปรับพฤติกรรมใหม่
4. เป็นแบบอย่างที่ดีในการพูดความจริง
พฤติกรรมลักขโมย
พฤติกรรมลักขโมย หมายถึง การหยิบเงิน สิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ ของผู้อื่น เอามาเป็นของ
ตนเองโดยไม่ได้รับอนุญาต
สาเหตุของพฤติกรรม
1. สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว เงินไม่พอใช้จ่าย ขาดแคลนอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้
2. มีปมด้อย โกรธ อิจฉา ต้องการแก้แค้น ทาลาย ลงโทษ แกล้งผู้อื่นที่เหนือกว่า เด่นกว่า
3. แสดงความเก่งกล้าที่สามารถทาในสิ่งที่ท้าทาย ตื่นเต้น สร้างปมเด่นให้ตนเอง
4. ลักษณะบุคลิกภาพที่อ่อนแอ ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เชาวน์ปัญญาไม่ดี ทาให้ถูกชัก
จูง จากผู้อื่นได้ง่าย ทาเพื่อต้องการได้รับการยอมรับจากกลุ่ม
5. ขาดการอบรม ฝึกฝนเรื่องระเบียบ วินัย จริยธรรม เรียนรู้ รับรู้ ลอกเลียนจากครอบครัว
สิ่งแวดล้อมที่เป็นแบบอย่าง
6. ขาดความรัก ความอบอุ่นจากครอบครัว มีปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว การขโมย
เงิน สิ่งของต่างๆ เป็นการทดแทนตอบสนองความต้องการทางจิตใจที่ขาดความรักความอบอุ่น
7. เก็บกด ความโกรธ ความก้าวร้าว ที่มีต่อบิดามารดา ครู และผู้อื่น ทาเพื่อเป็นการลงโทษ
แก้แค้น
แนวทางแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. สังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
2. ไม่ประณาม คุว่า ลงโทษรุนแรง
3. ให้ ค าปรึ ก ษาเพื่ อ ให้ นั ก เรีย นได้แ สดงความคิด เห็ น ความรู้ สึ ก ต่อ สิ่ ง ที่ก ระทา และ
ผลกระทบที่ เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น ชี้แจงให้เข้าใจผลที่เกิดขึ้น ให้หาทางเลือกทางออกของการ
กระทา การแก้ไขปัญหา ในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม
177

4. ใช้วิธีการปรับพฤติกรรม โดยใช้เทคนิคการให้ แรงเสริมทางสังคม การปรับสินไหม การ


ทา สัญญาพฤติกรรม
เพื่อนนักเรียน
1. ให้ความเห็นใจ ไม่ําเติ
ซ้ ม
2. ร่วมกันป้องกันสถานการณ์ที่จะกระตุ้น จูงใจ ทาให้เกิดการขโมย เช่น เก็บเงิน สิ่งของมี
ค่า ให้เรียบร้อย ไม่นาเงินมาโรงเรียนเป็นจานวนมาก เป็นต้น
ครู
จัดอภิปราย นิทรรศการ เพื่อเป็นการให้ความรู้และรณรงค์ในเรื่องต่อไปนี้
1. จริยธรรม
2. ระเบียบวินัย
3. ความรับผิดชอบ
4. สิทธิส่วนบุคคล
5. ความซื่อสัตย์

ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูลด้านครอบครัว เช่น การอบรมเลี้ยงดู สภาพครอบครัว ความสัมพันธ์ของ
บุคคล ในครอบครัว
2. ชี้แจงให้ผู้ปกครอง เข้าใจ รับรู้ปัญหา สาเหตุ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
3. ไม่ควรลงโทษรุนแรง
4. ดูแลเรื่องการใช้จ่ายที่เหมาะสม
5. เป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ
พฤติกรรมหนีเรียน
พฤติกรรมหนีเรียน หมายถึง การที่นักเรียนแต่งเครื่องแบบนักเรียนแต่ไม่มาโรงเรียน หรือ
มา โรงเรียนแต่ไม่เข้าห้องเรียน ไปทากิจกรรมอย่างอื่น เช่น นอนห้องพยาบาล เข้าห้องน้านานๆ เล่น
การพนัน เล่นวีดีโอเกม
สาเหตุของพฤติกรรม
1. ปัญหาการเรียน เช่น เรียนไม่รู้เรื่อง เนื่องจากเชาวน์ปัญญาต่ํา เรียนช้าไม่ทันเพื่อน
2. เบื่อหน่ายการเรียนการสอน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของโรงเรียน
3. ปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ไม่เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
4. ถูกชักจูงจากเพื่อน มีความสนุกสนานมากเมื่ออยู่นอกห้องเรียน อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ยั่วยุ
จูงใจ
5. มีปัญหาครอบครัว ขาดความรัก ความอบอุ่น ความสัมพันธ์กับบิดามารดาไม่ดี
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. สั งเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ ส ภาพแวดล้ อม เช่น สภาพครอบครัว สภาพห้ องเรีย น
สัมภาษณ์ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
178

2. ให้คาปรึกษากับนักเรียน โดยให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อสิ่งที่กระทา


ไป แล้วประเมินผลที่เกิดขึ้น ครูชี้ให้เห็นถึงผลเสียที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักเรียนเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น และ
ยอมรับเพื่อ หาทางแก้ไข
3. ใช้การปรับพฤติกรรม โดยใช้เทคนิคการเสริมแรงทางบวก ได้แก่ การให้แรงเสริมทาง
สังคม เช่น ถ้านักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ครูควรจะกล่าวชมเชยหรือแสดงท่าทางที่เป็นการยอมรับ
พฤติกรรมของ นักเรียน
การใช้เบี้ยอรรถกร โดยครูและนักเรียนร่วมกันกาหนดเงื่อนไข เช่น ถ้านักเรียนมีพฤติกรรม
ที่ พึงประสงค์ ครูจะให้รางวัลเป็นดาว เพื่อนักเรี ยนจะได้สะสมไว้ และสามารถนามาแลกเป็นของเล่น
ได้ โดยครู กับนักเรียนมีข้อตกลงร่วมกันว่าดาวดวงแลกของเล่นได้กี่อย่าง อะไรบ้าง
ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูลด้านครอบครัว เช่น การอบรมเลี้ยงดู สภาพครอบครัว ความสัมพันธ์ของ
บุคคล ในครอบครัว
2. เข้าใจ รับรู้ปัญหา สาเหตุ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

พฤติกรรมติดสิ่งเสพติด
พฤติกรรมติดสิ่งเสพติด หมายถึง การเสพสิ่งเสพติด ซึ่งได้แก่ กัญชา ยาบ้า สารระเหย เหล้า
บุหรี่เป็นประจา และเพิ่มขนาดของการเสพขึ้นเรื่อยๆ นักเรียนที่มีการใช้สิ่งเสพติดมักจะมีอาการเซื่อง
ซึม ไม่กล้าตัดสินใจ เบื่อหน่ายการเรียน ผลการเรียนต่า หงุดหงิดโมโหง่าย แยกตัวออกจากกลุ่ม
สาเหตุของพฤติกรรม
1. บุคลิกภาพ เช่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง หวั่นไหวง่าย รู้สึกไม่มีคุณค่า ไม่มีเป้าหมาย
ชีวิต คล้อยตามคนอื่นง่าย ต้องการที่พึ่ง
2. ต้องการทดลอง ถูกชักจูง ทาตามกลุ่ม ถูกหลอกจากผู้ต้องการผลประโยชน์
3. มีความเครียด ความกดดันจากปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัว ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
ใช้สารเสพติดเพื่อเป็นการผ่อนคลายหนีจากปัญหา
4. การอบรมเลี้ยงดูไม่เหมาะสม เช่น เข้มงวดเกินไปหรือปล่อยปละละเลย ครอบครัว
แตกแยก ทาให้ขาดความรักความอบอุ่น ต้องหาที่พึ่ง
5. สภาพแวดล้อม เช่น อยู่ในแหล่งชุมชนแออัด อันเป็นที่มั่วสุมอบายมุขและสิ่งเสพติด ผู้ที่
เกี่ยวข้องกับนักเรียนขายหรือเสพสิ่งเสพติดให้เห็นเป็นแบบอย่าง
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. สังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
2. ให้คาปรึกษาเพื่อให้นักเรียนมีที่พึ่ง เมื่อนักเรียนมีปัญหา
3. หาศักยภาพ ส่งเสริมให้แสดงออก ให้เห็นคุณค่าของตนเอง สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
4. กรณีที่นักเรียนใช้สิ่งเสพติดที่ไม่ร้ายแรง อาจแก้ไขโดยการปรับพฤติกรรม เทคนิคที่
สามารถ นามาใช้ได้ คือ การทาสัญญาพฤติกรรม การให้แรงเสริมทางสังคม เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่
พึงประสงค์
179

5. กรณีที่นักเรียนติดสิ่งเสพติดที่ร้ายแรง ควรนาไปพบแพทย์เพื่อการบาบัดรักษา
6. จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันปัญหา เช่น
6.1 จัดนิทรรศการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งเสพติด
6.2 จัดอภิปรายโทษของสิ่งเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย
6.3 จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่น กีฬา ดนตรี การเป็นผู้นา การใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์
ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูลด้านครอบครัว เช่น การอบรมเลี้ยงดู สภาพครอบครัว ความสัมพันธ์ของ
บุคคล ในครอบครัว
2. ชี้แจงให้ผู้ปกครอง เข้าใจ รับรู้ปัญหา สาเหตุ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
3. เป็นแบบอย่างที่ดีในการไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด
พฤติกรรมเล่นการพนัน
พฤติกรรมเล่นการพนัน หมายถึง การเล่นที่มีการแข่งขันเอาเงิน เช่น เล่นไพ่ เล่นสนุกเกอร์
เล่นโยนเหรียญ เล่นฟุตบอล ฯลฯ เป็นต้น
สาเหตุของพฤติกรรม
1. มีปัญหาการเรียน เรียนไม่รู้เรื่อง เบื่อหน่ายการเรียน
2. มีปัญหาการเงิน ขาดแคลน ต้องการเงินใช้จ่ายซื้อสิ่งของ
3. คบเพื่อนที่เล่นการพนันและถูกชักจูงให้เล่นการพนัน
4. นักเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งการพนัน
5. เรียนรู้แบบอย่างจากครอบครัว ผู้ใหญ่ ผู้ใกล้ชิด ชอบเล่นการพนันให้เห็นเป็นประจา
6. ได้รับการอบรมเลี้ยงดูไม่ถูกต้อง เช่น ถูกทอดทิ้ง ปล่อยปละละเลย ให้การสนับสนุนเมื่อ
ลูก ได้เงินมา
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. สั งเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ ส ภาพแวดล้ อม เช่น สภาพครอบครัว สภาพห้ องเรีย น
สัมภาษณ์ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
2. ให้คาปรึกษา เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่อสิ่งที่กระทาไปแล้ว และ
ประเมินผลที่เกิดขึ้น ครูชี้แจงให้เข้าใจถึงผลเสียและหาทางเลือกในการทากิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์
3. หาศักยภาพของนักเรียนในด้านอื่น และส่งเสริมให้สามารถแสดงออกในทางสร้างสรรค์
4. ปรับพฤติกรรม โดยใช้เทคนิคการปรับสินไหม หรือการลงโทษ เพื่อลดพฤติกรรมที่เป็น
ปัญหา และสร้างพฤติกรรมใหม่โดยให้ดูตัวแบบที่เหมาะสม และให้แรงเสริมทางบวกเมื่อนักเรียนมี
พฤติกรรมที่เหมาะสม
ครู
จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันปัญหา เช่น
1. จัดนิทรรศการ ภาพยนตร์
2. จัดอภิปรายโทษของการเล่นการพนัน
180

3. จัดกิจกรรมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น เล่นกีฬา ดนตรี ปลูกต้นไม้ ช่วยเหลือ


คนชรา ฯลฯ เป็นต้น
ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูลด้านครอบครัว เช่น การอบรมเลี้ยงดู สภาพครอบครัว ความสัมพันธ์ของ
บุคคล ในครอบครัว
2. ชี้แจงให้บิดามารดา เข้าใจ รับรู้ปัญหา สาเหตุ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
3. เป็นแบบอย่างที่ดีในการไม่เล่นการพนัน
พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม
พฤติกรรมทางเพศไม่เหมาะสม หมายถึง การแสดงพฤติกรรมดังนี้
1. ดูหนังสือโป๊
2. วาดรูปหรือเขียนถ้อยคาที่เกี่ยวกับเพศ
3. แสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่อเพื่อนต่างเพศ ได้แก่ เปิดกระโปรง แอบจับ ตั้งใจ
สัมผัส ถูกเนื้อตัว กอด แกล้งชน
4. อวดของลับ
สาเหตุของพฤติกรรม
1. ปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ บุคลิกภาพ อ่อนแอ ขาดความรัก เรียกร้องความสนใจจาก
เพศ ตรงข้าม
2. พฤติกรรมทางเพศของบิดามารดา หรือบุคคลในครอบครัวไม่เหมาะสม ทาให้เด็กเรียนรู้
และ ทาตาม
3. อยากรู้ อยากทดลอง ได้รับการกระตุ้นชักจูง
4. อิทธิพลจากสื่อ สิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และแบบอย่างที่พบเห็นไม่เหมาะสมใน
สังคม
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. สังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
2. ให้คาปรึกษา พูดคุย ซักถามนักเรียนด้วยท่าที่เป็นกลาง ไม่ตาหนิ และไม่ส่งเสริม ชี้แจง
ให้ เข้าใจถึงผลเสียที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักเรียนเข้าใจปัญหาและยอมรับเพื่อหาทางแก้ไข
3. ครูควรสอนหรือจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
สามารถ ที่จะดูแลและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามความเหมาะสม เช่น ธรรมชาติทางเพศของชาย
และหญิง ทัศนคติ ที่ดีต่อเพศตรงข้าม การให้เกียรติและการเห็นคุณค่าของเพศเดียวกันและต่างเพศ
การสร้างสัมพันธภาพกับ เพื่อนต่างเพศอย่างเหมาะสม
4. ใช้วิธีการปรับพฤติกรรม โดยใช้เทคนิค การเสริมแรงทางบวกเมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่
พึง ประสงค์ หรือกรณีที่นักเรียนแสดงพฤติกรรมเพื่อเรียกร้ องความสนใจ ครูอาจเลือกใช้เทคนิคการ
หยุดยั้ง
5. รณรงค์เรื่องสื่อภาพยนตร์ วีดิโอ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ หนังสืออ่านเล่นยั่วยุทางเพศ ให้รู้จัก
เลือกรับสื่อที่เหมาะสม
181

ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูลด้านครอบครัว
2. ชี้แจงให้ผู้ปกครอง เข้าใจ รับรู้ปัญหา สาเหตุ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
3. ไม่ใช้วิธีการลงโทษที่รุนแรง ควรสร้างบรรยากาศในครอบครัวให้อบอุ่น
4. เป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงพฤติกรรมทางเพศ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และปฏิบัติตาม
อย่าง เหมาะสม
พฤติกรรมก้าวร้าวข่มขู่
พฤติกรรมก้าวร้าวข่มขู่ หมายถึง การกระทาที่ทาให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน เช่น ทาร้าย
เพื่อนด้วยวิธีต่างๆ ทาลายของใช้เพื่อน ขว้างปาสิ่งของ พูดคาหยาบ ตะโกน ตวาด
สาเหตุของพฤติกรรม
1. เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวจากบิดามารดาที่เป็นคนเจ้าอารมณ์ ใช้อานาจ บังคับ ดุว่า
2. การอบรมเลี้ยงดูแบบไม่สนใจ หรือตามใจมากเกินไป ทาให้เด็กเอาแต่ใจตนเอง แสดง
พฤติกรรมก้าวร้าวกับบุคคลในครอบครัวและกับบุคคลอื่นจนติดเป็นนิสัย
3. ถูกลงโทษอย่างรุนแรง ได้รับความกดดัน เก็บกด ความโกรธ จึงแสดงพฤติกรรมในทาง
ก้าวร้าวเป็นการระบายชดเชย
4. ครอบครัวขาดความรัก ความอบอุ่น ถูกทอดทิ้ง
5. ถูกบุคคลอื่นใช้อานาจ ข่มขู่ ไม่ได้รับความยุติธรรม จึงแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อเป็น
การ ตอบโต้ แก้แค้น
6. มีปมด้อยด้านร่างกาย การเรียน จึงพยายามสร้างปมเด่น
7. เลียนแบบอย่างจากสื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ การ์ตูน เกม คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เป็นต้น
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. สร้างพฤติกรรมใหม่ โดยให้นักเรียนดูตัวแบบ ซึ่งเป็นนักเรียนที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน
และ เป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน เพื่อนักเรียนจะได้เลียนแบบการกระทานั้นๆ
2. ใช้เทคนิคการใช้เวลานอก เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยให้นักเรียนออก
จาก สภาพแวดล้อมที่ได้รับการเสริมแรงทางบวกระยะหนึ่ง เช่น เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว จะ
ให้นักเรียนไป อยู่มุมใดมุมหนึ่งของห้องเป็นเวลา 5 นาที โดยไม่ให้ร่วมทากิจกรรมกับเพื่อนๆ
3. ใช้เทคนิคการเสริมแรง โดยให้แรงเสริมทางสังคม เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
4. ใช้เทคนิคการชี้แนะ โดยครูชี้แนะให้นักเรียนรู้ถึงผลเสียของการมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว
และสิ่งที่ ควรปฏิบัติให้นักเรียนทราบ เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติตาม
5. ให้ร่วมกิจกรรมที่ได้แสดงความสามารถและได้รับการยอมรับ
ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูลด้านครอบครัว เช่น การอบรมเลี้ยงดู สภาพครอบครัว ความสัมพันธ์ของ
บุคคล ในครอบครัว
2. ชี้แจงให้ผู้ปกครอง เข้าใจ รับรู้ปัญหา สาเหตุ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
182

3. เป็นแบบอย่างที่ดีในการระบายอารมณ์โกรธ โดยไม่ก้าวร้าวทะเลาะวิวาท หรือทาลาย


สิ่งของ
พฤติกรรมฉุนเฉียว เจ้าอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
พฤติกรรมฉุนเฉียว เจ้าอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หมายถึง การที่นักเรียนแสดงออกทาง
กายหรือทางวาจา เช่น ทาลายสิ่งของ ทาร้ายร่างกาย ดึงผม กัดเล็บ พูดคาหยาบคาย ด่าทอเมื่อถูกขัดใจ
สาเหตุของพฤติกรรม
1. มีป ระสบการณ์เรี ย นรู้ที่ผิด ๆ จากบิดามารดา หรือผู้ใกล้ ชิดที่แสดงอารมณ์รุนแรง
อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่คงที่
2. การอบรมเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น ตามใจมากเกินไป ทาให้เด็กเอาแต่ใจตนเอง หรือ
เข้มงวด เกินไป ถูกบังคับ เด็กไม่สามารถแสดงการตอบโต้ได้ จึงแสดงออกกับบุคคลอื่นเป็นการระบาย
ทดแทนและ เรียกร้องความสนใจ
3. มีความผิดปกติของระบบประสาทสมอง โรคลมชัก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทาให้เกิดความ
บกพร่องในการควบคุมอารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออก
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. สังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
2. ให้คาปรึกษา โดยให้นักเรียนได้ระบาย พูดคุยออกมา ครูควรรับฟังด้วยท่าทีที่สงบ ไม่
แสดง ปฏิกิริยาโต้ตอบรุนแรง ชี้ให้เห็นถึงผลเสียที่เกิดขึ้น เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและยอมรับปัญหา เพื่อ
หาแนวทาง แก้ไขต่อไป
3. ใช้การปรับพฤติกรรม โดยใช้เทคนิค
3.1 การหยุ ด ยั้ ง คื อ ไม่ ส นใจพฤติก รรมที่ เป็ น ปัญ หา ถ้ า การแสดงออกไม่ รุน แรง
ไม่ก่อความ เดือดร้อน หรือผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น
3.2 การเสริมแรงทางบวก เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม
3.3 การใช้เวลานอก คือ ให้นักเรียนออกจากสภาพแวดล้ อมที่ได้รับการเสริมแรง
ทางบวก ระยะหนึ่งทันทีที่นักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
4. จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างเหมาะสม เช่น กีฬา ดนตรี ชมรมต่างๆ
5. กรณีที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทหรือสมอง ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้ที่
เชี่ยวชาญ ตรวจวินิจฉัย เพื่อให้คาแนะนาการรักษา
ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูล การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมในครอบครัว
2. ชี้แจงให้ผู้ปกครองรับรู้เข้าใจปัญหา สาเหตุ และมีส่วนในการแก้ไขปัญหา
3. เป็นแบบอย่างที่ดีในการควบคุมอารมณ์
พฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก
พฤติกรรมไม่กล้าแสดงออก หมายถึง การที่นักเรียนไม่กล้าแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ในชั้นเรียน
1. การยกมือถามหรือตอบคาถามครู
2. อาสาออกไปพูดหน้าชั้น โดยครูไม่ต้องระบุชื่อ
183

3. การแสดงความคิดเห็นในกลุ่มขณะที่ครูแบ่งกลุ่มย่อยทางาน
สาเหตุของพฤติกรรม
1. การเลี้ยงดูที่บิดามารดา ไม่เปิดโอกาสให้คิดหรือทาอะไรด้วยตนเอง บิดามารดาเป็น
ผู้ดูแล จัดการให้ทุกอย่าง หรือการอบรมเลี้ยงดูที่เข้มงวด ดุว่า ใช้การลงโทษรุนแรง เด็กมีความกลัว
เก็บกด ไม่กล้า แสดงออก
2. รูปแบบบุคลิกภาพการแสดงออกของบิดามารดา หรือผู้ใกล้ชิดในครอบครัว ขาดทักษะ
ทาง ด้านมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่น
3. ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวไม่ดี ไม่ได้รับความรักความสนใจจากบิดามารดา
ทาให้ เด็กรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
4. เมื่อทาผิดพลาดได้รับการลงโทษ ไม่ได้รับการส่งเสริมให้กาลังใจ ทาให้ไม่กล้าแสดงออก
5. มีปมด้อยด้านร่างกาย รูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพ ปัญหาการเรียน ไม่ได้รับการยอมรับ
จาก กลุ่มเพื่อน
แนวทางแก้ไขปัญหา
นักเรียน
1. กระตุ้น ส่งเสริมให้นักเรียนหาศักยภาพ ความสามารถ ข้อดีของตนเอง เพื่อสร้างความ
มั่นใจ และเห็นคุณค่าของตนเอง เช่น กิจกรรมพูดหน้าชั้นเรียน กิจกรรมกลุ่มการฝึกทักษะทางสังคม
การเข้าค่าย ชมรมต่างๆ
2. ให้การเสริมแรง เมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจ เช่น คา
ชมเชย สิ่งของ รางวัล คะแนน
ผู้ปกครอง
1. ศึกษาข้อมูล การอบรมเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมในครอบครัว
2. ชี้ให้เข้าใจสาเหตุของปัญหา มีส่วนร่วมในการกระตุ้นส่งเสริมให้กาลังใจ
3. ให้ผู้ปกครองสร้างความสัมพันธ์ ความรัก ความเข้าใจ ให้เด็กรู้สึกมีความมั่นคง มั่นใจใน
ตนเอง
4. ให้โอกาสเด็กคิดและตัดสินใจในเรื่องที่เห็นว่าตัดสินใจได้ และไม่ตาหนิหรือลงโทษเมื่อ
ตัดสินใจ ผิดพลาด แต่ควรให้การชี้แนะและเสริมกาลังใจ

บทสรุป
การศึกษาการปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน จะช่วยให้เข้าใจในธรรมชาติความต้องการ และ
ความซับซ้อนของพฤติกรรมที่แสดงออกของเด็กแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน และมีการเปลี่ยนแปลง
ที่ก่อให้เกิดปัญหาในชั้นเรียนได้ตลอดเวลา หากเข้าใจถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ส่งผล
กระทบกับการอยู่ร่วมกัน ของบุคคลรอบด้าน ซึ่งจะทาให้ประสบความสาเร็จทั้งชีวิตส่วนตัว และการ
ทางานร่วมกับบุคคลอื่นให้เกิดขึ้นได้ในสังคม
การที่ครูจะการจัดการพฤติกรรมของเด็กเป็นรายบุคคล จะต้องคานึงถึงสาเหตุ เบื้ องต้น
จากตั ว ครู และกระบวนการเรี ย นการสอนในชั้น เรี ยน พฤติ ก รรมที่ ร บกวนชั้น เรี ยนจ านวนมาก
จะลดลงได้จากการที่จัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนจะช่วย
184

ให้เด็กได้เรียนและทากิจกรรมการเรียนอย่างสะดวกสบาย การจัดเนื้อหาการเรียนที่พอเหมาะกับ
ความสามารถของเด็กไม่ทาให้รู้สึกว่ายาก การจัดกิจกรรมการเรียนที่เด็กสนใจและสนุกสนาน การใช้
กฎและกติกาของห้องให้เด็กเรียนรู้แนวการปฏิบัติที่พึงประสงค์ รวมถึงการใช้วิธีการเสริมแรงและ
ลงโทษเพื่อแก้ไขพฤติกรรมเด็กอย่างเหมาะสม

You might also like