You are on page 1of 13

1

สรุปปทรูปสิทธิ ตัทธิตกัณฑ์
(บท+ปัจจัย)
ก. ความหมายของตัทธิต
ตัทธิต คือปัจจัยหมู่หนึ่งที่ใช้ประกอบหลังนามบท เพื่อแทนศัพท์ที่ถูกลบไป (Nominal derivation) มี
วิเคราะห์ว่า “ตสฺมา ติวธิ ลิงคฺ โต ปรํ หุตวฺ า หิตา สหิตาติ ตทฺธติ า, ณาทิปจฺจยา”. (ต + หิต) ปัจจัยทั้งหลายมี
ณ เป็นต้น เป็นเบื้องหลังจากลิงค์ทั้งสามนั้น เป็นไปด้วยกัน เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าตัทธิต. หรือวิเคราะห์ว่า “เตสํ
นามิกานํ หิตา อุปการา ตทฺธิตา” ปัจจัยทั้งหลายอันเกื้อหนุน แก่บททั้งหลายอันประกอบด้วยนามวิภัตติเหล่านั้น
ชื่อว่าตัทธิต. ตามวิเคราะห์หลังนี้ ลิงค์ หรือ นาม มี ๓ อย่าง คือ
(๑) สุทธนาม ได้แก่การนํานามล้วนๆ มาทําเป็นตัทธิต เช่น โปริสํ มาจาก “ปุริส + ณ” เป็นต้น
(๒) สมาสนาม ได้แก่การนําสมาสมาทําเป็นตัทธิต เช่น ราชปุตฺตโก มาจาก “ราชปุตฺต + กณฺ” เป็นต้น
(๓) ตัทธิตนาม ได้แก่การนําตัทธิตมาทําเป็นตัทธิตอีกครั้ง เช่น ทณฺฑิตา มาจาก “ทณฺฑี + ตา” เป็นต้น
ฉะนั้น ตัทธิตนี้ จึงได้แก่ศัพท์นามใหม่ ที่เกิดจากการผสมคํานามกับปัจจัยเข้าด้วยกัน การเรียกชื่อตัทธิต
ต่างๆ เรียกตามศัพท์ที่ถูกลบไป ดังมีคํากล่าวที่ว่า “หมูตาย หมูตัทธิต, หมาตาย หมาตัทธิต” เช่นในตัวอย่างว่า
“วาสิฏฺโฐฃ” แปลว่า เหล่ากอของนายวสิฏฐะ มาจาก “วสิฏฐฃฺ + ณปัจจัย” มีรูปวิเคราะห์ว่า “วสิฏฺฐฃสฺส อปจฺจํ วา
สิฏฺโฐฃ” ในที่นี้ ลง ณปัจจัยมาแทน “อปจฺจ”ศัพท์ที่ถกู ลบไป ดังนั้น จึงเรียกตัทธิตนีว้ า่ “อปัจจตัทธิต” เป็นต้น

ตทฺธติ : มาจาก ต + หิต


แปลง หิ > ธิ ด้วยมหาสูตร = ยทนุปปนฺนา นิปาตนา สิชฌ
ฺ นฺติ
ลง อํ นิคคหิตอาคม มาหลัง ต แล้วแปลง อํ > ทฺ = ตทฺธติ

(ข้อสังเกต : บท + บท = สมาส, บท + ปัจจัย = ตัทธิต, ธาตุ + ปัจจัย = กิตก์)

ข. ประเภทของนามศัพท์ที่นาํ มาทําเป็นตัทธิต
๑. สุทธนาม + ปัจจัย เช่น สมณสฺส อปจฺจํ สามเณโร. (สมณ + เณร) (อปัจจตัทธิต)
เหล่ากอ แห่งพระสมณะ ชื่อว่าสามเณร. (สามเณร)
๒. คุณนาม + ปัจจัย เช่น สพฺเพสํ อติสเยน วโร วรตโร. (วร + ตร) (วิเสสตัทธิต)
ประเสริฐ โดยยิ่ง กว่าชนทั้งปวง ชื่อว่าวรตร. (ประเสริฐกว่า)
๓. สัพพนาม + ปัจจัย เช่น เตน ปกาเรน ตถา. (ต + ถา) (อัพยยตัทธิต)
โดยประการนั้น ชื่อว่าตถา. (โดยประการนั้น)
๔. สมาสนาม + ปัจจัย เช่น สุนทฺ โร มโน ยสฺสาติ สุมโน. (สุ + มน) (พหุพพีหิสมาส)
ใจ อันดี ของบุคคลใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่าสุมน. (ผู้มีใจดี)
สุมนสฺส ภาโว โสมนสฺสํ. (สุมน + ณฺย) (ภาวตัทธิต)
ความเป็น แห่งผู้มีใจดี ชื่อว่าโสมนสฺส. (ความเป็นแห่งผู้มีใจดี)
2

๕. ตัทธิตนาม + ปัจจัย เช่น เมธา ยสฺส อตฺถีติ เมธาวี. (เมธา + วี) (อัสสัตถิตัทธิต)
ปัญญา ของบุคคลใด มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่าเมธาวี. (ผู้มีปัญญา)
วิเสเสน เมธาวีติ เมธิโย. (เมธาวี + อิย) (วิเสสตัทธิต)
ผู้มีปัญญา โดยพิเศษ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าเมธิย. (ผู้มีปัญญากว่า)

- นิบาต + ปัจจัย เช่น ปจฺฉา ชาโต ปจฺฉิโม. (ปจฺฉา + อิม) (ผู้เกิดในภายหลัง)


- อาขฺยาต + ปัจจัย เช่น เอหิ ปสฺสาติ อิมํ วิธึ อรหตีติ เอหิปสฺสิโก. (เอหิปสฺส + ณิก )

เปรียบเทียบภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษ
(Comparison of Pali with English)

การสร้างคําตัทธิต (Secondary derivation) โดยการลงปัจจัยทีค่ ํานามหรือคุณศัพท์ เพื่อทําให้เป็นคํานามหรือ


คําคุณศัพท์

ก. บาลี เช่น - สฺยาม (สยาม) ลง ณิก ปัจจัย เป็น สฺยามิก แปลว่า ผูเ้ กิดในสยาม (ชาวสยาม)
- สหาย (เพื่อน) ลง ตา ปัจจัย เป็น สหายตา แปลว่า ความเป็นเพือ่ น

ข. อังกฤษ เช่น - Siam (สยาม) ลง eseปัจจัย เป็น Siamese แปลว่า ชาวสยาม


- friend (เพื่อน) ลง shipปัจจัยเป็น friendship แปลว่าความเป็นเพื่อน

*ตัทธิตว่าโดยประเภทใหญ่ๆ มี ๓ ประเภท(โครงสร้างควรจํา)
(๑) สามัญญวุตติตทั ธิต มี ๕ =อปัจจตัทธิต/สังสัฏฐาทิอเนกัตถตัทธิต/วิเสสตัทธิต/อัสสัตถิตัทธิต/ สังขยาตัทธิต
(๒) ภาวตัทธิต
(๓) อัพยยตัทธิต
หมายเหตุ: ข้อ(๑) สามัญญวุตติตทั ธิต *ในปทรูปสิทธิ จัดไว้ ๔ ในทีน่ ี้ แยก วิเสสตัทธิต ออกมาจาก อเนกัตถตัทธิต
กลายเป็น ๕ เพื่อให้จดจําง่ายขึ้น
3

ค. ประเภทของตัทธิต
ตัทธิตว่าโดยประเภทใหญ่ๆ มี ๓ ประเภท คือ
(๑) สามัญญวุตติตทั ธิต คือตัทธิตทั่วๆ ไป แบ่งออกเป็น ๕ ประการ คือ
๑.๑ อปัจจตัทธิต ตัทธิตที่เกี่ยวข้องกับโคตร ตระกูล เหล่ากอ บุตร มีปัจจัย ๙ ตัว คือ ณ,
ณายน, ณาน, เณยฺย, ณิ, ณิก, ณฺย, ณว และ เณรปัจจัย
๑.๑.๑ ณปัจจัย เช่น วสิฏฺฐฃสฺส อปจฺจํ วาสิฏฺโฐฃ. (วสิฏฺฐฃ + ณ) เหล่าก่อของนายวสิฏฐะ
๑.๑.๒ ณายนปัจจัย เช่น กจฺจสฺส ปุตฺโต กจฺจายโน. (กจฺจ + ณายน) บุตรของนายกัจจะ
๑.๑.๓ ณานปัจจัย เช่น กจฺจสฺส ปุตฺโต กจฺจาโน. (กจฺจ + ณาน) บุตรของนายกัจจะ
๑.๑.๔ เณยฺยปัจจัย เช่น กตฺติกาย ปุตฺโต กตฺติเกยฺโย. (กตฺติกา + เณยฺย) บุตรของนางกัตติกา
๑.๑.๕ ณิปัจจัย เช่น โทณสฺส อปจฺจํ โทณิ. (โทณ + ณิ) บุตรของนายโทณะ
๑.๑.๖ ณิกปัจจัย เช่น สกฺยปุตฺตสฺส ปุตฺโต สกฺยปุตฺติโก. (สกฺยปุตฺต + ณิก) บุตรของศากยบุตร
๑.๑.๗ ณฺยปัจจัย เช่น อทิติยา ปุตฺโต อาทิจฺโจ. (อทิติ + ณฺย) บุตรของนางอทิติเทพธิดา
๑.๑.๘ ณวปัจจัย เช่น อุปคุสฺส อปจฺจํ โอปคโว. (อุปคุ + ณว) บุตรของอุปคุ
๑.๑.๙ เณรปัจจัย เช่น สมณสฺส ปุตฺโต สามเณโร. (สมณ + เณร) บุตรของพระสมณะ
๑.๒ สังสัฏฐาทิอเนกัตถตัทธิต ตัทธิตที่มีอรรถสังสัฏฐะ(ระคน)เป็นต้น มีปจั จัย ๑๖ ตัว คือ ณิก,
ณ, เณยฺย, อิม, อิย, อิก, กิย, ย, ณฺย, กณฺ, ตา, อายิตตฺต, ล, อาลุ, ก และ มยปัจจัย
๑.๒.๑ ณิกปัจจัย เช่น ติเลน สํสฏฺฐฃํ เตลิกํ. (ติล + ณิก) อันระคนด้วยงา
๑.๒.๒ ณปัจจัย เช่น กสาเวน รตฺตํ กาสาวํ. (กสาว + ณ) อันย้อมด้วยนํ้าฝาด
๑.๒.๓ เณยฺยปัจจัย เช่น พาราณสิยํ ชาโต พาราณเสยฺยโก. (พาราณสี + เณยฺย) ผู้เกิดในเมือง
พาราณสี
๑.๒.๔ อิมปัจจัย เช่น ปจฺฉา ชาโต ปจฺฉิโม. (ปจฺฉา + อิม) (ผู้เกิดในภายหลัง)
๑.๒.๕ อิยปัจจัย เช่น มนุสฺสชาติยา ชาโต มนุสฺสชาติโย.(มนุสฺสชาติ + อิย) ผู้เกิดในชาติ มนุษย์
๑.๒.๖ อิกปัจจัย เช่น อนฺเต ชาโต อนฺติโก. (อนฺต + อิก) ผู้เกิดในที่สุดท้าย
๑.๒.๗ กิยปัจจัย เช่น ชาติยา นิยุตฺโต ชาติกิโย. (ชาติ + กิย) ผู้ประกอบในชาติ
๑.๒.๘ ยปัจจัย เช่น สภายํ สาธุ สพฺภํ. (สภา + ย) ดีในสภา
๑.๒.๙ ณฺยปัจจัย เช่น สมณานํ หิตา สามญฺญา. (สมณ + ณฺย) ผู้เกื้อกูลแก่พระสมณะ
๑.๒.๑๐ กณฺปัจจัย เช่น ราชปุตฺตานํ สมูโห ราชปุตฺตโก. (ราชปุตฺต + กณฺ) หมู่แห่งราชบุตร
๑.๒.๑๑ ตาปัจจัย เช่น ชนานํ สมูโห ชนตา. (ชน + ตา) หมู่ชน
๑.๒.๑๒ อายิตตฺตปัจจัย เช่น ธูโม วิย ทิสฺสตีติ ธูมายิตตฺตํ. (ธูม + อายิตตฺต) ปรากฏเหมือนควัน
๑.๒.๑๓ ลปัจจัย เช่น ทุฏฺฐฃุ นิสฺสิตํ ทุฏฺฐฃุลฺล.ํ (ทุฏฺฐฃุ + ล) อาศัยไม่ดี
๑.๒.๑๔ อาลุปัจจัย เช่น อภิชฺฌา อสฺส ปกติ อภิชฺฌาลุ. (อภิชฺฌา + อาลุ) ผู้มีอภิชฌาเป็นปกติ
๑.๒.๑๕ กปัจจัย เช่น กุจฺฉิโต สมโณ สมณโก. (สมณ + ก) สมณะผู้น่าเกลียด
๑.๒.๑๖ มยปัจจัย เช่น สุวณฺเณน ปกตํ สุวณฺณมยํ. (สุวณฺณ + มย) ถูกกระทําด้วยทอง
4

๑.๓ วิเสสตัทธิต ตัทธิตที่ลงหลังคุณศัพท์ รูปสําเร็จทําหน้าที่เป็นคุณศัพท์ชั้นวิเศษ และอติวิเศษ


มีปจั จัย ๕ ตัว คือ ตร, ตม, อิสิก, อิย และ อิฏฐฃฺ ปัจจัย
๑.๓.๑ ตรปัจจัย เช่น วิเสเสน ปาโปติ ปาปตโร. (ปาป + ตร) ผู้เลวกว่า
๑.๓.๒ ตมปัจจัย เช่น อติสเยน ปาโปติ ปาปตโม. (ปาป + ตม) ผู้เลวที่สุด
๑.๓.๓ อิสิกปัจจัย เช่น วิเสเสน ปาโปติ ปาปิสิโก. (ปาป + อิสิก) ผู้เลวกว่า
๑.๓.๔ อิยปัจจัย เช่น วิเสเสน ปาโปติ ปาปิโย. (ปาป + อิย) ผู้เลวกว่า
๑.๓.๕ อิฏฺฐฃปัจจัย เช่น อติสเยน ปาโปติ ปาปิฏฺโฐฃ. (ปาป + อิฏฺฐฃ) ผู้เลวที่สุด
๑.๔ อัสสัตถิตทั ธิต ตัทธิตที่มี “อสฺส+อตฺถิ” หรือเรียกว่า “ตทัสสัตถิตัทธิต” มีปจั จัย ๑๒ ตัว คือ
วี, โส, อิล, ว, อาล, สี, อิก, อี, ร, วนฺต,ุ มนฺตุ และ ณปัจจัย *(ท่อง:วี โส สี อิก อี โร โณ วนฺตุ มนฺตุ อสฺสตฺถยิ ํ) อิล,
ว, อาลปัจจัยเพิม่ เข้ามาเวลาจํา
๑.๔.๑ วีปัจจัย เช่น เมธา ยสฺส อตฺถีติ เมธาวี. (เมธา + วี) ผู้มีปัญญา
๑.๔.๒ โสปัจจัย เช่น สุเมธา ยสฺส อตฺถีติ สุเมธโส. (สุเมธา + โส) ผู้มีปัญญาดี
๑.๔.๓ อิลปัจจัย เช่น ปิจฺฉํ อสฺส อตฺถีติ ปิจฺฉิโล. (ปิจฺฉ + อิล) ต้นงิ้วป่าที่มียาง
๑.๔.๔ วปัจจัย เช่น เกสา อสฺส อตฺถีติ เกสโว. (เกส + ว) ฤาษีผู้มีผม
๑.๔.๕ อาลปัจจัย เช่น วาจา อสฺส อตฺถีติ วาจาโล. (วาจา + อาล) ผู้มีวาจา
๑.๔.๖ สีปัจจัย เช่น ตโป อสฺส อตฺถีติ ตปสฺสี. (ตป + สี) ผู้มีตบะ
๑.๔.๗ อิกปัจจัย เช่น ทณฺโฑ อสฺส อตฺถีติ ทณฺฑิโก. (ทณฺฑ + อิก) ผู้มีไม้เท้า
๑.๔.๘ อีปัจจัย เช่น ทณฺโฑ อสฺส อตฺถีติ ทณฺฑี. (ทณฺฑ + อี) ผู้มีไม้เท้า
๑.๔.๙ รปัจจัย เช่น มธุ อสฺส อตฺถีติ มธุโร. (มธุ + ร) นํ้าหวาน
๑.๔.๑๐ วนฺตุปัจจัย เช่น คุโณ อสฺส อตฺถีติ คุณวา. (คุณ + วนฺตุ) ผู้มีคุณ
๑.๔.๑๑ มนฺตุปัจจัย เช่น สติ อสฺส อตฺถีติ สติมา. (สติ + มนฺต)ุ ผู้มีสติ
๑.๔.๑๒ ณปัจจัย เช่น สทฺธา อสฺส อตฺถีติ สทฺโธ. (สทฺธา + ณ) ผู้มีศรัทธา
๑.๕ สังขยาตัทธิต ปัจจัยที่ลงในอรรถสังขยาตัทธิตมี ๖ ตัว โดยเป็นปูรณสังขยา มีปจั จัย ๕ ตัว
คือ ม, ถ, ฐฃ, ติย และ อีปจั จัย แปลว่า “ที่...” และทีเ่ ป็นอเนกัตถสังขยามีปจั จัย ๑ ตัว คือ กปัจจัย ดังนี้
๑.๕.๑ มปัจจัย เช่น ปญจฺ นฺนํ ปูรโณ ปญจฺ โม. (ปญจฺ + ม) ที่ห้า
๑.๕.๒ ถปัจจัย เช่น จตุนฺนํ ปูรโณ จตุตฺโถ. (จตุ + ถ) ที่สี่
๑.๕.๓ ฐฃปัจจัย เช่น ฉนฺนํ ปูรโณ ฉฏฺโฐฃ. (ฉ + ฐฃ) ที่หก
๑.๕.๔ ติยปัจจัย เช่น ทฺวินนฺ ํ ปูรโณ ทุติโย. (ทฺวิ + ติย) ที่สอง
๑.๕.๕ อีปัจจัย เช่น เอกาทสนฺนํ ปูรณี เอกาทสี. (เอกาทส + อี) ที่สิบเอ็ด
๑.๕.๖ กปัจจัย เช่น เทฺวเยว ทฺวิกํ. (ทฺวิ + ก) หมวดสอง
(๒) ภาวตัทธิต คือตัทธิตทีม่ ี “ภาว”ศัพท์ แปลว่า “ความมี, ความเป็น” จะต้องสัมพันธ์กับฉัฏฐีวภิ ตั ติ
เสมอ ในภาวตัทธิตนี้ มีปจั จัย ๗ ตัว คือ ณฺย, ตฺต, ตา, ตฺตน, เณยฺย, ณ และ กณฺปัจจัย ดังนี้
๒.๑ ณฺยปัจจัย เช่น อโรคสฺส ภาโว อาโรคฺยํ. (อโรค+ณฺย) ความเป็นผู้ไม่มีโรค
๒.๒ ตฺตปัจจัย เช่น รสฺสสฺส ภาโว รสฺสตฺตํ. (รสฺส+ตฺต) ความเป็นรัสสะ
๒.๓ ตาปัจจัย เช่น อปฺปิจฺฉสฺส ภาโว อปฺปิจฺฉตา. (อปฺปิจฺฉ+ตา) ความเป็นผู้มักน้อย
5

๒.๔ ตฺตนปัจจัย เช่น ปุถุชฺชนสฺส ภาโว ปุถุชฺชนตฺตนํ. (ปุถุชฺชน+ตฺตน) ความเป็นปุถุชน


๒.๕ เณยฺยปัจจัย เช่น สุจิสฺส ภาโว โสเจยฺยํ. (สุจ+ิ เณยฺย) ความเป็นผู้สะอาด
๒.๖ ณปัจจัย เช่น สมคฺคานํ ภาโว สามคฺคี. (สมคฺค+ณ+อี) ความเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน
๒.๗ กณฺปัจจัย เช่น รมณียสฺส ภาโว รามณียกํ. (รมณีย+กณฺ) ความเป็นสถานที่ที่น่ารื่นรมย์
(๓) อัพยยตัทธิต ปัจจัยที่ลงท้ายคํานาม รูปสําเร็จจะเป็นอัพยยศัพท์(นิบาต)ทั้งหมด จึงเรียกตัทธิตนี้ว่า
อัพยยตัทธิต มีปจั จัย ๗ ตัว คือ กฺขตฺต,ุํ ธา, ถา, ถํ, ชฺช, ชฺชุ และ ตนปัจจัย ดังนี้
๓.๑ กฺขตฺตุํปัจจัยหลังจากสังขยาศัพท์ เช่น เอกกฺขตฺตุํ, ทฺวิกฺขตฺตุํ เป็นต้น (หนึ่งครั้ง, สองครั้ง)
๓.๒ ธาปัจจัยในอรรถวิภาคะ(การจําแนก) เช่น ทฺวีหิ วิภาเคหิ ทฺวิธา. (สองส่วน)
๓.๓ ถาปัจจัยหลังจากสัพพนามในอรรถกล่าวประการ เช่น โส ปกาโร ตถา. (ประการนั้น)
๓.๔ ถํปัจจัยหลังจาก กึ และอิมศัพท์ ในอรรถกล่าวประการ เช่น โก ปกาโร กถํ. (ประการใด),
อยํ ปกาโร อิตฺถํ. (ประการนี้)
๓.๕ ชฺชปัจจัยหลังจากอิมศัพท์ในอรรถ “กาล” เช่น อิมสฺมึ ทิวเส อชฺช. (ในวันนี้)
๓.๖ ชฺชุปัจจัยหลังจาก สมาน และอปรศัพท์ ในอรรถ “กาล” เช่น สมาเน กาเล สชฺชุ. (ในกาล
มีอยู่), อปรสฺมึ ทิวเส อปรชฺชุ. (ในวันอื่นอีก)
๓.๗ ตนปัจจัยหลังจากนิบาต ในอรรถ “มีอยู่” เช่น อชฺช ภวา อชฺชตนี. (มีอยู่ในวันนี้)

ฆ. จุดประสงค์ในการศึกษาตัทธิต
๑. รู้จักการสร้างคําศัพท์ โดยใช้ศัพท์นามกับปัจจัย
๒. รู้จักคําประเภทของนามศัพท์ดั้งเดิม กับคํานามศัพท์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นตัทธิตนาม
๓. รู้จักการย่อคําศัพท์ โดยใช้ปัจจัยตัทธิตเป็นตัวแทนของคําศัพท์
6

ตัวอย่างสูตรและการทําตัวรูป
๓๖๒. ธาตุลิงเฺ คหิ ปรา ปจฺจยา.
ปจฺจยา อ.วิภัตติและปัจจัย ท. โหนฺติ ย่อมลง ปรา เป็นเบื้องหลัง ธาตุลิงฺเคหิ จากธาตุและลิงค์ ท.
(ลงวิภัตติและปัจจัยหลังจากธาตุและลิงค์)
สูตรนี้มี ๓ บท. เป็น ปริภาสาสูตร.
คําว่า “ปัจจัย” หมายความว่าเป็นแดนให้ทราบเนื้อความของบทที่ถูกลบไป หรือเป็นเหตุให้ทราบ
เนื้อความ ของบทที่ถูกลบไป มีวิเคราะห์ว่า “ปฏิจจฺ เอตสฺมา อตฺโถ เอตีติ ปจฺจโย. (ปติ + อิ คติมฺหิ ในการไป
+ อ) แปลว่า อ.เนื้อความ(มีอปัจจะเป็นต้น) อาศัยแล้ว จาก ณ เป็นต้นนี้ ย่อมเป็นไป เพราะเหตุนั้น อ.ณ เป็นต้นนี้
ชื่อว่าปัจจัย. หรือวิเคราะห์ว่า “ปตียนฺติ อเนน อตฺถาติ ปจฺจโย. แปลว่า อ.เนื้อความ ท. (มีอปัจจะเป็นต้น) ย่อม
ถูกรู้ ด้วย ณ เป็นต้นนี้ เพราะเหตุนั้น อ.ณ เป็นต้นนี้ ชื่อว่าปัจจัย.
สําหรับ ปัจจัยในสูตรนี้ หมายถึง วิภัตติและปัจจัย มีวิเคราะห์ว่า “วิภตฺติ จ ปจฺจโย จ ปจฺจยา” วิภัตติ
ด้วย ปัจจัยด้วย ชื่อว่าปจฺจย, มาจาก “วิภตฺติ + ปจฺจย” เป็นทวันทสมาส รูปสําเร็จแล้ว ทําเป็นเอกเสส เหลือศัพท์
หลังเพียงศัพท์เดียว คือ ปจฺจย ได้แก่วิภัตติและปัจจัย มีปริภาสาว่า “ปกตี ลิงฺคธาเตฺวว วิภตฺตปิ จฺจยา ปน ปจฺจโย”
แปลว่า ลิงค์และธาตุ ชื่อว่าปกติ ส่วน วิภตั ติและปัจจัย ชือ่ ว่าปัจจัย ฉะนั้น ท่านจึงกําหนดว่า หลังจากธาตุ ให้ลง
วิภัตติและปัจจัย ส่วนหลังจากลิงค์หรือนาม ให้ลงวิภัตติและปัจจัยเช่นกัน

*ปกตี ลิงฺคธาเตฺวว วิภตฺตปิ จฺจยา ปน ปจฺจโย


๑.วิภตั ติ
๑.๑ ลิงค์ + วิภัตติ เช่น ปุริโส = ปุริส + สิ
๑.๒ ธาตุ + วิภัตติ เช่น กริ = กร + อี
ธาตุปัจจัย + วิภัตติ เช่น ติติกฺขติ = ติช + ข + ติ
๒.ปัจจัย
๒.๑ ลิงค์ + ปัจจัย เช่น ปุริสโต = ปุริส + โต
๒.๒ ธาตุ + ปัจจัย เช่น คจฺฉติ = คมุ + อ + ติ

ปัจจัย ๒
๑. วาจกปัจจัย (บอก,กล่าว เช่น ตัทธิต บอกแทนศัพท์ทถี่ ูกลบไป/กิตก บอก สาธนะ / อาขยาต บอก วาจก)
เช่น วาสิฏโฺ ฐฃ = วาสิฏฺฐฃ + ณ
สามเณโร = สมณ + เณร
๒. สกัตถปัจจัย (สกตฺถ = อรรถ ความหมายของตัวเอง, มีความหมายเท่าเดิม)
มี ๔ ตัว ณิก, ตา, มย, ก
ณิกปัจจัย เช่น สสงฺขาโรเยว สสงฺขาริกํ. (สสงฺขาร + ณิก)
ตาปัจจัย เช่น เทโวเยว เทวตา (เทว + ตา) -ศัพท์ที่ลง ตาปัจจัยเป็นที่สุด เป็นอิตถีลิงค์แน่นอน.
มยปัจจัย เช่น สีลเมว สีลมยํ. (สีล+มย) ทานมย,ภาวนามย..(,ทาน+มย,ภาวนา+มย..)
กปัจจัย เช่น เทฺวเยว ทฺวิกํ. สอง ท.นั่นแหละ ชื่อว่า ทฺวิก (สอง). (ทฺวิ + ก)
7

๓๖๓. เตสํ โณ โลปํ.


โณ อ.ณฺอนุพันธ์ เตสํ (ตทฺธิตปฺปจฺจยานํ) แห่งตัทธิตปัจจัย ท.เหล่านั้น อาปชฺชเต ย่อมถึง โลปํ ซึ่งการลบ.
(ลบ ณฺอนุพันธ์ แห่งตัทธิตปัจจัย)
สูตรนี้มี ๓ บท. เป็น โลปวิธิสตู ร.

๓๗๒. เณร วิธวาทิโต.


เณร อ.เณรปัจจัย โหติ ย่อมลง ปรํ ในเบื้องหลัง วิธวาทิโต (สทฺเทหิ) จากศัพท์ท.มี วิธวา เป็นต้น อปจฺ
เจ ในอรรถอปัจจะ วา บ้าง.
(ลง เณรปัจจัย หลังจากศัพท์มี วิธวา เป็นต้น ในอรรถอปัจจะ บ้าง)
สูตรนี้มี ๒ บท. เป็น ปัจจยวิธิสูตร.

วิ. สมณสฺส อุปชฺฌายสฺส ปุตฺโต ปุตฺตฏฺฐฃานิยตฺตาติ สามเณโร. (สมณ + เณร) (วุทธิ อ เป็น อา)
อ.บุตร ของพระอุปัชฌาย์ เพราะความที่ตนตั้งอยู่ในฐานะแห่งบุตร เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสามเณร.(บุตรของ
พระอุปัชฌาย์เพราะความที่ตั้งอยู่ในฐานะบุตร, สามเณร)
วิ. สมณสฺส อปจฺจํ สามเณโร. (สมณ + เณร) (วุทธิ อ เป็น อา)
อ.เหล่ากอ ของพระสมณะ ชื่อว่าสามเณร. (เหล่ากอแห่งพระสมณะ, สามเณร)

อปัจจตัทธิต คือตัทธิตที่เกี่ยวข้องกับโคตร ตระกูล เหล่ากอ บุตร

ทําตัวรูป
(๑)สมณสฺส อปจฺจํ สามเณโร ศัพท์เดิมคือ = สมณ + ปุตฺต
หลัง สมณ ลง สฉัฏฐีวิภัตติ สมณ + ส, ปุตฺต = สามิสฺมึ ฉฏฺฐฃี.
เพราะสวิภัตติ ลง สฺอาคม สมณ + สฺ-ส, ปุตฺต = สาคโม เส.
หลัง ปุตฺต ลง สิปฐมาวิภัตติ สมณสฺส, ปุตฺต + สิ = ลิงฺคตฺเถ ปฐฃมา.
หลังจากอการันต์ แปลง สิ เป็น โอ สมณสฺส, ปุตฺต + สิ > โอ = โส.
แยกพยัญชนะ ตฺ ออกจากสระ อ สมณสฺส, ปุตฺตฺ อ + โอ = ปุพฺพมโธฐฃิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย.
ลบสระหน้า เพราะสระหลังๆ เป็นปกติ สมณสฺส, ปุตฺตฺ อ/ + โอ= สรโลโปมาเทสปฺปจฺจยาทิมฺหิฯ
นําพยัญชนะ ตฺ ไปประกอบกับสระ โอ สมณสฺส, ปุตฺโต = นเย ปรํ ยุตฺเต.
(๒)อปจฺจํ อ.เหล่ากอ สมณสฺส ของพระสมณะ อิติ อตฺเถ ในอรรถนี้
ลง เณรปัจจัยในอรรถ “อปัจจะ” สมณสฺส เณร ปุตฺโต = เณร วิธวาทิโต.*
ลบวิภัตติทั้งหลาย สมณ + /ส, เณร, ปุตฺต + /สิ = เตสํ วิภตฺติโย โลปา จ.
เป็นปกติ สมณ เณร ปุตฺต = ปกติ จสฺส สรนฺตสฺส.
ลบ ปุตฺตศัพท์ สมณ เณร /ปุตตฺ = วุตฺตตฺถานมปฺปโยโค.(ปริภาสา)
แยกพยัญชนะ ณฺ ออกจากสระ เอ สมณ ณฺ เอร = ปุพฺพมโธฐฃิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย.
ลบ ณฺอนุพันธ์ สมณ /ณฺ เอร = เตสํ โณ โลปํ.
8

แยกพยัญชนะ สฺ ออกจากสระ อ สฺ อ มณ เอร = ปุพฺพมโธฐฃิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย.


เพราะปัจจัยที่มีณ วุทธิสระเบื้องต้น สฺ อ > อา มณ เอร = วุทฺธาทิสรสฺส วาสํโยคนฺตสฺสฯ
แยกพยัญชนะ ณฺ ออกจากสระ อ สฺ อา มณฺ อ เอร = ปุพฺพมโธฐฃิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย.
ลบสระหน้า เพราะสระหลังๆ เป็นปกติ สฺ อา มณฺ อ/ เอร = สรโลโปมาเทสปฺปจฺจยาทิมฺหิฯ
นําพยัญชนะไปประกอบกับสระ สามเณร = นเย ปรํ ยุตฺเต.
(๓)ตั้ง สามเณร เป็นนาม สามเณร = ตทฺธติ สมาสกิตกา นามํวาฯ
หลัง สามเณร ลง สิปฐมาวิภัตติ สามเณร + สิ = ลิงฺคตฺเถ ปฐฃมา.
หลังจากอการันต์ แปลง สิ เป็น โอ สามเณร + สิ > โอ = โส.
แยกพยัญชนะ รฺ ออกจากสระ อ สามเณรฺ อ + โอ = ปุพฺพมโธฐฃิตมสฺสรํ สเรน วิโยชเย.
ลบสระหน้า เพราะสระหลังๆ เป็นปกติ สามเณรฺ อ/ + โอ = สรโลโปมาเทสปฺปจฺจยาทิมฺหิฯ
นําพยัญชนะ รฺ ไปประกอบกับสระ โอ สามเณโร = นเย ปรํ ยุตฺเต.
สําเร็จรูปเป็น สามเณโร. (เหล่ากอของพระสมณะ, สามเณร)
ข้อสังเกตุ :
ขั้นตอนวิธกี ารใช้สตู รทําตัว(ดูหมายเลขในวงเล็บ)
(1)บอกศัพท์เดิม แสดงวิธลี งวิภตั ติ
(2)ตั้งอรรถ แสดงวิธขี องตัทธิตต่างๆ
อักษร*สีนาํ้ เงิน สูตรการลงปัจจัยตัทธิต(สูตรจะเปลีย่ นตามปัจจัยทีล่ งมา) ให้ลงตรงกลางทัง้ สองศัพท์(หลังจากลิงค์
,นาม- เช่น สมณสฺส เณร ปุตโฺ ต) แล้ว ลบบทหลัง (เช่น สมณ เณร /ปุตฺต) จึงได้ชื่อว่า ตัทธิตนัน้ ๆ โดยส่วนมาก*
หมูตาย หมูตทั ธิต หมาตาย หมาตัทธิต

(3)แสดงวิธตี งั้ เป็นนาม ลงวิภตั ตินาม(ได้ทั้ง ๑๔ วิภตั ติ มี สิ,โย,อํ,โย....สมึ,สุ)


--------------
ข้อควรจํา
(อนุพนั ธ์มี ๖ วิธจี าํ : ระ ฆัง ขาน ณ นาน กิง )

อนุพนั ธ์ (ตัทธิตอนุพันธ์)

อนุพันธ์ คืออักษรที่จะต้องถูกลบไปแน่นอน ไม่มีการประกอบใช้ในบาลี ดังมีคํากล่าวที่ว่า “อปฺปโยคี


อนุพนฺโธ” และเมื่อลบไปแล้ว มีผลทําให้มีการวุทธิสระหน้าในกรณีที่ไม่มสี งั โยคเป็นทีส่ ดุ ในตัทธิต มีตวั เดียว คือ
ณฺอนุพันธ์ มีปัจจัย ๑๐ ตัว ได้แก่ ณ, ณายน, ณาน, เณยฺย, ณิ, ณิก, ณฺย, ณว, เณร และ กณฺปัจจัย ดังนี้

(๑)ณปัจจัย - วสิฏฺฐฃสฺส อปจฺจํ วาสิฏโฺ ฐฃ. (วสิฏฺฐฃ + ณ) (๓๖๑. วา ณปจฺเจ)

- กสาเวน รตฺตํ กาสาวํ. (กสาว + ณ) (๓๗๖. ณ ราคา เตน รตฺตํ ตสฺเสทมญฺญตฺเถสุ จ)

- มนุสฺสานํ สมูโห มานุสฺโส. (มนุสสฺ + ณ) (๓๗๙. สมูหตฺเถ กณฺณา)


9

- วิสมสฺส ภาโว เวสมํ. (วิสม + ณ) (๓๘๘. ณ วิสมาทีหิ)

- สทฺธา อสฺส อตฺถีติ สทฺโธ, ปุริโส. (สทฺธา + ณ) (๔๐๕. สทฺธาทิโต ณ)

(๒)ณายนปัจจัย - วจฺฉสฺส อปจฺจํ วจฺฉายโน. (วจฺฉ + ณายน) (๓๖๖. ณายนณาน วจฺฉาทิโต)

(๓) ณานปัจจัย - วจฺฉสฺส อปจฺจํ วจฺฉาโน. (วจฺฉ + ณาน) (๓๖๖. ณายนณาน วจฺฉาทิโต)

(๔) เณยฺยปัจจัย- กตฺติกาย อปจฺจํ กตฺติเกยฺโย. (กตฺติกา + เณยฺย) (๓๖๗. เณยฺโย กตฺติกาทีหิ)

- สุจิสฺส ภาโว โสเจยฺยํ. (สุจิ + เณยฺย) (๓๘๗. ตุศัพท์ในสูตร “ณฺยตฺตตา ภาเว ตุ”)

(๕)ณิปัจจัย - ทกฺขสฺส อปจฺจํ ทกฺขิ. (ทกฺข + ณิ) (๓๖๘. อโต ณิ วา)

(๖)ณิกปัจจัย - สกฺยปุตฺตสฺส ปุตฺโต สกฺยปุตฺติโก. (สกฺยปุตฺต + ณิก) (๓๖๘.วาศัพท์ในสูตร “อโต ณิ วา”)

- ติเลน สํสฏฺฐฃํ เตลิกํ, โภชนํ. (ติล + ณิก) (๓๗๓. เยน วา สํสฏฺฐฃํ ตรติ จรติ วหติ ณิโก)

- วินยมธีเต เวนยิโก. (วินย + ณิก) (๓๗๔. ตมธีเต เตนกตาทิสนฺนิธานนิโยคสิปฺปภณฺฑฯ)

(๗)ณฺยปัจจัย - อทิติยา ปุตฺโต อาทิจฺโจ. (อทิติ + ณฺย) (๓๖๘. วาศัพท์ในสูตร “อโต ณิ วา”)

- อโรคสฺส ภาโว อาโรคฺยํ. (อโรค + ณฺย) (๓๘๗. ณฺยตฺตตา ภาเว ตุ)

(๘)ณวปัจจัย - อุปคุสฺส อปจฺจํ โอปคโว. (อุปคุ + ณว) (๓๗๑. ณโวปคฺวาทีหิ)

(๙)เณรปัจจัย - วิธวาย อปจฺจํ เวธเวโร. (วิธวา + เณร) (๓๗๒. เณร วิธวาทิโต)

(๑๐)กณฺปัจจัย - ราชปุตฺตานํ สมูโห ราชปุตฺตโก. (ราชปุตตฺ + กณฺ) (๓๗๙. สมูหตฺเถ กณฺณา)

- รมณียสฺส ภาโว รามณียกํ. (รมณีย + กณฺ) (๓๘๙. รมณียาทิโต กณฺ)

กําหนดลิงค์ของศัพท์ทลี่ งปัจจัยในภาวตัทธิต

ณฺย-ตฺตน-ปจฺจยนฺตํ ปทํ นิจจฺ ํ นปุสํ เก,

ตา เตฺวตฺถิยํ ภเว นิจจฺ ํ สิยุํ เสสา ยถารหํ. (กจฺจายนนิสสฺ ย)

บทอันมี ณฺย, ตฺต และ ตฺตนปัจจัยเป็นทีส่ ดุ เป็นนปุงสกลิงค์ แน่นอน, ส่วนบททีล่ ง ตาปัจจัย เป็นอิตถีลงิ ค์ แน่นอน
และบททีล่ งปัจจัยที่เหลือ เป็นลิงค์ตามสมควรแก่อทุ าหรณ์
10

คาถาสรุป การลง มนฺตปุ จั จัยเป็นต้น(อัสสัตถิตทั ธิต)

ปหูเต จ ปสํสายํ นินทฺ ายํ จาติสายเน,

นิจจฺ โยเค จ สํสคฺเค โหนฺตเิ ม มนฺตุอาทโย. (โมคฺคลฺลาน)

ปัจจัยมี มนฺตุ เป็นต้นเหล่านี้ ลงในอรรถ ๖ อย่าง คือ ปหูต (มาก), ปสํสา (การสรรเสริญ), นินฺทา (การตําหนิ,
การติเตียน), อติสายน (ยิ่ง), นิจฺจโยค (การประกอบเป็นนิจ) และ สํสคฺค (การผสมกัน, เกี่ยวข้องกัน)

มนฺตปุ จั จัยเป็นต้น ลงในอรรถ ๖ อย่าง ดังต่อไปนี้

(๑)ปหูต = มาก เช่น โคมา วัวจํานวนมาก.

(๒)ปสํสา= การสรรเสริญ เช่น คุณวา ผู้มีคุณ, กุลวา ผู้มีตระกูล, รูปี ผู้มีรูปงาม เป็นต้น.

(๓)นินฺทา= การติเตียน เช่น กกุธวตฺตินี หญิงผู้มีขวัญหนอกวัว.

(๔)อติสายน= ยิ่ง เช่น อุทรินี หญิงผู้มีท้องใหญ่.

(๕)นิจฺจโยค= ประกอบเป็นนิจ เช่น ฉตฺตี ผู้มีร่ม, ทณฺฑี ผู้มีไม้เท้า เป็นต้น.

(๖)สํสคฺค= ปะปน, ผสม เช่น หลิทฺทิมา อาหารอันมีขมิ้น เป็นต้น.

-----------

สังขยา มี ๕ ประการ คือ

(๑)มิสสฺ สงฺขยฺ า = สังขยาผสมกัน หรือสังขยาบวก เช่น เอกาทส = เอก + ทส (สังขยาตั้งแต่ ๑๑ ถึง ๙๙


เป็นสังขยาบวก) (เอกาทส ถึง เอกูนสต)

(๒)คุณติ สงฺขยฺ า = สังขยาคูณ เช่น ติสตํ แปลว่า สามร้อย มาจากรูปวิเคราะห์ว่า “ตีหิ คุณิตํ สตํ
ติสตํ” อ.ร้อย อันถูกคูณ ด้วยสาม ท. ชื่อว่าติสต (สต x ติ) สามร้อย (๑๐๐ x ๓ = ๓๐๐) เป็นต้น

จตฺตาริ สตสหสฺสานิ ฉฬภิญฺญา มหิทฺธิกา. ภิกษุผู้มีอภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก มีสี่แสนรูป (๔๐๐,๐๐๐) ใน


ตัวอย่างนี้ บทว่า จตฺตาริ แปลว่า สี่, บทว่า สตสหสฺสานิ แปลว่า หนึ่งแสน นําไปคูณกัน คือ ๑๐๐,๐๐๐ x ๔ =
๔๐๐,๐๐๐

ตีณิ สตสหสฺสานิ นาริโย สมลงฺกตา. หญิงผู้ประดับด้วยดี สามแสนคน (๓๐๐,๐๐๐) ในตัวอย่างนี้ บท


ว่า ตีณิ แปลว่า สาม, บทว่า สตสหสฺสานิ แปลว่า หนึ่งแสน นําไปคูณกัน คือ ๑๐๐,๐๐๐ x ๓ = ๓๐๐,๐๐๐
11

(๓)สมฺพนฺธสงฺขยฺ า = สังขยาสัมพันธ์กนั หมายความว่าศัพท์ที่เป็นสังขยาศัพท์สุดท้าย ต้องนําไปคูณ กับ


สังขยาศัพท์ขา้ งหน้าทีละศัพท์ โดยสังขยาศัพท์สุดท้ายเป็นสังขยาหลัก แล้วนําไปคูณกับสังขยาตัวที่อยู่ข้างหน้า
ของสังขยาหลักทีละตัว เช่น “อฏฺฐฃสฏฺฐฃิสตสหสฺสุพฺเพโธ คิริราชา” ภูเขาสิเนรุ สูง ๑๖๘,๐๐๐ มาจาก “อฏฺฐฃ
แปลว่า แปด, สฏฺฐฃิ แปลว่า หกสิบ, สต แปลว่า หนึ่งร้อย, สหสฺส แปลว่า หนึ่งพัน, อุพฺเพโธ แปลว่า สูง” ใน
ตัวอย่างนี้ บทว่า “สหสฺส” ซึ่งแปลว่า “หนึ่งพัน” นี้ จะต้องไปสัมพันธ์กับศัพท์ข้างหน้าโดยนําไปคูณกันทีละศัพท์
คือ สหสฺส x สต = หนึ่งแสน (๑,๐๐๐ x ๑๐๐ = ๑๐๐,๐๐๐), สหสฺส x สฏฺฐฃิ = หกหมื่น (๑,๐๐๐ x ๖๐ =
๖๐,๐๐๐), สหสฺส x อฏฺฐฃ = แปดพัน (๑,๐๐๐ x ๘ = ๘,๐๐๐) เมื่อรวมกันทั้งหมดจึงแปลว่า หนึ่งแสนหกหมื่นแปด
พัน(๑๖๘,๐๐๐) และอีกตัวอย่างหนึ่งเช่น “จตุราสีติสหสฺสานิ” แปดหมื่นสี่พัน (๘๔,๐๐๐) มาจาก “จตุ แปลว่า สี่,
อสีติ แปลว่า แปดสิบ, สหสฺส แปลว่า หนึ่งพัน” ในตัวอย่างนี้ บทว่า “สหสฺส” ซึ่งแปลว่า “หนึ่งพัน”นี้ จะต้องไป
สัมพันธ์กับศัพท์ข้างหน้า คือ สหสฺส x อสีติ = แปดหมื่น (๑,๐๐๐ x ๘๐ = ๘๐,๐๐๐), สหสฺส x จตุ = สี่พัน
(๑,๐๐๐ x ๔ = ๔,๐๐๐) เมื่อรวมกันแล้ว จึงแปลว่า แปดหมื่นสี่พัน (๘๔,๐๐๐) เป็นต้น

(๔)สงฺเกตสงฺขยฺ า = สังขยาทีใ่ ช้สงิ่ ทีม่ ปี รากฏอยูใ่ นโลกเป็นเครือ่ งสังเกต

๔.๑ ใช้อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นเครื่องสังเกต ดังนี้

กาที ฏาที ยการาที นวสงฺขยฺ า ปกาสิตา,

ปญฺจสงฺขฺยา ปการาที สุญฺญา นาม สรญญ


ฺ นา.

อักษรมี ก เป็นต้น อักษรมี ฏ เป็นต้น และอักษรมี ย เป็นต้น ถูกแสดงแล้วว่าเป็นสังขยาตั้งแต่ ๑ - ๙, อักษรมี ป


เป็นต้น ถูกแสดงแล้วว่าเป็นสังขยาตั้งแต่ ๑ - ๕ และสระแปดตัว, และ นอักษร ถูกแสดงแล้วว่าชื่อว่าศูนย์

ตารางแสดงอักษรทีใ่ ช้เป็นสังเกตสังขยา
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐
ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ฌ ญ
ฏ ฐฃ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น
ป ผ พ ภ ม - - - - -
ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ-โอ

๔.๒ ใช้สิ่งที่มีปรากฏอยู่โลก ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเครื่องสังเกต ดังนี้

สังเกตสังขยาแทนเลข ๑ เช่น จนฺท พระจันทร์, สุริย พระอาทิตย์ เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๒ เช่น เนตฺต นัยน์ตา, หตฺถ มือ, ปกฺข ปักษ์ เป็นต้น


12

สังเกตสังขยาแทนเลข ๓ เช่น อคฺคิ ไฟ, กาล กาลเวลา เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๔ เช่น อณฺณว, สินฺธุ มหาสมุทร, เวท คัมภีร์พระเวท เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๕ เช่น อุสุ ลูกศร, ยญฺญ การบูชายัญ, ภูต ธาตุ เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๖ เช่น รส รสอาหาร, อุตุ ฤดู เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๗ เช่น สร สระนํ้า, เสียงดนตรี เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๘ เช่น วสุ วสุเทพ เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๙ เช่น คห ดาวนพเคราะห์ เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๑๐ เช่น ทิส ทิศ เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๑๑ เช่น รุทฺท, สิว พระศิวะ เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๑๒ เช่น ราสิ ราศี, มาส เดือน เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๑๓ เช่น วิสฺส วิสสเทพ เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๑๔ เช่น ภุวน ภุวนเทพ เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๑๕ เช่น ติถิ ดิถี เป็นต้น

สังเกตสังขยาแทนเลข ๑๖ เช่น กลา เสี้ยวของพระจันทร์ เป็นต้น

(๕)อเนกสงฺขฺยา = สังขยาที่มจี าํ นวนมาก เช่น สหสฺสรํสิ รัศมีหลายพัน, สตเตโช มีเดชหลายร้อย เป็นต้น

การจํา : ( บวก คูณ สัมพันธะ สังเกตะ อเนกะ)

-----------
13

ปฏิสมฺภทิ ปฺปตฺตานํ อรหนฺตานเมว โส


วิสโย โหติ ตํ ตสฺมา สกฺกจฺจํ สมฺปฏิจฉฺ ถ.
(สทฺทนีต.ิ สุตตฺ .สูตรที่ ๘๖๔)

ตัทธิตนัยนั้นเป็นวิสัยของเหล่าพระอรหันต์ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาญาณแล้วเท่านั้น

ดังนั้น ขอเชิญท่านทั้งหลายน้อมรับตัทธิตนัยนั้นโดยเคารพเถิด

คาถาสรุป ตัทธิต

สามญญ
ฺ วุตตฺ ภิ าวตฺถา- พฺยยโต ตทฺธติ ํ ติธา

ตตฺราทิ จตุธาปจฺจา- เนกตฺถสฺสตฺถสิ งฺขยฺ โต.

ตัทธิต มี ๓ ประการ คือ สามัญญวุตติตัทธิต ๑ ภาวตัทธิต ๑ และอัพยยตัทธิต ๑, สามัญญวุตติตทั ธิตมี ๔


อย่าง คือ(๑)อปัจจตัทธิต (๒)อเนกัตถตัทธิต(วิเสสตัทธิตนับเข้าในอเนกตัทธิต) (๓ )อัสสัตถิตทั ธิต และ (๔)สังขยา
ตัทธิต

* (ข้อสังเกต : บท + บท = สมาส, บท + ปัจจัย = ตัทธิต, ธาตุ + ปัจจัย = กิตก์)

สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เตฯ

นักศึกษา พึงไปแปล ตัทธิตกัณฑ์(ดูตัวบาลี – แปลยกศัพท์อธิบาย – ปทรูปทสิทธิทีปนี)


ทําตัวรูป และอุทาหรณ์. เพิ่มเติมเถิด(รายละเอียด กฏเกณฑ์ มีโดยพิสดาร ต้องอาศัยเวลา)

..พระมหาสุเทิด มหิทฺธโิ ก

You might also like