You are on page 1of 23

โรคฉี่หนู (เลปโตสไปโรซิส)

โรคฉี่หนู หรือ ไข้ฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)


เป็ นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์มาสู่คนที่พบได้เป็ นครัง้ คราวใน
แทบทุกจังหวัด พบได้มากในผู้ที่มีอาชีพที่ต้องเดินย่ำน้ำ ลุยน้ำ แช่
น้ำ หรือสัมผัสกับสัตว์ที่เป็ นพาหะ โดยจะพบโรคนีไ้ ด้ในผู้ชาย
มากกว่าผู้หญิงประมาณ 2.5 เท่า และส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 15-
54 ปี ความสำคัญของโรคนีค
้ ือ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึง
ขัน
้ เสียชีวิตได้ และผู้ป่วยที่เคยเป็ นโรคนีแ
้ ล้วก็สามารถกลับมาเป็ น
ซ้ำได้อีก

โรคฉี่หนู เป็ นโรคที่พบเกิดได้ประปรายตลอดทัง้ ปี แต่จะพบได้มาก


ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็ นช่วงที่มีน้ำขังหรือ
เกิดภาวะน้ำท่วมและมีเชื้อโรคขังอยู่ในน้ำ เมื่อคนเดินลุยน้ำหรือลง
แช่น้ำก็จะมีโอกาสได้รับเชื้อนี ้ แต่ในบางครัง้ ก็อาจพบการระบาด
ของโรคนีไ้ ด้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีภาวะน้ำท่วม

ในระยะหลัง ๆ นี ้ พบผู้ป่วยเป็ นโรคฉี่หนูกันมากทางภาคอีสาน


เนื่องจากมีหนูชุกชุมอยู่ตามท้องนา และมักจะเป็ นชนิดรุนแรง ชาว
บ้านจึงมักเรียกว่า "โรคฉีห
่ นู" หรือ "ไข้ฉห
ี่ นู"

สาเหตุของโรค

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีช่ อ
ื ว่า "เชื้อเลปโตสไปร่า"
(Leptospira) ที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย (ในทางปฏิบัติสามารถแบ่ง
สายพันธุ์ย่อยของเชื้อได้ตามวิธีการตรวจหาสารประกอบบนตัว
แบคทีเรียจากเลือดของคน โดยจะเรียกแต่ละสายพันธุ์ย่อยว่า "ซีโร
วาร์" (Serovars) ซึ่งแบ่งออกได้มากกว่า 250 ซีโรวาร์) ซึง่ จะก่อให้
เกิดอาการและความรุนแรงแตกต่างกันไป เชื้อเลปโตสไปร่านีจ
้ ะมี
อยู่ในท่อไตเล็ก ๆ และอวัยวะเพศภายในของสัตว์หลากหลายชนิด
(ส่วนใหญ่แล้วสัตว์จะไม่แสดงอาการใด ๆ คือจะเป็ นได้เพียงรังโรค
และพาหะของโรค) ซึง่ ทั่วโลกพบสัตว์ที่มีเชื้อนีม
้ ากกว่า 160 ชนิด
ยกเว้นสัตว์ในเขตขัว้ โลก โดยจะมีหนูเป็ นแหล่งรังโรคที่สำคัญที่สุด
โดยพบทัง้ ในหนูนา หนูพุก หนูบ้าน หนูท่อ และหนูตะเภา ส่วนสัตว์
ชนิดอื่น ๆ ที่อาจพบได้แต่น้อย คือ สุนัข สุกร โค กระบือ แกะ แพะ
ม้า นก กระรอก พังพอน แรคคูน ปลาบางชนิด รวมทัง้ แมวด้วย (ส่
วนใหญ่สัตว์ที่นำเชื้อ คือ หนู โดยเฉพาะหนูนา หนูพุก รองลงมาคือ
สุนัข โค กระบือ แพะ แกะ) ส่วนมากสัตว์ที่ไวต่อการรับเชื้อมักจะ
เป็ นสัตว์ที่เลีย
้ งลูกด้วยนมที่มีอายุน้อยหรือเป็ นลูกสัตว์ที่ไม่เคยได้รับ
ภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อน (เชื้อบางสายพันธุ์ย่อยจะมีความจำเพาะ
กับสัตว์บางชนิด และในสัตว์หนึ่งชนิดก็สามารถมีเชื้อได้หลายสาย
พันธุ์ย่อย)
เชื้อโรคฉี่หนูสามารถเข้าสู่ร่างกายของคนผ่านทางผิวหนังที่มี
บาดแผล รอยถลอก หรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง หรืออาจไชเข้า
ทางผิวหนังปกติที่เปี ยกชุ่มจากการแช่น้ำเป็ นเวลานาน ๆ หรือไชเข้า
ทางเยื่อบุตา จมูก หรือช่องปากที่ปกติ ดังนัน
้ การเดินย่ำน้ำที่ท่วม
ขัง (เช่น ตามซอกซอยในเมือง) หรือพื้นดินที่ช้น
ื แฉะ (เช่น ตามท้อง
นา) การแช่อยู่ในน้ำตามห้วยหนองคลองบึงเป็ นเวลาเกิน 2 ชั่วโมง
ขึน
้ ไป (เช่น เล่นน้ำ แข่งกีฬาทางน้ำ จับปลา เก็บผัก) และการรับ
ประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้ อนเชื้อจากปั สสาวะสัตว์ก็อาจ
ทำให้ติดเชื้อได้ด้วย โดยผู้ที่ติดเชื้อโรคฉี่หนูนจ
ี ้ ะติดได้จากหลายช่อง
ทาง คือ

การสัมผัสถูกเลือด ปั สสาวะ หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่ติดเชื้อโดยตรง


ส่วนการที่สัตว์ที่มีเชื้อกัดและการสูดหายใจเอาละอองปั สสาวะหรือ
ของเหลวที่ปนเปื้ อนเชื้อเข้าไปก็อาจทำให้ติดเชื้อได้ด้วยเช่นกัน

การสัมผัสกับเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเชื้อโรคฉี่หนูที่
อาศัยอยู่ในท่อไตของสัตว์นน
ั ้ สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานเป็ นเดือนหรือ
เป็ นปี ๆ โดยเชื้อจะถูกขับออกมากับปั สสาวะของสัตว์ (ที่พบบ่อย
คือ หนู จึงเรียกโรคนีว้ ่า "โรคฉี่หนู") และเชื้อจะปนเปื้ อนอยู่ในแหล่ง
น้ำต่าง ๆ เช่น ที่น้ำท่วมขังตามซอกซอยในเมือง แม่น้ำ ห้วย หนอง
คลอง บึง น้ำตก รวมถึงดินโคลน หรือพื้นดินที่ช้น
ื แฉะได้นานหลาย
เดือน (เคยมีรายงานว่าเชื้ออาจอยู่ได้นานถึง 6 เดือนในที่น้ำท่วมขัง
โดยมีปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม คือ ความชื้น แสงแดดส่องไม่ถึง
และมีความเป็ นกรดปานกลาง)

การติดต่อจากคนสู่คน (พบได้น้อยมาก) ที่อาจพบได้คือ ผ่าน


ทางการมีเพศสัมพันธ์ ผ่านทางการตัง้ ครรภ์ไปสู่ทารกในครรภ์ และ
ผ่านทางน้ำนมไปสูล
่ ูก ดังนัน
้ ผู้ป่วยจึงสามารถอยู่ร่วมกับคนใน
ครอบครัวได้ตามปกติ

กลุ่มเสี่ยง : บุคคลที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคฉี่หนู คือ ผู้


ที่มีอาชีพที่ต้องเดินย่ำน้ำ ลุยน้ำ หรือแช่น้ำ หรือสัมผัสกับสัตว์ที่เป็ น
พาหะ เช่น เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน คนจับปลา กรรมกร
ขุดท่อระบายน้ำ ทำเหมืองแร่ เก็บขยะ คนงานในโรงฆ่าสัตว์ คน
งานในฟาร์มเลีย
้ งสัตว์ ร้านขายสัตว์เลีย
้ ง สัตวแพทย์ แพทย์ เจ้า
หน้าที่ห้องทดลอง แม่บ้านที่ต้องเตรียมอาหารจากเนื้อสัตว์ ทหาร
หรือตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่ าเขา รวมไปถึงนักท่องเที่ยวที่นิยม
การเที่ยวป่ า น้ำตก ทะเลสาบ ล่องแก่ง ว่ายน้ำในแหล่งน้ำจืด
เป็ นต้น

ในกลุ่มประชาชนทั่วไป มักเกิดการติดเชื้อเมื่อมีน้ำท่วม ที่บ้านมีหนู


มาก ผู้ที่รับประทานอาหารปรุงไม่สุก หรือปล่อยอาหารทิง้ ไว้โดยไม่
ปิ ดฝา

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักพบโรคนีใ้ นกลุ่มคนที่ทำกิจกรรมพัก


ผ่อนทางน้ำ เช่น เล่นเรือแคนู สกีน้ำ และวินด์เซิร์ฟ

ระยะฟั กตัวของโรค : ตัง้ แต่ได้รับเชื้อจนแสดงอาการจะใช้เวลา


ตัง้ แต่ 2-26 วัน ทีพ
่ บบ่อยคือประมาณ 1-2 สัปดาห์

อาการของโรค
ผู้ป่วยที่เป็ นโรคนีจ
้ ะมีอาการและความรุนแรงแตกต่างกันไป ขึน
้ อยู่
กับชนิดและปริมาณของเชื้อ โดยเชื้อที่ก่อโรครุนแรง (เกิดอาการ
ดีซ่าน เลือดออก และไตวาย) มีช่ อ
ื ว่า Leptospira
icterohaemorrhagiae ที่อาศัยอยู่ในหนูและสุนัข และเชื้อ
Leptospira bataviae ที่อาศัยอยู่ในหนู โค กระบือ และสุนัข แต่
การติดเชื้อส่วนใหญ่มักจะก่ออาการของโรคแบบไม่มีดีซ่าน
(Anicteric illness) มากกว่าที่จะเป็ นแบบดีซ่าน (Icteric disease)
ซึ่งแม้แต่เชื้อ Icterohaemorrhagiae เองที่มักทำให้เกิดอาการ
ดีซ่าน ก็มักพบดีซ่านได้ไม่เกิน 10%

เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าสู่กระแสเลือด กระจายไปสู่อวัยวะ
ต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญ เช่น หลอดเลือด ตับ
ไต ปอด และกล้ามเนื้อ และเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึน
้ โดยที่
เชื้อจะไปทำให้หลอดเลือดเล็ก ๆ ในอวัยวะต่าง ๆ เกิดการอักเสบ
เป็ นหลัก และอาจเข้าไปทำลายเซลล์โดยตรง ทำให้เซลล์ตายและ
เกิดอาการตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ หลังจากนัน
้ ร่างกายจะสร้างสารภูมิ
ต้านทาน (แอนติบอดี) ขึน
้ มาทำลายเชื้อโรคเหล่านี ้ และเชื้อโรคก็จะ
หมดไป แต่ยังอาจทำให้มีอาการต่าง ๆ เกิดขึน
้ มาอีกจากปฏิกิริยา
ระหว่างเชื้อโรคกับสารภูมิต้านทานนั่นเอง หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อ
ประมาณ 1-2 สัปดาห์ (โดยเฉลี่ยคือ 10 วัน) จะมีอาการแบ่งได้เป็ น
3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ไม่มีอาการ พบได้ประมาณ 15-40% ของผู้ติดเชื้อ โดยจะไม่
อาการแสดงใด ๆ เลย

กลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง เป็ นกลุ่มที่พบได้มากที่สุด ในช่วงแรกผู้


ป่ วยจะมีอาการไข้สูง (ประมาณ 39-40 องศาเซลเซียส) หนาวสั่น
ปวดศีรษะค่อนข้างมาก (โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าผากหรือหลัง
เบ้าตา บางรายอาจปวดบริเวณขมับทัง้ 2 ข้าง) เยื่อบุตาบวมแดง
และมีอาการปวดตามกล้ามเนื้อมาก ซึ่งเป็ นลักษณะจำเพาะของโรค
นี ้ คือจะปวดบริเวณน่องขาทัง้ 2 ข้าง เวลากดหรือบีบบริเวณกล้าม
เนื้อน่องจะมีอาการเจ็บปวดมาก และอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ
หลังและหน้าท้องร่วมด้วยได้ (เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปทำลายเซลล์
กล้ามเนื้อ) ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมด้วย คือ เบื่ออาหาร
คลื่นไส้ อาเจียน ไอ เจ็บคอ เจ็บหน้าอก เป็ นผื่น (อาจเป็ นผื่นแดง
ราบ ผื่นแดงนูน ผื่นลมพิษ) มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ตากลัวแสง
มีอาการสับสน คอแดง ไอเป็ นเลือด ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอและ/
หรือรักแร้โต ตับม้ามโต อาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองเล็กน้อย (อ
าการของดีซ่าน) ปวดท้องจากตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ หรือถุง
น้ำดีอักเสบ ปวดตามข้อ ท้องเสีย อุจจาระร่วง ปวดตรงชายโครง
ด้านขวา (ซึ่งอาจปวดรุนแรง จนแพทย์วินิจฉัยว่าเป็ นภาวะปวดท้อง
เฉียบพลัน และผ่าตัดช่องท้องดู) โดยอาการเหล่านีจ
้ ะเป็ นอยู่
ประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วหายไป
และอีกประมาณ 1-3 วันต่อมา อาการจะกลับมาเป็ นอีก (มีไข้ติดต่อ
กันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด) ซึ่งเป็ นลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ของโรคฉี่หนู (เกิดจากร่างกายเริ่มผลิตสารภูมิต้านทานมาต่อสู้กับ
เชื้อโรค ซึ่งปฏิกิริยาระหว่างเชื้อโรคกับสารภูมิต้านทานจะทำให้เกิด
อาการขึน
้ ) โดยอาการที่กลับมาเป็ นอีกจะค่อนข้างหลากหลายกว่า
อาการในช่วงแรก โดยจะมีความรุนแรงน้อยกว่า เช่น ปวดกล้าม
เนื้อน่องเพียงเล็กน้อย แต่ที่เป็ นลักษณะเฉพาะของอาการในช่วงที่
2 คือ เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการ
ต้นคอแข็ง ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน แต่ผู้ป่วยบางรายก็ไม่มีอาการ
ถ้าตรวจน้ำไขสันหลัง (CSF) จะพบมีเซลล์เม็ดเลือดขาวขึน
้ สูง โดย
อาการอาจจะเป็ นอยู่ประมาณ 2-3 วัน หรืออาจนานเป็ นหลาย
สัปดาห์ แต่ในที่สุดก็จะหายไปโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึน

ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อน่อง ซึง่ พบได้บ่อย


ถึง 79-96% ของผู้ป่วย กดเจ็บกล้ามเนื้อ พบได้ประมาณ 42-53%
ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการดีซ่าน และประมาณ 75% ในผู้ป่วยที่มีอาการ
ดีซ่าน กดเจ็บท้องพบได้ประมาณ 11-30%

ปวดศีรษะ พบได้ประมาณ 80-90% คอแข็งพบได้ประมาณ 6-19%


หลังเป็ นได้ประมาณ 1 สัปดาห์ และระดับความรู้สึกผิดปกติ พบได้
ประมาณ 11-30%
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ พบมีอาการแสดงของเยื่อหุ้มสมองอักเสบไม่
เกิน 50%

อาการไอ พบได้ประมาณ 25-63% โดยจะเริ่มเป็ นตัง้ แต่วันที่ 1-4


ของโรค และจะเป็ นอยู่นานประมาณ 3-4 วัน ส่วนอาการไอเป็ น
เลือดเล็กน้อย พบได้ประมาณ 3-50%

เจ็บหน้าอก พบได้ประมาณ 7-30% ซึ่งเป็ นผลมาจากการอักเสบ


ของกล้ามเนื้อ

อาการที่รุนแรงแต่พบได้น้อยและมักพบในกลุ่มที่มีอาการดีซ่าน
เท่านัน
้ ได้แก่ ไอเป็ นเลือดสด และภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
(Hypoxemia)

คลื่นไฟฟ้ าหัวใจผิดปกติ พบได้บ่อยประมาณ 70% มักพบในระยะ


แรกของการดำเนินโรค พบหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยพบภาวะหัวใจ
ห้องบนสั่นพลิว้ (Atrial fibrillation) ได้บ่อยที่สุด ในรายที่มีอาการ
รุนแรงอาจพบภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะช็อกเนื่องจากหัวใจ
ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ (Cardiogenic shock) ได้ ซึ่งการทำงาน
ของหัวใจจะกลับมาเป็ นปกติภายใน 2-3 สัปดาห์หลังการรักษา

คลื่นไส้อาเจียน พบได้ประมาณ 40-60%

ท้องเสีย พบได้ประมาณ 24-29%

ปวดท้อง พบได้ประมาณ 11-20% ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการดีซ่าน และ


ประมาณ 44% ในผู้ป่วยที่มีอาการดีซ่าน
ตับโต พบได้ประมาณ 15-34% ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการดีซ่าน และ
พบได้ประมาณ 75% ในผู้ป่วยที่มีอาการดีซ่าน

ม้ามโต พบได้ประมาณ 22% ในผู้ป่วยที่ไม่มีดีซ่าน

อาการดีซ่าน (ตัวเหลืองและตาเหลือง) ประมาณ 80% จะเริ่มมี


อาการในช่วงวันที่ 4-7 ของโรค และเป็ นอยู่ได้นานตัง้ แต่ 2-3 วัน
จนถึงหลายสัปดาห์

เยื่อบุตาทัง้ สองข้างบวมแดง (Conjunctival suffusion) พบได้


ประมาณ 20-27% มักเกิดขึน
้ ภายใน 3 วันแรกของโรค และเป็ นอยู่
นาน 1-7 วัน

เลือดออกที่เยื่อบุตา (Conjunctival haemorrhage) พบได้


ประมาณ 6-7% และมักหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ โดยไม่ต้อง
ให้การรักษา ม่านตาอักเสบ (Uveitis) พบได้ประมาณ 2% มักเกิด
ได้ตงั ้ แต่สัปดาห์ที่ 2 ของโรคถึง 6-12 เดือน อาจเป็ นข้างเดียวหรือ
สองข้าง เป็ นครัง้ เดียวหรือหลายครัง้ ก็ได้ การพยากรณ์โรคมักดีและ
หายสนิทจนเป็ นปกติได้ แต่ในผู้ที่เป็ นเรื้อรังอาจทำให้ตาบอดได้

จุดเลือดออกที่ผิวหนัง (Petechial hemorrhage) พบได้ประมาณ


2-10% เฉพาะในผูป
้ ่ วยที่มีอาการดีซ่านเท่านัน

กลุ่มที่มีอาการรุนแรง หรืออาจเรียกว่า กลุ่มอาการเวล (Weil’s


syndrome) เป็ นกลุ่มที่พบได้ประมาณ 5-10% ของผู้ติดเชื้อ และมี
อัตราการเสียชีวิตประมาณ 10% โดยผู้ป่วยจะเริ่มต้นด้วยอาการ
เหมือนผู้ป่วยในกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งจะเป็ นอยู่ประมาณ 4-9
วัน ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองจัด (อาการดีซ่าน)
ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคไปทำลายเซลล์ตับ นอกจากนีเ้ ชื้อโรคยังทำให้เกิด
การอักเสบของหลอดเลือดเล็ก ๆ ในอวัยวะต่าง ๆ แบบรุนแรงและ
เป็ นบริเวณกว้าง จึงทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำออกจากหลอดเลือด นำ
มาสู่ภาวะช็อก และเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ทำให้ปัสสาวะออก
น้อยมีสีเหลืองเข้มหรือไม่มีปัสสาวะออกเลย เกิดของเสียคัง่ ใน
ร่างกาย ระบบเกลือแร่ขาดสมดุล และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าผู้
ป่ วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออก
ง่าย เช่น มีอาการเลือดกำเดาไหล มีเลือดออกตามไรฟั น มีจุดเลือด
ออกหรือจ้ำเลือดตามตัว อาเจียนเป็ นเลือด ปั สสาวะเป็ นเลือด มี
เลือดออกในลำไส้ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็ นเลือด มีเลือดออกในปอดซึ่ง
อาจทำให้ไอเป็ นเลือดรุนแรง หายใจหอบเร็ว จนกระทั่งเกิดภาวะ
หัวใจล้มเหลว นอกจากนีอ
้ าจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อ
หุ้มหัวใจอักเสบ จนกระทั่งเกิดภาวะหัวใจวาย และในที่สุดอวัยวะ
ต่าง ๆ ของร่างกายก็จะเกิดภาวะล้มเหลวและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ในที่สุด

อาการอื่น ๆ ที่พบได้ คือ ตับโตและเจ็บ ภาวะซีด ชีพจรเต้นไม่


สม่ำเสมอ และความดันโลหิตต่ำ
ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure) ไม่จำเป็ นต้องพบ
ร่วมกับอาการดีซ่านเสมอไป ในผูป
้ ่ วยไตวายที่ไม่มีอาการดีซ่านร่วม
ด้วยจะมีอัตราการเสียชีวิตน้อยมาก

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและเป็ นเหตุให้เสียชีวิต ได้แก่ ไตวาย


ภาวะเลือดออก (ซึง่ เกิดจากการอักเสบของผนังหลอดเลือด) โดย
เฉพาะอย่างยิ่งเลือดออกในทางเดินอาหารและในปอด ซึง่ มักพบใน
กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการดีซ่านร่วมด้วย

อาจพบภาวะตับวาย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อ


อักเสบ สมองและไขสันหลังอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อบุ
หัวใจอักเสบ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว ปอดอักเสบ

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเมื่อร่างกายสร้างสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี)
ขึน
้ มาแล้ว เชื้อเลปโตสไปร่าก็จะถูกกำจัดไปจากร่างกาย แต่ยกเว้น
ที่ตากับท่อไตเล็ก ๆ ที่เชื้อโรคอาจจะยังคงอยู่ได้นานเป็ นสัปดาห์
หรือนานเป็ นเดือน ๆ ซึ่งการที่เชื้อยังคงอยู่ในตานี ้ จึงมีโอกาสที่จะ
ทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุภายในลูกตา
(Chronic uveitis) หรือม่านตา (Iritis) ได้

การติดเชื้อในหญิงตัง้ ครรภ์ อาจทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อโดยผ่าน


ทางรกได้ ซึ่งอาจทำให้แท้งบุตรถ้าเป็ นการตัง้ ครรภ์ในช่วงแรก หรือ
อาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ถ้าเป็ นการตัง้ ครรภ์ในช่วงหลัง แต่ก็
พบได้น้อย

ผู้ป่วยบางรายหลังจากอาการทั่วไปหายดีแล้ว อาจมีอาการผิดปกติ
ทางจิต เช่น โรคจิต (Psychosis) กระสับกระส่าย พฤติกรรมผิด
ปกติเป็ นเวลานานมากกว่า 6 เดือน

การวินิจฉัยโรค

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคฉี่หนูได้จากอาการที่แสดงของผู้ป่วย จาก
การตรวจร่างกาย รวมทัง้ ประวัติอาชีพการทำงาน สภาพแวดล้อมที่
อยู่อาศัย การสัมผัสกับแหล่งน้ำต่าง ๆ และอาศัยการตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการช่วยเสริม ได้แก่

การตรวจเลือด ได้แก่ การตรวจซีบีซี (CBC) ซึง่ จะพบจำนวนเม็ด


เลือดขาวสูงกว่าปกติ บางรายอาจสูงถึง 50,000 ตัว/ลบ.มม. เกล็ด
เลือดต่ำลง, การตรวจดูค่าการทำงานของตับ (พบขึน
้ สูงเล็กน้อย),
การตรวจค่าการตกตะกอนของเลือด (Erythrocyte
sedimentation rate - ESR) ซึง่ จะพบค่าขึน
้ สูง, การตรวจค่าน้ำดี
(พบค่าขึน
้ สูง), การตรวจค่าน้ำย่อยในตับอ่อน (อาจขึน
้ สูง ถ้ามีตับ
อักเสบร่วมด้วย), ในรายที่เป็ นรุนแรง ค่าการแข็งตัวของเลือดและ
ค่าการทำงานของไตจะผิดปกติ โดยจะมีค่าสารของเสียในเลือดสูง
ขึน

การตรวจปั สสาวะ (พบสารไข่ขาว เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว
ซึ่งปกติจะไม่มีสงิ่ เหล่านีอ
้ ยู่ในปั สสาวะ)

การตรวจน้ำไขสันหลัง (ในรายที่ปวดศีรษะรุนแรงหรือสงสัยว่าเป็ น
เยื่อหุ้มสมองอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะพบเม็ดเลือดขาวในน้ำ
ไขสันหลังสูงขึน
้ และอาจพบสารไข่ขาวสูงขึน
้ ด้วย)

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเพาะกับโรคฉี่หนู คือ การเพาะเชื้อ


จากเลือด น้ำไขสันหลัง หรือจากปั สสาวะ และการตรวจหาสารภูมิ
ต้านทานต่อเชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) จากการทดสอบทางน้ำ
เหลือง (มีอยู่หลายวิธี เช่น IgM ELISA, Microscopic
agglutination test (MAT), Macroscopic slide agglutination
test ( MSAT), Latex agglutination test, LEPTO dipstick test
เป็ นต้น โดยมักพบสารภูมิต้านทานต่อเชื้อนีข
้ น
ึ ้ สูง) แต่การตรวจ
เหล่านีจ
้ ะต้องใช้เวลานาน ในการวินิจฉัยจึงต้องอาศัยประวัติอาการ
การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น แล้ว
พิจารณาให้การรักษา โดยไม่จำเป็ นต้องรอผลการตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการที่จำเพาะต่อเชื้อโรค

การแยกโรค

อาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว นอกจากจะต้อง


นึกถึงสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ สครับไทฟั ส ไทฟอยด์ มาลาเรีย
ไข้เลือดออก กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำดีอักเสบ และท่อน้ำดี
อักเสบแล้ว ยังต้องนึกถึงโรคฉีห
่ นูไว้ด้วยเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้า
พบผู้ป่วยที่มีอาการตาแดงหรือดีซ่านร่วมด้วย หรือพบผู้ป่วยที่อยู่ใน
ถิ่นที่มีโรคนีช
้ ุกชุม

โรคนีโ้ ดยส่วนใหญ่กว่า 90% ผู้ป่วยจะมีอาการไม่รุนแรง โดยเฉพาะ


อย่างยิ่ง ถ้าไม่มีอาการของดีซ่านร่วมด้วย จนบางครัง้ แพทย์มัก
วินิจฉัยว่าเป็ นโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคติดเชื้อไวรัส ดังนัน
้ เมื่อผู้ป่วย
มีอาการที่น่าสงสัยว่าเป็ นโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคติดเชื้อไวรัส
แพทย์จะตรวจดูด้วยการบีบน่องของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยรู้สึกเจ็บน่อง
มาก แพทย์จะสงสัยไว้ก่อนว่าเป็ นโรคฉี่หนู และจะสังเกตอาการ
เปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด และอาจส่งตรวจเพิ่มเติมที่โรงพยาบาล
โดยเร็ว

ในรายที่เป็ นรุนแรง ซึ่งพบได้ประมาณ 10% ผู้ป่วยมักมีอาการตัว


เหลือง ตาเหลืองจัด จนบางครัง้ อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็ นตับ
อักเสบจากไวรัส แต่มีข้อแตกต่างที่สังเกตได้ คือ ผู้ป่วยตับอักเสบ
จากไวรัสมักจะไม่มีไข้เมื่อมีอาการดีซ่าน ในขณะที่ผู้ป่วยซึ่งเป็ นโรค
ฉี่หนูจะมีไข้สูงในขณะที่มีอาการดีซ่าน และมักจะมีอาการอื่น ๆ
ร่วมด้วย เช่น ไตวาย (ปั สสาวะออกน้อย) เลือดกำเดาไหล หรือมีจุด
จ้ำเขียวร่วมด้วย

การรักษาโรค
หากสงสัยว่าเป็ นโรคฉี่หนู โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการ
ไข้สงู หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง และรู้สึกปวดมากตรงบริเวณ
กล้ามเนื้อน่อง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคหรือให้การ
รักษาโดยเร็วภายใน 24 ชั่วโมง (ส่วนในกรณีที่มีอาการตัวเหลือง ตา
เหลืองร่วมด้วย จะต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที เพราะอาจเป็ นชนิด
ที่รุนแรงซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยไม่ควรรักษาด้วยตัวเองโดยเด็ด
ขาด) แพทย์อาจรับไว้รักษาในโรงพยาบาลในรายที่เป็ นรุนแรง ซึ่งผู้
ป่ วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็ นโรคฉี่หนูและได้รับการรักษาอย่างถูก
ต้อง ก็มักจะหายได้เร็วภายในประมาณ 10-14 วัน หรือไม่เกิน 3
สัปดาห์ โดยการรักษาจะประกอบไปด้วยการให้ยาปฏิชีวนะที่
รวดเร็วและเหมาะสมเพื่อไปฆ่าเชื้อโรค การรักษาไปตามอาการเพื่อ
แก้ไขความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อน ร่วมกับการรักษาประคับ
ประคองอาการ

ในรายที่เป็ นไม่รุนแรง แพทย์จะให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยให้


รับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซล
ิ ลิน (Amoxicillin) ใน
ผู้ใหญ่ครัง้ ละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครัง้ หลังอาหารและก่อนนอน
ส่วนในรายที่แพ้เพนิซิลลินให้เปลี่ยนไปใช้ดอกซีไซคลีน
(Doxycycline) แทน โดยในผู้ใหญ่ให้รับประทานครัง้ ละ 100
มิลลิกรัม วันละ 2 ครัง้ นาน 7 วัน ส่วนในเด็กอายุมากกว่า 8 ปี ให้
วันละ 2-4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 ครัง้ นาน 7 วัน
ในรายที่เป็ นรุนแรง แพทย์มักจะให้นอนโรงพยาบาล และให้ยา
ปฏิชีวนะแบบฉีดทางหลอดเลือดดำ เช่น เพนิซิลลิน จี (Penicillin
G) ครัง้ ละ 1.5 ล้านยูนิต ทุก 6 ชั่วโมง นาน 7 วัน หรือแอมพิซล
ิ ลิน
(Ampicillin) ครัง้ ละ 1 กรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุก 6 ชั่วโมง
นาน 7 วัน หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ครัง้ ละ 100
มิลลิกรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก 12 ชั่วโมง นาน 7 วัน หรือเซฟ
ไตรอะโซน (Ceftriaxone) ครัง้ ละ 1 กรัม เข้าหลอดเลือดดำ วันละ
1 ครัง้ นาน 7 วัน (ดอกซีไซคลีนมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้เพนิซล
ิ ลิน
หรือในกรณีที่ไม่สามารถแยกได้ว่าผู้ป่วยติดเชื้อฉี่หนูหรือสครับไท
ฟั ส)

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักเป็ นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคช้า และ/


หรือมารับการรักษาช้า (โดยมากจะมีอาการตัง้ แต่ 4 วันขึน
้ )
และ/หรือในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน (ดีซ่าน) ซึ่งผูป
้ ่ วยเหล่านีจ
้ ะมี
อัตราการเสียชีวิต (CFR) สูงถึง 15-40% แต่ถ้าได้รับการรักษา
พยาบาลที่ได้มาตรฐานก็อาจช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงเหลือเพียง
5% ได้

ห้ตถการรักษาโรคแทรกซ้อน เช่น การรักษาภาวะการเต้นของหัวใจ


ผิดปกติ, การรักษาตับวายหรือไตวาย, หากเกล็ดเลือดต่ำหรือเลือด
ออกง่ายก็อาจจำเป็ นต้องให้เกล็ดเลือดหรือน้ำเหลือง เป็ นต้น

นอกจากนีจ
้ ะให้การรักษาประคับประคองตามอาการไปร่วมกัน เช่น
การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ การให้ยาลดไข้ ให้ยาแก้ปวด ให้ยาแก้ไอ และ
ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ส่วนในรายที่เป็ นรุนแรงอาจต้องมีการให้น้ำ
เกลือทางหลอดเลือดถ้ามีภาวะขาดน้ำ ให้เลือดถ้ามีเลือดออก หรือ
ให้เกล็ดเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไตวาย อาจต้องฟอกล้างของ
เสียหรือล้างไต (Dialysis) และถ้าเกิดภาวะหายใจล้มเหลว ก็ต้องใส่
เครื่องช่วยหายใจ เป็ นต้น

คำแนะนำในการดูแลตนเองเบื้องต้น

ผู้ป่วยไม่จำเป็ นต้องแยกห้องนอน สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อ่ น


ื ได้
ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยก็สามารถไปทำงานตามปกติ เพียงแต่ให้
ระวังการขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะ คือ ถ่ายลงส้วม ราดน้ำให้สะอาด
และล้างมือทุกครัง้ หลังถ่ายปั สสาวะหรืออุจจาระ เพราะปั สสาวะ
ของผู้ป่วยอาจมีเชื้อโรคได้ (ส่วนผู้อ่ น
ื ให้ระมัดระวังการสัมผัสเลือด
หรือสารคัดหลัง่ จากผู้ป่วยโดยตรงก็เพียงพอแล้ว)

ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ การให้นมบุตร แม้ว่าจะมีโอกาสติดจากคน


สู่คนได้น้อยมาก ๆ ก็ตาม

สิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้ อนปั สสาวะ ต้องนำไปฆ่าเชื้อเสมอ

ผลการรักษาจะขึน
้ อยู่กับความรุนแรงของโรคและสภาพของผู้ป่วย
ถ้าไม่มีอาการดีซ่าน อาการมักจะไม่รุนแรง แต่ถ้ามีอาการดีซ่านร่วม
ด้วย ผู้ป่วยมักจะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิต
สูงถึง 15-20% ซึง่ มักเกิดจากภาวะไตวายหรือช็อกจากการเสีย
เลือด (ภาวะรุนแรงมักเกิดในผู้สูงอายุและหญิงตัง้ ครรภ์)
วิธีป้องกันโรค

ฉี่หนู

ควบคุมและกำจัดหนูในบริเวณที่พักอาศัยของคน โดยเฉพาะใน
บริเวณบ้านพักอาศัย ร้านอาหาร ตลาด สถานที่ทำงาน แหล่งพัก
ผ่อน สถานที่ท่องเที่ยว และในนาข้าว เนื่องจากหนูเป็ นแหล่งแพร่
เชื้อที่สำคัญ

ติดตามข่าวสารของทางการอยู่เป็ นระยะ ๆ ว่าพื้นที่ใดมีการระบาด


ของโรคฉี่หนูอยู่บ้าง ถ้าพบว่ามีการระบาดในพื้นที่ของตน ก็ควรเพิ่ม
การระมัดระวังเป็ นพิเศษ

พยายามลดปริมาณขยะเท่าทีทำ
่ ได้ รักษาความสะอาดบริเวณบ้าน
เรือนอยู่เสมอ อย่าให้มีขยะและเศษอาหารตกค้าง อันจะเป็ นแหล่ง
เพาะพันธุ์และที่อยู่อาศัยของหนู ส่วนวิธีการอื่น ๆ ที่เราสามารถ
ทำได้คือ ไม่ถ่ายอุจจาระหรือทิง้ ขยะลงน้ำ (ควรรวบรวมใส่ถุง
พลาสติกแล้วมัดปากถุงให้แน่น), หาภาชนะหรือถุงขยะที่มีฝาปิ ดมา
ใช้เพื่อรวบรวมถุงขยะ (แต่ถ้าหาไม่ได้ ให้วางถุงขยะให้ห่างจากสุนัข
หรือสัตว์อ่ น
ื ที่อาจมาคุ้ยถุงขยะให้แตกและให้สงู กว่าบริเวณที่น้ำ
ท่วมถึง), การติดต่อหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้นำขยะไปทำลายให้
บ่อยที่สุดเท่าทีทำ
่ ได้ เป็ นต้น

หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ เมื่อไปจับต้องเนื้อสัตว์ ซากสัตว์ และ


สัตว์ทุกชนิด
ควรดื่มน้ำสะอาด น้ำต้มสุก และรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ
ด้วยความร้อนทันที และล้างมือทุกครัง้ ก่อนรับประทานอาหาร

เพื่อป้ องกันเชื้อโรค ควรล้างผักผลไม้ด้วยน้ำที่สะอาด ภาชนะที่นำ


มาใช้ใส่อาหารควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครัง้ ไม่รับประทาน
ผักดิบ ๆ แต่ควรนำมาต้มหรือผัดให้สุกก่อน ส่วนผลไม้ควรปอก
เปลือกก่อนนำมารับประทาน นอกจากนีน
้ ้ำแข็งก็ควรเลือกแบบที่
สะอาด เพราะเชื้อโรคฉี่หนูสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในน้ำแข็ง

ควรเก็บหรือใช้ฝาปิ ดอาหารและน้ำดื่มให้มิดชิด รวมถึงการปิ ดฝา


โอ่งน้ำหรือภาชนะบรรจุน้ำ เพื่อป้ องกันไม่ให้หนูมากินและฉี่ทงิ ้ ไว้
โดยที่เราไม่ร้ต
ู ัว

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารค้างคืนที่ไม่มีฝาปิ ด (ถ้าจำเป็ นจะ


ต้องนำมาอุ่นให้เดือดเสียก่อน เพื่อให้เชื้อโรคที่อาจปะปนอยู่ใน
อาหารถูกทำลาย)

ห้ามกินน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติในช่วงน้ำท่วม (ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ต้อง


กรองน้ำและต้มน้ำให้ร้อนจัดเสียก่อน) และหลีกเลี่ยงการลงแช่น้ำ
หรือใช้น้ำในแหล่งที่อาจปนเปื้ อนเชื้อ เช่น แหล่งน้ำที่เป็ นที่กินน้ำ
ของโค กระบือ สุกร

ถ้ามีบาดแผล รอยถลอก รอยขีดข่วน ให้ทำความสะอาดและปิ ด


แผลด้วยปลาสเตอร์ ระวังอย่าให้บาดแผลโดนน้ำ และหลีกเลี่ยงการ
เดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ช้น
ื แฉะ หรือลงแช่น้ำในห้วยหนองคลองบึง
(ถ้าจำเป็ นควรสวมรองเท้าบูตเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลที่ขา
แต่ถ้าไม่มีรองเท้าบูต อาจใช้ถุงพลาสติกสะอาดหรือวัสดุกันน้ำอื่น ๆ
ห่อหรือคลุมขาและเท้าหรือบริเวณที่มีบาดแผลเอาไว้ก็ได้)

รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากสัมผัสกับปั สสาวะของ
สัตว์ที่อาจมีเชื้อโรค หรือเมื่อไปแช่น้ำหรือเดินย่ำลงไปในแหล่งน้ำที่
สงสัยว่าอาจปนเปื้ อนเชื้อ

ควรสวมชุดป้ องกันเสมอ (รองเท้าบูต รองเท้ายางหุ้มข้อ ถุงเท้ายาง


ถุงมือยาง กางเกงกันน้ำ) เมื่อต้องสัมผัสกับน้ำ เช่น ต้องเดินย่ำน้ำ
หรือพื้นดินที่ช้น
ื แฉะตามตรอก ซอก คันนา ท้องนา, ทำความ
สะอาดบ้านหลังน้ำลด, ทำงานในน้ำหรือท้องไร่ หรือทำงานที่
เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่อาจมีเชื้อโรค

ไม่เดินลุยน้ำลุยโคลนหรือลงแช่น้ำในห้วยหนองคลองบึงเป็ นเวลา
นานเกินครัง้ ละ 2 ชั่วโมง และควรระวังอย่าให้น้ำไม่สะอาดกระเด็น
เข้าตา จมูก หรือปาก เมื่อพ้นจากน้ำแล้วต้องรีบล้างเท้าให้สะอาด
หรือฟอกสบูแ
่ ละชำระล้างร่างกายด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง
โดยเร็วที่สุด

เกษตรกรที่เลีย
้ งสัตว์ ควรแยกที่อยู่อาศัยของคนกับบริเวณที่เลีย
้ ง
สัตว์ให้ชัดเจน เช่น การทำคอกกัน
้ เพื่อไม่ให้มีสัตว์เข้ามาเพ่นพ่านใน
บริเวณบ้าน ภาชนะใส่น้ำหรืออาหารสำหรับสัตว์ ห้ามนำมาใช้ร่วม
กับคน เป็ นต้น
ถ้าพบสัตว์ติดเชื้อต้องแยกออกเพื่อป้ องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังสัตว์
ตัวอื่น ๆ หรือเกิดการปนเปื้ อนเชื้อในบริเวณที่อยู่อาศัย สถานที่
ทำงาน ฯลฯ

ในสัตว์มีวัคซีนสำหรับฉีดป้ องกันไม่ให้สัตว์ที่ติดเชื้อเกิดแสดงอาการ
แต่วัคซีนดังกล่าวอาจไม่ได้ป้องกันการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายของสัตว์
ดังนัน
้ แม้จะฉีดวัคซีนให้สัตว์แล้ว สัตว์เหล่านัน
้ ก็ยังสามารถรับเชื้อ
โรคและมาแพร่เชื้อสูค
่ นได้ในที่สุด

ในกรณีที่ต้องเดินทางไปยังแหล่งที่มีการระบาดของโรคฉี่หนูในช่วง
ระยะเวลาสัน
้ ๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยว การตัง้ ค่ายของกอง
ทหาร นักเรียน นักศึกษา หรือเป็ นนักสำรวจที่มีภารกิจที่ต้องลุยน้ำ
ฯลฯ และไม่สามารถใช้วิธีป้องกันอย่างอื่นได้ แนะนำให้รับประทาน
ยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) เพื่อป้ องกันโรคฉี่หนูตงั ้ แต่ในวัน
แรกที่เข้าไปในพื้นที่ โดยให้รับประทานครัง้ ละ 200 มิลลิกรัม ทุก
สัปดาห์ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพ้นภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อแล้วค่อย
หยุดรับประทานยา

สำหรับในคนมีวัคซีนสำหรับป้ องกันไม่ให้เป็ นโรคได้ แต่ไม่ค่อยมี


ประสิทธิภาพมากนัก เพราะในการฉีดวัคซีน 1 ครัง้ จะช่วยป้ องกัน
เชื้อโรคได้เพียงบางสายพันธุ์ย่อยเท่านัน
้ ถ้าเกิดไปรับเชื้อสายพันธุ์
ย่อยอื่น ๆ ที่ไม่มีในวัคซีน ก็จะทำให้ติดเชื้อและเกิดโรคได้ในที่สุด
อีกทัง้ การฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทุกเชื้อสายพันธุ์ย่อยก็เป็ นไปไม่ได้
ในทางปฏิบัติ เนื่องจากเชื้อสายพันธุ์ย่อยมีมากกว่า 250 ชนิด ซึ่ง
อาจต้องฉีดเป็ นร้อยเข็ม และการหาวัคซีนให้ครบทุกเชื้อสายพันธุ์
ย่อยก็เป็ นไปไม่ได้ และที่สำคัญการฉีดวัคซีนก็ไม่ได้ป้องกันโรคไป
ตลอดชีวิตเหมือนวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคอื่น ๆ จึงไม่มีการแนะนำให้
ฉีดวัคซีนป้ องกัน

ผู้ป่วยที่เคยเป็ นโรคฉี่หนูแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อสายพันธุ์ย่อยที่


ทำให้เกิดโรคในครัง้ นัน
้ ได้เกือบตลอดชีวิต แต่ภูมิคุ้มกันนีไ้ ม่ได้
ป้ องกันต่อเชื้อสายพันธุ์ย่อยอื่น ๆ ถ้าได้รับเชื้อสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่
ก็จะกลับมาเป็ นโรคซ้ำได้อีก

สำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ควรให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์เรื่องโรคฉี่
หนูแก่ประชาชนให้เข้าใจ และตระหนักถึงอันตรายของโรค สาเหตุ
วิธีการติดต่อ การป้ องกัน และควบคุมโรค, จัดตัง้ หน่วยเคลื่อนที่เร็ว
เพื่อดำเนินการควบคุมโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด, ค้นหาแหล่งที่มา
ของการติดเชื้อ เช่น แหล่งน้ำ ฟาร์ม โรงงาน รวมทัง้ สัตว์ที่ติดเชื้อ
แล้วให้แก้ไขการปนเปื้ อนเชื้อห้ามการใช้ชั่วคราว, ตรวจแหล่งน้ำดิน
ทรายที่อาจปนเปื้ อนเชื้อ (ถ้าเป็ นท่อระบายน้ำ ควรล้างระบายน้ำที่
ปนเปื้ อนออกไป) เป็ นต้น

หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2. “เล็ปโตสไปโรซิส
(Leptospirosis)/ไข้ฉห
ี่ นู”. (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ). หน้า
1116-1119.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. “โรคฉีห
่ นู”. (เสาวพักตร์
เหล่าศิริถาวร, ธีรศักดิ ์ ชักนำ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
www.boe.moph.go.th. [02 ก.ย. 2016].

หาหมอดอทคอม. “โรคฉีห
่ นู (Leptospirosis)”. (พญ.สลิล ศิริ
อุดมภาส). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : haamor.com. [02 ก.ย.
2016].

โรงพยาบาลกรุงเทพ. “โรคฉีห
่ นู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส
(Leptospirosis)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
www.bangkokhospital.com. [03 ก.ย. 2016].

มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 272 คอลัมน์ :


โรคน่ารู้. “โรคฉี่หนู”. (นพ.สมชาญ เจียรนัยศิลป์ ). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [03 ก.ย. 2016].

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “โรค


ระบาดที่มากับน้ำท่วม (ตอนที่ 3) โรคฉี่หนู”. (รศ.ม.ล.สุมาลย์
สาระยา). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
www.pharmacy.mahidol.ac.th. [03 ก.ย. 2016].

Siamhealth. “อาการโรคฉี่หนู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :


www.siamhealth.net. [03 ก.ย. 2016].

You might also like