You are on page 1of 15

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมบัติทางเสียงของวัสดุ

Study of Factor Effeuting to Aoustic Properties

ทรงพล สระแสงตา

โครงร่างปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พ.ศ.2566
ลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
โครงร่างปริญญานิพน : การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมบัติทางเสียงของ
ชื่อนักศึกษา : นายทรงพล สระแสงตา
หลักสูตร : วิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
สาขา : วิศวกรรมเครื่องกล
คณะ : วิศวกรรมศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัตร มูลปา

สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา อนุมัติ


ให้โครงร่างปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา
วิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ วิชาเอกวิศวกรรมเกษตร

……………………………………… หัวหน้าสาขาวิศวกรรมเครื่องกล
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมาน ดาวเวียงกัน)

คณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์

................................................... ประธานกรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ รท.ดร.ณัฐรัตน์ ปาณานนท์)
................................................... กรรมการ
(อาจารย์ กริชเพ็ชร์ กลัดเนียม)
................................................... กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษา
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัตร มูลปา)
1.ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันการนำวัสดุมาใช้ในโครงงานวิศวกรรมการออกแบบด้านเสียงจำเป็นต้องมีการทดสอบ
สมบัติทางเสียง เนื่องจากเป็นค่าคงที่ของสมการธรรมนูญที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม ได้แก่ ค่า
สัมประสิทธิ์การดูดซับ ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนเสียง ค่าสัมประสิทธิ์ความดัน เสียงที่ตกกระทบ และค่า
สัมประสิทธิ์ความดันเสียงที่สะท้อนกลับ ค่าการสูญเสียการส่งผ่านเสียง โดยคุณสมบัติทางเสียงที่สำคัญ
และใช้งานอย่างแพร่หลายคือค่าสัมประสิทธิ์การการดูดซับเสียงของวัสดุ และค่าการสูญเสียการส่งผ่าน
เสียง
การสูญเสียการส่งผ่านเสีย งหรือการลดลงของพลังงานเสียงเมื่อผ่านสิ่งกีดขวางโดยทั่วไปการ
สูญเสียการส่งผ่านเสียงจะคำนวณจากแตกต่างของระดับความดังของเสียงระหว่างด้านหน้าของพื้นที่ใกล้
กับแหล่งกำเนิดเสียงและด้านหลัง เมื่อเสียงในอากาศกระทบกับ วัสดุ พลังงานเสียงบางส่วนจะสะท้อน
กลับพลังงานบางส่วนจะถูกดูดซับภายในผนังโครงสร้างและพลังงานบางส่วนจะถูกส่งผ่านวัสดุ โดยที่เสียง
การดูดซับคือการเปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นพลังงานรูปแบบอื่นโดยปกติคือความร้อน ประสิทธิภาพของ
ฉนวนกันเสียงของวัสดุฉนวนกันเสียงขึ้นอยู่กับความหนา ความหนาแน่น
โครงงานนี้เป็นการศึกษา การสูญเสียการส่งผ่านเสีย งของวัสดุและทดสอบคุณสมบัติทางเสียง
ของวัสดุโดยใช้ท่ออิมพีแดนซ์ (Impedance Tube) ร่วมกับการ์ดรับส่งข้อมูล (Data Acquisition) โดย
วิธีการดำเนินงานโครงงานจะเป็นการศึกษามาตรฐานการทดสอบ การเปรียบเทียบผลการทดสอบวัสดุ
ตามมาตรฐาน การทดสอบคุณสมบัติทางเสียงของวัสดุ โดยวิธีการทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุเป็นไป
ตามมาตรฐาน ASTM E2611-09 เพื่อให้การทดสอบคุณสมบัติทางเสียงของวัสดุมีความถูกต้อง

2.วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2.1 เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้กับท่ออิมพิแดนซ์
2.2 เพื่อทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุหาค่าการสูญเสียการส่งผ่าน

3.ขอบเขตของโครงงาน
3.1 ทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุในช่วงความถี่ตั้งแต่ 100 Hz ถึง 1600 Hz
3.2 หาค่าการสูญเสียการส่งผ่านเสียง
3.3 ทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุตามมาตรฐาน ASTM E2611-09
4.ทฤษฎี งานวิจัย หรือโครงงาน ที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทฤษฎี งานวิจัย หรือโครงงาน ที่เกี่ยวข้องการทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุ
เกษตรโดยใช้ท่ออิมพีแดนซ์ จำเป็นต้องศึกษาและหาองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียด
ดังน
4.1 ทฤษฎี
4.1.1 ทฤษฎีมูลฐานของเสียง (Fundamentals of Sound)
คลื่นเสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียงซับซ้อนที่เกิดจากการรวมกันของคลื่นเสียงหลายความถี่และ
หลายระดับความดัน ซึ่งสามารถอธิบายเป็นสมการคณิตศาสตร์ให้เข้าใจได้ง่ายในรูปแบบของฟังก์ชัน ไซน์
เช่น เมื่อเคาะส้อมเสียงจะเกิดการเคลื่อนที่หรือการสั่นสะเทือนของโมเลกุลอากาศอันเนื่ องมาจากการ
เปลี่ยนแปลงความดัน บรรยากาศ โดยรอบ มีลักษณะเป็นส่วนอัดส่วนขยาย เรียกว่า ความดันเสียง
เคลื่อนที่ผ่านโมเลกุลของตัวกลางไปขังจุดรับเสียง พารามิเตอร์ทางฟิสิกส์ที่สำคัญที่จะอธิบายธรรมชาติ
ของการสั่นของโมเลกุลอากาศ การเปลี่ยนแปลงความดัน อากาศหรือการเคลื่ อนที่ของคลื่นเสีย งใน
ตัวกลางคือ ความถี่เสียง และความขาวคลื่นเสียง ซึ่งเกี่ยวข้องกับอัตราเร็วเสียงในอากาศ ทิศทางการแผ่
กระจายของเสียง และเวลาที่เสียงเดินทางจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้รับเสียง แต่ในการศึกษาเกี่ยวกับคลื่น
เสียง นิยมวัคการเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศ ซึ่งสะดวกกว่าวัดการกระจัดของอนุภาคอากาศ เมื่อมี
คลื่นเสียงเดินทางผ่าน สำหรับคลื่นเสียงที่ 1,000 เฮิรตซ์ ซึ่งทำให้เกิดเสียงดังที่สุดที่หูคนเราจะรับฟัง ได้
โดยไม่เป็นอันตรายต่อเชื่อแก้วหู การวัดการเปลี่ยนแปลงการกระจัดของอนุภาคอากาศเมื่อมีคลื่นเสียงเดิน
ทางผ่านนั้นจึงทำได้ยากมาก ดังนั้น สมการทางคณิตศาสตร์สำหรับคลื่นเสียง จึงนิยมเขียนในรูปของการ
เปลี่ยนแปลงความดันอากาศคลื่นของความดัน (Pressure wave) ที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นฟังค์ชันของ
โคไซน์
4.1.2 การเคลื่อนที่ของคลื่น (Wave motion)
คลื่นสั่นสะเทือนเกิดขึ้นเมื่อมีการถูกรบกวนของอนุภาคทำให้อนุภาคมีการเปลี่ยนแปลงแบบ
ยืดหยุ่น เช่น เมื่อมีคลื่น กระแทกเกิดขึ้นอนุภ าคในบริเวณที่ถูกกระแทกหรือถู กรบกวนจะเกิ ด การ
เปลี่ยนแปลงแต่อนุภาคไม่ได้เคลื่อนที่ ไปกับคลื่นมีเพียงพลังงานที่ถูกถ่ายทอดหรือเคลื่อนที่ออกไป การ
เปลี่ยนแปลงของอนุภาคสามารถกลับคืนสู่รูปเดิมได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นเมื่อคลื่นเคลื่อนผ่าน
ไปการเคลื่อนที่ของวัตถุเราใช้กฎข้อสองของนิวตัน (Newton's second law) มาคำนวณเชิงปริมาณของ
การเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของคลื่นก็เช่นเดียวกันซึ่งเราเริ่มจากฎข้อที่สองของนิวตันดังนั้น เราจึงต้องหา
สมการการเคลื่อนที่ของคลื่นในเบื้องต้นซึ่งในที่นี้จะแสดงทั้งหนึ่งมิติ
รูปที่ 1 ส่วนประกอบของคลื่นและลักษณะการอัด

คลื่นเสียงที่เดินทางในอากาศเกิดจากการส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนจากต้นกำเนิดเสียงสู่โมเลกุลใน
อากาศ ทำให้อากาศเกิดการเคลื่อนที่ในลักษณะคลื่น หรือที่เรียกว่าการเคลื่อนที่ของคลื่นโดยในการ
เคลื่อนที่ของคลื่นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วง
ช่วงบีบอัด (Compression) คือช่วงที่อนุภาคของโมเลกุลในอากาศเคลื่อนที่มาใกล้กัน ตาม
ความยาวของช่วงคลื่น
ช่วงขยาย (Rarefaction) คือช่วงที่อนุภาคของโมเลกุลในอากาศเคลื่อนที่ออกห่างจากกันตาม
ความยาวของช่วงคลื่น
นอกจากนี้คลื่นยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีก คือ
สันคลื่น (Crest) คือส่วนบนสุดของคลื่น
ท้องคลื่น (Trough) คือส่วนต่ำสุดของคลื่น
ความถี่ของคลื่น (Frequency) คือจำนวนคลื่นที่วิ่งผ่านจุด ๆ หนึ่งในเวลา 1 วินาที ใช้ สัญลักษณ์
ƒ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที(cycle/second) หรือ เฮิรตซ์ (Hertz, Hz.)
คาบ (Period) คือช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งหนึ่ง ๆ ไปได้จนครบหนึ่งลูกคลื่น ใช้
สัญลักษณ์ t แทน มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (second/cycle)
รูปที่ 2 (ก) ลักษณะของคลื่นระยะทางของคลื่นกับความกว้าง
(ข) ความสัมพันธ์เวลากับความกว้างของคลื่น
4.1.3 ความเร็วของเสียง
ความเร็วของเสียงในอากาศเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ค่าความเร็วของเสียงจะเป็น คำนวณ
จากอุณหภูมิที่วัดได้จาก
c = 20.047√273.15 + 𝑇 (1)
𝑐 คือ ความเร็วของเสียง m/s และ
𝑇 คือ อุณหภูมิห้อง ° C.

ความหนาแน่นอากาศ
𝑃 273.15
𝜌 = 1.290 ( ) (273.151(𝑇)) (2)
101.325
𝜌 = ความหนาแน่นของอากาศ gm/cm3
𝑃 = ความกดอากาศ Pa

4.1.4 การกระจายตัวของพลังงานเสียง
พลังงานบางส่วนสูญเสียไปจากการกระจายของคลื่นเสียงในวัสดุที่มีการโค้งงอของเส้นใย การ
สั่นสะเทือนของโครงสร้าง เมื่อคลื่นเสียงผ่านพยายามบีบอัดและขยายโครงสร้าง ถ้าโมดูลัสของแรงบีบอัด
เพียงพอ ก็จะดูดซับพลังงานคลื่นเสียงตามยาวบางส่วนในรูปของความร้อนในกระบวนการขยายตัว
4.1.5 การเปลี่ยนรูปของพลังงาน
เมื่อคลื่นเสียงเดินทางจากอากาศไปตกกระทบผนังคอนกรีตที่ปิดทับด้วยวัสดุดูคซับเสียง จะ
เกิดการสะท้อนครั้งแรกที่ผิวของวัสดุที่ปิดทับ โดยเสียงส่วนหนึ่งสะท้อนกลับมาในตัวกลางเดิม และเกิด
พลังงานความร้อนในอากาศจำนวนมากที่ความถี่สูงกว่าความถี่ที่มนุษ ย์ได้ยิน เสียงบางส่วนเดินทางผ่าน
วัสดุดุดซับเสียงซึ่งจะเกิดการหักเห ลงล่างเพราะวัสดุดูดซับเสียงมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ พลังงาน
ความร้อนที่เกิดขึ้นเกิดจากแรงต้านการเสียดสีของอนุภาคอากาศที่สั่นภายในเนื้อวัสดุดูดชับเสียง เมื่อคลื่น
เสียงส่วนที่เหลือกระทบผนังคอนกรีต เสียงส่วนหนึ่งสะท้อนกลับมาในตัวกลางเดิม คลื่นเสียงส่วนที่เหลือ
จะเกิดการหักเหลงล่างภายในผนังคอนกรีตซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าแผ่นดูดชับเสียง และเกิดพลังงาน
ความร้อนภายในผนังคอนกรีตในการตกกระทบครั้งสุดท้ายที่รอยต่อระหว่างผนังคอนกรีตกับอากาศเกิด
เสียงสะท้อนกลับและบางส่วนหักเหไปยังตัวกลางอากาศ โดยเกิดพลังงานความร้อนขึ้นในทั้งสามตัวกลาง
ดังภาพที่ 3 คลื่นเสียง ในรูปเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง ทุกครั้งที่เกิดการหักเหและเดินทางผ่าน
อากาศหรือวัสดุดูดซับเสียงนั้น พลังงานเสียงบางส่วนจะเกิดการเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานความร้อน

รูปที่ 3 คลื่นเสียงตกกระทบวัสดุดูดซับเสียงที่ปิดทับผนังคอนกรีต
ที่มา : (Everest, 2006)

4.2 การหาค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านของเสียงในท่ออิมพีแดนซ์
เมื่อคลื่นเสียงเดินทางจากอากาศไปตกกระทบตัวกลาง พลังงานบางส่วนจะสะท้อนออกมา
เสียงบางส่วนเดินทางผ่านวัสดุซึ่งจะเกิดการหักเห หากมีการสะท้อนออกมาจากวัสดุที่ เสียงตกกระทบ
ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนเสียง ค่าสัมประสิทธิ์ความดันเสียงที่ตกกระทบ และค่าสัมประสิทธิ์ความ
ดันเสียงที่สะท้อนกลับ หากเสียงเดินทางผ่านวัสดุที่เป็นตัวกลางจากอีกด้านไปยังอีกด้านก็คือ ค่าการ
สูญเสียการส่งผ่านเสียง
รูปที่ 4 แผนภาพตัดของหลอดวัดอิมพีแดนซ์
ที่มา : Sung Soo Jung, Yong Tae Kim and Yong Bong Lee. (2551)

การเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงในท่ออิมพีแดนซ์จากแหล่งกำเนิด

𝐻1,𝑟𝑒𝑓 𝑒 −𝑗𝑘𝑙1 −𝐻2,𝑟𝑒𝑓 𝑒 −𝑗𝑘(𝑙1 +𝑠1 )


𝐴=𝑗 (3)
2𝑠𝑖𝑛𝑘𝑠1
𝐻2,𝑟𝑒𝑓 𝑒 𝑗𝑘(𝑙1 +𝑠1 ) −𝐻 𝑗𝑘𝑙1
1,𝑟𝑒𝑓 𝑒
𝐵=𝑗 (4)
2𝑠𝑖𝑛𝑘𝑠1
𝐻3,𝑟𝑒𝑓 𝑒 𝑗𝑘(𝑙2 +𝑠2 ) −𝐻4,𝑟𝑒𝑓 𝑒 𝑗𝑘𝑙2
𝐶=𝑗 (5)
2𝑠𝑖𝑛𝑘𝑠2
𝐻4,𝑟𝑒𝑓 𝑒 −𝑗𝑘𝑙2 −𝐻3,𝑟𝑒𝑓 𝑒 −𝑗𝑘(𝑙2 +𝑠2 )
𝐷=𝑗 (6)
2𝑠𝑖𝑛𝑘𝑠2

โดย
A คือ คลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิด
B คือ คลื่นเสียงที่ตกกระทบพื้นผิวและคลื่นเสียงที่สะท้อน
C คือ คลื่นเสียงที่เคลื่นที่ผ่านไปยังอีกด้านของวัสดุ
D คือ คลื่นเสียงที่เคลื่อนที่ผ่านวัสดุและเกิดการสะท้อน
l คือ ระยะห่างระหว่างวัสดุทดสอบกับไมโครโฟน
s คือ ระยะห่างระหว่างไมโครโฟน
H คือ ฟังก์ชั่นการถ่ายโอน
d คือ ความหนาของวัสดุ
ความดันเสียงและความเร็วของอนุภาคที่ทางเข้าและทางออกของชิ้นทดสอบที่อยู่ในท่ออิมพีแดนซ์

𝑝0 = 𝐴 + 𝐵 𝑃𝑑 = 𝐶𝑒 −𝑗𝑘𝑑 + 𝐷𝑒 𝑗𝑘𝑑
(7)
(𝐴−𝐵) (𝐶𝑒 −𝑗𝑘𝑑 −𝐷𝑒 𝑗𝑘𝑑 )
𝑢0 = 𝑢𝑑 =
𝜌𝑐 𝜌𝑐

เมทริกซ์การถ่ายโอนของไมโครโฟน
2
𝑝𝑑 𝑢𝑑 +𝑝0 𝑢0 𝑝02 −𝑝𝑑
𝑝0 𝑢𝑑 +𝑝𝑑 𝑢0 𝑝0 𝑢𝑑 +𝑝𝑑 𝑢0
T=[ 2 ] (8)
𝑢02 −𝑢𝑑 𝑝𝑑 𝑢𝑑 +𝑝0 𝑢0
𝑝0 𝑢𝑑 +𝑝𝑑 𝑢0 𝑝0 𝑢𝑑 +𝑝𝑑 𝑢0

การคำนวณคุณสมบัติทางเสียงสัมประสิทธิ์การส่งผ่านเสียงจากเมทริกซ์การถ่ายโอนของไมโครโฟน
2𝑒 𝑗𝑘𝑑
𝑡= 𝑇 12 +𝜌𝑐𝑇 +𝑇
(9)
𝑇11 + 𝜌𝑐 21 22

𝑡 คือ สัมประสิทธิ์การส่งผ่านเสียง
คาการสูญเสียพลังงานเสียงขณะสงผาน
1
𝑇𝐿𝑛 = 20log10 | | (10)
𝑡
4.2 เอกสารและบทความที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน

Sung Soo Jung, Yong Tae Kim and Yong Bong Lee. (2551) [1] การวัดการสูญเสียการ
ส่งผ่านเสียงโดยใช้ท่ออิมพีแดนซ์ วัดการสูญเสียการส่งผ่านเสียงของวัสดุดูดซับเสียงหลายชนิดโดยใช้
หลอดอิมพีแดนซ์และนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่คำนวณได้ทางทฤษฎี ระบบท่ออิมพีแดนซ์ ออกแบบมา
สำหรับการทดสอบประกอบด้วยท่ออิมพีแดนซ์ ไมโครโฟน ลำโฟน วิธีการถ่ายโอนฟังก์ชันและการ
วิเคราะห์เมทริกซ์ ถูกนำมาใช้ในการวัดและคำนวณการสูญเสียการส่งสัญญาณเสียง
ดาริกา จาเอาะ,อาบีดีน ดะแซสาเมาะ (2556) [2] วัสดุดูดซับเสียงจากน้ำยางธรรมชาติผสมใย
มะพร้าว ในปริมาณ 0, 10 และ 20 ส่วน ในยางร้อยส่วน (per hundred rubber : hr) ถูกเตรียมขึ้นเป็น
ชิ้นทคสอบที่มีความหนา 1, 2, 3, 4 และ 5 เซนติเมตร พบว่า ความหนาแน่นสัมพัทธ์มีค่าลงลงในลักษณะ
เชิงเส้น เมื่อปริมาณใยมะพร้าวที่ผสมในแผ่นดูดชับเสียงเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการดูดซับ
เสียงของวัสดุและเมื่อนำมาทดสอบสัมประสิทธิ์การดูดซับเสี ยงที่ความถี่ต่าง ๆ ค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับ
เสียงสูงขึ้นตามความหนาและปริมาณไขมะพร้าว โดยชื้นทสอบที่มีความหนา 1 - 3 เซนดิเมตร จะสามารถ
ดูดซับเสียงได้ดีที่ความถี่ 2,000 H2 และเมื่อความหนาของขึ้นทคสอบมีขนาดเป็น 4 – 5 เซนติเมตร จะ
ดูดชับเสียงได้ดีที่ความถี่ 1,000 H2 แผ่นดูดซับเสียงจากน้ำยางธรรมชาติผสมใขมะพร้าวมีความสามารถ
ในการดูดซับเสียงความถี่ต่ำได้น้อยและมีค่าใกล้เคียงกันในทุกอัตราส่วนการผสม แต่สามารถดูดซับเสียงได้
ดี ที่ความถี่ ตั้งแต่ 1,000 H2 ขึ้นไป โดยที่ความถี่ 1,000 H2 แผ่นดูดซับเสียงจากน้ำขางธรรมชาติผสมใข
มะพร้าวในปริมาณ 20 phr ความหนา 5 เซนติเมตรให้ค่าสัมประสิทธิ์การดูดชับเสียงสูงสุดเท่ากับ 0.75 ที่
ความถี่ 2,000 แผ่นดูคซับเสียงที่ผสมใขมะพร้าวปริมาณ 10 phr ความหนา 1 เซนติเมตร และความถี่
4,000 H2 แผ่นดูดซับเสียงที่ผสมใขมะพร้าวปริมาณ 20 phr ความหนา 1 เซนติเมตร มีค่าสัมประสิทธิ์
การคูคซับเสียงสูงสุดเท่ากับ 0.77 และ0.75 ตามลำดับ
อาทิตย์ชัย ตานะเป็ง (2565) [3] การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบการวัดของท่ออิมพีแดนซ์
สำหรับการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียงของวัสดุ ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์แมตแล็บในการพัฒนา
และ อ้างอิงวิธีการทดสอบวัสดุตามมาตรฐาน ASTM E1050-12 จากนั้นนำมาทดสอบกับวัสดุมาตรฐาน
และ วัสดุจีโอพอลีเมอร์เพื่อเปรี ยบเทียบแนวโน้มของซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นและซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ผล
การ ทดสอบของวัสดุมาตรฐานและวัสดุจีโอพอลิเมอร์โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นและซอฟต์แวร์เชิง
พาณิชย์ ทดสอบ มีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน
วสันต์ สันต์บุรุษ (2562) [4] ได้ศึกษาการออกแบบและพัฒนาระบบทดสอบมาตรฐาน ISO
10534-2 เพื่อหาหาคุณสมบัติทางเสียงของวัสดุโดยใช้โมดูลเก็บข้อมูลประสิทธิภาพสูงในการประมวลผล
ข้อมูลสัญญาณเสียงในย่านความถี่ที่เราต้องการด้วยขั้นตอนวิธีในการเรียนรู้ทางจักรกลของตัวกรองแบบ
ปรับตัวได้แบบกำลังสองเฉลี่ยน้อยสุด ผลการทดลองพบว่าระบบที่ได้พัฒนาขึ้นมาโดยใช้ตัว กรองแบบ
ปรับตัวสามารถระบุเอกลักษณ์ของระบบทดสอบคุณสมบัติทางเสียงของวัสดุและสามารถหาผลตอบสนอง
ทางเสียงของวัสดุในช่วงความถี่ที่สนใจได้และมีค่าความถูกต้องใกล้เคียงกับค่าที่วัดได้จากเครื่องวัด
มาตรฐาน ISO 10534-2
นายบุรฉัตร วิริยะ (2554) [5] การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับเสียงของพืชแหง
เสนใยแกว การนําวัสดุซีเมนตผสมเสนใยแกวมาใชในการลดปญหาเสียงรบกวน จะนําวัสดุพืชแหงที่เหลือ
จากกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑทางการเกษตรมาประยุกตใชในรูปของ “วัสดุดูดซับเสียง” การศึกษา
เปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับเสียงของวัสดุพืชแหงและเสนใยแกว พืชแหงไดแกชานออยและกาบ
มะพราว, อัตราสวนนํ้าตอซีเมนต (W/C ratio) 0.5, 0.6, 0.7 และ0.8 ที่ความหนาแผนวัสดุ 5, 7.5, และ
10 เซนติเมตรโดยแสดงผลการทดลอง คาสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียง (α), คาสัมประสิทธิ์การลดลงของ
เสียง (NRC) และคาการสูญเสียพลังงานเสียงขณะสงผาน (TL)
ASTM E2611-09 (2552) [6] มาตรฐานทดสอบค่าอิมพีแดนซ์ สมบัติทางเสียงที่สำคัญอื่นๆ
มาตรฐานทดสอบ ASTM E2611-09 มีการอ้างอิงถึงมาตรฐานการทดสอบสมบัติทางเสียงอื่น ๆ เช่น
ASTM C634, ASTM E90 และ ISO 140-3 เป็นต้น โดยมาตรฐานทดสอบ ASTM E2611-09 กล่าวถึง
วิธีการทดสอบหาคาการสูญเสียพลังงานเสี ยงขณะสงผาน มาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ การคำนวณ
พารามิเตอร์ที่ต่างกัน เช่น ความเร็วเสียง และค่าคงที่การลดทอน เป็นต้น

5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
5.1 ซอฟต์แวร์สำหรับการทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์การสูญเสียพลังงานเสียงขณะสงผาน
5.2 ผลที่ได้จากการทดสอบเป็นค่าสัมประสิทธิ์การสูญเสียพลังงานเสียงขณะสงผาน
6. วิธีดำเนินโครงงาน
6.1 ศึกษาชุดอุปกรณ์ทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุ และวิธีการทดสอบตามมาตรฐานทดสอบ
ASTM E2611-09

รูปที่ 5 การติดตั้งอุปกรณ์ทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุ

6.1.1 ท่ออิมพีแดนซ์ (Impedance Tube) ประเภท 4206-T


ใช้สำหรับวัดพารามิเตอร์ทางเสียงของตัวอย่างทดสอบขนาดเล็ก รวมถึงค่าสัมประสิทธิ์การ
ดูดกลืน ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อน และอิมพีแดนซ์ปกติ ในช่วงความถี่ตั้งแต่ 100 Hz ถึง 1.6 kHz ซึ่งทำ
ได้โดยการวัดเหตุการณ์และสะท้อนส่วนประกอบของเสียงแบบสุ่ม ซึ่งสร้างขึ้นภายในท่ออิมพีแดนซ์โดย
แหล่งกำเนิดเสียง ส่วนประกอบที่สะท้อนกลับได้รับผลกระทบจากคุณสมบัติทางเสียงของตัวอย่างภายใต้
การทดสอบ

รูปที่ 6 ท่อวัดอิมพีแดนซ์ ประเภท 4206-T


ที่มา: Brüel & Kjær เอกสารทางเทคนิค
6.1.2 ลำโพง (Speaker) ทำหน้ า ที ่ เ ป็ น แหล่ ง กำเนิ ด เสี ย ง ลำโพงที ่ น ำมาใช้ ใ นการทดสอบ
คุณสมบัติทางเสียงของวัสดุจะต้องเป็นเสียงคงที่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในช่วงความถี่ปกติของมนุษย์
ซึ่งอยู่ระหว่าง 20 Hz ถึง 20 kHz ( White Noise) ที่สามารถตอบสนองต่อสัญญาณที่รับมาจากเครื่อง
กำเนิดและขยายสัญญาณ (Signal Generator & Amplifier) สำหรับทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดเสี ยง
(Sound Source)
6.1.3 ไมโครโฟน (Microphone) จะต้องมีความไว (Sensitivity) ในการตอบสนองและแปลง
สัญญาณพลังงานเสียง (Acoustic Energy Signal) ในย่านความถี่ต่าง ๆ ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า (Electric
Signal) เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องวิเคราะห์สัญญาณ (Signal Analyzer)
6.2 พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับท่ออิมพีแดนซ์โดยใช้โปรแกรมแมตแล็บ ทำการกระตุ้นสัญญาณ
แบบสุ่มที่มีความถี่ทุกความถี่ที่ โดยการเชื่อมต่อกับการ์ดรับส่งข้อมูลเพื่อเก็บสัญญาณจากนั้นนำสัญญาณ
ที่ได้มาประมวลผลสัญญาณ คำนวณเพื่อหาคาการสูญเสียพลังงานเสียงขณะสงผานโดยใช้วิธีการคำนวณ
ตามมาตรฐานทดสอบ ASTM E2611-09 และอธิบายคุณสมบัติทางกลของวัสดุ
6.3 เปรียบเทียบผลการทดสอบซอฟต์แวร์กับผลการทดสอบวัสดุมาตรฐาน หากสมบัติทางเสียงที่
ทดสอบได้ไม่ตรงกับค่ามาตรฐานของวัสดุมาตรฐาน จะต้องทำการแก้ไขให้ได้ใกล้เคียงกับค่ามาตรฐาน
6.4 ทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุ เพื่อหาสมบัติทางเสียงของวัสดุ โดยวัสดุที่ต้องการทดสอบมี
พารามิเตอร์ที่แตกต่างกันในวัสดุแต่ละชนิด เช่น การคดเคี้ยว ความพรุนและความหนาของวัสดุ โดยวัสดุมี
ต้องรูปร่างและพื้นที่หน้าตัด ที่สามารถเข้ากับท่ออิมพีแดนซ์ ขอแนะนำให้ปิดผนึกรอยแตกหรือช่องว่าง
รอบ ข้างด้วยปิโตรเลียมเจลลี่หรือดินเหนียวจำลอง ควรให้ชิ้นงานทดสอบมีพื้นผิวที่ค่อนข้างเรียบ
6.5 บันทึกผลการทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุ เพื่อเปรียบเทียบพารามิเตอร์ วิเคราะห์ผลการ
ทดสอบ
6.6 จัดทำปริญญานิพนธ์นำเสนอความก้าวหน้าและสอบปริญญานิพนธ์กับคณะกรรมการสอบ
7. แผนการดำเนินโครงงาน

ระยะเวลา (เดือน)
ขั้นตอนการทำงาน
พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.
6.1 ศึ ก ษาชุ ด อุ ป กรณ์ ท ดสอบ
สมบั ต ิ ท างเสี ย งของวั ส ดุ แ ละ
วิธีการทดสอบ
6.2 พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับ
ท่ออิมพิแดนซ์
6.3 เปรียบเทียบผลการทดสอบ
ซอฟต์แวร์กับผลการทดสอบวัสดุ
มาตรฐาน
6.4 ทดสอบสมบัติทางเสีย งของ
วัส ดุเพื่อหาสมบัติทางเสีย งของ
วัสดุ
6.5 บันทึกผลการทดสอบสมบัติ
ทางเสียงของวัสดุเพื่อเปรียบเทียบ
พารามิเตอร์ วิเคราะห์ผลการ
ทดสอบ
6.6 จัดทำปริญญานิพนธ์นำเสนอ
ความก้าวหน้าและสอบปริ ญญา
นิพนธ์กับคณะกรรมการสอบ
6.7 แก้ไขปริญญานิพนธ์

8. สถานที่ดำเนินงาน
ห้องปฏิบัติการเสียงและการสั่นสะเทือน กลุ่มวิจัยกลศาสตร์ วัสดุ และการออกแบบวิศวกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
9. เอกสารอ้างอิง
[1] Sung Soo Jung, Yong Tae Kim and Yong Bong Lee, “Measurement of Sound
Transmission Loss by Using Impedance Tubes” (2551)
[2] ดาริกา จาเอาะ,อาบีดีน ดะแซสาเมาะ, “วัสดุดูดซับเสียงจากน้ำยางธรรมชาติผสมใยมะพร้าว,”
(2556)
[3] อาทิตย์ชัย ตานะเป็ง “การทดสอบสมบัติทางเสียงของวัสดุจีโอพอลิเมอร์โดยใช้ท่ออิมพีแดนซ์,”
(2565)

[4] วสันต์ สันต์บุรุษ , “การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการหาค่าคุณสมบัติทางเสียงของวัส ดุ ในท่อ


อิมพีแดนซ์,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลล้านนา, 2562)
[5] นายบุรฉัตร วิริยะ “การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับเสียงของพืชแหงเสนใยแกว”
(2554)
[6] ASTM E2611-09 “Standard Test Method for Measurement of Normal Incidence
Sound Transmission of Acoustical Materials Based on the Transfer Matrix Method”
(2552)
[7] Brüel & Kjær, Product data. Nærum, Denmark, (2559)

You might also like