You are on page 1of 17

บทบาทของเภสัชกรในการให้บริการวัคซีนโควิด-19

จำนวนหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง ผู้เขียนบทความ ผศ.ภก.กิรติ เก่งกล้า1


3 หน่วยกิต รศ.ภญ.สุณี เลิศสินอุดม2*

1 สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา


2 สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

* ติดต่อผู้นิพนธ์: lsunee@kku.ac.th

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. สามารถอธิบายบทบาทของเภสัชกรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ในบริบทโลกและในประเทศ
ไทยได้
2. สามารถอธิบายบทบาท หน้าที่ ขั้นตอน ข้อกำหนด ในการเบิกจ่ายและการกระจายวัคซีนโควิด-19 ได้
3. สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนและคำแนะนำในการปฏิบัติตัวทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้
4. สามารถระบุองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการให้บริการวัคซีนในร้านยา เช่น สถานที่ การจัดการระบบห่วงโซ่
ความเย็ น (cold chain) ที ่ เ หมาะสม ระบบเชื ่ อ มต่ อ และจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล อุ ป กรณ์ ใ นการฉี ด วั ค ซี น และ
กระบวนการหลังให้บริการฉีดวัคซีนเป็นไปตามข้อกำหนด

บทคัดย่อ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 (COVID-19) ที่รุนแรงและขยายจนเป็นการระบาดใหญ่
ทั่วโลก ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-
2) สูงถึง 4.55 ล้านคนทั่วโลก การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจึงเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยป้องกัน ลดความรุนแรง และ
ลดอัตราการเสียชีวิตของการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ บทความนี้จะทำการทบทวนบทบาทของเภสัชกรที่มีส่วนใน
การให้บริการวัคซีนโควิด-19 รวมถึงแนวปฏิบัติและนโยบายในปัจจุบัน บทบาท หน้าที่ ขั้นตอน ข้อกำหนด ในการ
เบิ ก จ่ า ยและการกระจายวั ค ซี น โควิ ด -19 รวมถึ ง ข้ อ มู ล ที ่ ส ำคั ญ ของวั ค ซี น โควิ ด -19 ในประเทศไทย และ
องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการให้บริการวัคซีนในร้านยาในบริบทต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่เภสัชกร
และผู้สนใจในการให้บริการวัคซีนในระบบสุขภาพต่อไป

คำสำคัญ: เภสัชกรชุมชน, บทบาทของเภสัชกร, การสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19, การให้บริการวัคซีนโควิด-19

1
บทนำ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 (COVID-19) ที่รุนแรงและขยายจนเป็นการระบาด
ใหญ่ทั่วโลก[1] ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-
CoV-2) สูงถึง 4.55 ล้านคนทั่วโลก[1, 2] การให้วัคซีนจึงเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยป้องกัน ลดความรุนแรง และลด
อัตราการเสียชีวิตของการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย บริษัทต่าง ๆ เช่น Pfizer/BioNTech,
Moderna, AstraZeneca/Oxford University ได้พยายามคิดค้นและพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โควิด-
19 ได้สำเร็จ และได้รับการรับรองจากองค์กรอนามัยโลก (World Health Organization, WHO)[2] จากการศึกษา
ทางคลินิก วัคซีนที่ผ่านการรับรองสามารถลดระดับความรุนแรงของการติดเชื้อ ลดอัตราการเข้ารับการรักษาตัวใน
โรงพยาบาล และลดอัตราการเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การให้วัคซีนอาจจะมีผลเพิ่มประสิทธิผลและมีภูมิคุ้มกันหมู่เมื่อมี
การให้วัคซีนขั้นต่ำร้อยละ 67 ของจำนวนประชากรทั้งหมด[3] อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสมีระบวนการทางธรรมชาติ
สำหรับไวรัสในการเปลี่ยนหรือกลายพันธุ์ไวรัสเพื่อปรับตัวเข้ากับมนุษย์ จึงเกิดไวรัสสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีความรุนแรง
ในการก่อโรคและการตอบสนองต่อวัคซีนป้องกันที่แตกต่างกัน[3, 4]
การให้ ว ั ค ซีน (vaccination) สำหรั บ ป้ อ งกัน การติด เชื ้อ SARS-CoV-2 อย่ า งรวดเร็ ว ให้ ท ัน การ
เปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสายพันธ์ของไวรัสจึงเป็นจุดสำคัญที่จะช่วยลดความรุนแรงของการระบาดได้ [4] ใน
สถานการณ์ที่ต้องการความรวดเร็วในการให้วัคซีนเพื่อควบคุมการระบาด แต่ละประเทศมีแนวปฏิบัติและนโยบาย
ในการกระจายวัคซีนและให้วัคซีนที่แตกต่างกันไป [5] บางประเทศในทวีปยุโรปเช่น อังกฤษ และสวิตเซอร์แลนด์
เภสัชกรชุมชนมีบทบาทในการให้บริการฉีดวัคซีนได้ในร้านยา พร้อมทั้งให้คำแนะนำและติดตามอาการไม่พึง
ประสงค์จากวัคซีน[5] ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียรวมถึงประเทศไทยยังไม่มีการให้บริการวัคซีนในร้านยา
แต่ทำหน้าที่ควบคุมการสั่งจ่าย ให้คำแนะนำ และติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีน บทความนี้จะกล่าวถึง
บทบาทของเภสัชกรที่มีส่วนในการให้บริการวัคซีนโควิด -19 การควบคุมการสั่งจ่ายวัคซีน ให้คำแนะนำ และ
ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีน รวมถึงแนวปฏิบัติและนโยบายในปัจจุบันในบริบทของประเทศต่าง ๆ เพื่อ
เป็นประโยชน์แก่เภสัชกรและผู้สนใจในการให้บริการวัคซีนในระบบสุขภาพต่อไป

บทบาทของเภสัชกรที่มีส่วนในการให้บริการวัคซีนโควิด-19 ในบริบทโลก[5]
บทบาทของเภสัชกรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและให้บริการวัคซีนโควิด-19 ในแต่ละประเทศ (ตาราง 1) มี
ความแตกต่างกันไปตามบริบทและกฎหมายของแต่ละประเทศ เภสัชกรจะมีบทบาทในการจัดการคลังยา การ
กระจายยา ให้คำแนะนำ และติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีน อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศมีนโยบายให้
เภสั ช กรในร้ า นยาสามารถให้ บ ริ ก ารฉี ด วั ค ซี น ให้ แ ก่ ป ระชาชนได้ โ ดยตรง เช่ น ในประเทศอั ง กฤษ และ
สวิตเซอร์แลนด์ แต่ไม่สามารถจัดหาวัคซีน (vaccine supply) ได้เอง ต้องผ่านบริษัทผู้ผลิตและรัฐบาล โดยเภสัช
กร จะต้องผ่านการอบรม และดำเนินการตามคู่มือการให้บริการวัคซีน (COVID-19 vaccination program)

2
ตาราง 1 การให้บริการวัคซีนโควิด-19 และบทบาทการมีส่วนร่วมของเภสัชกร ในประเทศต่าง ๆ [5]
เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์ เซอร์เบีย สวิตเซอร์ สเปน ตุรกี อังกฤษ สหรัฐ- ประเทศ
แลนด์ แลนด์ อเมริกา ไทย
การฉีดวัคซีน COVID-19: กรอบกฎหมาย การจัดการ และบทบาทเภสัชกร
แพทย์          
พยาบาล          
(ภายใต้ความรับผิดชอบทางกฎหมายของแพทย์)
เภสัชกร      
(ภายใต้ความรับผิดชอบทางกฎหมายของแพทย์)
Pharmacists independently (นำร่อง) (นำร่อง)      
วัคซีนที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ทางคลินิกในประเทศ
(พิจารณาการตัดสินใจการขึ้นทะเบียนยาเฉพาะประเทศ กลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2564)
Pfizer/BioNTech          
Moderna          
Astra Zeneca          
Johnson&Johnson          
Sputnik V          
Sinovac          
Sinopharm          
การบริหารจัดการวัคซีน          
ศูนย์กลาง          
(โดยทั่วไปจะลงทะเบียนที่เว็บไซต์กระทรวง
สาธารณสุข)

3
เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์ เซอร์เบีย สวิตเซอร์ สเปน ตุรกี อังกฤษ สหรัฐ- ประเทศ
แลนด์ แลนด์ อเมริกา ไทย
สถานที่ให้บริการ
โรงพยาบาลภูมิภาคขนาดใหญ่          
บ้านพักคนชรา บ้านสำหรับผู้สูงอายุ          
ศูนย์ดูแลสุขภาพเบื้องต้น          
บ้านผู้ป่วย (แพทย์ตรวจเยี่ยมบ้าน)          
เภสัชชุมชน (ร้านยา)          
ร้านขายยา/เภสัชชุมชน - บริการที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน COVID-19
การให้วัคซีน      
จัดหาวัคซีน (vaccines supply) ให้แก่ศูนย์ฉีด      
วัคซีน
การจัดเก็บและการจัดการสต๊อกวัคซีน (นำร่อง)      
การเตรียม (การละลาย) ของวัคซีนสำหรับศูนย์ฉีด       
วัคซีน
การละลายวัคซีนโดยตรงที่ศูนย์ฉีดวัคซีน (นำร่อง)       
แนวปฏิบัติมาตรฐาน คำเตือนด้านความปลอดภัย       
การเผยแพร่ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับขั้นตอนการฉีด
วัคซีน ฯลฯ
การให้คำปรึกษาสำหรับผู้ป่วย          
การกำกับติดตาม และฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์      
หมายเหตุ ข้อมูล ณ มิถุนายน 2564

4
บทบาทของเภสัชกรในประเทศไทย[6]
บทบาทของเภสัชกรในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการบริการวัคซีนประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การ
เบิกจ่ายและการกระจายวัคซีนโควิด-19 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนแก่ผู้มารับบริการ และการติดตามอาการไม่พึง
ประสงค์และผลข้างเคียงหลังจากได้รับวัคซีน ในขั้นตอนการเบิกจ่ายและกระจายวัคซีน เภสัชกรมีส่วนเกี่ยวข้อง
ตั้งแต่การเบิกวัคซีนจากคลัง การควบคุมการขนส่งด้วยระบบห่วงโซ่ความเย็น การจัดสรรและกระจายวัคซีนในวันที่
ให้บริการฉีดวัคซีนโดยจะต้องพิจารณาจำนวน เลขล็อต (lot number) และคุณภาพของวัคซีน ดำเนินการควบคุม
อุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 2-8 องศา ตลอดระยะเวลาที่จัดเก็บจนกระทั่งถึงเวลาฉีดผู้มารับบริการ เมื่อประชาชนเข้ามา
รับวัคซีนแล้วเภสัชกรเป็นผู้ให้ข้อมูลเพื่อเพิ่มความเข้าใจและคลายความกังวลให้แก่ประชาชน ประกอบด้วย ข้อมูล
เกี่ยวกับวัคซีน การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีน นอกจากนี้ เภสัชกรต้องเฝ้า
ระวังอาการไม่พึงประสงค์หรือผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน เพื่อติดตามความปลอดภัยและประกันความมั่นใจของ
ประชาชนต่อวัคซีน และทำแบบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกั นโรค
(adverse events following immunization, AEFI)
การเบิกจ่ายและการกระจายวัคซีนโควิด-19[6]
เภสัชกรมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเบิกจ่ายและการกระจายวัคซีนโควิด-19 ดังนี้
1. ฝ่ายเภสัชกรรมของสถานพยาบาล มีหน้าที่ดังนี้
1.1 ตรวจสอบความพร้อมของพื้นที่จัดเก็บวัคซีน โควิด-19 ในระบบห่วงโซ่ความเย็น ได้แก่ ตรวจสอบ
ความจุของตู้เย็นเก็บวัคซีนที่เพียงพอสาหรับจัดเก็บวัคซีนเพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายของสถานพยาบาล และ
ตู้เย็นอยู่ในสภาพที่ใช้การได้เป็นปกติ โดยสามารถตรวจสอบประเภท ขนาด และจำนวนของวัคซีนโควิด-19 และ
ติดตั้งตู้เย็นในจุดที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง (generator) เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจาก เหตุการณ์ฉุกเฉิน
ในระบบห่วงโซ่ความเย็น (cold chain breakdown)
1.2 เมื ่ อ องค์ ก ารเภสั ช กรรมหรื อ บริ ษ ั ท เอกชนผู ้ ร ั บ จ้ า งขนส่ ง วั ค ซี น นำส่ ง วั ค ซี น โควิ ด -19 มายั ง
สถานพยาบาล เภสัชกรตรวจรับวัคซีนตามระบบปกติ เช่น ตรวจสอบข้อมูลในใบนำส่งวัคซีนต้องตรงกับวัคซีนที่ถูก
นำส่ง ได้แก่ รายการวัคซีน ชื่อบริษัทผู้ผลิตวัคซีน ชื่อทางการค้า จำนวนวัคซีน เลขที่ผลิต (lot No.) วันที่ผลิต mfg.
date) (ถ้ามีระบุในใบนำส่ง) และวันหมดอายุ (exp. date) ตรวจสอบอุณหภูมิให้เหมาะสม และตรวจสอบสภาพ
ของวัคซีน ขวดวัคซีน กล่องบรรจุวัคซีนและกล่องโฟมควรอยู่ในสภาพดี แล้วจึงลงนามผู้รับวัคซีนพร้อม ลงวันที่
เป็นต้น
1.3 เมื่อตรวจรับวัคซีนโควิด-19 เรียบร้อย เภสัชกรจะต้องควบคุมการจัดเก็บวัคซีนในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2
ถึง 8 องศาเซลเซียสโดยเร็วติดป้ายชื่อวัคซีนกำกับ และควรให้มีช่องว่างระหว่างขวดหรือกล่องของวัคซีนเพียงพอ
เพื่อให้ความเย็นไหลเวียนได้ทั่วถึง วัคซีนแต่ละชนิดมีวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังแสดงใน
ตาราง 2

5
ตาราง 2 การเก็บรักษาวัคซีน[6]
วัคซีน ชนิด การเก็บรักษา
วั ค ซี น โควิ ด -19 ของบริ ษัท วัคซีนชนิดเชื้อตาย จัดวางไว้ที่ชั ้น กลางหรื อชั้ นที่ 2 ของตู้เย็นและห่างจากจุ ด
Sinovac Life Sciences ปล่อยความเย็น
ให้เก็บป้องกันแสง ห้ามแช่แข็ง และห้ามวางไว้ที่ถาด รองใต้
ช่องแช่แข็ง ฝาประตูตู้เย็น และช่องแช่ผัก
วั ค ซี น โควิ ด -19 ของบริ ษัท วัคซีนชนิดเชื้อเป็นชนิดที่ไม่มี จัดวางไว้ที่ชั้นที่ 1 ของตู้เย็น
AstraZeneca การแบ่งตัว (ไม่ก่อให้เกิดโรค) ให้เก็บป้องกันแสง ห้ามแช่แข็ง และห้ามวางไว้ที่ถาด รองใต้
ช่องแช่แข็ง ฝาประตูตู้เย็น และช่องแช่ผัก
วั ค ซี น โควิ ด -19 ของบริ ษัท วัคซีนชนิด mRNA Frozen vial ถ้าจัดเก็บที่อุณหภูมิ -90 ถึง -60 องศาเซลเซียส
Pfizer สามารถเก็บได้ถึงวันหมดอายุตามที่ระบุบนฉลาก ถ้าจัดเก็บที่
อุณหภูมิ -25 ถึง -15 องศาเซลเซียสได้นานสูงสุด 14 วันและ
สามารถนำกลั บ ไปแช่ แ ข็ ง ที ่ อ ุ ณ หภู ม ิ -90 ถึ ง -60 องศา
เซลเซียส ได้ 1 ครั้ง ส่วน Thawed vial สามารถเก็บในตู้เย็น
อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส ได้นานสูงสุด 31 วันและต้อง
ขนส่งภายใน 12 ชั่วโมง โดยห้ามนำกลับไป freeze เด็ดขาด
ก่อนผสมน้ำเกลืออยู่ในอุณหภูมิห้องได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง และ
หลังผสมน้ำเกลือจะอยู่ได้นาน 6 ชั่วโมง

1.4 จัดทำทะเบียนรับและจ่ายวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะโดยแยกรายบริษัทผู้ผลิต /ชื่อทางการค้า และ


บันทึกข้อมูลทุกครั้งที่มีการรับหรือจ่ายวัคซีน ได้แก่
1) วัน/เดือน/ปี
2) หน่วยงานผู้นำส่งและรับวัคซีน
3) จำนวนวัคซีนที่รับหรือจ่าย (หน่วยนับเป็น ขวด)
4) เลขที่ผลิต (lot No.)
5) วันหมดอายุ (exp. date)
6) จำนวนวัคซีนคงเหลือรายเลขที่ผลิต (lot no.) (หน่วยนับเป็น ขวด)
1.5 ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลการเบิกวัคซีนทุกครั้งที่ได้รับแบบฟอร์มขอเบิกวัคซีน โควิด-
19 จากจุดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของสถานพยาบาล หากพบความผิดปกติของข้อมูลให้รีบประสานงานไปยัง
ผู้ขอเบิกวัคซีนเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน
1.6 จ่ายวัคซีนโควิด-19 ตามหลักวัคซีนที่หมดอายุก่อน ให้จ่ายออกก่อน หรือ First Expire First Out
(FEFO)

6
ทั้งนี้ โรงพยาบาลที่เป็นคลังวัคซีนสำรองระดับจังหวัดซึ่งมีตู้เย็น ประเภท pharmaceutical refrigerator
สำหรับจัดเก็บวัคซีนโควิด-19 ทั้งในสถานพยาบาลและสถานพยาบาลอื่น ๆ ภายในจังหวัด ให้ฝ่ายเภสัชกรรม ร่วม
ดำเนินการบริหารจัดการและจัดสรรวัคซีนภายในจังหวัดอย่างเหมาะสม และจัดทำทะเบียนรับ-จ่ายวัคซีน โควิด-
19 โดยแยกรายบริ ษ ั ท ผู ้ ผ ลิ ต นอกจากนี ้ ให้ ส ถานพยาบาลบั น ทึ ก จำนวนวั ค ซี น คงคลั ง ในระบบ MOPH
Immunization Center ให้เป็นปัจจุบัน
2. จุดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของสถานพยาบาล/หน่วยให้บริการมีหน้าที่ ดังนี้
2.1 ตรวจสอบความพร้อมระบบห่วงโซ่ความเย็น ของพื้นที่จัดเก็บวัคซีน โควิด-19 โดยควรมีความจุของ
ตู้เย็น เก็บวัคซีนที่เพียงพอสำหรับจัดเก็บวัคซีนเพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายในแต่ละรอบการให้บริการ ตู้เย็นอยู่
ในสภาพที่ใช้การได้เป็นปกติ
2.2 เมื่อสำรวจได้จำนวนกลุ่มเป้าหมายในแต่ละรอบการให้บริการฉีดวัคซีน โควิด-19 แล้ว ให้ดำเนินการ
ขอเบิกวัคซีนไปยังฝ่ายเภสัชกรรมของสถานพยาบาล โดยกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มขอเบิกวัคซีน โควิด-19 และ
จัดส่งแบบฟอร์มฯ ให้ฝ่ายเภสัชกรรมของสถานพยาบาลก่อนกำหนดให้บริการทุกครั้ง เพื่อให้ ฝ่ายเภสัชกรรม ได้
ตรวจสอบข้อมูลและจัดเตรียมวัคซีน
2.3 เมื่อได้รับวัคซีนโควิด-19 จากฝ่ายเภสัชกรรมของสถานพยาบาลเรียบร้อย ให้จัดเก็บวัคซีนในตู้เย็นที่
อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียสโดยเร็ว ติดป้ายชื่อวัคซีนกำกับ และควรให้มีช่องว่างระหว่างขวด/กล่องวัคซีน พอ
ให้ความเย็นไหลเวียนได้ทั่วถึง
2.4 จัดทำทะเบียนรับ-จ่ายวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะ โดยแยกรายบริษัทผู้ผลิต ชื่อทางการค้า และบันทึก
ข้อมูลทุกครั้งที่มีการรับหรือจ่ายวัคซีน ได้แก่
1) วัน/เดือน/ปี
2) หน่วยงานผู้นำส่งและรับวัคซีน
3) จำนวนวัคซีนที่รับหรือจ่าย (หน่วยนับเป็น ขวด)
4) เลขที่ผลิต (lot no.)
5) วันหมดอายุ (exp. date)
6) จำนวนวัคซีนคงเหลือรายเลขที่ผลิต (lot no.) (หน่วยนับเป็น ขวด)
2.5 จ่ายวัคซีนโควิด-19 ตามหลักวัคซีนที่หมดอายุก่อน ให้จ่ายออกก่อน หรือ FEFO และหลังเปิดขวด
วัคซีนควรใช้ให้หมดโดยเร็ว สำหรับกรณีวัคซีน multiple dose ได้แก่ วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท AstraZeneca
ที่ให้บริการยังไม่หมดขวด สามารถเก็บไว้รอให้บริการได้นาน 6 ชั่วโมง หลังเปิดขวด โดยระหว่างรอต้องจัดเก็บที่
อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส
2.6 เมื่อสิ้นสุดแต่ละวันที่ให้บริการฉีดวัคซีน โควิด-19 ให้เก็บขวดวัคซีนที่ใช้แล้วเฉพาะวัคซีน multiple
dose ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 7 วัน อย่างปราศจากเชื้อ เพื่อรอการส่งตรวจ

7
พิสูจน์อาการไม่พึงประสงค์ภายหลังจากได้รับฉีดวัคซีน (AEFI) โดยติดป้ายกำกับ เช่น วัคซีน โควิด-19 รอส่งตรวจ
AEFI เป็นต้น
2.7 ขวดวัคซีนและอุปกรณ์การฉีดวัคซีนให้ทำลายแบบขยะติดเชื้อตามระบบปกติที่หน่วยงานดำเนินการ

การให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนและการปฏิบัติตัว[7]
เภสัชกรมีหน้าที่ในการให้ข้อมูล และวิธีการปฏิบัติตัว ให้แก่ประชาชนและสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีน

ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน[4, 6]
วัคซีนโควิด-19 ที่มีการศึกษาในมนุษย์ในขณะนี้แบ่งออกเป็น 4 กระบวนการหลัก ประกอบด้วย
วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม ได้แก่ วัคซีนดีเอ็นเอ (DNA) หรือเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA, mRNA)
วัคซีนกลุ่มนี้ ใช้เทคโนโลยีใหม่สังเคราะห์สารพันธุกรรม mRNA ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส วัคซีนจะทำหน้าที่พา
mRNA เข้าเซลล์ และกำกับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของ
ร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ
วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (recombinant viral vector vaccine) วัคซีนกลุ่มนี้ใช้ไวรัสที่สามารถตัด
แต่งพันธุกรรม เช่น ไวรัสอะดีโน (adenovirus) โดยนำมาดัดแปลงพันธุกรรมให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ และใส่สาร
พันธุกรรมของไวรัสโรคโควิด-19 ติดไปด้วย เมื่อนำมาฉีดไวรัสพาหะเหล่านี้จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ
โดยกระตุ้มภูมิคุ้มกันทั้งระบบให้สร้างแอนติบอดีต่อไวรัสโรคโควิด-19 ตามสารพันธุกรรมที่ใส่เข้าไป อย่างไรก็ตาม
แม้ว่าจะเป็นวัคซีนที่ไวรัสอะดีโนไม่แบ่งตัว แต่ยังจัดเป็นไวรัสที่มีชีวิตเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่มี
ภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก
วั คซี น ที่ท ำจากโปรตี นส่ วนหนึ่งของเชื้อ (protein subunit vaccine) วัคซีนชนิดนี้ ผ ลิตโดยการสร้าง
โปรตีนของเชื้อไวรัส ด้วยระบบ cell culture, yeast, baculovirus เป็นต้น แล้วนำมาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อ
ฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด-19
วัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated vaccine) วัคซีนกลุ่มนี้ผลิตโดยนำไวรัสโรคโควิด -19 มาเลี้ยงขยาย
จำนวนมาก และนำมาทำให้เชื้อตายการฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทุกส่วน เสมือนได้รับ
เชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ทำให้เกิดโรคเพราะเชื้อตายแล้ว โดยรายละเอียดของวัคซีนแต่ละชนิดแสดงในตารางที่ 3

8
ตาราง 3 ข้อมูลชนิด ข้อดีและข้อจำกัดของวัคซีนโควิด-19[4, 6]
กระบวนการผลิต ตัวอย่างวัคซีน (ผู้ผลิต) ข้อดี ข้อจำกัด
วั ค ซี น ชนิ ด อาร์ เ อ็ น เอ BNT162b2 ผลิตได้ง่าย รวดเร็ว ต้องเก็บรักษาวัคซีนที่อุณหภูมิ ต่ำ –70
(RNA based vaccine) (BioNTech/Pfizer) กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี ถึง -20 องศาเซลเซียส เนื่องจาก mRNA
ปรั บ ปรุ งวั ค ซี น ได้ ง่ า ยหากมี ถูกทำลายได้ง่าย
mRNA-1273 (Moderna) การ กลายพันธุ์ของไวรัส mRNA-1273 ข อ ง บ ร ิ ษ ั ท Moderna
อาจพิจารณาเก็บใน อุณหภูมิ 2-8 องศา
เซลเซียสได้ แต่จะมีอายุไม่เกิน 30 วัน
นับจากวันที่เก็บที่อุณหภูมิดงั กล่าว
วั ค ซี น ชนิ ดใช้ไวรัสเป็น AZD1222 (Oxford– กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี เนื ่ อ งจากไวรั ส พาหะเป็ น เชื ้ อ มี ช ี วิ ต
พ า ห ะ (recombinant AstraZeneca) เลียนแบบการติดเชื้อตาม แม้ว่าจะอ่อนฤทธิ์หรือไม่แบ่งตัว แต่อาจ
viral vector vaccine) ธรรมชาติของไวรัสพาหะ โดย ก่ อ โรคได้ ใ นผู ้ ท ี ่ ม ี ภ าวะ ภู ม ิ ค ุ ้ ม กั น
Ad5-nCoV (CanSinoBIO) ไวรัสพาหะไม่สามารถแบ่งตัว บกพร่องอย่างมาก
ได้ จึงมีความปลอดภัยสูง การเกิดภาวะ vaccine-induced
Sputnik V ผลิตไม่ยาก ราคาไม่แพง thrombotic thrombocytopenia
(Gamaleya) สร้ า งภู มิ ค ุ ้ ม กั น ได้ ต ั ้ ง แต่ โ ดส (VITT) ซึ่งพบน้อยมาก
แรก และอาจใช้เพียง 1 โดสได้
Ad26.COV2.S (Johnson
and Johnson)
วัคซีนที่ทาจากโปรตีน NVX-CoV2373 (Novavax) มีความปลอดภัยสูง ใช้กับผู้ที่มี ออกสู่ตลาดช้า
ส่วนหนึ่งของเชื้อ ภูมิคุ้มกันบกพร่องได้
(protein subunit สามารถผลิ ต วั ค ซี น ได้ ง ่ า ย
vaccine) รวดเร็ว
มี ป ระสบการณ์ จ ากการใช้
วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต
เดี ย วกั น มาก่ อ น เช่ น วั ค ซี น
ไข้ ห วั ดใหญ่ และ วั ค ซีนไวรัส
ตับอักเสบบี เป็นต้น
วั ค ซี น ชนิ ด เชื ้ อตาย Coronavac (Sinovac) มีความปลอดภัยสูง ใช้กับผู้ที่มี ต้ อ งให้ ว ั ค ซี น ซ้ ำ เพื ่ อ ช่ ว ยกระตุ ้ น การ
(inactivated vaccine) BBIBP-CorV (Sinopharm) ภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ สร้างภูมิคุ้มกัน
Covaxin (Bharat Biotech) มี ป ระสบการณ์ จ ากการใช้ มี ต ้ น ทุ น การผลิ ต สู ง เนื ่ อ งจากต้ อ ง
วัคซีนที่ ใช้เทคโนโลยีการผลิต เพาะเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการระดับสูง
เดี ย วกั น มาก่ อ นเช่ น วั ค ซี น
ไวรัสตับอักเสบเอ เป็นต้น

9
คำแนะนำก่อนฉีดวัคซีน[6, 7]
1) ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
2) บุคคลผู้ได้รับการฉีดวัคซีน โควิด-19 ทั้งก่อนและหลังการฉีด สามารถทำกิจวัตรประจำวัน ได้ตามปกติ
(เช่น การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งชา/กาแฟ ยาต่าง ๆ ตลอดจน ทำหน้าที่การงานที่เคยทาปกติ
ได้)
3) ไม่ควรออกกำลังกายหนักกว่าที่ เคยทำปกติหรือพักผ่อนน้อยกว่าปกติในช่วง 1-2 วันก่อน และหลังการ
ได้รับวัคซีน
4) ดื่มน้ำให้เพียงพอ
5) ตรวจสอบร่างกายว่ามีความพร้อมรับการฉีดวัคซีนหรือไม่ เช่น ไม่มีไข้สูง ไม่มีอาการ เจ็บป่วย
6) ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการฉีดวัคซีน เช่น มีโรคประจำตัว มีประวัติแพ้ยาหรือวัคซีน หรือ ตั้งครรภ์

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีน[6, 7]
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั่วไปหรือไม่ร้ายแรง ให้รักษาตามอาการหรือรอให้อาการดีขึ้น อาการมักหายได้
เองภายใน 1-2 วัน ประกอบด้วย
1) อาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด ; ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น paracetamol หรือ ibuprofen
และประคบเย็นโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ ำเย็นมาประคบบริเวณที่ฉีด หรือออกกำลังที่แขนเบา ๆ เพื่อคลาย
ความปวด
2) อาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ; ให้รับประทานยาแก้ปวด เช่น paracetamol หรือ
ibuprofen และควรดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอรวมถึงใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
3) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ได้แก่ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง แน่น
หน้าอก หายใจลำบาก หรือ หายใจไม่ออก อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง ผื่นขึ้นทั้งตัว มีจ้ำเลือดจำนวนมาก
ใบหน้าหรือปากเบี้ยว กล้ามเนื้อหรือแขนขาอ่อนแรงไม่สามารถทรงตัวได้ ชัก หรือหมดสติ ต่อมน้ำเหลือง
โต ผิวหนังลอก อาการป่วยรุนแรงที่น่ากังวลมาก

การเฝ้าระวังติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด-19[6]
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีน (adverse event following immunization) เป็น
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นหลังการได้รับวัคซีน ซึ่งอาจจะเป็นปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากวัคซีน (adverse
reaction) หรือไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่เกิดจากความวิตกกังวลของผู้รับบริการวัคซีน หรือภาวะร่วมอื่น ๆ ที่เกิดใน
ช่วงเวลาเดียวกัน โดยจะแบ่งอาการออกเป็น 2 อาการหลัก คือ

10
อาการข้างเคียงทีเ่ ป็นปฏิกิริยาของร่างกายต่อวัคซีน อาการที่สำคัญสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
อาการข้างเคียงหรือผลข้างเคียง (side effects) หมายถึง อาการที่คาดเดาได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นได้จากการ
ได้รับวัคซีน เช่น ปวด บวม ร้อนบริเวณที่ฉีด และ อาการตามระบบอื่น ๆ เช่น ไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย ใจสั่น
หมดแรง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง และ เวียนศีรษะ โดยอาการเหล่านี้ จะเกิดเพียง 1–2 วันหลังได้รับ
วัคซีน มักเป็นไม่รุนแรง ผู้ที่มีอาการข้างเคียงเหล่านี้ สามารถรับวัคซีนชนิดเดิมได้
การแพ้วัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน (hypersensitivity reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาการ แพ้วัคซีน
ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้หลากหลาย แต่การแพ้วัคซีนแบบรุนแรงที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงมากที่สุด คือ อาการ
แพ้รุนแรงชนิดแอนาฟิแล็กซิส (anaphylaxis) ซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 30 นาทีหลังได้รับวัคซีน ซึ่งเป็นข้อ
ห้ามในการรับวัคซีนชนิดเดิมในครั้งต่อไป
สถานบริการสาธารณสุขแต่ละแห่งกำหนดผู้รับผิดชอบในการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลัง
ได้รับวัคซีนโควิด-19 ซึ่งโดยส่วนมากแล้วเภสัชกรจะเป็นผู้รับผิดชอบหน้าที่นี้ โดยมีเครื่องมือในการรายงาน ดังนี้
1. แบบฟอร์ม AEFI-1 ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกราย และแบบฟอร์ม AEFI-2 ซึง่
ใช้สำหรับการสอบสวนโรคกรณีเหตุการณ์ร้ายแรงหรือผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนที่จำเป็นต้องสอบสวนโรคเหตุการณ์ที่
อาจจะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการให้วัคซีน หรือเหตุการณ์ที่สร้างความกังวลหรือความตระหนกอย่างมากต่อ
ครอบครัวและชุมชน
2. โปรแกรมฐานข้อมูลเฝ้าระวังเหตุการณ์ไ ม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้ มกันโรค (AEFI
DDC) เป็นโปรแกรม online (https://e-reports.doe.moph.go.th/aefi/) ที่ใช้บันทึกข้อมูล ตามแบบรายงาน
(AEFI-1) และแนบไฟล์การสอบสวนโรค (AEFI-2) จากสถานพยาบาลและห้องชันสูตรทั่วประเทศ ส่งข้อมูลไปยัง
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการให้บริการวัคซีนในร้านยาในบริบทต่างประเทศ[7, 8]
บทบาทของเภสัชกรในการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบันในประเทศไทยมีหน้าที่ในขั้นตอน การ
เบิกจ่าย การกระจายวัคซีน โควิด-19 ให้คำแนะนำ และติดตามอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน ซึ่งเภสัชกรยัง
ไม่ได้รับอนุญาตให้ ฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้โดยตรง ในขณะที่บางประเทศ ได้มีนโยบายและมีการอนุญาตให้
เภสัชกรในร้านยาสามารถฉีดวัคซีนโควิด -19 ได้ เช่น ประเทศโปรตุเกส ไอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ
ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเทศจะมีนโยบาย ขั้นตอน และแนวปฏิบัติในการฉีดวัคซีนใน
ร้านยาแตกต่างกัน ซึ่งในบทความนี้จะยกตัวอย่างการให้บริการฉีดวัคซีนในร้านยาในประเทศออสเตรเลีย
การเข้าถึงวัคซีนในประเทศออสเตรเลีย ประชาชนสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ที่ร้านยา โดยผ่าน
โปรแกรม COVID-19 vaccination in community pharmacy (CVCP) ซึ่งจัดตั้งเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการฉีดวัคซีน
โควิด-19 ของประชาชน โดยให้ เภสัชกรสามารถฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ ทั้งนี้ จะต้องเป็นเภสัชกรที่ ผ่านการ

11
รั บ รองตามมาตรฐาน กฎหมายที ่ ก ำหนด (National Health Act 1953) และได้ ร ั บ การคั ด เลือ กจากรัฐ บาล
ออสเตรเลียให้เข้าร่วมแล้ว และต้องผ่านการฝึกอบรมการวิธีการฉีดวัคซีน วิธีการเก็บรักษาวัคซีน การฉีดวัคซีน
แบบ multi-dose vial กลไกการออกฤทธิ์ของวัคซีน การรายงานการฉีดวัคซีน การติดตามและรายงานผล AEFI
โดยหลังจากฝึกอบรมครบแล้วจะได้รับใบรับรอง และเภสัชกรจะต้องจัดร้านยาและเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ
ให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้

สถานที่ในการฉีดวัคซีน[7, 8]
1. มีสถานที่ให้ผู้มารับบริการฉีดวัคซันได้นั่งรออย่างมีระยะห่างทางสังคม
2. มีพื้นที่ที่เงียบและเป็นส่วนตัวสำหรับให้คำปรึกษาและแนะนำผู้มารับบริการฉีดวัคซีน
3. มีพื้นที่เฉพาะที่แยกจากพื้นที่ให้บริการทางเภสัชกรรม สำหรับเตรียมวัคซีนและติดฉลาก
4. จัดให้มีพื้นที่เฉพาะที่สะอาดและมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับฉีดวัคซีนให้กับผู้มารับบริการ ประกอบด้วย
โต๊ะ เก้าอี้สำหรับผู้มารับบริการ ผู้ดูแล ผู้ปกครอง และผู้ฉีดวัคซีน
5. มีพื้นที่เพียงพอให้ผู้มารับบริการนั่งรอสังเกตอาการหลังฉีดวัคซีน
6. จัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่ให้บริการฉีดวัคซีนได้อย่างปลอดภัยและตรงจุด เพื่อให้บุคลากรสามารถเคลื่อนที่ได้
อย่างสะดวก เช่น ขณะขนย้ายวัคซีนจากพื้นที่เตรียมวัคซีนมายังจุดให้บริการฉีดวัคซีน
7. มีจุดล้างมือ และเจลล้างมือที่เพียงพอให้แก่บุคลากร
8. มีขั้นตอนการกำจัดวัคซีนที่ยังไม่ได้ใช้อย่างปลอดภัย ตามข้อกำหนดของการให้วัคซีน
9. มีถังขยะสำหรับทิ้งของมีคมเพียงพอกับปริมาณของผู้มารับบริการ
10. มีเงื่อนไขการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเข้าถึงวัคซีนโดยไม่ได้ลงทะเบียนรับวัคซีน
11. มีความพร้อมในการเข้าถึงอุปกรณ์ฉุกเฉิน เพื่อจัดการกับภาวะ anaphylaxis

12
ตาราง 4 ข้อมูลของวัคซีนโควิด-19[4]
ชื่อการค้า ผู้ผลิต เทคโนโลยี ขนาดบรรจุ จำนวน ระยะห่าง ก า ร เ ก็ บ ประสิทธิผล อาการไม่พึงประสงค์ที่ อาการไม่พึงประสงค์
ช็อต รักษา พบบ่อย ที่สำคัญ
BNT1 6 2 b2 Pfizer/ RNA vaccine 0.3 mL 2 21 วัน −70 ̊C 95% ปวด, บวม, แดง, มีไข้, ปฏิกิริยาการแพ้ ได้แก่
mRNA BioNTech (30 μg อ่ อ นเพลี ย ปวดศี ร ษะ anaphylaxis,
nucleoside- หนาวสั่น อาเจียน paroxysmal
modified mRNA) ท้องร่วง ปวดกล้ามเนื้อ ventricular
IM ปวดข้อ ต่อมน้ำเหลืองโต arrhythmia และ
อาการหมดสติ กลุ่ม
อาการอักเสบหลาย
ระบบ (MIS)
mRNA-1273 Moderna RNA vaccine 0.5 mL (100 μg 2 28 วัน −20 ̊C 94.5% ปวด บวม แดง ที่จุด ปฏิกิริยาการแพ้ ได้แก่
mRNA) IM ฉีด ไข้ อ่อนเพลีย ปวด ภูมิแพ้ หน้าบวม และ
ศีรษะ หนาวสั่น อาเจียน อัมพาตครึ่งซีก (Bell’s
ปวดข้ อ ปวดกล้ า มเนื้ อ palsy)
ลมพิษ (อาการทางคลินิก
เหล่านี้ไม่รุนแรงถึงปาน
กลางหลังจากฉีดวัคซีน
ครั้งแรก และปานกลาง
ถึ ง รุ น แรงหลั ง จากฉี ด
วัคซีนครั้งที่สอง)
ChAdOx1 AstraZeneca/ Adenovirus- 0.5 mL 2 4-12 2–8 ̊C 70% ปวดหัว, คลื่นไส้, Thrombosis with
nCoV-19 Oxford vectored (5 × 1010 viral สัปดาห์ อาเจียน, ท้องร่วง, thrombocytopenia
vaccines particles) IM syndrome (TTS),

13
ชื่อการค้า ผู้ผลิต เทคโนโลยี ขนาดบรรจุ จำนวน ระยะห่าง ก า ร เ ก็ บ ประสิทธิผล อาการไม่พึงประสงค์ที่ อาการไม่พึงประสงค์
ช็อต รักษา พบบ่อย ที่สำคัญ
ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดข้อ, Guillain-Barr é
ความอ่อนโยนบริเวณที่ syndrome,
ฉ ี ด , ค วา ม เ จ ็ บ ป วด , capillary leak
ความอบอุ่น, อาการคัน, syndrome (CLS),
ช้ ำ , บวม, และเกิ ด ผื่ น cerebral venous
แดง, อ่อนเพลีย, อึดอัด, sinus thrombosis
หนาวสั่นและมีไข้ (CVST) without
thrombocytopenia.
Ad26.COV2.S Johnson & Adenovirus- 0.5 mL 1 - 2–8 ̊C 66.3% ไข้ Venous
(Janssen) Johnson vectored (5 × 1010 viral thromboembolism
particles) IM
BBIBP- CorV Sinopharm Inactivated 0.5mL 2 14-21 วัน 2–8 ̊C 72.5% ปวดและมีไข้ ไม่มีรายงานเหตุการณ์
(Wuhan) vaccine (4μg in aluminum ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง
adjuvant) IM
CoronaVac Sinovac Inactivated 0.5mL 2 28 วัน 2–8 ̊C 50.65% ปวดบริเวณที่ฉีด ไม่มีรายงานเหตุการณ์
Biotech vaccine (3μg in aluminum ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง
adjuvant) IM

14
การจัดการระบบห่วงโซ่ความเย็น (cold chain) ที่เหมาะสม[7-9]
1. มีจำนวนและพื้นที่ของตู้เย็นเพียงพอในการจัดเก็บวัคซีน และควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 2-8 องศาเซลเซียส
2. มีตู้เย็นและภาชนะทึบแสงที่เหมาะสมเพื่อเก็บเข็มฉีดยาที่ดึงวัคซีนเตรียมไว้สำหรับให้บริหาร ภายใต้
อุณหภูมิที่เหมาะสมและป้องกันแสง ตั้งแต่เตรียมเสร็จจนถึงเวลานำมาฉีดให้ผู้มารับบริการ
3. มีขั้นตอนในการรับวัคซีนที่เหมาะสม เช่น ตรวจสอบความเรียบร้อยของบรรจุภัณฑ์และอุณหภูมิ
4. ร้านยาจะต้องปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติ และมีนโยบายในการจัดการ cold chain ประกอบด้วย
ระบบตรวจสอบอุณหภูมิตู้เย็น และแนวทางการจัดการเมื่ออุณหภูมิตู้เย็นไม่อยู่ในช่วง 2-8 องศาเซลเซียส
รวมถึงการย้ายขวดไปยังตู้เย็นอื่น

ระบบเชื่อมต่อและจัดเก็บข้อมูล[7-9]
1. มีระบบบันทึกข้อมูลการให้บริการเภสัชกรรม (community pharmacy service management) เช่น
MedAdvisor หรือ guild care และเข้าถึง Australian immunisation register (AIR) ผ่านทาง provider
digital access (PRODA)
2. สามารถเชื่อมต่อและใช้ระบบการจองวัคซีนได้
3. ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการรายงานการฉีดวัคซีนทั้งหมดใน Australian immunisation register
(AIR) ภายใน 24 ชั่วโมง
4. มีกระบวนการในการเก็บและบันทึกความยินยอม (informed consent) และสามารถระบุตัวบุคคลที่ควร
ให้วัคซีนในสถานพยาบาลเฉพาะทาง (เช่น ประวัติภูมิแพ้) หรือในกรณีที่อาจต้องปรึกษาหารือเพิ่มเติม
(เช่น การตั้งครรภ์)
5. สามารถพัฒนานโยบายและวิธีการสำหรับ ระบุผู้รับวัคซีนแต่ละราย ตรวจสอบเพื่อยืนยันการได้รับวัคซีน
ครั้งก่อนหน้า และบันทึกนั ดหมายการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป ติดฉลากเข็มฉีดยาที่ดึงยาขึ้นมาจาก multi-
dose vial แล้ว ซึ่งประกอบด้วย วันที่และเวลาที่เตรียม และวันหมดอายุ และรายงานการใช้วัคซีนและ
จำนวนวัคซีนที่ยังเหลืออยู่ในร้านยา จำนวนวัคซีนที่เสียทิ้งไปพร้อมเหตุผลได้

กระบวนการติดตามหลังฉีดวัคซีน[7, 8]
ภายหลังจากการให้บริการฉีดวัคซีน ร้านยาจะต้องมีการเก็บบันทึกข้อ มูลของผู้มารับบริการไว้ เป็น
ระยะเวลา 7 ปีหลังให้บริการฉีดวัคซีนเพื่อเป็นหลักฐานการได้รับเงินจากรัฐบาล ซึ่งข้อมูลที่ต้องเก็บประกอบด้วย
1) เลขที่ร้านยา
2) ใบบันทึกความยินยอม
3) ชื่อและเลขที่ใบอนุญาตของเภสัชกรผู้ฉีดวัคซีน

15
4) เลขประกันสุขภาพของผู้มารับบริการ
5) ชื่อผู้มารับบริการ
6) วัน เดือน ปีเกิด ผู้มารับบริการ
7) ครั้งที่ในการฉีดวัคซีน
8) วันที่ฉีดวัคซีน
9) หลักฐานแสดงการบันทึกการฉีดวัคซีนลงบน AIR

กรณีที่ผู้ป่วยประสบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการให้วัคซีน COVID-19 จะต้องรายงานเหตุการณ์เหล่านี้


โดยเหตุการณ์ที่ต้องรายงานประกอบด้วยเหตุการณ์ที่ผิดปกติหรือไม่คาดคิด เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน
ที่รุนแรง หรือ เหตุการณ์ใด ๆ ที่แพทย์พิจารณาว่าเกิดขึ้นจากการให้วัคซีน จะต้องถูกรายงานโดยแพทย์ เภสัชกร
หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่น ๆ ไปยังหน่วยสาธารณสุขในพื้นที่ (PHU) ไปยังหมายเลขหรืออีเมลของกระทรวง
โดยใช้แบบฟอร์มการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับชาติหลังการให้ภูมิคุ้มกัน (AEFI) ตามที่รัฐกำหนด

บทสรุป
เภสัชกรมีส่วนในการให้บริการวัคซีนโควิด -19 รวมถึงแนวปฏิบัติและนโยบายในปัจจุบัน เกี่ยวกับบทบาท
หน้าที่ ขั้นตอน ข้อกำหนด ในการเบิกจ่ายและการกระจายวัคซีนโควิด-19 รวมถึงข้อมูลที่สำคัญของวัคซีนโควิด-19
ในประเทศไทยและองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการให้บริการวัคซีนในร้านยาในบริบทต่างประเทศ ได้แก่ สถานที่
ในการฉีดวัคซีนต้องจัดให้เป็นไปตามข้อกำหนด การจัดการระบบห่วงโซ่ความเย็นที่เหมาะสม ระบบเชื่อมต่อและ
จัดเก็บข้อมูล อุปกรณ์ในการฉีดวัคซีน และกระบวนการหลังให้บริการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่เภสัชกรและ
ผู้สนใจในการให้บริการวัคซีนในระบบสุขภาพต่อไป

16
เอกสารอ้างอิง
1. Ghasemiyeh P, Mohammadi-Samani S. COVID-19 outbreak: Challenges in pharmacotherapy
based on pharmacokinetic and pharmacodynamic aspects of drug therapy in patients with
moderate to severe infection. Heart Lung. 2020;49(6):763-73.
2. World Health Organization. Coronavirus (COVID-19) dashboard [Available from:
https://covid19.who.int.
3. Randolph HE, Barreiro LB. Herd Immunity: Understanding COVID-19. Immunity.
2020;52(5):737-41.
4. Ghasemiyeh P, Mohammadi-Samani S, Firouzabadi N, Dehshahri A, Vazin A. A focused
review on technologies, mechanisms, safety, and efficacy of available COVID-19 vaccines.
Int Immunopharmacol. 2021;100:108162.
5. Paudyal V, Fialová D, Henman MC, Hazen A, Okuyan B, Lutters M, et al. Pharmacists'
involvement in COVID-19 vaccination across Europe: a situational analysis of current
practice and policy. Int J Clin Pharm. 2021;43(4):1139-48.
6. กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ในสถานการณ์การระบาดปี 2021 ของประเทศไทย 2021
[Available from: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1628849610213.pdf.
7. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. คู่มือเภสัชกร: เพื่อให้คำแนะนำเรื่องวัคซีนโควิด-19 แก่
ประชาชน. 2021 [Available from:
https://r8way.moph.go.th/r8wayadmin/page/uploads_file/20210604045036.pdf.
8. Pharmaceutical Society of Australia. Practice Guidelines for pharmacists providing
immunisation services 2021 [Available from: https://www.ppaonline.com.au/wp-
content/uploads/2021/07/PSA-Immunisation-Guidelines.pdf.
9. Australian Government Department of Health. ATAGI site requirements for COVID-19
vaccination in community pharmacies 2021 [Available from:
https://www.health.gov.au/sites/default/files/documents/2021/02/covid-19-vaccination-site-
requirements-for-covid-19-vaccination-in-community-pharmacies.pdf.

17

You might also like