You are on page 1of 36

การบริหารหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้

บทบาทของบุคลากรที่รับผิดชอบหลักสูตร

เสนอ
อาจารย์ ดร. สำเริง อ่อนสัมพันธ์
รศ.ดร. ชุมศักดิ ์ อินทร์รักษ์

ผู้จัดทำ
1. นางสาวภิรญา ขัตติยะ รหัส
59252322
2. นางเปมิกา เปรมสุขดี
รหัส 59252335
3. นางสาวอนงค์ จันทร์หอม รหัส
59252336
4. นายวัชริศ เจริญกุล รหัส
59252340

นักศึกษาปริญญาโท
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

รายงานฉบับนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษา
รายวิชา
การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
รหัสวิชา 461413

2
3
คำนำ

       รายงาน เรื่อง การบริหารหลักสูตร การนำ


หลักสูตรไปใช้และบทบาทของบุคลากรที่รับผิดชอบหลักสูตร เป็ น
ส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา การบริหารหลักสูตรและการ
จัดการเรียนรู้ ได้มีการสืบค้นข้อมูล และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการ
พัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้และบทบาทของบุคลากรที่รับ
ผิดชอบหลักสูตรโดยมุ่งที่จะให้ผู้สนใจรายงาน เรื่อง การบริหาร
หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และบทบาทของบุคลากรที่รับผิด
ชอบหลักสูตรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรมากขึน

            ผู้จัดทำหวังเป็ นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนีจ
้ ะเป็ น
ประโยชน์แก่ท่านในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน หากมีข้อ
บกพร่องประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ โอกาสนี ้
                               
ผู้จัด
ทำ                       

4
สารบัญ
คำนำ...............................................................................................3

บทที่ 1............................................................................................5

5
การบริหารหลักสูตร (Curriculum Administration)....................5

ความหมายของหลักสูตร (Curriculum).........................................8

บทที่ 2..........................................................................................10

การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)...........10

ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้.........................................10

แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้.........................................11

หลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้......................................12

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้..............................13

หน้าที่ของผู้บริหารและผู้สอนในการใช้หลักสูตร........................13

การให้บริการและการจัดทำวัสดุหลักสูตร..................................14

ปั ญหาในการนำหลักสูตรไปใช้...................................................15

ตัวอย่างปั ญหาการนำหลักสูตรไปใช้ สำหรับประเทศไทย..........16

สรุปปั ญหาการนำหลักสูตรไปใช้ของไทยจากรายงานการวิจัย ของ


TIMS………………………………..18

เอกสารอ้ างอิง…………………..…………………..…………………..

…………………..…………………..…………….19

6
บทที่ 1
การบริหารหลักสูตร (Curriculum Administration)

ความหมายของหลักสูตร (Curriculum)
            คำว่า “หลักสูตร” แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า
“curriculum” ซึง่ มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “currere”
หมายถึง “running course” หรือ เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่ง ต่อมาได้นำ
ศัพท์นม
ี ้ าใช้ในทางการศึกษาว่า “running sequence of course
or learning experience” (Armstrong, 1989 : 2) เป็ นการ
เปรียบเทียบหลักสูตรเสมือนสนามหรือลู่วิ่งให้ผู้เรียนจะต้องฟั นฝ่ า
ความยากของวิชา หรือประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
ในหลักสูตรเพื่อความสำเร็จ มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของคำ
ว่าหลักสูตรหลายท่าน ยกตัวอย่างเช่น
ไทเลอร์ (Tyler. 1949: 79) ได้สรุปว่าหลักสูตรเป็ นสิ่งที่เด็ก
จะต้องเรียนรู้ทงั ้ หมด โดยมีโรงเรียนเป็ นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้
บรรลุ ถึงจุดหมายของการศึกษา กู๊ด (Good. 1973: 157) ได้
ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี ้

7
1. หลักสูตร หมายถึง เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็ นระบบให้ผู้เรียน
ได้ศึกษา เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง
2. หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่ง
เฉพาะที่จะต้องสอน ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษา
และสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป
3. หลักสูตร หมายถึง กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่
กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและ
สถานศึกษา
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537: 12) ได้ให้แนวคิดว่า หลักสูตร คือ
มวลประสบการณ์ทงั ้ ปวงที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตาม
มาตรฐานคุณภาพสากล มาตรฐานความเป็ นชาติไทยและมาตรฐาน
ที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการ
สงัด อุทรานันท์ (2538: 6) กล่าว หลักสูตร หมายถึง
ลักษณะใดลักษณะหนึง่ ต่อไปนี ้
1. หลักสูตร คือ สิง่ ที่สร้างขึน
้ ในลักษณะของรายวิชา ซึ่ง
ประกอบไปด้วยเนื้อสาระที่จัดเรียงลำดับความยากง่าย หรือเป็ นขัน

ตอนอย่างดีแล้ว
2. หลักสูตร ประกอบด้วยประสบการณ์ทางเรียนซึ่งได้
วางแผนล่วงหน้าเพื่อมุ่งหวังจะให้เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใน
ทางที่ต้องการ
3.หลักสูตร เป็ นสิ่งที่สงั คมสร้างขึน
้ สำหรับให้ประสบการณ์
ทางการศึกษาแก่เด็กในโรงเรียน
4. หลักสูตร ประกอบด้วยมวลประสบการณ์ทงั ้ หมดของผู้
เรียน ซึ่งเขาได้ทำได้รับรู้ และได้ตอบสนองต่อการแนะแนวของ
โรงเรียน

8
            จากแนวคิดข้างต้น จึงสรุปได้ว่า หลักสูตร คือ แนวทางใน
การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการ
ศึกษาตามมาตรฐานสากล มาตรฐานหลักสูตรแกนกลาง และความ
ต้องการชุมชนท้องถิ่น

การบริหารจัดการหลักสูตร

การบริหารจัดการหลักสูตร (Curriculum Administration)
เป็ นการบริหารงานที่มีขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุมหลายมิติ
เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ ายและต้องอาศัยองค์ประกอบปั จจัยเกื้อ
หนุนต่าง ๆ มากมายเปรียบเสมือนการบริหารกิจกรรมทุกชนิด ใน
โรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้
ผลดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด ( กระทรวงศึกษาธิการ : 2552,1)
วัชราวลี วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา(2552:ออนไลน์)ได้กล่าวว่าการบริหาร
หลักสูตร หมายถึง การจัดการและการดำเนินการ การควบคุมดูแล
ส่งเสริมและสนับสนุนให้การจัดกิจกรรมต่างๆ ในสถาบันการศึกษา
ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยใช้
ทรัพยากรการบริหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ในสถาบันการศึกษานัน
้ ให้
เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
การบริหารหลักสูตรมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการพัฒนาคุณภาพการ
ศึกษาและโดยที่หลักสูตรการศึกษาขัน
้ พื้นฐานได้เปิ ดศักราชใหม่ให้

9
กับการบริหารหลักสูตร โดยให้ทุกฝ่ ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ในการ
รับผิดชอบในทุกๆ ด้านจึงนับเป็ นการเปิ ดศักราชแห่งการเรียนรู้
อย่างแท้จริง ให้กับเด็กและเยาวชนไทยที่ตงั ้ อยู่บนหลักของการ
เรียนรู้ทคำ
ี่ นึงถึงชีวิตและความเป็ นจริงที่ผู้เรียนจะเผชิญอยู่ทงั ้ ใน
อดีต ปั จจุบัน และอนาคต ตลอดจนสภาพแวดล้อมในทุกมิติที่
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของผู้เรียน
หลักการบริหารหลักสูตร: แนวคิด 
วิชัย วงษ์ใหญ่.(ข้อมูลออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2560 )
กล่าวว่าการทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการบริหาร
หลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจนและถูกต้องถือเป็ นเครื่องมือที่
สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ โดยมี
หลักและแนวคิดที่สำคัญ 9 ประการ ดังนี ้
1. การวางแผนงานหลักสูตร ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูป
หลักสูตรการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน ทุกโรงเรียนจะมีทงั ้ หลักสูตรใหม่และ
หลักสูตรเก่า หลักสำคัญในการบริหารหลักสูตรคือจะต้องทำให้ผู้
เรียนสูญเสียประโยชน์น้อยที่สุด เพราะฉะนัน
้ จะต้องใช้เวลาในการ
เปลี่ยนหลักสูตรให้น้อยและสัน
้ ที่สุด ดังนัน
้ จึงจำเป็ นต้องมีการ
วางแผนที่ดีต้องจัดระบบให้ดีมีข้อมูลที่ชัดเจน และตระเตรียมทุก
อย่างให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
2. การจัดระบบข้อมูลโรงเรียน นับเป็ นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่ง
ในการบริหารหลักสูตร ระบบข้อมูลโรงเรียนประกอบด้วยข้อมูล
ต่างๆ ดังนี ้
* หลักสูตร - ระบบการสร้างหลักสูตร การบริหารหลักสูตร และ

10
การประเมินผล
* การบริหารจัดการ - มีข้อมูลด้านผูเ้ รียน ผูส
้ อน ว่ามีความพร้อม
หรือไม่เพียงใด
* ระบบข้อมูล - ครูอาจารย์ นักเรียน บุคลากร ผู้ร้ใู นชุมชน อาชีพ
ในพื้นที่
* การวางแผนกลยุทธ์ 3-5 ปี - แสดงถึงวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย และ
ขัน
้ ตอนการปฏิบัติงาน
* ระบบงบประมาณ - การบริหารงบประมาณจะต้องมีความชัดเจน
ตรวจสอบได้ มุ่งผลงาน และ เพื่อพัฒนาการศึกษาเป็ นสำคัญ
* การพัฒนาการเรียนรู้ - สื่อและข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียน
การสอน การประเมินผล การศึกษาอบรมของครู
* ระบบช่วยเหลือ - มีข้อมูลผู้เรียนเป็ นรายบุคคล จำแนกเด็กเก่ง
เด็กปกติ และเด็กด้อยโอกาส เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลืออย่าง
สอดคล้องกับความจำเป็ นต้องการของเด็กแต่ละกลุ่ม
* บริหารบุคคล - ข้อมูลเกี่ยวกับครูอาจารย์ ทัง้ ในด้านการศึกษา
การอบรม การจัดหา บรรจุ และเลิกจ้าง เพื่อช่วยในการพัฒนาครู
ให้เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตรใหม่
* การประเมินภายใน - จัดเตรียมข้อมูลการพัฒนาหลักสูตร
์ างการศึกษาของเด็กและโรงเรียน
บุคลากร และผลสัมฤทธิท
3. เอกสารหลักสูตร จะต้องชีแ
้ นวการสอนอย่างถูกต้อง ชัดเจน
และทันสมัย เอกสารประกอบหลักสูตรและรายวิชาที่ละเอียด
ประณีต จะช่วยให้การบริหารหลักสูตรเป็ นไปโดยง่าย สามารถ
ติดตามการทำงานได้อย่างใกล้ชิดและเป็ นขัน
้ เป็ นตอน

11
4. คณาจารย์มีคุณภาพ เข้าใจหลักสูตรอย่างดี เมื่อครูเป็ นผูเ้ ขียน
หลักสูตรเองแล้ว ย่อมจะทำให้การศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตร
เป็ นไปโดยง่าย สามารถปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็ น
จริงในห้องเรียนได้
5. ผู้เรียนมีความพร้อมด้านความรู้พ้น
ื ฐานและคุณธรรม ทัง้ ด้าน
วิชาการ คุณธรรม จริยธรรม สถานศึกษาจะต้องจัดเตรียมระบบ
ข้อมูลรายบุคคลของผู้เรียน โดยครูผู้สอนทุกคนมีส่วนร่วมพัฒนาผู้
เรียนทุกๆ ด้าน
6. มีทรัพยากรสนับสนุนที่ดีและเพียงพอ การบริหารการศึกษาใน
อนาคตอันใกล้เป็ นการกระจายอำนาจในหลายๆ ด้าน ท้องถิ่นจะมี
ส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรในการเรียนการสอน ซึง่
ครอบคลุมทัง้ เรื่องงบประมาณ ทรัพยากรบุคคล แหล่งเรียนรู้ และ
สภาพแวดล้อมในการเรียนการสอน การระดมทรัพยากรจะต้อง
กระทำอย่างหลากหลายและกว้างขวางขึน

7. ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาดีและมีประสิทธิภาพ ในหลักสูตรการ
ศึกษาขัน
้ พื้นฐาน

จุดเน้นอีกเรื่องหนึ่งคือ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะมีสอดแทรกอยู่เป็ น
ระยะๆ ตลอดเวลาบทบาทในเรื่องนี ้ ไม่ใช่ภาระหน้าที่ของครูคนใด
คนหนึง่ แต่ครูทุกคนจะมีบทบาทเป็ นครูที่ปรึกษาหรือครูแนะแนว
ได้ โดยเฉพาะครูที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก
8. มีบรรยากาศทางวิชาการที่เอื้อต่อการแสวงหาความรู้ ทุกจุดทุก
มุมของโรงเรียนและชุมชน เป็ นสิ่งที่เรียนรู้ได้ ไม่ใช่จะต้องเรียนจาก

12
ตำราอย่างเดียว หากครูเข้าใจก็จะสามารถดึงประสบการณ์ ของผู้
เรียนเข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ได้ การสร้างบรรยากาศทาง
วิชาการเป็ นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความเอาใจใส่อย่างสูงจาก
ผู้เกี่ยวข้อง เช่น การจัดแสดงนิทรรศการหรือข้อมูลข่าวสารต่างๆ
ในโรงเรียน หากทำให้เป็ นปั จจุบันและให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำ ก็
จะเป็ นกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้ตัวเด็กได้อีกแหล่งหนึ่ง เช่น
นำผลงานของเด็กที่ดีเด่นมาแสดง ทัง้ ด้านศิลปะหรือในโรงอาหาร
ติดป้ ายให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ เป็ นต้น
9. มีระบบการติดตามและประเมินผล คณะกรรมการบริหาร
หลักสูตรรายวิชาจะต้องมาพูดคุยกันในแต่ละภาคการศึกษา และทุก
สิน
้ ปี การศึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาก็จะต้อง
จัดการประเมินผล ดูภาพรวม และเขียนรายงานออกมา เป็ นการ
ประเมินภายในไปในตัว เป็ นการทำงานที่ผลการปฏิรูปการเรียนการ
สอนจะไปสู่ตัวผู้เรียนโดยตรง และควรเน้นการประเมินตามสภาพ
จริงระบบบริหารจัดการหลักสูตรที่ดีจึงต้องเป็ นระบบที่มีคุณธรรม
อันเป็ นคุณสมบัติที่ดีทางจิตใจมีความรับผิดชอบ ต่อการจัดการ
เรียนการสอนให้ดีที่สุด เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติจริง ถือได้ว่ามี
จริยธรรม มีการควบคุมกาย วาจา อันเป็ นศีลธรรมของผู้สอน ทำให้
เกิดความชอบธรรมในการจัดการเรียนการสอน และทุกคนทุกฝ่ าย
จะต้องมีความสมานฉันท์ ช่วยกันทำงานเพื่อพัฒนาผูเ้ รียน เติมเต็ม
ผู้เรียนในทุกๆ ด้านเมื่อประกอบกับโรงเรียนมีโครงสร้างและทำงาน
อย่างมีคุณภาพ ก็จะทำให้โรงเรียนเป็ นระบบที่มีปัญญาเป็ นพื้นฐาน

13
สามารถเรียนรู้ และปรับตัวได้ต่อเนื่องการพัฒนาหลักสูตร
จิตรากูล ธิวงศ์ษา (ข้อมูลออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน
2560 )ปั จจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงนับได้ว่า
เป็ นการศึกษาเพื่อเป็ นรากฐานของการพัฒนาระบบการเมืองของ
สังคมไทยตลอดจนพัฒนาคุณภาพทางการเมืองของประชาชนอีก
ด้วยจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วก่อ
ให้เกิดเป็ นปั ญหาสำคัญ คือ เปลี่ยนแปลงทางการศึกษาทันกับความ
ต้องการของสังคมหรือไม่ คุณภาพของการศึกษาจึงเป็ นปั ญหาที่ควร
จะได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้ดีขน
ึ ้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
คุณภาพของโรงเรียนให้ดีขน
ึ ้ ให้อยู่ในระดับสูงต่อไป ดังนัน
้ จึงทำให้มี
การจัดคุณภาพของการศึกษาขึน
้ มาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความ
ต้องการจึงมีการพัฒนาหลักสูตรของการเรียนเพื่อให้เหมาะสมกับ
ความต้องการของผู้เรียนและ การนำไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและ
สามารถนำความรู้ที่ได้รับนัน
้ ไปทำประโยชน์ในด้านต่างๆได้เป็ น
อย่างดี จึงมีการจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาการทางด้านการศึกษาเพราะ
การพัฒนาหลักสูตรคือการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ได้ผลดียิ่งขึน

ทัง้ ในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การดำเนินการเรียนการสอนเพื่อ
พัฒนาทางการศึกษาของประเทศพัฒนา ให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ในปั จจุบันการพัฒนาการศึกษาจึงเป็ นหัวใจหลักที่จะ
เป็ นแนวทางในการนำเยาวชนของชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของ
ชาติบ้านเมืองของเรา ให้ทัดเทียมกับประเทศที่มีการพัฒนาใน
เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความก้าวหน้าในหลายๆด้านสามารถสรุป

14
หลักการพัฒนาหลักสูตรได้เป็ น 2 นัยคือ
1. การปรับปรุงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรบางส่วนที่
กำลังใช้อยู่ให้เหมาะสมยิ่งขึน
้ รวมทัง้ การปรับปรุงสร้างสรรค์วัสดุ
หลักสูตร และวัสดุอ่ น
ื ๆที่ผู้เรียนต้องใช้ การพัฒนาหลักสูตรใน
ลักษณะนีไ้ ม่ทำให้แนวคิดพื้นฐานและรูปแบบของหลักสูตรเปลี่ยน
ไป
2. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการสร้างหลักสูตรขึน
้ มาใหม่
โดยเปลี่ยนจากรูปแบบเก่า ทัง้ ระบบ ทุกองค์ประกอบของหลักสูตร
บางครัง้ อาจเรียกว่า การยกร่างหลักสูตร การจัดทำหลักสูตร หรือ
การสร้างหลักสูตร ความคิดต่างๆที่ก่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตร
แนวความคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็ นต้องมีการดำเนินงานเป็ นระเบียบ
แบบแผนต่อเนื่องกันไป ซึ่งเริ่มจากการวางจุดมุ่งหมายในการดำเนิน
งานนีจ
้ ะต้องคำนึงจึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา
หลักสูตรว่าจะเริ่มต้นที่ใดก่อนและดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็ นการ
พัฒนาหลักสูตร รวมถึงผลงานต่างๆทางด้านหลักสูตรต่างๆที่ได้
สร้างขึน
้ มาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหลักสูตรเดิมต้องคำนึง
ถึง การดำเนินงาน วิธีการต่างๆรวมทัง้ หลักการและแนวปฏิบัติเพื่อ
ให้การพัฒนาหลักสูตร เป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะต้องมีการ
ฝึ กอบรมครูประจำการให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่ รวมทัง้ ทักษะใน
ด้านต่างๆและต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจและ
ทัศนคติของนักเรียนด้วยต้องได้รับความร่วมมือและการประสาน

15
งานอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทางด้านหลักสูตรทุกๆด้าน
และต้องมีผู้นำทีชำ
่ นาญมีความสามารถในหน้าที่การงานเป็ นอย่างดี
การพัฒนาและใช้หลักสูตรจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็ นต้อง
อาศัยการบริหารจัดการหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพทุกฝ่ ายที่
เกี่ยวข้องต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกันเกี่ยวกับหลักสูตรรวมทัง้
เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียนการบริหารจัดการหลักสูตรในยุคปั จจุบันซึ่งมีการกระจายอำ
นาจสู่ท้องถิ่นและสถานศึกษา ให้มส
ี ่วนร่วมคิดร่วมตัดสินใจในการ
พัฒนาหลักสูตรของตนเองนัน
้ ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงแนวคิด
วิธีการ รูปแบบ และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากกรอบแนวคิดเดิม
สู่แนวคิดใหม่ ความรู้ใหม่ วิธีการบริหารจัดการ และ แนวปฏิบัติ
ใหม่ ๆ ซึ่งต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันหลายระดับ ตัง้ แต่ระดับ
ชาติ ระดับท้องถิ่น และระดับสถานศึกษา

16
บทที่ 2
การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)

การนำหลักสูตรไปใช้ เป็ นขัน


้ ตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนา
หลักสูตร เพราะเป็ นการนำอุดมการณ์ จุดหมายของหลักสูตร 
เนื้อหาวิชา และประสบการณ์การเรียนรู้ที่กลั่นกรองอย่างดีแล้วไปสู่
ผู้เรียน  ขัน
้ ตอนการนำหลักสูตรไปใช้ มีความสำคัญยิ่งกว่าขัน
้ ตอน
ตอนใดๆทัง้ หมด  เป็ นตัวบ่งชีถ
้ ึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของ
หลักสูตร ถึงแม้หลักสูตรจะสร้างไว้ดีเพียงใดก็ตาม  ยังไม่สามารถ
จะกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้าหากว่าการนำหลักสูตร
ไปใช้ดำเนินไปอย่าง ไม่ถูกต้องหรือไม่ดีเพียงพอ  ความล้มเหลว
ของหลักสูตรก็จะเกิดขึน
้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะฉะนัน
้ การนำ
หลักสูตรไปใช้ จึงมีความสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้
จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขัน
้ ตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถนำ

17
หลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดตามความมุ่งหมายทุก
ประการ

ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้ เป็ นขัน
้ ตอนที่นำหลักสูตรไปสูก
่ าร
ปฏิบัติ ความหมายของคำว่า การนำหลักสูตรไปใช้มีแตกต่างกัน
ออกไป  นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมาย  คำนิยาม ของ
คำว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี ้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164)   ได้ให้ความหมายของ
การนำหลักสูตรไปใช้ว่า  การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง  การนำ
หลักสูตรไปปฏิบัติ  โดยกระบวนการที่สำคัญที่สุด คือการแปลง
หลักสูตรไปสู่การสอน   การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครู
ได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
สันติ   ธรรมบำรุง (2527.120)  กล่าวว่า การนำหลัก
หลักสูตรไปใช้ หมายถึง การที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการ
ของ หลักสูตรที่เป็ นรูปเล่มนัน
้ ไปปฏิบัติให้บังเกิดผล รวมถึงการ
บริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครู
และนักเรียน สามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สงัด   อุทรานันท์ (2535.260)  ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ
การนำหลักสูตรไปใช้ว่า เป็ นขัน
้ ตอนของการพัฒนาหลักสูตรไปสู่
การเรียนการสอนในห้องเรียน  ได้แก่การจัดเอกสารประกอบ
หลักสูตร  การเตรียมบุคลากร  การบริหารและบริการหลักสูตร 
และการนิเทศการใช้หลักสูตร

18
ธำรง บัวศรี (2504.165) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้ 
หมายถึงกระบวนการเรียน การสอนสำหรับสอนเป็ นประจำ
ทุกๆวัน
  สุมิตร คุณากร (2523) กล่าวว่า  การนำหลักสูตรไปใช้
เป็ นการรวมกิจกรรม 3 ประเภท โดยได้อธิบายกิจกรรมทัง้ 3
ประเภทดังนี ้
          1. การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน  หลักสูตรระดับ
ชาติจะกำหนดจุดหมาย เนื้อหาวิชา การประเมินผลไว้อย่างกว้างๆ
ครูจึงไม่สามารถนำหลักสูตรไปสอนได้หากยังไม่มีการดัดแปลงให้
เหมาะสม
           2. การจัดปั จจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนให้
หลักสูตรบรรลุถึงเป้ าหมาย  การนำหลักสูตรมาปฏิบัตินน
ั ้ เกิดขึน
้ ที่
โรงเรียน ผู้บริหารควรสำรวจปั จจัยและสภาพต่างๆ ของโรงเรียนว่า
เหมาะสมกับการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
           3. การสอนของครู   การเอาใจใส่ต่อการสอนให้สอดคล้อง
กับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสม เหล่า
นีเ้ ป็ นปั จจัยที่จะชีช
้ ะตาหลักสูตรทัง้ สิน
้ ส่วนผู้บริหารก็ต้องคอยให้
ความสะดวกและกำลังใจแก่ครู
          สงัด อุทรานันท์ (2532) กล่าวว่า ระบบการใช้
หลักสูตรเป็ นระบบย่อยในการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย ระบบ
การร่างหลักสูตร ระบบการใช้หลักสูตร ระบบการประเมินหลักสูตร
ในส่วนการใช้หลักสูตรมีงานหลักที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ลักษณะ คือ
          1. งานบริหารและการบริการหลักสูตร คือ การดำเนิน
การในเรื่องการเตรียมบุคลากรก่อนที่จะนำหลักสูตรไปใช้ โดยการ
จัดให้มีการให้ความรู้หรือชีแ
้ จงให้ผู้ที่จะใช้หลักสูตรเข้าใจถึงจุด

19
หมาย หลักการ โครงสร้าง แนวทางจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
และวัดประเมินผลตามหลักสูตรที่ได้จัดทำขึน

          2. งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร  เริ่ม
ตัง้ แต่ปรับปรุงหลักสูตร ทำแผนการสอน ไปสู่ภาคปฏิบัติ จัด
กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดประเมิน
          3. งานสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร ได้แก่
การนิเทศและติดตามเพื่อติดตามผลการใช้หลักสูตรในโรงเรียนว่า
ดำเนินการด้วยความถูกต้องหรือมีปัญหาเกิดขึน
้ หรือไม่ นอกจากนี ้
อาจให้การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรด้วยการตัง้ ศูนย์
วิชาการหรือจัดตัง้ โรงเรียนตัวอย่าง
จากความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ ตามที่นักการศึกษา
ได้ให้ไว้ข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า  การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง
การดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึน

ดำเนินไปสูก
่ ารปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้ าหมาย นับแต่การเตรียม
บุคลากร อาคาร สถานที่  วัสดุอุปกรณ์  สภาพแวดล้อม  และการ
จัดการเรียนการสอนในโรงเรียน

แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
ถ้าเรายอมรับว่าการนำหลักสูตรไปใช้เป็ นขัน
้ ตอนหนึ่งที่สำคัญ
ที่สุดที่จะทำให้หลักสูตร
เกิดผลต่อการใช้อย่างแท้จริงแล้ว การนำหลักสูตรไปใช้กค
็ วรจะเป็ น
วิธีการปฏิบัติที่มีหลักเกณฑ์ และมีกระบวนการปฏิบัติที่มี
ประสิทธิภาพ พอที่จะมั่นใจได้ว่า  หลักสูตรที่ได้สร้างขึน
้ นัน
้ จะมี
โอกาสนำไปปฏิบัติจริงๆอย่างแน่นอน  นักการศึกษาต่างก็ให้ทศ
ั นะ
ซึ่งเป็ นแนวคิดในการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี ้
20
โบแชมป์ (Beauchamp,1975.164-169)  กล่าวว่า  สิ่งแรกที่
ควรทำคือ  การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน  ครูผู้นำหลักสูตรไป
ใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสูก
่ ารสอน  โดยใช้หลักสูตรเป็ นหลักใน
การพัฒนากลวิธีการสอน   สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไป
ใช้ให้เห็นผลตามเป้ าหมาย คือ ครูผส
ู้ อนควรมีส่วนร่วมในการร่าง
หลักสูตร ผู้บริหาร ครูใหญ่ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการ
ดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จ

    วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้ควรมี


8 ขัน
้ ตอน ดังนี ้
           1. การเตรียมวางแผนงานเพื่อใช้หลักสูตรใหม่  ผู้บริหาร
จะต้องศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรในเรื่องจุดมุ่งหมายที่แท้จริง
           2. การเตรียมการจัดอบรมครูเพื่อใช้หลักสูตรใหม่  จะต้อง
พิจารณาวางโครงการฝึ กอบรมให้ชัดเจนและมีขน
ั ้ ตอน
           3. การจัดครูเข้าสอน  ครูจะต้องมองเห็นความสำคัญและ
ก้าวให้ทันกับเหตุการณ์
           4. การจัดตารางการสอน  ควรคำนึงถึงความเหมาะสมใน
เรื่องระดับความยากง่าย วัย ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจน
ชั่วโมงการสอนของครู
           5. การจัดบริการวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการ
เรียน  ได้แก่การทำโครงการสอน แผนการสอน พัฒนาคู่มือครู แบบ
เรียนและสื่อการเรียน ซึ่งต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ ายช่วยเหลือ
           6. การประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตร  เพื่อให้ประชาชนใน
ชุมชนได้ทราบว่าการใช้หลักสูตรใหม่นน
ั ้ ลูกหลานของเขาหรือตัวเขา
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในการเรียนรู้
21
           7. การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกสรรโครงการ
กิจกรรมหลักสูตร  ได้แก่สภาพแวดล้อมและกิจกรรมภายนอก
ห้องเรียน ถ้าได้เลือกสรรอย่างดีจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อ
ครูและนักเรียน
          8. การจัดโครงการประเมินผลการใช้หลักสูตรและ
การปรับปรุงหลักสูตร  เป็ นสิง่ สำคัญและต้องทำเป็ นขัน
้ ตอน

ธำรง บัวศรี (2504.165-195)  ได้สรุปชีใ้ ห้เห็นปั จจัยที่จะนำ


ไปสูค
่ วามสำเร็จ ของการนำหลักสูตรไปใช้ไว้ว่า ควรคำนึงถึงสิ่งต่อ
ไปนีค
้ ือ
1. โครงการสอน  เช่น  การวางโครงการสอนแบบหน่วย
( Unit Organization of Instruction, Teaching Unit)  ประเภท
ของหน่วยการสอนมี 2 ประเภท คือ หน่วยรายวิชา (Subject
Matter Unit) และหน่วยประสบการณ์  (Experience Unit)
หน่วยวิทยาการ (Resource Unit) เป็ นแหล่งให้ความรู้แก่ครู  เช่น
เอกสารคู่มือ  และแนวการปฏิบัติต่างๆ
2. องค์ประกอบอื่นๆ ที่ช่วยในการสอน เช่น สถานที่และ
เครื่องมือเครื่องใช้  อุปกรณ์ การเรียนการสอน  วิธีการสอน
และวัดผลการศึกษา  กิจกรรมร่วมหลักสูตร  การแนะแนวและ
การจัดและบริหารโรงเรียน  เป็ นต้น
การนำหลักสูตรไปใช้เป็ นงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
บุคคลหลายฝ่ าย  ตัง้ แต่ผู้บริหารระดับกระทรวง  กรม  กอง  ผู้
บริหารระดับโรงเรียน   ครูผู้สอน  ศึกษานิเทศก์ และบุคคลอื่นๆ

22
ขอบเขตและงานของการนำหลักสูตรไปใช้เป็ นงานที่มีขอบเขตกว้าง
ขวาง เพราะฉะนัน
้ การนำหลักสูตรไปใช้จึงเป็ นสิ่งที่ต้องทำอย่าง
รอบคอบและระมัดระวัง

หลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
หลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้มีดังนี ้
1. มีการวางแผนและเตรียมการในการนำหลักสูตรไปใช้ ผู้มี
ส่วนเกี่ยวข้องควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์  ทำความเข้าใจหลักสูตรที่
จะนำไปใช้ ให้มีความเข้าใจตรงกันเพื่อให้การปฏิบัติ เป็ นไป ใน
ทำนองเดียวกันและสอดคล้องต่อเนื่องกัน
2. มีคณะบุคคลทัง้ ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่จะต้องทำ
หน้าที่ประสานงานกันเป็ นอย่างดี ในแต่ละขัน
้ ตอนในการนำ
หลักสูตรไปใช้ 
3. ดำเนินการอย่างเป็ นระบบเป็ นไปตามขัน
้ ตอนที่วางแผน
และเตรียมการไว้การนำ หลักสูตรไปใช้จะต้องคำนึงถึงปั จจัย
สำคัญ ที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จได้
ปั จจัยต่าง ๆ ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์  เอกสารหลักสูตร
ต่าง  ตลอดจนสถานที่ต่างๆ ที่จะเป็ นแหล่งให้ความรู้ประสบการณ์
ต่าง ๆ สิ่งเหล่านีจ
้ ะต้องได้รับการจัดเตรียมไว้เป็ นอย่างดี และพร้อม
ที่จะให้การสนับสนุนได้เมื่อได้รับการร้องขอ
4. ครูเป็ นบุคลากรที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ ดังนัน
้ ครู
จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง ตัง้ แต่การอบรมความ

23
รู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอย่างเข้ม
ข้น 
5. การนำหลักสูตรไปใช้ควรจัดตัง้ ให้มีหน่วยงานที่มีผู้ชำนาญ
การพิเศษ  เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครู โดยการทำหน้าที่
นิเทศ ติดตามผลการนำหลักสูตรไปใช้ และควรปฏิบัติงานร่วมกับ
ครูอย่างใกล้ชิด
6. หน่วยงานและบุคลากรในฝ่ ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำ
หลักสูตรไปใช้ ไม่ว่าจะเป็ นส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติ
งานในบทบาทหน้าที่ของตน อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
7. การนำหลักสูตรไปใช้สำหรับผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุก
ฝ่ าย ทุกหน่วยงาน จะต้องมีการติดตามและประเมินผลเป็ นระยะ
ๆ เพื่อจะได้นำข้อมูลต่าง ๆ มาประเมินวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทัง้ ใน
แง่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และการวางแนวทางในการนำ
หลักสูตรไปใช้ ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึน

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
1. การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือ การตีความหมายและ
กำหนดรายละเอียดของหลักสูตรโดยจะดำเนินการในรูปของ
เอกสาร ประกอบหลักสูตร และวัสดุอุปกรณ์การสอน เช่นโครงการ
สอน ประมวลการสอน คู่มือครูเป็ นต้น
2. การจัดปั จจัยและสภาพต่าง ๆ ภายในโรงเรียนเพื่อให้
หลักสูตรบรรลุเป้ าหมาย ผูบ
้ ริหารโรงเรียนควรสำรวจปั จจัยและ

24
สภาพต่าง ๆ ของโรงเรียนว่า เหมาะสมกับสภาพการนำหลักสูตรมา
ปฏิบัติหรือไม่
3. การสอนซึ่งเป็ นหน้าที่ของครูประจำการ ถือว่าเป็ นหัวใจ
สำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้ ครูต้องสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่ง
หมายของหลักสูตร เลือกวิธีสอนให้เหมาะสม โดยมีผู้บริหารคอยให้
ความสะดวก ให้คำแนะนำและให้กำลังใจ

หน้าที่ของผู้บริหารและผู้สอนในการใช้หลักสูตร
                ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรในโรงเรียนมีหลาย
กลุ่ม แต่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและจะส่งผลต่อการจะทำให้บรรลุจุด
หมายของหลักสูตรหรือไม่ มี 2 กลุ่ม คือผู้บริหารและผู้สอน หน้าที่
ทีสำ
่ คัญของผู้บริหาร และผู้สอนในการใช้หลักสูตรมีดังนี ้
หน้าที่ของผู้บริหาร
1. เป็ นผู้นำในการใช้หลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงการแก้ไข
หลักสูตร
2.  ศึกษาและทำความเข้าใจในหลักสูตรอย่างกระจ่าง
สามารถควบคุมดูแลและให้คำแนะนำแก่ผู้สอนให้ดำเนินการจน
บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3.  กำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติในการใช้หลักสูตร
4.  จัดหาวัสดุหลักสูตรที่ทันสมัยและให้มีจำนวนเพียงพอต่อ
จำนวนผู้สอน

25
5.  ควบคุมดูแลติดตามผลการใช้หลักสูตร สนับสนุนส่งเสริม
และนิเทศการใช้หลักสูตรและการสอน ให้กำลังใจ และช่วยแก้ไข
ปั ญหาที่เกิดขึน

6.  ประเมินผลการใช้หลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรสำหรับ
โรงเรียนของตน
หน้าที่ของผู้สอน
1.  ใช้หลักสูตรตามที่ได้รับมอบหมาย
2.  ศึกษาและทำความเข้าใจองค์ประกอบของหลักสูตรทุก
ส่วน รวมทัง้ วัตถุประสงค์ของ
กลุ่มวิชา จุดประสงค์รายวิชาและคำอธิบายรายวิชา และจัดการ
เรียนการสอนที่ได้รับมอบหมายได้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของ
หลักสูตร
3.  ปฏิบัติตามแนวทางที่โรงเรียนกำหนด
4.  ใช้วัสดุหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
5.  วิเคราะห์หลักสูตร แปลและตีความหลักสูตรสู่แนวปฏิบัติ
และเลือกใช้เทคนิคการสอน ที่เหมาะสม
 6.  ประเมินผลการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การประเมินผล
การใช้หลักสูตร และ การพัฒนาหลักสูตร

การให้บริการและการจัดทำวัสดุหลักสูตร
                ผู้บริหารในฐานะผู้นำการใช้หลักสูตร ซึ่งนอกจากจะ
ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรแล้วยังต้องทำหน้าที่ในการ

26
บริหารหลักสูตรด้วย ในหน้าที่นงี ้ านแรกและเป็ นงานที่สำคัญก่อน
เริ่มงานอย่างอื่น ๆ ก็คือ การหาวิธีการที่จะทำให้ผู้สอนและผู้
เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร กิจกรรมที่สามารถทำได้มี
หลายวิธี เช่น อาจใช้วิธีชแ
ี ้ จงให้ทราบเป็ นลายลักษณ์อักษร อาจ
เรียกประชุมชีแ
้ จง หรือจัดบรรยาย อบรม หรือสัมมนาเกี่ยวกับ
ความรู้ทางด้านหลักสูตรและแนวทางปฏิบัติ รวมตลอดทัง้ การ
ประชุมเชิงปฏิบัติในการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน
ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ทำให้การใช้หลักสูตรที่ผ่านมาไม่
ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และบางครัง้ อาจจะล้มเหลวก็
เนื่องจากว่า  ผู้สอนซึ่งจะต้องเป็ นผู้ที่แปลงหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ
นัน
้ ไม่เคยเห็นหลักสูตร ไม่เคยใช้หลักสูตร คิดว่าแบบเรียนใน
รายวิชาที่ได้รับมอบหมายให้สอน คือหลักสูตร หากสอนเนื้อหาใน
แบบเรียนได้ครบถ้วนก็หมายความว่าสอนได้ครบตามหลักสูตรแล้ว
ที่เป็ นเช่นนีอ
้ าจจะเนื่องมาจาก หนังสือหลักสูตรในโรงเรียนมี
จำนวนไม่เพียงพอ วัสดุหลักสูตรมีไม่ครบถ้วนและมีจำนวนไม่เพียง
พอ หรือมีแต่ไม่ทันสมัย ผูส
้ อนไม่ร้จ
ู ักหรือไม่สนใจและไม่นำไปใช้
ขาดการกระตุ้นหรือแรงยั่วยุในการจัดทำวัสดุหลักสูตร ฯลฯ ดังนัน

ผู้บริหารจึงต้องให้บริการและสนับสนุนในการจัดให้มีการทำวัสดุ
หลักสูตรด้วย   

          

27
ปั ญหาในการนำหลักสูตรไปใช้
1.  ปั ญหาด้านครู
1.1 ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร และขาด
หลักสูตรกับเอกสารประกอบหลักสูตร เช่น คู่มือการใช้หลักสูตร
ฯลฯ ซึ่งทำให้การสอนของครูไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
1.2 ครูไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนให้สอดคล้องกับ
หลักสูตร ยังคงยึดถือวิธีสอนแบบ “ยึดตัวครูเป็ นศูนย์กลาง” ในการ
สอน
           1.3 ครูไม่มีเวลาศึกษาหลักสูตรก่อนสอน
2.  ปั ญหาด้านผู้บริหารโรงเรียน
            2.1 ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรน้อย ทำให้
ไม่สามารถสนับสนุน การจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนได้ดีเท่าที่ควร
            2.2 ผู้บริหารไม่มีความรู้ความสามารถในการนิเทศและ
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ หลักสูตรแก่ครู และ/หรือนิเทศ
น้อยไม่ทั่วถึงและไม่ต่อเนื่อง
            2.3 ผู้บริหารไม่ได้ให้การสนับสนุนการใช้หลักสูตรของ
คณะครู เช่น การจัดหาเอกสารประกอบหลักสูตรประเภทต่าง ๆ
และการจัดหาจัดทำวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอ กับ
ความต้องการของครู การจัดครูเข้าสอนไม่เหมาะสม การไม่ได้
สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน เป็ นต้น
3.  ปั ญหาด้านศึกษานิเทศก์

28
3.1 ศึกษานิเทศก์นเิ ทศดูแลการใช้หลักสูตรในโรงเรียนต่าง ๆ
ไม่ทั่วถึง
3.2 ศึกษานิเทศก์ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร
อย่างถ่องแท้
3.3 ศึกษานิเทศก์ไม่มีความรู้ความสามารถในการนิเทศและให้
คำแนะนำแก่ครูที่ดีเท่าที่ควร
 4.  ปั ญหาด้านหน่วยงานส่วนกลาง ระดับจังหวัด และระดับ
อำเภอ
            4.1  ส่งเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบล่าช้า และ
ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงเรียน
            4.2  ขาดการประชาสัมพันธ์หลักสูตร โดยเฉพาะกับผู้
ปกครองทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
            4.3  ขาดงบประมาณที่จะสนับสนุนการใช้หลักสูตร
            4.4  การฝึ กอบรมให้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการนำ
หลักสูตรไปใช้แก่ครูและบุคลากร ที่เกี่ยวข้องยังไม่ทั่วถึง และ/หรือ
ไม่ตรงกับความต้องการของครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 

ตัวอย่างปั ญหาการนำหลักสูตรไปใช้ สำหรับประเทศไทย

จากรายงานผลการศึกษาของ TIMSS พบว่า นักเรียนไทยใน


ระดับประถมศึกษามีผลสัมฤทธิ ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนนานาชาติ ประกอบ
กับการศึกษารายงานผลการศึกษาเปรียบเทียบทางคณิตศาสตร์และ
29
วิทยาศาสตร์ในครัง้ นี ้ มีสิ่งที่ ประเทศไทยควรพิจารณาปรับปรุงการ
เรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ดังต่อไปนี ้

1. ด้านหลักสูตร

  ์ างการเรียนสูงในวิชา
1.1  ประเทศที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิท
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีการลดเนื้อหาในหลักสูตรลง 10-
30% เพื่อให้มีเวลาพอที่จะให้นักเรียนเรียนด้วยการปฏิบัติและสร้าง
ความรู้ด้วยตนเองมากขึน
้ ประเทศไทยจึงไม่ควรที่จะเพิ่มเนื้อหาของ
หลักสูตร ให้มากขึน
้ ในการปรับปรุงหลักสูตรใหม่นอกจากจะจัดให้มี
เวลาเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างเพียงพอ
     1.2  ควรจัดทำเอกสารหลักสูตรที่ชัดเจนและเสนอแนะแนว
ปฏิบัติแก่ครูอย่างเพียงพอเนื่องจากครูที่สอนในระดับประถมศึกษา
ไม่ได้รับการเตรียมมาสำหรับการสอนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
     1.3  ควรมีการจัดเตรียมวัสดุและสื่อการศึกษาโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งหนังสือเรียน คู่มือครู อุปกรณ์และเครื่องมือทดลองให้
พร้อมสำหรับครูก่อนการนำหลักสูตรใหม่ไปใช้
         1.4 ควรมีการเตรียมการก่อนการนำหลักสูตรใหม่ไปใช้
ล่วงหน้าให้นานตามสมควรเช่นจัดให้หลักสูตรใหม่ถึงมือครูก่อนการ
ประกาศใช้เป็ นเวลา 1-2 ปี มีการอบรมครูอย่างเข้มข้นและทั่วถึง
ก่อนเวลาประกาศใช้หลักสูตร จัดเตรียมหนังสือเรียนและวัสดุ
ประกอบ การสอนล่วงหน้า และจัดให้มีระบบการให้คำปรึกษาหรือ
นิเทศการสอนที่มีประสิทธิภาพ

2. ด้านการฝึ กหัดครูและการอบรมครูประจำการ

         2.1  ครูประถมศึกษาในประเทศที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ ์


ทางการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูง มีพ้น
ื ความรู้ทาง

30
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ดีพอสมควร เพราะส่วนใหญ่ เรียน
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จนถึงชัน
้ ปี สุดท้ายในโรงเรียน
มัธยมศึกษา ซึง่ แตกต่างจากประเทศไทยที่ผู้เรียนครูประถมจำนวน
มากไม่ได้จบการศึกษาในสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จาก
โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้ที่เรียนครูวิชาเอกทางประถม
ศึกษาจำนวนมากจึงมีพ้น
ื ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ไม่เพียงพอ และหลักสูตรฝึ กหัดครูประถมศึกษาก็ไม่ได้จัดโปรแกรม
การเรียนเพื่อเติมเต็มความรู้ด้านเนื้อหาของนักศึกษาให้เพียงพอ ดัง
นัน
้ ครูประถมศึกษาในประเทศไทยจึงมักจะมีปัญหาและขาดความ
มั่นใจในการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ประเทศไทย
ควรจะกระทำ คือ ควรกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเรียนเป็ นครูสอน
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาต้องเรียน
คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จนถึงชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 6 และ
สถาบันฝึ กหัดครูควรมีการฝึ กอบรมผู้ที่จะเป็ นครูคณิตศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาโดยเฉพาะเพื่อให้มีความรู้และ
ทักษะเพียงพอสำหรับการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ใน
ระดับประถมศึกษา

      2.2 สถาบันการฝึ กหัดครูในระดับประถมศึกษาควรจัด


ประสบการณ์ให้นักศึกษาได้สังเกต การสอนจากครูที่เป็ นตัวแบบที่ดี
ทางการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นตัวอย่างการสอนที่ดี เพื่อนำไป
ปฏิบัติในอนาคต

       2.3 ควรพิจารณากำหนดมาตรการต่างๆในการที่จะ


ทำให้มีผู้สนใจมาเรียนครูมากขึน
้ เช่น การให้ค่าตอบแทนและ

31
สวัสดิการสูงขึน
้ หรือจัดแนวทางการเลื่อนตำแหน่งในอาชีพครู ให้
จูงใจให้มี ผู้มาประกอบอาชีพครูมากขึน

       2.4 ประเทศไทยควรคิดหาวิธีการอบรมครูประจำการที่มี


ประสิทธิภาพโดยใช้งบประมาณไม่มากนัก เช่น จัดการนิเทศภายใน
โรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ การให้มีระบบการทำงานร่วมกันเป็ น
คณะของครูเพื่อจะได้มีการปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความรู้และ
ประสบการณ์ซงึ่ กันและกัน โปรแกรมการฝึ กอบรมครูประจำการที่
จะจัดให้แก่ครูก็ควรจัด ให้มีการอบรมในเรื่องเนื้อหาให้มากขึน
้ ด้วย
แทนที่จะอบรมเรื่องวิธีสอนเท่านัน
้ ทัง้ นี ้ เนื่องจากครูประถมส่วน
ใหญ่ยังขาดความพร้อมในด้านเนื้อหาทางคณิตศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์

 3. ด้านกระบวนการเรียนการสอน

              กระบวนการเรียนการสอนของประเทศที่นักเรียนมีผล
์ างการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูงจะเน้นการ
สัมฤทธิท
สอนในแนวที่ให้นักเรียนสร้างความรู้เอง เน้นการปฏิบัติและความ
สอดคล้องกับชีวิตจริงของผู้เรียน ซึง่ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แต่ก็ยังมีประเด็นต่าง ๆ ที่อาจเป็ น
ปั ญหา/อุปสรรค ในทางปฏิบัติหลายประการ เช่น ความพร้อมและ
ความเข้าใจของครูต่อการเรียนการสอนตามแนวใหม่ เนื้อหาใน
หลักสูตรอาจมีมากเกินไปสำหรับเวลาในการสอนที่อำนวยให้
จำนวนนักเรียนในแต่ละห้องมีมากเกินไปสำหรับการทำกิจกรรม
การเรียนการสอน อุปกรณ์การสอนและสิง่ อำนวยความสะดวกยัง
ไม่พร้อม การนิเทศการสอนและการให้คำแนะนำปรึกษายังดำเนิน
การไม่ทั่วถึง ฯลฯ ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนใน

32
ประเทศไทยควรเน้นการสอนให้นักเรียนปฏิบัติจริงให้มากขึน
้ มีการ
สอนให้นักเรียนฝึ กหัดวิจัยทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นด้วยการให้ทำ
โครงงานวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน
เชิญผู้ที่มีความรู้ทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในชุมชน
มาพบปะ สนทนา หรือสอนนักเรียนบ้าง และควรมีปัจจัย อื่นที่สง่
เสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น ศูนย์
วิทยาศาสตร์เพื่อ การศึกษาให้ทั่วประเทศ

สรุปปั ญหาการนำหลักสูตรไปใช้ของไทยจากรายงานการวิจัย
ของ TIMS

1. หลักสูตรมีเนื้อหามากเกินไป ทำให้ใช้เวลาเรียนในชัน
้ เรียน
มาก นักเรียนไม่มีเวลาเรียนด้วยการปฏิบัติและสร้างความรู้ด้วย
ตนเอง

2. ครูผู้สอนมีความรู้ในวิชาที่สอนไม่เพียงพอ รวมทัง้ วิธีสอน


เฉพาะทาง เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ซึง่ ต้องมีวิธีการ
33
สอนที่เหมาะสมกับลักษณะวิชาทำให้มีปัญหาและขาดความมั่นใจ
ในการสอน จึงควรมีการจัดเตรียมวัสดุและสื่อการศึกษาโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งหนังสือเรียน คู่มือครู อุปกรณ์และเครื่องมือทดลองให้
พร้อมสำหรับครูก่อนการนำหลักสูตรใหม่ไปใช้ ดังนัน
้ จึงควรกำหนด
คุณสมบัติของผูส
้ อนวิชาต่าง ๆ ให้ชัดเจน

3. ครูควรได้หลักสูตรใหม่ให้ถึงมือก่อนการประกาศใช้เป็ น
เวลา 1-2 ปี เพื่อมีเวลาเตรียมการก่อนการนำหลักสูตรใหม่ไปใช้
และควรจัดให้มีการอบรมครูอย่าง เข้มข้นและทั่วถึงก่อนเวลา
ประกาศใช้หลักสูตร

4. ครูไม่มค
ี วามพร้อมและความเข้าใจต่อการเรียนการสอน
ตามแนวใหม่

34
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552) แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑.
กรุงเทพ.โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิตรากูล ธิวงศ์ษา. การพัฒนาหลักสูตร. สัมพันธ์สาร
ออนไลน์.สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน
2560http://sps.lpru.ac.th/script/indexgroup.pl?
mag_id=5&group_id=22 .ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533).
เทคโนโลยีทางการศึกษา : ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียน
สโตร์.
ปรียาพร วงอนุตรโรจน์.การบริหารงานวิชาการ.(2535).กรุงเทพ.ศู
นย์ส่ อ
ื เสริมกรุงเทพ.
วิชัย วงษ์ใหญ่.การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา.วารสารเพื่อการ
ศึกษา และการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 10
มิถุนายน 2560.จา
ก http://gotoknow.org/blog/cklinphaka/204306

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร:การออกแบบและพัฒนา


ประชุม รอดประเสริฐ. (2535). การบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ: เนติ
กุลการพิมพ์

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน:
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร.
กรุงเทพฯ: เซนเตอร์พับลิคเคชั่น.

สันต์ ธรรมบำรุง. (2527). หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร.


กรุงเทพฯ: การศาสนา.

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนา


หลักสูตร. เชียงใหม่: ดวงกมลเชียงใหม่.

สุองอาจ นัยพัฒน์. (22(64) พฤษภาคม – สิงหาคม 2543). การวิจัยเชิง


ปฏิบัติการ : แนวคิดและวิธีการ. วารสารวัดผลการศึกษา , หน้า 23-
40.

http://wichudatomtam.blogspot.com/2013/03/blog-
post_1520.html สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 25560
https://www.l3nr.org/posts/413485 สืบค้นวันที่ 10 มิถุนายน
25560

36

You might also like