You are on page 1of 27

โครงงานวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ พลังงานและดาราศาสตร์

เรื่อง การศึกษาและพัฒนาการส่งพลังไฟฟ้าในรูปแบบของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าโดยมีลำเเสงความถี่
สูงเป็นตัวกลาง
The research of electric transport in electromagnetic radiation formation with
light amplification stimulated emission in high frequency

โดย
นาย อภิญญา นิยะนุช

ครูที่ปรึกษา
นาย ศรสนั่น นนที

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์
สาขาฟิสิกส์พลังงานและดาราศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย ปีการศึกษา 2565
ตามหลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย
โครงงานวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ พลังงานและดาราศาสตร์
เรื่อง การศึกษาและพัฒนาการส่งพลังไฟฟ้าในรูปแบบของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าโดยมีลำเเสงความถี่
สูงเป็นตัวกลาง
The research of electric transport in electromagnetic radiation formation with
light amplification stimulated emission in high frequency

โดย
นาย อภิญญา นิยะนุช

ลงชื่อ...........................................ครูที่ปรึกษาหลัก
(นาย ศรสนั่น นนที)

ลงชื่อ...........................................หัวหน้างานโครงงาน ลงชื่อ...........................................รองผู้อำนวยการ
(…………………………………..) (นายปรัชญากร ฮดมาลี)

ลงชื่อ...........................................ผูอ้ ำนวยการโรงเรียน
(นายกิตติชัย กรวยทอง)
ชื่อโครงงาน : การศึกษาและพัฒนาการส่งพลังไฟฟ้าในรูปแบบของคลื่นเเม่เหล็กมีลำเเสงความถี่สูง
เป็นตัวกลาง
ชื่อผู้จัดทำ : นาย อภิญญา นิยะนุช
ชื่อครูที่ปรึกษา : นาย ศรสนั่น นนที
สาขา : ฟิสิกส์ พลังงาน และดาราศาสตร์
ปีการศึกษา : 2565
โรงเรียน : วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

บทคัดย่อ
ในยุคปัจจุบันนับว่าไฟฟ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในชีวิตมนุษย์แต่กลับพบว่าการส่งกระแสไฟฟ้าในปัจจุบัน
ยังมีปัญหาที่เกิดจากการส่งกระแสไฟฟ้าแบบเดินสายจำนวนมาก เช่น การสึกกร่อนของสายไฟ การไหม้ของสายไฟ
ที่มีปริมาณกระแสไฟฟ้าเกิน ซึ่งเป็นสาเหตุในการทำให้เกิดความเสีย หายในหลายๆด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ หรือ
ความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ด้วยเหตุผู้จัดทำโครงงานจึง มีความประสงค์ในการศึกษาการส่งพลังงานไฟฟ้ าใน
รูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยใช้แสงเลเซอร์ความถี่สูงเป็นตัวกลาง เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถ
เคลื่อนที่โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง ทำให้สามารถลดปัญหาต่างๆที่กล่าวมาในขั้นต้นได้ โดยผู้ทำการทดลองได้นำแบบ
ทดลองของเฮิรตซ์ มาประยุกต์โดยมุ่งเน้นไปที่ขยายระยะทางในการส่งกระแสไฟฟ้าจากแบบทดลองเดิม ผลการ
ทดลองผู้จัดทำพบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงสามารถเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำจากชุดทดลอง
ของเฮิรตซ์ ให้มีระยะทางที่ไกลขึ้นซึ่งเป็นไปตามกฎแม่เหล็กไฟฟ้าทั้ง 4 ข้อ ของแมกซ์เวลล์ โดยมีระยะทาง 1.5 ม.,
3 ม. และ 4.5 ม. ตามลำดับ เท่านั้นที่ไดโอดส่องสว่าง โดยวัดกระแสไฟฟ้าที่ส่งไปได้ 0.12mA ,0.07mA และ
0.036mA ตามลำดับ จากการคำนวณพบว่าไดเวอเจนท์ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นมีขนาด 1.46 ตร.ม. เสมอ
โดยผลการทดลองจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยหลาย เช่น แสงสว่างในสถานที่ทดลอง อุณหภูมิ แรงแม่เหล็กไฟฟ้าของ
โลก สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิ ดขึ้น และความต่างศักย์ไ ฟฟ้าในการทดลอง จากผลการทดลองสามารถยืนยัน
สมมติฐานที่ว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ เนื่องจากผลทดลอง
ที่ได้มีความใกล้เคียงกับค่าไดเวอเจนท์ที่ได้จากการคำนวณที่แสดงถึงการเกิดรีโซแนนซ์ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คำสำคัญ: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สนามไฟฟ้า การเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยในครั้งนี้สำเร็จได้ด้วยดีเนื่องจากการได้รับ ความกรุณาจาก อาจารย์ ศรสนั่น นนที ที่อุปการะคุณ


สนับสนุนอุปกรณ์ในการต่อวงจรไฟฟ้าต่างๆรวมทั้งช่วยในการติดต่อประสานอุปกรณ์ลำแสงความถี่สูงเพื่อทำให้
ผู้จัดทำสามารถทำให้งานวิจัยสำเร็จได้อย่างราบลื่น และอาจารย์ สุทัศน์ บุญชานน ช่วยในการต่อวงจรต่างๆไป
จนถึงดูแลความปลอดภัยตลอดทั้งการวิจัย พร้อมทั้งได้ช่วยในการตามหาหม้อแปลงไฟฟ้าความต่างศัก ย์ส ูง ให้
ผู้จัดทำรู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณการสนับสนุนจากอาจารย์ทั้งสองท่านอย่างมากที่ทำให้งานวิจัยครั้งนี้สำเร็จได้
และขอขอบคุ ณ ความกรุ ณ าจากท่ า นผู ้ อ ำนวยการ กิ ต ติ ช ั ย กรวยทอง คณะครู อ าจารย์ โ รงเรี ย น
วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย ที่ให้ความเมตตามอบอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทดลองและสถานที่สำหรับ
ทำการประดิษฐ์ วิจัยและทำการทดลอง รวมทั้งช่วยในการอำนวยความสะดวกต่างๆระหว่างทำงานวิจัย
ประการที่สามอยากกล่าวขอบคุณไปถึง นายภูริ ไชยพร นายคาทซึมาซะ อิโนอุเอะ และนายวายุภักษ์ สม
เมือง เพื่อนของข้าพเจ้าที่ช่วยเหลือ ด้านให้ความรู้ในการต่อวงจรและช่วยให้การทดลองนี้ราบลื่นอย่ างถึง ที่ สุด
ข้าพเจ้าซาบซึ้งในความเมตตาและสามัคคีที่ช่วยเหลือให้งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี
สุดท้ายผู้จัดทำขอขอบคุณ บิดา มารดา ของผู้จัดทำที่ช่วยเป็นที่ปรึกษา และคอยให้กำลังใจข้าพเจ้า
ระหว่างทำการวิจัยที่มีความลำบาก และล้มเหลว หลายต่อหลายครั้งจนในท้ายที่สุดงานวิจัยนี้ก็สำเร็จในที่สุด

ผู้จัดทำ
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
สารบัญตาราง จ
สารบัญภาพ ฉ
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 ที่มาและความสำคัญ 1
1.2 วัตถุประสงค์ 1
1.3 ขอบเขตของการศึกษา 2
1.4 สมมติฐาน 2
1.5 ตัวแปรที่ศึกษา 2
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
1.7 นิยามเชิงปฏิบัติการ 2
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3
2.1 กฎและสมการของแมกซ์เวลล์ (Maxwell) 3
2.2 การทดลองของเฮิรตซ์ 5
2.3 การสูญเสียต่างๆที่เกิดขึ้น 6
2.5 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 7

บทที่ 3 วิธีดำเนินการทดลอง 10
3.1 วัสดุ 10
3.2 ขั้นตอนในการทดลอง 11
บทที่ 4 ผลการทดลอง 12
4.1 ตารางบันทึกค่าตัวแปรควบคุมต่างๆ 12
4.2 ผลการทดลอง 12
4.3 วิเคราะห์ข้อมูล สมการ และข้อเท็จจริงจากการทดลอง 13
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 15
5.1 สรุปผลการทดลอง 15
5.2 อภิปรายผลการทดลอง 15
5.3 ข้อเสนอแนะ 15
บรรณานุกรม 16
ภาคผนวก ก 18

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
ตารางที่ 1 ตารางบันทึกค่าตัวแปรควบคุม 12
ตารางที่ 2 ตารางแสดงผลการทดลอง 12

สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
ภาพที่ 1 วงจรชุดทดลองของเฮิรตซ์ 5
ภาพที่ 2 แบบจำลองการรวมกันของคลื่นทั้งสอง 13
ภาพผนวกที่
1 ตัวรับสัญญาณแบบเสา(รับสัญญาณคลื่นไฟฟ้า) 19
2 ภาพการวัดยะหะห่างในการต่อแบบทดลองเฮิรตซ์แบบปกติ 19
3 ภาพวงจรภายในที่ต่อเสร็จแล้ว 19
4 ตัวส่งสัญญาณ 19
5 การติดตั้งแผ่นโลหะเพื่อควบคุมทิศทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 20
6 วงจรแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ(ไฟบ้าน)เป็นกระแสตรง 20
7 ภาพการทดสอบการทดลองครั้งแรก 20
8 ภาพระยะทางที่ไดโอดเปล่งแสงครั้งแรก (4.5 ม ) 20
1

บทที่ 1

บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบัน ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไฟฟ้ากลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตมนุษย์ แสงสว่าง ความก้าวหน้า และ
เทคโนโลยี ทั้งหมดล้วนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่การส่งกระแสไฟฟ้าในปัจจุบันยังมีข้ อเสียอย่างมากเพราะ
จำเป็นต้องผ่านตัวกลางที่เรียกว่า สายไฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเสียหลักของการส่งกระแสไฟฟ้าเนื่องจากกระแสไฟฟ้า
จำเป็นต้องมีตัวกลางซึ่งมีของจำกัดในแรงดันไฟฟ้า ระยะทาง และปัจจัยภายนอกต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้นเราก็
สามารถพบเห็นปัญหาต่างๆจนเคยชิน เช่น การสึกกร่อนของสายไฟฟ้าจนเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร การถูก ทำลาย
โดยปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น สัตว์ต่างๆ ภัยทางธรรมชาติ หรือจะเป็นการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นปัญหา
ทางขยะที่จัดการยากเป็นอันดับต้นๆของโลก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้จัดทำต้องการแก้ไขปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมา

ณ ปัจจุบันมนุษย์ได้มีการคิดค้นเทคโนโลยี wireless charger ที่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าผ่านคลื่นวิทยุที่


เป็นหนึ่งในคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่มีข้อเสียที่ระยะทางที่สามารถใช้ง านได้
นั้นมีจำกัดและมีการสูญเสียพลังงานระหว่างการส่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่ง ผู้จัดทำจึงได้สังเกตุเห็นข้อเสียเหล่านี้
จึงนำมาสู่การศึกษาและค้นคว้าโครงงานฉบับนี้
จากการศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า “สนาม
ทั้งสองจะมีค่าสูงสุดพร้อมกันและต่ำสุดพร้อมกัน นั่นคือทั้งสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กมีเฟสตรงกัน โดยทิศของ
สนามไฟฟ้าจะตั้งฉากกับทิศของสนามแม่เหล็ก และสนามทั้งสองมีทิศตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น ” ที่กล่าวมา
นั้นจึงทำให้ผู้จัดทำตั้งสมมติฐานว่า ถ้าเราปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสองคลื่นที่มีความถี่ต่างกันทำให้เกิดการซ้อนทับ
กันของคลื่นทั้งสองในลักษณะสามมิติ ซึ่งสามารถเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังตัวรับที่อยู่ไกลกว่าเดิมได้ ด้วย
เหตุนี้จึงเป็นแรงบรรดาลใจในการจัดทำโครงงานในครั้งนี้
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาและพัฒนาการส่งกระแสไฟฟ้าโดยมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นตัวกลาง
1.2.2 พัฒนาการส่งกระแสไฟฟ้าไร้สายให้สามารถส่งได้ด้วยคลื่นความถี่ที่สูงขึน้
1.2.3 เพื่อเพิ่มระยะทางในการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในชุดทดลองคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของเฮิรตซ์
2

1.3 ขอบเขตของการศึกษา
การศึกษาระยะทางที่สามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยใช้ชุดทดลองของเฮิรตซ์
เป็นต้นแบบ ที่ใช้ชุดยิงแสงเลเซอร์ที่มีความถี่สูงมาซ้อนทับกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จากการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้า
โดยยิงผ่านจุดที่เกิดการแลกเปลี่ยนประจุของกระแสไฟฟ้าปรากฏในชุ ดทดลองของเฮิรตซ์ โดยมีตัวรับเป็นแผ่น
โลหะที่มีขดลวด ที่มีความถีร่ ีโซแนนซ์ของวงจรส่งคลื่นพอดี เพื่อรับคลื่นไฟฟ้ามาทำให้ไดโอดเปล่งแสง
1.4 สมมติฐาน
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาในความถี่ต่างกันสามารถเหนี่ยวนำคลื่นไฟฟ้าไปตามลำแสงของเลเซอร์
ไปสู่ตัวรับสัญญาณที่อยู่ไกลออกไปสามารถรับคลื่นไฟฟ้าส่งไปยังไดโอดเพื่อใช้เปล่งแสงสว่างขึ้นได้
1.5 ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ระยะทางที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้าไปสู่ตัวรับสัญญาณ
ตัวแปรตาม ตัวรับได้รับกระแสไฟฟ้าเข้ามาในระบบจนทำให้ไดโอดเปล่งแสง
ตัวแปรควบคุม ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความถี่คลื่น แสงสว่างในสถานที่ทดลอง อุณหภูมิ แรง
แม่เหล็กไฟฟ้าของโลก สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.6.1 เปิดทางหรือเป็นโอกาสใหม่ๆในการถ่ายทอดพลังงานในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1.6.2 สามารถเป็นที่อ้างอิงให้กับการวิจัยหรือพัฒนาการส่งพลังงานในรูปแบบไร้สายในอนาคตได้
1.6.3 เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับการส่งพลังงานรูปแบบใหม่
1.7 นิยามเชิงปฏิบัติการ
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnetic wave ) คือ คลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง โดย
อาศัยการเหนี่ยวนำกันระหว่างสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทิศของสนามทั้งสองตั้ง
ฉากกันและตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่
การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า (Electro magnetic induction) คือ กระแสไฟฟ้าในขดลวดตัวนำเกิดจาก
การที่มีการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดตัวนำเรียกการทำให้เกิดกระเกิดกระแสไฟฟ้า
สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF) คือ เส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและ
ความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มี ความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า)
และที่เกิดขึ้นโดยรอบ วัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึง สนามไฟฟ้า
3

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

จากที่กล่าวมาในบทนำ เราจึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าลงไปในคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยสิ่งแรกที่เราจะ
กล่าวถึงและเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้แก่

2.1 กฎและสมการของแมกซ์เวลล์ (Maxwell)


ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 นักฟิสิกส์ชาวสกอตชื่อ เจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell,
ค.ศ. 1831 -1879) ได้ศึกษาสภาวะไฟฟ้าและแม่เหล็กรวมไปถึงสิ่งที่ยังเป็นข้อสงสัย จนในที่สุดได้พัฒนาทฤษฎี
แม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นการรวมปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าและแม่เหล็กเป็นทฤษฎีหนึ่งเดียวที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม โดย
แมกซ์เวลล์ได้แสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าและแม่เหล็กทั้งหมด
2.1.1 สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตามทฤษฎีของแมกซ์เวลล์
2.1.1.1 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดต้องมีความเร็วเท่ากับแสง
2.1.1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกตัวมีพลังงาน
2.1.1.3 ถ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถูกดูดกลืน จะทำให้วัตถุที่รับคลื่นนั้นร้อนขึ้น
2.1.1.4 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดใดก็ตามเมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องมีวิธีการที่ส่งพลังงานต่อไป
2.1.2 สมการของแมกซ์เวลล์ (Maxwell's equations)
J. C. Maxwell (~1860) ได้ พ บว่ า สมการในทางแม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า มี ค วามสอดคล้ อ งกั น ทั้ ง
สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าทั้งยังพบว่า ในกรณีที่ไม่มีแหล่งกำเนิด สมการทั้งหมดนี้มีความสมมาตรกัน ดังนี้
2.1.2.1 กฎของเกาส์สำหรับไฟฟ้า (Gauss’s law)
𝑄𝑖𝑛 ∫ 𝜌𝑑𝑣
∮ 𝐸⃑ ∙ 𝑑𝐴 = 𝜀0
= 𝜀0

จาก Divergence theorem

∮ 𝐸⃑ ∙ 𝑑𝐴 = ∫(𝐷
⃑ ∙ 𝐸⃑ )𝑑𝑣

จะได้
4

⃑ ∙ 𝐸⃑ )𝑑𝑣 = ∫ 𝜌 𝑑𝑣0-
∫(∇ 𝜀 0

ดังนั้นจึงได้ differential form of maxwell equation no.1


𝜌
∴ ⃑∇ ∙ 𝐸⃑ =
𝜀0

2.1.2.2 กฎของเกาส์สำหรับแม่เหล็ก (Gauss’s law for magnetism)


เนื่องจากไม่มีประจุไฟฟ้าจึงทำให้ค่า 𝜌 = 0 จึงได้ว่า
⃑ ∙ 𝑑𝐴 = 0
∮𝐵
ดังนั้นจึงได้ differential form of maxwell equation no.2
⃑ ∙ 𝐸⃑ = 0
∴ ∇
2.1.2.3 กฎของฟาราเดย์ (Faraday’s Law)
𝑑𝜙𝐵
𝜀=− 𝑑𝑡
𝑑
∫ 𝐸⃑ ∙ 𝑑𝑙 = − 𝑑𝑡 ∫ 𝐵
⃑ ∙ 𝑑𝐴

จาก Stokes' Theorem

∫ 𝐸⃑ ∙ 𝑑𝑙 = ∫(∇
⃑ × 𝐸⃑ ) ∙ 𝑑𝐴

จะได้ว่า
⃑ × 𝐸⃑ ) ∙ 𝑑𝐴 = − 𝑑 ∫ 𝐵
∫(∇ ⃑ ∙ 𝑑𝐴
𝑑𝑡

ดังนั้นจึงได้ differential form of maxwell equation no.3


⃑⃑
⃑∇ × 𝐸⃑ = − 𝑑𝑩
𝑑𝑡

2.1.2.4 กฎของแอมแปร์ (ampere's law)


⃑ ∙ 𝑑𝑙 = 𝜇0 𝐼𝑒𝑛𝑐𝑙𝑜𝑠𝑒𝑑
∮𝐵
5

Maxwell ต้ อ งการเพิ ่ม สนามของไฟฟ้า 𝐼𝑑 ลงไปในสมการจึง นำมาจากกฎข้อ ที ่ 1


𝑑𝐸⃑
𝐼𝑑 = 𝜀0 ∫ ( 𝑑𝑡 ) ∙ 𝑑𝐴

⃑ ∙ 𝑑𝑙 = 𝜇0 (𝐼 + 𝐼𝑑 )
∮𝐵
จาก Stokes' Theorem

⃑ × 𝐸⃑ ) ∙ 𝑑𝐴 = 𝜇0 (∫ 𝐽 ∙ 𝑑𝐴 + 𝜀0 ∫ (𝑑𝐸⃑) ∙ 𝑑𝐴)
∫(∇ 𝑑𝑡

ดังนั้นจึงได้ differential form of maxwell equation no.4

⃑ × 𝐸⃑ = 𝜇0 𝐽 + 𝜇0 𝜀0 𝑑𝐸⃑

𝑑𝑡

2.2 การทดลองของเฮิรตซ์
เฮิรตซ์ ได้ทดลองเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์ โดยใช้ขดลวดเหนี่ยวนำที่ให้ค่าความ
ต่างศักย์สูงเชื่อมต่อกับโลหะทรงกลม 2 ลูกซึ่งวางใกล้กันมาก จะมีหน้าที่คล้ายกับตัวเก็บประจุ อุปกรณ์ชิ้นนี้คล้าย
กับวงจร LC ของเครื่องส่งคลื่นวิทยุ การออสซิลเลตของคลื่นทำได้โดย ป้อนความต่างศักย์เป็นช่วงคลื่นสั้นๆ เข้าไป
ที่ขดลวดตัวนำ จะเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความถี่ประมาณ 100 MHz จากนั้นเฮิรตซ์สร้างวงจรขึ้นมาอีกวงหนึ่ง

ภาพที่ 1 วงจรชุดทดลองของเฮิรตซ์
6

ประกอบด้วยขดลวดเพียงขดเดียว ที่ปลายขดลวดมีทรงกลมตัวนำวางไว้ใกล้กัน วงจรชุดนี้ทำหน้าที่คล้ายเครื่องรับ


คลื่น เฮิรตซ์พบอีกว่าวงจรรับคลื่น จะสามารถรับคลื่นได้ก็ต่อเมื่อ ความถี่ที่ส่งมานั้นเป็นความถี่รีโซแนนซ์ของวงจร
รับคลื่นพอดี ถ้าความต่างศักย์บนขดลวดชุดรับคลื่นมีค่าสูง จะทำให้เกิดประกายไฟข้ามไปมาระหว่างทรงกลมทั้ง
สอง การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า พลังงานสามารถส่งผ่านจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้โดยอยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

2.3 การสูญเสียต่างๆที่เกิดขึน้
ในระบบการสื่อสารแบบไร้สายนั้น จะได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิประเทศโดยรอบเป็น เสียส่วนใหญ่
และจากสภาพภูมิประเทศนั้นจะทำให้สัญญาณการส่งข้อมูลนั้นกระเจิง สะท้อน เลี้ยวเบนและอื่นๆอีกมากมาย ซึ่ง
นั้นก็ขึ้นอยู่กับระหว่างทางภาครับและภาคส่งนั้ นจะมีสิ่ง ใดมากีด ขวางบ้าง ดังนั้ นจึงเป็นเรื่องปกติที่สัญ ญาณที่
ภาครับนั้นจะมีค่าของกําลังสัญญาณที่ ลดลงไปโดยจะ ขึ้ นอยู่กับระยะห่างและสภาพโดยรอบของภาครับและ
ภาคส่ง โดยการสูญเสียของสัญญาณนั้นจะ ยกตัวอย่างมาได้ดังนี้
2.3.1 การสูญเสียในอากาศว่าง (Free Space Loss: FSL)
การสูญเสียในอากาศว่าง (Free Space Loss : FSL) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จะมีผล มากขึ้นเมือ่ เป็น
การสื่อสารที่ ไร้สาย โดยเป็นอีกหนึ่ งปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดการลดทอนสัญญาณ ระหว่างภาครับและภาคส่ง
เนื่องจากการเดินทางของคลื่นในอากาศพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะ ลดลงตามระยะทางที่ เคลื่อนที่ไป ซึ่งจะ
สามารถอธิบายได้จากสมการส่งกําลังฟริส (Friss)
𝑃𝑟 = 𝑃𝑡 𝐺𝑡 𝐺𝑟
เมื่ อ 𝑃𝑟 คื อ กํ า ลั ง สั ญ ญาณของภาครับ 𝑃𝑡 คื อ กํ า ลั ง สั ญ ญาณของภาคส่ ง 𝐺𝑟 คื อ อั ต ราขยาย ของ
สายอากาศภาครับ 𝐺𝑡 คืออัตราขยายของสายอากาศภาคส่ง 𝑟 คือระยะทางระหว่างภาครับ และภาคส่ง และ λ
คือความยาวคลื่นของสัญญาณ(แปรผกผันกับความถี)
2.3.2 การสูญเสียจากการเลี้ยวเบน (Diffraction loss)
การเลี้ยวเบนเป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่ งที่ทำให้เกิดผลทำให้สูญเสียของสัญญาณที่ภาครับซึ่ง จะเกิดจาก
สองลักษณะคือ ในกรณีที่เส้นทางระหว่างภาคส่งและภาครับมีสิ่งกีดขวาง ทำให้ภาครับ และส่งไม่สามารถที่จะเห็น
กันได้ หรือเส้นทางที่มองไม่เห็นกัน(Non Line of sight: NLOS) และใน กรณีที่เส้นทางระหว่างภาคส่งและภาครับ
ไม่มีสิ่งกีดขวางมากนัก ทำให้ภาคส่งและภาครับเห็นกัน (Line of sight :LOS)
7

2.3.3 ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์(Doppler Effect)


ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์หรือบางครั้ งเรียกว่าการเคลื่อนดอปเพลอร์(Doppler shift) เป็น ปรากฏการณ์
ทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งที่ตงั้ ชื่อตาม คริสเตียน ดอปเพลอร์เกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่นและความ
ยาวคลื่ น ในมุ ม มองของผู ้ ส ั ง เกตเมื่ อ มี ก ารเคลื่ อ นที่ ที่ ส ั ม พั น ธ์ กั บ แหล่ ง กำเนิ ด คลื่ น นั้ น พบเห็ น ได้ ทั่ ว ไปใน
ชีวิตประจำวันเช่น เมื่อมีรถพยาบาลส่งสัญญาณไซเรน เคลื่ อนเข้าใกล้ ผ่านตัวเรา และวิ่ งห่างออกไป คลื่นเสียงที่
เราได้ยินจะมีความถี่สูงขึ้น (กว่าคลื่นที่ ส่งออกมาตามปกติ) ขณะที่รถเคลื่อนเข้ามาหา คลื่นเสียงมีลักษณะปกติ
ขณะที่รถผ่านตัว และจะมีความถี่ลดลงเมือ่ รถวิง่ ห่างออกไป
คลื่นที่มีการแพร่โดยต้องอาศัยตัวกลาง เช่นคลื่นเสียงความเร็วของผู้สังเกตกับความเร็ว ของแหล่งกำเนิด
คลื่นจะมีความสัมพันธ์กับตัวกลางที่ คลื่นนั้นแพร่ผ่าน ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ โดยรวมจะเป็นผลจากทั้ งการ
เคลือ่ นที่ของแหล่งกำเนิด การเคลื่อนทีข่ องผู้สังเกต และการเคลื่อนที่ ของตัวกลางด้วย ปรากฏการณ์ในแต่ละส่วน
สามารถวิเคราะห์ได้โดยแยกจากกัน ส่วนคลื่นที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางเช่นคลื่นแสงหรือแรงโน้มถ่วงในทฤษฎี
สัมพัทธ์ภาพพิเศษ จะสนใจเฉพาะ ความเร็วสัมพันธ์ที่แตกต่างกันระหว่างผู้สังเกตกับแหล่งกำเนิดเท่านั้น
2.3.4 การสะท้อนกลับจากโลหะ
คลื่นไมโครเวฟจัดเป็นคลื่นประเภทหนึ่งทีม่ ีการสะท้อน โดยเฉพาะเมื่อคลื่นนั้นได้เจอกับ โลหะ คลื่นจะไม่
สามารถที่จะทะลุทะลวงออกไปได้จะเกิดการสะท้อนกลับเกือบสมบูรณ์แบบ ทำให้การที่จะนําคลื่นต่างๆ เช่นคลื่น
ไมโครเวฟไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีโครงสร้างเป็นโลหะนั้น จะเป็นการทำงานที่ยากเพราะจะต้องมีกําลังส่งที่มากพอเมื่อ
ลบกับการสะท้อนกลับแล้วจะทำให้สามารถ ใช้งานได้อยู่เช่น ในรถยนต์ที่ ต้องการฟังวิทยุนั้นจะต้องมีสายอากาศ
ติดเพิม่ บริเวณนอกตัว เพื่อเป็นการเพิ่มอัตราการขยายของสัญญาณให้ชัดเพิ่มขึน้ จึงจะสามารถฟังวิทยุได้เป็นต้น

2.5 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่ น แม่ เ หล็ ก ไฟฟ้ า (Electromagnetic Radiation) เป็ น คลื่ น ชนิ ด หนึ่ ง ที่ ไ ม่ ต ้ อ งใช้ ต ั ว กลางใน การ
เคลือ่ นที่ เช่น คลื่นวิทยุ(Radio waves) คลืน่ ไมโครเวฟ (Microwaves)
ปัจจุบันมีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในหลายๆด้านเช่น การติดต่อสื่อสาร (มือถือ โทรทัศน์ วิทยุ เรดาร์ ใย
แก้วนําแสง) ทางการแพทย์ (รังสีเอกซ์) การทําอาหาร (คลื่นไมโครเวฟ) การควบคุม รีโมท (รังสีอินฟราเรด)
8

คุณสมบัติของคลื่ นแม่เหล็กไฟฟ้าคือเป็นคลื่ น ที่เกิด จากคลื่ นไฟฟ้าและคลื่ นแม่เ หล็กตั้ ง ฉาก กันและ


เคลือ่ นที่ไปยังทิศทางเดียวกัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตร/วินาที หรือ
เทียบเท่ากับความเร็วแสง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำ
ให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่ เหล็กมีการเปลี่ ยนแปลง เมื่ อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ ยนแปลงจะเหนี่ ยวนํา ให้ เ กิ ด
สนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนําให้เกิดสนามไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวางประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉาก
กัน และอยู่บนระนาบตั้ งฉากกับทิศการเคลื่ อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่ นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัย
ตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้
สเปกตรัม (Spectrum) ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะประกอบด้วยคลื่ นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มี ความถี่และความ
ยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่ งครอบคลุมตั้ งแต่คลื่นแสงที่ตามองเห็นอัลตราไวโอเลต อินฟราเรด คลื่ นวิทยุโทรทัศน์
ไมโครเวฟ รังสีเอกซ์รังสีแกมมา เป็นต้น ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงมีประโยชน์มากในการสื่อสารและโทรคมนาคม
และทางการแพทย์
2.8.1 สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1.ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ ( บางชนิด )
2. อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 299,792,458 เมตร/ วินาที ซึ่ง เท่ากับ
อัตราเร็วของแสง
3. เป็นคลื่นตามขวาง
4. ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
5.ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร
6.ไม่มีประจุไฟฟ้า
7.คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้
9

2.8.2 ความยาวคลืน่
ความยาวคลื่นคือระยะทางระหว่างส่วนที่ ซ้ำกันของคลื่นสัญลักษณ์แทนความยาวคลื่ นที่ใช้ กันทั่วไปคือ
อักษรกรีกแลมบ์ดา (λ) แกนนอนในแผนภูมิแทนระยะทางและแกนตั้งแทนค่า ณ เวลาหนึ่งของปริมาณหนึ่งซึ่ง
กําลังเปลี่ยนแปลง (ตัวอย่างเช่น สำหรับคลืน่ เสียงปริมาณที่กําลัง เปลี่ยนแปลงก็คือแรงดันอากาศ หรือสำหรับคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าปริมาณที่กําลังเปลี่ยนแปลงก็คือ สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก) ซึ่งเป็นฟังก์ชันของระยะทาง

ความยาวคลื่น λ สัมพันธ์แบบผกผันกับความถี่ของคลื่นนั้น โดยความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับ ความเร็วของ


คลื่นนั้นๆหารด้วยความถี่ ถ้าเราพิจารณาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสุญญากาศความเร็วนั้น ก็คือความเร็วแสงนั้นเอง
ความสัมพันธ์นี้สามารถเขียนได้เป็น
𝑐
𝜆= 𝑓

𝜆 = ความยาวคลื่น

𝑐 = ความเร็วแสงในสุญญากาศ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 299,792.458 กิโลเมตรต่อวินาที

𝑓 = ความถี่ของคลื่น
เมื่อคลื่นแสง (หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใดๆ) เดินทางในตัวกลางใดที่ ไม่ใช่สุญญากาศ ความยาวคลื่ นจะ
ลดลงด้วยอัตราส่วนเท่ากับดรรชนีหักเห 𝑛 ของตัวกลางนั้นแต่ความถี่ จะยังคงเท่าเดิม ความยาวคลื่ นแสงใน
ตัวกลางใดๆ สามารถเขียนได้เป็น
𝜆0
𝜆′ = 𝑛

เมือ่ 𝜆0 คือความยาวคลื่นในสุญญากาศ
ไม่ว่าคลื่นแสงจะเดินทางอยู่ในตัวกลางใด เมื่ อเราอ้างถึงความยาวคลื่น มักหมายถึงความ ยาวคลื่ นใน
สุญญากาศเสมอหลุยส์-วิคทอร์ เดอบรอยล์ค้นพบว่าอนุภาคที่ มีโมเมนตัมมีความยาว คลื่นซึ่งสัมพันธ์กับฟังก์ชัน
คลืน่ ของอนุภาคนั้น เรียกว่าความยาวคลื่นของเดอบรอยล
10

บทที่ 3

วิธีดำเนินการทดลอง

จากบทก่อนหน้านำมาซึ่งอุปกรณ์และวัสดุที่เราจำเป็นในการต่อชุดทดลองของเฮิรตซ์ และการวางวงจร
เพื่อเพิ่มปริมาณความต่างศักย์ไฟฟ้าเพื่อเพิ่มระยะทางในการส่งกระแสไฟฟ้าให้เป็นไปตามทฤษฎีของแมกซ์เวลล์

3.1 วัสดุ หน่วย


3.1.1 ไดโอดเปล่งแสง 1 หลอด
3.1.2 แผงเปลี่ยนวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ 1 ชุด
3.1.3 ชุดยิงเเสงเลเซอร์พร้อมฐานตั้ง 1 ชุด
3.1.4 หม้อแปลงไฟฟ้าความถี่สูง 1 เครื่อง
3.1.5 สวิตช์ไฟสำหรับเปิดปิดวงจร 1 ชิ้น
3.1.6 เเผ่นอลูมีเนียม 4 แผ่น
3.1.7 หัวโลหะสำหรับเหนี่ยวนำให้เกิดการถ่ายเทพลังงาน 4 หัว
3.1.8 สายไฟสำหรับต่อวงจร
3.1.9 ม้วนลวดทองเเดงสำหรับขดเป็นตัวรับสัญญาณ 1 ม้วน
3.1.10 หัวปลั๊กไฟบ้าน 1 หัว
3.1.11 น็อตตัวผู้เบอร์ 3 4 ตัว
3.1.12 น็อตตัวเมียเบอร์ 3 4 ตัว
3.1.13 กล่องอคลิลิดใสสำหรับใส่ชุดทดลอง 1 กล่อง
3.1.14 ขาตั้งตัวรับสัญญาณ 1 ขา
อุปกรณ์
3.1.15 ลักซ์มิเตอร์ 1 เครื่อง
3.1.16 มัลติมิเตอร์ 1 เครื่อง
3.1.17 ตลับเมตร 1 อัน
3.1.18 ถุงมือช่างไฟฟ้า 1 คู่
11

3.2 ขั้นตอนในการทดลอง
3.2.1 ทำการต่อแบบทดลองของเฮิรตซ์ เข้ากับสวิตช์เปิด-ปิด และต่อไฟฟ้าบ้านเข้าไปในวงจรไฟฟ้า พร้อม
ทั้งติดตั้งตัวเหนียวนำปลายแหลมเพื่อให้เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างตัวเหนียวนำ
3.2.2 วัดระยะทางห่างจากตัวเหนี่ยวนำทั้งสองที่ทำให้การถ่ายเทประจุไฟฟ้า สังเกตุและบันทึกผล
3.2.3 ติดตั้งชุดยิงเเสงเลเซอร์ ให้ลำเเสงฉายไปในช่องระหว่างตัวเหนี่ยวนทั้งสองที่ถ่ายเทประจุกันในชุด
ทดลองของเฮิรตซ์
3.2.4 ติดตั้งเเผ่งโลหะที่ตัวรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าบริเวณตัวเหนี่ยวนำ และนำตัวรับสัญญาณไปตั้งให้อยู่ใน
ระนาบเดียวกับลำเเสง
3.2.5 เปิดสวิตช์ไฟจ่ายกระเเสไฟฟ้า สังเกตุการเปล่งเเสงของไดโอด พร้อมทั้งวัดค่าในตัวแปรควบคุมต่างๆ
3.2.6 เปลี่ยนระยะห่างตัวส่งสัญญาณกับตัวรับสัญญาณเป็น 1.5 ม. ,3 ม. และ 4.5 ม. ตามลำดับ สังเกต
ว่า ไดโอดเปล่งเเสงหรือไม่ สังเกตและบันทึกผล
12

บทที่ 4

ผลการทดลอง

เมื่อเราได้ทำการทดลองในบทที่ 3 เรียบร้อยแล้วในบทนี้ เราจะนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาบันทึกและ


วิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับการใช้ทฤษฎีในบทที่ 2 เพื่อพิสูจน์ว่าผลการลองเป็นไปตามทฤษฎีหรือไม่

4.1 ตารางบันทึกค่าตัวแปรควบคุมต่างๆ
จากบทที่ 2 สามารถกล่าวได้ว่าการทดลองนี้มีตัวแปรต่างๆที่ส่งผลต่อผลการทดลองอยู่เป็นจำนวนมาก
เช่น ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความถี่คลื่น แสงสว่างในสถานที่ทดลอง อุณหภูมิ แรงแม่เหล็กไฟฟ้าของ
โลก สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
ระยะทางที่ใช้ทดลอง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าสลับ ความถี่คลื่น แสงสว่างในสถานที่ทดลอง อุณหภูมิ
เลเซอร์
1.5 ม. 1200 v 50 Hz 532nm 112.6 Lux 27.1
3 ม. 1200 v 50 Hz 532nm 136.8 Lux 27.3
4.5 ม. 1200 v 50 Hz 532nm 122.1 Lux 26.5
ตารางที่ 1 ตารางบันทึกค่าตัวแปรควบคุม

4.2 ผลการทดลอง
จากการทดลองผู้จัดทำมุ่งเน้นไปที่ระยะทาง และความสามารถในการส่งกระแสไฟฟ้า ไปยังตัวรับสัญญาณ
โดยมีระยะทาง 1.5 ม. , 3 ม. และ 4.5 ม. ดังนี้
ระยะทาง กระแสไฟฟ้าในตัวรับ ค่าเฉลี่ย ความต่างศักย์ในตัวรับ ค่าเฉลี่ย ไดโอดสว่างหรือไม่
1.5 .ม 0.12 0.13 0.11 0.12 mA 4.48 v 4.47 v 4.49 v 4.48 v สว่าง
3 ม. 0.07 0.07 0.08 0.07 mA 3.50 v 3.36 v 3.42 v 3.426 v สว่างปานกลาง
4.5 ม. 0.03 0.04 0.04 0.036 mA 2.40 v 2.26 v 2.35 v 2.336 v สว่างน้อย
ตารางที่ 2 ตารางแสดงผลการทดลอง
13

4.3 วิเคราะห์ข้อมูล สมการ และข้อเท็จจริงจากการทดลอง


ในหัวข้อนี้เราจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ประกอบกับการใช้ทฤษฎีของแมกซ์เวลล์ เพื่ออภิปรายผลการ
ทดลองว่าเป็นไปตามทฤษฎีหรือไม่
4.3.1 วิเคราะห์ข้อมูล
จากผลการทดลองสามารถระบุได้ว่ายิ่งระยะทางเพิ่มขึ้นกระแสไฟฟ้าที่สามารถส่งไปได้ก็มีค่าน้อ ยลง
ตามนั้น ซึ่งปัจจัยในตัวแปรควบคุมต่างๆมีผลต่อการลดลงของกระแสไฟฟ้าที่ส่งไป โดยที่จากการทดลองสามารถ
สรุปได้ว่า ในทุกๆ 1.5 ม. กระแสไฟฟ้าจะลดลงไปครึ่งหนึ่งของกระแสไฟฟ้าที่ส่งได้เสมอ

ภาพที่ 2 แบบจำลองการรวมกันของคลื่นทั้งสอง

4.3.2 สมการ
อันดับแรกของการคำนวณจากข้อมูลที่เก็บมาทำให้ ข้อมูลที่สามารถบ่งบอกสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้โดยตรง
เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ที่สามารถวัดค่าของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้โดยตรงเราจึงต้องคำนวณ หาสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ℎ𝑐
ด้วยสมการ Ε = ℎ𝑣 หรือ Ε = 𝜆
ด้วยสมการดั่งกล่าวเราจึงคำนวณหาค่าพลังสนามแม่เหล็กของลำแสงเลเซอร์ได้
6.6 𝑥 10−34 𝑥 3.0 𝑥 108
Ε=
532 𝑥 10−9

Ε = 3.7𝑥10−19
หาค่าพลังสนามแม่เหล็กของตัวส่งสัญญาณ
Ε = 6.6 𝑥 10−34 𝑥 5 𝑥 107

Ε = 3.3 𝑥 10−26

ก่อนเราจะทำการคำนวณใดๆในขั้นตอนนี้ เราจำเป็นต้องหาการกระจัดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 𝜓
จากการทดลองเสียก่อน โดยจากการคำนวณผู้จัดทำพบว่าค่าที่ได้คือ
14

⃑ =Ε
Ε ⃑ เลเซอร์ + Ε
⃑ ตัวส่ง

⃑ = 3.3 𝑥 10−26 + 3.7 𝑥 10−19 = 3.7 𝑥 10−19


Ε

หลังจาได้ค่าสนามแม่เหล็กรวมมาแล้ว นำมาใช้ในสมการที่ 4 ของแมกซ์เวลล์

𝑑𝐸⃑
⃑∇ × 𝐵
⃑ = 𝜇0 𝐽 + 𝜇0 𝜀0
𝑑𝑡

⃑ ×𝐵
∇ ⃑ = (4𝜋 × 10−7 )(11.9 × 105 )
−7 −12
𝑑(3.7 × 10−19 )
+(4𝜋 × 10 )(8.85 × 10 )
𝑑𝑡

⃑∇ × 𝐵
⃑ ≈ 1.49438 𝑚2

4.3.3 ข้อเท็จจริงจากผลการทดลอง
จากทั้งผลการทดลองและการคำนวณในสมการพบว่าค่าทั้งสองที่ได้มีความใกล้เคียงกัน การคำนวณพบว่า
สนามแม่เหล็กที่ไดเวอเจนท์ 1.46 ตร.ม แสดงว่าในปลายสุดของห้องไดเวอเจนท์จะเกิดรีโซแนนซ์ของคลื่น พอดี
ตามการทดลองของเฮิรตซ์ที่กล่าวว่า “วงจรรับคลื่น จะสามารถรับคลื่นได้ก็ต่อเมื่อ ความถี่ที่ส่งมานั้นเป็นความถี่รี
โซแนนซ์ของวงจรรับคลื่นพอดี ถ้าความต่างศักย์บนขดลวดชุดรับคลื่นมีค่าสูง จะทำให้เกิดประกายไฟข้ามไปมา
ระหว่ า งทรงกลมทั ้ งสอง” ทำให้ ต รงกับ บั นทึ กผลการทดลองที ่ส ามารถระบุไ ด้ ว่ า ในประมาณทุ ก ๆ 1.5 m
กระแสไฟฟ้าที่ถูกส่งไปนั้นก็หายไปประมาณครึ่งของระยะก่อน เช่นกัน กล่าวคือ การทดลองนี้มีอัตราการสูญเสีย
พลังงานแปรผันตรงกันกับระยะทาง และปัจจัยภายนอกต่างๆหากไม่มีการควบคุมอย่างแน่นหนา
15

บทที่ 5

สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการทดลอง
จากการวิเคราะห์ผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง สามารถเหนี่ยวนำเอา
สนามไฟฟ้าที่เกิดจากตัว ส่ง สัญญาณไปยัง ตัวรั บสัญ ญาณที่อ ยู่ไ กลขึ ้นได้ ถึง แม้เมื่อนำเอาข้อมู ลที่บ ันทึ ก มา
ประมวลผลตามสมการแล้วพบว่าในหนึ่งห้องไดเวอเจนท์มีปริมาตร 1.46 ตร.ม นั้นคือหนึ่งห้องของพื้นที่ที่คลื่นวิ่ง
ไปสุดห้องแล้วเกิดการรีโซแนนซ์กันพอดี จึงสรุปได้ว่าถึงแม้จะส่งกระแสไฟฟ้าได้จริงแต่ตัวรับสัญญาณจะต้องอยู่ใน
ระยะที่คลื่นทั้งสองเคลื่อนที่รีโซแนนซ์กันพอดี นั้นก็คือในทุกๆประมาณ 1.5 ม (โดยตัวแปรควบคุมที่ทำการทดลอง)
จะเกิดการรีโซแนนซ์ของคลื่นจนสามารถรับกระแสไฟฟ้าไปทำให้ไดโอดเปล่งแสงได้ อาจเกิดจากความคลาดเคลื่อน
หรือปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ แต่ไม่มีการเก็บข้อมูลข้างต้น
แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองนั้นเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้ง ไว้ โดยที่กระแสไฟฟ้าถูกส่งไปยัง ตัวรับ
สัญญาณและวัดค่ากระแสไฟฟ้าได้จากตัวรับสัญญาณได้ หมายความว่าไฟฟ้าถูกส่งมาถึงตัวรับสัญญาณ แม้จะมี
ปริมาณน้อยลงเนื่องจากการสูญเสียพลังงานระหว่างการส่งแต่ระยะทางในการส่งเพิ่มขึ้นจากก่อนอย่างมาก

5.2 อภิปรายผลการทดลอง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้แต่พลังงานจะค่อยๆสูญเสีย
ไปตามปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เป็นตัวนำ

5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1. สร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น การ
ควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง และปัจจัยอื่นๆในพื้นที่ระหว่างการส่ง
5.3.2. การเปลี่ยนตัวนำจากลำแสงเลเซอร์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดอื่น เช่น คลื่นในย่านความถี่อื่น
5.3.3. พัฒนาให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น
5.3.4. ศึกษาปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อการส่งผลกระทบต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
16

บรรณานุกรม

[1] นิรนาม./(2560)./การทดลองของเฮิรตซ์./สืบค้นจาก http://electriwave.blogspot.com/2017/07/blog-


post_84.html [28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560]
[2] นายธฤต จุมภู./(2557)./ระบบชาร์จโทรศัพท์ไร้สายด้วยเซลล์สุริยะ./การศึกษาระดับปริญญาตรี
สาขาวิชา วิศวกรรมโทรคมนาคม./มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
[3] ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์(LESA)./(2558)./คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า./สืบค้นจาก
http://www.lesa.biz/astronomy/light/em-waves
[4] ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ดาราศาสตร์(LESA)./(2558)./ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์./สืบค้นจาก
http://www.lesa.biz/astronomy/light/doppler-effect
[5] Chulkyu Lee./(2008)./ Impact of transport of sulfur dioxide from the Asian continent on
the air quality over Korea./สืบค้นจาก
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1352231007010229
[6] Menghan Wei./(2022)./Generation mechanism of fracture-induced electromagnetic
radiation and directionality characterization in the near field./สืบค้นจาก
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0013794422004106#!
[7] Introduction to Modern Physics : Theoretical Foundations./ John Dirk Walecka./(2008)./
Quantum Mechanics./(พิมพ์ครั้งที่ 2)./ World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd.
17

ภาคผนวก
18

รูปภาพที่ 1 ตัวรับสัญญาณแบบเสา(รับสัญญาณคลื่นไฟฟ้า)
ภาพที่ 3 ภาพวงจรภายในที่ต่อเสร็จแล้ว

ภาพที่ 4 ตัวส่งสัญญาณ

ภาพที่ 2 ภาพการวัดยะหะห่างในการต่อแบบทดลองเฮิรตซ์แบบปกติ
19

ภาพที่ 7 ภาพการทดสอบการทดลองครั้งแรก

ภาพที่ 5 การติดตั้งแผ่นโลหะเพื่อควบคุมทิศทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ภาพที่ 8 ภาพระยะทางที่ไดโอดเปล่งแสงครัง้ แรก (4.5 ม )

ภาพที่ 6 วงจรแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ(ไฟบ้าน)เป็นกระแสตรง

You might also like