You are on page 1of 24

โครงงานสมุนไพรกำจัด

ลูกน้ำยุงลาย

ด.ญ.ปิยาพัชร หนูยิ้มซ้าย ม.2/1 เลขที่41


ที่มาและ
ความสำคัญ
ปัจจุบันช่วงฤดูฝนของประเทศไทยมักจะประสบปัญหากับโรคที่มาจากยุงนั่นก็คือ“โรคไข้เลือดออก” ซึ่งเป็นโรคที่มา
จากยุงโดยเฉพาะ เนื่องจากโรคนี้มีสาเหตุมาจากยุง ซึ่งก็มักจะมาพร้อมกับฤดูฝนของบ้านเรา เพราะผู้คนไม่ค่อยสนใจใน
เรื่องการปิดฝาภาชนะ หรือคว่ำภาชนะที่มีน้ำขังทิ้งซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นสัตว์พาหะของโรค
ยุง มักจะเป็นปัญหากับทุกเพศทุกวัย เพราะยุงมักชอบกัดหรือดูดเลือดของเรา ทำให้เรามีอาการคันตามเนื้อตามตัว
และบางครั้งก็มีแผลเป็นจากการเกาบริเวณแผลที่โดนกัด แต่หากเราโดนยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกกัด ก็อาจ
ทำให้นำไปสู่การเป็นไข้เลือดออกได้
โดยสาเหตุมักจะมาจากการที่บริเวณนั้นๆ มีฝนตกชุกมาก อาจทำให้มีการเกิดน้ำขังในโอ่ง หรือภาชนะที่จัดเก็บน้ำได้
ซึ่งผู้คนทั่วไปไม่ค่อยสนใจกับสิ่งเหล่านี้เท่าไหร่นัก เพราะคิดว่ายุงไม่น่าจะเป็นอันตรายขนาดนั้น
วิธีแก้ปัญหา คือ ผู้จัดทำสังเกตเห็นว่ามีสมุนไพรที่สามารถใช้เป็นสิ่งที่จะช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ จึงได้นำสมุนไพร
3 ชนิดนี้ มาสกัดทำเป็นสมุนไพรกำจัดลูกน้ำยุงลาย
ผู้จัดทำจึงได้คิดสมุนไพรไล่ยุงขึ้น เพื่อให้สามารถลดจำนวนลูกน้ำยุงลายได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีให้เกิดอันตรายและ
ลดอัดตราการแพ้ที่จะเกิดขึ้นเมื่อใช้สารเคมี
ขอบเขตการศึกษา
ตถุุประสงค์ ระยะเวลาในการศึกษา
วั : 1 พฤศจิกายน 2564 - 1 มีนาคม 2565
(121วัน)
1. เพื่อกำจัดลูกน้ำด้วยสมุนไพร สถานที่
2. เพื่อหาวัตถุธรรมชาติที่ไม่มีอันตราย : 5/5 ม.3 ต.บางสัก อ.กันตัง จ.ตรัง (ควนตุ้งกู)
มาทดแทนการใช้สารเคมี งบประมาณ
: 1.โหระพา(30-40บ/กก)
3.เพื่อลดอัตราการมีชีวิตของยุง 2.สะเดา(80-120บ/กก)
3.กะเพราแดง(50-60บ/กก)
สมมติฐาน
1.น้ำที่ได้จากเมล็ดและใบของกระเพราแดงสามารถกำจัดลูกน้ำยุงได้ และ ป้องกันลูกน้ำยุงได้
2.น้ำที่ได้จากเมล็ดและใบของสะเดา สามารถกำจัดลูกน้ำยุงได้ และ ป้องกันลูกน้ำยุงได้
3.น้ำที่ได้จากเมล็ดและใบของโหระพา สามารถกำจัดลูกน้ำยุงได้ และ ป้องกันลูกน้ำยุงได้

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

สมมติฐานข้อที่1 สมมติฐานข้อที่3
ตัวแปรต้น : สะเดา ตัวแปรต้น :กะเพราแดง
ตัวแปรตาม : การตายของลูกน้ำยุงลาย ตัวแปรตาม : การตายของลูกน้ำยุงลาย
ตัวแปรควบคุม ตัวแปรควบคุม
: 1. ปริมาณของเมล็ดพืช สมมติฐานข้อที่2 : 1. ปริมาณของเมล็ดพืช
2.ปริมาณน้ำ 2. ปริมาณน้ำ
ตัวแปรต้น : โหระพา
ตัวแปรตาม : การตายของลูกน้ำยุงลาย
ตัวแปรควบคุม
: 1. ปริมาณของเมล็ดพืช
2.ปริมาณน้ำ
วิธีการดำเนินงาน

1.นำเสนอหัวข้อโครงงาน
2.วางแผนทำโครงงาน
3.ที่มาและความสำคัญ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4.วัตุประสงค์

5.สมมุติฐานตัวแปร
1.รู้ว่าสมุนไพรชนิดใดสามารถปราบลูกน้ำยุงได้
6.เขียนแบบร่างโครงงาน
2.รู้วิธีสกัดสมุนไพรลูกน้ำยุงลาย
7.นำแบบร่างโครงงานมาทำโครงงาน
3.ได้ฝึกวิธีการ กระบวนการทดลองทาง
ที่สมบูรณ์
วิทยาศาสตร์
บทที่ 2
เอกสารและงาน
วิจัยที่เกี่ยวข้อง

เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยปกติ ตัวเมียมักจะกิน


ยุง เลือด เป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวานในดอกไม้ ยุงยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะ แพร่เชื้อโรค
อีกด้วย เช่น ไข้เลือดออก ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3450 ชนิด แต่พบในประเทศไทย
ประมาณ412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดีคือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) และยุงลาย (Andes)และยุง
มีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย ไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง ตัวเต็มวัย ยุงลายเป็นยุงที่มีขนาด
ปานกลางลำตัวสีดำและสีขาว ขาเป็นปล้องสีดำและสีขาวสลับกันเห็นได้ชัด ด้านบนของส่วนอก
มีแถบสีขาวรูปเคียว 1 คู่พาดอยู่ มีความว่องไวและชอบอยู่ใกล้ชิดกับคนมากกว่ายุงชนิดอื่นๆ
ชอบกัดกินเลือดคนในเวลากลางวัน และวางไข่ตามภาชนะใส่น้ำ หรือมีน้ำขังในบริเวณบ้าน หลัง
จากยุงลายวางไข่แล้ว อยู่ในสภาพที่เหมาะสม 1-2 วัน ไข่จะฟักตัวเป็นลูกน้ำ ลูกน้ำจะอาศัยอยู่
ในน้ำประมาณ 6-8 วัน และจะเจริญเติบโตเป็นตัวโม่ง หลังจากนั้น 1-2 วันก็จะลอกคราบเป็นยุง
ลาย ออกกัดกินเลือดคนต่อไป เมื่อยุงลายกัดกินเลือดคนที่มีเชื้อโรคไข้เลือดออกแล้วก็จะ
ถ่ายทอดเชื้อโรคนี้ให้กับคนที่ถูกยุงลายกัดกินเลือดในคราวต่อไป ทำให้คนนั้นป่วยเป็นไข้เลือด
ออกได้ ยุงลายที่มีเชื้อโรคไข้เลือดออกแล้ว สามารถแพร่โรคได้ตลอดชีวิตของมัน ซึ่งจะอยู่ได้
ประมาณ 1 เดือน การที่คนในบ้านคุณและในชุมชนคุณป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก เป็นเพราะคุณ
เพาะเลี้ยงฆาตกร(ยุงลาย)ไว้ในบริเวรบ้านโดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นต้องช่วยกันกำจัดยุงลายและ
แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายด้วยตัวคุณเอง
โรคที่เกิดจาก
ยุงเป็ นพาหะ ไข้มาลาเรีย
ไข้เลือดออก
เป็นโรคจากยุงที่มีความรุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้
เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อปรสิตที่เป็นสาเหตุของโรคจะเข้าสู่ร่างกายเมื่อถูกยุง
(Dengue Virus) ซึ่งมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ และไม่ติดต่อ ก้นปล่องที่เป็นพาหะกัด ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการให้เห็น
จากคนไปสู่คน ผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคนี้กลับมาเป็นซ้ำได้หาก ภายใน 10 วัน-4 สัปดาห์หลังจากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด แต่
ติดเชื้อคนละสายพันธุ์ แต่ในกรณีที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์เดิมจะ บางรายอาจไม่มีอาการแม้จะติดเชื้อหลายเดือนแล้วก็ตาม
ไม่มีอาการใด ๆ เนื่องจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไว โรคไข้มาลาเรียรักษาให้หายได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแล
รัสเดงกีสายพันธุ์นั้น ๆ แล้ว การรักษาโรคไข้เลือดออก ของแพทย์อย่างใกล้ชิดและอาจต้องใช้ยาหลายชนิดใน
ทำได้โดยประคับประคองอาการจนกว่าจะดีขึ้น อย่างไร การรักษา เพราะเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยา ทั้งนี้ การ
ก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเสีย รักษาที่ล่าช้าอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงถึงชีวิต
ชีวิตได้ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ได้
โรคที่เกิดจาก
ยุงเป็ นพาหะ
ไข้เหลือง ไข้ซิก้า

โรคติดเชื้อไวรัสที่มียุงลายและยุงป่าเป็นพาหะ แต่ไม่สามารถ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะในการแพร่เชื้อ ผู้


ติดต่อจากคนสู่คนได้ อาการที่เด่นชัดของโรคคือ มีไข้ ปวด ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการรุนแรง แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อ
ศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน ในรายที่อาการรุนแรงอาจมีเลือด เนื่อง โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อชนิดนี้อาจมีภาวะ
ออก ภาวะดีซ่าน หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อ แทรกซ้อนร้ายแรงที่ส่งผลให้ทารกมีภาวะสมองพิการแต่
การทำงานของหัวใจ ตับ ไต ซึ่งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ กำเนิด ส่วนในรายที่ติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิด
อย่างไรก็ตาม โรคไข้เหลืองป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนก่อน ภาวะสมองอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อม
เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค แข็ง ปัจจุบันโรคไข้ซิกาไม่มีวิธีรักษาโดยตรง ทำได้เพียง
ประคับประคองอาการจนกว่าจะดีขึ้น
วิธีป้ องกันโรคที่เกี่ยวกับยุง

- สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อนและมิดชิด
- ใช้ยากันยุงพ่นหรือทาที่ผิวหนังเมื่อต้องออกไปข้างนอกในเวลากลางคืน
- ติดมุ้งลวด หรือกางมุ้งเพื่อป้องกันยุงกัดขณะนอนหลับ
- ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงโดยกำจัดหรือทำความสะอาดบริเวณที่มีน้ำขังรอบบ้าน
- หากภายในบ้านมีสระน้ำ ควรใช้อุปกรณ์ที่ช่วยให้น้ำไหลเวียนอยู่เสมอ เพราะน้ำนิ่งนั้น
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง

เป็นกะเพราชนิดหนึ่ง เป็นพืชสมุนไพร เป็นพืชล้มลุก มีทรงพุ่ม มีอายุหลายปี นำไป


ใช้ได้ทั้งใบ ดอกและเมล็ด ใบมีลักษณะทรงรีเล็กๆ ขอบใบเป็น รอยหยักเล็กๆ ใบมีสี
เขียวอมม่วงแดง หรือสีน้ำตาลอมแดง ใบด้านบนสีเข้มกว่าใบด้านล่าง มีก้านใบยาว
รองรับ มีขนสีขาวเล็กๆปกคลุม ใบบอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่าย รสชาติเผ็ดร้อน
มีกลิ่นหอมแรง มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เป็นที่นิยมปลูกกัน
ทั่วไปในเขตอากาศร้อน เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีมาแต่โบราณ มีประโยชน์และ
สรรพคุณ ทางยาหลายอย่าง นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู ในใบ
กระเพราแดงมีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง สารสำคัญนั้นคือ monoterpenes และ
sesquiterpene

กะเพราแดง
เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เจริญได้ดีในที่
แล้ง ใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้งเป็นอาหารและสร้างที่
อยู่อาศัย ในใบและเมล็ดสะเดามีสารอาซาดิเรซติน
(Azadirachtin) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง ในเมล็ด
มีน้ำมันที่เรียกว่า margosa oil ใช้เป็นสีย้อมผ้าและ
ยาฆ่าพยาธิในสัตว์เลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะ
เมล็ด แต่ต้องรีบนำไปเพาะทันทีหลังจากเมล็ดร่วง มิ
ฉะนั้น จะสูญเสียความสามารถในการงอกไปอย่าง
รวดเร็ว ในมล็ดของสะเดานั้น มีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง สาร

ส ะเ ด า สำคัญนั้นคือ azadirach

โหระพา

เป็นพืชที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย


มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสั้น มีความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 60
เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก้านใบและลำต้นมีสีม่วงแดง ใบสีเขียว ใบเป็นรูป
หอกยาวประมาณ 1-3 นิ้ว มีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นชั้นคล้ายฉัตร ดอกสีขาว ม่วง
หรือชมพู โหระพาสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิดที่มีความชื้น
สม่ำเสมอต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดวันและสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีในใบ
โหระพามีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง สารสำคัญนั้นคือ eugenol geraniol และ linalool

บทที่3
วิธีดำเนินงาน
โครงงาน

วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง

อุปกรณ์การทดลอง
1.สะเดา
2.โหระพา
3.กะเพราแดง
4.ครก
5.สาก
6.ผ้าขาวบาง
7.น้ำต้มสุก
8.ถ้วย
วิธีการทดลอง
วิธีการทดลองชนิดที่ 1
นำใบกะเพราแดงมาโขกจน
ละเอียด แล้วรองด้วยผ้าขาว
แล้วใช้น้ำต้มสุกกรองใส่ถ้วย จะ รูปกะเพราใบแดง
โขกละเอียด
ได้น้ำของใบกะเพราแดงที่กรอง
รูปน้ำกะเพราแดงที่
เสร็จแล้ว และหลังจากนั้นนำไปใส่ กรองเสร็จแล้ว
ในน้ำที่มีลูกน้ำยุงลายอยู่ แล้ว
ทำการบันทึกผลการทดลอง
รูปผลการทดลอง
วิธีการทดลอง
วิธีการทดลองชนิดที่ 2
นำเมล็ดสะเดามาโขกจนละเอียด
แล้วรองด้วยผ้าขาว แล้วใช้น้ำ
ต้มสุกกรองใส่ถ้วย จะได้น้ำของ รูปเมล็ดสะเดา
โขกละเอียด
เมล็ดสะเดาที่กรองเสร็จแล้ว และ
รูปน้ำเมล็ดสะเดาที่
หลังจากนั้นนำไปใส่ในน้ำที่มี กรองเสร็จแล้ว

ลูกน้ำยุงลายอยู่ แล้วทำการ
บันทึกผลการทดลอง รูปผลการทดลอง

วิธีการทดลอง
วิธีการทดลองชนิดที่ 3
นำใบโหระพามาโขกจนละเอียด
แล้วรองด้วยผ้าขาว แล้วใช้น้ำ
ต้มสุกกรองใส่ถ้วยจะได้น้ำของ รูปใบโหระพา
โขกละเอียด
ใบโหระพาที่กรองเสร็จแล้ว และ
รูปน้ำใบโหระพาที่
หลังจากนั้นนำไปใส่ในน้ำที่มี กรองเสร็จแล้ว

ลูกน้ำยุงลาย แล้วทำการบันทึก
ผลการทดลอง รูปผลการทดลอง

บทที่4
ผลการทดลอง
จากการทดลองเพื่อศึกษาสมุนไพรกำจัดลูกน้ำยุง
ลาย คือ สะเดา โหระพา และกะเพราแดงสามารถช่วย
กำจัดลูกน้ำยุงลายได้ ซึ่งเมื่อเราเทน้ำที่ได้มาจาก
สมุนไพรทั้งสามลงในน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยและฟักตัว
ของลูกน้ำยุงลาย และผลทดลองปรากฎว่ากะเพรา
แดงสามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ดีที่สุด และทำให้
ลูกน้ำยุงลายตายได้ภายใน 1 วัน

บทที่5
สรุปและ
อภิปรายผล

สรุปผลการทดลอง
ในการทดลองครั้งนี้พบว่า
1. รู้ถึงวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลายที่ถูกต้องโดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
2. จากการทดสอบประสิทธิภาพของสมุนไพรที่นำกำจัดยุงลายพบว่ากระเพราเป็นพืชสมุนไพรที่มี
ประสิทธิภาพกำจัดยุงลายได้ดีที่สุดรองลงมาคือโหระพาและสะเดา
อภิปรายผล
จากการดำเนินงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การกำจัดลูกน้ำยุงลายทำให้ทราบว่าพืชสมุนไพรที่มี
ประสิทธิภาพกำจัดลูกน้ำยุงลาย ผลการทดสอบคือใบกะเพรามีประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงลายมาก
ที่สุดและมีระยะเวลาในการตายที่เหมาะสม ผลเนื่องมาจากในสารสกัดใบกระเพราในน้ำเป็นพิษต่อตัวอ่อน
เพราะมี Ursolic acid ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง histamine จาก mast cell และ eugenol ทำให้มีฤทธิ์ยับยั้ง
แบคทีเรียจึงทำให้ลูกน้ำสามารถตายได้ เป็นผลทำให้ช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคมา
ติดต่อกับมนุษย์ และยังเป็นการช่วยลดปริมาณการเกิดของยุงลายอีกด้วย
จากการดำเนินงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การกำจัดลูกน้ำยุง
ลาย ทำให้ได้รับประโยชน์คือ
1.ได้รู้จักสมุนไพรต่างๆอย่างลึกซึ้งมากขึ้น จากที่เคยรู้แบบผ่านๆ
2.สามารถนำมาปรับใช้ในครัวเรือนของตนเองได้ ซึ่งสมุนไพรที่นำมาสกัด
นั้นไม่เป็นอันตราย

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
จากการดำเนินงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การกำจัดลูกน้ำยุงลายใน
ครั้งต่อไปควรจะศึกษาสมุนไพรที่ต่างออกไปจากสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้
เพื่อที่จะศึกษาว่าสมุนไพรใดบ้างที่มีประสิทธิ์ภาพและมีคุณสมบัติในการ
กำจัดลูกน้ำยุงลายและสกัดออกมาแล้วต้องไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอแนะในการพั ฒนา
โครงงานในอนาคต
THANK YOU

You might also like