You are on page 1of 6

มคอ.

มหาวิทยาลัยเกริก
รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก
คณะ/วิทยาเขต/ภาควิชา ศิลปศาสตร์ / ภาควิชาศึกษาทั่วไป

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อรายวิชา
ศศ1641508 การเขียนเพื่อสื่อสารในองค์การ
AT1641508 Communicative Writing in the Organization

2. จำนวนหน่วยกิต
3 หน่วยกิต (3-0-6)

3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
รายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเกริก ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ศักดิธัช ฉมามหัทธนา
ผู้สอนกลุ่ม 3 วันอังคาร เวลา 12.30–15.00 น. และกลุ่มการเรียนการสอนทางไกล (LMS)

5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคต้น ปีการศึกษา 2566 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1–2

6. วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Prerequisite)
ไม่มี
2

7. วิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Corequisite)
ไม่มี

8. สถานทีเ่ รียน
มหาวิทยาลัยเกริก เลขที่ 3 ซอยรามอินทรา 1 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
ภาคต้น ปีการศึกษา 2564

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1 เพื่อให้นักศึกษาสามารถเขียนเอกสารที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในองค์กรต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
และมีประสิทธิภาพ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถจัดระบบความคิดและนำเสนอความคิดออกมาได้อย่างถูกต้อง มีเหตุผล
1.3 เพื่อให้นักศึกษาใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการบูรณาการความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้
ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
1.4 เพื่อให้นักศึกษาเห็นคุณค่าความสำคัญและมีความภาคภูมิใจในภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ทาง
วัฒนธรรมของชาติ
1.5 เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา / ปรับปรุงรายวิชา
2.1 เพื่อตอบสนองคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเกริก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย
ของประเทศชาติ และเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ให้บัณฑิตมี
ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีทักษะในการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
2.2 เป็นผู้มีทักษะด้านภาษา สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งมี
ทักษะในการเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และรู้เท่าทัน
3

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

1. คำอธิบายรายวิชา
การเขียนเอกสารภาษาไทยสำหรับการติดต่อสื่อสารในการทำงาน การคิดวิเคราะห์ในการเขียน การ
จัดลำดับความคิดและสรุปความเพื่อถ่ายทอดเป็นภาษาเขียนที่สละสลวย ถูกต้อง การเขียนบันทึก การเขียน
จดหมาย การเขียนรายงานการประชุม ตลอดจนการนำเสนองานอย่างเป็นระบบ

2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
การฝึกปฏิบัติ /
บรรยาย สอนเสริม การศึกษาด้วยตนเอง
งานภาคสนาม / การฝึกงาน
48 คาบ/ภาคการศึกษา – – 96 คาบ/ภาคการศึกษา
(3 คาบ/สัปดาห์ 50 นาที/คาบ) (6 คาบ/สัปดาห์)

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและคำแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
3.1 นักศึกษาสามารถนัดพบอาจารย์ผู้สอนเพื่อรับคำปรึกษาได้ 9 คาบ/สัปดาห์ ณ ห้องพักอาจารย์
คณะศิลปศาสตร์ ชั้น 3 อาคาร 4 มหาวิทยาลัยเกริก
3.2 นักศึกษาสามารถติดต่ออาจารย์ผู้สอนผ่านไลน์ (Line) หรืออินสตาแกรม (Instagram) ได้

หมวดที่ 4 แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน
สัปดาห์และวันที่ หัวข้อ/รายละเอียด กิจกรรมและสื่อการสอน
1 5–9 มิ.ย. 66 1. ธรรมชาติของภาษาไทย • กล่าวต้อนรับพร้อมกับแนะนำรายวิชา
• บรรยายและอภิปราย
2 12–16 มิ.ย. 66 1. ธรรมชาติของภาษาไทย (ต่อ) • บรรยายและอภิปราย
• ทดสอบนักภาษาไทยวัยเฟี้ยว 1
• ทดสอบนักภาษาไทยวัยเฟี้ยว 2
3 19–23 มิ.ย. 66 2. การใช้ภาษาสื่อสารในองค์การ • บรรยายและอภิปราย
4 26–30 มิ.ย. 66 2. การใช้ภาษาสื่อสารในองค์การ (ต่อ) • บรรยาย อภิปราย และสาธิต
• ทดสอบการใช้ภาษาสื่อสารในองค์การ
5 3–7 ก.ค. 66 3. การเขียนเพื่อถ่ายทอดความคิด • บรรยายและอภิปราย
6 10–14 ก.ค. 66 3. การเขียนเพื่อถ่ายทอดความคิด (ต่อ) • บรรยายและอภิปราย
4

สัปดาห์และวันที่ หัวข้อ/รายละเอียด กิจกรรมและสื่อการสอน


7 17–21 ก.ค. 66 4. การเขียนแผนผังความคิด • บรรยาย อภิปราย และสาธิต
• ฝึกเขียนแผนผังความคิด
24–31 ก.ค. 66 สอบกลางภาค
8 31 ก.ค.–4 ส.ค. 66 5. การเขียนสรุปความ • บรรยาย อภิปราย และสาธิต
9 7–11 ส.ค. 66 5. การเขียนสรุปความ (ต่อ) • บรรยาย อภิปราย และสาธิต
• ฝึกเขียนสรุปความ
10 14–18 ส.ค. 66 6. การเขียนย่อหน้า • บรรยาย อภิปราย และสาธิต
11 21–25 ส.ค. 66 6. การเขียนย่อหน้า (ต่อ) • บรรยาย อภิปราย และสาธิต
• ฝึกเขียนย่อหน้า 1
12 28 ส.ค.–1 ก.ย. 66 6. การเขียนย่อหน้า (ต่อ) • บรรยาย อภิปราย และสาธิต
• ฝึกเขียนย่อหน้า 2
13 4–8 ก.ย. 66 7. การเขียนรายงานการประชุม • บรรยาย อภิปราย และสาธิต
14 11–15 ก.ย. 66 7. การเขียนรายงานการประชุม (ต่อ) • บรรยาย อภิปราย และสาธิต
• ฝึกเขียนรายงานการประชุม
15 18–22 ก.ย. 66 7. การเขียนรายงานการประชุม (ต่อ) • บรรยายและอภิปราย
• กิจกรรมถาม-ตอบ และกล่าวสรุปรายวิชา
25 ก.ย.–8 ต.ค. 66 สอบปลายภาค

2. การประเมินผลการเรียนรู้

ที่ กิจกรรมการประเมิน ร้อยละในการประเมินผล


1 การเข้าเรียน 10
2 การทดสอบนักภาษาไทยวัยเฟี้ยว 1 5
3 การทดสอบนักภาษาไทยวัยเฟี้ยว 2 5
4 การทดสอบการใช้ภาษาสื่อสารในองค์การ 5
5 การฝึกเขียนแผนผังความคิด 5
6 การฝึกเขียนสรุปความ 10
7 การฝึกเขียนย่อหน้า 1 5
8 การฝึกเขียนย่อหน้า 2 5
9 การฝึกเขียนรายงานการประชุม 10
10 การสอบกลางภาค 20
11 การสอบปลายภาค 20
รวม 100
5

หมวดที่ 5 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1. ตำราและเอกสารหลัก
คณะกรรมการวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. 2550. ภาษาไทยเพื่อการสือ่ สาร. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. 2555. การพัฒนาทักษะการเขียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปรีชา พันธุ์แน่น. 2551. การสื่อสารขององค์กร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
พงษ์ วิเศษสังข์. 2552. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เสนาะ ดินยาว์. 2538. การสื่อสารในองค์กร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
ไม่มี

3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. 2551.
การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2552. การใช้ภาษาไทย.
ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. 2555. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. 2557. จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์แห่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. 2518. การเขียนภาคปฏิบัติ. พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช.
พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. 2558. วาทการ: ศาสตร์และศิลป์แห่งการพูดเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร.
กรุงเทพมหานคร: ไอยรา.
วัชรี ทรัพย์มี. 2556. ทฤษฎีให้บริการปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6

หมวดที่ 6 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

You might also like