You are on page 1of 5

โรคเรื้อน

เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผ่านทาง เยื่อของเหลว


ที่ติดเชื้ออย่างน้ำมูกและน้ำลาย ผ่านการไอ จาม หรือการพูดคุยในระยะ
ประชิดกับผู้ที่ติดเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการทางผิวหนัง กล้ามเนื้อ และตาม
ปลายประสาทต่าง ๆ เช่น มีแผล ผื่นแดงหรือสีจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ความรู้สึกลดลง หากอาการรุนแรงอาจตาบอดและเป็นอัมพาตได้ แม้ว่า
โรคเรื้อนจึงนับเป็นโรคที่ได้รับการดูแลจัดการได้ค่อนข้างดี และไม่เป็น
ปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก แต่ยัง
คงเป็นโรคติดต่อสำคัญที่เกิดขึ้นและถูกบันทึกในประวัติศาสตร์มา
ยาวนาน จึงนับเป็นหนึ่งในโรคที่ควรเฝ้าระวัง เพื่อให้สามารถเข้ารับการ
รักษาอย่างทันการณ์หากสังเกตพบอาการที่เป็นสัญญาณของโรค

สาเหตุของโรคเรื้อน
โรคเรื้อนเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ ไมโครแบคทีเรียม
เลเปร (Mycobacterium Leprae) ที่แพร่กระจายติดต่อจากเยื่อ
ของเหลวที่ติดเชื้ออย่างน้ำมูกและน้ำลายผ่านการไอ จาม หรือการพูดคุย
ในระยะประชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ การติดเชื้อจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท
เนื้อเยื่อ และระบบทางเดินหายใจส่วนบน โดยแบคทีเรียชนิดนี้จะเจริญ
เติบโตได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 26.7–30 องศาเซลเซียส ดังนั้น
บริเวณเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกายส่วนที่มีอุณภูมิต่ำจึงเป็นแหล่ง
เพาะเชื้อและพัฒนาโรคได้ดี เมื่อได้รับเชื้อแล้ว เชื้อจะค่อย ๆ แพร่กระจาย
อย่างช้า ๆ และมีระยะฟักตัวยาวนานสูงสุดกว่า 5 ปี จึงทำให้อาการของ
โรคยังไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด จนอาจเริ่มมีอาการแสดงเมื่อมีการติดเชื้อไป
แล้วเป็นปี
อาการของโรคเรื้อน
แม้จะเป็นโรคที่มีลักษณะเด่น แต่กว่าอาการแสดงของโรคเรื้อนจะ
ปรากฏอาจใช้เวลายาวนานหลายปีหลังการติดเชื้อ เนื่องจาก
แบคทีเรียที่ก่อโรคมีการแพร่กระจายและเพิ่มจำนวนอย่างช้า ๆ
โดยอาการเหล่านั้น ได้แก่
เกิดแผลนูนแดง หรือตุ่มแดง หรือเกิดเป็นด่าง เป็นผื่น
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฝ่อลีบ
ประสาทสัมผัสที่ผิวหนังไม่รับรู้ หรือรับความรู้สึกได้ลดลง
อวัยวะส่วนปลายประสาทชา หรือไม่มีความรู้สึก เช่น มือ เท้า
แขน

แผนการควบคุมโรค 3 ระยะ

1.ระยะปฐมภูมิ คือ ระยะมีภูมิไวรับ การป้องกันก่อนเกิดโรค ซึ่งมีวิธี


ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสและการได้รับเชื้อโดยตรง ซึ่งได้แก่ หลีกเลี่ยง
การสัมผัสมูกของเหลว อย่างน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโรคเรื้อน
2.ระมัดระวังในการพูดคุยกับผู้ป่วยโรคนี้ในระยะประชิด
2. ระยะทุติยภูมิ คือ ระยะเกิดโรค แต่ไ่มีอาการ
หากพบอาการที่เป็นสัญญาณป่วยของโรคเรื้อน ผู้ป่วยควรไปพบ
แพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา แพทย์จะซักถามอาการและทำการตรวจ
ร่างกาย จากนั้น แพทย์อาจทดสอบประสาทสัมผัสบริเวณผิวหนังด้วย
การกดเบา ๆ หรือใช้เข็มจิ้มไปบนผิวหนังจุดต่าง ๆ เพื่อตรวจประสาท
รับความรู้สึกของผู้ป่วย

3.ระยะตติยภูมิ คือ ระยะป่วยมีอาการ ระยะนี้ใช้การรักษาและฟื้ นฟูสภาพ


การรักษา: รักษาให้หายขาดได้ด้วยยาปฏิชีวนะหลายชนิด ผู้ป่วยที่เป็นโรค
เรื้อนชนิดไม่รุนแรง มีผื่นไม่เกิน 5 แห่ง สามารถรักษาได้ด้วยยาไรแฟมพิซิน
และแดปโซน 6 เดือน ส่วนผู้ป่วยชนิดรุนแรงให้เพิ่มยาโคลฟาซิมินเป็นยา
ชนิดที่ 3 รักษานาน 2 ปี หลังจากรักษาครบแล้วต้องตรวจติดตามผู้ป่วยอีก
3-5 ปี โดยไม่ต้องให้ยารักษาโรคเรื้อน เพื่อให้แน่ใจว่าผื่นแดงที่เหลืออยู่จะ
ค่อย ๆ ดีขึ้นเอง และไม่มีภาวะโรคเห่อแทรกซ้อน ผู้ป่วยระหว่างรักษาหรือ
หลังรักษา ถ้าเกิดถาวะโรคเห่อคือ เกิดตุ่มบวมแดงปวด มีไข้ กล้ามเนื้อเท้า
อ่อนแรง ต้องรีบกลับมาพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยยาต้านการอักเสบ

You might also like