You are on page 1of 26

การวิเคราะห์ความแข็งของโครงสร้างเหล็กรองรับ

ชุดเครื่องยนต์ขนาด 260 kW
Strength analysis of steel structural frame for supporting
diesel engine 260 kW

คณุตม์ แสงวิศิษฎ์ภิรมย์

โครงงานสหกิจศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุ่ม
ปีการศึกษา 2564
ME03-2-2564
การวิเคราะห์ความแข็งของโครงสร้างเหล็กรองรับ
ชุดเครื่องยนต์ขนาด 260 kW
Strength analysis of steel structural frame for supporting
diesel engine 260 kW

คณุตม์ แสงวิศิษฎ์ภิรมย์

โครงงานสหกิจศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุ่ม
ปีการศึกษา 2564
ME03-2-2564
ใบรับรองโครงงานสหกิจศึกษา/หนังสือยินยอมให้เผยแพร่รายงาน
การวิเคราะห์ความแข็งของโครงสร้างเหล็กรองรับชุดเครื่องยนต์ขนาด 260 kW
Strength analysis of steel structural frame for supporting diesel
engine 260 kW

บทคัดย่อ (Abstract)
กิตติกรรมประกาศ
ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณ ดร.เกียรติศักดิ์ สกุลพันธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการการสอบ
ค้นคว้าทุกท่านที่กรุณาให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือ ดูแลตรวจสอบให้ความคิดเห็นต่างๆ ด้วยความ
ห่วงใยเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องการจัดทำค้นคว้าเอกสารนี้อย่างเต็มที่ รวมทั้งผู้ที่ให้การสนับสนุนตั้งแต่เริ่มการทำ
โครงงานตลอดจนดำเนิ นการแล้ วเสร็จ เรีย บร้อ ยสมบูร ณ์ ผู ้จ ั ดทำรู้ สึ กซาบซึ ้ ง ในความกรุ ณ าและกราบ
ขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมปะกาศ ข
สารบัญ ค
สารบัญภาพ ง
สารบัญตาราง จ
บทที่ 1 บทนำ
1.1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา 1
1.2. วัตถุประสงค์ 2
1.3. ขอบเขต 2
1.4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.1. คุณสมบัตทิ างกล
2.2. ค่าความปลอดภัย
2.3. ความเค้นและความเครียด
2.4. แรงที่กระทำต่อโครงสร้าง
2.5. ชนิดของฐานรองรับ
2.6. สมการสมดุล
2.7. ความเค้นดัดและความเค้นเฉือน
2.8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สารบัญภาพ
สารบัญตาราง
บทที่ 1
บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญ

เครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นต้นกำลังที่นิยมนำมาใช้ในการขับเคลื่อนระบบต่างๆ เช่น ระบบไฮดรอ


ลิกส์, ระบบดับเพลิง, และใช้เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อสำรองพลังงานไฟฟ้าในอาคารต่างๆ เมื่อเกิด
เหตุกระแสไฟฟ้าหลักขัดข้อง จากที่กล่าวมาความหลากหลายของการประยุกต์ใช้งานเครื่องยนต์ สิ่งที่ควบคู่
และมีความจำเป็นในการติดตั้งคือโครงสร้างระบบรองรับ เนื่องจากเครื่องยนต์จะต้องมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์
อื่นๆ ในรูปแบบการร่วมศูนย์กลางเดียวกัน ซึ่งความเบี่ยงเบนของการติดตั้งจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ
การทำงานของระบบ อีกทั้งจะก่อให้เกิดเสียงและการสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดความเสียหายตามมา
ปัจจัยของการออกแบบโครงสร้างเหล็กรองรับเครื่องยนต์ คือจะต้องสามารถรองรับน้ำหนักของ
เครื่องยนต์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับเครื่องยนต์ รวมไปถึงถังน้ำมัน, ฝาตู้ครอบ, และอื่นๆ นอกจากนั้นยัง
จะต้องคำนึงถึงการจับยึดต่างๆด้วยสกรู และการออกแบบแนวเชื่อมเพื่อให้โครงสร้างมีรูปร่างตรงตามความ
ต้องการ ปัจจัยเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุของโครงสร้างเหล็ก ที่จำเป็นจะต้องออกแบบให้อยู่ภายใต้
ความแข็งแรงในรูปแบบความต้านทานความล้า และระยะขจัดที่จำกัดเพื่อป้องกันการบิดงอ ภายใต้ภาระโหลด
ต่างๆ ที่มากระทำกับโครงสร้างเหล็กที่จะใช้ในการรองรับ ปัจจุบันโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านวิศวกรรรม
ของแข็งเป็นเครื่องมือที่ได้รับการนิยมเป็นอย่างสูงเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาทางด้านวิศวกรรมในรูปแบบ
ต่างๆ อีกทั้งยังแสดงพฤติกรรมการเปลี่ยนรูปของโรงสร้างภายใต้ภาระโหลดที่เปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันวิศวกรของบริษัท TSL Engineering จำกัด ได้ทำการออกแบบชุดโครงสร้างเหล็กรองรับ
เครื่องยนต์ขนาด 260 kW ที่มีน้ำหนักมากกว่า 900 กก. ที่เชื่อมต่อกับปั๊มไฮดรอลิกส์น้ำหนัก 200 กก. พร้อม
อุปกรณ์อื่นๆ ที่ประกอบอยู่บนโครงสร้างเหล็กที่มีฝาตู้ครอบปิดทุกด้าน วิศวกรจะต้องทำการออกแบบ
โครงสร้างนี้โดยจะต้องมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 3 ตัน ในขณะที่ต้องสามารถรองรับการบิดตัวเนื่องจากการยก
เคลื่อนย้ายด้วยรถเฮี้ยบของราชการที่มีความสามารถยกของหนักสูงสุดไม่เกิน 5 ตัน ดังนั้นแนวทางในการ
วิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็กรองรับชุดเครื่องยนต์นี้ เป็นสิ่งที่บริษัทฯ มีความต้องการที่จะ
ดำเนินงาน จึงเป็นที่มาของการศึกษาในโครงานนี้
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.2.1 เพื่อวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็กรองรับเครื่องยนต์ขนาด 260 kW ด้วย
ระเบียบวิธีทางไฟไนเอลิเมนต์ของโปรแกรม SolidWorks Simulation
1.2.2 เพื่อศึกษาการหาจุดเหมาะสมของโครงสร้างเหล็กภายใต้ค่าความปลอดภัยที่กำหนด
1.2.3 เพื่อจัดทำรายงานสรุปความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็กเปรียบเทียบกับผลเฉลยจาก
โปรแกรม SolidWorks Simulation

1.3 ขอบเขตของโครงงาน
1.3.1 ดำเนินงานวิจัยโดยใช้แบบโครงสร้างเหล็กชุดรองรับเครื่องยนต์ขนาด 260 kW จากบริษัท
TSL Engineering จำกัด
1.3.2 วิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็กชุดรองรับภายใต้คุณสมบัติของวัสดุ
1.3.3 ไม่พิจารณาเกี่ยวกับการสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์เนื่องจากมีลูกยางมารองรับการสั่น
1.3.4 ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านวิศวกรรม (SolidWorks Simulation) เป็นเครื่องมือช่วยใน
การจำลองปัญหาและวิเคราะห์หาผลเฉลยของเงื่อนไขต่างๆที่ตั้งขึ้น
1.3.5 จัดทำรายงานการคำนวณทางทฤษฎีเพื่อเปรียบเทียบกับผลเฉลยจาก Simulation

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.4.1. ได้ใช้องค์ความรู้ที่ได้เรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบ
ความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็กรองรับเครื่องยนต์
1.4.2. ได้รายงานสรุปการออกแบบความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็ก สำหรับ บริษัท TSL
Engineering จำกัด ในการนำเสนอลูกค้า
บทที่ 2
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในบทนี้เนื้อหาทางทฤษฎีและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็ก
รองรับเครื่องยนต์ขนาด 260 kW แบบสถิตยศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม Solidworks Simulations เข้ามาช่วย
ในการวิเคราะห์เพื่อหาผลตอบสนองของโครงสร้างมาเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการคำนวณในทางทฤษฎี การ
วิเคราะห์โครงสร้างเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการออกแบบโครงสร้าง มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งโครงสร้าง
ที่สามารถใช้งานได้ แข็งแรง ปลอดภัย และสวยงามจะต้องเริ่มต้นจาก คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ น้ำหนักที่กระทำ
ต่อโครงสร้าง ขนาดและรูปร่างของโครงสร้าง จากนั้นทำการจำลองโครงสร้างที่ใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อให้
สามารถประเมินพฤติกรรมผลตอบสนองของโครงสร้างภายใต้แรงกระทำ ไม่ว่าจะเป็นแรงภายในหรือการ
เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ซึ่งหากการตอบสนองนั้นไม่เป็นที่น่าพอใจนั่นคือ แรงภายในเกินความสามารถในการรับ
แรงของหน้าตัด หรือมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเกินกว่าที่กำหนดให้มีได้ ก็จะทำการปรับปรุงโครงสร้างใหม่
จนกระทั่งการตอบสนองภายหลังการวิเคราะห์มีผลเป็นที่น่าพอใจ

รูปที่ 2.1 เครื่องยนต์ดีเซลล์ขนาด 260 kW


ขายเครื่องปั่นไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องยนต์ดีเซล เครือ่ งยนต์เบนซิน เครื่องตัดหญ้าทุกชนิด
(patcogenerator.com)
2.1. คุณสมบัติทางกล
สมบัติทางกลของวัสดุ คือ สมบัติของวัสดุในการตอบสนองต่อแรงทางกลที่มากระทำ กล่าวคือ เมื่อ
แรงมากระทำต่อวัสดุ จะเกิดแรงต้านภายในเนื้อวัสดุ ถ้าหากวัสดุไม่สามารถต้านทานแรงที่มากระทำได้ ก็จะ
เกิดการเสียรูป ดังนั้นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการต้านทานแรงที่มากระทำ จะเรียกว่า ความแข็งแรง
ของวัสดุ โดยเป็นลักษณะของกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง ความเค้น-ความเครียด

รูปที่ 2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด

ความต้านทานแรงดึงอัลติเมต (Ultimate tensile strength)𝝈𝒖 เป็นความเค้นสูงสุดที่วัสดุจะรับ


ได้ ซึ่งคำนวณจากการนำแรงที่ใช้ดึงวัสดุหารด้วยพื้นที่หน้าตัดเดิม และแทนด้วยจุด C ในบางครั้งเรียกว่าความ
ต้านทานแรงดึง(Tensile strength)
ขีดจำกัดความเป็นสัดส่วน(proportional limit) เป็นค่าความเค้นสุดท้ายที่เป็นสัดส่วนโดยตรงกับ
ความเครียดดังจุด A เมื่อเลยจุดนี้ไปกราฟจะเป็นเส้นโค้ง ในทางปฎิบัติจุดนี้หายากมาก ฉะนั้นในการคำนวณ
นิยมใช้ความต้านทานแรงดึงคราก(yield strength) แทน
ขีดจำกัดความยืดหยุ่น(elastic limit) อยู่ระหว่างจุด A และ B เป็นจุดสุดท้ายที่เมื่อเอาแรง
ภายนอกออกแล้ววัสดุจะกลับมามีขนาดเท่าเดิม กราฟช่วง AB จะมีความโค้งเล็กน้อย
ความต้านทานแรงดึงคราก (yield strength) 𝝈𝒚 แทนด้วยจุด B คือจุดคราก ความเค้นนี้ถือเป็น
หลักการออกแบบทั่วๆไป สำหรับวัสดุที่ไม่มจี ุดคราก เช่นเหล็กหล่อ ก็อาจใช้ความต้านแรงดึงเป็นหลักในการ
ออกแบบหรืออาจจะหาความเค้นที่เรียกว่า ความเค้นจุดยืดถาวร (Proof stress) มาใช้แทนความต้านทาน
คราก โดยการลากเส้นขนานกับส่วนที่เป็นเส้นตรงของกราฟตามเปอร์เซ็นต์ของความเครียดดังรูป โดยทั่วไปมัก
ใช้ 2%
ยังโมดูลัส (Young’s modulus) หรือโมดูลัสความยืดหยุ่น (modulus of elastic) เป็นอัตราส่วน
ความเค้นความเครียดในส่วนที่กราฟเป็นเส้นตรง
โมดูลัสเฉือน(shear modulus) หรือโมดูลัสความแข็งแกร่ง(modulus of rigidity) เป็นอัตราส่วน
ระหว่างความเค้นเฉือนต่อความเครียดเฉือน

2.2. ค่าความปลอดภัย
ในการออกแบบโครงสร้างเพื่อรองรับน้ำหนักบรรทุกต่างๆในการออกบบจะต้องมีค่าเผื่อไว้สำหรับการ
ออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้แรงหรือกำลังต่างๆมากระทำต่อโครงสร้างหรือชิ้นส่วนอื่นๆ มากเกินกว่าที่โครงสร้าง
นั้นจะรับได้ ค่าเผื่อดังกล่าวเรียกว่า ค่าความปลอดภัย หากเผื่อน้อยไปก็จะเกิดอันตราย หากมากเกินไปก็จะ
สิ้นเปลืองและมีต้นทุนที่สูงขึ้น

𝐹𝑎𝑐𝑡𝑜𝑟 𝑜𝑓 𝑠𝑎𝑓𝑒𝑡𝑦 สมการที่ 2.1

2.2.1. กรณีใช้ค่าความเค้นสูงสุดของวัสดุเป็นเกณฑ์

𝑁 สมการที่ 2.2

ค่าความเค้นสูงสุด
ค่าความปลอดภัย
ค่าความเค้นใช้งาน

2.2.1. กรณีใช้ค่าความเค้นครากของวัสดุเป็นเกณฑ์

𝑁 สมการที่ 2.3

ค่าความเค้นคราก
ค่าความปลอดภัย
ค่าความเค้นใช้งาน
ตารางที่ 2.1 ค่าความปลอดภัย[1]
ชนิดของแรง เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ
แรงอยู่นิ่ง 1.5-2.0 5-6
แรงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 8 10
แรงกระแทกอย่างหนัก 10-15 15-20

2.3. ความเค้นและความเครียด
2.3.1. ความเค้น คือ แรงต้านทานภายในเนื้อวัสดุที่มีต่อแรงภายนอกที่มากระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
แต่เนื่องจากความไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติ และความยากในการวัดหาค่านี้ จึงมักจะพูดถึงความเค้นในรูปของ
แรงภายนอกที่มากระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ด้วยเหตุผลที่ว่า แรงกระทำภายนอกมีความสมดุลกับแรงต้านทาน
ภายใน การหาค่าความเค้นสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้คือ

σ สมการที่ 2.4

เมื่อ σ คือความเค้น
F คือแรงภายนอกที่มากระทำ
A คือพื้นที่ภาคตัดขวางที่แรงกระทำ

รูปที่ 2.3 ความเค้นแรงดึง (Tensile Stress)


บทที่ 7 (ajmanut.com)
รูปที่ 2.4 ความเค้นแรงอัด (Compressive Stress)
บทที่ 7 (ajmanut.com)

ั ลักษณ์ 𝜏
รูปที่ 2.5 ความเค้นแรงเฉือน (Shear Stress) ใช้สญ
บทที่ 7 (ajmanut.com)

2.3.2. ความเครียด (Strain) 𝝐 หมายถึงอัตราส่วนระหว่างส่วนที่ยืดหรือหดของชิ้นงานกับความยาว


เดิม ดังนั้น ถ้าใช้แรง F กระทำกับความยาว l แล้ววัตถุมคี วามยาวมากขึ้นกว่าเดิมเท่ากับ 𝛿 ความเครียดตั้ง
ฉากปกติจึงมีค่าดังนี้
𝜖 สมการที่ 2.5

จากกฎของฮุค (Hook’s law) สามารถแสดงได้ในรูป


𝜎 𝐸𝜖 สมการที่ 2.6

เมื่อ E คือ โมดูลัสของความยืดหยุ่น หรือโมดูลัสของยัง (Young’s Modulus) และเมื่อแทนค่า 𝜎 และ


𝜖 จะได้
𝛿 สมการที่ 2.7
จากกลศาสตร์วัสดุทำให้ทราบค่าความสัมพันธ์ระหว่างยังส์โมดูลัสและโมดูลัสเฉือนคือ
𝐺 สมการที่ 2.8

ชิ้นส่วนโครงสร้างที่มีพื้นที่หน้าตัดกลมและอยู่ภายใต้โมเมนต์บิด จะเกิดมุมบิดเกิดขึ้น
𝜃 สมการที่ 2.9
เมื่อ T คือโมเมนต์บิด
L คือความยาว
J คือโมเมนต์ความเฉื่อยเชิงขั้วของพื้นที่
ความเค้นเฉือนที่เกิดจากการบิดจะมีค่าสูงสุดที่ผิวนอกของท่อนกลม ซึง่ สามารถคำนวณได้จากสมการ

𝜏 สมการที่ 2.10
เมื่อ r คือรัศมีภายนอกท่อ

2.4. แรงที่กระทำต่อโครงสร้าง
แรงที่กระทำต่อโครงสร้างมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
2.4.1 แรงกระทำ (Active Force) คือน้ำหนักบรรทุกทีก่ ระทำบนโครงสร้าง สามารถแบ่งย่อยได้อีก
2 ประเภทคือ น้ำหนักแบบตายตัว (Dead load) เช่น รากฐาน เสา คาน และ น้ำหนักบรรทุกจร (Live load)
เช่น อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนโครงสร้าง
2.4.2. แรงต้านแรงกระทำ (Reaction force) คือแรงทีต่ ้านแรงที่มากระทำต่อโครงสร้าง โดยทั่วไป
เรียกว่า แรงปฎิกริยา (Reaction) ซึ่งเป็นแรงที่กระทำในแนวตั้งฉากและแนวขนานกับฐานรองรับ

2.5. ชนิดของฐานรองรับ
ฐานรองรับของโครงสร้างมีหลายรูปแบบบ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท ให้โครงสร้าง
เกิดการสมดุล มั่นคง แข็งแรง สำหรับชนิดของฐานรองรับสำหรับโครงสร้างทั่วๆไป แบ่งเป็น 3 ชนิดดังนี้
2.5.1 แบบยึดหมุนเคลื่อนที่ไม่ได้ หรือแบบบานพับ (Hinge or pin support) ฐานชนิดนี้จะยอม
ให้มีการหมุนได้รอบแกนที่ตั้งฉากกับระนาบที่จุดรองรับนั้น แต่ไม่ยอมให้มีการเคลื่อนทีใ่ ดๆ ดังนั้นจะมีแรง
ปฎิกริยา 2 ตัว คือ แรงที่มที ศิ ตั้งฉาก และแรงที่ขนานกับฐานรอง ดังรูปที่ 2.1

รูปที่ 2.6 แบบยึดหมุนเคลื่อนที่ไม่ได้ หรือแบบบานพับ


Types of Support in Structures - Mechanical Booster

2.5.2. แบบยึดหมุนเคลื่อนที่ได้ (Roller support) ฐานรองรับนี้ยอมมีการเคลื่อนทีข่ นานกับ


ฐานรอง แต่ไม่ยอมให้มีการเคลื่อนที่ตั้งฉากกับฐานรอง ดังนั้นฐานรองรับแบบนี้มีแรงปฎิกริยาเพียงตัวเดียว คือ
แรงที่มีทิศทางตั้งฉากกับฐานรองเท่านั้นและไม่มีความต้านทานต่อการหมุนด้วยโมเมนต์ดัด ดังรูปที่ 2.2

รูปที่ 2.7 แบบยึดหมุนเคลื่อนที่ได้(Roller support)


Types of Support in Structures - Mechanical Booster

2.5.3. แบบยึดแน่น (Fixed support) ฐานรองรับนี้ไม่ยอมให้มีการหมุนหรือการเคลื่อนที่ใดๆ ที่


ปลายชิ้นส่วนโครงสร้าง ดังนั้นฐานรองรับแบบนี้ประกอบด้วยแรงปฎิกริยา 3 ตัว คือ แรงที่มีทิศทางตั้งฉากและ
ขนานกับฐานรองและโมเมนต์ต้านทานการหมุน ดังรูปที่ 2.3

รูปที่ 2.8 แบบยึดแน่น (Fixed support)


Types of Support in Structures - Mechanical Booster
2.6. สมการสมดุล
เมื่อมีแรงหรือน้ำหนักกระทำบนโครงสร้าง แรงเหล่านี้มักจะถูกส่งผ่านไปยังชิ้นส่วนต่างๆ ของ
โครงสร้างจนถึงฐานรองรับของโครงสร้าง ที่ฐานรองรับก็จะมีแรงปฎิกริยาต่อต้านแรงหรือน้ำหนักที่กระทำบน
โครงสร้างพอดี ทำให้โครงสร้างเกิดการสมดุลขึ้น สมการทีใ่ ช้
∑𝐹 0
∑𝑀 0

F คือ แรง และ M คือ โมเมนต์


ถ้าโครงสร้างเป็น 3 มิติ มีแกน x, y, z ซึ่งเป็นแกนที่ต้งั ฉากกัน จะได้สมการดังนี้

∑𝐹 0 ∑𝐹 0 ∑𝐹 0 สมการที่ 2.10
∑𝑀 0∑𝑀 0∑𝑀 0

2.7. ความเค้นดัดและความเค้นเฉือน
2.7.1 ความเค้นดัด (Bending stress)
เมื่อมีโมเมนต์ดัดเกิดขึ้นบนคานจะทำให้เกิดความเค้นดัด(Bending stress) ซึ่งคานจะเกิดความเค้นดึง
และความเค้นอัดพร้อมกัน ซึง่ สามารถหาได้จากสมการที่

𝜎 สมการที่ 2.11

เมื่อ 𝜎 คือค่าความเค้นดัด
M คือโมเมนต์ดัด ณ จุดที่สนใจ
Y คือระยะจากแนวแกนสะเทินถึงระยะที่สังเกตุ
C คือจุด Centroid
ตาราง 2.2 ค่าโมเมนต์เฉื่อยของหน้าตัดที่สำคัญ

ในกรณีที่หน้าตัดของคานไม่เป็นไปตามตารางที่ 1 เช่นมีรปู ร่างอื่น การหาโมเมนต์ความเฉื่อยรอบแกน


สะเทิน จะหาจาก สมการที่ 2.1
IN.A. = ICG+Ad2 สมการที่ 2.12
เมื่อ INA คือโมเมนต์ความเฉื่อยรอบแกนที่ต้องการหา
ICG คือโมเมนต์ของความเฉื่อยรอบแกนสะเทินของหน้าตัด
A คือพื้นที่หน้าตัดของคาน
D ระยะทางที่อยู่ห่างจากแกนศูนย์ถ่วงไปยังแกนที่ต้องการหา

2.7.2. ความเค้นเฉือน(Shear stress)


เมื่อคานถูกกระทำด้วยแรงภายนอกนอกจะเกิดแรงต้านภายใน ซึ่งเป็นแรงเฉือนในแนวดิ่ง และแรง
เฉือนในแนวดิง่ จะทำให้เกิดความเค้นเฉือนเกิดขึ้น ตัวสมการ
𝜏 สมการที่ 2.13
เมื่อ 𝜏 คือความเค้นเฉือนในคาน
I คือโมเมนต์ของความเฉื่อยรอบแกนสะเทินของคาน
V คือแรงเฉือนในแนวดิ่ง
Q คือโมเมนต์ของพื้นที่รอบแกนสะเทิน
ตารางที่ 2.3 หาความเค้นเฉือนสูงสุดในคาน รูปหน้าตัดต่างๆ สามารถหาได้ ดังนี้
รูปหน้าตัด สมการ ตัวแปร
3𝑉 V= แรงเฉือน
𝜏
2𝐴 A=พื้นที่หน้าตัด

4𝑉 V= แรงเฉือน
𝜏
3𝐴 A=พื้นที่หน้าตัด

𝑉𝑄 I=โมเมนต์รอบ
𝜏
𝐼𝑡 แกนสะเทิน
T=ความหนาของ
web
Q=โมเมนต์ของ
พื้นที่รอบแกน
สะเทิน
2.8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปรที่ทำการ วิธีการหาผลเฉลยของ
ชื่อ/ปีที่พิมพ์ ผลเฉลยที่ได้
วิเคราะห์ ปัญหา

จักรี วิชัยระหัด, วิภารัตน์ นิสาภัย,


ภาระแรง Finite Element ตำแหน่งที่เกิดความเสียหาย
กมลรักษ์ แก้งคำ, วราภรณ์ จันทร์
เวียง, รัชวุธ สุทธิ (2019) Analysis: FEA

ภาระแรง
ปกรณ์ บุราคร (2013) Finite Element การปรับปรุงโครงสร้าง
Analysis: FEA
Finite Element
ความเครียด ความ
Analysis: FEA บน แก้ปัญหาการฉีกขาดของ
กิตติ (2011) หนาและพฤติกรรม
โปรแกรม Dyna Form ชิ้นงาน
การฉีกขาด
5.5
Finite Element
Analysis: FEA:
พนธกร (2021). ภาระแรง ปรับปรุงเพลา
Solidworks (Static
structure analysis)

จักรี วิชัยระหัด, วิภารัตน์ นิสาภัย, กมลรักษ์ แก้งคำ, วราภรณ์ จันทร์เวียง, รัชวุธ สุทธิ (2019) ได้ทำ
การวิเคราะห์ความแข็งแรงและแข็งตึงของโครงฐานรถบรรทุก โดยใช้โปรแกรมจำลองทางคอมพิวเตอร์ ด้วยวิธี
ไฟไนต์เอลิเมนต์(Finite Element Analysis :FEA) เข้ามาช่วยวิเคราะห์ และพิจารณาภายใต้สมมติฐานภาระ
กระทำแบบสถิตยศาสตร์และสมบัติของวัสดุ โดยมีภาระที่กระทำต่อโครงสร้างเป็น 4 รูปแบบได้แก่ ภาระการ
ดัด การบิด และภาระกระทำในแนวยาวและแนวข้าง
ผลการวิเคราะห์พบว่า ภาระในแนวกระทำด้านข้างและภาระดัดจะทำให้โครงสร้างเกิดความเค้น
เสียหายสูงสุด และเกิดการเสียรูปสูงสุด เพื่อที่จะยืนยันความแม่นยำของผลการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมจำลอง
ทางคอมพิวเตอร์ โดยนำมาเปรียบเทียบกับผลการทดสอบโครงสร้างที่สร้างขึ้น พบว่าเมื่อวิเคราะห์ด้วย
โปรแกรมช่วยทางวิศวกรรม แบบจุดเชื่อมต่อแข็งเกร็ง ผลการวิเคราะห์ความแข็งตึงบิดจะมีค่าผิดพลาดถึงร้อย
ละ 8.3 เปอร์ เซ็นต์ ในขณะที่ การวิ เคราะห์ แบบจุดเชื ่อ มต่ อยื ดหยุ ่น จะมี ค่า ผิ ดพลาดเพี ยงร้อยละ 0.6
เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ผลเฉลยที่ได้จากการ Simulation มีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย
ปกรณ์ บุราคร (2013). ได้ทำกาศึกษาความแข็งแรงของโครงสร้างที่นั่ง ด้วยวิธีไฟไนท์เอลิเมนต์แบบ
สถิ ต ยศาสตร์ เพื ่ อ ให้ โ ครงสร้ า งแข็ ง แรงและปลอดภั ย ในการใช้ ง าน โดยสร้ า งแบบจำลองบนโปรแกรม
Solidworks ผลการวิเคราะห์พบว่าโครงสร้างที่นั่งเกิดความเสียหายที่บริเวณหน้าตัดของพนักพิง จึงได้ทำการ
ปรับปรุงโดยการ เปลี่ยนขนาดและความหนาของวัสดุและลบมุมของส่วนเสริมของฐานที่นั่ง ทำให้โครงสร้างที่
นั่งมีความแข็งแรงและผ่านมาตรฐานการทดสอบของกรมการขนส่งทางบก สรุปคือ ขนาดและความหนาที่ใหญ่
ขึ้น จะทำให้ความเค้นที่เกิดขึ้นลดลง แต่ก็แลกมาซึ่งน้ำหนักและต้นทุนที่สูงขึ้น
กิตติ (2011). ได้ทำการศึกษากระบวนการขึ้นรูปชิ้นส่ วนฝาซีล เครื่อ งซักผ้า โดยการจำลองด้ วย
ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ด้วยโปรแกรมจำลองทางคอมพิวเตอร์ (Dyna Form 5.5) เพื่อลดปัญหาการฉีก
ขาดของฝาซีล โดยทำการสร้างแบบจำลองขึ้นกำหนดคุณสมบัติเหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนนิติก AIS 304 หนา
2 มิลลิเมตร และนำผลการวิเคราะห์จากค่าความเครียดหลัก ความเครียดรอง เพื่อไปเปรียบเทียบกับการ
ทดลองขึ้นรูปจริง
ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบกับชิ้นงานจริงพบว่า เหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนนิติก AISI 304 หนา 2
มิลลิเมตร ค่าความเครียดหลักและความเครียดรองของชิ้นงานจริงที่ได้จากการทดลงกับการวิเคราะห์ด้วย
โปรแกรมจำลองทางคอมพิวเตอร์ พบว่ามีความสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการจำลองขึ้นรูปด้วยระเบียบ
วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ สามารถนำไปใช้ในการขึ้นรูปแทนจากการขึ้นรูปจริงได้
พนธกร (2021). ได้ทำการปรับปรุงความแข็งแรงของเพลาเครื่องเกี่ยวข้าว จำลองด้วยระเบียบวิธีไฟ
ไนท์เอลิเมนต์ของโปรแกรม Solidworks และมีเงื่อนไขการวิเคราะห์โครงสร้างแบบสถิต (Static structural
analysis) โดยใช้คุณสมบัติของเหล็กเหนียว (Mild steel) สร้างแบบจำลองโดยใช้ขนาดจริง
ผลจากการวัดภาระในการรับน้ำหนักที่คานเพลาหน้าเครื่องเกี่ยวข้าวพบว่า น้ำหนักทั้งสองด้านไม่
เท่ากัน เนื่องจากมีน้ำหนักเครื่องยนต์อยู่ด้านข้างของตัวเครื่องเกี่ยวข้าว ส่งผลทำให้คานด้านหนึ่งเกิดการโก่งงอ
และเกิดความเสียหาย มีความเค้นสูงสุดเกิดที่แผ่นเหล็กเสริมความแข็งแรง ซึ่งเชื่อมต่อกับเพลาหน้า ทำให้เกิด
ค่าความผิดพลาดเนื่องจาก ค่าที่นำมาคิดในการจำลองเป็นค่าแรงกระทำขณะหยุดนิ่ง (Static load) ทำให้การ
โก่งตัวของคานรองรับน้ำหนัก มีค่าน้อยกว่าจากการใช้งานจริงรวมไปถึงการจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ เป็นการ
จำลองรวมคุณสมบัติของวัสดุเป็นชิ้นเดียว ตำแหน่งที่เป็นรอยเชื่อมต่อของโครงสร้างซึ่งผิดกับความจรองที่
ชิ้นส่วนมีรอยเชื่อมเพื่อขึ้นรูป หลังการปรับปรุงพว่า คานเพลาหน้าสามารถรองรับน้ำหนักได้โดยไม่เกิดการโก่ง
เสียรูป และมีความแข็งแรงระดับดีมาก
บทที่ 3
ระเบียบวิธีการทำโครงาน
โครงงานสหกิจนี้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างเหล็กรองรับเครื่องยนต์ขนาด
260 kW โดยใช้โปรแกรม Solidworks เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และหาผลเฉลยเพื่อนำไปเปรียบเทียบผลที่
ได้จากการคำนวณในทฤษฎีที่กล่าวมาในบทที่ 2 ซึ่งสามารถแสดงลำดับขั้นตอนในการศึกษาได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลทางทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่สำคัญและตัวแปรที่
มีผลกระทบต่อความแข็งแรงของโครงสร้างรองรับ รวมไปถึงการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาแบบอื่นๆ ที่
เกิดขึ้นในโครสร้าเหล็กรองรับ และข้อจำกัดของโครงสร้าง นอกจากนี้ศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้ าน
วิศวกรรม (SolidWorks Simulation) เป็นเครื่องมือช่วยในการจำลองปัญหาและวิเคราะห์หาผลเฉลยของ
ความแข็งแรงของโครงสร้าง
ขั้นตอนที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานจากบริษัท TSL Engineering จำกัด เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆของโครงสร้าง
เหล็กรองรับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักของเครื่องยนต์ที่จะบรรทุก, คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้เป็นชิ้นส่วนโครงสร้าง,
แบบของโครงสร้าง, และรูปแบบการนำไปใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาใช้การคำนวณเพื่อหาภาระโหลดที่
เกิดขึ้นบนโครงสร้างที่เกิดจากน้ำหนักเครื่องยนต์ โดยใช้ทฤษฎีทางด้านกลศาสตร์ของแข็ง ผลลัพธ์ที่ได้จากการ
คำนวณจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างเหล็กรองรับชุดเครื่องยนต์ขนาด 260 kW
ให้มีความแข็งแรง ทนทาน และใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงสร้าง
ขั ้ น ตอนที ่ 3 ขนาดมิ ต ิ ข องโครงสร้ า งเหล็ ก รองรั บ จะถู ก นำมาสร้ า งและจำลองด้ ว ยโปรแกรม
Solidworks Simulations และวิเคราะห์ภาระแรงกระทำแบบสถิตย์ เพื่อหาผลเฉลยของปัญหาตามสมมุติฐาน
ที่ตั้งไว้ เช่น การหาความเค้นสูงสุด รูปร่างที่เปลี่ยนไป และค่าความปลอดภัยที่เกิดขึ้นเมื่อมีการติดตั้ง
เครื่องยนต์บนโครงสร้าง เป็นต้น ผลเฉลยจากโปรแกรม Solidworks simulations จะถูกนำมาเปรียบเทียบ
กับข้อมูลทฤษฎีที่ได้จากการคำนวณ จากนั้นทำการปรับปรุงโครงสร้างเหล็กรองรับเครื่องยนต์ขนาด 260 kW
ด้วยโปรแกรม Solidworks Simulations เพื่อวิเคราะห์หาผลเฉลยอีกครั้ง จะนำเสนอรายละเอียดต่างๆในบท
ที่ 5
ขั้นตอนที่ 4 ผลเฉลยของโปรแกรม Solidworks Simulations ในขั้นตอนที่ 3 จะถูกนำมาวิเคราะห์
เปรียบเทียบข้อมูลทางด้านทฤษฎีที่ได้ทำการออกแบบและคำนวณไว้ ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ จะถูก
นำเสนอในรูปแบบกราฟ รายละเอียดทั้งหมดจะถูกจัดทำเป็นรายงานบรรยายสรุปพร้อมข้อเสนอแนะ โดยจะ
ปรากฏในรายงานฉบับสมบูรณ์ รวมไปถึง การจัดทำเอกสารบทความทางวิชาการและเอกสารนำเสนอข้อมูลที่
ได้ศึกษาทั้งหมดของโครงงาน ภายใต้ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยฯ
เอกสารอ้างอิง
1. ศ.ดร วริทธิ์ อึ๊งภาภรณ์, รศ.ชาญ ถนัดงาน (2556). การออกแบบเครื่องจักรกล 1, อาคาร ทีซีโอเอฟ
ทาวเวอร์ ชั้น 19, กรุงเทพฯ 10260 [หน้าที่ 21-24]
2. Joseph E. Shigley, Charles R. Mischke, Richard G. Budynas, (2009). การออกแบบเครื่อง
จักรกล1, บริษทั สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ 10510 [หน้าที่ 109-110]
3. นางสาวญาณี ทำบุญ, (2546). กลศาสตร์โครงสร้าง 2, แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิค
เชียงใหม่, (กลศาสตร์โครงสร้าง 2 (tumcivil.com) [หน้าที่ 1-9]
4. จักรี วิชัยระหัด, วิภารัตน์,กมลรักษ์, วราภรณ์, รัชวุธ (2562). การวิเคราะห์ความแข็งแรงและความ
แข็งตึงของโรงฐานรถบรรทุกใช้งานเกษตรกรรมด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบคานที่มีจุดเชื่อม
ต่อแบบยืดหยุ่น, วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ 5(1),35-48
5. ปกรณ์ บุราคร (2013). การวิเคราะห์ความแข็งแรงและปรับปรุงโครงสร้างที่นั่งสำหรับรถโดยสาร
ขนาดใหญ่ด้วยระเบียบวิธีไฟไนท์เอลิเมนต์(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
สุรนารี
6. กิตติ สมัครไทย(2011). การศึกษาและพัฒนากระบวนการขึ้นรูปชิ้นส่วนฝาซีลเครื่องซักผ้าโดยการ
วิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์(วิทยานิพนธ์ปปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
7. พนธกร เหลี่ยมเคลือบ, ฤทธิชัย อัศวราชันย์, เสมอขวัญ ตันติกุล (2564). การปรับปรุงความแข็งแรง
เสื้อเพลาขับหน้าเครื่องเกี่ยวนวดข้าวรุ่น ENG-MJU-003, วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่ง
ประเทศไทย ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 (2564), 7-11

You might also like