You are on page 1of 4

ภาควิชาความรู้พื้นฐาน

กองการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
วทศท 104 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information Technology Literacy)
**************************************************
ใบงานที่ 3 การวิเคราะห์กรณีศึกษา กฎหมาย และประเด็นด้านจริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศของพยาบาลวิชาชีพ หรือบุคลากรทางด้านสุขภาพ
1.ชื่อเรื่อง
สภาการพยาบาล เตือน “ นางฟ้ าชุดขาว ” รีวิวสินค้าเข้าข่ายผิดจริยธรรม
2.การวิเคราะห์สถานการณ์

วิเคราะห์ปัญหา

จากกรณีการจับกุมผลิตภัณฑ์เมจิกสกิน และ Lyn ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงบุคลากร


ทางการแพทย์บางส่วน ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ ฯลฯ ที่มีการโฆษณาขายสินค้าหรือรีวิว
ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆลงในสื่อสังคมออนไลน์เเละสื่อต่างๆ
ทางสภาการพยาบาลจึงได้ออกประกาศสภาการพยาบาลมีใจความสำคัญว่าการโฆษณาสินค้า โดยใช้
เครื่องแบบหรือสัญลักษณ์ของพยาบาล หรือแสดงตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการ
ผดุงครรภ์ ทำการชักชวนและแนะนำให้ผู้ป่ วยหรือผู้อื่นใช้ หรือซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อผลประโยชน์แห่งตน อาจ
เข้าข่ายกระทำความผิดทางจริยธรรมตามข้อบังคับสภาการพยาบาล

3.กฎหมาย จริยธรรม หรือ จรรยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดังกล่าว (ศึกษาค้นคว้ากฎหมาย


บทลงโทษ จริยธรรม หรือจรรณยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้องโดยนำเสนอเป็ นข้อเท็จจริง)

ข้อบังคับการสภาการพยาบาล ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลเเละการผดุงครรภ์
พ.ศ.2550

หมวด 1 บททั่วไป

ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพ ย่อมไม่ประพฤติหรือกระทําการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่ง


วิชาชีพ

หมวด 2 การประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์

ส่วนที่ 1 การปฏิบัติต่อผู้ป่ วยหรือผู้ใช้บริการ

ข้อ 11 ผู้ประกอบวิชาชีพ ต้องไม่หลอกลวงผู้ป่ วยหรือผู้ใช้บริการ ให้หลงเข้าใจผิด เพื่อประโยชน์ของตน

จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

ข้อที่ 7 พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพการ


พยาบาล

พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพพยาบาล มี
คุณธรรมจริยธรรมในการดำรงชีวิตประกอบวิชาชีพด้วยความมั่นคงในจรรยาบรรณ และเคารพต่อกฎหมาย
ให้บริการที่มีคุณภาพเป็นวิสัย เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชน ร่วมมือพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้าในสังคม
อย่างเป็นเอกภาพ ตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์อันดีและร่วมมือกับผู้อื่นในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
ทั้งในและนอกวงการสุขภาพ ในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ

มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560


มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิ ดข้อความจริงซึ่งควร
บอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือ
ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่


26) พ.ศ. 2560]

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสน


บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อที่ 1 โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือ


ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย
แก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

มาตรา 83 ข้าราชการพลเรือนสามารถต้องไม่กระทำการใดอันเป็ นข้อห้ามดังต่อไปนี้

ข้อ 3 ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง หรือผู้อื่น

ข้อ 5 ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรม หรือ


เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน

4.แนวทางการแก้ไขปัญหา และขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว (ระบุแนวทางแก้ไขปัญหา


ตามหลักการและแนวคิดของนักเรียน โดยมีเหตุผลสนับสนุนการกระทำนั้น ๆ และขั้นตอนการดำเนินงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ระบุเป็ นข้อ ๆ)

แนวทางแก้ไขปัญหา

1. ถ้าจำเป็นต้องรีวิวสินค้าหรือบริการใดๆ ต้องไม่อยู่ในชุดเครื่องแบบวิชาชีพ ไม่มีการใช้คำนำหน้าหรือสิ่ง


ที่บ่งบอกว่าอยู่ในวิชาชีพทางการแพทย์

2. ควรตรวจสอบสินค้าและข้อมูลก่อนนำมารีวิว
3. ควรมีจิตสำนึกไม่นำวิชาชีพมาใช้เพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตัว

4. ผู้รับสารควรมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ

5. คอยติดตามการปรับปรุงกฎหมายหรือข้อบังคับอยู่เสมอ

ขั้นตอนการเเก้ไขปัญหา

1. จัดทำสื่อประกาศข่าวสารถ้าหากมีการปรับปรุงกฎหมายหรือข้อบังคับ เช่น จัดทำโปสเตอร์


ประชาสัมพันธ์

2. หลีกเลี่ยงการสวมใส่ชุดเครื่องเเบบวิชาชีพหรือใช้คำนำหน้าที่บ่งบอกถึงวิชาชีพทางการเเพทย์เมื่อใช้สื่อ
สังคมออนไลน์

3. รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเเละเชื่อถือได้ เเละตรวจสอบก่อนที่จะทำการอัพโหลดลงในสื่อสังคมออนไลน์

5.เอกสารอ้างอิง

1. MGR Online. (2561). สภาการพยาบาล เตือน “นางฟ้ าชุดขาว” รีวิวสินค้าเข้าข่ายผิดจริยธรรม. สืบค้น 28


กันยายน 2563, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9610000042899

2. กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ


พยาบาล. สืบค้น 28 กันยายน 2563, จาก http://www.nursing.go.th/?page_id=1058

3. ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.


2550. (2550, 11 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนพิเศษ 63 ง

4. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. (2560, 24


มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก

5. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551. (2551, 25 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124


ตอนที่ 22 ก

You might also like