You are on page 1of 10

เอกสารเผยแพร ภาคอุตสาหกรรม

หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration)

หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม
(Energy Management)

ชุดการจัดแสดงที่ 28
ระบบผลิตพลังงานรวม
(Cogeneration)

1. หลักการของเทคโนโลยี

ระบบผลิตพลังงานรวม หรือระบบโคเจนเนอเรชัน (Cogeneration) คือ ระบบที่ใหกําเนิด


พลั ง งานไฟฟ า หรื อ พลั ง งานกล และมี ก ารใช ป ระโยชน จ ากพลั ง งานความร อ นควบคู ไ ปด ว ยใน
ขณะเดียวกัน โดยอาศัยเชื้อเพลิงแหลงเดียวกัน ประสิทธิภาพของระบบผลิตพลังงานความรอนรวมนั้น
สูงถึง 80% เมื่อเทียบกับระบบผลิตไฟฟาอยางเดียวที่มีประสิทธิภาพเพียง 40% เทานั้นเนื่องจาก
พลังงานความรอนที่เหลือจากการผลิตไฟฟาจะถูกปลอยทิ้งใหกับบรรยากาศโดยไมไดนําไปใชงาน ภาพ
ความแตกตางระหวางการใชพลังงานแบบทั่วไปและแบบพลังงานความรอนรวม แสดงดังรูปที่ 1 และ รูป
ที่ 2 ตอไปนี้
โรงงาน
ไฟฟาที่ซี้อ (Eb)
ผลผลิต (P)
ไอน้ํา (S)
เชื้อเพลิง (F) กระบวนการผลิต

หมอไอน้ํา

รูปที่ 1 การใชพลังงานแบบทั่วไปของโรงงานอุตสาหกรรม

ชุดการจัดแสดงที่ 28 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration) หนา 1 จาก 10


เอกสารเผยแพร ภาคอุตสาหกรรม
หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration)

รูปที่ 2 การใชพลังงานแบบระบบผลิตพลังงานรวม

ระบบผลิตพลังงานรวมที่ใชงานอยูในปจจุบันสามารถผลิตพลังงานกลเพื่อใชขับเคลื่อนเครื่อง
กําเนิดไฟฟาไดจากเครื่องตนกําลัง 3 ชนิด คือ
1) ระบบกังหันไอน้ํา (Steam turbine)
2) ระบบกังหันกาซ (Gas turbine)
3) ระบบเครื่องยนตสันดาปภายใน (Internal combustion engine)

1) ระบบผลิตพลังงานรวมชนิดกังหันไอน้ํา

ระบบชนิดนี้ประกอบดวย หมอไอน้ํา เครื่องกังหันไอน้ํา โดยใชเชื้อเพลิงเหลว กาซหรือเชื้อเพลิง


แข็ง หลักการทํางานคือ เชื้อเพลิงจะถูกปอนเขาสูหองเผาไหมเพื่อใหความรอนแกน้ําในหมอไอน้ํา ซึ่งได
ไอน้ํายวดยิ่ง (Superheat steam) ที่อุณหภูมิและความดันสูง ไอน้ําจะไปขับเครื่องกังหันไอน้ําไดกําลัง
งานที่เพลา ซึ่งสามารถนําไปขับเครื่องมือกลตางๆ เชน ปม คอมเพรสเซอร หรือเปลี่ยนรูปเปนไฟฟาโดย
นําไปขับเครื่องกําเนิดไฟฟา สวนไอน้ําที่ออกจากเครื่องสามารถนําไปใชในกระบวนการผลิตตอไป

ระบบผลิตพลังงานรวมชนิดกังหันไอน้ํานี้ หากพิจารณาตามชนิดของเครื่องกังหัน จะมีอยู 2


ชนิด คือ กังหันชนิด back pressure และกังหันชนิด extraction ซึ่งหลักการทํางานแตกตางกัน ตรงที่
กังหันชนิด back pressure ไอน้ําที่ผานกังหันไอน้ําจะถูกปลอยออกจากตัวกังหัน และมีความดันเหลืออยู
ประมาณ 3-20 บาร สามารถนําไปใชในกระบวนการผลิตตอไปได สวนกังหันชนิด extraction ไอน้ํา
บางสวนถูกปลอยออกมาในชวงกลางของกังหัน และไอน้ําที่ปลอยออกมานี้จะมีความดันหลายขนาดให
เลือกตามความเหมาะสมกับจุดใดจุดหนึ่งของกระบวนการผลิต ไอน้ําที่เหลือจะถูกปลอยใหขยายตัวผาน
กังหัน เพื่อผลิตไฟฟาจนมีความดันต่ําแลวจึงออกจากกังหัน

ชุดการจัดแสดงที่ 28 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration) หนา 2 จาก 10


เอกสารเผยแพร ภาคอุตสาหกรรม
หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration)

รูปที่ 3 กังหันไอน้ํา

รูปที่ 4 ระบบผลิตพลังงานรวมชนิดกังหันไอน้ํา

2) ระบบผลิตพลังงานรวมชนิดกังหันกาซ

มี ห ลั ก การทํ า งานคื อ คอมเพรสเซอร จ ะอั ด อากาศจากภายนอก และนํ า เข า สู ห อ งเผาไหม


เชื้อเพลิงจะถูกฉีดเขามาผสมกับอากาศและจุดระเบิด เกิดกาซรอนจากการเผาไหมขึ้น ซึ่งจะไปขยายตัว
ผานเครื่องกังหันกาซ ทําใหกังหันกาซหมุน แกนของเครื่องกังหันกาซจะตอไปขับเครื่องกําเนิดไฟฟาเพื่อ
ผลิตกระแสไฟฟา สวนกาซรอนที่ปลอยจากกังหันกาซจะมีอุณหภูมิประมาณ 450-550 องศาเซลเซียส
กาซรอนนี้สามารถนําไปใชเปนแหลงใหความรอน โดยใชอุปกรณเสริมคือ waste heat boiler เพื่อผลิตไอ
น้ําที่ความดันต่ําๆ หรือนําไปใชในกระบวนการผลิตโดยตรง

ชุดการจัดแสดงที่ 28 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration) หนา 3 จาก 10


เอกสารเผยแพร ภาคอุตสาหกรรม
หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration)

รูปที่ 5 กังหันกาซ

รูปที่ 6 ระบบผลิตพลังงานรวมชนิดกังหันกาซ

3) ระบบผลิตพลังงานรวมชนิดเครื่องยนตสันดาปภายใน

ระบบนี้ ส ามารถแบ ง ได ต ามประเภทเครื่ อ งยนต เ ป น 2 ชนิ ด คื อ เครื่ อ งยนต spark-ignition


engines จะใชเชื้อเพลิงเหลวหรือกาซธรรมชาติเปนเชื้อเพลิง และเครื่องยนต compression-ignition
engines จะใชน้ํามันดีเซลหรือน้ํามันเตาเปนเชื้อเพลิง พลังงานที่ผลิตไดอยูในชวง 100 kW ถึง 10 MW
พลังงานความรอนที่ออกมาอยูในรูปของกาซไอเสีย น้ําหลอเย็นเสื้อสูบและน้ํามันหลอลื่น ซึ่งการนํา
พลังงานความรอนไปใชอาจใชคูกับ waste heat boiler ในการผลิตไอน้ําหรือน้ํารอน

ชุดการจัดแสดงที่ 28 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration) หนา 4 จาก 10


เอกสารเผยแพร ภาคอุตสาหกรรม
หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration)

รูปที่ 7 เครื่องยนตสันดาปภายใน

รูปที่ 8 ระบบผลิตพลังงานรวมชนิดเครื่องยนตสันดาปภายใน

2. การประยุกตใชงานเทคโนโลยี

¾ สภาพที่เหมาะสมในการใชงาน

เทคโนโลยีระบบผลิตพลังงานรวมสามารถแบงลักษณะการทํางานเปน 2 รูปแบบ โดยพิจารณา


จากลําดับการนําพลังงานความรอนไปใชประโยชนวากอน หรือหลังการผลิตพลังงานกล ถาหากระบบ
ผลิตพลังงานกลกอนแลวนําพลังงานความรอนที่เหลือไปใชประโยชน แบบนี้จะเรียกวา “ระบบผลิต
พลังงานรวมแบบวัฏจักรบน (Topping cycle cogeneration) ” และในทางตรงกันขาม ถานําพลังงาน
ความรอนไปใชประโยชนกอนที่จะผลิตพลังงานไฟฟาหรือพลังงานกล เรียกวา “ระบบผลิตพลังงานรวม
แบบวัฏจักรลาง (Bottoming cycle cogeneration) ” ซึ่งความเหมาะสมของแตละรูปแบบนั้นขึ้นอยูกับ
ประเภทอุตสาหกรรม โดยระบบผลิตพลังงานรวมแบบวัฏจักรบนเหมาะกับอุตสาหกรรมอาหาร กระดาษ
สิ่งทอและโรงกลั่นน้ํามัน สวนระบบผลิตพลังงานรวมแบบวัฏจักรลางเหมาะกับอุตสาหกรรมที่ตองใช

ชุดการจัดแสดงที่ 28 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration) หนา 5 จาก 10


เอกสารเผยแพร ภาคอุตสาหกรรม
หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration)

ความร อ นที่ มี อุ ณ หภู มิ แ ละความดั น สู ง เช น อุ ต สาหกรรมผลิ ต ซี เ มนต อุ ต สาหกรรมผลิ ต เหล็ ก


อุตสาหกรรมผลิตแกว และ อุตสาหกรรมเคมีศักยภาพการประหยัดพลังงาน

¾ กลุมเปาหมายการประยุกตใชเทคโนโลยี

ขอพิจารณาว าจะเลื อกใชร ะบบผลิต พลังงานรว มชนิ ดใดต องพิจารณาถึ งป จจั ยต างๆ ได แก
อัตราสวนความตองการความรอนตอไฟฟา (Heat to power ratio, H/P) ของสถานประกอบการนั้นกอน
เนื่องจากระบบผลิตพลังงานรวมจะทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่ออัตราสวน H/P ของระบบมีคา
ใกลเคียงกับคา H/P ของสถานประกอบการ ชนิดของเชื้อเพลิงที่หาได คุณภาพของพลังงานความรอนที่
ตองการ ลักษณะการใชความรอนและไฟฟาของโรงงานและเวลาการใชงาน ตนทุนการกอสราง และ
เงื่อนไขดานสิ่งแวดลอม เปนตน

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบระบบโคเจนเนอเรชันแบบตางๆ
กังหันไอน้ํา เครื่องยนต
รายละเอียด กังหันกาซ
(ชนิด back pressure) เผาไหมภายใน
ขนาดของระบบ 500 kW – 100 MW 500 kW – 100 MW 100 kW-10 MW
ประสิทธิภาพรวมของ
สูงสุด 80 % 55-75 % 50-80 %
ระบบ
Heat to Power Ratio 5-20 2-5 1-3
(H/P)
ไอน้ําอุณหภูมิสูงถึง 150 กาซรอน 450-550 น้ํารอน 50 % กาซรอนที่
ความรอนที่ออกจากระบบ
องศาเซลเซียส องศาเซลเซียส 450 องศาเซลเซียส 50%
กาซ ของเหลว ของแข็ง
เชื้อเพลิง กาซ เชื้อเพลิงเหลว กาซ เชื้อเพลิงเหลว
ขึ้นอยูกับ Boiler

ขอดีและขอเสียของระบบผลิตไฟฟาและความรอนรวม
ขอดี
ƒ ประหยัดพลังงาน สามารถลดการใชเชื้อเพลิงลง โดยการผลิตพลังงานดวยระบบผลิตพลังงาน
รวมมีประสิทธิภาพประมาณ 50-90% สามารถประหยัดเชื้อเพลิงลงได 10-30% ซึ่งเมื่อเทียบกับ
ระบบแยกผลิตในการผลิตความรอนโดยทั่วไป จะมีประสิทธิภาพประมาณ 75% และถาเปน
ระบบที่ผลิตไฟฟาอยางเดียว จะมีประสิทธิภาพเพียง 35%
ƒ เงินลงทุนเริ่มแรกของระบบผลิตพลังงานรวมต่ํากวาเงินลงทุนในการสรางโรงไฟฟาขนาดใหญ
มาก

ชุดการจัดแสดงที่ 28 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration) หนา 6 จาก 10


เอกสารเผยแพร ภาคอุตสาหกรรม
หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration)

ƒ ระบบผลิตพลังงานรวมชวยลด peak load ของการไฟฟา ทําใหชวยลดภาระของการไฟฟาใน


การกอสรางโรงไฟฟาขนาดใหญ

ขอเสีย
ƒ ระบบผลิตพลังงานรวมเปนระบบที่ยุงยากซับซอนตอการออกแบบติดตั้งและควบคุม จําเปนตอง
ใชผูที่มีความรูและประสบการณมาดําเนินงาน
ƒ ตนทุน คาติดตั้งและคาบํารุงรักษาคอนขางสูง
ƒ ถาติดตั้งระบบผลิตพลังงานรวมที่มีกําลังการผลิตไฟฟาหรือความรอนเกินความตองการใช อาจมี
ไอน้ําหรือไฟฟาเหลือ อาจเกิดความยุงยากในการจัดการกับพลังงานสวนเกินนี้

¾ ผลกระทบตอสิ่งแวดลอม

อาจเกิดขึ้นไดถาการบริหารจัดการทําไดไมดีพอ

3. กรณีศึกษา

3.1 บริษัท บางกอกโพลีเอสเตอร จํากัด

บริษัท บางกอกโพลีเอสเตอร จํากัด เริ่มกอสรางโรงงานที่ตําบลนิคมพัฒนา อําเภอนิคมพัฒนา


จ.ระยอง เมื่อเดือนมีนาคม 2539 และสามารถเริ่มกระบวนการผลิตไดในเดือนเมษายน 2541 รวมเปน
เวลา 2 ปพอดี ในขนาดพื้นที่ 72 ไร ใชเงินลงทุนประมาณ 3,000 ลานบาท

บริษัท บางกอกโพลีเอสเตอร จํากัด เปนบริษัทของคนไทย ที่ผลิตเม็ดพลาสติก ที่เรียกวา "PET"


ซึ่งใชในอุตสาหกรรมอาหารโดยเฉพาะ มีคุณสมบัติใส ไมมีกลิ่น น้ําหนักเบา นํามาใชใหมได และเหมาะ
สําหรับการทําภาชนะบรรจุน้ําดื่ม น้ําอัดลมชนิดตาง ๆ และภาชนะบรรจุของเหลวที่ใชสําหรับอุปโภค
บริโภค เช น น้ํามันพื ช น้ําปลา เปนต น ซึ่งจะดีกวาพลาสติกที่เ ห็นและใชกันอยูทั่ว ไป การผลิ ตเม็ด
พลาสติกดังกลาว บริษัทใชวัตถุดิบที่เรียกวา PTA และ MEG ซึ่งวัตถุดิบทั้งสองชนิดนี้ PTA จะนําเขา
จากตางประเทศเปนเพียงบางสวน และ MEG จะนําเขาจากตางประเทศทั้งหมด สําหรับเทคโนโลยีการ
ผลิตนั้น บริษัทใชเทคโนโลยีของ "ZIMMER" ซึ่งเปนเทคโนโลยีใหมลาสุด และเปนที่ยอมรับกันทั่วโลก
จากประเทศเยอรมั น โดยมี กํ า ลั ง ผลิ ต 300 ตั น ต อ วั น ซึ่ ง บริ ษั ท มี ต ลาดรองรั บ ทั้ ง ในประเทศ และ
ตางประเทศในแถบเอเชีย ยุโรป และอยูระหวางการสงไปจําหนายยังประเทศสหรัฐอเมริกา อีกดวย

ชุดการจัดแสดงที่ 28 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration) หนา 7 จาก 10


เอกสารเผยแพร ภาคอุตสาหกรรม
หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration)

บริษัทฯ เปนตัวอยางของการใชพลังงานจากกาซธรรมชาติ ดวยประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนํา


ระบบพลังงานรวม (COGENERATION) มาใชในการผลิตกระแสไฟฟาดวย GAS TURBINE พลังความ
รอนที่เหลือจากการทํางานของ GAS TURBINE ไมไดปลอยทิ้ง นําไปทําความรอนใหกับ HOT OIL เพื่อ
ปอนใหกระบวนการผลิต และที่เหลือกอนปลอยทิ้ง นําไปผลิตไอน้ําเพื่อใชกับระบบ ABSORPTION
CHILLER ซึ่งผลิตน้ําเย็น เพื่อใชในกระบวนการผลิตและระบบปรับอากาศทั่วไปของโรงงานอยาง
เพียงพอ โดยมีพลังงานสูญเสียปลอยทิ้งที่ปลอง (STACK) เพียงเล็กนอย กลาวคือ

• ผลิตกระแสไฟฟาได 6.4 เมกกะวัตต


• ผลิต HOT OIL ได 50 GJ/Hr
• ผลิตน้ําเย็นทีอ่ ุณหภูมิ 7 °C ปริมาณ 740 TON/Hr

ซึ่งระบบพลังงานรวม COGENERATION ของโรงงานมีประสิทธิภาพ ในการใชพลังงานจากกาซ


ธรรมชาติสูงกวา 80% โดยปกติถาใช GAS TURBINE ผลิตไฟฟาอยางเดียว มีประสิทธิภาพในการใช
กาซไมเกิน 33%

รูปที่ 9 แผนภาพการใชประโยชนจากกาซธรรมชาติ ดวยระบบพลังงานรวม

จากการดําเนินการของบริษัทดังกลาวขางตน นับวาเปนบริษัทของคนไทยที่ประสบความสําเร็จ
เปนอยางมากบริษัทหนึ่ง และที่สําคัญบริษัทไดนําระบบคุณภาพ มาใชเปนพื้นฐานหลักในการแขงขัน
และเพื่อการสงออก จึงทําใหบริษัทไดรับการรับรองจาก "FOOD AND DRUG ASSOCIATION" (FDA)
ซึ่งจะเปนสิ่งยืนยันความสําเร็จใหกับบริษัทไดเปนอยางดี

ชุดการจัดแสดงที่ 28 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration) หนา 8 จาก 10


เอกสารเผยแพร ภาคอุตสาหกรรม
หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration)

3.2 บริษัท ฝาจีบ จํากัด (มหาชน)

บริ ษั ท ฝาจี บ จํ า กั ด (มหาชน) เริ่ ม ก อ ตั้ ง และสร า งโรงงานแห ง แรกที่ เขตหลั ก สี่ (ตรงข า ม
องคการโทรศั พท ) กรุ ง เทพ ในป 2511 และโรงงานแหงที่สอง ที่ ต.ประชาธิ ป ต ย จ.ปทุ มธานี รวม
ระยะเวลาจนถึงปจจุบัน 29 ป โดยมี คุณประมุท บุรณศิริ เปนกรรมการผูจัดการใหญ 29 ป แหงความ
มุงมั่นพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ และคุณภาพอยางตอเนื่อง โดยเริ่มจากผลิตภัณฑ ฝาจีบ (Crown Cap) และ
ขยายไลนการผลิตอยางตอเนื่อง ในปจจุบันผลิตภัณฑของบริษัทฯ ครอบคลุมทั้งฝาเกลียวกันปลอม
(Pilfer Proof Cap) ฝาวงแหวนแมกซี่คราวน (Maxi Crown) ฝาวงแหวนแมกซี่ พี (Maxi P) ฝาวงแหวน
แมกซี่ แคป (Maxi Cap) ฝาพลาสติก (Plastic Cap) ฝากระปองชนิดดึงเปด (Ring Pull) ฝากระปองชนิด
Stay on Tab กระปองสองและสามชิ้น (2&3 Pieces Can) ซึ่งจากการพัฒนาทั้งคุณภาพ ผลิตภัณฑ และ
บริการอยางตอเนื่องนั้น บริษัทฯ ไดนําระบบคุณภาพ ISO 9000 มาใชและไดรับการรับรองมาตรฐาน
มาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 9000 ในป 2540

จากการคํานึงถึงปญหาตนทุนดานพลังงานไฟฟาซึ่งมีแนวโนมสูงขึ้น อันเนื่องมาจาก การปรับ


โครงสรางการคิดคาไฟฟา แนวโนมเครื่องจักรที่ใชในการผลิต สําหรับผลิตภัณฑใหม ๆ เปนเครื่องจักรที่
ใชเทคโนโลยีสูง และจะตองอยูในหองที่ควบคุมอุณหภูมิ สภาพอากาศที่รอน ซึ่งจะทําใหประสิทธิภาพ
การทํางานของพนักงานลดลง ซึ่งการใชเครื่องปรับอากาศ เพื่อรองรับความตองการเหลานี้ จะทําให
สูญเสียตนทุนดานพลังงานไฟฟาสูงมาก ดังนั้นทางบริษัทฯ จึงศึกษา และลงทุนจัดตั้งโรงงานพลังงาน
ไฟฟา และความรอนรวม โดยใชกาซธรรมชาติของ ปตท. ซึ่งมีแนวทอกาซอยูในบริเวณโรงงานอยูแลว
และไดเริ่มดําเนินการผลิต/จายกระแสไฟฟาและน้ําเย็น ในปลายป 2539

โครงการ Co-Generation Plant ผลิตไฟฟาและความรอน โดยใชชุดเครื่องยนต และเครื่อง


กําเนิดไฟฟา (Gas Generating Set) ซึ่งประกอบดวย Gas Engine และ Alternator ซึ่งใชกาซธรรมชาติ
เปนเชื้อเพลิงจํานวน 3 ชุด ใหพลังงานไฟฟาสูงสุด 6 MW และนําความรอนจากไอเสีย (Exhaust Gas)
ที่ไดจากการเดินเครื่องยนตกาซ (Gas Engine) ไปใชในการผลิตไอน้ํา โดยเขาชุดทําไอน้ํา (Exhaust
Boiler) ซึ่งจะไดปริมาณไอน้ํารวม 4,783 Kg/h ที่อุณหภูมิ 171° C เขาชุดเครื่องทําความเย็นแบบดูดซับ
(Absorption Chiller) ซึ่งจะไดน้ําเย็นรวม 1,080 USRT ที่อุณหภูมิ 7°C เพื่อใชในหลอเย็นเครื่องจักรและ
ระบบปรับอากาศภายในโรงงาน

ชุดการจัดแสดงที่ 28 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration) หนา 9 จาก 10


เอกสารเผยแพร ภาคอุตสาหกรรม
หมวดที่ 9 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration)

รูปที่ 10 ระบบผลิตพลังงานรวมแบบใชเครื่องยนตของบริษัทฝาจีบ

ปจจุบันทางบริษัทฯ ไดดําเนินการ จัดการ และปรับปรุงการผลิตกระแสไฟฟา และน้ําเย็นอยู


ตลอดเวลา โดยมีเ ปาหมาย เพื่อใหการใชพลังงานไฟฟาภายในโรงงานเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ
ประหยัด และคุมคา ซึ่งจะสงผลทั้งตนทุนการผลิตในดานพลังงานของบริษัทฯ ลดลง และเปนการรวม
สงเสริม และสนับสนุนการประหยัด การใชพลังงานของทางรัฐบาลอีกทางหนึ่ง

ชุดการจัดแสดงที่ 28 : ระบบผลิตพลังงานรวม (Cogeneration) หนา 10 จาก 10

You might also like