You are on page 1of 78

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๗ Congratulations


๑๖-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ค�ำปฏิญาณบัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ติดรูปแห่งความภูมิใจของคุณที่นี่

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๗


ข้าพระพุทธเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ชอบ
และรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามเพื่อเกียรติคุณ
แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้าพระพุทธเจ้าจะด�ำรงตนและประกอบสัมมาอาชีพ
ในทางที่ซื่อสัตย์สุจริต
อยู่ ในกรอบแห่งนิติธรรมและศีลธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าจะบ�ำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ติดบัตรประจำ�ตัวบัณฑิตที่นี่

“พร้อมเข้าสู่...สังคมอาเซียน”
พิธพี ระราชทานปริญญญาบั
ญาบัตตรร
ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
๑๖-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
พระราโชวาท
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ในพิธพี ระราชทานปริญญาบัตรแก่ผสู้ ำ� เร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้ข้าพเจ้ามาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจ�ำปีนี้. ขอแสดงความชื่นชมกับผู้ทรงคุณวุฒิและ
บัณฑิตทุกคน ที่ได้รับเกียรติและความส�ำเร็จ.
ท่านทั้งหลายที่ศึกษาส�ำเร็จแล้ว ย่อมมุ่งหมายที่จะท�ำงานให้ส�ำเร็จผลเป็น
ประโยชน์สร้างสรรค์ ทั้งแก่ตนแก่ส่วนรวมและบ้านเมือง. การปฏิบัติงานให้ได้ผลดังนั้น
นอกจากความรู้ในหลักวิชาแล้ว แต่ละคนจ�ำเป็นต้องมีหลักการที่ดีเป็นเครื่องประกอบ
อาศัยด้วย. กล่าวคือ ก่อนจะท�ำการใด จะต้องศึกษาขอบเขตความมุ่งหมายของงานนั้น
ตลอดจนพิจารณาถึงคุณถึงโทษ ถึงผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ให้เข้าใจ
ชัดเจนก่อน. เมือ่ เข้าใจชัดแล้ว ให้มงุ่ ท�ำแต่สว่ นทีเ่ ป็นคุณ ทีใ่ ห้ผลเป็นประโยชน์สร้างสรรค์
ไม่กระท�ำในส่วนที่เป็นโทษ ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหายทั้งแก่ตนและส่วนรวม.
ตลอดเวลาที่ท�ำ ก็จะต้องระมัดระวังควบคุมและปรับปรุงการปฏิบัติงานทุกอย่างให้ดี
อยูเ่ สมอ ด้วยหลักวิชาทีถ่ กู ต้องเหมาะสม และด้วยเหตุผลความคิดอ่านร่วมกันของผูร้ ว่ มงาน
เพื่อให้งานที่ท�ำด�ำเนินไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ และส�ำเร็จผลเป็นประโยชน์สร้างสรรค์
ได้เต็มภาคภูมิ.
ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ข้าพเจ้าขอมอบปริญญาบัตร
ให้แก่ผสู้ ำ� เร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ตัง้ แต่บดั นีเ้ ป็นต้นไป. ขออวยพรให้บณ ั ฑิต
ทุกคน และผู้มาร่วมในพิธีนี้ทุกท่าน มีความสุขความเจริญจงทั่วกัน.
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (ภาคเช้า)

เวลา ๑๑.๒๐ น. - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประทับรถยนต์
พระทีน่ งั่ เสด็จพระราชด�ำเนินออกจากพระทีน่ งั่ อัมพรสถาน พระราชวัง
ดุสิต ไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เวลา ๑๑.๓๐ น. - เสด็จฯ ถึงหอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
(รถยนต์พระที่นั่งเทียบทางขวา)
(วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะผู้บริหารฯ เฝ้าฯ
รับเสด็จ
- ผูแ้ ทนคณาจารย์ ผูแ้ ทนบัณฑิต และผูแ้ ทนนักศึกษา ทูลเกล้าฯ ถวาย
มาลัยข้อพระกร
- เสด็จฯ เข้าสู่ห้องรับรองที่ประทับ
- ทรงฉลองพระองค์ครุย
- ทรงลงพระนามาภิไธยในสมุดเยี่ยม

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 11


- เสด็จฯ ออกจากห้องรับรองที่ประทับ เข้าสู่ภายในหอประชุม
(คณาจารย์และบัณฑิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย
- ทรงกราบ
- ประทับพระราชอาสน์
- รองศาสตราจารย์มรรยาท รุจิวิชชญ์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์
ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตร
- ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กราบบังคมทูลรายงานกิจการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทัง้
ขอพระราชทานพระราโชวาท
- พระราชทานพระราโชวาท
(เมื่อพระราโชวาทจบ/ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กราบบังคมทูลสดุดเี ฉลิมพระเกียรติคณ ุ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(ส�ำหรับปริญญาบัตร สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จักได้น�ำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสอันควรต่อไป)
- ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กราบบังคมทูลสดุดีเกียรติคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งทางสภามหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ มีมติให้ได้รบั พระราชทานปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์
พร้อมทัง้ กราบบังคมทูลเบิกผูท้ รงคุณวุฒิ เข้ารับพระราชทานปริญญา
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(จ�ำนวน ๕ ราย)
- พระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ตามล�ำดับ
(พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา)
- คณบดีคณะนิติศาสตร์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณบดีคณะแพทยศาสตร์
กราบบังคมทูลเบิกผูส้ �ำเร็จการศึกษาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร
(จ�ำนวน ๑,๗๗๐ ราย)

12 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


- พระราชทานปริญญาบัตร ตามล�ำดับ
(พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา)
- บัณฑิตกล่าวค�ำปฏิญาณ
- เสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ
(คณาจารย์และบัณฑิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- เสด็จฯ เข้าสู่ห้องรับรองที่ประทับ
- ทรงฉายพระรูปในฉลองพระองค์ครุยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และผู้ได้รับพระราชทาน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(จ�ำนวน ๒ ชุด)
- ทรงเปลื้องฉลองพระองค์ครุย
- ประทับพักพระราชอิริยาบถ ตามพระราชอัธยาศัย

การแต่งกาย - ราชองครักษ์ เครื่องแบบชุดปกติขาว


- ข้าราชการในพระองค์ฯ เครื่องแบบชุดปกติขาว
- ข้าราชการในพื้นที่ เครื่องแบบชุดปกติขาว

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 13


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๗
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (ภาคบ่าย)

เวลา ๑๕.๐๐ น. - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ออกจาก
ห้องรับรองที่ประทับ เข้าสู่ภายในหอประชุม
(คณาจารย์และบัณฑิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย
- ทรงกราบ
- ประทับพระราชอาสน์
- ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชวโรกาสพระราชทานปริญญาบัตร
แก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษา
- คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันเทคโนโลยี
นานาชาติสริ นิ ธร คณบดีคณะศิลปศาสตร์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์
กราบบังคมทูลเบิกผูส้ �ำเร็จการศึกษาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร
(จ�ำนวน ๑,๘๓๕ ราย)

14 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


- พระราชทานปริญญาบัตร ตามล�ำดับ
(พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา)
- บัณฑิตกล่าวค�ำปฏิญาณ
- เสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ
(คณาจารย์และบัณฑิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- เสด็จฯ เข้าสู่ห้องรับรองที่ประทับ
- ทรงเปลื้องฉลองพระองค์ครุย
- เสด็จฯ ออกจากห้องรับรองทีป่ ระทับ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ ไปยังรถยนต์พระที่นั่ง
(รถยนต์พระที่นั่งเทียบทางขวา)
- ประทับรถยนต์พระทีน่ งั่ เสด็จฯ ออกจากหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กลับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
(ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- เสด็จฯ ถึงพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

การแต่งกาย - ราชองครักษ์ เครื่องแบบชุดปกติขาว


- ข้าราชการในพระองค์ฯ เครื่องแบบชุดปกติขาว
- ข้าราชการในพื้นที่ เครื่องแบบชุดปกติขาว

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 15


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๗
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วันอังคารที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (ภาคเช้า)

เวลา ๑๑.๒๐ น. - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ประทับรถยนต์พระทีน่ งั่
เสด็จพระราชด�ำเนินออกจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
ไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เวลา ๑๑.๓๐ น. - เสด็จฯ ถึงหอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
(รถยนต์พระที่นั่งเทียบทางขวา)
(วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะผู้บริหารฯ เฝ้าฯ
รับเสด็จ
- ผูแ้ ทนคณาจารย์ ผูแ้ ทนบัณฑิต และผูแ้ ทนนักศึกษา ทูลเกล้าฯ ถวายมาลัย
ข้อพระกร
- เสด็จฯ เข้าสู่ห้องรับรองที่ประทับ
- ทรงฉลองพระองค์ครุย

16 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


- เสด็จฯ ออกจากห้องรับรองที่ประทับ เข้าสู่ภายในหอประชุม
(คณาจารย์และบัณฑิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย
- ทรงกราบ
- ประทับพระราชอาสน์
- ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชวโรกาสพระราชทานปริญญาบัตร
แก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษา
- คณบดีคณะรัฐศาสตร์ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณบดี
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณบดี
วิทยาลัยสหวิทยาการ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์
กราบบังคมทูลเบิกผูส้ �ำเร็จการศึกษาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร
(จ�ำนวน ๑,๗๙๒ ราย)
- พระราชทานปริญญาบัตร ตามล�ำดับ
(พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา)
- บัณฑิตกล่าวค�ำปฏิญาณ
- เสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ
(คณาจารย์และบัณฑิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- เสด็จฯ เข้าสู่ห้องรับรองที่ประทับ
- ทรงเปลื้องฉลองพระองค์ครุย
- ประทับพักพระราชอิริยาบถ ตามพระราชอัธยาศัย

การแต่งกาย - ราชองครักษ์ เครื่องแบบชุดปกติขาว


- ข้าราชการในพระองค์ฯ เครื่องแบบชุดปกติขาว
- ข้าราชการในพื้นที่ เครื่องแบบชุดปกติขาว

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 17


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เสด็จพระราชด�ำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๗
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วันอังคารที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (ภาคบ่าย)

เวลา ๑๕.๐๐ น. - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ออกจาก
ห้องรับรองที่ประทับ เข้าสู่ภายในหอประชุม
(คณาจารย์และบัณฑิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย
- ทรงกราบ
- ประทับพระราชอาสน์
- ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชวโรกาสพระราชทานปริญญาบัตร
แก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษา และกราบบังคมทูลเบิก ศาสตราจารย์นรนิติ
เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์เข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับปริญญา
มหาบัณฑิต และระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
- พระราชทานประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญา
ดุษฎีบัณฑิต แก่นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา)

18 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


- คณบดี ค ณะเศรษฐศาสตร์ คณบดี ค ณะสาธารณสุ ข ศาสตร์ คณบดี
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี
พนมยงค์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง คณบดี
คณะพยาบาลศาสตร์ กราบบั ง คมทู ล เบิ ก ผู ้ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาเข้ า รั บ
พระราชทานปริญญาบัตร
(จ�ำนวน ๑,๑๖๗ ราย)
- พระราชทานปริญญาบัตร ตามล�ำดับ
(พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา)
- บัณฑิตกล่าวค�ำปฏิญาณ
- เสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ
(คณาจารย์และบัณฑิตร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- เสด็จฯ เข้าสู่ห้องรับรองที่ประทับ
- ทรงเปลื้องฉลองพระองค์ครุย
- เสด็จฯ ออกจากห้องรับรองทีป่ ระทับ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ ไปยังรถยนต์พระที่นั่ง
(รถยนต์พระที่นั่งเทียบทางขวา)
- ประทับรถยนต์พระทีน่ งั่ เสด็จฯ ออกจากหอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ท่าพระจันทร์ กลับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
(ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี)
- เสด็จฯ ถึงพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

การแต่งกาย - ราชองครักษ์ เครื่องแบบชุดปกติขาว


- ข้าราชการในพระองค์ฯ เครื่องแบบชุดปกติขาว
- ข้าราชการในพื้นที่ เครื่องแบบชุดปกติขาว

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 19


ของ
ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษาประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้า ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย


ธรรมศาสตร์ มี ค วามส� ำ นึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ ใ ต้ ฝ ่ า ละอองพระบาท เสด็ จ
พระราชด�ำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรของ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗ ในโอกาสอันเป็นสิริมงคลยิ่ง
และเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นแก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ท�ำให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงมีก�ำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่การงาน
ต่อไปจนสุดความสามารถ
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทาน พระราชวโรกาสกราบบังคมทูลรายงานกิจการ
ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรอบปีที่ผ่านมาและที่ด�ำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้
ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นปีการศึกษาปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมีนักศึกษา
ที่ก�ำลังศึกษาจ�ำนวน ๓๙,๐๗๒ คน แยกเป็นระดับปริญญาตรี ๓๒,๐๙๘ คน ระดับ
ประกาศนียบัตรบัณฑิต ๑๖๒ คน ระดับปริญญาโท ๖,๑๔๓ คน ระดับปริญญาเอก ๖๖๙ คน
และเปิดท�ำการสอนในหลักสูตรต่างๆ รวม ๒๘๐ หลักสูตร แยกเป็นระดับปริญญาตรี ๑๒๒
หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต ๕ หลักสูตร ปริญญาโท ๑๑๔ หลักสูตร ปริญญาเอก
๓๙ หลักสูตร และแยกเป็นหลักสูตรภาษาไทย ๑๘๖ หลักสูตร หลักสูตรภาษาอังกฤษ
๙๔ หลักสูตร

20 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


ส�ำหรับการบริหารงานมหาวิทยาลัยในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างองค์ความรู้
และผลิตบัณฑิต อันที่จะเป็นก�ำลังในการแก้ปัญหา พัฒนาประเทศชาติ และในระดับ
นานาชาติ มหาวิทยาลัยจึงได้ด�ำเนินการขับเคลื่อนนโยบายหลัก ๔ ด้าน คือ
๑. การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในเก้า
มหาวิทยาลัยวิจัยของประเทศไทยที่ได้ด�ำเนินการพัฒนาผลงานวิจัย จนได้รับรางวัลจาก
เวทีระดับโลกและประเทศ และมีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นจากเดิม ๗๗๗ ชิ้น เป็น ๑,๐๕๔ ชิ้น
มีผลงานวิจยั และสิง่ ประดิษฐ์ทถี่ กู น�ำไปใช้ประโยชน์เพิม่ ขึน้ จากเดิม ๑๗ ชิน้ เป็น ๓๑๕ ชิน้
ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลเพิ่มขึ้นจากเดิม ๑๒ ชิ้น เป็น ๗๕ ชิ้น
๒. การเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ ในปีทผี่ า่ นมามหาวิทยาลัยได้ทำ� ความร่วมมือ
กับมหาวิทยาลัยชั้นน�ำของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพิ่มจาก ๒๘๕ แห่ง เป็น ๓๔๑ แห่ง
มีนักศึกษาต่างประเทศมาศึกษาและแลกเปลี่ยนจาก ๙๘๔ คน เพิ่มเป็น ๑,๑๗๖ คน
และในด้านการยอมรับในระดับสากล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับจาก
QS World Ranking ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลก ในระดับ ๔ ดาว
ในภาพรวม และได้คะแนนระดับ ๕ ดาว ใน ๕ ด้าน คือ ความเป็นนานาชาติ สิ่งอ�ำนวย
ความสะดวก การมีงานท�ำของบัณฑิต การเปิดกว้างทางการศึกษา และความรับผิดชอบ
ต่อสังคม
๓. การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความ
มุ่งมั่นที่จะสร้างบัณฑิตที่ไม่เพียงแต่มีความรู้ แต่ต้องมีทั้งความคิด มีความรับผิดชอบต่อ
สังคม และยังสามารถน�ำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาเป็น และเป็นบัณฑิตที่จะเป็นผู้น�ำ
แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต่อไป มหาวิทยาลัยจึงได้ดำ� เนินการปรับปรุงหลักสูตร และการเรียนการ
สอนในหมวดวิชาสาขาทัว่ ไป ส�ำหรับนักศึกษาปริญญาตรีในปีที่ ๑ จากเดิมทีไ่ ด้ดำ� เนินการ
ให้มีวิชาพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม ในปีการศึกษานี้ได้มีการปรับปรุงวิชา
ศึกษาทัว่ ไปจนครบทุกวิชา และได้ใช้แนวทางการเรียนการสอนโดยการบริการสังคม หรือ
Service Learning โดยให้นักศึกษาท�ำโครงงานบริการสังคม เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้โดย
การลงมือปฏิบตั ิ และเรียนรูด้ ว้ ยการใช้ความรูไ้ ปแก้ปญ
ั หาให้ประชาชน โดยในปีการศึกษา
ปัจจุบัน ได้มีการด�ำเนินการเกือบครบถ้วนทุกคณะแล้ว
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้ใช้แนวทางการเรียนการสอนแบบ Active Learning
คือการลดการเรียนการสอนแบบท่องจ�ำ เปลี่ยนมาเป็นการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ
และจากประสบการณ์จริงให้มากขึ้น โดยมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีหลักสูตรอบรมอาจารย์
ในเรื่อง Active Learning อย่างจริงจังในปีที่ผ่านมา และจะได้มีการด�ำเนินการอย่าง
ต่อเนื่องต่อไป

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 21


๔. การเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดความ
สมดุลทั้งในด้านการพัฒนา และการรักษาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้มี
การขับเคลื่อนนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน หรือ Sustainable University โดย
มุ่งที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมหาวิทยาลัย ด�ำเนินการสร้างองค์ความรู้
และการวิจัยในเรื่องความยั่งยืน และที่ส�ำคัญที่สุดคือ การสร้างบัณฑิตที่จะน�ำความรู้
ไปใช้ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
โดยในรอบปีที่ผ่านมาได้มีการด�ำเนินการในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านกายภาพ
การใช้ทรัพยากร และการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ และการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ การเป็นมหาวิทยาลัย
ใช้จกั รยาน การยกเลิกการใช้ถงุ พลาสติกหูหวิ้ ตลอดจนการส่งเสริมงานวิจยั และหลักสูตร
การเรียนการสอนในด้านความยัง่ ยืน เพือ่ ให้เกิดการขับเคลือ่ นการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนอย่าง
แท้จริงต่อไป
ภายใต้การด�ำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ มีผู้ส�ำเร็จ
การศึกษาตามหลักสูตรทางมหาวิทยาลัย ดังนี้
ระดับปริญญาตรี ๖,๕๖๔ คน
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ๑๒๑ คน
ระดับปริญญาโท ๒,๑๐๖ คน
ระดับปริญญาเอก ๖๕ คน

บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทาน


พระราโชวาทเพื่อความเป็นสวัสดิมงคล และเป็นหลักในการด�ำเนินงานของบัณฑิต
นักศึกษา คณาจารย์ ข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย และขอพระราชทาน
พระราชวโรกาสกราบบังคมทูลเชิญใต้ฝา่ ละอองพระบาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อมพระราชทานปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ผทู้ รงคุณวุฒิ และพระราชทาน
ปริญญาบัตรแก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษาตามรายงานที่นายกสภามหาวิทยาลัย กราบบังคมทูล
สดุดีเกียรติคุณผู้ทรงคุณวุฒิ และคณบดีแต่ละคณะจักได้กราบบังคมทูลต่อไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

22 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ของ
ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร
นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในวโรกาสทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้า ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัย


ธรรมศาสตร์ ขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบบั ง คมทู ล ประกาศราชสดุ ดี
เฉลิมพระเกียรติคุณ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาส
ที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎี-
บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม ดังนี้
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระปรีชาสามารถใน
ศิลปวิทยาการหลายสาขา อาทิ ภาษา วรรณกรรม ประวัตศิ าสตร์ โบราณคดี สังคมวิทยา
และมานุษยวิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทั้งยังทรงเป็นนักการศึกษา
นักพัฒนา และนักวิจัย พระราชกรณียกิจนานัปการ ที่ทรงบ�ำเพ็ญนั้นประจักษ์ชัดในหมู่
พสกนิกรไทย และด้วยเหตุทสี่ มเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็น
องค์อปุ ถัมภ์ศลิ ปวัฒนธรรมของชาติ พระราชกรณียกิจอันเกีย่ วเนือ่ งกับงานศิลปวัฒนธรรม
จึงมีเป็นอเนกประการสุดจะพรรณนา ดังจะได้ยกตัวอย่างเป็นสังเขปเท่านั้น
พระราชกรณียกิจอันแสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรม
ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจักษ์ชดั เมือ่ ทรงรับเป็นแม่กอง
บูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ในคราวสมโภช

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 23


กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ด้วยทรงมีพระราชวินิจฉัยที่กระจ่างชัดในการด�ำเนินงาน
บูรณะซ่อมแซม ทรงมีพระราชวิริยะอุตสาหะในการน�ำองค์ความรู้หลากสาขา ทั้งศิลปะ
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี ตลอดจนเทคโนโลยีและวิทยาการ ที่ทันสมัย
มาบูรณาการร่วมกับการวิจัยและการอนุรักษ์เพื่อคงคุณค่าของแหล่งศิลปวิทยาการ
ชั้นสูงของชาติไว้ได้โดยสมบูรณ์
ด้านการบริหารงานพิพธิ ภัณฑ์และแหล่งเรียนรูท้ างศิลปวัฒนธรรม ทรงริเริม่ ให้
พัฒนาระบบงานและการจัดแสดงวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติให้ทันสมัย ตลอดจน
มีพระราชด�ำริให้ก่อตั้งและสร้างเสริมแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของพสกนิกรไทย
พระราชกรณียกิจทีป่ ระจักษ์ชดั ในด้านนีม้ พี พิ ธิ ภัณฑ์ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเป็น
อาทิ ด้วยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ด�ำเนินการอนุรกั ษ์ ซ่อมแซม และออกแบบการจัดแสดงจน
ท�ำให้พพิ ธิ ภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ากลายเป็นพิพธิ ภัณฑ์ทมี่ ชี วี ติ และทันสมัย
ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
นอกจากนี้ สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ยั ง มี
พระราชด�ำริให้พัฒนาระบบอนุรักษ์เอกสารโบราณของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ และ
ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ทั้งยังทรงส่งเสริมให้มีหลักสูตรการศึกษาในระดับ
อุดมศึกษาด้านการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร เพือ่ สร้างเสริมบุคลากร ตลอดจนให้
คนในชาติได้เห็นความส�ำคัญและหวงแหนเอกสาร ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
พระราชกรณียกิจด้านการบริหารงานวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับนาฏศิลป์
ดุรยิ างคศิลป์ คีตศิลป์ และทัศนศิลป์มเี ป็นอเนกประการ ด้วยทรงเล็งเห็นความส�ำคัญของ
การฟื้นฟู การอนุรักษ์ และการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ พระราชกรณียกิจ
ที่ส�ำคัญ อาทิ ทรงมีพระราชด�ำริฟื้นฟูการบรรเลงในงานอวมงคลตามแบบโบราณราช
ประเพณี ได้แก่ การประโคมย�ำ่ ยาม การบรรเลงเพลงเรือ่ งประเภทเพลงฉิง่ การค้นคว้าวิจยั
ดนตรีไทยเกีย่ วกับเพลงเรือ่ ง ทรงให้ความส�ำคัญกับการแสดงมหรสพสมโภชตามโบราณ
ราชประเพณี ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล ทรงพระราชทานพระราชวินิจฉัยเรื่องการ
จัดสร้างเครือ่ งแต่งกายโขนของกรมศิลปากร ทรงมีพระราชด�ำริให้กรมศิลปากรสร้างสรรค์
“ระบ�ำไดโนเสาร์” ด้วยมีการขุดพบซากไดโนเสาร์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทย ทั้งยังมีพระราชด�ำริให้สร้างสรรค์การแสดง “ระบ�ำจตุรทิศวิจิตร
ไทยอาภรณ์” ส�ำหรับแสดงในงาน ๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จพระศรีสวรินทิรา-
บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

24 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


กล่าวโดยประจักษ์ได้ว่าพระราชกรณียกิจด้านการบริหารงานวัฒนธรรมของ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ประมวลโดยสังเขปข้างต้นนั้น
บริบูรณ์พร้อมด้วยองค์ความรู้และกระบวนการบริหารงานวัฒนธรรม อันแสดงให้เห็น
ถึงพระอัจฉริยภาพในการบริหารงานวัฒนธรรม ทั้งยังทรงทุ่มเทพระวรกายเพื่อจะทรง
ท�ำนุบ�ำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติให้เป็นไปอย่างยั่งยืน และเจริญรุ่งเรืองทัดเทียม
นานาอารยประเทศ
ด้วยพระราชกรณียกิจทั้งหลายอันเปี่ยมล้นด้วยพระปรีชาญาณและด้วย
พระเกียรติคณ ุ ทีไ่ ด้กล่าวมา สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการประชุมครัง้ ที่ ๙/๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
ปริ ญ ญาศิ ล ปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิ ช าการบริ ห ารงานวั ฒ นธรรม
แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณ
ให้เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน และเป็นสวัสดิมงคลแก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สืบไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 25


ของ
ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร
นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สดุดีเกียรติคุณผู้ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท

ด้วยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มมี ติมอบปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์


ตามความในมาตรา ๒๓ (๕) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พุทธศักราช
๒๕๕๘ ส�ำหรับผูท้ รงคุณวุฒสิ มควรแก่ปริญญาในสาขาวิชาต่างๆ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
จ�ำนวน ๖ คน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถดีเด่นทางวิชาการในวิชาชีพของตน
มีเกียรติประวัติในการท�ำงานสูงส่ง ท�ำชื่อเสียงและคุณประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์และประเทศชาติโดยส่วนรวม เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป อันเป็นตัวอย่าง
ของบุคคลที่มีคุณธรรม ความรู้ ความพากเพียร และความเสียสละส�ำหรับอนุชนสืบไป
ด้วยเหตุผลดังทีไ่ ด้กราบบังคมทูลพระกรุณามานัน้ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทาน
พระราชวโรกาสเบิกผูไ้ ด้รบั ปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร
ดังต่อไปนี้
ศาสตราจารย์ ดร.ฟิลิป ซี. เซอริลโล่ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
นางสาวสุภา ปิยะจิตติ บัญชีดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
นายธนากร เสรีบุรี ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาอาเซียนจีนศึกษา
ศาสตราจารย์ ดร.เมลานี สาโดโน ดีจามิล ทันตแพทยศาสตรดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์

26 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
และการสื่อสาร
ส�ำหรับ ศาสตราจารย์ ดร.สุชติ กุมาร์ โฆษ ซึง่ ได้รบั ปริญญาปรัชญาดุษฎีบณ
ั ฑิต
กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสถิติ ติดภารกิจอยูต่ า่ งประเทศ ท�ำให้ไม่สามารถเข้ารับพระราชทาน
ปริญญาบัตรในครั้งนี้ได้

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 27


ศาสตราจารย์ ดร. ฟิลิป ซี. เซอริลโล่
(Professor Dr.Philip C. Zerrillo)
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗

ศาสตราจารย์ ดร. ฟิลปิ ซี. เซอริลโล่ ด�ำรงต�ำแหน่ง
คณบดี ข องโครงการบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา ณ Singapore
Management University ประเทศสิงคโปร์ โดยรับผิดชอบ
ดูแลหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอกด้านบริหารธุรกิจ
รวมทั้งหลักสูตรส�ำหรับผู้บริหารระดับสูง การเขียนกรณี
ศึกษาเพือ่ ใช้เป็นบทเรียน และเพือ่ เผยแพร่ให้กว้างขวางตัง้ แต่
ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
ในด้านธุรกิจและด้านการตลาดในระดับนานาชาติ โดยมีผล
งานวิชาการทางการตลาดและการจัดการธุรกิจที่ได้รับการ
ยอมรับจากนานาประเทศ ตลอดจนได้ผลิตงานวิจัยและบทความทางการตลาดที่ได้รับ
การเผยแพร่ในวารสารทางการตลาดระดับนานาชาติอีกจ�ำนวนมาก
ส�ำหรับด้านการสอนศาสตราจารย์ ดร. ฟิลิป ซี. เซอริลโล่ มีผลงานด้านการ
สอนในหลักสูตรระดับปริญญาโทและเอกในสถาบันการศึกษาชั้นน�ำทั่วโลก โดยอุทิศตน
ให้กับการสอนอย่างดียิ่ง จนได้รับประกาศเกียรติคุณจากสถาบันการศึกษาชั้นน�ำต่าง ๆ
อีกหลายแห่ง รวมทั้งได้ท�ำการสอนที่โครงการปริญญาโททางการตลาด หลักสูตร
นานาชาติ (MIM) ในวิชา Channel Management และวิชา Marketing Simulation
ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และได้ปฏิบตั หิ น้าทีเ่ ป็นอาจารย์ทปี่ รึกษาวิชา Independent Study
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มาโดยตลอด โดยได้รับคะแนนเต็มในการประเมินจากนักศึกษา
(ได้ระดับ ๕ จากคะแนนเต็ม ๕)
ศาสตราจารย์ ดร. ฟิลิป ซี. เซอริลโล่ ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่ง
Executive Chairman ของโครงการปริญญาโททางการตลาด หลักสูตรนานาชาติ
(MIM) ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยเป็นผูใ้ ห้ค�ำปรึกษาและนโยบายในการบริหารโครงการฯ

28 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


การปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยและเป็นสากล การเชิญอาจารย์มาสอนใน
โครงการฯ การพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาใหม่ การประสานการศึกษาดูงานด้านธุรกิจ
ในองค์กรชั้นน�ำทางธุรกิจระดับโลกในต่างประเทศ ตลอดจนการเผยแพร่โครงการฯ
ให้เป็นทีร่ จู้ กั และยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับโลก ทัง้ ในสถาบันการศึกษาและองค์กร
ธุรกิจชั้นน�ำด้วย
ศาสตราจารย์ ดร. ฟิลิป ซี. เซอริลโล่ เป็นบุคคลที่มีส่วนส�ำคัญในการ
ให้ค�ำปรึกษาทางด้านธุรกิจ และการตลาดกับองค์กรชั้นน�ำหลายแห่งทั่วโลก ซึ่งจาก
ประสบการณ์ดังกล่าวนี้ได้ส่งผลโดยตรงต่อการเรียนการสอนท� ำให้มีบทบาทที่ส�ำคัญ
ในการพัฒนานักศึกษาให้มีแนวคิดที่หลากหลาย และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์ ดร. ฟิลิป ซี. เซอริลโล่ ได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายพิเศษจากมหาวิทยาลัย
ชั้นน�ำในประเทศต่าง ๆ มาแล้วมากกว่า ๒๐ ประเทศทั่วโลก
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ฟิลิป ซี. เซอริลโล่ ยังมีบทบาทส�ำคัญในการ
พัฒนาความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างคณะพาณิชยศาสตร์และ
การบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ Singapore Management University ประเทศ
สิงคโปร์ และยังได้ให้การสนับสนุนคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ ในการประชุมระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องตลอดมาอีกด้วย
ด้านชีวิตส่วนตัว ศาสตราจารย์ ดร. ฟิลิป ซี. เซอริลโล่ เป็นผู้ที่ด�ำรงชีวิตแบบ
เรียบง่าย มีอัธยาศัยอ่อนโยนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จึงเป็นที่รักของผู้ที่ได้รู้จักและลูกศิษย์
ทั้งหลาย ศาสตราจารย์ ดร. ฟิลิป ซี. เซอริลโล่ ได้สมรสกับ นางคาเรน เซอริลโล่ และ
มีบตุ รชาย ๒ คน แสดงออกถึงการมีครอบครัวทีอ่ บอุน่ และเป็นตัวอย่างทีด่ ตี อ่ คณาจารย์
ในสถาบันการศึกษา
ด้วยเกียรติประวัติและความรู้ความสามารถอันโดดเด่นทั้งหลายทั้งปวงของ
ศาสตราจารย์ ดร. ฟิลิป ซี. เซอริลโล่ สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการประชุม
ครัง้ ที่ ๙/๒๕๕๘ เมือ่ วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ จึงมีมติให้ ศาสตราจารย์ ดร.ฟิลปิ ซี. เซอริลโล่
เป็นผู้เหมาะสมที่จะได้รับพระราชทานปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นการเชิดชูคุณงาม
ความดี ความรู้ความสามารถ และเพื่อเป็นเกียรติประวัติให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 29


นางสาวสุภา ปิยะจิตติ
บัญชีดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗

นางสาวสุภา ปิยะจิตติ ถือเป็นข้าราชการที่ปฏิบัติ
หน้าที่อันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่หน่วยงานและประเทศชาติ
โดยเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานภาครัฐมาเป็นระยะ
เวลายาวนาน จนในปัจจุบันได้รับการคัดเลือกให้เข้าด�ำรง
ต�ำแหน่งในระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ และยังเคยได้รับ
การประกาศเป็นข้าราชการดีเด่นอีกด้วย
ตลอดระยะเวลาการปฏิบตั งิ านทีผ่ า่ นมา นางสาวสุภา
ปิยะจิตติ ได้ปฏิบั ติ ง านโดยยึ ด มั่ น ในความถู ก ต้ อ ง และ
หลักการของวิชาชีพบัญชีโดยไม่ค� ำนึงถึงแรงกดดันทั้งใน
ระบบราชการและระบบการเมือง อีกทั้งได้ใช้ความรู้ความสามารถในอันที่จะรักษาผล
ประโยชน์ของประเทศชาติ จนเป็นทีย่ อมรับโดยทัว่ ไปถึงความเป็นผูม้ คี วามซือ่ สัตย์อย่าง
สูง เป็นทีเ่ ลือ่ งลือในหมูเ่ พือ่ นข้าราชการ ผูบ้ งั คับบัญชา และปรากฏเป็นทีป่ ระจักษ์แก่คน
ทั่วไปอย่างกว้างขวางในระดับประเทศ นับเป็นตัวอย่างอันดีในการใช้ความรู้ทางวิชาชีพ
บัญชีเพื่อประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ
นางสาวสุภา ปิยะจิตติ เป็นผูม้ บี ทบาทส�ำคัญในการเสนอความคิดเห็นและ
วิธีการท�ำงานทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชนให้เจริญก้าวหน้าเกิดประโยชน์แก่สังคมและ
ประเทศชาติ อาทิเช่น
- น�ำเสนอรายงานผลการด�ำเนินงานของโครงการรับจ�ำน�ำข้าวต่อนายกรัฐมนตรี
ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ โดยจัดท�ำบัญชีโครงการรับจ�ำน�ำข้าว
ตามมาตรฐานการบัญชีและวิชาชีพของนักบัญชีอย่างเคร่งครัด
- น� ำ ระบบประเมิ น ผลการด� ำ เนิ น งานรั ฐ วิ ส าหกิ จ (Performance
Agreement) มาใช้ เพื่ อ ให้ มี ก ารประเมิ น ผลอย่ า งเป็ น อิ ส ระและเป็ น ธรรม โดย
คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชน

30 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


- เสนอให้มีการปรับปรุงวิธีการสรรหาผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ และ
การก�ำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารสูงสุด และกรรมการรัฐวิสาหกิจใหม่ เพื่อให้สามารถ
สรรหาผู้ที่มีความสามารถเหมาะสมและเป็นผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาช่วยบริหารจัดการ
รั ฐ วิ ส าหกิ จ อีกทั้งยังก�ำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้ อ งมี ค ณะกรรมการตรวจสอบเพื่ อ ให้
รัฐวิสาหกิจมีความโปร่งใสในการบริหารงาน ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
- เสนอให้มีการปรับปรุงระเบียบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อให้มีการแข่งขัน
การเสนอราคาของผู้ประกอบการอย่างกว้างขวางและเป็นธรรม และเพื่อแก้ไขปัญหา
การกีดกันการเสนอราคาและการเอือ้ ประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง โดยน�ำระบบอิเล็กทรอนิกส์
มาใช้กับการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคา
- เสนอให้มกี ารจ่ายบ�ำเหน็จด�ำรงชีพ ๑๕ เท่าของบ�ำนาญให้แก่ผรู้ บั บ�ำนาญ
โดยได้รบั ยกเว้นภาษีเงินได้ เพือ่ ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผูร้ บั บ�ำนาญในการ
ด�ำรงชีพภายหลังเกษียณให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ
- เสนอและร่วมแก้ไขพระราชบัญญัติบ�ำเหน็จบ�ำนาญข้าราชการ พ.ศ.
๒๔๙๔ และพระราชบัญญัติกองทุนบ�ำเหน็จบ�ำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เพื่อให้
โอกาสแก่สมาชิก กบข. ภาคสมัครใจที่รับราชการก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ทั้งที่
ยังรับราชการอยู่ หรือรับบ�ำนาญไปแล้ว สามารถยกเลิกการเป็นสมาชิก กบข. และเลือก
รับบ�ำนาญสูตร พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้ (Undo) และให้โอกาสข้าราชการที่บรรจุก่อนวันที่ ๒๗
มีนาคม ๒๕๔๐ และยังไม่เกษียณ สามารถสมัครเป็นสมาชิก กบข. ได้ (Redo)
ด้วยเกียรติประวัติและความรู้ความสามารถอันโดดเด่นทั้งหลายทั้งปวง
ของ นางสาวสุภา ปิยะจิตติ ศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ เป็นบุคคลที่ประสบความส�ำเร็จในหน้าที่การงาน สามารถปฏิบัติหน้าที่
ที่ได้รับมอบหมายได้ผลส�ำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดียิ่ง เป็นผู้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมใน
สังคมอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศ เป็นบุคคลที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มีความประพฤติ
อันงดงาม เป็นที่รักใคร่ชื่นชมในหมู่เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และคนรู้จักทั่วไป
สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน
๒๕๕๘ จึงมีมติให้ นางสาวสุภา ปิยะจิตติ เป็นผูเ้ หมาะสมทีจ่ ะได้รบั พระราชทานปริญญา
บัญชีดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพือ่ เป็นการเชิดชูคณ ุ งามความดี ความรูค้ วามสามารถ และเพือ่ เป็นเกียรติประวัตใิ ห้เป็นที่
ประจักษ์สืบไป

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 31


นายธนากร เสรีบุรี
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาอาเซียนจีนศึกษา
ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗

นายธนากร เสรีบุรี ส�ำเร็จการศึกษา International
Economics and Trade จาก Shanghai International
Studies University ท�ำงานเป็นคณะผู้บริหารของกลุ่ม
บริษทั เครือเจริญโภคภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) ตัง้ แต่พทุ ธศักราช
๒๕๒๑ – ๒๕๔๐ และพุทธศักราช ๒๕๓๒ – ปัจจุบัน ได้
ด�ำรงต�ำแหน่งส�ำคัญ อาทิ รองประธานกรรมการบริษัท
เครื อ เจริ ญ โภคภั ณ ฑ์ จ� ำ กั ด (มหาชน) และกลุ ่ ม บริ ษั ท
เครือเจียไต๋ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสเอไอซี
มอเตอร์-ซีพี จ�ำกัด
นายธนากร เสรีบุรี เป็นผู้ทรงเกียรติคุณ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูง
ทั้งในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีคุณธรรมความประพฤติอันเป็นแบบ
อย่าง กล่าวคือ พุทธศักราช ๒๕๔๔ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ประกาศให้เป็นพลเมือง
กิตติมศักดิ์ นครเซี่ยงไฮ้ นับเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับเกียรตินี้ ยังได้รับ
ยกย่องและได้รับเชิญจากองค์กรต่างๆ ให้ด�ำรงต�ำแหน่งส�ำคัญ อาทิ ประธานกรรมการ
สภาธุรกิจไทย-จีน อุปนายกสมาคมการลงทุนของชาวต่างชาติ นครเซีย่ งไฮ้ คณะกรรมการ
ประสานการลงทุนอาเซียน – จีน รองรับเสรีอาเซียน ด้วยความรู้ ความสามารถ และ
ประสบการณ์ท�ำให้ นายธนากร เสรีบุรี ได้รับการยกย่องจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
ในประเทศจีน อาทิ ได้ดำ� รงต�ำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ ด้านการลงทุนระหว่างประเทศ
มหาวิทยาลัยนานาชาติศกึ ษาแห่งนครเซีย่ งไฮ้ และได้รบั เชิญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษใน
วาระโอกาสต่าง ๆ ในหลายสถาบันตลอดมา ในปัจจุบนั นายธนากร เสรีบรุ ี ด�ำรงต�ำแหน่ง
ทีป่ รึกษาโครงการวิเทศคดีศกึ ษา (อาเซียน-จีน) คณะศิลปศาสตร์ และกรรมการอ�ำนวยการ
วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

32 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ – ปัจจุบัน นายธนากร เสรีบุรี ได้ผลักดันให้รายการ
สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วและการลงทุนในประเทศไทยได้ออกอากาศในช่อง CCTV I และ CCTV II
นอกจากนีย้ งั ให้สถานทีจ่ ดั นิทรรศการแนะน�ำสินค้าไทยในเซีย่ งไฮ้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผัก
ผลไม้และข้าวไทย บทบาททีส่ ำ� คัญอีกประการหนึง่ คือ การท�ำหน้าทีท่ ตู สันถวไมตรี และ
สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้น�ำรัฐบาลไทย-จีนในระดับต่าง ๆ และสร้างโอกาสการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ด้านการลงทุนระหว่างสองประเทศ
นายธนากร เสรีบุรี เป็นผู้มีคุณูปการที่ส�ำคัญยิ่งในการริเริ่มและส่งเสริมให้คน
จีนได้ศึกษาเรียนรู้ภาษาไทย โดยสนับสนุนการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัย
นานาชาติศึกษาแห่งนครเซี่ยงไฮ้ ได้จัดสรรงบประมาณให้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ จวบจนปัจจุบัน เพื่อจัดการเรียนการสอน การสร้างต�ำรา
สื่อการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ตลอดจนการแลกเปลี่ยน
คณาจารย์และนักศึกษา ระหว่างภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์กับภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนานาชาติศึกษาแห่งนครเซี่ยงไฮ้ ท�ำให้
เกิดการแลกเปลีย่ นเรียนรูท้ งั้ ด้านวิชาการและศิลปวัฒนธรรมไทย-จีน ก่อให้เกิดไมตรีจติ
มิตรภาพอันจะเป็นพืน้ ฐานทางความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ให้ขยายความงอกงามยัง่ ยืน
มากยิ่งขึ้นต่อไป
ด้วยเกียรติประวัติ ผลงานและความรูค้ วามสามารถอันโดดเด่นทัง้ หลายทัง้ ปวง
ของนายธนากร เสรีบุรี สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ จึงมีมติให้ นายธนากร เสรีบุรี เป็นผู้เหมาะสมที่จะได้
รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาอาเซียนจีนศึกษา
ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพือ่ เป็นการเชิดชูคณ ุ งามความดี
ความรู้ความสามารถ และเพื่อเป็นเกียรติประวัติให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 33


ศาสตราจารย์ ดร. เมลานี สาโดโน ดีจามิล
(Professor Dr. Melanie Sadono Djamil)
ทันตแพทยศาสตรดุษฎีบณั ฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗

ศาสตราจารย์ ดร. เมลานี สาโดโน ดีจามิล เป็นตัวอย่าง
ของผู้ทรงเกียรติคุณ และทรงคุณธรรมในวงการวิชาชีพ
ทันตแพทย์ระดับนานาชาติ โดยประสบความส�ำเร็จทั้งใน
ฐานะทันตแพทย์ อาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัย ท�ำให้
เป็นทีย่ อมรับในวงการวิชาการอย่างแพร่หลาย โดยภายหลัง
จบการศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ทั น ตแพทยศาสตร์ เมื่ อ
ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เริ่มท�ำงานในต�ำแหน่งทันตแพทย์ทั่วไป
ณ PT Stanvac ประเทศอินโดนีเซีย และได้เข้าท�ำงานเป็น
อาจารย์ทนั ตแพทย์ผชู้ ว่ ยสอน ณ Biochemistry Department, Faculty of Dentistry,
Universitas Trisakti ในปีถัดมา และยังมีความเชี่ยวชาญในด้านการเรียนการสอนและ
งานวิจัยหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านชีววิทยาช่องปาก (Oral biology) ซึ่งได้
ศึกษาวิจัยในเชิงลึกหลายแง่มุมด้วยกัน เช่น เอนไซม์ในน�ำ้ ลาย ระดับน�้ำตาลกลูโคสใน
น�้ำลายและกระแสเลือด แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคในช่องปาก คราบจุลินทรีย์และ
การใช้สมุนไพรยับยัง้ การเกิดคราบจุลนิ ทรียเ์ พือ่ ป้องกันการเกิดโรคฟันผุและโรคปริทนั ต์
ซึ่งผลงานวิจัยทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการน�ำเสนอในที่ประชุมวิชาการและวิจัยทั้งใน
ระดับชาติและนานาชาติหลายต่อหลายครั้ง จนได้รับรางวัลเป็นที่หนึ่งของมหาวิทยาลัย
ในปี ๒๕๔๙ และรางวัล Most Valuable Expert ในปี ๒๕๕๑
นอกจากนี้ ไ ด้ อุ ทิ ศ ตนให้ กั บ การเรี ย นการสอนและการท�ำ วิ จั ย ทางทั น ต-
แพทยศาสตร์อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา โดยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการท�ำวิทยานิพนธ์ของ
นักศึกษา Universitas Trisakti ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นอดีตคณบดีของสถาบันนี้
มามากกว่า ๕๐ คน และที่ส�ำคัญยังเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการท�ำวิทยานิพนธ์ให้กับ

34 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


นักศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอกของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน
ส�ำหรับการท�ำงานอุทิศตนในหน่วยงานระดับชาติและนานาชาตินั้น ได้เริ่ม
ท�ำงานในต�ำแหน่งเหรัญญิกของ International Association for Dental Research
(IADR), Indonesian Section ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ จากนั้นได้รับเลือกเป็น Council
member ของ IADR, Southeast Asian Division ตัง้ แต่ปี ๒๕๔๖ จนกระทัง่ ได้รบั เลือก
เป็น President elect ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นอกจากนี้ยังท�ำงานในองค์กรสาธารณกุศล
อื่น ๆ เช่น Asia Pacific Dental Association, Indonisian Moslem Scholar
Association และ National Organization for Anti-bullying เป็นต้น
นอกจากความส�ำเร็จทางด้านชีวิตการท�ำงานที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังเป็น
แบบอย่างทีด่ ขี องผูป้ ระสบความส�ำเร็จในชีวติ ครอบครัว เป็นตัวอย่างของผูท้ รงเกียรติคณ

และทรงคุณธรรมในวงการวิชาชีพทันตแพทย์ระดับชาติและนานาชาติ
ด้วยเกียรติประวัติและความรู้ความสามารถอันโดดเด่นทั้งหลายทั้งปวงของ
ศาสตราจารย์ ดร.เมลานี สาโดโน ดีจามิล ทีไ่ ด้กล่าวมานี้ เป็นเกียรติสว่ นย่อยในบรรดาผล
งานทีไ่ ด้ปฏิบตั มิ าจ�ำนวนมาก อันเป็นการแสดงออกซึง่ ความสามารถอันยิง่ ยอดในวิชาชีพ
ที่เป็นประโยชน์ต่อคณะ สังคม และประเทศชาติอย่างยิ่ง สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ จึงมติให้ ศาสตราจารย์
ดร.เมลานี สาโดโน ดีจามิล เป็นผู้เหมาะสมที่จะได้รับพระราชทานปริญญาทันต-
แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ ประจ�ำปีการศึกษา
๒๕๕๗ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อ เป็ น การเชิ ด ชู คุ ณ งามความดี ความรู ้
ความสามารถ และเพื่อเป็นเกียรติประวัติให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 35


ศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร
ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗

อุทิศตนปฏิบัติหน้าที่อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่
ส่วนรวมและประเทศชาติโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย
และมี ผ ลงานทางวิ ช าการดี เ ด่ น ก่ อ คุ ณู ป การแก่ ส าขา
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เป็นผู้น�ำในด้าน
วิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
ศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ส�ำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัย
มินนิโซต้า ระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จาก
มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด และส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
ด้านหน้าที่การงาน ศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ได้ดำ� รงต�ำแหน่ง
ทางวิชาการและต�ำแหน่งบริหารที่ส�ำคัญต่างๆ เช่น หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองศาสตราจารย์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยแมซซาชูเซจ ประเทศสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์และผูอ้ �ำนวยการสถาบัน
เทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย
ในด้านวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญและ
มีความสามารถในการถ่ายทอดวิชาความรู้ เป็นอาจารย์ผู้ที่อุทิศตนเพื่อการสอนทั้งใน
ระดับปริญญาตรี โท และเอก และยังได้เรียบเรียงต�ำราและเอกสารค�ำสอนด้านวิศวกรรม
โทรคมนาคม เป็นอาจารย์ทปี่ รึกษาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับดุษฎีบณ ั ฑิตหลายคน
นอกจากนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ยังสนใจและทุ่มเทการค้นคว้าวิจัย
จนปรากฏผลงานเป็นทีป่ ระจักษ์ และได้รบั การตีพมิ พ์เผยแพร่ในระดับชาติ ภูมภิ าค และ

36 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


นานาชาติมากกว่า ๖๐ เรื่อง และมีบทความที่น�ำเสนอในที่ประชุมวิชาการมากกว่า ๙๐
เรื่อง ส่วนใหญ่ทางด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม ศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ได้
พัฒนาบุคลากร สร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพ และช่วยการผลิตบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยี
การสื่อสาร ตลอดจนพัฒนาชิ้นส่วน อุปกรณ์และระบบย่อยส�ำหรับใช้ในระบบสื่อสาร
๓G สร้างความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในประเทศไทย
ด้านการให้ค�ำปรึกษาเชิงวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ เป็น
ผู้มีประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการ
ในระดับชาติ ปัจจุบนั ท่านด�ำรงต�ำแหน่ง เลขานุการส�ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
กรรมการ และกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย กรรมการ
สภาวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรรมการสภาสถาบันวิทยสิริเมธี
อนุ ก รรมการสภามหาวิ ท ยาลั ย ด้ า นหลั ก สู ต รและการจั ด การศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย
ธรรมศาสตร์ กรรมการและประธานกรรมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติหลาย
งาน อีกทั้งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตนายกสมาคม สมาคมวิชาการ วิศวกรรมไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากผลงานวิชาการตามทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว ศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์
เป็นเหตุให้ได้รบั รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทบุคคล ครัง้ ที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๔๙
จากมูลนิธโิ ทเร ประเทศไทย ซึง่ เป็นรางวัลมอบแก่บคุ คลทีม่ คี วามสามารถสูงและประสบ
ความส�ำเร็จในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้วยเกียรติประวัติและผลงานอันดีเด่น เป็นผู้ทรงคุณวุฒิเปี่ยมด้วยคุณธรรม
และเป็นผู้ท�ำประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน
การประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ จึงมีมติให้ ศาสตราจารย์
ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ เป็นผูเ้ หมาะสมทีจ่ ะได้รบั พระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบณ
ั ฑิต
กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการสือ่ สาร ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นการเชิดชูคุณงามความดี ความรู้ความสามารถ
และเพื่อเป็นเกียรติประวัติให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 37


ศาสตราจารย์ ดร. สุชิต กุมาร์ โฆษ
(Professor Dr. Sujit Kumar Ghosh)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาสถิติ
ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗

ศาสตราจารย์ ดร. สุชิต กุมาร์ โฆษ เกิดเมื่อวันที่
๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ทีเ่ มืองบาร์แรคปอร์ในรัฐเบงกอลตะวัน
ตกของประเทศอินเดีย ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และปริญญาโทสาขาวิชาสถิติจากสถาบันสถิติศาสตร์แห่ง
อินเดีย (Indian Statistical Institute) เมืองกัลกัตตา
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ และ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ตามล�ำดับ จากนั้น
ได้ศกึ ษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาวิชาสถิติ ทีม่ หาวิทยาลัย
คอนเนคทิคัท (University of Connecticut) ประเทศ
สหรัฐอเมริกา และเริ่มท�ำงานที่ภาควิชาสถิติ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐนอร์ทคาโลไรนา
(North Carolina State University) ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ หลังส�ำเร็จการศึกษาระดับ
ปริญญาเอกในต�ำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ศาสตราจารย์ ดร. สุชติ กุมาร์ โฆษ ปัจจุบนั ด�ำรงต�ำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้าน
สถิตทิ มี่ หาวิทยาลัยแห่งมลรัฐนอร์ทคาโลไรนา และเป็นรองผูอ้ ำ� นวยการสถาบันวิทยาการ
สถิติศาสตร์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ (Statistical and Applied Mathematical
Sciences Institute) มลรัฐนอร์ทคาโลไรนา มีความเชีย่ วชาญทัง้ ด้านทฤษฎีสถิตแิ ละสถิติ
ประยุกต์ เช่น สถิตอิ นุมาน สถิตแิ นวเบส์ สถิตเิ ชิงปริภมู ิ การวิเคราะห์การรอดชีพ และการ
ประยุกต์ใช้สถิตกิ บั ข้อมูลทีม่ มี ติ สิ งู ด้านเศรษฐศาสตร์ มีผลงานวิชาการทีม่ ชี อื่ เสียงตีพมิ พ์
ในวารสารนานาชาติต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ท่านยังเป็นบรรณาธิการและผู้ทรง
คุณวุฒิให้กับวารสารวิชาการด้านสถิติต่าง ๆ เช่น Journal of the Statistical Theory

38 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


and Practice, Journal of the American Statistical Association –T & M วารสาร
Thailand Statistician เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์และผลงานเป็นที่
ประจักษ์ สามารถหล่อหลอมประสบการณ์การท�ำงานจากระดับชาติสู่นานาชาติ เป็น
บุคคลทีป่ ระสบความส�ำเร็จในด้านสถิติ เป็นทีร่ จู้ กั และยอมรับอย่างกว้างขวาง พร้อมกับ
ถ่ายทอดประสบการณ์ในฐานะอาจารย์ผสู้ อน อาจารย์ทปี่ รึกษา นักวิชาการ ผูท้ รงคุณวุฒิ
แก่นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ มาโดยตลอด
ศาสตราจารย์ ดร. สุชิต กุมาร์ โฆษ เป็นผู้หนึ่งที่เป็นก�ำลังส�ำคัญในการ
พัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาวิชาสถิติ (หลักสูตรนานาชาติ) ซึง่ เป็นหลักสูตร
ระดับปริญญาเอกหลักสูตรแรกของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเป็นผู้วิพากษ์
หลักสูตร เป็นผู้สอน ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ ให้ข้อคิดเห็นในการจัดการ
เรียนการสอนระดับปริญญาเอกรวมทัง้ การสอบวัดคุณสมบัติ ซึง่ เป็นการเปิดโลกทัศน์ และ
มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนขั้นบัณฑิตศึกษาในทุก ๆ สาขาวิชา นอกจากนี้
ยังได้เสียสละเวลามาบรรยายและเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาระดับบัณฑิต
ศึกษาของภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์อย่างต่อเนื่องเป็นประจ�ำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร. สุชิต กุมาร์ โฆษ ยังเป็นผู้ริเริ่มและประสานงาน
ให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยแห่ง
มลรัฐนอร์ทคาโลไรนา จนกระทั่งมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันทั้งสอง
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และได้ประสานงานในการต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือใน
ปี พ.ศ. ๒๕๕๖
ศาสตราจารย์ ดร. สุชิต กุมาร์ โฆษ เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย ด�ำรง
ชีวติ แบบพอเพียง มีสมั มาคารวะและวางตัวเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย ท�ำให้เกิดความ
ประทับใจของผูท้ ไี่ ด้รว่ มงาน นอกจากนัน้ ยังเป็นผูท้ ชี่ อบเรียนรูว้ ฒ
ั นธรรมไทย เป็นผูม้ จี ติ
อาสาช่วยเหลือสังคม เสียสละความสุขส่วนตน เพือ่ ท�ำประโยชน์ดา้ นวิชาการแก่ผอู้ นื่ และ
มีความเข้าใจในประเทศทีก่ ำ� ลังพัฒนา เป็นผูห้ นึง่ ทีไ่ ด้รบั การเสนอจากคณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีให้ได้รับโล่รางวัลผู้ท�ำคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี
พ.ศ. ๒๕๕๖
จากที่กล่าวมาข้างต้น ศาสตราจารย์ ดร. สุชิต กุมาร์ โฆษ เป็นผู้มีความรู้ความ
สามารถ มีประสบการณ์และผลงานด้านสถิติศาสตร์เป็นที่ประจักษ์อันเป็นที่น่าชื่นชม
เป็นบุคคลทีป่ ระสบความส�ำเร็จในด้านวิชาชีพสถิติ เป็นทีร่ จู้ กั และยอมรับอย่างกว้างขวาง

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 39


พร้อมกับถ่ายทอดประสบการณ์ในฐานะอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา นักวิชาการ
ผู้ทรงคุณวุฒิแก่นักศึกษาในสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่งอย่างต่อเนื่อง
จากเกียรติประวัตแิ ละผลงานซึง่ เป็นทีย่ อมรับอย่างกว้างขวาง สภามหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ ในการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงมี
มติให้ศาสตราจารย์ ดร. สุชติ กุมาร์ โฆษ เป็นผูเ้ หมาะสมทีจ่ ะได้รบั พระราชทานปริญญา
ปรั ช ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ สาขาวิ ช าสถิ ติ ประจ� ำ ปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๗ จาก
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นการเชิดชูคุณงามความดี ความรู้ความสามารถ และ
เพื่อเป็นเกียรติประวัติให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป

40 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


จ�ำนวนผู้ส�ำเร็จการศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
จํานวนผูสําเร็จการศึกษา ประจําปการศึกษา 2557
จ�ำแนกตามระดับการศึกษา
จําแนกตามระดับการศึกษา
6,564

121

65 2,106

ปริญญาตรี ประกาศนียบัตร ปริญญาโท ปริญญาเอก หนวย : คน


หน่วย : คน

จ�ำนวนผู้ส�ำเร็จการศึกษา จ�ำแนกตามระดับการศึกษา
เปรียบเที ยบปีสํากเร็ารศึ
จํานวนผู กษา
จการศึ กษา ๒๕๕๖ และบปีการศึ
จําแนกตามระดั การศึกษากษา ๒๕๕๗
เปรียบเทียบปการศึกษา 2556 และ ปการศึกษา 2557

6,451
6,564
7,000

6,000

5,000

4,000
2,062 3,000
2,106 2,000
137
1,000
48 121
ปการศึกษา 2556 0
65
ปการศึกษา 2557 ปริญญาตรี
ประกาศนียบัตร
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หน่หนวยวย :: คน
คน

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 43


จ�ำนวนผู้ส�ำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
จํานวนผูสําเร็จการศึกษาจ�ระดั
ำแนกตามคณะ
บปริญญาตรี ประจําปการศึกษา 2557
จําแนกตามคณะ
วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค 84
วิทยาลัยสหวิทยาการ 143
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 437
สาธารณสุขศาสตร 83
สถาปตยกรรมศาสตรและการผังเมือง 201
ศิลปกรรมศาสตร 74
พยาบาลศาสตร 83
ทันตแพทยศาสตร 67
สหเวชศาสตร 165
แพทยศาสตร 202
วิศวกรรมศาสตร 576
วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี 629
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 176
วารสารศาสตรและสื่อสารมวลชน 269
ศิลปศาสตร 702
สังคมสงเคราะหศาสตร 361
เศรษฐศาสตร 447
รัฐศาสตร 371
พาณิชยศาสตรและการบัญชี 671
นิตศิ าสตร 823
- 100 200 300 400 500 600 700 800 900
จํานวนผูสําเร็จการศึกษา (คน)

จ�ำนวนผ้จําูสนวนผู
�ำเร็จสการศึ กษากษา
ําเร็จการศึ ระดัระดั
บประกาศนี
บประกาศนียยบับัตร ประจํ
ประจ�าปำกปีารศึ
การศึกษากษา
2557๒๕๕๗
จ�ำจํแนกตามคณะ
าแนกตามคณะ

สถาบันภาษา 23

ศิลปศาสตร 17

พาณิชยศาสตรและการบัญชี 26

นิตศิ าสตร 44

วิทยาลัยพัฒนศาสตร ปวย อึ๊งภากรณ 11

- 5 10 15 20 25 30 35 40 45 50
จํานวนผูสําเร็จการศึกษา (คน)

44 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


จ�ำนวนผู้ส�ำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗
จํานวนผูสําเร็จการศึกษาจ�ำระดั บปริญญาโท ประจําปการศึกษา 2557
แนกตามคณะ
จําแนกตามคณะ
นิติศาสตรและเศรษฐศาสตร 11
วิทยาลัยโลกคดีศึกษา 10
วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค 5
วิทยาลัยสหวิทยาการ 6
วิทยาลัยนวัตกรรม 72
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 53
สถาบันภาษา 86
สาธารณสุขศาสตร 22
สถาปตยกรรมศาสตรและการผังเมือง 84
พยาบาลศาสตร 10
สหเวชศาสตร 9
แพทยศาสตร 10
วิศวกรรมศาสตร 157
วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี 78
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 10
วารสารศาสตรและสื่อสารมวลชน 148
ศิลปศาสตร 106
สังคมสงเคราะหศาสตร 141
เศรษฐศาสตร 85
รัฐศาสตร 123
พาณิชยศาสตรและการบัญชี 592
นิติศาสตร 282
วิทยาลัยพัฒนศาสตร ปวย อึ๊งภากรณ 6
- 50 100 150 200 250 300 350 400 450 500 550 600
จํานวนผูสําเร็จการศึกษา (คน)

จ�ำนวนผู้ส�ำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗


จํานวนผูสําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก ประจําปการศึกษา 2557
จ�ำจํแนกตามคณะ
าแนกตามคณะ
วิทยาลัยสหวิทยาการ 15
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 9
สหเวชศาสตร 2
แพทยศาสตร 1
วิศวกรรมศาสตร 7
วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี 9
วารสารศาสตรและสื่อสารมวลชน 2
สังคมสงเคราะหศาสตร 2
เศรษฐศาสตร 4
รัฐศาสตร 2
พาณิชยศาสตรและการบัญชี 6
นิติศาสตร 6

- 2 4 6 8 10 12 14
จํานวนผูสําเร็จการศึกษา (คน)

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 45


จ�ำนวนผู้ส�ำเร็จการศึ
จํานวนผูกสษา ระดักษาบปริ
ําเร็จการศึ ระดัญ
บปริญาตรี ประจ�
ญญาตรี ประจํ าปกำารศึ
ปีกกษาารศึ2557
กษา ๒๕๕๗
จ�ำแนกตามช่ วงคะแนนเฉลี
จําแนกตามช ่ยสะสม
วงคะแนนเฉลี่ยสะสม

1,965

2,119
คะแนนเฉลี่ยสะสม 2.00 - 2.50
1,060 คะแนนเฉลี่ยสะสม 2.51 - 3.00

597 คะแนนเฉลี่ยสะสม 3.01 - 3.50


คะแนนเฉลี่ยสะสม 3.51 - 4.00

หมายเหตุ : ไม่รวมผู้ส�ำเร็จการศึกษาคณะนิติศาสตร์ หน่วย : คน

จ�ำนวนผู้ส�ำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗


หมายเหตุ : ไมรวมผูสําเร็จการศึกษาคณะนิติศจําสตร
านวนผูสําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ประจําปการศึกษา 2557 หนวย : คน
จําแนกตามเกียรตินิยม
จ�ำแนกตามระดับเกียรตินิยม

1,084

4,921

559 เกียรตินิยม อันดับ 1


เกียรตินิยม อันดับ 2
ไมไดเกียรตินิยม

หน่วย : คน

จํานวนผูสําจ�เร็ำจการศึ
นวนผ้ กษาูสระดั
�ำเร็บจปริการศึ กษา
ญญาตรี คณะนิระดั บปริประจํ
ติศาสตร ญญาตรี
าปการศึกคณะนิ
ษา 2557ติศาสตร์
หนวย : คน

ประจ�ำปีการศึ กษา ๒๕๕๗ จ�นำย แนกตามคะแนนและศูนย์


จําแนกตามคะแนนและศู

204
250

126 200
121
54 150

3 100
113
52 42 1
3 18 7 50
54
รังสิต 15 3
2 0
ทาพระจันทร 5 85.01 ขึ้นไป
80.01 - 85.00
ลําปาง 75.01 - 80.00
70.01 - 75.00
60.00 - 65.00
65.01 - 70.00 หน่วย : คน
หนวย : คน

46 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


กก ก//กก กก 2557
/ กก  
/
 ก  ก
  ก  11 6  17
 823 44 282 6 1,155
ก 671 26 592 6 1,295
 371  123 2 496
 447  85 4 536
 361  141 2 504
 702 17 106  825
 269  148 2 419
 176  10  186
 629  78 9 716
ก 576  157 7 740
 202  10 1 213
 165  9 2 176
 67    67
 83  10  93
ก 74    74
กก 201  84  285
 83  22  105
  23 86  109
 437  53 9 499
ก   72  72
ก 143  6 15 164
  84  5  89
กก   10  10
   11  11
 6,564 121 2,106 65 8,856

ที่มา: ส�ำนักทะเบียนและประมวลผล
กมหาวิ
ทยาลั ยธรรมศาสตร์

ข้อมูล ณ19 วันที่: 
19 ตุ2558
ลาคม 2558

REG:R653206 (  ) 19/10/2558 09:56  1/ 1

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 47


  กก 2557
กกก  ก   : 
/ก
/  
  
  ก
ก 3 8 11
  3 8 11
 1 5 6
 กก 1 5 6

 311 512 823
  311 512 823
ก 29 15 44
 ก 29 15 44
 124 158 282
 กก 20 21 41
 ก 11 22 33
 ก 23 9 32
 ก 11 5 16
 กก 11 17 28
 กก 8 7 15
 ก 11 15 26
 กก 14 20 34
 กก (ก) 9 36 45
 ก 6 6 12
ก 2 4 6
  2 4 6
ก
 198 473 671
 ก 43 156 199
 ก (กก) 12 31 43
 กกก 20 35 55
 ก 34 67 101
 ก (กก) 17 40 57
 ก 22 31 53

48 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗  1


  กก 2557
กกก  ก   : 
/ก
/  
  
 ก (กก) 7 18 25
 กกก 4 4 8
 กก 3 13 16
 ก กก 9 28 37
 กก 1 8 9
 ก 4 5 9
 กกกก 22 37 59
ก 21 5 26
 ก 21 5 26
 208 384 592
 ก 6 23 29
 กกก 6 38 44
 ก กกก 7 25 32
 ก 47 89 136
 ก (ก)  2 2
 กกก 8 12 20
 กกก (ก) 6 14 20
 ก (ก) 19 55 74
 ก (ก) 18 17 35
 ก 38 24 62
 กก 19 35 54
 กก 27 27 54
 กก 7 23 30
ก 4 2 6
 ก (ก) 1 2 3
 ก (ก) 3  3

 161 210 371
 กกก 58 36 94
 ก 35 67 102
 ก 39 63 102

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 2 49


  กก 2557
กกก  ก   : 
/ก
/  
  
 กก (ก) 29 44 73
 71 52 123
 กก 7 2 9
 กกก 25 14 39
 กก 4 7 11
 ก 3 6 9
 กก 23 17 40
  (กก) 9 6 15
ก 1 1 2
  1 1 2

 187 260 447
  140 208 348
  (ก) 47 52 99
 23 62 85
  5 6 11
  (กก) 4 8 12
  (ก)  2 2
 ก 14 46 60
ก 4  4
  (กก) 4  4

 88 273 361
  88 273 361
 40 101 141
  2 8 10
 กก 11 33 44
  11 20 31
 ก 4 25 29
 ก 12 15 27
ก 1 1 2

50 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗  3


  88 273 361
 40 101 141
  2 8 10
  11กก 2557
 กก 33 44
ก

  
กก ก 
 11กก 2557
20  :  31
 ก /
ก
 กก  ก  4  25  :  29
/ ก
 ก /ก
/   12 
 15  27
 
ก
ก  1  1  2
 
 ก
 1 1 2

 
 162 540 702
 

ก 1621 540
10  3 702
11
 
ก
 12 10
17 11
19
  
 112 17
38 19
49
 
 11
13 38
47 49
60
  
 ก 136 47
18 60
24
 
ก ก 156 18
47 24
62
 
ก 155 47
22 62
27
 
 53 22
16 27
19
 
  3 16
12 19
15
   
 34 12
34 15
38
  
 46 34
14 38
20
   
 63 149 20
12
 
  35 289 12
33
 
 54 28
11 33
15
   กก (ก)
ก 114 11
40 15
51
  ก
 กก
ก ( ก)
ก 11
32 40
60 51
92
 

กกก 32
19 60
68 92
87
  
ก ก กก (ก) 19 68
49 87
68
  ก
ก 

 กก (ก) 195 49
12 68
17
 
ก 
 กกก
ก 5 12 17
  กกกก
 285 12
78 17
106
 
 286 782 1068
 

กก 69 382 478
  ก
ก  ก 9 382 472
 
ก
ก  2 2 42
 
 ก ก
ก 2 23 43
 

ก
กก 3 53 83
 


กก 32 45 68
 ก 2 4 6

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 4 51

 4
  กก 2557
กกก  ก   : 
/ก
/  
  
  1 3 4
 ก  1 1
 ก 1 6 7
 กก 3 10 13
 กก (ก)  2 2
 ก 1  1

 73 196 269
  57 143 200
 ก (ก) 16 53 69
 32 116 148
  6 18 24
 ก 15 48 63
 กกกก 11 50 61
ก  2 2
   2 2

 36 140 176
  11 61 72
 ก 25 79 104
 6 4 10
  1 1 2
  5 2 7
 ก  1 1

 156 473 629
  1  1
 ก 41 57 98
  18 66 84
  18 46 64
  8 33 41

52 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗  5


  กก 2557
กกก  ก   : 
/ก
/  
  
 ก 7 38 45
 กก 7 19 26
  17 47 64
 ก 7 41 48
 ก 11 17 28
 กกก 5 9 14
  3 32 35
 ก 5 13 18
  4 29 33
  4 26 30
 38 40 78
 ก 2 5 7
 ก 14 8 22
  2 2 4
 ก 1 1 2
  6 4 10
 ก 1 6 7
  1 6 7
 ก 7 4 11
 กกก 1 3 4
 กก 3 1 4
ก 3 6 9
  (ก) 1 6 7
 กก 2  2
ก
 348 228 576
 ก 34 29 63
 ก (กก) 12 2 14
 กก 18 37 55
 กก (กก) 9 1 10
 ก 60 15 75

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 6 53


  กก 2557
กกก  ก   : 
/ก
/  
  
 ก (กก) 4 3 7
 ก 25 38 63
 ก (กก) 10 9 19
 กก 37 8 45
 กก (กก) 14 7 21
 ก 23 14 37
 กกกก 43 39 82
 กก 12 16 28
 ก 7 1 8
 กก 11 5 16
 ก 4  4
 ก 9 2 11
 กก 16 2 18
 95 62 157
 ก 18 5 23
 กก 3 3 6
 ก 5 2 7
 ก 2 3 5
 กก 7 2 9
 กก 35 23 58
 กก 17 15 32
 กกกก 5 6 11
 กก 3 3 6
ก 6 1 7
 ก 5 1 6
 กก 1  1

 85 117 202
  79 99 178
 ก 1 2 3
 กก 5 16 21

54 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗  7


  กก 2557
กกก  ก   : 
/ก
/  
  
 1 9 10
 ก  4 4
 กก 1 5 6
ก  1 1
 ก  1 1

 35 130 165
 ก 16 63 79
 ก 13 55 68
 กก 6 12 18
  9 9
 ก  9 9
ก  2 2
  (ก)  2 2

 14 53 67
  13 53 66
 ก 1  1

 2 81 83
  2 81 83
  10 10
 ก  6 6
 ก  1 1
 ก  3 3
ก
 14 60 74
 ก 6 20 26
 กก 6 19 25
 กกก 2 21 23
กก

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 8 55


 ก  1 1
 ก  3 3
ก
   14กก 2557 60 74
ก

 ก 
กก ก 
 ก6 ก 2557
20  :  26
 กก/
ก
 กก  ก  6  19  :  25
/ก
 /ก
กกก
/   2 
 21  23

 กก
  68  133  201
 

ก 68
35 133
46 201
81
 ก ก 359 46
30 81
39
 ก ก
ก 93 30
21 39
 8 24
 
กก
 183 21
27 24
45
 ก ก
 183 279 45
12
  ก
 433 419 12
84
 

ก 43
24 41
22 84
46
 ก
ก 241 221 462
 
กก
 12 21 42
 ก  
กก 162 162 324
 
 กก 16 16 32

  17 66 83
 

 (กก) 17
10 66
14 83
24
  (กก 
ก ) ) 105 14
36 24
41
  (ก
ก 
 )  )
 25 36
16 41
18
   (ก)
 82 16
14 18
22
 กก
 ก 84 147 22
11
 กกก
กก


 41 57 116
 กกกก
กกก 
 12 25 46
 
กก กก
ก ก
ก 
(ก
) 12 2 41
 
 กก (ก)
 1  1

  
ก 8 15 23
 
ก  
ก 8 15 23
 
 ก 278 15
59 23
86
 

ก (ก) 27
17 59
42 86
59
  กก
ก  ( ก)
 171 421 592
 กก (ก) 19 161 252
 
 ก
 ก
  (ก) 9 16 25

 
  241 196 437
 

กก (ก) 241
28 196
22 437
50
 กก (ก) 28 22 50

56 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗  9


 9
  กก 2557
กกก  ก   : 
/ก
/  
  
 ก (ก) 35 12 47
 กก (ก) 43 13 56
 ก (ก) 35 29 64
 กกกก (ก) 15 13 28
  (ก) 17 11 28
 กก (ก) 30 52 82
 กกก (ก) 17 31 48
 ก (ก) 21 13 34
 34 19 53
 ก (ก) 4 1 5
  (ก) 1 1 2
 ก (ก) 11 8 19
 ก (ก) 3 1 4
 ก (ก) 10 1 11
 กก (ก) 4 5 9
 กก (ก) 1 2 3
ก 6 3 9
 ก (ก) 4 1 5
  (ก) 1 1 2
 ก (ก) 1 1 2
ก
 27 45 72
 ก 16 29 45
 กกก (ก) 3 2 5
 ก 3 7 10
 ก 5 7 12
ก
 43 100 143
 ก (กกกกกก) 18 22 40
 ก (กกกกก) 8 32 40
 ก (กกก) 1 8 9

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 1057


  กก 2557
กกก  ก   : 
/ก
/  
  
 ก (กกก) 16 37 53
 ก (กก)  1 1
  6 6
 ก  6 6
ก 5 10 15
 ก 5 10 15
 
 15 69 84
 ก (ก) 15 69 84
 3 2 5
 ก (ก) 3 2 5
กก
 4 6 10
 กก (ก) 4 6 10

 3 8 11
 ก 3 8 11
 3,168 5,688 8,856

 : ก 


   19  2558

58 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗  11


  กก 2557
  กก   : 
/ ก ช่วงเปอร์
เซ็นต์
เฉลี่ย เปอร์
เซ็นต์
/ก เฉลี
่ย
 1  2  60.0065.00 65.0170.00 70.0175.00 75.0180.00 80.0185.00 85.01100 
 4 159 163 10 286 300 159 64 4 823 72.47

  ก 1 16 17 2 52 42 18 7 1 122 71.53

  กก 3 129 132 3 121 204 126 54 3 511 73.77

  กก  14 14 5 113 54 15 3  190 69.57
 4 159 163 10 286 300 159 64 4 823 72.47

 : ก 


   19  2558

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


59
  กก 2557

60
 กก   : 
/ ก  
/ก
 1  2  2.002.50 2.513.00 3.013.50 3.514.00 
ก 136 181 317 39 162 333 137 671 3.18
 ก 49 56 105 10 36 104 49 199 3.24
 ก (กก) 12 13 25  8 23 12 43 3.34
 กกก 20 16 36 1 6 26 22 55 3.37
 ก 12 23 35 6 33 50 12 101 3.09

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


 ก (กก) 17 14 31 2 15 23 17 57 3.23
 ก 2 12 14 5 25 21 2 53 2.97
 ก (กก) 5 6 11 1 6 13 5 25 3.16
 กกก  2 2 4 2 2  8 2.61
 กก 4 5 9 3 3 6 4 16 3.11
 ก กก  11 11 3 9 25  37 3.06
 กก  2 2 3 3 3  9 2.77
 ก  2 2  6 3  9 2.97
 กกกก 15 19 34 1 10 34 14 59 3.29
 36 64 100 20 111 198 42 371 3.11
 กกก 5 12 17 10 39 39 6 94 2.96
 ก 6 12 18 4 36 56 6 102 3.08
 ก 14 23 37 5 21 62 14 102 3.17
 กก (ก) 11 17 28 1 15 41 16 73 3.23
 48 54 102 67 183 151 46 447 2.96
  28 39 67 56 150 116 26 348 2.91

 1
  กก 2557
 กก   : 
/ ก  
/ก
 1  2  2.002.50 2.513.00 3.013.50 3.514.00 
  (ก) 20 15 35 11 33 35 20 99 3.11
 16 97 113 14 135 193 19 361 3.08
  16 97 113 14 135 193 19 361 3.08
 93 143 236 65 210 332 95 702 3.08
 ก    1 6 4  11 2.91
  1 4 5 3 8 7 1 19 3.01
  13 8 21 2 10 24 13 49 3.21
  7 20 27 3 14 35 8 60 3.18
 ก 1 3 4 2 7 14 1 24 3.04
 ก 13 23 36 1 10 38 13 62 3.26
  3 6 9  7 17 3 27 3.21
  2 4 6 2 6 9 2 19 3.03
     2 12 1  15 2.73
  10 11 21  2 26 10 38 3.33
   3 3 4 7 8 1 20 2.85
   5 5 1 4 7  12 3.10
  5 9 14 1 5 22 5 33 3.22
  5 7 12  2 8 5 15 3.38
 กกก (ก) 3 11 14 11 18 19 3 51 2.90

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


 กก 8 8 16 15 35 34 8 92 2.94
 ก 10 11 21 9 36 32 10 87 3.02

61
  กก 2557

62
 กก   : 
/ ก  
/ก
 1  2  2.002.50 2.513.00 3.013.50 3.514.00 
 กกก (ก) 12 10 22 8 21 27 12 68 3.07
 26 57 83 32 94 115 28 269 3.01
  22 47 69 20 69 87 24 200 3.04
 ก (ก) 4 10 14 12 25 28 4 69 2.93
 8 19 27 30 75 62 9 176 2.88

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


  5 12 17 10 33 23 6 72 2.92
 ก 3 7 10 20 42 39 3 104 2.85
 15 51 66 253 246 112 18 629 2.65
     1    1 2.01
 ก 2 6 8 40 41 14 3 98 2.65
  1 7 8 38 35 10 1 84 2.53
  5 4 9 35 14 10 5 64 2.59
   8 8 9 17 14 1 41 2.87
 ก  2 2 22 18 4 1 45 2.53
 กก  4 4 9 12 5  26 2.72
  2 6 8 20 27 14 3 64 2.76
 ก 4 4 8 11 20 14 3 48 2.81
 ก  2 2 14 11 3  28 2.55
 กกก    5 9   14 2.60
  1 6 7 11 12 11 1 35 2.76
 ก  1 1 11 4 3  18 2.51

 3
  กก 2557
 กก   : 
/ ก  
/ก
 1  2  2.002.50 2.513.00 3.013.50 3.514.00 
   1 1 11 16 6  33 2.68
     16 10 4  30 2.47
ก 16 34 50 197 216 88 18 519 2.66
 ก 1 3 4 23 28 11 1 63 2.65
 ก (กก) 1 1 2 6 3 4 1 14 2.71
 กก  4 4 18 28 9  55 2.63
 กก (กก) 2 1 3 6 1 1 2 10 2.72
 ก 3 3 6 41 23 8 3 75 2.54
 ก (กก)    5 2   7 2.44
 ก 1 7 8 15 27 20 1 63 2.78
 ก (กก) 3 3 6 6 4 6 3 19 2.98
 กก  3 3 13 24 8  45 2.67
 กก (กก) 2 2 4 8 9 2 2 21 2.71
 ก    17 17 3  37 2.55
 กกกก 1 4 5 29 41 9 3 82 2.64
 กก 2 3 5 10 9 7 2 28 2.76
กกก    14 11 20 12 57 3.06
 ก    2  4 2 8 3.20
 กก    4 4 4 4 16 3.03

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


 ก    2 1 1  4 2.64
 ก    1 3 6 1 11 3.14

63
  กก 2557

64
 กก   : 
/ ก  
/ก
 1  2  2.002.50 2.513.00 3.013.50 3.514.00 
 กก    5 3 5 5 18 3.07
 47 45 92 3 40 110 49 202 3.25
  45 40 85 1 34 98 45 178 3.27
 ก    2  1  3 2.44
 กก 2 5 7  6 11 4 21 3.16

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


 22 36 58 8 55 79 23 165 3.11
 ก 12 17 29 3 25 39 12 79 3.13
 ก 10 16 26 4 22 31 11 68 3.12
 กก  3 3 1 8 9  18 2.97
 14 15 29 2 16 35 14 67 3.18
  14 15 29 1 16 35 14 66 3.19
 ก    1    1 2.29
 4 13 17 9 36 34 4 83 2.95
  4 13 17 9 36 34 4 83 2.95
ก 2 16 18 11 30 30 3 74 2.93
 ก 2 9 11 1 8 14 3 26 3.10
 กก  2 2 2 13 10  25 2.95
 กกก  5 5 8 9 6  23 2.73
กก 11 29 40 29 94 66 12 201 2.92
 ก 5 13 18 9 46 21 5 81 2.90
 ก ก 1 4 5 5 18 15 1 39 2.92

 5
  กก 2557
 กก   : 
/ ก  
/ก
 1  2  2.002.50 2.513.00 3.013.50 3.514.00 
 ก 2 2 4 6 10 6 2 24 2.85
 ก 2 9 11 7 16 19 3 45 2.99
 ก 1 1 2 2 4 5 1 12 2.91
 1 11 12 10 45 25 3 83 2.86
  (ก)  3 3 2 10 6  18 2.85
  (ก) 1 7 8 2 20 16 3 41 2.99
  (กก)  1 1 6 15 3  24 2.65
 33 35 68 197 134 73 33 437 2.68
 กก (ก)  5 5 22 18 9 1 50 2.66
 ก (ก) 1 3 4 25 15 6 1 47 2.57
 กก (ก) 8 5 13 23 17 9 7 56 2.76
 ก (ก) 5 9 14 16 28 15 5 64 2.84
 กกกก (ก) 3 3 6 11 7 7 3 28 2.75
  (ก) 4 1 5 13 7 4 4 28 2.69
 กก (ก) 4 3 7 48 18 12 4 82 2.57
 กกก (ก) 2 3 5 23 17 6 2 48 2.60
 ก (ก) 6 3 9 16 7 5 6 34 2.77
ก 4 9 13 53 56 30 4 143 2.68
 ก (กกกกกก)  2 2 17 17 6  40 2.56

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


 ก (กกกกก) 2 6 8 13 14 11 2 40 2.79
 ก (กกก)    4 2 3  9 2.66

65
  กก 2557

66
 กก   : 
/ ก  
/ก
 1  2  2.002.50 2.513.00 3.013.50 3.514.00 
 ก (กกก) 2 1 3 18 23 10 2 53 2.69
 ก (กก)    1    1 2.04
  23 16 39 7 16 33 28 84 3.22
 ก (ก) 23 16 39 7 16 33 28 84 3.22
 555 925 1,480 1,060 1,965 2,119 597 5,741 2.95

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


 : ก 
   19  2558

 7
รายนามกรรมการสภามหาวิทยาลัย
๑. ศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร นายกสภามหาวิทยาลัย
๒. ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี อุปนายก
๓. ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๔. ศาสตราจารย์ ดร.จรัญ จันทลักขณา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๕. นายพิชัย ชุณหวชิร กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๖. ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๗. รองศาสตราจารย์ ดร.นริศ ชัยสูตร กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๘. ศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๙. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๐. นายมานิจ สุขสมจิตร กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๑. ศาสตราจารย์ มารุต บุนนาค กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๒. ดร.วีรวัฒน์ กาญจนดุล กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๓. นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๔. ศาสตราจารย์ หิรัญ รดีศรี กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๕. นายอภัย จันทนจุลกะ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๖. ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
๑๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร
และเลขานุการสภามหาวิทยาลัย
๑๘. รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร
๑๙. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร
๒๐. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีชา วาณิชยเศรษฐกุล กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร
๒๑. รองศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร์ วังศกาญจน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร
๒๒. ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร
๒๓. รองศาสตราจารย์ ดร.มรรยาท รุจิวิชชญ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร
๒๔. นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร
๒๕. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ จิตตินันด์ หะวานนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้แทนผู้บริหาร
๒๖. รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผูแ้ ทนคณาจารย์
๒๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สันติรักษ์ ประเสริฐสุข กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผูแ้ ทนคณาจารย์
๒๘. รองศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบา กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผูแ้ ทนคณาจารย์
๒๙. ศาสตราจารย์ ดร.ไผทชิต เอกจริยกร กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผูแ้ ทนคณาจารย์
๓๐. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผูแ้ ทนคณาจารย์
๓๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประชา คุณธรรมดี กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผูแ้ ทนคณาจารย์
๓๒. นายเสริม กัลยารัตน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผูแ้ ทนข้าราชการ
พลเรือนในมหาวิทยาลัย
๓๓. นางสุพรรณ์ ว่องรักษ์สัตว์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผูแ้ ทนข้าราชการ
พลเรือนในมหาวิทยาลัย
๓๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุชาติ วงศ์สุวานิช ประธานสภาอาจารย์
๓๕. รองศาสตราจารย์ พรชัย ตระกูลวรานนท์ ผู้ช่วยเลขานุการสภามหาวิทยาลัย
๓๖. รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร ผู้ช่วยเลขานุการสภามหาวิทยาลัย

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 67


รายนามคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
๑. ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี
๒. รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและบริหารศูนย์รังสิต
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน
๔. รองศาสตราจารย์ พรชัย ตระกูลวรานนท์ รองอธิการบดีฝา่ ยบริหารศูนย์ลำ� ปางและศูนย์พทั ยา
๕. ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์
๖. ศาสตราจารย์ ดร.ประมวญ เทพชัยศรี รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
๗. รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
๘. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
๙. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษาและการเรียนรู้
๑๐. ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ
๑๑. รองศาสตราจารย์ ดร.วีรยา ฉิมอ้อย รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง
๑๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย
๑๓. รองศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ คณบดีคณะนิติศาสตร์
๑๕. ศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ โรจนกิจอ�ำนวย คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
๑๖. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์
๑๗. ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์
๑๘. รองศาสตราจารย์ ดร.เดชา สังขวรรณ คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
๑๙. รองศาสตราจารย์ ดร.ด�ำรงค์ อดุลยฤทธิกุล คณบดีคณะศิลปศาสตร์
๒๐. รองศาสตราจารย์ พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
๒๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
๒๒. รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๒๓. รองศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร์ วังศกาญจน์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
๒๔. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีชา วาณิชยเศรษฐกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์
๒๕. รองศาสตราจารย์ ดร.ก�ำพล รุจิวิชชญ์ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์
๒๖. รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ รักษาการแทนคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์
๒๗. รองศาสตราจารย์ ดร.มรรยาท รุจิวิชชญ์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์
๒๘. รองศาสตราจารย์ เฉลิมวัฒน์ ตันตสวัสดิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
๒๙. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์
๓๐. ศาสตราจารย์ วันทนีย์ วาสิกะสิน คณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ
๓๑. ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์
๓๒. รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์
๓๓. อาจารย์ ดร.ประวิทย์ เขมะสุนันท์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม
๓๔. ศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ สาริสุต คณบดีคณะเภสัชศาสตร์
๓๕. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กัมมาล กุมาร ปาวา คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์
๓๖. รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา วัจนะภูมิ คณบดีวิทยาลัยโลกคดีศึกษา
๓๗. รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชาติ พวงส�ำลี รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และ
ศึกษาศาสตร์
๓๘. อาจารย์ ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา
๓๙. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์
๔๐. นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักหอสมุด

68 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


๔๑. รองศาสตราจารย์ ดร.ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์
๔๒. รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักทะเบียนและประมวลผล
๔๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โปรดปราน สิริธีรศาสน์ ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันประมวลข้อมูลเพือ่ การศึกษา
และการพัฒนา
๔๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ ประเสริฐสุข ผู้อ�ำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
๔๕. รองศาสตราจารย์ ดร.พรศิริ สิงหปรีชา ผู้อ�ำนวยการสถาบันภาษา
๔๖. รองศาสตราจารย์ ชุมพจต์ อมาตยกุล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม
๔๗. ศาสตราจารย์ ดร.สมนึก ตั้งเติมสิริกุล ผู้อ�ำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
๔๘. รองศาสตราจารย์ ดร.อุรุยา วีสกุล ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันวิจยั และให้คำ� ปรึกษาแห่ง มธ.
๔๙. นายมนตรี ฐิรโฆไท รักษาการแทนผูอ้ ำ� นวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์
เพื่อประชาธิปไตย
๕๐. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย ผู้อ�ำนวยการสถาบันศึกษาความร่วมมือระหว่าง
ประเทศแห่ง มธ.
๕๑. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ จิตตินัดด์ หะวานนท์ ผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
๕๒. รองศาสตราจารย์ ดร.เจียรนัย เล็กอุทัย ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักทรัพย์สนิ ทางปัญญาและบ่มเพาะ
วิสาหกิจ
๕๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุชาติ วงศ์สุวานิช ประธานสภาอาจารย์
๕๔. นางพรพิมล บุญศิริ ประธานสภาข้าราชการ
๕๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนาธิป สามารถ ผูแ้ ทนพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ (สาย ก.)
๕๖. นางสาวษิญาภา ชุณหวรานนท์ ผูแ้ ทนข้าราชการฝ่ายบริหารทางวิชาการ (สาย ข.)
๕๗. นางสาวศิริจันทร์ ชุมพล ผู้แทนข้าราชการฝ่ายบริหารและธุรการ (สาย ค.)
๕๘. นางสาวจรรจิรา น่วมเจิม ผูแ้ ทนพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการ
(สาย ข. ค.)

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 69


รายนามผู้บริหารมหาวิทยาลัย
๑. ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี
๒. รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและบริหารศูนย์รังสิต
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน
๔. รองศาสตราจารย์ พรชัย ตระกูลวรานนท์ รองอธิการบดีฝา่ ยบริหารศูนย์ลำ� ปางและศูนย์พทั ยา
๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชุลีพร เกษโกวิท รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์
๖. ศาสตราจารย์ ดร.ประมวญ เทพชัยศรี รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
๗. รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
๘. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
๙. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษาและการเรียนรู้
๑๐. ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ
๑๑. รองศาสตราจารย์ ดร.วีรยา ฉิมอ้อย รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง
๑๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย
๑๓. รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ โชคชัยธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผน
๑๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนัญ ผลประไพ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิต
๑๕. รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ จักรธรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกายภาพศูนย์รังสิต
๑๖. อาจารย์ ทวีศักดิ์ เอื้ออมรวนิช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารท่าพระจันทร์
๑๗. รองศาสตราจารย์ สายฝน สุเอียนทรเมธี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์ล�ำปาง
๑๘. อาจารย์ พิมพ์ฉัตร รสสุธรรม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษาศูนย์ล�ำปาง
๑๙. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อรพรรณ โพชนุกูล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์
๒๐. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย
๒๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระ สินเดชารักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา
๒๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุปรีดี ฤทธิรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
๒๓. อาจารย์ ดร.ปาริยา ณ นคร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษาและการเรียนรู้
๒๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชุมเขต แสวงเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษาและการเรียนรู้
๒๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์
๒๖. อาจารย์ ดร.ดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการคลัง
๒๗. นายบุญสม อัครธรรมกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิษย์เก่าสัมพันธ์
๒๘. รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ
๒๙. รองศาสตราจารย์ ดร.โรจน์ คุณเอนก ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
๓๐. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชฎา คงคะจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย
๓๑. อาจารย์ กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีทั่วไป

70 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


รายนามคณะกรรมการทูลเกล้าถวายสูจิบัตรและดอกไม้
๑. คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ประธานกรรมการ
๒. รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา รองประธานกรรมการ
๓. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการ
๔. รองคณบดีฝ่ายวางแผนและประกันคุณภาพ กรรมการ
๕. ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและบริการวิชาการ กรรมการ
๖. ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย กรรมการ
๗. ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ กรรมการ
๘. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีราภรณ์ กรรมบุตร กรรมการ
๙. อาจารย์เกสร มุ้ยจีน กรรมการ
๑๐. นางนาตยา ทัพใหญ่ กรรมการ
๑๑. นางจุฑามาศ อินทรปรีชา กรรมการและเลขานุการ
๑๒. นางธัญญา วรินทรเวช กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ ดังนี้
๑. ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตรและดอกไม้ตามแบบพิธี
๒. ประสานงานกับฝ่ายเขตพิธีการ ฝ่ายถวายอารักขา-รักษาความปลอดภัย และฝ่ายซ้อมฯ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 71


รายนามกรรมการสูจิบัตร
คณะกรรมการด�ำเนินงานจัดท�ำสูจิบัตร
๑. ผู้อ�ำนวยการส�ำนักทะเบียนและประมวลผล ประธานกรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล)
๒. เลขานุการส�ำนักทะเบียนและประมวลผล (นางลักขณา โกเมนเอก) รองประธานกรรมการ
๓. หัวหน้าฝ่ายประมวลข้อมูล (นางสาวบุญจิรา ภู่เงิน) กรรมการ
๔. หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและประมวลผล๑ (นายสุนทร แก้วไชย) กรรมการ
๕. หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและประมวลผล๒ (นางศรีสุรางค์ จันทรสมบัติ) กรรมการ
๖. หัวหน้าฝ่ายทะเบียนประวัติและหนังสือส�ำคัญ (นางสาวสุวดี เมฆา) กรรมการ
๗. หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและประมวลผล ท่าพระจันทร์ (นางอัศณี สงวนสุข) กรรมการ
๘. หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และประเมินผล (นางสาวสาริยา นวมจิต) กรรมการ
๙. หัวหน้างานบริหารอาคารสถานที่ ท่าพระจันทร์ หรือผู้แทน กรรมการ
๑๐. หัวหน้างานประชุม หรือผู้แทน กรรมการ
๑๑. หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ หรือผู้แทน กรรมการ
๑๒. หัวหน้างานบริการและสวัสดิการนักศึกษา หรือผู้แทน กรรมการ
๑๓. นางสาวพัชราภรณ์ ศรีเพียงจันทร์ กรรมการและเลขาฯ
๑๔. นายเสกสันต์ อ�ำนวยพานิช กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขาฯ

หน้าที่ความรับผิดชอบ
๑. วิเคราะห์และวางแผนการด�ำเนินงานสูจิบัตร ให้เป็นไปตามก�ำหนดการ
๒. ดูแลการด�ำเนินงานสูจิบัตรทั้งก่อนวันงานและหลังวันงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
๓. ควบคุมการจัดท�ำสูจิบัตรเพื่อแจกให้แก่ผู้ส�ำเร็จการศึกษาและผู้มาในพิธีฯ
๔. ควบคุมการจัดเตรียมสูจิบัตรฉบับส�ำหรับทูลเกล้าฯ ถวายในพิธีฯ

คณะท�ำงานแจกสูจิบัตร
๑. ผู้อ�ำนวยการส�ำนักทะเบียนและประมวลผล ที่ปรึกษา
(รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล)
๒. เลขานุการส�ำนักทะเบียนและประมวลผล (นางลักขณา โกเมนเอก) ประธาน
๓. หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และประเมินผล (นางสาวสาริยา นวมจิต) รองประธาน
๔. นางกาญจนา โพบุญเรือง กรรมการ
๕. นางนุชนาท สุทธิปัญญา กรรมการ
๖. นายวันเฉลิม บุตรละคร กรรมการ
๗. นางสาวศุภลักษณ์ พีเค. กรรมการ
๘. นายพิเชษฐ์ จิตตพงค์ กรรมการ
๙. นางสาวพรรณราย เพิ่มสินธ์ กรรมการ
๑๐. นางชนานาถ เค้าชาติชาย กรรมการ
๑๑. นางดารัตน์ เกตุสะอาด กรรมการ
๑๒. นางสาวขวัญกมล ใจเอื้อ กรรมการ
๑๓. นางสาวทองยุ่น มธุรส กรรมการ

72 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


๑๔. นางสาวศิรินันท์ ดีสวัสดิ์ กรรมการ
๑๕. นางสาวอุบลทิพย์ โพธิลังกา กรรมการ
๑๖. นางหิรัณยา หนูสาท กรรมการ
๑๗. นายก่อเกียรติ พรหมขจร กรรมการ
๑๘. นางสาวบุญจิรา ภู่เงิน กรรมการ
๑๙. นางวิมล สุทธิกุล กรรมการ
๒๐. นางสุภารัตน์ ลิจุติภูมิ กรรมการ
๒๑. นายจตุรงค์ เสาน้อย กรรมการ
๒๒. นายกฤษณ์ เรืองชัย กรรมการ
๒๓. นายสุนทร แก้วไชย กรรมการ
๒๔. นางณัทภัทร ค�ำพันธ์ กรรมการ
๒๕. นางบังอร เย็นเป็นสุข กรรมการ
๒๖. นางสาวศศิมา ร่วมพุ่ม กรรมการ
๒๗. นางจุฑามาศ เวศวิทย์ กรรมการ
๒๘. นางสาวศศิประภา ชาติอ�ำไพ กรรมการ
๒๙. นายวรชาติ สารัด กรรมการ
๓๐. นายชัยยพล มุขหิรัญพันธ์ กรรมการ
๓๑. นางศรีสุรางค์ จันทรสมบัติ กรรมการ
๓๒. นางกรกนก ประภาสโสภณ กรรมการ
๓๓. นางสุภาวดี ค�ำม่วง กรรมการ
๓๔. นางสาวปรียากร ป้อมสุวรรณ กรรมการ
๓๕. นายวัฒนพสิษฐ์ เสือค�ำร้อง กรรมการ
๓๖. นางสาวลัดดา มาสุ่ม กรรมการ
๓๗. นางสาวพิณณลิณย์ วุฒิประเสริฐ กรรมการ
๓๘. นางสาวอารีรัตน์ สีเหลือง กรรมการ
๓๙. นางอัศณี สงวนสุข กรรมการ
๔๐. นางวิจิตรา รัศมี กรรมการ
๔๑. นางสาวรุ่งทิพย์ รุ่งวิวัฒนกุล กรรมการ
๔๒. นางธมลวรรณ ปิ่นมณี กรรมการ
๔๓. นางสาวปัทมา ภู่ทอง กรรมการ
๔๔. นายสิริพันธ์ บัวดี กรรมการ
๔๕. นางสาวมัทรี บัวฉาย กรรมการ
๔๖. นางสาวทัศนีย์ สงแจ้ง กรรมการ
๔๗. นางสาวสุวดี เมฆา กรรมการ
๔๘. นายกฤษณะ สุทธิกุล กรรมการ
๔๙. นางสาวจุไรภรณ์ กองล�ำเจียก กรรมการ
๕๐. นายวินัย ตันธิกุล กรรมการ
๕๑. นางสาวมนธณรรฐ รักสุข กรรมการ
๕๒. นายทรงวุฒิ วงค์สุวรรณ กรรมการ
๕๓. นางสาวเพชรรัตน์ วัฒนรุจิราพันธ์ กรรมการ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 73


๕๔. นางสาวดวงพร โสติถิมานนท์ กรรมการ
๕๕. นางสาวธีรารัตน์ สุทธิพงศ์ กรรมการ
๕๖. นางสาวศศิภา พิทักษ์ศานต์ กรรมการ
๕๗. นางสาวคณิตา ซองศิริ กรรมการ
๕๘. นางสาวทราภรณ์ วรกุลด�ำรง กรรมการ
๕๙. นางสาวพัชราภรณ์ ศรีเพียงจันทร์ กรรมการและเลขานุการ
๖๐. นายเสกสันต์ อ�ำนวยพานิช กรรมการแลผู้ช่วยเลขานุการ

หน้าที่ความรับผิดชอบ
๑. ก่อนวันงาน เตรียมงาน ขนย้ายจัดเตรียมสูจิบัตรก่อนวันงาน ณ มธ. ท่าพระจันทร์
๒. วันงาน แจกสูจิบัตร ให้กับผู้ส�ำเร็จการศึกษาในวันซ้อมใหญ่ พร้อมทั้งนับจ�ำนวนคงเหลือและจัดเก็บ
ในสถานที่เหมาะสม
๓. หลังวันงาน จัดเก็บและขนย้ายสูจิบัตร หลังวันงาน จาก มธ. ท่าพระจันทร์ มาที่ มธ. ศูนย์รังสิต
๔. อ�ำนวยความสะดวกให้งานสูจิบัตรให้เป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อย

74 พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗


สารบัญ
หน้า
ก�ำหนดการเสด็จพระราชด�ำเนินฯวันจันทร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (ภาคเช้า) ๑๑
ก�ำหนดการเสด็จพระราชด�ำเนินฯ วันจันทร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (ภาคบ่าย) ๑๔
ก�ำหนดการเสด็จพระราชด�ำเนินฯวันจันทร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (ภาคเช้า) ๑๖
ก�ำหนดการเสด็จพระราชด�ำเนินฯ วันจันทร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (ภาคบ่าย) ๑๘
ค�ำกราบบังคมทูลรายงานกิจการของมหาวิทยาลัยของอธิการบดี ๒๐
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ๒๓
สยามบรมราชกุมารี ของนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ค�ำกราบบังคมทูลของนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๖
ประกาศสดุดีเกียรติคุณดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ๒๘
สถิติแสดงจ�ำนวนผู้ส�ำเร็จการศึกษา ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๕๗ ๔๑
รายนามกรรมการสภามหาวิทยาลัย ๖๗
รายนามคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ๖๘
รายนามผู้บริหารมหาวิทยาลัย ๗๐
รายนามคณะกรรมการทูลเกล้าถวายสูจิบัตรและดอกไม้ ๗๑
รายนามกรรมการสูจิบัตร ๗๒

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา ๒๕๕๗ 75


พิมพ์ที่: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. ๒๕๕๘
โทรศัพท์ ๐ ๒๕๖๔ ๓๑๐๕ ถึง ๖, ๐ ๒๕๖๔ ๓๑๐๘ ถึง ๑๐
โทรสาร ๐ ๒๕๖๔ ๓๑๑๙
http://www.tu.ac.th/org/tuprint
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๗ Congratulations
๑๖-๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ค�ำปฏิญาณบัณฑิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ติดรูปแห่งความภูมิใจของคุณที่นี่

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๗


ข้าพระพุทธเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ชอบ
และรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามเพื่อเกียรติคุณ
แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้าพระพุทธเจ้าจะด�ำรงตนและประกอบสัมมาอาชีพ
ในทางที่ซื่อสัตย์สุจริต
อยู่ ในกรอบแห่งนิติธรรมและศีลธรรม
ข้าพระพุทธเจ้าจะบ�ำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และรัฐธรรมนูญ ติดบัตรประจำ�ตัวบัณฑิตที่นี่

“พร้อมเข้าสู่...สังคมอาเซียน”

You might also like