You are on page 1of 84

คำ�นำ�

“หนังสือชีวิตที่พอเพียง” เล่มนี้ นับเป็นเล่มที่ 9 ที่ธนาคารเพื่อการเกษตร


และสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้นำ�เรื่องราวเกษตรกรลูกค้าที่ประสบ
ความสำ�เร็จในการประกอบอาชีพ รวมถึงเทคนิคการทำ�กินและการอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อม ทั้งทางด้านเกษตร นอกภาคการเกษตร วิสาหกิจชุมชน และธุรกิจ
รายย่อยในชนบท ภายใต้การนำ�หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการ
ดำ � เนิ น ชี วิ ต ซึ่ ง เคยตี พิ ม พ์ เ ผยแพร่ ผ่ า นคอลั ม น์ “เกษตรกรคนเก่ ง ”
ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ระหว่างเดือนเมษายน 2557 - มีนาคม 2558 และยัง
คงคุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ มาจัดพิมพ์รวมเล่มจำ�นวน 20 เรื่อง เพื่อความ
สะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลทีเ่ ป็นเหตุปจั จัยแห่งความสำ�เร็จของเกษตรกรคน
เก่งแต่ละราย
ธ.ก.ส. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ “ชีวิตที่พอเพียง” เล่มที่ 9 นี้ จะเป็น
ประโยชน์กับท่านผู้อ่าน ในการนำ�ไปปรับประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการ
ประกอบอาชีพ สร้างแรงบันดาลใจและกำ�ลังใจในการดำ�เนินชีวติ ไปสูเ่ ป้าหมาย
แห่งความสำ�เร็จ เพื่อความสุขที่ยั่งยืนและพอเพียงอย่างแท้จริงต่อไป
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สารบัญ
• “บ้านดอนศาลเจ้า” สร้างคุณภาพชีวิตดีด้วยพืชผักอินทรีย์แห่งวิถีพอเพียง
• ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน ลดต้นทุนเพิ่มรายได้ด้วยเกษตรอินทรีย์
• “ชารางแดงตราลุงเกษตร” สมุนไพรอินทรีย์ของดีแห่งเกาะเกร็ด
• รู้จริงเรื่องอินทผลัมคุณภาพ จากสวนจักรเสนอินทผลัม
• กระเป๋าผักตบชวาบ้านต๊ำ�พระแล ไอเดียเจ๋ง ฝีมือแจ๋ว รายได้แจ่ม
• เทพมงคลฟาร์ม ฟาร์มเมล่อนเงินล้านแห่งดินแดนอีสาน
• ‘เพกา’ ผักพื้นบ้านราคาดี สร้างรายได้ไร่ละแสนต่อปี
• รันทม ท้วมทอง กับต้นไม้เสริมรายได้ ช้อนเงินช้อนทอง
• “เฉลิม พีรี” ปราชญ์ชาวบ้านกับภูมิปัญญา ขยายพันธุ์พืชแบบปักชำ� ควบแน่น
• มิตรชัย ยุทธรักษ์ ต้นแบบเกษตรกรตัวอย่าง ด้วยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
• ธนาคารต้นไม้แห่งเมืองกาญจน์ สร้างรายได้ที่ยั่งยืน คืนความสุขให้ชุมชน
• นาคร ว่องวัฒนาการ กับเส้นทางอาชีพสายกล้วยไม้
• “สะอาด ปานพิมพ์” ผู้ปลูกส้มโอขาวแตงกวา งดใช้สารเคมีหันเข้าหาวิถีธรรมชาติ
• “อ้น” สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ อาชีพเสริมทางเลือกเพิ่มรายได้
• “บุญส่ง วงษ์กำ�ภู” กับเกษตรแนวใหม่ เลี้ยงปลาเบญจพรรณคู่กุ้งขาว สร้างรายได้ตลอดปี
• จากฟาร์มสุกร... สู่โรงไฟฟ้าชีวมวล
• “อำ�พร ควรคิด” หันหลังให้สารเคมี
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เข้าสู่วิถีธรรมชาติ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
• รวมกลุ่มลดต้นทุนทำ�นา ผลิตข้าวคุณภาพสร้างรายได้ปีละล้าน
• ผักกูด สมุนไพรชั้นดี ต้านสารพัดโรค ขยายพันธุ์ง่าย ดูแลไม่ยาก สร้างรายได้งาม
• พลิกชีวิตด้วย “ไม้ล้อม” ต้นไม้โตทันใจ... ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
• แก้ปัญหาภัยแล้งเบ็ดเสร็จ ขุดบ่อ กักน้ำ� สร้างแก้มลิง ปลูกพืชได้ทั้งปี
ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง
“บ้านดอนศาลเจ้า”
สร้างคุณภาพชีวิตดีด้วยพืชผักอินทรีย์แห่งวิถีพอเพียง
ชุมชนบ้านดอนศาลเจ้า ตำ�บลบ่อสุพรรณ
อำ�เภอสองพีน่ อ้ ง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหนึง่
ในชุมชนเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนา
เศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ ธ.ก.ส. ซึง่ สมาชิก
ในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำ�ไร่อ้อย
ทำ�นา และเลี้ยงสัตว์ ที่แม้ว่าจะมีระบบนำ�
ชลประทานทัว่ ถึงทุกพืน้ ทีท่ �ำ การเกษตร แต่ก็
ยังคงประสบกับปัญหา ผลผลิตไม่ตรงตาม
เป้าหมาย ขายผลผลิตทางการเกษตรขาดทุน
หรือมีก�ำ ไรน้อย เนือ่ งจากในการเพาะปลูกพืช
ต่างๆ ยังมีการใช้ปยุ๋ เคมีในการทำ�การเกษตร
เป็นจำ�นวนมาก ซึ่งนอกจากจะทำ�ให้มีต้นทุน
ในการผลิตที่สูงแล้ว ยังทำ�ให้ดินเสื่อมโทรม
ผลผลิตตกตำ�มากขึ้นทุกปี
ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 5
จากปัญหาดังกล่าวทำ�ให้แกนนำ�ชุมชนร่วมกัน
หาทางออก และพบว่าเกษตรกรควรที่จะหัน
กลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในการประกอบ
อาชีพทางการเกษตร เพราะมีราคาถูกและยัง
ช่วยปรับปรุงบำ�รุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์
เหมือนสภาพเดิม รวมทั้งยังช่วยทำ�ให้ลด
ต้นทุนในการผลิตลงได้ และที่สำ�คัญส่งผลดี
ต่อสุขภาพสำ�หรับผู้บริโภค และตัวเกษตรกร
เองด้วย
วิรัญชนา เอนกศรี ประธานฐานการ
เรียนรูเ้ กษตรอินทรีย์ ชุมชนบ้านดอนศาลเจ้า
เล่าว่า การปลูกผักอินทรีย์ในชุมชน เริ่มต้น
จากแนวความคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง ที่สอนให้เราปลูกสิ่งที่เราอยากกิน
เหลือค่อยขาย จากนั้นก็ขยายไปสู่การปลูก

6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เพือ่ จำ�หน่าย โดยในปัจจุบนั กลุม่ ผูป้ ลูกพืชผัก
อินทรียบ์ า้ นดอนศาลเจ้า ปลูกผักจำ�หน่ายผ่าน
โครงการผักอินทรีย์ของมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภา)
ยามยาก จำ�หน่ายใน Top super market ของ
ห้างสรรพสินค้า Central Plaza ทุกสาขา
“ในปัจจุบันผู้คนหัน มาดูแลสุขภาพกัน
มากขึ้น ผักปลอดสารพิษ พืชผักอินทรีย์ขาย
ได้ราคาดีกว่าพืชผักทั่วไปหลายเท่า เราไม่
ต้องปลูกเยอะ ขอแค่ ให้มีคุณภาพ มีความ
ปลอดภัยตรงตามมาตรฐาน ก็สามารถสร้าง
รายได้ ได้ เ ป็ น อย่ า งดี ยกตั ว อย่ า ง เช่ น
สมาชิ กในชุ ม ชนคนหนึ่ ง มี เ นื้ อ ที่ ร อบๆบ้ า น
เพียง 3 งาน ปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ
หลายประเภท ก็สามารถมีรายได้ ประมาณ
สัปดาห์ละ 2,000-5,000 บาท แต่ก่อนที่จะ
ปลูกผักปลอดสารพิษ ทางกลุ่มต้องมีการ
ตรวจสอบพื้นที่ สอนวิธีการปลูก และสอนให้
ชาวบ้านทีส่ นใจได้เรียนรูก้ ารตัดแต่งพืชผักขัน้

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 7
พื้นฐานเพื่อพร้อมที่จะนำ�ไปบรรจุ แพ็คเกจจิ้งเตรียมจำ�หน่าย นอกจากนี้สิ่งที่เกษตรกรต้องมี
ความรู้คือสรรพคุณ และประโยชน์ของผักที่ตัวเองปลูก สามารถสื่อสารถ่ายทอดให้ผู้บริโภค
รับรูแ้ ละเข้าใจได้ ว่าผักของเราดีและแตกต่างจากทีอ่ นื่ อย่างไร มีสารอาหารอะไรบ้าง สามารถ
นำ�ไปปรุงอาหารประเภทไหนได้บ้าง”
ชุมชนบ้านดอนศาลเจ้า ให้ความสำ�คัญกับการเรียนรู้ สอนให้เกษตรกรรู้จักคิดคำ�นวณ
ต้นทุน กำ�ไร เมือ่ จะปลูกพืชผักชนิดไหนต้องทดลองปลูกทีละน้อยก่อน เมือ่ ได้ผลผลิตจึงขยาย
พื้นที่ปลูก โดยฐานเรียนรู้เกษตรอินทรีย์จะปลูกนำ�ร่องก่อน
ปัจจุบนั มีผกั หลากหลายเกือบร้อยชนิดทีห่ มุนเวียนปลูกในหมูบ่ า้ นและชุมชนใกล้เคียง เพือ่
ส่งจำ�หน่ายใน Top Supermaket ผ่านโครงการผักอินทรีย์ของมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก
อาทิ ผักสลัดแดง กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค แตงกวา แตงไทย ผักโขมแดง ผักชี มะเขือเปราะ มะเขือ
ยาว บวบ เป็นต้น โดยเกษตรกรแต่ละคนจะมีบาร์โค้ดติดที่ถุงผักเป็นรายคน เพื่อการตรวจ
สอบสารเคมีเจือปนและคุณภาพของผัก ว่ามาจากสวนไหน

สนใจศึกษาเรียนรู้ฐานเกษตรอินทรีย์บ้านดอนศาลเจ้า
ติดต่อได้ที่ คุณวิรัญชนา อเนกศรี
เลขที่ 219 หมู่ที่ 13 ถนนตำ�บลบ่อสุพรรณ อำ�เภอสองพี่น้อง
จังหวัดสุพรรณบุรี
เบอร์โทรศัพท์ 0843351310

8 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน
ลดต้นทุนเพิ่มรายได้ด้วยเกษตรอินทรีย์
หลายคนมักจะได้ยิน
ว่า ชาวนาต่อให้ทำ�งานหนักแค่
ไหนยังไงก็ไม่มวี นั รวย เพราะกี่
ยุคกี่สมัย ชาวนาไทยก็ยังถูก
มองว่าเป็นชนชั้นล่าง ต้องทำ�
มาหากิ น ด้ ว ยหยาดเหงื่ อ
แรงงานทีล่ �ำ บากแสนเข็ญ เหตุ
ผลหลักๆคือ ต้นทุนการทำ�นาที่
สูงมาก ซึ่งชาวนาส่วนใหญ่รู้ดี
ว่า ค่าใช้จ่ายหลักมาจาก 3 ปัจจัย คือ ค่าแรงงาน ค่านำ�มันสูบนำ� ค่าปุ๋ยและสารเคมี แต่หาก
3 ส่วนนี้ ชาวนาสามารถจัดการได้ ต้นทุนการผลิตย่อมลดลงอย่างแน่นอน

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 9
10 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ชั ย พร พรหมพั น ธุ์ ชาวนาอำ � เภอ “การรู้ จั ก สภาพดิ น ฟ้ า อากาศเป็ น สิ่ ง
บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหนึ่งใน สำ�คัญ ทุกอย่างต้องมีการวางแผน การทำ�นา
ตัวอย่างของชาวนาที่สามารถลดต้นทุนการ ในพื้นที่อำ�เภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ผลิตได้เป็นอย่างดี ด้วยวิถีเกษตรอิน ทรีย์ ซึ่งเป็นพื้นที่นำ�ท่วมประจำ�ทุกปี ต้องเริ่มหลัง
ทำ�ให้คนที่ได้รบั รูเ้ รือ่ งราวเรียกเขาว่า “ชาวนา จากที่นำ�ลดลงแล้ว และจะสามารถปลูกข้าว
เงินล้าน” ได้ประมาณปีละ 2 ครั้ง โดยในช่วงก่อนฤดู
นำ�หลากประมาณต้นเดือนตุลาคม ต้องเริ่ม
คุณชัยพร เล่าว่า ขั้นตอนแรกของการ
เตรียมดินโดยการไถกลบฟางเพื่อลดปัญหา
ทำ�นาต้นทุนตำ� คือการจดบันทึกข้อมูลอย่าง
การย่อยสลายของเศษฟางข้าว นอกจากนี้
ละเอียดทุกขัน้ ตอน เพือ่ ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ
ขี้ ไถที่ระเกะระกะในแปลงนายังเสมือนเป็น
ระหว่างวิธีการทำ�นาลดต้นทุนและวิธีการทำ�
แหล่งดักจับตะกอนฟางทีย่ อ่ ยสลายจากแปลง
นาแบบเดิม ท้ายที่สุดเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต
นาอื่นๆ อีกด้วย ทำ�ให้ดินในนาอุดมไปด้วย
และหักลบต้นทุนทั้งหมดแล้ว ข้อมูลในบัญชี
อินทรียว์ ตั ถุ การทำ�นาในฤดูนจี้ งึ ใช้ปยุ๋ อินทรีย์
ทีบ่ นั ทึกไว้จะเป็นตัวพิสจู น์วา่ การทำ�นาแบบลด
และปุ๋ยเคมีน้อยมาก ส่วนการทำ�นาครั้งที่ 2
ต้นทุนสามารถสร้างรายได้อย่างน่าทึ่ง โดย
เริ่มต้นประมาณเดือนพฤษภาคม ซึ่งจะต้อง
เมื่อฤดูกาลผลิตปีที่แล้วเขาสามารถทำ�นา
ทำ�การไถกลบตอฟางเช่นเดียวกัน เพราะ
สร้างรายได้หลังจากหักต้นทุนการผลิตกว่า
สามารถช่ ว ยลดการใช้ ปุ๋ ย ได้ ม าก โดยใน
2,000,000 บาท และฤดูที่เพิ่งผ่านพ้นไป
ฤดูกาลแรกแทบจะไม่ตอ้ งใส่ปยุ๋ อะไรเลยข้าว
1,000,000 บาทเศษ ๆ และตลอดหลายปีที่
ก็เจริญเติบโตได้ดี ส่วนฤดูกาลที่ 2 อาจต้อง
ผ่านมา มีเงินเหลือใช้มากพอ จนสามารถส่ง
เพิ่มการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีบ้าง”
เสียลูกๆทั้ง 3 คน เรียนจบปริญญาโทในรั้ว
มหาวิทยาลัยชื่อดัง ปัจจุบัน ชัยพรทำ�นาในพื้นที่ประมาณ
100 กว่าไร่ และ ได้มีการจัดแบ่งเป็นแปลง
นาสำ�หรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากหาก
ซือ้ เมล็ดพันธุม์ าปลูกจะต้องจ่ายค่าเมล็ดพันธุ์
สูงถึงกิโลกรัมละ 25 บาท แต่ถ้าจัดทำ�แปลง
ผลิตเมล็ดพันธุข์ องตนเองจะมีตน้ ทุนการผลิต

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 11
เพียง 15 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น เรียกว่ามีราคาถูกกว่ากันเกือบครึ่ง นอกจากนี้ยังจัดเตรียม
เมล็ดพันธุ์สำ�หรับการปลูกในแต่ละฤดูกาลถึง 3 พันธุ์ เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนพันธุ์ในแต่ละ
แปลง
การคิดต้นทุนของชัยพรลงทุนประมาณไร่ละ 2,000 บาท ในขณะที่ขายได้เกวียนละไม่
ต่ำ�กว่า 8,000 บาท และหลังจากผ่านการลองผิดลองถูก ศึกษาเรียนรู้ มาหลากหลาย ก็ใช่ว่า
ชัยพรจะหวงวิชาความรู้ เขายังได้ให้คำ�ปรึกษากับผู้ที่มีปัญหา และสนใจในวิถีเกษตรอินทรีย์
ที่โทรมาขอคำ�ปรึกษา
วิถีชีวิตของ ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน สามารถลบคำ�กล่าวที่ว่า "ทำ�นามีแต่จน"
เพราะเขาสามารถประสบความสำ�เร็จเพราะการทำ�นาแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี มีการ
จดบันทึกข้อมูลทุกขัน้ ตอน นอกจากจะเป็นการประหยัดค่าใช้จา่ ยแล้ว ยังสามารถเพิม่ ผลผลิต
ได้มากขึน้ อีกด้วย และเหนือสิง่ อืน่ ใดสิง่ ทีท่ �ำ ให้ชยั พรประสบความสำ�เร็จก็คอื ความขยันอดทน
ใฝ่รู้ ลงมือปฏิบตั ิ ความศรัทธาในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และความภาคภูมใิ จในอาชีพ
ชาวนาของตนเอง
สนใจศึกษาเรียนรู้การทำ�นาลดต้นทุน
ติดต่อได้ที่ คุณชัยพร พรหมพันธุ์
บ้านเลขที่ 35 หมู่ 5 ตำ�บลบางใหญ่ อำ�เภอบางปลาม้า
จังหวัดสุพรรณบุรี
เบอร์โทรศัพท์ 081-178-2813

12 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“ชารางแดงตราลุงเกษตร”
สมุนไพรอินทรีย์ของดีแห่งเกาะเกร็ด
“รางแดง” เป็นสมุนไพรรักษาและบำ�รุงร่างกายกันมานานนับศตวรรษ โดยคนสมัยก่อน
จะใช้ส่วนใบและเถาในการปรุงตัวยาขนานต่างๆ ปัจจุบันภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับสมุนไพร
รางแดงได้ตกทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ในหลายพื้นที่ และหลายคนได้ประจักษ์ถึงสรรพคุณมาก
ค่าจากไม้เถาชนิดนี้ โดยเฉพาะส่วนใบของรางแดงที่มีรสเย็น เมื่อนำ�มาคั่วหรือตากแห้งแล้ว
ชงผสมน้ำ�อุ่นดื่มเป็นน้ำ�ชา เรียกว่า ‘ชารางแดง’ ดื่มแล้วชุ่มคอ ช่วยลดความดันโลหิต ลดคอ
เรสเตอรอลและน้ำ�ตาลในเลือด นอกจากนี้ยังช่วยคลายความเมื่อยล้าจากอาการตึงของเส้น
เอ็นอีกด้วย ด้วยคุณประโยชน์ทางยาของสมุนไพรรางแดงจึงทำ�ให้หลายพืน้ ทีน่ �ำ ต้นรางแดงมา
เพาะปลูกและแปรรูป เพื่อจำ�หน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนได้เป็นอย่างดี
หนึ่งในชารางแดงคุณภาพ คือ สมุนไพรชารางแดงตราลุงเกษตร ของชุมชนเกาะเกร็ด
ที่ได้รบั การคัดเลือกให้เป็นสินค้าหนึง่ ตำ�บลหนึง่ ผลิตภัณฑ์ ประจำ�จังหวัดนนทบุรี และเป็นสินค้า

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 13
14 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ที่ ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้ป่วยโรคเบา
หวาน เพราะสามารถลดน้ำ�ตาลในเลือดได้ดี
นั่นเอง
นายสมชาย มีชีพสม สมาชิกวิสาหกิจ
ชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรียร์ างแดง ต.เกาะ
เกร็ด จ.นนทบุรี ลูกค้าธนาคารเพือ่ การเกษตร
และสหกรณ์ ก ารเกษตร(ธ.ก.ส.) เล่ า ว่ า
ประมาณ2552 เคยรับราชการ อยูท่ สี่ �ำ นักงาน
เกษตรอำ�เภอปากเกร็ด ต่อมาได้ลาออกและ
หัน มาค้าขายเล็กๆน้อยๆ เป็นรายได้เสริม
อยูห่ น้าบ้าน ควบคูก่ บั ทำ�เกษตรแบบพอเพียง
ซึ่งในช่วงที่รับราชการได้ทำ�งานลงพื้น ที่ ไป
พบปะกับเกษตรกรบ่อยครั้ง ทำ�ให้รู้จัก สมุนไพรท้องถิ่น ของเกาะเกร็ดคือ รางแดง ที่ปลูก
แบบไม่ใช้สารเคมี ชาวบ้านนิยมนำ�มาแปรรูปเป็นชาสมุนไพร ดื่มเพื่อบำ�รุงสุขภาพ ช่วงนั้นที่
บ้านปลูกสมุนไพรรางแดงไว้ด้วย จึงคิดแปรรูปชารางแดง และจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชุน
สมุนไพรเกษตรอินทรีย์ เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตรางแดงที่ล้นตลาด โดยจดทะเบียนวิสากิจ
ชุมชนเมื่อปี 2556 มีสมาชิกทั้งหมด 7 คน และได้แบ่งกลุ่มผู้ปลูก กลุ่มแปรรูป และกลุ่มผู้ขาย
มีการประชุมกลุ่มตามโอกาส
“ทีน่ ปี่ ลูกสมุนไพรรางแดงอินทรีย์ โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ปลูกเพียงแค่ 6 เดือน ก็สามารถ
เก็บผลผลิตออกขายได้แล้ว ปัจจุบันชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้นิยมปลูกรางแดงเป็นพืชสมุนไพร
ประจำ�บ้าน โดยจำ�หน่ายให้ผู้สนใจในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ทำ�ให้มีรายได้เสริมจากการ
แปรรูปสมุนไพรรางแดงและอื่นๆ ไม่ต่ำ�กว่า 40,000 บาทต่อคนต่อปี”
สำ�หรับการแปรรูปรางแดง จะเก็บเฉพาะใบแก่ ทีม่ สี เี ขียวเข้ม เนือ่ งจากใบแก่ของสมุนไพร
รางแดงจะมีการปรุงอาหารอย่างเต็มที่ หลังจากนั้นจะนำ�ใบรางแดงมาล้างนำ�ให้สะอาดแล้ว
นำ�ไปผึง่ ลม 3-5 วัน เพือ่ ให้ใบแห้ง ระหว่างการตากใบ ต้องคอยระวังไม่ให้ใบตากแดด เพราะ
จะเกิดอาการใบตายนึ่ง เวลาผลิตเป็นชาแล้ว กลิ่นจะไม่หอม จากนั้นนำ�ใบรางแดงเข้าตู้อบ

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 15
ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง และนำ�มาผึ่งลมให้คลายความร้อนก่อน จึงค่อยนำ�มาบรรจุใส่ถุงขนาดบรรจุ
25 กรัม จำ�หน่ายปลีกในราคา ถุงละ 25 บาท ขายส่งในราคา 20 บาทต่อถุง ในยีห่ อ้ ลุงเกษตร
ส่วนวิธี ใช้ชารางแดง ไม่ยุ่งยาก เพียงนำ�สมุนไพรรางแดงใส่พร้อมกับนำ� ต้มให้เดือด
3 - 5 นาที นำ�ชารางแดงจะมีสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสชาตินุ่ม ละมุน สำ�หรับนำ� 1 ลิตร กับ
ใบชา 1 กำ�มือ จะได้ผลมากที่สุด หากไม่มีเวลา สามารถต้มใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้ดื่มแทนนำ�ได้
1 สัปดาห์
“จุดเด่นของ ชารางแดงตราลุงเกษตรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์
คือ ดูแลคัดเฉพาะคุณภาพใบแก่เท่านั้น เมื่อนำ�มาอบทำ�ชาสมุนไพรจะไม่มีผง ไม่มี ใบหัก
ชาสมุนไพรชนิดนี้สามารถเก็บได้นาน 2 ปี ชาสมุนไพรของเราถือว่ามีคุณภาพดี เมื่อนำ�ไป
บริโภค จะมีกลิ่นหอม น่าดื่ม ตลาดหลักเน้นขายทั่วประเทศ ลูกค้าบางรายนำ�ไปขายปลีกใน
ราคา 3 ห่อ 100 บาท ลูกค้าบางรายซื้อไปขายเพื่อทำ�กำ�ไรในจังหวัดต่างๆ โดยขายปลีกใน
ราคาห่อละ 50 บาท”

สนใจสมุนไพรชารางแดง ติดต่อได้ที่
คุณสมชาย มีชีพสม
บ้านเลขที่ 42 ม. 7 ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
เบอร์โทรศัพท์ 092-4151159 ,092-4029665
หรือ www.Lung-Kaset.com

16 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
รู้จริงเรื่องอินทผลัมคุณภาพ
จากสวนจักรเสนอินทผลัม
ปัจจุบนั เกษตรกรไทยได้หนั มาสนใจปลูก
อินทผลัมกันมากขึน้ เพราะสร้างรายได้ได้เป็น
อย่างดี แต่การลงทุนกับพืชอย่างอินผลัมค่อน
ข้างมีความเสี่ยง เกษตรหลาย ๆ คนที่สนใจ
จึงจำ�เป็นต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อลดความเสี่ยง
ในการผลิตอยู่ตลอดเวลา ดังเช่น “สวนจักร
เสนอินทผลัม” ที่ศึกษาการย่นระยะเวลาเพื่อ
ให้ทราบเพศของต้นอินทผลัมตัวเมียและต้น
ตัวผูไ้ ด้เร็วขึน้ จากระยะเวลา 3 ปีภายหลังจาก
ย้ายต้นกล้าลงดินย่นมาเหลือเพียง 2 ปีเท่านัน้
ซึ่งการทราบเพศของต้นอิน ทผลัมที่เร็วขึ้น
สามารถช่ ว ยให้ เ กษตรกรดู แ ลจั ด การต้ น
อินทผลัมได้ตรงจุดมากขึ้น

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 17
อาจารย์กฤษดา จักรเสน ลูกค้าธนาคาร
เพื่ อ การเกษตรและสหกรณ์ ก ารเกษตร
(ธ.ก.ส.) ซึ่ ง เป็ น เจ้ า ของสวนจั ก รเสน
อินทผลัม เล่าว่าจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้ตนเองหัน
มาสนใจปลูกอินทผลัมให้ฟังว่า เมื่อประมาณ
8 ปีก่อน ได้ไปเที่ยวงานพืชสวนโลกครั้งที่ 1
แล้วได้ไปเจอกับบู๊ทแสดงผลิตภัณฑ์ของสวน
โกหลัก ในขณะนั้นยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับ
อินทผลัมจึงไม่รู้ว่าผลไม้ที่นำ�มาจัดแสดงนั้น
คืออะไร กระทั่งมีทีมงานของสวนคนหนึ่งได้
ยื่นไม้ผลลูกป้อมเรียวสีเหลืองสดขนาดหัวแม่
มือมาให้ทดลองชิม รสชาติท่ีหวานละมุนลิ้น
ทำ�ให้ติดใจในรสชาติภายหลังจากที่กลับมา
บ้านจึงเริ่มศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ ในปีถัดมาจึงโทรไปที่สวนโกหลักอีกครั้งเพื่อสั่ง
ซื้อต้นพันธุ์นำ�มาปลูกที่สวน โดยราคาขณะนั้นอยู่ที่ต้นละ 840 บาท เป็นต้นกล้าอายุได้ 1 ปี
สั่งมาปลูกทั้งหมด 24 ต้น”
การปลูกอิน ทผลัม อาจารย์กฤษดาทำ�
ควบคู่ไปกับการวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมของ
อินทผลัมว่าเลี้ยงแบบไหนถึงจะโตเร็ว โตวัย
และได้ผลผลิตที่คุ้มค่าที่สุด
“ผมแบ่งต้นกล้าที่ได้มาออกเป็น 2 ชุด ๆ
ละ 12 ต้น ชุดที่หนึ่งผมปลูกลงดิน และอีกชุด
หนึง่ ผมปลูกลงท่อซีเมนต์ปลายเปิด ขนาดความ
กว้างประมาณ 1.20 เมตร ผลปรากฏว่าต้นกล้า
ที่ปลูกในบ่อจะโตเร็วมาก อาจด้วยเราจัดการ
เรื่องน้ำ�และปุ๋ยได้ง่าย จึงทำ�ให้ต้นอินทผลัม
ค่อนข้างโตเร็ว ระยะเวลาเพียง 2 ปีจากการ
18 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ย้ายต้นกล้าลงปลูกในบ่อปลูกก็สามารถแยก
เพศได้วา่ ต้นอินทผลัมต้นไหนเป็นต้นตัวเมียและ
ต้นไหนเป็นต้นตัวผู้ ในขณะทีต่ น้ ทีป่ ลูกลงดินจะ
เริ่มแทงช่อดอกให้ทราบเพศในปีที่ 3 และ 4
สำ�หรับต้นอินทผลัมที่ผมซื้อมาปลูกทั้ง 24 ต้น
นั้น ให้ผลผลิตเป็นต้นตัวเมีย 4 ต้น ที่เหลือ
เป็นต้นตัวผูท้ งั้ หมด และในบรรดาต้นตัวเมียทัง้
4 ต้นที่ ได้มานั้นก็ได้อินทผลัมทานผลสดที่ลูก
ใหญ่และรสชาติหวานทั้งหมด ซึ่งมีลักษณะคล้ายพันธุ์เดิมคือ KL1 จำ�นวน 3 ต้น ส่วนอีก
1 ต้น กลายพันธุจ์ ากพันธ์เดิมแต่เป็นการกลายไปในทางทีด่ ขี นึ้ คือลูกกลมใหญ่ลกั ษณะคล้าย
พันธุ์บาฮี และมีรสชาติหวานกว่าต้นอื่น ๆ ในเวลาต่อมาผมจึงนำ�เมล็ดจากต้นที่ให้ผลผลิตดี
ทีส่ ดุ 2 ต้น คือต้นทีม่ ลี กั ษณะคล้ายบาฮี และ KL1 ลูกใหญ่ มาทำ�การเพาะเมล็ดเพือ่ ทีจ่ ะขยาย
ปลูกในไร่ต่อ โดยทำ�งานวิจัยเก็บข้อมูลไว้ 2 ชนิดคือ ปลูกในบ่อปลูกในลักษณะเดียวกับบ่อ
ซีเมนต์ แต่วัสดุทำ�ขึ้นมาจากแผ่นเมลทัลชีทจำ�นวน 100 ต้น ซึ่งผลของการทดลองในบ่อปลูก
ลักษณะแบบนี้ เราจะได้ต้นอินทผลัมที่โตเร็วและทราบเพศได้เร็วกว่าการปลูกลงดินปกติ”

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 19
สำ�หรับการดูแลจัดการต้นอินทผลัมในระยะกำ�ลังเจริญเติบโตนั้นจะต้องให้น้ำ�อย่าง
สม่ำ�เสมอ นอกจากนี้จะต้องให้ปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้ง ซึ่งปุ๋ยคอกที่ดีที่สุดเท่าที่อาจารย์ได้ทดลอง
มาก็คือปุ๋ยขี้ไก่ โดยแบ่งใส่ครั้งละ ½ - 1 กระสอบ คือใส่ก่อนฝน 1 ครั้งและหลังตัดแต่งทาง
ใบอีก 1 ครั้ง เมื่อฝนหมด และหากต้องการให้ผลผลิตหวานฉำ� ให้ใส่ปุ๋ยสูตรตัวหลังสูงก่อน
เก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 2 อาทิตย์

การปลูกอินทผลัมถ้าจะปลูกในทางอีสาน การปลูกอินทผลัมในระบบน้�ำ หยดถือว่าดีมาก


เพราะต้นโตไว และโตสม่ำ�เสมอกันทั้งแปลง ฉะนั้นถ้าเกษตรกรสนใจปลูกพืชตัวนี้จำ�เป็นที่จะ
ต้องวางแผนจัดการเรื่องระบบน้ำ� เกษตรกรจะต้องวางแผนจัดการเรื่องระบบน้ำ�ให้ดี เพราะ
ถึงแม้อินทผลัมจะเป็นพืชทนแล้ง แต่การปล่อยให้ต้นโตตามยถากรรมจะโตช้ากว่าต้นที่มี
การจัดการดูแลที่ดี หากจะปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ ระบบน้ำ�หยดเป็นระบบที่ดีที่สุด
เพราะน้ำ�จะค่อย ๆ ซึมลงดิน ส่วนการใช้ระบบสปริงเกอร์น้ำ�จะกระเด็นไปขังบริเวณซอกใบ
ซึ่งจะเป็นแหล่งให้แมลงและด้วงมาวางไข่ กัดเจาะทำ�ลายต้นอินทผลัมเสียหาย

สำ�หรับเกษตรกรที่สนใจการปลูกอินทผลัม
สามารถติดต่อได้ที่ อาจารย์กฤษดา จักรเสน
เลขที่ 148/3 ถ.เสรีไทย ซ. 9 บ.คำ�สะอาด 2 ต.ธาตุเชิงชุม
อ.เมือง จ.สกลนคร โทรศัพท์ 081 545 0756
หรือ https://www.facebook.com/krit.jug

20 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
กระเป๋าผักตบชวาบ้านต๊ำ�พระแล
ไอเดียเจ๋ง ฝีมือแจ๋ว รายได้แจ่ม
ต้องยอมรับว่าในปัจจุบนั ผลิตภัณฑ์
จากกลุ่ ม วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชนของไทยได้ มี ก าร
พั ฒ นาต่ อ ยอดได้ อ ย่ า งน่ า ทึ่ ง บางชุ ม ชน
สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จนประสบความ
สำ�เร็จ เป็นที่นิยมของลูกค้า สร้างรายได้ให้
กับสมาชิกในชุมชน นอกเหนือไปจากการ
ประกอบอาชีพทำ�การเกษตรได้เป็นอย่างดี
ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา กลุ่มแม่บ้าน
ต๊ำ�พระแล เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ประสบความ
สำ�เร็จจากการผลิตสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาด ด้วยฝีมือการจักสานที่ประณีตบรรจง
สามารถใช้งานได้จริง ประกอบกับไอเดียสร้างสรรค์พัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบที่ทันสมัย
สินค้าแต่ละชิ้นราคาไม่แพง ทำ�ให้มีลูกค้าหลายระดับ

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 21
สมพิศ ชัยรัตน์ ประธานกลุ่มแม่บ้าน
ต๊�ำ พระแล เล่าว่า ย้อนกลับไปในปี 2542 เป็น
ช่วงระหว่างฟื้นตัวจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ�
เกษตรกรต่ า งกระตื อ รื อ ร้ น ที่ จ ะหารายได้
เสริมนอกเหนือจากการทำ�เกษตร เพราะ
ตระหนักถึงความไม่แน่นอนของราคาพืชผล
จึงรวมกลุ่มกันผลิตสินค้า เพื่อสร้างรายได้
เสริมให้กับครอบครัวและชุมชน ในขณะนั้น
ได้รับการแนะนำ�จากนักธุรกิจในตลาดนัด
จตุ จั ก ร ให้ ป ระดิ ษ ฐ์ สิ น ค้ า จากผั ก ตบชวา
เนื่ อ งจากเป็ น ที่ ต้ อ งการของตลาดและหา
วัตถุดิบได้ไม่ยาก
“หลังจากจัดตั้งกลุ่มเรียบร้อยแล้ว ได้กู้
เงินกับ ธ.ก.ส. จำ�นวน 1 แสนบาทเพื่อนำ�มา
ซื้ อ วั ต ถุ ดิ บ ในการผลิ ต รวมทั้ ง อุ ป กรณ์ ที่
จำ�เป็น ซึ่งนอกจากเงินทุนกู้ยืมที่ได้รับแล้วยัง
ได้รับการสนับสนุนความรู้ จัดอบรมฝีมือให้
กับสมาชิก จากหน่วยงานราชการหลายหน่วย
งาน ทำ�ให้สามารถผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น และยังได้รับความ
ช่วยเหลือในการเปิดตลาดโดยการส่งประกวดคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP และร่วมออกบูธกับ
ทางกรมพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างชื่อให้กับผลิตภัณฑ์”
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ผักตบชวา กลุ่มแม่บ้านต๊ำ�พระแล จัดเป็นสินค้า OTOP 4 ดาว มีแหล่ง
จำ�หน่ายแหล่งใหญ่อยูท่ ตี่ ลาดนัดจตุจกั ร มีสมาชิกจำ�นวน 26 คน โดยได้จดั แยกเป็นแผนกตาม
ความถนัดของสมาชิกแต่ละคน ตัง้ แต่งานจักสาน งานบุผา้ งานทำ�สาย งานตกแต่ง ฯลฯ ซึง่ รายได้
จะได้รับตามปริมาณของชิ้นงาน เช่น งานสานถ้าเป็นชิ้นเล็กจะอยู่ที่ 50 บาท ส่วนชิ้นใหญ่จะ
อยู่ที่ 160 บาท แล้วแต่ความยากง่ายของงาน ส่วนการออกแบบจะเป็นการรับผลิตตามแบบ

22 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
หรือ ออเดอร์ต ามความต้ อ งการของลู ก ค้า
เป็นหลัก ซึ่งแต่ละสัปดาห์มียอดสั่งผลิตไม่ตำ�
กว่า 10,000 - 30,000 บาทต่อสัปดาห์
ความโดดเด่นของกระเป๋าสานผัก
ตบชวา ถือเป็นการออกแบบร่วมสมัย สะท้อน
เอกลักษณ์ไทยที่สามารถใช้ได้จริง ลวดลาย
การสาน สร้างความโดดเด่นทำ�ให้ชิ้นงานมี
เอกลั ก ษณ์ น่ า จั บ ต้ อ ง ตั ว กระเป๋ าไม่ แ ข็ ง
กระด้างมีความนุ่มเนียนเกิดจากเทคนิคการ
เคลือบเงาที่ไม่ท�ำ ลายความยืดหยุน่ ของเส้นใย
ผั ก ตบชวา มี ใ ห้ เ ลื อ กทั้ ง แบบทำ � สี แ ละสี
ธรรมชาติ กรรมวิธีการผลิตสะท้อนคุณค่า
ของงานหัตถศิลป์ เพิ่มมูลค่าต่อชิ้นงานได้ไม่
ต่ำ�กว่า 300-550 บาท

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 23
“ทางกลุ่มฯได้มีการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคุณภาพของสินค้าให้มีความ
ทนทานรวมถึงการออกแบบที่ร่วมสมัย อย่างไรก็ตามอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงให้
ความสนับสนุนอย่างนี้ต่อไป โดยเฉพาะการเปิดตลาดใหม่ๆ และการพัฒนาฝีมือ เพราะอยาก
ให้สินค้ามีความหลากหลายมากขึ้น และสามารถกระจายสินค้าได้กว้างขึ้น เพื่อเป็นแหล่งราย
ได้ให้กับชุมชน”
ด้วยฝีมอื การประดิษฐ์ผนวกกับการออกแบบทีร่ ว่ มสมัยและใช้วสั ดุจากธรรมชาติ ทำ�ให้กระเป๋า
ที่สานจากผักตบชวามีความโดดเด่น สะท้อนคุณค่าของงานที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติผนวกขั้น
ตอนที่ใช้ฝีมือล้วนๆ จึงเป็นที่นิยมของลูกค้าโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ผักตบชวา กลุ่มแม่บ้านต๊ำ�พระแล
ติดต่อได้ที่
18/7 บ้านต๊ำ�พระแล ตำ�บลต๊ำ� อำ�เภอเมือง จังหวัดพะเยา
โทร.0-2253-4873, 08-1900-5035 (คุณทราย),
08-9561-0507 (คุณสมพิศ)

24 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เทพมงคลฟาร์ม
ฟาร์มเมล่อนเงินล้านแห่งดินแดนอีสาน
เมล่อน เป็นผลไม้จากแผ่นดินอาทิตย์อุทัยประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพื้นที่ที่ขึ้นชื่อว่าปลูกเมล่อน
ได้รสชาติหอมหวานคุณภาพเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ก็คือจังหวัดอิบะระกิ (Ibaraki)
แต่ในปัจจุบนั หากอยากทานเมล่อนทีม่ คี วามหอมหวานรสชาติดี ก็ไม่จ�ำ เป็นต้องไปถึงอิบะระกิ
เพราะทางอีสานบ้านเราก็สามารถปลูกเมล่อนได้คุณ ภาพดี ไ ม่แพ้เมล่อนจากถิ่นกำ�เนิด
โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกในแถบจังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม ซึ่งมีดินชั้นใต้ดินที่ธาตุ
โปแตสเซียมผสมอยู่ ส่งผลให้เมล่อนที่ปลูกในบริเวณดังกล่าวมีรสชาติหวานฉำ�

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 25
คุณมงคล ธราดลธนสาร ลูกค้าธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)
เจ้าของ “เทพมงคลฟาร์ม” ฟาร์มปลูกเมล่อนคุณภาพในพื้นที่ภาคอีสาน ได้คร่ำ�หวอดอยู่ใน
วงการเมล่อนกว่า 10 ปี ก่อนจะผันตัวเองมาพัฒนาสายพันธุ์เมล่อนอย่างจริงจัง กระทั่งได้
ผลผลิตเมล่อนที่มีรสชาติหอมหวาน ทานอร่อย และยังปลูกง่าย ให้ผลผลิตดีเหมาะกับสภาพ
แวดล้อมการเพาะปลูกในประเทศไทย
มงคล เล่าว่า ในตอนแรกตัง้ ใจจะทำ�เป็นบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ เพราะ
มองว่าเมล็ดพันธุ์เมล่อนเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่มีราคา อีกประการ
คือเมล็ดพันธุ์เมล่อนที่มีการเพาะปลูกในบ้านเรา ส่วนใหญ่จะมี
การพัฒนาสายพันธุ์อยู่ที่ญี่ปุ่น แล้วส่งพันธุ์มาผลิตเมล็ดในบ้าน
เรา เมื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ตามออเดอร์ที่ต้องการแล้ว เมล็ด
พันธุ์จะถูกส่งกลับไปตีแบรนด์ที่ญี่ปุ่นอีกครั้งก่อนการวาง
จำ � หน่ า ย เมื่ อ สายพั น ธุ์ ถู ก พั ฒ นาจากประเทศญี่ ปุ่ น

26 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ปัญหาเรื่องความไม่เหมาะสมระหว่างสาย
พันธุ์กับสภาพภูมิอากาศจึงเกิดขึ้น เพราะ
สภาพอากาศที่ญี่ปุ่นกับบ้านเรานั้นแตกต่าง
กันมาก
ด้วยเหตุนี้ มงคลจึงคิดพัฒนาสายพันธุ์
เมล่อนขึ้น เพื่อให้ได้สายพันธุ์เมล่อนที่เหมาะ
สมกับ สภาพดิ น และพื้ น ที่ก ารเพาะปลูกใน
ประเทศไทย เพื่อลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกรที่สนใจปลูกเมล่อน โดยในปัจจุบันสามารถ
พัฒนาพันธุ์ที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกในประเทศไทยได้แล้วจำ�นวน 6 สายพันธุ์
จำ�แนกเป็นสายพันธุ์เนื้อสีส้ม 3 สายพันธุ์ได้แก่ ซันสวีท, สายน้ำ�ผึ้ง, ออเรนจิ สายพันธุ์เนื้อสี
เขียวอีก 3 สายพันธุค์ อื หยกเทพ, สโนว์กรีน และ หยกสวรรค์ และยังมีสายพันธุท์ กี่ �ำ ลังพัฒนา
อีก 10 กว่าสายพันธุ์ หนึ่งในนั้นก็มีเมล่อนทิเบต(ฮามี่ กัวร์) ด้วย” คุณมงคลกล่าว
สำ�หรับเทคนิคการผลิตเมล่อนเพื่อให้ได้คุณภาพดีนั้น เริ่มจากการนำ�เมล็ดพันธุ์ที่เตรียม
ไว้ไปแช่ในน้ำ�อุ่น จากนั้นแช่เมล็ดพันธุ์ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที- 1 ชั่วโมง แล้วจึงนำ�เมล็ดพันธุ์

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 27
มาห่อด้วยผ้าดิบนำ�ไปบ่มไว้ในกระติกน้ำ�แข็ง 1 คืน เมล็ดพันธุ์จะเริ่มงอกราก แล้วจึงนำ�ไป
เพาะในถาดเพาะกล้าโดยใช้วัสดุปลูกพีชมอส เมื่อต้นกล้าเติบโตมีอายุ 7-10 วัน ให้ย้ายลง
แปลงปลูก หลังจากย้ายกล้าลงแปลงปลูกได้ 7 วัน จะทำ�การแทงปุ๋ยระหว่างต้น สูตร 16-
16-16 ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ เมื่อปลูกไปได้ 2 อาทิตย์เมล่อนจะเริ่มแตกแขนงให้เด็ดแขนงที่
เกิดขึ้นระหว่างข้อออก เก็บไว้เฉพาะแขนงในข้อที่ 9-11 เพียง 3 แขนงเพื่อผสมเกสร และเมื่อ
เมล่อนเลือ้ ยพ้นค้างให้เด็ดยอดออก พอเมล่อนเริม่ ติดลูกเราจะแทงปุย๋ อีกครัง้ ทีห่ ลุมเดิมทีเ่ คย
แทงในครั้งแรกและใส่ปริมาณเท่าเดิม แต่คราวนี้เปลี่ยนสูตรมาเป็นสูตร 11-6-34 เพื่อเพิ่ม
สีสนั และความหวาน หลังจากลูกเริม่ มีขนาดเท่าไข่เป็ดให้คดั ลูกทีส่ วยทีส่ ดุ ไว้เพียงต้นละ 1 ลูก
และเลีย้ งต่อไปจนกว่าจะเก็บเกีย่ วผลผลิต ซึง่ เมล่อนภายใต้การพัฒนาของเทพมงคลเมล็ดพันธุ์
ตั้งแต่เพาะเมล็ดไปจนถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลาประมาณ 90 วัน
นอกจากจะมีเป้าหมายในเรือ่ งการเพาะปลูก เพือ่ ตอบโจทย์เกษตรกรได้อย่างตรงจุดแล้ว
คุณมงคลยังตระหนักถึงความต้องการทางด้านการตลาด โดยเฉพาะในเรื่องรูปลักษณ์ที่กลม
กลึงของผลเมล่อน มีลายตาข่ายสม่�ำ เสมอสวยงาม รสชาติหวานฉ่�
ำ ด้วยความโดดเด่นดังกล่าว
ทำ�ให้เมล่อนภายใต้การพัฒนาของเทพมงคลเมล็ดพันธุ์ได้รับคัดเลือกให้จำ�หน่ายในห้าง
เดอะมอลล์ ส่งมอบความอร่อยให้กับคนในเมืองกรุง ภายใต้การผลิตของเทพมงคลฟาร์ม
สนใจการเพาะปลูกเมล่อน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทพมงคลฟาร์ม
เลขที่ 411 ม.16 ต.ปะหลาน อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม
โทร. 08-6115-6295

28 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
‘เพกา’ ผักพื้นบ้านราคาดี
สร้างรายได้ ไร่ละแสนต่อปี
เพกา หรือลิ้นไม้ เป็นพืชที่มีรสชาติขม
นิยมนำ�มาบริโภคกับลาบ ก้อย และนำ�พริก
ต่างๆ แต่เพกาเป็นไม้พนื้ บ้านทีม่ ลี �ำ ต้นสูงมาก
หากจะเก็บฝักมารับประทานต้องใช้ความ
พยายามเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ฝักของต้น
เพกาหาทานยาก และมีราคาขายในตลาด
ค่อนข้างสูง เกษตรกรบางรายจึงคิดค้นปลูก
เพกาเพือ่ จำ�หน่ายฝัก ซึง่ สามารถสร้างรายได้
ได้เป็นอย่างดี
อมร มีศรี ลูกค้าธนาคารเพือ่ การเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) หนุ่มนัก
อนุรักษ์พืชอาหารพื้นถิ่นในจังหวัดศรีษะเกษ
หันมาสนใจพัฒนาเพกาจากต้นพันธุท์ เี่ คยออก

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 29
ผลผลิตอยู่สูง สู่เพกาพันธุ์ใหม่ที่สามารถให้
ผลผลิตได้แม้ขนาดต้นยังเล็ก และให้ผลผลิต
ตั้งแต่ปีแรกที่ปลูก นอกจากนี้ยังมีลักษณะ
พิเศษเรือ่ งติดผลดก ทำ�ให้เก็บฝักขายได้เกือบ
ตลอดทั้งปี
อมร เล่าว่า ตนเองเป็นคนภาคอีสานและ
ชอบทานเพกาเป็นทุนเดิมอยูแ่ ล้ว แต่เมือ่ ก่อน
นีจ้ ะหาทานค่อนข้างยากเพราะคนไม่นยิ มปลูก
ตอนแรกก็คดิ ว่าเพกาเป็นทีน่ ยิ มทานเฉพาะใน
ภาคอีสานเท่านัน้ แต่พอได้ไปอยูภ่ าคเหนือ ได้
เห็นการบริโภคเพกาว่ามีความต้องการสูงมาก
หากใครมีผลผลิตเพกาขาย กลุ่มผู้ประกอบ
การร้ า นอาหารพื้ น เมื อ งจะมารั บ ซื้ อ ถึ ง ที่
ขณะนัน้ เองจึงทำ�ให้ฉกุ คิดขึน้ มาว่า หากเพกา
มีความต้องการของตลาดสูงขนาดนี้ทำ�ไม
เกษตรกรจึ งไม่ ปลู ก เพกาขายฝั ก กั นอย่ าง
จริงจัง แต่ภายหลังจากการมาพิจารณาจึง
ทราบว่าพันธุ์เพกาพื้นบ้านที่มีอยู่เดิมนั้นเป็น
พันธุ์ที่ต้นสูง และไม่ค่อยแตกกิ่ง อีกทั้งยังให้
ผลผลิตน้อย ไม่คุ้มค่าต่อการปลูกเลี้ยง
“สิ่ ง ที่ ทำ � ให้ ผ มสนใจเป็ น อย่ า งมาก
นอกจากความต้องการตลาดที่เป็นแรงจูงใจ
ให้เกิดการพัฒนาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่น่าเชื่อ
ก็คอื ฝักเพกาทีม่ จี �ำ หน่ายในประเทศไทยนัน้ นำ�
เข้ามาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว นั่นเองเป็นตัวผลักดันที่ทำ�ให้ผมคิดว่า

30 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ประเทศลาวเขายังปลูกขายได้ ทำ�ไมบ้านเราจะปลูกเป็นการค้าบ้างไม่ได้ จากจุดตรงนัน้ ทำ�ให้
ผมพยายามมองหาเพกาพันธุท์ เี่ หมาะสมต่อการปลูกเพือ่ การค้า หวังนำ�มาพัฒนาให้เป็นไปตาม
เป้าหมายที่คิดไว้ จนได้มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านพี่สะใภ้ที่จังหวัดอำ�นาจเจริญ ได้เห็นต้นเพกา
ลักษณะพิเศษอยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ต้นไม่สูงมากนัก แต่ลักษณะของเขาที่ทำ�ให้ผมทึ่งก็คือ
ติดฝักดกและให้ชอ่ ดอกค่อนข้างเยอะ เรียกว่าเยอะทีส่ ดุ เท่าผมเคยเห็นมา เพราะใน 1 ต้นเขา
ให้ช่อมากกว่า 10 ช่อ ผมก็เลยขอฝักมาเพาะต้นกล้า”
สำ�หรับการปลูกเลี้ยงเพกาให้ได้ผลผลิตดีนั้นคุณอมรอธิบายให้ฟังอีกว่า เพกาเป็นพืชที่
ปลูกง่าย โตไว และมีศัตรูพืชค่อนข้างน้อย เพราะลักษณะเด่นของเขาคือเป็นต้นไม้ที่มีความ
ขมเป็นอาวุธ ซึง่ สามารถต้านโรคและแมลงได้อย่างดี โดยการปลูกให้ได้ผลผลิตดีนนั้ เกษตรกร
ควรให้ปุ๋ยคอก 3-4 เดือน/ครั้ง โดยปริมาณการใส่ให้ดูที่ความเหมาะสมของขนาดลำ�ต้นเป็น
สำ�คัญ และควรหมั่นให้นำ�อย่าให้ขาดโดยเฉพาะช่วงที่ต้นยังเล็ก เพราะต้นจะได้เจริญเติบโต
อย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อต้นโตอายุ 4 ปีขึ้นไปแล้วสามารปล่อยให้เทวดาดูแลแทนได้ แต่ทั้งนี้การ
ดูแลโดยการใส่ปุ๋ยคอกในทุกปีหรือปุ๋ยเคมีบ้างเป็นครั้งคราวก็จะช่วยให้เพกาติดฝักดกและ
สมบูรณ์มากขึ้น

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 31
“ใน 1 ช่อดอกเพกาจะให้จำ�นวนฝักมากกว่า 20 ฝัก ถ้ามีการบำ�รุงดูแลดี ๆ 2-3 ฝักจะ
ได้น�ำ หนักประมาณ 1 กิโลกรัม โดยราคาจำ�หน่ายฝักเพกาจากการสอบถามลูกค้าทีร่ บั ต้นพันธุ์
ไปปลูกเก็บฝักจำ�หน่าย ราคาอยู่ที่ราคาฝักละ 20-30 บาท หรือราคากิโลกรัมละ 80-90 บาท
ใน 1 ไร่ สามารถปลูกได้ 200 ต้น ใน 1 ต้นจะให้ผลผลิตประมาณ 100-150 ฝักต่อปี(เพกา
อายุ 2 ปีขึ้นไป) หากคำ�นวณเป็นรายได้จะได้ประมาณไร่ละหนึ่งแสนถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
ต่อปี

สนใจเพาะปลูกเพกาหรือต้องการแลกเปลี่ยนความรู้
ติดต่อได้ที่ คุณอมร มีศรี
เลขที่ 97 หมู่ 6 ต.บก อ.โนนคูณ จ.ศรีษะเกษ
โทร. 09-0182-6149

32 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
รันทม ท้วมทอง
กับต้นไม้เสริมรายได้ ช้อนเงินช้อนทอง
การทำ�ฟาร์มกล้วยไม้ ทีส่ ามารถตัดดอก
จำ�หน่ายสร้างรายได้ประจำ�ให้กับเกษตรกร
ชาวสวนกล้วยไม้แล้ว การเพาะพันธุ์ "ไทรใบ
ช้ อ นเงิ น ช้ อ นทอง" ต้ น ไม้ ป ระดั บ ที่ มี ใ บ
ลักษณะคล้ายช้อน ยังสามารถสร้างรายได้
เสริ ม ให้ กั บ ฟาร์ ม กล้ ว ยไม้ ไ ด้ เ ป็ น อย่ า งดี
เพราะเป็นไม้ทน เลี้ยงง่าย ปลูกได้ทั้งลงดิน
และวางทั้งกระถาง
ดังเช่น นางรัน ทม ท้วมทอง ลูกค้า
ธนาคารเพื่ อ การเกษ ตรและสหกรณ์
การเกษตร(ธ.ก.ส.) ซึ่งนอกจากจะมีอาชีพ

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 33
หลักในการทำ�กล้วยไม้ตดั ดอกพันธุม์ อ็ กคาร่าส่งตลาดแล้ว เวลาว่างยังหันมาเอาดีในการผลิต
ไทรประดับใบกลม หรือที่รู้จักกันดีในนาม ต้น “ช้อนเงินช้อนทอง” เป็นอาชีพเสริม เพิ่มราย
ได้ให้กับตนเองและครอบครัว
รันทม เล่าว่า ตนเองและครอบครัวมีอาชีพหลักคือทำ�สวนกล้วยไม้ตัดดอกสายพันธุ์
ม็อคคาร่า ส่วนการทำ�ไทรประดับใบกลมนั้นทำ�เป็นอาชีพเสริม และทำ�มานานกว่า 20 ปีแล้ว
“เมื่อประมาณ 20 ปีก่อนไทรประดับราคาสูงมาก แค่ต้นเล็ก ๆ ขนาดความสูงประมาณ
60 เซนติเมตร ราคาเป็นพัน ตอนแรกก็ไม่ได้คดิ จะทำ�ขาย เพาะพันธุเ์ พราะความชอบ ทำ�เสร็จ
ก็วางเรียงเป็นแถว เป็นแนวสวยงาม พอมีคนมาเห็นและมาขอซือ้ จึงเริม่ ทำ�ขายเรือ่ ยมาจนถึง
ปัจจุบัน”
สำ�หรับต้นช้อนเงินช้อนทอง เกิดจากการนำ�ยอดของไทรใบกลมมาเสียบเข้ากับรากไทร
โดยกระบวนการผลิตเริ่มตั้งแต่การซื้อรากไทรมาจากกลุ่มผู้ขุดรากไทรจำ�หน่าย ซึ่งปัจจุบัน
ราคารากไทรอยูท่ คี่ นั รถละ 3,300 บาท สามารถนำ�มาผลิตเป็นต้นช้อนเงินช้อนทองได้ประมาณ

34 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
50-60 ต้น เมื่อได้รากมาแล้วจะทำ�การคัด
และตั ด แต่ ง ให้ ไ ด้ ต ามขนาดและรู ป ทรงที่
ต้องการ แล้วจึงนำ�เข้าสู่กระบวนการเสียบ
ยอดและเพาะเลี้ยงให้เกิดการแตกรากต่อไป
ในส่วนของการปลูกเลี้ยงและดูแลต้น
ช้อนเงินช้อนทองนั้น หากต้องการเลี้ยงใน
กระถางควรเลือกขนาดกระถางให้เหมาะกับ
ขนาดของต้นไม้ โดยพิจารณาจากความสมดุล
เป็นสำ�คัญ สำ�หรับดินที่นำ�มาปลูก ควรเป็น
ดินใบก้ามปูผสมกาบมะพร้าวสับหยาบ และ
ควรเลี้ยงในสถานที่ที่มีแดดส่องถึงตลอดทั้ง
วัน ทัง้ นีห้ ากต้องการเลีย้ งในตัวอาคารหรือใน
ที่ร่มก็สามารถทำ�ได้ แต่ทรงพุ่มจะไม่ค่อย
เติบโตมากนัก ส่วนการนำ�ไปตกแต่งสวนควร
ปลูกลงดิน เพราะต้นไทรจะเจริญเติบโตได้ดี
กว่าการปลูกในกระถาง
“ข้ อ ดี ข องต้ น ช้ อ นเงิ น ช้ อ นทองก็ คื อ
ขนาดของลำ�ต้นเขาจะไม่สามารถโตได้อกี แล้ว
แต่ที่จะโตก็คือในส่วนของทรงพุ่ม ทั้งนี้ทรง
พุ่มก็จะโตในลักษณะที่เป็นทรงกลมไปอย่าง
ต่อเนื่องทำ�ให้เราไม่ต้องตัดตกแต่งอะไรเลย
ส่วนการดูแลนั้นต้องหมั่นรดนำ�ให้ชุ่มแต่ไม่
ควรให้แฉะหรือมีนำ�ขัง เพราะอาจทำ�ให้ราก
เป็ น เชื้ อ ราและตายได้ ส่ ว นการให้ ปุ๋ ย
ถ้าต้องการให้แตกทรงพุม่ มาก ควรใส่ปยุ๋ สูตร
เสมอสลับกับปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูงเดือนละครั้ง

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 35
หรือจะใส่ปยุ๋ คอกอย่างเดียวต้นก็เจริญเติบโต
ได้ดีเช่นเดียวกัน”
ไทรประดับใบกลมหรือช้อนเงินช้อนทอง
เป็ น ไม้ ป ระดั บ ที่ เ ลี้ ย งไม่ ย าก และมี ศั ต รู
รบกวนน้อย แต่หากจะทำ�เป็นอาชีพจะต้องมี
แหล่งวัตถุดบิ รากไทรใกล้บา้ นและมีทรัพยากร
เพียงพอต่อการผลิต สำ�หรับการตลาดนั้น
ยังคงไปได้ดอี ย่างต่อเนือ่ ง ยิง่ หากสามารถทำ�
ลำ�ต้นให้ได้ทรวงทรงที่สวยงามก็จะยิ่งเป็นที่
ต้องการของตลาดและได้ราคามากขึ้น

สำ�หรับเกษตรกรที่สนใจไทรประดับตกแต่งบ้าน
ติดต่อได้ที่ คุณรันทม ท้วมทอง
เลขที่ 23 ม. 1 ต.ลานตากฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
โทร. 08-1869-9793, 08-1908-4744

36 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“เฉลิม พีรี” ปราชญ์ชาวบ้านกับภูมิปัญญา
ขยายพันธุ์พืชแบบปักชำ� ควบแน่น
“เฉลิม พีรี” หรือที่รู้จักในนาม “ลุง
เหลิม” เป็นปราชญ์นักเกษตรแห่งอำ�เภอบึง
สามัคคี จังหวัดกำ�แพงเพชร เป็นเกษตรกรคน
เก่งลูกค้าธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร(ธ.ก.ส.)ที่ ได้รับยกย่องให้เป็น
ปราชญ์ชาวบ้านด้านการขยายพันธุพ์ ชื โดยวิธี
ปักชำ�ควบแน่น ซึง่ เป็นภูมปิ ญั ญาทีค่ ดิ ค้นด้วย
ตัวเอง โดยใช้หลักวิธีคิดจากเรื่อง “การเอา
ตัวรอดในสภาวะจนตรอก” มาประยุกต์ใช้กบั
พืช บีบบังคับให้ตน้ ไม้ทเี่ พาะชำ�ควบแน่นแตก
รากหรือยอดอ่อนเพือ่ หาอาหารเลีย้ งลำ�ต้นให้
อยู่รอด ทั้งยังทำ�สวนเกษตรแบบผสมผสาน

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 37
ตามแนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยึดเอาความพออยู่พอกินมาเป็น
บรรทัดฐานของชีวติ ซึง่ สวนของลุงเฉลิมเป็นศูนย์เรียนรูโ้ ครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำ�ริ
อำ�เภอบึงสามัคคี จังหวัดกำ�แพงเพชร และได้รับรางวัลศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำ�ริ ระดับอำ�เภอดีเด่นและระดับจังหวัดประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
ลุงเฉลิม เล่าว่า เริ่มต้นทำ�เทคนิคปักชำ�ควบแน่นตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งปัจจุบันพบว่าพืชกว่า
80 ชนิดสามารถปักชำ�โดยวิธีดังกล่าวได้สำ�เร็จ และเมื่อนำ�ยอดปักชำ�ลงแปลงปลูก สามารถ
เติบโตได้ดีไม่แพ้การขยายพันธุแ์ บบทาบกิง่ โดยเฉพาะมะนาวจะให้ผลผลิตได้ภายใน 2 ปี โดย
วิธีนี้เป็นการนำ�ส่วนยอดของพืชมาขยายพันธุ์ ซึ่งยอดที่เหมาะสมนั้นควรมีความแก่อ่อนตั้งแต่
40-60 เปอร์เซ็นต์ และดินที่ใช้นั้นควรเป็นดินร่วนซุยที่ไม่มีธาตุอาหาร สามารถทำ�ได้ 3 วิธี
คือ 1. ดินที่ได้จากนำ�อิฐแดงไปแช่นำ�แล้วทุบให้ละเอียด 2.ดินโคนกอไผ่ 3. ดินท้องทุ่งโดยขุด
ผิวหน้าดินออกลึกลงไปประมาณ 18 เซนติเมตร เหตุที่ไม่ใช้ดนิ ทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ดว้ ยธาตุอาหาร
นั้นเพราะว่า เมื่อเรานำ�ยอดมาปักชำ�จะไม่เกิดหมอกจับที่ถุงพลาสติก แต่จะเกิดละอองนำ�จับ
ที่ใบซึ่งมีผลให้เกิดเชื้อราและเน่าตายในที่สุด

38 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“เมื่อเราได้ดินที่ไม่มีธาตุอาหารมาแล้ว ให้ลองกำ�ดิน
เป็นก้อน ๆ ดู หากดินจับตัวกันเป็นก้อน แสดงว่าดินนั้น
สามารถนำ�มาปักชำ�ได้เลยไม่ต้องผสมนำ� เมื่อได้ดินที่เหมาะ
สมสำ�หรับการปักชำ�แล้ว ขัน้ ต่อไปคือ เตรียมแก้วพลาสติกใส
ขนาดบรรจุ 10 ออน ถุงพลาสติกใส (ถุงแกงร้อน) ขนาด 6x10
หรือ 6x11 และยางวงเล็ก โดยวิธกี ารชำ�เริม่ ตัง้ แต่การนำ�แก้วพลาสติกใสมาประเมินด้วยสายตา
โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน เพื่อจะแบ่งการตักดินลงแก้ว 3 ครั้ง โดยแบ่งเป็นครั้งละส่วน ในการตัก
ดินลงแก้วแต่ละครั้งควรกดดินให้แน่น และในครั้งที่ 3 หลังจากกดดินแน่นแล้ว ดินที่ได้จะอยู่
เสมอปากแก้วพอดี ภายหลังจากได้ดนิ ทีพ่ ร้อม
สำ�หรับการปักชำ�แล้ว ให้นำ�วัสดุนำ�ทางเช่น
ไม้,เหล็ก หรือ กรรไกร เสียบลงไปในดิน
บริเวณกลางแก้ว ลึกลงไปประมาณ 3 ส่วน 4
ของแก้ว เมื่อดึงวัสดุนำ�ทางออกให้เสียบยอด
ของพืชลงไปแทนที่และกดดินรอบ ๆ ยอดให้
แน่น เมือ่ เรียบร้อยแล้วให้น�ำ ถุงพลาสติกใสมา
ครอบและใช้ยางวงรัด แล้วจึงเขียนวันเดือนปี
ทีท่ �ำ ลงข้างแก้ว เพือ่ จะทำ�ให้เราทราบข้อมูลว่า
พืชแต่ละชนิดทีเ่ ราปักชำ�นัน้ ใช้เวลาเท่าไหร่ เรา
จะได้วางแผนเรือ่ งการผลิตเพือ่ การจำ�หน่ายได้”

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 39
พืชทีป่ กั ชำ�ควบแน่นเรียบร้อยแล้ว ควรนำ�
ไปวางไว้ในที่ร่มรำ�ไร หลังจากนั้น ประมาณ
15-20 วันให้ตรวจดูราก เมื่อพบว่ารากงอก
แล้วให้ปล่อยไว้อกี จนกระทัง่ รากเป็นสีน�ำ้ ตาล
แล้วจึงทำ�การกลับถุง ซึ่งวิธีการกลับถุงให้ทำ�
ในช่วง 18.00 น. โดยให้เอาถุงพลาสติกออก
จากนั้นหงายถุงขึ้นแล้วนำ�แก้วใส่ลงไปในถุง
พลาสติกอีกครั้ง แต่คราวนี้ไม่ต้องใช้ยางวง
มัดปากถุง ทิ้งไว้ในร่มรำ�ไรอีกประมาณ 5-7
วันจากนั้นจึงนำ�แก้วออกจากถุงพลาสติกและ
ไว้ในที่ร่มอีกประมาณ 7-10 วัน ค่อยนำ�ไป
ปลูกลงกระถางหรือปลูกลงแปลง

“การขยายพันธุพ์ ชื โดยวิธนี เี้ ป็นการขยายพันธุพ์ ชื แบบต้นทุนต�


ำ และสามารถเพิม่ ปริมาณ
พืชได้ทีละมาก ๆ นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ช่วยรักษาพันธุ์ในกรณีที่เกิดนำ�ท่วมฉับพลัน หรือไฟ
ไหม้ เราสามารถตัดกิ่ง ตัดยอดของต้นพันธุ์ไว้ แล้วนำ�มาขยายพันธุ์ เราก็ไม่ต้องสูญเสียต้น
พันธุ์ดี ๆ ไป”

สนใจการทำ�เกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำ�ริ หรือสนใจ
เทคนิคการขยายพันธุ์พืชแบบวิธีควบแน่น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำ�ริ บ้านวัดใหม่ 75 หมู่ 3 ต.บึงสามัคคี อ.บึงสามัคคี
จ.กำ�แพงเพชร เบอร์โทรศัพท์ 08-9567-0591

40 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
มิตรชัย ยุทธรักษ์
ต้นแบบเกษตรกรตัวอย่าง ด้วยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา
ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ได้พระราชทาน
เพื่ อ ชี้ แ นะแนวทางในการดำ � เนิ น ชี วิ ต และ
ปฏิบตั ติ นให้กบั ประชาชนชาวไทยทุกหมูเ่ หล่า
ทุกระดับ ทุกสาขาอาชีพให้สามารถนำ�มาใช้
เป็นหลักในการดำ�เนินชีวติ เป็นแนวปฏิบตั ติ น
ไม่ว่าจะอยู่ในกิจกรรมหรืออาชีพใด หากรู้จัก
กินอยู่อย่างพอดี ไม่ฟุ่มเฟือยไร้ประโยชน์
ใช้สติปัญญาในการดำ�รงชีวิต ย่อมจะสร้าง
ความสุ ข ที่ ยั่ ง ยื น ให้ กั บ ตนเอง ครอบครั ว
ชุมชนและประเทศชาติได้อย่างแท้จริง

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 41
ในสายอาชีพเกษตรกรรม มีเกษตรกรหลายรายที่ประสบความสำ�เร็จในชีวิตด้วยการ
น้อมนำ�เอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำ�งานและการดำ�เนินชีวติ
นายมิตรชัย ยุทธรักษ์ เกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ เป็นเกษตรกรอีกหนึง่ รายทีป่ ระสบความสำ�เร็จในการทำ�การ
เกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั
ได้รบั รางวัลการันตีความสำ�เร็จเป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพไร่นาสวนผสมภาคเหนือ ประจำ�
ปี 2555
มิตรชัย เล่าว่า เดิมมีอาชีพขับรถไถ ตระเวนไปรับจ้างไถนา ไร่ และสวนต่างๆทั่วพื้นที่
ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ต้องจากบ้านพักค้างคืนในต่างพืน้ ที่ ไม่คอ่ ยได้อยูพ่ ร้อมหน้าพร้อมตา
กับครอบครัวเหมือนคนอื่นๆ ยิ่งรับงานมากยิ่งต้องห่างไกลจากครอบครัวยิ่งขึ้น หาเงินได้แต่
ไม่มคี วามสุขในชีวติ จนกระทัง่ วันหนึง่ หลังจากทีร่ บั จ้างขับไถได้พกั ผ่อน เปิดวิทยุฟงั เพลงและ
มีช่วงหนึ่งที่ผู้ดำ�เนินรายการได้นำ�เสนอพระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่
ทรงมีพระราชดำ�ริถงึ “การกินอยูแ่ บบไทย กินอยูแ่ บบเศรษฐกิจพอเพียง โดยการทำ�ไร่นาสวน

42 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ผสม ปลูกพืชและเลีย้ งสัตว์แบบเกือ้ กูลกัน เพือ่ บริโภคในครัวเรือน มีเหลือจำ�หน่ายเป็นรายได้
ไม่ยากจน” ทำ�ให้เกิดความสนใจและยากจะทำ�ตามพระราชดำ�ริของพระองค์ท่านจึงเป็นจุด
เปลี่ยนจากอาชีพรับจ้างขับรถไถสู่ไร่นาสวนผสม เมื่อปี 2544
เมื่อสนใจจะทำ�ไร่นาสวนผสม จึงได้ศึกษาหาความรู้ โดยปรึกษาหน่วยงานต่างๆที่
เกี่ยวข้อง และได้ตัดสินใจขายรถไถ จำ�นวน 2 คัน นำ�เงินมาลงทุนขุดสระนำ� ปรับพื้นที่และ
จัดซือ้ พันธุพ์ ชื พันธุส์ ตั ว์ เพือ่ ทำ�นา เพาะปลูกพืชและเลีย้ งสัตว์ ในพืน้ ทีข่ องตนเองที่ อ.หล่มเก่า
โดยมีการวางแผนบริหารจัดการให้แต่ละกิจกรรมที่ทำ�นั้น เกื้อกูลกัน วางแผนการผลิตทั้งพืช
และสัตว์ให้เกิดประโยชน์สงู สุด เพือ่ พอกิน พอใช้ ถ้าเหลือก็ขายเพือ่ มีรายได้อย่างต่อเนือ่ ง ทัง้
รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนและรายปี
ปัจจุบนั ในพืน้ ที่ 30กว่าไร่ของมิตรชัย ได้มกี าร
บริ ห ารจั ด การกิ จ กรรมต่ า งๆจนเกิ ด รายได้
อย่างต่อเนื่องและไม่มีหนี้สิน โดยแบ่งเป็น
พื้นที่ปลูกไผ่เลี้ยงจำ�นวน 9 ไร่ ปลูกไม้ผล เช่น
ชมพู่ มะยงชิด จำ�นวน 2 ไร่ พืชผักสวนครัว
จำ�นวน 1 ไร่ พื้นที่ปลูกตะไคร้ 500 กอ จำ�นวน
2 ไร่ ปลูกหอมแดง 2.3 ไร่ พื้นที่นาข้าว 17 ไร่
บ่อเลี้ยงปลา 4 บ่อ ในพื้นที่ 6 ไร่ โรงเรือน

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 43
เลี้ยงพันธุ์ไข่ 2 โรงเรือน มีไก่ 3,000 ตัว เมื่อมีรายได้จะเก็บเป็นเงินออม 2,000 บาททุกวัน
โดยตัง้ เป้าว่าภายใน 18 เดือนต้องได้เงิน 1 ล้านบาทจากผลผลิตในไร่นาสวนผสม แต่ถงึ อย่างไร
ก็ตามสิง่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ มากกว่าเงินแสนเงินล้านก็คอื ความสุขกับครอบครัวที่ได้อยูด่ ว้ ยกันอย่าง
พร้อมหน้าพร้อมตา ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
นายมิตรชัย ยุทธรักษ์ นับเป็นเกษตรกร
ตัวอย่างที่ได้น้อมนำ�แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงมาใช้ในการประกอบอาชีพและการ
ดำ�เนินชีวติ จนประสบความสำ�เร็จ มีการบริหาร
จัดการและวางแผนการผลิตทีด่ ี รวมถึงอุทศิ ตน
เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับ
คนชุ ม ชนและชุ ม ชนใกล้ เ คี ย ง ทั้ ง ยั ง นำ � เอา
เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้กับ
ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

สนใจศึกษาดูงาน ติดต่อได้ที่
คุณมิตรชัย ยุทธรักษ์
142 หมู่ที่ 4 ตำ�บลนาแซง อำ�เภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
โทร.08-4050-6028 ,08-1394-3977

44 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารต้นไม้แห่งเมืองกาญจน์
สร้างรายได้ที่ยั่งยืน คืนความสุขให้ชุมชน
พื้นที่ป่าชุมชนกว่าหมื่นไร่ ในหมู่บ้านยางโทน ต.ศรีมงคล อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
ถือเป็นต้นแบบในการสร้างธนาคารต้นไม้และฝายชะลอน้ำ�ในชุมชน จากแนวคิดของ “เต้นยิว้
วชิรพันธ์วชิ าญ” ผูใ้ หญ่บา้ นทีต่ ระหนักถึงปัญหาสภาวะโลกร้อนและปัญหาการตัดไม้ท�ำ ลายป่า
ในพื้นที่ จึงได้เกิดแนวคิดที่จะให้คนในชุมชนตระหนักและเกิดความหวงแหนต่อทรัพยากร
ที่มีอยู่ในชุมชน

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 45
จากการเข้ า หารื อ รั บ เจ้ า หน้ า ที่ ข อง
ธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) สาขาไทรโยค จ.กาญจนบุรี จึงได้
แนวความคิดในการก่อตัง้ ธนาคารต้นไม้ทที่ กุ
คนในชุมชนมีส่วนร่วม จากแรกเริ่มเดิมทีที่
ชาวบ้านกว่า 900 คนยังสงสัยว่าแนวคิดนี้จะ
เป็นจริงได้หรือไม่ จนเวลาผ่านไปนับ 10 ปี
ผู้ใหญ่บ้านคนนี้สามารถพิสูจน์
ให้เห็นแล้วว่าธนาคารต้นไม้
สามารถทำ �ได้ จ ริ ง และเกิ ด
ประโยชน์ต่อชุมชนขึ้นอย่าง
มหาศาล

46 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
นอกจากการเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อน ช่วยให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลแล้ว
ธนาคารต้นไม้แห่งนี้ยังเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับชาวหมู่บ้านยางโทนและผู้คนในชุมชนใกล้
เคียง โดยตัวเลขคร่าวๆ ทีผ่ ใู้ หญ่เต้นยิว้ ได้เก็บรวบรวมจากการเข้าเก็บหาของป่าของชาวบ้าน
ไม่ว่าจะเป็น หน่อไม้ เห็ดโคน และของป่าอื่นๆ เท่าที่จะหาได้นั้น เพียงแค่ปี 2556 ปีเดียว
สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนสูงถึง 4 ล้านบาทเลยทีเดียว
ขณะเดียวกันพืน้ ทีธ่ นาคารต้นไม้ทอี่ ยู่ในพืน้ ทีส่ ว่ นตัวของคนในชุมชนนัน้ ก็สามารถใช้เป็น
หลักทรัพย์ค�ำ ประกันในการกูเ้ งินจาก ธ.ก.ส.ได้โดยเอาต้นไม้ทมี่ อี ยู่ในพืน้ ทีข่ องตนเองเป็นหลัก
ทรัพย์คำ�ประกันได้เลย โดยไม่ต้องเอาโฉนดหรือเอกสารสิทธิ์ที่ถือครองเข้าไปเป็นหลักทรัพย์
คำ�ประกันในการกู้เงิน ถ้าไม่มีเงินชำ�ระหนี้ก็สามารถตัดต้นไม้ไปขายชำ�ระหนี้คืนและปลูกขึ้น
มาทดแทนได้ตลอดเวลา

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 47
“ป่าต้นนำ�เป็นเหมือนแหล่งอาหารให้กับชุมชน ต้นไม้รวก เจ้าหน้าที่เขาก็อนุโลมให้เรา
ตัดเราใช้ได้บ้าง เห็ดโคนก็เยอะ ทุกวันนี้ ถ้าพวกเราช่วยกันดูแล ไม่ตัดไม่ทำ�ลาย ป่าก็จะอยู่
คูบ่ า้ นคูเ่ มือง เลยมีความคิดว่าพวกเราต้องหวงแหนป่าแห่งนี้ไว้ให้กบั ชุมชนเรา ความตัง้ ใจจริง
ในการอนุรักษ์ ส่งผลให้ป่าฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากฝนที่กลับมาตกตามฤดูกาลและมี
ปริมาณมากขึน้ การทำ�ไร่เป็นแบบเกษตรผสมผสาน มีการทำ�ฝายชะลอน�ำ เพือ่ เก็บกักตะกอน
และเพิม่ ความชุม่ ชืน้ ให้แก่ผนื ดิน ทำ�ให้ตน้ ไม้เจริญเติบโตได้เร็ว สัตว์ปา่ เริม่ กลับมาให้เห็นมาก
ขึน้ ป่ากลายเป็นแหล่งอาหารและรายได้ของชุมชน และมีการสอนลูกสอนหลานให้เข้าใจคุณค่า
ของทรัพยากรในท้องถิ่น”

หากชุมชนอื่นๆ เห็นความสำ�คัญและตระหนักถึงความสำ�คัญ
ของการมีป่าชุมชนติดต่อสอบถามและดูงานได้ที่
ผู้ใหญ่บ้านเต้นยิ้ว วชิรพันธุ์วิชาญ
73 หมู่ 3 ต.ศรีมงคล อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
โทร 089-551-7721

48 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
นาคร ว่องวัฒนาการ
กับเส้นทางอาชีพสายกล้วยไม้
การทำ�สวนกล้วยไม้ แม้จะเป็นอาชีพที่
ใช้เงินลงทุนเริ่มแรกค่อนข้างสูง แต่ก็ให้ผล
ตอบแทนที่คุ้มค่าหากบริหารจัดการผลผลิต
และวางแผนรายรับรายจ่ายได้เหมาะสม
“นาคร ว่องวัฒนาการ” เกษตรกรลูกค้า
ธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเกษตรกร
ชาวสวนกล้วยไม้ที่ประสบความสำ�เร็จ ตั้งใจ
พั ฒ นาอาชี พ จนได้ รั บ พระราชทานรางวั ล
เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาอาชีพทำ�สวน

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 49
ประจำ � ปี 2551 และดำ � รงตำ � แหน่ ง นายก
สมาคมชาวสวนกล้วยไม้ไทย
คุณนาคร เล่าให้ฟังว่า ครอบครัวมี
อาชีพเกษตรกรรม โดยสมัยก่อนพ่อแม่ทำ�
สวนผัก แต่การทำ�สวนผักนั้นมีความผันผวน
สูงในเรื่องราคา และมีปัญหาเรื่องโรคและ
แมลงรบกวนจำ�นวนมาก จึงเลิกจากการปลูก
ผักกินใบ หันมาทำ�เกษตรผลิตกระเจีย๊ บเขียว
ส่งโรงงาน เพราะมีการประกันราคาและมี
ตลาดรับซื้อที่แน่นอน แต่พอดินเริ่มเสื่อมสภาพ กระเจี๊ยบให้ผลผลิตน้อย จึงมองหาพืชทาง
เลือกตัวอื่น และได้เลือกลงทุนปลูกกล้วยไม้หวายตัดดอก เพราะลงทุนครั้งเดียวแต่สามารถ
เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนานถึง 4 ปี
ในช่วงแรกที่ลงทุนทำ�สวนกล้วยไม้ ต้องใช้เงินทุนหลักล้านในการสร้างโรงเรือนขนาด
พื้นที่ประมาณ 3 ไร่เศษ แต่ลงทุนสูงในช่วงเริ่มต้น หากดูแลเอาใจใส่ จนกล้วยไม้เติบโตและ
สามารถตัดดอกได้แล้ว กล้วยไม้จะให้ผลผลิตตัดดอกขายได้ทุกวัน และให้ผลผลิตยาวนาน
ประมาณ 3-4 ปี ถึงจะรื้อและปลูกใหม่อีกครั้ง ซึ่งเทคนิคในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้หวายตัด
ดอกนั้นคุณนาคร อธิบายให้ฟังว่า

50 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
กล้วยไม้หวายตัดดอกค่อนข้างชอบความชื้น
การสร้างโรงเรือนนั้นจะต้องใช้สแลนพรางแสง
ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ พืน้ ทีท่ ปี่ ลูกเลีย้ งกล้วยไม้
หวายตั ด ดอกได้ ดี คื อ บริ เ วณกรุ ง เทพฯและ
ปริมณฑล ได้แก่ นครปฐม, ปทุมธานี, นนทบุรี
เป็นต้น เพราะสภาพอากาศเอือ้ อำ�นวยต่อการผลิต
ส่วนการขยายพันธุ์นั้น ใช้วิธีการขยายพันธุ์ด้วย
การผ่าลำ�แก่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ลงทุนน้อยกว่าการ
เพาะเนื้อเยื่อ โดยนำ�ลำ�แก่ที่ ได้ไปเพาะชำ�ในโรง
เรือนประมาณ 15-20 วัน กล้วยไม้จะเริม่ แตกหน่อ
ใหม่ เมื่อลำ�ลูกกล้วยไม้เติบโตประมาณ 10-15 เซนติเมตร จะย้ายจากเรือนเพาะชำ�โดยแยก
หน่อที่ได้มาปลูกลงในกะบะทีท่ �ำ จากกาบมะพร้าวอัด กล้วยไม้ 1 ไร่จะใช้หน่อกล้วยไม้ประมาณ
20,000 ต้น
“หลังจากกล้วยไม้มีอายุได้ 1 ปีก็สามารถเริ่มตัดดอกจำ�หน่ายได้ ซึ่งการปลูกนั้นเรา
สามารถกำ�หนดได้วา่ เราต้องการตัดดอกในช่วงไหน เช่นถ้าปลูกเดือนมีนาคมปีนี้ เดือนมีนาคม
ปีหน้าก็จะสามารถตัดดอกจำ�หน่ายได้ และเป็นช่วงทีก่ ล้วยไม้ขายได้ราคาดี เพราะฤดูรอ้ นดอก
จะออกน้อย การดูแลในช่วงตัดดอกนี้ให้รดนำ�วันละ 5 นาที และให้ปุ๋ยสูตรเสมอสลับกับปุ๋ย
สูตรตัวกลางและตัวหลังสูง เพื่อช่วย
ให้กล้วยไม้แตกตาดอก นอกจากนี้จะ
ต้องฉีดยาเพือ่ ป้องกันแมลงและเชือ้ รา
ทุก ๆ 7 วัน”
ปัจจุบนั คุณนาครมีพนื้ ทีก่ ารปลูก
เลี้ยงกล้วยไม้หวายตัดดอกทั้งหมด 2
แปลง รวมเนื้อที่ 37 ไร่ สามารถเก็บ
ผลผลิตได้ประมาณ 20,000-30,000
ช่อ/วัน โดยผลผลิตทั้งหมดมีบริษัทผู้

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 51
ส่งออกมารับซื้อถึงสวนและนำ�ส่งออกไปจำ�หน่ายยังประเทศต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่น, สหรัฐ, อิตาลี,
อินเดีย, ไต้หวัน, เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ส่วนสายพันธุ์กล้วยไม้หวายที่คุณนาครผลิตนั้นคือ
สายพันธุ์ “บอมโจแดง” ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ครองอันดับหนึ่งในการผลิตหวายเพื่อการส่งออก
“ราคากล้วยไม้หวายตัดดอก จะค่อนข้างมีความผันผวนสูงขึ้น ซึ่งราคาเริ่มตั้งแต่ช่อละ
0.30 - 5 บาท ฉะนัน้ หากเกษตรกรสนใจทีจ่ ะปลูกกล้วยไม้จะต้องวางแผนในเรือ่ งของการปลูก
ให้ดี ซึ่งนอกจากทุนเริ่มต้นจะสูงกว่าการปลูกพืชทั่วไปแล้ว ในแต่ละเดือนต้องมีทุนหมุนเวียน
เพื่อเป็นค่าจ้าง ค่าปุ๋ยและยา โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 20,000 บาท/ไร่ จึงต้องสร้างราย
ได้ให้ได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน หากได้ต่ำ�กว่านี้ก็จะขาดทุน” คุณนาคร กล่าว

สนใจสอบถามข้อมูลเกีย่ วกับการผลิตกล้วยไม้หวายตัดดอก
เพือ่ การส่งออก
ติดต่อได้ท่ี คุณนาคร ว่องวัฒนาการ
บ้านเลขที่ 51/5 ม.1 ต.หลักชัย อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
โทรศัพท์ 081 514 6503

52 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“สะอาด ปานพิมพ์” ผู้ปลูกส้มโอขาวแตงกวา
งดใช้สารเคมีหันเข้าหาวิถีธรรมชาติ

สะอาด ปานพิมพ์ เกษตรกรทำ�สวนส้มโอปลอดสารพิษที่ประสบความสำ�เร็จในอาชีพ


ซึ่งเป็นเกษตรกรอีกผู้หนึ่งที่ยึดอาชีพการทำ�สวนส้มโอมาเป็นเวลานาน เล่าถึงการปลูกส้มโอ
ปลอดสารเคมีให้ฟังว่า ก่อนที่จะมายึดอาชีพการปลูกส้มโออย่างจริงจังนั้น ตนก็ปลูกไม้ผลมา
หลากหลายชนิด ในรูปแบบผสมผสานมาเป็นเวลานาน โดยก่อนหน้านี้นั้นเน้นทำ�สวน มะม่วง
เป็นหลัก ตามมาด้วยฝรั่ง ลำ�ไย ละมุด มะปราง มะละกอ ข้าวไร่ และส้มโอ เป็นต้น แต่ด้วย
ในขณะนัน้ มะม่วงราคาตกต�ำ ไม่คมุ้ ค่ากับการลงทุน ประกอบกับตนเองทำ�เกษตรทีเ่ น้นการใช้
สารเคมีด้วยจึงทำ�ให้มีต้นทุนการผลิตสูง จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงได้ปรับเปลี่ยนสวนมาเน้น
ปลูกส้มโอขาวแตงกวาแทน ในปี 2540

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 53
54 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“สาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำ�เกษตรมาสู่การทำ�เกษตรแบบ
ปลอดสารพิษ เนื่องมาจากตนได้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครหมอดินประจำ�ตำ�บล ทำ�ให้ได้เรียนรู้
การทำ�ปัจจัยทางการเกษตรโดยใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ฉะนั้นจึงหัน มาทำ�ปุ๋ยนำ�ชีวภาพ
ฮอร์โมนบำ�รุงพืชต่างๆ ใช้เอง โดยไม่ใช้สารเคมีเลยหากไม่มคี วามจำ�เป็นจริงๆ ส่งผลให้ตน้ ทุน
การผลิตลดลง ในขณะที่ผลผลิตที่ได้ก็ไม่ได้แตกต่างจากการใช้สารเคมีเลย”
ซึง่ ปัจจุบนั บนพืน้ ที่ 14 ไร่ แบ่งปลูกส้มโอเป็นจำ�นวน 10 ไร่ ซึง่ ใน 1 ปี ส้มโอจะให้ผลผลิต
2 ครั้ง หรือประมาณ 6 เดือน สามารถเก็บผลผลิตได้ 1 ครั้ง และผลผลิตที่ได้แต่ละครั้งไม่
ต่ำ�กว่า 5 ตัน/รุ่น ใน 1 รุ่นจะใช้เวลาตัดประมาณ 3 ครั้ง ส่วนพื้นที่ที่เหลือเป็นที่อยู่อาศัย และ
สวนผสมผสานมีพชื ดังทีก่ ล่าวมาข้างต้น จึงทำ�ให้นอกจากมีรายได้หลักจากส้มโอแล้ว ยังมีราย
ได้เสริมจากพืชผลต่างๆ ในสวนตลอดทั้งปีด้วย โดยในส่วนของการปลูกส้มโอที่ประสบความ
สำ�เร็จในอาชีพนีน้ นั้ ส่วนสำ�คัญคงมาจากการปรับเปลีย่ นรูปแบบการทำ�เกษตรจากการใช้สาร
เคมี มาสู่วิถีธรรมชาติด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตธรรมชาติ จนทำ�ให้ได้การรับรองจากแปลง
ปลูกจากกรมวิชาการเกษตร GAP มาเป็นระยะเวลาหนึ่งจวบจนถึงปัจจุบัน

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 55
หลังจากที่เปลี่ยนมาใช้ปัจจัยทางการเกษตรที่ผลิตมาจากธรรมชาติ ก็ทำ�ตลาดด้วยการ
ส่งพ่อค้าคนกลางทีเ่ ขารับซือ้ ผลผลิตไปส่งออกเป็นส่วนใหญ่ และมีพอ่ ค้าแม่คา้ มาซือ้ ทีส่ วนบ้าง
ส่วนหนึง่ แต่ปจั จุบนั เนือ่ งจากส้มโอปลอดสารเคมีเป็นทีต่ อ้ งการของตลาดจึงเน้นทำ�ตลาดแบบ
เสรี ไม่ผูกขาดกับพ่อค้า ใครอยากได้ผลผลิตสามารถมาซื้อที่สวนได้ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันก็
บอกได้ว่าผลผลิตที่มียังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดในขณะนี้
จากความสำ�เร็จในการปลูกส้มโอนี้ นอกจากการลด ละการใช้สารเคมี ทำ�ให้พึ่งตนเอง
ได้แล้ว ส่วนหนึ่งยังได้รับการส่งเสริมให้ความรู้จาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทีพ่ าไปดูงานพร้อมกับให้สนิ เชือ่ ในช่วงแรกทีเ่ ริม่ ทำ�สวนส้มโออย่างจริงจัง
ส่งผลให้ประสบความสำ�เร็จเช่นทุกวันนี้

สามารถเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรท่านอื่นๆ ได้ เกษตรกร


ท่านใดสนในดูงานติดต่อได้ที่
คุณสะอาด ปานพิมพ์
51 ม.10 ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
โทร 08-4951-2254

56 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“อ้น” สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่
อาชีพเสริมทางเลือกเพิ่มรายได้
ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีประชากรส่วนใหญ่
ประกอบอาชีพทำ�นา ไร่อ้อย มันสำ�ปะหลัง
และปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ แต่ครัวเรือนของ
ผู้ใหญ่ณรงค์ จูมโสดา ผู้ใหญ่บ้านห้วยหนาม
ตะเข้ ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทยั ธานีแห่งนี้ ที่
นอกจากจะประกอบอาชีพหลักคือทำ�ไร่ออ้ ยที่
สามารถสร้างรายได้ให้กบั ครอบครัวปีละกว่า
560,000 บาทแล้ว ผู้ใหญ่บ้านคนนี้ ที่โดย
ปกติชอบเข้าหาอาหารป่าตามวิถชี วี ติ ทัว่ ไปอยู่
แล้วและได้ไปพบ”ตัวอ้น” ซึ่งเป็นสัตว์ตระกูล

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 57
เดียวกับตัวตุ่น และใกล้จะสูญพันธ์จึงนำ�มา
เลี้ยงไว้เพื่ออนุรักษ์ แต่ด้วยความน่ารักของ
เจ้าสัตว์ชนิดนี้จึงทำ�ให้ผู้พบเห็นต้องการเป็น
เจ้าของจนกลายเป็นอาชีพเสริมขึ้น
ผู้ใหญ่ณรงค์บอกว่าเขาและลูกบ้านได้เริ่ม
เลี้ยงอ้นมาเป็นเวลาเกือบ 5 ปีแล้ว เริ่มแรก
นั้นเขาและลูกบ้านอีก 7 ราย ได้เริ่มทดลอง
เลี้ยงก่อน ซึ่งก็พบว่าอ้นนั้นค่อนข้างเลี้ยงง่าย

58 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ปั จ จุ บั น มี ค รอบครั ว ที่ เ ลี้ ย งอ้ น ทั้ ง หมด
13 ครอบครัว มีอ้นรวมกันกว่า 100 ตัว
โดยส่วนตัวนั้นมีอ้นในขณะนี้อยู่ทั้งหมด
55 ตัว เป็นแม่พนั ธุจ์ �ำ นวน 10 ตัว พ่อพันธุ์
จำ�นวน 5 ตัว ส่วนทีเ่ หลือเป็นของสมาชิก
ที่เป็นลูกบ้าน ซึ่งสามารถขายได้ปีละ
กว่า 60,000 บาท
สำ � หรั บ ราคาขายตั ว อ้ น นั้ น แบ่ ง เป็ น
3 ช่วงอายุด้วยกัน คือ ตัวเล็กนำ�หนัก 400 กรัมราคาคู่ละ 3,000 บาท นำ�หนัก600 กรัม
ไม่เกิน 1 กิโลกรัมคู่ละ 5,000 บาท และตั้งแต่ 1 กิโลกรัมขึ้นไปคู่ละ 10,000 บาท ซึ่งถือว่า
ปัจจุบันผลตอบรับการซื้อตัวอ้นดีมาก ในทางกลับกับต้นทุนในการเลี้ยงแทบไม่มีเลยเพราะ
อาหารที่กินมาจากธุรกิจหลักที่ทำ�และพืชที่ปลูกหลังบ้านทั้งสิ้น เช่น อ้อย ข้าวโพดและไผ่
มีเพียงต้นทุนจากท่อปูนซีเมนต์ที่ใช้เป็นที่เลี้ยงในครั้งแรก 2,000 บาทเท่านั้น

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 59
“ปัจจุบันตลาดให้การตอบรับดีมากจากทั่วประเทศ เพราะปริมาณของอ้นในขณะนี้ยังมี
การเลีย้ งน้อยอยู่ และก็ถอื ว่าอ้นเป็นสัตว์เศรษฐกิจของหมูบ่ า้ นทีส่ �ำ คัญ และได้รบั การส่งเสริม
จากสำ�นักงานเกษตรอำ�เภอบ้านไร่ ให้มีการเลี้ยงอ้นอยู่ ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของ
หมู่บ้าน พร้อมกับเปิดให้มีการศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง”

จากความน่ารักไม่แพ้สตั ว์เลีย้ งชนิดอืน่ ๆ ทำ�ให้อน้ กลายเป็นสัตว์


เลีย้ งเศรษฐกิจอีกชนิดทีน่ า่ สนใจ ผูอ้ า่ นท่านใดทีส่ นใจสัตว์ชนิดนี้ หรือ
ต้องการศึกษาดูงาน สามารถติดต่อสอบถามเพิม่ เติมไปได้ท่ี
ผูใ้ หญ่ณรงค์ จูมโสดา อำ�เภอบ้านไร่ จังหวัดอุทยั ธานี
เบอร์โทร.08-5604-0080

60 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“บุญส่ง วงษ์กำ�ภู” กับเกษตรแนวใหม่
เลี้ยงปลาเบญจพรรณคู่กุ้งขาว สร้างรายได้ตลอดปี
เกษตรกรคนเก่งในวันนีจ้ ะพาไปรูจ้ กั กับ
บุญส่ง วงษ์ กำ � ภู เจ้ าของบ่ อ เลี้ ย งปลาใน
ต.บางปลาร้ า อ.บ้ า นสร้ า ง จ.ปราจี น บุ รี
เขาเล่าว่า เดิมทีประกอบอาชีพทำ�นามาก่อน
แต่ทำ�มาได้ 2-3 ปี ก็หันมาทดลองเลี้ยงไก่ไข่
ในช่วงแรกประมาณ 10 ตัว และขยายเพิ่ม
เป็น 5,000 ตัว โดยใช้ระเวลาเลีย้ งไก่ไข่อยู่
ประมาณ 7 - 8 ปี ต่อมาได้เลิกอาชีพเลี้ยง
ไก่ไข่หนั มายึดอาชีพเลีย้ งปลาในพืน้ ที่ 25 ไร่
แทน เนื่องจากในช่วงที่เลี้ยงไก่ไข่ได้เป็นยุว
เกษตรกรระดับจังหวัดและไปแข่งขันระดับภาค
จึงได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น
แล้วนำ�ความรูท้ ี่ได้มาปรับใช้ในเรือ่ งการเลีย้ ง

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 61
โดยได้รบั การสนับสนุนด้านเงินกูแ้ ละเทคนิคความรูใ้ นการเลีย้ งปลาจากธนาคารเพือ่ การเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ปัจ จุ บั น เขาได้ ข ยายพื้น ที่บ่อ เลี้ยงปลาเบญจพรรณเป็ น 3,150 ไร่ โดยเลี้ ย งปลา
เบญจพรรณหลากหลายชนิด ได้แก่ ปลานิล ปลายีส่ ก ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลานวลจันทร์
และปลาไน รวมทั้งยังมีการเลี้ยงกุ้งขาวปนเพื่อให้กุ้งกินเศษอาหารในบ่อด้วย โดยมีการลด
ต้นทุนอาหารปลา โดยใช้มลู ไก่สดมาเป็นอาหารเลีย้ งปลาในช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ขนึ้ อยูก่ บั ความ
เหมาะสม หรือให้สงั เกตน�ำ ในบ่อเลีย้ งหากมีสเี ขียวเข้มก็ให้หยุดเพราะจะมีจ�ำ นวนแพลงก์ตอน
ที่เป็นอาหารของปลาเยอะแล้ว ก็ให้หยุดการให้มูลไก่ ทั้งนี้ระยะเวลาในการเลี้ยงปลาจะใช้
เวลาประมาณ 1 ปี ก็สามารถจับขายได้
สำ�หรับ เทคนิคการเลี้ยงปลาเบญจพรรณให้ประสบความสำ�เร็จ นอกจากจะลดต้นทุน
อาหารปลา โดยใช้มูลไก่เป็นอาหารให้ปลาแล้ว จะต้องเลี้ยงปลาหลายๆอย่างที่เอื้ออำ�นวยต่อ
กันในพื้นที่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเพราะปลาแต่ละชนิดจะกินอาหารแตกต่างกันออกไป เช่น
ปลาไน ปลาสวายจะเลือกกินอาหารพื้นที่บริเวณใต้บ่อ ส่วนปลาตะเพียนจะกินอาหารที่ขี้ไก่ที่
ลอยอยู่บนผิวนำ� นอกจากนี้ ยังเพิ่มมูลค่า ให้บ่อปลาได้ ด้วยการปล่อยกุ้งขาวลงไปเลี้ยง
ร่วมกับปลา...

62 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“การเลีย้ งของทีน่ จี่ ะเป็นแบบวนบ่อ เพือ่
ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี โดยจะปล่อยกุ้งลงบ่อ
ก่อนปล่อยปลาประมาณ 1 อาทิตย์ ไร่ละ
15,000 ตัว ใช้เวลาเพียง 3 เดือนก็จับขาย
ได้ แ ล้ ว ซึ่ ง การจั บ กุ้ ง ต่ อ ครั้ ง ก็ จ ะได้ เ งิ น
ประมาณ 20,000 บาท หลังจากนั้นถึงจะ
ปล่ อ ยจำ � นวนลู ก พั น ธุ์ ป ลาลงบ่ อ ประมาณ
7 พั น ตั ว ต่ อไร่ โดยเน้ น หนั กไปที่ ป ลานิ ล
ขณะที่ปลายี่สก นวลจัน ทร์จะปล่อยไร่ละ
300 ตั ว ปลาตะเพี ย นไร่ ล ะประมาณ
1 พันตัว ซึง่ บ่อหนึง่ จับได้ปลี ะครัง้ และในช่วง
ที่ ป ลามี ข นาดเล็ ก อาจปรั บ สภาพนำ � ด้ ว ย

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 63
น�ำ อามิเพือ่ ให้เกิดสภาพน�ำ ทีเ่ หมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนเพือ่ ใช้เลีย้ งปลาเล็ก”
อย่างไรก็ตามการ “เลี้ยงปลาเบญจพรรณ” ใช้เงินลงทุน (ค่าพันธุ์ปลา-ค่าอาหาร) ประมาณ
12,000 บาทต่อไร่ต่อปี โดยพื้นที่บ่อขนาด 1 ไร่ จะจับปลาทั้งหมดได้ประมาณ 1,000 กก.
ซึง่ ราคาซือ้ ขายปลาเฉลีย่ อยูท่ ก่ี ก.ละ 25 บาท จะมีรายได้จากการขายปลาประมาณ 25,000 บาท
เมือ่ หักจากต้นทุนค่าอาหารและพันธุป์ ลาจะมีก�ำ ไรจากการเลีย้ งปลาอยูท่ ป่ี ระมาณ 13,000 บาท
นับว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจ และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวตลอดปี

สนใจติดต่อได้ที่
คุณบุญส่ง วงษ์กำ�ภู
เลขที่ 6 หมู่ 8 ต.บางปลาร้า อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
โทรศัพท์ 08-1940-5284

64 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
จากฟาร์มสุกร... สู่โรงไฟฟ้าชีวมวล
ฟาร์มสุกรส่วนใหญ่มกั จะประสบปัญหากลิน่ อันไม่พงึ ปรารถนาจากมูลสุกรและยังรบกวน
ชุมชนรอบข้างจนเกิดปัญหาความขัดแย้งกันอยู่เสมอ แต่ฟาร์มต้นแบบเกษตรกรคนเก่งของ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่จะแนะนำ�ในวันนี้เป็นฟาร์มสุกร
ของ ปราณี ประสิทธิแสง ที่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
โดยเมือ่ 20 ปี ทีแ่ ล้ว พืน้ ทีเ่ ลีย้ งสุกรของปราณี ถูกประกาศให้เป็นเขตเทศบาล จึงจำ�เป็น
ต้องย้ายฟาร์มสุกรไปยังพื้นที่แห่งใหม่ มีพื้นที่เลี้ยงสุกรเพียง 40 ไร่ ต่อมาได้ขยายพื้นที่การ
เลี้ยงเป็น 80 ไร่ โดยมีแม่พันธุ์สุกร 1,200 ตัว พ่อพันธุ์สุกร 30 ตัว เป็นหมูพันธุ์ดูล็อกกับพันธุ์
ลาดไวล์ เน้นเลี้ยงแม่พันธุ์สุกร เพื่อผลิตสุกรขุนและลูกสุกรป้อนส่งขายตลาดแต่ละวันจะมี
พ่อค้าเขียงสุกรขาประจำ�แวะเวียนเข้ามาซื้อสินค้าถึงหน้าฟาร์มอย่างสม่ำ�เสมอ
การเลี้ยงสุกรต้องใส่ใจเรื่องการบำ�รุงดูแลมากๆ สุกรจากแม่มาได้ 6 เดือน จะขายสุกร
เป็นทั้งตัวในราคาหน้าฟาร์ม ที่กิโลกรัมละ 65 บาท สำ�หรับสุกรเป็นนำ�หนัก 100 ก.ก.

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 65
เมือ่ นำ�ไปชำ�แหละจะได้เนือ้ สุกร ประมาณ 40 กิโลกรัม ทีเ่ หลือจะเป็นน�ำ เป็นเลือด และเครือ่ งใน
ทางฟาร์มไม่สามารถกำ�หนดราคาตายตัวได้ เพราะราคาเนื้อสุกรจะปรับตัวขึ้นลงตามภาวะ
ตลาด ที่ผ่านมาราคา สุกรเป็นหน้าฟาร์มเคยขายได้สูงสุดถึงกิโลกรัมละ 80 บาท หรือตก
ประมาณ 8,000 บาทต่อตัว หลังผ่านการชำ�แหละ นำ�ไปวางขายทีเ่ ขียงสุกรจะมีราคาขายปลีก
อยู่ที่ กิโลกรัมละ 140-150 บาท
สำ�หรับมูลสุกรที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นนั้น ทางฟาร์มได้แก้ปัญหาโดยสร้างบ่อหมักแก๊สจาก
มูลสุกร สามารถนำ�แก๊สมูลสุกรมาใช้ปัน่ กระแสไฟสำ�หรับใช้ในฟาร์มเลีย้ งสุกรได้อย่างสบาย
เพราะที่นี่มีหม้อแปลงจากแก๊สชีวภาพให้เป็นไฟฟ้า รวมทั้งสามารถแบ่งปันกระแสไฟฟ้าดัง
กล่าวให้เพื่อนบ้านได้มีโอกาสใช้ไฟฟรีเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับเพื่อนบ้านได้อีก
ด้วย
ส่วนการนำ�มูลสุกรมาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น ทางฟาร์มจะระบายมูลสุกรผ่านรางนำ�เพื่อ
นำ�ไปกองรวมกันบริเวณด้านหลัง ซึง่ มีบอ่ หมักมูลสุกรขนาดใหญ่ประมาณ 2 เมตร ลึกประมาณ

66 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
8 เมตร จำ�นวน 4 บ่อต่อกัน ภายในบ่อ จะมีแก๊สประมาณ 1,000 คิว ทางฟาร์มจะแยกน้ำ�
ออกจากมูลสุกร เพื่อส่งเข้าบ่อบำ�บัดนำ�เสียออกจากนำ� จะไหลออกด้านนอกบ่อ มาบำ�บัดอีก
ครั้ง นำ�มูลสุกรที่ผ่านขบวนการบำ�บัด สามารถใช้แทนปุ๋ยใส่ในนาข้าวได้ ต้นข้าวก็จะเจริญ
เติ บ โตงามดี ส่ ว นของกากมู ล สุกรสามารถนำ�ไปเลีย้ งปลาสวายได้อกี ต่อหนึง่
นอกจากนี้ ก ากมู ล สุ ก รบาง ส่วนจะขายให้ชาวบ้านในท้องถิ่น ในราคา
กิโลกรัมละ 1.50 บาท โดยนำ� ไปใช้ในลักษณะ ปุ๋ยคอก ในแปลงนาข้าว
ไร่มันสำ�ปะหลัง
ซึ่งก่อนหน้าที่จะ ทำ�ไฟฟ้าจากมูลสุกรนั้น ทางฟาร์มต้อง
จ่ายค่าไฟในราคา แพงมากประมาณ 40,000 บาทต่อ
เดือน หลังจาก สามารถผลิ ต กระแสไฟฟ้ า ได้ เ อง
เท่ากับประหยัด ต้ น ทุ น ค่ า ไฟฟ้ า ได้ แ ล้ ว แถมยั ง
สามารถแบ่ ง ปันกระแสไฟฟ้าของเราไปให้เพื่อน
บ้านใกล้เคียงได้ใช้งานร่วมกัน
อี ก ด้ ว ย เพราะสมั ย นี้ แ ม้
การเลี้ยงสุกรจะสามารถ
กำ�จัดกลิ่นได้แล้ว แต่เรา
ต้องรู้จักมีนำ�ใจให้เพื่อน
บ้าน เพือ่ เป็นการซือ้ ใจกัน
ในระยะยาวต่อไป

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 67
ฟาร์มของปราณี ได้รับการสนับสนุนสิน
เชื่อจาก ธ.ก.ส.อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วง
ที่ มี ปั ญ หาขาดทุ น อย่ า งหนั ก ในปี 2555
ธ.ก.ส.อนุมตั สิ นิ เชือ่ 50 ล้านบาท เพือ่ ใช้เป็น
เงินทุนหมุนเวียน พัฒนาตลาด ขณะนี้ธุรกิจ
เจริญเติบโตดี มีผลกำ�ไรจึงสามารถชำ�ระเงิน
กูค้ นื ได้ปลี ะ 10 ล้านบาท ตัดเงินส่งทัง้ ต้นและ
ดอก พอหมดแล้ ว ก็ ไ ปกู้ ม าใหม่ ทำ � ให้ มี
ทุนหมุนเวียนเรียกว่าพออยู่ได้ ธุรกิจต้องเดิน
หน้าต่อไป หากผูอ้ า่ นท่านใดสนใจธุรกิจฟาร์ม
สุกรแห่งนี้

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่
คุณปราณี ประสิทธิแสง
เลขที่ 33/3 หมู่ 4 ต.ท่าตะคร้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
โทร.089-0912620

68 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
“อำ�พร ควรคิด” หันหลังให้สารเคมี
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เข้าสู่วิถีธรรมชาติ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
อำ � พร ควรคิ ด เกษตรกรคนเก่ ง
จากจังหวัดอุทัยธานี ได้เปลี่ยนแปลงแนวคิด
และวิธีการทำ�การเกษตรจากเคมีหัน มาใช้
อินทรียเ์ ต็ม 100% โดยในระยะแรก เจ้าหน้าที่
จากธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.ได้แนะนำ�การใช้ปุ๋ย
ชีวภาพ การผลิตปุ๋ยนำ�หมักชีภาพ ช่วงแรกๆ
ชาวบ้านแถวนี้ไม่มีใครเชือ่ ว่าทำ�แล้วจะได้ผลดี
แต่ ห ลายคนเริ่ ม เปลี่ ย นวิ ธี คิ ด ใหม่ ทำ � ใหม่
ทดลองปฏิบตั ติ ามไปเรือ่ ยๆ นานข้ามปี จนเห็น
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 69
พวกเขาจดบันทึกต้นทุนทุกอย่างเอาไว้ ทำ�ให้รู้บัญชีต้นทุน ทำ�ให้ดูแลจัดการกิจการได้
อย่างลงตัวมากขึ้น เมื่อก่อนทำ�นาโดยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีจำ�นวนมาก ต้องแบกรับภาระ
ต้นทุนค่าใช้จา่ ยสูงเสีย่ งเจอปัญหาขาดทุน มีแต่หนี้ กับหนี้ หลังจากเจ้าหน้าที่ ธกส. ช่วยแนะนำ�
เทคนิคการทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ และการจัดการแปลงนาอย่างมีประสิทธิภาพปรากฏว่า ต้นข้าว
เจริญเติบโตดีแถมประหยัดต้นทุนการผลิตได้เกินกว่าครึ่งทีเดียว
เนื่องจากท้องถิ่นแห่งนี้ มีหอยเชอรี่แพร่ระบาดจำ�นวนมาก อำ�พรจึงนำ�หอยเชอรี่มาใช้
เป็นวัตถุดิบ ทำ�ปุ๋ยหมักสูตรของเขาเอง โดยใช้หอยเชอรี่หรือเศษหัวปลา 10 กิโลกรัม นำ�ตาล
โมลาส 10 กิโลกรัม ผักบุ้ง หญ้าขน ผักตำ�ลึง อย่างละ 5
กิโลกรัม นำ�มาหมักรวมกันนานนับเดือน
สาเหตุที่เลือกใช้ผักบุ้ง หญ้าขน
ผักตำ�ลึง เพราะพืชผักเหล่านี้
จุลินทรีรวมทั้งธาตุ
อาหารบางอย่างที่
ช่ ว ยให้ พื ช เติ บ โต
เร็ว หลังจากน�ำ หมัก
ใช้งานได้แล้ว ก็น�ำ น�ำ
หมักมาฉีดพ่นต้นข้าว
ทำ � ให้ ต้ น ข้ า วเจริ ญ
เติบโตงอกงามดี

70 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สำ�หรับผลผลิตที่ ได้หลังจากเลิกใช้สาร
เคมี อำ�พรกล่าวว่า สมัยก่อนปลูกข้าว 10 ไร่
เก็บเกี่ยวข้าวออกขายได้ประมาณ 7 เกวียน
แถมต้องแบกภาระค่าปุย๋ ค่ายา ทีม่ รี าคาแพง
มากพอขายข้าวใช้หนี้ ธ.ก.ส.เงินก็หมดเกลีย้ ง
แล้ว พอจะเริ่มปลูกข้าวรอบใหม่ก็ต้องกู้เงิน
ธ.ก.ส.มาลงทุนใหม่ เป็นหนีเ้ ป็นสินหมุนเวียน
กั น ทุ ก ปี ไ ม่ ส ามารถลื ม ตาอ้ า ปากได้ สั ก ที
จนกระทั่งเปลี่ยนแนวคิดหัน มาทำ�นาในวิถี
เกษตรอินทรีย์จึงค่อยมีรายได้เหลือกินเหลือ
เก็บได้ สังเกตได้จากการทำ�นาครั้งหลังสุด
เนื้อที่ 20 ไร่ ขายข้าวได้เงิน 130,000 บาท
โดยใช้เงินลงทุนไปแค่ 43,200 บาท ก็เท่ากับ
มีเงินเหลือเก็บ 86,800 บาท

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 71
“ผมอยากให้เพือ่ นเกษตรกรหันมาเรียน
รูเ้ รือ่ งการทำ�ปุย๋ อินทรียช์ วี ภาพ ปุย๋ น�ำ หมัก ไว้
ใช้เองเพราะขั้นตอนการทำ�ก็ไม่ยุ่งยาก ไม่ว่า
จะเป็ น การทำ � ปุ๋ ย นำ � หมั ก จากหอยเชอรี่
ฮอร์โมนขีค้ า้ งคาว ฮอร์โมนรกหมู ฯลฯ แต่ละ
สูตรทำ�ได้ง่ายนิดเดียว เริ่มจากนำ�ขี้หมูครึ่ง
กระสอบ เติมนำ�ลงไป 200 ลิตร ใส่นำ�ตาล
โมลาส 15 กิโลกรัม นำ�สาร พด.จำ�นวน 2 ซอง
มาละลายนำ�ในวัตถุดิบที่เตรียมไว้ เพียงแค่นี้
ก็ได้ฮอร์โมนขี้หมู สามารถนำ�ไปใช้กับพืชได้
เกือบทุกชนิด”

เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อขอดูงานได้ที่
คุณอำ�พร ควรคิด
เลขที่ 50 หมู่ที่ 4 ตำ�บลทุ่งใหญ่ อำ�เภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
โทร.089-2700429

72 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
รวมกลุ่มลดต้นทุนทำ�นา
ผลิตข้าวคุณภาพสร้างรายได้ปีละล้าน
ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ จ.อุทัยธานี ประกอบ
อาชีพทำ�นา แต่เนือ่ งจากต้นทุนทีส่ งู จากการใช้สารเคมี
และภาวะขาดน้ำ�ในช่วงหน้าแล้งจากการทำ�นาปรัง
ทำ�ให้เกษตรหลายรายต้องกลายเป็นหนี้และหันไป
ปลูกพืชอื่น ๆ แทน
แต่เกษตรรายนีเ้ ป็นตัวอย่างของความสำ�เร็จในการ
ลดต้นทุนจากการใช้สารเคมีและการใช้พนื้ ทีน่ าอย่างคุม้ ค่า
ตามปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งของพระบาทสมเด็ จ
พระเจ้าอยู่หัว ที่นอกจากจะแบ่งพื้นที่ ไว้ทำ�นาแล้วยัง
แบ่งไว้เก็บนำ� และปลูกต้นดอกรักไว้บนคันนา เพื่อเก็บ
ดอกขายสร้างรายได้

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 73
โดยตัวอย่างเกษตรกรที่พามาชมวันนี้ เป็นเกษตรที่รวมกลุ่มกันปลูกข้าว ภายใต้ชื่อ
“กลุ่มปลูกข้าวคุณภาพบ้านโพธิ์ส้ม” ต.ทุ่งใหญ่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี โดยประธานกลุ่มอย่าง
ฉลวย สมัครเกษตรกิจ เล่าว่า หลังรวมกลุ่มกันได้กว่า 1 ปีและมีวิทยากรจากธนาคารของ
ภาครัฐอย่าง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส มาให้ความรู้ในการ
ทำ�นา ทำ�นำ�ส้มควันไม้แทนการใช้สารเคมี และใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ทำ�ให้
ต้นทุนการปลูกข้าวน้อยลงจากเดิมรวมต้นทุน 5,000 บาทต่อครั้งเหลือ 3,000 บาท แต่หาก
คิดเป็นไร่ จะตกต้นทุนไร่ละ กว่า 3,000 บาทเหลือไร่ละ 500 บาท ส่งผลให้คุณลุงมีรายได้
จากการทำ�นาปีละกว่า 1 ล้านบาท
ส่วนการขายนั้น จะส่งให้กับสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ที่รับซื้อ
ตันละ 10,000 บาท แต่หากไปขายให้กับผู้รับซื้อทั่วไปจะได้ราคาเพียง 9,000-9,400 บาท
ต่อตันเท่านัน้ ซึง่ กระบวนการเริม่ ตัง้ แต่การปลูกข้าวไปจนถึงการเก็บเกีย่ วจะมีคณะกรรมการ
จากหน่วยงานภาครัฐมาตรวจสอบคุณภาพทุกขัน้ ตอนทำ�ให้มนั่ ใจได้วา่ ข้าวจากกลุม่ เกษตรกร
กลุ่มนี้มีคุณภาพและลดการใช้สารพิษได้ถึง 80%
ปัจจุบันการทำ�นาปีของกลุ่มจะเริ่มปลูกตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมและเก็บเกี่ยวในเดือน
ธันวาคมเหมือนการทำ�นาทัว่ ไป แต่หากปีใดทีม่ นี �ำ มาก หลังจากเก็บเกีย่ วนาปีแล้วก็จะทำ�นาปรัง
เพิ่ม ส่วนในอนาคตนั้นจะรับสมาชิกเข้ากลุ่มเพิ่มจากที่มีอยู่ ในปัจจุบัน 22 คนคิดเป็นที่นา
300 ไร่ ให้เป็นมากกว่า 500 ไร่ แต่ไม่เกิน 1,000 ไร่ เพื่อจะได้ขยายความรู้และแบ่งปันความ
สำ�เร็จสู่เกษตรกรรายอื่นได้อีกทาง
สำ�หรับเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการศึกษาดูงานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการลิตข้าว
คุณภาพและลดต้นทุน ติดต่อได้โดยตรงที่ คุณฉลวย สมัครเกษตรกิจ
เลขที่ 39 หมู่ 5 บ้านโพธิ์ส้ม ตำ�บลทุ่งใหญ่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี โทร 089 - 075 - 7067

74 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ผักกูด สมุนไพรชั้นดี ต้านสารพัดโรค
ขยายพันธุ์ง่าย ดูแลไม่ยาก สร้างรายได้งาม
ตามธรรมชาติผักกูด จะเกิดขึ้นตามป่าลึกและต้องการความชื้นสูงเหมือนกับเฟิร์นทั่วไป
เมื่อผักกูดถูกชาวบ้านเก็บนำ�มาประกอบอาหารได้สารพัดประโยชน์ มีรสชาติอร่อย ทั้งนำ�มา
จิ้มน้ำ�พริกแบบสดๆ ลวกจิ้ม ผัดน้ำ�มันหอย ยำ� และประกอบการอาหารได้อีกหลายเมนู ศูนย์
เรียนรู้บ้านห้วยหนามตะเข้ อ.บ้านไร จ.อุทัยธานี จึงได้รวมกลุ่มชาวบ้าน ทำ�แปลงผักปลูกผัก
กู ด แบบแสงแดดรำ �ไรส่ อ งลงมาได้ ป ระมาณ 40
เปอร์ เ ซ็ น ต์ ปล่ อ ยน้ำ � ด้ ว ยระบบน้ำ � หยด เพื่ อให้
ความชืน้ และยังขยายพันธุง์ า่ ย ดูแลไม่ยาก จึงได้รบั
ความนิยมจากตลาดผู้บริโภคในท้องถิ่นมากขึ้น
การปลูกผักกูดของศูนย์เรียนรูบ้ า้ นห้วยหนาม
ตะเข้ สมาชิกจะผลัดเปลีย่ นหมุนเวียนกันมาช่วยดูแล
รักษา ทั้งการรดน้ำ�ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปลอดสารเคมี เก็บ
ผักไปส่งตลาดและรีสอร์ท ในช่วงมีนักท่องเที่ยวเข้า
มาจำ�นวนมาก บริเวณอุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 75
เมื่อได้รับความนิยมจึงเริ่มขยายตลาดไปยังอำ�เภออื่น
ขายได้ในราคากิโลกรัมละ 50 บาท จากนั้นจึงเริ่มขาย
พันธุด์ ว้ ยการส่งตามออเดอร์ทางไปรษณียส์ ง่ ตรงถึงบ้าน
ต้นละ 10 บาท จนทำ�รายได้เข้ากลุ่ม 7-8 หมื่นบาท
ต่อปี และแบ่งปันให้กบั สมาชิกเพือ่ เป็นรายได้เสริม เมือ่
ว่างเว้นจากการปลูกอ้อย มันสำ�ปะหลัง ระนอง จูมโสดา
หนึง่ ในสมาชิกศูนย์เรียนรูบ้ า้ นห้วยหนามตะเข้ เล่าให้ฟงั
ว่าผักพื้นบ้านเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติเก็บ
มารับประทานอย่างเดียวอาจสูญพันธุ์ได้ จึงคิดร่วมกับ
คนในกลุม่ นำ�มาปลูกและเพาะขยายพันธุใ์ ส่ถงุ ขายให้กบั
ผู้ที่สนใจปลูก
ผักกูด เป็นผักทีมีรสจืดอมหวาน และกรอบ ยอดอ่อนและใบอ่อนนิยมนำ�มาบริโภค โดย
นำ�มาปรุงเป็นอาหารได้อย่างหลากหลาย ผักกูดมีธาตุเหล็กและเบต้า-แคโรทีนสูง ซึง่ หากทาน
ร่วมกับเนือ้ สัตว์จะทำ�ให้เกิดการดูดซึมเข้าสูร่ า่ งกายได้ดี ช่วยให้ไม่ออ่ นเพลียหรือซีดง่าย บำ�รุง
สายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ไม่ควรรับประทานผักกูดแบบดิบๆ หรือแบบสดๆ เนื่องจาก
ผักกูดมีสารออกซาเลตในปริมาณที่สูง อาจทำ�ให้ไตอักเสบ และทำ�ให้เป็นนิ่วได้ จึงควรนำ�ไป
ต้มหรือปรุงให้สุกก่อนการนำ�มารับประทาน
นอกจากนีต้ น้ ผักกูด สามารถใช้เป็นดัชนีเพือ่ ชีว้ ดั ความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมได้ ถ้า
หากบริเวณไหนมีอากาศไม่ดี หรือดินไม่บริสุทธิ์ หรือมีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่เจริญ
หรือแตกต้นในบริเวณนัน้ เพราะผักกูดจะขึน้ เฉพาะในพืน้ ทีท่ มี่ อี ากาศบริสทุ ธิ์ ดินสมบูรณ์และ
ไม่มีสารเคมีเจือปน

เกษตรกรทีส่ นใจดูงานหรือสังซือ้ พันธ์ผุ กั กูดไปปลูกเพือ่ เพิม่ รายได้


สามารถติดต่อได้ท่ี คุณระนอง จูมโสดา
อำ�เภอบ้านไร จ.อุทยั ธานี โทร. 085-604-0080

76 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
พลิกชีวิตด้วย “ไม้ล้อม”
ต้นไม้โตทันใจ... ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
เรื่องราวชีวิตบนเส้นทางการเป็นเกษตรกร
ของ อนุสรา เล็กเจริญโชคและสะอิง้ พิกลุ ทอง
สองสามี ภ รรยา เกษตรกรคนเก่ ง ลู ก ค้ า
ธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ประสบความสำ�เร็จในการปลูกไม้ลอ้ ม
ทำ�เงิน กลายเป็นอาชีพทางเลือกใหม่ตอบโจทย์
ผู้บริโภคได้อย่างโดนใจ
จากเดิมที่ปลูกไผ่ตงหวานแล้วตายยกสวน
จึงหัน มาปลูกทุเรียนก็เจอโรคระบาดตายยก
สวนเช่ น กั น แต่ ด้ ว ยใจที่ สู้ ไ ม่ ถ อยสองสามี
ภรรยา จึงได้ไปขอความช่วยเหลือจาก ธนาคาร
เพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ได้เงินมาก้อนหนึ่งจึงคิดว่าทำ�ไม้ล้อมกันดีกว่า
เพราะคนสมัยนี้ชอบปลูกอะไรที่โตเร็วทันใจ ไม้ล้อมน่าจะตอบสนองความต้องการของตลาด
ได้จึงชักชวนกันปลูก
ความทีต่ โี จทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างตรงเผง ทำ�ให้ครอบครัวของ อนุสราลืมตา
อ้าปากได้จากไม้ลอ้ มจนสามารถเก็บหอมรอบริบใช้หนี้ ธ.ก.ส. คืนจนหมด กระทัง่ ได้ยกระดับ
เป็นลูกค้าเกรด เอบวก
สำ�หรับเทคนิคในการปลูกไม้ล้อมนั้น สะอิ้ง เล่าให้ฟังว่า การจะทำ�ไม้ล้อมให้ประสบความ
สำ�เร็จนั้นเราจะต้องดูความต้องการของตลาด โดยคาดการว่าตลาดต้องการไม้ประเภทไหน
ก็ปลูกไม้ประเภทนัน้ ซึง่ หากกลุม่ ตลาดเราเป็นคนในชุมชนเมืองก็เน้นที่ไม้ดอก ไม้ประดับ แต่
ถ้าเป็นคนในต่างจังหวัดก็เน้นที่ไม้ผล ซึ่งทางสวนนั้นเราจะปลูกทั้งสองกลุ่ม ทั้งไม้ผลและไม้

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 77
ประดับ ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลำ�ไย ลองกอง กันเกรา บุนนาค
พุดเศรษฐี ฯลฯ
สำ�หรับการขุดล้อมนัน้ หากจะทำ�ไม้ลอ้ มไซส์เล็กจำ�หน่าย
เราจะต้องใช้เวลาปลูก 1-1 ปีครึ่ง จึงขุดล้อม ไซส์กลางปลูก
3 ปี และไม้ใหญ่ 9 ปี สำ�หรับการขุดล้อมนั้นระยะการขุดให้ดู
ที่ความเหมาะสม โดยไม้ขนาดเล็กควรล้อมห่างจากโคนต้น
ประมาณ 1 คืบ ไม้กลางและไม้ใหญ่ขุดล้อมห่างจากโคนต้น
ประมาณ 1 ศอกถึง 1 ศอกครึ่ง
วิธกี ารขุดนัน้ จะต้องขุดให้ได้เป็นรูปทรงกลม จากนัน้ ตัด
รากแก้วออกให้หมด ให้เหลือรากด้านข้างไว้เพียง 2 ราก จาก
นั้นอัดขุยมะพร้าวแล้วห่อด้วยซาแลน หากเป็นไม้ใหญ่หลักจากตัดรากให้คลุมสแลนแล้วเย็บ
ก่อน 1 รอบ แล้วจึงอัดขุยมะพร้าวแล้วห่อสแลน เย็บทับอีก 1 รอบ จากนั้นทิ้งไว้ 1 - 1 เดือน
ครึ่ง จึงตัดรากและยกขึ้นจากหลุม ก็สามารถนำ�ไม้ดังกล่าวไปจำ�หน่ายได้

สนใจอยากได้ตน้ ไม้ทนั ใจมาปลูกไว้ในบ้านไว้ชมดอกหรือกินผล


หรือเกษตรกรสนใจเทคนิคการทำ�ไม้ลอ้ มจำ�หน่าย
สอบถามข้อมูลเพิม่ เติมได้ท่ี คุณอนุสรา เล็กเจริญโชค
บ้านเลขที่ 15/1 หมู่ 11 บ้านหนองปืด๊ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000
โทร.087-140-8025

78 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
แก้ปัญหาภัยแล้งเบ็ดเสร็จ
ขุดบ่อ กักน้ำ� สร้างแก้มลิง ปลูกพืชได้ทั้งปี
น้�ำ แล้งจะไม่ใช่ปญ
ั หาสำ�หรับเกษตรกรอีกต่อ
ไป หากสามารถบริหารจัดการน้ำ�ในพื้นที่ของ
ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะเป็น
พื้นที่นอกเขตชลประทานก็ตาม ซึ่งสามารถ
ทำ�ให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ
ที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำ�ได้ตลอดทั้งปี
มณี ชูตระกูล เกษตรกรในพื้นที่ อำ�เภอเมือง
จังหวัดอุทัยธานี ผู้คิดค้นการเก็บกักน้ำ�เพื่อใช้
ในหน้าแล้งเล่าให้ฟงั ว่า เมือ่ ก่อนนีท้ �ำ นาแล้วเกิดปัญหาภัยแล้งส่งผลให้ขาดแคลนน้�ำ ทีเ่ ป็นหัวใจ
สำ � คั ญ ในการทำ � การเกษตรทำ �ให้ พื ช ผลทางการเกษตรได้ รั บ เสี ย หายและไม่ มี คุ ณ ภาพ
จึงหาวิธีกักเก็บน้ำ�อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นมาไว้ใช้ในฤดูแล้ง ภายใต้การสนับสนุนเงินทุน
ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยขุดสระเก็บนำ�ไว้ 3 บ่อ

ชี ว ิ ต ที่ พ อเพี ย ง 79
เพือ่ ใช้ในหน้าแล้งพร้อมกับเลีย้ งปลาหลายชนิดบริโภคในครัวเรือนและเหลือก็สามารถจำ�หน่าย
เพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้นมา
“ตอนแรกขุดเป็นร่องรอบพื้นที่นา 20 ไร่เลย มีความกว้าง 2 เมตรลึก 4 เมตร เอาดินที่
ขุดขึน้ มาทำ�คันกัน้ น�ำ และถนนรอบคันนา ตรงกลางก็จะเป็นพืน้ ทีท่ �ำ นาและในร่องทีข่ ดุ ขึน้ มาก็
จะปล่อยปลา และทำ�นาปรัง แต่นำ�ก็ยังไม่พอเลยยึดแนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวโดยการขุดบ่อทั้งหมดในที่ดิน 10 ไร่เพื่อกักเก็บนำ� ส่วนบ่อที่ 2 ขุดในพื้นที่ 8 ไร่
ความลึกประมาณ 10 เมตร ถือเป็นบ่อหลักที่กักเก็บนำ�ในฤดูฝนและรองรับนำ�จากบ่อที่ 1 ใน
ช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าว บ่อที่ 3 จะเล็กกว่าสองบ่อแรกใช้สำ�หรับรองรับนำ�จากสองบ่อแรกที่ใช้
เทคนิคการปลูกข้าวแบบให้นำ�ไหลผ่านเนื่องจากมีปุ๋ยจากมูลปลาที่เลี้ยงไว้ ก่อนสูบนำ�จากบ่อ
ที่ 3 กลับมาเก็บไว้ในบ่อที่ 2”
พืน้ ทีท่ �ำ การเกษตรทัง้ หมดกว่า 60 ไร่นนั้ สามารถปลูกพืชผักหมุนเวียนได้ตลอดทัง้ ปีแม้วา่
จะเป็นนอกฤดูการทำ�นาเพราะการกักเก็บน�ำ ของมณี ทำ�ให้ได้ผลผลิตเป็นข้าวปีละ 30 - 40 ตัน
และรายได้จากการปลูกพืชตระกูลถั่วปีละหลายล้านบาท สร้างรายได้เป็นอย่างดี ให้กับ
ครอบครัว
เกษตรกรหรือกลุม่ เกษตรกรทีส่ นใจวิธกี ารกักเก็บน้�ำ ไว้ใช้ใน
นอกฤดูการทำ�นา สามารถติดต่อสอบถามหรือศึกษาวิธกี ารได้ท่ี
คุณมณี ชูตระกูล
4/1 หมู่ 5 ตำ�บลทุ่งใหญ่ อำ�เภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
โทร 084 – 575 - 6017

80 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

You might also like