You are on page 1of 29

บทที่7 วงจรเงินเดือนและค่าแรง

-วงจรเงินเดือนและค่าแรง ถือเป็ นส่วนหนึ่งของวงจรรายจ่าย > การ


บริหารทรัยากรจัดการทรัพยากรบุคคลทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?
เพราะเป็ นตัวขับเคลื่อนขององค์กร
-เงินเดือน —> หยุดแล้วได้เงิน(มีบังคับพักเที่ยง) | ค่าแรง —> หยุดแล้ว
ไม่ได้เงิน
-วงจรเงินเดือนและค่าเเรง ประกอบด้วยเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการ
จัดการทรัยากรบุคคล(Human Resource Management)
1. การสรรหาทรัพยากรบุคคล(จากภายนอก-ผู้สมัคร) -
วางแผน+ประเมินอัตรากำลัง+กำหนดหน้าที่งานอย่างเด่นชัด+คัด
เลือกอย่างรอบคอบ(ทักษะ,ทัศนคติ,คุณสมบัติ)
2. ฝึ กอบรมและพัฒนา - มีการปฐมนิเทศ+อบรม ซึ่งการวางแผน
ประเด็นความรู้และทักษะเป้ นสิ่งจำเป็ น เพื่อช่วยสร้างการทำงานให้
มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. การกำหนดและมอบหมายงาน - ควรกำหนดคำบรรยายลักษณะ
งาน(Job Description: JD) ที่ชัดเจนเพราะจะได้หาคนที่มี
คุณสมบัติเหมาะสมกับงานมาทำ
4. การบริหารจัดการค่าตอบแทน - มีการกำหนดค่าตอบแทนอย่าง
เหมาะสม ทัดเทียมคู่เเข่งเพื่อจูงใจ / องค์กรควรใช้อัคราค่า
ตอบแทนล่าสุด*จน.ชม.*การปฎิบัติงาน หัก ค่าใช่จ่ายต่างๆ เช่นค่า
ประกันสังคม , RMF
5. การประเมินผลการปฎิบัติงาน - ติดตามผลการปฎิบัติงาน และ
กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ กำหนดไว้อย่างไร เช่นปฎิบัติงานดี > เพิ่ม
เงินเดือน หรือโบนัส / การวัด kpi สามารถวัดได้อย่างไรให้เหมาะ
สมแก่งานนั้น
6. การยุติการจ้างงาน - เป็ นกิจกรรมสุดท้ายของ HRM มีทั้งสมัครใจ
และไม่สมัครใจ
-วัตถุประสงค์
1. จัดหาทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมกับงาน มีกลไกคัดเลือกและฝึ ก
อบรมอย่างเหมาะสม
2. บริหารต้นทุนเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลได้อย่างคุ้มค่า โดยคำนึงถึง
ผลการปฎิบัติงานและการบรรลุเป้ าหมายในการดำเนินงาน
3. จ่ายเงินเดือนและค่าแรงให้กับบุคคลที่ทำงานจริงกับบริษัทเท่านั้น
และปฎิบัติตามกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 ระเบียนประวัติพนักงาน เป็ นเอกสารที่ใช้แสดงประวัติของ
พนักงานแต่ละคน มีรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวข้อมูลการศึกษา
ข้อมูลการทำงานข้อมูลการเงิน และข้อมูลอื่นๆเช่นกองทุนประกัน
สังคมค่ายรถยนต์ต่างๆ ซึ่งระเบียนประวัติพนักงานถือเป็ นข้อมูล
หลักในวงจรเงินเดือนและค่าแรง ซึ่งเป็ นข้อมูลที่มีลักษณะ
เปลี่ยนแปลงไม่บ่อย (บอกอัตราเงินเดือน)
 บัตรตอกเวลา เป็ นบัตรกระดาษที่ใช้ร่วมกับเครื่องตอกเวลาเพื่อ
บันทึกในการปฏิบัติงานจริงของพนักงานแต่ละคนโดยแสดงราย
ละเอียดวันที่เวลาเข้าออกงาน รวมทั้งใช้เป็ นเอกสารต้นทางในการ
คำนวณระยะเวลาการทำงานของพนักงานในแต่ละวัน (บอกจำนวน
ชั่วโมงในการทำงาน)
 แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็ นเอกสารที่ใช้ในการประเมินผล
สำเร็จและประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน
ซึ่งควรมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน
 ใบจ่ายเงินเดือนเลยค่าแรง(Pay Slip) เป็ นรายงานที่แสดงราย
ละเอียดรายการจ่ายเงินเดือนและค่าแรงประจำงวดสำหรับ
พนักงานแต่ละคน
 ใบสำคัญจ่าย เป็ นใบที่แสดงรายละเอียดการจ่ายเงินเดือนและ
ค่าแรงประจำงวดแต่ส่งไปให้แผนกการเงินจ่ายเงิน
 บัญชีคุมยอดเงินเดือน (Payroll imprest account) เป็ นบัญชี
เงินฝากธนาคารที่จัดทำขึ้นเพื่อควบคุมเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน
และค่าแรงพนักงานเท่านั้น โดยไม่ใช่บัญชีเงินฝากธนาคารอื่นของ
องค์กร
 ทะเบียนคุมเงินเดือนและค่าแรง เป็ นเอกสารที่ใช้แสดงรายการเงิน
เดือนและค่าแรงทั้งหมดขององค์กรในงวดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดย
แสดงรายละเอียดเงินเดือนค่าล่วงเวลารายการหักลดหย่อนต่างๆ
และยอดเงินรวมและค่าแรงทั้งหมด
 ทะเบียนคุมเช็คจ่าย เป็ นเอกสารที่ใช้บันทึกรายการเช็คทั้งหมดที่
องค์กรจ่าย โดยแสดงรายละเอียดวันที่เช็ค เลขที่เช็ค ธนาคาร และ
ควรมีการควบคุมเลขที่เช็คให้เรียงลำดับตามเลขที่ในสมุดเช็ค และ
เช็คที่สั่งจ่ายควรเป็ นการจ่ายเพื่อเข้าบัญชีคุมยอดเงินเดือน และแจ้ง
หน่วยงานที่กำกับดูแลเช่นกรมสรรพากร
 รายงานพนักงาน เป็ นรายงานที่แสดงรายละเอียดและสถานะการ
ทำงานของพนักงานในแต่ละหน่วยงานขององค์กร โดยอาจแสดง
เป็ นแบบสรุป แบบแสดงรายละเอียดหรือแบบเปรียบเทียบก็ได้ เช่น
รายงานจำกัดพนักงานแยกตามแผนก รายงานความเคลื่อนไหวของ
พนักงานตามงวดเวลา
ความเสียงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
1) ความเสี่ยงจากการจ้างพนักงานที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม หาก
องค์กรกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครไม่เจาะจงพอที่จะคัดกรองผู้
สมัครให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานหรือมีกระบวนการคัดเลือกที่ไม่มี
ประสิทธิภาพองค์กรจึงอาจมีความเสี่ยงจากการจ้างพนักงานที่มี
คุณสมบัติไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
ควบคุมภายใน องค์กรควรกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครให้ชัดเจนในคำ
บรรยายลักษณะงานและใช้คำบรรยายลักษณะงานเป็ นเอกสาร
อ้างอิงในการพิจารณาสรรหาพนักงานทุกครั้ง และผู้คัดเลือกควร
ดำเนินการในรูปแบบคณะทำงานที่มีตัวแทนมาจากหลายฝ่ าย
นอกจากนี้ควรกำหนดกฎเกณฑ์ที่คัดเลือกอย่างเหมาะสมเพื่อให้
แน่ใจว่าผู้สมัครคนดังกล่าวเหมาะสมที่จะเป็ นพนักงานขององค์กร
ในแผนกนั้นๆ
2) ความเสี่ยงจากพนักงานทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อพนักงานเข้า
มาทำงานและพบว่าองค์กรทำงานแบบไม่มีกฎระเบียบควบคุมทำให้
พนักงานปล่อยปละละเลยหรือทำงานไม่เต็มที่องค์กรจึงมีความเสี่ยง
จากการที่พนักงานทำงานไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้องค์กรต้องจ่าย
ค่าตอบแทนเกินกว่าผลของการทำงานที่จะได้รับจากพนักงาน เช่น
พนักงานตอกบัตรแล้วไปซื้อของกิน

ควบคุมภายใน องค์กรต้องมีการจัดการกฎระเบียบและสิ่งแวดล้อม
ในการทำงานที่เหมาะสมไม่ตั้งกฎที่เข้มงวดจนเกินไป และไม่ลด
หย่อนกฎให้หละหลวมจนเกินไป และองค์กรอาจกำหนดให้มี
หัวหน้างานคอยควบคุมการทำงานหรืออาจติดตั้งกล้องวงจรปิ ด
ภายในสถานที่ทำงาน
3) ความเสี่ยงจากการละเมิดกฎหมายแรงงาน องค์กรอาจมีความ
เสี่ยงจากการละเมิดกฎหมายแรงงานหากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด
ทางกฎหมายจะส่งผลต่อชื่อเสียงขององค์กรและต้องเสียค่าชดเชย
หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ควบคุมภายใน องค์กรควรศึกษารายละเอียดในข้อกฎหมาย
แรงงานอย่างละเอียดและกำหนดรายละเอียดเหล่านั้นให้เป็ นส่วน
หนึ่งของนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล เพื่อให้
องค์กรสามารถ ปฏิบัติตามข้อกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และอาจจะ
ขอคำแนะนำจากทีมกฎหมายเพิ่มเติมหากมีกรณีสงสัย

4) ความเสี่ยงจากการบันทึกเวลาปฏิบัติงานจริงไม่ถูกต้อง (ความ
เสี่ยงจากบัตรตอกเวลา) เมื่อพนักงานต้องปฏิบัติงานจริงจึงอาจมี
การบันทึกเวลาปฏิบัติงานจริงไม่ถูกต้องเช่นมีการบันทึกเวลาแทน
กันซึ่งส่งผลให้องค์กรต้อง จ่ายค่าตอบแทนเกินกว่าผลของงานที่ได้
รับ

ควบคุมภายใน องค์กรอาจตั้งเครื่องตอกบัตรให้อยู่ในระยะสายตา
ของพนักงานรักษาความปลอดภัย เพื่อให้พนักงานรักษาความ
ปลอดภัยช่วยสอดส่องดูแลความผิดปกติ หรือทำการติดต้องกล้อง
วงจรปิ ดในบริเวณดังกล่าว เพื่อป้ องกันการบันทึกเวลาทำงานแทน
กัน นอกจากนั้นพนักงานยังต้องบันทึกเวลาแยกเป็ นงานในบัตรงาน
ผลิต ดังนั้นองค์กรควรเพิ่มขั้นตอนการเปรียบเทียบข้อมูลในบัตร
ตอกเวลากับบัตรงานผลิต เพื่อดูความสอดคล้องของข้อมูลใน
เอกสารทั้งสอง นอกจากนี้อาจนำเทคโนโลยีมาใช้เช่นเทคโนโลยีการ
ยืนยันตัวตนด้วยชีวะมิติที่ใช้เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล เช่นการ
สแกนลายนิ้วมือหรือสแกนม่านตา

5) ความเสี่ยงจากการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงผิดพลาด อาจมี
สาเหตุมาจากการนำข้อมูลเวลาการปฏิบัติงานเข้าสู่ระบบการ
คำนวณคลาดเคลื่อนหรือการใช้อัตราเงินเดือนและค่าแรงที่ไม่เป็ น
ปั จจุบันทำให้ผลการคำนวณผิดพลาด รวมถึงการคำนวณรายการ
ขายรถยนต์ไม่ตรงกับความเป็ นจริง รายการหักทางภาษีไม่ถูกต้อง
หรือไม่เป็ นตามอัตราที่เป็ นปั จจุบัน นอกจากนี้การป้ อนข้อมูล เข้าสู่
ระบบคอมพิวเตอร์อาจเกิดข้อผิดพลาดได้

ควบคุมภายใน องค์กรควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน
นำเข้าสู่ระบบการประมวลผลเงินเดือนและค่าแรง โดยเปรียบเทียบ
ข้อมูลนำเข้าในโปรแกรมการคำนวณกับเอกสารต้นทางหรือ
เอกสารอ้างอิง เช่น บัตรตอกเวลา(สำหรับเวลาปฏิบัติงานจริง)
ระเบียนประวัติพนักงาน (สำหรับอัตราเงินเดือน และค่าแรงราย
ละเอียดรายการหัก) เพื่อให้แน่ใจว่าการคำนวณเงินเดือนและ
ค่าแรงถูกต้องครบถ้วนและเป็ นปั จจุบัน องค์กรยังอาจนำหลักการ
แบ่งแยกหน้าที่มาใช้โดยแยกหน้าที่ระหว่างผู้ดูแลการบันทึกเวลา
ปฏิบัติงานและผู้คำนวณเงินเดือนและค่าแรง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อ
ถือในกระบวนการคำนวณและตรวจสอบ และองค์กรควรพิจารณา
ความสมเหตุสมผลของข้อมูลในการคำนวณเงินเดือนและค่าแรง
โดยสังเกตความผิดปกติของข้อมูลนำเข้า เช่นจำนวนทำงานใน
แต่ละวันไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง หรือองค์กรเปรียบเทียบข้อมูลนำ
เข้าจากบัตรตอกเวลากับจำนวนชั่วโมงในบัตรงานผลิต นอกจาก
นี้องค์กรยังสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการควบคุมภายในเช่น
การควบคุมข้อมูลป้ อนเข้า เช่น การควบคุมการเข้าถึงระเบียน
ประวัติพนักงาน เพื่อไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องทำการแก้ไขข้อมูล

6) ความเสี่ยงจากการยักยอกเงิน เงินสดถือเป็ นสินทรัพย์ที่มีสภาพ


คล่องในการเปลี่ยนมือสูง ดังนั้นองค์กรจึงอาจมีความเสี่ยงจากการ
ที่พนักงานทำการยักยอกเงินขององค์กรไปใช้ส่วนตัว เช่นการจ่าย
เงินให้กับพนักงานที่ไม่มีตัวตน แต่เป็ นพนักงานที่ถูกสมมุติขึ้นมา
เพื่อใช้เส้นทางการจ่ายเงินออกจากองค์กร นอกจากนี้การยักยอก
เงินอาจเกิดจากพนักงานที่ขโมยเช็คสั่งจ่ายเงินเดือนและค่าแรง
หรือทำการแก้ไขเปลี่ยนข้อมูลการเงินของพนักงานคนอื่นใน
ระเบียนประวัติพนักงาน เพื่อให้เงินเดือนและค่าแรงโอนเข้าบัญชี
ของตนเอง
ควบคุมภายใน องค์กรควรมีกระบวนการจัดทำเช็คสั่งจ่ายเงินเดือน
และค่าแรงให้รัดกุม เช่นมีการอ้างอิงถึงข้อมูลในทะเบียนคุมเงิน
เดือนและค่าแรงเสมอ หรือจัดทำเช็คตามมูลค่าที่ระบุในใบสำคัญ
จ่ายที่ได้รับอนุมัติแล้วเท่านั้นและประทับตราจ่ายแล้วในใบสำคัญ
จ่ายเสมอ นอกจากนี้องค์กรควรมีการตรวจสอบใบสำคัญจ่ายกับ
เอกสารต้นทางหรือเอกสารอ้างอิงโดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการ
จัดทำเอกสารดังกล่าว เช่นการตรวจสอบใบสำคัญจ่ายกับทะเบียน
คุมเงินเดือนและค่าแรง การตรวจสอบระหว่างบัตรตอกเวลาและ
บัตรงานผลิต เพื่อให้แน่ใจว่ารายการเงินเดือนและค่าแรงถูกต้อง
ก่อนสั่งจ่ายทุกครั้ง นอกจากนี้องค์กรอาจนำหลักแบ่งแยกหน้าที่มา
ใช้โดยแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างผู้ทำการจ่ายเงินออกและผู้จัดทำ
ทะเบียนคุมเงินเดือนและค่าแรง หรือแยกหน้าที่ระหว่างกูจัดทำเช็ค
กับผู้บันทึกรายการบัญชีเงินสดจ่าย อีกทั้งองค์กรควรพิจารณาถึง
การตรวจสอบอย่างเป็ นอิสระโดยองค์กรควรทำงบกระทบยอดเงิน
ฝากธนาคาร เพื่อเทียบยอดตามบัญชีเงินฝากธนาคารกับยอดจากใบ
แจ้งยอดเงินฝากธนาคาร นอกจากนี้องค์กรยังสามารถนำเทคโนโลยี
มาช่วยควบคุมภายใน เช่นการควบคุมการเข้าถึงระเบียนประวัติ
พนักงานในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้ระบบโอนเงินทาง
อิเล็กทรอนิกส์แทนการจ่ายเช็ค
7) ความเสี่ยงจากการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือรายการหักลด
หย่อนอื่นๆไม่ถูกต้อง นอกจากเงินเดือนและคันเร่งองค์กรยังต้อง
คำนวณและจ่ายรายการหักค่ายรถยนต์ต่างๆให้กับหน่วยงานกำกับ
องค์กรจึงมีความเสี่ยงจากการชำระรายการเหล่านี้ไม่ถูกต้องทั้งใน
กรณีที่องค์กรสั่งจ่ายด้วยเช็ค ด้วยยอดเงินที่ไม่ถูกต้ององค์กรทำการ
จ่ายเช็คให้หน่วยงานกำกับไม่ทันเวลาที่กำหนด หรือละเลยในการ
จ่ายส่งผลให้องค์กรต้อง เสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม

ควบคุมภายใน องค์กรควรมีกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่าทุกครั้งที่มี
การจ่ายเงินเดือนและค่าแรงต้องมีการจ่ายรายการหักค่าลดหย่อน
ต่างๆด้วย นอกจากนี้องค์กรอาจกำหนดให้มีการตรวจสอบความ
ครบถ้วนและสอบถามการคำนวณเพื่อให้แน่ใจว่าการจ่ายรายการ
หักค่าลดหย่อนต่างๆถูกต้อง โดยผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
จ่ายเงิน

8) ความเสี่ยงจากการจัดทำระเบียนประวัติพนักงานไม่ถูกต้อง
นักเรียนโปรดพนักงานถือเป็ นข้อมูลสำคัญขององค์กร ซึ่งองค์กร
อาจ จะบันทึกข้อมูลส่วนตัวข้อมูลตำแหน่งงานหรืออัตราเงินเดือน
และค่าแรงไม่ถูกต้อง โดยอาจเป็ นการบันทึกข้อมูลหลักในระเบียบ
ประวัติพนักงานคลาดเคลื่อนจากความเป็ นจริง หรือมีการ
เปลี่ยนแปลงข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารของพนักงาน รวมถึง
องค์กรอาจมีความเสี่ยงจากการจัดทำระเบียบประวัติพนักงานที่ไม่มี
ตัวตนจริง

ควบคุมภายใน องค์กรควรมีกระบวนการตรวจสอบความน่าเชื่อถือ
ของเอกสารอ้างอิงของพนักงานเช่นสำเนาบัตรประชาชนสำเนา
สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร ร่วมกับหลักฐานสัญญาจ้างที่ได้รับ
อนุมัติจากองค์กรก่อนทำการสร้างระเบียนประวัติพนักงาน
นอกจากนี้ทุกครั้งที่มีการปรับปรุงระเบียนประวัติพนักงาน เช่น
เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง หรือลาออก องค์กรควรออกเอกสารอ้างอิง
อย่างเป็ นทางการก่อนส่งต่อให้แผนกบุคคล

9) ความเสี่ยงจากการเข้าถึงระเบียนประวัติพนักงานโดยไม่ได้รับ
อนุญาต ระเบียนประวัติพนักงานถือเป็ นข้อมูลหลักที่สำคัญของ
วงจรเงินเดือนและค่าแรง ซึ่งองค์กรอาจมีความเสี่ยงถ้าหากมีการ
เข้าถึงระเบียนประวัติพนักงาน โดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจนำ
ไปสู่การใช้ประโยชน์ในข้อมูลนั้นในทางมิชอบ

ควบคุมภายใน องค์กรควรมีกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่าเฉพาะผู้ที่
มีหน้าที่และได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึง หรือแก้ไข
ระเบียนประวัติพนักงาน โดยองค์กรควรเก็บระเบียนประวัติ
พนักงานไว้ในตู้แบบมิดชิด และมีผู้ควบคุมดูแล อนุญาตให้เฉพาะผู้
ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำเทคโนโลยีมา
ใช้ในการควบคุมภายใน เช่นการใช้รหัสผ่านสำหรับการเข้าถึง
ระเบียนประวัติพนักงาน

10) ความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูล ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน


ถือว่าเป็ นข้อมูลที่มีความสำคัญดังนั้นองค์กรจึงมีความเสี่ยงจากการ
สูญเสียข้อมูลทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา

ควบคุมภายใน องค์กรควรมีกระบวนการที่ทำให้มั่นใจว่ามีการ
ป้ องกันการสูญเสียข้อมูลหรือมีความสามารถในการกู้คืนข้อมูลหาก
เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้องค์กรควรเก็บรักษา
เอกสารทางการเงินหรือสมุดบัญชีอย่างเป็ นระบบและระยะเวลาที่
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด

11) ความเสี่ยงจากการบันทึกรายการค้าและบัญชีไม่ถูกต้อง
เมื่อเกิดรายการค้าย่อมมีการบันทึกรายการค้าและบัญชีจึงทำให้
องค์กรมีความเสี่ยงจากการบันทึกทางบัญชีไม่ถูกต้องหรือไม่เป็ นไป
ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

ควบคุมภายใน องค์กรควรมีกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่าทุกรายการ
เงินเดือนและค่าแรงมีการบันทึกอย่างถูกต้อง ด้วยมูลค่าที่เหมาะสม
และตามระยะเวลาที่ถูกต้อง โดยใช้เอกสารที่มีการกำหนดเลขที่ไว้
ล่วงหน้า เพื่อให้แน่ใจว่ารายการต่างๆมีการจัดทำตามลำดับไม่มีการ
บันทึกซ้ำหรือไม่ข้ามรายการใดรายการหนึ่ง
บทที่8 วงจรสินทรัพย์ถาวร

-วงจรสินทรัพย์ถาวรเป็ นส่วนหนึ่งของวงจรรายจ่าย

-สินทรัพย์ถาวรหมายถึงที่ดินอาคารอุปกรณ์ที่คาดว่าจะให้ผลประโยชน์
แก่องค์กรยาวนานกว่า 1 ปี

-โดยวงจรเริ่มต้นเมื่อองค์กรได้รับสินทรัพย์ถาวร มีการดูแลรักษาคำนวณ
และบันทึกค่าเสื่อมราคาจนกระทั่งสิ้นสุดเมื่อองค์กรยุติการใช้ประโยชน์
ของสินทรัพย์ถาวรนั้น

-ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ หมายถึงสินทรัพย์ที่มีตัวตน ที1. มีไว้เพื่อใช้


ประโยชน์ในการผลิต ในการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ 2. คาดว่าจะใช้
ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลา
การคำนวณค่าเสื่อมราคา ต้องพิจารณาจาก 3 ปั จจัย คือ

1. จำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคา(หลังจากมูลค่าคงเหลือ)
2. อายุการใช้ประโยชน์
3. วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา

วัตถุประสงค์

1. สามารถจัดหาสินทรัพย์ถาวรให้เป็ นไปตามความต้องการขององค์กร
2. สามารถควบคุมดูแลสินทรัพย์ถาวรให้ใช้ได้ตลอดระยะเวลาการใช้
ประโยชน์
3. สามารถจัดการการสิ้นสุดของสินทรัพย์ถาวรได้อย่างเหมาะสม

1.กระบวนการจัดหาสินทรัพย์ถาวร > แผนกต่างๆจัดทำใบขอซื้อ ส่งต่อ


ให้แผนกจัดซื้อ จัดซื้อสินทรัพย์ถาวร เมื่อผู้ขายจัดส่งองค์กรจะทำการ
ตรวจสภาพ และจัดทำใบรับของ บันทึกรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องและจัด
ทำทะเบียนคุมสินทรัพย์ถาวร

2. กระบวนการคำนวณค่าเสื่อมราคา > องค์กรจะมีการบันทึกค่าเสื่อม


ราคาโดยอ้างอิงตามตารางค่าเสื่อมราคา และบันทึกทะเบียนคุม
สินทรัพย์ถาวรและจัดทำรายงานค่าเสื่อมราคา

3. กระบวนการซ่อมแซมบำรุงรักษา > องค์กรควรมีการดูแลรักษา


สินทรัพย์ถาวรตลอดอายุการใช้งาน และพิสูจน์ความมีตัวตนอย่างน้อยปี
ละหนึ่งครั้งทุกสิ้นปี

4. กระบวนการตัดรายการสินทรัพย์ถาวร > เมื่อสินทรัพย์ถาวรถูกยุติ


การใช้งาน องค์กรจะมีทางเลือกคือขาย บริจาค ขายซากหรือแลกเปลี่ยน
กับสินทรัพย์ถาวรอื่น จากนั้นทำการบันทึกรายการและปรับปรุงรายการ
ในทะเบียนคุมสินทรัพย์ถาวร

เอกสารในวงจรสินทรัพย์ถาวร

 ใบขอซื้อ > เอกสารภายในองค์กร ทำขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดและ


ปริมาณของสินทรัพย์ถาวรที่ต้องการซื้อพร้อมระบุเหตุผลและวงเงิน
งบประมาณ
 ใบรับของ > เอกสารภายในองค์กรที่ใช้เป็ นหลักฐานการรับ
สินทรัพย์ถาวรจากผู้ขาย โดยแสดงรายละเอียดและปริมาณ เพื่อให้
แผนกที่ทำกันขอซื้อสามารถตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ก่อน
นำไปใช้งาน
 ตารางค่าเสื่อมราคา > ตารางแสดงอัตราและอายุการใช้ประโยชน์
ของสินทรัพย์ถาวรแต่ละประเภท

บัญชีและรายงานในวงจรสินทรัพย์ถาวร

 บัญชีสินทรัพย์ถาวร > บัญชีแยกดอกเบี้ยที่จัดทำขึ้นเพื่อบันทึก


รายการสินทรัพย์ถาวร เช่นบัญชีที่ดิน
 บัญชีค่าเสื่อมราคา > บัญชีแยกประเภทที่จัดทำขึ้นเพื่อบันทึก
รายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาประจำงวด
 บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม > บัญชีแยกประเภทเพื่อบันทึกรายการ
เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาสะสม โดยบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมถือเป็ น
บัญชีที่หักออกจากยอดคงเหลือของบัญชีสินทรัพย์ถาวร เพื่อแสดง
ยอดคงเหลือตามบัญชีของสินทรัพย์ถาวรนั้นๆ
 บัญชีค่าซ่อมแซมบำรุงรักษา > บัญชีที่จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายการ
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซ่อมแซมบำรุงรักษาสินทรัพย์ถาวร
 บัญชีกำไร(ขาดทุน)จากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร > บัญชีแยก
ประเภทที่จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายการ ผลต่างของราคาตามบัญชี
ของสินทรัพย์ที่ตัดจำหน่าย กับจำนวนเงินที่ได้รับจากการตัด
จำหน่าย
 ทะเบียนคุมสินทรัพย์ถาวร > เอกสารที่ใช้บันทึกรายการสินทรัพย์
ถาวรทั้งหมดขององค์กร โดยแสดงทั้งรายละเอียดทางกายภาพและ
รายละเอียดทางบัญชี
 รายงานค่าเสื่อมราคา > รายงานที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่าเสื่อม
ราคาของสินทรัพย์ถาวร โดยแสดงรหัสสินทรัพย์ รายการสินทรัพย์
เหมือนที่ได้มา ราคาทุน ทั้งนี้อาจแสดงค่าเสื่อมราคาทางภาษี และ
คำนวณระหว่างค่าเสื่อมราคาทางบัญชีและทางภาษี
 รายงานการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร > รายงานที่รวบรวม
รายการสินทรัพย์ถาวรที่มีการตัดจำหน่ายสำหรับงวด โดยแสดงราย
ละเอียดรหัสสินทรัพย์ถาวร ประเภทสินทรัพย์ถาวร เป็ นต้น

ความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม

1. ความเสี่ยงจากการจัดหาสินทรัพย์ถาวรไม่คุ้มค่าหรือไม่สอดคล้อง
กับการดำเนินงานขององค์กร องค์กรจึงมีความเสี่ยงเช่นแผนกสั่ง
ซื้อตามความต้องการของพนักงานหรือหัวหน้าแผนก โดยกำหนด
คุณสมบัติของสินทรัพย์ถาวรตามความต้องการส่วนตัว
การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีกระบวนการอนุมัติและขอซื้อใน
แต่ละแผนก และมีการควบคุมวงเงินขอซื้อแรงงบประมาณ
นอกจากนี้แผนกจัดซื้อยังควรพิจารณาภาพรวมของการจัดซื้อ
สินทรัพย์ถาวรขององค์กร และได้รับการอนุมัติจากองค์กรก่อนจึง
จัดทำใบสั่งซื้อส่งให้ผู้ขาย
2. ความเสี่ยงจากการจัดซื้อกับผู้ขายที่ไม่น่าเชื่อถือและไม่ประหยัด
> องค์กรควรมีการพิจารณา ผู้ค้ายังรอบคอบ เพราะมีความเสี่ยง
เช่นองค์กรจัดซื้อจากผู้ขายเพียงเพราะราคาขายต่ำสุด หรือองค์กร
ทำการซื้อขายกับผู้ขายที่มีความใกล้ชิดกับพนักงาน ซึ่งหากได้ผู้ขาย
ที่ไม่น่าเชื่อถือทำให้ได้สินทรัพย์ถาวรที่ไม่มีคุณภาพ และหากองค์กร
ไม่มีการวางแผนในการจัดซื้อที่ดีองค์กร อาจมีการจัดซื้อกะทันหัน
ทำให้ได้ราคาสูงเกินความจำเป็ น

การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีกระบวนการพิจารณาคัดเลือกผู้


ขายที่เหมาะสม มีเกณฑ์การพิจารณาเลือกผู้ขายอย่างชัดเจนและมี
การอนุมัติผลการคัดเลือกผู้ขายจากผู้มีอำนาจ รวมถึงองค์กร อาจ
กำหนดให้ผู้ตรวจสอบภายในทดสอบความสมเหตุสมผลของการสั่ง
ซื้อสินทรัพย์ถาวร โดยพิจารณาจากเงื่อนไขต่างๆ เช่นการสั่งซื้อ
รายละเอียดคุณสมบัติ ราคายุติธรรม คุณภาพ เป็ นต้น

3. ความเสี่ยงจากการตรวจรับสินทรัพย์ถาวรไม่ถูกต้อง > การตรวจ


รับสินทรัพย์ถาวรแตกต่างจากการตรวจรับสินค้าคงเหลือ เพราะ
สินทรัพย์ถาวรเป็ นความต้องการของหลากหลายแผนก ซึ่งหากผู้
ตรวจรับไม่เข้าใจถึงรายละเอียดคุณสมบัติของ สินทรัพย์อย่าง
ถ่องแท้ส่งผลให้สินทรัพย์ถาวรที่องค์กรรับจากผู้ขายเป็ นสินทรัพย์ที่
ไม่ได้คุณภาพหรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการ

การควบคุมภายใน > ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจรับสินทรัพย์ถาวรควรเป็ น


ผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินทรัพย์ถาวรนั้นเช่น
เป็ นพนักงานของแผนกที่กำหนดความต้องการซื้อ นอกจากนี้
องค์กรควรตรวจรับสินทรัพย์ถาวรโดยเปรียบเทียบกับใบขอซื้อและ
ใบสั่งซื้อ เพื่อให้แน่ใจว่ารายการเป็ นไปตามที่สั่งซื้อ

4. ความเสี่ยงจากข้อมูลสินทรัพย์ถาวรไม่ถูกต้อง > สินทรัพย์ถาวร


มีอายุยาวนานกว่าหนึ่งปี จึงทำให้มีความเสี่ยงจากการบันทึกข้อมูล
สินทรัพย์ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากองค์กรบันทึกมูลค่าเริ่มแรกของ
สินทรัพย์ถาวรไม่ถูกต้องหรือบันทึก การเปลี่ยนแปลงมูลค่าทุนของ
สินทรัพย์ถาวรไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ข้อมูลนำไปใช้คำนวณค่าเสื่อม
ราคาไม่ถูกต้อง

การควบคุมภายใน > มีการจัดทำทะเบียนคุมสินทรัพย์ ควรอ้างอิง


จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่นราคาทุนของสินทรัพย์จากใบแจ้งหนี้
ของผู้ขาย นอกจากนี้ทะเบียนคุมสินทรัพย์ถาวรควรดูแลรักษาโดย
บุคคลที่ไม่ได้ทำหน้าที่เก็บรักษาสินทรัพย์ถาวร และปรับปรุงข้อมูล
ในที่เป็ นกลุ่มสินทรัพย์ถาวรให้เป็ นปั จจุบันอย่างตลอดเวลา

5. ความเสี่ยงจากการคำนวณค่าเสื่อมราคาไม่ถูกต้อง > การคำนวณ


ค่าเสื่อมราคาควรเป็ นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและ
นโยบายขององค์กร องค์กรจึงมีความเสี่ยงที่อาจทำไม่ถูกต้องทำให้
รายการค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมราคาสำหรับงวดไม่ถูกต้อง และส่งผลให้
ค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์ถาวรไม่ถูกต้อง

การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีการกำหนดวิธีคิดค่าเสื่อมราคา


สำหรับสินทรัพย์แต่ละประเภท โดยกำหนดเป็ นนโยบายและระบุ
เป็ นลายลักษณ์อักษร เช่นกำหนดในตารางค่าเสื่อมราคา อีกทั้ง
องค์กรยังสามารถเพิ่มการสอบทานรายการคำนวณค่าเสื่อมราคา
โดยผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรปฏิบัติตามนโยบาย
ขององค์กรและสมเหตุสมผลตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
นอกจากนี้ยังสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการควบคุมภายในเช่น
ตรวจสอบการตั้งค่าในโปรแกรมคำนวณค่าเสื่อมราคา

6. ความเสี่ยงจากการยักยอกสินทรัพย์ถาวร > สินทรัพย์ถาวรมักจะ


มีมูลค่าสูงจึงมีความเสี่ยงจากการยักยอกสินทรัพย์ถาวร

การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่าเก็บ


รักษาสินทรัพย์ถาวรที่แผนกต่างๆเป็ นไปอย่างรัดกุม โดยมีการติด
รหัสสินทรัพย์ถาวรให้ชัดเจนเพื่อแสดงว่าสินทรัพย์ชิ้นใดเป็ นของ
องค์กร นอกจากนี้ควรหมั่นตรวจสอบว่าแผนกต่างๆมีการใช้
สินทรัพย์อย่างถูกต้องตามนโยบายบริษัท นอกจากนี้องค์กรควรมี
การตรวจนับสินทรัพย์ถาวรประจำงวด โดยฝ่ ายบัญชีและผู้ตรวจ
สอบภายใน เพื่อให้แน่ใจว่าสินทรัพย์ถาวรยังมีตัวตนอยู่จริง

7. ความเสี่ยงจากการสูญเสียสินทรัพย์ถาวรจากภัยพิบัติ > องค์กรมี


ความเสี่ยงจากการสูญเสียสินทรัพย์ถาวรจากภัยพิบัติต่างๆเช่น น้ำ
ท่วมไฟไหม้ แม้ว่าจะเป็ นเหตุที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยแต่หากเกิดขึ้นแล้วอาจ
จะได้รับความเสียหายและทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก

การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีกระบวนการในการป้ องกันหรือ


แก้ไขความเสียหาย เช่นองค์กรควรออกแบบเล็กการจัดวางที่ตั้ง
สินทรัพย์ถาวรให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ หรือถูกตามหลัก
วิศวกรรม

8. ความเสี่ยงจากทางเลือกการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรไม่เหมาะ
สม > การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร ถือเป็ นแกนที่สุดการใช้
ประโยชน์ซึ่งแต่ละทางเลือกการตัดจำหน่ายจะส่งผลกระทบที่ต่าง
กันต่อตัวเลขทางบัญชี ช่วงก่อนจึงอาจมีความเสี่ยงจาก ทางเลือก
การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรไม่เหมาะสมเช่นองค์กรเลือกทาง
เลือกที่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ขององค์กรแต่เป็ นการเอื้อประโยชน์ให้
พนักงานเป็ นการส่วนตัว

การควบคุมภายใน > องค์กร อาจกำหนดให้มีการพิจารณาเหตุผล


ความจำเป็ นของการตัดจำหน่ายและความเหมาะสมของทางเลือก
การตัดจำหน่าย และทุกรายการตัดจำหน่ายควรได้รับอนุมัติจาก
หัวหน้าแผนก หากเป็ นกรณีหยุดใช้งานสินทรัพย์ถาวร องค์กรควรมี
การควบคุมเข้าถึงสินทรัพย์ถาวรที่หยุดใช้งานโดยมอบหมายให้ผู้
สอดส่องดูแลสินทรัพย์ถาวรดังกล่าวเป็ นประจำ นอกจากนี้ องค์กร
ยังอาจกำหนดให้ผู้ตรวจสอบภายใน ซุ่มสอบกับรายการตัดจำหน่าย
ขององค์กรกับเอกสารประกอบเพื่อพิจารณาความสมเหตุสมผล
9. ความเสี่ยงจากตารางค่าเสื่อมราคาไม่ถูกต้อง > ตารางค่าเสื่อม
ราคาถือเป็ นข้อมูลหลักสำคัญที่ใช้อ้างอิงในวงจรสินทรัพย์ถาวร
เนื่องจากประกอบด้วยข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณค่าเสื่อมราคา จึง
อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้ตารางค่าเสื่อมราคาไม่ถูกต้องซึ่งจะส่งผล
ต่อข้อมูลรายงานทางการเงินขององค์กรทั้งสินทรัพย์และค่าใช้จ่าย

การควบคุมภายใน > มีกระบวนการพิจารณาความเหมาะสมของ


ตารางค่าเสื่อมราคาโดยอาจเทียบเคียงกับมาตรฐานการบัญชีที่
รับรองทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่าตารางค่าเสื่อมราคาเหมาะสมกับ
ประเภทสินทรัพย์ถาวร

10. ความเสี่ยงจากการเข้าถึงทะเบียนคุมสินทรัพย์ถาวรโดยไม่
ได้รับอนุญาต > ทะเบียนคุมสินทรัพย์ถาวรถือเป็ นอีกข้อมูลหลัก
ของวงจรสินทรัพย์ถาวร องค์กรจึงอาจมีความเสี่ยงทำให้องค์กรอาจ
ได้รับความเสียหายจากการที่มีพนักงานที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไป
ทำการแก้ไขข้อมูลอย่างไม่เหมาะสม หรือไปใช้ในทางที่ผิด

การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่า


เฉพาะผู้มีหน้าที่และได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงทะเบียน
คุมสินทรัพย์ถาวร โดยทางกายภาพองค์กรควรเก็บ รักษาข้อมูลไว้
ในที่มิดชิดปิ ดกุญแจและมี ผู้ควบคุมดูแล นอกจากนี้อาจนำ
เทคโนโลยีมาใช้ได้เช่นมีการใส่รหัสผ่านสำหรับเข้าถึงทะเบียนคุม
สินทรัพย์ถาวร

11. ความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูล > ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์


ถาวรถือเป็ นข้อมูลที่สำคัญองค์กรจริงอาจมีความเสี่ยงทั้งโดยเจตนา
และไม่เจตนาซึ่งสามารถสร้างความเสียหายจากการสูญเสียข้อมูล
ทำให้เกิดการหยุดชะงักในการดำเนินงานขององค์กร

การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีกระบวนการป้ องกันการสูญเสีย


ข้อมูลและมีความสามารถในการกู้คืนข้อมูลหากเกิดเหตุการณ์ไม่พึง
ประสงค์ ทั้งนี้ควรระบุชัดเจนว่าใครเป็ นผู้ได้รับอนุญาตหรือ แก้ไข
ข้อมูลหรือลบข้อมูลในระบบได้ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นควรมี
ร่องรอยให้ติดตามได้ อีกทั้งองค์กรควรทำการสำรองข้อมูลอย่าง
สม่ำเสมอ
บทที่ 9 วงจรต้นทุนการผลิต

-วงจรต้นทุนการบางครั้งอาจเรียกว่าวงจรแปลงสภาพ ซึ่งเป็ นกิจกรรมที่


เกี่ยวข้องกับการแปลงสภาพของทรัพยากรขั้นต้น ได้แก่วัตถุดิบ ค่าแรงอ
ค่าใช้จ่ายในการผลิต ผ่านไปยังกระบวนการ ตามลำดับขั้นตอนจนเสร็จ
สิ้นเป็ นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย คือสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย

-หากกระบวนการผลิตไม่เสร็จสมบูรณ์ ยังมีปั จจัยการผลิตคงค้างอยู่ใน


กระบวนการผลิต จะถูกคำนวณสัดส่วนงานที่ได้ทำการผลิตไปแล้วเมื่อ
เทียบกับงานที่ผลิตเสร็จและเรียกว่า งานระหว่างทำ

วัตถุประสงค์

1. สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพในปริมาณที่พอเหมาะ แทงต่อความ
ต้องการของลูกค้าและมีต้นทุนที่เหมาะสม
2. สามารถผลิตสินค้าได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าใน
ปั จจุบันและอนาคต ทำให้องค์กรไม่เสียโอกาสในการขาย
1.กระบวนการวางแผนและควบคุมการผลิต > แผนกควบคุมการผลิต
จัดรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น แผนกขายและแผนกการ
ตลาดจะจัดทำแผนการผลิต แนะทำการส่งข้อมูลให้องค์กรเพื่อพิจารณา
ยอดขายในปั จจุบันและอนาคต ผนวกกับสูตรการผลิตจากแผนกผลิต
เพื่อใช้วางแผนในการจัดหาวัตถุดิบและแรงงาน

2.กระบวนการผลิต > จะผลิตโดยอ้างอิงข้อมูลจากแผนการผลิต สูตร


การผลิต และใบเส้นทางการผลิต จากนั้นจะนำวัตถุดิบทางตรงจากคลัง
วัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต

3.กระบวนการควบคุมสินค้าคงเหลือ > องค์กรจะควบคุมวัตถุดิบคง


เหลือและสินค้าสำเร็จรูปในคลังสินค้า โดยจะทำการควบคุมระดับของ
วัตถุดิบ และบันทึกการเปลี่ยนแปลง ทั้งการซื้อและการเบิกวัตถุดิบไปใช้
นอกจากนี้ยังทำการบันทึกเพิ่มสินค้าคงเหลือเมื่อกระบวนการผลิตสิ้นสุด
กลายเป็ นสินค้าสำเร็จรูป และทำการบันทึกลดเมื่อขายสินค้า

4.กระบวนการคำนวณบัญชีต้นทุน > เป็ นกระบวนการที่เก็บราย


ละเอียดของต้นทุนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป โดยวิธี
การคำนวณที่แตกต่างตามแต่ละวิธี เช่น ใช้วิธีต้นทุนมาตรฐาน นำมา
เปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง และบันทึกผลแตกต่าง

เอกสารในวงจรต้นทุนการผลิต

 แผนการผลิต > แผนที่กำหนดการผลิตทั้งหมดขององค์กรซึ่งแสดง


กำหนดการของการผลิตสินค้าก่อนหลัง และระยะเวลาเริ่ม
กระบวนการผลิต ซึ่งเกิดจากการพิจารณาร่วมกันระหว่างแผนก
ต่างๆ จึงต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจก่อนเริ่มการใช้แผนการผลิต
 สูตรการผลิต > ใบแสดงรายการวัตถุดิบและส่วนประกอบทั้งหมดที่
ใช้ในการผลิตต่อหนึ่งหน่วยสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งองค์กรมักจะใช้สูตร
การผลิตในการอ้างอิงการผลิตรวมถึงช่วยกำหนดความต้องการใช้
วัตถุดิบเพื่อวางแผนการผลิตและสั่งซื้อวัตถุดิบ
 ใบเส้นทางการผลิต > เอกสารที่แสดงลำดับกระบวนการผลิต
สินค้าสำเร็จรูป โดยตลอดทุกขั้นตอนและแสดงรายละเอียดขั้นตอน
และศูนย์ที่ทำการผลิตสินค้าตามลำดับก่อนหลัง รวมถึงแสดง
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการติดตั้งและผลิต (บอกขั้นตอนเวลา
มาตรฐานต่อหน่วย และบอกแผนกที่รับผิดชอบ)
 ใบสั่งผลิต > เอกสารภายในองค์กรที่อนุมัติให้เริ่มดำเนินการผลิต
สินค้า โดยอาศัยข้อมูลจากแผนการผลิต สูตรการผลิต และใบเส้น
ทางการผลิต นอกจากนี้ยังใช้เพื่อบันทึกรายการที่เกิดขึ้นจริงใน
กระบวนการผลิต เช่นปริมาณการผลิตแต่ละแผนก ชั่วโมงการผลิต
ของเสียแต่ละขั้นตอนการผลิต
 ใบเบิกวัตถุดิบ > เอกสารที่แสดงความต้องการใช้วัตถุดิบในการ
ผลิต โดยระบุประเภทและปริมาณวัตถุดิบที่ต้องการใช้ในการผลิต
ซึ่งใบเบิกวัตถุดิบต้องได้รับการอนุมัติจากหัวหน้าแผนก
 บัตรงานผลิต > เอกสารที่ใช้บันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน
แยกตามงานผลิต โดยระบุเวลาที่พนักงานใช้ในแต่ละงานผลิต จาก
นั้นแผนกบัญชีต้นทุนจะใช้บัตรงานผลิตเพื่อเป็ นข้อมูลในการจ่าย
ค่าแรงต่อไป
 ใบส่งสินค้าผลิตเสร็จ > เป็ นเอกสารที่ใช้บันทึกงานที่ผลิตเสร็จใน
แต่ละศูนย์งาน เพื่อเป็ นหลักฐานสำหรับเคลื่อนย้ายจากศูนย์งาน
หนึ่งไปยังศูนย์งานถัดไป หรือเคลื่อนย้ายจากกระบวนการผลิตไปยัง
คลังสินค้าเมื่อผลิตเสร็จ
 รายงานสินค้าคงเหลือ > เอกสารที่รวบรวมรายการสินค้าคงเหลือ
ทั้งหมดขององค์กร โดยแสดงแยกตามหมวดสินค้ารายการสินค้า
คลังสินค้าและช่วงเวลา
 รายงานต้นทุนการผลิต > เอกสารที่แสดงต้นทุนการผลิตของแต่ละ
แผนก ซึ่งอาจมีรูปแบบรายงานแตกต่างกันตามรูปแบบการผลิตโดย
วิธีการวัดมูลค่าต้นทุนของสินค้าคงเหลือ
 รายงานวิเคราะห์ผลต่าง > รายงานวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิด
ผลต่างระหว่างต้นทุนมาตรฐานกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง โดยแยกเป็ น
ผลต่างด้านราคาและผลต่างด้านปริมาณ

ความเสี่ยงและการควบคุมภายใน

1. ความเสี่ยงจากการวางแผนการผลิตสินค้าไม่มีประสิทธิภาพ >
องค์กรมีความเสี่ยงจากการที่องค์กรไม่ได้พิจารณาข้อมูลอย่างรอบ
ด้านและรอบคอบ ทำให้องค์กรผลิตสินค้าได้น้อยหรือมากเกินกว่า
ความต้องการของลูกค้า รวมถึงหากองค์กรไม่ได้พิจารณาสถานะ
สินค้าและวัตถุดิบคงคลังอาจทำให้แผนการผลิต และการจัดหา
วัตถุดิบล่าช้า

การควบคุมภายใน > ควรมีขั้นตอนในการวางแผนการผลิตได้มี


การพิจารณาร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องและได้รับอนุมัติจากผู้มี
อำนาจ โดยแผนกควบคุมการผลิตจะเป็ นผู้รับผิดชอบจัดทำ
แผนการผลิต โดยใช้ข้อมูลจากแผนกขาย แผนกการตลาด แผนก
วิศวกรรม นอกจากนี้แผนกควบคุมการผลิตจะทำการอนุมัติไปสั่ง
ผลิตเพื่อให้แผนกผลิตใช้เป็ นเอกสารอ้างอิงในกระบวนการผลิต
และเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานเป็ นไปตามแผน

2. ความเสี่ยงจากการผลิตสินค้าไม่เป็ นไปตามแผนหรือมีการสลับ
แผนงาน > องค์กรมีความเสี่ยง เช่นขาดวัตถุดิบในการผลิต ขาด
แรงงานที่ใช้ในการผลิต หรือผลิตสินค้าไม่ทันต่อความต้องการของ
ลูกค้า

การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีการติดตามดำเนินงานผลิตอย่าง


ใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าการผลิตสินค้าเป็ นไปตามแผน
โดยใช้ใบสั่งผลิตที่ได้รับอนุมัติ เป็ นเอกสารเริ่มต้นจนเสร็จสิ้น

3. ความเสี่ยงจากการยักยอกสินค้าและวัตถุดิบ > สินค้าสำเร็จรูป


และวัตถุดิบถือเป็ น สินทรัพย์ที่ง่ายต่อการขโมย ดังนั้นองค์กรจึง
อาจมีความเสี่ยง หากการดูแลรักษาสินค้าและวัตถุดิบไม่รัดกุมพอ
เช่นพนักงานแผนกคลังสินค้าในวัตถุดิบอาจนำสินค้าสำเร็จรูปและ
วัตถุดิบออกจากคลังสินค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตและนำไปขายต่อ
เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

การควบคุมภายใน > องค์กรควรควบคุมและตรวจสอบการนำ


สินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบออกจากคลังสินค้า เช่น มีพนักงาน
รักษาความปลอดภัยคอยดูแลคนเข้าออกจากสายงานการผลิต มี
พนักงานคอยสอดส่งการใช้วัตถุดิบในการผลิตที่ศูนย์งาน และ
การนำวัตถุดิบออกจากคลังสินค้าและวัตถุดิบ จะต้องแสดงใบเบิก
วัตถุดิบที่ได้รับการอนุมัติและเป็ นหลักฐาน นอกจากนี้ควรมีการจัด
ทำและอนุมัติใบส่งสินค้าผลิตเสร็จโดยหัวหน้าส่วนงานก่อนทำการ
เคลื่อนย้าย อีกทั้งองค์กรยังอาจเพิ่มการตรวจสอบอย่างอิสระ คือมี
ผู้ตรวจสอบภายในตรวจนับสินค้าสำเร็จรูป งานระหว่างทาง หน่วย
เทียบเท่าสินค้าผลิตเสร็จ และวัตถุดิบ

4. ความเสี่ยงจากการสูญเสียสินค้าหรือการผลิตหยุดชะงักจากเหตุ
ไม่พึงประสงค์ > องค์กรอาจจะเกิดไฟฟ้ าดับ เครื่องจักรเสีย หรือ
จากภัยพิบัติต่างๆเช่นน้ำท่วม ไฟไหม้ซึ่งเป็ นเหตุที่เกิดไม่บ่อยแต่
หากเกิดแล้วสร้างความเสียหายในการหยุดชะงักในกระบวนการ
ผลิตขององค์กร

การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีแผนปฏิบัติการเมื่อเกิด


เหตุการณ์ต่างๆ เช่นมีระบบไฟสำรองในสายการผลิตที่สำคัญ หรือ
สินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ มีกำหนดการบำรุงรักษาเครื่องจักร
อย่างสม่ำเสมอ และองค์กรควรมีกระบวนการในการป้ องกันหรือ
แก้ไขความเสียหายจะภัยพิบัติ เช่นออกแบบคลังสินค้าและวัตถุดิบ
แม่สายการผลิตให้เหมาะสมกับภูมิประเทศหรือตามหลักวิศวกรรม
มีการจัดเก็บสินค้าและตั้งเครื่องจักรบางประเภทบนพื้นที่ยกสูงเพื่อ
ป้ องกันน้ำท่วม

5. ความเสี่ยงจากการบันทึกรายการบัญชีต้นทุนไม่ถูกต้อง >
รายการบัญชีต้นทุนถือเป็ นรายงานที่มีความละเอียดปล่อยและซับ
ซ้อน กล่าวคือ มีส่วนประกอบหลายส่วน เช่นวัตถุดิบทางตรง
ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต ซึ่งมีความเสี่ยงจากการ
บันทึกบัญชีต้นทุนไม่ถูกต้องจะส่งผลในการตัดสินใจต่างๆที่เกี่ยวกับ
สินค้าที่ผลิตเสร็จ

การควบคุมภายใน > องค์กรควรตรวจสอบเอกสารต้นทาง


เอกสารอ้างอิงแย่งเป็ นอิสระโดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
กระบวนการผลิต รวมถึงอนุมัติเอกสารและใบสำคัญต่างๆ ก่อนการ
บันทึกรายการบัญชีต้นทุนทุกครั้ง องค์กรยังอาจนำหลักการแบ่ง
แยกหน้าที่มาใช้ เช่นผู้มีหน้าที่บันทึกบัญชีต้นทุนไม่ควรมาแจก
แผนกผลิตหรือศูนย์งาน นอกจากนี้องค์กรยัง อาจเพิ่มการตรวจ
สอบอย่างเป็ นอิสระ เช่นสอบทานรายการบัญชีต้นทุนโดยมีการกระ
ทบยอดกับรายการเบิกใช้วัตถุดิบและใบสรุปการทำงาน รวมถึง
องค์กรอาจจะนำเทคโนโลยีมาช่วยในการควบคุมภายในเช่นการ
ควบคุมการป้ อนข้อมูลนำเข้าโดยใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ด

6. ความเสี่ยงจากเกณฑ์ปั นส่วนค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่เหมาะสม >


ค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ไม่สามารถระบุได้โดยตรงในการผลิตสินค้า
ต้องอาศัยเกณฑ์การปั นส่วน องค์กรจึงอาจมีความเสี่ยงจากเกณฑ์
การปั นส่วนวัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงทางอ้อม และค่าใช้จ่ายในการ
ผลิตไม่เหมาะสม

การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีกระบวนการกำหนดเกณฑ์การ


ปั นส่วน ที่เกิดจากการพิจารณาร่วมกันระหว่างแผนกที่เกี่ยวข้องใน
องค์กรควรมีกลไกการพิจารณาและอนุมัติโดยมุ่งประโยชน์ต่อภาพ
รวมขององค์กร
7. ความเสี่ยงจากต้นทุนมาตรฐานไม่เหมาะสมหรือไม่เป็ นปั จจุบัน >
ต้นทุนมาตรฐานเปรียบเสมือนข้อมูลหลักขององค์กรที่ใช้แนวคิด
และการคำนวณบัญชีต้นทุนแบบมาตรฐาน เพราะส่งผลต่อการ
คำนวณต้นทุนสินค้าคงเหลือเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง องค์กรจึง
มีความเสี่ยง ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าต้นทุนขายและมูลค่าสินค้าคงเหลือ
ผิดพลาด

การควบคุมภายใน > องค์กรควรพิจารณาใช้ระดับในการกำหนด


ต้นทุนมาตรฐานให้เหมาะสมกับสภาพการผลิตที่แท้จริง และควรมี
การปรับปรุงต้นทุนมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าทั้ง
ปริมาณและราคาสะท้อนความเป็ นจริงในปั จจุบัน

8. ความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูลต้นทุนการผลิตโดยไม่ได้รับ
อนุญาต > ข้อมูลต้นทุนการผลิตเกี่ยวข้องกับต้นทุนมาตรฐานและ
ต้นทุนจริง เป็ นข้อมูลที่ใช้ประกอบพิจารณาผลการปฏิบัติงานที่
เกี่ยวข้องกับการผลิต องค์กรจึงอาจมีความเสี่ยงหากข้อมูลดังกล่าว
ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือนำไปใช้ไม่ถูกต้องจะส่งผลให้การตัดสิน
ใจและการประเมินผลเกี่ยวกับการผลิตผิดพลาดได้

การควบคุมภายใน > องค์กรควรมีกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่า


เฉพาะผู้มีหน้าที่ หรือได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงหรือแก้ไข
ข้อมูลต้นทุนการผลิต แล้วถ้าหากข้อมูลอยู่ในรูปแบบแฟ้ มเอกสาร
หรือรายงานกระดาษ องค์กรควรเก็บข้อมูลไว้ในตู้แบบมิดชิดและใส่
กุญแจ เพื่อจำกัดการเข้าถึง
9. ความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูล > ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต
ถือเป็ นข้อมูลที่เป็ นความลับขององค์กร ซึ่งองค์กรอาจมีความเสี่ยง
ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา หรือหากข้อมูลด้านต้นทุนตกไปอยู่กับคู่
แข่งอาจส่งผลเสียต่อศักยภาพในการแข่งขันขององค์กร

การควบคุมภายใน > ควรมีการกำหนดให้ชัดเจนว่าใครคือผู้ที่ได้รับ


อนุญาตให้แก้ไข ดื่มแล้วข้อมูลที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต โดยมีขั้น
ตอนการเก็บร่องรอยการแก้ไข และสำรองข้อมูล

You might also like