You are on page 1of 4

สรุปโรคติดต่อ

1. โรคติดต่อ หมายถึง....
โรคที่สามารถถ่ายทอดติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล โดยมีเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เป็นสาเหตุของโรค และถึงแม้ว่าเชื้อโรคจะเป็นตัว
ก่อเหตุ แต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ ก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคติดต่อนั้น ๆ ขึ้น

2. โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ (Flu or Influenza) คือ โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในส่วนของ
จมูก ลำคอ และปอด อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา มีไข้ ตัวร้อน น้ำมูกไหล ไอหรือจาม แต่มีความรุนแรงและมีโอกาส
พัฒนาสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดปี และระบาดในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูที่มีสภาพอากาศ
เปลี่ยนแปลงฉับพลัน โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝนที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
สาเหตุของไข้หวัดใหญ่ :
สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสกลุ่ม Influenza Virus ผ่านทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่นเชื้อไวรัสที่
แพร่กระจายอยู่ในอากาศเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ การรับของเหลวที่มีเชื้อไวรัสปะปนอยู่ผ่านการกิน การดื่ม หรือการสัมผัส
เชื้อเข้าสู่เนื้อเยื่อร่างกายโดยตรงทางเลือด น้ำเหลือง น้ำหล่อลื่นที่ดวงตา
อาการของไข้หวัด :
ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการเบื้องต้นคล้ายผู้ป่วยไข้หวัดธรรมดา แต่อาการป่วยไข้หวัดใหญ่จะส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายได้
มากกว่า มีไข้สูงมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียหมดแรง ไอ จาม เจ็บคอ คออักเสบ บางคนมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและ
ท้องร่วงร่วมด้วย บางราย ผู้ป่วยมีอาการแสดงอย่างอื่น แต่ไม่มีไข้ และอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นได้ด้วย ทั้งนี้อาการป่วยที่อาจ
เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับร่างกาย อายุ และโรคประจำตัวเดิมของแต่ละบุคคลด้วย
การรักษาไข้หวัดใหญ่ :
เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ แพทย์จะจ่ายยาเพื่อรักษาตามอาการที่ป่วย หรือหากมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย สามารถใช้ยารักษาได้
ด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร เช่นยาลดไข้ ยาแก้หวัด เช็ดตัวลดไข้ และควรนอนหลับพักฟื้นให้เพียงพอ เพราะการป่วย
ไข้หวัดใหญ่จะทำให้ร่างกายอ่อนล้าและต้องการการพักผ่อนมากกว่าปกติ
3. โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever)
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาด
ในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการของโรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติไปจนถึงเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่าง
ทันท่วงที
สาเหตุของโรคไข้เลือดออก :
เชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4 นั้นมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อ
ยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12
วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค
ไข้เลือดออกตามมา
อาการของโรคไข้เลือดออก :
ไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสี
แดงเล็กๆ ตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่น เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะ อุจจาระมีเลือดปน
ปวดท้องอย่างรุนแรง กดเจ็บชายโครงด้านขวา ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก หลังจากมีไข้มาแล้วหลายวันผู้ป่วยอาจเกิดภาวะการ
ไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อก
การรักษาโรคไข้เลือดออก :
ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาจึงเป็นไปตามอาการเพื่อประคับประคองให้ร่างกายของผู้ป่วย
กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งในรายที่อาการไม่รุนแรง โรคไข้เลือดออกอาจหายได้เองภายใน 2-7 วัน

4. โรคมือเท้าปาก
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก ทำให้มีอาการไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า
และลำตัว จัดเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย
อาการของโรคมือเท้าปาก :
อาการเริ่มต้นของโรคมือเท้าปากจะคล้ายไข้หวัด คือ มีตุ่มใส หรือแผลร้อนในเกิดขึ้นหลายแผลในปาก และมีอาการเจ็บ มีผื่นแดง
หรือตุ่มใส ขนาดเล็กที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า หรือก้น และมีอาการไข้เป็นระยะเวลา 5-7 วัน
สาเหตุของโรคมือเท้าปาก :
โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบได้
บ่อย เช่น คอกซากีไวรัส เอ16 (coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71) กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เด็ก
ทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต สำหรับผู้ใหญ่พบโรคนี้ได้บ้าง
การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค
การรักษาโรคมือเท้าปาก :
เนื่องจากในปัจจุบันโรคมือเท้าปากยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามแต่อาการของผู้ป่วย
เช่น เจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ ผู้ป่วยดูเพลียจากการขาดอาหารและน้ำ ก็จะให้พยายามป้อนน้ำ นมและอาหารอ่อน ใน
รายที่เพลียมากอาจให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลและให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด และ/หรือหยอดยา
ชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนทางสมองและหัวใจ เป็นต้น
5. อหิวาตกโรค
โรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานเข้าไป เชื้อจะไปอยู่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษออกมา ทำ
ปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการท้องเดินอย่างมาก อุจจาระเป็นสีน้ำซาวข้าว ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่อย่าง
รวดเร็ว และ รุนแรง อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ที่ได้รับเชื้อ จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิด
อาการภายใน 1 - 2 วัน
อาการ :
1. เป็นอย่างไม่รุนแรง พวกนี้มักหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ วันละหลายครั้ง แต่
จำนวนอุจจาระไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้องหรือ คลื่นไส้อาเจียนได้
2. เป็นอย่างรุนแรง อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็ฯน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่น
เหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งไหลพุ่งออกมาโดยไม่รู้สึกตัว มีอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ อุจจาระออก
มากถึง 1 ลิตร ต่อชั่วโมง และจะหยุดเองใน 1 - 6 วัน ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่
ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำอย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด
จนถึงช็อค ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุ
กินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรค หรือพิษของเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ
ดิบๆ อาหารกระป๋องที่เสียแล้ว
การรักษา :
1. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างสะอาด ทุกครั้งก่อนใช้
หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุกๆ ดิบๆ อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม
2. ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังเข้าส้วม
3. ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งเรื่ยราด ต้องถ่ายลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และกำจัด
ปฏิกูลโดยการเผาหรือฝังดิน เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค
4. ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง
5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค
6. รับประทานยาที่แพทย์ให้จนครบ
6. โรคตาแดง (pink eye หรือ conjunctivitis)
เป็นการอักเสบหรือติดเชื้อของเยื่อบุตาซึ่งเป็นเนื้อเยื่อบางใสที่คลุมอยู่ด้านในของเปลือกตาและบนตาขาว โรคตาแดงเป็นโรคติดต่อ
ที่พบได้บ่อย และมักระบาดในช่วงฤดูฝน
สาเหตุของโรคตาแดง :
โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่ที่พบส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อไวรัส adenovirus ซึ่งอาจเกิด
พร้อมกับโรคหวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอเนื่องจากการอักเสบของเนื้อเยื่อลำคอ
อาการของโรคตาแดง :
อาการของโรคตาแดงอาจเกิดกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างก็ได้ ในกรณีที่เป็นสองข้าง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการที่ดวงตา
ข้างหนึ่งก่อนแล้วจึงลามไปอีกข้างภายใน 2-3 วัน โดยอาการที่พบได้แก่ ตาแดง ปวดเล็กน้อยในเบ้าตา คันตา เคืองตา รู้สึกเหมือน
มีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา น้ำตาไหล เปลือกตาบวม อาจพบตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีขี้
ตามากทำให้ลืมตายากในช่วงตื่นนอน
การรักษาโรคตาแดง :
โรคตาแดงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส adenovirus ไม่ใช่โรครุนแรง และสามารถหายได้เองภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ซึง่
ผู้ป่วยอาจใช้น้ำตาเทียมเพื่อลดอาการระคายเคือง หรือประคบเย็นเพื่อลดการอักเสบได้ ส่วนอาการร่วมอื่นๆ เช่น มีไข้ เจ็บคอ
แพทย์จะรักษาตามอาการ รวมถึงให้ยาหยอดยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจตามมา
ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่รุนแรงก็สามารถหายเองได้เช่นกัน แต่ยาปฏิชีวนะหยอดตาหรือป้ายตาจะช่วยให้หายเร็วขึ้นและลด
การแพร่กระจายของเชื้อโรค

7. ไวรัสโคโรนา COVID-19
เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้อาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ
ตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคย
พบมาก่อนในมนุษย์ก่อให้เกิดอาการป่วยระบบทางเดินหายใจในคน และสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ โดยเชื้อไวรัสนี้พบครั้ง
แรกในการระบาดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019
สาเหตุ :
โควิด-19 แพร่เมื่อบุคคลมีการสัมผัสใกล้ชิดเป็นหลัก (2 เมตร) โดยทางละอองฝอยขนาดเล็กที่เกิดระหว่างการไอ จามหรือสนทนา
บุคคลหายใจเอาละอองฝอยที่ปนเปื้อนที่ผู้ป่วยหายใจออกมาเข้าไปในปอด หรือละอองฝอยนั้นติดอยู่บนใบหน้าของบุคคลอื่นทำให้
เกิดการติดเชื้อใหม่
อาการ :
ไอ, เบื่ออาหาร, อ่อนเพลีย, หายใจลำบาก, มีเสมหะ, และปวดกล้ามเนื้อและข้อ อาการอย่างคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง อาการ
ที่พบน้อยลงมาได้แก่จาม คัดจมูก เจ็บคอและมีรอยโรคผิวหนัง ผู้ป่วยบางรายในประเทศจีนมาโรงพยาบาลด้วยอาการแน่นหน้าอก
และใจสั่น อาจมีอาการสูญเสียการรับกลิ่นและสูญเสียการรับรสได้
การรักษา :
การรักษาปัจจุบันเป็นการบำบัดประคับประคอง ซึ่งอาจรวมถึงการให้สารน้ำ การรักษาด้วยออกซิเจน และประคับประคองอวัยวะ
สำคัญอื่นที่ได้รับผลกระทบ มีการใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO) เพื่อรักษาทางเดินหายใจล้มเหลว แต่
ประโยชน์ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา การรักษาแบบประคับประคองอาจมีประโยชน์ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงในการติดเชื้อระยะต้น

You might also like