You are on page 1of 5

โรคโลหิตจางติดเชื้ อในม้า (Equine Infectious Anemia, EIA)และมาตรการการควบคุมโรคของกรมปศุสตั ว์

ความสาคัญ
โรค EIA เป็ นโรคติดต่อในม้ าที่เกิดจากเชื้อไวรัส Retrovirus ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพม้ า โดยม้ าจะ
มีอาการไข้ ขึ้นๆลงๆ ซึม ซูบผอม นา้ หนักตัวลด บวมนา้ โลหิตจาง แ ละตายในที่สดุ ดังนั้นเพื่อเป็ นการ
ป้ องกันการแพร่โรคควรทาลาย หรือหากพบตัวเป็ นโรคต้ องแยกออกจากฝูง
สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อไวรัส Equine Infectious Anemia virus (EIAV) ซึ่งอยู่ใน Family Retroviridae Genus Lentivirus
โดยเชื้อไวรัสจะเข้ าไปรวมกับ DNA ของเม็ดเลือดขาว ซึ่งคล้ ายกับไวรัสที่ทาให้ เกิดภูมิค้ ุมกันบกพร่องในคน

ชนิดสัตว์ทีเ่ ป็ นโรค
ม้ า ลา ล่อ โดยพบได้ ในม้ าทุกอายุ เพศ พันธุ์
การแพร่กระจายของโรค
สามารถพบการเกิดโรคได้ ท่วั โลก โดยพบการเกิดโรคครั้งแรกในปี ค .ศ.1843 ที่ประเทศฝรั่งเศส
และตรวจวินิจฉัยได้ ครั้งแรกในปี ค.ศ.1888 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
การติดต่อ
เชื้อไวรัสจะเข้ าไปอาศัยในเซลเม็ดเลือดขาวตลอดช่วงชีวิตของม้ า โดยม้ าที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดง
อาการจะมีความสามารถในการแพร่เชื้อได้ น้อยกว่าม้ าที่แสดงอาการแบบเรื้อรัง
การติดต่อสามารถติดต่อได้ 3 ทาง ได้ แก่
 ติดต่อทางเลือด จากการใช้ เข็ม หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ท่มี ีการปนเปื้ อนเชื้อไวรัสร่วมกัน
 ติดต่อโดยแมลงดูดเลือด genus Stomoxys หรือ Tabanus เช่น horse flies, deer flies ซึ่งพบการ
ติดต่อมากในช่วงฤดูร้อน และมีความชื้น หรือบริเวณที่ช้ ืนแฉะ
 ติดต่อจากแม่ส่ลู ูก ผ่านทางรก โดยแม่ม้าตัง้ ท้ องที่แสดงอาการป่ วยแบบเฉียบพลันจะมีโอกาสเกิด
การแท้งได้ สงู ทั้งนี้ถ้าลูกม้ าไม่ตายจะพบผลบวกต่อเชื้อไวรัส และสามารถเป็ นพาหะนาโรคได้
ระยะการฟักตัว
ระยะเวลาฟักตัว 1-3 สัปดาห์
ลักษณะทางอาการ
 พบได้ 3 ลักษณะ
 แบบเฉียบพลัน : เมื่อม้ าสัมผัสเชื้อ EIAV จะสามารถแสดงอาการรุนแรง ซึ่งอาจ
ตายภายใน 2-3 สัปดาห์ ส่วนกรณีท่อี าการไม่รุนแรง สัตว์จะแสดงอาการป่ วยที่
ไม่จาเพาะ เช่น มีไข้ เป็ นระยะเวลาสั้นๆ (น้ อยกว่า 24 ชั่วโมง) ทาให้ เจ้ าของหรือ
สัตวแพทย์ตรวจไม่พบว่าสัตว์ป่วย หลังจากนั้นสัตว์จะหายป่ วย และถูกปล่อยไป
เลี้ยงรวมกับม้ าตัวอื่น
2

 แบบเรื้อรัง : พบในม้ าที่อาการดีข้ นึ จากอาการในระยะเฉียบพลันจะสามารถแสดง


อาการป่ วยได้ อกี โดยมีอาการดังนี้ คือ
- มีไข้ ข้ นึ ๆลงๆ โดยอาจจะมีไข้ สงู 105-108F และไข้ ลดลงที่อุณหภูมิ
ร่างกายปกติ
- เยื่อเมือกมีจุดเลือดออก
- ซึม
- นา้ หนักลด
- บวมนา้ บริเวณส่วนท้อง ปลายขา
- โลหิตจาง ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (hematocrit) ต่า เกล็ดเลือด
ลดลง
 แบบไม่แสดงอาการ : ส่วนใหญ่ม้าที่ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการป่ วย แต่จะเป็ น
แหล่งรังโรค (reservior) ทั้งนี้ม้าจะแสดงอาการป่ วยได้ เมื่ออยู่ในภาวะเครียด ทางาน
หนัก ตั้งท้อง การใช้ ยาสเตียรอยด์ หรือมีตดิ เชื้อแทรกซ้ อน
 อัตราการป่ วยแตกต่างตาม สภาพภูมิศาสตร์ การติดเชื้อไวรัสโดย ขึ้นกับจานวนแมลง
แหล่งที่อยู่อาศัยของ ม้ า จานวนครั้งที่ถูกแมลงกัด ความหนาแน่นของม้ า ปริมาณของเชื้อไวรัสในเลือดม้ า
และในบริเวณที่เคยมีการระบาดของโรคมานานหลายปี ม้ ามีโอกาสติดเชื้อสูงถึง 70%
 จากการทดลองอัตราการตายอาจสูงถึง80% ในระยะเฉียบพลันที่มีเชื้อไวรัสในปริมาณมาก

รอยโรค
 แบบเฉียบพลัน ม้ ามและต่อมนา้ เหลืองบริเวณม้ ามขยายใหญ่
 แบบเรื้อรัง ม้ ามโต เยื่อเมือกซีด ต่อมนา้ เหลืองบริเวณช่องท้องขยายใหญ่ บวมนา้ โดยเฉพาะ
ส่วนท้องและปลายขา ในกรณีรุ นแรง อาจพบลิ่มเลือดในเส้ นเลือดได้ นอกจากนี้อาจพบ
การอักเสบของกรวยไต (proliferative glomerulonephritis)

การวินจิ ฉัยทางห้องปฏิบตั ิการ


 วิธที ดสอบมาตรฐานของโรคนี้ คือ Agar Gel lmmunodiffusion Test (Coggin's Test)
 วิธี ELISA ถ้ าได้ ผลทดสอบเป็ น positive ต้ องทาการตรวจยืนยันด้ วย Coggin's Test เนื่องจาก
การตรวจด้ วยวิธี ELISA อาจพบผลบวกลวง (false positive)

การเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบตั ิการ
 ทาการเก็บเลือดจากสัตว์ป่วย นามาแยกซีร่ัม เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส
การวินจิ ฉัยแยกแยะ
 Anthrax
 Equine Influenza
 Equine Encephalitis
3
การรักษา
ไม่มีการรักษาที่ได้ ผล
การป้องกันโรค
 ควรตรวจสุขภาพสัตว์อย่างน้ อยปี ละครั้ง หากพบตัวเป็ นโรคต้ องแยกออกจากฝูง เพื่อป้ องกัน
การแพร่โรค หากมีตัวที่ให้ ผลบวกต่อการทดสอบโรค ให้ ดาเนินการตามมาตรการการควบคุม
โรคของกรมปศุสตั ว์
 ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ อ่นื ๆ ควรล้ างและแช่นา้ ยา ฆ่าเชื้อก่อนใช้ กบั ม้ าตัวอื่น
 กาจัดแมลงดูดเลือดที่เป็ นตัวนาโรค
 ไม่นาม้ าที่ให้ ผลบวกต่อการทดสอบมาใช้ เป็ นพ่อแม่พันธุ์
 ควรทาการตรวจโรคก่อนนาม้ า ลา หรือล่อตัวใหม่เข้ าฟาร์ม
 ทาความสะอาดคอก แหล่งที่อยู่ของม้ า ด้ วยนา้ ยาฆ่าเชื้อทั่วไป
การทาลายเชื้ อไวรัส
 ทางกายภาพ
 ความร้ อน
- ความร้ อนแห้ ง ได้ แก่ การเผาไฟโดยตรง โดยใช้ ต้ เู ผา หรือเตาเผา
- ความร้ อนชื้น ได้ แก่ การต้ ม การ autoclave, pasteurize
- โดยปกติการใช้ ความร้ อน 50-60C เป็ นเวลา 30 นาที จะฆ่าเชื้อไวรัสส่วนใหญ่ได้
- การต้ มในนา้ เดือด 20-30 นาที จะฆ่าไวรัสได้ ท้งั หมด
- การนึ่งด้ วยไอนา้ ที่ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121C เป็ นเวลา 15 นาที
จะฆ่าเชื้อทุกชนิดรวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรียได้ ท้งั หมด
 สารเคมี
สารเคมีท่สี ามารถนามาใช้ เป็ นนา้ ยาฆ่าเชื้อได้ น้ัน จะต้ องมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้ อได้ อย่าง
รวดเร็ว แม้ ในความเข้ มข้ นต่าๆ

น้ ายาฆ่าเชื้ อทีม่ ีประสิทธิภาพในการทาลายเชื้ อไวรัส EIA

ประเภทน้ ายาฆ่าเชื้ อ ความเข้มข้น ระยะเวลา


Non-ionic detergent - 10 นาที
เช่น นา้ ยาทาความสะอาดพื้น
Oxidizing agents
Sodium Hypochlorite 20,000 – 30,000 ppm (2-3%) 10 - 30 นาที
Calcium Hypochlorite
Alkalis
Sodium Hydroxide 2% (w/v) 10 นาที
4

ประเภทน้ ายาฆ่าเชื้ อ ความเข้มข้น ระยะเวลา


Acids
Hydrochloric acids 2% (v/v) 10 นาที
Citric acid 0.2% (w/v) 30 นาที
Aldehydes
Glutaraldehyde 2% (w/v) 10-30 นาที

มาตรการการควบคุมโรคของกรมปศุสตั ว์
1. สัตวแพทย์กรมปศุสตั ว์ทาบันทึกสั่งกักม้ าทุกตัว ที่ร่วมฝูงกับตัวที่ติดเชื้อ ทันทีท่ี ทราบผล
การตรวจวินิจฉัยโรค ทางห้ องปฏิบัติการ โดยมีระยะเวลาการกักม้ านาน ไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยให้ แยกม้ า
ตัวที่ติดเชื้อออกจากฝูงห่างจากม้ าตัวอื่นๆ อย่างน้ อย 180 เมตร และให้ มีการป้ องกันแมลงดูดเลือดม้ าที่ติด
เชื้อในระหว่างที่มีการกักด้ วย
2. สัตวแพทย์กรมปศุสตั ว์ ควบคุม การทาลายม้ าที่ติดเชื้อโรคนี้ออกจากฝูงภายใน 3 วัน
นับจากวันที่ทราบผลการวินิจฉัยโรค
3. สัตวแพทย์กรมปศุ สัตว์ ควบคุม หรือดาเนินการเก็บซีร่ัมม้ าทุกตัวที่เลี้ ยงร่วมฝูงกับ ตัว
ที่ติดเชื้อ โดยให้ เจาะเลือดครั้งแรก ของม้ า ร่วมฝูง ในวัน แรกที่เริ่มการกัก และตรวจซา้ อีก 2 ครั้ง แต่ละครั้ง
ห่างกัน 1 เดือน ถ้ าผลการตรวจครั้งต่อไปยังคงให้ ผลบวกต้ องทาลายม้ าตั วที่ให้ ผลบวกและเริ่มนับครั้งการ
ตรวจใหม่อกี 2 ครั้ง เมื่อผลการตรวจซีรมม้ ่ั าทุกตัวในฝูงให้ ผลลบติดต่อกัน2 ครั้ง จึงจะถือว่าไม่มีโรคในฝูงม้ า
4. สัตวแพทย์กรมปศุสตั ว์ควบคุมการทาลายเชื้อโรคในสถานที่เลี้ยงม้ า โดยใช้ ยาฆ่าเชื้โอรคที่
มีประสิทธิภาพพ่นโรงเรือนหรือคอกม้ า
5. สัตวแพทย์กรมปศุสัตว์แนะนาเจ้ าของให้ ดาเนินการดังนี้
5.1 กาจัดแมลงดูดเลือดที่เป็ นตัวนาโรคหรือป้ องกันไม่ให้ แมลงดูดเลือดสามารถ
ดูดเลือดม้ า ที่ติดเชื้อโรคนี้ได้ เช่น ใช้ มุ้งหรือตาข่ายหรือวัสดุอ่นื ๆที่สามารถป้ องกันแมลง ที่เป็ นพาหะของ
โรคได้ หรือ ยา Pyrethroid ที่สามารถใช้ กบั ม้ าได้
5.2 ไม่ใช้ เข็มฉีดยาร่วมกัน ล้ างและแช่นา้ ยาฆ่าเชื้อเครื่องมืเช่อน อุปกรณ์ตะไบฟันม้ าและ
อุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆก่อนนาไปใช้
5.3 กรณีนาม้ าเข้ ามาเลี้ยงใหม่ในฝูง ควรเป็ นม้ า ที่มีทะเบียนประจาตัวสัตว์ ซึ่งมี
รายละเอี ยดการทดสอบโรคนี้ และให้ ผลลบต่อการตรวจโรค หรือเป็ นม้ าที่มาจากสถานที่เลี้ยงปลอดโรคที่
กรมปศุสตั ว์รับรอง

** ติดต่อสอบถามข้ อมูลเพิ่มเติม : ส่วนโรคสัตว์เลี้ยงลูกด้ วยนม สานักควบคุม ป้ องกันและบาบัดโรคสัตว์


โทร 0 2653 4444 ต่อ 4121 e-mail : dcontrol5@dld.go.th
5
เอกสารอ้างอิง
ประเสริฐ เอื้อวรากูล. 2542. ความรู้ท่วั ไปเกี่ยวกับโรคติดเชื้อและพาหะนาโรค : การทาลายเชื้อไวรัส . NIH
Newsletter ปี ที่ 3 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542
รื่นฤดี บุณยะโหตระ. 2550. โรคโลหิตจางติดต่อในม้ า (Equine Infectious Anemia)
Cordes,T.;Issel,C. 1996. EIA, Equine Infectious Anemia. In: A Status report on its control, June 1996
USDA: Equine Infectious Anemia: Uniform Methods and Rules: 10 January 2007.
OIE: Equine Infectious Anemia: 2 August 2005.

You might also like