You are on page 1of 14

องค์ประกอบที่ 5

การเกิดวัฒนธรรมคุณภาพที่สะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความความ


เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาแสดงภาวะผู้นำและเปิ ดโอกาสให้ผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในภายนอกสถานศึกษาขับเคลื่อนคุณภาพ
สถานศึกษา โดยจัดโครงสร้าง กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จัดทำคู่มือ
และแนวปฏิบัติตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่
ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดและสอดคล้องกับสภาวการณ์
ปั จจุบัน พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้มีสารสนเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน
ครอบคลุม และเป็ นปั จจุบัน ส่งเสริมให้ครูพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่าน
กระบวนการสร้าง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และสร้าง
นวัตกรรม (Innovation) และการปฏิบัติที่เป็ นเลิศ (Best Practices) ในการ
บริหารจัดการคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและค่าเป้ าหมายที่สถาน
ศึกษากำหนดและสะท้อนถึงการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จ และได้รับ
การยอมรับที่ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพที่ยั่งยืน โดยมีการสร้างเครือ
ข่ายความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือและสร้างความเข้มแข็งของระบบการประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษา

ประเด็นการพิจารณา

5.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรแกนนำมีภาวะผู้นำ


สามารถบิหารจัดการให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ าย ร่วมกันขับเคลื่อนระบบ
ประกันคุณภาพภายในที่สะท้อนการพัฒนาที่ยั่งยืน
สถานศึกษา ได้รับการประกันคุณภาพภายนอก (พ.ศ. 2564 - 2568)
ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกัน
คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน

กำหนดทิศทางของสถานศึกษา
กำหนดทิศทางของสถานศึกษา
5.2 สถานศึกษาเป็ นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
และบุคลากร สถานศึกษาเป็ นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ร่วมกันพัฒนาระบบ
ประกันคุณภาพภายใน โดยใช้ กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิง
วิชาชีพ (PLC) อย่างต่อเนื่อง
สถานศึกษาได้พัฒนาองค์กรไปสู่การเป็ นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังนี้
1. สร้างบรรยากาศ จัดโอกาส กระตุ้นให้ผู้สอนได้ปฏิบัติหน้าที่อย่าง
เต็มศักยภาพ เพื่อเป็ น
ตัวแทนหรือเป็ นแบบอย่างของสถานศึกษา เป็ นบุคลากรที่มีคุณค่าของสถาน
ศึกษาและมองเห็นคุณค่าในตนเอง
2. มีการประสานวิสัยทัศน์กับความมุ่งมั่นของผู้สอนเข้าด้วยกัน และมี
การกำหนดเป้ าหมายที่ท้า
ทายต่อการทำงานของครูร่วมกัน
3. มีการบูรณาการการทำงานกับการเรียนรู้เข้าด้วยกัน และจุด
ประกายการทำงานของผู้สอนให้
มีความมุ่งมั่นสู่ความเป็ นเลิศมีการระดมศักยภาพความเป็ นเลิศของผู้สอนทุก
คน เพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้
ทางวิชาชีพและ การทำงาน
4. นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้ามาเป็ นเครื่องมือให้ผู้สอนใช้
ประโยชน์ในการเรียนรู้และ
การทำงานได้อย่างเต็มที่
5. ตอบสนองอย่างฉับไวและส่งเสริมให้ครูทำงานเชิงรุกต่อการ
เปลี่ยนแปลงของชุมชนและสังคม
ผู้สอนทุกคนในสถานศึกษาได้จัดกลุ่ม PLC แผนการจัดการเรียนรู้ใน
ทุกสัปดาห์ ทำให้ผู้สอนทุกคนได้ร่วมกันพัฒนาผู้เรียน และร่วมกันออกแบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญ ส่งผลให้สถานศึกษาเป็ น
องค์กรแห่งการเรียนรู้และครูผู้สอนมีการรายงานผลการร่วมกัน PLC ให้แก่
ผู้บริหาร
5.3 การบริหารจัดการคุณภาพเกิดขึ้นทั้งในระดับสถานศึกษา ระดับกลุ่ม
สาระการเรียนรู้ ระดับ
ห้องเรียนและระดับรายบุคคล สะท้อนถึงความตระหนักในคุณค่าและเกิด
วัฒนธรรม คุณภาพในตัว
บุคคลและองค์กรในภาพรวม
สถานศึกษาได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี และแผนพัฒนา
โรงเรียนระยะยาว 3 ปี จน
ส่งผลให้เกิดการบริหารจัดการคุณภาพในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็ นระดับสถาน
ศึกษา ระดับกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ ระดับห้องเรียนและระดับบุคคลโดยมีการบันทึกข้อตกลงความร่วม
มือการยกระดับคุณภาพการศึกษา ระหว่างผู้บังคับบัญชาและครูผู้สอนปี การ
ศึกษา 2563 - 2565 (MOU)
คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในใช้ระบบประกันคุณภาพที่
ครอบคลุมงานทุกด้าน โดยได้นำระบบการควบคุมภายในมาใช้ในการเฝ้ า
ระวัง และติดตาม การทำงานของกลุ่มงาน และนำมาปรับปรุงเพื่อให้ได้
ระบบที่เหมาะสม ผู้บริหารจัดระบบตรวจสอบภายในตามระเบียบของทาง
ราซการ มีการนิเทศติดตาม การปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอน มีคำสั่งแต่งตั้งการ
นิเทศ มีการรายงานผลการนิเทศติดตาม
5.4 สถานศึกษามีโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ และ
คู่มือและแนวทางการปฏิบัติงาน ตามระบบประกันคุณภาพภายในสถาน
ศึกษา ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เพื่อให้การบริหารจัดการเป็ นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์อย่าง
มีประสิทธิภาพสูงสุด สถานศึกษาจึงกำหนด โครงสร้างการบริหารโรงเรียน
ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ กลุ่มบริหาร 4 ฝ่ าย คือ งานวิชาการ งาน
บริหารงานบุคคล งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป มีคำสั่งข้าราชการ
ครูและบุคลากรการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ ประจำปี การศึกษา 2563 - 2565 มี
การกำหนดหน้าที่งานทุกฝ่ าย
5.5 สถานศึกษามีการบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศที่ทัน
สมัย มีข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้
ครบถ้วน เป็ นปั จจุบัน สมบูรณ์ เพียงพอ ครอบคลุมภารกิจของสถาน
ศึกษา ที่พร้อมใช้งานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ มีการป้ องกันและรักษาความปลอดภัยของระบบ
สถานศึกษามีวิธีการและมีความพร้อมใช้งานสำหรับบุคลากร ผู้ส่ง
มอบ พันธมิตร ผู้ให้ความร่วมมือรวมทั้งนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่าน
ทางเว็บไชต์และทาง Facebook messages line และไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์ จัดกลุ่มโปรแกรมเพื่ออำนวยความสะดวก มีการบริการรับส่ง
ข้อมูลทางโทรศัพท์เพื่อชี้แจงผู้ปกครองในเรื่องเร่งด่วน รวมทั้ง มีโปรแกรม
สำหรับ การพัฒนาครูผู้สอนและบุคลากร ให้ข่าวสารที่เข้าถึงชุมชนทางการ
ประสานกับสื่อท้องถิ่น ผู้ปกครอง เพื่อรับฟั งข่าวสารและการประชาสัมพันธ์
ของสถานศึกษา
5.6 สถานศึกษาได้รับความร่วมมือในการบริหารจัดการคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษา จากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งกายในและภายนอกสถาน
ศึกษาในการส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
โครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษาสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เกิด
ประโยชน์ต่อผู้เรียน สถานศึกษาและชุมชน เพราะสถานศึกษาได้รับความ
ร่วมมือจากผู้สอน นักเรียน และบุคลากรทางการศึกส่วนได้ส่วนเสียทุกภาค
ส่วนร่วมกันวางแผนกำหนดเป้ าหมายและลงมือปฏิบัติตามแผนในทุกขั้น
ตอน รวบรวมข้อมูล ตรวจสอบหาจุดเด่น
จุดด้อยที่ต้องปรับปรุงเพื่อจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเกิดคุณภาพที่
ผู้เรียนเป็ นสำคัญ หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ให้ความร่วมมือ ร่วมแรง
ร่วมใจ สนับสนุนทุนทรัพย์ และอุปกรณ์การเรียนให้โรงเรียนนำมาบริหาร
จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ อีกทั้งสถานศึกษาได้บันทึกความร่วมมือ (MOU)
จากหน่วยงานต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยา
เสพติดและอบายมุข ได้แก่ บันทึกความร่วมมือระหว่างผู้อำนวยการโรงเรียน
นิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 6 กับ องค์การบริหารส่วนตำบล บันทึก
ความร่วมมือระหว่างผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 6
กับ สถานีตำรวจภูธรอำเภอนิคมพัฒนา บันทึกความร่วมมือระหว่างผู้อำนวย
การโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 6 กับ ประธานคณะกรรมการ
สถานศึกษา บันทึกความร่วมมือระหว่างผู้อำนวยการโรงเรียน
นิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 6 กับ เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน

You might also like