You are on page 1of 18

โครงงาน

เรื่อง ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์

จัดทาโดย
1. นายอุกฤษฎ์ เคราะห์ดี
2. นายปรารถนา บัวตูม
3. นางสาวเขมรัตน์ แสงสุนทร
4. นางสาวรัชดาวรรณ อังชัญ
5. นางสาวสุจิตรา รังศรี

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอบรรพตพิสัย
สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์
โครงงาน
เรื่อง ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์

จัดทาโดย
1. นายอุกฤษฎ์ เคราะห์ดี
2. นายปรารถนา บัวตูม
3. นางสาวเขมรัตน์ แสงสุนทร
4. นางสาวรัชดาวรรณ อังชัญ
5. นางสาวสุจิตรา รังศรี

อาจารย์ที่ปรึกษา

นางกัลยา หอมดี

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอบรรพตพิสัย
สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์

บทคัดย่อ
ชื่อโครงการ ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์
ชื่อผู้จัดทาโครงงาน 1.นายอุกฤษฎ์ เคราะห์ดี 2.นายปรารถนา บัวตูม 3.นางสาวเขมรัตน์ แสงสุนทร
4. นางสาวรัชดาวรรณ อังชัญ 5. นางสาวสุจิตรา รังศรี
กศน.อาเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
อาจารย์ที่ปรึกษา 1. นางกัลยา หอมดี

การศึกษา โครงงานไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ ได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการประดิษฐ์ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์


และทาการทดลองทดลองประสิทธิภาพของไฟฉายที่สามารถเก็บพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้แผงโซล่าเซลล์ แทนพลังงาน
ของไฟฟ้า โดยมีขั้นตอนดังนี้ คือ ศึกษากลไกลของระบบไฟฉายและแผงโซล่าเซลล์ และเลือกแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสม
กับขนาดของไฟฉายพร้อมทั้งเตรียมแผงโซล่าเซลล์ มาประกอบกับไฟฉาย โดยการนาไฟฉายพลาสติกมาตัดเป็นช่อง
สี่เหลี่ยมบริเวณด้านข้างใดข้างหนึ่งที่ไม่ชนกับแผงวงจรควบคุมหลังจากนั้นนาแผงโซล่าเซลล์มาบัดกรีกับแผงควบคุมกับไฟ
ฉาย เมื่อทาเสร็จเรียบร้อยแล้วนาไฟฉายที่ประกอบเสร็จไปตากแดดนาน 1 ชั่วโมง เพื่อเก็บสะสมพลังงาน แล้วนามา
ทดลองว่ า ไฟฉายสามารถให้ แ สงสว่ า งของหลอดไฟได้ น านเท่ า ไร ต่ อ การชาร์ ต พลั ง งาน 1 ครั้ ง โดยน าผลที่ ไ ด้
จากการทดลองในแต่ละครั้งมาหาค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา การประดิษฐ์ไฟฉายพลั งงานแสงอาทิตย์ เพื่อทดลองประสิ ทธิ ภ าพของไฟฉายที่ส ามารถเก็บ


พลังงานแสงอาทิตย์ โ ดยใช้แผงโซล่ าเซลล์ แทนพลังงานของไฟฟ้า พบว่าเมื่อนาไฟฉายไปตากแดดเพื่อเก็บพลังงาน
แสงอาทิตย์แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าจานวน 1 ชั่วโมง ในอัตราเท่ากันทั้ง 3 ครั้ง ผลปรากฏว่า ค่าเฉลี่ย ระยะเวลาให้แสง
สว่างของหลอดไฟใช้ได้นาน 16.66 ชั่วโมง

กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะได้รับการช่วยเหลือจากคุณครู /
อาจารย์ นางกัล ยา หอมดี ที่ให้คาปรึ กษาและให้ คาแนะนาตลอดเวลาของการดาเนินงานจนทาให้ โครงงานบรรลุ
ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กาหนดไว้
คณะผู้ จั ด ท าขอขอบพระคุ ณ ท่ า นที่ ใ ห้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ในเรื่ อ งต่ า งๆและหวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า โครงงาน
ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ เรื่องนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษาต่อไป

คณะผู้จัดทา
มีนาคม 2557

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
สารบัญตาราง จ
สารบัญภาพ ฉ
บทที่ 1 บทนา 1
1.1 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน 1
1.2 วัตถุประสงค์ 1
1.3 สมมติฐาน 1
1.4 ตัวแปรที่ปรึกษา 1
1.5 ขอบเขตกการศึกษา 1
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1
1.7 นิยามปฏิบัติการ 1
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2
2.1 เซลล์แสงอาทิตย์ 2
2.2 ไฟฉาย 3
บทที่ 3 วิธีดาเนินการ 5
3.1 วัสดุอุปกรณ์ 5
3.2 วิธีดาเนินการ 5
บทที่ 4 ผลการศึกษา 9
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 10
5.1 สรุป 10
5.2 อภิปรายผล 10
5.3 ข้อเสนอแนะ 10
บรรณานุกรม 11

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 การทดลองระยะเวลาให้แสงสว่างของหลอดไฟ 9

สารบัญภาพ
หน้า
ภาพที่ 1 แผงโซล่าเซลล์ 2
ภาพที่ 2 หลักการทางานของพลังงานแสงอาทิตย์ 2
ภาพที่ 3 ส่วนประกอบของไฟฉาย 3
ภาพที่ 4 วัสดุอุปกรณ์ 5
ภาพที่ 5 ระบบการทางานของไฟฉาย 5
ภาพที่ 6 แผงโซล่าเซลล์ 6
ภาพที่ 7 การเจาะเพื่อที่จะยึดแผงโซล่าเซลล์ให้ติดกับตัวไฟฉาย 6
ภาพที่ 8 การบัดกรีกับแผงควบคุมกับไฟฉาย 6
ภาพที่ 9 การนาแผงโซล่าเซลล์มาประกอบติดกับตัวไฟฉาย 7
ภาพที่ 10 ไฟฉายที่ประกอบเสร็จแล้ว 7
ภาพที่ 11 นาไฟฉายที่ประกอบเสร็จไปตากแดดเพื่อเก็บสะสมพลังงาน 8
ภาพที่ 12 ผลจากการทดลอง 8
บทที่ 1
บทนา
1.1 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน
ในปัจจุบันพลังงานที่เรานามาใช้ในชีวิตประจาวันได้จากแหล่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เช่น พลังงานจากน้า
พลังงานจากลม พลังงานไฟฟ้า พลังงานจากเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ พลังงานเหล่านี้นับวันจะมีความจาเป็นในชีวิตประจาวัน
มากยิ่งขึ้น และแหล่งพลังงานบางแหล่ งนับวันจะน้อยลง พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่ งจาเป็นต่อผู้ใ ช้อุปกรณ์ไฟฟ้า และเป็น
สิ่งอานวยความสะดวกในเกือบทุกประเภท จาเป็นต้องใช้พลั งงานไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ทาให้ เกิดความต้องการใช้
พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นจึงส่งผลให้พลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอ เราต้องหาพลังงานทดแทนหรืออุปกรณ์ที่ช่วยลดการใช้งาน
พลังงานไฟฟ้า โดยที่มนุษย์ยงั สามารถดารงชีวิตประจาวันได้ตามปกติ
ดังนั้น ผู้จัดทาโครงงานนี้จึงได้เลือกโครงงานไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วย
ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าอีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ได้
1.2 วัตถุประสงค์ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้จัดได้กาหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
1.2.1. เพื่อประดิษฐ์ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์
1.2.2. เพื่อทดลองประสิทธิภาพของไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์
1.2.3. เพื่อศึกษาการทางานของโซล่าเซลล์
1.3 สมมติฐาน ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์สามารถให้แสงสว่างนานอย่างน้อย 30 นาที ต่อการชาร์ต 1 ชั่วโมง
1.4 ตัวแปรที่ศึกษา
1.4.1 ตัวแปรต้น คือ ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์
1.4.2 ตัวแปรตาม คือ ระยะเวลาของความสว่าง
1.4.3 ตัวแปรควบคุม แผงโซล่าเซลล์(ของเครื่องคิดเลข) ชนิด 8 ช่อง ขนาด 1.5 v,กระบอกไฟฉาย,ปริมาณ
แสงแดด,หลอดไฟขนาด 8 วัตต์
1.5 ขอบเขตการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ มีขอบเขตการศึกษาดังนี้
1.5.1 สิ่งที่ศึกษา ศึกษาการทางานของโซล่าเซลล์เพื่อประดิษฐ์ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ และทดสอบ
ประสิทธิภาพของไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์
1.5.2 ระยะเวลา วันที่ 24 – 30 มีนาคม 2557
1.5.3 สถานที่ ศูนย์ กศน.อาเภอบรรพตพิสัย
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.6.1 มีความรู้ความเข้าใจหลักการทางานของโซล่าเซลล์
1.6.2 สามารถประดิษฐ์ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้าได้
1.7 นิยามปฏิบัติการ
1.7.1 โซล่าเซลล์ หมายถึง เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ที่แปลงพลังงานความร้อนเป็นพลังงานฟ้า
1.7.2 ไฟฉาย คือ อุปกรณ์อานวยความสะดวกที่ให้แสงสว่าง สามารถพกพาไปยังสถานที่ต่างๆ ได้
1.7.3 หลอดไฟ ทาหน้าที่ให้แสงสว่าง อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาโครงงาน เรื่อง ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ คณะผู้ศึกษา ได้ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่
เกี่ยวข้องและจากเว็ปไซด์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยขอนาเสนอตามลาดับ ดังนี้
2.1 เซลล์แสงอาทิตย์
2.1.1 ความหมาย
โซล่าเซลล์(2557: เว็บไซด์) กล่าวว่า ความหมายของ Solar Cell หรือ PV
Solar Cell หรือ PV มีชื่อเรียกกันไปหลายอย่าง เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์สุริยะ หรือเซลล์
photovoltaic ซึง่ ต่างก็มที ่ีมาจากคาว่า Photovoltaic โดยแยกออกเป็น photo หมายถึง
แสง และ volt หมายถึง แรงดันไฟฟ้า เมื่อรวมคาแล้วหมายถึง กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากการ
ภาพที่ 1 แผงโซล่า ตกกระทบของแสงบนวัตถุที่มีความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้
โดยตรง แนวความคิ
เซลล์ ดนี้ได้ถูกค้นพบมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1839 แต่เซลล์แสงอาทิตย์ก็ยังไม่ถูกสร้างขึ้นมา จนกระทั่งใน
ปี ค.ศ. 1954 จึงมีการประดิษฐ์เซลล์แสงอาทิตย์ และได้ถูกนาไปใช้เป็นแหล่งจ่ายพลังงานให้กับดาวเทียมในอวกาศ
เมื่อ ปี ค.ศ. 1959 ดังนั้นสรุปได้ว่า เซลล์แสงอาทิตย์ คือ สิ่งประดิษฐ์ที่ทาจากสารกึ่งตัวนา เช่น ซิลิคอน (Silicon), แกล
เลี่ยม อาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide), อินเดียม ฟอสไฟด์ (Indium Phosphide), แคดเมียม เทลเลอไรด์ (Cadmium
Telluride) และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ (Copper Indium Diselenide) เป็นต้น ซึ่งเมื่อได้รับแสงอาทิตย์
โดยตรงก็จะเปลี่ยนเป็นพาหะนาไฟฟ้า และจะถูกแยกเป็นประจุไฟฟ้าบวกและลบเพื่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วทั้งสองของ
เซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อนาขั้วไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่
อุปกรณ์เหล่านั้น ทาให้สามารถทางานได้

2.1.2 หลักการทางานทั่วไปของเซลล์แสงอาทิตย์

โซล่าเซลล์(2557: เว็บไซด์) กล่าวว่า เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์


แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนาไฟฟ้าประจุลบและบวกขึ้น ได้แก่
อิเล็กตรอนและ โฮล โครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะทาหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้า
ภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะนาไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบ และพาหะ
น าไฟฟ้ า ชนิ ด โฮลไปที่ ขั้ ว บวก (ปกติ ที่ ฐ านจะใช้ ส ารกึ่ ง ตั ว น าชนิ ด พี
ขั้วไฟฟ้าด้านหลังจึงเป็นขั้วบวก ส่วนด้านรับแสงใช้สารกึ่งตัวนาชนิดเอ็น
ขั้วไฟฟ้าจึงเป็นขั้วลบ) ทาให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ขั้วไฟฟ้า
ทั้งสอง เมื่อต่อให้ครบวงจรไฟฟ้าจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น
ภาพที่ 2 หลักการทางานทั่วไปของเซลล์แสงอาทิตย์
2.2 ไฟฉาย
2.2.1 ส่วนประกอบของไฟฉาย

ภาพที่ 3 ส่วนประกอบของไฟฉาย
เอเวอร์เรสต์ (2003:เว็บไซด์) กล่าวว่า ไฟฉายประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ หลายส่วน เช่น หลอดไฟ กระบอกไฟ
ฯลฯ ซึ่งเราจะมารู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของไฟฉายกันว่ามีอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีหน้าที่อย่างไร
กระจกหน้าไฟฉาย - หน้าหลอดไฟฉายจะมีกระจกกั้นเอาไว้ ทาหน้าที่ป้องกันหลอดไฟจากความเสียหายอัน
เนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ และกระจกหน้าในไฟฉายบางรุ่น ยังสามารถเปลี่ยนสีได้ เพื่อให้ไฟมีสีต่าง ๆ กันออกไปตามการ
ใช้งาน เช่น สีแดง สีส้ม เป็นต้น
หลอดไฟ - ทาหน้าที่ให้แสงสว่าง
วงแหวนปรับระดับแสงไฟ - วงแหวนนี้จะอยู่บริเวณด้านหน้าของไฟฉาย เราสามารถหมุนเพื่อปรับการซูมของ
แสงไฟได้ ซึ่งหากไฟฉายซูมไปที่องศาแคบ ไฟจะส่องไปได้ไกล ถ้าซูมไปที่องศากว้าง ก็จะส่องสว่างได้กว้างกว่า แต่ส่องได้
ในระยะที่ใกล้กว่า
กระบอกไฟฉาย - เป็นส่วนที่เป็นแกนกลางของไฟฉาย มีลักษณะเป็นกระบอก ใช้เป็นที่จับเวลาใช้งาน ภายในจะ
เป็นช่องกลวงสาหรับเก็บแบตเตอรี่
ฝาปิดท้าย - ฝาปิดท้ายจะมีโลหะเพื่อเชื่อมกระแสไฟฟ้าระหว่างแบตเตอรี่กับขั้วที่อยู่ด้านหน้าของไฟฉาย และใช้
ป้องกันมิให้แบตเตอร์รี่หลุดออกมาจากตัวไฟฉาย
ยาง O-ring - ยางนี้จะช่วยในการกันน้าไม่ให้น้าเข้าสู่ตัวไฟฉาย ซึ่งมักจะอยู่บริเวณฝาปิดท้าย และด้านหน้าของ
ไฟฉาย
สายคาดศรีษะ - สาหรับไฟฉายแบบคาดศีรษะ จะมีสายคาดศีรษะซึ่งเป็นวัสดุที่ยืดตัวได้ สามารถปรับระดับให้มี
ขนาดเหมาะสมกับศีรษะของแต่ละคน
2.2.2 ประโยชน์ของไฟฉาย
1. ทาหน้าที่ให้แสงสว่าง
2. สามารถพกพาไปในสถานที่ต่างๆได้ และเป็นอุปกรณ์ในการป้องกันตัว
3. สามารถนาไปใช้ในที่ไม่มีไฟฟ้าได้
4. ไฟฉายมีน้าหนักเบาและพกพาสะดวก
5. สามารถปรับระดับความสว่างได้
7. สามารถเปิด-ปิดได้ง่ายๆ
8. ไฟฉายสามารถส่องโฟกัสไปที่จุดใดจุดหนึ่งได้
9. ไฟฉายสามารถจะแขวนไว้สูงๆ เพื่อให้ความสว่างรอบบริเวณ
บทที่ 3
วิธีดาเนินการ
3.1 วัสดุ อุปกรณ์
1 กระบอกไฟฉาย พลาสติก (แบบ 1 หัว) จานวน 1 กระบอก
2 แผง solar cell (ของเครื่องคิดเลข) ชนิด 8 ช่อง จานวน 1 แผง
3 ไขควง จานวน 1 ด้าม
4 ตะกั่วบัดกรีสายไฟ จานวน 1 หลอด
5 กาวร้อน หรือ ซิลิโคน จานวน 1 ด้าม
6 ใบเลื่อย จานวน 1 ใบ
7 คัดเตอร์ใบใหญ่ จานวน 1 เล่ม

ภาพที่ 4 วัสดุอุปกรณ์
3.2 วิธีดาเนินการ การศึกษาเรื่อง ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ ได้ดาเนินการทดลอง ดังนี้
1. ศึกษากลไกลของระบบไฟฉาย

ภาพที่ 5 ระบบการทางานของไฟฉาย
2. เลือกแผง โซล่าเซลล์ ที่เหมาะกับขนาดของไฟฉาย

ภาพที่ 6 แผงโซล่าเซลล์
3. นาไฟฉายมาเจาะรูเพื่อที่จะยึดแผงโซล่าเซลล์ให้ติดกับตัวไฟฉาย

ภาพที่ 7 การเจาะรูเพื่อที่จะยึดแผงโซล่าเซลล์ให้ติดกับตัวไฟฉาย
4. นาแผงโซล่าเซลล์มาบัดกรีกับแผงควบคุมกับไฟฉาย

ภาพที่ 8 การบัดกรีกับแผงควบคุมกับไฟฉาย
5. นาแผงโซล่าเซลล์มาประกอบติดกับติดไฟฉาย

ภาพที่ 9 การนาแผงโซล่าเซลล์มาประกอบติดกับตัวไฟฉาย

6. นาไฟฉายกับแผงโซล่าเซลล์มาประกอบเข้าด้วยกัน

ภาพที่ 10 ไฟฉายที่ประกอบเสร็จแล้ว
7. เมื่อทาเสร็จเรียบร้อยแล้วนาไฟฉายที่ประกอบเสร็จไปตากแดดนาน 1 ชั่วโมง เพื่อเก็บสะสมพลังงาน

ภาพที่ 11 นาไฟฉายที่ประกอบเสร็จไปตากแดดเพื่อเก็บสะสมพลังงาน
8.นามาทดลองว่าไฟฉายสามารถใช้พลังงานเท่าไร ต่อการชาร์ตพลังงาน 1 ครั้ง

ภาพที่ 12 ผลจากการทดลอง
บทที่ 4
ผลการศึกษา
จากการศึกษา เรื่อง ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งได้ดาเนินการโดยการทดลอง ได้ผลการศึกษาดังนี้
ตารางที่ 1 การทดลองระยะเวลาให้แสงสว่างของหลอดไฟ (ต่อการชาร์ต 1 ชั่วโมง)
จานวนครั้งที่ชาร์ต ระยะเวลาให้แสงสว่างของหลอดไฟ(ต่อการชาร์ต 1 ชั่วโมง)
๑ 12 ชั่วโมง
๒ 18 ชั่วโมง
๓ 20 ชั่วโมง
ค่าเฉลี่ย 16.66 ชั่วโมง

จากตาราง ที่ 1 ผลการศึกษา พบว่าการนาไฟฉายไปตากแดดเพื่อเก็บพลังงานแสงอาทิตย์แปลงเป็น


พลังงานไฟฟ้าจานวน 1 ชั่วโมง ในอัตราเท่ากันทั้ง 3 ครั้ง ผลปรากฏว่า
ครั้งที่ 1 พบว่าระยะเวลาให้แสงสว่างของหลอดไฟใช้ได้นาน 12 ชั่วโมง
ครั้งที่ 2 พบว่าระยะเวลาให้แสงสว่างของหลอดไฟใช้ได้นาน 18 ชั่วโมง
ครั้งที่ 3 พบว่าระยะเวลาให้แสงสว่างของหลอดไฟใช้ได้นาน 20 ชั่วโมง
นาผลการทดลองที่ได้ทั้ง 3 ครั้งมาหาค่าเฉลี่ย พบว่าระยะเวลาให้แสงสว่างของหลอดไฟใช้ได้นาน 16.66 ชั่วโมง
และสังเกตเห็นว่า ระยะเวลาของการชาร์ตพลังแสงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศในแต่ละช่วงเวลาของวัน
บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาการประดิษฐ์ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อทดลองประสิทธิภาพของไฟฉายที่สามารถเก็บ
พลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้แผงโซล่าเซลล์ แทนพลังงานของไฟฟ้า พบว่าเมื่อนาไฟฉายไปตากแดดเพื่อเก็บพลังงาน
แสงอาทิตย์แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าจานวน 1 ชั่วโมง ในอัตราเท่ากันทั้ง 3 ครั้ง ผลปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยระยะเวลาให้แสง
สว่างของหลอดไฟใช้ได้นาน 16.66 ชั่วโมง
5.2 อภิปรายผล

จากการศึ ก ษาการประดิ ษ ฐ์ ไ ฟฉายพลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ เพื่ อ ทดลองประสิ ท ธิ ภ าพของไฟฉายที่ ส ามารถ


เก็บพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้แผงโซล่าเซลล์ แทนพลังงานของไฟฟ้า โดยการทดลองนี้ พบว่าเมื่อนาไฟฉายไปตากแดด
เพื่ อ เก็ บ พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ แ ปลงเป็ น พลั ง งานไฟฟ้ า โดยมี ก ารก าหนดจ านวนครั้ ง ที่ ช าร์ ต พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์
จานวน 1 ชั่วโมง ในอัตราเท่ากันทั้ง 3 ครั้ง ผลปรากฏว่า ค่าเฉลี่ย ระยะเวลาให้แสงสว่างของหลอดไฟใช้ได้นาน
16.66 ชั่วโมง และสังเกตเห็นว่า ระยะเวลาของการชาร์ตพลังแสงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศในแต่ละเวลา
มีอุณหภูมิแตกต่างกันจึงส่งผลต่อการชาร์ตไฟฉาย
5.3 ข้อเสนอแนะ

1. ต้องเลือกไฟฉายให้พอเหมาะกับแผงโซล่าเซลล์เพื่อให้การติดตั้งดูเหมาะสมกับการใช้งาน
2. การเลือกแผงโซล่าเซลล์ต้องเลือกให้เหมาะกับกาลังของหลอดไฟฉาย
3. ต้องทาตัวอย่างไฟฉาย หลายๆ อัน เพื่อเป็นการเปรียบเทียบผลการทดลองที่ชัดเจน
4. ควรมีเครื่องวัดอุณหภูมิใช้ในการทดลองของในแต่ละช่วงเวลานั้นๆเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยได้อย่างชัดเจน
5. จากการทดทาให้พัฒนาไฟฉายไปเป็นไฟฉายที่มีระบบชาร์ตไฟภายในตัว
บรรณานุกรม
เอเวอร์เรสต์.มีนาคม 2003.ส่วนประกอบของไฟฉาย.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://
www mrbackpacker.com/gear/ gear_37.html(วันที่สืบค้นข้อมูล 25 มีนาคม 2557)
เซลล์แสงอาทิตย์.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http:// www.leonics.co.th/aboutpower/
solar_knowledge.php. (วันที่สืบค้นข้อมูล 25 มีนาคม 2557)

You might also like