You are on page 1of 28

แบบฟอร์มการจัดส่งผลงานวิชาการ : ประเภท R2R

ชื่อเรื่อง ผลการใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้น


เรื้อรัง โรงพยาบาลสุโขทัย (The Effects of Discharge Planning
Practice Guideline among Chronic Obstructive Pulmonary
Disease Patients in Sukhothai Hospital)

อานุภาพ กันทะวงค์ หอผู้ป่ วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสุโขทัย

บทคัดย่อ/Abstract
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็ นสาเหตุที่สำคัญของการเจ็บป่ วยและการ
ตายทั่วโลก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็ นโรคเรื้อรังชนิดที่ไม่สามารถทำให้
กลับคืนมาเป็ นปกติได้ เมื่อสมรรถภาพปอดลดลงผู้ป่ วยจะทำงานได้ลดลง
หรือเหนื่อยง่าย แม้เพียงแต่ทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ผู้ป่ วยต้องมารับ
การรักษาที่แผนกผู้ป่ วยนอกอย่างต่อเนื่อง และหากผู้ป่ วยปฏิบัติตัวไม่ถูก
ต้อง จะมีอาการกำเริบบ่อยๆ ทำให้ผู้ป่ วยต้องมารับการรักษาที่ห้อง
ฉุกเฉิน และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเตรียมความพร้อมของผู้
ป่ วยให้สามารถดูแลและจัดการกับอาการที่กำเริบด้วยตนเองได้ ก่อน
จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลจึงมีความจำเป็ นอย่างยิ่ง
การวิจัยครั้งนี้เป็ นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและ
หลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความ
รู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระยะก่อนและหลังได้
รับแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายและ 2) เพื่อศึกษาอัตราการกลับมา
รักษาซ้ำภายใน 28 วันกลุ่มตัวอย่าง เป็ นผู้ป่ วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็ น
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่ วยอายุรกรรมชายและ
อายรุกรรมหญิง โรงพยาบาลสุโขทัย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ
เจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนว
ปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตามรูปแบบของ
D-METHOD แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และแบบสอบถามการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติที
ผลการวิจัย พบว่า ความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้น
เรื้อรัง ภายหลังใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้น
2

เรื้อรัง โรงพยาบาลสุโขทัย สูงกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทาง


สถิติที่ระดับ .05 และมีอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ของผู้ป่ วย
คิดเป็ นร้อยละ 6.67
สรุป การวิจัยครั้งนี้ ให้ข้อค้นพบว่า การใช้แนวปฏิบัติการวางแผน
จำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตามรูปแบบ D-METHOD โรง
พยาบาลสุโขทัย ช่วยทำให้ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความรู้และการ
ปฏิบัติตัวที่ดีขึ้น และช่วยลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลได้
ข้อเสนอแนะ จากผลวิจัย ที่พบว่ายังมีผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลับมา
รักษาซ้ำในโรงพยาบาล จึงควรพัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย
ตั้งแต่ผู้ป่ วยมารับบริการที่แผนกผู้ป่ วยนอก เพื่อจะได้ไม่ต้องเข้ารับการ
รักษาแบบผู้ป่ วยใน ของโรงพยาบาล และควรสนับสนุนให้มีการวางแผน
การจำหน่ายตามรูปแบบ D-METHOD ในผู้ป่ วยเฉพาะโรคกลุ่มอื่นๆ ต่อ
ไป

คําสำคัญ: แนวปฏิบัติ; การวางแผนจำหน่าย; ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา


โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary
disease: COPD) เป็ นสาเหตุที่สำคัญของการเจ็บป่ วยและการตายทั่วโลก
จากสถิติขององค์การอนามัยโลก(World Health Organization [WHO],
2020) ในปี ค.ศ. 2020 พบว่า โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความชุกเพิ่มขึ้นจาก
อันดับที่ 12 มาเป็ นอันดับที่ 5 ของโลก รองลงมาจากโรคหัวใจ ภาวะซึม
เศร้า อุบัติเหตุการจราจรและโรคหลอดเลือดสมอง ตามลำดับ ในประเทศ
สหรัฐอเมริกา พบว่า สถิติการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคิดเป็ น
ร้อยละ 10 ของประชากรการเจ็บป่ วยทั้งหมด และมีประชากรเจ็บป่ วย
เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปี ละ 14.8 ล้านคน (Global Initiative for Chronic
Obstructive Lung Disease [GOLD], 2020) สำหรับประเทศไทย ในปี
พ.ศ. 2560-2562 พบว่า ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีอัตราตายแนวโน้ม
3

สูงขึ้นคิดจาก 13.5 เป็ น 14.0 ต่อประชากรแสนคน (กองยุทธศาสตร์และ


แผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2563)
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ โรคปอดที่มีลักษณะการลดลงของการไหล
เวียนอากาศอย่างต่อเนื่อง อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะทวีความ
รุนแรงอย่างต่อเนื่องและต้องพยายามออกแรงในการหายใจ ในที่สุดทำให้
เกิดอากาศคั่งค้างอยู่ในปอดมากขึ้น อาการทางคลินิกที่คุ้นเคย คือ
หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และถุงลมโป่ งฟอง มักใช้ในการอธิบายอาการของ
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (World Health Organization, 2017) ในปี พ.ศ.
2553 มีผู้เสียชีวิตทั่วโลก 52.8 ล้านคน ซึ่งโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็ น
สาเหตุอันดับที่ 4 ของการเสียชีวิตของประชากรโลก (Lozano et.al.,
2012) ในปี พ.ศ. 2555 ประชากรทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านคน มีสาเหตุการ
เสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งคิดเป็ นร้อยละ 3 ของการเสียชีวิตทั่ว
โลก และในปี พ.ศ. 2563 อันดับที่ 3 ของสาเหตุการเสียชีวิตประชากร
โลกมาจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2603
ประชากรโลกจะเสียชีวิตมากกว่า 5.4 ล้านคนในทุกๆ ปี สาเหตุจากโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรังและอาการที่เกี่ยวข้องกับโรค (Global Initiative for
Chronic Obstructive Lung Disease, 2020) นอกจากนี้ ผู้ป่ วยโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรังยังมีปั ญหาของการกลับมารักษาซ้ำหลังจำหน่ายออกโรง
พยาบาลภายใน 28 วัน ถึงร้อยละ 28.4 – 56 ( Li, Rowlandson, &
Tennant, 2009; Jacobs el.al., 2018) สำหรับในประเทศไทย พบร้อย
ละ 35.8 – 54.9 (ปิ ยะวรรณ กุวลัยรัตน์, กมลพร มากภิรมย์ และสุดฤทัย
รัตนโอภาส, 2560; ปิ ยะวรรณ กุวลัยรัตน์, 2560)
4

สถิติผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในปี พ.ศ. 2561,2562 และ 2563


โรงพยาบาลสุโขทัย พบว่า มีผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษา
ในโรงพยาบาล จำนวน 221,204 และ 205 คนตามลำดับ และมีอุบัติ
การณ์การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลหลังจำหน่าย 28 วัน ร้อยละ
12.67,14.55 และ 11.22 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์หน่วยงานพบว่า
โรงพยาบาลสุโขทัยมีการใช้แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโดยใช้รูป
แบบ D-METHOD แต่เป็ นแนวทางทั่วไปสำหรับผู้ป่ วยทุกโรคไม่ได้เฉพาะ
เจาะจงสำหรับผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้ขาดรายละเอียดเฉพาะที่
สำคัญจำเป็ นสำหรับผู้ป่ วยเฉพาะโรค จำเป็ นอย่างยิ่งที่ต้องมีแนวปฏิบัติ
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยเฉพาะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เป็ นเครื่องมือที่
ช่วยให้พยาบาลวิชาชีพให้การดูแลผู้ป่ วยที่มีความเป็ นมาตรฐานแบบแผน
เดียวกันมีความเข้าใจง่าย สามารถปฏิบัติตามได้จริงและมีความชัดเจน
ของขั้นตอนการปฏิบัติจะส่งผลให้บุคลากรยอมรับและเกิดการนำแนว
ปฏิบัติไปใช้ในที่สุด
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง ทำให้พัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรังโดยใช้รูปแบบ D-METHOD ในโรงพยาบาลสุโขทัยร่วมกับการ
สื่อสารและส่งเสริมให้พยาบาลใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วย
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยคาดว่าจะช่วยให้พยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติ
ตามแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายได้ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้น
เรื้อรังมีความรู้การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและอัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรง
พยาบาลด้วยโรคเดิมภายใน 28 วันลดลง

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
5

1. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้
ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระยะก่อนและหลังได้รับแนวปฏิบัติการ
วางแผนจำหน่าย
2. เพื่อเปรียบเทียบอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ภาย
หลังการจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังออกจากโรงพยาบาลที่ได้รับ
แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย

ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตเชิงพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้เป็ นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาที่หอผู้
ป่ วยอายุรกรรมชายและหอผู้ป่ วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลสุโขทัย
ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 – เมษายน 2564
ขอบเขตเชิงประชากรเป้ าหมาย การวิจัยครั้งนี้ ศึกษาในกลุ่มผู้ป่ วย
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลสุโขทัย
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่ วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็ นโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) โดยเก็บรวบรวม
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.
2564
ตัวแปรในการวิจัย
ตัวแปรต้น ได้แก่ แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง
ตัวแปรตาม ได้แก่ ความรู้ และการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง และอัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันหลัง
จำหน่าย

กรอบแนวคิดการวิจัย

แนวปฏิบัติการวางแผน
จำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุด  ความรู้ของผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง กั้นเรื้อรัง
 การปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรค
6

นิยามศัพท์เฉพาะ

ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หมายถึง ผู้ป่ วยที่ได้รับการวินิจฉัยจาก


แพทย์ ว่าเป็ นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และเข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่ วย
อายุรกรรมชายและอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลสุโขทัย

แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
หมายถึง รูปแบบกิจกรรมการดูแลผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ผู้วิจัยสร้าง
ขึ้นใหม่จากการทบทวนวรรณกรรม ตำรา เอกสาร บทความและงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องโดยบูรณาการแนวคิดการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง ตามรูปแบบ D-METHOD (กฤษดา แสวงดี, 2547) ในการดูแล
ช่วยเหลือผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่ายออก
จากโรงพยาบาลให้มีความรู้การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อ
เนื่องจากโรงพยาบาลสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ของผู้ป่ วยหลังการจำหน่ายออก
จากโรงพยาบาล โดยแบ่งแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายเป็ น 3 ระยะ
คือ ระยะที่ 1 วันแรกประเมินสภาพปั ญหาจากการซักประวัติ ตรวจ
ร่างกาย เพื่อวางแผนการพยาบาลและวางแผนจำหน่ายด้วยรูปแบบ D-
7

METHOD ระยะที่ 2 (วันที่ 2-4) ใช้แนวปฏิบัติวางแผนการจำหน่ายด้วย


รูปแบบ D-METHOD ในวันที่ 2 เริ่มให้ความรู้แก่ผู้ป่ วยและญาติผู้ดูแล
โดยใช้ภาพพลิพ โปสเตอร์รูปภาพ วันที่ 3 ฝึ กทักษะที่จำเป็ นต่างๆในการ
จัดการอาการหายใจลำบากแก่ผู้ป่ วยและญาติผู้ดูแล ได้แก่ การพ่นยา
ขยายหลอดลม/เทคนิคการพ่นยา และให้ผู้ป่ วยสาธิตย้อนกลับ วันที่ 4
ฝึ กท่าทางการฟื้ นฟูสมรรถภาพปอดและการออกกำลังกาย โดยใช้ภาพ
พลิกและสาธิต ระยะที่ 3 วันที่ 5 ก่อนจำหน่าย ทบทวนความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว พร้อมให้ผู้ป่ วยสาธิตย้อนกลับ โดยใช้
สื่อการสอนเป็ นแผนการสอน ภาพพลิก วิดีทัศน์ สัปดาห์ที่ 2 ภายหลังผู้
ป่ วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมีการติดตามทางโทรศัพท์เพื่อติดตาม
การการปฏิบัติและวิธีการจัดการอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ความรู้ของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หมายถึง ระดับความรู้ของ


ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังภายหลังได้รับแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย
ผู้ป่ วย เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรค สาเหตุอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อน
การรับประทานอาหารยารับประทานและยาพ่นแนวทางการักษา
พยาบาล และการตรวจตามแพทย์นัดซึ่งประเมินโดยใช้แบบสอบถาม
ความรู้ของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบเลือกตอบถูก
และผิด

การปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หมายถึง ทักษะการ


ดูแลตนเองของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เกี่ยวกับการรับประทานยา
และการปฏิบัติตัวการพ่นยาที่ถูกวิธี การกลับมาตรวจตามนัด ภาวะ
สุขภาพและข้อจำกัดของผู้ป่ วย ปั จจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการกำเริบ และการ
รับประทานอาหาร ซึ่งประเมินโดยใช้แบบสอบถามการปฏิบัติตัวของผู้
8

ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้แบบวัดมาตรประมาณค่า
3 ระดับ คือ ปฏิบัติเป็ นประจำ ปฏิบัติบางครั้ง และไม่เคยปฏิบัติ

อัตราการกลับมารักษาซ้ำ (re-admit) หมายถึง ร้อยละของผู้ป่ วย


โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และกลับ
เข้ามารักษาในโรงพยาบาลโดยไม่ได้รับการนัดหมายภายใน 28 วันด้วย
โรคเดิม

วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็ นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental
research) แบบ 1 กลุ่มก่อนและหลังการทดลอง (one-group pretest-
posttest design) เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย
โดยใช้รูปแบบ D-METHOD สำหรับผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรง
พยาบาลสุโขทัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรง
พยาบาลสุโขทัยระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 – เมษายน 2564
จำนวน 105 คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่ วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็ นโรคปอดอุดกั้น
เรื้อรัง และเข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่ วยอายุรกรรมชายและอายรุกรรม
หญิง โรงพยาบาลสุโขทัย จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ
เจาะจง (purposive sampling) จนครบตามจำนวนขนาดตัวอย่างที่
คำนวณได้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
9

ถึงวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2564 ผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก


ดังต่อไปนี้
เกณฑ์การคัดเข้า (inclusion criteria) ประกอบด้วย
1. ผู้ป่ วยเพศชายและหญิงมีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้น ได้รับการวินิจฉัยว่า
เป็ นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่ วยในแผนกอายุร
กรรม โรงพยาบาลสุโขทัย
2. มีสติสัมปชัญญะดี สามารถสื่อสาร และให้ข้อมูลได้ด้วยตนเอง
3. ผู้ป่ วยไม่มีข้อจำกัดในการฝึ กการบริหารปอดและการพ่นยา เช่น
ภาวะหัวใจล้มเหลว การใส่เครื่องช่วยหายใจ
4. ผู้ป่ วยมีอาการคงที่ ได้แก่ ไม่มีอาการหายใจลำบาก หายใจไม่
หอบเหนื่อย อัตราการหายใจอยู่ในเกณฑ์ปกติประมาณ 12 – 24 ครั้งต่อ
นาที ค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (SpO2) มากกว่าหรือเท่ากับ
90% มีความดันโลหิตตัวบน (systolic blood pressure: SBP) มากกว่า
หรือเท่ากับ 90 mmHg
5.พักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 3 วัน และจำหน่ายออกจาก
โรงพยาบาลโดยผู้ป่ วยได้รับอนุญาตจากแพทย์เจ้าของไข้
6.ผู้ป่ วยยินดีเข้าร่วมงานวิจัย
เกณฑ์การคัดออก (exclusion criteria) ประกอบด้วย
1.ผู้ป่ วยที่มีโรคร่วมอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ
การวางแผนจำหน่าย เช่น ผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือด
หัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย
2. ขอถอนตัว ผู้ป่ วยไม่สมัครใจเข้าร่วมโครงการต่อจนเสร็จสิ้น
โครงการ
เกณฑ์การยุติการเข้าร่วมการวิจัย (Discontinuing criteria)
1. ผู้ป่ วยย้ายไปรับการรักษาแผนกอื่น
10

2. ผู้ป่ วยมีภาวะแทรกซ้อนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
3. ผู้ป่ วยได้รับการส่งต่อไปรับรักษาที่โรงพยาบาลอื่น
4. ผู้ป่ วยที่เสียชีวิตก่อนเสร็จสิ้นโครงการ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้มี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการ


ทดลองและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้

1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังผู้วิจัย
พัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายตามรูปแบบของ D-METHOD
(สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 2550) ร่วมกับงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย โรคที่เป็ น (disease: D) การใช้ยา (medication:
M) สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ (environment & economic: E)
แผนการรักษา (treatment: T) ภาวะสุขภาพและข้อจำกัดของผู้ป่ วย
(health: H) ความต่อเนื่องในการรักษา (outpatient referral: O) และ
การรับประทานอาหาร (diet: D) นำมาใช้ปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้
ป่ วยตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล ได้แก่ 1) ประเมินปั ญหาและ
ความต้องการ 2) การวินิจฉัยปั ญหา 3) การกำหนดแผนการจำหน่ายผู้
ป่ วย 4) ลงมือปฏิบัติตามแผนการจำหน่าย และ 5) การประเมินผล
ติดตามต่อเนื่องผู้วิจัยจัดทำเป็ นแผนการสอน และแบบบันทึกการวางแผน
11

จำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็ นส่วนหนึ่งของเวชระเบียนผู้ป่ วยใน


โรงพยาบาลสุโขทัย

2. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล

2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3


ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่ วย ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ


เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ สิทธิการรักษา
ลักษณะที่อยู่อาศัย ผู้ที่คอยช่วยเหลือดูแลขณะอยู่บ้าน พฤติกรรมการสูบ
บุหรี่/ดื่มสุราและระยะเวลาที่ป่ วยเป็ นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 12 ข้อ

ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังผู้
วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนงานวิจัย ประกอบด้วย ความรู้เรื่องโรค
สาเหตุอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนจำนวน 5 ข้อ (ข้อ 1-3, 5,9)
อาหารที่ควรรับประทานหรือหลีกเลี่ยงจำนวน 1 ข้อ (ข้อ 4) ยารับ
ประทานและยาพ่นจำนวน 2 ข้อ (ข้อ 6,8) แนวทางการรักษาพยาบาล
จำนวน 1 ข้อ (ข้อ 7) การตรวจตามแพทย์นัด จำนวน 1 ข้อ (ข้อ 10)
รวมทั้งหมด 10 ข้อ ลักษณะคำถามเป็ นแบบเลือกตอบ ใช่ หรือ ไม่ใช่

ส่วนที่ 3 แบบสอบถามการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้น


เรื้อรัง ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20
ข้อ เป็ นแบบวัดมาตรประมาณค่า 3 ระดับ ดังนี้

ปฏิบัติประจำ หมายถึง ท่านปฏิบัติพฤติกรรมนั้นเป็ นประจำสม่ำเสมอ


(ทุกวันหรือสัปดาห์ละ 4-6 ครั้ง)
12

ปฏิบัติบางครั้ง หมายถึง ท่านปฏิบัติพฤติกรรมนั้นบางครั้ง (บางวันหรือ


สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง)

ไม่เคยปฏิบัติ หมายถึงท่าน ไม่เคยปฏิบัติพฤติกรรมนั้นเลย(ไม่เคยปฏิบัติ


เลยใน 1 สัปดาห์)

เกณฑ์การให้คะแนน ข้อคำถามเชิงบวกปฏิบัติประจำ เท่ากับ 2


คะแนนปฏิบัติบางครั้ง เท่ากับ 1 คะแนน และไม่เคยปฏิบัติเท่ากับ 0
คะแนนคะแนนเต็มทั้งฉบับ 40 คะแนน

2.2 แบบบันทึกข้อมูลการกลับมารักษาในโรงพยาบาลซ้ำ โดยไม่


ได้นัดหมายภายใน 28 วัน ผู้วิจัยบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่ วย

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (content validity) โดยผู้
วิจัยได้นำแบบสอบถามไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนประกอบด้วย
อายุรแพทย์ 1 ท่าน อาจารย์พยาบาลด้านการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 ท่าน
พยาบาลวิชาชีพผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการวิจัยและสถิติทาง
วิทยาศาสตร์สุขภาพ 1 ท่าน และนักวิชาการสุขศึกษา 1 ท่าน ตรวจสอบ
ความครอบคลุม ความชัดเจน ความเหมาะสมถูกต้องของเนื้อหาและ
ภาษาที่ใช้ โดยใช้เกณฑ์ในการตัดสินความตรงตามเนื้อหาตามความเห็น
สอดคล้องของผู้ทรงคุณวุฒิมาคำนวณหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา
(CVI) ได้ความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.83

2. การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (reliability) ผู้วิจัยนำ


แบบสอบถามไปทดลองใช้กับผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของโรงพยาบาล
สุโขทัยที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน และนำ
ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความเที่ยงโดยหาค่าความสอดคล้องภายในด้วยวิธี
หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha
13

coefficient) แบบวัดนี้ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 โดยเกณฑ์ที่ยอมรับ


ได้คือ  0.75 (DeVellis, 2012)

วิธีดำเนินการวิจัยและการเก็บรวมรวมข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563


ถึงวันที่ 15 เมษายน
พ.ศ.2564 โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ผู้วิจัยเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณารับรองจาก
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
สุโขทัย
2.เมื่อได้รับการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยใน
มนุษย์แล้ว ผู้วิจัยทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิจัย เสนอต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุโขทัยเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์การ
วิจัย ขออนุญาตดำเนินการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้วิจัยเข้าพบ
หัวหน้าและพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่ วยอายุรกรรมชายและอายุรกรรมหญิง
เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ รายละเอียดการวิจัย และขอความร่วมมือในการ
วิจัย
4.แจ้งแพทย์เจ้าของไข้ของผู้ป่ วยทุกรายก่อนเริ่มทำการวิจัย
5.ผู้วิจัยสำรวจรายชื่อกลุ่มตัวอย่างที่เป็ นผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ในหอผู้ป่ วย และตรวจสอบคุณสมบัติกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
6. ผู้วิจัยเข้าพบกับกลุ่มตัวอย่างเมื่อมีอาการคงที่และแพทย์มี
ความเห็นให้ร่วมในการวิจัย ผู้วิจัยเข้าพบกลุ่มตัวอย่างเป็ นรายบุคคล
สร้างสัมพันธภาพแนะนำตนเอง อธิบายวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยขอ
14

ความร่วมมือในการรวบรวมข้อมูล และชี้แจงให้ทราบถึงการพิทักษ์สิทธิ์
กลุ่มตัวอย่างว่า ผู้ป่ วยจะได้รับการบริการพยาบาลตามมาตรฐานการ
พยาบาล ภายหลังการชี้แจงผู้วิจัยสอบถามความสมัครใจในการเข้าร่วม
โครงการวิจัย พร้อมระบุว่าผู้ป่ วยสามารถถอนตัวออกจากการโครงการ
วิจัยได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งเหตุผลใดๆ และจะไม่มีผลต่อการรักษา
พยาบาลที่ได้รับทั้งในปั จจุบันและอนาคต
7.การดำเนินการทดลองใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย
7.1 ระยะที่ 1 วันแรกของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็ นผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่ วยอายุรกรรมชายและอายุรกรรม
หญิง พยาบาลวิชาชีพทำการตรวจวัดสัญญาณชีพของผู้ป่ วย ซักประวัติ
ตรวจร่างกายเบื้องต้น สอบถามพฤติกรรมการสูบบุหรี่หรือดื่มสุราและ
ระยะเวลาที่ป่ วยเป็ นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชี้แจงข้อมูลการปฏิบัติตัวขณะ
อยู่โรงพยาบาล อีกทั้งสัมภาษณ์ผู้ดูแลหรือญาติของผู้ป่ วยเพื่อประเมิน
ความพร้อมในการดูแลผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้าน แจกแบบ
ประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 10 ข้อและประเมิน
การปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 20 ข้อ ใช้ระยะเวลา
ประมาณ 15-20 นาที นำข้อมูลที่ได้มาจากซักประวัติผู้ป่ วยและข้อมูล
ทางสุขภาพของผู้ป่ วยจากญาติ และผลการประเมินความรู้และการปฏิบัติ
ตนเองของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง นำมาวางแผนกระบวนการ
พยาบาลร่วมกับการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่ วยด้วยรูปแบบ D-METHOD
ต่อไป ที่สอดคล้องอาการและอาการแสดง และความต้องการของผู้ป่ วย
และญาติ ครอบคลุมเรื่อง 1) โรคที่เป็ นและปั จจัยที่ส่งเสริมให้เกิดอาการ
หายใจลำบากกำเริบ 2) การใช้ยาโดยเฉพาะยาขยายหลอดลม 3) สิ่ง
แวดล้อมและเศรษฐกิจ 4) แผนการรักษาของแพทย์ 5) ภาวะสุขภาพและ
15

ข้อจำกัดของตนเอง 6) ความต่อเนื่องในการรักษาและ 7) การรับ


ประทานอาหาร
7.2 ระยะที่สอง วันที่ 2-4 ของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการรักษาใน
หอผู้ป่ วยอายุรกรรมชายและอายุรกรรมหญิง พยาบาลวิชาชีพได้ใช้แนว
ปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายด้วยรูปแบบ D-METHOD สำหรับผู้ป่ วยโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสุโขทัย มีรายละเอียดดังนี้
วันที่ 2 พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติตามแผนจำหน่ายที่เตรียมไว้
ประกอบด้วย การให้ความรู้แก่ผู้ป่ วยและญาติผู้ดูแลโดยใช้แผนการสอน
ภาพพลิก โปสเตอร์รูปภาพหลอดลมและถุงลมผิดปกติใช้เวลาประมาณ
30-45 นาทีกับผู้ป่ วยและญาติ
วันที่ 3 ฝึ กทักษะที่จำเป็ นต่างๆ ในการจัดการอาการหายใจ
ลำบากแก่ผู้ป่ วยและญาติผู้ดูแล ได้แก่ การพ่นยาขยายหลอดลมอย่างถูก
วิธีจากผู้วิจัยและเภสัชกร โดยการบรรยายพร้อมใช้ภาพพลิก อธิบาย
เทคนิคการพ่นยา และให้ผู้ป่ วยและญาติผู้ดูแลสาธิตกลับให้ผู้วิจัยประเมิน
ทักษะ/เทคนิคการพ่นยาที่ถูกต้อง ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที ขึ้นอยู่
กับความสามารถของผู้ป่ วยแต่ละคน รวมทั้งความช่วยเหลือของญาติผู้
ดูแล นัดพบผู้ป่ วยและญาติผู้ดูแลครั้งต่อไปในวันที่ 4
วันที่ 4 ฝึ กท่าทางการฟื้ นฟูสมรรถภาพปอด และการออกกำลัง
กาย โดยใช้ภาพพลิกและสาธิตให้ผู้ป่ วยและญาติดูเป็ นตัวอย่าง หลังจาก
นั้นให้ผู้ป่ วยและญาติสาธิตกลับให้ผู้วิจัยประเมินทักษะการปฏิบัติตัวที่ถูก
ต้อง ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ป่ วย
แต่ละคน รวมทั้งความช่วยเหลือของญาติผู้ดูแล นัดพบผู้ป่ วยและญาติผู้
ดูแลครั้งต่อไปในวันที่ 5
7.3 ระยะที่สาม วันที่ 5 ก่อนจำหน่ายกลุ่มตัวอย่างออกจากหอผู้
ป่ วยอายุรกรรมชายและอายุ-รกรรมหญิง โรงพยาบาลสุโขทัย พยาบาล
16

วิชาชีพทบทวนความรู้ความเข้าใจของผู้ป่ วยและญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรัง สาเหตุ ปั จจัยเสี่ยง วิธีการจัดการกับกลุ่มอาการของ
ตนเอง การใช้ยาพ่น และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เหมาะสม และให้ผู้ป่ วย
สาธิตย้อนกลับอีกครั้งเกี่ยวกับทักษะต่างๆ ที่ได้ฝึ กไป ใช้เวลาประมาณ
30-45 นาทีพร้อมให้ทำแบบประเมินวัดความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้น
เรื้อรัง จำนวน 10 ข้อขออนุญาตผู้ป่ วยโทรศัพท์ติดตามการปฏิบัติตัวของ
กลุ่มตัวอย่างภายหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 2 สัปดาห์
สัปดาห์ที่ 2 ภายหลังการจำหน่ายกลุ่มตัวอย่างออกจากโรง
พยาบาล ผู้วิจัยโทรศัพท์ติดตามการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้น
เรื้อรัง และวิธีการจัดการกับอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
สัปดาห์ที่4 ภายหลังการจำหน่ายกลุ่มตัวอย่างออกจากโรง
พยาบาล ผู้วิจัยติดตามการปฏิบัติตัวของกลุ่มตัวอย่างภายหลังการ
จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 1 เดือนที่หน่วยตรวจผู้ป่ วยนอกอายุรกรรม
เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบประเมินการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง จำนวน 20 ข้อ และผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากสถิติการกลับมารักษา
ซ้ำของผู้ป่ วยที่ได้รับแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายภายใน 28 วันภาย
หลังการจำหน่ายด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ภาพ 4: ขั้นตอนการใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุด

ผู้ป่ วย COPD

ระยะที่ 1 วันที่ 1 ผู้ป่ วย COPD เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่ วยอายุร


กรรมชาย/หญิง

-วัด Vital sings


-ซักประวัติ ตรวจร่างกาย

ระยะที่ 2 วันที่ 2-4 ของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่ วย


อายุรกรรมชาย/หญิง
17

ระยะที่ 3 วันที่ 5 ก่อนจำหน่ายกลุ่มตัวอย่างออกจากหอผู้ป่ วยอายุร


กรรมชาย/หญิง

ทบทวนความรู้ความเข้าใจของผู้ป่ วยและญาติเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้น
18

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
1.วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่เพศ อายุ สถานภาพ
สมรส อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ สิทธิการรักษา ลักษณะที่อยู่อาศัย
ผู้ที่คอยช่วยเหลือดูแลขณะอยู่บ้าน พฤติกรรมการสูบบุหรี่/ดื่มสุราและ
ระยะเวลาที่ป่ วยเป็ นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยใช้สถิติพรรณนา
(descriptive statistic) นำเสนอเป็ นความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปร ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง และการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยเปรียบ
เทียบค่าเฉลี่ยของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยสถิติ paired
sample t-test ซึ่งก่อนการวิเคราะห์ได้ตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้น คือ ผู้
วิจัยวิเคราะห์การกระจายตัวของตัวแปรทั้งหมดด้วยสถิติ Shapiro-Wilk
test พบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและการปฏิบัติตัวของผู้
ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีการแจกแจงแบบไม่เป็ นโค้งปกติ (p<.05) แต่
เมื่อพิจารณาจากค่าความเบ้ (skewness) พบว่าอยู่ในช่วง  3 ดังนั้น
ข้อมูลมีการกระจายแบบโค้งปกติ (Howell, 2013)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายผล
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็ นเพศชาย (ร้อยละ 70.00) และเป็ นผู้สูง
อายุมีอายุเฉลี่ย 71.63 (SD 11.63) ปี มีช่วงอายุตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไปมาก
ที่สุด (ร้อยละ 56.67) ส่วนใหญ่มีสภานภาพสมรส (ร้อยละ 83.33) และมี
19

ระดับการศึกษาประถมมากที่สุด (ร้อยละ 80.00) ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบ


อาชีพ (ร้อยละ 63.33) รองลงมาคือ เกษตร (ร้อยละ 20.00) และอาชีพ
รับจ้าง (ร้อยละ 16.67) ตามลำดับ สำหรับความพอเพียงของรายได้ พบ
ว่า มีความเพียงพอและเหลือเก็บ และเพียงพอไม่เหลือเก็บจำนวนเท่ากับ
(ร้อยละ 43.33) ส่วนใหญ่ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ
86.66)
เมื่อพิจารณาผู้ดูแลที่บ้านพบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างอาศัยกับญาติ
พี่น้อง (ร้อยละ 93.33) สภาพที่อยู่อาศัยพบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีกลิ่นเหม็น
(ร้อยละ 83.33) ไม่มีผู้สูบบุหรี่อาศัยในบ้านเดียวกัน(ร้อยละ 73.33) ขณะ
ที่มีฝุ่นละออง/ควันไฟค่อนข้างมาก (ร้อยละ 50.00) กลุ่มตัวอย่างส่วน
ใหญ่มีประวัติสูบบุหรี่แต่เลิกแล้ว (ร้อยละ 50.00) และไม่ดื่มสุรา (ร้อยละ
96.67) มีระยะเวลาที่เป็ นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยเฉลี่ย 11.70 (SD 5.76)
ปี เมื่อพิจารณาช่วงระยะเวลาที่เป็ นโรคพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็ นโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรังตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปมากที่สุด (ร้อยละ 43.33)
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และการปฏิบัติตัวของ
ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระยะก่อนและหลังได้รับการวางแผนจำหน่าย
ตามแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย
วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง ระยะก่อนและหลังได้รับแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายและ
วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง ระยะก่อนได้รับแนวปฏิบัติและภายหลังผู้ป่ วยได้รับแนวปฏิบัติ
และถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างซึ่ง
เป็ นผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนได้รับแนวปฏิบัติ
เท่ากับ 6 คะแนน (SD 1.53) และภายหลังได้รับแนวปฏิบัติ มีคะแนน
ความรู้เฉลี่ย 8.80 คะแนน (SD 0.92) ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับ
20

แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้ง กลุ่มตัวอย่างมี


คะแนนการปฏิบัติก่อนได้รับแนวปฏิบัติเท่ากับ 20.10 คะแนน (SD 5.16)
และภายหลังได้รับแนวปฏิบัติ ผู้วิจัยติดตามกลุ่มตัวอย่างที่หน่วยตรวจผู้
ป่ วยนอกอายุรกรรมในสัปดาห์ที่ 4 พบว่ามีคะแนนการปฏิบัติเฉลี่ย 29.37
คะแนน (SD 3.18) ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับแนวปฏิบัติอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์อัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน
ภายหลังการจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังออกจากโรงพยาบาลที่ได้
รับแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย
กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็ นผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภายหลังได้รับแนว
ปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายด้วยรูปแบบ D-METHOD มีอัตราการกลับมา
รักษาซ้ำภายใน 28 วันด้วยโรคเดิม ร้อยละ 6.7 พบว่าปั จจัยที่ทำให้ผู้
ป่ วยมีอาการกำเริบและไม่สามารถจัดการกับอาการกำเริบได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้ป่ วยยังมีพฤติกรรมสูบบุหรี่และพบมลพิษ เช่น
ฝุ่นละออง ควันไฟ ในบ้านที่ผู้ป่ วยอาศัยอยู่ ส่งผลต่อความรุนแรงของโรค
เพิ่มขึ้น และญาติไม่มีความมั่นใจในการดูแลผู้ป่ วยที่บ้านได้เอง ซึ่งก่อนมี
การใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย พบมีอัตราการกลับมารักษาซ้ำ
ภายใน 28 วันด้วยโรคเดิม ร้อยละ 11.2
ตอนที่ 4 การอภิปรายผล
1. ผลการใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย ผู้ป่ วยโรคปอดอุด
กั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสุโขทัยพบว่า คะแนนความรู้และการปฏิบัติตัวของ
ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระยะก่อนและหลังได้รับแนวปฏิบัติการ
วางแผนจำหน่าย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ทั้งนี้เนื่องจากผู้วิจัยในฐานะพยาบาลวิชาชีพได้วางแผนการดูแลผู้ป่ วยโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ได้แก่ การ
21

ประเมินปั ญหาและความต้องการของผู้ป่ วย การกำหนดข้อวินิจฉัย


ทางการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลตาม
แผน และการประเมินผลร่วมกับบูรณาการแนวคิดการจำหน่ายผู้ป่ วยตาม
รูปแบบ D-METHOD ซึ่งหัวใจสำคัญของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วย
ทำให้ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการดูแลผู้ป่ วยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่
ระยะเฉียบพลันหรือเร่งด่วนเพื่อป้ องกันการเสียชีวิตจนกระทั่งมีการฟื้ น
ตัวที่ดีกลับไปฟื้ นตัวต่อที่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ (An, 2015; Gupta,
Perry, McMartin, 2013) อีกทั้งผู้วิจัยและทีมสหสาขาวิชาชีพให้ความ
สำคัญกับความพร้อมของผู้ป่ วยและญาติหรือผู้ดูแลที่มีระดับความ
สามารถแตกต่างกัน มุ่งพัฒนาความรู้และความสามารถในการดูแลตนเอง
ผ่านการฝึ กทักษะปฏิบัติตัวเพื่อป้ องกันอาการกำเริบและต้องกลับเข้ามา
รักษาซ้ำในโรงพยาบาล (กฤษดา แสวงดีและคณะ, 2539; Lin, Cheng,
Shih, Chu&Tjung, 2012) ซึ่งแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย ผู้ป่ วยโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสุโขทัยถือว่ามีประโยชน์อย่างมาก
เนื่องจากแนวปฏิบัติถือว่าเป็ นเครื่องมือที่ผ่านกระบวนการวิจัยและมี
ความน่าเชื่อถือสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดผลลัพธ์ที่คาดหวังได้จริง
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็ นผู้สูงอายุอาจมีข้อจำกัดใน
การเรียนรู้และฝึ กทักษะการปฏิบัติตนเอง ผู้วิจัยได้คำนึงถึงข้อจำกัดด้านนี้
สื่อการสอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยทำให้ผู้ป่ วยเกิดการเรียนรู้และ
ทักษะการฝึ กปฏิบัติด้วยตนเองได้ ในที่นี้ผู้วิจัยได้ใช้แผนการสอนและแผ่น
ภาพพลิกที่มีขนาดใหญ่ที่เป็ นส่วนหนึ่งของการใช้แนวปฏิบัติการวางแผน
จำหน่าย ขนาดตัวหนังสือมีความชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน
เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาแค่ระดับชั้นประถมศึกษา
เท่านั้น รวมถึงการให้ความรู้กับญาติเป็ นผู้ดูแลผู้ป่ วย เช่น สามี ภรรยา
บุตรและพี่น้อง จึงช่วยทำให้ความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอด
22

อุดกั้นเรื้อรังมีพัฒนาการขึ้น สอดคล้องกับผลการศึกษาของนวลตา โพธิ์


สว่าง, สุดใจ ศรีสงค์, และเพชราภรณ์ สุพร (2557)พบว่าภายหลังการใช้
รูปแบบการวางแผนจำหน่าย D-METHOD ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
และญาติมีค่าคะแนนความรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
และกรกนก แสนสุภา, ลัดดาวัลย์ แดงเถิน, และปกรณ์ ประจัญบาน
(2559)พบว่า ภายหลังการใช้โปรแกรมพัฒนาการวางแผนจำหน่ายของผู้
ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังความรู้และทักษะการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยต่อ
แผนการจำหน่ายหลังได้รับการวางแผนจำหน่ายจากพยาบาลที่ได้รับ
โปรแกรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
2.ผลการศึกษาอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ของผู้ป่ วย
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย เมื่อเปรียบ
เทียบกับกลุ่มผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ไม่ได้รับแนวปฏิบัติการวางแผน
จำหน่าย พบว่ากลุ่มผู้ป่ วยที่ไม่ได้รับแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย มี
อัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน คิดเป็ นร้อยละ 11.2 ส่วนกลุ่มผู้
ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย มีอัตรา
การกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน คิดเป็ นร้อยละ 6.7 มีเมื่อเทียบกับตัว
ชี้วัดระดับโรงพยาบาลสุโขทัยได้ตั้งเกณฑ์ที่ยอมรับได้ที่ร้อยละ 10.00
แสดงว่า ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับแนวปฏิบัติการวางแผน
จำหน่ายตามรูปแบบ D-METHOD ช่วยลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำ
ภายใน 28 วันได้ ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า แนวปฏิบัติการวางแผน
จำหน่ายตามรูปแบบ D-METHOD สำหรับผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรง
พยาบาลสุโขทัยมีความเหมาะสม องค์ประกอบของ D-
METHOD ประกอบด้วยโรคที่ผู้ป่ วยเป็ น (disease: D) การใช้ยา
(medication: M) สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ (environment &
economic: E) แผนการรักษา (treatment: T) ภาวะสุขภาพและข้อ
23

จำกัดของผู้ป่ วย (health: H) ความต่อเนื่องในการรักษา (outpatient


referral: O) และ การรับประทานอาหาร (diet: D) (สำนักการพยาบาล
กระทรวงสาธารณสุข, 2550) โดยผู้วิจัยในฐานะพยาบาลวิชาชีพได้ให้
ความรู้และฝึ กทักษะตามแผนการสอนอย่างเป็ นระบบ แต่มีความยืดหยุ่น
ที่สอดคล้องกับระดับความสามารถของผู้ป่ วยที่ส่วนใหญ่เป็ นผู้สูงอายุมาก
ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีญาติหรือผู้ดูแลเป็ นส่วน
ใหญ่ จึงช่วยกำกับติดตามและช่วยดูแลผู้ป่ วยเป็ นอย่างดี ดังเช่นการศึกษา
นวลตา โพธิ์สว่างและคณะ (2557) พบว่า รูปแบบการวางแผนจําหน่ายผู้
ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วย D-METHOD ช่วยลดอัตราการกลับมา
รักษาซํ้าภายใน 28 วันได้ถึงร้อยละ 98.0 และสอดคล้องกับการศึกษา
ของทิชากร แก่นอินทร์และอาจินต์ สงทับ (2562) ได้ศึกษาผลของการใช้
แนวทางปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รับการ
รักษาในโรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง พบว่า ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
รายรายใหม่ที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายกลับมารักษาซ้ำใน 28 วันร้อยละ
15.17 ไม่กลับมารักษาซ้ำใน 28 วันร้อยละ 84.83
นอกจากนี้ การติดตามผู้ป่ วยทางโทรศัพท์ภายหลังการจำหน่าย
กลุ่มตัวอย่างออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว 2 สัปดาห์ ช่วยกำกับติดตาม
การปฏิบัติตัวและวิธีการจัดการกับอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยให้
ความรู้และคำแนะนำกับผู้ป่ วยและญาติผู้ดูแลผู้ป่ วย ทำให้ผู้ป่ วยและญาติ
มีความรู้และการปฏิบัติตัวที่ดีจนสามารถดูแลตนเองเพื่อป้ องกันอาการ
กำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ จึงช่วยลดการกลับมารักษาซ้ำในโรง
พยาบาลได้ ดังเช่นการศึกษาของบุญชรัสมิ์ ธันย์ธิติธนากุล และนรลักขณ์
เอื้อกิจ (2560) ได้ศึกษาผลของโปรแกรมการให้การพยาบาลทางโทรศัพท์
ต่ออาการหายใจลำบากในผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังพบว่า อาการหายใจ
ลำบากของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มได้รับโปรแกรมการให้การ
24

พยาบาลทางโทรศัพท์ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
คะแนนความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระยะ
ก่อนและหลังได้รับแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายและ 2)เพื่อศึกษา
อัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ภายหลังการจำหน่ายผู้ป่ วยโรค
ปอดอุดกั้นเรื้อรังออกจากโรงพยาบาลที่ได้รับแนวปฏิบัติการวางแผน
จำหน่าย ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และ
การปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยโรคปปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภายหลังได้รับแนวปฏิบัติ
การวางแผนจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับแนวปฏิบัติอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน
พบว่า มีอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน คิดเป็ นร้อยละ 6.67

ข้อเสนอแนะสำหรับนำผลงานวิจัยไปใช้
1.พัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ตั้งแต่ผู้ป่ วยมารับบริการที่แผนกผู้ป่ วยนอก โดยประสานความร่วมมือ
ภายในทีมสหสาขาวิชาชีพ และครอบครัวของผู้ป่ วย ซึ่งจะมีบทบาท
สำคัญในการช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ให้สามารถ
ดูแลตนเอง และควรมีการติดตามผลการปฏิบัติตัวของผู้ป่ วยอย่างต่อเนื่อง
จากบุคลากรทางด้านสาธารณสุข เพื่อเป็ นการกระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้
25

ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คงพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมอย่าง
ต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไม่ต้องกลับมารักษาซ้ำ
ในโรงพยาบาล
2.สามารถนำรูปแบบ D-MEDTHOD ไปบูรณาการร่วมกับการ
พัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยกลุ่มโรคเรื้อรังอื่นๆได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
ประโยชน์เชิงวิชาการ
1. งานวิจัยนี้ทำให้พยาบาลได้ความรู้และทักษะการพัฒนาแนว
ปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยใช้งานวิจัยหรือ
หลักฐานเชิงประจักษ์รองรับที่มีความน่าเชื่อถือ
2. งานวิจัยนี้ทำให้พยาบาลมีแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกที่อิง
หลักฐานเชิงประจักษ์หรืองานวิจัยที่มีคุณภาพ
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม เพื่อศึกษาผลลัพธ์
ของดูแลผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เช่น อัตราการมารับบริการซ้ำภายใน
48 ชั่วโมง (re-visit rate) อัตราการมานอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน (re-
admit rate) และค่าใช้จ่าย
2. การทำวิจัยครั้งต่อไปอาจพิจารณาเพิ่มตัวแปรอื่น ๆ ร่วมด้วย
เช่น ความสามารถในการจัดการอาการหายใจลำบาก สภาวะอาการ
หายใจลำบาก ความสามารถในการทำปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เป็ นต้น

บรรณานุกรม
กรกนก แสนสุภา, ลัดดาวัลย์ แดงเถิน, และปกรณ์ ประจัญบาน. (2559).
ผลของโปรแกรมพัฒนาการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้น
26

เรื้อรัง โรงพยาบาลแพร่. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 12(4),


20-30.
กฤษดา แสวงดี, ธีรพร สถิรอังกูร, และเรวดี ศิรินคร. (2539). แนวทาง
การวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยกองการพยาบาล สำนักงานปลัด
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กฤษดา แสวงดี. (2547). ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล.
กรุงเทพมหานคร: สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวง
สาธารณสุข.
ทิชากร แก่นอินทร์และอาจินต์ สงทับ. (2562). ผลของการใช้แนวทาง
ปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รับการ
รักษาในโรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการ
สาธารณสุข, 28(5), 867-873.
นวลตา โพธิ์สว่าง, สุดใจ ศรีสงค์, และเพชราภรณ์ สุพร. (2557). การ
พัฒนารูปแบบการวางแผนจําหน่ายผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.
วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(1), 165–175.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล
ศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: บริษัทยูแอนด์ไอ
อินเตอร์มีเดีย จำกัด.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์ การ
คำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยโปรแกรม G*POWER.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชรัสมิ์ ธันย์ธิติธนากุลและนรลักขณ์ เอื้อกิจ. (2560). ผลของโปรแกรม
การพ่นยาร่วมกับการให้การพยาบาลทางโทรศัพท์ต่ออาการหายใจ
27

ลำบากในผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจ


และทรวงอก, 28(2),97-110.
ปิ ยะวรรณ กุวลัยรัตน์, กมลพร มากภิรมย์,และสุดฤทัย รัตนโอภาส.
(2560). ปั จจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะกำเริบและมารักษาที่แผนก
ฉุกเฉินของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารอายุรศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 29-41.
An, D. (2015). Cochrane review brief: Discharge planning from
hospital to home. Online Journal of Issues in
Nursing, 20(2), 13.
Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease [GOLD].
(2020). Global strategy for the diagnosis, management,
and prevention of chronic obstructive pulmonary
disease (2020 report). Available from:
http://www.goldcopd.org.
Howell, D. C. (2013). Statistical methods for psychology(8
th

ed.). Belmont, California: Wadsworth Cengage Learning.


Jacobs, D. M., Noyes, K., Zhao, J., Gibson, W., Murphy, T. F.,
Sethi, S. et al. (2018). Early hospital readmissions after an
acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary
disease in the nationwide readmissions database. Annals
of the American Thoracic Society, 15(7), 837–845.
Lin, C. J., Cheng, S. J., Shih, S. C., Chu, C. H., &Tjung, J. J.
(2012).Discharge planning. International Journal of
Gerontology, 6(4), 237-240.
28

McGaw, J., Conner, D. A., Delate, T. M., Chester, E. A., &


Barnes, C. A. (2007). A multidisciplinary approach to
transition care: A patient safety innovation study. The
Permanente Journal, 11(4), 4–9.
McMartin, K. (2013).Discharge planning in chronic conditions:
An evidence-based analysis. Ontario Health Technology
Assessment Series, 13(4), 1–72.
Polit, D. F., & Hungler, B. P. (2013). Essentials of nursing
research: Methods, appraisal, and utilization (8 Edition).
th

Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams and


Wilkins.
World Health Organization [WHO]. (2020). The top 10 causes
of death. Received December 9, 2020, from
https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-
top-10-causes-of-death
12.ชื่อ-สกุล นางสาวอานุภาพ กันทะวงค์ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ
ชำนาญการพิเศษ

สถานที่ปฏิบัติงาน หอผู้ป่ วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสุโขทัย

หมายเลขโทรศัพท์มือถือ 086 – 3226829

E-mail Address : arnupharp6829@gmail.com

You might also like