You are on page 1of 16

โรงเรียนนวมินทราชินูทศิ สตรีวทิ ยา พุทธมณฑล วิชา ชีววิทยา 1 รหัสวิชา ว30241

เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การย่ อยอาหารของคน ครู ผ้สู อน นางสาวสุ ดารัตน์ คาผา

การย่อยอาหารของคน
ความสาคัญของการย่อยอาหาร
อาหารที่สิ่งมีชีวิตบริโภคเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม จะนาเข้าสู่เซลล์ได้ก็ต่อเมื่อยู่ในรูปของ
สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก คือ กรดอะมิโน น้าตาลโมเลกุลเดี่ยว กลีเซอรอลและกรดไขมัน นั่นก็คือ
อาหารโมเลกุลใหญ่ที่สิ่งมีชีวิตรับประทานเข้าไป จาเป็นต้องแปรสภาพให้มีขนาดเล็กลง การแปรสภาพของ
อาหารดังกล่าวเกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่อาศัยการทางานของเอนไซม์ย่อยอาหาร โดยทั่วไปเรียกกันว่า “น้าย่อย”
จากนั้นโมเลกุลของสารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ กระบวนการแปรสภาพอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มี
โมเลกุลเล็กลง เรียกว่า การย่อยอาหาร (digestion)

วิธีการย่อยอาหาร
การย่อยอาหาร มี 2 ประเภท คือ
1. การย่อยเชิงกล (mechanical digestion) เป็นขั้นตอนที่อาหารชิ้นใหญ่ถูกทาให้เป็นชิ้นเล็กลง โดย
การบดเคี้ยวด้วยฟัน หรือ การบีบตัวของทางเดินอาหาร
2. การย่อยทางเคมี (chemical digestion) เป็นขั้นตอนที่โมเลกุลของสารอาหารโมเลกุลใหญ่ ถูก
เปลี่ยนสภาพให้มีโมเลกุลเล็กลง โดยใช้เอนไซม์ (enzyme) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทาให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี
ขึ้น การย่อยทางเคมีจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้น้าย่อยเฉพาะอย่างปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนี้ จะต้องมีน้าเข้ามาร่วมใน
กระบวนการแตกสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง เราเรียกกระบวนการแตกสลายสารอาหารที่มี
โมเลกุลใหญ่ ให้มีโมเลกุลเล็กลงโดยอาศัยน้าว่า ไฮโดรไลซีส (hydrolysis) ดังสมการ

เอนไซม์ซูเครส
C12H22O11 + H2O C6H12O6 + C6H12O6

เอนไซม์ เป็นอินทรีย์สารจาพวกโปรตีน ซึ่งมีสิ่งมีชีวิตสร้างขึ้นเพื่อทาหน้าที่กระตุ้นในปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น

อวัยวะในระบบย่อยอาหารของคน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ


1. อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร ได้แก่ ปากและโพรงปาก (mouth and mouth Cavity) คอ
หอย (pharynx) หลอดอาหาร (esophagus) กระเพาะอาหาร (stomach) ลาไส้เล็ก (small intestine)
ลาไส้ใหญ่ (large intestine) ไส้ตรง (rectum) ทวารหนัก (anus)
2. อวัยวะที่ช่วยย่อยอาหาร แต่ไม่ใช่ทางเดินอาหาร ได้แก่ ต่อมน้าลาย (salivary gland) ตับ
(liver) ถุงน้าดี (gall bladder) และตับอ่อน (pancreas)

~1~
อาหารที่มนุษย์กินเข้าไปส่วนใหญ่เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อน ร่างกายจึงต้องมีระบบ
อวัยวะที่สามารถย่อยอาหารเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลงจนสามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ได้ ระบบย่อยอาหาร
ของมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะที่ทาหน้าที่สร้างน้าย่อยกับส่วนที่เป็นทางเดินอาหาร (digestive tract) ซึ่งมี
ความยาวประมาณ 7.5-9 เมตร ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ภาพที่ 1

ภาพที่ 1 อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารของคน

สามารถเขียนเป็นแผนผังทางเดินอาหารได้ดังนี้
ตับ

ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลาไส้เล็ก ลาไส้ใหญ่ ทวารหนัก

ตับอ่อน

~2~
1. ปากและการย่อยอาหารในปาก
ปากเป็นอวัยวะที่สาคัญเริ่มแรกสาหรับการย่อยอาหารของมนุษย์ ถัดจากริมฝีปากเข้ามาเป็นช่องปาก
(buccal cavity) ซึ่งล้อมรอบด้วยเพดานแข็ง (hard palate) เพดานอ่อน (soft palate) ลิ้น (tongue) ฟัน
(teeth) และคอหอย (pharynx) โครงสร้างภายในปากที่มีความสาคัญในการย่อยอาหาร ได้แก่
1.1 ฟัน (teeth)
ฟันมีหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร เป็นการย่อยเชิงกล ทาให้อาหารเล็กลง ฟันของคนเรามี 2 ชุด
ฟันน้านม (deciduous teeth) มี 20 ซี่ เริ่มปรากฏให้เห็นเมื่ออายุ 6 เดือน งอกจนครบเมื่ออายุ 2
ขวบ ด้วยอัตรา 1 ซี่ต่อเดือน ฟันน้านมจะเริ่มหักเมื่ออายุ 5 ปี และหักเมื่ออายุ 13 ปี ฟันน้านมด้านบนมี 10 ซี่
ด้านล่าง 10 ซี่ ทั้งชุดประกอบด้วย ฟันตัด 4 ซี่ ฟันเขี้ยว 2 ซี่ ฟันกราม 4 ซี่ สูตรฟันเป็น I 2/2, C1/1, M 2/2
M C I I C M
2 1 2 2 1 2
2 1 2 2 1 2

ฟันแท้ (permanent teeth) มี 32 ซี่ เริ่มปรากฏเมื่ออายุ 6 ขวบ และขึ้นครบเมื่ออายุ 17-22 ปี


ฟันแท้ประกอบด้วยฟันด้านบน 16 ซี่ ซึ่งมีสูตร I 2/2, C1/1, P 2/2, M 3/3
M P C I I C P M
3 2 1 2 2 1 2 3
3 2 1 2 2 1 2 3
ชนิดของฟัน (ภาพที่ 2) นับจากแนวกึ่งกลางมาทางด้านข้าง ประกอบด้วย
1. ฟันตัด (incisor หรือ I) มีทั้งหมด 8 ซี่
ทาหน้าที่ตัดอาหาร สัตว์พวกที่กัดกินอาหารโดยการ
แทะ เช่น กระต่าย หนู ฟันนี้จะเจริญที่สุด
2. ฟันฉีกหรือเขี้ยว (canine หรือ C) มี
ทั้งหมด 4 ซี่ ทาหน้าที่ ตัดหรือแยกอาหาร
3. ฟันกรามหน้า (premolar หรือ P) มี
ทั้งหมด 4 ซี่ ทาหน้าที่ตัดหรือฉีกอาหาร สัตว์กินเนื้อ
เช่น เสือ สิงโต จะมีฟันฉีกและกรามหน้าที่แข็งแรง
4. ฟันกรามหลัง (molar หรือ M) มี
ทั้งหมด 12 ซี่ ทาหน้าที่ บดและเคี้ยวอาหาร บางคน
อาจจะโผล่ขึ้นมาเพียง 8 ซี่ ทาให้มีฟันเพียง 28 ซี่
ภาพที่ 2 ชนิดของฟันในปาก

~3~
โครงสร้างของฟันประกอบด้วย 3 ส่วน (ภาพที่ 3)
1. ตัวฟัน (crow) เป็นส่วนที่โผล่พ้นเหงือกผิวด้านนอก เป็นส่วนที่แข็งที่สุด มีสารเคลือบฟันเรียก
สารเคลือบฟัน (enamel) ถัดเข้าไปเป็นเนื้อฟัน (dentine) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและหินปูน ชั้นใน
เรียก พัลป์ (pulp) มีเส้นเลือดและปลายเส้นประสาท
2. คอฟัน (neck) เป็นส่วนที่ฝังอยู่ในเหงือก อยู่ระหว่างสารเคลือบฟันกับซีเมนตัม (cementum)
ของรากฟัน
3. รากฟัน (root) ฝังอยู่ในช่องกระดูกขากรรไกร มีซีเมนตัมหุ้ม ช่วยยึดฟันให้แข็งแรงและมีช่องทาง
ที่เส้นเลือดและเส้นประสาทเข้าสู่ฟัน (root canal)

ภาพที่ 3 โครงสร้างของฟัน

หน้าที่ของฟัน
1. บดเคี้ยวอาหาร ฟันจะทาหน้าที่บดเคี้ยวอาหารชิ้นใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ให้น้าย่อยต่างๆ ย่อยได้ง่าย
2. รักษารูปใบหน้า เช่น ฟันเขี้ยว ทาให้ใบหน้าไม่บุ๋ม
3. ช่วยในการออกเสียงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ส ฟ ฝ ซ เป็นต้น

1.2 ต่อมน้าลาย
เป็นต่อมมีท่อ (exocrine gland) ทาหน้าที่ผลิตน้าลายออกมาประมาณวันละ 1-1.5 ลิตร ต่อมน้าลาย
ของคนเรามีอยู่ 3 คู่ คือ
1. ต่อมพาโรทิด (parotid gland) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณกกหู มีหน้าที่สร้าง น้าลายชนิดใส
(serous) เพียงอย่างเดียว หากมีเชื้อไวรัสเข้ามาในต่อมนี้จะเกิดการอักเสบ ทาให้บริเวณกกหูบวมและเจ็บ
เรียกว่า โรคคางทูม (mump หรือ parotitis) ในเด็กผู้ชายนั้นพบว่าเชื้อคางทูมอาจเข้าสู่ถุงอัณฑะทาให้ไม่
สามารถสร้างตัวอสุจิได้ตามปกติ จนเป็นหมันได้ในที่สุด
~4~
2. ต่อมซับแมนดิบิวลาร์ (submandubular gland) เป็นต่อมที่อยู่ใต้ขากรรไกรล่าง มีหน้าที่สร้าง
น้าลายทั้งชนิดเหนียว (mucous) และชนิดใส แต่มีชนิดใสมากกว่า ท่อน้าลายจะเปิดออกบริเวณส่วนล่างของ
ช่องปากด้านหลังฟันตัด
3. ต่อมซับลิงเจียล (sublingual gland) เป็นต่อมที่อยู่ใต้ลิ้น มีหน้าที่สร้างน้าลายทั้งชนิดเหนียว
และชนิดใส แต่มีชนิดเหนียวมากกว่า ต่อมชนิดนี้มีท่อเปิดเล็กๆ จานวนมากอยู่บริเวณผิวด้านล่างของช่องปาก
ต่อมน้าลายที่ผลิตน้าลายชนิดเหนียวมักจะไม่สร้างน้าย่อย แต่จะสร้างเมือก (mucin) ช่วยให้อาหาร
ลื่นกลืนได้สะดวก ส่วนต่อมน้าลายที่ผลิตน้าลายชนิดใสจะสร้างน้าย่อยด้วยคือ ไทอาลิน (ptyalin) หรือ อะ
ไมเลส (amylase) ซึ่งสามารถย่อยสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งและไกลโคเจนได้ การหลั่งของ
น้าลายเกิดจากการกระตุ้นของอาหารในปาก การได้กลิ่นรสอาหาร หรือการคิดถึงอาหารก็มีผลกระตุ้นให้ศูนย์
ควบคุมการหลั่งน้าลายซึ่งอยู่บริเวณเมดัลลา (medulla) กับพอนส์ (pons) ของสมองทางานได้ น้าลายของคน
ปกติโดยทั่วไปมี pH ประมาณ 6.2-7.4 ประกอบด้วยน้าประมาณร้อยละ 99.5 ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ
หลายชนิด เช่น แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม คลอร์ไรด์ และไบคาร์โบเนต เป็นต้น ถ้าน้าลายมีฤทธิ์เป็นกรด
มาก จะละลายแคลเซียมออกจากฟัน ทาให้ฟันผุได้ง่าย ดังนั้นหากฟันมีเศษอาหารติดอยู่จุถูกจุลินทรีย์ภายใน
ปากย่อยสลายกลายเป็นกรดอินทรีย์ ค่อยๆ ละลายแคลเซียมออกมาฟันจึงผุกร่อนได้ง่าย นอกจากนี้ยังทาให้
เกิดแผ่นคราบจุลินทรีย์ (plaque) บนฟันอีกด้วย

ความสาคัญของน้าลาย
1. เป็นตัวหล่อลื่น และทาให้อาหารรวมกันเป็นก้อน เรียกว่า โบลัส (bolus)
2. ช่วยทาความสะอาดปากและฟัน
3. มีเอนไซม์ช่วยย่อยแป้ง
4. ช่วยทาให้ปุ่มรับรสตอบสนองต่อรสหวาน รสเค็ม รสเปรี้ยว และรสขมได้ดี

1.3 การย่อยอาหารในปาก
เริ่มต้นจากการเคี้ยวอาหารโดยการทางานร่วมกันของ ฟัน ลิ้น และแก้ม ซึ่งถือเป็นการย่อยเชิงกล ทา
ให้อาหารกลายเป็นชิ้นเล็กๆ มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับเอนไซม์ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันต่อมน้าลายก็จะหลั่งน้าลาย
ออกมาช่วยคลุกเคล้าให้อาหารเป็นก้อนลื่นสะดวกต่อการกลืน เอนไซม์ในน้าลาย คือ ไทยาลินหรืออะไมเลส
จะย่อยแป้งในระยะเวลาสั้นๆ ในขณะที่อยู่ในช่องปากให้กลายเป็นเดกซ์ทริน (dextrin) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรต
ที่มีโมเลกุลเล็กกว่าแป้ง แต่ใหญ่กว่าน้าตาล หรืออาจย่อยให้กลายเป็นน้าตาลโมเลกุลคู่ หรือน้าตาลโมเลกุล
เดี่ยวก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าเอนไซม์จะลายพันธะที่ตาแหน่งใด
เราสามารถทดสอบได้ว่ามีการย่อยแป้งเกิดขึ้นในปากหรือไม่อย่างไร โดยใช้สารละลายไอโอดีนและ
สารละลายเบเนดิกซ์ทดสอบสารที่เกิดขึ้นจากการเคี้ยวอาหารในปาก ซึ่งได้ผลดังตาราง

~5~
ผลการย่อยแป้ง ผลการทดสอบ
สารละลายไอโอดีน สารละลายเบเนดิกซ์
แป้ง สีน้าเงินปนดา ไม่เปลี่ยนแปลง
เดกซ์ทริน สีม่วงแดง ไม่เปลี่ยนแปลง
มอลโทส ไม่เปลี่ยนแปลง สีส้ม

2. คอหอยและการกลืน
หลังจากที่อาหารถูกเคี้ยวและผสมกับน้าลายจนอ่อนนิ่มแล้วอาหารก็พร้อมที่จะถูกกลืนโดยลิ้นจนดัน
ก้อนอาหาร (bolus) ไปทางด้านหลังให้ลงสู่ช่องคอ ซึ่งจะมีผลให้เกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) ตามลาดับดังนี้ (ภาพที่
4)
1. เพดานอ่อน (solf palate) ถูกดันยกขึ้นไปปิดช่องจมูกเพื่อไม่ให้เกิดการสาลักและไม่ให้อาหารเข้า
ไปในช่องจมูก
2. เส้นเลียง (vocal cord) ถูกดึงให้มาชิดกัน และฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) จะเคลื่อนมาทางข้าง
หลังปิดหลอดลมเอาไว้ป้องกันไม่ให้อาหาร
ตกเข้าสู่หลอดลม
3. กล่องเสียง (larynx) ถูกยกขึ้น
ทาให้รูเปิดช่องคอมีขนาดใหญ่ขึ้น
4. กล้ามเนื้อบริเวณคอหอยหดตัว
ให้ก้อนอาหาร (bolus) เคลื่อนลงไปใน
หลอดอาหารได้โดยไม่พลัดตกลงไปใน
หลอดลมหรือเคลื่อนขึ้นไปในช่องจมูก
ภาพที่ 4 ขั้นตอนการกลืนอาหาร

3. หลอดอาหาร
หลอดอาหารไม่มีต่อมที่ทาหน้าที่สร้างน้าย่อยแต่
การย่อยอาหารยังมีอยู่ เนื่องจากน้าย่อยอ ะไมเลส จาก
น้าลาย เมื่ออาหารผ่านลงสู่หลอดอาหาร จะทาให้เกิดการ
หดตัวของผนังกล้ามเนื้อ หลอดอาหารให้หดตัวติดต่อกัน
เป็นลูกคลื่น ซึ่งเรียกว่า เพอริสตั ลซีส (peristalsis)
(ภาพที่ 4) ไล่ให้อาหารเคลื่อนลงสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งใช้
เวลาประมาณ 5-10 วินาที ถ้าอาหารอยู่ในสภาพที่เหลว
มาก การเคลื่อนที่ของอาหารในหลอดอาหารก็จะเร็วขึ้น
ภาพที่ 6 การเคลื่อนที่แบบเพอริสทัลซิสของหลอดอาหาร
~6~
4. กระเพาะอาหาร
4.1 โครงสร้างของกระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อจากหลอดอาหารอยู่บริเวณด้านบนซ้ายของช่องท้องถัดจากกระ
บังลม ลงมา มีความยาวประมาณ 10 นิ้ว กว้าง 5 นิ้ว จึงถือว่าเป็นส่วนของทางเดินอาหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน (ภาพที่ 7) คือ
1. ส่วนบนสุด หรือส่วนใกล้หัวใจ (cardiac region หรือ cardium) อยู่ต่อจากหลอดอาหาร มี
กล้ามเนื้อหูรูด (cardiac sphincter) ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารในกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ย้อนกลับมายังหลอด
อาหาร
2. ฟันดัส (fundus) เป็นส่วนที่ 2 มีลักษณะ เป็นกระพุ้ง
3. ไพโลรัส (pylorus) เป็นส่วนปลายที่ติดต่อกับลาไส้เล็ก เป็นส่วนที่แคบกว่าส่วนอื่นๆ ตอนปลาย
ของกระเพาะอาหารส่วนนี้มีกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า ไพโลริ กสฟิงก์เตอร์ (pyloric sphincter) ป้องกันมิให้
อาหารเคลื่อนเลยกระเพาะอาหารขณะย่อย
กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรงมาก และยืดหยุ่นขยายขนาดบรรจุได้ถึง 1000-2000
ลูกบาศก์ -เซนติเมตร ภายในกระเพาะอาหารจะมีผนัง มีลักษณะเป็นคลื่น เรียกว่า รูกี (rugae) มีต่อมสร้าง
น้าย่อยประมาณ 35 ล้านต่อม เรียกว่า gastric gland สร้างน้าย่อยของกระเพาะอาหารเรียกว่า gastric
juice ซึง่ น้าย่อยนี้มีองค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่ กรดเกลือ โปแทสเซียม คลอไรด์ น้าเมือก (mucous) และ
เอนไซม์เ พปซิน (pepsin) เรนนิน (renin) และไลเพส (lipase) เมื่อสารองค์ประกอบเหล่านี้รวมตัวกับ
สารอาหารจนเหลวและเข้ากันดีคล้ายซุปข้นๆ เรียกว่า ไคม์ (chyme) การควบคุมการหลั่งน้าย่อยของ
กระเพาะอาหาร

ภาพที่ 7 โครงสร้างของกระเพาะอาหารของคน

~7~
4.2 การ ย่อยของกระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารจะหลั่งน้าย่อยออกมาอยู่ภายใต้การควบคุมของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 (vagus
nerve) และฮอร์โมน gastrin จากกระเพาะอาหารเองมากระตุ้น
เอนไซม์จากผนังของกระเพาะอาหารบางชนิด เมื่อสร้างออกมาใหม่ๆ ยังทาหน้าที่ไม่ได้ (inactive
form) จะต้องถูกกระตุ้นโดยกรดเกลือ (HCl) ที่ทาให้ pH ในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งเหมาะแก่การ
ทาให้ น้าย่อยเพปซิโนเจน ( pepsinogen) เปลี่ยนสภาพ เป็นเพปซิน ( pepsin) ที่พร้อมจะย่อยอาหารได้
ดังสมการ (ขณะที่หลั่งออกมาใหม่ๆ ยังทาหน้าที่ไม่ได้)
ต้องเปลี่ยนสภาพเป็น
pepsinogen pepsin (ย่อยอาหารได้)
HCL
ต้องเปลี่ยนสภาพเป็น
prorennin rennin (ย่อยอาหารได้)
HCL
จากนั้นเอนไซม์ pepsin และ rennin จะย่อยโปรตีนได้

ในคนปกติจะหลั่งน้าย่อยจากกระเพาะอาหารวันละประมาณ 3 ลิตร โดยน้าย่อยของกระเพาะอาหาร


เป็นน้าใสๆ มีน้าเป็นส่วนประกอบร้อยละ 99.4 มีความถ่วงจาเพาะ 1.000-1.003 pH ประมาณ 1.2 -1.7 ซึ่งมี
ความเป็นกรดสูงมาก

1. เพปซิโนเจน (pepsinogen) ปกติแล้วเพปซิโนเจนยังไม่มีฤทธิ์ในการย่อยอาหาร แต่เมื่อทา


ปฏิกิริยากับกรดเกลือแล้วจะเปลี่ยนเป็นน้าย่อยเพปซิน ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ในการย่อยสารอาหารจาพวก
โปรตีนให้เป็นเพปโทน (peptone) และโพลีเพปไทด์ (polypeptide) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาดเล็กลง
ดังสมการ
pepsin
protein + น้า peptone + polypeptides
pepsin
polypeptides + น้า peptide
pepsin
peptide + น้า amino acid ในที่สุด

2. โปรเรนนิน (prorennin) เป็นเอนไซม์ที่ยังทางานไม่ได้เช่นเดียวกับเพปซิโนเจน ต้องถูกเปลี่ยนให้


อยู่ในรูปของเรนนิน (rennin) ก่อนจึงจะสามารถเปลี่ยนโปรตีน (casein) ในนมโดยรวมกับแคลเซียมให้เป็นนม
ที่ตกตะกอนเป็นลิ่มๆ จากนั้นจะถูกเพปซินย่อยต่อไป ดังสมการ
~8~
rennin
+
casein (โปรตีนในน้านม) + Ca paracascin (ตกตะกอน)

เรนนินในผู้ใหญ่มีน้อยและไม่ค่อยมีความสาคัญมากนักเพราะในกระเพาะอาหารของผู้ใหญ่มี pH ต่า
เกินไป แต่ในเด็กทารกมีประโยชน์มากและพบเรนนินปริมาณมากในเด็กอีกด้วย

3. ไลเพส (lipase) เป็นน้าย่อยที่พบในกระเพาะอาหารในปริมาณที่น้อยมากซึ่งเป็นน้าย่อยที่ทา


หน้าที่ทาให้ไขมันแตกเป็นเม็ดละเอียดจนเป็น emulsion และยังทางานไม่ได้เพราะสภาพของกระเพาะ
อาหารเป็นกรดสูง ซึ่ง ไลเพสจะทางานได้ดีที่ pH ประมาณ 8 ซึ่งเป็นเบสอ่อนๆ แต่ไม่ถูกทาลายด้วยกรด
ดังนั้นเมื่อไขมันและ ไลเพสผ่านเข้าสู่ลาไส้เล็กก่อนจึงจะทาการย่อยได้
อาหารจะถูกคลุกเคล้าอยู่ในกระเพาะด้วยการหดตัว และคลายตัวของกล้ามเนื้อที่แข็งแรงของ
กระเพาะ โปรตีนจะถูกย่อยในกระเพาะ โดยน้าย่อยเพปซิน ซึ่งย่อยพันธะบางชนิดของเพปไทค์เท่านั้น ดังนั้น
โปรตีนที่ถูก เพปซินย่อยส่วนใหญ่จึงเป็นพอลิเพปไทค์ที่สั้นลง
กระเพาะอาหารก็มีการดูดซึมอาหารบางชนิดได้ แต่ปริมาณน้อยมาก เช่น น้า แร่ธาตุ น้าตาลโมเลกุล
เดี่ยว กระเพาะอาหารดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดี
อาหารโปรตีน เช่น เนื้อวัว ย่อยยากกว่าเนื้อปลา ในการปรุงอาหารเพื่อให้ย่อยง่าย อาจใช้การหมัก
หรือใส่สารบางอย่างลงไปในเนื้อสัตว์เหล่านั้น เช่น ยางมะละกอ หรือสับปะรด

4.3 หน้าที่ของกระเพาะอาหาร
1. เป็นที่พักของอาหาร
2. ย่อยอาหาร ในกระเพาะอาหารมีต่อมน้าย่อยที่เรียกว่า gastric gland ซึ่งจะทาหน้าที่สร้างน้าย่อย
กรด-เกลือ และน้าเมือก ซึ่งน้าย่อยนี้จะย่อยอาหารจาพวกโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง
3. ลาเลียงอาหารเข้าสู่ลาไส้เล็กในอัตราที่พอเหมาะ
4. กรดเกลือในกระเพาะอาหารช่วยทาลายแบคทีเรียที่ติดมากับอาหารและลดอาการบูดเน่าของ
อาหารในกระเพาะอาหารลง
การอาเจียน (vomiting) เป็นการเคลื่อนที่ของอาหารจากกระเพาะอาหารกลับออกมาทางปาก
เนื่องจากการหดตัวอย่างแรงของไพโลรัส กระบังลมและกล้ามเนื้อท่อลมหดตัวกดกระเพาะอาหาร ในขณะที่
ส่วนของ คาร์เดีย ฟันดัส และหลอดอาหารคลายตัว ทาให้อาหารถูกบีบออกจากกระเพาะอาหารออกทางปาก
อย่างรวดเร็ว อาการอย่างนี้พบมากในคนที่เมารถหรือเมาคลื่นในขณะที่นั่งเรือ
5. ลาไส้เล็ก
ลาไส้เล็ก (small intestine) เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร ต่อมาจากกระเพาะอาหาร มี
ความยาวประมาณ 7-8 เมตร ผนังด้านในของลาไส้เล็กมีลักษณะเป็นลอนตามขวาง มีส่วนยื่นเล็กๆ มากมาย

~9~
เป็นตุ่ม เรียกว่า วิลลัส (villus พหูพจน์เรียกว่า villi) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้ว
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.1 โครงสร้างของลาไส้เล็ก
ลาไส้เล็กของคนมีลักษณะคล้ายท่อขดไปมาอยู่ในช่องท้องแบ่งเป็น3 ตอน (ภาพที่ 8) คือ
ดูโอดีนัม (duodenum) ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มีรูปร่างเหมือนตัวยูคลุมอยู่รอบๆ บริเวณ
ส่วนหัวของตับอ่อน (Pancreas) ภายในดูโอดีนัมมีต่อมสร้างน้าย่อยและเป็นตาแหน่งที่ของเหลวจากตับอ่อน
และน้าดีจากตับมาเปิดเข้า จึงเป็นตาแหน่งที่มีการย่อยเกิดขึ้นมากที่สุด
เจจูนัม (jejunum) ยาวประมาณ 2 ใน 6 ของลาไส้เล็กหรือประมาณ 3-4 เมตร
ไอเลียม (ileum) เป็นลาไส้เล็กส่วนสุดท้ายปลายสุดของไอเลียมต่อกับลาไส้ใหญ่

บริเวณลาไส้ตอนต้น
(duodenum) จะมีน้าย่อยจากสาม
แหล่งมาผสมกับไคม์ (chyme) (อาหาร
ที่คลุกเคล้ากับน้าย่อยและถูกย่อยไป
บางส่วน มีลักษณะคล้ายซุปข้นๆ )
ได้แก่ น้าย่อยจากผนังลาไส้เล็ก
(intestinal juice) น้าย่อยจากตับอ่อน
(pancreatic juice) น้าดี (bile) จาก
ตับ (liver) ซึ่งนามาเก็บไว้ที่ถุงน้าดี

ภาพที่ 8 ส่วนต่างๆ ของลาไส้เล็ก

5.2 การย่อยอาหารในลาไส้เล็กมี 2 วิธี


การย่อยเชิงกล (mechanical digestion) มีแบบสาคัญ คือ
1. การหดตัวเป็นจังหวะ (rhythmic segmentation) เป็นการหดตัวที่ช่วยให้อาหารผสมคลุกเคล้ากับ
น้าย่อยหรือช่วยไล่อาหารให้เคลื่อนที่ไปยังทางเดินอาหารส่วนถัดไป อาจมีจังหวะเร็ว (15-20 ครั้ง /นาที) หรือ
ช้า (2-3 ครั้ง/นาที)
2. เพอริสตัลซิส (peristalsis) เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารเป็นช่วงๆ ติดต่อกัน การ
เคลื่อนไหวแบบนี้จะช่วยผลักอาหาร หรือบีบไล่อาหารให้เคลื่อนที่ต่อไป

~ 10 ~
การย่อยทางเคมี (chemical digestion) บริเวณดูโอดีนัม จะมีน้าย่อยจากแหล่งต่างๆ มาช่วยย่อย
น้าย่อยของลาไส้เล็ก (intestinal juices) เป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจากผนังของลาไส้เล็กเอง
ประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิด ดังนี้
เอนเทอโรไคเนส (enterokinase) เปลี่ยนโพรเอนไซม์ทริปซิโนเจน (trypsinogen) เป็นทริปซิน
(trypsin)
ไตรเพปทิเดส (tripeptidase) ย่อย tripeptide ได้ amino acid + dipeptide
ไดเพปทิเดส (dipeptidase) ย่อย dipeptide ได้ amino acid
มอลเทส (maltase) ย่อย maltose ได้ glucose + glucose
ซูเครส (sucrase) ย่อย sucrose ได้ glucose + fructose
แลกเทส (lactase) ย่อย lactose ได้ glucose + galactose
ไลเพส (lipase) ย่อย fat ได้ fatty acid + glycerol
นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์อีกหลายชนิดที่ช่วยย่อยสลายเ พปไทด์ (peptide) จนได้ amino acid เช่น
carboxypeptidase และ aminopeptidase
ลาไส้เล็ก จะหลั่งน้าย่อยออกมาอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ (ANS =
automatic nervous system) ชนิด parasympathetic nerve หรือเป็นประสาทสมองคู่ที่ 10
(vagus nerve)

5.3 การดูดซึมอาหารในลาไส้เล็ก
การดูดซึมอาหาร หมายถึง ขบวนการที่นาอาหารที่ผ่านการย่อยจนได้เป็นสารโมเลกุลเดี่ยว เช่น
กลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน กลีเซอรอล ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนาไปสู่ส่วนต่างๆ
ของร่างกาย
ลาไส้เล็ก เป็นบริเวณที่ดูดซึมอาหารเกลืบทั้งหมดเพาะเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่าง
สมบูรณ์ และโครงสร้างภายในลาไส้เล็กก็เหมาะแก่การดูดซึม คือ ผนังลาไส้เล็กจะย่อยพับไปมา และมีส่วนยื่น
ของกลุ่มของเซลล์ที่เรียงตัวเป็นแถวเดียวมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ เรียกว่า วิลลัส (villus) เป็นจานวนมาก ใน
แต่ละเซลล์ของวิลลัสยังมีส่วนยื่นของเยื่อหุ้มเซลล์ออกไปอีกมากมาย เรียกว่า ไมโครวิลลัส (microvillus)
ในคน มีวิลลัสประมาณ 20-40 อันต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตรหรือประมาณ 5 ล้านอัน ตลอดผนังลาไส้
ทั้งหมด ดังภาพที่ 9

~ 11 ~
ภาพที่ 9 โครงร้างของลาไส้เล็ก (a) ผนังลาไส้เล็กตัดตามขวาง ( b) รอยพับขยายให้เห็นวิลไล (c) การดูดซึม
สารของลาไส้เล็ก

~ 12 ~
5.4 อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารที่ลาไส้เล็ก
1) ตับ (liver)
ตับ (liver) เป็นอวัยวะที่มีขนาด
ใหญ่ที่สุดในร่างกาย เป็นต่อมขนาดใหญ่
เนื้อแน่น อยู่ถัดจากกระบังลมลงมา
ข้างล่าง มีน้าหนักประมาณ 3-3.5 ปอนด์
ตับจะมีแผ่นเยื่อยึดตับไว้กับผนังด้านใน
ของช่องอกตรงที่เป็นทางเข้าของท่อน้าดี
และเส้นประสาท (ภาพที่ 11) ตับทาหน้าที่
สร้าง น้าดี (bile) แล้วนาไปเก็บไว้ที่ ถุง
น้าดี (gall bladder) ไม่ถือว่าเป็น
เอนไซม์ เพราะจะเปลี่ยนสภาพไปจาก
เดิม เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลงแล้ว น้าดีจะมี
ส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ภาพที่ 11 ตับอ่อนและตับ

- เกลือน้าดี (bile salt) มีหน้าที่ตีให้ไขมัน (fat) แตกตัวเป็นหยดเล็กๆ ไขมันที่ถูกตีให้แตกตัวเป็น


หยดเล็กๆ เรียกว่า อีมัลชั่น (emulsion) จากนั้นจึงถูก lipase ย่อยต่อให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
- รงควัตถุน้าดี (bile pigment) เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลลิน (hemoglobin) โดยตับ เป็น
แหล่งทาลายและกาจัด hemoglobin ออกจากเซลล์ เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ โดยเก็บรวมเข้าไว้เป็นรงค
วัตถุในน้าดี (bile pigment) คือ บิริรูบิน (bilirubin) จึงทาให้น้าดีมีสีเหลือหรือเขียวอ่อน และจะถูก
เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมน้าตาล โดยแบคทีเรียในลาไส้ใหญ่เกิดเป็นสีในอุจจาระ
- โคเรสเตอรอล (cholesterol) ถ้ามีมากๆ จะทาให้เกิดนิ่วในถุงน้าดี เกิดการอุดตันที่ท่อน้าดี เกิด
โรคดีซ่าน (janudice) มีผลทาให้การย่อยอาหารประเภทไขมันบกพร่อง
หน้าที่ของน้าดี
1.น้าดีไม่ใช่น้าย่อยอาหาร แต่เกลือในน้าดีมีหน้าที่ในการตีก้อนไขมันให้มีขนาดเล็กลง (emulsified
fat) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวช่วยให้เอนไซม์ย่อยไขมันได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ผนังลาไส้เล็กดูดซึมบางส่วนเข้าสู่ท่อ
น้าเหลืองได้มากขึ้น
2. กระตุ้นการทางานของน้าย่อยที่ย่อยไขมัน
3. กรดน้าดี ช่วยป้องกันเอนไซม์ที่มาจากตับอ่อนไม่ให้ถูกย่อยโดยเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน
4. น้าดีมีฤทธิ์เป็นเบส จึงช่วยลดความเป็นกรดของอาหารที่มาจากกระเพาะอาหารได้
5. เมื่อมีการดูดซึมน้าดีเข้าสู่ตับจะมีการกระตุ้นให้ตับสร้างและขับน้าดีได้มากขึ้น
6. น้าดีช่วยในการขับถ่ายสารพิษออกจากร่างกาย และยังทาหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดการบูดเน่าของ
อาหารในลาไส้เล็กได้อีกด้วย
~ 13 ~
2) ตับอ่อน (pancrease)
ตับอ่อน (pancrease) เป็นอวัยวะที่ติดกับบริเวณส่วนโค้งของดูโอดินัมตอนล่างของกระอาหารทา
หน้าที่เป็นทั้งต่อมีท่อและต่อมไร้ท่อ มีสีแดงหรือสีเหลืองเทา รูปร่างคล้ายใบไม้ ยาวประมาณ 20-25
เซนติเมตร ตับอ่อนสามารถผลิตของเหลวได้ถึงวันละ 2,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร (ภาพที่ 11) ซึง่ เอนไซม์ที่
สร้างมาจากตับอ่อน (pancreas) มีสภาพเป็นเบส ประกอบด้วย
- โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) มีคุณสมบัติเป็นเบส จึงถือว่าเหมาะสมที่จะทาให้ลาไส้เล็กมี
สภาวะเป็นเบส ซึ่งเอนไซม์ต่างๆ (จาก 3 แหล่ง ) จะทางานได้ (ยกเว้น pepsin จากกระเพาะอาหารจะ
หมดประสิทธิภาพ) เพราะในขณะที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารมีสภาวะเป็นกรด
- อะไมเลส (amylase) ทาหน้าที่ย่อยแป้ง (starch) เด็กทริน (dextrin) และมอลโทส (maltose)
- ไลเปส (lipase) ทาหน้าที่ย่อยไขมัน (fat) กรดไขมัน (fatty acid) และกลีเซอรอล (grycerol)
- ทริปซิโนเจน (trypsinogen) (เมื่อเกิดใหม่ๆ ยังเป็นเอนไซม์ที่ย่อยอาหารไม่ได้ แต่เมื่อผ่านถึง
ลาไส้เล็กตอนต้น จะเปลี่ยนสภาพเป็น trypsin โดยอาศัยเอนไซม์ enterokinase จากผนังลาไส้เล็กช่วย
เอนไซม์ trypsin จะย่อย protein และ polypeptide peptide (trypsin ย่อยโปรตีนต่อจาก pepsin ซึง่
หมดหน้าที่เมื่ออาหารมีสภาพเป็นเบส เพราะ pepsin ทาหน้าที่ได้ดีในสภาวะที่เป็นกรดสูง)
- ไคโมทริพซิน (chymotrypsin) ย่อย polypeptide (ต่อจาก trypsin )
- คาร์บอกซีเปปติเดส (carboxypeptidase) ย่อย peptide ได้ amino acid
การควบคุมการย่อยอาหารโดยฮอร์โมน
ฮอร์โมนหลายตัวมีบทบาทในการควบคุกาย่อยอาหาร เมื่ออาหารตกถึงกระเพาะอาหารจะกระตุ้นให้
เซลล์บุกระเพาะอาหารหลั่งฮอร์โมนแกสทริน (gastrin) ฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารบีบตัวและ
หลั่งน้าย่อย ซึ่งประกอบด้วยเพปซิโนเจน (pepsinogen) และกรดเกลือ ในที่นี้ถ้ากระเพาะอาหารเป็นกรดมาก
เกินไปจะไปยับยั้งการหลั่งแกสทริน เมื่ออาหารในรูปของไคม์ลงสู่ลาไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งบริเวณนี้จะหลั่ง ฮอร์โมน
เอนเทอโรแกสโทน (enterogastone) หลายชนิด โดยความเป็นกรดของอาหารที่มาจากกระเพาะอาหาร จะ
กระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนซีคริติน (secretin) ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งไบคาร์โบเนต (NaHCO3) ออกมา ทา
ให้ความเป็นกรดที่ลาไส้ลดลง (ทาให้เอนไซม์ ไลเพส อไมเลส ทางานได้) กรดอะมิโนและกรดไขมันในอาหารจะ
กระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนโคเลซีสโทไคนิน (cholecytokinin, CCK) ซึ่งไปกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งน้าย่อยและถุง
น้าดีหลั่งน้าดี และ CCK ยังไปกระตุ้นให้สมองให้เกิดอาการอิ่ม ด้วยเหตุนี้นักโภชนาการจึงแนะให้เริ่มกินอาหาร
พวกโปรตีนก่อนจะทาให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ถ้าอาหารที่มาถึงลาไส้เล็กมีปริมาณของไขมันมาก จะไปกระตุ้นให้
ฮอร์โมนแกสทริคอินฮิบิทิงเพปไทด์ (gastric inhibiting peptide, GIP) ไปยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะ
อาหารทาให้อาหารจากกระเพาะอาการเคลื่อนที่ลงสู่ลาไส้เล็กช้าลง และกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน
(insulin) เพื่อกระตุ้นให้เซลล์นาอาหารไปใช้ การทางานร่วมกันของฮอร์โมนในการควบคุมการย่อยอาหาร
สรุปได้ดังภาพที่ 12

~ 14 ~
ภาพที่ 12 การทางานร่วมกันของฮอร์โมนในการควบคุมการย่อยอาหารของคน

6. ลาไส้ใหญ่
6.1 โครงสร้างของลาไส้ใหญ่
สาไส้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 1.50 เมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
(ภาพที่ 10) คือ
ส่วนที่ 1 ซีกัม (caecum) เป็นลาไส้ใหญ่
ส่วนต้น ยาวประมาณ 6.3-7.5 เซนติเมตร มีไส้ติ่ง
(appendix) ยื่นออกมาขนาดราวนิ้วก้อย (ยาว
ประมาณ 3 นิ้ว ) เหนือท้องน้อย ทางด้านขวา ไส้ติ่งถือ
ว่าเป็นต่อมน้าเหลืองชนิดหนึ่ง ในสัตว์กินพืชจะมีขนาด
ยาว ทาหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารในคนไม่มี
ประโยชน์ ถ้าอักเสบต้องรีบผ่าตัดออกโดยเร็ว
ส่วนที่ 2 โคลอน (colon) เป็นส่วนที่ยาว
ที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย คือ
โคลอนส่วนขึ้น (ascending colon) เป็น
ส่วนของโคลอนที่ยื่นตรงขึ้นไปเป็นแนวตั้งฉากทาง
ด้านขวาของช่องท้อง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
ภาพที่ 10 โครงสร้างของลาไส้ใหญ่ของคน
~ 15 ~
โคลอนส่วนขวาง (transverse colon) เป็นส่วนที่วางพาดตามแนวขวางของช่องท้องยาวประมาณ
50 เซนติเมตร
โคลอนส่วนล่าง (descending colon) เป็นส่วนที่วิ่งตรงลงมาเป็นแนวตั้งฉากทางด้านซ้ายของ
ช่องท้อง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
ส่วนที่ 3 ไส้ตรง (rectum) เป็นส่วนปลายของลาไส้ใหญ่ มีลักษณะเป็นท่อตรง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
ตรงปลายของไส้ตรงจะเป็น ทวารหนัก (anus) ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของระบบทางเดินอาหาร มีความยาว
ประมาณ 2.50-3.50 เซนติเมตร โดยมีกล้ามเนื้อหูรูด 2 อัน ควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก กล้ามเนื้อหูรูด
ด้านในถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติไม่อยู่ใต้บังคับของจิตใจ ส่วนกล้ามเนื้อหูรูดด้านนอกอยู่ใต้บังคับ
ของจิตใจ และสาคัญมากในการควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก

หน้าที่ของลาไส้ใหญ่
1. สะสมกากอาหารที่ลาไส้เล็ก
2. ดูดซึมเกลือรา น้า กลูโคส ที่ยังเหลืออยู่ออกจากกากอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ทาให้กากอาหารเป็น
ก้อนแข็ง เรียกว่า อุจจาระ (feces)
3. เป็นที่อยู่ของแบคทีเรีย ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะย่อยเซลลูโลสที่ร่างกายย่อยมาได้ให้เปลี่ยนมาเป็น
กลูโคส และแบคทีเรียบางชนิดทาให้กากอาหารละเอียดขึ้นและเหลวลง เพื่อให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
แบคทีเรียที่อยู่ในลาไส้ใหญ่บางชนิดจะเป็นโทษ คือ สร้างพิษในขณะที่มันกินอาหาร ถ้าผนังลาไส้ใหญ่
ถูกรบกวน โดยพิษนี้ทาให้ลาไส้ใหญ่หมดกาลังที่จะดูดน้า อุจจาระจะเหลวมากทาให้เราต้องถ่ายบ่อยๆ
หรือที่เรียกว่าท้องเดิน (diarrhea) แต่ถ้าลาไส้ใหญ่ดูดน้าออกจากอุจจาระมากเกินไปจะทาให้อุจจาระ
แข็ง ถ่ายออกยาก เรียกว่า ท้องผูก (constipation)

ที่มา:
ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล. 2548. ชีววิทยา: สัตววิทยา 1. ด่านสุทธาการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
ประสงค์ หลาสะอาด และจิตเกษม หลาสะอาด. 2548. คู่มือการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม ชีววิทยา ม.4 เล่ม 2. พ.ศ.
พัฒนา จากัด.กรุงเทพฯ.
สมาน แก้วไวยุทธ. 2544. ชีววิทยา ม. 4 เล่ม 2. ไฮเอ็ดพับลิชชิง, กรุงเทพฯ
อุษณีย์ ยศยิ่งยวด. 2547. ชีววิทยา.นานมีบุคส์.กรุงเทพฯ.
อาพา เหลืองภิรมณ์. 2544. สรีรวิทยาของสัตว์. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Campbell, N.A. and Reec, J.B. 2002. Biology 6th education. Benjamin/Cummings Pubrishing Company, Inc.
San Francisco.
http://www.snr.ac.th/elearning/phunnee_pdigestion/index_di.html
http://science.biology.rbru.ac.th/academics/es/bio1/Chapter7.html

~ 16 ~

You might also like