You are on page 1of 20

คณิตศาสตร์ ม.

1 เทอม 2

อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ


อัตราส่วน คือ ความสัมพันธ์แสดงการเปรียบเทียบของปริมาณ 2 ปริมาณ ซึ่งอาจจะมีหน่วยเดียวกันหรือคนละ
หน่วยก็ได้
𝑎
อัตราส่วน a ต่อ b เขียนแทนด้วย a : b หรือ อ่านว่า a ต่อ b
𝑏

เรียกจำนวน a ในอัตราส่วน a : b ว่า จำนวนแรก หรือ จำนวนที่หนึ่ง


เรียกจำนวน b ในอัตราส่วน a : b ว่า จำนวนหลัง หรือ จำนวนที่ที่สอง
จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
1. การไปทัศนศึกษาของโรงเรียนหนึ่ง จัดให้ครูจำนวน 1 คน ดูแลนักเรียนจำนวน 15 คน
2. ต้นกล้าซือ้ ไส้กรอกจำนวน 2 ถุง ราคา 84 บาท
3. ลุงคำทำน้ำหมักชีวภาพโดยใช้กากน้ำตาลปริมาณ 250 ลบ.ซม. ใช้น้ำ 8 ลิตร
1.1 อัตราส่วนของจำนวนหลาย ๆ จำนวน
1.อัตราส่วนที่เท่ากัน
- การหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้
ร้านสหกรณ์ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ขายน้ำราคาขวดละ 5 บาท ซึ่งสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์
ระหว่างจำนวนเป็นน้ำเป็นขวดและราคาเป็นบาท ดังตารางต่อไปนี้
จำนวนน้ำ (ขวด) 1 2 3 4 5
ราคา (บาท) 5 10 15 20 25
จากตารางสามารถเขียนอัตราส่วนได้หลายอัตราส่วน ดังนี้
1 : 5, 2 : 10, 3: 15, 4 : 20, 5 : 25
1 2 3 4 5
หรือ , , , ,
5 10 15 20 25

อัตราส่วนข้างต้นได้มาจากการซื้อน้ำในราคาเดียวกัน คือ น้ำ 1 ขวด ราคา 5 บาท และกล่าวได้ว่า


อัตราส่วนนี้เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

จากอัตราส่วนข้างต้น สามารถเขียนแสดงได้ดังนี้ 1 : 5 = 2 : 10 = 3: 15 = 4 : 20 = 5 : 25
1 2 3 4 5
หรือ = = = =
5 10 15 20 25
1
จะเห็นได้ว่า อัตราส่วนที่เท่ากันดังกล่าว มีความเกี่ยวข้องกับอัตราส่วน ดังนี้
5

คูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน หารด้วยจำนวนเดียวกัน
1 2
5 10
1 3
5 15
1 4
5 20
1 5
5 25
นั่นคือ สามารถหาอัตราส่วนที่เท่ากันได้จากการใช้หลักการต่อไปนี้
1. หลักการคูณ เมื่อคูณแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วยจำนวนเดียวกัน โดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์
จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม
2. หลักการหาร เมื่อหารแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดด้วยจำนวนเดียวกัน โดยที่จำนวนนั้นไม่เท่ากับศูนย์
จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม
ตัวอย่างที่ 1 จงหาอัตราส่วนที่เท่ากับ 3 : 7 มาอีก 3 อัตราส่วน

ตัวอย่างที่ 2 ร้านขายไข่ไก่แผงละ 85 ถ้าตะวันต้องการซื้อไข่ไก่จำนวน 6 ฟอง จากร้านแห่งนี้ตะวันต้องจ่ายเงิน


ทั้งหมดกี่บาท (ไข่ไก่ 1 แผง มี 30 ฟอง)
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

2. การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน
5 15
จงพิจารณาวิธีการตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วน และ ดังต่อไปนี้
9 27

แบบที่ 1 ใช้หลักการคูณ

แบบที่ 2 ใช้หลักการหาร

แบบที่ 3 ใช้การคูณไขว้

𝑎 𝑐
จงพิจารณาอัตราส่วน และ
𝑏 𝑑
𝑎 𝑐
เรียก ว่าเป็นอัตราส่วนที่ 1 และ ว่าเป็นอัตราส่วนที่ 2
𝑏 𝑑
𝑎 𝑎×𝑑 𝑎𝑑
จาก = =
𝑏 𝑏×𝑑 𝑏𝑑
𝑐 𝑐×𝑏 𝑏𝑐
= =
𝑑 𝑑×𝑏 𝑏𝑑
𝑎𝑑 𝑏𝑐
จงพิจารณา และ
𝑏𝑑 𝑏𝑑
𝑎𝑑 𝑏𝑐 𝑎𝑑 𝑏𝑐
1.ถ้า = แล้ว ad = bc 2. ถ้า ≠ แล้ว ad ≠ bc
𝑏𝑑 𝑏𝑑 𝑏𝑑 𝑏𝑑

ซึง่ ab และ cd เป็นผลคูณโดยใช้หลักการคูณไขว้จากอัตราส่วนทั้งสอง


โดย a เป็นจำนวนที่ 1 ของอัตราส่วนที่ 1 c เป็นจำนวนที่ 1 ของอัตราส่วนที่ 2
b เป็นจำนวนที่ 2 ของอัตราส่วนที่ 1 d เป็นจำนวนที่ 2 ของอัตราส่วนที่ 2
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

ตัวอย่างที่ 3 จงตรวจสอบว่าอัตราส่วนต่อไปนี้เท่ากันหรือไม่
1. 5 : 9 และ 25 : 44 2. 1.5 : 4 และ 3 : 8

3. 6 : 22 และ 24 : 80 4. 5 : 0.3 และ 100 : 6

2. อัตราส่วนของจำนวนหลาย ๆ จำนวน
จงพิจารณาอัตราส่วนต่อไปนี้
จำนวนส้มต่อจำนวนมะม่วง เท่ากับ 7 : 10
จำนวนมะม่วงต่อจำนวนมังคุด เท่ากับ 15 : 17
จะเห็นว่า อัตราตราส่วนทั้งสองชุดจำมีจำนวนมะม่วงเกี่ยวข้อกับจำนวนส้มและจำนวนมังคุด ซึ่งในที่นี้จะ
เรียกว่า สัดส่วน
จะใช้ความรู้เพื่อทำให้อัตราส่วนเท่ากัน โดยใช้หลักการคูณในอัตราส่วนแต่ละชุด
7 : 10 = 14 : 20 = 21 : 30 = 28 : 40 และอื่น ๆ
15 : 17 = 30 : 34 = 45 : 51 และอื่น ๆ
จะเห็นว่า อัตราส่วน 7 : 10 และ 15 : 17 เท่ากับอัตราส่วน 21 : 30 และ 30 : 34 ตามลำดับ ซึ่ง
อัตราส่วน 21 : 30 และ 30 : 34 มีจำนวนมะม่วงเท่ากันคือ 30
จะสามารถเปรียบเทียบ จำนวนส้ม ต่อ จำนวนมะม่วง ต่อ จำนวนมังคุด ได้เป็น 21 : 30 : 34 เรียก
อัตราส่วนนี้ว่า อัตราส่วนของจำนวนหลาย ๆ จำนวน
เมื่อพิจารณา 10, 15, 30 ที่เป็นจำนวนมะม่วง จะเห็นได้ว่า 30 เป็น ค.ร.น. ของ 10 และ 15
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

เมื่อมีอัตราส่วนสองอัตราส่วนใด ๆ แสดงการเปรียบเทียบปริมาณของที่มากกว่าสองชนิดขึ้นไป หรือ


เปรียบเทียบจำนวนหลายจำนวน สามารถเขียนอัตราส่วนของจำนวนหลาย ๆ จำนวนจากอัตราส่วนทั้งสองได้
ดังนี้ 1. พิจารณาจำนวนที่ปรากฏในอัตราส่วนแต่ละคู่
2. ถ้าจำนวนที่เป็นตัวร่วมในข้อที่ 1 เท่ากัน เขียนอัตราส่วนของหลาย ๆ จำนวนได้ทันที
3. ถ้าจำนวนที่เป็นตัวร่วมในข้อที่ 1 ไม่เท่ากัน ต้องทำจำนวนนั้นให้เท่ากันก่อนโดยการใช้ ค.ร.น.
ตัวอย่างที่ 4 ริสาทำขนมตาลไปขาย ซึ่งมีส่วนผสมหลักในการทำขนมตาล ดังนี้
เนื้อลูกตาล 170 กรัม จงเขียนอัตราส่วนของส่วนผสมของขนมตาล ต่อไปนี้
น้ำกะทิ 520 กรัม 1.เนื้อลูกตาลต่อน้ำกะทิต่อแป้งข้าวจ้าวต่อน้ำตาลทราย
แป้งข้าวจ้าว 235 กรัม 2.เนื้อลูกตาลผสมแป้งข้าวจ้าวต่อน้ำกะทิผสมน้ำตาลทราย
น้ำตาลทราย 275 กรัม 3.เนื้อลูกตาลต่อเนื้อลูกตาลผสมน้ำกะทิผสมแป้งข้าวจ้าวผสมน้ำตาลทราย
ลองทำดู
คุณย่าจะทำเม็ดขนุนให้หลาน ๆ ทาน จึงได้เตรียมส่วนผสมการทำดังนี้ ถั่วเขียวเลาะเปลือก 450 กรัม, น้ำตาล
ทราบ 200 กรัม, น้ำกะทิ 400 กรัม และไข่เป็ด 5 ฟอง(ใช้แต่ไข่แดง)
จงเขียนอัตราส่วนต่อไปนี้
1. ถั่วเขียวเลาะเปลือกเป็นกรัมต่อน้ำตาลทรายเป็นกรัมต่อน้ำกะทิเป็นกรัมต่อไข่เป็ดเป็นฟอง
2. ถั่วเขียวเลาะเปลือกผสมน้ำตาลทรายผสมน้ำกะทิเป็นกรัมต่อไข่เป็ดเป็นฟอง
ตัวอย่างที่ 5 ร้านขายไข่ไก่ ไข่เป็ด และไข่นกกระทา โดยอัตราส่วนของจำนวนไข่เป็ดต่อจำนวนไข่ไก่เป็น 3 : 5
อัตราส่วนของจำนวนไข่นกกระทาต่อไข่ไก่เป็น 2 : 3 จงเขียนอัตราส่วนของจำนวนไข่เป็ดต่อจำนวนไข่ไก่ต่อจำนวน
ไข่นกกระทาของร้านค้าแห่งนี้
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

ลองทำดู ร้านขายปากกาแห่งหนึ่งขายปากกาสีแดง สีดำ และสีน้ำเงิน โดยอัตราส่วนของจำนวนปากกาสีแดงต่อ


จำนวนปากกาสีดำเป็น 8 : 3 อัตราส่วนของจำนวนปากกาสีดำต่อจำนวนปากกาสีน้ำเงินเป็น 4 : 5 จงหาอัตราส่วน
ของจำนวนปากกาสีแดงต่อจำนวนปากกาสีน้ำเงินของร้านขายปากกาแห่งนี้

ตัวอย่างที่ 6 กำหนดให้ ATM เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า ที่มีอัตราส่วนของความยาวด้าน


ดังนี้ AT : TM = 3 : 4, TM : AM = 10 : 8 จงเขียนอัตราส่วนของ
1. AT : TM : AM 2. ความยาวด้าน TM ต่อความยาวของเส้นรอบรูป

ลองทำดู กำหนดให้ ABCD เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า ที่มีอัตราส่วนความยาวด้าน ดังนี้ AB : BC = 2 : 2.5,


AB : DC = 1 : 2 และ DA : AB = 3 : 4 จงหาอัตราส่วนของ AB : BC : DC : DA
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

1.2 สัดส่วน
จงพิจารณาอัตราส่วน 2 : 5 และ 6 : 15
2 6
จะเห็นว่า ผลการคูณไขว้ของจำนวนเรียกกับจำนวนหลังของ และ คือ
5 15

2 × 15 = 30 และ 5 × 6 = 30
2 6
จะได้ว่า =
5 15

นั่นคือ 2 : 5 = 6 : 15
เรียกประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วนว่า สัดส่วน
6 30
ตัวอย่างที่ 7 จงหาค่าของ m ในสัดส่วน =
7 𝑚

วิธีที่ 1 ใช้หลักการคูณ วิธีที่ 2 ใช้การแก้สมการ

ลองทำดู
4 16
1.จงหาค่า X ในสัดส่วน =
9 𝑥

2.จงหาค่า m ในสัดส่วน 3 : 5 = m : 2.5

3.จงหาค่า a ในสัดส่วน 5 : 3 = a : 4.5


คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

การแก้โจทย์ปัญหาโดยการใช้เศษส่วน
ตัวอย่างที่ 8 ลุงคำวางแผนเพื่อปลูกต้นเข็มกับต้นแก้มเป็นรั้ว โดยปลูกสลับกันเป็นอัตราส่วน 5 : 2 เมื่อลุงคำปลูก
เสร็จปรากฏว่ามีต้นเข็มจำนวน 95 ต้น จงหาว่าลุงคำปลูกต้นแก้วทั้งหมดกี่ต้น
วิธีทำ ขั้นที่ 1

ขั้นที่ 2

ขั้นที่ 3

ขั้นที่ 4

ลองทำดู
1.พ่อวางแผนปลูกต้นลำไยและต้นลิ้นจี่ในสวน โดยให้จำนวนต้นลำไยต่อต้นลิ้นจี่เป็น 6 : 9 เมื่อพ่อปลูกเสร็จ
ปรากฏว่ามีต้นลิ้นจี่จำนวน 72 ต้น จงหาว่าพ่อปลูกต้นลำไยจำนวนกี่ต้น
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

2. รูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีอัตราส่วนของด้านทั้งสามเป็น 5 : 12 : 13 ถ้าเส้นรอบรูปของสามเหลี่ยมรูปนี้เท่ากับ 90
เซนติเมตร จงหาความยาวของด้านที่สั้นที่สุด

3. น้ำแตงโมมีส่วนผสมของเนื้อแตงโม น้ำเชื่อม และน้ำเปล่าต้มสุก โดยมีอัตราส่วนของน้ำหนัก


ดังนี้ อัตราส่วนของเนื้อแตงโมต่อน้ำเชื่อมเป็น 10 : 3
อัตราส่วนของน้ำเชื่อมต่อน้ำเปล่าเป็น 1 : 10 อยากทราบว่าต้องใช้น้ำเชื่อม 45 กรัม จะได้น้ำแตงโมกี่กรัม

4.น้ำเสาวรสมีส่วนผสมของเนื้อเสาวรส น้ำเชื่อม และนำเปล่าต้มสุก โดยมีอัตราส่วนของน้ำหนัก


ดังนี้ อัตราส่วนของเนื้อเสาวรสต่อน้ำเชื่อมเป็น 3 : 7
อัตราส่วนของน้ำเชื่อมต่อน้ำเปล่าเป็น 2 : 5 อยากทราบว่าถ้าต้องใช้น้ำเชื่อม 42 กรัม จะได้น้ำเสาวรสกี่กรัม
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

5. น้ำแตงโมมีส่วนผสมของเนื้อแตงโม น้ำเชื่อม และน้ำเปล่าต้มสุก โดยมีอัตราส่วนของน้ำหนัก


ดังนี้ อัตราส่วนของเนื้อแตงโมต่อน้ำเชื่อมเป็น 3 : 7
อัตราส่วนของน้ำเชื่อมต่อน้ำเปล่าเป็น 2 : 5
อยากทราบว่าถ้าใช้เนื้อแตงโม 550 กรัม และน้ำเชื่อม 450 กรัม จะได้น้ำแตงโมกี่กรัม

ตัวอย่างที่ 9 กำหนดให้มตราส่วนของแผนผังนี้เท่ากับ 1 :12,000

อยากทราบว่ามินตราเดินทางจากบ้านไปสถานีตำรวจตามแนวเส้นประในแผนผังที่กำหนดให้เป็นระยะทาง
ประมาณกี่กิโลเมตร (ตอบประมาณค่าใกล้เคียงเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง)
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

1.3 การนำความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละไปใช้ในชีวิตจริง


1. อัตราส่วนร้อยละ
จงพิจารณาแผ่นป้ายต่อไปนี้
จากแผ่นป้ายส่วนลดสินค้าที่ระบุว่า สำหรับสมาชิกรับส่วนลด 15%
หมายความว่าราคาที่ประกาศขาย 100 บาท ลดราคาให้ 15 บาท หรือกล่าว
ว่าสมาชิกจ่ายเพียง 85 บาท
เขียนเป็นอัตราส่วนได้ดังนี้
อัตราส่วนของจำนวนเงินที่ลดราคาต่อราคาที่ประกาศขายเป็น 15 : 100
และ อัตราส่วนของจำนวนเงินที่สมาชิกจ่ายต่อราคาที่ประกาศขายเป็น 85 : 100
เรียกการเปรียบเทียบจำนวนใดจำนวนหนึ่งกับ 100 ว่า ร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์
𝑎
สามารถเขียนร้อยละ a หรือ a% ในรูปอัตราส่วนได้เป็น a : 100 หรือ
100

ลองทำดู
1) จงเขียนอัตราส่วนต่อไปนี้ให้อยู่ในรูปร้อยละ
1. 9 : 20 2. 3 : 4 3. 2 : 3 (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง) 4. 8 : 7 (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)

2) จงเขียนร้อยละต่อไปนี้ให้อยู่ในรูปอัตราส่วนอย่างต่ำ
1
1. 12% 2. 5 % 3. 5.75% 4. 2.25%
2

3) จงหาว่าจำนวนใดเป็นร้อยละ 19.5 ของ 300


คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

2. การนำความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละไปใช้ในชีวิตจริง


โจทย์ปัญหากำไรและขาดทุน
ตัวอย่าง 10 พลอยซื้อกล่องดินสอกล่องหนึ่งราคา 80 บาท และนำมาขายต่อในราคา 100 บาท อยาก
ทราบว่าพลอยขายกล่องดินสอได้กำไรร้อยละเท่าใด

ตัวอย่าง 11 นิสารัตน์นำเงินมาลงทุนขายลูกชิ้นปิ้งจำนวน 520 บาท เมื่อนิสารัตน์ขายลูกชิ้นปิ้งหมดแล้ว


ได้รับเงินทั้งหมด 910 บาท อยากทราบว่านิสารัตน์ได้กำไรร้อยละเท่าใด
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

ตัวอย่างที่ 12 อัมพรขายเครื่องคิดเลข 80 เครื่อง เป็นเงิน 28,600 บาท ได้กำไร 10% จงหาว่าเครื่องคิด


เลขนี้มีต้นทุนราคาเครื่องละกี่บาท

ลองทำดู
1. นิธิขายรองเท้าวิ่งคู่หนึ่งราคา 4,500 บาท ได้กำไร 5% จงหาว่านิธิซื้อรองเท้าวิ่งมาคู่ละกี่บาท

2. ร้านขายโทรศัพท์เครื่องหนึ่งราคา 4,500 บาท ขาดทุน 10% ถ้าต้องการขายให้ได้กำไร 10% จะต้องขาย


โทรศัพท์เครื่องนี้กี่บาท

3. ร้านขายคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งราคา 27,000 บาท ขาดทุน 20% ถ้าต้องขายให้ได้กำไร 10% จะต้องขาย


คอมพิวเตอร์เครื่องนี้เท่าใด
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

4. สุภักษรซื้อโทรศัพท์เครื่องหนึ่งได้ส่วนลด 15% ของราคาทีต่ ิดไว้ ซึ่งคิดเป็นเงินส่วนลดทั้งหมด 750 บาท จงหา


ราคาที่ติดไว้

5.ตะวันซื้อเครื่องคิดเลขเครื่องหนึ่งได้ส่วนลด 5% ของราคาที่ติดไว้ ซึ่งคิดเป็นเงินส่วนลดทั้งหมด 30 บาท จงหา


ราคาที่ติดไว้

6.ร้านเพชรติดราคาขายพัดลมไว้ 2,000 บาท ถ้าลดราคาให้ผู้ซื้อ 5% ร้านเพชรรัตน์ยังคงได้กำไร 10% จงหาราคา


ต้นทุนของพัดลม

7.ร้านน้ำใสติดราคาขายเครื่องกรองน้ำเครื่องหนึ่งไว้ 3,000 บาท ถ้าลดราคาให้ผู้ซื้อ 6% ร้านน้ำใสยังได้กำไร 20%


จงหาราคาต้นทุนของเครื่องกรองน้ำนี้
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

8. ร้านสุขใจกำหนดราคาขายรถจักรยาน โดยคิดราคาที่ตั้งไว้บวกกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของราคาที่ตั้งไว้ ถ้าราคา


ที่ตั้งไว้ของจักรยานเท่ากับ 2,400 บาท ร้านจะต้องกำหนดราคาขายจักรยานกี่บาท (ตอบเป็นค่าประมาณใกล้เคียง
จำนวนเต็มร้อย)

9. ร้านยิ่งยงสปอร์ตติดราคาขายเสื้อตัวหนึ่งไว้ 550 บาท แต่ราคาขายจริงจะต้องบวกกับภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของ


ราคาที่ติดไว้ จงหาว่าร้ายิ่งยงสปอร์ตจะต้องขายเสื้อตัวนี้ในราคากี่บาท

10. ร้านนานาซื้อกระเป๋าเดือนทางมาในราคา 2,000 บาท และต้องการขายกระเป๋าเดินทางนี้ให้ได้กำไร 10% ร้าน


จึงกำหนดราคาขายโดยคิดภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ของราคาขายที่ได้กำไร 10% จงหาว่า ร้านนานาจะต้องกำหนด
ราคาขายกระเป๋าเดินทางนี้กี่บาทจึงจะได้กำไรตามที่ต้องการ

11. ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นมาในราคา 3,000 บาท และต้องการขายเครื่องทำน้ำอุ่นนี้ให้ได้กำไร


8% ร้านค้าจึงกำหนดราคาขายโดยคิดภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ของราคาขายที่ได้กำไร จงหาว่าร้านขาย
เครื่องใช้ไฟฟ้านี้จะต้องกำหนดราคาขายเครื่องทำน้ำอุ่นนี้กี่บาทจึงจะได้กำรตามต้องการ
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2
คณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2

You might also like