You are on page 1of 1

อาทิมา จริงสูงเนิน 61150040629

การศึกษาการบริหารจัดการทางเภสัชกรรม
เรือ่ ง การประเมินผลการบริหารคลังยาในโรงพยาบาลเขตภาคกลาง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
หลักการและแนวคิดการบริหารทีก่ ารศึกษานีน้ ำมาใช้
การวางแผน (Planning) การศึกษานี้ได้มีการนำหลักการวางแผนมาใช้ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้
จัดทำมาตรการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์ ในแผนแม่บทการพัฒนาสุขภาพดีด้วยตันทุนต่ำ (good health
at low cost) เพื่อให้โรงพยาบาลและสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ยึดถือปฏิบัติ โดยมี
เป้าหมายเพื่อให้การบริหารเวชภัณฑ์ของสถานบริการทุกระดับในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งในด้านการ
คัดเลือก การจัดหา การกระจาย และการใช้ มีประสิทธิภาพ ประหยัด และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของ
ประเทศในปัจจุบัน
การควบคุม (Controlling) การศึกษานี้ได้มีการนำหลักการควบคุมมาใช้ เพื่อตรวจสอบว่าการบริหาร
คลังยาในโรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ และเป็นไป
ตามมาตรการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์หรือไม่ โดยมีกระบวนในการควบคุมดังนี้
1. การวัดผลการดำเนินงานบริหารคลังยา (Measurement actual performance) โดยใช้
แบบสอบถามปลายเปิดและแบบให้เลือกตอบที่มขี ้อคำถามในการประเมินผลการดำเนินงาน
บริหารคลังยา ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในงานบริหารคลังยาของ
โรงพยาบาลเขตภาคกลาง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการรายงานผลออกมา
ในรูปของข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ และมีการแจกแจงความถี่
2. การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานบริหารคลังยาของแต่ละโรงพยาบาลกับตัวชี้วัดวัสดุคงคลัง
ตัวชี้วัดงานคลังยา และมาตรการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์ทั้ง 8 หมวด อันได้แก่
1) การ บริหารจัดการด้านยา 2) การกำหนดความต้องการ 3) บัญชีรายการยาของโรงพยาบาล
4) การคัดเลือก 5) การจัดหาและประกันคุณภาพยา 6) การผลิต 7) การสำรองและกระจายยา
และ 8) การใช้ยา (Comparing actual performance against a standard) ว่าอยู่ในช่วงที่
ยอมรับได้หรือไม่
3. การดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาด (Taking managerial action) ซึ่งได้มีการเสนอแนวทางแก้ไข
อุปสรรคที่เกิดขึ้นในดำเนินงานบริหารคลังยา คือ ผู้กำหนดมาตรการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์
ควรมีการปรับปรุงมาตรการดังกล่าวให้สามารถดำเนินงานได้จริง และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ของมาตรการนั้น ๆ
ซึ่งมีรูปแบบการควบคุมเป็นการควบคุมแบบย้อนกลับ (Feedback control) เนื่องจากมีการ
ประเมินผลการดำเนินงานหลังจากได้ปฏิบัติงานไปแล้ว เพื่อที่จะได้ทราบว่าได้ผลเป็นไปตามแผนที่วางไว้
หรือไม่

You might also like