You are on page 1of 64

คู่มือการลงรหัส ICD-10 สําหรับโรคจากการประกอบอาชีพ

วิวฒ
ั น์ เอกบูรณะวัฒน์

อ้างอิงเนื้อหาจากเอกสารขององค์การอนามัยโลกเรือ่ ง
International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems (ICD-10) in Occupational Health

จัดพิมพ์และเผยแพร่โดยมูลนิธสิ มั มาอาชีวะ
800/3 ถนนสุขมุ วิท ตําบลแสนสุข อําเภอเมืองชลบุร ี จังหวัดชลบุร ี 20130
เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ (ISBN) 978-974-496-441-0

ข้อมูลบรรณานุ กรม
วิวฒ
ั น์ เอกบูรณะวัฒน์. คูม่ อื การลงรหัส ICD-10 สําหรับโรคจากการประกอบอาชีพ.
ชลบุร:ี มูลนิธสิ มั มาอาชีวะ; 2554. จํานวน 64 หน้า หมวดหมูห่ นังสือ 616.98

จัดพิมพ์ขน้ึ สําหรับแจกฟรีให้แก่ผทู้ ส่ี นใจ


เผยแพร่ภายใต้สญ ั ญาอนุ ญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงทีม่ า 3.0 ประเทศไทย (CC: BY 3.0 TH)
อนุญาตให้นําไปใช้อา้ งอิง ทําซํ้า ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงทีม่ า

คําชี้แจง
เนื้อหาในหนังสือคูม่ อื นี้ เป็ นเพียงแนวทางทีช่ ว่ ยให้บุคลากรของสถานพยาบาลใช้สาํ หรับลงรหัสโรคตามบัญชีจาํ แนกโรคระหว่าง
ประเทศ (ICD-10) สําหรับโรคจากการประกอบอาชีพได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึน้ ด้วยความมุง่ หวังให้เป็ นส่วนช่วยพัฒนาระบบ
การรายงานสถิตโิ รคจากการประกอบอาชีพในประเทศไทย เนื่องจากเป็ นเพียงแนวทางทีผ่ เู้ รียบเรียงเสนอแนะขึน้ การใช้ค่มู อื จึง
ขึน้ กับความสมัครใจของผูใ้ ช้เป็ นหลัก ไม่ได้มผี ลบังคับใช้ไม่วา่ กับบุคคลหรือองค์กรใดทัง้ สิน้
หน้าว่าง
คํานํา
คูม่ อื การลงรหัส ICD-10 สําหรับโรคจากการประกอบอาชีพฉบับนี้ เนื้อหาหลักอ้างอิงมาจากเอกสาร
ขององค์การอนามัยโลกเรือ่ ง International Statistical Classification of Diseases and Related Health
Problems (ICD-10) in Occupational Health ซึง่ จัดทําขึน้ ในปี ค.ศ. 1999 จุดมุง่ หมายทีจ่ ดั ทําฉบับภาษาไทย
ขึน้ วัตถุประสงค์เพือ่ เป็ นคูม่ อื สําหรับช่วยให้บุคลากรในสถานพยาบาลต่างๆ สามารถลงรหัส ICD-10 โรคจาก
การประกอบอาชีพได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และช่วยในการพัฒนาระบบรายงานสถิตโิ รคจากการประกอบอาชีพ
สําหรับประเทศไทย นอกจากเอกสารขององค์การอนามัยโลกทีเ่ ป็ นต้นฉบับแล้ว ผูเ้ รียบเรียงยังได้อา้ งอิง
เนื้อหาบางส่วนจากเอกสารอื่นๆ มาเพิม่ เติมด้วย ตามทีป่ รากฏในรายการอ้างอิงท้ายเล่ม
เนื้อหาภายในแบ่งเป็ น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็ นหลักการพืน้ ฐานในการลงรหัส ICD-10 โรคจากการ
ประกอบอาชีพ ซึง่ ได้พยายามถอดความจากต้นฉบับภาษาอังกฤษให้มใี จความคล้ายคลึงของเดิมมากทีส่ ดุ
ส่วนที่ 2 ของคูม่ อื เป็ นรายการรหัสโรค ได้จดั ทําไว้ในรูปแบบสองภาษา (ไทย – อังกฤษ) เพื่อให้ผอู้ ่านทีไ่ ม่
คุน้ เคยกับชื่อโรคภาษาอังกฤษเกิดความเข้าใจได้เมือ่ นําไปใช้งาน ส่วนของรายการรหัสโรคนี้ ชื่อโรคและชื่อสิง่
คุกคามทีเ่ ป็ นภาษาอังกฤษ ผูเ้ รียบเรียงใช้คาํ เดิมตามต้นฉบับภาษาอังกฤษ ส่วนชื่อโรคและชื่อสิง่ คุกคามที่
เป็ นภาษาไทย จะยึดตามหนังสือบัญชีจาํ แนกโรคระหว่างประเทศ (ICD-10) ฉบับภาษาไทย ของกระทรวง
สาธารณสุข (พ.ศ. 2541) หรือหนังสือมาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทํางานฉบับเฉลิมพระเกียรติ ของ
กระทรวงแรงงาน (พ.ศ. 2550) เล่มใดเล่มหนึ่งเป็ นหลัก ขึน้ อยูก่ บั ว่าคําแปลในหนังสือเล่มใดจะอ่านเข้าใจง่าย
กว่ากัน ในบางโรคอาจมีการปรับคําเรียกชื่อโรคให้ผอู้ ่านเข้าใจง่ายขึน้ โดยผูเ้ รียบเรียงเอง ซึง่ จะเลือกใช้คาํ ที่
นิยมเรียกกันอยูใ่ นวงการอาชีวอนามัยปจั จุบนั เป็ นส่วนมาก อย่างไรก็ดี หากเกิดปญั หาในการทําความเข้าใจ
ชื่อโรคทีเ่ ป็ นภาษาไทย ให้ดชู ่อื โรคภาษาอังกฤษเพือ่ อ้างอิงประกอบแทน เนื้อหาในรายการโรคบางหัวข้อ
โดยเฉพาะหัวข้อโรคติดเชือ้ จากการประกอบอาชีพ อาจไม่ตรงกับต้นฉบับภาษาอังกฤษเดิมทัง้ หมด เนื่องจาก
ผูเ้ รียบเรียงได้ตดั บางโรคทีพ่ บไม่บอ่ ยในประเทศไทยออก (เช่น ทูลารีเมีย เป็ นต้น) และนําบางโรคทีพ่ บบ่อย
กว่าในประเทศไทยมาใส่ไว้แทน (เช่น มาลาเรีย เมลิออยโดสิส เป็ นต้น)
การแปลเนื้อหาจากภาษาอังกฤษเป็ นภาษาไทย ได้พยายามถอดความโดยยึดหลักให้ผอู้ ่านเข้าใจ
ง่ายเป็ นหลัก และทําการตรวจสอบการสะกดและสํานวนให้มคี วามถูกต้องแล้ว แต่หากยังมีการใช้คาํ ผิดในส่วน
ใด หรืออ่านแล้วทําให้รสู้ กึ ติดขัด ผูเ้ รียบเรียงต้องขออภัยไว้ ณ ทีน่ ้ีดว้ ย

วิวฒ
ั น์ เอกบูรณะวัฒน์
ผูเ้ รียบเรียง


หน้าว่าง


สารบัญ

ส่วนที่ 1 หลักการลงรหัส ICD-10 โรคจากการประกอบอาชีพ หน้า

บทนํา 1
จุดมุง่ หมายและประโยชน์ของคูม่ อื ฉบับนี้ 1
การแบ่งกลุม่ โรคจากการประกอบอาชีพ 2
ข้อมูลทีค่ วรพิจารณาสําหรับโรคจากการประกอบอาชีพ 3
รายละเอียดของคูม่ อื 3
หลักการพืน้ ฐานของ ICD-10 4
แนวทางในการลงรหัส ICD-10 สําหรับโรคจากการประกอบอาชีพ 5
สรุปสิง่ ทีค่ วรทราบ 9

ส่วนที่ 2 รายการรหัส ICD-10 โรคจากการประกอบอาชีพ หน้า

1. โรคติดเชือ้ และปรสิต 10
2. โรคมะเร็ง 17
3. โรคเลือด 19
4. โรคจิตและพฤติกรรมผิดปกติ 21
5. โรคระบบประสาท 22
6. โรคตา 25
7. โรคหู 27
8. โรคระบบไหลเวียนโลหิต 28
9. โรคระบบทางเดินหายใจ 29
10. โรคตับ 35
11. โรคผิวหนัง 36
12. โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ 39
13. โรคระบบทางเดินปสั สาวะและสืบพันธุ์ 41
14. อาการ อาการแสดง และผลตรวจทางห้องปฏิบตั กิ ารทีผ่ ดิ ปกติ 42
15. การบาดเจ็บ ได้รบั สารพิษ และปว่ ยจากสิง่ คุกคามอื่นๆ 47
16. สิง่ คุกคามทีเ่ ป็ นสาเหตุการเจ็บปว่ ยและเสียชีวติ 53
17. ปจั จัยทีม่ ผี ลต่อสุขภาพและทําให้มารับบริการทางการแพทย์ 54

เอกสารอ้างอิ ง 56


หน้าว่าง


ส่วนที่ 1

หลักการลงรหัส ICD-10 โรคจากการประกอบอาชีพ

บทนํา

ในปี ค.ศ. 1996 การประชุม World Health Assembly ได้ผา่ นแผนยุทธศาสตร์ Resolution on
Global Strategy for Occupational Health for All (WHA 49.12) ออกมา ข้อหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์น้ี
กําหนดไว้วา่ ควรมีการสนับสนุ นให้มรี ะบบฐานข้อมูลและการลงทะเบียนโรคจากการประกอบอาชีพในทุก
ประเทศ ปีต่อมาองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) โดยการสนับสนุนของ National
Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริม่ จัดเตรียมฉบับร่างของ
รายการโรคจากการประกอบอาชีพเพือ่ ใช้สาํ หรับการลงรหัสใน ICD-10 ขึน้ และได้จดั การประชุมในเดือน
กรกฎาคม ค.ศ. 1998 เพือ่ ให้ผเู้ ชีย่ วชาญอ่านทบทวนเป็ นเวลา 3 วัน ทีก่ รุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
หลังการประชุมครัง้ นัน้ เอกสารรายการโรคได้ถกู จัดทําต่อจนเสร็จสิน้ โดยองค์กร Finnish Institute of
Occupational Health ประเทศฟินแลนด์ และถูกนําออกเผยแพร่เป็ นเอกสารขององค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ.
1999 โดยใช้ช่อื ว่า International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems
(ICD-10) in Occupational Health [1] คูม่ อื ฉบับภาษาไทยเล่มนี้ เป็ นคูม่ อื ทีถ่ อดความมาจากเอกสารฉบับ
ดังกล่าว

จุดมุ่งหมายและประโยชน์ ของคู่มือฉบับนี้

จุดมุง่ หมายหลักของคูม่ อื ฉบับนี้คอื เพือ่ เป็ นแนวทางในการลงรหัส ICD-10 สําหรับโรคจากการ


ประกอบอาชีพให้กบั สถานพยาบาลทัวไป ่ ซึง่ สําหรับประเทศไทย การลงรหัส ICD-10 เป็ นสิง่ ทีต่ อ้ งทํากันอยู่
ในทุกสถานพยาบาล องค์การอนามัยโลกได้เสนอแนะว่า ระบบการลงทะเบียนสถิตโิ รคโดยใช้ ICD-10 อาจ
นํามาใช้ประโยชน์เป็ นระบบฐานข้อมูลและรายงานโรคจากการประกอบอาชีพได้ดว้ ย [1] โดยเฉพาะใน
ประเทศทีย่ งั ไม่ได้พฒั นาระบบสถิตโิ รคจากการประกอบอาชีพแบบครอบคลุมทัวประเทศ ่ วิธกี ารทําโดยใช้
ระบบการรายงานสถิตโิ รคด้วยรหัส ICD-10 เช่นเดียวกับโรคอื่นๆ ทัวไป ่ ระบบฐานข้อมูลก็เก็บรวมไว้กบั โรค
อื่นๆ ในฐานข้อมูลเดียวกัน แต่เมือ่ ต้องการสืบค้นข้อมูลเพือ่ ดูสถิตโิ รคจากการประกอบอาชีพ ก็ให้สบื ค้นแยก
ออกมาโดยการสืบค้นตามรายการโรคทีอ่ ยูใ่ นคูม่ อื เล่มนี้ และหากมีการลงรหัสพิเศษเสริมเพื่อแยกโรคจากการ
ประกอบอาชีพออกจากโรคทัวไปไว้ ่ ดว้ ยแล้ว ก็จะทําให้การสืบค้นข้อมูลมีประสิทธิภาพยิง่ ขึน้
ปจั จุบนั ประเทศไทยมีระบบรายงานสถิตโิ รคจากการประกอบอาชีพหลักอยูแ่ ล้ว 2 ระบบ คือระบบ
สถิตโิ รคจากการทํางานของกองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน [2] และระบบเฝ้า
ระวังปญั หาโรคจากการประกอบอาชีพ ของสํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [3]
ระบบรายงานสถิตโิ รคของกองทุนเงินทดแทน เป็ นระบบทีเ่ ก็บสถิตผิ ปู้ ว่ ยยืนยัน (คือได้รบั การตรวจวินิจฉัย
ยืนยันจากแพทย์แล้วว่าเป็ นโรคทีร่ ะบุจริงๆ จึงจะเก็บสถิตไิ ว้) แต่มขี อ้ จํากัดทีค่ รอบคลุมเฉพาะกลุม่ ลูกจ้างใน
ระบบกองทุนเงินทดแทน ซึง่ มีจาํ นวนประมาณ 10 ล้านคนจากจํานวนประชากรไทยทัง้ หมดประมาณ 65 ล้าน
คนเท่านัน้ ไม่ครอบคลุมประชากรทัง้ ประเทศ ส่วนระบบเฝ้าระวังของสํานักระบาดวิทยา แม้วา่ ขอบเขตการ

1
เก็บข้อมูลจะครอบคลุมประชากรทัง้ ประเทศ แต่มขี อ้ จํากัดในแง่ทเ่ี ป็ นระบบเฝ้าระวัง จึงจัดเก็บข้อมูลทัง้ ผูป้ ว่ ย
ทีเ่ พียงแค่สงสัยว่าจะเป็ นโรคและผูป้ ว่ ยยืนยันรวมไปด้วยกันทัง้ หมด ตัวเลขทีป่ รากฏในสถิตจิ งึ อาจผิดไปจาก
จํานวนผูป้ ว่ ยทีม่ อี ยูจ่ ริงได้ หากมีการนําข้อมูลจากระบบ ICD-10 ไปใช้เสริมระบบสถิตโิ รคทัง้ 2 ระบบเดิมทีม่ ี
อยู่ จะช่วยให้ขอ้ มูลสถิตโิ รคจากการประกอบอาชีพของประเทศไทยมีความสมบูรณ์มากยิง่ ขึน้ ข้อดีของระบบ
ICD-10 เมือ่ นํามาใช้ดสู ถิตโิ รคจากการประกอบอาชีพคือข้อมูลทีร่ ายงานเข้ามาในระบบ จะเป็ นผูป้ ว่ ยยืนยันที่
ผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว จึงเชื่อถือได้มาก ระบบครอบคลุมประชากรทัง้ ประเทศ เป็ นระบบทีม่ อี ยูแ่ ล้ว
ซึง่ เจ้าหน้าในสถานพยาบาลมีความคุน้ เคยเป็ นอย่างดี ต้องทํากันอยูแ่ ล้วในสถานพยาบาลทุกแห่ง ทําให้การ
พัฒนาระบบไม่ตอ้ งเพิม่ ภาระงานให้กบั เจ้าหน้าทีม่ ากนัก และไม่ตอ้ งลงทุนเพิม่ ประโยชน์ทส่ี าํ คัญอีกอย่าง
หนึ่งคือสถิตทิ ไ่ี ด้สามารถนําไปเปรียบเทียบกับสถิตขิ องต่างประเทศได้สะดวก เนื่องจากระบบ ICD-10 เป็ น
ระบบมาตรฐานทีใ่ ช้กนั อยูท่ วโลก ั่

การแบ่งกลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพ

การจะวินิจฉัยว่าโรคใดเป็ นโรคจากการประกอบอาชีพได้นนั ้ จะต้องอาศัยข้อมูลหลักอยูส่ องอย่างคือ


จะต้องทราบว่าโรคทีเ่ ป็ นนัน้ คือโรคอะไร และจะต้องทราบว่าสิง่ คุกคามทีผ่ ปู้ ว่ ยสัมผัสในงานนัน้ คืออะไร เมือ่
นําข้อมูลสองส่วนนี้มาประกอบกัน จะทราบได้วา่ โรคทีเ่ กิดขึน้ เป็ นจากการประกอบอาชีพหรือไม่ การแบ่งกลุ่ม
โรคจากการประกอบอาชีพในประเทศต่างๆ ทําเพือ่ วัตถุประสงค์ทส่ี าํ คัญอยูส่ องประการ ประการแรกคือเพือ่
ประโยชน์ในการเฝ้าระวังโรค ประการทีส่ องคือเพือ่ ประโยชน์ในการพิจารณาให้เงินทดแทนผูท้ เ่ี จ็บปว่ ยจาก
การทํางาน หลักการแบ่งกลุม่ โรคจากการประกอบอาชีพของแต่ละองค์กรมักมีลกั ษณะใกล้เคียงกัน ดังเช่น
ตัวอย่างต่อไปนี้ [4-5]

1. แบ่งกลุม่ ตามสิง่ คุกคามทีส่ มั ผัส


1.1. โรคจากการสัมผัสสิง่ คุกคามทางเคมี (chemical)
1.2. โรคจากการสัมผัสสิง่ คุกคามทางกายภาพ (physical)
1.3. โรคจากการสัมผัสสิง่ คุกคามทางชีวภาพ (biological)
2. แบ่งกลุม่ ตามระบบอวัยวะ
2.1. โรคระบบทางเดินหายใจจากการประกอบอาชีพ
2.2. โรคระบบผิวหนังจากการประกอบอาชีพ
2.3. โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจากการประกอบอาชีพ
3. โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ
4. โรคอื่นๆ

ปญั หาทีเ่ กิดขึน้ ในปจั จุบนั สําหรับระบบการแบ่งกลุม่ โรคจากการประกอบอาชีพ คือการทีม่ กี าร


แบ่งกลุม่ ทัง้ ตามสิง่ คุกคามทีส่ มั ผัส (hazard) และแบ่งตามระบบอวัยวะทีเ่ ป็ นโรค (organ system) ดังนัน้ ใน
บางโรคอาจถูกจัดไว้ได้ในหลายหมวดหมูต่ ่างกันตามระบบการแบ่งได้ เช่น โรคต้อกระจกจากการสัมผัสรังสี
อินฟราเรด อาจถูกจัดไว้ในหมวดโรคจากการสัมผัสสิง่ คุกคามทางกายภาพ หรือถูกจัดไว้ในหมวดโรคตาจาก
การประกอบอาชีพก็ได้ สําหรับบัญชีจาํ แนกโรคระบบของ ICD-10 นัน้ จะแบ่งหมวดหมูโ่ รคตามระบบอวัยวะ
(organ system) เป็ นหลัก ดังนัน้ รายการโรคในคูม่ อื ฉบับนี้ จึงจะแบ่งหมวดหมูโ่ รคจากการประกอบอาชีพไว้
ตามระบบอวัยวะเหมือนใน ICD-10 ด้วย

2
อีกปญั หาหนึ่งทีพ่ บได้ในการพิจารณาสถิตโิ รคจากการประกอบอาชีพเปรียบเทียบของแต่ละประเทศ
คือ ปจั จุบนั โรคจากการประกอบอาชีพเกือบทัง้ หมดยังไม่มกี ารกําหนดเกณฑ์การวินิจฉัยมาตรฐานทีไ่ ด้รบั การ
ยอมรับ และสามารถใช้รว่ มกันในระดับนานาชาติจดั ทําไว้ จึงทําให้แม้วา่ ระบบการจัดหมวดหมูโ่ รคในแต่ละ
ประเทศจะเหมือนกัน แต่เนื่องจากรายละเอียดเกณฑ์การวินิจฉัยทีแ่ ตกต่าง ก็สง่ ผลให้มจี าํ นวนผูป้ ว่ ยแตกต่าง
กันไปด้วย ทําให้เมือ่ นําสถิตขิ องแต่ละประเทศมาเปรียบเทียบกันจะเปรียบเทียบได้ลาํ บาก

ข้อมูลที่ควรพิจารณาสําหรับโรคจากการประกอบอาชีพ

นอกเหนือจากข้อมูลการวินิจฉัยว่าเป็ นโรคอะไรแล้ว ข้อมูลทีค่ วรเก็บไว้เพือ่ พิจารณาเพิม่ เติมในผูป้ ว่ ย


ทีส่ งสัยจะเป็ นโรคจากการประกอบอาชีพ ตามคําแนะนําขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International
Labour Office, ILO) จะประกอบไปด้วย [6]

A) ข้อมูลกิจการ สถานทีต่ งั ้ และนายจ้าง


1. ชื่อและทีอ่ ยูข่ องนายจ้าง
2. ชื่อและทีอ่ ยูข่ องกิจการ
3. ชื่อและทีอ่ ยูข่ องฐานทีต่ งั ้ ทีผ่ ปู้ ว่ ยทํางานอยู่ (กรณีกจิ การมีหลายฐานทีต่ งั ้ )
4. ประเภทของกิจการ
5. จํานวนพนักงาน (ขนาดของกิจการ)
B) ข้อมูลของผูป้ ว่ ยโรคจากการประกอบอาชีพ
1. ชื่อ ทีอ่ ยู่ เพศ และอายุ (วันเดือนปีเกิด)
2. สถานภาพการจ้างงาน (ลูกจ้างประจํา ลูกจ้างชัวคราว ่ หรือแรงงานรับเหมาช่วง)
3. อาชีพทีท่ าํ อยูใ่ นขณะทีว่ นิ ิจฉัยโรค
4. ระยะเวลาทีท่ าํ งานปจั จุบนั
C) ข้อมูลของโรคจากการประกอบอาชีพ
1. ชื่อโรคและธรรมชาติของโรค
2. สิง่ คุกคามทีก่ ่อโรค ช่องทางการสัมผัส
3. รายละเอียดของงานทีส่ งสัยว่ามีการสัมผัสสิง่ คุกคามก่อโรค
4. ระยะเวลาทีส่ มั ผัสสิง่ คุกคามก่อโรค
5. วันทีว่ นิ ิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพ

การเก็บข้อมูลเหล่านี้ จะเป็ นประโยชน์ในการช่วยแพทย์วนิ ิจฉัยโรคว่าเกิดจากการทํางานหรือไม่

รายละเอียดของคู่มือ

หนังสือคูม่ อื ฉบับนี้แบ่งเป็ น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 นี้ เป็ นหลักการพืน้ ฐานในการลงรหัส ICD-10 สําหรับ
โรคจากการประกอบอาชีพ ส่วนที่ 2 เป็ นรายการรหัสโรค ซึง่ ได้จดั ทําไว้ในรูปแบบสองภาษา (ไทย – อังกฤษ)
เพือ่ ให้ผอู้ ่านเกิดความเข้าใจได้งา่ ยเมือ่ นําไปใช้งานจริง รายการรหัสโรคทีเ่ ลือกมาแสดงนัน้ ผูเ้ รียบเรียงได้
ปรับให้เข้ากับรายการโรคจากการประกอบอาชีพของประเทศไทย [7] มากขึน้ นอกจากรายการโรคและรหัส
ICD-10 ของแต่ละโรคทีไ่ ด้แสดงไว้แล้ว ยังแสดงรายละเอียดของสิง่ ก่อโรค (agent) หรือสิง่ คุมคาม (hazard)

3
ทีท่ าํ ให้เกิดโรคนัน้ ๆ พร้อมทัง้ ตัวอย่างอาชีพ (occupation) หรือกิจการ (industry) ทีเ่ สีย่ งต่อการเกิดโรคไว้
ด้วย
รายการ โรค สิง่ คุกคาม อาชีพ และกิจการ ทีแ่ สดงในส่วนที่ 2 ของคูม่ อื นี้ เป็ นเพียงตัวอย่างรายการ
ของโรคจากการประกอบอาชีพทีพ่ บบ่อย ซึง่ นําเสนอให้เกิดความเข้าใจในหลักการเท่านัน้ ไม่ใช่รายการรหัส
โรคจากการประกอบอาชีพทุกโรคทีม่ ี สาเหตุทไ่ี ม่สามารถแสดงรายการรหัสโรคทุกโรคได้ ส่วนหนึ่งเนื่องจาก
โรคใหม่ๆ สิง่ คุกคามใหม่ๆ และอาชีพใหม่ๆ มีเกิดขึน้ อยูต่ ลอดเวลา ตัวอย่างเช่นสารเคมีใหม่ๆ จะถูกผลิต
ออกมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอยูต่ ลอด ซึง่ เมือ่ ใช้ไประยะหนึ่งอาจพบว่าเป็ นสิง่ คุกคามใหม่ทก่ี ่อโรคได้ ทํา
ให้ไม่สามารถแสดงรายการรหัสโรคของทุกโรคได้ทงั ้ หมด รายละเอียดเนื้อหาทางวิชาการของโรคจากการ
ประกอบอาชีพชนิดต่างๆ นัน้ ผูอ้ ่านสามารถศึกษาเพิม่ เติมได้จากตํารามาตรฐานทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ทม่ี ี
อยูใ่ นปจั จุบนั [8-9]
คูม่ อื ฉบับนี้นําเสนอเฉพาะรายการรหัสโรคจากการประกอบอาชีพ (occupational disease) และกลุม่
อาการทีเ่ กีย่ วข้องเท่านัน้ สําหรับรายการรหัสการบาดเจ็บเนื่องจากการประกอบอาชีพ (occupational injury)
ไม่ได้ทาํ การนําเสนอไว้ ในบัญชีจาํ แนกโรค ICD-10 ฉบับเต็ม [10] รหัสส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับการบาดเจ็บคือช่วง
รหัส S00 – T98 และส่วนทีใ่ ช้อธิบายสาเหตุหรือสถานทีเ่ กิดอุบตั เิ หตุคอื ช่วงรหัส V01 – Y98 องค์กรแรงงาน
ระหว่างประเทศ ได้จดั ทําเอกสารรวบรวมคําแนะนําในการจัดทํารหัสการบาดเจ็บเนื่องจากการประกอบอาชีพ
ไว้ในปี ค.ศ. 1998 ซึง่ ผูอ้ ่านทีส่ นใจสามารถหาอ่านศึกษาเพิม่ เติมได้ [11]
นอกจากหนังสือคูม่ อื เล่มนี้แล้ว ยังมีเอกสารภาษาไทยอีกฉบับ ทีอ่ ธิบายหลักการลงรหัสโรคจากการ
ประกอบอาชีพในระบบ ICD-10 เผยแพร่ไว้ในปี พ.ศ. 2552 จัดทําโดย นพ.จรัส โชคสุวรรณกิจ ผูอ้ ่านทีส่ นใจ
สามารถหาอ่านศึกษาเพิม่ เติมได้เช่นกัน [12]

หลักการพืน้ ฐานของ ICD-10

บัญชีจาํ แนกโรคระหว่างประเทศ (International Statistical Classification of Diseases and


Related Health Problems, ICD) เป็ นหนังสือทีจ่ ดั ทําโดยองค์การอนามัยโลก ฉบับทีใ่ ช้กนั อยูใ่ นปจั จุบนั นี้
(พ.ศ. 2554) เป็ นฉบับแก้ไขครัง้ ที่ 10 (tenth revision) เนื่องจากเป็ นฉบับแก้ไขครัง้ ที่ 10 เราจึงอาจเรียก
หนังสือนี้ยอ่ ๆ ว่า ICD-10 ก็ได้ หนังสือ ICD-10 ฉบับเต็มได้มกี ารจัดทําเป็ นภาษาไทยไว้ นําออกเผยแพร่โดย
กระทรวงสาธารณสุข [13]
รายการรหัสโรคในหนังสือ ICD-10 มีระบบการลงรหัสทีช่ ดั เจน วัตถุประสงค์เพือ่ เปลีย่ นจากชื่อโรคที่
วินิจฉัยเป็ นรหัสตัวอักษรและตัวเลข เพือ่ ความสะดวกในการจัดเก็บลงในฐานข้อมูล การสืบค้น การวิเคราะห์
และการเบิกจ่ายเงิน ในปจั จุบนั รหัส ICD-10 เป็ นรหัสมาตรฐานทีใ่ ช้กนั อยูท่ วโลก
ั่ [1] ปจั จุบนั ในประเทศไทย
เอง การลงรหัส ICD-10 ก็เป็ นสิง่ ทีท่ าํ กันอยูท่ วไปในทุ
ั่ กสถานพยาบาล
รหัส ICD-10 จะประกอบไปด้วยตัวอักษร 3 หลัก หลักแรกคืออักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ท่ี
บอกหมวดหมูโ่ รค (A – Z) หลักที่ 2 – 3 คือตัวเลขทีบ่ ง่ บอกว่าเป็ นโรคใด (00 – 99) การลงรหัส 3 หลักนี้เป็ น
ระบบบังคับพืน้ ฐานทีต่ อ้ งลงให้ครบทัง้ 3 หลัก ผูอ้ ่านจึงจะสามารถเข้าใจรหัสได้ และเป็ นมาตรฐานสําหรับแต่
ละประเทศเพือ่ ใช้รายงานสถิตโิ รคให้แก่องค์การอนามัยโลก ตัวอย่างการเขียนรหัสเป็ นดังนี้
J45 หมายถึง หอบหืด
J62 หมายถึง โรคปอดฝุน่ หิน
G96 หมายถึง อาการสมองเสือ่ มเนื่องจากการได้รบั สารพิษ

4
ในบางกรณีการลงรหัสโรคจะสามารถระบุรายละเอียดให้ละเอียดลงไปได้อกี (แต่ไม่เป็ นการบังคับ)
ซึง่ ทําโดยการเติมตัวเลขอีก 1 หลักเป็ นหลักที่ 4 ไว้หลังจุดทศนิยม การรายงานผลแบบ 4 หลักนี้ จะมีการ
แบ่งกลุม่ ย่อย (subcategory) ไว้เฉพาะในบางรหัสโรคเท่านัน้ ซึง่ หากมีการแบ่งและได้ลงไว้จะช่วยในการบอก
รายละเอียดข้อมูลของโรคได้มากขึน้ ตัวอย่างเช่น
A15 หมายถึง วัณโรคทางเดินหายใจ
A15.1 หมายถึง วัณโรคทางเดินหายใจทีม่ ผี ลตรวจเสมหะยืนยัน
L23 หมายถึง ผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมแิ พ้
L23.4 หมายถึง ผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมแิ พ้กลุม่ สีสงั เคราะห์
J67 หมายถึง โรคปอดอักเสบภูมไิ วเกิน
J67.1 หมายถึง โรคปอดอักเสบภูมไิ วเกินจากชานอ้อย (ปอดชานอ้อย)
ในการจัดเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ กรณีทต่ี อ้ งการให้รหัสโรคทีล่ งเป็ นระบบ 4 หลัก
เหมือนกันทัง้ หมด เพือ่ ความสะดวกในการจัดเรียงข้อมูลและนําไปวิเคราะห์ผล หนังสือ ICD-10 ฉบับเต็ม
แนะนําให้ใช้ตวั อักษร “X” แทนรหัสหลักที่ 4 สําหรับรหัสโรคใดทีม่ เี พียง 3 หลัก แต่ขอ้ กําหนดในการลงข้อมูล
โดยใช้ตวั อักษร “X” นี้กไ็ ม่ได้เป็นการบังคับแต่อย่างใด

แนวทางในการลงรหัส ICD-10 สําหรับโรคจากการประกอบอาชีพ

รหัส ICD-10 ในหนังสือฉบับเต็มจะแบ่งออกเป็ น 21 บท ไล่เรียงตัง้ แต่บทที่ I – XXI การจัดเรียงบท


จะแบ่งกลุม่ โรคตามระบบอวัยวะเป็ นสําคัญ รหัสโรคซึง่ ถูกจัดเรียงเอาไว้จะไล่ตงั ้ แต่ A00 ในบทที่ I ไปจนถึง
Z99 ในบทที่ XXI การลงรหัสโรคในผูป้ ว่ ยหนึ่งรายทีม่ ารับบริการหนึ่งครัง้ สามารถลงรหัสได้หลายรหัส ซึง่
โดยทัวไปแนะนํ
่ าให้ลงรหัสสําหรับทุกปญั หาความผิดปกติทพ่ี บในผูป้ ว่ ยนัน้ รหัสแรกทีล่ งจะเรียกว่ารหัสโรค
หลัก (primary code) ซึง่ ควรจะลงปญั หาทีห่ นักทีส่ ดุ หรือร้ายแรงทีส่ ดุ ไว้ (main condition) กรณีทย่ี งั มีปญั หา
อื่นทีส่ าํ คัญรองลงมาอีกหลายปญั หา ให้ทาํ การลงรหัสทีส่ อง, สาม, สี,่ ห้า ตามมา รหัสทีล่ งเสริมจากรหัสโรค
หลักนี้เรียกว่ารหัสโรครอง (secondary code)
ในการลงรหัสโรคนัน้ ต้องทําการตรวจยืนยันจนได้การวินิจฉัยทีแ่ น่นอน (definite diagnosis) แล้ว
เท่านัน้ จึงจะทําการลงรหัสว่าเป็ นโรคนัน้ ได้ กรณีทย่ี งั ตรวจวินิจฉัยยืนยันได้ไม่แน่นอน ไม่ควรลงรหัสโรคทีย่ งั
แค่สงสัยอยูไ่ ปล่วงหน้า แต่ควรจะลงรหัสอาการทีต่ รวจพบในการรักษาครัง้ นัน้ ไปก่อน รหัสของอาการนี้จะอยู่
ในช่วงรหัส R00 – R99 ของ ICD-10 (หรือเรียกย่อๆ ว่ารหัสกลุม่ R-Code) เมือ่ ใดทีไ่ ด้ทาํ การตรวจวินิจฉัย
ยืนยันเป็ นทีแ่ น่นอนแล้ว จึงค่อยลงรหัสตามโรคทีว่ นิ ิจฉัยได้ในการตรวจครัง้ ต่อไป
กรณีทผ่ี ลู้ งรหัสอ่านรายละเอียดการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ สําหรับประเทศไทยส่วนใหญ่การวินิจฉัย
หลักของแพทย์มกั จะเขียนอยูห่ ลังคําว่า Diagnosis (หรือแพทย์บางท่านอาจเขียนย่อว่า Dx ก็เป็ นได้) กรณีท่ี
ชื่อโรคทีว่ นิ ิจฉัยมีการนําหน้าด้วยคําทีแ่ สดงความไม่แน่ใจ เช่น possible, questionable, suspected, ruled
out (หรืออาจเขียนย่อว่า R/O), most likely, differential diagnosis (หรือแพทย์อาจเขียนย่อว่า DDx) หากมี
คําเหล่านี้นําหน้าชื่อโรค พึงระวังไว้วา่ แพทย์เกิดความไม่แน่ใจในการวินิจฉัยด้วยเหตุผลบางอย่าง หรืออาจ
กําลังรอผลการตรวจทางห้องปฏิบตั กิ ารบางอย่างเพือ่ ยืนยันการวินิจฉัยอยู่ กรณีเช่นนี้จะไม่สามารถลงรหัส
โรคนัน้ ใน ICD-10 ได้ หากยังไม่ได้รบั การวินิจฉัยทีแ่ น่นอน และปจั จุบนั ก็ไม่แนะนําให้แพทย์เขียนการวินิจฉัย
ในลักษณะกํากวมเช่นนี้อกี แล้ว หากพบกรณีทย่ี งั ไม่สามารถวินิจฉัยยืนยันได้ในการตรวจครัง้ นัน้ แนะนําให้

5
แพทย์ลงวินิจฉัยอาการทีต่ รวจได้ไปก่อน (เช่น headache, hemoptysis, nausea เป็ นต้น) เหตุผลเพือ่ ให้
สามารถลงเป็ นรหัส R-Code ได้ และทีส่ าํ คัญเป็ นอย่างยิง่ คือป้องกันไม่ให้แพทย์ทม่ี าดูแลผูป้ ่วยท่านต่อไปเกิด
ความเข้าใจผิดในการวินิจฉัยโรคเดิม ซึง่ หากเกิดเหตุการณ์น้ีขน้ึ อาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อผูป้ ว่ ยได้
เนื่องจากโรคจากการประกอบอาชีพมีอาการและอาการแสดงเหมือนกับโรคทัวๆ ่ ไปทุกประการ
แตกต่างกันแต่เพียงทีส่ าเหตุการเกิดเท่านัน้ อีกทัง้ ยังสามารถเกิดโรคได้กบั ทุกระบบอวัยวะของร่างกาย
ดังนัน้ ในบัญชีจาํ แนกโรค ICD-10 ซึง่ ยึดถือการแบ่งกลุม่ โรคตามระบบอวัยวะเป็ นหลัก จึงไม่ได้มบี ทเฉพาะ
ของโรคจากการประกอบอาชีพแบ่งแยกไว้ แต่รหัสของโรคจากการประกอบอาชีพจะกระจายแทรกอยูใ่ นบท
ต่างๆ ของรายการ ICD-10 ทัวทั ่ ง้ เล่มตามระบบอวัยวะทีเ่ กิดโรค คูม่ อื เล่มนี้เป็ นการจัดรวบรวมรายการของ
โรคทีก่ ระจายอยูต่ ามบทต่างๆ ของหนังสือ ICD-10 ไว้ในทีเ่ ดียว เพือ่ ความสะดวกของผูล้ งรหัสในการค้นหา
และลงรหัสโรคจากการประกอบอาชีพ

ตัวอย่างการลงรหัสโรคจากการประกอบอาชีพที่มีความสลับซับซ้อน

ตัวอย่างที่ 1: โรคจากการสัมผัสความสันสะเทื
่ อนเฉพาะที่

การสัมผัสความสันสะเทื
่ อนทีม่ อื และแขนทําให้เกิดความผิดปกติได้ทงั ้ ทีเ่ ส้นเลือด เส้นประสาท ข้อ
ต่อและกระดูก การจะลงรหัสโรคใดเป็ นรหัสโรคหลักนัน้ ให้ยดึ ตามความผิดปกติทร่ี นุ แรงมากทีส่ ดุ เป็ นสําคัญ
ส่วนความผิดปกติทร่ี นุ แรงน้อยลงมาให้ลงเป็ นรหัสโรครอง ดังนี้
ผลต่อเส้นเลือด I73.0 กลุม่ อาการเรย์โนลด์
ผลต่อเส้นประสาท G62.8 ความผิดปกติของกลุม่ เส้นประสาท
G56.0 กลุม่ อาการอุโมงค์ขอ้ มือ
G56.2 รอยโรคทีเ่ ส้นประสาทอัลนาร์
G56.3 รอยโรคทีเ่ ส้นประสาทเรเดียล
ผลต่อกระดูกและข้อ M19.2 ข้อเสือ่ มจากสาเหตุอ่นื ๆ ทีข่ อ้ อื่นนอกเหนือจาก CMC joint
กรณีทค่ี วามผิดปกติทเ่ี กิดขึน้ ทุกอย่างมีความรุนแรงพอๆ กัน อาจเลือกลงรหัส T75.2 (ผลจากความ
สันสะเทื
่ อน) เป็ นรหัสโรคหลัก และความผิดปกติแต่ละอย่างทีพ่ บให้ลงเป็ นรหัสโรครองอันดับต่อๆ มาก็ได้

ตัวอย่างที่ 2: โรคของระบบประสาทจากการสัมผัสตัวทําละลายอิ นทรีย์

อาการของระบบประสาทจากการสัมผัสสารตัวทําละลายอินทรีย์ เป็ นตัวอย่างของความผิดปกติทม่ี ี


ความรุนแรงได้หลายระดับ ตัง้ แต่รนุ แรงมากคือเกิดอาการสมองเสือ่ มเรือ้ รัง ไปจนถึงไม่มอี าการอะไรเลย
ความผิดปกติทต่ี ่างระดับความรุนแรงกันนี้ บางครัง้ อาจถูกจัดอยูใ่ น ICD-10 คนละหมวดหมูก่ นั เลยก็ได้ การ
ลงรหัสอาจยึดตามตัวอย่างทีแ่ สดงไว้ดงั นี้
สมองเสือ่ มจากตัวทําละลายอินทรีย์ ลงรหัส G92
ความผิดปกติทางพุทธิปญั ญาจากตัวทําละลายอินทรีย์ ลงรหัส F06.7
สัมผัสตัวทําละลายอินทรียแ์ ล้ววิงเวียน แต่ไม่เป็ นโรค ลงรหัส R42 ร่วมกับ X46

6
สัมผัสตัวทําละลายอินทรียแ์ ล้วมาพบแพทย์ แต่ไม่มอี าการใดๆ ลงรหัส Z03.3 ร่วมกับ X46

ตัวอย่างที่ 3: กลุ่มโรคภูมิแพ้ของระบบทางเดิ นหายใจ

กลุม่ โรคภูมแิ พ้ของระบบทางเดินหายใจทีเ่ กิดจากการประกอบอาชีพมีหลายโรค เนื่องจากโรค


ทัง้ หมดเกิดทีร่ ะบบอวัยวะเดียวกันคือระบบทางเดินหายใจ ในกรณีน้ีรหัสโรคจึงอยูใ่ นหมวดเดียวกันคือ J00 –
J99 ทัง้ หมด ตัวอย่างของรหัสโรคในกลุม่ นี้คอื
ภูมแิ พ้น้ํามูกไหล J30.3
หอบหืดทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบภูมคิ มุ้ กัน J45.0
หอบหืดแบบผสม J45.8
ปอดอักเสบภูมไิ วเกิน J67.0 – J67.8
กลุม่ อาการฝุน่ อินทรียเ์ ป็ นพิษ J66.8
กรณีทผ่ี ปู้ ว่ ยมีอาการทีค่ ล้ายกับหอบหืด แต่ไม่ใช่โรคหอบหืด หรืออาการยังไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย
ควรจะลงรหัสอาการทีเ่ กิดขึน้ เช่น หายใจลําบาก (R06.1) หายใจเป็ นเสียงวีด้ (R06.2) แทน

ตัวอย่างที่ 4: กลุ่มอาการที่เชื่อว่าสัมพันธ์กบั การทํางานแต่ยงั ไม่มีวิธีการตรวจวิ นิจฉัยที่แน่ นอน

ในช่วงไม่กป่ี ีมานี้ มีกลุม่ อาการใหม่ๆ ทีอ่ า้ งว่ามีสว่ นสัมพันธ์กบั การประกอบอาชีพทีไ่ ด้รบั ความ
สนใจเพิม่ ขึน้ หลายกลุม่ อาการ เช่น sick-building syndrome (SBS), multiple chemical sensitivity (MCS)
หรือ electrical sensitivity เป็ นต้น [8-9] กลุม่ อาการเหล่านี้มกั มีอาการของหลายระบบอวัยวะ บางกลุม่ อาการ
ยังไม่มเี กณฑ์การวินิจฉัยทีแ่ น่นอน บางกลุม่ อาการก็ยงั ไม่ทราบสาเหตุทช่ี ดั เจน ด้วยเหตุน้ีกลุม่ อาการใหม่
เหล่านี้จงึ ยังไม่มรี หัสโรคให้ลงเป็ นการเฉพาะ หากมีการวินิจฉัยกลุม่ อาการเหล่านี้ขน้ึ คําแนะนําในปจั จุบนั ที่
ทําได้คอื ให้ลงรหัสความผิดปกติทร่ี นุ แรงทีส่ ดุ เป็ นรหัสโรคหลัก และความผิดปกติทร่ี นุ แรงรองๆ ลงมาเป็ น
รหัสโรครอง ลงรหัสจนครบหมดทุกความผิดปกติทผ่ี ปู้ ว่ ยมี ในอนาคตหากมีการศึกษาเกีย่ วกับกลุม่ อาการ
เหล่านี้มากขึน้ มีการกําหนดเกณฑ์การวินิจฉัยและทราบสาเหตุทช่ี ดั เจนแล้ว อาจมีการกําหนดรหัสเฉพาะของ
กลุม่ อาการเหล่านี้ไว้ในระบบ ICD-10 ในภายหลังได้

การลงรหัสเสริ ม “Y96”

การลงรหัสโรครอง “Y96” เสริมจากรหัสโรคหลัก เพือ่ ช่วยแยกโรคทีม่ สี าเหตุมาจากการประกอบ


อาชีพออกจากโรคทัวไปเป็ ่ นสิง่ ทีส่ ามารถทําได้ หากสถานพยาบาลแต่ละแห่ง ช่วยกันลงรหัสเสริมนี้ในผูป้ ว่ ยที่
วินิจฉัยเป็ นโรคจากการประกอบอาชีพทุกราย จะเป็ นการช่วยให้ระบบรายงานสถิตโิ รคจากการประกอบอาชีพ
มีความสมบูรณ์ขน้ึ เมือ่ มาทําการสืบค้นเพือ่ รวบรวมสถิตจิ าํ นวนผูป้ ว่ ย ก็จะสามารถแยกโรคจากการประกอบ
อาชีพออกจากโรคทัวไปได้
่ ดขี น้ึ [14]
ในบัญชีจาํ แนกโรค ICD-10 นัน้ โรคจากการประกอบอาชีพทีเ่ ป็ นทีร่ จู้ กั กันมานานแล้ว (classical
occupational disease) มีเกณฑ์การวินิจฉัยทีเ่ ป็ นทีย่ อมรับมานาน และสาเหตุการเกิดมักมาจากการประกอบ
อาชีพเท่านัน้ โรคเหล่านี้มกั จะมีรหัสเฉพาะอยูใ่ นรายการ ICD-10 แล้ว เช่น แอสเบสโตสิส (J61) โรคปอดฝุน่

7
หิน (J62) โรคปอดฝุน่ ฝ้าย (J67.0) โรคปอดชานอ้อย (J67.1) เหล่านี้เป็ นต้น โรคกลุม่ นี้สามารถลงรหัสไว้ใน
ฐานข้อมูลตามรหัส ICD-10 ทีม่ ไี ด้เลย และมักไม่มปี ญั หาในการสืบค้น
แต่สาํ หรับโรคจากการประกอบอาชีพยุคใหม่ ซึง่ เป็ นโรคจากการประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทพ่ี บใน
ปจั จุบนั เช่นโรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (occupational asthma) โรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการ
ประกอบอาชีพ (occupational musculoskeletal disease) โรคติดเชือ้ จากการประกอบอาชีพ (occupational
infection) โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ (occupational skin disease) สังเกตได้งา่ ยๆ ว่าโรคเหล่านี้มกั
เขียนการวินิจฉัยโดยมีคาํ ว่า “occupational” นําหน้าชื่อ โรคเหล่านี้ลว้ นแต่มอี าการและอาการแสดงทีต่ รวจได้
เหมือนกับโรคทัวไปทุ่ กประการ ความแตกต่างจากโรคทัวไปเพี ่ ยงอย่างเดียวคือมีสาเหตุมาจากการทํางาน
(คือถ้าไม่ทาํ งานก็จะไม่ปว่ ย) ปจั จุบนั โรคกลุม่ นี้ลว้ นมีเกณฑ์การวินิจฉัยทีช่ ดั เจนกําหนดไว้ [7] แต่ในหนังสือ
ICD-10 จะไม่ได้มกี ารแยกรหัสออกจากโรคเดียวกันทีเ่ กิดจากสาเหตุอ่นื
เพือ่ แก้ไขปญั หานี้ จึงแนะนําให้ทาํ การลงรหัสโรครองด้วยรหัส “Y96” เสริม เพือ่ ให้เกิดความแตกต่าง
จากโรคทัวไป ่ การลงรหัสหลายรหัสเพื่อใช้อธิบายความผิดเพียงอย่างเดียวของผูป้ ว่ ยนัน้ สามารถทําได้ [1] ซึง่
การลงรหัสเสริมเช่นนี้จะทําให้แยกสถิตผิ ปู้ ว่ ยโรคจากการประกอบอาชีพออกจากผูป้ ว่ ยโรคทัวไปได้ ่ ชดั เจน
เมือ่ มาทําการสืบค้นฐานข้อมูลเพือ่ รวบรวมสถิตใิ นภายหลัง ตัวอย่างการลงรหัสโดยใช้หลักการนี้ เช่น
ลมพิษจากการสัมผัสกรณีทวๆ
ั ่ ไป ลงรหัส L50.6
ลมพิษจากการสัมผัสในพยาบาลทีใ่ ช้ถุงมือลาเท็กซ์ ลงรหัส L50.6 และ Y96
วัณโรคทางเดินหายใจมีผลเพาะเชือ้ ยืนยัน ลงรหัส A15.1
วัณโรคทางเดินหายใจในแพทย์ซง่ึ ติดมาจากคนไข้ ลงรหัส A15.1 และ Y96
ต้อกระจกจากสาเหตุอ่นื ๆ ลงรหัส H26.2
ต้อกระจกในช่างเปา่ แก้วจากการสัมผัสรังสีอนิ ฟราเรด ลงรหัส H26.2 และ Y96
หลักการเดียวกันนี้ สามารถใช้กบั โรคทีเ่ กิดจากสิง่ แวดล้อมมลพิษได้ดว้ ย โดยการลงรหัส “Y97” เป็ น
รหัสโรครองเสริมจากรหัสโรคหลัก
จากประสบการณ์ทดลองใช้การลงรหัสเสริม “Y96” ของผูเ้ รียบเรียง พบว่ามีปญั หาอย่างหนึ่งเกิดขึน้
คือ รหัสเสริม “Y96” นัน้ คําอธิบายในหนังสือ ICD-10 ฉบับเต็มกําหนดให้หมายถึง “ภาวะทีเ่ กีย่ วข้องกับการ
ทํางาน” หรือ “work-related condition” ซึง่ น่าจะหมายถึงภาวะและโรคทุกชนิดทีเ่ กีย่ วข้องกับการทํางาน ไม่
ว่าจะเกีย่ วข้องในแง่มมุ ใดก็ตาม แต่ในระบบของกองทุนเงินทดแทนและในวงการอาชีวอนามัยปจั จุบนั เรามัก
แบ่งแยกภาวะหรือโรคทีเ่ กีย่ วข้องกับการทํางานทัง้ หมดออกเป็ น 2 กลุม่ ใหญ่ คือโรคทีม่ สี าเหตุมาจากการ
ประกอบอาชีพโดยตรง (occupational disease) กับโรคทีไ่ ม่ได้มสี าเหตุมาจากการประกอบอาชีพ แต่การ
ประกอบอาชีพจะมีผลกระทบต่ออาการของโรคได้ (work-related disease) การแบ่งโรคออกเป็ น 2 กลุม่ นี้ม ี
ความสําคัญมากโดยเฉพาะสําหรับระบบกองทุนเงินทดแทน เพราะจะเป็ นตัวชีว้ ดั สําคัญว่าผูป้ ว่ ยจะเบิกเงิน
ชดเชยความเจ็บปว่ ยได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากในหนังสือ ICD-10 ฉบับเต็มนัน้ กําหนดรหัสเสริมที่
เกีย่ วกับการทํางานมาให้เพียงแค่รหัสเดียวคือ “Y96” ในทางปฏิบตั จิ งึ แนะนําให้ลงรหัส “Y96” เสริมเฉพาะใน
กรณีโรคจากการประกอบอาชีพ (occupational disease) เพียงอย่างเดียว ส่วนโรคทีเ่ กีย่ วเนื่องกับการ
ประกอบอาชีพ (work-related disease) ไม่ตอ้ งลงรหัสเสริม การทําในลักษณะนี้น่าจะเป็ นประโยชน์กบั การใช้
ดูสถิตโิ รคจากการประกอบอาชีพของประเทศมากกว่าการลงรหัสให้กบั ทุกโรคทีเ่ กีย่ วข้องกับการทํางาน

8
สรุปสิ่งที่ควรทราบ
1. โรคจากการประกอบอาชีพ มีอาการเหมือนกับโรคทัวๆ ่ ไปทุกประการ แตกต่างกันเพียงที่สาเหตุ
การเกิ ด ดังนัน้ ในรายการรหัสโรค ICD-10 จึงไม่มีบทเฉพาะของโรคจากการประกอบอาชีพแยก
ส่วนออกมาชัดเจน แต่รหัสของโรคเหล่านี้ จะกระจายแทรกอยู่ในบทต่างๆ ของรายการโรค ICD-
10 ทัวทั ่ ง้ เล่ม
2. รหัสโรค ICD-10 ประกอบไปด้วย 3 ตัวอักษร ตัวแรกคืออักษรภาษาอังกฤษที่บอกหมวดหมู่โรค
ตัวที่ 2 – 3 คือตัวเลขที่บอกว่าเป็ นโรคใด เช่น A17, J66, N14 เป็ นต้น กรณี ที่สามารถระบุ
รายละเอียดลงไปได้อีก (แต่ไม่บงั คับ) จะมีการเติ มตัวเลขอีก 1 ตัวเป็ นตัวที่ 4 ไว้หลังจุดทศนิ ยม
เช่น R78.2, Z57.3, J84.1 เป็ นต้น
3. การลงรหัสโรคใน ICD-10 สําหรับผูป้ ่ วยคนหนึ่ งที่มารับบริ การครัง้ หนึ่ ง สามารถลงได้หลายรหัส
รหัสแรกสุดที่ลงเป็ นรหัสของโรคหรืออาการที่สาํ คัญที่สดุ เรียกว่ารหัสโรคหลัก (primary code)
รหัสที่ลงต่อๆ ไปเรียกว่ารหัสโรครอง (secondary code) ซึ่งใช้ลงในโรคหรืออาการที่มี
ความสําคัญรองลงมา หรือใช้ลงเพื่ออธิ บายลักษณะอาการของรหัสโรคหลักเพิ่ มเติ ม
4. การลงรหัสโรคจากการประกอบอาชีพ ในบางโรคที่ “มักเป็ นเฉพาะจากการประกอบอาชีพ
เท่านัน้ ” และเป็ นโรคที่ร้จู กั กันมานาน มักจะมีรหัสเฉพาะอยู่ในรายการรหัสโรค ICD-10 แล้ว เช่น
แอสเบสโตสิ ส (J61), โรคปอดฝุ่ นหิ น (J62), โรคปอดฝุ่ นฝ้ าย (J67.0) โรคปอดชานอ้อย (J67.1)
เป็ นต้น
5. ส่วนโรคจากการประกอบอาชีพส่วนใหญ่ที่ “เป็ นจากการประกอบอาชีพก็ได้ หรือจากสาเหตุอื่นก็
ได้” วิ ธีการที่จะทําให้แยกความแตกต่างว่าเป็ นโรคจากการประกอบอาชีพหรือไม่ จําเป็ นต้องลง
รหัสโรครองด้วยรหัส “Y96” เสริ ม ซึ่งจะทําให้แยกผูป้ ่ วยโรคจากการประกอบอาชีพออกจาก
ผูป้ ่ วยทัวไปได้
่ เมื่อทําการสืบค้นฐานข้อมูลในภายหลัง ตัวอย่างการลงรหัสด้วยหลักการนี้ เช่น
a. โรคหอบหืด: ลงรหัสเดียวคือ J45
โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ: รหัสที่ 1 ลง J45 รหัสที่ 2 ลง Y96
b. โรคหัด: ลงรหัสเดียวคือ B05
โรคหัดที่ติดเชื้อจากการประกอบอาชีพ: รหัสที่ 1 ลง B05 รหัสที่ 2 ลง Y96
c. กลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือ: ลงรหัสเดียวคือ G56.0
กลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือจากการประกอบอาชีพ: รหัสที่ 1 ลง G56.0 รหัสที่ 2 ลง Y96
6. รหัส “Y96” ที่ใช้ลงเสริ มนี้ ใช้ลงเสริ มเฉพาะโรคที่มีสาเหตุจากการประกอบอาชีพ (occupational
disease) แต่ไม่ต้องใช้ลงเสริ มโรคที่เกี่ยวเนื่ องกับการประกอบอาชีพ แต่มีสาเหตุมาจากสาเหตุ
อื่น (work-related disease)
7. หลักการเดียวกันนี้ สามารถใช้กบั โรคจากสิ่ งแวดล้อมมลพิ ษได้เช่นกัน โดยการลงรหัส “Y97”
เป็ นรหัสโรครอง เสริ มจากรหัสโรคหลัก

9
ส่วนที่ 2
รายการรหัส ICD-10 โรคจากการประกอบอาชีพ
ในส่วนนี้จะเป็ นตารางแสดงรหัส ICD-10 ของโรคจากการประกอบอาชีพและปญั หาทางอาชีวอนามัย
ทีพ่ บบ่อย ซึง่ ในตารางได้ระบุช่อื สิง่ คุกคามทีก่ ่อโรคและอาชีพทีม่ กั ทําให้ปว่ ยเป็ นโรคเหล่านี้ไว้ดว้ ย ชนิดของ
สิง่ คุกคามและอาชีพทีร่ ะบุไว้ในตารางเป็ นเพียงตัวอย่างทีพ่ บบ่อยเท่านัน้ ไม่ได้จาํ แนกรายละเอียดสิง่ คุกคาม
และอาชีพทีม่ โี อกาสทําให้ปว่ ยเป็ นโรคไว้ทงั ้ หมด หลักการพิจารณาคือเมือ่ มีงานใดทีม่ สี งิ่ คุกคามทีต่ อ้ งสงสัย
อยูใ่ นกระบวนการทํางาน ก็มโี อกาสเป็ นไปได้ทจ่ี ะเกิดโรคจากสิง่ คุกคามนัน้ ลักษณะการได้รบั สิง่ คุกคามอาจ
ไม่ได้มาจากการทํางานโดยปกติเพียงอย่างเดียว แต่อาจมาจากอุบตั เิ หตุรวไหล ั่ ผลพวงจากปฏิกริ ยิ าเคมี ของ
เสียทีเ่ กิดจากกระบวนการทํางาน หรือแม้แต่มาจากสถานทีท่ าํ งานข้างเคียง ก็ได้ เนื่องจากสิง่ คุกคามใหม่และ
อาชีพใหม่มเี กิดขึน้ ตลอดเวลา จึงไม่สามารถระบุรายการโรคทัง้ หมดไว้ ผูท้ ส่ี นใจสามารถหาความรูเ้ พิม่ เติมได้
จากตําราวิชาการทีเ่ กีย่ วข้อง [8-9] รายการทีแ่ สดงแบ่งตามกลุ่มโรคได้ดงั นี้

1. โรคติดเชื้อและปรสิต
Certain infectious and parasitic diseases (A00 – B99)

แม้วา่ โดยปกติคนทัวไปมี
่ โอกาสติดเชือ้ โรคต่างๆ ได้ไม่วา่ ประกอบอาชีพใดอยูแ่ ล้ว แต่ในบางอาชีพจะมี
โอกาสเกิดโรคติดเชือ้ จากการประกอบอาชีพได้มากกว่าอาชีพอื่น ตัวอย่าง เช่น เกษตรกร, บุคลากรทาง
การแพทย์, บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร, ผูท้ ท่ี าํ งานปศุสตั ว์ และผูท้ ท่ี าํ งานสัมผัสสารคัดหลังจากสั
่ ตว์ เป็ นต้น
รายการในตารางต่อไปนี้เป็ นตัวอย่างของโรคติดเชือ้ จากการทํางานทีอ่ าจพบได้ในประเทศไทย แสดงรายการ
โดยแบ่งกลุม่ ตามเชือ้ ก่อโรคดังนี้

1.1 โรคติ ดเชื้อจากแบคทีเรีย


Bacterial infections

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

A15 วัณโรคทางเดินหายใจ มีผลตรวจหาเชือ้ หรือ Mycobacterium tuberculosis บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรใน


ตรวจชิน้ เนื้อยืนยัน จากผูป้ ว่ ยติดเชือ้ ห้องปฏิบตั กิ ารทางการแพทย์
Respiratory tuberculosis, bacteriologically
and histologically confirmed Mycobacterium bovis สัตวแพทย์ คนงานโรงฆ่าสัตว์
จากสัตว์ตดิ เชือ้ (วัว)
A15.0 วัณโรคปอด
ยืนยันโดยการตรวจเสมหะพบเชือ้
โดยมีหรือไม่มผี ลเพาะเชือ้ ก็ได้
Tuberculosis of lung,
confirmed by sputum microscopy
with or without culture

10
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
A15.1 วัณโรคปอด
ยืนยันโดยการเพาะเชือ้ เท่านัน้
Tuberculosis of lung,
confirmed by culture only
A15.2 วัณโรคปอด
ยืนยันโดยการตรวจชิน้ เนื้อ
Tuberculosis of lung,
Confirmed histologically

A16 วัณโรคทางเดินหายใจ ไม่มผี ลตรวจหาเชือ้ เหมือน A15 เหมือน A15


หรือตรวจชิน้ เนื้อยืนยัน
Respiratory tuberculosis, not confirmed
bacteriologically or histologically

A17 วัณโรคของระบบประสาท เหมือน A15 เหมือน A15


Tuberculosis of nervous system

A18 วัณโรคของอวัยวะอื่นๆ
Tuberculosis of other organs
A18.0 วัณโรคกระดูกและข้อ เหมือน A15 เหมือน A15
of bones and joints
A18.1 วัณโรคทางเดินปสั สาวะและสืบพันธุ์ เหมือน A15 เหมือน A15
of genitourinary system
A18.2 วัณโรคต่อมนํ้าเหลืองส่วนปลาย เหมือน A15 เหมือน A15
of peripheral lymph nodes
A18.3 วัณโรคลําไส้และเยือ่ บุชอ่ งท้อง เหมือน A15 เหมือน A15
of intestine and peritoneum
A18.4 วัณโรคผิวหนัง เหมือน A15 และ เหมือน A15 และ
of skin and subcutaneous tissue Mycobacterium marinum คนดูแลพิพธิ ภัณฑ์สตั ว์น้ํา
จากตูป้ ลาและสัตว์น้ํา คนเลีย้ งปลา คนขายปลาสวยงาม
A18.5 วัณโรคของตา เหมือน A15 เหมือน A15
of eyes
A18.6 วัณโรคของหู เหมือน A15 เหมือน A15
of ears
A18.7 วัณโรคของต่อมหมวกไต เหมือน A15 เหมือน A15
of adrenal glands
A18.8 วัณโรคของอวัยวะอื่นๆ เหมือน A15 เหมือน A15
of other specified organs

A19 วัณโรคชนิดแพร่กระจาย เหมือน A15 เหมือน A15


Miliary tuberculosis

A22 แอนแทร็กซ์ Bacillus anthracis คนเลีย้ งวัว-ควาย คนงานโรงฆ่าสัตว์


Antrax จากวัว ควาย แพะ แกะ บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร สัตวแพทย์
โรงฟอกหนัง โรงงานทีใ่ ช้หนังสัตว์

11
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
A23 บรูเซลโลสิส Brucella spp. คนเลีย้ งแพะ คนงานโรงฆ่าสัตว์
Brucellosis จากแพะ แกะ วัว ควาย หมู บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร สัตวแพทย์

A24 เมลิออยโดสิส Burkhoderia pseudomallei เกษตรกร คนทีท่ าํ งานเท้าเปล่า


Melioidosis ในพืน้ ดินภาคอีสาน บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรใน
ห้องปฏิบตั กิ ารทางการแพทย์

A27 โรคฉี่หนู Leptospira interrogans เกษตรกร คนทีท่ าํ งานเท้าเปล่า


Leptospirosis จากปสั สาวะหนู หมา แมว คนเลีย้ งสัตว์ คนงานโรงฆ่าสัตว์
บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร สัตวแพทย์

A35 บาดทะยัก Clostridium tetani คนทีท่ าํ งานเท้าเปล่า ทหาร


Tetanus จากพืน้ ดิน ของหมักหมม คนงานก่อสร้าง คนขุดคลอง ลอกท่อ
เข้าร่างกายทางแผลทีส่ กปรก

A39 ไข้กาฬหลังแอ่น Neisseria meningitidis บุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรใน


Meningococcal infection จากผูป้ ว่ ยติดเชือ้ ห้องปฏิบตั กิ ารทางการแพทย์
A39.0 ติดเชือ้ ทีเ่ ยือ่ หุม้ สมอง
Meningococcal meningitis
A39.2 ติดเชือ้ ในเลือดแบบเฉียบพลัน
Acute meningococcemia
A39.3 ติดเชือ้ ในเลือดแบบเรือ้ รัง
Chronic meningococcemia

12
1.2 โรคติ ดเชื้อจากคลาไมเดียและริ คเก็ตเซีย
Chlamydial and rickettsial infections

รหัส โรค เชือ้ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

A70 ไข้นกแก้ว Chlamydia psittaci คนขายนกสวยงาม


Chlamydia psittaci infection จากนกเช่น นกแก้ว นกพิราบ คนเพาะพันธุน์ ก
(ornithosis)

J16 ปอดอักเสบจากเชือ้ ก่อโรคชนิดอื่นๆ


Pneumonia due to other organisms
J16.0 ปอดอักเสบจากเชือ้ คลาไมเดีย Chlamydia pneumoniae บุคลากรทางการแพทย์
Chlamydial pneumonia จากผูป้ ว่ ยติดเชือ้

A75 ไข้รากสาดใหญ่
Typhus fever
A75.3 สครับ ไทฟสั Rickettsia tsutsugamushi ชาวสวน ทหาร คนหาของปา่
Scrub typhus จากตัวไรอ่อน (chigger) ทีม่ ากัดคน นักสํารวจ นายพราน มัคคุเทศก์

13
1.3 โรคติ ดเชื้อจากไวรัส
Viral infections

รหัส โรค เชือ้ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

A82 พิษสุนขั บ้า Rabies virus คนเลีย้ งสัตว์ คนงานโรงฆ่าสัตว์


Rabies จากหมา จิง้ จอก แมว ค้างคาว บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร สัตวแพทย์
เจ้าหน้าทีป่ า่ ไม้ เจ้าหน้าทีป่ ศุสตั ว์

B01 อีสกุ อีใส (ไข้สกุ ใส) Varicella-Zoster virus บุคลากรทางการแพทย์


Varicella (Chicken pox) จากผูป้ ว่ ยติดเชือ้ บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร

B05 หัด Measles virus บุคลากรทางการแพทย์


Measles จากผูป้ ว่ ยติดเชือ้ บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร

B06 หัดเยอรมัน Rubella virus บุคลากรทางการแพทย์


Rubella (German measles) จากผูป้ ว่ ยติดเชือ้ บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร

B16 ตับอักเสบเฉียบพลันชนิดบี Hepatitis B virus บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าทีก่ ภู้ ยั


Acute hepatitis B จากเลือดผูป้ ว่ ยติดเชือ้ บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร พัศดี ตํารวจ

B17 ตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสชนิดอื่น
Other acute viral hepatitis
B17.0 ตับอักเสบเฉียบพลันชนิดซี Hepatitis C virus บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าทีก่ ภู้ ยั
Acute hepatitis C จากเลือดผูป้ ว่ ยติดเชือ้ บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร พัศดี ตํารวจ
B17.1 ตับอักเสบเฉียบพลันชนิดอี Hepatitis E virus บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าทีก่ ภู้ ยั
Acute hepatitis E จากเลือดผูป้ ว่ ยติดเชือ้ บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร พัศดี ตํารวจ

B23 ติดเชือ้ เอชไอวี


Human immunodeficiency virus (HIV)
disease resulting in other conditions
B23.0 กลุ่มอาการจากการติดเชือ้ เอชไอวี HIV บุคลากรทางการแพทย์
Acute HIV infection syndrome จากเลือดผูป้ ว่ ยติดเชือ้ บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร
(Acute retroviral syndrome)

B24 โรคเอดส์ HIV บุคลากรทางการแพทย์


Unspecified human immunodeficiency จากเลือดผูป้ ว่ ยติดเชือ้ บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร
virus (HIV) disease

J09 ไข้หวัดนก Influenza virus (type A) คนเลีย้ งไก่ คนทําลายไก่ คนเลีย้ งหมู
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุใ์ หม่ 2009 จากสัตว์ปีกติดเชือ้ บุคลากรทางการแพทย์
Influenza caused by influenza viruses that จากสัตว์ตดิ เชือ้ อื่น เช่น หมู บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร
normally infected only birds and, less
commonly, other animals

14
รหัส โรค เชือ้ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
U04 กลุ่มอาการหายใจเฉียบพลันรุนแรง Corona virus บุคลากรทางการแพทย์
Severe acute respiratory syndrome จากผูป้ ว่ ยติดเชือ้ บุคลากรในห้องปฏิบตั กิ าร
(SARS)

1.4 โรคติ ดเชื้อจากรา


Mycoses

รหัส โรค เชือ้ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

B38 คอคซิดอิ อยโดมัยโคสิส Coccidioides immitis เกษตรกร คนทีท่ าํ งานเท้าเปล่า


Coccidioidomycosis จากดิน

B39 ฮิสโตพลาสโมสิส Histoplasma capsulatum เกษตรกร คนทีท่ าํ งานเท้าเปล่า


Histoplasmosis จากดิน ขีน้ กและค้างคาว คนเลีย้ งไก่ คนเก็บขีค้ า้ งคาว

B42 สปอโรทริโคสิส Sporothrix schenkii เกษตรกร คนสวน ขายดอกไม้


Sporotrichosis จากซากพืช เปลือกไม้

15
1.5 โรคติ ดเชื้อจากโปรโตซัวและปรสิ ต
Protozoal and parasitic diseases

รหัส โรค เชือ้ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

B50 มาลาเรียจากเชือ้ P. falciparum Plasmodium falciparum ชาวสวน ทหาร คนหาของปา่


Plasmodium falciparum malaria จากยุงก้นปล่อง นักสํารวจ นายพราน มัคคุเทศก์

B51 มาลาเรียจากเชือ้ P. vivax Plasmodium vivax เหมือน B50


Plasmodium vivax malaria จากยุงก้นปล่อง

B52 มาลาเรียจากเชือ้ P. malariae Plasmodium malariae เหมือน B50


Plasmodium malariae malaria จากยุงก้นปล่อง

B53 มาลาเรียจากเชือ้ อืน่ ๆ


Other confirmed malaria
B53.0 มาลาเรียจากเชือ้ P. ovale Plasmodium ovale เหมือน B50
Plasmodium ovale malaria จากยุงก้นปล่อง

B58 ทอกโสพลาสโมสิส Toxoplasma godii ร้านขายสัตว์เลีย้ ง สัตวแพทย์


Toxoplasmosis จากแมว (หมา นก แกะ แพะ หมู วัว) คนเพาะพันธุแ์ มวขาย
(โดยเฉพาะในคนทีภ่ มู คิ มุ้ กันตํ่า)

B65 โรคพยาธิใบไม้ในเลือด Schistosoma spp. เกษตรกร คนขุดคลอง ลอกท่อ


Schistosomiasis จากการสัมผัสนํ้าทีม่ เี ชือ้ ปนเปื้ อน งานทุกชนิดทีต่ อ้ งยํ่านํ้า

B76 โรคพยาธิปากขอ
Hookworm diseases
B76.0 โรคพยาธิปากขอ Ancylostoma spp. คนงานเหมือง คนกรีดยาง
Ancylostomiasis จากอุจจาระทีถ่ ่ายตามพืน้ ดิน เกษตรกรทีท่ าํ งานไม่ใส่รองเท้า

16
2. โรคมะเร็ง
Malignant Neoplasm (C00 – C97)

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

C22 มะเร็งของตับและท่อนํ้าดีในตับ
Malignant neoplasm of liver and
intrahepatic bile ducts
C22.3 มะเร็งเส้นเลือดของตับ ไวนิล คลอไรด์ โมโนเมอร์ โรงงานไวนิล คลอไรด์
Angiosarcoma of liver Vinyl chloride monomer

C30 มะเร็งโพรงจมูกและหูชนั ้ กลาง


Malignant neoplasm of nasal cavity and
middle ear
C30.0 มะเร็งโพรงจมูก ฝุน่ ไม้ ช่างไม้ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ คนตัดไม้
Nasal cavity Wood dust

โครเมียม (VI) งานชุบโครเมียม โรงงานทําสี


Chromium (VI)

นิกเกิล โรงงานถ่านไฟฉาย โรงงานทําสเตนเลส


Nickel compounds

C34 มะเร็งของหลอดลมและปอด แร่ใยหิน งานทีใ่ ช้แร่ใยหินเป็ นวัตถุดบิ เช่น


Malignant neoplasm of bronchus and Asbestos (เช่นโรงงานทําฉนวน โรงงานทําผ้าเบรก
lung โรงงานกระเบือ้ งมุงหลังคา อู่ต่อเรือ ซ่อม
รถ คนงานรือ้ ถอนอาคาร)

สารหนู งานร่อนแร่ในเหมืองดีบุก หลอมทองแดง


Arsenic โรงงานยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ฟอกหนัง

โครเมียม (VI) งานชุบโครเมียม โรงงานทําสี


Chromium (VI)

นิกเกิล โรงงานถ่านไฟฉาย โรงงานทําสเตนเลส


Nickel

เรดอน ทํางานสัมผัสดินในภาคเหนือ
Radon progeny คนงานเหมืองทีท่ าํ งานอยูใ่ ต้ดนิ

บิส-(คลอโรเมทิล)-อีเธอร์ โรงงานสารเคมี
Bis-(chloromethyl) ether

17
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
C40 มะเร็งกระดูกและข้อทีเ่ กิดบริเวณรยางค์ รังสีชนิดก่อไอออน บุคลากรแผนกรังสีของโรงพยาบาล
Malignant neoplasm of bone and Ionizing radiation โรงงานทีใ่ ช้รงั สีเอ็กซ์ตรวจสอบสินค้า
articular cartilage of limbs

C41 มะเร็งกระดูกและข้อทีเ่ กิดบริเวณอื่น เหมือน C40 เหมือน C40


Malignant neoplasm of bone and
articular cartilage other sites

C44 มะเร็งผิวหนังชนิดอื่นๆ สารหนู งานร่อนแร่ในเหมืองดีบุก หลอมทองแดง


(มะเร็งผิวหนังชนิด squamous cell) Arsenic โรงงานยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ฟอกหนัง
Other malignant neoplasm of skin
(Squamous cell carcinoma) ถ่านหิน นํ้ามันดิน คนทําถนนลาดยางมะตอย
Coal, tar, mineral oil คนงานเหมืองถ่านหิน

รังสีชนิดก่อไอออน บุคลากรแผนกรังสีของโรงพยาบาล
Ionizing radiation โรงงานทีใ่ ช้รงั สีเอ็กซ์ตรวจสอบสินค้า

C45 มะเร็งของมีโสทีเลียม แร่ใยหิน งานทีใ่ ช้แร่ใยหินเป็ นวัตถุดบิ เช่น


Mesothelioma Asbestos (เช่นโรงงานทําฉนวน โรงงานทําผ้าเบรก
โรงงานกระเบือ้ งมุงหลังคา อู่ต่อเรือ ซ่อม
รถ คนงานรือ้ ถอนอาคาร)
C45.0 มะเร็งมีโสทีเลียมเยือ่ หุม้ ปอด
Mesothelioma of pleura
C45.1 มะเร็งมีโสทีเลียมเยือ่ บุชอ่ งท้อง
Mesothelioma of peritoneum
C45.7 มะเร็งมีโสทีเลียมทีต่ าํ แหน่งอื่นๆ
Mesothelioma of other sites
C45.9 มะเร็งมีโสทีเลียมไม่ระบุตาํ แหน่ง
Mesothelioma, unspecified

C67 มะเร็งกระเพาะปสั สาวะ อโรมาติก เอมีนส์ โรงงานทํายางและสี


Malignant neoplasm of bladder Aromatic amines

C91 มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมฟอยด์ รังสีชนิดก่อไอออน บุคลากรแผนกรังสีของโรงพยาบาล


Lymphoid leukemia Ionizing radiation โรงงานทีใ่ ช้รงั สีเอ็กซ์ตรวจสอบสินค้า

เบนซีน โรงงานทีใ่ ช้เบนซีนเป็ นตัวทําละลาย


Benzene โรงกลันนํ ั ๊ ้ ามัน
่ ้ ามัน ปมนํ

C92 มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ เหมือน C91 เหมือน C91


Myeloid leukemia

C94 มะเร็งเม็ดเลือดขาวเซลล์ชนิดอื่นๆ เหมือน C91 เหมือน C91


Other leukemias of specified cell typed

18
3. โรคเลือด
Non-malignant diseases of the blood (D50 – D89)

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

D59 โรคเลือดจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก
Acquired hemolytic anemia
D59.4 โรคเลือดจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดง ก๊าซอาร์ซนี กระบวนการอิเล็กโทรไลติค
แตกทีไ่ ม่ได้เกิดจากระบบภูมคิ ุม้ กัน Arsenic hydride (Arsine) กระบวนการสกัดสารหนู
ผิดปกติ
Other non-autoimmune hemolytic แนฟทาลีน โรงงานเคมี
anemia Naphthalene

สารประกอบไตรบูทลิ ของดีบุก โรงงานยาฆ่าหญ้า


Tributyl tin เกษตรกรทีใ่ ช้ยาฆ่าหญ้า

ไตรไนโตรโทลูอนี (ทีเอ็นที)
Trinitrotoluene (TNT) โรงงานทําระเบิดทีเอ็นที

D61 โรคเลือดจางเนื่องจากไขกระดูกฝอ่
Other aplastic anemia
D61.2 โรคเลือดจางเนื่องจากไขกระดูกฝอ่ รังสีชนิดก่อไอออน บุคลากรแผนกรังสีของโรงพยาบาล
จากการสัมผัสสิง่ ก่อโรคภายนอก Ionizing radiation โรงงานทีใ่ ช้รงั สีเอ็กซ์ตรวจสอบสินค้า
Aplastic anemia due to other
external agents เบนซีน โรงงานทีใ่ ช้เบนซีนเป็ นตัวทําละลาย
Benzene โรงกลันนํ ั ๊ ้ ามัน
่ ้ ามัน ปมนํ

D64 โรคเลือดจางอื่นๆ
Other anemia
D64.2 โรคเลือดจางชนิดสิเดอโรบลาสต์จาก ตะกั ่ว คนงานเหมืองตะกั ่ว คนงานหลอมตะกั ่ว
ยาและสารพิษ Lead ช่างบัดกรี ช่างเชือ่ ม โรงงานแบตเตอรี่
Secondary sideroblastic anemia โรงงานทํากระสุนปื น โรงงานทําเซรามิค
due to drugs and toxins

D70 อะแกรนูโลไซโตสิส รังสีชนิดก่อไอออน บุคลากรแผนกรังสีของโรงพยาบาล


Agranulocytosis Ionizing radiation โรงงานทีใ่ ช้รงั สีเอ็กซ์ตรวจสอบสินค้า

เบนซีน โรงงานทีใ่ ช้เบนซีนเป็ นตัวทําละลาย


Benzene โรงกลันนํ ั ๊ ้ ามัน
่ ้ ามัน ปมนํ

19
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
D74 เมทฮีโมโกลบินนีเมีย
Methemoglobinemia
D74.8 เมทฮีโมโกลบินนีเมียจากสาเหตุอ่นื สารประกอบ อะมิโน- และ โรงงานทําระเบิด โรงงานทําสี
Other methemoglobinemia ไนโตร- อโรมาติก
Aromatic amino- and nitro-
compounds

20
4. โรคจิตและพฤติกรรมผิดปกติ
Mental and behavioral disorders (F00 – F99)

รหัส โรค การสัมผัส


Code Disease Exposure

F06 ความผิดปกติทางจิตอื่นๆ ทีเ่ กิดจากสมองถูก


ทําลาย หรือทํางานไม่ปกติ หรือจากโรคทางกาย
Other mental disorders due to brain damage
and dysfunction and to physical disease
F06.7 ความผิดปกติทางพุทธิปญั ญา ตะกั ่ว
Mild cognitive disorder Lead
ตัวละลายอินทรีย์
Organic solvent

F43 ปฏิกริ ยิ าตอบสนองต่อความเครียดและการ


ปรับตัวทีผ่ ดิ ปกติ
Reaction to severe stress, and adjustment
disorder
F43.0 ภาวะเครียดเฉียบพลัน ความเครียดทางร่างกายและจิตใจ
Acute stress reaction Exceptional physical and mental stress
F43.1 โรคเครียดจากการประสบเหตุการณ์ เผชิญเหตุการณ์อนั น่าตระหนก รุนแรง บีบคัน้
Post-traumatic stress disorder Stressful event or situation

21
5. โรคระบบประสาท
Diseases of the nervous system (G00 – G99)

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

G21 กลุ่มอาการพาร์กนิ สันแบบทราบสาเหตุ


Secondary parkinsonism
G21.2 กลุ่มอาการพาร์กนิ สันจากการ แมงกานีส คนงานเหมืองแมงกานีส ช่างเชือ่ ม
สัมผัสสิง่ ก่อโรคทีท่ ราบชนิด Manganese คนงานโรงงานทําถ่านไฟฉาย
Secondary parkinsonism due
to other external causes

G25 เอ็กซตราพิรามิดลั และการเคลื่อนไหว


ผิดปกติอ่นื ๆ
Other extrapyramidal and movement
disorders
G25.8 เอ็กซตราพิรามิดลั และการ ปรอท โรงงานแบตเตอรี่ โรงงานทําหลอดไฟฟ้า
เคลื่อนไหวผิดปกติอ่นื ๆ Mercury โรงงานทํายาฆ่าเชือ้ รา ช่างซ่อมอุปกรณ์
Other specified extrapyramidal ทางการแพทย์ โรงหลอมโลหะ
and movement disorders

G56 ความผิดปกติของเส้นประสาทเส้นเดียวของ งานทีต่ อ้ งใช้แรง ทําท่าเดิม คนหันเนื


่ ้อ คนทํางานขัด คนตัดไม้
รยางค์สว่ นบน ซํ้าๆ สั ่นสะเทือน และต้องบิด คนทีท่ าํ งานท่าซํ้าๆ กับวัสดุขนาดเล็ก
Mononeuropathies of the upper limb ข้อมือผิดไปจากธรรมชาติ แม่ครัว พนักงานพิมพ์ดดี
เมือ่ ต้องทําปจั จัยเหล่านี้
ร่วมกันความเสีย่ งจะเพิม่ ขึน้
Forceful repetitive work,
vibration and extreme
posture of the wrist,
especially a combination of
these risk factors
G56.0 กลุ่มอาการอุโมงค์ขอ้ มือ
Carpal tunnel syndrome
G56.2 รอยโรคทีเ่ ส้นประสาทอัลนาร์
Lesion of the ulnar nerve
G56.3 รอยโรคทีเ่ ส้นประสาทเรเดียล
Lesion of the radial nerve

22
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
G62 ความผิดปกติของเส้นประสาทหลายเส้น
สาเหตุอ่นื ๆ
Other polyneuropathy
G62.2 ความผิดปกติของเส้นประสาท สารหนู งานร่อนแร่ในเหมืองดีบุก หลอมทองแดง
หลายเส้นจากการได้รบั สารพิษ Arsenic โรงงานยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ฟอกหนัง
Polyneuropathy due to other
toxic agent อะครีลาไมด์ โรงงานพลาสติก โรงงานผ้าใยสังเคราะห์
Acrylamide

คาร์บอนไดซัลไฟด์ โรงงานเรยอน โรงงานยาง


Carbon disulfide

เอธิลนี ออกไซด์ ห้องอบแก็สในโรงพยาบาล โรงงานทํา


Ethylene oxide อุปกรณ์ปลอดเชือ้ ทางการแพทย์

เอ็น-เฮ็กเซน โรงงานทุกประเภททีใ่ ช้ เอ็น-เฮ็กเซน


n-Hexane เป็ นตัวทําละลาย

เมทิล-เอ็น-บิวทิล-คีโตน โรงงานทุกประเภททีใ่ ช้ เมทิล-เอ็น-


Methyl-n-butyl-ketone บิวทิล-คีโตน เป็ นตัวทําละลาย

ตะกัว่ คนงานเหมืองตะกัว่ คนงานหลอมตะกัว่


Lead ช่างบัดกรี ช่างเชือ่ ม โรงงานแบตเตอรี่
โรงงานทํากระสุนปื น โรงงานทําเซรามิค

ปรอท โรงงานแบตเตอรี่ โรงงานทําหลอดไฟฟ้า


Mercury โรงงานทํายาฆ่าเชือ้ รา ช่างซ่อมอุปกรณ์
ทางการแพทย์ โรงหลอมโลหะ

ออร์กาโนฟอสฟอรัส โรงงานทํายาฆ่าแมลง
Organophosphorous เกษตรกรทีใ่ ช้ยาฆ่าแมลง

G62.8 ความผิดปกติของเส้นประสาท ความสั ่นสะเทือน คนตัดไม้โดยใช้เลื่อยไฟฟ้า ช่างขัด


หลายเส้นจากสาเหตุอ่นื ๆ Vibration คนใช้สว่านเจาะถนน คนตัดหิน
Other specified
polyneuropathies

G92 อาการสมองเสือ่ มเนื่องจากได้รบั สารพิษ ตะกั ่ว คนงานเหมืองตะกั ่ว คนงานหลอมตะกั ่ว


Toxic encephalopathy Lead ช่างบัดกรี ช่างเชือ่ ม โรงงานแบตเตอรี่
โรงงานทํากระสุนปื น โรงงานทําเซรามิค

ปรอท โรงงานแบตเตอรี่ โรงงานทําหลอดไฟฟ้า


Mercury โรงงานทํายาฆ่าเชือ้ รา ช่างซ่อมอุปกรณ์
ทางการแพทย์ โรงหลอมโลหะ

23
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
G92 อาการสมองเสือ่ มเนื่องจากได้รบั สารพิษ ตัวทําละลาย เช่น ทุกงานทีเ่ กีย่ วข้องกับการใช้ตวั ทําละลาย
Toxic encephalopathy Solvent e.g. เหล่านี้

โทลูอนี
toluene

ไซลีน
Xylene

สไตรีน
styrene

เพนเทน
pentane

ไวท์ สปิ รติ


white spirit

1,1,2,ไตรคลอโรอีเทน
1,1,2,trichlorethane

24
6. โรคตา
Diseases of the eye and adnexa (H00 – H59)

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

H10 เยือ่ บุตาอักเสบ


Conjunctivitis
H10.8 เยือ่ บุตาอักเสบจากสาเหตุอ่นื ๆ ฝุน่ แป้งและฝุน่ จากเมล็ดพืช โรงสี คนคุมยุง้ ฉาง (silo) คนทําเบเกอรี่
(เยือ่ บุตาอักเสบจากฝุน่ หรือไอ Flour and grain dust งานทีท่ าํ กับฝุน่ แป้งสาลี
ระเหยของสารเคมีก่อระคายเคือง)
Other conjunctivitis ฝุน่ ไม้ ช่างไม้ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ คนตัดไม้
(Chemical-induced conjunctivitis) Wood dust

สีสงั เคราะห์ โรงงานทําสี ช่างทาสี ช่างพ่นสี


Reactive dyes

H16 กระจกตาอักเสบ
Keratitis
H16.1 กระจกตาอักเสบจากสาเหตุอ่นื ๆ รังสีอุลตร้าไวโอเล็ต ช่างเชือ่ ม
โดยไม่มเี ยือ่ บุตาอักเสบ Ultraviolet radiation (UV)
Other superficial keratitis without
conjunctivitis
(photokeratitis, UV keratitis)

H26 ต้อกระจกจากสาเหตุอ่นื ๆ
Other cataract
H26.8 ต้อกระจกจากสาเหตุอ่นื ๆ รังสีอนิ ฟราเรด ช่างตีเหล็ก ช่างตีมดี ช่างเปา่ แก้ว
Other specified cataract Infrared radiation คนคุมเครือ่ งจักรทีม่ กี ารใช้แสงเลเซอร์

คลื่นไมโครเวฟ เจ้าหน้าทีเ่ ทคนิคทีค่ วบคุมสถานี


Microwave ไมโครเวฟและเรดาร์

รังสีชนิดก่อไอออน บุคลากรแผนกรังสีของโรงพยาบาล
Ionizing radiation โรงงานทีใ่ ช้รงั สีเอ็กซ์ตรวจสอบสินค้า

ไตรไนโตรโทลูอนี โรงงานทําระเบิดทีเอ็นที
Trinitrotoluene

แนฟทาลีน โรงงานเคมี
Naphthalene

ไดไนโทรฟีนอล, ไดไนโตร โรงงานทําระเบิด โรงงานทําสี


ครีซอล
Dinitrophenol, dinitro-cresol

25
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
H26.8 ต้อกระจกจากสาเหตุอ่นื ๆ ห้องอบแก็สในโรงพยาบาล โรงงานทํา
Other specified cataract เอทธิลนี ออกไซด์ อุปกรณ์ปลอดเชือ้ ทางการแพทย์
Ethylene oxide

H55 โรคตาแกว่งและตาเคลื่อนไหวผิดปกติอ่นื ๆ ทีท่ าํ งานมีแสงน้อย คนงานเหมืองทีท่ าํ งานอยูใ่ ต้ดนิ


(โรคตาแกว่งในคนงานเหมือง) Poor lighting
Nystagmus and other irregular eye
movement
(Miner’s nystagmus)

26
7. โรคหู
Diseases of the ear and mastoid process (H60 – H95)

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

H83.3 โรคของหูชนั ้ ในทีเ่ กิดจากเสียง


Noise effect on inner ear

โรคประสาทหูเสือ่ มจากการสัมผัสเสียงดัง เสียงดัง งานทุกงานทีส่ มั ผัสเสียงดังเป็ นเวลานาน


Noise-induced hearing loss, NIHL Excessive noise

โรคประสาทหูเสือ่ มจากแรงอัดของเสียง เสียงระเบิด งานทีไ่ ด้ยนิ เสียงระเบิด เสียงปืน


Acoustic trauma Excessive noise

27
8. โรคระบบไหลเวียนโลหิต
Diseases of the circulatory system (I00 – I99)

สิง่ คุกคามจากการประกอบอาชีพหลายอย่างมีผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดหัวใจตีบ
เฉียบพลัน [8] เช่น ความเครียดจากการทํางาน การอยูก่ ะ อากาศร้อน และเสียงดัง อย่างไรก็ตามแม้วา่
ผลการวิจยั ในระดับกลุม่ ประชากร จะแสดงว่าสิง่ คุกคามเหล่านี้เพิม่ ความเสีย่ งต่อโรคอย่างชัดเจน แต่ในระดับ
บุคคล ยังเป็ นการยากทีจ่ ะพิจารณาแยกว่าสาเหตุจากการประกอบอาชีพเป็ นสาเหตุเดียวทีท่ าํ ให้เกิดโรค
เหล่านี้ขน้ึ ดังนัน้ จึงไม่ได้แสดงรายการรหัสโรคสําหรับกรณีทก่ี ล่าวมา ส่วนสิง่ คุกคามทีป่ จั จุบนั สามารถพิสจู น์
ได้ชดั เจนแล้วว่าเป็ นสาเหตุในการเกิดโรคระบบไหลเวียนโลหิต ได้แสดงไว้ดงั ตารางต่อไปนี้

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

I21 เส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ไนโตรกลีเซอรีน โรงงานทําระเบิดไดนาไมต์


Acute myocardial infarction Nitroglycerin

คาร์บอนมอนอกไซด์ พนักงานดับเพลิง
Carbon monoxide

I73.0 กลุ่มอาการเรย์โนลด์ ความสั ่นสะเทือน คนตัดไม้โดยใช้เลื่อยไฟฟ้า ช่างขัด


Raynaud’s syndrome Vibration คนใช้สว่านเจาะถนน คนตัดหิน

ไวนิล คลอไรด์ โมโนเมอร์ โรงงานทําไวนิลคลอไรด์


Vinyl chloride monomer

28
9. โรคระบบทางเดินหายใจ
Diseases of the respiratory system (J00 – J99)

รายการในตารางต่อไปนี้ แสดงรหัสโรคของโรคจากการประกอบอาชีพทีเ่ กิดขึน้ กับระบบทางเดินหายใจ


ยกเว้นเฉพาะกรณีโรคติดเชือ้ ในระบบทางเดินหายใจ ซึง่ กล่าวถึงไปแล้วในหัวข้อที่ 1 และโรคมะเร็งระบบ
ทางเดินหายใจ ซึง่ กล่าวถึงไปแล้วในหัวข้อที่ 2 รายการโรคในระบบทางเดินหายใจแบ่งออกเป็ น 3 กลุม่ หลักๆ
คือกลุม่ โรคฝุน่ จับปอด (pneumoconiosis) กลุม่ โรคหอบหืดและภูมแิ พ้จากการประกอบอาชีพ (occupational
asthma and allergy) และอาการระบบทางเดินหายใจเนื่องจากได้รบั สารพิษหรือสารระคายเคือง (toxic and
irritative respiratory diseases) ตามลําดับ

9.1 โรคฝุ่ นจับปอดและผังพืดที่ปอดหรือเยื่อหุ้มปอดเนื่ องจากการสัมผัสฝุ่ นอนิ นทรีย์


Pneumoconioses and pulmonary or pleural fibrosis caused by inorganic dusts

โรคในกลุม่ โรคฝุน่ จับปอด (pneumoconiosis) ทัง้ หมด มีการกําหนดรายการโรคไว้อย่างชัดเจนใน


ICD-10 โดยจะอยูใ่ นรายการรหัสโรค J60 – J63 ดังแสดงในตารางต่อไปนี้ สําหรับอาการปว่ ยด้วยโรคฝุน่ จับ
ปอดร่วมกับวัณโรคปอดซึง่ มักจะพบร่วมกันได้บอ่ ยนัน้ ให้ทาํ การลงรหัสโรคหลักเป็ น J65 ทัง้ หมด ไม่วา่ จะ
เป็ นโรคฝุน่ จับปอดชนิดใดก็ตาม [1]

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

J60 ฝุน่ จับปอดในคนงานเหมืองถ่านหิน ฝุน่ ถ่านหิน เหมืองถ่านหิน


Coalworker’s pneumoconiosis Coal dust

J61 แอสเบสโตสิส (โรคปอดใยหิน) แร่ใยหิน งานทีใ่ ช้แร่ใยหินเป็ นวัตถุดบิ เช่น


Pneumoconiosis due to asbestos and other Asbestos (เช่นโรงงานทําฉนวน โรงงานทําผ้า
mineral fibers (Asbestosis) เบรก โรงงานกระเบือ้ งมุงหลังคา อู่ตอ่
เรือ ซ่อมรถ คนงานรือ้ ถอนอาคาร)

J62 โรคปอดฝุน่ หิน


Pneumoconiosis due to dust containing silica
(Silicosis)
J62.0 ปอดฝุน่ หินจากแป้งฝุน่ แป้งฝุน่ โรงงานทําแป้งฝุน่ ทาหน้า
Pneumoconiosis due to talc dust Talc คนงานเหมืองหินสบู่
J62.8 ปอดฝุน่ หินจากหินอื่นๆ ฝุน่ หิน คนงานเหมืองหิน ระเบิดหิน
Pneumoconiosis due to other dust Silica ทําครกหิน ทําตุ๊กตาหิน ยิงทราย
containing silica หล่อพระพุทธรูป โรงงานเซรามิค
งานขัดด้วยเครือ่ งขัด (หินขัด)
โรงงานทําไส้กรองนํ้า

29
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
J63 ฝุน่ จับปอดจากฝุน่ อนินทรียอ์ ่นื ๆ
Pneumoconiosis due to other inorganic dust
J63.0 อลูมโิ นสิส อลูมเิ นียม โรงงานทีม่ กี ารใช้อลูมเิ นียม
Aluminosis Aluminium ในลักษณะเป็ นผงฟุ้งกระจาย
J63.1 ฝุน่ จับปอดจากบอกไซต์ บอกไซต์ โรงถลุงแร่บอกไซต์
Bauxite fibrosis Bauxite
J63.2 เบริลโลสิส เบริลเลียม เหมืองแร่เบริลเลียม โรงงานนิวเคลียร์
Berylliosis Beryllium โรงสร้างยานอวกาศ
J63.3 ฝุน่ จับปอดจากกราไฟต์ กราไฟต์ โรงงานทําดินสอ โรงหล่อโลหะ
Graphite fibrosis Graphite dust โรงงานทําถ้วยชามทนความร้อน
J63.4 ซิเดอโรสิส ฝุน่ เหล็ก โรงงานทีม่ กี ารใช้เหล็ก
Siderosis Iron dust ในลักษณะเป็ นผงฟุ้งกระจาย
J63.5 สแตนโนสิส ฝุน่ และฟูมของดีบุก เหมืองดีบุก โรงหล่อโลหะ
Stannosis Tin dust and fume
J63.8 ฝุน่ จับปอดจากฝุน่ อนินทรียอ์ ่นื ๆ ฝุน่ ผสม โรงหล่อโลหะ
Pneumoconiosis due to other specified Mixed dust
inorganic dust

J65 ฝุน่ จับปอดร่วมกับติดเชือ้ วัณโรค เหมือน J60 – J63 เหมือน J60 – J63
Pneumoconioses associated with tuberculosis ร่วมกับเป็ นวัณโรค

J84 โรคของเนื้อปอดชนิดอื่นๆ
Other interstitial pulmonary disease
J84.1 โรคผังพืดทีเ่ นื้อปอดชนิดอื่นๆ โลหะหนัก (โคบอลต์) โรงผลิตโลหะหนัก
(โรคผังพืดทีเ่ นื้อปอดจากโลหะหนัก) Hard metal (Cobalt) งานขัดทีข่ ดั ด้วยหัวโลหะหนัก
Other interstitial pulmonary diseases with
fibrosis (Hard metal disease)

J90 มีน้ําในช่องปอดจากสาเหตุอ่นื ๆ ทีไ่ ม่ได้จดั หมวดหมูไ่ ว้ แร่ใยหิน เหมือน J61


Pleural effusion, not elsewhere classified Asbestos
(pleurisy with effusion)

J92 คราบหนาทีเ่ ยือ่ หุม้ ปอด


Pleural plaque
J92.0 คราบหนาทีเ่ ยือ่ หุม้ ปอดและพบแร่ใยหิน แร่ใยหิน เหมือน J61
Pleural plaque with presence of asbestos Asbestos

J94 โรคของเยือ่ หุม้ ปอดอื่นๆ


Other pleural conditions
J94.8 โรคของเยือ่ หุม้ ปอดอื่นๆ แร่ใยหิน เหมือน J61
(เยือ่ หุม้ ปอดหนาตัวเนื่องจากสัมผัสแร่ใยหิน) Asbestos
Other specified pleural conditions
(Asbestos-related diffuse pleural
thickening)

30
9.2 หอบหืดและภูมิแพ้จากการประกอบอาชีพ
Occupational asthma and allergic respiratory diseases

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

J30 นํ้ามูกไหลจากอากาศเปลีย่ นและภูมแิ พ้


Vasomotor and allergic rhinitis
J30.3 ภูมแิ พ้น้ํามูกไหลจากสาเหตุอ่นื ๆ สารเคมีหลายชนิดทีท่ าํ ให้เกิด
Other allergic rhinitis โรคหอบหืดจากการทํางาน
ภูมแิ พ้น้ํามูกไหลเหตุอาชีพ สามารถทําให้เกิดอาการ
(Occupational allergic rhinitis) ภูมแิ พ้น้ํามูกไหลได้เช่นกัน
Many of the agents
causing occupational
asthma, can also induce
allergic rhinitis

J45 หอบหืด ไอโซไซยาเนต ช่างพ่นสี งานทาพืน้ ด้วยโพลียรู เิ ทน


Asthma Isocyanates โรงงานสารเคมี

ฝุน่ แป้งและฝุน่ จากเมล็ดพืช โรงสี คนคุมยุง้ ฉาง (silo) คนทําเบเกอรี่


Flour and grain dust งานทีท่ าํ กับแป้งสาลี เมล็ดกาแฟ ละหุง่

สิง่ คัดหลังจากสั
่ ตว์ คนเลีย้ งสัตว์ขาย คนเลีย้ งนกขาย
Animal excretions สัตวแพทย์ เจ้าหน้าทีห่ อ้ งปฏิบตั กิ าร

ฝุน่ ไม้ ช่างไม้ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ คนตัดไม้


Wood dust

สีสงั เคราะห์ โรงงานทําสี ช่างทาสี ช่างพ่นสี


Reactive dyes

เปอร์ซลั เฟต ช่างทําผม


Persulfate

ลาเท็กซ์ (ยางธรรมชาติ) บุคลากรทางการแพทย์


Latex (natural rubber) โรงงานทําผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ
J45.0 เกีย่ วข้องกับระบบภูมคิ มุ้ กัน
predominantly allergic
J45.1 ไม่เกีย่ วข้องกับระบบภูมคิ มุ้ กัน
non-allergic
J45.8 แบบผสม
mixed
J45.9 หอบหืดไม่ระบุชนิด
asthma, unspecified

31
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
J66 โรคของทางเดินหายใจจากฝุน่ อินทรีย์
Airway disease due to specific organic dust
J66.0 ปอดฝุน่ ฝ้าย ฝ้าย, ปอ, ปา่ น โรงทอผ้าฝ้าย, ปา่ น, ปอ
Byssinosis Cotton, flax, hemp
J66.1 โรคปอดในคนตัดเสือ้ ผ้าลินิน ฝุน่ ปอ คนตัดเสือ้ ผ้าลินิน
Flax-dresser’s disease Flax dust
J66.8 โรคของทางเดินหายใจจากฝุน่ อินทรีย์ ฝุน่ จากเมล็ดพืช โรงสี คนคุมยุง้ ฉาง (silo) ชาวนา
ชนิดอื่นๆ Grain dust
(กลุ่มอาการฝุน่ อินทรียเ์ ป็ นพิษ) สิง่ คัดหลังจากสั
่ ตว์ คนเลีย้ งหมู คนทําความสะอาดเล้าหมู
Airway disease due to other specific Animal excretions
organic dust ราและจุลชีพอื่นๆ คนคุมระบบบําบัดนํ้าเสีย คนลอกท่อ
(Organic dust toxic syndrome, ODT) Fungi and other microbial คนทําความสะอาดท่อนํ้าเสีย

J67 ปอดอักเสบภูมไิ วเกิน เกิดได้จากสิง่ ก่อโรคหลาย


Hypersensitivity pneumonitis due to organic ชนิดทีม่ สี มบัตเิ ป็ นแอนติเจน
dust (Allergic alveolitis) ต่อร่างกาย
Hypersensitivity
pneumonitis can be due to
many antigens
J67.0 ปอดชาวไร่ Microspora faeni ชาวนา ชาวไร่
Farmer’s lung จากหญ้าฟางเน่าขึน้ รา
J67.1 ปอดชานอ้อย Thermoactinomyces โรงงานนํ้าตาล โรงหีบอ้อย
Bagassosis vulgaris
จากชานอ้อยขึน้ รา
J67.2 ปอดนักนิยมนกสวยงาม โปรตีนจากนก คนเพาะเลีย้ งนกสวยงาม
Bird fancier’s lung Bird proteins
J67.3 ปอดไม้คอร์ก Penicillium spp. โรงงานทําผลิตภัณฑ์จากไม้คอร์ก
Suberosis จากฝุน่ ไม้คอร์ก
J67.4 ปอดคนงานข้าวบาร์เลย์ Aspergillus clavatus คนงานเก็บเกีย่ วข้าวบาร์เลย์
Maltworker’s lung จากข้าวบาร์เลย์ขน้ึ รา
J67.5 ปอดคนเพาะเห็ด Thermoactinomyces คนเพาะเห็ด
Mushroom-worker’s lung sacchari จากปุ๋ยขึน้ รา
J67.6 ปอดคนลอกเปลือกเมเปิ ล Cryptostroma corticale คนลอกเปลือกเมเปิล
Maple-bark-stripper’s lung จากซุงเมเปิ ลขึน้ รา
J67.7 ปอดเครือ่ งปรับอากาศและทําความชืน้ Thermoactinomyces คนดูแลระบบระบายอากาศในตึก
Air-conditioner and humidifier lung candidus จากนํ้าแอร์
J67.8 ปอดอักเสบภูมไิ วเกินจากสาเหตุอ่นื ๆ ฝุน่ อินทรียห์ ลายชนิด หลากหลายอาชีพ ทีม่ กี ารสัมผัสฝุน่
Hypersensitivity pneumonitis due to Multiple causes อินทรียท์ เ่ี ป็ นสาเหตุของโรค
other organic dust

32
9.3 โรคที่เกิ ดจากการได้รบั สารพิ ษหรือการระคายเคืองทางเดิ นหายใจ
Toxic and irritative respiratory diseases

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

J68 โรคของทางเดินหายใจจากการสูดดม ก๊าซคลอรีน หลากหลายอาชีพ ทีม่ กี ารสัมผัสสารเคมี


สารเคมี, ก๊าซ, ฟูม และไอระเหย Chlorine ทีไ่ ด้ยกตัวอย่างมา
Respiratory condition due to inhalation ก๊าซแอมโมเนีย
of chemicals, gases, fumes and vapors Ammonia
ฟอร์มาลดีไฮด์
Formaldehyde
แคดเมียม
Cadmium
โคบอลต์
Cobalt
ปรอท
Mercury
โอโซน
Ozone
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
Sulfur dioxide
ฟอสจีน
Phosgene
พาราควอตต์
Paraquat
J68.0 หลอดลมอักเสบและปอดอักเสบ
Bronchitis and pneumonitis
J68.1 ปอดบวมนํ้าเฉียบพลัน
Acute pulmonary edema
J68.2 ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ
Upper respiratory inflammation
J68.3 โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันอื่นๆ
(กลุ่มอาการหอบหืดหลังสูดดม
สารเคมีปริมาณมากเฉียบพลัน)
Other acute or subacute
respiratory conditions
(Reactive airways disorder
syndrome, RADS)
J68.4 โรคทางเดินหายใจเรือ้ รังอื่นๆ
Chronic respiratory conditions
J68.8 อาการทางเดินหายใจอื่นๆ
(ไข้ฟูมโลหะ)
Other respiratory conditions
(Metal fume fever)

33
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
J34 ความผิดปกติอ่นื ๆ ของจมูกและไซนัส
Other disorders of nose and nasal
sinuses
J34.8 ความผิดปกติอ่นื ๆ ของจมูกและ โครเมียม (VI) งานชุบโครเมียม โรงงานทําสี
ไซนัส Chromium (VI)
(แผลทีเ่ ยือ่ บุจมูกและผนังกัน้ กลาง
จมูกทะลุ) สารหนู งานร่อนแร่ในเหมืองดีบุก หลอมทองแดง
Other specified disorders of Arsenic โรงงานยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ฟอกหนัง
nose and nasal sinuses
(Nasal ulcer and perforation of
nasal septum)

34
10. โรคตับ
Diseases of liver (K00 – K93)

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

K71 โรคตับอักเสบจากยาและสารพิษ สารเคมีหลายชนิด เช่น


Toxic liver disease Various chemicals e.g.

คาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ กิจการซักแห้ง งานทีท่ าํ กับตัวทําละลาย


Carbon tetrachloride ทีม่ สี ว่ นผสมของคาร์บอนเตตร้าคลอไรด์

คลอโรฟอร์ม โรงงานเคมี โรงงานกระดาษ


Chloroform

ฟอสฟอรัสขาว โรงงานปุ๋ย โรงงานทําสารกําจัดหนู


Yellow (white) phosphorus โรงงานทําระเบิด โรงงานไม้ขดี ไฟ

35
11. โรคผิวหนัง
Diseases of the skin and subcutaneous tissue (L00 – L99)

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

L23 ผิวหนังอักเสบจากสารก่อภูมแิ พ้ สารก่อภูมแิ พ้ หลากหลายอาชีพ


Allergic contact dermatitis (ACD) มากมายหลายชนิด ทีม่ กี ารสัมผัสสารก่อภูมแิ พ้
ACD can be due to many
antigens
L23.0 จากโลหะ
due to metals
L23.1 จากกาว สารสําหรับยึดติด
due to adhesives
L23.2 จากเครือ่ งสําอาง
due to cosmetics
L23.3 จากยาทาผิวหนัง
due to drugs contact with skin
L23.4 จากสีสงั เคราะห์
due to dyes
L23.5 จากผลิตภัณฑ์เคมีกลุ่มอื่นๆ
due to other chemical products
L23.6 จากอาหารทีถ่ กู ผิวหนัง
due to food contact with skin
L23.7 จากพืช
due to plant, except food
L23.8 จากสารเคมีอ่นื ๆ
due to other agents
L23.9 ไม่ระบุสาเหตุ
unspecified

L24 ผิวหนังอักเสบจากสารระคายเคือง สารก่อระคายเคือง หลากหลายอาชีพ


Irritant contact dermatitis มากมายหลายชนิด ทีม่ กี ารสัมผัสสารก่อระคายเคือง
ICD can be due to many
irritants
L24.0 จากสบู่ ผงซักฟอก นํ้ายาล้างจาน
due to detergents
L24.1 จากนํ้ามันและจารบี
due to oil and grease
L24.2 จากตัวทําละลาย
due to solvents
L24.3 จากเครือ่ งสําอาง
due to cosmetics
L24.4 จากยาทาผิวหนัง
due to drugs contact with skin

36
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
L24.5 จากผลิตภัณฑ์เคมีกลุ่มอื่นๆ
due to other chemical products
L24.6 จากอาหารทีถ่ กู ผิวหนัง
due to food contact with skin
L24.7 จากพืช
due to plant, except food
L24.8 จากสารเคมีอ่นื ๆ
due to other agents
L24.9 ไม่ระบุสาเหตุ
unspecified

L25 ผิวหนังอักเสบทีร่ ะบุชนิดไม่ได้ เหมือน L23 และ L24 เหมือน L23 และ L24
Unspecified contact dermatitis
L25.0 จากเครือ่ งสําอาง
due to cosmetics
L25.1 จากยาทาผิวหนัง
due to drugs contact with skin
L25.2 จากสีสงั เคราะห์
due to dyes
L25.3 จากผลิตภัณฑ์เคมีกลุ่มอื่นๆ
due to other chemical products
L25.4 จากอาหารทีถ่ กู ผิวหนัง
due to food contact with skin
L25.5 จากพืช
due to plant, except food
L25.8 จากสารเคมีอ่นื ๆ
due to other agents
L25.9 ไม่ระบุสาเหตุ
unspecified

L50 ลมพิษ
Urticaria
L50.6 ลมพิษจากการสัมผัส ลาเท็กซ์ (ยางธรรมชาติ) บุคลากรทางการแพทย์
Contact urticaria Latex (natural rubber) โรงงานทําผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ

อาหาร (ผัก ผลไม้) แม่ครัว คนเตรียมอาหาร โรงงานทําอาหาร


Food (vegetable, fruit) แม่คา้ ขายอาหารทีต่ ลาด คนขนส่งอาหาร

นํ้ายาย้อมผม ช่างทําผม
Paraphenylenediamine

37
รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
L58 ผิวหนังอักเสบจากการฉายรังสี รังสีชนิดก่อไอออน บุคลากรแผนกรังสีของโรงพยาบาล
Radiodermatitis Ionizing radiation งานทุกงานทีม่ กี ารใช้สาร isotope
L58.0 ผิวหนังอักเสบจากการฉายรังสี
แบบเฉียบพลัน
Acute radiodermatitis
L58.1 ผิวหนังอักเสบจากการฉายรังสี
แบบเรือ้ รัง
Chronic radiodermatitis

L70 สิว
Acne
L70.8 สิวจากสาเหตุอ่นื ๆ
Other acne

สิวจากฮาโลจิเนตไฮโดรคาร์บอน โพลีคลอโรแนฟทาลีน โรงงานผลิตฉนวนไฟฟ้า โรงงานวัสดุทนไฟ


(Chloracne) Polychloronaphthalenes โรงงานนํ้ายาถนอมเนื้อไม้
โพลีคลอริเนทฟีนอล โรงงานผลิตนํ้ามันไฮโดรลิค โรงงานกาว
Polychlorinated phenol โรงงานพลาสติก โรงงานหม้อแปลงไฟฟ้า
ไดออกซิน โรงงานผลิตสารกําจัดวัชพืช
Dioxin
โพลีคลอโรไบเฟนนิล โรงงานผลิตนํ้ามันไฮโดรลิค
Polychlorobiphenyls (PCB) โรงงานหม้อแปลงไฟฟ้า โรงงานพลาสติก
โพลีโบรโมไดเฟนนิล โรงงานพลาสติก โรงงานวัสดุทนไฟ
Polybromodiphenyls (PBB) โรงงานทําแผงวงจร

สิวจากนํ้ามัน นํ้ามันและจารบี อู่ซ่อมรถ โรงเหล็ก งานช่าง


(Oil acne) Oils and grease
ยางมะตอย คนทําถนนลาดยางมะตอย
Asphalt
ถ่านหิน นํ้ามันดิน เหมืองถ่านหิน งานขุดเจาะนํ้ามัน
Coal, tar, pitch

38
12. โรคกระดูกและกล้ามเนื้ อ
Diseases of the musculoskeletal system and connective tissue (M00 – M99)

ภาวะผิดปกติทางกระดูกและกล้ามเนื้อเป็ นกลุ่มโรคทีโ่ ดยส่วนใหญ่มสี าเหตุมาจากหลายปจั จัย การทําท่า


ทางซํ้าๆ หรือการออกแรงเกินกําลังในระหว่างการทํางานเป็ นสาเหตุหนึ่งทีเ่ พิม่ ความเสีย่ งต่อการเกิดโรคได้ [1]
นอกจากนี้ยงั มีสาเหตุอ่นื ๆ เช่น การทํากิจกรรมทีบ่ า้ น ความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายทีม่ อี ยูเ่ ดิม ความ
ผิดปกติทางเมตาบอลิสม์ ความเสือ่ มตามอายุ หรือสภาวะทางจิตใจ ซึง่ มีผลเพิม่ ความเสีย่ งต่อการเกิดโรคได้
เช่นกัน [8-9] ปจั จุบนั ยังไม่มเี ทคนิคการตรวจทางการแพทย์ แนวทาง หรือคําแนะนํามาตรฐานจากองค์กรใดๆ
ทีส่ ามารถใช้เป็ นเกณฑ์แยกสาเหตุของโรคในกลุม่ นี้วา่ เกิดจากการทํางานหรือไม่ได้อย่างแน่นอน การยอมรับ
ว่าเป็ นโรคจากการทํางานหรือไม่จงึ ให้ขน้ึ กับข้อตกลงของแต่ละประเทศ [1] สําหรับประเทศไทย กระทรวง
แรงงานได้ประกาศยอมรับให้โรคในกลุม่ นี้จดั อยูใ่ นรายการโรคจากการประกอบอาชีพ ตัง้ แต่ พ.ศ. 2550 เป็ น
ต้นมา [7] จึงได้แสดงรหัส ICD-10 ของโรคกลุม่ นี้ไว้ในตารางดังต่อไปนี้

รหัส โรค สภาวะทีก่ ่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

M54 ปวดหลัง
Dorsalgia
M54.5 ปวดหลังส่วนล่าง งานยกหนักหรือของผิดวิธ ี งานยกของหนัก ขับรถบรรทุก ดํานา
Low back pain งานทีต่ อ้ งก้มหรือเอีย้ วตัว พยาบาล พนักงานเปลยกผูป้ ว่ ย
Poor lifting technique งานทีน่ งทํ
ั ่ ากับพืน้ บ้าน งานขนส่งของ
Bended and twisted

M65 เยือ่ หุม้ ข้อและปลอกเอ็นอักเสบ


Synovitis and tenosynovitis
M65.3 นิ้วล็อค นิ้วไกปืน นิ้วลั ่น เชือ่ ว่าเกิดจากการทําท่าซํ้าๆ เชือ่ ว่างานทีใ่ ช้มอื ทําท่าซํ้าๆ จะเพิม่
Trigger finger จนเกิดการเสียดสีซ้าํ ของเอ็นกับ ความเสีย่ งในการเกิดโรค7,8
ปลอกเอ็นโคนนิ้ว7,8
Repetitive movement
M65.4 ปลอกเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ งานทีต่ อ้ งใช้แรง ทําท่าเดิมซํ้าๆ หลากหลายท่าทางทีเ่ สีย่ ง เช่น
บริเวณปลายยืน่ กระดูกเรเดียส และต้องบิดข้อมือผิดไปจาก ใช้กรรไกรตัดวัสดุแข็งๆ ซํ้าๆ
Radial styloid tenosynovitis ธรรมชาติ เมือ่ ต้องทําปจั จัย ใช้เมาส์คอมพิวเตอร์ซ้าํ ๆ
(De Quervain’s tenosynovitis) เหล่านี้รว่ มกันความเสีย่ งจะ นวดแป้งขนมปงั ใช้แรงบีบซํ้าๆ
เพิม่ ขึน้ เจียระไนเพชรพลอย บิดข้อมือซํ้าๆ
Repetitive movement, forceful งานขัดวัสดุ บิดข้อมือซํ้าๆ
exertions and extreme
posture of the wrist,
especially a combination of
these risk factors

39
รหัส โรค สภาวะทีก่ ่อโรค อาชีพ / กิจการ
Code Disease Agent Occupation / Industry
M70 ความผิดปกติของเนื้อเยือ่ อ่อน เนื่องจาก
การใช้งานมากเกินและแรงกดทับ
Soft tissue disorders related to use,
overuse and pressure
M70.0 ปลอกเอ็นกล้ามเนื้อทีม่ อื และ เหมือน M65.4 เหมือน M65.4
ข้อมืออักเสบเรือ้ รัง
Chronic crepitant tenosynovitis
of hand and wrist
M70.2 ถุงลดเสียดสีปลายศอกอักเสบ คลานด้วยศอกนานๆ ช่างเขียนแบบศอกยันโต๊ะ ทาสีพน้ื
Olecranon bursitis ยันศอกนานๆ ช่างซ่อมท่อนํ้าทีต่ อ้ งคลานไปในท่อ
Prolonged pressure of the
elbow region
M70.4 ถุงลดเสียดสีหน้าสะบ้าเข่าอักเสบ คุกเข่านานๆ คนปูพน้ื กระเบือ้ ง คนปูพรม
Prepatellar bursitis Prolonged kneeling คนปูพน้ื ไม้ปาร์เก้ คนถูพน้ื ด้วยผ้า

M77 เอ็นยึดกระดูกอักเสบแบบอื่นๆ งานทีอ่ อกแรงท่าเดิมซํ้าๆ ช่างก่อสร้างตอกตะปู แม่ครัวสับหมู


Other enthesopathies Repetitive forceful work งานทีท่ าํ ท่าซํ้าๆ กับวัสดุขนาดเล็ก
ขนของในลักษณะหิว้ ถุงหนักนานๆ
ขนของในลักษณะอุม้ แนบตัวนานๆ
นักกีฬาเทนนิส กอล์ฟ วอลเลย์บอล
M77.0 รอยนูนเหนือปุม่ กระดูกต้นแขน
อักเสบด้านใน
Medial epicondylitis
(Golfer’s elbow)
M77.1 รอยนูนเหนือปุม่ กระดูกต้นแขน
อักเสบด้านนอก
Lateral epicondylitis
(Tennis elbow)

40
13. โรคระบบทางเดินปัสสาวะและสืบพันธุ์
Diseases of the genitourinary system (N00 – N99)

รายการโรคในส่วนของระบบทางเดินปสั สาวะนัน้ มีการพิสจู น์ทช่ี ดั เจนแล้วว่าสิง่ คุกคามหลายชนิดเป็ น


พิษต่อไต ดังทีไ่ ด้แสดงตัวอย่างไว้ในตาราง ในส่วนของระบบสืบพันธุ์ แม้ในปจั จุบนั จะมีขอ้ มูลจากการวิจยั
ทางระบาดวิทยาทีบ่ ง่ ชีว้ า่ สิง่ คุกคามจากการทํางานหลายชนิด อาจมีผลต่อความผิดปกติของระบบสืบพันธุไ์ ด้
แต่ในปจั จุบนั การพิสจู น์ในระดับบุคคลยังทําได้ยากมาก จึงไม่ได้แสดงรายการโรคไว้ในทีน่ ้ี

รหัส โรค สิง่ ก่อโรค อาชีพ / กิจการ


Code Disease Agent Occupation / Industry

N14 โรคของเนื้อไตและท่อไตจากการสัมผัสยาและโลหะหนัก
Drug and heavy metal-induced tubulointerstitial and
tubular conditions
N14.3 ไตเสือ่ มจากพิษโลหะหนัก แคดเมียม โรงงานถ่านไฟฉายนิกเกิล-แคดเมียม
Nephropathy induced by heavy metal Cadmium โรงงานสี โรงงานพลาสติก
ตะกั ่ว คนงานเหมืองตะกัว่ หลอมตะกัว่
Lead ช่างบัดกรี ช่างเชือ่ ม โรงงานแบตเตอรี่
โรงงานทํากระสุนปื น โรงงานเซรามิค
N14.4 ไตเสือ่ มจากสารพิษชนิดอื่นๆ คาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ กิจการซักแห้ง งานทีใ่ ช้ตวั ทําละลาย
Toxic nephropathy, not elsewhere specified Carbon tetrachloride
ไตรคลอโรเอทธิลนี กิจการซักแห้ง งานทีใ่ ช้ตวั ทําละลาย
Trichloroethylene โรงงานทําสายนาฬิกาโลหะ

41
14. อาการ, อาการแสดง และผลตรวจทางห้องปฏิบตั ิ การที่ผิดปกติ
Symptoms, signs and abnormal clinical and laboratory findings, not elsewhere
classified (R00 – R99)

รหัสในกลุม่ นี้ไม่ใช่ “โรค” แต่เป็น “อาการ” “อาการแสดง” หรือ “ผลการตรวจทางห้องปฏิบตั กิ ารทีผ่ ดิ ปกติ”
ซึง่ แพทย์ตรวจพบหรือได้รบั ข้อมูลจากผูป้ ว่ ย เนื่องจากอยูใ่ นหมวด R00 – R99 บางครัง้ อาจเรียกรหัสกลุม่ นี้
ย่อๆ ว่า R-code ก็ได้ สาเหตุทต่ี อ้ งมีการจัดรหัสนี้ขน้ึ เนื่องจากจําเป็ นต้องใช้ลงในกรณีทไ่ี ม่ทราบการวินิจฉัย
ของผูป้ ว่ ยในการมารับบริการครัง้ นัน้ ๆ ซึง่ อาจเป็ นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ก) ไม่ทราบการวินิจฉัยจริงๆ
เนื่องจากอาการของผูป้ ว่ ยไม่เข้าได้กบั โรคใดเลย แม้วา่ แพทย์จะได้ตรวจอย่างละเอียดถีถ่ ว้ นแล้วก็ตาม ข)
เป็ นการมารับบริการครัง้ แรก และกําลังรอผลการตรวจเพือ่ ให้ได้รบั การวินิจฉัยทีแ่ น่นอน เช่นรอผลตรวจเลือด
รอผลตรวจชิน้ เนื้อ เพือ่ ยืนยันการวินิจฉัย ค) สถานพยาบาลทีร่ กั ษาไม่มศี กั ยภาพพอทีจ่ ะตรวจจนได้การ
วินิจฉัยทีแ่ น่นอน ต้องทําการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลระดับทีส่ งู กว่าจึงจะวินิจฉัยได้ ง) อาการทีต่ รวจพบไม่
มีการวินิจฉัยเฉพาะใดทีล่ ะเอียดกว่ารหัสในกลุ่มนี้แล้ว
จากทีก่ ล่าวมา เมือ่ ใดทีผ่ ปู้ ว่ ยได้รบั การวินิจฉัยยืนยันโรคแน่นอนแล้ว จะต้องเปลีย่ นไปใช้รหัสในกลุม่ อื่น
ทีจ่ าํ เพาะเจาะจงกว่าแทน (รหัสในหัวข้อที่ 1 – 13) ในกรณีการเฝ้าระวังโรค หรือการตรวจภาคสนาม ซึง่
มักจะทราบเพียงอาการเบือ้ งต้น และยังไม่ได้การวินิจฉัยทีแ่ น่นอนในขณะทีไ่ ปตรวจ ก็สามารถลงรหัส R-
code ไว้ได้เช่นกัน และรหัส R-code นี้ ก็สามารถลงร่วมกับรหัส Y96 เพือ่ แสดงว่าเป็ นอาการทีแ่ น่ใจว่าเกิด
จากการประกอบอาชีพได้ เมือ่ ใดทีไ่ ด้การวินิจฉัยแน่นอนแล้ว จึงเปลีย่ นมาเป็ นรหัสโรค (ตามหัวข้อที่ 1 – 13)
ในการมารับบริการครัง้ ต่อไป

14.1 อาการและอาการแสดงที่ผิดปกติ
Symptoms, signs and abnormal clinical findings, not elsewhere classified

รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign

R04 เลือดออกจากทางเดินหายใจ
Hemorrhage from respiratory passage
R04.0 เลือดกําเดา
Epitaxis
R04.2 ไอเป็ นเลือด
Hemoptysis
R05 ไอ
Cough
R06 การหายใจผิดปกติ
Abnormalities of breathing
R06.1 หายใจลําบาก
Dyspnea
R06.2 หายใจเป็ นเสียงวีด้
Wheezing

42
รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign
R09 อาการอื่นๆ ของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ
Other symptoms and signs involving the circulatory and respiratory system
R09.0 ขาดอากาศหายใจ
Asphyxia
R09.1 เจ็บหน้าอกร้าวมาจากเยือ่ หุม้ ปอด
Pleurisy
R10 ปวดท้องและปวดเชิงกราน
Abdominal and pelvic pain
R10.4 ปวดท้อง ไม่ระบุสาเหตุ
Other and unspecified abdominal pain
R11 คลื่นไส้และอาเจียน
Nausea and vomiting
R17 ตัวเหลือง (ดีซ่าน) ไม่ระบุสาเหตุ
Unspecified jaundice
R20 ความผิดปกติของการรับรูส้ มั ผัสทีผ่ วิ หนัง
Disturbance of skin sensation
R20.0 ชาทีผ่ วิ หนัง
Anaesthesia of skin
R20.1 ผิวหนังรับความรูส้ กึ ได้น้อยลง
Hypoaesthesia of skin
R20.2 ผิวหนังมีความรูส้ กึ เปลีย่ นไป เช่น เสียว เจ็บแปล๊บ ซู่ซ่า
Pareasthesia of skin
R20.3 ผิวหนังรับความรูส้ กึ ได้มากขึน้ ผิดปกติ
Hyperaesthesia of skin
R21 ผืน่ และเม็ดทีผ่ วิ หนัง ไม่ระบุสาเหตุ
Rash or other nonspecific skin eruption
R23 รอยโรคทีผ่ วิ หนังชนิดอื่นๆ
Other skin change
R23.0 ตัวเขียว
Cyanosis
R23.3 รอยจํา้ เลือดทีเ่ กิดขึน้ เอง
Spontaneous ecchymosis
R23.4 ผิวหนังมีการเปลีย่ นแปลงลักษณะพืน้ ผิว เช่น ลอก หนาตัวขึน้ ตกสะเก็ด
Change in skin texture
R25 การเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ นอกอํานาจจิตใจ
Abnormal involuntary movement
R25.1 อาการสัน่ ไม่ระบุสาเหตุ
Tremor, unspecified
R25.3 กล้ามเนื้อสันพลิ ่ ว้ เอง
Fasciculation
R27 ร่างกายขาดความสมดุลในการทรงตัว
Other lack of coordination
R27.0 อาการเดินเซ ไม่ระบุสาเหตุ
Ataxia, unspecified

43
รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign
R31 ปสั สาวะเป็ นเลือด ไม่ระบุสาเหตุ
Unspecified hematuria
R34 ปสั สาวะไม่ออกและปสั สาวะออกน้อย
Anuria and oliguria
R35 ปสั สาวะออกมาก
Polyuria
R40 ง่วงซึม ปลุกไม่ต่นื โคม่า
Somnolence, stupor and coma
R40.0 ง่วงซึม (ระดับความรูส้ กึ ตัวลดลง)
Somnolence (drowsiness)
R40.1 ปลุกไม่ต่นื (กึง่ โคม่า)
Stupor (semicoma)
R40.2 โคม่า ไม่ระบุสาเหตุ
Coma, unspecified
R42 วิงเวียนและมึนงง
Dizziness and giddiness
R43 การรับรูก้ ลิน่ และรสผิดปกติ
Disturbances of smell and taste
R43.0 จมูกไม่ได้กลิน่ (ทัง้ ทีค่ วามจริงมีกลิน่ )
Anosmia
R43.1 จมูกได้กลิน่ (ทัง้ ทีค่ วามจริงไม่มกี ลิน่ )
Parosmia
R44 อาการหรืออาการแสดงอื่นๆ ทีเ่ กีย่ วกับความรับรูแ้ ละประสาทสัมผัสทั ่วไป
Other symptoms and signs involving general sensations and perceptions
R44.3 ประสาทหลอน ไม่ระบุสาเหตุ
Hallucinations, unspecified
R50 ไข้ไม่ทราบสาเหตุ
Fever of unknown origin
R50.9 ไข้ ไม่ระบุสาเหตุ
Fever, unspecified
R51 ปวดศีรษะ
Headache
R53 ครั ่นเนื้อครันตั
่ วและอ่อนเพลีย
Malaise and fatigue
R55 หน้ามืดและเป็ นลม
Syncope and collapse
R68 อาการหรืออาการแสดงอื่นๆ
Other general symptoms and signs
R68.8 อาการหรืออาการแสดงอื่นๆ
Other specified general symptoms and signs

44
14.1 ผลตรวจทางห้องปฏิ บตั ิ การที่ผิดปกติ
Abnormal laboratory findings, not elsewhere classified

รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign
R70 ผลตรวจเลือดค่าการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ
Elevated erythrocyte sedimentation rate (ESR) and abnormality of plasma viscosity
R71 ผลตรวจเลือดเม็ดเลือดแดงผิดปกติ
Abnormality of red blood cells
R72 ผลตรวจเลือดเม็ดเลือดขาวผิดปกติ
Abnormality of white blood cell, not elsewhere classified
R73 ระดับนํ้าตาลในเลือดสูง
Elevated blood glucose level
R74 ระดับเอนไซม์ในเลือดผิดปกติ
Abnormal serum enzyme level
R75 ผลตรวจพบเชือ้ ไวรัสเอชไอวี
Laboratory evidence of human immunodeficiency virus (HIV)
R76 ผลตรวจทางภูมคิ มุ้ ในเลือดผิดปกติ (ทูเบอร์คลู นิ ซิฟิลสิ และอื่นๆ)
Other abnormal immunological findings in serum
(Tuberculin test, serological test for syphilis and others)
R77 ระดับโปรตีนในเลือดผิดปกติ
Other abnormalities of plasma protein
R78 ตรวจพบยาหรือสารเคมีอ่นื ๆ ผิดปกติในเลือด
Finding of drugs and other substance not normally found in blood
R78.0 พบแอลกอฮอล์ในเลือด
alcohol in blood
R78.1 พบยาเสพติดกลุ่มฝิ่นในเลือด
opiate drug in blood
R78.2 พบโคเคนในเลือด
cocaine in blood
R78.3 พบยาหลอนประสาทในเลือด
hallucinogen in blood
R78.4 พบยาชนิดอื่นๆ ในเลือด
other drugs in blood
R78.5 พบยาทางจิตเวชในเลือด
psychotropic drugs in blood
R78.6 พบยาสเตียรอยด์ในเลือด
steroid agent in blood
R78.7 พบระดับโลหะหนักในเลือดผิดปกติ
abnormal level of heavy metals in blood
R78.8 พบสารเคมีชนิดอื่นๆ ทีป่ กติไม่พบในเลือด
finding of other specified substance
R78.9 พบสารเคมีผดิ ปกติทร่ี ะบุชนิดไม่ได้ในเลือด
finding of unspecified substance
R79 ผลตรวจเลือดผิดปกติอ่นื ๆ
Other abnormal finings of blood chemistry

45
รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign
R80 ตรวจพบโปรตีนในปสั สาวะ
Isolated proteinuria
R81 ตรวจพบนํ้าตาลในปสั สาวะ
Glycosuria
R82 ผลตรวจปสั สาวะผิดปกติอ่นื ๆ
Other abnormal findings in urine
R82.2 ตรวจพบนํ้าดีในปสั สาวะ
Biliuria
R82.3 ตรวจพบฮีโมโกลบินในปสั สาวะ
Haemoglobinuria
R82.5 ตรวจพบระดับยาในปสั สาวะสูงผิดปกติ
Elevated urine level of drugs and medicaments
R82.6 พบระดับสารเคมีทไ่ี ม่ใช่ยาในปสั สาวะสูงผิดปกติ
Abnormal urine level of substances chiefly nonmedicinal
R82.9 ตรวจพบความผิดปกติอ่นื ๆ ในปสั สาวะ
Other and unspecified abnormal findings in urine

46
15. การบาดเจ็บ ได้รบั สารพิษ และป่ วยจากสิ่งคุกคามอื่นๆ
Injury, poisoning and other consequences of external causes (S00 – T98)

รายการรหัสต่อไปนี้ เป็ นรายการสําหรับอาการบาดเจ็บ (injury) การได้รบั สารพิษ (poisoning) และ


การเจ็บปว่ ยจากสิง่ คุกคามภายนอกร่างกายอื่นๆ (external cause) ซึง่ ในส่วนรายการโรคสําหรับอาการ
บาดเจ็บ (injury) สามารถนําไปใช้ลงรหัสกรณีอุบตั เิ หตุจากการทํางานได้ แต่เนื่องจากรายการสําหรับอาการ
บาดเจ็บมีรายละเอียดจํานวนมาก ครอบคลุมการบาดเจ็บทุกส่วนของร่างกาย เราจึงไม่ได้นํามาแสดงไว้ ณ
ทีน่ ้ี (กรุณาดูรายละเอียดจากหนังสือ ICD-10 ฉบับเต็ม) รายการทีแ่ สดงไว้ ณ ทีน่ ้ี เป็ นรหัสโรคสําหรับกรณี
ได้รบั สารพิษ (poisoning) และสิง่ คุกคามภายนอกร่างกายอื่นๆ (external cause)
ในส่วนของสารพิษนัน้ จะใช้ลงเป็ นรหัสโรคหลัก (primary code) เฉพาะในกรณีทอ่ี าการพิษเกิดขึน้
่ ง้ ร่างกาย กรณีทอ่ี าการพิษหรืออาการเจ็บปว่ ยเกิดขึน้ เฉพาะกับระบบอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง เช่น ทําให้
ทัวทั
เกิดผลกับไต ตับ ปอด เลือด หรือเกิดมะเร็ง ควรลงรหัสโรคหลัก (primary code) ตามระบบอวัยวะนัน้ ๆ จะ
ละเอียดกว่า

15.1 การเจ็บป่ วยจากการได้รบั สารพิ ษ


Poisoning effects

รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign

T51 ผลจากพิษของแอลกอฮอล์
Toxic effect of alcohol
T51.0 เอทธานอล
Ethanol
T51.1 เมทธานอล
Methanol
T51.2 2-โพรพานอล
2-Propanol
T51.3 นํ้ามันฟูเซล (เอมิล-, บิวทิล-, และ โพรพิล-แอลกอฮอล์)
Fusel oil (amyl-, butyl-, and propyl-alcohol)
T51.8 แอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ
Other alcohols

T52 ผลจากพิษของตัวทําละลายอินทรีย์
Toxic effect of organic solvents
T52.0 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
Petroleum products
T52.1 เบนซีน
Benzene
T52.2 สารประกอบทีม่ วี งเบนซีน เช่น โทลูอนี ไซลีน
Homologous of benzene eg. toluene, xylene

47
รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign
T52.3 ไกลคอล
Glycols
T52.4 คีโตน
Ketones
T52.5 ตัวทําละลายอินทรียอ์ ่นื ๆ
Other organic solvents

T53 ผลจากพิษของฮาโลจิเนตไฮโดรคาร์บอนกลุ่มอะลิฟาติกและอโรมาติก
Toxic effect of halogen derivatives of aliphatic and aromatic hydrocarbons
T53.0 คาร์บอนเตตร้าคลอไรด์
Carbon tetrachloride
T53.1 คลอโรฟอร์ม
Chloroform
T53.2 ไตรคลอโรเอทธิลนี
Trichloroethylene
T53.3 เตตร้าคลอโรเอทธิลนี
Tetrachloroethylene
T53.4 ไดคลอโรมีเธน
Dichloromethane
T53.5 คลอโรฟลูออโรคาร์บอน
Chlorofluorocarbons
T53.6 ฮาโลจิเนตไฮโดรคาร์บอนกลุ่มอะลิฟาติกชนิดอื่นๆ
Other halogen derivatives of aliphatics hydrocarbons
T53.7 ฮาโลจิเนตไฮโดรคาร์บอนกลุ่มอโรมาติกชนิดอื่นๆ
Other halogen derivatives of aromatic hydrocarbons

T54 ผลจากพิษของสารกัดกร่อน
Toxic effect of corrosive substances
T54.0 ฟีนอลและสารประกอบทีม่ โี ครงสร้างคล้ายฟีนอล
Phenol and phenol homologous
T54.1 สารอินทรียท์ ม่ี ฤี ทธิกั์ ดกร่อนอื่นๆ
Other corrosive organic compounds
T54.2 กรดและสารทีม่ สี มบัตคิ ล้ายกรด
Corrosive acid and acid-like substances
T54.3 ด่างและสารทีม่ สี มบัตคิ ล้ายด่าง
Corrosive alkali and alkali-like substances

T55 ผลจากพิษของสารกลุ่มสบูแ่ ละผงซักฟอก


Toxic effect of soaps and detergents

T56 ผลจากพิษของโลหะ
Toxic effect of metals
T56.0 ตะกัวและสารประกอบของตะกั
่ ว่
Lead and its compounds

48
รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign
T56.1 ปรอทและสารประกอบของปรอท
Mercury and its compounds
T56.2 โครเมียมและสารประกอบของโครเมียม
Chromium and its compounds
T56.3 แคดเมียมและสารประกอบของแคดเมียม
Cadmium and its compounds
T56.4 ทองแดงและสารประกอบของทองแดง
Copper and its compounds
T56.5 สังกะสีและสารประกอบของสังกะสี
Zinc and its compounds
T56.6 ดีบุกและสารประกอบของดีบุก
Tin and its compounds
T56.7 เบริลเลียมและสารประกอบของเบริลเลียม
Beryllium and its compounds
T56.8 โลหะอื่นๆ
Other metals

T57 ผลจากพิษของสารอนินทรียอ์ ่นื ๆ


Toxic effect of other inorganic substances
T57.0 สารหนูและสารประกอบของสารหนู
Arsenic and its compounds
T57.1 ฟอสฟอรัสและสารประกอบของฟอสฟอรัส
Phosphorus and its compounds
T57.2 แมงกานีสและสารประกอบของแมงกานีส
Manganese and its compounds
T57.3 ไฮโดรเจนไซยาไนด์
Hydrogen cyanide
T57.8 ผลจากพิษของสารอนินทรียอ์ ่นื ๆ
Other specified inorganic substances

T58 ผลจากพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์
Toxic effect of carbon monoxide

T59 ผลจากพิษของก๊าซ ฟูม และไอระเหยชนิดอื่นๆ


Toxic effect of other gases, fume and vapours
T59.0 ไนโตรเจนออกไซด์
Nitrogen oxide
T59.1 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
Sulfur dioxide
T59.2 ฟอร์มาลดีไฮด์
Formaldehyde
T59.3 ก๊าซนํ้าตา
Lacrimogenic gas
T59.4 ก๊าซคลอรีน
Chlorine gas

49
รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign
T59.5 ก๊าซฟลูออรีนและไฮโดรเจนฟลูออไรด์
Fluorine gas and hydrogen fluoride
T59.6 ก๊าซไข่เน่า
Hydrogen sulfide
T59.7 คาร์บอนไดออกไซด์
Carbon dioxide
T59.8 ก๊าซ ฟูม และไอระเหยชนิดอื่นๆ
Other specified gases, fume and vapors

T60 ผลจากพิษของสารกําจัดศัตรูพชื
Toxic effect of pesticides
T60.0 ออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต
Organophosphate and carbamate insecticides
T60.1 ยาฆ่าแมลงกลุ่มทีม่ สี ารประกอบฮาร์โลเจน
Halogenated insecticides
T60.2 ยาฆ่าแมลงชนิดอืน่ ๆ
Other insecticides
T60.3 ยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าเชือ้ รา
Herbicides and fungicides
T60.4 ยาฆ่าหนู
Rodenticides
T60.8 สารกําจัดศัตรูพชื อื่นๆ
Other pesticides

T65 ผลจากพิษของสารกลุ่มอื่นๆ
Toxic effect of other unspecified substances
T65.0 ไซยาไนด์
Cyanides
T65.1 สตริคนินและเกลือของสตริคนิน
Strychnine and its salt
T65.2 ยาสูบและนิโคติน
Tobacco and nicotine
T65.3 อนุ พนั ธ์ ไนโตร- และ อะมิโน- ของสารกลุ่มเบนซีน
Nitroderivatives and aminoderivatives of benzene and homologous
T65.4 คาร์บอนไดซัลไฟด์
Carbon disulfide
T65.5 ไนโตรกลีเซอรีน กรดไนตริค และเอสเทอร์
Nitroglycerin and other nitric acid and ester
T65.6 สีสงั เคราะห์ ซึง่ ไม่สามารถจัดไว้ในกลุ่มอื่นได้
Paints and dyes, not elsewhere classified
T65.7 ผลจากพิษของสารอื่นๆ
Toxic effect of other specified substances

50
15.2 ความเจ็บป่ วยจากสิ่ งคุกคามอื่นๆ นอกจากสารพิ ษ
Consequences of external causes

รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign

T66 ผลกระทบจากรังสีทร่ี ะบุไม่ได้แน่ชดั


Unspecified effects of radiation

T67 ผลจากความร้อนและแสง
Effect of heat and light
T67.0 กลุ่มอาการโคม่าจากความร้อนและแสงแดด
Heatstroke and sunstroke
T67.1 ลมแดด
Heat syncope
T67.2 ตะคริวแดด
Heat cramp
T67.3 เพลียหมดสติจากความร้อน เหตุจากขาดนํ้า
Heat exhaustion, anhydrotic
T67.4 เพลียหมดสติจากความร้อน เหตุจากขาดเกลือแร่
Heat exhaustion due to salt depletion
T67.5 เพลียหมดสติจากความร้อน ไม่ระบุสาเหตุ
Heat exhaustion, unspecified
T67.6 อ่อนเพลียชัวคราวจากความร้
่ อน
Heat fatigue, transient
T67.7 บวมนํ้าจากความร้อน
Heat edema
T67.8 ผลจากความร้อนและแสงอื่นๆ
Other effects of heat and light
T67.9 ผลจากความร้อนและแสง ไม่ระบุสาเหตุ
Effect of heat and light, unspecified

T68 อุณหภูมริ า่ งกายตํ่าผิดปกติ


Hypothermia

T70 ผลจากความกดอากาศและแรงดันนํ้า
Effect of air pressure and water pressure
T70.0 แก้วหูทะลุจากความกดอากาศและแรงดันนํ้า
Otitic barotraumas
T70.1 ปวดไซนัสจากความกดอากาศและแรงดันนํ้า
Sinus barotraumas
T70.2 ผลจากความกดอากาศตํ่า (ทํางานในทีส่ งู )
Other and unspecified effects of high altitude
T70.3 โรคนํ้าหนีบ
Caisson disease (decompression sickness)

51
รหัส อาการและอาการแสดง
Code Symptom and sign
T70.4 ผลจากของเหลวแรงดันสูง
(บาดเจ็บจากหัวฉีดของเหลวแรงดันสูง)
Effects of high-pressure fluids
(industrial traumatic jet injection)
T70.8 ผลจากความกดอากาศและแรงดันนํ้าอื่นๆ
(ผลจากแรงอัดอากาศทีเ่ กิดจากการระเบิด)
Other effects of air pressure and water pressure
(blast injury syndrome)
T70.9 ผลจากความกดอากาศและแรงดันนํ้าไม่ระบุสาเหตุ
Effect of air pressure and water pressure, unspecified

T71 ขาดอากาศหายใจ
Asphyxiation

T75 ผลจากสิง่ คุกคามภายนอกอื่นๆ


Effects of other external causes
T75.2 ผลจากความสั ่นสะเทือน
Effect of vibration
T75.3 เมารถ เมาเรือ เมาเครือ่ งบิน
Motion sickness

52
16. สิ่งคุกคามที่เป็ นสาเหตุการเจ็บป่ วยและเสียชีวิต
External causes of morbidity and mortality (V01 – Y98)

รายการในส่วนนี้ เป็ นรายการสําหรับลงรหัสเพื่อแสดงให้ทราบว่าอาการของโรคทีเ่ ป็ นเกิดจากสิง่ คุกคาม


ชนิดใด กรณีทเ่ี ป็ นโรคจากสิง่ คุกคามภายนอกร่างกาย ดังนัน้ รหัสเหล่านี้จงึ มักใช้เป็ นรหัสรอง (secondary
code) สําหรับลงเสริมจากรหัสโรคหลัก (โดยใช้รหัสโรคหลักจากรายการในหัวข้อที่ 1 – 14 ทีผ่ า่ นมา) เพือ่ ใช้
อธิบายว่าโรคทีเ่ กิดเป็ นเนื่องจากการสัมผัสสิง่ คุกคามชนิดใด
รหัสทีม่ คี วามสําคัญในรายการนี้คอื รหัส “Y96” ดังได้กล่าวแล้วว่า ถ้าใช้รหัส “Y96” ลงเป็ นรหัสโรครอง
เสริมจากรหัสโรคหลัก จะช่วยให้สามารถแยกโรคจากการประกอบอาชีพออกจากโรคทัวไปที ่ ไ่ ม่ได้เกิดจากการ
ประกอบอาชีพเมือ่ ทําการสืบค้นฐานข้อมูลได้ กรณีเดียวกันนี้สามารถใช้ได้กบั โรคจากสิง่ แวดล้อมมลพิษด้วย
โดยใช้การลงรหัส “Y97” เป็ นรหัสโรครอง

รหัส สิง่ คุกคามทีเ่ ป็ นสาเหตุการเจ็บปว่ ยและเสียชีวติ

W42 การสัมผัสเสียงดัง
Exposure to noise
W43 การสัมผัสแรงสันสะเทื
่ อน
Exposure to vibration
W88 การสัมผัสรังสีชนิดก่อไอออน (เช่นรังสีแอลฟา, เบต้า, แกมมา, เอ็กซ์)
Exposure to ionizing radiation
W89 การสัมผัสแสงและรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต
Exposure to man-made visible and ultraviolet light
W90 การสัมผัสรังสีชนิดไม่ก่อไอออนอื่นๆ (เช่นรังสีอนิ ฟราเรด, คลื่นวิทยุ, คลื่นไมโครเวฟ)
Exposure to other non-ionizing radiation
W91 การสัมผัสรังสีทไ่ี ม่สามารถระบุชนิดได้
Exposure to unspecified type of radiation
X45 การสัมผัสและอุบตั เิ หตุได้รบั พิษจากแอลกอฮอล์
Accidental poisoning by and exposure to alcohol
X46 การสัมผัสและอุบตั เิ หตุได้รบั พิษจากตัวทําละลายอินทรียแ์ ละสารกลุ่มฮาโลจิเนตไฮโดรคาร์บอนรวมถึงไอระเหย
Accidental poisoning by and exposure to organic solvents and halogenated hydrocarbons and their vapors
X47 การสัมผัสและอุบตั เิ หตุได้รบั พิษจากก๊าซและไอระเหยชนิดอื่นๆ
Accidental poisoning by and exposure to other gases and vapors
X48 การสัมผัสและอุบตั เิ หตุได้รบั พิษจากสารกําจัดศัตรูพชื
Accidental poisoning by and exposure to pesticides
X49 การสัมผัสและอุบตั เิ หตุได้รบั พิษจากสารพิษทีไ่ ม่สามารถระบุชนิดได้
Accidental poisoning by and exposure to other and unspecified chemicals and noxious substances
X50 การทํางานใช้แรงเกินกําลังและการทํางานในท่าซํ้าๆ เดิมๆ
Overexertion and strenuous or repetitive movements
Y96 ภาวะทีเ่ กีย่ วข้องกับการทํางาน
Work-related condition
Y97 ภาวะทีเ่ กีย่ วข้องกับสิง่ แวดล้อมมลพิษ
Environmental-pollution-related condition

53
17. ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและทําให้มารับบริการทางการแพทย์
Factor influencing health status and contact with health services (Z00 – Z99)

รหัสกลุม่ นี้ใช้ลงเมือ่ ผูม้ ารับบริการมาพบบุคลากรทางการแพทย์เนื่องจากสัมผัสสิง่ คุกคามเหตุอาชีพหรือ


เนื่องจากเหตุผลตามความจําเป็ นอื่น แต่จากการตรวจไม่พบว่าปว่ ยเป็ นโรค ไม่มอี าการหรืออาการแสดงใดๆ
ทีต่ รวจพบได้ และไม่มผี ลตรวจทางห้องปฏิบตั กิ ารทีผ่ ดิ ปกติ (ไม่สามารถจัดว่า “เป็ นโรค” หรือ “มีปญั หาทาง
สุขภาพ” ใดๆ ได้) เช่น การมาตรวจสุขภาพหลังเกิดเหตุการณ์สารเคมีรวไหลในโรงงาน
ั่ และพนักงานทีม่ า
ตรวจยังไม่มคี วามผิดปกติใดๆ หรือการมาตรวจสุขภาพประจําปีตามความเสีย่ ง และตรวจไม่พบความผิดปกติ
ใดๆ เป็ นต้น

รหัส บริการ

Z02 มาตรวจหรือมารับบริการด้วยเหตุทางธุรการ
Examination and encounter for administrative purposes
Z02.1 การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทํางาน
Pre-employment examination
Z02.3 การตรวจสุขภาพก่อนเข้าเป็ นทหารกองประจําการ
Examination for recruitment to armed forces
Z02.4 การตรวจสุขภาพเพือ่ ทําใบอนุ ญาตขับขีร่ ถ
Examination for driving license
Z02.7 การออกใบรับรองแพทย์
(รับรองความพร้อมในการทํางาน รับรองการสูญเสียสมรรถภาพ)
Issue of medical certificate
(fitness for work certificate, disability certificate)
Z03 การสังเกตอาการและประเมินทางการแพทย์กรณีสงสัยเป็ นโรค
Medical observation and evaluation for suspected diseases and conditions
Z03.0 สังเกตอาการเนื่องจากสงสัยเป็ นวัณโรค
Observation for suspected tuberculosis
Z03.1 สังเกตอาการเนื่องจากสงสัยเป็ นมะเร็ง
Observation for suspected malignant neoplasm
Z03.2 สังเกตอาการเนื่องจากสงสัยเป็ นโรคทางจิตหรือพฤติกรรมผิดปกติ
Observation for suspected mental and behavioral disorders
Z03.3 สังเกตอาการเนื่องจากสงสัยเป็ นโรคทางระบบประสาท
Observation for suspected nervous system disorder
Z03.4 สังเกตอาการเนื่องจากสงสัยเป็ นเส้นเลือดหัวใจตีบ
Observation for suspected myocardial infarction
Z03.5 สังเกตอาการเนื่องจากสงสัยเป็ นโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ
Observation for other suspected cardiovascular diseases
Z03.6 สังเกตอาการเนื่องจากกินสารพิษ
Observation for suspected toxic effect from ingested substance
Z03.8 สังเกตอาการเนื่องจากสงสัยเป็ นโรคอื่นๆ
Observation for other suspected diseases and conditions
Z03.9 สังเกตอาการเนื่องจากสงสัยมีอาการผิดปกติใดๆ ไม่ระบุสาเหตุ
Observation for suspected disease or condition, unspecified

54
รหัส บริการ
Z04 การตรวจสุขภาพด้วยเหตุผลอื่นๆ
Examination and observation for other reasons
Z04.2 การตรวจสุขภาพหลังประสบอุบตั เิ หตุจากการทํางาน
Examination and observation following work accident
Z04.8 การตรวจสุขภาพด้วยเหตุผลอื่นๆ
Examination and observation for other specified purposes
Z10 การตรวจสุขภาพตามระยะในประชากรเฉพาะกลุ่ม
Routine general health check-up of defined subpopulation
Z10.0 การตรวจสุขภาพทางอาชีวอนามัย (การตรวจสุขภาพตามความเสีย่ ง)
Occupational health examination
Z57 การสัมผัสสิง่ คุกคามต่อสุขภาพจากเหตุอาชีพ (แต่มาตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติ)
Occupational exposure to risk factors
Z57.0 การสัมผัสเสียงดังเหตุอาชีพ
Occupational exposure to noise
Z57.1 การสัมผัสรังสีเหตุอาชีพ
Occupational exposure to radiation
Z57.2 การสัมผัสฝุน่ เหตุอาชีพ
Occupational exposure to dust
Z57.3 การสัมผัสมลพิษในอากาศเหตุอาชีพ
Occupational exposure to other air contaminants
Z57.4 การสัมผัสสารพิษทีใ่ ช้ในงานเกษตรเหตุอาชีพ
Occupational exposure to toxic agents in agriculture
Z57.5 การสัมผัสสารพิษทีใ่ ช้ในงานอุตสาหกรรมเหตุอาชีพ
Occupational exposure to toxic agents in industry
Z57.6 การสัมผัสอุณหภูมทิ ร่ี อ้ นหรือหนาวจัดเหตุอาชีพ
Occupational exposure to extreme temperature
Z57.7 การสัมผัสแรงสั ่นสะเทือนเหตุอาชีพ
Occupational exposure to vibration
Z57.8 การสัมผัสสิง่ คุกคามอื่นๆ เหตุอาชีพ
Occupational exposure to other risk-factors
Z57.9 การสัมผัสสิง่ คุกคามทีไ่ ม่สามารถระบุได้เหตุอาชีพ
Occupational exposure to unspecified risk-factor
Z71 การรับบริการให้คาํ ปรึกษา
Persons encountering health services for other counseling and medical advice, not
elsewhere classified
Z71.8 การรับบริการให้คาํ ปรึกษากรณีอ่นื ๆ
(การรับบริการให้คาํ ปรึกษาทางด้านอาชีวอนามัย)
Other specified counseling
(Counseling for occupational health purposes)

55
เอกสารอ้างอิง

1. Karjalainen A. International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems


(ICD-10) in Occupational Health. World Health Organization, Geneva, 1999.
2. ฝา่ ยสถิตแิ ละรายงาน กองวิจยั และพัฒนา สํานักงานประกันสังคม. สถิตงิ านประกันสังคม 2550.
สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, นนทบุร,ี 2550.
3. แสงโฉม เกิดคล้าย. รายงานผลการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม (เชิงรับ)
พ.ศ. 2544 – 2549. สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุร,ี 2550.
4. Commission Recommendation of 22 May 1990 to the Member States concerning the adoption
of a European schedule of occupational diseases. European Commission (90/326/EEC).
5. Karjalainen A, Virtanen S. European Statistics on Occupational Diseases - Evaluation of the
1995 pilot data. Eurostat Working Papers 3/1999/E/no2, Eurostat, Luxembourg, 1999.
6. ILO. Recording and notification of occupational accidents and diseases. An ILO code of practice.
International Labour Office, Geneva, 1996.
7. โยธิน เบญจวัง, วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ (บรรณาธิการ). มาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน ฉบับ
เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. สํานักงาน
กองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, นนทบุร,ี 2550.
8. Stellman JM (ed.). Encyclopaedia of Occupational Health and Safety, 4th Edition. Volumes 1-4.
International Labour Office, Geneva, 1998.
9. Rom WN, Markovitz SB (ed.). Environmental & Occupational Medicine, 4th Edition. Lippincott-
Williams & Wilkins, Philadelphia, 2007.
10. WHO. ICD-10. International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems,
Tenth Revision. Volumes 1-3. World Health Organization, Geneva, 1992-94.
11. Sixteenth International Conference of Labour Statisticians. Resolution concerning statistics of
occupational injuries resulting from occupational accidents. International Labour Office, Geneva,
1998.
12. จรัส โชคสุวรรณกิจ. คูม่ อื แนวทางสําหรับการให้รหัสโรคจากการประกอบอาชีพและสิง่ แวดล้อม. กลุม่
ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สงิ่ แวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร, 2552.
13. สํานักนโยบายและแผนสาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บัญชีจาํ แนกโรคระหว่าง
ประเทศ, ฉบับแก้ไขครัง้ ที่ 10 ไทย – อังกฤษ. กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุร,ี 2541.
14. Levy F, Wannag A (ed.). The Nordic Adaptation of Classification of Occupationally Related
Disorders (Diseases and Symptoms) to ICD-10. Nordic Council of Ministers, Oslo, 2000.

56

You might also like