You are on page 1of 354

หนังสือเรียนสาระความรูพื้นฐาน

รายวิชา วิทยาศาสตร
(พว21001)
ระดับมัธยมศึกษาตอนตน
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน
พุทธศักราช 2551

สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ

หามจําหนาย
หนังสือเรียนเลมนี้จัดพิมพดวยเงินงบประมาณแผนดินเพื่อการศึกษาตลอดชีวิตสําหรับประชาชน
ลิขสิทธิ์เปนของ สํานักงาน กศน. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

เอกสารทางวิชาการลําดับที่ 8/2554
หนังสือเรียนสาระความรูพื้นฐาน
รายวิชา วิทยาศาสตร (พว 21001)
ระดับมัธยมศึกษาตอนตน
ลิขสิทธิ์เปนของ สํานักงาน กศน. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารทางวิชาการลําดับที่ 8/2554
คํานํา

สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ไดดําเนินการจัดทํา
หนั ง สื อ เรี ย น ชุ ด ใหม นี ้ขึ น้ เพื ่อ สํ า หรั บ ใช ใ นการเรี ย นการสอนตามหลั ก สู ต รการศึ ก ษานอกระบบ
ระดั บ การศึ ก ษาขั น้ พื ้น ฐาน พุ ท ธศั ก ราช 2551 ทีม่ ี วั ต ถุ ป ระสงค ใ นการพั ฒ นาผู เ รีย นให มี คุ ณ ธรรม
จริยธรรม มีส ติปญญาและศักยภาพในการประกอบอาชีพ การศึกษาตอ และสามารถดํารงชีวิตอยูใ น
ครอบครัว ชุมชน สังคมไดอยางมีความสุข โดยผูเรียนสามารถนําหนังสือเรียนไปใช ดวยวิธีการศึกษา
คนคว า ด วยตนเอง ปฏิ บั ติกิจกรรมรวมทั้ง แบบฝก หัดเพื่อทดสอบความรูค วามเขาใจในสาระเนือ้ หา
โดยเมื่อศึกษาแลวยังไมเขาใจ สามารถกลับไปศึกษาใหมได ผูเรียนอาจจะสามารถเพิ่มพูนความรูหลังจาก
ศึก ษาหนั ง สื อเรี ยนนี ้ โดยนํ า ความรู ไ ปแลกเปลี่ยนกับ เพื่อนในชั้นเรีย น ศึก ษาจากภูมิปญญาทองถิ่น
จากแหลงเรียนรูและจากสื่ออื่นๆ
ในการดําเนินการจัดทําหนังสือเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา
ขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 ไดรับความรวมมือทีด่ ีจากผูท รงคุณวุฒิและผูเ กีย่ วของหลายทานที่คนควา
และเรี ย บเรี ย งเนื ้อหาสาระจากสื ่อต า งๆ เพือ่ ใหไ ดสื ่อที ่ส อดคล องกับ หลั ก สูต ร และเป นประโยชน
ตอผูเ รียนที่อยูนอกระบบอยางแทจริง สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ขอขอบคุ ณคณะที ่ป รึ ก ษา คณะผู เรี ย บเรีย ง ตลอดจนคณะผูจัดทํา ทุก ทา นทีไ่ ดใ หค วามรวมมือดวยดี
ไว ณ โอกาสนี้
สํานักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หวังวาหนังสือเรียน
ชุดนีจ้ ะเปนประโยชนในการจัดการเรียนการสอนตามสมควร หากมีขอเสนอแนะประการใด สํานักงาน
สงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอนอมรับไวดวยความขอบคุณยิ่ง

สํานักงาน กศน.
สารบัญ
หนา
คํานํา
คําแนะนําการใชหนังสือเรียน
โครงสรางรายวิชา พว 21001 วิทยาศาสตร
บทที่ 1 ทักษะทางวิทยาศาสตรและกระบวนการทางวิทยาศาสตร 1
บทที่ 2 โครงงานวิทยาศาสตร 32
บทที่ 3 เซลล 45
บทที่ 4 กระบวนการดํารงชีวติ ของพืชและสัตว 56
บทที่ 5 ระบบนิเวศ 101
บทที่ 6 โลก บรรยากาศ ปรากฏการณทางธรรมชาติ สิง่ แวดลอมและ
ทรัพยากรธรรมชาติ 127
บทที่ 7 สารและการจําแนกสาร 185
บทที่ 8 ธาตุและสารประกอบ 192
บทที่ 9 สารละลาย 202
บทที่ 10 สารและผลิตภัณฑในชีวิต 216
บทที่ 11 แรงและการใชประโยชน 245
บทที่ 12 งานและพลังงาน 260
บทที่ 13 ดวงดาวกับชีวิต 318
บรรณานุกรม 344
คําแนะนําการใชหนังสือเรียน

หนังสือเรียนสาระความรูพื้นฐาน รายวิชาวิทยาศาสตร ระดับมัธยมศึกษาตอนตน หลักสูตร


การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รหัส พว 21001 เปนหนังสือเรียนที่
จัดทําขึ้น สําหรับผูเรียนที่เปนนักศึกษานอกระบบ
ในการศึกษาหนังสือเรียนสาระความรูพื้นฐาน รายวิชาวิทยาศาสตร ผูเรียนควรปฏิบัติดังนี้
1. ศึกษาโครงสรางรายวิ ชาใหเขาใ จในหัวขอและสาระสําคัญ ผลการเรียนรูที่คาดหวัง และ
ขอบขายเนื้อหาของรายวิชานั้น ๆ โดยละเอียด
2. ศึกษารายละเอียดเนื้อหาของแตละบทอยางละเอียด และทํากิจกรรมตามที่กําหนด และทํา
แลวตรวจสอบกับแนวตอบกิจกรรมตามที่กําหนด ถาผูเรียนตอบผิดควรกลับไปศึกษาและทําความเขาใจ
ในเนื้อหานั้นใหมใหเขาใจ กอนที่จะศึกษาเรื่องตอ ๆ ไป
3. ปฏิบัติกิจกรรมทายเรื่องของแตละเรื่อง เพื่อเปนการสรุปความรู ความเขาใจของเนื้อหาใน
เรื่องนั้น ๆ อีกครั้ง และการปฏิบัติกิจกรรมของแตละเนื้อหา แตละเรื่อง ผูเรียนสามารถนําไปตรวจสอบ
กับครูและเพื่อน ๆ ที่รวมเรียนในรายวิชาและระดับเดียวกันได
4. หนังสือเรียนเลมนี้มี 13 บท
บทที่ 1 ทักษะทางวิทยาศาสตรและกระบวนการทางวิทยาศาสตร
บทที่ 2 โครงงานวิทยาศาสตร
บทที่ 3 เซลล
บทที่ 4 กระบวนการดํารงชีวิตของพืชและสัตว
บทที่ 5 ระบบนิเวศ
บทที่ 6 โลก บรรยากาศ ปรากฏการณทางธรรมชาติ สิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ
บทที่ 7 สารและการจําแนกสาร
บทที่ 8 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 9 สารละลาย
บทที่ 10 สารและผลิตภัณฑในชีวิต
บทที่ 11 แรงและการใชประโยชน
บทที่ 12 งานและพลังงาน
บทที่ 13 ดวงดาวกับชีวติ
โครงสรางรายวิชา พว 21001 วิทยาศาสตร

สาระสําคัญ
1. กระบวนการทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี เรื่อง ธรรมชาติของวิทยาศาสตร
กระบวนการทางวิทยาศาสตร วิธีการทางวิทยาศาสตร ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร เจตคติ
ทางวิทยาสาสตร เทคโนโลยี และโครงงานวิทยาศาสตร
2. สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดลอม เรื่อง เซลล กระบวนการดํารงชีวิตของพืชและสัตว ระบบ
นิเวศ โลก บรรยากาศ ปรากฏการณทางธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
3. สารเพื่อชีวิต เรื่อง การจําแนกสาร ธาตุและสารประกอบ สารละลาย กรด-เบส สารและ
ผลิตภัณฑในชีวิต
4. แรงและพลังงานเพื่อชีวิต เรื่อง แรงและการใชประโยชนของแรง งานและพลังงาน
5. ดาราศาสตรเพื่อชีวิต เรื่อง ดวงดาวกับชีวิต
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. ใชความรูและกระบวนการทางวิทยาศาสตร วิธีการทางวิทยาศาสตร ทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร เจตคติทางวิทยาสาสตร ทําโครงงานวิทยาศาสตรและนําผลไปใชได
2. อธิบายเกี่ยวกับลักษณะ โครงสราง องคประกอบและหนาที่ของเซลล การใชประโยชน
และผลกระทบที่เกิดจากการใชเทคโนโลยีชีวภาพตอสังคม และสิ่งแวดลอมได
3. อธิบายเกี่ยวกับปญหาที่เกิดจากใชทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมในระดับทองถิ่น
ประเทศและโลก ปรากฏการณทางธรณีวิทยาที่มีผลกระทบตอชีวิต และสิ่งแวดลอม วางแผนและ
ปฏิบัติรวมกับชุมชนเพื่อปองกันและแกไขปญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
4. อธิบายเกี่ยวกับสวนประกอบของโลกและวิธีการแบงชั้นของโลก การเปลี่ยนแปลงของ
เปลือกโลกโดยกระบวนการตางๆ ได
5. อธิบายเกี่ยวกับแรงและความสัมพันธของแรงกับการเคลื่อนที่ในสนามโนมถวง
สนามแมเหล็ก สนามไฟฟา การเคลื่อนที่แบบตางๆ และการนําไปใชประโยชนได
6. อธิบายเกี่ยวกับ สมบัติ สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมี ความแตกตางและจําแนก
ธาตุ สารประกอบ สารละลายและสารผสมได
7. ศึกษา คนควาและอธิบายเกี่ยวกับกลุมจักราศี วิธีการหาดาวเหนือ สามารถใชแผนที่ดาว
และอธิบายประโยชนจากกลุมดาวฤกษที่มีตอการดํารงชีวิตประจําวันได
ขอบขายเนื้อหา
บทที่ 1 ทักษะทางวิทยาศาสตรและกระบวนการทางวิทยาศาสตร
บทที่ 2 โครงงานวิทยาศาสตร
บทที่ 3 เซลล
บทที่ 4 กระบวนการดํารงชีวิตของพืชและสัตว
บทที่ 5 ระบบนิเวศ
บทที่ 6 โลก บรรยากาศ ปรากฏการณทางธรรมชาติ สิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ
บทที่ 7 สารและการจําแนกสาร
บทที่ 8 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 9 สารละลาย
บทที่ 10 สารและผลิตภัณฑในชีวิต
บทที่ 11 แรงและการใชประโยชน
บทที่ 12 งานและพลังงาน
บทที่ 13 ดวงดาวกับชีวติ
บทที่ 1
ทักษะทางวิทยาศาสตรและกระบวนการทางวิทยาศาสตร

สาระสําคัญ
วิทยาศาสตรเปนเรื่องขอ งการเรียนรูเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมนุษยใชทักษะตางๆ สํารวจและ
ตรวจสอบ ทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณทางธรรมชาติ และนําผลที่ไดมาจัดใหเปนระบบ และตั้งขึ้นเปน
ทฤษฏี ซึ่งทักษะทางวิทยาศาสตร ประกอบดวยกัน 13 ทักษะ
ในการดําเนินการหาคําตอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งนอกจากจะตองใชทักษะทางวิทยาศาสตรแลว ใน
การหาคําตอบจะตองมีการกําหนดลําดับขั้นตอนอยางเปนระบบตั้งแตตนจนจบเรียกลําดับขั้นตอนในการ
หาคําตอบเหลานี้วา กระบวนการทางวิทยาศาสตร ซึ่งประกอบดวย 5 ขั้นตอน
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. อธิบายธรรมชาติและความสําคัญของวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี
2. อธิบายทักษะทางวิทยาศาสตรทั้ง 13 ทักษะได
3. อธิบายกระบวนการทางวิทยาศาสตรทั้ง 5 ขัน้ ตอนได
4. นําความรูและกระบวรการทางวิทยาศาสตรไปใชแกปญหาตาง ๆ ได
ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 กระบวนการทางวิทยาศาสตร
เรื่องที่ 2 เทคโนโลยี
เรื่องที่ 3 วัสดุและอุปกรณทางวิทยาศาสตร
2

เรื่องที่ 1 กระบวนการทางวิทยาศาสตร
วิทยาศาสตรเปนเรื่องของการเรียนรูเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมนุษยใชกระบวนการสังเกต สํารวจ
ตรวจสอบ ทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณทางธรรมชาติ และนําผลมาจัดเปนระบบหลักการ แนวคิดและ
ทฤษฎี แนวคิดและทฤษฎี ดังนั้น ทักษะวิทยาศาสตร จึงเปนการปฏิบัติเพื่อใหไดมาซึ่งคําตอบในขอสงสัย
หรือขอสมมติฐานตาง ๆ ของมนุษยตั้งไว
ทักษะทางวิทยาศาสตร ประกอบดวย
1. การสังเกต เปนวิธีการไดมาของขอสงสัย รับรูขอมูล พิจารณาขอมูล จากปรากฏการณทาง
ธรรมชาติที่เกิดขึ้น
2. ตั้งสมมติฐาน เปนการการระดมความคิด สรุปสิ่งที่คาดวาจะเปนคําตอบของปญหาหรือขอ
สงสัยนั้น ๆ
3. ออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่ตองศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมี
ผลตอตัวแปรที่ตองการศึกษา
4. ดําเนินการทดลอง เปนการจัดกระทํากับตัวแปรที่กําหนด ซึ่งไดแก ตัวแปรตน ตัวแปรตาม
และตัวแปรที่ตองควบคุม
5. รวบรวมขอมูล เปนการบันทึกรวบรวมผลการทดลองหรือผลจากการกระทําของตัวแปรที่
กําหนด
6. แปลและสรุปผลการทดลอง

คุณลักษณะของบุคคลที่มีจิตวิทยาศาสตร
1. เปนคนที่มีเหตุผล
1) จะตองเปนคนที่ยอมรับ และเชื่อในความสําคัญของเหตุผล
2) ไมเชื่อโชคลาง คําทํานาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตาง ๆ
3) คนหาสาเหตุของปญหาหรือเหตุการณและหาความสัมพันธของสาเหตุกับผลที่
เกิดขึ้น
4) ตองเปนบุคคลที่สนใจปรากฏการณตาง ๆ ที่เกิดขึ้น และจะตองเปนบุคคลที่พยายาม
คนหาคําตอบวา ปรากฏการณตาง ๆ นั้นเกิดขึ้นไดอยางไร และทําไมจึงเกิดเหตุการณ
เชนนั้น
2. เปนคนที่มีความอยากรูอยากเห็น
1) มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรูในสถานการณใหม ๆ อยูเสมอ
2) ตระหนักถึงความสําคัญของการแสวงหาขอมูลเพิ่มเติมเสมอ
3) จะตองเปนบุคคลที่ชอบซักถาม คนหาความรูโดยวิธีการตาง ๆ อยูเสมอ
3

3. เปนบุคคลที่มีใจกวาง
1) เปนบุคคลที่กลายอมรับการวิพากษวิจารณจากบุคคลอื่น
2) เปนบุคคลที่จะรับรูและยอมรับความคิดเห็นใหม ๆ อยูเสมอ
3) เปนบุคคลที่เต็มใจที่จะเผยแพรความรูและความคิดใหแกบุคคลอื่น
4) ตระหนักและยอมรับขอจํากัดของความรูที่คนพบในปจจุบัน
4. เปนบุคคลที่มีความซื่อสัตย และมีใจเปนกลาง
1) เปนบุคคลที่มีความซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ
2) เปนบุคคลที่มีความมั่นคง หนักแนนตอผลที่ไดจากการพิสูจน
3) สังเกตและบันทึกผลตาง ๆ อยางตรงไปตรงมา ไมลําเอียง และมีอคติ
5. มีความเพียรพยายาม
1) ทํากิจกรรมที่ไดรับมอบหมายใหเสร็จสมบูรณ
2) ไมทอถอยเมื่อผลการทดลองลมเหลว หรือมีอุปสรรค
3) มีความตั้งใจแนวแนตอการคนหาความรู
6. มีความละเอียดรอบคอบ
1) รูจักใชวิจารณญาณกอนที่จะตัดสินใจใด ๆ
2) ไมยอมรับสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนกวาจะมีการพิสูจนที่เชื่อถือได
3) หลีกเลี่ยงการตัดสินใจ และการสรุปผลที่ยังไมมีการวิเคราะหแลวเปนอยางดี
4

กิจกรรมที่ 1

ภาพ ก ภาพ ข

ภาพแสดงทรัพยากรธรรมชาติที่เคยมีอยางสมบูรณไดทําลายจนรอยหรอไปแลว

ใหศึกษาภาพและสรุปผลการเกิดความแตกตางกันของภาพสมุดกิจกรรม โดยใชทักษะ
ทางวิทยาศาสตรตามหัวขอตอไปนี้
1. จากการสังเกตภาพเห็นขอแตกตางในเรื่องใดบาง
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................

2. ตั้งสมมติฐานของสาเหตุความแตกตางกันทางธรรมชาติ
จากภาพดังกลาวสามารถตั้งสมมติฐาน สาเหตุความแตกตางอะไรบาง
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
5

กระบวนการทางวิทยาศาสตร
การดําเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะตองมีการกําหนดขั้นตอน อยางเปนลําดับตั้งแตตนจน
แลวเสร็จตามจุดประสงคที่กําหนด
กระบวนการทางวิทยาศาสตร จึงเปนแนวทางการดําเนินการโดยใชทักษะวิทยาศาสตร
ใชในการจัดการ ซึ่งมีลําดับขั้นตอน 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การกําหนดปญหา
2. การตั้งสมมติฐาน
3. การทดลองและรวบรวมขอมูล
4. การวิเคราะหขอมูล
5. การสรุปผล

ขั้นตอนที่ 1 การกําหนดปญหา เปนการกําหนดหัวเรื่องที่จะศึกษาหรือปฏิบัติการแกปญหา เปน


ปญหาที่ไดมาจากการสังเกต จากขอสงสัยในปรากฏการณตาง ๆ ที่พบเห็น เชน ทําไมตนไมที่
ปลูกไวใบเหี่ยวเฉา ปญหามีหนอนมาเจาะกิ่งมะมวงแกไขไดอยางไร ปลากัดขยายพันธุไดอยางไร

ตัวอยางการกําหนดปญหา
ปาไมหลายแหงถูกทําลายอยูในสภาพที่ไมสมดุล หนาดินเกิดการพังทลาย ไมมีตนไม หรือวัชพืช
หญาปกคลุมดิน เมื่อฝนตกลงมาน้ําฝนจะกัดเซาะหนาดินไปกับกระแสน้ําแตบริเวณพื้นที่มีวัชพืชและ
หญาปกคลุมดินจะชวยดูดซับน้าํ ฝนและลดอัตราการไหลของน้าํ ดังนั้นผูดําเนินการจึงสนใจอยากทราบ
วา อัตราการไหลของน้ําจะขึ้นอยูกับสิ่งที่ชวยดูดซับน้ําหรือไม โดยทดลองใชแผนใยขัดเพือ่ ทดสอบ
อัตราการไหลของน้ํา จึงจัดทําโครงงาน การทดลอง การลดอัตราไหลของน้ําโดยใชแผนใยขัด

ขั้นตอนที่ 2 การตั้งสมมติฐานและการกําหนดตัวแปรเปนการคาดคะเนคําตอบของปญหาใด
ปญหาหนึ่งอยางมีเหตุผล โดยอาศัยขอมูลจากการสังเกต การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวของ การพบผูรูใน
เรื่องนั้น ๆ ฯลฯ และกําหนดตัวแปรที่เกี่ยวของกับการทดลอง ไดแก ตัวแปรตน ตัวแปรตาม ตัวแปร
ควบคุม

สมมติฐาน ตัวอยาง
แผนใยขัดชวยลดอัตราการไหลของน้ํา (ทําใหน้ําไหลชาลง)
ตัวแปร
ตัวแปรตน คือ แผนใยขัด
ตัวแปรตาม คือ ปริมาณน้ําที่ไหล
ตัวแปรควบคุม คือ ปริมาณน้ําที่เทหรือรด
6

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองและรวบรวมขอมูล เปนการปฏิบัติการทดลองคนหาความจริงให


สอดคลองกับสมมติฐานที่ตั้งไวในขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน (ขั้นตอนที่ 2 ) และรวบรวมขอมูลจากการ
ทดลองหรือปฏิบัติการนั้นอยางเปนระบบ
ตัวอยาง
การออกแบบการทดลอง
วัสดุอุปกรณ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ โดยจัดเตรียม กระบะ จํานวน 2 กระบะ
- ทรายสําหรับใสกระบะทั้ง 2 ใหมีปริมาณเทา ๆ กัน
- กิ่งไมจําลอง สําหรับปกในกระบะทั้ง 2 จํานวนเทา ๆ กัน
- แผนใยขัด สําหรับปูบนพื้นทรายกระบะใดกระบะหนึ่ง
- น้ํา สําหรับเทลงในกระบะทั้ง 2 กระบะปริมาณเทา ๆ กัน

ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะหขอมูลและทดสอบสมมติฐานเปนการนําขอมูลที่รวบรวมไดจาก
ขั้นตอนการทดลองและรวบรวมขอมูล (ขั้นตอนที่ 3 ) มาวิเคราะหหาความสัมพันธของขอเท็จจริงตาง ๆ
เพื่อนํามาอธิบายและตรวจสอบกับสมมติฐานที่ตั้งไวในขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน (ขั้นตอนที่ 2) ถาผลการ
วิเคราะหไมสอดคลองกับสมมติฐาน สรุปไดวาสมมติฐานนั้นไมถูกตอง ถาผลวิเคราะหสอดคลองกับ
สมมติฐาน ตรวจสอบหลายครั้งไดผลเหมือนเดิมก็สรุปไดวาสมมติฐานและการทดลองนั้นเปนจริง
สามารถนําไปอางอิงหรือเปนทฤษฎีตอไปนี้
ตัวอยาง
-วิธีการทดลอง นําทรายใสกระบะทั้ง 2 ใหมีปริมาณเทา ๆ กัน ทําเปนพื้นลาดเอียง
กระบะที่ 1 วางแผนใยขัดในกระบะทรายแลวปกกิ่งไมจําลอง
กระบะที่ 2 ปกกิ่งไมจําลองโดยไมมีแผนใยขัด
ทดลองเทน้ําจากฝกบัวที่มีปริมาณน้ําเทา ๆ กัน พรอม ๆ กัน ทั้ง 2 กระบะ การทดลอง
ควรทดลองมากกวา 1 ครั้ง เพื่อใหไดผลการทดลองที่มีความนาเชื่อถือ
-ผลการทดลอง
กระบะที่ 1 (มีแผนใยขัด) น้ํา ที่ไหลลงมาในกระบะ จะไหลอยางชา ๆ เหลือปริมาณนอย พื้น
ทรายไมพัง กิ่งไมจําลองไมลม
กระบะที่ 2 (ไมมีแผนใยขัด) น้ําที่ไหลลงสูพื้นกระบะจะไหลอยางรวดเร็ว พรอมพัดพาเอากิ่งไม
จําลองมาดวย พื้นทรายพังทลายจํานวนมาก
ขั้นตอนที่ 5 การสรุปผล เปนการสรุปผลการศึกษา การทดลอง หรือการปฏิบัติการนั้น ๆ โดย
อาศัยขอมูลและการวิเคราะหขอมูลจากขั้นตอนการวิเคราะหขอมูล (ขั้นตอนที่ 4 ) เปนหลัก
7

สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองสรุปไดวาแผนใยขัดมีผลตอการไหลของน้ํา ทําใหน้ําไหลไดอยางชาลง รวมทั้ง
ชวยใหกิ่งไมจําลองยึดติดกับทรายในกระบะได ซึ่งตางจากกระบะที่ ไมมีแผนใยขัดที่น้ําไหลอยางรวดเร็ว
และพัดเอากิ่งไมและทรายลงไปดวย
เมื่อดําเนินการเสร็จสิ้น 5 ขั้นตอนนี้แลว ผูดําเนินการตองจัดทําเปนเอกสารรายงานการศึกษา
การทดลองหรือการปฏิบัติการนั้นเพื่อเผยแพรตอไป
8

ทักษะทางวิทยาศาสตรและกระบวนการทางวิทยาศาสตร
วิทยาศาสตรเปนเรื่องของการเรียนรูเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยมนุษยใชกระบวนการสังเกต สํารวจ
ตรวจสอบ ทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณทางธรรมชาติ และนําผลมาจัดเปนระบบหลักการ แนวคิดและ
ทฤษฎี ดังนั้น ทักษะทางวิทยาศาสตร จึงเปนการปฏิบัติเพื่อใหไดมาซึ่งคําตอบในขอสงสัยหรือขอ
สมมติฐานตาง ๆ ของมนุษยตั้งไว
ทักษะทางวิทยาศาสตร ประกอบดวย
1. การสังเกต เปนวิธีการไดมาของขอสงสัย รับรูขอมูล พิจารณาขอมูล จากปรากฏการณทางธรรมชาติที่เกิดขั้น
2. ตั้งสมมติฐาน เปนการกระดมความคิด สรุปสิ่งที่คาดวาจะเปนคําตอบของปญหาหรือขอสงสัยนั้น ๆ
3. ออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่ตองศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลตอ
ตัวแปรที่ตองการศึกษา
4. ดําเนินการทดลอง เปนการจัดกระทํากับตัวแปรที่กําหนด ซึ่งไดแก ตัวแปรตน ตัวแปรตามและตัว
แปรที่ตองการศึกษา
5. รวบรวมขอมูล เปนการบันทึกรวบรวมผลการทดลองหรือผลจากการกระทําของตัวแปรที่กําหนด
6. แปลและสรุปผลการทดลอง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรประกอบดวย 13 ทักษะ ดังนี้
1. ทักษะขั้นมูลฐาน 8 ทักษะ ไดแก
1. ทักษะการสังเกต ( Observing)
2. ทักษะการวัด (Measuring)
3. ทักษะการจําแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ ( Classifying)
4. ทักษะการใชความสัมพันธระหวางสเปสกับเวลา (Using Space / Relationship)
5. ทักษะการคํานวณและการใชจํานวน (Using Numbers)
6. ทักษะการจัดกระทําและสื่อความหมายขอมูล (Comunication)
7. ทักษะการลงความเห็นจากขอมูล (Inferring)
8. ทักษะการพยากรณ ( Predicting)
2. ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะไดแก
1. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน (Formulating Hypothesis)
2. ทักษะการควบคุมตัวแปร (Controlling Variables)
3. ทักษะการตีความและลงขอสรุป (Interpreting data)
4. ทักษะการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally)
5. ทักษะการทดลอง (Experimenting)
9

รายละเอียดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรทั้ง 13 ทักษะ มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้


ทักษะการสังเกต ( Observing) หมายถึงการใชประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสังเกต ไดแก ใชตาดู
รูปราง ใชหูฟงเสียง ใชลิ้นชิมรส ใชจมูกดมกลิ่น และใชผิวกายสัมผัสความรอนเย็น หรือใชมือจับตอง
ความออนแข็ง เปนตน การใชประสาทสัมผัสเหลานี้จะใชทีละอยางหรือหลายอยางพรอมกันเพื่อรวบรวม
ขอมูลก็ไดโดยไมเพิ่มความคิดเห็นของผูสังเกตลงไป
ทักษะการวัด (Measuring) หมายถึง การเลือกและการใชเครื่องมือวัดปริมาณของสิ่งของออกมา
เปนตัวเลขที่แนนอนไดอยางเหมาะสม และถูกตองโดยมีหนวยกํากับเสมอในการวัดเพื่อหาปริมาณของ
สิ่งที่วัดตองฝกใหผูเรียนหาคําตอบ 4 คา คือ จะวัดอะไร วัดทําไม ใชเครื่องมืออะไรวัดและจะวัดได
อยางไร
ทักษะการจําแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ (Classifying) หมายถึง การแบงพวกหรือการ
เรียงลําดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยูในปรากฏการณโดยการหาเกณฑหรือสรางเกณฑในการจําแนกประเภท ซึ่ง
อาจใชเกณฑความเหมือนกัน ความแตกตางกัน หรือความสัมพันธกันอยางใดอยางหนึ่งก็ได ซึ่งแลวแต
ผูเรียนจะเลือกใชเกณฑใด นอกจากนี้ควรสรางความคิดรวบยอดใหเกิดขึ้นดวยวาของกลุมเดียวกันนั้นอาจ
แบงออกไดหลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยูกับเกณฑที่เลือกใช และวัตถุชิ้นหนึ่งในเวลาเดียวกันจะตองอยูเพียง
ประเภทเดียวเทานั้น
ทักษะการหาพื้นที่และความสัมพันธระหวางพื้นที่และเวลา ( Using Space / Relationship)
หมายถึง การหาความสัมพันธระหวางมิติตาง ๆ ที่เกี่ยวกับสถานที่ รูปทรง ทิศทาง ระยะทาง พื้นที่ เวลา
ฯลฯ เชน การหาความสัมพันธระหวาง สเปสกับสเปส คือ การหารูปรางของวัตถุ โดยสังเกตจากเงาของ
วัตถุเมื่อใหแสงตกกระทบวัตถุในมุมตาง ๆ ฯลฯ
การหาความสัมพันธระหวาง เวลากับเวลา เชน การหาความสัมพันธระหวางจังหวะการแกวง
ของลูกตุมนาฬิกากับจังหวะการเตนของชีพจร ฯลฯ
การหาความสัมพันธระหวาง สเปสกับเวลา เชน การหาตําแหนงของวัตถุที่เคลื่อนที่ไปเมื่อเวลา
เปลี่ยนไป ฯลฯ
ทักษะการคํานวณและการใชจํานวน ( Using Numbers) หมายถึง การนําเอาจํานวนที่ไดจากการ
วัด การสังเกต และการทดลองมาจัดกระทําใหเกิดคาใหม เชน การบวก ลบ คูณ หาร การหาคาเฉลี่ย การ
หาคาตาง ๆ ทางคณิตศาสตร เพื่อนําคาที่ไดจากการคํานวณไปใชประโยชนในการแปลความหมาย และ
การลงขอสรุป ซึ่งในทางวิทยาศาสตรเราตองใชตัวเลขอยูตลอดเวลา เชน การอาน เทอรโมมิเตอร การตวง
สารตาง ๆ เปนตน
10

ทักษะการจัดกระทําและสื่อความหมายขอมูล ( Communication) หมายถึง การนําเอาขอมูล ซึ่ง


ไดมาจากการสังเกต การทดลอง ฯลฯ มาจัดกระทําเสียใหม เชน นํามาจัดเรียงลําดับ หาคาความถี่
แยกประเภท คํานวณหาคาใหม นํามาจัดเสนอในรูปแบบใหม ตัวอยางเชน กราฟ ตาราง แผนภูมิ
แผนภาพ วงจร ฯลฯ การนําขอมูลอยางใดอยางหนึ่ง หรือหลาย ๆ อยางเชนนี้เรียกวา การสื่อความหมาย
ขอมูล
ทักษะการลงความเห็นจากขอมูล ( Inferring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นใหกับขอมูลที่มี
อยูอยางมีเหตุผล โดยอาศัยความรูหรือประสบการณเดิมมาชวย ขอมูลอาจจะไดจากการสังเกต การวัด
การทดลอง การลงความเห็นจากขอมูลเดียวกันอาจลงความเห็นไดหลายอยาง
ทักษะการพยากรณ (Predicting) หมายถึง การคาดคะเนหาคําตอบลวงหนากอนการทดลอง โดย
อาศัยขอมูลที่ไดจากการสังเกต การวัด รวมไปถึงความสัมพันธระหวางตัวแปรที่ไดศึกษามาแลว หรือาศัย
ประสบการณที่เกิดซ้ํา ๆ
ทักษะการตั้งสมมุติฐาน ( Formulating Hypothesis) หมายถึง การคิดหาคาคําตอบลวงหนากอน
จะทําการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู ประสบการณเดิมเปนพื้นฐาน คําตอบที่คิดลวงหนายังไม
เปนหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมากอน คําตอบที่คิดไวลวงหนานี้ มักกลาวไวเปนขอความที่บอก
ความสัมพันธระหวางตัวแปรตนกับตัวแปรตามเชน ถาแมลงวันไปไขบนกอนเนื้อ หรือขยะเปยกแลวจะ
ทําใหเกิดตัวหนอน
ทักษะการควบคุมตัวแปร ( Controlling Variables) หมายถึง การควบคุมสิ่งอื่น ๆ นอเหนือจาก
ตัวแปรอิสระ ที่จะทําใหผลการทดลองคลาดเคลื่อน ถาหากวาไมควบใหเหมือน ๆ กัน และเปนการ
ปองกัน เพื่อมิใหมีขอโตแยง ขอผิดพลาดหรือตัดความไมนาเชื่อถือออกไป
ตัวแปรแบงออกเปน 3 ประเภท คือ
1. ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตน
2. ตัวแปรตาม
3. ตัวแปรที่ตองควบคุม
ทักษะการตีความและลงขอสรุป (Interpreting data)
ขอมูลทางวิทยาศาสตร สวนใหญจะอยูในรูปของลักษณะตาราง รูปภาพ กราฟ ฯลฯ การนําขอมูล
ไปใชจึงจําเปนตองตีความใหสะดวกที่จะสื่อความหมายไดถูกตองและเขาใจตรงกัน
การตีความหมายขอมูล คือ การบรรยายลักษณะและคุณสมบัติ
การลงขอสรุป คือ การบอกความสัมพันธของขอมูลที่มีอยู เชน ถาความดันนอย น้ําจะเดือดที่
อุณหภูมิต่ําหรือน้ําจะเดือดเร็ว ถาความดันมากน้ําจะเดือดที่อุณหภูมิสูงหรือน้ําจะเดือดชาลง
11

ทักษะการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ( Defining Operationally) หมายถึง การกําหนด


ความหมายและขอบเขตของคําตาง ๆ ที่มีอยูในสมมุติฐานที่จะทดลองใหมีความรัดกุม เปนที่เขาใจ
ตรงกันและสามารถสังเกตและวัดได เชน “การเจริญเติบโต” หมายความวาอยางไร ตองกําหนดนิยามให
ชัดเจน เชน การเจริญเติบโตหมายถึง มีความสูงเพิ่มขึ้น เปนตน
ทักษะการทดลอง ( Experimenting) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการ โดยใชทักษะตาง ๆ เชน
การสังเกต การวัด การพยากรณ การตั้งสมมุติฐาน ฯลฯ มาใชรวมกันเพื่อหาคําตอบ หรือทดลอง
สมมุติฐานที่ตั้งไว ซึ่งประกอบดวยกิจกรรม 3 ขัน้ ตอน
1. การออกแบบการทดลอง
2. การปฏิบัติการทดลอง
3. การบันทึกผลการทดลอง
การใชกระบวนการวิทยาศาสตร แสวงหาความรูหรือแกปญหาอยางสม่ําเสมอ ชวยพัฒนา
ความคิดสรางสรรคทางวิทยาศาสตร เกิดผลผลิตหรือผลิตภัณฑทางวิทยาศาสตรที่แปลกใหม และมีคุณคา
ตอการดํารงชีวิตของมนุษยมากขึ้น
คุณลักษณะของบุคคลที่มีจิตวิทยาศาสตร 6 ลักษณะ
1. เปนคนมีเหตุผล
1) จะตองเปนคนที่ยอมรับ และเชื่อในความสําคัญของเหตุผล
2) ไมเชื่อโชคลาง คําทํานาย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตาง ๆ
3) คนหาสาเหตุของปญหาหรือเหตุการณและหาความสัมพันธของสาเหตุกับผลที่เกิดขึ้น
4) ตองเปนบุคคลที่สนใจปรากฏการณตาง ๆ ที่เกิดขึ้น และจะตองเปนบุคคลที่พยายาม
คนหาคําตอบวา ปรากฏการณตาง ๆ นั้นเกิดขึ้นไดอยางไร และทําไมจึงเกิดเหตุการณ
เชนนัน้
2. เปนคนที่มีความอยากรูอยากเห็น
1) มีความพยายามที่จะเสาะแสวงหาความรูในสถานการณใหม ๆ อยูเสมอ
2) ตระหนักถึงความสําคัญของการแสวงหาขอมูลเพิ่มเติมเสมอ
3) จะตองเปนบุคคลที่ชอบซักถาม คนหาความรูโดยวิธีการตาง ๆ อยูเสมอ
3. เปนบุคคลที่มีใจกวาง
1) เปนบุคคลที่กลายอมรับการวิพากษวิจารณจากบุคคลอื่น
2) เปนบุคคลที่จะรับรูและยอมรับความคิดเห็นใหม ๆ อยูเสมอ
3) เปนบุคคลที่เต็มใจที่จะเผยแพรความรูและความคิดใหแกบุคคลอื่น
4) ตระหนักและยอมรับขอจํากัดของความรูที่คนพบในปจจุบัน
12

4. เปนบุคคลที่มีความซื่อสัตย และมีใจเปนกลาง
1) เปนบุคคลที่มีความซื่อตรง อดทน ยุติธรรม และละเอียดรอบคอบ
2) เปนบุคคลที่มีความมั่นคง หนักแนนตอผลที่ไดจากการพิสูจน
3) สังเกตและบันทึกผลตาง ๆ อยางตรงไปตรงมา ไมลําเอียงและมีอคติ
5. มีความเพียรพยายาม
1) ทํากิจกรรมที่ไดรับมอบหมายใหเสร็จสมบูรณ
2) ไมทอถอย เมื่อผลการทดลองลมเหลว หรือมีอุปสรรค
3) มีความตั้งใจแนวแนตอการคนหาความรู
6. มีความละเอียดรอบคอบ
1) รูจักใชวิจารณญาณกอนที่จะตัดสินใจใด ๆ
2) ไมยอมรับสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนกวาจะมีการพิสูจนที่เชื่อถือได
3) หลีกเลี่ยงการตัดสินใจ และการสรุปผลที่ยังไมมีการวิเคราะหแลวเปนอยางดี
13

แบบทดสอบ ทักษะวิทยาศาสตร
คําชี้แจง
จงนําตัวอักษรหนาทักษะตาง ๆ ไปเติมหนาขอที่สัมพันธกัน
ก. ทักษะการสังเกต
ข. ทักษะการวัด
ค. ทักษะการคํานวณ
ง. ทักษะการจําแนกประเภท
จ. ทักษะการทดลอง

............1. ด.ญ.อริษากําลังทดสอบวิทยาศาสตร
............2. ด.ญ.วิไล วัดอุณหภูมิของอากาศได 40 ํC
............3. มามี 4 ขา สุนัข มี4 ขา ไกมี 2 ขา นกมี 2 ขา ชางมี 4 ขา
............4. ด.ญ. พนิดา กําลังเทสารเคมี
............5. ด.ช. สุบินใชตลับเมตรวัดความยาวของสนามตะกรอ
............6. ด.ญ. อพิจิตรแบงผลไมได 2 กลุม คือ กลุมรสเปรี้ยวและรสหวาน
............7. ด.ญ.วรรณนิภา ดูภาพยนตรวิทยาสาสตร 3 มิติ
............8. ด.ญ. นันทพร หยดสารละลายไอโอดีน ลงบนขาวเหนียวทีเ่ ตรียมไว
............9. รูปทรงกระบอกมีความสูงประมาณ 4 นิ้ว ผิวเรียบ
............10. นักวิทยาศาสตรแบงพืชออกเปน 2 พวก คือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู

กิจกรรม ที่ 1 กระบวนการทางวิทยาศาสตร


ใหนักศึกษาออกแบบแกปญหาจากสถานการณตอไปนี้

โดยมีอุปกรณ ดังนี้ เมล็ดถั่ว ถวยพลาสติก กระดาษทิชชู น้ํา กระดาษสีดํา

กําหนดปญหา.................................................................................................................................
การตั้งสมมติฐาน....................................................................................................................................
การกําหนดตัวแปร
ตัวแปรตน...................................................................................................................................
ตัวแปรตาม................................................................................................................................
ตัวแปรควบคุม................................................................................................................................
14

การทดลอง........................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
15

เรื่องที่ 2 เทคโนโลยี
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง ความรู วิชาการรวมกับความรูวิธีการและความชํานาญที่
สามารถนําไปปฏิบัติใหเกิดประโยชนสูงสุด สนองความตองการของมนุษยเปนสิ่งที่มนุษยพัฒนาขึ้น
เพื่อชวยในการทํางานหรือแกปญหาตาง ๆ เชน อุปกรณ , เครื่องมือ , เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แมกระทั่งที่
ไมไดเปนสิ่งของที่จับตองได เชน ระบบหรือกระบวนการตาง ๆ เทคโนโลยี มีความสัมพันธกับการ
ดํารงชีวิตของมนุษยมาเปนเวลานาน เปนสิ่งที่มนุษยใชแกปญหาพื้นฐาน ในการดํารงชีวิต เชน การ
เพาะปลูก ที่อยูอาศัย เครื่องนุงหม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นํามาใช เปน เทคโนโลยีพื้นฐาน
ไมสลับซับซอนเหมือนดังปจจุบัน การเพิ่มของประชากร และขอจํากัดดานทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมี
การพัฒนาความสัมพันธกับตางประเทศเปนปจจัยดานเหตุสําคัญในการนําและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช
มากขึ้น

เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ

1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนําเทคโนโลยีมาใชในการผลิต ทําใหประสิทธิภาพ


ในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดตนทุนและ รักษาสภาพแวดลอม เทคโนโลยีที่มีบทบาท
ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เชน คอมพิวเตอร และอิเล็กทรอนิกส การสื่อสาร
เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร การสื่อสาร การแพทย
เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร เชน พลาสติก แกว วัสดุกอสราง โลหะ
2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาดานการเกษตร ใชเทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ เปนตน
เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอยางมาก แตทั้งนี้การนําเทคโนโลยีมาใชในการพัฒนาจะตอง
ศึกษาปจจัยแวดลอมหลายดาน เชน ทรัพยากรสิ่งแวดลอม ความเสมอภาคในโอกาสและการ
แขงขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อใหเกิดความ ผสมกลมกลืนตอการพัฒนาประเทศชาติและ
สวนอื่น ๆ อีกมาก

เทคโนโลยีที่ใชในชีวิตประจําวัน

การนําเทคโนโลยีมาใชในชีวิตประจําวันของมนุษยมีมากมายเนื่องจากการไดรับการพัฒนา
ทางดานเทคโนโลยีกันอยางกวางขวาง เชน การสงจดหมายผานทางอินเตอรเน็ต การหาความรูผาน
อินเตอรเน็ต การพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน การอานหนังสือผานอินเตอรเน็ต ลวนแตเปน
เทคโนโลยีที่มีความกาวหนาอยางรวดเร็ว เปนการประหยัดเวลาและสามารถหาความรูตาง ๆ ไดรวดเร็ว
ยิ่งขึ้น
16

เทคโนโลยีกอเกิดผลกระทบตอสังคมและพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเขาไปเกี่ยวของในหลายรูปแบบ
เทคโนโลยีไดชวยใหสังคมหลาย ๆ แหงเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกใน
ปจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใชเทคโนโลยีไดกอให เกิดผลผลิตที่ไมตองการ หรือเรียกวา
มลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเปนการทําลายสิ่งแวดลอม เทคโนโลยีหลาย ๆ อยางที่ถูก
นํามาใชมีผลตอคานิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคําถามทาง
จริยธรรม
เทคโนโลยีทเ่ี หมาะสม
คําวาเทคโนโลยีที่เหมาะสม หมายความถึงเหมาะสมตอสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความตองการ
ของประเทศ เทคโนโลยีบางเรื่องเหมาะสมกับบางประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยูกับสภาวะของแตละประเทศ
1. ความจําเปนที่นําเทคโนโลยีมาใชในประเทศไทย ประชาชนสวนใหญเปนเกษตรกร รายได
จากผลผลิตทางการเกษตรมีมากกวารายไดอยางอื่น และประมาณรอยละ 80 ของประชากรอาศัยอยูใน
ชนบท ดังนั้นการนําเทคโนโลยีมาใชจึงเปนเรื่องจําเปน โดยเฉพาะอยางยิ่งเทคโนโลยีทางการเกษตร
สินคาทางการเกษตร สวนใหญสงออกจําหนายตางประเทศในลักษณะวัตถุดิบ เชน การขายเมล็ดโกโกให
ตางประเทศแลวนําไปผลิตเปนช็อคโกแลต หากตั้งโรงงานในประเทศไทยตองใชเทคโนโลยีเขามามี
บทบาทในการพัฒนาการแปรรูป
2. เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีผูรูหลายทานไดตีความหมายของคําวา “เหมาะสม” วาเหมาะสมกับ
อะไรตอเศรษฐกิจระยะเวลาหรือระดับเทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคโนโลยีที่สามารถนํามาใชใหเกิด
ประโยชนตอการดําเนินกิจการตาง ๆ และสอดคลองกับความรู ความสามารถ ประสบการณ
สภาพแวดลอม วัฒนธรรมสิ่งแวดลอม และกําลังเศรษฐกิจของคนทั่วไป
เทคโนโลยีที่เกี่ยวของ ไดแก
1. การตัดตอยีน (genetic engineering) เทคโนโลยีดเี อ็นเอสายผสม ( recombinant DNA) และ
เทคโนโลยีโมเลกุลเครื่องหมาย (molecular markers)
2. การเพาะเลี้ยงเซลล และ/หรือ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (cell and tissue culturing) พืช และสัตว
3. การใชประโยชนจุลินทรียบางชนิดหรือใชประโยชนจากเอนไซนของจุลินทรีย
เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ไดแกการพัฒนาการเกษตร ดานพืช และสัตว ดวยเทคโนโลยีชีวภาพ
1. การปรับปรุงพันธุพืชและการผลิตพืชพันธุใหมcrop ( improvement) เชน พืชไร พืชผัก ไมดอก
2. การผลิตพืชพันธุดีใหไดปริมาณมาก ๆ ในระยะเวลาอันสั้น ในระยะเวลาอัน(micropropaagation)
สั้น
3. การผสมพันธุสัตวและการปรับปรุงพันธุสัตว (breeding and upgrading of livestocks)
4. การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธbiological
ี( pest control) และจุลินทรียที่ชวยรักษาสภาพแวดลอม
5. การปรับปรุงขบวนการการผลิตอาหารใหมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยตอผูบริโภค
6. การริเริ่มคนควาหาทรัพยากรธรรมชาติมาใชประโยชน ( search for utilization of unused
resources) และการสรางทรัพยากรใหม
17

เรื่องที่ 3 วัสดุและอุปกรณทางวิทยาศาสตร
อุปกรณทางวิทยาศาสตร คือเครื่องมือที่ ใชทั้งภายในและภายนอกหองปฏิบัติการเพื่อใชทดลองและหา
คําตอบตางๆทางวิทยาศาสตร

ประเภทของเครื่องมือทางวิทยาศาสตร
1. ประเภททั่วไป เชน บีกเกอร หลอดทดสอบ ไพเพท บิวเรต กระบอกตวง หลอด หยดสาร
แทงแกวคนสาร ซึ่งอุปกรณเหลานี้ผลิตขึ้นจากวัสดุที่เปนแกว เนื่องจากปองกันการทําปฏิกิริยากับสารเคมี
นอกจากนี้ยังมี เครื่องชั่งแบบตางๆ กลองจุลทรรศน ตะเกียงแอลกอฮอลเปนตน ซึ่งอุปกรณเหลานี้วิธีใช
งานที่แตกตางกันออกไป ตามลักษณะของงาน
2. ประเภทเครื่องมือชาง เปนอุปกรณที่ใชไดทั้งภายในหองปฏิบัติการ และภายนอก
หองปฏิบัติการ เชน เวอรเนีย คีม และแปลง เปนตน
3. ประเภทสิ้นเปลือง และสารเคมี เปนอุปกรณทางวิทยาศาสตรที่ใชแลวหมดไปไมสามารถนํา
กลับมาใชไดอีก เชน กระดาษกรอง กระดาษลิตมัส และสารเคมี

การใชอุปกรณทางวิทยาศาสตรประเภทตางๆ
1.การใชงานอุปกรณวิทยาศาสตรประเภททั่วไป
บีกเกอร(BEAKER)
บีกเกอรมีหลายขนาดและมีความจุตางกัน โดยที่ขางบีกเกอรจะมีตัวเลขระบุความจุของบีกเกอร ทํา
ใหผูใชสามารถทราบปริมาตรของของเหลวที่บรรจุอยูไดอยางคราวๆ และบีกเกอรมีความจุตั้งแต 5
มิลลิเมตรจนถึงหลายๆลิตร อีกทั้งเปนแบบสูง แบบเตี้ย และแบบรูปทรงกรวย ( conical beaker) บีกเกอร
จะมีปากงอเหมือนปากนกซึ่งเรียกวา spout ทําใหการเทของเหลวออกไดโดยสะดวก spout ทําใหสะดวก
ในการวางไมแกวซึ่งยื่นออกมาจากฝาที่ปดบีกเกอร และ spout ยังเปนทางออกของไอน้ําหรือแกสเมื่อทํา
การระเหยของเหลวในบีกเกอรที่ปดดวยกระจกนาฬิกา (watch grass)
การเลือกขนาดของบีกเกอรเพือ่ ใสของเหลวนัน้
ขึ้นอยูกับปริมาณของเหลวที่จะใส โดยปกติใหระดับ
ของเหลวอยูต่ํากวาปากบีกเกอรประมาณ 1 - 1 1/2 นิ้ว
ประโยชนของบีกเกอร
1. ใชสําหรับตมสารละลายที่มีปริมาณมากๆ
2. ใชสําหรับเตรียมสารละลายตางๆ
3. ใชสําหรับตกตะกอนและใชระเหยของเหลวที่มีฤทธิ์กรดนอย
18

หลอดทดสอบ ( TEST TUBE )


หลอดทดสอบมีหลายชนิดและหลายขนาด ชนิดที่มีปากและไมมีปาก ชนิดธรรมดาและชนิดทน
ไฟ ขนาดของหลอดทดสอบระบุได 2 แบบคือ ความยาวกับเสนผาศูนยกลางริมนอกหรือขนาดความจุเปน
ปริมาตร ดังแสดงในตารางตอไปนี้

ความยาว * เสนผาศูนยกลางริมนอก ความจุ


(มิลิเมตร) (มิลิเมตร)
75 * 11 4
100 * 12 8
120 * 15 14
120 * 18 18
150 * 16 20
150 * 18 27
หลอดทดสอบสวนมากใชสําหรับทดลองปฏิกิริยาเคมีระหวางสารตางๆ ที่เปนสารละลาย ใชตม
ของเหลวที่มีปริมาตรนอยๆ โดยมี test tube holder จับกันรอนมือ
หลอดทดสอบแบบทนไฟจะมีขนาดใหญ และหนากวาหลอดธรรมดา ใชสําหรับเผาสารตางๆ
ดวยเปลวไฟโดยตรงในอุณหภูมิที่สูง หลอดชนิดนี้ไมควรนําไปใชสําหรับทดลองปฏิกิริยาเคมีระหวาง
สารเหมือนหลอดธรรมดา

ไพเพท (PIPETTE)
ไพเพทเปนอุปกรณที่ใชในการวัดปริมาตรไดอยางใกลเคียง มีอยูหลาย
ชนิด แตโดยทั่วไปที่มีใชอยูในหองปฏิบัติการมีอยู 2 แบบ คือ Volumetric pipette
หรือ Transfer pipette และ Measuring pipette Transfer pipette ซึ่งใชในการวัด
ปริมาตรไดเพียงคาเดียว คือถาหาก Transfer pipette จุ 25 มล. ก็จะวัดปริมาตรของ
ของเหลวไดเฉพาะ 25 มล. เทานั้น Transfer pipette มีหลายขนาดตั้งแต 1 มล. ถึง
100 มล. ถึงแมไพเพทชนิดนี้จะใชวัดปริมาตรไดอยางใกลเคียงความจริงก็ตาม แต
ก็ยังมีขอผิดพลาดซึ่งขึ้นอยูกับขนาดของไพเพท เชน
Transfer pipette ขนาด 10 มล. มีความผิดพลาด 0.2%
Transfer pipette ขนาด 30 มล. มีความผิดพลาด 0.1%
Transfer pipette ขนาด 50 มล. มีความผิดพลาด 0.1%
19

Transfer pipette ใชสําหรับสงผานของสารละลาย ที่มีปริมาตรตามขนาดของไพเพท เมือ่ ปลอย


สารละลายออกจากไพเพทแลว หามเปาสารละลายที่ตกคางอยูที่ปลายของไพเพท แตควรแตะปลายไพ
เพทกับขางภาชนะเหนือระดับสารละลายภายในภาชนะนั้นประมาณ 30 วินาที เพื่อใหสารละลายที่อยูขาง
ในไพเพทไหลออกมาอีก ไพเพทชนิดนี้ใชไดงายและเร็วกวาบิวเรท Measuring pipette หรือ Graduated
pipette (บางทีเรียกวา Mohr pipette) จะมีขีดบอกปริมาตรตาง ๆ ไว ทําใหสามารถใชไดอยางกวางขวาง
คือสามารถใชแทน Transfer pipette ได แตใชวดั ปริมาตรไดแนนอนนอยกวา Transfer pipette และมี
ความผิดพลาดมากกวา เชน
Measuring pipette ขนาด 10 มล. มีความผิดพลาด 0.3%
Measuring pipette ขนาด 30 มล. มีความผิดพลาด 0.3%

บิวเรท (BURETTE)
บิวเรทเปนอุปกรณวัดปริมาตรที่มีขีดบอกปริมาตรตางๆ และมีก็อกสําหรับเปด -ปด เพื่อบังคับ
การไหลของของเหลว บิวเรทเปนอุปกรณที่ใชในการวิเคราะห มีขนาดตั้งแต 10 มล. จนถึง 100 มล. บิว
เรท สามารถวัดปริมาตรไดอยางใกลเคียงความจริงมากที่สุด แตก็ยังมีความผิดพลาดอยูเล็กนอย ซึ่งขึ้นอยู
กับขนาดของบิวเรท เชน
บิวเรทขนาด 10 มล. มีความผิดพลาด 0.4%
บิวเรทขนาด 25 มล. มีความผิดพลาด 0.24%
บิวเรทขนาด 50 มล. มีความผิดพลาด 0.2%

บิวเรท ขนาด 100 มล. มีความผิดพลาด 0.2%

เครื่องชั่ง ( BALANCE )
โดยทั่วไปจะมี 2 แบบคือ แบบ triple-beam และ แบบ equal-arm
แบบ triple-beam
เปนเครื่องชั่งชนิด Mechanical balance อีกชนิดหนึ่งที่มีราคาถูกและใชงาย แตมคี วามไวนอย
เครื่องชั่งชนิดนี้มีแขนขางขวาอยู 3 แขนและในแตละแขนจะมีขดี บอกน้าํ หนักไวเชน 0-1.0 กรัม 0-10
กรัม 0-100 กรัม และยังมีตุมน้ําหนักสําหรับเลื่อนไปมาไดอีกดวย แขนทั้ง 3 นี้ติดกับเข็มชี้อันเดียวกัน
20

วิธีการใชเครื่องชั่งแบบ (Triple-beam balance)


1. ตั้งเครื่องชั่งใหอยูในแนวระนาบ แลวปรับใหแขนของเครื่องชั่งอยูในแน วระนาบโดยหมุนสก
รูใหเข็มชี้ตรงขีด 0
2. วางขวดบรรจุสารบนจานเครื่องชั่ง แลวเลื่อนตุมน้ําหนักบนแขนทั้งสามเพื่อปรับใหเข็มชี้ตรง
ขีด 0 อานน้ําหนักบนแขนเครื่องชั่งจะเปนน้ําหนักของขวดบรรจุสาร
3. ถาตองการชั่งสารตามน้ําหนักที่ตองการก็บวกน้ําหนักของสารกับน้ําหนักของขวดบรรจุสารที่
ไดในขอ 2 แลวเลื่อนตุมน้ําหนักบนแขนทั้ง 3 ใหตรงกับน้ําหนักที่ตองการ
4. เติมสารที่ตองการชั่งลงในขวดบรรจุสารจนเข็มชี้ตรงขี0ดพอดี จะไดน้ําหนักของสารตามตองการ
5. นําขวดบรรจุสารออกจากจานของเครื่องชั่งแลวเลื่อนตุมน้ําหนักทุกอันใหอยูที่ 0 ทําความ
สะอาดเครื่องชั่งหากมีสารเคมีหกบนจานหรือรอบๆ เครื่องชั่ง
แบบ equal-arm

เปนเครื่องชั่งที่มีแขน 2 ขางยาวเทากันเมื่อ
วัดระยะจากจุดหมุนซึ่งเปนสันมีด ขณะที่
แขนของเครื่องชั่งอยูในสมดุล เมือ่ ตองการ
หาน้าํ หนักของสารหรือวัตถุ ใหวางสารนัน้
บนจานดานหนึ่งของเครื่องชั่ง ตอนนีแ้ ขน
ของเครื่องชั่งจะไมอยูในภาวะที่สมดุลจึง
ตองใสตุมน้ําหนักเพื่อปรับใหแขนเครื่องชั่ง
อยูในสมดุล

วิธีการใชเครื่องชั่งแบบ (Equal-arm balance)


1.จัดใหเครื่องชั่งอยูในแนวระดับกอนโดยการปรับสกรูที่ขาตั้งแลวหาสเกลศูนยของเครื่องชั่ง
เมื่อไมมีวัตถุอยูบนจาน ปลอยที่รองจาน แลวปรับใหเข็มชี้ที่เลข 0 บนสเกลศูนย
2. วางขวดบรรจุสารบนจานทางดานซายมือและวางตุมน้ําหนักบนจานทางขวามือของเครื่องชั่ง
โดยใชคีบคีม
3. ถาเข็มชี้มาทางซายของสเกลศูนยแสดงวาขวดชั่งสารเบากวาตุมน้ําหนัก ตองยกปุมควบคุม
คานขึ้นเพื่อตรึงแขนเครื่องชั่งแลวเติมตุมน้ําหนักอีกถาเข็มชี้มาทางขวาของสเกลศูนยแสดงวาขวดชั่งสาร
เบากวาตุมน้ําหนัก ตองยกปุมควบคุมคานขึ้นเพื่อตรึงแขนเครื่องชั่งแลวเอาตุมน้ําหนักออก
4. ในกรณีที่ตุมน้ําหนักไมสามารถทําใหแขนทั้ง 2 ขางอยูในระนาบได ใหเลื่อนไรเดอรไปมาเพื่อ
ปรับใหน้ําหนักทั้งสองขางใหเทากัน
5. บันทึกน้ําหนักทั้งหมดที่ชั่งได
21

6. นําสารออกจากขวดใสสาร แลวทําการชั่งน้ําหนักของขวดใสสาร
7. น้ําหนักของสารสามารถหาไดโดยนําน้ําหนักที่ชั่งไดครั้งแรกลบน้ําหนักที่ชั่งไดครั้งหลัง
8. หลังจากใชเครื่องชั่งเสร็จแลวใหทําความสะอาดจาน แลวเอาตุม น้าํ หนักออกและเลือ่ นไรเดอร
ใหอยูที่ตําแหนงศูนย

2. การใชงานอุปกรณวิทยาศาสตรประเภทเครื่องมือชาง
เวอรเนีย (VERNIER )
เปนเครื่องมือที่ใชวัดความยาวของวัตถุทั้งภายใน และภายนอกของชิ้นงาน เวอรเนียคาลิเปอรมีลักษณะ

สวนประกอบของเวอรเนีย

สเกลหลัก A เปนสเกลไมบรรทัดธรรมดา ซึ่งเปนมิลลิเมตร (mm) และนิว้ (inch)


สเกลเวอรเนีย B ซึ่งจะเลื่อนไปมาไดบนสเกลหลัก
ปากวัด C – D ใชหนีบวัตถุที่ตองการวัดขนาด
ปากวัด E–F ใชวดั ขนาดภายในของวัตถุ
แกน G ใชวัดความลึก
ปุม H ใชกดเลื่อนสเกลเวอรเนียไปบนสเกลหลัก
สกรู I ใชยึดสเกลเวอรเนียใหติดกับสเกลหลัก

การใชเวอรเนีย
1. ตรวจสอบเครื่องมือวัด ดังนี้
1.1 ใชผาเช็ดทําความสะอาด ทุกชิ้นสวนของเวอรเนียรกอนใชงาน
1.2 คลายล็อคสกรู แลวทดลองเลือ่ นเวอรเนียสเกลไป-มาเบา ๆ เพื่อตรวจสอบดูวาสามารถใช
งานไดคลองตัวหรือไม
22

1.3 ตรวจสอบปากวัดของเวอรเนียโดยเลือ่ นเวอรเนียรสเกลใหปากเวอรเนียวัดนอกเลือ่ นชิด


ติดกันจากนั้นยกเวอรเนียรขึ้นสองดูวา บริเวณปากเวอรเนียร มีแสงสวางผานหรือไม ถาไมมีแสดงวา
สามารถใชงานไดดี กรณีที่แสงสวางสามารถลอดผานได แสดง วาปากวัดชํารุดไมควรนํามาใชวัดขนาด
2. การวัดขนาดงาน ตามลําดับขั้นดังนี้
2.1 ทําความสะอาดบริเวณผิวงานที่ตองการวัด
2.2 เลือกใชปากวัดงานใหเหมาะสมกับลักษณะงานที่ตองการ เชน ถาตองการวัดขนาดภายนอก
เลือกใชปากวัดนอก วัดขนาดดานในชิน้ งานเลือใชปากวัดใน ถาตองการวัดขนาดงานที่ที่เปนชองเล็ก ๆ
ใชบริเวณสวนปลายของปากวัดนอก ซื่งมีลักษณะเหมือนคมมีดทั้ง 2 ดาน
2.3 เลื่อนเวอรเนียรสเกลใหปากเวอรเนียรสัมผัสชิ้นงาน ควรใชแรงกดใหพอดีถาใชแรงมาก
เกินไป จะทําใหขนาดงานที่อานไมถูกตองและปากเวอรเนียรจะเสียรูปทรง
2.4 ขณะวัดงาน สายตาตองมองตั้งฉากกับตําแหนงที่อาน แลวจึงอานคา
3. เมื่อเลิกปฏิบัติงาน ควรทําความสะอาด ชะโลมดวยน้ํามัน และเก็บรักษาดวยความระมัดระวัง ในกรณีที่
ไมไดใชงานนาน ๆ ควรใชวาสลีนทาสวนทีจ่ ะเปนสนิม

คีม(TONG)
คีมมีอยูหลายชนิด คีมที่ใชกับขวดปริมาตรเรียกวา flask tong คีมที่ใชกับบีกเกอรเรียกวา beaker tong
และคีมที่ใชกับเบาเคลือบเรียกวา crucible tong ซึ่งทําดวยนิเกิ้ลหรือโลหะเจือเหล็กที่ไมเปนสนิม แต
อยานํา crucible tong ไปใชจับบีกเกอรหรือขวดปริมาตรเพราะจะทําใหลื่นตกแตกได

3.การใชงานอุปกรณวิทยาศาสตรประเภทสิ้นเปลืองและสารเคมี
กระดาษกรอง (FILTER PAPER) เปนกระดาษที่กรองสารที่อนุภาคใหญออกจากของเหลวซึ่งมี
ขนาดของอนุภาคที่เล็กกวา
กระดาษลิตมัส (LITMUS)เปน กระดาษ ที่ใชทดสอบสมบัติความเปน กรด -เบส ของ ของเหลว
กระดาษลิตมัสมีสองสีคือ สีแดง หรือ สีชมพู และ สีน้ําเงิน หรือ สีฟา วิธีใชคือการสัมผัสของเหลวลงบน
กระดาษ ถาหากของเหลวมีสภาพเปนกรด ( pH < 4.5) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีน้ําเงินเปนสีแดง และ
ในทางกลับกันถาของเหลวมีสภาพเปนเบส ( pH > 8.3) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีแดงเปนสีน้ําเงิน ถาหาก
เปนกลาง (4.5 ≤ pH ≤ 8.3) กระดาษทั้งสองจะไมเปลี่ยนสี
สารเคมี หมายถึง สารที่ประกอบดวยธาตุเดียวกันหรือสารประกอบจากธาตุตางๆรวมกันดวย
พันธะเคมีซึ่งในหองปฏิบัติการจะมีสารเคมีมากมาย
23

แบบทดสอบเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร
คําชี้แจง จงเลือกคําตอบที่ถูกที่สุด
1. คาน้ําที่บาน 3 เดือนที่ผานมาสูงกวาปกติ จากขอความเกิดจากทักษะขอใด
ก. สังเกต
ข. ตั้งปญหา
ค. ตั้งสมมติฐาน
ง. ออกแบบการทดลอง

2. จากขอ 1 นักเรียนพบวา ทอประปารั่วจึงทําใหคาน้ําสูงกวาปกตินักเรียนใชวิธีการทางวิทยาศาสตร


ขอใดในการตรวจสอบขอเท็จจริง
ก. ตั้งปญหา
ข. ตั้งสมมติฐาน
ค. ออกแบบการทดลอง
ง. สรุปผล
3. ลักษณะนิสัยของนักวิทยาศาสตรขอใดที่ทําใหงานประสบความสําเร็จ
ก. ชอบจดบันทึก
ข. รักการอาน
ค. ชอบคนควา
ง. ความพยายามและอดทน
4. นอยสวมเสื้อสีดําเดินทาง 2 กิโลเมตร และเปลีย่ นเสือ้ ตัวใหมเปนสีขาวเดินในระยะทางเทากันและ
วัดอุณหภูมิจากตัวเองหลังเดินทางทั้ง 2 ครั้ง ปรากฏวาไมเทากัน ปญหาของนอยคือขอใด
ก. สีใดมีความรอนมากกวากัน
ข. สีมีผลตออุณหภูมิของรางกายหรือไม
ค. สีดํารอนกวาสีขาว
ง. สวมเสื้อสีขาวเย็นกวาสีดํา
5. แกวเลีย้ งแมว 2 ตัว ตัว 1 กินนมกับปลายางและขาวสวย ตัวที่ 2กินปลาทูกับขาวสวย 4 สัปดาห
ตอมาปรากฏวาแมวทั้งสองตัวมีน้ําหนักเพิ่มขึ้นเทากัน ปญหาของแกวกอนการทดลองคือขอใด
ก. ปลาอะไรที่แมวชอบกิน
ข. แมวชอบกินปลาทูหรือปลายาง
ค. ชนิดของอาหารมีผลตอการเจริญเติบโตหรือไม
ง. ปลาทูทําใหแมวสองตัวน้ําหนักเพิ่มขึ้นเทากัน
24

6. ตอยทําเสื้อเปอนดวยคราบอาหารจึงนําไปซัก ดวยผงซักฟอก A ปรากฏวาไมสะอาด จึงนําไปซักดวย


ผงซักฟอก B ปรากฏวาสะอาด กอนการทดลองตอยตั้งปญหาวาอยางไร
ก. ชนิดของผงซักฟอกมีผลตอการลบรอยเปอนหรือไม
ข. ผงซักฟอก A ซักผาไดสะอาดกวาผงซักฟอก B
ค. ผงซักฟอกใดซักไดสะอาดกวากัน
ง. ถาผงซักฟอก B จะสะอาดกวาผงซักฟอก A
7. นําน้ํา 400 ลูกบาศกเซนติเมตรใสลงในภาชนะ ทองแดง และสังกะสี อยางละเทาๆกัน ตมใหเดือด
ปรากฏวาน้ําในภาชนะอลูมิเนียมเดือดกอนน้ําในภาชนะสังกะสี การทดลองนี้ตั้งสมมติฐานวาอยางไร
ก. ถาตมน้ําเดือดในปริมาณที่เทากันจะเดือดในเวลาเดียวกัน
ข. ถาตมน้ําเดือดดวยภาชนะที่ทําดวยอลูมิเนียมดังนั้นน้ําจะเดือดเร็วกวาการตมดวยภาชนะ
สังกะสี
ค. ถาตมน้าํ ทีท่ าํ ดวยภาชนะโลหะชนิดเดียวกันจะเดือดในเวลาเดียวกัน
ง. ถาตมน้ําเดือดดวยภาชนะที่ตางชนิดกันจะเดือดในเวลาตางกัน
8. จากปญหา “ชนิดของเสียงจะมีผลตอการเจริญเติบโตของไกหรือไม” ควรจะตั้งสมมติฐานวาอยางไร
ก. จังหวะของเพลงมีผลตอการเจริญเติบโตของไกหรือไม
ข. ไกที่ชอบฟงเพลงจะโตดีกวาไกที่ไมฟงเพลง
ค. ถาไกฟงเพลงไทยเดิมจะโตดีกวาไกฟงเพลงสากล
ง. ไกที่ฟงเพลงสากลและเพลงไทยเดิมจะโตเทากัน
9. จากปญหา"ผงซักฟอกมีผลตอการเจริญเติบโตของผักกระเฉดหรือไม "สมมติฐาน กอนการทดลองคือขอใด
ก. ถาใชผงซักฟอกเทลงในน้ําดังนั้นผักกระเฉดจะเจริญเติบโตดี
ข. พืชจะเจริญเติบโตดีเมื่อใสผงซักฟอก
ค. ผงซักฟอกมีสารทําใหผักกระเฉดเจริญเติบโตดี
ง. ผักกระเฉดจะเจริญเติบโตหรือไมถาขาดผงซักฟอก
10. นิ้งใชสําลีกรองน้ํา นอยใชใยบวบกรองน้ํา 2 คน ใชวิธีการทดลองเดียวกันทั้ง 2 คน ใชสมมติฐาน
รวมกันในขอใด
ก. สาร ขอใดกรองน้ําไดใสกวากัน
ข. น้าํ ใสสะอาดดวยสําลีและใยบวบ
ค. ถาไมใชใยบวบและสําลีน้ําจะไมใสสะอาด
ง. ถาใชใยบวบกรองน้ําดังนั้นน้ําจะใสสะอาดกวาใชสําลี
25

11. เมื่อใสน้ําแข็งลงในแกว แลวตั้งทิ้งไวสักครูจะพบวารอบนอกของแกวมีหยดน้ําเกาะอยูเต็ม ขอใดเปน


ผลจากการสังเกต และบันทึกผล
ก. มีหยดน้าํ ขนาดเล็กและขนาดใหญเกาะอยูจ าํ นวนมากทีผ่ วิ แกว
ข. ไอน้ําในอากาศกลั่นตัวเปนหยดน้ําเกาะอยูรอบๆแกว
ค. แกวน้ํารั่วเปนเหตุใหน้ําซึมออกมาที่ผิวนอก
ง. หยดน้ําที่เกิดเปนกระบวนการเดียวกับการเกิดน้ําคาง
12. กระบวนการทางวิทยาศาสตรขั้นตอนใด ที่จะนําไปสูการสรุปผล และการศึกษาตอไป
ก. การตั้งสมมติฐานและการออกแบบการทดลอง
ข. การสังเกต
ค. การรวบรวมขอมูล
ง. การหาความสัมพันธของขอเท็จจริง
13. ในการออกแบบการทดลองจะตองยึดอะไรเปนหลัก
ก. สมมติฐาน ข. ขอมูล
ค. ปญหา ง. ขอเท็จจริง
14. สมมติฐานทางวิทยาศาสตรจะเปลี่ยนเปนทฤษฎีไดเมื่อใด
ก. เปนที่ยอมรับโดยทั่วไป
ข. อธิบายไดกวางขวาง
ค. ทดสอบแลวเปนจริงทุกครั้ง
ง. มีเครื่องมือพิสูจน
15. อุปกรณตอไปนี้ ขอใดเปนอุปกรณสําหรับหาปริมาตรของสาร
ก. หลอดฉีดยา
ข. กระบอกตวง
ค. เครื่องชั่งสองแขน
ง. ถูกทั้งขอ ก. และขอ ข.
16. ในกระบวนการทางวิทยาศาสตร ถาหากผลการทดลองที่ไดจากการทดสอบสมมติฐาน ไมสอดคลอง
กับสมมติฐาน จะตองทําอยางไร
ก. สังเกตใหม
ข. ตั้งปญหาใหม
ค. ออกแบบการทดลองใหม
ง. เปลี่ยนสมมติฐาน
26

17. ขอใดเรียงลําดับขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตรไดถูกตอง
ก. การตั้งสมมติฐาน การรวบรวมขอมูล การทดลอง และสรุปผล
ข. การตั้งสมมติฐาน การสังเกตและปญหา การตรวจสอบสมมติฐานและการทดลอง และสรุปผล
ค. การสังเกตและปญหา การทดลองและตั้งสมมติฐาน การตรวจสอบสมมติฐาน และสรุปผล
ง. การสังเกตและปญหา การตั้งสมมติฐานการตรวจสอบสมมติฐานและการทดลอง และสรุปผล
18. นักวิทยาศาสตรจะสรุปผลการทดลองไดอยางมีความเชื่อมั่นเมื่อใด
ก. ออกแบบการทดลองที่มีการควบคุมตัวแปรตางๆ อยางรัดกุมมากที่สุด
ข. กําหนดปญหาและตั้งสมมติฐานที่ดี
ค. รวบรวมขอมูลจากแหลงตางๆ มาเปรียบเทียบกับผลการทดลองไดถูกตองตรงกัน
ง. ผลการทดลองสอดคลองตามทฤษฎีที่มีอยูเดิม
19. วิธีการทางวิทยาศาสตรขั้นตอนใด ที่ถือวาเปนความกาวหนาทางวิทยาศาสตรอยางแทจริง
ก. การตั้งปญหาและการตั้งสมมติฐาน
ข. การตรวจสอบสมมติฐาน
ค. การตั้งสมมติฐาน
ง. การตั้งปญหา
20. ขอใดเปนลักษณะของสมมติฐานที่ดี
ก. สามารถอธิบายปญหาไดหลายแงหลายมุม
ข. ครอบคลุมเหตุการณและปรากฏการณตางๆ ภายในสภาพแวดลอมเดียวกัน
ค. สามารถแกปญหาที่สงสัยไดอยางชัดเจน
ง. สามารถอธิบายปญหาตางๆ ได แจมชัด
21. “ แมเหล็กไฟฟาจะดูดจํานวนตะปูไดมากขึ้นใชหรือไมถาแมเหล็กไฟฟานั้นมีจํานวนแบตเตอรี่เพิ่มขึ้น”
จากขอความขางตน ขอใดกลาวถึงตัวแปรไดถูกตอง
ก. ตัวแปรอิสระ คือ จํานวนแบตเตอรี่
ข. ตัวแปรอิสระ คือ จํานวนตะปูที่ถูกดูด
ค. ตัวแปรตาม คือ จํานวนแบตเตอรี่
ง. ตัวแปรตาม คือ ชนิดของแบตเตอรี่
27

22. “ การงอกของเมล็ดขาวโพดในเวลาที่ตางกันขึ้นอยูกับปริมาณของน้ําที่เมล็ดขาวโพดไดรับใชหรือไม ”
จากขอความขางตน ขอใดกลาวถึงตัวแปรไดถูกตอง
ก. ตัวแปรอิสระ คือ ความสมบูรณของเมล็ดขาวโพด
ข. ตัวแปรตาม คือ เวลาในการงอกของเมล็ดขาวโพด
ค. ตัวแปรที่ตองควบคุม คือ ปริมาณน้ํา
ง. ถูกทุกขอที่กลาวมา
23. ใหนักเรียนเรียงลําดับขั้นตอนการตั้งสมมุติฐาน ตอไปนี้
1. จากปญหาที่ศึกษาบอกไดวาตัวแปรใดเปนตัวแปรตน และตัวแปรใดเปน ตัวแปรตาม
2. ตั้งสมมุติฐานในรูป “ ถา....ดังนัน้ ”
3. ศึกษาธรรมชาติของตัวแปรตนตางๆที่มีผลตอตัวแปรตามมากที่สุดอยางมีหลักการและเหตุผล
4. บอกตัวแปรตนที่อาจจะมีผลตอตัวแปรตาม
ก. ขอ 1 , 2 , 3 และ 4 ตามลําดับ
ข. ขอ 1 , 4, 3 และ 2 ตามลําดับ
ค. ขอ 4 , 2 , 3 และ 1 ตามลําดับ
ง. ขอ 4 , 1 , 3 และ 2 ตามลําดับ
24. พิจารณาขอความตอไปนี้วา ขอความใดเปนการตั้งสมมติฐาน
ก. ขณะเปดขวดมีเสียงดังปอก
ข. ฟองกาซที่ปุดขึ้นมา คือ กาซคารบอนไดออกไซด
ค. เครื่องดื่มที่แชไวในตูเย็นจะมีรสหวาน
ง. ทุกขอเปนสมมุติฐานทั้งหมด
25. การกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการที่ดีควรมีลักษณะอยางไร
ก. มีความชัดเจน
ข. ทําการวัดได
ค. สังเกตได
ง. ถูกทั้ง ขอ ก ข และ ค
28

26. ถานักเรียนจะกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ” การเจริญเติบโตของไก ” นักเรียนจะมีวธิ กี ารกําหนดนิยาม


เชิงปฏิบัติการโดยคํานึงถึงขอใดเปนเกณฑ
ก. ตรวจสอบจากความสูงของไกที่เพิ่มขึ้น
ข. น้ําหนักไกที่เพิ่มขึ้น
ค. ความยาวของปกไก
ง. ถูกทุกขอ
27. ขอใดคือความหมายของคําวา “ การทดลอง ”
ก. การทดลองมี 3 ขั้นตอน คือการออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง และการบันทึก
ผลการทดลอง
ข. เปนการตรวจสอบที่มาและความสําคัญของปญหาที่ศึกษา
ค. เปนการตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไววาถูกตองหรือไม
ง. ถูกทั้งขอ ก. และขอ ค.
28. ถานักเรียนตองการจะตรวจสอบวาดินตางชนิดกันจะอุมน้ําไดในปริมาณที่ตางกันอยางไร นักเรียน
ตั้งสมมุติฐานไดวาอยางไร
ก. ถาชนิดของดินมีผลตอปริมาณน้ําที่อุมไว ดังนัน้ ดินเหนียวจะอุม น้าํ ไดมากกวาดินรวนและ
ดินรวนจะอุม น้าํ ไวไดมากกวาดินทราย
ข. ดินตางชนิดกันยอมอุมน้ําไวไดตางกันดวย
ค. ดินที่มีเนื้อดินละเอียดจะอุมน้ําไดดีกวาดินเนื้อหยาบ
ง. ถูกทุกขอที่กลาวมา
29

จากขอมูลตอไปนี้ใหตอบคําถามขอ 29 และขอ 30

จากการทดลองละลายสาร A ที่ละลายในของเหลว B ณ อุณหภูมิตางๆ ดังนี้

อุณหภูมิของเหลว B ปริมาณของสาร A ที่ละลาย ในของเหลว B

(องศาเซลเซียส) (g)

20 5

30 10

40 20
50 40

29. ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส สาร A ละลายในของเหลว B ไดกี่กรัม


ก. ละลายได 20 กรัม
ข. ละลายได 15 กรัม
ค. ละลายได 10 กรัม
ง. ละลายได 5 กรัม
30. จากขอมูลในตาราง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น การละลายของสาร A เปนอยางไร
ก. สาร A ละลายในสาร B ไดนอ ยลง
ข. สาร A ละลายในสาร B ไดมากขึ้น
ค. อุณหภูมิไมมีผลตอการละลายของสาร A
ง. ไมสามารถสรุปไดเพราะขอมูลมีไมเพียงพอ
30

เฉลยแบบทดสอบทักษะวิทยาศาสตร
1. จ 2. ข 3. ก 4. จ5 .ข
6. ง 7. ก 8. จ 9. ข 10. ง

กิจกรรมที่ 1 กระบวนการทางวิทยาศาสตร
กิจกรรม ที่ 1 กระบวนการทางวิทยาศาสตร
ใหนักศึกษาออกแบบแกปญหาจากสถานการณตอไปนี้

โดยมีอุปกรณ ดังนี้ เมล็ดถั่ว ถวยพลาสติก กระดาษทิชชู น้ํา กระดาษสีดํา

กําหนดปญหา แสงผลตอการเจริญเติบโตของเมล็ดถั่วหรือไม
การตั้งสมมติฐาน ถาแสงมีผลตอการเจริญเติบโตของเมล็ดถั่วแลวดังนั้นเมล็ดถั่วที่ไดรับแสง
จะเจริญเติบโตไดดีกวา
ตัวแปรตน แสง
ตัวแปรตาม การเจริญเติบโตของเมล็ดถั่ว
ตัวแปรควบคุม เมล็ดถั่ว,ถวยพลาสติก,กระดาษทิชชู,ปริมาณน้ํา
การทดลอง
1. แชเมล็ดถั่วเขียวไว 1 คืน
2. ใสน้ําลงในถวยพลาสติก 3 ใบ ใหมีระดับน้ําสูงประมาณ 1 cm
3. พับทบกระดาษทิชชูหลายๆ ชั้น พรมน้ําใหชื้น แลวนําไปบุดานในของถทํวยาเชนนี้กับถวยพลาสติกทั้ง3 ใบ
4. วางเมล็ดถัว่ เขียว 6 เมล็ด ที่แชน้ําแลวไวระหวางกระดาษทิชชูและถวย
5. ถวยใบที่ 1 ใหใชกระดาษสีดําปดไวโดยระมัดระวังไมใหแสงเขาไปในถวย ถวยใบที่ 2 วางไวบริเวณ
ใกลเคียงบริเวณใบที่ 1
6. สังเกตการเจริญเติบโตโดยวัดความสูงของเมล็ดถั่วทุกวัน และบันทึกผลของ เมล็ดถัว่ ทุกวันเปนเวลา 5
วัน และเติมน้ําลงในถวยใหสูง 1 cm ทุกวัน
31

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 1 เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร


1. ข 2. ข 3. ง 4. ค 5 .ค
6. ก 7. ข 8. ค 9. ก 10. ง
11. ก 12. ก 13. ก 14. ค 15. ง
16. ง 17. ง 18. ค 19. ข 20. ค
21. ก 22. ข 23. ข 24. ค 25. ง
26. ง 27. ง 28. ง 29. ง 30. ข
32

บทที่ 2
โครงงานวิทยาศาสตร
สาระสําคัญ
โครงงานวิทยาศาสตรเปนกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร ซึ่งเปนกิจกรรมที่ตองใชกระบวนการ
ทาง วิทยาศาสตร ในการศึกษาคนควา โดยผูเรียนจะเปนผูดําเนินการดวยตนเองทั้งหมด ตั้งแตเริ่มวางแผน
ใน การศึกษาคนควา การเก็บรวบรวมขอมูล จนถึงการแปลผล สรุปผล และการเสนอผลการศึกษา โดยมี
ผูชํานาญ การเปนผูใหคําปรึกษา
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. อธิบายประเภท เลือกหัวขอ วางแผน วิธีทํา นําเสนอและประโยชนของโครงงานได
2. วางแผนการทําโครงงานได
3. ทําโครงงานวิทยาศาสตรเปนกลุมได
4. อธิบายและบอกแนวทางในการนําผลจากโครงงานไปใชประโยชนได
5. นําความรูเกี่ยวกับโครงงานไปใชประโยชนในชีวิตประจําวันได
ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร
เรื่องที่ 2 ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร
เรื่องที่ 3 การนําเสนอโครงงานวิทยาศาสตร
33

เรื่องที่ 1 ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร
โครงงานวิทยาศาสตรเปนกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ซึ่งเปนกิจกรรมที่ตองใช
กระบวนการทางวิทยาศาสตรในการศึกษาคนควา โดยผูเรียนจะเปนผูดําเนินการดวยตนเองทั้งหมด
ตั้งแตเริ่มวางแผนในการศึกษาคนควา การเก็บรวบรวมขอมูล จนถึงเรื่องการแปลผล สรุปผล และเสนอ
ผลการศึกษา โดยมีผูชํานาญการเปนผูใหคําปรึกษา
ลักษณะและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร จําแนกไดเปน 4 ประเภท ดังนี้
1. โครงงานประเภทสํารวจ เปนโครงงานที่มีลักษณะเปนการศึกษาเชิงสํารวจ รวบรวมขอมูล
แลวนําขอมูลเหลานั้นมาจัดกระทําและนําเสนอในรูปแบบตาง ๆ ดังนั้นลักษณะสําคัญของ
โครงงานประเภทนี้คือ ไมมีการจัดทําหรือกําหนดตัวแปรอิสระที่ตองการศึกษา
2. โครงงานประเภททดลอง เปนโครงงานที่มีลักษณะกิจกรรมที่เปนการศึกษาหาคําตอบของ
ปญหาใดปญหาหนึ่งดวยวิธีการทดลอง ลักษณะสําคัญของโครงงานนี้คือ ตองมีการ
ออกแบบการทดลองและดําเนินการทดลองเพื่อหาคําตอบของปญหาที่ตองการทราบหรือ
เพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว โดยมีการจัดกระทํากับตัวแปรตนหรือตัวแปรอิสระ เพื่อดู
ผลที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตาม และมีการควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่ไมตองการศึกษา
3. โครงงานประเภทการพัฒนาหรือประดิษฐ เปนโครงงานที่มีลักษณะกิจกรรมที่เปนการศึกษา
เกี่ยวกับการประยุกต ทฤษฎี หรือหลักการทางวิทยาศาสตร เพื่อประดิษฐเครื่องมือ เครื่องใช
หรืออุปกรณเพื่อประโยชนใชสอยตาง ๆ ซึ่งอาจเปนการประดิษฐของใหม ๆ หรือปรับปรุง
ของเดิมที่มีอยูใหมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะรวมไปถึงการสรางแบบจําลองเพื่ออธิบาย
แนวคิด
4. โครงงานประเภทการสรางทฤษฎีหรืออธิบาย เปนโครงงานที่มีลักษณะกิจกรรมที่ผูทํา
จะตองเสนอแนวคิด หลักการ หรือทฤษฎีใหม ๆ อยางมีหลักการทางวิทยาศาสตรในรูปของ
สูตรสมการหรือคําอธิบายอาจเปนแนวคิดใหมที่ยังไมเคยนําเสนอ หรืออาจเปนการอธิบาย
ปรากฏการณในแนวใหมก็ได ลักษณะสําคัญของโครงงานประเภทนี้ คือ ผูทําจะตองมีพื้น
ฐานความรูทางวิทยาศาสตรเปนอยางดี ตองคนควาศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวของอยางลึกซึ้ง จึง
จะสามารถสรางคําอธิบายหรือทฤษฎีได
34

กิจกรรมที่ 1
1 ) ใหนักศึกษาพิจารณาชื่อโครงงานตอไปนี้แลวตอบวาเปนโครงงานประเภทใด โดยเขียน
คําตอบลงในชองวาง
1. แปรงลบกระดานไรฝุน โครงงาน.....................................
2. ยาขัดรองเทาจากเปลือกมังคุด โครงงาน....................................
3. การศึกษาบริเวณปาชายเลน โครงงาน....................................
4. พฤติกรรมลองผิดลองถูกของนกพิราบ โครงงาน.....................................
5. บานยุคนิวเคลียร โครงงาน.....................................
6. การศึกษาคุณภาพน้ําในแมน้ําเจาพระยา โครงงาน.....................................
7. เครื่องสงสัญญาณกันขโมย โครงงาน.....................................
8. สาหรายสีเขียวแกมน้ําเงินปรับสภาพน้ําเสียจากนากุง โครงงาน..........................
9. ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรูแบบมีเงื่อนไขของหนูขาว โครงงาน.........................
10. ศึกษาวงจรชีวิตของตัวดวง โครงงาน......................................

2 ) ใหนักศึกษาอธิบายความสําคัญของโครงงานวิทยาศาสตรวามีความสําคัญอยางไร
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................
35

เรื่องที่ 2 ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร
การทํากิจกรรมโครงงานเปนการทํากิจกรรมที่เกิดจากคําถามหรือความอยากรูอยากเห็นเกี่ยวกับ
เรื่องตาง ๆ ดังนั้นการทําโครงงานจึงมีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นสํารวจหรือตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทํา
การตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทําโครงงานควรพิจารณาถึงความพรอมในดานตาง ๆ เชน
แหลงความรูเพียงพอที่จะศึกษาหรือขอคําปรึกษา มีความรูและทักษะในการใชเครื่องมืออุปกรณตางๆ ที่
ใชในการศึกษา มีผูทรงคุณวุฒิรับเปนที่ปรึกษา มีเวลา และงบประมาณเพียงพอ
2. ขั้นศึกษาขอมูลที่เกี่ยวของกับเรื่องที่ตัดสินใจทํา
การศึกษาขอมูลที่เกี่ยวของกับเรื่องที่ตัดสินใจทํา จะชวยใหผูเรียนไดแนวคิดที่จะ
กําหนดขอบขายเรื่องที่จะศึกษาคนควาใหเฉพาะเจาะจงมากขึ้นและยังไดความรู เรื่องที่จะศึกษาคนควา
เพิ่มเติมจนสามารถออกแบบการศึกษา ทดลอง และวางแผนดําเนินการทําโครงงานวิทยาศาสตรอยาง
เหมาะสม
3. ขัน้ วางแผนดําเนินการ
การทําโครงงานวิทยาศาสตรไมวาเรื่องใดจะตองมีการวางแผนอยางละเอียด รอบคอบ
และมีการกําหนดขั้นตอนในการดําเนินงานอยางรัดกุม ทั้งนี้เพื่อใหการดําเนินงานบรรลุจุดมุงหมายหรือ
เปาหมายที่กําหนดไว ประเด็นที่ตองรวมกันคิดวางแผนในการทําโครงงานมีดังนี้ คือ ปญหา สาเหตุของ
ปญหา แนวทาง และวิธีการแกปญหาที่สามารถปฏิบัติได การออกแบบการศึกษาทดลองโดยกําหนดและ
ควบคุมตัวแปร วัสดุอุปกรณและสารเคมี เวลา และสถานที่จะปฏิบัติงาน
4. ขัน้ เขียนเคาโครงของโครงงานวิทยาศาสตร
การเขียนเคาโครงของโครงงานวิทยาศาสตรมีรายละเอียดดังนี้
4.1 ชื่อโครงงาน เปนขอความสั้น ๆ กะทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายตรง และมีความ
เฉพาะเจาะจงวาจะศึกษาเรื่องใด
4.2 ชื่อผูทําโครงงาน เปนผูรับผิดชอบโครงงาน ซึ่งอาจเปนรายบุคคลหรือกลุมก็ได
4.3 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ซึ่งเปนอาจารยหรือผูทรงคุณวุฒิก็ได
4.4 ที่มาและความสําคัญของโครงงาน เปนการอธิบายเหตุผลที่เลือกทําโครงงานนี้
ความสําคัญของโครงงาน แนวคิด หลักการ หรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับโครงงาน
4.5 วัตถุประสงคโครงงาน เปนการบอกจุดมุงหมายของงานที่จะทํา ซึ่งควรมีความ
เฉพาะเจาะจงและเปนสิ่งที่สามารถวัดและประเมินผลได
4.6 สมมติฐานของโครงงาน(ถามี)สมมติฐานเปนคําอธิบายที่คาดไวลวงหนา ซึ่งจะผิด
หรือถูกก็ได สมมติฐานที่ดีควรมีเหตุผลรองรับ และสามารถทดสอบได
36

4.7 วัสดุอุปกรณและสิ่งที่ตองใช เปนการระบุวัสดุอุปกรณที่จําเปนใชในการ


ดําเนินงานวามีอะไรบาง ไดมาจากไหน
4.8 วิธีดําเนินการ เปนการอธิบายขั้นตอนการดําเนินงานอยางละเอียดทุกขั้นตอน
4.9 แผนปฏิบตั กิ าร เปนการกําหนดเวลาเริม่ ตนและเวลาเสร็จงานในแตละขัน้ ตอน
4.10 ผลที่คาดวาจะไดรับ เปนการคาดการณผลที่จะไดรับจากการดําเนินงานไว
ลวงหนา ซึ่งอาจไดผลตามที่คาดไวหรือไมก็ได
4.11 เอกสารอางอิง เปนการบอกแหลงขอมูลหรือเอกสารที่ใชในการศึกษาคนควา
5. ขั้นลงมือปฏิบัติ
การลงมือปฏิบัติเปนขั้นตอนที่สําคัญตอนหนึ่งในการทําโครงงานเนื่องจากเปนการลง
มือปฏิบัติจริงตามแผนที่ไดกําหนดไวในเคาโครงของโครงงาน อยางไรก็ตามการทําโครงงานาจะสําเร็จ
ไดดวยดี ผูเรียนจะตองคํานึงถึงเรื่องความพรอมของวัสดุอุปกรณ และสิ่งอื่น ๆ เชนสมุดบันทึกกิจกรรม
ประจําวัน ความละเอียดรอบคอบและความเปนระเบียบในการปฏิบัติงาน ความประหยัดและความ
ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ความนาเชื่อถือของขอมูลที่ไดจากการปฏิบัติงาน การเรียงลําดับกอนหลังของ
งานสวนยอย ๆ ซึ่งตองทําแตละสวนใหเสร็จกอนทําสวนอื่นตอไปในขั้นลงมือปฏิบัติจะตองมีการบันทึก
ผล การประเมินผล การวิเคราะห และสรุปผลการปฏิบัติ
6. ขัน้ เขียนรายงานโครงงาน
การเขียนรายงานการดําเนินงานของโครงงาน ผูเรียนจะตองเขียนรายงานใหชัดเจน ใช
ศัพทเทคนิคที่ถูกตอง ใชภาษากะทัดรัด ชัดเจน เขาใจงาย และตองครอบคลุมประเด็นสําคัญ ๆ ทั้งหมด
ของโครงงานไดแก ชื่อโครงงาน ชื่อผูทําโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา บทคัดยอ ที่มาและความสําคัญของ
โครงงาน จุดหมาย สมมติฐาน วิธีดําเนินงาน ผลการศึกษาคนควา ผลสรุปของโครงงาน ขอเสนอแนะ คํา
ขอบคุณบุคลากรหรือหนวยงานและเอกสารอางอิง
7. ขัน้ เสนอผลงานและจัดแสดงผลงานโครงงาน
หลังจากทําโครงงานวิทยาศาสตรเสร็จแลวจะตองนําผลงานที่ไดมาเสนอและจัดแสดง
ซึ่งอาจทําไดหลายรูปแบบ เชน การจัดนิทรรศการ การประชุมทางวิชาการ เปนตน ในการเสนอผลงาน
และจัดแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร ควรนําเสนอใหครอบคลุมประเด็นสําคัญ ๆ ทั้งหมดของ
โครงงาน
37

กิจกรรมที่ 2
1. วางแผนจัดทําโครงงานวิทยาศาสตรที่นาสนใจอยากรูมา 1 โครงงาน โดยดําเนินการดังนี้
1) - ระบุประเด็นที่สนใจ/อยากรู/ อยากแกไขปญหา ( 1 ประเด็น )
- ระบุเหตุผลที่สนใจ/อยากรู/ อยากแกไขปญหา ( ทําไม )
- ระบุแนวทางที่สามารถแกไขปญหานี้ได ( ทําได )
- ระบุผลดีหรือประโยชนทางการแกไขโดยใชกระบวนการที่ระบุ(พิจารณาขอมูล
จากขอ 1) มาเปนชื่อโครงงาน
2) ระบุชื่อโครงงานที่ตองการแกไขปญหาหรือทดลอง
3) ระบุเหตุผลของการทําโครงงาน (มีวัตถุประสงคอยางไร ระบุเปนขอ ๆ )
4) ระบุตัวแปรที่ตองการศึกษา ( ตัวแปรตน ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม )
5) ระบุความคาดเดา (สมมติฐาน) ที่ตองการพิสูจน
2. จากขอมูลตามขอ 1) ใหนักศึกษาเขียนเคาโครงโครงงานตามประเด็นดังนี้
1) ชื่อโครงงาน ( จาก 2 )..........................................................................................
2) ที่มาและความสําคัญของโครงงาน (จาก 1)..............................................................
3) วัตถุประสงคของโครงงาน ( จาก 3 )......................................................................
4) ตัวแปรที่ตองการศึกษา ( จาก 4 )............................................................................
5) สมมติฐานของโครงงาน ( จาก 5 )..........................................................................
6) วัสดุอุปกรณและงบประมาณที่ตองใช
6.1 วัสดุอุปกรณ...........................................................................................
6.2 งบประมาณ...........................................................................................
7) วิธดี าํ เนินงาน ( ทําอยางไร )
8) แผนการปฏิบัติงาน ( ระบุกิจกรรม วันเดือนป และสถานที่ที่ปฏิบัติงาน )
กิจกรรม วันเดือนป สถานที่ปฏิบัติงาน หมายเหตุ

9) ผลที่คาดวาจะไดรับ (ทําโครงงานนี้แลวมีผลดีอยางไรบาง)........................................
10) เอกสารอางอิง(ใชเอกสารใดบางประกอบในการคนควาหาความรูในการทําโครงงานนี้)
3. นําเคาโครงที่จัดทําแลวเสร็จไปขอคําปรึกษาจากอาจารยที่ปรึกษา แลวขออนุมัติดําเนินงาน
4. ดําเนินตามแผนปฏิบัติงานที่กําหนดในเคาโครงโครงงาน พรอมบันทึกผล
1) สภาพปญหาและแนวทางแกไข (ถามี) ในแตละกิจกรรม
2) ผลการทดลองทุกครั้ง
38

เรื่องที่ 3 การนําเสนอโครงงานวิทยาศาสตร
การแสดงผลงานเปนขั้นตอนสําคัญอีกประการหนึ่งของการทําโครงงานเรียกไดวาเปนงานขั้น
สุดทายของการทําโครงงานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี เปนการแสดงผลิตผลของความคิด และการ
ปฏิบัติการทั้งหมดที่ผูทําโครงงานไดทุมเทเวลาไป และเปนวิธีการที่จะทําใหผูอื่นรับรูและเขาใจถึงผลงาน
นั้น ๆ มีผูกลาววาการวางแผนออกแบบเพื่อจัดแสดงผลงานนั้นมีความสําคัญเทา ๆ กับการทําโครงงาน
นั้นเอง ผลงานที่ทําจะดียอดเยี่ยมเพียงใด แตถาการจัดแสดงผลงานทําไดไมดี ก็เทากับไมไดแสดงความดี
ยอดเยี่ยมของผลงานนั้นนั่นเอง
การแสดงผลงานทําไดในรูปแบบตาง ๆ กัน เชน การแสดงในรูปนิทรรศการ ซึ่งมีทั้งการาจัด
แสดงและการอธิบายดวยคําพูด หรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไมมีการอธิบายประกอบหรือในรูป
ของการรายงานปากเปลา ไมวาการแสดงผลงานจะอยูในรูปแบบใด ควรจะจัดใหครอบคลุมประเด็น
สําคัญดังตอไปนี้
1. ชื่อโครงงาน ชื่อผูทําโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา
2. คําอธิบายถึงเหตุจูงใจในการทําโครงงาน และความสําคัญของโครงงาน
3. วิธีการดําเนินการ โดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เดนและสําคัญ
4. การสาธิตหรือแสดงผลที่ไดจากการทดลอง
5. ผลการสังเกตและขอมูลเดน ๆ ที่ไดจากการทําโครงงาน
การจัดนิทรรศการโครงงาน ควรคํานึงถึงสิ่งตาง ๆ ตอไปนี้
1. ความปลอดภัยของการจัดแสดง
2. ความเหมาะสมกับเนื้อที่จัดแสดง
3. คําอธิบายที่เขียนแสดงควรเนนประเด็นสําคัญ และสิ่งที่นาสนใจเทานั้น โดยใช
ขอความกะทัดรัด ชัดเจน และเขาใจงาย
4. ดึงดูดความสนใจผูเขาชม โดยใชรูปแบบการแสดงที่นาสนใจ ใชสีที่สดใส เนนจุดที่
สําคัญหรือใชวัสดุตางประเภทในการจัดแสดง
5. ใชตารางและรูปภาพประกอบ โดยจัดวางอยางเหมาะสม
6. สิ่งที่แสดงทุกอยางตองถูกตอง ไมมีการสะกดผิดหรืออธิบายหลักการที่ผิด
7. ในกรณีที่เปนสิ่งประดิษฐ สิ่งนั้นควรอยูในสภาพที่ทํางานไดอยางสมบูรณ
39

ในการแสดงผลงาน ถาผูนําผลงานมาแสดงจะตองอธิบายหรือรายงานปากเปลาหรือ
ตอบคําถามตาง ๆ จากผูชมหรือตอกรรมการตัดสินโครงงาน การอธิบายตอบคําถาม หรือรายงานปากเปลา
นั้น ควรไดคํานึงถึงสิ่งตาง ๆ ตอไปนี้

1. ตองทําความเขาใจกับสิ่งที่อธิบายเปนอยางดี
2. คํานึงถึงความเหมาะสมของภาษาที่ใชกับระดับผูฟง ควรใหชัดเจนและเขาใจงาย
3. ควรรายงานอยางตรงไปตรงมา ไมออมคอม
4. พยายามหลีกเลี่ยงการอานรายงาน แตอาจจดหัวขอสําคัญ ๆ ไวเพื่อชวยใหการ
รายงานเปนไปตามขั้นตอน
5. อยาทองจํารายงานเพราะทําใหดูไมเปนธรรมชาติ
6. ขณะที่รายงานควรมองตรงไปยังผูฟง
7. เตรียมตัวตอบคําถามที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
8. ตอบคําถามอยางตรงไปตรงมา ไมจําเปนตองกลาวถึงสิ่งที่ไมไดถาม
9. หากติดขัดในการอธิบาย ควรยอมรับโดยดี อยากลบเกลื่อน หรือหาทางหลีกเลี่ยง
เปนอยางอื่น
10. ควรรายงานใหเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด
11. หากเปนไปไดควรใชสื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ ประกอบการรายงานดวย เชน
แผนใส หรือสไลด เปนตน
ขอควรพิจารณาและคํานึงถึงประเด็นตาง ๆ ที่กลาวมาในการแสดงผลงานนั้น จะคลายคลึง
กันในการแสดงผลงานทุกประเภท แตอาจแตกตางกันในรายละเอียดปลีกยอยเพียงเล็กนอย สิ่งสําคัญก็
คือ พยายามใหการแสดงผลงานนั้นดึงดูดความสนใจผูชม มีความชัดเจน เขาใจงาย และมีความถูกตองใน
เนือ้ หา

การทําแผงสําหรับแสดงโครงงานใหใชไมอัดมีขนาดดังรูป
60 ซม.

60 ซม.

120 ซม.

ติดบานพับมีหวงรับและขอสับทํามุมฉากกับตัวแผงกลาง
40

ในการเขียนแบบโครงงานควรคํานึงถึงสิ่งตอไปนี้

1. ตองประกอบดวยชื่อโครงงาน ชื่อผูทําโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา คําอธิบายยอ ๆ ถึงเหตุจูงใจใน


การทําโครงงาน ความสําคัญของโครงงาน วิธีดําเนินการเลือกเฉพาะขั้นตอนที่สําคัญ ผลที่
ไดจากการทดลอง อาจแสดงเปนตาราง กราฟ หรือรูปภาพก็ได ประโยชนของโครงงาน
สรุปผล เอกสารอางอิง
2. จัดเนื้อที่ใหเหมาะสม ไมแนนจนเกินไปหรือนอยจนเกินไป
3. คําอธิบายความกะทัดรัด ชัดเจน เขาใจงาย
4. ใชสีสดใส เนนจุดสําคัญ เปนการดึงดูดความสนใจ
5. อุปกรณประเภทสิ่งประดิษฐควรอยูในสภาพที่ทํางานไดอยางสมบูรณ
41

กิจกรรมที่ 3
ใหนักศึกษาพิจารณาขอมูลจากกิจกรรมที่ 2 มาสรุปผลการศึกษาทดลองในรูปแบบของ
รายงานการศึกษาทดลองตามประเด็นดังตอไปนี้
1) ชื่อโครงงาน.....................................................................................................................
2) ผูทําโครงงาน...................................................................................................................
3) ชื่ออาจารยที่ปรึกษา..........................................................................................................
4) คํานํา
5) สารบัญ
6) บทที่ 1 บทนํา
- ที่มาและความสําคัญ
- วัตถุประสงค
- ตัวแปรที่ศึกษา
- สมมติฐาน
- ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ
7) บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวของกับการทําโครงงาน
8) บทที่ 3 วิธีการศึกษา/ทดลอง
- วัสดุอุปกรณ
- งบประมาณ
- ขัน้ ตอนการดําเนินงาน
- แผนปฏิบัติงาน
9) บทที่ 4 ผลการศึกษา/ทดลอง
- การทดลองไดผลอยางไรบาง
10) บทที่ 5 สรุปผลและขอเสนอแนะ
- ขอสรุปผลการทดลอง
- ขอเสนอแนะ
11) เอกสารอางอิง
42

แบบทดสอบ

จงเลือกวงกลมลอมรอบขอคําตอบที่ถูกที่สุดเพียงขอเดียว
1. โครงงานวิทยาศาสตรคืออะไร
ก. แบบรางทักษะในวิชาวิทยาศาสตร
ข. การวิจัยเล็ก ๆ เรื่องใดเรื่องหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร
ค. ธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร
2. โครงงานวิทยาศาสตรมีกี่ประเภท
ก. 4 ประเภท
ข. 5 ประเภท
ค. 6 ประเภท
3. โครงงานวิทยาศาสตรแบบใดที่เหมาะสมที่สุดกับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ก. โครงงานสํารวจ
ข. โครงงานทฤษฎี
ค. โครงงานทดลอง
4. ขั้นตอนใดไมจําเปนตองมีในโครงงานวิทยาศาสตรประเภทสํารวจ
ก. ตั้งปญหา
ข. สรุปผล
ค. สมมติฐาน
5. กําหนดใหสิ่งตอไปนี้ควรจะตั้งปญหาอยางไร น้ําบริสุทธิ์ น้าํ หวาน น้ําเกลือ
ชนิดละ 10 ลูกบาศกเซนติเมตร ตะเกียงแอลกอฮอล เทอรโมมิเตอร บีกเกอร หลอดทดลอง
ขนาดกลาง หลอดฉีดยา
ก. น้ําทั้งสามชนิดมีน้ําหนักเทากัน
ข. น้ําทั้งสามชนิดมีรสชาติตางกัน
ค. น้ําทั้งสามชนิดมีจุดเดือดที่แตกตางกัน
43

6. จากคําถามขอ 5 อะไรคือ ตัวแปรตน


ก. ความรอนจากตะเกียงแอลกอฮอล
ข. ความบริสุทธิ์ของน้ําทั้งสามชนิด
ค. ขนาดของหลอดทดลอง

7. ผลการทดลองทางวิทยาศาสตรที่นาเชื่อถือไดตองเปนอยางไร
ก. สรุปผลไดชดั เจนดวยตนเอง
ข. ทําซ้ําหลาย ๆ ครั้งและผลเหมือนเดิมทุกครั้ง
ค. ครูที่ปรึกษารับประกันผลงาน
8. สิ่งใดบงบอกวาโครงงานวิทยาศาสตรที่จัดทํานั้นมีคุณคา
ก. ประโยชนที่ไดรับ
ข. ขอเสนอแนะ
ค. ขั้นตอนการทํางาน
9. การจัดทําโครงงานวิทยาศาสตรควรเริ่มตนอยางไร
ก. เรื่องที่เปนที่นิยมทํากันในปจจุบัน
ข. เรื่องที่แปลก ๆ ใหม ๆ ยังไมมีใครทํา
ค. เรื่องที่เปนประโยชนใกล ๆ ตัว
10. โครงงานวิทยาศาสตร ที่ถูกตองสมบูรณตองเปนอยางไร
ก. ใชทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร
ข. ใชวิธีคนควาจากหองสมุด
ค. ใชวิธีหาคําตอบจากการซักถามผูรู
44

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 2 เรื่อง ทักษะวิทยาศาสตร


1. ค 2. ข 3. ง 4. จ 5 .ข
6. ง 7. ก 8. จ 9. ข,ก 10. ง
45
บทที่ 3
เซลล
สาระสําคัญ
ลักษณะรูปรางของเซลลพืช และเซลลสัตว องคประกอบโครงสรางและหนาที่ของเซลลพืชและ
เซลลสัตว กระบวนการที่สารผานเซลล
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. อธิบายลักษณะโครงสราง องคประกอบและหนาที่ของเซลลได
2. เปรียบเทียบความแตกตางระหวางเซลลพืชและเซลลสัตวได
ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ลักษณะรูปรางของเซลลพืชและเซลลสัตว
เรื่องที่ 2 องคประกอบโครงสรางและหนาที่ของเซลลพืชและเซลลสัตว
เรื่องที่ 3 กระบวนการที่สารผานเซลล
46
เรื่องที่ 1 ลักษณะรูปรางของเซลลพชื และเซลลสตั ว
เซลล (Cell) คือ หนวยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต เปนหนวยเริ่มตนหรือหนวยพื้นฐานของทุกชีวิต
ประวัติการศึกษาเซลล
ป ค.ศ. 1665 รอเบิรต ฮุก นักวิทยาศาสตรชาวอังกฤษ ไดประดิษฐกลองจุลทรรศนที่มีคุณภาพดี
และไดสองดูไมคอรกที่เฉือนบาง ๆ และไดพบชองเล็กๆ จํานวนมาก จึงเรียกชองเล็กๆ นี้วา เซลล (cell)
เซลลที่ฮุกพบนั้นเปนเซลลที่ตายแลว การที่คงเปนชองอยูไดก็เนื่องจากการมีผนังเซลลนั่นเอง
ป ค.ศ. 1824 ดิวโทเชท ไดศึกษาเนื้อเยื่อพืชและเนื้อเยื่อสัตว พบวาประกอบดวยเซลลเชนกัน
แตมีลักษณะที่แตกตางกันอยูบาง
ป ค.ศ. 1831 รอเบิรต บราวน นักพฤษศาสตรชาวอังกฤษ ไดศึกษาเซลลขนและเซลลอื่นๆ ของพืช
พบวามีกอนกลมขนาดเล็กอยูตรงกลาง จึงใหชื่อกอนกลมนี้วา นิวเคลียส (Nucleus)
ป ค.ศ. 1838 มัตทิอัส ยาคบ ชไลเดน นักพฤกษศาสตรชาวเยอรมันไดศึกษาเนื้อเยื่อพืชตางๆ
และสรุปวา เนื้อเยื่อทุกชนิดประกอบดวยเซลล
ป ค.ศ. 1839 เทโอดอร ชวันน นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ไดศึกษาเนื้อเยื่อสัตวตางๆ แลวสรุปวา
เนื้อเยื่อสัตวทุกชนิดประกอบขึ้นดวยเซลล ดังนั้น ในปเดียวกันนี้ ชวันนและชไลเดน จึงไดรวมกันตั้ง
ทฤษฎีเซลล (Cell Theory) ซึ่งมีใจความสําคัญ วา สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบขึ้นดวยเซลล และเซลลคือ
หนวยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
ทฤษฎีเซลลในปจจุบันครอบคลุมถึงใจความสําคัญ 3 ประการ คือ
1. สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจมีเพียงเซลลเดียว หรือหลายเซลล ซึ่งภายในมีสารพันธุกรรม และ
มีกระบวนการเมแทบอลิซึม ทําใหสิ่งมีชีวิตดํารงชีวิตอยูได
2. เซลลเปนหนวยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ที่มีการจัดระบบการทํางานภายในโครงสราง
ของเซลล
3. เซลลมีกําเนิดมาจากเซลลแรกเริ่ม เซลลเกิดจากการแบงตัวของเซลลเดิม แมวาชีวิตแรกเริ่ม จะ
มีวิวัฒนาการมาจากสิ่งไมมีชีวิต แตนักชีววิทยายังคงถือวาการเพิ่มขึ้นของจํานวนเซลลเปนผลสืบเนื่องมา
จากเซลลรุนกอน
ป ค.ศ. 1839 พูรคินเย นักสัตววิทยา ชาวเชโกสโลวาเกีย ไดศึกษาไขและตัวออนของสัตวตางๆ
ไดพบวาภายในมีของเหลวใส เหนียว และออนนุจึม งไดเรียกของเหลวใสนี้วา โพรโทพลาซึ
ม (Protoplasm)
ป ค.ศ. 1868 ทอมัส เฮนรี ฮักซลีย แพทยชาวอังกฤษศึกษาโพรโทพลาซึมและพบวา
โพรโทพลาซึมเปนรากฐานของชีวิตเนื่องจากปฏิกิริยาตางๆ ของเซลลเกิดขึ้นที่โพรโทพลาซึม
ป ค.ศ. 1880 วัลเทอร เฟลมมิง นักชีววิทยาชาวเยอรมันไดคนพบวาภายในนิวเคลียสของเซลลตางๆ
มีโครโมโซม
47
ขนาดและรูปรางของเซลล
เซลลสว นใหญมขี นาดเล็ก และไมสามารถมองเห็นไดดวยตาเปลา ตองใชกลองจุลทรรศนสอง
แตก็มีเซลลบางชนิดที่มีขนาดใหญ สามารถมองเห็นไดอยางชัดเจน เชน เซลลไข
รูปรางของเซลลแตละชนิดจะแตกตางกันไปตามชนิด หนาที่ และตําแหนงที่อยูของเซลล
48
เรื่องที่ 2 องคประกอบโครงสรางและหนาทีข่ องเซลลพชื และเซลลสตั ว
โครงสรางพืน้ ฐานของเซลล
โครงสรางพื้นฐานของเซลลแบงออกไดเปน 3 สวนใหญๆ คือ
1. สวนที่หอหุมเซลล
2. นิวเคลียส
3. ไซโทพลาซึม
1. สวนที่หอหุมเซลล
สวนของเซลลที่ทําหนาที่หอหุมองคประกอบภายในเซลลใหคงรูปอยูได มีดังนี้
1.1 เยื่อหุมเซลล ( Cell Membrane) เปนเยื่อที่บางมากประมาณ 10 นาโนเมตร ประกอบดวย
โปรตีน และไขมัน โดยมีโปรตีนแทรกอยูในชั้นไขมัน เยื่อหุมเซลลจะมีรูเล็กๆ ชวยใหจํากัด
ขนาดของโมเลกุลของสารที่จะผานเยื่อหุมเซลลได จึงทําหนาที่ควบคุมปริมาณและชนิดของสาร
ที่ผานเขาออกจากเซลลดวย โมเลกุลของสารบางชนิด เชน น้ํา ออกซิเจน และคารบอนไดออกไซด
สามารถผานเยื่อนี้ได แตสารที่มีโมเลกุลใหญๆ เชน โปรตีน ไมสามารถผานได เยื่อหุมเซลล จึงมีสมบัติ
เปนเยื่อเลือกผาน (Differentially Permeable Membrane)
1.2 ผนังเซลล ( Cell Wall) พบไดในเซลลพืชทุกชนิด และในเซลลของสิ่งมีชีวิตเซลลเดียว
ราและแบคทีเรียบางชนิด โดยจะหอหุมเยื่อหุมเซลลไวอีกชั้นหนึ่ง ทําหนาที่เพิ่มความแข็งแรงและ
ปองกันอันตรายใหแกเซลล ซึง่ แมวา ผนังเซลลจะหนาและมีความยืดหยุน ดี แตผนังเซลลก็ยอมให
สารเกือบทุกชนิดผานเขาออกได ทั้งนี้ ผนังเซลลของสิ่งมีชีวิตตางชนิดกันจะมีองคประกอบไมเหมือนกัน
สําหรับองคประกอบหลักของผนังเซลลพืช ไดแก เซลลูโลส เซลลของสัตวไมมีผนังเซลล
แตมีสารเคลือบผิวเซลลที่เปนสารประกอบของโปรตีนและคารโบไฮเดรต สารเคลือบผิวเซลลเหลานี้
มีประโยชนตอสิ่งมีชีวิต เพราะเปนโครงสรางที่มีความเหนียว แข็งแรง ไมละลายน้ํา จึงทําใหเซลลคง
รูปราง และชวยลดการสูญเสียน้ําใหกับเซลล นอกจากนี้ยังชวยใหเซลลเกาะกลุมรวมกันอยูไดเป น
เนือ้ เยือ่ และอวัยวะ
2. นิวเคลียส (Nucleus)
นิวเคลียสเปนศูนยกลางควบคุมการทํางานของเซลล โดยทํางานรวมกับไซโทพลาซึม
มีความสําคัญตอกระบวนการแบงเซลลและการสืบพันธุของเซลลเปนอยางมาก ในเซลลของสิ่งมีชีวิต
ทั่วไปจะมีเพียงหนึ่งนิวเคลียส แตเซลลบางชนิด เชน เซลลเม็ดเลือดแดง เมื่อเจริญเต็มที่แลวจะไมมี
นิวเคลียส
49
โครงสรางของนิวเคลียสแบงออกเปน 3 สวนคือ
2.1 เยื่อหุมนิวเคลียส ( Nuclear Membrane) เปนเยื่อบางๆ 2 ชั้นอยูรอบนิวเคลียส มี คุณสมบัติ
เปนเยื่อเลือกผานเชนเดียวกับเยื่อหุมเซลล มีรูเล็กๆ กระจายอยูทั่วไปเพื่อเปนชองทางแลกเปลี่ยน
ของสารระหวางนิวเคลียสกับไซโทพลาซึม โดยบริเวณเยื่อชั้นนอกจะมีไรโบโซมเกาะติดอยู
2.2 นิวคลีโอลัส ( Nucleolus) เปนโครงสรางที่ปรากฏเปนกอนเล็ก ๆ อยูในนิวเคลียส ทําหนาที่
สังเคราะหกรดนิวคลีอิกชนิดหนึ่งชื่อ ไรโบนิวคลีอิก ( Ribonucleic acid หรือ RNA) กับสารอื่น
ที่เปนองคประกอบของไรโบโซม โดยสารเหลานี้จะถูกสงผานรูของเยื่อหุมนิวเคลียสออกไปยัง
ไซโทพลาซึม
2.3 โครมาทิน ( Chromatin) เปนเสนใยของโปรตีนหลายชนิดกับกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอกิ
(Deoxyribonucleic acid หรือ DNA) ซึ่งเปนสารพันธุกรรม ในขณะที่มีการแบงเซลลจะพบ
โครมาทินลักษณะเปนแทงๆ เรียกวา โครโมโซม (Chromosome)
3. ไซโทพลาซึม ( Cytoplasm) สิ่งที่อยูภายในเยื่อหุมเซลลทั้งหมดยกเวนนิวเคลียส เรียกวา ไซ
โทพลาซึม ซึ่งเปนของเหลวที่มีโครงสรางเล็ก ๆ คือ ออรแกเนลล ( Organelle) กระจายอยูทั่วไป โดยออร
แกเนลลสวนใหญจะมีเยื่อหุม ทําใหองคประกอบภายในออรแกเนลลแยกออกจากองคประกอบอื่น ๆ ใน
ไซโทพลาซึม

ตารางเปรียบเทียบความแตกตางของเซลลพชื และเซลลสตั ว

เซลลพชื เซลลสัตว
1. เซลลพืชมีรูปรางเปนเหลี่ยม 1. เซลลสัตวมีรูปรางกลม หรือรี
2. มีผนังเซลลอยูดานนอก 2. ไมมีผนังเซลล แตมีสารเคลือบเซลลอยูดานนอก
3. มีคลอโรพลาสตภายในเซลล 3. ไมมีคลอโรพลาสต
4. ไมมีเซนทริโอล 4. มีเซนทริโอลใชในการแบงเซลล
5. แวคคิวโอลมีขนาดใหญ มองเห็นไดชดั เจน 5. แวคคิวโอลมีขนาดเล็ก มองเห็นไดไมชดั เจน
6. ไมมีไลโซโซม 6. มีไลโซโซม
50

ภาพแสดงโครงสรางพื้นฐานของเซลล
51
เรื่องที่ 3 กระบวนการที่สารผานเซลล
นักชีววิทยาไดศึกษาการลําเลียงสารเขาสูเซลล พบวามี 2 รูปแบบดวยกัน คือ
1. การแพร (Diffusion) เปนการเคลื่อนที่ของโมเลกุลจากจุดที่มีความเขมขนสูงกวา ไปยังจุดที่มี
ความเขมขนต่ํากวา การเคลื่อนที่นี้เปนไปในลักษณะทุกทิศทุกทาง โดยไมมีทิศทางที่แนนอน

2. ออสโมซิส (Osmosis) เปนการแพรของของเหลวผานเยื่อบางๆ ซึ่งตามปกติจะหมายถึงการแพร


ของน้ําผานเยื่อหุมเซลล เนื่องจากเยื่อหุมเซลลมีคุณสมบัติในการยอมใหสารบางชนิดเทานั้นผานได
การแพรของน้ําจะแพรจากบริเวณที่เจือจางกวา (มีน้ํามาก) ผานเยื่อหุมเซลลเขาสูบริเวณที่มีความเขมขน
กวา (มีน้ํานอย) ตามปกติการแพรของน้ํานี้จะเกิดทั้งสองทิศทางคือทั้งบริเวณเจือจาง และบริเวณเขมขน
จึงมักกลาวกันสั้นๆ วา ออสโมซิสเปนการแพรของน้ําจากบริเวณที่มีน้ํามาก เขาไปสูบริเวณที่มีน้ํานอย
กวาโดยผานเยื่อหุมเซลล แรงดันออสโมติกเกิดจากการแพรของน้ําจากบริเวณที่มีน้ํามาก (เจือจาง) เขาสู
บริเวณที่มีน้ํานอย (เขมขน) สารละลายที่มีความเขมขนตางกันจะมีผลตอเซลลแตกตางกันดวย
52
แบบฝกหัด
เรือ่ ง เซลล
จงเติมคําตอบที่ถูกตอง
1. เซลล คือ ..................................................................................................................................
2. ผนังเซลล มีหนาที่ ....................................................................................................................
3.สวนประกอบของเซลลที่ทําหนาที่ควบคุมปริมาณ และชนิดของสารที่ผานเขาออกจากเซลล
คือ……….........................................................................................................................................
4. เซลลชนิดใดเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไมมีนิวเคลียส ........................................................................
5. ผนังเซลลของพืชประกอบไปดวยสารที่เรียกวา ................................................................................
6. สวนประกอบชนิดใดบาง ที่พบในเซลลพืช แตไมพบในเซลลสัตว …………………………………...
7. เซลลสัตวไมสามารถสรางอาหารเองได เพราะ ………………………………………………………..
8. ภายในคลอโรพลาสตมีสารสีเขียว เรียกวา …………………………………………………………….
9. สวนประกอบของเซลลมีหนาที่ควบคุมการเจริญเติบโต และการถายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
คือ…..………………………………………………………………………………………………………
10. เพราะเหตุใดเมื่อพืชและสัตวตายลง เซลลพืชจึงมีลักษณะคงรูปอยูได แตเซลลสัตวจะสลายไป
……………………………………………………………………………………………………………...
53
จงทําเครื่องหมาย หนาคําตอบที่ถูกเพียงขอเดียว
1. นักวิทยาศาสตรทานใดเรียกเซลลเปนคนแรก
ก. นิวตัน ข. อริสโตเติล
ค. โรเบิรต ฮุค ง. กาลิเลโอ
2. นักวิทยาศาสตรที่รวมกันกอตั้งทฤษฏีเซลลคือ
ก. ชไลเดน และชารล ดารวนิ ข. เมนเดล และชารลดารวนิ
ค. ชวัน และชไลเดน ง. ชวันน และเมนเดล
3. เซลลพืชและเซลลสัตวมีลักษณะแตกตางกันอยางไร
ก. เซลลพืชมีลักษณะกลมรี สวนเซลลสัตวมีลักษณะเปนเหลี่ยม
ข. เซลลพืชมีลักษณะเปนสี่เหลี่ยม สวนเซลลสัตวเปนทรงกลม
ค. เซลลพืชและเซลลสัตวมีลักษณะเหมือนกันมาก
ง. เซลลพืชและเซลลสัตวมีลักษณะรูปรางนิวเคลียสที่แตกตางกัน
4. โครงสรางของเซลลใดทําหนาที่ควบคุมการผานเขาออกของสาร
ก. ผนังเซลล ข . เยื่อหุมเซลล
ค. เซลลคุม ง. ไลโซโซม
5. โครงสรางของเซลลที่ทําหนาที่สังเคราะหโปรตีนคือ
ก. กอลจิคอมเพล็กซ ข. ไรโบโซม
ค. ไลโซโซม ง. แวคิวโอล
6. โครงสรางใดของเซลลที่ทําใหเซลลพืชคงรูปรางอยูไดแมวาเซลลนั้นจะไดรับน้ํามากเกินไป
ก. ผนังเซลล ข. เยื่อหุมเซลล
ค. นิวเคลียส ง. ไซโทรพลาซึม
7. โครงสรางที่ทําหนาที่เปรียบไดกับสมองของเซลลไดแกขอใด
ก. นิวเคลียส ข. คลอโรพลาสต
ค. เซนทริโอล ง . ไรโบโซม
8. โครงสรางใดของเซลลมีเฉพาะในเซลลของพืชเทานั้น
ก. ผนังเซลล ข. เยื่อหุมเซลล
ค. นิวเคลียส ง. ไซโทรพลาซึม
54

9. เพราะเหตุใดเมื่อนําเซลลพืชไปแชในสารละลายที่มีความเขมขนนอยกวาภายในเซลล เซลลพืชจึงไม
แตก
ก. เซลลพืชมีความสามารถยืดหยุนไดดี
ข. เซลลพืชมีเยื่อหุมเซลล สงผานสารที่ไมตองการออกนอกเซลล
ค. เซลลพืชมีผนังเซลลเสริมสรางความแข็งแรง
ง. ถูกทุกขอ
10. เมื่อนําเซลลสัตวไปใสในสารละลายชนิดใด จะทําใหเซลลเหี่ยว
ก. สารละลายเขมขนที่มีความเขมขนมากกวาภายในเซลลสัตว
ข. สารละลายเขมขนที่มีความเขมขนนอยกวาภายในเซลลสัตว
ค. สารละลายเขมขนที่มีความเขมขนเทากับเซลลสัตว
ง. น้ํากลั่น

*******************************************
55
เฉลยแบบทดสอบบทที่ 3 เรื่อง การทําโครงงานวิทยาศาสตร
1.ข 2.ก 3.ค 4.ค 5.ค 6.ข 7.ข 8.ก 9ค 10.ก
56

บทที่ 4
กระบวนการดํารงชีวิตของพืชและสัตว
สาระสําคัญ
การดํารงชีวิตของพืชประกอบดวย การลําเลียง น้ํา อาหารและแรธาตุ กระบวนการสังเคราะหแสง
และระบบสืบพันธุในพืช
การดํารงชีวิตของสัตว ประกอบดวยโครงสรางและการทํางานของระบบการหายใจ
การยอยอาหาร การขับถายและระบบสืบพันธุ
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. อธิบายกระบวนการแพรและออสโพซิสได
2. อธิบายโครงสรางและการทํางานของระบบลําเลียงในพืชได
3. อธิบายความสําคัญและปจจัยที่จําเปนสําหรับกระบวนการการสังเคราะหดวยแสงได
4. อธิบายโครงสรางและการทํางานของระบบสืบพันธุในพืชในทองถิ่นได
5. อธิบายการทํางานของระบบตาง ๆ ในสัตวได
ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 การดํารงชีวิตของพืช
เรื่องที่ 2 การดํารงชีวิตของสัตว
57

เรื่องที่ 1 การดํารงชีวิตของพืช
1.1 ระบบการลําเลียงน้ําอาหารและแรธาตุของพืช
การทํางานของระบบลําเลียงของพืชประกอบดวยระบบเนื้อเยื่อทอลําเลียง (vascular tissue system)
ซึ่งเนื้อเยื่อในระบบนี้จะเชื่อมตอกันตลอดทั้งลําตนพืช โดยทําหนาที่ลําเลียงน้ํา สารอนินท รีย สารอินทรี ย
และสารละลายที่พืชตองการนําไปใชในการดําเนินกิจกรรมตางๆ ภายในเซลลระบบเนื้อเยื่อทอลําเลียง
ประกอบดวย 2 สวนใหญๆ คือ ทอลําเลียงน้ําและแรธาตุ (xylem) กับทอลําเลียงอาหาร (phloem)

รูปแสดงภาคตัดขวางของลําตนพืชใบเลี้ยงคูและใบเลี้ยงเดี่ยว
58

รูปแสดงภาคตัดขวางของรากพืชใบเลี้ยงคูและใบเลี้ยงเดี่ยว

ทอลําเลียงน้ําและแรธาตุ
ทอลําเลียงน้ําและแรธาตุ (xylem) เปนเนื้อเยื่อที่ทําหนาที่ลําเลียงน้ําและแรธาตุตางๆ ทั้งสารอินทรียและ
สารอนินทรีย โดยทอลําเลียงน้ําและแรธาตุประกอบดวยเซลล 4 ชนิด ดังนี้
1. เทรคีด (tracheid) เปนเซลลเดี่ยว มีรูปรางเปนทรงกระบอกยาว บริเวณปลายเซลลแหลม เท
รคีดทําหนาที่เปนทอลําเลียงน้ําและแรธาตุตางๆ โดยจะลําเลียงน้ําและแรธาตุไปทางดานขางของลําตน
ผานรูเล็กๆ (pit) เทรคีดมีผนังเซลลที่แข็งแรงจึงทําหนาที่เปนโครงสรางค้ําจุนลําตนพืช และผนังเซลลมี
ลิกนิน (lignin) สะสมอยูและมีรูเล็กๆ ( pit) เพื่อทําใหติดตอกับเซลลขางเคียงได เมื่อเซลลเจริญเต็มที่
จนกระทั่งตายไป สวนของไซโทพลาซึมและนิวเคลียสจะสลายไปดวย ทําใหสวนตรงกลางของเซลลเปน
ชองวาง สวนของเทรคีดนี้พบมากในพืชชั้นต่ํา (vascular plant) เชน เฟน สนเกี๊ยะ เปนตน
2. เวสเซล (vessel) เปนเซลลที่มีขนาดคอนขางใหญ แตสั้นกวาเทรคีด เปนเซลลเดี่ยวๆ ที่ปลายทั้ง
สองขางของเซลลมีลักษณะคลายคมของสิ่ว ที่บริเวณดานขางและปลายของเซลลมีรูพรุน สวนของเวสเซล
นี้พบมากในพืชชั้นสูงหรือพืชมีดอก ทําหนาที่เปนทอลําเลียงน้ําและแรธาตุตางๆ จากรากขึ้นไปยังลําตน
และใบ เทรคีดและเวสเซลเปนเซลลที่มีสารลิกนินมาเกาะที่ผนังเซลลเปนจุดๆ โดยมีความหนาตางกัน ทํา
ใหเซลลมีลวดลายแตกตาง กันออกไปหลายแบบ ตัวอยางเชน
- annular thickening มีความหนาเปนวงๆ คลายวงแหวน
- spiral thickening มีความหนาเปนเกลียวคลายบันไดเวียน
- reticulate thickening มีความหนาเปนจุดๆ ประสานกันไปมาไมเปนระเบียบคลายตาขายเล็กๆ
- scalariform thickening มีความหนาเปนชั้นคลายขั้นบันได
- pitted thickening เปนรูที่ผนังและเรียงซอนกันเปนชั้นๆ คลายขั้นบันได
59

3. ไซเล็มพาเรนไคมา (xylem parenchyma) มีรูปรางเปนทรงกระบอกหนาตัดกลมรีหรือหนาตัด


หลายเหลีย่ ม มีผนังเซลลบางๆ เรียงตัวกันตามแนวลําตนพืช เมื่อมีอายุมากขึ้นผนังเซลลจะหนาขึ้นดวย
เนื่องจากมีสารลิกนิน ( lignin) สะสมอยู และมีรูเล็กๆ ( pit) เกิดขึน้ ดวย ไซเล็มพาเรนไคมาบางสวน
จะเรียงตัวกันตามแนวรัศมีของลําตนพืช เพื่อทําหนาที่ลําเลียงน้ําและแรธาตุตางๆ ไปยังบริเวณดานขาง
ของลําตนพืช พาเรนไคมาทําหนาที่สะสมอาหารประเภทแปง น้ํามัน และสารอินทรียอื่นๆ รวมทั้ง
ทําหนาที่ลําเลียงน้ําและแรธาตุตางๆ ไปยังลําตนและใบของพืช
4. ไซเล็มไฟเบอร (xylem fiber) เปนเซลลที่มีรูปรางยาว แตสั้นกวาไฟเบอรทั่วๆ ไป ตามปกติ
เซลลมีลักษณะปลายแหลม มีผนังเซลลหนากวาไฟเบอรทั่วๆ ไป มีผนังกั้นเปนหองๆ ภายในเซลล ไซเล็ม
ไฟเบอรทําหนาที่เปนโครงสรางค้ําจุนและใหความแข็งแรงแกลําตนพืช

รูปแสดงเนื้อเยื่อที่เปนสวนประกอบ
ของทอลําเลียงน้ําและแรธาตุ

ทอลําเลียงอาหาร
ทอลําเลียงอาหาร ( phloem) เปนเนื้อเยื่อที่ทําหนาที่ลําเลียงอาหารและสรางความแข็งแรงใหแกลําตนพืช
โดยทอลําเลียงอาหารประกอบดวยเซลล 4 ชนิด ดังนี้
1. ซีพทิวบเมมเบอร (sieve tube member) เปนเซลลที่มีรูปรางเปนทรงกระบอกยาว เปนเซลลที่
มีชีวิต ประกอบดวย ชองวางภายในเซลล ( vacuole) ขนาดใหญมาก เมื่อเซลลเจริญเติบโตเต็มที่แลวสวน
ของนิวเคลียสจะสลายไปโดยที่เซลลยังมีชีวิตอยู ผนังเซลลของซีพทิวบเมมเบอรมีเซลลูโลส ( cellulose)
สะสมอยูเล็กนอย ซีพทิวบเมมเบอรทําหนาที่เปนทางสงผานของอาหารที่ไดจากกระบวนการสังเคราะห
ดวยแสงของพืช โดยสงผานอาหารไปยังสวนตางๆ ของลําตนพืช
60

2. คอมพาเนียนเซลล (companion cell) เปนเซลลพิเศษที่มีตนกําเนิดมาจากเซลลแมเซลล


เดียวกันกับซีพทิวบ-เมมเบอร โดยเซลลตน กําเนิด 1 เซลลจะแบงตัวตามยาวไดเซลล 2 เซลล โดยเซลล
หนึง่ มีขนาดใหญ อีกเซลลหนึ่งมีขนาดเล็ก เซลลขนาดใหญจะเจริญเติบโตไปเปนซีพทิวบเมมเบอร สวน
เซลลขนาดเล็กจะเจริญเติบโตไปเปนคอมพาเนียนเซลล คอมพาเนียนเซลลเปนเซลลขนาดเล็กที่มีรูปราง
ผอมยาว มีลักษณะเปนเหลี่ยม สวนปลายแหลม เปนเซลลที่มีชีวิต มีไซโทพลาซึมที่มีองคประกอบของ
สารเขมขนมาก มีเซลลูโลสสะสมอยูที่ผนังเซลลเล็กนอย และมีรูเล็กๆ เพื่อใชเชื่อมตอกับซีพทิวบเมม
เบอรคอมพาเนียนเซลลทําหนาที่ชวยเหลือซีพทิวบเมมเบอรใหทํางานไดดีขึ้นเมื่อเซลลมีอายุมากขึ้น
เนื่องจากเมื่อซีพทิวบเมมเบอรมีอายุมากขึ้นนิวเคลียสจะสลายตัวไปทําใหทํางานไดนอยลง
3. โฟลเอ็มพาเรนไคมา (phloem parenchyma) เปนเซลลที่มีชีวิต มีผนังเซลลบาง มีรูเล็กๆ ที่ผนัง
เซลล โฟลเอ็มพาเรนไคมาทําหนาที่สะสมอาหารที่ไดจากกระบวนการสังเคราะหดวยแสงของพืช ลําเลียง
อาหารไปยังสวนตางๆ ของพืช และเสริมความแข็งแรงใหกับทอลําเลียงอาหาร
4. โฟลเอ็มไฟเบอร (phloem fiber) มีลักษณะคลายกับไซเล็มไฟเบอร มีรูปรางลักษณะยาว มีหนา
ตัดกลมหรือรี โฟลเอ็มไฟเบอรทําหนาที่ชวยเสริมความแข็งแรงใหกับทอลําเลียงอาหาร และทําหนาที่
สะสมอาหารใหแกพชื

รูปแสดงเนื้อเยื่อที่เปนสวนประกอบของทอลําเลียงอาหาร
61

การทํางานของระบบการลําเลียงสารของพืช
ระบบลําเลียงของพืชมีหลักการทํางานอยู 2 ประการ คือ
1. ลําเลียงน้ําและแรธาตุผานทางทอลําเลียงน้ําและแรธาตุ (xylem) โดยลําเลียงจากรากขึ้นไปสูใบ
เพือ่ นําน้าํ และแรธาตุไปใชในกระบวนการสังเคราะหดว ยแสง
2. ลําเลียงอาหาร (น้ําตาลกลูโคส) ผานทางทอลําเลียงอาหาร ( phloem) โดยลําเลียงจากใบไปสู
สวนตางๆ ของพืช เพื่อใชในการสรางพลังงานของพืช การลําเลียงสารของพืชมีความเกี่ยวของกับ
กระบวนตางๆ อีกหลายกระบวนการ ซึ่งตองทํางานประสานกันเพื่อใหการลําเลียงสารของพืชเปนไปตาม
เปาหมาย ระบบลําเลียงของพืชเริ่มตนที่ราก บริเวณขนราก (root hair) ซึ่งมีขนรากมากถึง 400 เสนตอ
พื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร โดยขนรากจะดูดซึมน้ําโดยวิธีการที่เรียกวา การออสโมซิส (osmosis) และวิธกี าร
แพรแบบอื่นๆ อีกหลายวิธี น้ําที่แพรเขามาในพืชจะเคลื่อนที่ไปตามทอลําเลียงน้ําและแรธาตุ ( xylem) เพื่อ
ลําเลียงตอไปยังสวนตางๆ ของพืช เมื่อน้ําและแรธาตุตางๆ เคลื่อนที่ไปตามทอลําเลียงน้ําและแรธาตุและ
ลําเลียงไปจนถึงใบ ใบก็จะนําน้าํ และแรธาตุนไ้ี ปใชในกระบวนการสังเคราะหดว ยแสง เมื่อกระบวนการ
สังเคราะหดวยแสงดําเนินไปเรื่อยๆ จนไดผลิตภัณฑเปนน้ําตาล น้ําตาลจะถูกลําเลียงผานทางทอลําเลียง
อาหาร (phloem) ไปตามสวนตางๆ เพื่อเปนอาหารของพืช และลําเลียงน้ําตาลบางสวนไปเก็บสะสมไวที่
ใบ ราก และลําตน

รูปแสดงระบบการลําเลียงสารของพืช
62

การแพร (diffusion) เปนการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเขมขนมากกวาไปสูบริเวณที่มีความ


เขมขนนอยกวา
การออสโมซิส (osmosis) เปนการแพรของน้ําจากบริเวณที่มีน้ํามากกวา (สารละลายเจือจาง) ไปสูบริเวณที่
มีน้ํานอยกวา (สารละลายเขมขน) การทํางานของระบบลําเลียงสารของพืชตองใชวิธีการแพรหลายชนิด
โดยมีทอลําเลียงน้ําและแรธาตุ (xylem) และทอลําเลียงอาหาร (phloem) เปนเสนทางในการลําเลียงสารไป
ยังลําตน ใบ กิ่ง และกานของพืช

1.2 โครงสรางและการทํางานของระบบลําเลียงน้ําในพืช
พืชที่ไมมีทอลําเลียง เชน มอส มักจะมีขนาดเล็กและเจริญในบริเวณที่มีความชื้นสูงมี
รมเงาเพียงพอ เซลลทุกเซลลไดรับน้ําอยางทั่วถึงโดยการแพรจากเซลลหนึ่งไปยังอีกเซลลหนึ่ง
สวนพืชที่มีขนาดใหญจะใชวิธีการเชนเดียวกับมอสไมได จําเปนตองมีทอลําเลียงจากรากขึ้นไปเลี้ยงเซลล
ที่อยูปลายยอดโดยปกติแลวสารละลายภายในเซลลขนรากมีความเขมขนสูงกวาภายนอก
ดังนั้นน้ําในดินก็จะแพรผานเยื่อหุมเซลลเขาสูเซลลที่ผิวของราก การเคลื่อนที่ของน้ําในดินเขาสูรากผาน
ชั้นคอรเทกซของรากไปจนถึงชั้นเอนโดเดอรมิสไดโดยน้ําจะผานจากเซลลหนึ่งไปยังอีกเซลลหนึ่งทาง
ผนังเซลลหรือผานทางชองวางระหวางเซลลเรียกเสนทางของการเคลื่อนที่แบบนี้วา อโพพลาส (apoplast)
สวนการเคลื่อนที่ของน้ําผานเซลลหนึ่งสูเซลลหนึ่งทางไซโทพลาซึม ที่เรียกวาพลาสโมเดสมาเขาไปใน
เซลลเอนโดเดอรมสิ กอนเขาสูไซเลมเรียกการเคลื่อนที่แบบนี้วา ซิมพลาส (symplast) เมื่อน้ําเคลื่อนที่
มาถึงผนังเซลลเอนโดเดอรมิสที่มีแคสพาเรียนสตริพ กั้นอยู แคสพาเรียนสติพปองกันไมใหน้ําผานผนัง
เซลลเขาไปในไซเลม ดังนั้นน้ําจึงตองผานทางไซโทพลาซึมจึงจะเขาไปในไซเลมได

ถาลองตัดลําตนของพืชบางชนิด เชน มะเขือเทศ พุทธรักษา หรือกลวยที่ปลูกในที่มีน้ําชุมให


เหลือลําตนสูงจากพื้นดินประมาณ 4-5 เซนติเมตร แลวสังเกตตรงบริเวณรอยตัดของลําตน สวนที่ติดกั บ
รากจะเห็นของเหลวซึมออกมา เนื่องจากในไซเลมของรากมีแรงดัน เรียกวา แรงดั นราก (root pressure)
การเคลื่อนที่ของน้ําเขาสูไซเลมของรากทําใหเกิดแรงดันขึ้นในไซเลม ในพืชที่ไดรับน้ําอยางพอเพียงและ
อยูในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เชนเวลากลางคืนหรือเชาตรู แรงดันรากมีประโยชนในการชวยละลาย
ฟองอากาศในไซเลมที่อาจเกิดขึ้นในชวงเวลากลางวัน แตในสภาพอากาศรอนและแหงในเวลากลางวัน
พืชมีการคายน้ํามากขึ้นจะเกิดแรงดึงของน้ําในทอไซเลมทําใหไมพบแรงดันราก การสูญเสียน้ําจากใบ
โดยการคายน้ําเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกตางระหวางปริมาณไอน้ําในบรรยากาศ และไอน้าํ ในชองวาง
ภายในใบ การลําเลียงน้ําในทอไซเลมนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากมีแรงดึงน้ําที่อยูในทอไซเลมใหขึ้นมาทดแทน
น้ําที่พืชคายออกสูบรรยากาศ แรงดึงนี้จะถูกถายทอดไปยังรากทําใหรากดึงน้ําจากดินเขามาในทอไซเลม
ไดเนื่องจากน้ํามีแรงยึดเหนี่ยวระหวางโมเลกุลของน้ําดวยกัน เอง เรียกวา โคฮีชัน (cohetion) สามารถที่จะ
63

ดึงน้ําเขามาในทอไซเลมไดโดยไมขาดตอน นอกจากนี้ยังมีแรงยึดเหนี่ยวระหวางโมเลกุลของน้ํากับผนัง
ของทอไซเลม เรียกวา แอดฮีชัน (adhesion) เมื่อพืชคายน้ํามากจะทําใหน้ําระเหยออกไปมากดวย ดังนั้นน้ํา
ในไซเลมจึงสามารถเคลื่อนที่และสงตอไปยังสวนตางๆของพืชได ไมวาจะเปนลําตน ใบ หรือยอดรากก็
จะเกิดแรงดึงน้ําจากดินเขาสูทอไซเลมได แรงดึงเนื่องจากการสูญเสียน้ํานี้เรียกวา แรงดึงจากการคายน้ํา
(transpiration pull)

1.3 โครงสรางและการทํางานของระบบลําเลียงอาหารในพืช
น้ําที่พืชลําเลียงผานชั้นคอรเทกซของรากเขาสูไซเลม มีธาตุอาหารตาง ๆ ที่รากดูดจากดินละลาย
อยูดวยการลําเลียงธาตุอาหารตาง ๆ มีความซับซอนมากกวาการลําเลียงน้ํา เพราะเซลลมักไมยอมใหธาตุ
อาหารเคลื่อนที่ผานเขาออกไดโดยอิสระ

กระบวนการเคลื่อนที่ของธาตุอาหารตางๆ เขาสูราก ทําได 2 วิธี คือ ลําเลียงแบบไมใช


พลังงาน (passive transport) โดยธาตุอาหารจะแพรจากภายนอกเซลลที่มีความเขมขนสูงกวา
ไปยังภายในเซลลที่มีความเขมขนต่ํากวา และ การลําเลียงแบบใชพลังงาน (active transport) ซึ่งเปนการ
เคลื่อนที่ของธาตุอาหารแบบอาศัยพลังงานทําใหพืชสามารถลําเลียงธาตุอาหารจากภายนอกเซลลที่มีความ
เขมขนต่ํากวาเขามาภายในเซลลได จึงทําใหพืชสะสมธาตุอาหารบางชนิดไวได

ธาตุอาหารที่จะเขาไปในไซเลมสามารถเคลื่อนผานชั้นคอรเทกซของรากไดโดยเสนทาง
อโพพลาสหรือซิมพลาส และเขาสูเซลลเอนโดเดอรมิสกอนเขาสูไซเลม ธาตุอาหารที่พืชลําเลีย ง
เขาไปในไซเลมนั้นเปนสารอนินทรียตางๆ ที่จําเปนตอการดํารงชีวิตและการเจริญเติบโตของพืช
64

ตารางแสดงธาตุอาหารทีจ่ าํ เปนตอการดํารงชีวติ ของพืช และปริมาณของธาตุอาหารแตละชนิดทีพ่ บในพืช


คารอยละของธาตุที่พบ
ธาตุ สัญลักษณทางเคมี รูปที่เปนประโยชนตอ ในเนื้อเยื่อพืช
พืช (น้ําหนักแหง)
โมลิบดีนัม Mo MoO42- 0.00001
ทองแดง Cu Cu+, Cu2+ 0.0006
แมงกานีส Mn Mn2+ 0.005
นิกเกิล Ni Ni2+ 0.003
สังกะสี Zn Zn2+ 0.002
โบรอน B H2BO3- 0.002
เหล็ก Fe Fe2+ 0.01
คลอรีน Cl Cl- 0.01
กํามะถัน S So42- 0.1
ฟอสฟอรัส P H2PO4- , HPO42- 0.2
แมกนีเซียม Mg Mg2+ 0.2
แคลเซียม Ca Ca2+ 0.5
โพแทสเซียม K K+ 1.0
ไนโตรเจน N NO3- , NH4+ 1.5
ไฮโดรเจน H H2O 6
ออกซิเจน O O2 , H2O , CO2 45
คารบอน C CO2 45

จากตาราง จะเห็นวาพืชตองการธาตุอาหารแตละชนิดในปริมาณไมเทากัน การใหปุยเปนการ


เพิ่มธาตุอาหารแกพืชถาใหมากเกินความตองการของพืชจะเปนการสิ้นเปลืองและอาจทําใหพืชตายไดซึ่ง
สามารถปองกันไดโดยการตรวจสอบธาตุอาหารที่อยูในดิน และวิเคราะหอาการของพืชวาขาดธาตุใด

จากตารางพบวา ธาตุที่พืชตองการเปนปริมาณมาก ( macronutrients) มี 9 ธาตุ ไดแก


C H O N P K Ca Mg และ S สวนธาตุที่พืชตองการปริมาณเพียงเล็กนอย (micronutrients)
ไดแก B Fe Cu Zn Mn Mo Cl และ Ni ธาตุอาหาร 2 กลุมนี้มีความสําคัญตอการเจริญเติบโตของ
พืชเทาเทียมกัน แตปริมาณที่พืชตองการแตกตางกัน องคประกอบของพืชประมาณรอ ยละ 96 ของน้าํ หนัก
แหงของพืช ประกอบดวย C H O ซึ่งธาตุทั้งสามนี้พืชไดรับจากน้ําและอากาศอยางเพียงพอ
65

นักวิทยาศาสตรใชหลัก 3 ประการที่จัดวาธาตุใดเปนธาตุอาหารที่จําเปนตอการเจริญเติบโตของพืช
คือ
1. ถาขาดธาตุนั้นพืชจะไมสารถดํารงชีพ ทําใหการเจริญเติบโตและการสืบพันธุไมครบวงจร
2. ความตองการชนิดของธาตุอาหารในการเจริญเติบโตของพืชมีความจําเพาะจะใชธาตุอื่น
ทดแทนไมได

นอกจากนี้ยังอาจจัดแบงธาตุอาหารออกไดเปน 3 กลุมตามหนาที่ทางสรีรวิทยาและชีวเคมี ดังนี้

กลุมที่ 1 เปนองคประกอบของธาตุอินทรียภายในพืช ไดแก


1.1) เปนองคประกอบของสารประกอบอินทรียหลัก ไดแก C H O N
1.2) เปนองคประกอบของสารประกอบอินทรียที่ทําหนาที่เกี่ยวกับเมแทบอลิซึม เชน P ในสาร
ATP และ Mg ที่เปนองคประกอบของคลอโรฟลล

กลุมที่ 2 แบงตามการกระตุนการทํางานของเอนไซม เชน Fe Cu Zn Mn Cl

กลุมที่ 3 แบงตามการควบคุมแรงดันออสโมติก เชน K ชวยรักษาความเตงของเซลลคุม


66

กิจกรรมเรือ่ ง โครงสรางลําเลียงน้ําและอาหารของพืช

จุดประสงคการทดลอง
1.ระบุสวนของพืชที่ใชในการลําเลียงน้ําและอาหารได

2. อธิบายกระบวนการการลําเลียงน้ําและอาหารในพืชได

วัสดุอุปกรณ
1. ตนเทียนสูงประมาณ 20 เซนติเมตร 1 ตน
2. น้ําหมึกสีแดง 15 ซม.3
3. น้ํา 1 ลิตร
4. ขวดปากกวางสูงประมาณ 10-15 ซม. 1 ใบ
5. ใบมีดโกน 1 ใบ
6. สไลดและกระจกปดสไลด 1 ชุด
7. กลองจุลทรรศน 1 กลอง
8. หลอดหยด 1 อัน

วิธีดําเนินการทดลอง
1. ใสหมึกแดงประมาณ 15 ลูกบาศกเซนติเมตร ลงในขวดปากกวางที่มีน้ํา
2. นําตนเทียนที่ลางน้ําสะอาดแลว แชลงในขวดที่มีน้ําหมึกสีแดง แลวนําไปไวกลางแดด
ประมาณ 20-30 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผล
3. นําตนเทียนออกมาลางน้ํา ใชใบมีดโกนตัดลําตนตามขวางตรงสวนที่มีลําตนอวบ ไมมีกิ่งให
ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
4. นําสวนที่ตัดออกมาตัดตามขวางใหบางที่สุด แลวนําไปวางบนสไลด หยดน้ํา 1-2 หยด ปด
ดวยกระจกปดสไลด นําไปสองดูดวยกลองจุลทรรศน สังเกตวาดรูปตําแหนงที่เปนสีแดง
และบันทึกผล
5. นําสวนที่ไดออกมาตัดตามยาวบางๆยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร แลวดําเนินตามขั้นตอน
เหมือนขอ 4
67

หมายเหตุ
1. การถอนตนเทียน ตองคอยๆถอนตนเทียนทั้งตน พยายามใหรากติดมามากที่สุด แลวลางดิน
ออกทันทีโดยการจับสายไปมาเบาๆ ในน้ํากอนที่จะจุมลงในน้ําหมึกสีแดง
2. ผูเรียนตองสังเกตการณเปลี่ยนแปลงภายในราก ลําตนและใบอยางละเอียด

ตารางบันทึกผล
สิ่งที่ทดลอง ภาพ ลักษณะที่สังเกตได
1.จุมตนเทียนลงในน้ําหมึกสีแดง

2. เมือ่ สอง ลําตนตัดขวาง


ดวยกลอง
จุลทรรศน ลําตนตัดยาว
68

1.4 กระบวนการสังเคราะหดว ยแสง

1.4.1 ความสําคัญของกระบวนการสังเคราะหดวยแสง คือ พืชมีความสามารถในการนําพลังงาน


แสงมาตรึงคารบอนไดออกไซดและสรางเปนอาหารเก็บไวในรูปสารอินทรีย โดยกระบวนการสังเคราะห
ดวยแสง นอกจากนี้ยังทราบอีกวาในใบพืชมีคลอโรฟลล ซึ่งจําเปนตอการสังเคราะหดวยแสง และ
ผลผลิตที่ไดคือ คารโบไฮเดรต น้ํา และออกซิเจนและยังไดทราบวาพืชมีโครงสรางที่เหมาะสมตอการ
ทํางานไดอยางไร

กระบวนการสังเคราะหดว ยแสง
กระบวนการสังเคราะหดวยแสงของพืช แบงเปน 2 ขั้นตอนใหญ คือ ปฏิกิริยาแสงและปฏิกิริยาตรึง
คารบอนไดออกไซด

โครงสรางของคลอโรพลาสต
จากการที่ศึกษาดวยการใชกลองจุลทรรศนอิเล็กตอนและเทคนิคตางๆ ทําใหเราทราบ
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสรางและหนาที่ของคลอโรพลาสตมากขึ้น คลอโรพลาสตสวนใหญ
ของพืชจะมีรูปรางกลมรี มีความยาวประมาณ5 ไมโครเมตร กวาง 2ไมโครเมตร หนา1-2
ไมโครเมตร ในเซลลของแตละใบจะมีคลอโรพลาสตมากนอยแตกตางกันไปขึ้นอยูกับชนิดของเซลล
และชนิดของพืช คลอโรพลาสต ประกอบดวยเยื่อหุม 2 ชั้น ภายในมีของเหลวเรียกวา สโตรมา
มีเอนไซมที่จําเปนสําหรับกระบวนการตรึงคารบอนไดออกไซดในการสังเคราะหดวยแสงนอกจากนี้ดาน
ในของคลอโรพลาสต ยังมีเยื่อไทลาคอยด สวนที่พับทับซอนไปมาเรียกวา กรานุม และสวนที่ไมทับ
ซอนกันอยูเรียกวาสโตรมาลาเมลลา สารสีทั้งหมดและคลอโรฟลลจะอยูบนเยื่อไทลาคอยด มีชองเรียก
ลูเมน ซึ่งมีของเหลวอยูภายใน
นอกจากนี้ภายในคลอโรพลาสตยังมี DNA RNA และไรโบโซมอยูดวย ทําใหคลอโรพลาสต
สามารถจําลองตัวเองขึ้นมาใหมและผลิตเอนไซมไวใชในคลอโรพลาสต ในคลอโรพลาสตเองมีลักษณ
คลายกับไมโทคอนเดรีย
1.4.2 ปจจัยที่จําเปนสําหรับกระบวนการสังเคราะหดวยแสง
ปจจัยที่ควบคุมการสังเคราะห ดวย แสงสามารถแบงไดเปนปจจัยภายใน และปจจัย ภายนอก
ซึ่งปจจัยภายในจะเกี่ยวของกับผลของพันธุกรรมของพืช และปจจัยภายนอกเปนปจจัยที่เกี่ยวของกับ
สภาพแวดลอม
69

1. ปจจัยภายใน
1.1 โครงสรางของใบ
การเขาสูใบของคารบอนไดออกไซดจะยากงายไมเทากัน ทั้งนี้ขึ้นอยูกับขนาด
และจํานวน ตลอดจนตําแหนงของปากใบ ซึ่งอยูแตกตางกันในพืชแตละชนิด นอกจากนั้นปริมาณของ
ชองวางระหวางเซลลซึ่งเกิดจากการเรียงตัวของเนื้อเยื่อเมโซฟลล (Mesophyll) ของใบยังมีผลตอการ
แลกเปลี่ยนคารบอนไดออกไซดดวย ความหนาของชั้นคิวติเคิล เซลลผิว (Epidermis) และขนของใบจะ
มีผลในการทําใหคารบอนไดออกไซดกระจายเขาสูใบไดไมเทากันเพราะถาหนาเกินไปแสงจะตกกระทบ
กับคลอโรพลาสตไดนอยลง
1.2 อายุของใบ
เมื่อพิจารณาถึงใบแตละใบของพืช จะพบวาใบออนสามารถสังเคราะหแสงได
สูงจนถึงจุดที่ใบแก แตหลังจากนั้น การสังเคราะหแสงจะลดลงเมื่อใบแกและเสื่อมสภาพ ใบเหลืองจะไม
สามารถสังเคราะหแสงได เพราะไมมีคลอโรฟลล
1.3 การเคลื่อนยายคารโบไฮเดรต
โดยทั่วไปน้ําตาลซูโครสจะเคลื่อนยายจาก Source ไปสู Sink ดังนั้นมักพบ
เสมอวาเมือ่ เอาสวนหัว เมล็ด หรือผลที่กําลังเจริญเติบโตออกไปจากตนจะทําใหการสังเคราะหแสงลดลง
ไป 2-3 วัน เพราะวาน้ําตาลจากใบไมสามารถเคลื่อนยายได พืชที่มีอัตราการสังเคราะหแสงสูง จะมี
การเคลื่อนยายน้ําตาลไดสูงดวย การที่ใบเปนโรคจะทําใหพืชสังเคราะหแสงไดลดลง เพราะวาใบกลาย
สภาพเปน Sink มากกวา Source แตใบที่อยูใกลกันแตไมเปนโรคจะมีอัตราการสังเคราะหแสงเพิ่มขึ้น
อยางไรก็ตามการเพิ่ม Sink ใหกับตน เชนเพิ่มจํานวนฝกของขาวโพด เพิ่มจํานวนผลที่ติด เพิ่มจํานวนหัว
จะทําใหการสังเคราะหแสงเพิ่มขึ้น
1.4 โปรโตพลาสต
อัตราการสังเคราะหแสงจะมีความสัมพันธกับการทํางานของโปรโต
พลาสตมาก เมื่อพืชขาดน้ําสภาพคอลลอยดของโปรโตพลาสตจะอยูในสภาพขาดน้ําดวยทําใหเอนไซมที่
เกี่ยวของกับการสังเคราะหแสงทํางานไดไมเต็มที่ แตพืชแตละชนิดโปรโตพลาสตจะปรับตัวใหทํางานได
ดีไมเทากัน ทําใหอัตราการสังเคราะหแสงเปลี่ยนไปไมเทากัน
70

2. ปจจัยภายนอก
2.1. ปริมาณของ CO2 ปกติจะมีเทากับ 0.03 เปอรเซ็นต การสังเคราะหแสงจะเพิ่มขึ้น
เมื่อปริมาณของ CO2 ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น ยกเวนเมื่อปากใบปดเพราะการขาดน้ํา ความแตกตางระหวาง
พืช C3 และ C4 ในแงของ CO2 คือ ถาปริมาณของ CO2 ลดลงต่ํากวาสภาพบรรยากาศปกติแตแสงยังอยู
ในระดับความเขมเหนือจุด Light Compensation พบวา พืช C3 จะมีการสังเคราะหแสง เปน 0 ถามี
ความเขมขนของ CO2 50-100 สวนตอลาน แตพืช C4 จะยังคงสังเคราะหแสงไดตอไป แม CO2 จะต่าํ
เพียง 0-5 สวนตอลานก็ตาม ความเขมขนของ CO2 ที่จุดซึ่งอัตราการสังเคราะหแสงเทากับอัตราการ
หายใจเรียกวา CO2 Compensation Point ขาวโพดมี CO2 Compensation Point อยูที่ 0 สวนตอ
ลาน ในขณะที่ทานตะวันมีคาถึง 50 สวนตอลาน
การเพิ่มความเขมขนของคารบอนไดออกไซดใหสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จะมีผลทําใหเกิดการ
สังเคราะหแสงไดมากขึ้น แตเมื่อเพิ่มขึ้นสูงถึง 0.5 เปอรเซ็นต พืชจะมีการสังเคราะหแสงไดมากขึ้น แต
พืชจะทนไดระยะหนึ่ง คือประมาณ 10-15 วัน หลังจากนั้นพืชจะชะงักการเจริญเติบโต โดยทั่วไปพืช
C4 จะทนตอความเขมขนของคารบอนไดออกไซดไดดีกวาพืช C3
2.2. ความเขมของแสง ใบของพืช C4 ตอบสนองตอความเขมของแสงเปนเสนตรงคือเมื่อ
เพิ่มความเขมของแสง อัตราการสังเคราะหแสงจะเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปยอดของพืช C4 จะไดรบั แสง
มากกวาใบลาง ดังนั้นใบยอดอาจจะไดรับแสงจนถึงจุดอิ่มตัวได ในขณะที่ใบลางจะไมไดรับแสงจนถึง
จุดอิ่มตัวเพราะถูกใบยอดบังแสงไว แตเมื่อพิจารณาพืชทั้งตนหรือทั้งปา จะพบวาพืชไมไดรับแสงถึงจุดที่
จะทําใหการสังเคราะหแสงสูงสุดเพราะมีการบังแสงกันภายในทรงพุม สวนคุณภาพของแสงนั้นแสงที่มี
ความยาวคลื่นชวง 400-700 nm เหมาะสมที่สุด
ความเขมของแสง หรือปริมาณพลังงานแสงตอหนึ่งหนวยพื้นที่ ซึ่งมีหนวยเปน ลักซ
(Lux) (10.76 lux = 1 ft-c) ในแตละทองที่จะมีความเขมของแสงไมเทากัน ซึ่งทําใหพืชมีการปรับตัวทาง
พันธุกรรมตางกัน การสังเคราะหแสงของพืชโดยทั่วไปจะดีขึ้นเมื่อพืชไดรับความเขมของแสงมาก
ขึ้น เมื่อพืชไดรับความเขมของแสงต่ํากวาที่พืชตองการพืชจะมีอัตราการสังเคราะหแสงต่ําลง แตอัตราการ
หายใจของพืชจะเทาเดิม เมื่ออัตราการสังเคราะหแสงลดต่ําลง จนทําใหอัตราการสรางอาหารเทากับอัตรา
การใชอาหารจากการหายใจ ในกรณีนี้จํานวนคารบอนไดออกไซดที่ตรึงไวจะเทากับจํานวน
คารบอนไดออกไซดที่ปลอยออกมา ที่จุดนี้การแลกเปลี่ยนกาซมีคาเปนศูนย เปนจุดซึ่งเรียกวา Light หรือ
CO2 Compensation point ซึ่งพืชจะไมเจริญเติบโตแตสามารถมีชีวิตอยูได ถาความเขมของแสงต่ําลง
กวานี้อีกพืชจะขาดอาหารทําให
71

ตายไปในที่สุด แตการเพิ่มความเขมของแสงมากขึ้นไมไดทําใหอัตราการสังเคราะหแสงสูงเสมอไป
เพราะพืชมีจุดอิ่มตัวแสง ซึ่งถาหากความเขมของแสงเพิ่มไปอีกจะทําใหพืชใบไหม ซึ่งปกติพืช C4 จะมี
ประสิทธิภาพในการใชแสงดีกวาพืช C3
ความยาวของชวงที่ไดรับแสง (Light Duration) เมื่อชวงเวลาที่ไดรับแสงยาว
นานขึ้น อัตราการสังเคราะหแสงจะเพิ่มขึ้นดวย โดยเปนสัดสวนโดยตรงกับความยาวของวัน ดังนัน้ การ
เรงการเจริญเติบโตของพืชในเขตหนาวซึ่งในชวงฤดูหนาวจะมีวันที่สั้นจึงจําเปนตองใหแสงเพิ่มกับพืชที่
ปลูกในเรือนกระจก
คุณภาพของแสง (Light quality) แสงแตละสีจะมีคุณภาพหรือขนาดของโฟตอนหรือ
พลังงานที่ไมเทากัน จึงทําใหเกิดจากเคลื่อนยายอีเลคตรอนไดไมเทากัน ขนาดของโฟตอนจะตองพอดีกับ
โครงสรางของโมเลกุลของคลอโรฟลล ถาหากไมพอดีกันจะตองมี Accessory pigment มาชวยรับ
แสง โดยมีลักษณะเปนแผงรับพลังงาน (Antenna system) แลวสงพลังงานตอไปใหคลอโรฟลลเอ
ดังกลาวมาแลว ในสภาพธรรมชาติ เชน ในปาหรือทองทะเลลึก แสงที่พืชสามารถใชประโยชนในการ
สังเคราะหแสงไดมักจะถูกกรองเอาไวโดยตนไมที่สูงกวาหรือแสงดังกลาวไมสามารถสองลงไปถึง พืช
เหลานี้มักจะไดรับแสงสีเขียวเทานั้น พืชเหลานี้หลายชนิดจะพัฒนาระบบใหมีรงควัตถุซึ่งสามารถนําเอา
พลังงานจากแสงสีเขียวมาใชประโยชนได

2.3. อุณหภูมิ ชวงอุณหภูมิที่พืชสังเคราะหแสงไดคอนขางกวาง เชน แบคทีเรีย และ


สาหรายสีน้ําเงินแกมเขียว สามารถสังเคราะหแสงไดที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ในขณะที่พืชตระกูลสน
สามารถสังเคราะหแสงไดอยางชามากที่อุณหภูมิ –6 องศาเซลเซียส พืชในเขตแอนตารคติก บาง
ชนิด สามารถสังเคราะหแสงไดที่อุณหภูมิ –18 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเหมาะสมในการสังเคราะห
แสงเทากับ 0 องศาเซลเซียส ใบของพืชชั้นสูงทั่ว ๆ ไป อาจจะมีอุณหภูมิสูงถึง 35 องศาเซลเซียส ในขณะ
ไดรบั แสง แตการสังเคราะหแสงก็ยังดําเนินตอไปได ผลของอุณหภูมิตอการสังเคราะหแสงจึงขึ้นกับ
ชนิดของพืชและสภาพแวดลอมที่พืชเจริญเติบโต เชน พืชทะเลทราย จะมีอุณหภูมิเหมาะสมสูง
กวาพืชในเขตอารคติก พืชที่เจริญไดดีในเขตอุณหภูมิสูง เชน ขาวโพด ขาวฟาง ฝาย และถัว่ เหลืองจะมี
อุณหภูมิที่เหมาะสมสูงกวาพืชที่เจริญไดดีในเขตอุณหภูมิต่ํา เชน มันฝรั่ง ขาวสาลี และขาวโอต โดยทั่วไป
อุณหภูมิเหมาะสมในการสังเคราะหแสงของพืชแตละชนิดจะใกลเคียงกับอุณหภูมิของสภาพแวดลอม
ตอนกลางวันในเขตนัน้ ๆ ตามปกติพืช C4 จะมีอุณหภูมิเหมาะสมตอการสังเคราะหแสงสูงกวาพืช C3 คา
Q10 ของการสังเคราะหแสงประมาณ 2-3 และอุณหภูมิจะมีผลกระทบตอ Light Reaction นอยมาก
เมื่อเทียบกับ Enzymatic Reaction
72

2.4. น้ํา จะเกี่ยวของกับการปดเปดของปากใบ และเกี่ยวของกับการใหอีเลคตรอน


เมือ่ เกิดสภาวะขาดแคลนน้าํ พืชจะคายน้ําไดเร็ววาการดูดน้ําและลําเลียงน้ําของราก ทําใหตนไมสูญเสียน้ํา
อยางรวดเร็ว ทําใหการทํางานของเอนไซมตาง ๆ ผิดปกติ และตอมาปากใบจะปด การขาดแคลนน้ําที่ต่ํากวา
15 เปอรเซ็นต อาจจะยังไมมีผลกระทบกระเทือนตออัตราการสังเคราะหแสงมากนัก แตถาเกิดสภาวะขาด
แคลนถึง 15 เปอรเซ็นตแลวจะทําใหปากใบปดจึงรับคารบอนไดออกไซดไมได
2.5. ธาตุอาหาร
เนื่องจากคลอโรฟลลมีแมกนีเซียมและไนโตรเจนเปนธาตุที่อยูในโมเลกุลดวย
ดังนั้นหากมีการขาดธาตุทั้งสองจะทําใหการสังเคราะหแสงลดลง
73

กิจกรรมเรือ่ ง คลอโรฟลกับการสรางอาหารของพืช ( สังเคราะหแสง )


จุดประสงคการทดลอง
สรุปความสําคัญของคลอโรฟลตอกาสังเคราะหดวยแสงของพืชได
วัสดุอุปการณ
1. ใบชบาดาง ( เปนใบที่เด็ดมาในวันทําการทดลอง ) 1 ใบ
2. สารละลายไอโอดีน 1 ลูกบาศกเซนติเมตร
3. น้ําแปง 5 ลูกบาศกเซนติเมตร
4. แอลกอฮอล 15 ลูกบาศกเซนติเมตร
5. น้ํา 100 ลูกบาศกเซนติเมตร
6. ไมขีดไฟ 1 กลัก
7. บีกเกอรขนาด 250 ลบ.ซม. 1 ใบ
8. หลอดทดลองขนาดใหญ 1 หลอด
9. หลอดทดลองขนาดเล็ก 1 หลอด
10.หลอดหยด 1 อัน
11.ถวยกระเบื้อง 1 ใบ
12.ปากคีบ 1 อัน
13.ตะเกียงแอลกอฮอลพรอมทื่กั้นลมและตะแกรงลวด 1 ชุด
วิธกี ารทดลอง
1. นําใบชบาที่ถูกแสงแดดประมาณ 3 ชั่วโมงมาวาดรูปเพื่อแสดงสวนที่เปนสีขาวและสีเขียว
2. ใสน้ําประมาณ 40 ลูกบาศกเซนติเมตร ลงในบีกเกอรตมใหเดือด ใสใบชบาดางในบีกเกอร
ที่มีน้ําเดือด
3. ใชปากคีบคีบใบชบาดางที่ตมแลวใสในหลอดทดลองขนาดใหญที่มีแอลกอฮอลพอทวมใบ
แลวนําไปตมประมาณ 1 – 2 นาที จนกระทั่งสีซีด สังเกตการณเปลี่ยนแปลง ( แอลกอฮอลเปน
สารไวไฟจึงตองตมใหความรอนผานน้ํา )
4. นําไบชบาดางในขอ 3 ไปลางดวยน้ําเย็น สังเกตการณเปลี่ยนแปลง
5. นําใบชบาดางที่ลางแลวมาวางในถวยกระเบื้อง แลวหยดดวยสารละลายไอโอดีนใหทั่วทั้งใบ
ทิ้งไวประมาณครึ่งนาที
6. นําใบชบาดางไปลางน้ํา สังเกตการณเปลี่ยนแปลงและวาดรูป เปรียบเทียบกับกอน
การทดลอง พรอมบันทึกผล
7. ใสน้ําแปงประมาณ 5 ลูกบาศกเซนติเมตร ลงในหลอดทดลองขนาดเล็กหยดสารละลาย
ไอโอดีน 2 – 3 หยดลงในหลอดทดลอง สังเกตการณเปลีย่ นแปลงและบันทึกผล
74

ตารางบันทึกผล
สิ่งที่นํามาทดสอบ ผลการทดสอบที่สังเกตได
สวนสีเขียวของใบชบาดาง
สวนสีขาวของใบชบาดาง
น้ําแปง
75

1.5 ระบบสืบพันธุในพืช

1.5.1 โครงสรางการทํางานระบบสืบพันธุพืชไรดอก

การสืบพันธุของพืชไมมีดอก
การสืบพันธุของพืชไรดอก เปนการสืบพันธุแบบไมอาศัยเพศ เพราะเปนพืชชั้นต่ํา ไมมีดอก มีอวัยวะ
ตางๆ ไมครบ การสืบพันธุแบบไมอาศัยเพศของพืชไรดอก มีวิธีการตางๆ เชน การแตกหนอ การสราง
สปอร การแบงตัว ดังนี้
1. เฟรน สืบพันธุโดยการสรางสปอร สปอรจะอยูภายในอับสปอรที่อยูใตใบหรือที่กานใบ เมือ่ แก
เต็มที่อับสปอรซึ่งเปนถุงเล็ก ๆ จะแตกออกและปลิวไปตามลม เมื่อตกในที่เหมาะก็จะงอกเปนตนใหม

2. สาหราย สาหรายเซลลเดียวสืบพันธุโดยการแบงตัว สาหรายหลายเซลล สืบพันธุโดยการสราง


สปอรหรือผสมระหวางเซลลตัวผูและเซลลตัวเมีย
3. เห็ด สืบพันธุโดยการสรางสปอร สปอรจะอยูภายในริ้วหรือครีบใตสวนหัวที่คลายหมวก สวน
ที่เราเรียกดอกเห็ดนั้น เปนสวนหนึ่งของตนเห็ด ทําหนาที่สรางสปอร ตนเห็ดจริง ๆ เปนเสนสายสีขาว
ๆ อยูในสิ่งที่มันอาศัยอยู สปอรเมื่อแกก็จะปลิวไปยังที่ตางๆ เมื่อมีความชุม ชื้น
อาหาร แสงแดดพอเหมาะก็จะงอกเปนตนเห็ด
4. รา สืบพันธุโดยการสรางสปอร มีลําตนเปนเสนใย รามีหลายสี เชน สีสม ,
สีดํา, สีเหลือง, สีเขียว

5. ยีสต มีการสืบพันธุสองแบบ เมื่อมีอาหารบริบูรณจะแตกหนอเกิดตนใหม


เมื่อมีอาหารฝดเคืองจะสืบพันธุโดยการสรางสปอร
76

1.5.2 โครงสรางการทํางานระบบสืบพันธุพืชมีดอก

โครงสรางและการทํางานของระบบสืบพันธุของพืชมีดอก

ดอกไมนานาชนิด จะเห็นวานอกจากจะมีสีตางกันแลวยังมีรูปราง ขนาด และโครงสรางขอก


ดอกแตกตางกัน ดอกบางชนิดมีกลีบดอกซอนกันหลายชั้น บางชนิดมีกลีบดอกไมมากนักและมีชั้นเดียว
ดอกบางชนิดมีขนาดใหญมาก บางชนิดเล็กเทาเข็มหมุด นอกจากนี้ดอกบางชนิดมีกลิ่นหอมนาชื่นใจ แต
บางชนิดมีกลิ่นฉุนหรือบางชนิดไมมีกลิ่น ความหลากหลายของดอกไมเหลานี้เกิดจากการที่พืชดอกมี
วิวัฒนาการมายาวนาน จึงมีความหลากหลายทั้งสี รูปราง โครงสราง กลิ่น ฯลฯ แตถึงแมจะมีความ
แตกตางกันดอกก็ทําหนาที่เหมือนกันคือ เปนอวัยวะสืบพันธุของพืช

โครงสรางของดอก

ดอกไมตางๆ ถึงแมจําทําหนาที่ในการสืบพันธุเหมือนกันแตก็มีโครงสรางแตกตางกันไปตามแต
ชนิดของพืช ดอกแตละชนิดมีโครงสรางของดอกแตกตางกันออกไป บางชนิดมีโครงสรางหลักครบทั้ง 4
สวน ซึ่งไดแก กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู และเกสรตัวเมีย เรียกวา ดอกสมบูรณ (complete flower) แต
ถาขาดสวนใดสวนหนึง่ ไปไมครบ 4 สวนเรียกวา ดอกไมสมบูรณ (incomplete flower) และดอกที่มีทั้ง
77

เกสรเพศผูและเกสรเพศเมียอยูภายในดอกเดียวกัน เรียกวา ดอกสมบูรณเพศ (perfect flower) ถามีแต


เกสรเพศผูหรือเกสรเพศเมียเพียงอยางเดียว เรียกวา ดอกไมสมบูรณเพศ (imperfect flower)จาก
โครงสรางของดอกยังสามารถจําแนกประเภทของดอกไดอีกโดยพิจารณาจากตําแหนงของรังไข เมื่อเทียบ
กับฐานรองดอกซึ่งไดแก ดอกประเภทที่มีรังไขอยูเหนือฐานรองดอก เชน ดอกมะเขือ จําป ยี่หุบ บัว
บานบุรี พริก ถั่ว มะละกอ สมเปนตน และดอกประเภทที่มีรังไขอยูใตฐานรองดอก เชน ดอกฟกทอง
แตงกวา บวบ ฝรั่ง ทับทิม กลวย พลับพลึง เปนตน ดอกของพืชแตละชนิดจะมีจํานวนดอกบนกานดอกไม
เทากัน จึงสามารถแบงดอกออกเปน 2 ประเภท คือ ดอกเดียว (solotary flower) และ ชอ ดอก
(inflorescences flower)

ดอกเดี่ยว หมายถึง ดอกหนึ่งดอกที่พัฒนามาจากตาดอกหนึ่งตา ดังนั้นดอกเดี่ยวจึงมีหนึ่งดอก


บนกานดอกหนึ่งกาน เชน ดอกมะเขือเปราะ จําป บัว เปนตน

ชอดอก หมายถึง ดอกหลายดอกที่อยูบนกานดอกหนึ่งกาน เชน เข็ม ผักบุง มะลิ กะเพรา กลวย


กลวยไม ขาวเปนตน แตการจัดเรียงตัว และการแตกกิ่งกานของชอดอกมีความหลากหลาย
นักวิทยาศาสตรใชลักษณะการจัดเรียงตัวและการแตกกิ่งกานของชอดอกจําแนกชอดอกออกเปนแบบ
ตางๆ
ชอดอกบางชนิดมีลักษณะคลายดอกเดี่ยว ดอกยอยเกิดตรงปลายกานชอดอกเดียวกัน ไมมีกาน
ดอกยอยดอกยอยเรียงกันอยูบนฐานรองดอกที่โคงนูนคลายหัว เชน ทานตะวัน ดาวเรือง บานชื่น
บานไมรูโรย ดาวกระจาย เปนตนชอดอกแบบนี้ประกอบดวยดอกยอยๆ 2 ชนิด คือ ดอกวงนอกอยูรอบ
นอกของดอก และดอกวงในอยูต รงกลางดอกดอกวงนอกมี 1 ชั้น หรือหลายชั้นเปนดอกสมบูรณเพศ
หรือไมสมบูรณเพศก็ได สวนมากเปนดอกเพศเมียสวนดอกวงในมักเปนดอกสมบูรณเพศมีกลีบดอกเชื่อม
กันเปนรูปทรงกระบอกอยูเหนือรังไข

การสรางเซลลสืบพันธุของพืชดอก
การสรางเซลลสืบพันธุเพศผูของพืชดอกจะเกิดขึ้นภายใน อับเรณู (anther) โดยมี ไมโครสปอร
มาเทอรเซลล (microspore mother cell) แบงเซลลแบบไมโอซิสได 4 ไมโครสปอร (microspore) แตละ
เซลลมีโครโมโซมเทากับ n หลังจากนั้นนิวเคลียสของไมโครสปอรจะแบงแบบไมโทซิส ได 2 นิวเคลียส
คือ เจเนอเรทิฟนิวเคลียส (generative nucleus) และทิวบนิวเคลียส (tube nucleus) เรียกเซลลในระยะนี้
วา ละอองเรณู (pollen grain) หรือแกมีโทไฟตเพศผู (male gametophyte) ละอองเรณูจะมีผนังหนา ผนัง
ชั้นนอกอาจมีผิวเรียบ หรือเปนหนามเล็กๆแตกตางกันออกไปตามแตละชนิดของพืช เมือ่ ละอองเรณูแก
เต็มท ี่อับเรณูจะแตกออกทําใหละอองเรณูกระจายออกไปพรอมที่จะผสมพันธุตอไปได
78

การสรางเซลลสืบพันธุเพศเมียของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข ภายในรังไขอาจมีหนึ่ง ออวุล


(ovule) หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีหลายเซลล แตจะมีเซลลหนึ่งที่มีขนาดใหญ เรียกวา เมกะสปอรมา
เทอรเซลล (megaspore mother cell) มีจํานวนโครโมโซม 2 n ตอมาจะแบงเซลลแบบไมโอซิสได
4 เซลล สลายไป 3 เซลล เหลือ 1 เซลล เรียกวา เมกะสปอร (megaspore) หลังจากนั้นนิวเคลียสของเมกะ
สปอรจะแบงแบบไมโทซิส 3 ครั้ง ได 8 นิวเคลียส และมีไซโทพลาซึมลอมรอบ เปน 7 เซลล 3 เซลล
อยูตรงขามกับ ไมโครไพล (micropyle) เรียกวา แอนติแดล (antipodals) ตรงกลาง 1 เซลลมี 2 นิวเคลียส
เรียก เซลลโพลารนิวคลีไอ (polar nuclei cell) ดานไมโครไพลมี 3 เซลล ตรงกลางเปน เซลลไข
(egg cell) และ2 ขางเรียก ซินเนอรจิดส (synergids) ในระยะนี้ 1 เมกะสปอรไดพัฒนามาเปนแกมีโทไฟต
ที่เรียกวา ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) หรือแกมีโทไฟตเพศเมีย (female gametophyte)

การถายละอองเรณู
พืชดอกแตละชนิดมีละอองเรณูและรังไขที่มีรูปรางลักษณะ และจํานวนที่แตกตางกัน
เมือ่ อับเรณูแกเต็มทีผ่ นังของอับเรณูจะแตกออกละอองเรณูจะกระจายออกไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย
โดยอาศัยสื่อตางๆพาไป เชน ลม น้ํา แมลง สัตว รวมทั้งมนุษย เปนตน ปรากฏการณที่ละอองเรณูตกลงสู
ยอดเกสรตัวเมีย เรียกวา การถายละอองเรณู (pollination)

พืชบางชนิดที่เปนพืชเศรษฐกิจ หรือพืชที่ใชบริโภคเปนอาหาร ถาปลอยใหเกิดการถายละออง


เรณูตามธรรมชาติ ผลผลิตที่ไดจะไมมากนัก เชน ทุเรียนพันธุชะนีจะติดผลเพียงรอยละ 3 สวนพันธุ
กานยาวติดผลรอยละ 10 พืชบางชนิด เชน สละ เกสรเพศผูมีนอยมาก จึงทําใหการถายละอองเรณูเกิดได
นอย นอกจากนี้ยังมีปจจัยหลายประการที่สงผลใหการถายละอองเรณูไดนอย เชน จํานวนของแมลงที่มา
ผสมเกสร ระยะเวลาของการเจริญเติบโตเต็มที่ของเกสรเพศเมีย และเกสรเพศผูไมพรอมกัน ปจจุบัน
มนุษยจึงเขาไปชวยทําใหเกิดการถายละอองเรณูไดมากขึ้น เชน เลี้ยงผึ้งเพื่อชวยผสมเกสร ศึกษาการเจริญ
ของละอองเรณู และออวุล แลวนําความรูมาชวยผสมเกสร เชน ในทุเรียนการเจริญเติบโตของอับเรณูจะ
เจริญเต็มทีใ่ นเวลา 19.00 – 19.30 น. ชาวสวนก็จะตัดอับเรณูที่แตกเก็บไว และเมื่อเวลาที่เกสรเพศเมียเจริญ
เต็มที่ คือ ประมาณเวลา 19.30 น. เปนตนไป ก็จะนําพูกันมาแตะละอองเรณูที่ตัดไววางบนยอดเกสรเพศ
เมีย หรือเมื่อตัดอับเรณูแลวก็ใสถุงพลาสติก แลวไปครอบที่เกสรเพศเมีย เมื่อเกสรเพศเมียเจริญเต็มที่แลว
การถายละอองเรณูจะเกิดไดดี และในผลไมอื่น เชน สละก็ใชวิธีการเดียวกันนี้

การปฏิสนธิซอน
เมือ่ ละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ทิวบนวิ เคลียสของละอองเรณูแตละอันจะสรางหลอด
ละอองเรณูดวยการงอกหลอดลงไปตามกานเกสรเพศเมียผานทางรูไมโครไพลของออวุล ระยะนี้เจเนอ
เรทิฟนิวเคลียสจะแบงนิวเคลียสแบบไมโทซิสได 2 สเปรมนิวเคลียส (sperm nucleus) สเปรมนิวเคลียส
79

หนึ่งจะผสมกับเซลลไขไดไซโกต สวนอีกสเปรมนิวเคลียสจะเขาผสมกับเซลลโพลารนิวเคลียสไอได เอน


โดสเปรม (endosperm) เรียกการผสม 2 ครั้ง ของสเปรมนิวเคลียสนี้วา การปฏิสนธิซอน (double
fertilization)

การเกิดผล
ภายหลังการปฏิสนธิ ออวุลแตละออวุลจะเจริญไปเปนเมล็ด สวนรังไขจะเจริญไปเปนผล
มีผลบางชนิดที่สามารถเจริญมาจากฐานรองดอก ไดแก ชมพู แอปเปล สาลี่ ฝรั่ง

ผลของพืชบางชนิดอาจเจริญเติบโตมาจากรังไขโดยไมมีการปฏิสนธิ หรือมีการปฏิสนธิ
ตามปกติแตออวุลไมเจริญเติบโตเปนเมล็ด สวนรังไขสามารถเจริญเติบโตเปนผลได เชน กลวยหอม องุน
ไมมีเมล็ด

นักพฤกษศาสตรไดแบงผลตามลักษณะของดอกและการเกิดผลออกเปน 3 ชนิด ดังนี้

1. ผลเดี่ยว (simple fruit) เปนผลที่เกิดจากดอกเดี่ยว หรือ ชอดอกซึ่งแตละดอกมีรังไขเพียงอัน


เดียว เชน ลิ้นจี่ เงาะ ลําไย ทุเรียน ตะขบ เปนตน

2. ผลกลุม (aggregate fruit) เปนผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอกซึ่งมีหลายรังไขอยูแยกกันหรือติดกัน


ก็ไดอยูบ นฐานรองดอกเดียวกัน เชน นอยหนา กระดังงา สตรอเบอรี่ มณฑา เปนตน

3. ผลรวม (multiple fruit) เปนผลเกิดจากรังไขของดอกยอยแตละดอกของชอดอกหลอ มรวมกัน


เปนผลใหญ เชน ยอ ขนุน หมอน สับปะรด เปนตน
80

กิจกรรม เรื่องการสืบพันธุของพืช

ใหผูเรียนแบงกลุมทํากิจกรรมเกี่ยวกับการสืบพันธุของพืชโดยเตรียมวัสดุอุปกรณดังนี้
วัสดุอุปกรณ
1.น้ํา 10 ซม.3
2. ดอกผักบุง 1 ดอก
3. ดอกบัวหลวง 1 ดอก
4. ดอกกลวยไม 1 ดอก
5. ดอกตําลึง 1 ดอก
6. ใบมีดโกน 1 ใบ
7. กาวลาเท็กซ 1 ขวด
8. กระดาษวาดเขียนขนาด 20 ซม. X 30 ซม. 1 แผน
9. แวนขยาย 1 อัน
10.กลองจุลทรรศน 1 กลอง
11.สไลด และกระจกปดสไลด 1 ชุด
12.เข็มหมุด 1 อัน
13.แทงแกว 1 อัน
14.หลอดหยด 1 อัน
หมายเหตุ
การนําดอกไมในขอ 2 – 5 ผูเรียนควรใสดอกไมในถุงพลาสติก พรมน้ํา และรัดปากถุง เพื่อให
ดอกไมสดอยูเ สมอ
วิธีดําเนินการทดลอง
1. นําดอกไมที่เตรียมมา ไดแก ดอกผักบุง ดอกบัวหลวง ดอกกลวยไมและดอกตําลึง ออกมา
แกะแตละชั้นของดอก คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู และเกสรตัวเมีย เพื่อสังเกตและ
เปรียบเทียบลักษณะ บันทึกผลการทดลอง
2. พิจารณาลักษณะของอับละอองเรณูของดอกไมแตละชนิด จากนั้นจึงใชปลายเข็มหมุดเขี่ยอับ
ละอองเรณูของดอกไมของดอกไมแตละชนิดเพือ่ ใหละอองเรณูตกลงไปในกระจกสไลดและ
หยดน้าํ ลงไป 1 หยด นําแทงแกวขยี้ใหละอองเรณูแตกออก สองดูดวยกลองจุลทรรศน
3. นําเกสรตัวเมียมาผาตามยาวดวยมีด สังเกตรังไขและออวุลที่อยูภายใน โดยใชแวนขยาย
พรอมทั้งวาดรูปสิ่งที่สังเกตพบ
81

หมายเหตุ
การแกะสวนประกอบของดอกแตละชัน้ พยายามใหหลุดออกมาเปนวงอยาใหแตละชิน้ หลุดออก
จากกัน

ตารางบันทึกผล
ดอก
สวนประกอบของดอก ดอกบัวหลวง ดอกกลวยไม ดอกตําลึง
ผักบุง
กลีบเลี้ยง
กลีบดอก
เกสรตัวผู
- อับละอองเรณู
- ละอองเรณู
( จากกลองจุลทรรศน )
82

เรื่องที่ 2 การดํารงชีวิตของสัตว
2.1 โครงสรางและการทํางานของระบบตางๆของสัตว

2.1.1. ระบบหายใจในสัตว
สัตวตาง ๆ จะแลกเปลี่ยนกาซกับสิ่งแวดลอมโดยกระบวนการแพร (Diffusion) โดยสัตวแตละ
ชนิดจะมีโครงสรางที่ใชในการแลกเปลี่ยนกาซที่เหมาะสมกับการดํารงชีวิตและสิ่งแวดลอมตางกัน

รูปแสดงระบบหายใจของสัตวชนิดตาง ๆ
83

ชนิดของสัตว โครงสรางที่ใชในการแลกเปลี่ยนกาซ
1. สัตวชั้นต่ํา เชน ไฮดรา - ไมมีอวัยวะในการหายใจโดยเฉพาะ การแลกเปลี่ยนกาซใช
แมงกะพรุน ฟองน้ํา พลานาเรีย เยื่อหุมเซลลหรือผิวหนังที่ชุมชื้น
2. สัตวน้ําชั้นสูง เชน ปลา กุง ปู - มีเหงือก (Gill) ซึ่งมีความแตกตางกันในดานความซับซอน
หมึก หอย ดาวทะเล แตทําหนาที่เชนเดียวกัน (ยกเวนสัตวครึ่งบกครึ่งน้ําในชวงที่
เปนลูกออดซึ่งอาศัยอยูในน้ํา จะหายใจดวยเหงือก ตอมาเมื่อ
โตเปนตัวเต็มวัยอยูบนบก จึงจะหายใจดวยปอด)
3. สัตวบกชั้นต่ํา เชน ไสเดือนดิน - มีผิวหนังที่เปยกชื้น และมีระบบหมุนเวียนเลือดเรงอัตราการ
แลกเปลี่ยนกาซ
4. สัตวบกชั้นสูง มี 3 ประเภท คือ
4.1 แมงมุม - มีแผงปอดหรือลังบก (Lung Book) มีลักษณะเปนเสนๆ
ยื่นออกมานอกผิวรางกาย ทําใหสูญเสียความชื้นไดงาย
4.2 แมลงตาง ๆ - มีทอลม (Trachea) เปนทอที่ติดตอกับภายนอกรางกายทาง
รูหายใจ และแตกแขนงแทรกไปยังทุกสวนของรางกาย
4.3 สัตวมีกระดูกสันหลัง - มีปอด (Lung) มีลักษณะเปนถุง และมีความสัมพันธกับระบบ
หมุนเวียนเลือด
84

2.1.2. ระบบยอยอาหาร
ระบบยอยอาหารของสัตว
1.1 การยอยอาหารในสัตวมีกระดูกสันหลัง
สัตวมีกระดูกสันหลังทุกชนิด เชน ปลา กบ กิ้งกา แมว จะมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ
ซึ่งทางเดินอาหารของสัตวมีกระดูกสันหลังประกอบดวย
ปาก → หลอดอาหาร → กระเพาะอาหาร → ลําไสเล็ก → ทวารหนัก
85

รูปแสดงทางเดินอาหารของวัว

1.2 การยอยอาหารในสัตวไมมีกระดูกสันหลัง

1.2.1 การยอยอาหารในสัตวที่ไมมีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารไมสมบูรณ
86

รูปแสดงระบบยอยอาหารของสัตวไมมีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารไมสมบูรณ
ชนิดของสัตว ลักษณะทางเดินอาหารและการยอยอาหาร
1. ฟองน้ํา - ยังไมมีทางเดินอาหาร แตมีเซลลพิเศษอยูผนังดานในของฟองน้ํา
เรียกวา เซลลปลอกคอ (Collar Cell) ทําหนาที่จับอาหาร แลวสราง
แวคิวโอลอาหาร (Food Vacuole) เพือ่ ยอยอาหาร
2. ไฮดรา แมงกะพรุน ซีแอนนี - มีทางเดินอาหารไมสมบูรณ มีปาก แตไมมีทวารหนัก อาหาร
โมนี จะผานบริเวณปากเขาไปในชองลําตัวที่เรียกวา ชองแกสโตร
วาสคิวลาร (Gastro vascular Cavity) ซึ่งจะยอยอาหารที่บริเวณ
ชองนี้ และกากอาหารจะถูกขับออกทางเดิมคือ ปาก
3. หนอนตัวแบน เชน พลานาเรีย - มีทางเดินอาหารไมสมบูรณ มีชองเปดทางเดียวคือปาก ซึ่งอาหาร
พยาธิใบไม จะเขาทางปาก และยอยในทางเดินอาหาร แลวขับกากอาหารออก
ทางเดิมคือ ทางปาก

1.2.2 การยอยอาหารในสัตวไมมีกระดูกสันหลังที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ

ชนิดของสัตว ลักษณะทางเดินอาหารและการยอยอาหาร
1. หนอนตัวกลม เชน พยาธิ - เปนพวกแรกที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ คือ มีชองปากและ
ไสเดือน พยาธิเสนดาย ชองทวารหนักแยกออกจากกัน
2. หนอนตัวกลมมีปลอง เชน - มีทางเดินอาหารสมบูรณ และมีโครงสรางทางเดินอาหารที่มี
ไสเดือนดิน ปลิงน้ําจืด และ ลักษณะเฉพาะแตละสวนมากขึ้น
แมลง
87

ระบบขับถายในสัตว
ในเซลลหรือในรางกายของสัตวตาง ๆ จะมีปฏิกิริยาเคมีจํานวนมากเกิดขึ้นตลอดเวลา และผลจากการ
เกิดปฏิกิริยาเคมีเหลานี้ จะทําใหเกิดผลิตภัณฑที่มีประโยชนตอสิ่งมีชีวิตและของเสียที่ตองกําจัดออกดวย
การขับถาย สัตวแตละชนิดจะมีอวัยวะและกระบวนการกําจัดของเสียออกนอกรางกายแตกตางกันออกไป
สัตวชั้นต่ําที่มีโครงสรางงาย ๆ เซลลที่ทําหนาที่กําจัดของเสียจะสัมผัสกับสิ่งแวดลอมโดยตรง สวนสัตว
ชั้นสูงที่มีโครงสรางซับซอน การกําจัดของเสียจะมีอวัยวะที่ทําหนาที่เฉพาะ

ระบบขับถายของสัตวชนิดตาง ๆ มีดังตอไปนี้

รูปแสดงระบบขับถายของสัตวชนิดตาง ๆ
88

ชนิดของสัตว โครงสรางหรืออวัยวะขับถาย
1. ฟองน้ํา - เยื่อหุมเซลลเปนบริเวณที่มีการแพรของเสียออกจากเซลล
2. ไฮดรา แมงกะพรุน - ใชปาก โดยของเสียจะแพรไปสะสมในชองลําตัวแลวขับออกทาง
ปากและของเสียบางชนิดจะแพรทางผนังลําตัว
3. พวกหนอนตัวแบน เชน - ใชเฟลมเซลล (Flame Cell) ซึ่งกระจายอยูทั้งสองขางตลอดความ
พลานาเรีย พยาธิใบไม ยาวของลําตัว เปนตัวกรองของเสียออกทางทอซึ่งมีรูเปดออกขาง
ลําตัว
4. พวกหนอนตัวกลมมีปลอง - ใชเนฟริเดียม (Nephridium) รับของเสียมาตามทอ และเปดออกมา
เชน ไสเดือนดิน ทางทอซึ่งมีรูเปดออกขางลําตัว
5. แมลง - ใชทอมัลพิเกียน (Mulphigian Tubule) ซึ่งเปนทอเล็ก ๆ จํานวนมาก
อยูระหวางกระเพาะกับลําไส ทําหนาที่ดูดซึมของเสียจากเลือด
และสงตอไปทางเดินอาหาร และขับออกนอกลําตัวทางทวารหนัก
รวมกับกากอาหาร
6. สัตวมีกระดูกสันหลัง - ใชไต 2 ขางพรอมดวยทอไตและกระเพาะปสสาวะเปนอวัยวะ
ขับถาย

ระบบสืบพันธุในสัตว
6.1 ประเภทของการสืบพันธุของสัตว แบงออกเปน 2 ประเภท ดังนี้
1. การสืบพันธุแบบไมอาศัยเพศ (Asexual Reproduction) เปนการสืบพันธุโดยการผลิตหนวย
สิ่งมีชีวิตจากหนวยสางมีชีวิตเดิมดวยวิธีการตาง ๆ ที่ไมใชจากการใชเซลลสืบพันธุ ไดแก การแตกหนอ
การงอกใหม การขาดออกเปนทอน และพารธีโนเจเนซิส
2. การสืบพันธุแบบอาศัยเพศ (Sexual Reproduction) เปนการสืบพันธุที่เกิดจากการผสมพันธุ
ระหวางเซลลสืบพันธุเพศผูและเซลลสืบพันธุเพศเมีย เกิดเปนสิ่งมีชีวิตใหม ไดแก การสืบพันธุของสัตว
ชั้นต่ําบางพวก และสัตวชั้นสูงทุกชนิด
สัตวบางชนิดสามารถสืบพันธุทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไมอาศัยเพศ เชน ไฮดรา การสืบพันธุ
แบบไมอาศัยเพศของไฮดราจะใชวิธีการแตกหนอ
89

6.2 ชนิดของการสืบพันธุแบบไมอาศัยเพศ มีหลายชนิดดังนี้


1. การแตกหนอ (Budding) เปนการสืบพันธุที่หนวยสิ่งมีชีวิตใหมเจริญออกมาภายนอกของตัว
เดิมเรียกวา หนอ (Bud) หนอที่เกิดขึ้นนี้จะเจริญจนกระทั่งไดเปนสิ่งมีชีวิตใหม ซึ่งมีลักษณะเหมือนเดิม
แตมีขนาดเล็กวา ซึ่งตอมาจะหลุดออกจากตัวเดิมและเติบโตตอไป หรืออาจจะติดอยูกับตัวเดิมก็ได สัตวที่
มีการสืบพันธุลักษณะนี้ไดแก ไฮดรา ฟองน้ํา ปะการัง

รูปแสดงการแตกหนอของไฮดรา

2. การงอกใหม (Regeneration) เปนการสืบพันธุที่มีการสรางสวนของรางกายที่หลุดออกหรือ


สูญเสียไปใหเปนสิ่งมีชีวิตตัวใหม ทําใหมีจํานวนสิ่งมีชีวิตเพิ่มมากขึ้น สัตวที่มีการสืบพันธุลักษณะนี้
ไดแก พลานาเรีย ดาวทะเล ซีแอนนีโมนี ไสเดือนดิน ปลิงน้ําจืด

รูปแสดงการงอกใหมของพลานาเรียและดาวทะเล

3. การขาดออกเปนทอน (Fragmentation) เปนการสืบพันธุโดยการขาดออกเปนทอน ๆ จากตัว


เดิมแลวแตละทอนจะเจริญเติบโตเปนตัวใหมได พบในพวกหนอนตัวแบน
90

4. พารธโี นเจเนซีส (Parthenogenesis) เปนการสืบพันธุของแมลงบางชนิดซึ่งตัวเมียสามารถผลิต


ไขที่ฟกเปนตัวไดโดยไมตองมีการปฏิสนธิ ในสภาวะปรกติ ไขจะฟกออกมาเปนตัวเมียเสมอ แตในสภาพ
ที่ไมเหมาะสมกับการดํารงชีวิต เชน เกิดความแหงแลง หนาวเย็น หรือขาดแคลนอาหาร ตัวเมียจะผลิตไข
ที่ฟกออกมาเปนทั้งตัวผูและตัวเมีย จากนั้นตัวผูและตัวเมียเหลานี้จะผสมพันธุกัน แลวตัวเมียจะออกไขที่มี
ความคงทนตอสภาวะที่ไมเหมาะสมดังกลาว แมลงที่มีการสืบพันธุลักษณะนี้ ไดแก ตั๊กแตนกิ่งไม เพลี้ย
ไรน้ํา ในพวกแมลงสังคม เชน ผึ้ง มด ตอ แตน ก็พบวามีการสืบพันธุในลักษณะนี้เหมือนกัน แตในสภาวะ
ปรกติไขที่ฟกออกมาจะไดตัวผูเสมอ
6.3 ชนิดของการสืบพันธุแ บบอาศัยเพศของสัตว มี 2 ชนิด ดังนี้
1. การสืบพันธุของสัตวที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน (Monoecious) โดยทั่วไปไมสามารถผสมกัน
ภายในตัว ตองผสมขามตัว เนื่องจากไขและอสุจิจะเจริญไมพรอมกัน เชน ไฮดรา พลานาเรีย ไสเดือนดิน

รูปแสดงการสืบพันธุแบบอาศัยเพศของไฮดราตัวออนหลุดจากรังไข แลวเจริญเติบโตตอไป

2. การสืบพันธุของสัตวที่มีเพศผูและเพศเมียแยกกันอยูตางตัวกัน (Dioeciously) ในการสืบพันธุ


ของสัตวชนิดนี้มีการปฏิสนธิ 2 แบบ คือ
2.1 การปฏิสนธิภายใน (Internal Fertilization) คือ การผสมระหวางตัวอสุจิกับไขที่อยูภายใน
รางกายของเพศเมีย สัตวที่มีการปฏิสนธิแบบนี้ ไดแก สัตวที่วางไขบนบกทุกชนิด สัตวที่เลี้ยงลูกดวย
น้ํานม และปลาที่ออกลูกเปนตัว เชน ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง ปลาฉลาม
2.2 การปฏิสนธิภายนอก (External fertilization) คือการผสมระหวางตัวอสุจิกับไขที่อยู
ภายนอกรางกายของสัตวเพศเมีย การปฏิสนธิแบบนี้ตองอาศัยน้ําเปนตัวกลางใหตัวอสุจิเคลื่อนที่
เขาไปผสมไขได สัตวที่มีการปฏิสนธิแบบนี้ ไดแก ปลาตาง ๆ สัตวครึ่งบกครึ่งน้ํา และสัตวที่วางไขในน้ํา
ทุกชนิด
91

กิจกรรมการทดลอง โครงสรางลําเลียงน้ําและอาหารของพืช

จุดประสงคการทดลอง
1.ระบุสวนของพืชที่ใชในการลําเลียงน้ําและอาหารได
2. อธิบายกระบวนการการลําเลียงน้ําและอาหารในพืชได
วัสดุอุปกรณ
1. ตนเทียนสูงประมาณ 20 เซนติเมตร 1 ตน
2. น้ําหมึกสีแดง 15 ซม.3
3. น้ํา 1 ลิตร
4. ขวดปากกวางสูงประมาณ 10-15 ซม. 1 ใบ
5. ใบมีดโกน 1 ใบ
6. สไลดและกระจกปดสไลด 1 ชุด
7. กลองจุลทรรศน 1 กลอง
8. หลอดหยด 1 อัน
วิธีดําเนินการทดลอง
1. ใสหมึกแดงประมาณ 15 ลูกบาศกเซนติเมตร ลงในขวดปากกวางที่มีน้ํา
2. นําตนเทียนที่ลางน้ําสะอาดแลว แชลงในขวดที่มีน้ําหมึกสีแดง แลวนําไปไวกลางแดด
ประมาณ 20-30 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผล
3. นําตนเทียนออกมาลางน้ํา ใชใบมีดโกนตัดลําตนตามขวางตรงสวนที่มีลําตนอวบ ไมมีกิ่งให
ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
4. นําสวนที่ตัดออกมาตัดตามขวางใหบางที่สุด แลวนําไปวางบนสไลด หยดน้ํา 1-2 หยด ปดดวย
กระจกปดสไลด นําไปสองดูดวยกลองจุลทรรศน สังเกตวาดรูปตําแหนงที่เปนสีแดง และ
บันทึกผล
5. นําสวนที่ไดออกมาตัดตามยาวบางๆยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร แลวดําเนินตามขั้นตอน
เหมือนขอ 4
92

หมายเหตุ
1. การถอนตนเทียน ตองคอยๆถอนตนเทียนทั้งตน พยายามใหรากติดมามากที่สุด แลวลางดิน
ออกทันทีโดยการจับสายไปมาเบาๆ ในน้ํากอนที่จะจุมลงในน้ําหมึกสีแดง
2. ผูเรียนตองสังเกตการณเปลี่ยนแปลงภายในราก ลําตนและใบอยางละเอียด

ตารางบันทึกผล
สิ่งที่ทดลอง ภาพ ลักษณะที่สังเกตได
1.จุมตนเทียนลงในน้ําหมึก
สีแดง
2. เมือ่ สอง
ลําตนตัดขวาง
ดวยกลอง
จุลทรรศน
ลําตนตัดยาว
93

……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………….…………………………...
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
94

……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
95

……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
96

……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
97

แบบฝกหัดทายบทที่ 4

1. เซลลพืชกับเซลลสัตว มีความแตกตางกันอยางไร
ก. เซลลพืชมีผนังเซลล เซลลสัตวไมมีผนังเซลล
ข. เซลลพืชไมมีผนังเซลล เซลลสัตวมีผนังเซลล
ค. เซลลพืชมีเยื่อหุมเซลล เซลลสัตวไมมีเยื่อหุมเซลล
ง. เซลลพืชไมมีเยื่อหุมเซลล เซลลสัตวมีเยื่อหุมเซลล
2. เปรียบผนังเซลลเปนสวนใดของรางกาย
ก. ผิวหนัง
ข. ชั้นไขมัน
ค.เสนเลือด
ง .หัวใจ
3. เซลลที่มี ไรโบโซมมากที่สุด คือ
ก .เซลลตับ
ข. เซลลทบ่ี ริเวณหลอดของหนวยเนฟรอน
ค. เซลลเม็ดเลือดขาว
ง.เซลลของตอมไรทอ
4. ในการคายน้ําของพืช น้ําจะออกจากพืชมากที่สุดทางใด
ก. หนาใบ
ข. ปลายใบ
ค. หลังใบ
ง. ขอบใบ
5. ดานบนของใบมะมวงมีสีเขมมากกวาดานลางเปนเพราะเหตุใด
ก. ไดรับแสงมากกวา
ข. แพลิเซดเซลลเรียงตัวหนาแนนกวาสปองจีเซลล
ค. แพลเซดเซลลมีคลอโรพลาสตมากกวาสปองจีเซลล
ง. สปองจีเซลลมีคลอโรพลาสตมากกวาแพบลิเซดเซลล
98

6. การเคลื่อนที่ของแรธาตุในดินเขาสูรากพืชตองอาศัยกระบวนการใดโดยตรงที่สุด
ก. การหายใจ
ข.การสังเคระหแสง
ค. การคายน้ํา
ง. กัตเตชัน
7. เพราะเหตุใดเวลายายตนไมไปปลูกจึงนิยมตัดใบออกเสียบาง
ก. สะดวกในการเคลือ่ นยาย
ข. ลดการคายน้ําของพืช
ค. สะดวกในการบังแดด
ง. ลดน้าํ หนักพืชสวนทีเ่ หนือดิน
8. การสังเคราะหดวยแสงเปนขบวนการที่พืชสรางอะไร
ก. แปง และ คารบอนไดออกไซด
ข. น้ําตาล และ คารบอนไดออกไซด
ค. แปง และ ออกซิเจน
ง. คารโบไฮเดรต และ ออกซิเจน
9. คํากลาวในขอใดไมเกี่ยวของกับขบวนการสังเคราะหแสง
ก. สังเคราะหอินทรียสารไดมากที่สุดในโลก
ข. ตนไมเพื่อนชีวิต เจาดูดอากาศพิษแทนขา
ค. ชวยรักษาระดับคารบอนไดออกไซด ในบรรยากาศใหอยูในภาวะสมดุล
ง. กาซคารบอนมอนอกไซดในอากาศ พืดูดไปใชประโยชนได
10. อะไรจะเกิดขึ้นถาแสงที่สงมายังโลกมีเฉพาะสีเขียว
ก. ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศจะสูงขึ้น
ข. ปริมาณ คารบอนไดออกไซด ในอากาศจะลดลง
ค. ปริมาณอาหารสะสมในพืชจะสูงขึ้น
ง. ปริมาณอาหารที่เปนประโยชนตอสัตว
11. แรธาตุชนิดใดที่พืชไดจากบรรยากาศโดยตรง
ก. ไนโตรเจน
ข. ไฮโดรเจน
ค. คารบอน
ง. ฟอสฟอรัส
99

12. สภาวะใดที่ไมจําเปนตอการงอกของเมล็ดพืชสวนใหญ
ก. มีออกซิเจนเพียงพอสําหรับการหายใจ
ข. มีน้ําเพียงพอสําหรับปฎิกิริยาเอนไซม
ค. มีอุณหภูมิเหมาะสมสําหรับปฎิกิริยาเอนไซม
ง. มีแสงเพียงพอสําหรับใบเลี้ยง
13. เอมบริโอของพืชมีดอก คือ อะไร
ก. กลุมนี้เยื่อที่กําลังเจริญอยูภายในเนื้อเยื่อเมล็ดทั้งหมด
ข. กลุมนี้เยื่อที่กําลังเจริญในเนื้อเยื่อหุมเมล็ดยกเวนใบเลี้ยง
ค. กลุมนี้เยื่อที่กําลังเจริญภายในเนื้อเยื่อเมล็ดยกเวนเอนโดสเปรม
ง. กลุมนี้เยื่อที่กําลังเจริญภายในเนื้อเยื่อเมล็ดยกเวนใบเลี้ยงและเอนโดสเปรม
14. ในระหวางการงอกของเมล็ดถั่วเหลือง เอมบริโอไดอาหารเกือบทั้งหมดมาจากอะไร
ก. ใบเลี้ยง
ข. เอนโดสเปรม
ค. เอพิคอทิล
ง. น้าํ และแรธาตุในดิน
15. ดอกไมคลี่บานได เพราะกลีบดอกมีอะไร
ก. การเคลือ่ นไหวแบบนิวเตชัน
ข. การเคลือ่ นไหวแบบเทอรเกอร
ค. การเคลือ่ นไหวแบบนาสติก
ง. กลุมเซลลพวกพัลไวนัสซึ่งไวตอการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
100

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 4 เรื่องกระบวนการดํารงชีวิตของพืชและสัตว
1. ก 2. ก 3. ค 4. ค 5. ข 6. ค 7. ข 8. ง 9. ง 10. ง
11. ค 12. ง 13. ค 14. ข 15. ค
101

บทที่ 5
ระบบนิเวศ
สาระสําคัญ
ความสัมพันธของสิ่งมีชีวิตตาง ๆ ในระบบนิเวศ การถายทอดพลังงาน สายใยอาหาร วัฎจักรของ
น้ําและวัฎจักรคารบอน
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. อธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธของสิ่งมีชีวิตตาง ๆ ในระบบนิเวศในทองถิ่นและการถายทอด
พลังงานได
2. อธิบายและเขียนแผนภูมิแสดงสายใยอาหารของระบบนิเวศตาง ๆ ในทองถิ่นได
3. อธิบายวัฎจักรของน้ําและคารบอนได
ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความสัมพันธของสิ่งมีชีวิตตาง ๆ ในระบบนิเวศ
เรื่องที่ 2 การถายทอดพลังงาน
เรื่องที่ 3 สายใยอาหาร
เรื่องที่ 4 วัฎจักรของน้ํา
เรื่องที่ 5 วัฎจักรคารบอน
102

เรื่องที่ 1 ความสัมพันธของสิ่งมีชีวิตตาง ๆ ในระบบนิเวศ


ระบบนิเวศ คืออะไร
ระบบนิเวศ (Ecosystem) เปนชื่อเรียกของกลุมสิ่งมีชีวิตและปจจัยแวดลอมในบริเวณกวางแบบ
ใดแบบหนึ่งที่เนนความสัมพันธกันของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดลอม ซึ่งถือเปนหนวยที่สําคัญที่สุด มีการ
แลกเปลี่ยนสสาร แรธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดลอม โดยผานระบบหวงโซอาหาร ( Food chain) เพราะ
ระบบนิเวศนั้นประกอบดวยความสัมพันธระหวางสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด และความสัมพันธระหวาง
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดลอมที่อาศัยอยู ซึ่งสิ่งแวดลอมก็คือสภาพตางๆ ของสิ่งที่อยูรอบตัวเรา ไดแก
อุณหภูมิ ความชื้น ระนาบพื้นที่สูง ประเภทของหิน ดิน ฯลฯ มีการกินกันเปนทอดๆ ทําใหสสารและ
แรธาตุมกี ารหมุนเวียนในระบบจนเกิดเปนวัฏจักร
ระบบนิเวศที่ใหญที่สุดในโลกเรียกวา โลกของสิ่งมีชีวิต โครงสรางของโลกประกอบไปดวย
ทะเล เกาะ และพื้นทวีป อีกทั้งยังมีสภาพภูมิอากาศที่หลายหลากจึงเกิดเปนระบบนิเวศหลายรูป ดวย
เหตุนี้ ระบบนิเวศที่มีความคลายคลึงกันจึงเรียกกันวา “ชีวนิเวศ”
ความแตกตางที่สําคัญระหวางชีวนิเวศแตละแหงมี 2 อยาง คือ ความหลากหลายทางชีวภาพ
หรือความหลากหลายสายพันธุของสิ่งมีชีวิต และ มวลชีวภาพ หรือปริมาณอินทรียวัตถุตอหนวยพื้นที่
ชีวนิเวศที่อุดมสมบูรณที่สุดคือปารกที่มีทั้งความหลากหลายทางชีวภาพและมวลชีวภาพสูง
ระบบนิเวศหลากหลายบนโลก
ระบบนิเวศทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญมีความแตกตางกัน แตมีความเหมือนกันคือ เปนที่อยูตาม
ธรรมชาติของพืชและสัตว ซึ่งอยูรวมกันเปนกลุมและมีอิทธิพลตอกัน ทั้งในแหลงน้ําจืด ชายหาด หรือถ้ํา
ใตดินโลกมีน้ําจืดในแหลงตางๆ รวมกันเพียง 0.04% ของปริมาณน้ําทั้งโลก (อีก 2.4% ในปริมาณน้ําจืด
ทั้งหมดเปนน้ําที่เกิดการแข็งตัว) น้ําจืดมีปริมาณสารละลายเกลือในน้ํานอยกวาน้ําทะเล ซึ่งสวนใหญเปน
น้ําฝนที่ตกลงบนพื้นทวีป
ระบบนิเวศ (ถ้ําใตดิน – ชายฝงทะเล – ปาชายเลน)
สิ่งมีชีวิตหลักๆ ในน้ําจืด ไดแก สาหราย พืชชั้นสูงบางชนิด และสัตวจําพวกครัสเตเซียน แมลง
ปลา และสัตวครึ่งบกครึ่งน้ําชนิดตางๆ สัตวเลี้ยงลูกดวยนมที่หาอาหารจากในน้ําแลวสรางรังไวริมฝง
แมน้ําเหมือนตัวนากและตัวบีเวอร พื้นที่ชุมน้ําเปนแหลงที่มีสิ่งชีวิตหลากหลายสายพันธุที่สุด เพราะมี
สภาพเปนระบบนิเวศแบบผสมผสานระหวางบนบกกับในน้ํา
103

ถ้ํา เปนระบบนิเวศที่ไมมีแสงสวาง (แสงสวางเปนปจจัยที่ทําใหเกิดการสรางอินทรียวัตถุ) มี


ความชื้นสูง และอุณหภูมิเกือบคงที่ตลอดทั้งป อินทรียวัตถุที่จําเปนตอการดํารงชีวิตสามารถเขาไปสูใน
ถ้ําไดตามกระแสน้ําใตดินหรือสัตวเปนตัวนําเขามา ดังนั้น สัตวกลุมหลักที่อาศัยในถ้ําจึงเปนจําพวกแมลง
ปลาบางชนิด สัตวครึ่งบกครึ่งน้ํา โดยเฉพาะคางคาว ซึ่งของเสียจากคางคาวเปนองคประกอบสําคัญของ
อินทรียวัตถุ
ชายฝงทะเล เปนระบบนิเวศที่มีความพิเศษ ซึ่งคาบเกี่ยวระหวางพื้นดินกับทะเล บางแหงน้ําทะเล
ล้ําเขามาในผืนดินตามทางน้ําในหุบเขา หรือ กอนน้ําแข็ง ทําใหเกิดปาชายเลน บางแหงเปนแมน้ําที่ไหล
ลงสูทะเล ทําใหเกิดดินดอนสามเหลี่ยม บางแหงเปนน้ําทะเลไหลเขาสูพื้นดินเพียงบางชวง ทําใหเกิด
ทะเลสาบชายฝงทะเลขึ้น ทะเลสาบบางแหงมีปริมาณเกลือสูงกวาในทะเล สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยูจึงแตกตาง
กันออกไปในแตละแหง

ภาพชายหาดบริเวณอุทยานวิทยาศาสตรพระจอมเกลา ณ หวากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ

ปาชายเลน เปนระบบนิเวศชายฝงที่พบไดเฉพาะในเขตรอนเทานั้น เปนแหลงที่อยูของตนไม


และไมพุมที่มีการปรับตัวใหเขากับสภาพแวดลอม ตนไมในปาชายเลนจะมีรากใตดินยึดผิวดินไว และ
เปนแหลงพักอาศัยของสิ่งมีชีวิตบริเวณนั้น ตัวออนของสิ่งมีชีวิตหลายประเภทจะไมสามารถเติบโตเปน
ตัวเต็มวัยได หากไมมีรากเหลานี้คอยคุมกัน สวนเหนือน้ําจะมีรากในอากาศ ทําหนาที่ชวยในการหายใจ
เมล็ดจะผสมพันธุในตนโดยไมตกลงสูพื้นดินจนกวาจะมีน้ําหนักมากพอที่จะฝงตัวเองในพื้นดินได เพื่อ
ไมใหกระแสน้าํ พัดหายไป
104

ภาพปาโกงกาง บริเวณคลองโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร


(ตนโกงกางเปนตนไมที่ขึ้นบริเวณปาชายเลน)

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ทางนิเวศวิทยา
พื้นที่เกษตรกรรมสวนใหญในอดีตเคยเปนปามากอน หากปลอยใหรกรางนานๆ ก็กลับกลายเปน
ปาอีกครั้ง ดวยการที่หญาหรือวัชพืชขึ้นมาปกคลุมดินสูงขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นพุมไมและไมออนจะงอก
ขึ้นมาในทุงหญา ตอมาเมื่อไมใหญแตกกิ่งกานสาขา รมเงาของมันจะทําใหหญาคอยๆ ตายในที่สุด ไม
ใหญที่ทําใหพื้นที่กลายเปนปาเรียกวา “การเปลี่ยนแปลงแทนที่ทางนิเวศวิทยา”
ในธรรมชาติทั่วไป การเปลี่ยนแปลงแทนที่เกิดขึ้นไดทุกหนทุกแหง ทั้งในดินในน้ํา ตัวอยางเชน
เราอาจเคยเห็นสระน้ําที่มีพืชหลายชนิดขึ้นอยูเต็มสระจนรากใตผิวน้ํารกแนนไปหมด รากเหลานี้จะยึด
และสะสมดินหรือซากใบเนาไวจนกระทั่งสระน้ําคอยๆ ตื้นเขินขึ้นเรื่อยๆ กลายเปนที่ลุมชื้นแฉะ และพืช
น้ําที่เคยมีก็คอยๆ หายไปฝนขณะที่ตนไมเล็กๆ งอกขึ้นแทนที่และคอยๆ ทําใหที่ลุมแฉะแหงนั้นกลายเปน
ดงไมรมชื้นในที่สุด
ชั้นของสิ่งมีชีวิต
ลักษณะเดนที่สุดของดาวเคราะหที่ชื่อวา “โลก” คือการมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยูบนพื้นผิวบางๆ ที่ปก
คลุมโลก
105

ชีวิตไดเริ่มถือกําเนิดขึ้นบนโลกตั้งแตเมื่อประมาณ 3,500 ลานปกอน ซึ่งเปนระยะเวลาที่


ยาวนานเพียงพอสําหรับวิวัฒนาการจนเกิดเปนสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุขึ้นมา

โลกเรามีสภาพแวดลอมและภูมิอากาศหลากหลายรูปแบบเรียกวา “ ความหลากหลายทาง
ชีวภาพ ” แตสิ่งมีชีวิตบนโลกก็ยังตองขึ้นอยูกับแหลงพลังงานจากภายนอกโลก คือพลังงานจาก
แสงอาทิตย ซึ่งทําใหโลกเรามีอุณหภูมิที่เหมาะสมตอการสรางอินทรียวัตถุขึ้นจากกระบวนการ
สังเคราะหแสง
การศึกษาสิ่งมีชีวิตทําได 2 วิธี คือการศึกษาตามสปชีส เหมือนที่นักพฤกษศาสตรศึกษาพรรณไม
หรือ นักสัตววิทยาศึกษาสัตวตางๆ และ การศึกษาโดยองครวม โดยเลือกเขตใดเขตหนึ่งมาวิเคราะห
สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตที่อาศัยอยูในเขตนั้น ๆ ตลอดจนความสัมพันธระหวางสิ่งมีชีวิตแตละชนิดที่เรียกวา
“นิเวศวิทยา” คือการศึกษาสิ่งมีชีวิตรวมกันเปนระบบนิเวศ
106

การจัดลําดับชั้นของชีวภาพ

ชีวภาค ระบบนิเวศ และแหลงที่อยู


โลกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็คือ “ชีวภาค” สวนหนึ่งๆ ของชีวภาคจะสัมพันธเกี่ยวของกับสวน
อื่นๆ ไมทางตรงก็ทางออม แตชีวภาคทั้งหมดนั้นซับซอนและมีขอบเขตกวางใหญไพศาลจนไมอาจนํามา
ศึกษารวมกันทีเดียวได นักนิเวศวิทยาจึงแบงชีวภาคออกเปนหนวยยอยที่ครอบคลุมเฉพาะพืชหรือสัตว
เชน ปาดิบชื้นเขตรอน ปาแลง หรือปาสนเขตหนาวเหนือ โดยเรียกแตละหนวยวา “ระบบนิเวศวิทยา” แต
ระบบนิเวศวิทยาก็ใหญโตมาก ในบางสวนของโลก พื้นปาชนิดเดียวกันอาจมีอาณาบริเวณกวางไกล
หลายรอยหลายพันตารางกิโลเมตร
การสํารวจปรากฏการณในระบบนิเวศหนึ่งๆ นักนิเวศวิทยาจะพิจารณาสวนยอยๆ ที่มีสปชีส
สําคัญอาศัยอยูเทานั้น โดยสวนยอยของระบบนิเวศนี้เรียกวา “แหลงที่อยู”
107

ปาดิบชื้น ปาเขตรอน
ปาดิบชื้นหรือปาเขตรอนตั้งอยูบริเวณรอบเสนศูนยสูตร เปนปาที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ
ที่สุดบนโลก เพราะมีพืชและสัตวมากมายหลายพันธุ สภาพของปาเอื้อตอสิ่งมีชีวิตมาก หมูตนไมจะ
ตอสูแยงชิงพื้นที่กัน ยืดรากแผกิ่งกานสาขารับแสงอาทิตย ทําใหในปามีตนไมใบหญานานาชนิด
ครอบคลุมพื้นที่ถึงสามระดับเหมือนคนมีชีวิตอยูคอนโด เพราะหญาและไมพุมบางชนิดปรับตัวขึ้นไปอยู
บนกิ่งกาน ลําตนไมหรือเปลี่ยนรูปเปนไมเลื้อยเกี่ยวพันตนไมอื่น
ปาดิบชื้นในทวีปเอเชียเรียกวาปารกหรือปามรสุม ซึ่งแตกตางจากปาดิบชื้นอื่น ๆ ตรงที่ไมไดมี
ฝนตกตลอดเวลา แตจะตกเปนฤดูกาล ฤดูฝนของปาเหลานี้จะชื้นอยูกับลมมรสุมที่นําสายฝนอันหนัก
หนวงมาตกในฤดูรอ นแตในฤดูหนาวจะกลายเปนลมแลง

ภาพปาบริเวณอุทยานแหงชาติตาพระยา จังหวัดสระแกว
ปาดิบชื้นเปนปอดของโลกเพราะเปนที่ผลิตออกซิเจนปริมาณมหาศาล การทําลายปาของมนุษย
อยางไมหยุดยั้งอาจทําใหพืชและสัตวหลายชนิดสูญพันธุ
มหาสมุทร
สิ่งสําคัญที่ทําใหโลกแตกตางจากดาวเคราะหดวงอื่นๆ ในระบบจักรวาลหรือเอกภพ (Universal)
คือแหลงน้ําอันอุดมสมบูรณซึ่งมีมากถึงสองในสามสวนของพื้นที่ผิวโลก ดังนั้น ภูมิอากาศบนโลกจึง
ไดรับอิทธิพลสวนใหญจากมหาสมุทรซึ่งรวบรวมและกระจายพลังงานแสงอาทิตยอยางชาๆ หากไมมี
มหาสมุทร ภูมิอากาศจะแตกตางกันอยางสุดขั้วโดยอุณหภูมิระหวางกลางวันและกลางคืนจะตางกันถึง
250 องศาเซลเซียส สิ่งมีชีวิตยุคแรกๆ จึงใชเวลานานมากกวาจะขึ้นจากน้ํามาสูบนพื้นดินที่เต็มไปดวย
108

รังสีอัลตราไวโอเลตที่แสนอันตรายได นั่นหมายถึงการเกิดขึ้นของชั้นโอโซนเมื่อราว 500 ลานปกอน


ทําใหสิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวเขากับสภาพแวดลอมบนพื้นทวีปได
ภูมิประเทศใตมหาสมุทร มีรูปแบบหลัก คือสันเขาใตทะเลและรองลึกใตทะเล สันเขาใตทะเล
คือกลุมเทือกเขาซึ่งยาวมากกวาเทือกเขาบนพื้นดิน และรองลึกใตทะเลคือรอยแยกลึกที่เปนตนเหตุของ
การเกิดแผนดินไหวครัง้ ใหญบนพืน้ โลกสวนมาก

องคประกอบของระบบนิเวศ
การจําแนกองคประกอบของระบบนิเวศ สวนใหญจะจําแนกไดเปนสององคประกอบหลักๆ คือ
องคประกอบที่ไมมีชีวิต (Abiotic) และองคประกอบที่มีชีวิต (Biotic)
1. องคประกอบที่ไมมีชีวิต (Abiotic component)
1.1 สารประกอบอินทรีย (Organic compound) เชน โปรตีน ไขมัน
คารโบไฮเดรต วิตามิน สารเหลานี้มีการหมุนเวียนใชในระบบนิเวศ เรียกวา วัฏจักรของสารเคมีธรณีชีวะ
(biogeochemical cycle)
1.2 สารประกอบอนินทรีย (Inorganic compound) เชน น้ํา คารบอนไดออกไซด
ฯลฯ, สภาพแวดลอมทางกายภาพ ( Abiotic environment) เชน อุณหภูมิ แสงสวาง ความกดดัน พลังงาน
สสาร สภาพพื้นที่ และสภาพสิ่งแวดลอม พลังงานแสง พลังงานไฟฟา พลังงานปรมาณู และซากสิ่งมีชีวิต
เนาเปอยทับถมกันในดิน (Humus) เปนตน ซึ่งสิ่งเหลานี้เปนองคประกอบสําคัญในเซลลสิ่งมีชีวิต
2. องคประกอบที่มีชีวิต (Biotic components) ที่มาจาก พืช สัตวตางๆ ตั้งแตชนิดที่
มองเห็นดวยตาเปลา ไปจนถึงชนิดที่ไมสามารถมองเห็นดวยตาเปลา ซึ่งสามารถแบงออกได ดังนี้
109

2.1 ผูผลิต ( Producer or Autotrophic) ไดแก สิ่งมีชีวิตที่สรางอาหารเองได


(Autotroph) จากสารอนินทรียสวนมากจะเปนพืชที่มีคลอโรฟลล

ภาพพืช แหลงสรางอาหารใหแกสิ่งมีชีวิต
2.2 ผูบริโภค ( Consumer) ไดแก สิ่งมีชีวิตที่ไมสามารถสรางอาหารเองได
(Heterotroph) ตองไดกินสิ่งมีชีวิตอื่นเปนอาหาร เนื่องจากสัตวเหลานี้มีขนาดใหญจึงเรียกวา แมโครคอน
ซูมเมอร (Macro consumer) โดยแบงชนิดสิ่งมีชีวิตจากพฤติกรรมการกินเปน 4 อยาง ไดแก
 กินพืช เชน โค กระบือ
 กินสัตว เชน เสือ สิงโต
 กินทั้งพืชและสัตว เชน มนุษย ไก
 กินซาก เชน แรง มด
110

ภาพแลน
(แลนเปนสิ่งมีชีวิตที่จัดอยูในกลุมผูบริโภค)
2.3 ผูยอยสลายอินทรียสาร ( decomposer, saprotroph, osmotroph หรือ micro
Consumer) คือ พวกแบคทีเรีย ไดแกสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สรางอาหารเองไมได เชน แบคทีเรีย เห็ด รา
(Fungi) และแอกติโนมัยซีต ( Actinomycete) ทําหนาที่ยอยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแลวในรูปของ
สารประกอบโมเลกุลใหญใหกลายเปนสารประกอบโมเลกุลเล็กในรูปของสารอาหาร ( Nutrients)
เพื่อใหผูผลิตนําไปใชไดใหมอีก

ภาพเห็ด
111

http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/16cm05/1116/16ecosys.htm
112

เรื่องที่ 2 การถายทอดพลังงาน
การถายทอดพลังงานในระบบนิเวศ มีความสําคัญมาก การถายทอดพลังงานในโซอาหาร มีความ
ยาวจํากัด โดยปกติจะสิ้นสุดที่ผูบริโภค ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

พีระมิดการถายทอดพลังงาน ( food pyramid )

1. พีระมิดจํานวน ( pyramid of number )


• แตละขั้นแสดงใหเห็นจํานวนสิ่งมีชีวิตในแตละลําดับขั้นของหวงโซอาหารตอหนวยพื้นที่หรือ

ปริมาตร สิ่งมีชีวิตที่อยูบนยอดสุดของพีระมิดถูกรองรับ โดยสิ่งมีชีวิตจํานวนมาก

2. พีระมิดมวลชีวภาพ ( pyramid of biomass )


• คลายกับพีระมิดจํานวน แตขนาดของพีระมิดแตละขั้นจะบอก ถึงปริมาณหรือมวลชีวภาพ

ของ สิ่งมีชีวิตในแตละลําดับขั้น ของหวงโซอาหาร


113

3. พีระมิดพลังงาน ( pyramid of energy )


• แสดงคาพลังงานในสิ่งมีชีวิตแตละหนวยมีหนวยเปนกิโลแคลอรีตอตารางเมตรตอป
114

เรื่องที่ 3 สายใยอาหาร (Food web)


หวงโซอาหาร (food chain)
พืชและสัตวจําเปนตองไดรับพลังงานเพื่อใชในการดํารงชีวิต โดยพืชจะไดรับพลังงานจากแสง
ของดวงอาทิตย โดยใชรงควัตถุสีเขียวที่เรียกวา คลอโรฟลล (chlorophyll) เปนตัวดูดกลืนพลังงาน
แสงเพื่อนํามาใช ในการสรางอาหาร เชน กลูโคส แปง ไขมัน โปรตีน เปนตน
พืชจึงเปนผูผลิต (producer) และเปนสิ่งมีชีวิตอันดับแรกในการถายทอดพลังงานแบบหวงโซ
อาหาร
สําหรับสัตวเปนสิ่งมีชีวิต ที่ไมสามารถสราง อาหารเองได จําเปนตองไดรับพลังงาน
จากการบริโภค สิ่งมีชีวิตอื่นเปนอาหาร สัตวจึงถือวาเปน ผูบริโภค (consumer) ซึ่งแบงออกไดเปน

• ผูบริโภคลําดับที่หนึ่ง (primary consumer) หมายถึง สัตวที่กินผูผลิต


• ผูบริโภคลําดับที่สอง (secondary consumer ) หมายถึง สัตวที่กินผูบริโภคลําดับที่หนึ่ง
ในกลุ มสิ่ง มีชีวิตหนึ่งๆ หวงโซอาหารไมไดดําเนินไปอยางอิสระ แตละหวงโซอาหารอาจ
มีความสัมพันธ กับหวงโซอื่นอีก โดยเปนความสัมพันธที่สลับซับซอน เชน สิ่งมีชีวิตหนึ่งในหวงโซ
อาหาร อาจเปนอาหาร ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งในหวงโซอาหารอื่นก็ได เราเรียกลักษณะหวงโซอาหาร
หลายๆ หวงโซที่มีความสัมพันธเกี่ยวของกันอยางสลับซับซอนวา สายใยอาหาร (food web)
สายใยอาหารของกลุมสิ่งมีชีวิตใดที่มีความซับซอนมาก แสดงว าผูบริโภคลําดับที่ 2 และ
ลําดับที่ 3 มีทางเลือกในการกินอาหารไดหลายทางมีผลทําใหกลุมสิ่งมีชีวิตนั้นมีความมั่นคงในการ
ดํารงชีวิตมากตามไปดวย
ผูบริโภคลําดับสูงสุด (top consumer) หมายถึง สัตวที่อยูปรายสุดของหวงโซอาหาร
ซึ่งไมมีสิ่งมีชีวิตใด มากินตอ อาจเรียกวา ผูบริโภคลําดับสุดทาย
115

เรื่องที่ 4 วัฏจักรของน้ํา
วัฎจักรของน้ํา (Water cycle) หรือ ชื่อในทางวิทยาศาสตรวา “ วัฏจักรของอุทกวิทยา ”
(Hydrologic cycle) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ําระหวางของเหลว ของแข็ง และกาซ วัฏ
จักรของน้ําจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปมา จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งอยางตอเนื่องไมมีที่
สิ้นสุดภายในอาณาจักรของน้ํา (Hydrosphere) เชน การเปลี่ยนแปลงระหวาง ชั้นบรรยากาศ น้ํา ผิวดิน ผิว
น้ํา น้ําใตดิน และพืช
การเปลี่ยนสถานะของน้ําเปนปรากฏการณที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เริ่มจากน้ําในแหลงน้ํา
ตางๆ เชน ทะเล มหาสมุทร แมน้ํา ลําคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ การคายน้ําของพืช การขับถายของเสีย
และจากกิจกรรมตางๆ ในการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทั้งหมดนี้เมื่อระเหยกลายเปนไอขึ้นสูบรรยากาศ
และกระทบกับความเย็นบนชั้นบรรยากาศจะควบแนนกลายเปนละอองน้ําเล็กๆ รวมตัวกันเปนกอนเมฆ
เมื่อมีน้ําหนักพอเหมาะก็จะกลายเปนฝน หรือลูกเห็บ ตกลงสูพื้นดินแลวไหลลงสูแหลงน้ําหมุนเวียนอยู
เชนนี้เรื่อยไป
กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ สามารถแยกไดเปน 4 ประเภท คือ การระเหยเปนไอ ( Evaporation),
หยาดน้าํ ฟา (Precipitation), การซึม (Infiltration), และ การเกิดน้ําทา (Runoff)

การระเหยเปนไอ ( Evaporation) เปนการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ําบนพื้นผิวไปสูบรรยากาศ


ทั้งการระเหยเปนไอ ( Evaporation) โดยตรง และจากการคายน้ําของพืช ( Transpiration) ซึ่งเรียกวา
“Evapotranspiration”
116

หยาดน้ําฟา (Precipitation) เปนการตกลงมาของน้ําในบรรยากาศสูพื้นผิวโลก โดยละอองน้ําใน


บรรยากาศจะรวมตัวกันเปนกอนเมฆ และในที่สุดกลั่นตัวเปนฝนตกลงสูผิวโลก รวมถึง หิมะ และ
ลูกเห็บ
การซึม (Infiltration) จากน้ําบนพื้นผิวลงสูดินเปนน้ําใตดิน อัตราการซึมจะขึ้นอยูกับประเภท
ของดิน หิน และ ปจจัยประกอบอื่นๆ น้ําใตดินนั้นจะเคลื่อนตัวชา และอาจไหลกลับขึ้นบนผิวดิน หรือ
อาจถูกกักอยูภายใตชั้นหินเปนเวลาหลายพันป โดยปกติแลวน้ําใตดินจะกลับเปนน้ําที่ผิวดินบนพื้นที่ที่อยู
ระดับต่ํากวา ยกเวนในกรณีของบอน้ําบาดาล
น้ําทา (Runoff) หรือ น้ําไหลผานเปนการไหลของน้ําบนผิวดินไปสูมหาสมุทร น้ําไหลลงสูแมน้ํา
และไหลไปสูมหาสมุทร ซึ่งอาจจะถูกกักชั่วคราวตาม บึง หรือ ทะเลสาบ กอนไหลลงสูมหาสมุทร น้ํา
บางสวนกลับกลายเปนไอกอนจะไหลกลับลงสูมหาสมุทร
ปจจัยที่ทําใหเกิดการหมุนเวียนของน้ํา
1. ความรอนจากดวงอาทิตย ทําใหโมเลกุลของน้ําแตกตัวและเกิดการระเหยของน้ํากลายเปนไอ
ขึ้นสูบรรยากาศ
2. กระแสลม ทําใหน้ําระเหยกลายเปนไอเร็วขึ้น
3. มนุษย และ สัตว ขับถายของเสียออกมาในรูปของเหงื่อ ปสสาวะ และลมหายใจ กลายเปน
ไอน้ําสูชั้นบรรยากาศ

4. พืช รากตนไม ซึ่งเปรียบเหมือน


ฟองน้ํา ที่มีความสามารถในการดูด
น้าํ จากใตดนิ จํานวนมากขึน้ ไปเก็บไว
ในสวนตาง ๆ ทั้งยอด กิ่ง ใบ ดอก ผล
และลําตน แลวคายน้ําสูบรรยากาศ
ไอน้าํ เหลานีจ้ ะควบแนนและรวมกัน
กลายเปนเมฆและตกลงมาเปนฝน
ตอไป
ปริมาณน้ําที่ระเหย จากมหาสมุทร 84%
จากพืน้ ดิน 16% ปริมาณน้ําที่ตกลงใน
มหาสมุทร 77% บนพื้นดิน23%
117

เรื่องที่ 5 วัฏจักรของคารบอน (Carbon Cycle)


วัฎจักรของคารบอน เปนวัฏจักรที่มีการสังเคราะหดวยแสงโดยพืช สาหราย แพลงกตอนพืช และ
แบคทีเรีย ใชกาซคารบอนไดออกไซด และใหผลผลิตเปนคารโบไฮเดรต ในรูปของน้ําตาลและเมื่อมีการ
หายใจ กาซคารบอนไดออกไซดจะถูกปลดปลอยออกสูบรรยากาศอีกครั้ง
คารบอนที่ไดยังอยูในรูปของสารอินทรียที่อยูในสิ่งมีชีวิต เชน คารโบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน
กรดนิวคลีอกิ ฯลฯ ปริมาณคารบอนสวนนีจ้ ะหมุนเวียนในระบบนิเวศผานระบบหวงโซอาหาร (Food
chain) จากผูผลิตไปสูผูบริโภคในระดับตางๆ เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ผูยอยสลาย เชน ราและแบคทีเรีย จะ
ยอยสลายคารบอนเหลานี้ ใหกลายเปนแกสคารบอนไดออกไซด

ภาพจาก http://student.nkw.ac.th/
คารบอนเปนธาตุพบในสารประกอบของสารอินทรียเคมีทุกชนิด ดังนั้น วัฏจักรของคารบอนจึง
เปนหัวใจของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คารบอนจะสัมพันธกับวัฏจักรของธาตุอื่นๆ ในระบบนิเวศในรูปของ
แกสคารบอนไดออกไซดในอากาศ และ ในรูปของไบคารบอเนตในน้ํา ผูผลิตสวนใหญไดแกพืช จะใช
แกสคารบอนไดออกไซดในกระบวนการสังเคราะหแสง แลวปลอยแกสคารบอนไดออกไซดกลับสู
บรรยากาศหรือน้ําโดยกระบวนการหายใจ พืชจะเก็บธาตุคารบอนไวในรูปของสารอินทรีย แลวถายทอด
สูผูบริโภคผานระบบหวงโซอาหาร สวนสัตวนั้นจะปลอยคารบอนไดออกไซดออกสูอากาศโดย
กระบวนการหายใจ เมื่อพืชและสัตวตายจะพบวามีธาตุคารบอนสะสมอยูดวย คารบอนที่อยูในรูปของ
ซากพืชและซากสัตวบางชนิดจะไมยอยสลาย เมื่อเก็บไวนานๆ หลายรอยลานป ซากเหลานี้จะกลาย
เปลี่ยนเปนสารที่ใหพลังงาน ในปจจุบันที่ใชกันก็คือ ถานหิน น้ํามัน และแกส สารจําพวกนี้มนุษยจะ
นํามาใชเปนเชื้อเพลิง เมื่อนํามาผานกระบวนการเผาไหมก็จะเกิดแกสคารบอน ซึ่งแกสคารบอนเหลานี้ก็
ถูกปลอยเขาสูบรรยากาศ
118

ใบงาน เรือ่ ง ระบบนิเวศ


1. ระบบนิเวศ คืออะไร
ตอบ…
2. ยกตัวอยางสภาพตางๆ ของสิ่งที่อยูรอบตัวเรา มา 5 ตัวอยาง
ตอบ
3. “ชีวนิเวศ” คืออะไร
ตอบ
4. ปริมาณน้ําจืดในแหลงตางๆ ทั้งโลก มีอยูเทาไหร
ตอบ
5. จงอธิบายลักษณะของ “ถ้ํา” มาพอสังเขป
ตอบ
6. ทําไมชายฝงทะเลจึงเปนระบบนิเวศที่มีความพิเศษ
ตอบ
7. บริเวณใดในโลกที่พบ “ปาชายเลน” และทําไมจึงเปนเชนนั้น
ตอบ
8. การศึกษาสิ่งมีชีวิตทําไดกี่วิธี อะไรบางจงอธิบาย
ตอบ…การศึกษาสิ่งมีชีวิตทําได 2 วิธศึกษาโดยองครวม ….
9. ในการจัดลําดับชั้นของชีวภาพ สิ่งมีชีวิตใดที่ที่อยูระดับต่ําสุด
ตอบ
10. จงอธิบายลักษณะของปาดิบชื้นในทวีปเอเชีย
ตอบ
11. ทําไมมหาสมุทรจึงมีความสําคัญตอดาวเคราะหโลก
ตอบ
12. องคประกอบของระบบนิเวศมีอะไรบางใหอธิบายพอสังเขป
ตอบ…มีองคประกอบ 2 แบบ คือริโภค และผูยอยสลาย…12
13. องคประกอบที่มีชีวิต (Biotic components) ที่มาจาก พืช สัตวตางๆ แบงออกได เปนกี่แบบ อะไรบาง
ตอบ…3 แบบ คือองผูผลิต….
14. พลังงานชนิดใดที่สงมาถึงระบบนิเวศทั้งมวลบนโลก
ตอบ
119

15. จงอธิบายลักษณะของการหายใจในระดับเซลล (Respiration)


ตอบแตกตัวออกเปน CO2 และ
16. “วัฏจักรของน้ํา” (Water cycle) คืออะไร และมีลักษณะอยางไร
ตอบ…การเปลี่ยนแปลงสถานะภาพของน้ํา มี 3 แบบ คือ
17. วัฏจักรของคารบอน (Carbon Cycle) คืออะไร และมีลักษณะอยางไร
ตอบ
120

ใบงาน เรือ่ ง ระบบนิเวศ


ระบบนิเวศ คืออะไร
1. ตอบ…กลุมมีชีวิตที่อาศัยอยูใสสิ่งแวดลอมบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยมีความสัมพันธกัน
ผานระบบหวงโซอาหารและความสัมพันธของสิ่งมีชีวิตกับสภาพทางกายภาพ …
ยกตัวอยางสภาพตางๆ ของสิ่งที่อยูรอบตัวเรา มา 5 ตัวอยาง
2. ตอบ…อุณหภูมิ ความชื้น ดิน ความสูงต่ําของพื้นที่อาศัย….
“ชีวนิเวศ” คืออะไร
3. ตอบ…ระบบนิเวศที่มีความคลายคลึงกัน….
ปริมาณน้ําจืดในแหลงตางๆ ทั้งโลก มีอยูเทาไหร
4. ตอบ… 0.04 %….
จงอธิบายลักษณะของ “ถ้ํา” มาพอสังเขป
5. ตอบ…ภายในถ้ําไมมีแสงสวาง ความชื้นสูง อุณหภูมิคงที่เกือบตลอดทั้งป….
ทําไมชายฝงทะเลจึงเปนระบบนิเวศที่มีความพิเศษ
6. ตอบ…เพราะเปนระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง….
บริเวณใดในโลกที่พบ “ปาชายเลน” และทําไมจึงเปนเชนนั้น
7. ตอบ…บริเวณชายฝงทะเลเขตรอน….
การศึกษาสิ่งมีชีวิตทําไดกี่วิธี อะไรบางจงอธิบาย
8. ตอบ…การศึกษาสิ่งมีชีวิตทําได 2 วิธี คือ
1. ศึกษาตามสปชีส
2. ศึกษาโดยองครวม ….
ในการจัดลําดับชั้นของชีวภาพ สิ่งมีชีวิตใดที่ที่อยูระดับต่ําสุด
9. ตอบ…เซลล….
จงอธิบายลักษณะของปาดิบชื้นในทวีปเอเชีย
10. ตอบ…ปาดิบชื้นในทวีปเอเชีย เปนปามรสุม ซึ่งมีฝนตกเปนฤดูกาล….
ทําไมมหาสมุทรจึงมีความสําคัญตอดาวเคราะหโลก
11. ตอบ…มหาสมุทรมีอิทธิพลตอสภาพภูมิอากาศบนโลก ถาไมมีมหาสมุทรอากาศบนโลกจะ
แตกตางกันอยางสุดขั้ว กลางวันและกลางคืนจะมีอุณหภูมิที่ตางกันอยางมาก….
121

องคประกอบของระบบนิเวศมีอะไรบางใหอธิบายพอสังเขป
12. ตอบ…มีองคประกอบ 2 แบบ คือ
1.องคประกอบที่ไมมีชีวิต (Abiotic) เชน โปรตีน ไขมัน คารโบไฮเดรต วิตามิน เปนตน ซึ่งสาร
เหลานี้ เปนสารอินทรีย สวนที่เปนอนินทรีย เชน น้ํา คารบอนไดออกไซด นอกจากนั้นยังรวมถึง
สภาพแวดลอมทางกายภาพ เชน แสงสวาง อุณหภูมิ ความกดดัน พลังงานตาง ๆ เปนตน
2.องคประกอบที่มีชีวิต (Biatic) มี 3 อยาง คือ ผูผลิต ผูบริโภค และผูยอยสลาย….
องคประกอบที่มีชีวิต (Biotic components) ที่มาจาก พืช สัตวตางๆ แบงออกได เปนกี่แบบ อะไรบาง
13. ตอบ…3 แบบ คือ
1.ผูผลิต ไดแก พืชและสาหราย
2.ผูบริโภค คือ ผูที่กินพืชและกินสัตว
3.ผูยอยสลาย คือ ผูที่ยอยซากพืชซากสัตว ใหเปนสารอาหารของผูผลิต….
พลังงานชนิดใดที่สงมาถึงระบบนิเวศทั้งมวลบนโลก
14. ตอบ…แสงจากดวงอาทิตย….
จงอธิบายลักษณะของการหายใจในระดับเซลล (Respiration)
15. ตอบ…การหายใจในระดับเซลล เปนการทําใหโมเลกุลของอินทรียสารแตกตัวออกเปน CO2
และ H2O โดยอาศัยจุลินทรียที่ชวยอินทรียสารจากซากพิชซากสัตว รวมถึงของเสียตาง ๆ
“วัฏจักรของน้ํา” (Water cycle) คืออะไร และมีลักษณะอยางไร
16. ตอบ…การเปลี่ยนแปลงสถานะภาพของน้ํา มี 3 แบบ คือ
1. ของเหลว
2.ของแข็ง
3.กาช ซึ่งสถานะภาพทั้ง 3 นี้ จะเปนวงจรที่ไมมีที่สิ้นสุด….
วัฏจักรของคารบอน (Carbon Cycle) คืออะไร และมีลักษณะอยางไร
17. ตอบ…การสังเคราะหแสงโดยพืช สาหราย แพลงกตอนและแบคทรีเรีย โดยการใช CO2
และใหผลผลิตเปนคารโบไฮเดรต ในรูปของน้ําตาล และในรูปของกาช CO2 จากการหายใจออกสูอากาศ
ของสิ่งมีชีวิตทั้งคนและสัตว…
122

แบบฝกหัดทายบทที่ 5
คําชี้แจง ใหเลือกคําตอบที่ถูกตองที่สุดเพียงขอเดียว แลวทําเครื่องหมายทับ ตัวอักษร ก, ข,
ค หรือ ง ใหตรงกับขอที่ทานเลือกตอบ
1. ระบบนิเวศหมายถึงอะไร
ก. ความสัมพันธของสิ่งมีชีวิตตางๆ กับสิ่งแวดลอมของสิ่งมีชีวิตและมีการถายทอดไปตามลําดับ
ข. การกินกันเปนทอดๆ เริ่มตั้งแตผูผลิต ผูบริโภคพืช ผูบริโภคสัตวตามลําดับ
ค. ลักษณะการกินกันซับซอนประกอบดวยหวงโซอาหารมากมาย
ง. พลังงานจากแสงอาทิตย
2. โครงสรางของระบบนิเวศ มีกี่หนวย
ก. 2 หนวย คือ สิ่งไมมีชีวิต ผูยอยสลาย
ข. 2 หนวย คือ สิ่งไมมีชีวิต สิ่งมีชีวิต
ค. 3 หนวย คือ สิ่งไมมีชีวิต สิ่งมีชีวิต และผูบริโภค
ง. 3 หนวย คือ สิ่งไมมีชีวิต ผูผลิต และผูบริโภค
3. สิ่งมีชีวิตกลุมใดที่สามารถเปลี่ยนอนินทรียสารเปนอินทรียสารได
ก. พืชสีเขียว
ข. สัตวกินพืช
ค. สัตวกินเนื้อ
ง. ผูยอยสลาย
4. ขอใดจัดเปนหวงโซอาหาร
ก. เหยี่ยว---พืช---ผีเสื้อ---นก
ข. เหยี่ยว---นก---ผีเสื้อ---พืช
ค. นก---เหยี่ยว---นก---ผีเสื้อ
ง. ผีเสื้อ---พืช---นก---เหยี่ยว
5. กลวยไมที่อาศัยเกาะบนตนไมใหญ จัดเปนความสัมพันธแบบใด
ก. ภาวะการอยูรวมกัน
ข. ภาวะลาเหยื่อ
ค. ภาวะปรสิต
ง. ภาวะพึ่งพา
123

6. หมัดกัดสุนขั และ ยุงกัดคน จัดเปนความสัมพันธแบบใด


ก. ภาวะอยูรวมกัน
ข. ภาวะลาเหยื่อ
ค. ภาวะปรสิต
ง. ภาวะพึ่งพา
7. การตัดตนไม ทําลายปาจะทําใหเกิดผลกระทบใดตามมา
ก. น้ําปาไหลหลาก สิ่งมีชีวิตตาย
ข. แผนดินไหว ภูเขาไฟระเบิด
ค. เกิดสึนามิ สิ่งมีชีวิตตาย
ง. ภาวะเรือนกระจก
8. การจัดลําดับชั้นของชีวภาพขอใดเรียงจากสูงสุดไปหาต่ําสุดไดถูกตอง
ก. ชีวนิเวศ – ระบบนิเวศ – ชุมชน – ประชากร
ข. ชีวนิเวศ – ประชากร– ชุมชน – ระบบนิเวศ
ค. ระบบนิเวศ – ชีวนิเวศ – ชุมชน – ประชากร
ง. ระบบนิเวศ – ชีวนิเวศ – ประชากร – ชุมชน
9. ขอใดกลาวถูกตอง
ก. คารโบไฮเดรต เปนอินทรียสารที่เปนองคประกอบที่มีชีวิต
ข. คารโบไฮเดรต เปนอนินทรียสารที่เปนองคประกอบที่มีชีวิต
ค. คารบอนไดออกไซด เปนอินทรียสารที่เปนองคประกอบที่ไมมีชีวิต
ง. คารบอนไดออกไซด เปนอนินทรียสารที่เปนองคประกอบที่ไมมีชีวิต
10. ขอใดกลาวถูกตองที่สุด
ก. การหายใจระดับเซลล คือการทําใหโมเลกุลของอินทรียสารแตกตัว
ข. การหายใจระดับเซลล คือการทําใหโมเลกุลของอนินทรียสารแตกตัว
ค. การหายใจระดับเซลล คือการทําใหโมเลกุลของอินทรียสารแตกตัวและได CO2
ง. การหายใจระดับเซลล คือการทําใหโมเลกุลของอินทรียสารแตกตัว H2O
124

……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
125

……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
126

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 5 เรื่องระบบนิเวศน

1. ก 2. ข 3. ก 4. ข 5. ค 6. ค 7. ก 8. ก 9. ง 10. ก
127

บทที่ 6
โลก บรรยากาศ ปรากฏการณทางธรรมชาติ
สิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ
สาระสําคัญ
โลก บรรยากาศ ปรากฏการณทางธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอม
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. บอกสวนประกอบและวิธีการแบงชั้นของโลกได
2. อธิบายการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก กระบวนการตาง ๆได
3. บอกองคประกอบและการแบงชั้นบรรยากาศได
4. บอกความหมายและความสําคัญของอุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศได
5. อธิบายความสัมพันธของอุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศตอชีวิตความเปนอยูได
6. บอกชนิดของลมได
7. อธิบายอิทธิพลของลมตอมนุษยและสิ่งแวดลอมได
8. บอกวิธีการปองกันภัยที่เกิดจากปรากฏการณทางธรรมชาติได
9. บอกประโยชนของการพยากรณอากาศได
10. อธิบายเกี่ยวกับสภาพ ปญหา การใชและการแกไขสิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติใน
ทองถิ่นและประเทศ
11. อธิบาย สรุปแนวคิดในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ การอนุรักษสิ่งแวดลอม และการใช
ทรัพยากรธรรมชาติอยางยั่งยืนได
ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 โลก
เรื่องที่ 2 บรรยากาศ
เรื่องที่ 3 ปรากฏการณทางธรรมชาติ
เรื่องที่ 4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
128

เรื่องที่ 1 โลก (Earth)


กําเนิดโลก
นักวิทยาศาสตรหลายคนพยายามที่จะอธิบาย การกําเนิดของโลกมา ตั้งแต ค.ศ. 1609 หนึง่ ในนัน้
คือ กาลิเลโอ ที่สอ งกลองขยายดูพื้นผิวที่เปนหลุมเปนบอบนดาวเคราะหดวงอื่นพบวา มีหลุมบอมากมาย
หลุมบอเหลานั้นเปนผลจากเทหวัตถุ (อุกาบาต) วิง่ ชนและเกิดการหลอมรวมตัวกันทําใหขนาดของดาว
เคราะหเพิ่มใหญขึ้นเรื่อย
นักวิทยาศาสตร เชื่อกันวาเอกภพเกิดมา เมื่อ 10,000 ลานปแลว ขณะที่โลกเพิ่งเกิดมาเมื่อ 4,600
ลานป การกําเนิดของโลกเริ่มจาก ปรากฏการณที่ฝุนและกาซที่กระจายอยูในจักรวาลมารวมตัวกันเปนวง
กาซที่อุณหภูมิ รอนจัด และมีความหนาแนนมหาศาล อุณหภูมิสูงมากประมาณ การจนทําใหกลุมฝุนและ
กาซนี้เกิดการระเบิดขึ้นมาเรียกวา บิ๊กแบงค ถือวาเปนการระเบิดครั้งยิ่งใหญ สงใหมวลสารแพรกระจาย
ออกไปจุดศูนยกลางที่รอนที่สุด คือ ดวงอาทิตย (มีเสนผาศูนยกลาง 1,400,000 กิโลเมตร อุณหภูมิ 15 ลาน
องศาเซลเซียส) สวนมวลสารอื่น ๆ ที่ยังกระจายอยูทั่วไปเริ่มเย็นลง (พรอมกันนั้นไอน้ําก็เริ่มกลั่นตัวเปน
หยดน้าํ ) ไดเปนดาวเคราะหนอยมากมายประมาณวามีรอย ๆ ลานดวงลอยเควงควางอยูในจักรวาล ชน
กันเอง ชาบาง เร็วบาง ชนกันไปเรื่อย ๆ ในที่สุดการชนก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ชนกันไปชนกันมาดาว
เคราะหบางดวงคอย ๆ ปรากฏมวลใหญขึ้น เมื่อใหญขึ้นแรงดึงดูดก็มากขึ้นตามมา ยิ่งถูกชนมากยิ่งขนาด
ใหญขึ้นเก็บสะสมพลังงานไดมากขึ้น ดวยเหตุนี้การกอกําเนิดโลกก็เกิดขึ้น ดาวพุธ ดาวศุกร ก็เกิดขึ้นดวย
ในทํานองเดียวกัน ชวงแรกพื้นผิวโลกจึงปรากฏรูพรุนเต็มไปหมด เนื่องจากการชนกลายเปนหลุมอุกา
บาตร ซึ่งเทียบไดจากพื้นผิวของดวงจันทรซึ่งศึกษาไดในขณะนี้

การโคจรของโลก
โลกหมุนรอบดวงอาทิตยเปนวงโคจรซึ่งใชเวลา 365.25 วัน เพื่อใหครบ 1 รอบ ปฏิทินแตละปมี
365 วัน ซึ่งหมายความวาจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแตละป ซึ่งทุก 4 ป จะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน
กลาวคือเดือนกุมภาพันธจะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ วงโคจรของโลกไมเปนวงกลม ใน
เดือนธันวาคมมันจะอยูใกลดวงอาทิตยมากกวาเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยูหางไกลจากดวงอาทิตยมาก
ที่สุด โลกจะเอียงไปตามเสนแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตยดังนั้น ซีกโลก
เหนือจะเปนฤดูรอ นและซีกโลกใตจะเปนฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย ทําใหซีกโลก
เหนือเปนฤดูหนาวและซีกโลกใตเปนฤดูรอ น ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไมเอียงไปยัง
ดวงอาทิตย กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเทากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเปนฤดูใบไมผลิ
และซีกโลกใตเปนฤดูใบไมรวง ในเดือนกันยายน สถานการณจะกลับกัน
129

ภาพ : การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย

โลกมีอายุประมาณ 4,700 ป โลกไมไดมีรูปรางกลมโดยสิ้นเชิง เสนรอบวงที่เสนศูนยสูตรยาว


40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล) และที่ขั้วโลกยา ว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล) และมีดวงจันทรเปน
บริวาร 1 ดวง โคจรรอบโลกทุก ๆ 27 วัน 8 ชั่งโมง
โลก มีลักษณะเปนทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเสนผาศูนยกลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว
12,755 กม. ตางกัน 44 กม. มีพื้นน้ํา 3 สวน หรือ 71% และมีพน้ื ดิน 1 สวน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง
23.5 องศา

สวนประกอบของโลก
1. สวนที่เปนพื้นน้ํา ประกอบดวย หวยหนอง คลองบึง ทะเล มหาสมุทร น้ําใตดิน น้ําแข็งขั้วโลก
2. สวนที่เปนพื้นดิน คือสวนที่มีลักษณะแข็งหอหุมโลก โดยที่เปลือกที่อยูใตทะเลมีความหนา 5
กิโลเมตร และสวนเปลือกที่มีความหนาคือ สวนที่เปนภูเขา หนาประมาณ 70 กิโลเมตร
3. ชั้นบรรยากาศ เปนชั้นที่สําคัญ เพราะทําใหเกิดปรากฏการณตาง ๆ ทางธรรมชาติ เชน วัฏจักร
น้ํา อิออน ที่จําเปนตอการติดตอสื่อสารเปนตน
4. ชั้นสิ่งมีชีวิต
130
โครงสรางภายในโลก

ภาพ : โครงสรางภายในโลก

เปลือกโลก
เปลือกโลก (crust) เปนชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร ซึ่งถือวาเปน
ชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไขไกหรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปดวย
แผนดินและแผนน้ํา ซึ่งเปลือกโลกสวนที่บางที่สุดคือสวนที่อยูใตมหาสมุทร สวนเปลือกโลกที่หนาที่สุด
คือเปลือกโลกสวนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยูดวย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบง
ออกเปน 2 ชั้นคือ

ภาพ : สวนประกอบของโลก
131
- ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล (sial) เปนเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบดวยแรซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเปน
หินแกรนิตชนิดหนึ่ง สําหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเปนหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลก
สวนที่เปนทวีปเทานั้น สวนเปลือกโลกที่อยูใตทะเลและมหาสมุทรจะไมมีหินชั้นนี้
- ชั้นที่สอง: ชัน้ หินไซมา (sima) เปนชั้นที่อยูใตหินชั้นไซอัลลงไป สวนใหญเปนหินบะซอลต
ประกอบดวยแรซิลิกา เหล็กออกไซดและแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้หอหุมทั่วทั้งพื้นโลกอยูในทะเล
และมหาสมุทร ซึ่งตางจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะสวนที่เปนทวีป และยังมีความหนาแนน
มากกวาชั้นหินไซอัล

แมนเทิล
แมนเทิล (mantle หรือ Earth's mantle) เปนชั้นที่อยู ระหวางเปลือกโลกและแกนโลก มีความหนา
ประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางสวนของหินอยูใ นสถานะหลอมเหลวเรียกวา หินหนืด (Magma) ทําใหชั้น
แมนเทิลมีความรอนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 - 4300 °C ซึ่งประกอบดวยหินอัคนี
เปนสวนใหญ เชนหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต

แกนโลก
แกนโลก (Core) ความหนาแนนของโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทําใหโลกเปนดาวเคราะห
ทีห่ นาแนนทีส่ ดุ ในระบบสุรยิ ะ แตถา วัดเฉพาะความหนาแนนเฉลีย่ ของพืน้ ผิวโลกแลววัดไดเพียงแค
3,000 กก./ลบ.ม. เทานั้น ซึ่งแกน โลกมีองคประกอบเปนธาตุเหล็กถึง 80% รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มี
น้ําหนักที่เบากวาอื่นๆ เชนตะกั่วและยูเรเนียม เปนตน แกนโลกสามารถแบงออกเปน 2 ชั้นไดแก
- แกนโลกชัน้ นอก ( Outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2 ,900 - 5 ,000 กิโลเมตร
ประกอบดวยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพหลอมละลาย และมีความรอนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 -
6400 มีความหนาแนนสัมพัทธ 12.0 และสวนนีม้ สี ถานะเปนของเหลว
- แกนโลกชัน้ ใน (Inner core) เปนสวนที่อยูใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1 ,000 กิโลเมตร มี
อุณหภูมิประมาณ 4 ,300 - 6 ,200 และมีความกดดันมหาศาล ทําใหสวนนี้จึงมีสถานะเปนของแข็ง
ประกอบดวยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยูในสภาพเปนของแข็ง มีความหนาแนนสัมพัทธ 17.0

แผนเปลือกโลก
(อังกฤษ: Plate tectonics; มาจากภาษากรีก " แปลวา "ผูสราง") เปนทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูก
พัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผนเปลือกโลกขนาดใหญ
โครงสรางนอกสุด ของโลกประกอบดวยชั้น 2 ชั้น ชั้นที่อยูนอกสุดคือชั้นดินแข็ง ( lithosphere) ที่
มีเปลือกโลกและชั้นนอกสุดของแมนเทิลที่เปนเย็นตัวและแข็งแลว ภายใตชั้นดินแข็งคือชั้นดินออน
(aethenosphere) ถึงแมวายังมีสถานะเปนของแข็งอยู แตชั้นดินออนนั้นมีความยืดหยุนคอนขางต่ําและขาด
ความแข็งแรง ทั้งยังสามารถไหลไดคลายของเหลวซึ่งขึ้นอยูกับลําดับเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู
132
ลึกลงไปภายใตชั้นดินออนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกลาวไมไดมาจากการเย็น
ลงของอุณหภูมิ แตเนื่องมาจากความดันที่มีอยูสูง
ชั้นดินแข็งนั้นจะแตกตัวลงเปนสิ่งที่เรียกวาแผนเปลือกโลก ซึ่งในกรณีของโลกนั้น สามารถ
แบงเปนแผนขนาดใหญได 7 แผน และแผนขนาดเล็กอีกจํานวนมาก แผนดินแข็งจะเลื่อนตัวอยูบนชั้นดิน
ออน และจะเคลื่อนตัวสัมพันธกับแผนเปลือกโลกอื่นๆ ซึ่งการเคลื่อนที่นี้สามารถแบงไดเปน 3 ขอบเขต
ดวยกันคือ
1. ขอบเขตที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน
2. ขอบเขตที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน
3. ขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ
โดยปรากฏการณทางธรณีวิทยาตางๆ ไดแก แผนดินไหว ภูเขาไฟปะทุ การกอตัวขึ้นของภูเขา
และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพรอมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผนดิน การเคลื่อนตัว
ดานขางของแผนดินนั้นมีอัตราเร็วอยูระหวาง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรตอป

ภาพ : แผนเปลือกโลกขนาดใหญ
133
แผนเปลือกโลกที่มีขนาดใหญ ไดแก
• แผนแอฟริกัน: ครอบคลุมทวีปแอฟริกา เปนแผนทวีป

• แผนแอนตารคติก : ครอบคลุมทวีปแอนตารคติก เปนแผนทวีป

• แผนออสเตรเลียน : ครอบคลุมออสเตรเลีย (เคยเชื่อมกับแผนอินเดียนเมื่อประมาณ 50-55 ลานป

กอน) เปนแผนทวีป
• แผนยูเรเซียน: ครอบคลุมทวีปเอเชียและยุโรป เปนแผนทวีป

• แผนอเมริกาเหนือ : ครอบคลุมทวีปอเมริกาเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย เปน

แผนทวีป
• แผนอเมริกาใต: ครอบคลุมทวีปอเมริกาใต เปนแผนทวีป

• แผนแปซิฟก: ครอบคลุมมหาสมุทรแปซิฟก เปนแผนมหาสมุทร

นอกจากนี้ ยังมีแผนเปลือกโลกที่มีขนาดเล็กกวาไดแก แผนอินเดียน แผนอาระเบียน แผนแคริ


เบียน แผนฮวนเดฟูกา แผนนาซคา แผนฟลิปปนสและแผนสโกเทีย
การเคลื่อนที่ของแผนเปลือกโลก มีสาเหตุมาจากการรวมตัวและแตกออกของทวีปเมื่อผาน
ชวงเวลาหนึง่ ๆ รวมถึงการรวมตัวของมหาทวีปในบางครั้ง ซึ่งไดรวมทุกทวีปเขาดวยกัน มหาทวีปโรดิ
เนีย (Rodinia) นั้นคาดวากอตัวขึ้นเมื่อหนึ่งพันลานปที่ผานมา และไดครอบคลุมผืนดินสวนใหญบนโลก
จากนัน้ จึงเกิดการแตกตัวไปเปนแปดทวีปเมือ่ 600 ลานปที่แลว ทวีปทั้ง 8 นี้ ตอมาเขามารวมตัวกันเปน
มหาทวีปอีกครั้ง โดยมีชื่อวาแพนเจีย ( Pangaea) และในที่สุด แพนเจียก็แตกออกไปเปนทวีปลอเรเซีย
(Laurasia) ซึ่งกลายมาเปนทวีปอเมริกาเหนือและยูเรเซีย และทวีปกอนดวานา ( Gondwana) ซึ่งกลายมา
เปนทวีปอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ไดกลาวขางตน

การเคลื่อนที่ของแผนเปลือกโลก

ภาพ : การเคลื่อนที่ของแผนเปลือกโลก
134

เรื่องที่ 2 บรรยากาศ
บรรยากาศ คือ อากาศที่ห มหุม โลกเราอยูโ ดยรอบ โดยมีขอบเขตนับจากระดับน้ําทะเลขึ้นไป
ประมาณ 1,000 กิโลเมตร บริเวณใกลพื้นดินอากาศจะมีความหนาแนนมากและจะลดลงเมื่ออยูสูงขึ้นไป
จากระดับพื้นดินบริเวณใกลพื้นดิน โลกมีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย

ภาพ : สภาพบรรยากาศของโลก

ชัน้ บรรยากาศ
สภาพอากาศของโลก คือ การถูกหอหุมดวยชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชั้น ไดแก
1. โทรโพสเฟยร เริ่มตั้งแต 0-10 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรย ากาศมีไอน้ํา เมฆ หมอก ซึ่งมีความ
หนาแนนมาก และมีการแปรปรวนของอากาศอยูตลอดเวลา
2. สตราโตสเฟยร เริ่มตั้งแต 10-35 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศชั้นนี้แถบจะไมเปลี่ยนแปลง
จากโทรโพสเฟยร แตมีผงฝุนเพิ่มมาเล็กนอย
3. เมโสสเฟยร เริ่มตั้งแต 35-80 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีกาซโอโซนอยูมากซึ่งจะชวยสกัด
แสงอัลตรา ไวโอเรต (UV) จากดวงอาทิตยไมใหมาถึงพื้นโลกมากเกินไป
4. ไอโอโนสเฟยร เริ่มตั้งแต 80-600 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจนจางมากไมเหมาะ
กับมนุษย
5. เอกโซสเฟยร เริ่มตั้งแต 600 กิโลเมตรขึ้นไป จากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจนจางมาก ๆ และมี
กาซฮีเลียม และไฮโดรเจนอยูเ ปนสวนมาก โดยเปนที่ชั้นติดตอกับอวกาศ
135
ความสําคัญของบรรยากาศ
บรรยากาศมีความสําคัญตอสิ่งมีชีวิต ดังนี้
1. ชวยปรับอุณหภูมิบนผิวโลกไมใหสูงหรือต่ําเกินไป
2. ชวยปองกันอันตรายจากรังสีและอนุภาคตางๆที่มาจากภายนอกโลก เชน ชวยดูดกลืนรังสี
อัลตราไวโอเลตไมใหสองผายมายังผิวโลกมากเกินไป ชวยทําใหวัตถุจากภายนอกโลกที่ถูกแรงดึงดูดของ
โลกดึงเขามาเกิดการลุกไหมหรือมีขนาดเล็กลงกอนตกถึงพื้นโลก

ภาพ : ชั้นของบรรยากาศ

องคประกอบของบรรยากาศ
บรรยากาศหรืออากาศ จัดเปนของผสมประกอบดวยแกสตาง ๆ เชน แกสไนโตนเจน ( N2) แกส
ออกซิเจน (O2) แกสคารบอนไดออกไซด (CO2) แกสอารกอน (Ar) ฝุนละออง และแกสอื่น ๆ เปนตน

ภาพ : องคประกอบของบรรยากาศ
136
กาซที่เกี่ยวกับชั้นบรรยากาศที่สําคัญมีอยู 2 กาซคือ
โอโซน (Ozone) เปนกาซที่สําคัญมากตอมนุษย เพราะชวยดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเลตที่มาจาก
ดวงอาทิตย ไมใหตกสูพื้นโลกมากเกินไป ถาไมมีโอโซนก็จะทําใหรังสีอุลตราไวโอเลตเขามาสูพื้นโลก
มากเกินไป ทําใหผิวหนังไหมเกรียม แตถาโอโซนมีมากเกินไปก็จะทําใหรังสีอุลตราไวโอเลตมาสูพื้นโลก
นอยเกินไปทําใหมนุษยขาดวิตามิน D ได
ซีเอฟซี (CFC=Chlorofluorocarbon) เปนกาซที่ประกอบดวย คารบอน ฟลูออรีน คลอรีน ซึ่งได
นํามาใชในอุตสาหกรรมบางชนิด เชน พลาสติก โฟม ฯลฯ โดยกาซ CFC น้ําหนักเบามาก ดังนั้น เมื่อ
ปลอยสูบรรยากาศมากขึ้นจ นถึงชั้นสตราโตสเฟยร CFC จะกระทบกับรังสีอุลตราไวโอเลตแลวแตกตัว
ออกทั นทีเกิดอะตอมของคลอรีนอิสระที่จะเขาทํา ปฏิกิริย ากับโอโซน ไดสารประกอบมอนอกไซดของ
คลอรีน และกาซออกซิเจน จากนั้น สารประกอบมอนอกไซดจะรวมตัวกับอะตอ มออกซิเจนอิสระ
เพือ่ ทีจ่ ะสรางออกซิเจนและอะตอมของคลอรีน ปฏิกิริย านี้จะเปนลูกโซตอเนื่องไมสิ้นสุด โดยคลอรี น
อิสระ 1 อะตอม จะทําลายโอโซนไปจากชั้นบรรยากาศไดถึง 100,000โมเลกุล

อุณหภูมิ
อุณหภูมิ คือ คุณสมบัติทางกายภาพของระบบ โดยจะใชเพื่อแสดงถึงระดับพลังงานความรอน
เปนการแทนความรูสึกทั่วไปของคําวา "รอน" และ "เย็น" โดยสิ่งที่มีอุณหภูมิสูงกวาจะถูกกลาววา รอน
กวา หนวย SI ของอุณหภูมิ คือ เคลวิน
มาตราวัด
มาตรฐานวัดหลัก ไดแก
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จุดเยือกแข็งของน้ํา จุดเดือดของน้าํ
องศาเซลเซียส Celsius (℃) 0 100
องศาฟาเรนไฮต Fahrenheit (℉) 32 212
เคลวิน Kelvin (K) 273 373
องศาโรเมอร Réaumur (°R) 0 80

โดยมีสตู รการแปลงหนวย ดังนี้


137
กระแสน้ํากับอุณหภูมิของโลก
กระแสน้ําในมหาสมุทร คือ การเคลื่อนที่ของน้ําในมหาสมุทรในลักษณะที่เปนกระแสธาร ที่
เคลื่อนที่อยางสม่ําเสมอ และไหลตอเนื่องไปในทิศทางเดียวกัน มี 2 ชนิด คือ กระแสน้ําอุน และกระแสน้ํา
เย็น
กระแสน้ําอุน เปนกระแสน้ําที่มาจากเขตละติจูดต่ํา (บริเวณที่อยูใกลเสนศูนยสูตร ตั้งแต เสน
ทรอปกออฟแคนเซอรถงึ ทรอปกออฟแคบริคอรน) เคลื่อนที่ไปทางขั้วโลก มีอุณหภูมิสูงกวาน้ําที่อยู
โดยรอบไหลผานบริเวณใดก็จะทําใหอากาศบริเวณนั้น มีความอบอุนชุมชื้นขึ้น

ภาพ : ทิศทางการไหลของกระแสน้ําอุน - น้ําเย็นหรือเทอรโมฮาไลนที่ไหลรอบโลก

กระแสน้ําเย็น ไหลผานบริเวณใดก็จะทําใหอากาศแถบนัน้ มีความหนาวเย็น แหงแลง เปน


กระแสน้ําที่ไหลมาจากเขตละติจูดสูง (บริเวณตั้งแต เสนอารกติกเซอรเคิลถึงขั้วโลกเหนือ และบริเวณเสน
แอนตารกติกเซอรเคิลถึงขั้วโลกใต) เขามายังเขตอบอุน และเขตรอนจึงทําใหกระแสน้ําเย็นล งหรือ
อุณหภูมิต่ํากวาน้ําที่อยูโดยรอบ
กระแสน้ําอุนและกระแสน้ําเย็น จะนําพาอากาศรอนและอากาศหนาวมา ทําใหเกิดฤดูกาลที่
เปลี่ยนไปตามธรรมชาติ ถาไมมีกระแสน้ําอากาศก็จะวิปริตผิดเพี้ยนไป รอนและหนาวมากผิดฤดู สงผล
ใหพืชไมออกผล เกิดพายุฝนทีร่ นุ แรง และแปรปรวน
138
นอกจากนี้ ยังมีผลตอความชื้นในอากาศ คือ ลมที่พัดผานกระแสน้ําอุนมาสูทวีปที่เย็น จะทําให
ความชื้นบริเวณนั้นมีมากขึ้น และมีฝนตก ในขณะที่ลมที่พัดผานกระแสน้ําเย็นไปยังทวีปที่อุนจะทําให
อากาศแหงแลง ชายฝงบางที่จึงมีอากาศแหงแลง บางที่ก็เปนทะเลทราย แตถากระแสน้ําอุนกับกระแสน้ํา
เย็นไหลมาบรรจบกันจะทําใหเกิดหมอก
หากขาดกระแสน้ําทั้งสองชนิดนี้ ก็จะไมมีการเปลี่ยนแปลงของอากาศ แตในบางพื้นที่ กระแสน้ําก็
ไมมีผลตออุณหภูมิเพราะไมมีทั้งกระแสน้ําอุนและกระแสน้ําเย็นไหลผาน เชน ประเทศไทย
เมื่อน้ําแข็งที่ขั้วโลกละลาย น้ําทะเลก็จะเจือจางลง ทําใหกระแสน้ําอุน และกระแสน้ําเย็นหยุด
ไหล เมื่อหยุดไหลแลวก็จะไมมีระบบหลออุณหภูมิของโลก โลกของเราก็จะเขาสูยุคน้ําแข็งอีกครั้งหนึ่ง
หรือไมก็เกิดภาวะน้ําทวมโลก

สมบัติของอากาศ
1. ความหนาแนนของอากาศ
ความหนาแนนของอากาศ คือ อัตราสวนระหวางมวลกับปริมาตรของอากาศ
1.1 ที่ระดับความสูงจากระดับน้ําทะเลตางกัน อากาศจะมีความหนาแนนตางกัน
1.2 เมื่อระดับความสูงจากระดับน้ําทะเลเพิ่มขึ้น ความหนาแนนของอากาศจะลดลง
1.3 ความหนาแนนของอากาศจะเปลี่ยนแปลงตามมวลของอากาศ อากาศที่มวลนอยจะมีความหนาแนน
นอย
1.4 อากาศที่ผิวโลกมีความหนาแนนมากกวาอากาศที่อยูระดับความสูงจากผิวโลกขึ้นไป เนื่องจากมีชั้น
อากาศกดทับผิวโลกหนากวาชั้นอื่นๆ และแรงดึงดูดของโลกที่มีตอมวลสารใกลผิวโลก
2. ความดันของอากาศ
ความดันของอากาศหรือความดันบรรยากาศ คือ คาแรงดันอากาศที่กระทําตอหนึ่งหนวยพื้นที่ที่
รองรับแรงดันนัน้
- เครื่องมือวัดความดันอากาศ เรียกวา บารอมิเตอร
- เครื่องมือวัดความสูง เรียกวา แอลติมิเตอร
ความสัมพันธระหวางความดันอากาศกับระดับความสูงจากระดับน้ําทะเล สรุปไดดังนี้
1. ที่ระดับน้ําทะเล ความดันอากาศปกติมีคาเทากับความดันอากาศที่สามารถดันปรอทใหสูง
76 cm หรือ 760 mm หรือ 30 นิ้ว
2. เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดของอากาศจะลดลงทุกๆ ระยะความสูง 11 เมตรระดับ
ปรอทจะลดลง 1 มิลลิเมตร
3. อุณหภูมิของอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความสูงในบรรยากาศชั้นนี้พบวา โดยเฉลี่ย
อุณหภูมิจะลดลงประมาณ 6.5 ๐C
139
4. ความชื้นของอากาศ
ความชื้นของอากาศ คือ ปริมาณไอน้ําที่ปะปนอยูในอากาศ อากาศที่มีไอน้ําอยูในปริมาณเต็มที่
และจะรับไอน้ําอีกไมไดอีกแลว เรียกวา อากาศอิ่มตัว
 การบอกคาความชื้นของอากาศ สามารถบอกได 2 วิธี คือ
1.ความชื้นสัมบูรณ คือ อัตราสวนระหวางมวลของไอน้ําในอากาศกับปริมาตรของอากาศขณะนั้น
2. ความชื้นสัมพันธ คือ ปริมาณเปรียบเทียบระหวางมวลของไอน้ําที่มีอยูจริงในอากาศขณะนั้น
กับมวลของไอน้ําอิ่มตัว ที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน มีหนวยเปน เปอรเซ็นต
 เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ เรียกวา ไฮกรอมิเตอร ที่นิยมใชมี 2 ชนิด คือ
1. ไฮกรอมิเตอรแบบกระกระเปยกกระเปาะแหง
2. ไฮกรอมิเตอรแบบเสนผม
เมฆ
1.1 เมฆและการเกิดเมฆ
เมฆ คือ น้ําในอากาศเบื้องสูงที่อยูในสถานะเปนหยดน้ําและผลึกน้ําแข็ง และอาจมีอนุภาคของ
ของแข็งที่อยูในรูปของควันและฝุนที่แขวนลอยอยูในอากาศรวมอยูดวย
1.2 ชนิดของเมฆ
การสังเกตชนิดของเมฆ
กลุมคําที่ใชบรรยายลักษณะของเมฆชนิดตาง ๆ มีอยู 5 กลุมคํา คือ
เซอรโร(CIRRO) เมฆระดับสูง
อัลโต (ALTO) เมฆระดับกลาง
คิวมูลัส (CUMULUS) เมฆเปนกอนกระจุก
สเตรตัส (STRATUS) เมฆเปนชัน้ ๆ
นิมบัส (NUMBUS) เมฆที่กอใหเกิดฝน

นักอุตุนิยมวิทยาแบงเมฆออกเปน 4 ประเภท คือ


1. เมฆระดับสูง เปนเมฆที่พบในระดับความสูง 6500 เมตรขึ้นไป
ประกอบดวยผลึกน้ําแข็งเปนสวนใหญ มี 3 ชนิด คือ
- เซอรโรคิวมูลัส
- เซอรรสั
- เซอรโรสเตรตัส
140

ภาพ : เมฆชนิดตาง ๆ
2. เมฆระดับกลาง
- อัลโตสเตรตัส
- อัลโตคิวมูลัส
3. เมฆระดับต่ํา
- สเตรตัส
- สเตรโตคิวมูลัส
- นิมโบสเตรตัส
4. เมฆซึ่งกอตัวในทางแนวตั้ง
- คิวมูลัส
- คิวมูโลนิมบัส

หยาดน้ําฟา
หยาดน้ําฟา หมายถึง น้ําที่อยูในสถานะของแข็งหรือของเหลวที่ตกลงมาจากบรรยากาศสูพื้นโลก
หมอก(Fog) คือ เมฆที่เกิดในระดับใกลพื้นโลก จะเกิดตอนกลางคืนหรือเชามืด
141
น้ําคาง( Dew) คือ ไอน้ําที่กลั่นตัวเปนหยดน้ําเกาะติดอยูตามผิว ซึ่งเย็นลงจนอุณหภูมิต่ํากวาจุด
น้ําคางของขณะนั้น
จุดน้ําคาง คือ ขีดอุณหภูมิที่ไอน้ําในอากาศเริ่มควบแนนออกมาเปนละอองน้ํา
น้ําคางแข็ง( Frost) คือ ไอน้ําในอากาศที่มีจุดน้ําคางต่ํากวาจุดเยือกแข็ง แลวเกิดการกลั่นตัวเปน
เกล็ดน้ําแข็ง โดยเกิดเฉพาะในเวลากลางคืน หรือตอนเชามืด
หิมะ(Snow) คือ ไอน้ําที่กลั่นตัวเปนเกล็ดน้ําแข็ง เมื่ออากาศอิ่มตัว และอุณหภูมิต่ํากวาจุดเยือก
แข็ง
ลูกเห็บ(Hail) คือ เกล็ดน้ําแข็งที่ถูกลมพัดหวนขึ้นหลายครั้ง แตละครั้งผานอากาศเย็นจัด ไอน้ํา
กลายเปนน้ําแข็งเกาะเพิ่มมากขึ้น จนมีขนาดใหญมากเมื่อตกถึงพื้นดิน
ฝน(Rain) เกิดจากละอองน้ําในกอมเมฆซึ่งเย็นจัดลง ไอน้ํากลั่นตัวเปนละอองน้ําเกาะกันมาก
และหนักขึน้ จนลอยอยูไ มได และตกลงมาดวยแรงดึงดูดของโลก

ภาพ : กระบวนการเกิดฝน

ปริมาณน้ําฝน หมายถึง ระดับความลึกของน้ําฝนในภาชนะที่รองรับน้ําฝน เครื่องมือปริมาณ


น้ําฝนเรียกวา เครื่องวัดน้ําฝน(Rain gauge)
142

เรื่องที่ 3 ปรากฏการณทางธรรมชาติ
ลม (Wind) คือ มวลของอากาศที่เคลื่อนที่ไปตามแนวราบ กระแสอากาศทีเ่ คลือ่ นทีใ่ นแนวนอน
สวนกระแสอากาศคือ อากาศที่เคลื่อนที่ในแนวตั้ง การเรียกชื่อลมนั้นเรียกตามทิศทางที่ลมนั้นๆ พัดมา
เชน ลมที่พัดมาจากทิศเหนือเรียกวา ลมเหนือ และลมที่พัดมาจากทิศใตเรียกวา ลมใต เปนตน ในละติจูด
ต่ําไมสามารถจะคํานวณหาความเร็วลม แตในละติจูดสูงสามารถคํานวณหาความเร็วลมได
การเกิดลม
สาเหตุเกิดลม คือ
1. ความแตกตางของอุณหภูมิ
2. ความแตกตางของหยอมความกดอากาศ
หยอมความกดอากาศ(Pressure areas)
- หยอมความกดอากาศสูง หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกวาบริเวณขางเคียง
ใชตัวอักษร H
- หยอมความกดอากาศต่ํา หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ํากวาบริเวณขางเคียง
ใชตัวอักษร L
ชนิดของลม ลมแบงออกเปนชนิดตาง ๆ คือ
- ลมประจําปหรือลมประจําภูมิภาค เชน ลมสินคา
- ลมประจําฤดู เชน ลมมรสุมฤดูรอน และลมมรสุมฤดูหนาว
- ลมประจําเวลา เชน ลมบก ลมทะเล
- ลมที่เกิดจากการแปรปรวนหรือลมพายุ เชน พายุฝนฟาคะนอง พายุหมุนเขตรอน

ลมผิวพื้น
ลมผิวพื้น (Surface Winds) คือ ลมที่พัดจากบริเวณผิวพื้นไปยังความสูงประมาณ 1 กิโลเมตรเหนือ
พื้นดิน เปนบริเวณที่มีการคลุกเคลาของอากาศ และมีแรงฝดอันเกิดจากการปะทะกับสิ่งกีดขวางรวม
กระทําดวย ในระดับต่ําแรงความชันความกดอากาศในแนวนอนจะไมสมดุลกับแรงคอริออลิส แรงฝดทํา
ใหความเร็วลมลดลง มีผลใหแรงคอริออลิสลดลงไปดวย ลมผิวพื้นจะไมพัดขนานกับไอโซบาร แตจะพัด
ขามไอโซบารจากความกดอากาศสูงไปยังความกดอากาศต่ํา และทํามุมกับไอโซบาร การทํามุมนั้นขึ้นอยู
กับความหยาบของผิวพื้น ถาเปนทะเลที่ราบเรียบจะทํามุม 10 ถึง 20 แตพื้นดินทํามุม 20 ถึง 40 สวน
บริเวณที่เปนปาไมหนาทึม อาจทํามุมถึง 90 มุมที่ทํากับไอโซบารอยูในระดับความสูง 10 เมตร เหนือผิว
พื้น ที่ระดับความสูงมากกวา 10 เมตร ขึ้นไป แรงฝดลดลง แตความเร็วลมจะเพิ่มขึ้น มุมที่ทํากับไอโซบาร
จะเล็กลง สวนที่ระดับความสูงใกล 1 กิโลเมตร เกือบไมมีแรงฝด ดังนั้นลมจึงพัดขนานกับไอโซบาร
143
ลมกรด (Jet Stream) เปนกระแสลมแรงอยูใ นเขตโทรโพพอส (แนวแบงเขตระหวางชัน้ โทรโพส
เฟยรกับชั้นสเตรโตสเฟยร) เปนลมฝายตะวันตกที่มีความยาวหลายพันกิโลเมตร มีความกวางหลายรอย
กิโลเมตร แตมีความหนาเพียง 2-3 กิโลเมตร เทานั้น โดยทั่วไปลมกรด พบอยูในระดับความสูงประมาณ
10 และ 15 กิโลเมตร แตอาจจะเกิดขึ้นไดทั้งในระดับที่สูงกวา และในระดับที่ต่ํากวานี้ได ตรงแกนกลาง
ของลมเปนบริเวณแคบ แตลมจะพัดแรงที่สุด ถัดจากแกนกลางออกมาความเร็วลมจะลดนอยลง ลมกรดมี
ความเร็วลมประมาณ 150-300 กิโลเมตรตอชั่วโมง และที่ระดับความสูงใกล 12 กิโลเมตร จะมีความเร็ว
ลมสูงถึง 400 กิโลเมตรตอชั่วโมง ในขณะที่ลมฝายตะวันตกอื่นๆ มีความเร็วลมเพียง 50-100 กิโลเมตรตอ
ชั่วโมง
ลมมรสุม
ลมมรสุม (Monsoon) มาจากคําในภาษาอาหรับวา Mausim แปลวา ฤดู ลมมรสุมจึงหมายถึง ลมที่
พัดเปลี่ยนทิศทางกลับการเปลี่ยนฤดู คือ ฤดูรอนจะพัดในทิศทางหนึ่ง และจะพัดเปลี่ยนทิศทางในทาง
ตรงกันขามในฤดูหนาว ครั้งแรกใชเรียกลมนี้ในบริเวณทะเลอาหรับซึ่งพัดอยูในทิศทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือเปนระยะเวลา 6 เดือน และพัดอยูในทิศทางตะวันตกเฉียงใตเปนระยะเวลา 6 เดือน
แตอยูในสวนอื่นๆ ของโลก ลมมรสุมที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ลมมรสุมที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออก และ
เอเชียใต
ลมทองถิ่น
ลมทองถิ่น เปนลมที่เกิดขึ้นภายในทองถิ่น เนื่องจากอิทธิพลของภูมิประเทศและความ
เปลี่ยนแปลงของความกดอากาศ ลมทองถิ่นแบงแยกออกเปนประเภทใหญ ๆ ดังนี้
1. ลมบกและลมทะเล เปนลมที่เกิดจากความแตกตางอุณหภูมิของอากาศหรือพื้นดินและ
พื้นน้ํา เปนลมที่พัดประจําวัน

ภาพ : การเกิดลมทะเลและการเกิดลมบก
144
• ลมทะเล (Sea Breeze) เกิดในฤดูรอนตามชายฝงทะเล ในเวลากลางวันเมือ่ พืน้ ดินไดรบั ความรอน
จากดวงอาทิตยจะมีอุณหภูมิสูงกวาพื้นน้ํา และอากาศเหนือพื้นดินเมื่อไดรับความรอนจะขยายตัวลอยขึ้นสู
เบื้องบน อากาศเหนือพื้นน้ําซึ่งเย็นกวาจะไหลเขาไปแทนที่ เกิดลมจากทะเลพัดเขาหาฝงมีระยะทางไกล
ถึง 16-48 กิโลเมตร และความแรงของลมจะลดลงเมื่อเขาถึงฝง
• ลมบก (Land Breeze) เกิดในเวลากลางคืน เมื่อพื้นดินคายความรอนโดยการแผรังสีออก จะ

คายความรอนออกไดเร็วกวาพื้นน้ํา ทําใหมีอุณหภูมิต่ํากวาพื้นน้ํา อากาศเหนือพื้นน้ําซึ่งรอนกวาพื้นดินจะ


ลอยตัวขึ้นสูเบื้องบน อากาศเหนือพื้นดินซึ่งเย็นกวาจะไหลเขาไปแทนที่ เกิดเปนลมพัดจากฝงไปสูทะเล
ลมบก ซึ่งลมบกจะมีความแรงของลมออนกวาลมทะเล จึงไมสามารถพัดเขาสูทะเลไดระยะทางไกล
เหมือนลมทะเล โดยลมบกสามารถพัดเขาสูทะเลมีระยะทางเพียง 8-10 กิโลเมตร เทานั้น
2. ลมภูเขาและลมหุบเขา (Valley Breeze) เปนลมประจําวันเชนเดียวกับลมบกและลมทะเล ลม
หุบเขา เกิดขึ้นในเวลากลางวัน อากาศตามภูเขาและลาดเขารอน เพราะไดรับความรอนจากดวงอาทิตย
เต็มที่ สวนอากาศที่หุบเขาเบื้องลางมีความเย็นกวาจึงไหลเขาแทนที่ ทําใหมีลมเย็นจากหุบเขาเบื้องลางพัด
ไปตามลาดเขาขึ้นสูเบื้องบน เรียกวา ลมหุบเขา

ภาพ : การเกิดลมหุบเขาและการเกิดลมภูเขา

3. ลมพัดลงลาดเขา (Katabatic Wind) เปนลมที่พัดอยูตามลาดเขาลงสูหุบเขาเบื้องลาง ลมนี้มี


ลักษณะคลายกับลมภูเขา แตมีกําลังแรงกวา สาเหตุการเกิดเนื่องจากลมเย็นและมีน้ําหนักมากเคลื่อนที่จาก
ที่สูงลงสูที่ต่ําภายใตแรงดึงดูดของโลก สวนใหญเกิดขึน้ ใน ชวงเวลากลางคืน เมื่อพื้นดินคายความรอน
ออก ในฤดูหนาวบริเวณที่ราบสูงภายในทวีปมีหิมะทับถมกันอยู อากาศเหนือพื้นดินเย็นลงมาก ทําใหเปน
เขตความกดอากาศสูง ตามขอบที่ราบสูงแรงความชันความกดอากาศมีความแรงพอที่จะทําใหอากาศ
หนาว จากที่สูงไหลลงสูที่ต่ําได บางครั้งจึงเรียกวา ลมไหล (Drainage Wind) ลมนี้มีชื่อแตกตางกันไปตาม
ทองถิ่นตาง ๆ เชน ลมโบรา ( Bora) เปนลมหนาวและแหง มีตน กําเนิดมาจากลมหนาวในสหภาพโซเวียต
(ป พ.ศ. 2534 เปลี่ยนชื่อเปนเครือจักรภพอิสระ) พัดขามภูเขาเขาสูชายฝงทะเลเอเดรียติกของประเทศ
145
ยูโกสลาเวีย จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว เกิดขึน้ ไดทง้ั เวลากลางวันและกลางคืน แตจะเกิดขึ้น
บอยและลมมีกําลังแรงจัดในเวลากลางคืนและสมมิสทราล ( Mistras) เปนลมหนาวและแหงเชนเดียวกับ
ลมโบรา แตมีความเร็วลมนอยกวา พัดจากภูเขาตะวันตกลงสูหุบเขาโรนทางตอนใตของประเทศฝรั่งเศส

ภาพ : ลมพัดลงลาดเขา

4. ลมชีนุก (Chinook) เปนลมที่เกิดขึ้นทางดานหลังเขา มีลักษณะเปนลมรอนและแหง ความแรงลม


อยูในขั้นปานกลางถึงแรงจัด การเคลื่อนที่ของลมเปนผลจากความกดอากาศแตกตางกันทางดานตรงขาม
ของภูเขา ภูเขาดานที่ไดรับลมจะมีความกดอากาศมากและอากาศจะถูกบังคับใหลอยสูงขึ้นสูยอดเขา ซึ่งจะ
ขยายตัวและพัดลงสูเบื้องลางทางดานหลังเขา ขณะที่อากาศลอยต่ําลง อุณหภูมิจะคอย ๆ เพิ่มสูงขึ้นตาม
อัตราการเปลี่ยนอุณหภูมิอะเดียแบติก จึงเปนลมรอนและแหง ลมรอนและแหงที่พัดลงไปทางดานหลังเขา
ทางตะวันออกของเทือกเขาร็อกกี เรียกวา ลมชีนุก บริเวณที่เกิดลมเปนบริเวณแคบ ๆ มีความกวางเพียง
2-3 รอยกิโลเมตร เทานั้น และแผขยายจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมลรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา
ไปทางเหนือเขาสูแคนาดา ลมชีนุกเกิดขึ้นเมื่อลมตะวันตกชั้นบนที่มีกําลังแรงพัดขามแนวเทือกเขาเหนือ
ใตคือ เทือกเขาร็อกกี และ เทือกเขาแคสเกต อากาศทางดานเขาที่ไดรับลมถูกบังคับ ใหลอยขึ้น อุณหภูมิ
ลดต่ําลง แตเมื่อลอยต่ําลงไปยังอีกดานของเขา อากาศจะถูกบีบ ทําใหมีอุณหภูมิสูงขึ้น ถาลมที่มีลักษณะ
อยางเดียวกับลมชีนุก แตพัดไปตามลาดเขาของภูเขาแอลปในยุโรป เรียกวา ลมเฟหน ( Foehn) และถาเกิด
ในประเทศอารเจนตินา เรียกวา ลมซอนดา (Zonda)
146

ภาพ : ลักษณะการเกิดลมชีนุก
5. ลมซานตาแอนนา ( Santa Anna) เปนลมรอนและแหงพัดจากทางตะวันออก หรือ
ตะวันออกเฉียงเหนือ เขาสูภาคใตมลรัฐแคลีฟอรเนีย จะพัดผานบริเวณทะเลทรายและภูเขา จึงกลายเปน
ลมรอนและแหง ลมนี้เกิดขึ้นในเขตความกดอากาศสูงบริเวณแกรตเบซิน และเมื่อพัดผานบริเวณใดจะ
กอใหเกิด ความเสียหายแกพืชผลบริเวณนั้น โดยเฉพาะในฤดูใบไมผลิ เมื่อตนไมติดผลออนและบริเวณที่
มีลมพัดผานจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น เชน เมื่อลมนี้พัดเขาสูภาคใตมลรัฐแคลิฟอรเนีย ทําใหอุณหภูมิสูงกวา
บริเวณที่ไมมี ลมนี้พัดผาน
6. ลมทะเลทราย (Desert Winds) เปนลมทองถิ่นเกิดในบริเวณทะเลทราย เวลาเกิดจะมาพรอมกับ
พายุฝุนหรือพายุทราย คือ ลมฮาบูบ ( Haboob) มาจากคํา Hebbec ในภาษาอาหรับแปลวา ลม
ลมฮาบูบเวลาเกิดจะหอบเอาฝุนทรายมาดวย บริเวณที่เกิดไดแก ประเทศซูดานในทวีปแอฟริกา เฉลี่ยจะ
เกิดประมาณปละ 24 ครั้ง และบริเวณทะเลทราย ทางตะวันตกเฉียงใตของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทาง
ภาคใตของมลรัฐแอริโซนา
7. ลมตะเภาและลมวาว เปนลมทองถิ่นในประเทศไทย โดยลมตะเภาเปนที่พัดจากทิศใตไปยังทิศ
เหนือคือ พัดจากอาวไทยเขาสูภาคกลางตอนลาง พัดในชวงเดือนกุมภาพันธถึงเดือนเมษายน ซึ่งเปนชวงที่
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะเปลี่ยนเปนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต เปนลมที่นําความชื้นมาสูภาค
กลางตอนลาง ในสมัยโบราณลมนี้ จะชวยพัดเรือสําเภาซึ่งเขามาคาขายใหแลนไปตามลําน้ําเจาพระยา และ
พัดในชวงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต จะเปลี่ยนเปนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออาจจะเรียกวา
ลมขาวเบา เพราะพัดในชวงที่ขาวเบากําลังออกรวง
147
เครื่องมือวัดอัตราเร็วลม
เครื่องมือวัดอัตราเร็วลม เรียกวา แอนนิโมมิเตอร( Anemometer) มีหลายรูปแบบ บางรูปแบบทํา
เปนถุงปลอยลู บางรูปแบบทําเปนรูปถวย ครึ่งทรงกลม 3 - 4 ใบ วัดอัตราเร็วลมโดยสังเกตการณยกตัวของ
ถุง หรือนับจํานวนรอบของถวยทีห่ มุนในหนึง่ หนวยเวลา
เครื่องมือตรวจสอบทิศทางลม เราเรียกวา ศรลม สวนใหญมีลักษณะเปนลูกศร มีหางเปนแผน
ใหญ ศรลม จะหมุนรอบตัวตามแนวราบ จะลูลมในแนวขนานกับทิศทางที่ลมพัด เมื่อลมพัดมา หางลูกศร
ซึ่งมีขนาดใหญจะถูกลมผลักแรงกวาหัวลูกศร หัวลูกศรจึงชี้ไปทิศทางที่ลมพัดมา
เครื่องมือที่ใชในการวัดกระแสลม ไดแก
1. ศรลม
2. อะนิโมมิเตอร
3. แอโรแวน

ภาพ : อะนิโมมิเตอร

ผลของปรากฏการณทางลมฟาอากาศที่มีตอมนุษยและสิ่งแวดลอม
ประโยชนของปรากฏการณทางลมฟาอากาศ
1. การเกิดลมจะชวยใหเกิดการไหลเวียนของบรรยากาศ
2. การเกิดลมสินคา
3. การเกิดเมฆและฝน
4. การเกิดลมประจําเวลา
ผลกระทบและภัยอันตราย
1. ผลกระทบจากอิทธิพลของลมมรสุม เชน น้ําทวม น้ําทวมฉับพลัน
2. ผลกระทบจากอิทธิพลของลมพายุ เชน ตนไมลมทับ คลื่นสูงในทะเล
ปรากฏการณธรรมชาติ คือ การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ทั้งในระยะยาวและระยะสั้น
สภาพแวดลอมของโลกเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ทั้งเปนระบบและไมเปนระบบ เปนสิ่งที่อยูรอบตัวเรา
มันสงผลกระทบตอสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงบางอยาง มีผลกระทบตอ สิ่งมีชีวิตอยางรุนแรง
148
ตัวอยางเหตุการณที่พบเห็นทั่วไป ฝนตก ฟารอง ฟาผา พายุ และเหตุการณที่ไมพบบอยนัก เชน โลกรอน
สุริยุปราคา ฝนดาวตก
ปฏิกิริยาเรือนกระจก เกิดจากมลภาวะของแกสที่ไดสรางขึ้นในชั้นบรรยากาศของโลกและ
ปองกันไมใหความรอนนั้นระเหยออกไปในอวกาศในตอนกลางคืนผลที่ไดคือโลกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นที่
เรียกวา การเพิ่มอุณหภูมิของผิวโลก แก็สที่กอเกิดภาวะเรือนกระจกคือ
149
มวลอากาศ (Air mass)
มวลอากาศ หมายถึง ลักษณะของมวลอากาศที่มีลักษณะอากาศภายในกลุมกอนขนาดใหญมาก มีความชื้น
คลายคลึงกัน ตลอดจนสวนตาง ๆ ของอากาศเทากัน มวลอากาศจะเกิดขึ้นไดตอเมื่ออากาศสวนนั้นอยูกับ
ที่ และมีการสัมผัสกับพื้นผิวโลก ซึ่งจะเปนพื้นดินหรือพื้นน้ําก็ได โดยสัมผัสอยูเปนระยะเวลานาน ๆ จนมี
คุณสมบัติคลายคลึงกับพื้นผิวโลกในสวนนั้นๆ เราเรียกบริเวณพื้นผิวโลกนั้นวา "แหลงกําเนิด " เมือ่ เกิด
มวลอากาศขึ้นแลวมวลอากาศนั้นจะเคลื่อนที่ออกไปยังบริเวณอื่น ๆ มีผลทําใหลักษณะของลมฟาอากาศ
บริเวณนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีสภาพแวดลอมใหม มวลอากาศจะสามารถเคลื่อนที่ไดในระยะ
ทางไกล ๆ และยังคงรักษาคุณสมบัติสวนใหญเอาไวได การจําแนกมวลอากาศแยกพิจารณาไดเปน 2 แบบ
โดยใชคุณสมบัติของอุณหภูมิเปนเกณฑ และการใชลักษณะของแหลงกําเนิดเปนเกณฑในการพิจารณา
ดังนี้

2.1 การจําแนกมวลอากาศโดยใชอุณหภูมิเปนเกณฑ

2.1.1. มวลอากาศอุน (Warm Air mass) เปนมวลอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกวาอุณหภูมิของอากาศผิวพื้นที่


มวลอากาศเคลื่อนที่ผาน มักมีแนวทางการเคลื่อนที่จากละติจูดต่ําไปยังบริเวณละติจูดสูงขึ้นไป ใช
สัญลักษณแทนดวยตัวอักษร " W "

2.1.2 มวลอากาศเย็น (Cold Air mass) เปนมวลอากาศที่มีอุณหภูมิต่ํากวาอุณหภูมิผิวพื้นที่มวลอากาศ


เคลื่อนที่ผาน เปนมวลอากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณละติจูดสูงมายังบริเวณละติจูดต่ํา ใชสัญลักษณแทน
ดวยอักษรตัว " K " มาจากภาษาเยอรมัน คือ " Kalt " แปลวา เย็น

2.2 การจําแนกมวลอากาศโดยใชแหลงกําเนิดเปนเกณฑ

2.2.1 มวลอากาศขั้วโลก (Polar Air-mass)

2.2.1.1 มวลอากาศขั้วโลกภาคพื้นสมุทร (Marine Polar Air mass)


มีแหลงกําเนิดจากมหาสมุทร เมื่อมวลอากาศชนิดนี้เคลื่อนตัวลงมายังละติจูดต่ําจะเปนลักษณะของมวล
อากาศที่ใหความเย็นและชุมชื้น แหลงกําเนิดของ มวลลอากาศชนิดนี้อยูบริเวณมหาสมุทรแปซิฟกตอน
เหนือ ใกลชองแคบแบริ่ง และเคลื่อนที่เขาปะทะชายฝงทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกา ทําใหอากาศหนาว
เย็นและมีฝนตก ในทางกลับกันถามวลอากาศนี้เคลื่อนที่ไปยังบริเวณละติจูดสูง จะกลายเปนมวลอากาศ
อุน เรียกวา "มวลอากาศอุนขั้วโลกภาคพื้นสมุทร" มีลักษณะอากาศอบอุนและชุมชื้น

2.2.1.2 มวลอากาศขั้วโลกภาคพื้นทวีป (Continental Polar Air mass)


มีแหลงกําเนิดอยูบนภาคพื้นทวีปในเขตละติจูดต่ํา มีลกั ษณะเปนมวลอากาศเย็นและแหง เมื่อมวลอากาศ
เคลื่อนที่ผานบริเวณใดจะทําใหมีอากาศเย็นและแหง ยกตัวอยางเชน สําหรับประเทศไทยจะไดรับอิทธิพล
150
จากมวลอากาศชนิดนี้ซึ่งมีแหลงกําเนิดอยูแถบไซบีเรีย เมื่อเคลื่อนที่ลงมายังละติจูดต่ํากวาลงมายังประเทศ
ไทยในชวงเดือนพฤศจิกายน ถึง มกราคม ทําใหประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ําลง ลักษณะอากาศเย็นและแหง
ในฤดูหนาว

2.2.2 มวลอากาศเขตรอน (Topical Air mass)

2.2.2.1. มวลอากาศเขตรอนภาคพื้นทวีป (Continental Topical Air mass)


มีแหลงกําเนิดบนภาคพื้นทวีป จะมีลักษณะการเคลื่อนที่จากละติจูดต่ําไปสูละติจูดสูง ลักษณะอากาศจะ
รอนและแหงแลง ทําใหบริเวณที่มวลอากาศเคลื่อนที่ผานมีลักษณะอากาศรอนและแหงแลง จึงเรียกมวล
อากาศนี้วา "มวลอากาศอุนเขตรอนภาคพื้นทวีป " แหลงกําเนิดของมวลอากาศชนิดนีอ้ ยูบ ริเวณตอนเหนือ
ของประเทศแม็กซิโก และทางทิศตะวันตกเฉียงใตของประเทศสหรัฐอเมริกา ถาหากมวลอากาศนี้
เคลื่อนที่มายังเขตละติจูดต่ําจะทําใหอุณหภูมิของมวลอากาศลดต่ําลงกวาอุณหภูมิของอากาศผิวพื้นที่มวล
อากาศเคลื่อนที่ผานจึงกลายเปน "มวลอากาศเย็นเขตรอนภาคพื้นทวีป" มีลักษณะอากาศเย็นและแหงแลง

2.2.2.2. มวลอากาศเขตรอนภาคพื้นสมุทร (Marine Topical Air mass)


มีแหลงกําเนิดอยูบนภาคพื้นสมุทรจึงนําพาความชุมชื้น เมื่อเคลื่อนที่ผานบริเวณใดจะทําใหเกิดฝนตก และ
ถาเคลื่อนที่ไปยังละติจูดสูงจะทําใหอากาศอบอุนขึ้น ยกตัวอยางเชน ถามวลอากาศเขตรอนภาคพื้นสมุทร
เคลื่อนที่จากมหาสมุทรอินเดียเขามายังคาบสมุทรอินโดจีนจะทําใหเกิดฝนตกหนักและกลายเปนฤดูฝน
เราเรียกมวลอากาศดังกลาววา "มวลอากาศอุนเขตรอนภาคพื้นสมุทร " ในทางกลับกันถามวลอากาศนี้
เคลื่อนที่ไปยังเขตละติจูดต่ําจัะมีผลทําใหอุณหภูมิลดต่ําลง อากาศจะเย็นและชุมชื้น เรียกวา "มวลอากาศ
เย็นเขตรอนภาคพื้นสมุทร" นอกจากมวลอากาศที่กลาวมาแลวยังมีมวลอากาศที่เกิดจากแหลงกําเนิดอื่น ๆ
อีก ไดแก เขตขั้วโลก มีมวลอากาศอารกติก เปนมวลอากาศจากมหาสมุทรอารกติกเคลื่อนที่เขามาทางตอน
หนือของทวีปอเมริกา และมวลอากาศแอนตารกติก เปนมวลอากาศบริเวณขั้วโลกใต ซึ่งมีอากาศเย็นและ
เคลื่อนที่อยางรุนแรงมาก

3. แนวอากาศ (Air Front) หรือแนวปะทะของมวลอากาศ


แนวอากาศ หรือ แนวปะทะมวลอากาศ เกิดจากสภาวะอากาศที่แตกตางกันมาก โดยมีอุณหภูมิ
และความชื้นตางกันมากมาพบกัน จะไมผสมกลมกลืนกันแตจะแยกจากกัน โดยทีส่ ว นหนาของมวล
อากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปราง ลักษณะของมวลอากาศที่อุนกวาจะถูกดันตัวใหลอยไปอยูเหนือลิ่ม
มวลอากาศเย็น เนื่องจากมวลอากาศอุนมีความหนาแนนนอยกวามวลอากาศเย็น แนวที่แยกมวลอากาศทั้ง
สองออกจากกันเราเรียกวา แนวอากาศ โดยทั่วไปแลวตามแนวอากาศหรือแนวปะทะอากาศจะมีลักษณะ
ของความแปรปรวนลมฟาอากาศเกิดขึ้น เราสามารถจําแนกแนวอากาศหรือแนวปะทะอากาศของมวล
อากาศได 4 ชนิด ดังนี้
151
3.1 แนวปะทะของมวลอากาศอุน (Warm Front)
เกิดจากการที่มวลอากาศอุนเคลื่อนที่เขามายังบริเวณที่มีมวลอากาศเย็นกวา โดยมวลอากาศเย็นจะ
ยังคงตัวบริเวณพื้นดิน มวลอากาศอุนจะลอยตัวสูงขึ้น ซึ่งแนวของอากาศอุนจะมีความลาดชันนอยกวา
แนวอากาศเย็น ซึ่งจากปรากฏการณแนวปะทะมวลอากาศอุนดังกลาวนี้ลักษณะอากาศจะอยูในสภาวะทรง
ตัว แตถาลักษณะของมวลอากาศอุนมีการลอยตัวขึ้นในแนวดิ่ง (มีความลาดชันมาก ) จะกอใหเกิดฝนตก
หนักและพายุฝนฟาคะนอง สังเกตไดจากการเกิดเมฆฝนเมฆนิมโบสเตรตัส หรือการเกิดฝนซู หรือเรียก
อีกอยางหนึ่งวาฝนไลชาง

3.2 แนวปะทะของมวลอากาศเย็น (Cold Front)


เมื่อมวลอากาศเย็นเคลื่อนตัวลงมายังบริเวณที่มีละติจูดต่ํา มวลอากาศเย็นจะหนัก จึงมีการเคลื่อน
ตัวติดกับผิวดิน และจะดันใหมวลอากาศอุน ทีม่ คี วามหนาแนนนอยกวา ลอยตัวขึ้นตามความลาดเอียง ซึ่งมี
ความลาดชันมากถึง 1:80 ซึ่งปรากฏการณดังกลาวตามแนวปะทะอากาศเย็นจะมีสภาพอากาศแปรปรวน
มาก มวลอากาศรอนถูกดันใหลอยตัวยกสูงขึ้น เปนลักษณะการกอตัวของเมฆ คิวมูโลนิมบัส
(Cumulonimbus) ทองฟาจะมืดครึม เกิดพายุฝนฟาคะนองอยางรุนแร u3591 . เราเรียกบริเวณดังกลาววา
“แนวพายุฝน” (Squall Line)

3.3 แนวปะทะของมวลอากาศซอน (Occluded Front)


เมื่อมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่ในแนวทางติดกับแผนดิน จะดันใหมวลอากาศอุนใกลกับผิวโลก
เคลือ่ นทีไ่ ปในแนวเดียวกันกับมวลอากาศเย็น มวลอากาศอุนจะถูกมวลอากาศเย็นซอนตัวใหลอยสูงขึ้น
และเนื่องจากมวลอากาศเย็นเคลื่อนตัวไดเร็วกวาจึงทําใหมวลอากาศอุนชอนอยูบนมวลอากาศเย็น เราเรียก
ลักษณะดังกลาวไดอีกแบบวาแนวปะทะของมวลอากาศปด ลักษณะของปรากฏการณดังกลาวจะทําใหเกิด
เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) และทําใหเกิดฝนตก หรือพายุฝนไดเชนกัน

3.4 แนวปะทะมวลอากาศคงที่ (Stationary Front)


นอกจากแนวปะทะอากาศดังกลาวมาแลวนั้นจะมีลักษณะแนวปะทะอากาศของมวลอากาศคงที่
อีกชนิดหนึง่ (Stationary Front) ซึ่งเปนแนวปะทะของมวลอากาศที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศ
อุนและมวลอากาศเย็นเขาหากัน และจากสภาพที่ทั้งสองมวลอากาศมีแรงผลักดันเทากัน จึงเกิดภาวะ
สมดุลของแนวปะทะอากาศขึ้น แตจะเกิดในชัว่ ระยะเวลาใดเวลาหนึง่ เทานัน้ เมื่อมวลอากาศใดมี
แรงผลักดันมากขึ้นจะทําใหลักษณะของแนวปะทะอากาศเปลี่ยนไปเปนแนวปะทะอากาศแบบอื่น ๆ ทันที
152
4. พายุหมุน
พายุหมุนเกิดจากศูนยกลางความกดอากาศต่ําทําใหบริเวณโดยรอบศูนยกลางความกดอากาศต่ําซึ่ง
ก็คือ ความกดอากาศสูงโดยรอบจะพัดเขาหาศูนยกลางความกดอากาศต่ํา ขณะเดียวกันศูนยกลางความกด
อากาศต่ําจะลอยตัวสูงขึ้น และเย็นลงดวยอัตราอะเดียเบติก (อุณหภูมิลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น) ทําใหเกิด
เมฆและหยาดน้าํ ฟา พายุหมุนจะมีความรุนแรงหรือไมขึ้นอยูกับอัตราการลดลงของความกดอากาศ
ถาอัตราการลดลงของความกดอากาศมีมากจะเกิดพายุรุนแรงเราสามารถแบงพายุหมุนออกเปน3 กลุม ดังนี้

4.1. พายุหมุนนอกเขตรอน
พายุหมุนนอกเขตรอน หมายถึง พายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตละติจูดกลางและเขตละติจูดสูง ซึ่งใน
เขตละติจูดดังกลาวจะมีแนวมวลอากาศเย็นจากขั้วโลกหรือมหาสมุทรอารกติก เคลื่อนตัวมาพบกับมวล
อากาศอุนจากเขตกึ่งโซนรอน มวลอากาศดังกลาวมีคุณสมบัติตางกัน แนวอากาศจะเกิดการเปลีย่ นโดยเริม่
มีลักษณะโคงเปนรูปคลื่u3609 . อากาศอุนจะลอยตัวสูงขึ้นเหนืออากาศเย็น ซึง่ เชนเดียวกับแนวอากาศเย็น
ซึ่งจะเคลื่อนที่เขาแทนที่แนวอากาศอุน ทําใหมวลอากาศอุนลอยตัวสูงขึ้น และจากคุณสมบัติการเคลื่อนที่
ของมวลอากาศเย็นที่เคลื่อนตัวไดเร็วกวา แนวอากาศเย็นจึงเคลื่อนไปทันแนวอากาศอุน ทําใหเกิดลักษณะ
แนวอากาศรวมขึน้ และเกิดหยาดน้าํ ฟา เมื่ออากาศอุนที่ถูกบังคับใหลอยตัวขึ้นหมดไปพายุหมุนก็สลายตัว
ไป อยางไรก็ตามเวลาที่เกิดพายุหมุนนั้นจะเกิดลักษณะของศูนยกลางความกดอากาศขึ้น ซึ่งก็คือ
ศูนยกลางความกดอากาศต่ํา ลมจะพัดเขาหาศูนยกลาง (ความกดอากาศสูงเคลื่อนที่เขาหาศูนยกลางความ
กดอากาศต่ํา ) ซึ่งลมพัดเขาหาศูนยกลางดังกลาวในซีกโลกเหนือ มีทิศทางการพัดวนทวนเข็มนาฬิกา
สวนในซีกโลกใตมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งเปนผลมาจากการหมุนของโลกนั่นเอง

4.2 พายุทอรนาโด (Tornado)


พายุทอรนาโด เปนพายุขนาดเล็กแตมีความรุนแรงมากที่สุด มักเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และ
นอกนัน้ เกิดทีแ่ ถบประเทศออสเตรเลีย พายุดังกลาวเกิดจากอากาศเคลื่อนที่เขาหาศูนกลางความกดอากาศ
ต่ําอยางรวดเร็ว ลักษณะพายุคลายปลองไฟสีดําหอยลงมาจากเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ในมวล
พายุมีไอน้ําและฝุนละออง ตลอดจนวัตถุตา ง ๆ ที่ถูกลมพัดลอยขึ้นไปดวยความเร็วลมกวา 400 กิโลเมตร /
ชั่วโมง เมื่อพายุเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดฐานของมันจะกวาดทุกอยางบนพื้นดินขึ้นไปดวย กอใหเกิดความ
เสียหายมาก พายุทอรนาโดจะเกิดในชวงฤดูใบไมผลิ และฤดูรอ น เนื่องจากมวลอากาศขั้วโลกภาคพื้น
สมุทรมาเคลื่อนที่พบกับมวลอากาศเขตรอนภาคพื้นสมุทร และถาเกิดขึ้นเหนือพื้นน้ําเราเรียกวา "นาคเลน
น้ํา" (Waterspout)
153
4.3 พายุหมุนเขตรอน
พายุหมุนเขตรอน เปนพายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตรอนบริเวณเสนศูนยสูตรระหวาง 8 - 12 องศา
เหนือและใต โดยมากมักเกิดบริเวณพื้นทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ําสูงกวา 27 องศาเซลเซียส
พายุหมุนเขตรอนเปนลักษณะของบริเวณความกดอากาศต่ํา ศูนยกลางพายุเปนบริเวณที่มีความกดอากาศ
ต่ํามากที่สุด เรียกวา "ตาพายุ " (Eye of Storm) มีลักษณะกลม และกลมรี มีขนาดเสนผาศูนยกลางตั้งแต 50
- 200 กิโลเมตร บริเวณตาพายุจะเงียบสงบ ไมมีลม ทองฟาโปรง ไมมีฝนตก สวนรอบๆ ตาพายุจะเปน
บริเวณที่มีลมพัดแรงจัด มีเมฆครึ้ม มีฝนตกพายุรุนแรง พายุหมุนเขตรอนจัดเปนพายุที่มีความรุนแรงมาก
เกิดจากศูนยกลางความกดอากาศต่ํา ที่มีลมพัดเขาหาศูนยกลาง ในซีกโลกเหนือทิศทางการหมุนของลมมี
ทิศทางทวนเข็มนาฬิกา สวนซีกโลกใตมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ความเร็วลมเขาสูศูนยกลางอยูระหวาง 120
- 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุในเขตนี้จะมีฝนตกหนัก องคการอุตุนิยมวิทยาโลกแบงประเภทพายุหมุนตาม
ความเร็วใกลศูนยกลางพายุ โดยแบงตามระดับความรุนแรง ไดดงั นี้

พายุดีเปรสชั่น(Depression) ความเร็วลมนอยกวา63 กิโลเมตร/ ชั่วโมง เปนพายุออ นๆมีฝนตกบางถึงหนัก

พายุโซนรอน (Tropical Storm) ความเร็วลม 64 - 115 กิโลเมตร / ชั่วโมง มีกําลังปานกลางมีฝนตกหนัก

พายุหมุนเขตรอน หรือพายุไซโคลนเขตรอน (Tropical Cyclone) ความเร็วลม มากกวา 115 กิโลเมตร


ตอชั่วโมง เปนพายุที่มีกําลังแรงสูงสุด มีฝนตกหนักมาก บางครั้งจะมีพายุฝนฟาคะนองดวย พายุหมุนเขต
รอนมีชื่อเรียกตาง ๆ กันตามแหลงกําเนิด ดังนี้
ถาเกิดในมหาสมุทรแปซิฟก และทะเลจีนใต เรียกวา ใตฝุน (Typhoon)
ถาเกิดในอาวเบงกอล และทะเลอาหรับ เรียกวา พายุไซโคลน (Cyclone)
ถาเกิดในแอตแลนติก และทะเลแคริบเบียน เรียกวา พายุเฮอรรเิ คน (Hurricane)
ถาเกิดในทะเลประเทศฟลิปปนส เรียกวา พายุบาเกียว (Baguio)
ถาเกิดทีท่ ะเลออสเตรเลีย เรียกวา พายุวิลลี วิลลี่ (Willi-Willi)
154
4.3.1 การเกิดพายุหมุนเขตรอน
การเกิดพายุหมุนเขตรอน มักเกิดบริเวณแถบเสนศูนยสูตรบริเวณละติจูด 8 - 15 องศาเหนือ ใต
ดังกลาวมาแลวขางตน สวนบริเวณเสนศูนยสูตรจะไมเกิดการกอตัวของพายุหมุนแตอยางใด เนื่องมาจากไมมี
แรงลม "คอริออริส" (ซึ่งเปนแรงเหวี่ยงที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก บริเวณเสนศูนยสูตรจะมีคาเปน
ศูนย) ลําดับการเกิดของพายุหมุนเขตรอนเปนดังนี้
1. สภาวะการกอตัว (Formation) มักเกิดการกอตัวบริเวณทะเล หรือมหาสมุทร ที่มีอุณหภูมิสูง
กวา 27 องศาเซลเซียส
2. สภาวะทวีกําลังแรง จะเกิดบริเวณศูนยกลางความกดอากาศต่ํา เกิดลมพัดเขาสูศูนยกลาง มีเมฆ
และฝนตกหนักเปนบริเวณกวาง
3. สภาวะรุนแรงเต็มที่ (Mature Stage) มีกําลังลมสูงสุด ฝนตกเปนบริเวณกวางประมาณ
500 - 1,000 กิโลเมตร
4. สภาวะสลายตัว (Decaying Stage) มีการเคลื่อนตัวเขาสูภาคพื้นทวีป และลดกําลังแรงลง
อันเนื่องมาจากพื้นแผนดินมีความชื้นนอยลง และพัดผานสภาพภูมิประเทศที่มีความตางระดับ ทําใหพายุ
ออนกําลังลงกลายเปนดีเปรสชั่น และสลายตัวลงไปในที่สุด

4.3.2 พายุหมุนเขตรอนในประเทศไทย
สวนใหญเกือบทั้งหมดเปนพายุหมุนเขตรอนที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟก หรือในทะเลจีนใต และ
การเคลื่อนตัวเขาสูประเทศไทย นอกนัน้ กอตัวในเขตมหาสมุทรอินเดีย เมื่อพิจารณาประกอบกับสภาพ
ทางภูมิศาสตรของประเทศไทยในดานทําเลที่ตั้ง พบวามักไมคอยไดรับอิทธิพลจากพายุใตฝุน (Typhoon)
มากนัก เนื่องจากทิศทางการเคลื่อนตัวโดยสวนมากมีการเคลื่อนตัวจากทางดานทะเลจีนใต เคลื่อนเขาสู
ประเทศไทยทางบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคเหนือ ในชวงเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน
โดยมากมักออนกําลังลงกลายเปนพายุดีเปรสชั่น หรือสลายตัวกลายเปนหยอมความกดอากาศต่ําเสียกอน
เนื่องจากพายุเคลื่อนตัวเขาสูแผนดินจะออนกําลังลงเมื่อปะทะกับลักษณะภูมิประเทศเทือกเขาสูงแถบ
ประเทศเวียดนาม กัมพูชา และเทือกเขาชายแดนของประเทศไทยเสียกอน ระบบการหมุนเวียนของลมจึง
ถูกกีดขวาง เปนเหตุทําใหพายุออนกําลังลงนั่นเอง สวนทางดานภาคใตของประเทศไทยมีลักษณะภูมิ
ประเทศที่เปนคาบสมุทรยื่นยาวออกไปในทะเล ชายฝงทะเลภาคใตทางดานทิศตะวันตกมีแนวเทือกเขาสูง
ชันทอดตัวยาวตลอดแนวจึงเปนแนวกันพายุไดดี สวนทางดานภาคใตทางฝงทิศตะวันออกไมมีแนวกําบัง
ดังกลาวทําใหเกิดความเสียหายจากพายุไดงายกวา โดยมากมักเกิดพายุเขามาในชวงเดือนตุลาคม ถึงเดือน
ธันวาคม เปนตน ตัวอยางเชน ความเสียหายรายแรงจากพายุใตฝุนเกย ที่พัดเขาทางดานภาคใตทางดานฝง
ทะเลตะวันออกของประเทศเมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ทําใหเกิดความเสียหายเปนอยางมาก โดยทัว่ ไป
ประเทศไทยมักจะไดรับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นมากที่สุด โดยเฉลี่ยปละ 3 - 4 ลูก สําหรับการเกิดพายุ
หมุนเขตรอนในประเทศไทยมักเกิดในฤดูฝน ตั้งแตเดือนพฤษภาคม เปนตนไปจนถึงเดือนตุลาคม จะเปน
155
พายุหมุนเขตรอนที่กอตัวขึ้นในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย บริเวณมหาสมุทรแปซิฟกและทะเลจีนใต
สามารถแยกพิจารณาไดดังนี้
ชวงเดือนพฤษภาคม กอนเขาฤดูฝนอาจจะมีพายุไซโคลนจากอาวเบงกอล เคลื่อนตัวเขาสูประเทศ
ไทยทางดานทิศตะวันตก ทําใหมีผลกระทบตอภาคตะวันตกของประเทศ
ชวงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน อาจจะมีพายุใตฝุนในมหาสมุทรแปซิฟกพัดผานเขามาทางภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทําใหมีผลกระทบตอภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบน
ชวงเดือนกันยายน ถึงปลายเดือนตุลาคม อาจจะมีพายุหมุนเขตรอนในทะเลจีนใตพัดผานเขามา
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนลาง ทําใหมีผลกระทบตอภาคตะวันออก ภาคกลาง ตอนลางของ
ภาคเหนือ และตอนลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
สําหรับชวงตนฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงตนเดือนมกราคม มักจะมีความกดอากาศต่ํา
ในตอนลางของทะเลจีนใตพัดผานเขามาในอาวไทย ทําใหมีผลกระทบตอภาคใตฝงตะวันออกตั้งแต
จังหวัดชุมพรลงไป
ปจจุบันเราสามารถทราบไดลวงหนาถึงการเกิดพายุหมุนเขตรอนและทิศทางการเคลื่อนที่โดยการ
ใชเครื่องมือตรวจอากาศที่ทันสมัย ไดแก ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เรดารตรวจอากาศ เปนตน อยางไรก็ตาม
ผลกระทบจากความเสียหายอันเนื่องมาจากพายุหมุนเขตรอน อาทิเชน ฝนตกหนักติดตอกันอาจทําใหเกิด
น้าํ ปาไหลหลากได ทําใหเสนทางคมนาคมถูกตัดขาดรวมทั้งแนวสายไฟฟา และเสาไฟฟา พื้นที่
เกษตรกรรมไดรับความเสียหาย ตลอดจนทําใหเรือเล็กและเรือใหญอบั ปางได

4.3.3 การเรียกชื่อพายุหมุน
สําหรับในเขตภาคพืน้ มหาสมุทรแปซิฟก เหนือดานตะวันตก และทะเลจีนใต นักอุตุนิยมวิทยาได
ตั้งชื่อพายุไว 5 ชุด แตละชุดประกอบดวยชื่อพายุหมุน 28 ชื่อ โดยความรวมมือในการเสนอชื่อของ 14
ประเทศในแถบภูมิภาคดังกลาว นํามาใชเปนชื่อพายุหมุนเขตรอน การใชจะใชหมุนเวียนกันไปตามแถว
โดยเริ่มตั้งแตแถวแรกของสดมภที่ 1 ไปจนถึงชื่อสุดทายของสดมภ แลวจึงขึ้นไปใชชื่อของแถวแรกของ
สดมภที่ 2 เชน "ดอมเรย "(Damrey) ไปจนถึง "ทรามี" (Trami) แลวจึงขึ้นไปที่ "กองเรย " (Kong-Rey) เปน
ตน สําหรับประเทศไทยไดเสนอชื่อพายุหมุนเขตรอน คือ พระพิรณ ุ , วิภา, เมขลา, นิดา , กุหลาบ, ทุเรียน,
รามสูร, หนุมาน , ชบา และขนุน ( ตารางที่ 1)
156
ตารางที่ 1 แสดงรายชือ่ พายุหมุนทีเ่ กิดขึน้ ในมหาสมุทรแปซิฟก ตอนเหนือดานตะวันตก
ประเทศที่ตั้งชื่อ สดมภที่ 1 สดมภที่ 2 สดมภที่ 3 สดมภที่ 4 สดมภที่ 5
Cambodia ดอมเรย กองเรย นากรี กรอวาญ สาริกา
China หลงหวาง ยูทู ฟงเฉิน ตูเจี๊ยน ไหหมา
Dpr Korea โคโรจิ โทราจิ คาเมจิ เมมิ มิอะริ
Hk.China ไคตั๊ก มานยี่ ฟองวอง ฉอยหวัน่ มางอน
Japan เทมบิน อุซางิ คัมมุริ ขอบปุ โทะคาเงะ
Loa Pdr. โบลาเวน ปลาบึก พันฝน เกศนา นกเตน
Macau จันจู วูทิบ หวังฟง พารมา มุยฝา
Malaysia เจอลาวัต เซอพัต รูซา มีเลอ เมอรบคุ
Micronesia เอวินลา ฟโท ซินลากู เนพาทัค นันมาดอล
Philippines บิลิส ดานัส ฮากุปด ลูปค ทาลัส
Ro Korea เกมี นารี ซังมี ซูดาล โนรู
Thailand พระพิรณ ุ วิภา เมขลา นิดา กุหลาบ
U.S.A. มาเรีย ฟรานซิสโก ฮีโกส โอเมส โรเค
Viet Nam เซลไม เลคคีมา บาวี คอนซอน ซอนคา
Cambodia โบพา กรอซา ไมสัก จันทู เนสาด
China หวูค ง ไหเยี่ยน ไหเฉิน เตี้ยมู ไหถัง
Dpr Korea โซนามุ โพดอล พงโซนา มินดอนเล นอเก
Hk.China ซานซาน แหลงแหลง ยันยัน เทงเทง บันหยัน
Japan ยางิ คะจิคิ คุจิระ คอมปาซิ วาชิ
Loa Pdr. ชางสาร ฟาใส จันทรหอม น้ําตน มัทสา
Macau เบบินกา ฮัวเหมย หลินฝา หมาเหลา ซันหวู
Malaysia รัมเบีย ทาปา นังกา เมอรันติ มาวา
Micronesia ซูลิค มิเทค ซูเดโล รานานิม กูโซว
Philippines ซิมารอน ฮาจิบิส อิมบุโด มาลากัส ทาลิม
Ro Korea เซบี โนกูรี โกนี เมกิ นาบี
Thailand ทุเรียน รามสูร หนุมาน ชบา ขนุน
U.S.A. อูโท ซาทาน อีโท โคโด วินเซนเต
Viet Nam ทรามี ฮาลอง แวมโค ซองดา เซลลา
ที่มา : ศูนยอุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม ,2544.
157
5. พายุฝนฟาคะนอง (Thunderstorm)
พายุฝนฟาคะนอง หมายถึง อากาศที่มีฝนตกหนัก มีฟาแลบฟารอง เปนฝนที่เกิดจากการพาความ
รอน มีลมพัดแรง เกิดอยางกระทันหันและยุติลงทันทีทันใด พายุฝนฟาคะนองเกิดจากการที่อากาศไดรับ
ความรอนและลอยตัวสูงขึ้นและมีไอน้ําในปริมาณมากพอ ประกอบกับการลดลงของอุณหภูมิ จึงเกิดการ
กลัน่ ตัวควบแนนของไอน้าํ และเกิดพายุฝนฟาคะนอง พายุฝนฟาคะนองประกอบดวยเซลลอากาศจํานวน
มาก ในแตละเซลลจะมีอากาศไหลขึน้ และลงหมุนเวียนกัน พายุฝนฟาคะนองเกิดมากในเขตรอน เนือ่ งจาก
อากาศชื้นมากและมีอุณหภูมิสูง ทําใหมีสภาวะอากาศไมทรงตัว พายุฝนฟาคะนองมักเกิดจากเมฆคิวมู
โลนิมบัส (Cumulonimbus)
5.1 ขั้นตอนการเกิดพายุฝนฟาคะนอง
5.1.1 ระยะการเกิดเมฆคิวมูลัส (Cumulus Stage) หรือขั้นกอตัว เมื่ออุณหภูมิผิวพื้นเพิ่มสูงขึ้นจะทําให
มวลอากาศอุนลอยตัวขึ้นบน เกิดการกลั่นตัวของไอน้ําเปนเมฆคิวมูลัส (Cumulus) มวลอากาศรอนจะ
ลอยตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทําใหมวลอากาศยกตัวสูงขึ้นสูเบื้องบนตลอด และเร็วขึ้น
5.1.2 ระยะการเกิดพายุ (Mature Stage)
ระยะนี้พายุจะเริ่มพัดเกิดกระแสอากาศจมตัวลม เนื่องจากฝนตกลงมาจ ะดึงเอามวลอากาศใหจม
ตัวลงมาดวย และมวลอากาศอุนก็ยังคงลอยตัวขึ้นเบื้องบนตอไป จากผลดังกลาวทําใหเกิดสภาพอากาศ
แปรปรวน และลมกระโชกแรง เนื่องมาจากมวลอากาศในกอนเมฆมีความแปรผันมาก มีการหมุนเวียน
ของกระแสอากาศขึ้นลง เกิดฟาแลบ ฟารอง รวมทั้งอาจมีลูกเห็บตกดวยเชนกัน
5.1.3 ระยะสลายตัว (Dissipating Stage)
เปนระยะสุดทายเมื่อศูนยกลางพายุจมตัวลงใกลพื้นดิน รูปทรงของเมฆจะเปลี่ยนจากเมฆคิวมูโลนิมบัส
(Cumulonimbus) เปนเมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus) หรือ เมฆซีโรคิวมูลัส (Cirrocumulus) ฝนจะเบา
บางและหายไปในที่สุด
อยางไรก็ตามการเกิดพายุฝนฟาคะนองดังกลาว หากมีศูนยกลางพายุหลายศูนยกลางจะทําใหเกิด
พายุฝนฟาคะนองยาวนานมาก และเกิดกระแสอากาศที่รุนแรงมากจนสามารถทําใหเกิดลูกเห็บได
ชวงเวลาของการเกิดพายุฝนฟาคะนองประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง
5.2 ชนิดของพายุฝนฟาคะนอง
5.2.1 พายุฝนฟาคะนองพาความรอน (Convectional Thunderstorm)
เปนพายุฝนที่เกิดจากการพาความรอน ซึ่งมวลอากาศอุนลอยตัวสูงขึ้นทําใหอุณหภูมิของอากาศ
เย็นลง ไอน้ําจะกลั่นตัวกลายเปนเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) และเกิดเปนพายุฝนฟาคะนอง มัก
เกิดเนื่องจากโลกไดรับความรอนจากดวงอาทิตย ทําใหพื้นดินรอนขึ้นมาก อากาศบริเวณพื้นดินจะลอย
สูงขึ้นเกิดเปนเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) มักเกิดในชวงบายและเย็นในวันที่อากาศรอนจัด
158
5.2.2 พายุฝนฟาคะนองภูเขา (Orographic Thunderstorm)
เกิดจากการที่มวลอากาศอุนเคลื่อนที่ไปปะทะกับภูเขา ขณะที่มวลอากาศเคลื่อนที่ไปตามลาดเขา
อากาศจะเย็นตัวลง ไอน้ํากลั่นตัวกลายเปนเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ทําใหเกิดลักษณะของฝน
ปะทะหนาเขา พายุลักษณะนี้จะเกิดบริเวณตนลมของภูเขา เมฆจะกอตัวในแนวตัง้ สูงมาก ทําใหลักษณะ
อากาศแปรปรวนมาก
5.2.3. พายุฝนฟาคะนองแนวปะทะ (Frontal Thunderstorm)
เกิดจากการปะทะกันของมวลอากาศ มักเกิดจากการปะทะของมวลอากาศเย็นมากกวา
มวลอากาศอุน มวลอากาศอุนจะถูกดันใหยกตัวลอยสูงขึ้น ไอน้ํากลั่นตัวกลายเปนเมฆคิวมูโลนิมบัส
(Cumulonimbus) และเกิดเปนพายุฝนฟาคะนองแนวปะทะอากาศเย็น อากาศเย็น มวลอากาศอุน
เคลื่อนที่ไป การเคลื่อนที่มาปะทะกันของปะทะภูเขา มวลอากาศอุนและเย็น ทําใหเกิดพายุฝนฟาคะนอง
5.3 ปรากฏการณที่เกิดจากพายุฝนฟาคะนอง
ขณะเกิดพายุฝนฟาคะนองจะเกิดฟาแลบ ฟารอง ฟาผา ลูกเห็บตก มีลมกระโชกแรงเปนครั้ง
คราว โดยในรอบ 1 ป ทั่วโลกมีพายุฝนฟาคะนองเกิดขึ้นถึง 16 ลานครั้ง โดยเฉพาะในเขตละติจดู สูง และใน
เมืองที่อากาศรอนชื้นจะมีจํานวนวันที่มีพายุฝนฟาคะนองเกิดไดถึง 80 - 160 วันตอป สําหรับประเทศไทยมัก
เกิดมากในเดือน เมษายน - พฤษภาคม เปนชวงที่เกิดพายุฝนฟาคะนองมากที่สุด
5.3.1 การเกิดฟาแลบ เกิดขึ้นพรอมกับฟารอง แตมนุษยเรามองเห็นฟาแลบกอนไดยินเสียงฟารอง
เนื่องจากแสงเดินทางเร็วกวาเสียง (แสงมีอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตร/วินาที สวนเสียงมีอัตราเร็ว 1/3 ของ
แสง) ประกายไฟฟาของฟาแลบ 1 ครั้ง มีปริมาณไฟฟาจํานวนสูงถึง 200,000 แอมแปร และมีความตาง
ศักยถึง 30 ลานโวลต ฟาแลบเกิดจากประจุไฟฟาเคลื่อนที่จากกอนเมฆสูกอนเมฆ จากกอนเมฆสูพื้นดิน
โดยมีขั้นตอนคือ ประจุไฟฟาที่เคลื่อนที่ถายเทในกอนเมฆมีการเคลื่อนที่หลุดออกมาและถายเทสูอาคาร
สิ่งกอสราง หรือตนไมสูงบนพื้นดิน เหตุการณเหลานี้ใชเวลานอยกวา 1 วินาที และเกิดเปนแสงของฟา
แลบ ซึ่งบางครั้งลําแสงมีความยาวถึง 60 - 90 เมตร
5.3.2 การเกิดฟารอง เนื่องจากประกายไฟฟาของฟาแลบทําใหอากาศในบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง
ประมาณ 25,000 องศาเซลเซียส อยางเฉียบพลัน มีผลทําใหอากาศมีการขยายตัวอยางรวดเร็วและรุนแรง
ทําใหเกิดเสียง "ฟารอง" เนื่องจากฟารองและฟาแลบเกิดขึ้นพรอมกัน ดังนั้นเมื่อเรามองเห็นฟาแลบ และ
นับจํานวนวินาทีตอไปจนกวาจะไดยินเสียงฟารอง เชน ถานับได 3 วินาที แสดงวาฟาแลบอยูหางจากเรา
ไปประมาณ 1 เมตร และสาเหตุที่เราไดยินเสียงฟารองครวญครางอยางตอเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง เนือ่ งจาก
มีสาเหตุมาจากการเดินทางของเสียงมีความตางกันในเรื่องของระยะเวลาและระยะทางที่คาบเกี่ยวกัน
นัน่ เอง
159
5.3.3 การเกิดฟาผา เปนปรากฏการควบคูกันกั บฟาแลบ และฟารอง เนื่องจากประจุไฟฟาไดมีการหลุด
ออกมาจากกลุมเมฆฝน และถายเทลงสูพื้นดิน ตนไม อาคารหรือสิ่งกอสราง ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ฟาผาอาจกอใหเกิดอันตรายถึงชีวิตได เนื่องจากมีพลังงานไฟฟาสูง ความรุนแรงของกระแสไฟฟาจาก
ฟาผาเพียงพอที่จะจุดหลอดไฟฟาขนาด 60 แรงเทียนใหสวางไดถงึ จํานวน 600,000 ดวง เลยทีเดียว
6. รองมรสุม (Monsoon Trough)
เกิดจากแนวความกดอากาศต่ํา ทําใหเกิดฝนตก ซึ่งเปนลักษณะอากาศของประเทศไทย
แนวรองความกดอากาศต่าํ จะอยูใ นแนวทิศตะวันตก และทิศตะวันออก รองมรสุมจะมีการเปลี่ยนแปลง
ตําแหนงตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย เชน เมื่อดวงอาทิตยโคจรออมไปทางทิศเหนือ รองมรสุมก็จะ
เคลื่อนที่ตามไปดวย การเคลื่อนที่ของรองมรสุมมีผลตอการเปลี่ยนทิศทางการรับลม เชน รองมรสุมที่
เคลื่อนที่ไปทางดานทิศเหนือ บริเวณที่รับลมทางดานทิศเหนือจะเปลี่ยนไปเปนการรับลมจากทางดานทิศใต
ทันที รองมรสุมมีผลตอการเกิดฝนตกอันเนื่องมาจากสาเหตุขางตนคือ ทําใหอากาศบริเวณดังกลาวยกตัวลอย
สูงขึ้น ขยายตัวกลายเปนเมฆฝน บริเวณรองมรสุมจึงมักมีเมฆมากและมีฝนตก สวนประเทศไทยรองมรสุม
เกิดจากการปะทะกันของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต
และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีผลทําใหเกิดฝนตกเปนบริเวณกวาง ถาแนวชนของรองมรสุมทั้งสอง
ชนกันยิ่งแคบจะเกิดเปนพายุฝนฟาคะนองไดงาย และถาเกิดรองมรสุมนาน จะสงผลใหเกิดฝนตกนานทํา
ใหเกิดน้ําทวมไดเชนกัน
ที่มา : ศูนยอุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม , 2544.
160
พายุไซโคลนนารกีส
นารกีส เปนชื่อของเด็กหญิงชาวมุสลิม แปลวา ดอกไม และใชเปนชื่อพายุไซโคลนที่เสนอโดยประเทศ
ปากีสถาน ไซโคลนนารกีส เปนพายุหมุนที่เกิดขึ้นในอาวเบงกอล จัดเปนพายุหมุนเขตรอน ( Tropical
Cyclone) ชนิดหนึง่

ภาพ พายุไซโคลนนารกีส http://en.wikipedia.org/wiki/Cyclone_Nargis

ขอมูลพายุไซโคลนนารกีส ประกอบดวย
ประเด็น รายละเอียด
วันที่ 27เมษายน 2551
แหลงกําเนิด อาวเบงกอลตอนกลาง มีศูนยกลางอยูที่ละติจูด 15.9 องศาเหนือ
ลองติจดู 93.7 องศาตะวันออก
ความเร็วลม 215 กิโลเมตรตอชั่วโมง
ความกดอากาศต่ํา 962 มิลลิบาร
อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ ประมาณ 16-18 กิโลเมตรตอชั่วโมง
วันที่สรางความเสียหาย วันที่ 3 พฤษภาคม 2551
พื้นที่ที่ไดรับความเสียหาย บริเวณสามเหลี่ยมปากแมน้ําอิระวดี และนครยางกุง ประเทศพมา
161
พายุไซโคลน
พายุไซโคลน เปนพายุหมุนเขตรอน (Tropical Cyclone) ที่เกิดขึ้นในบริเวณอาวเบงกอล หรือมหาสมุทร
อินเดีย พายุหมุนเขตรอนเกิดในบริเวณเสนศูนยสูตรระหวาง 23.5 องศาเหนือ กับ 23.5 องศาใต โดยจะเริม่
กอตัวจากหยอมความกดอากาศต่ําในทะเล แลวไตระดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนกลายไปเปนพายุดีเปรสชัน พายุ
โซนรอน และพายุหมุนเขตรอน ตามระดับความเร็วลมสูงสุดใกลศูนยกลางของพายุ
พายุดีเปรสชัน พายุโซนรอน พายหมุนเขตรอน
ชื่อพายุ
(Depression) (Tropical Storm) (Tropical Cyclone)
กําลังแรง ออน ปานกลาง รุนแรง
ความเร็วลมสูงสุดใกลศูนยกลาง ไมเกิน 61 กม./ชม. ระหวาง 62-117 กม./ชม. ตั้งแต 118 กม./ชม. ขึ้นไป
การตั้งชื่อ ไมมีการตั้งชื่อพายุ มีการตั้งชื่อพายุ มีการตั้งชื่อพายุ

หมายเหตุ : การเรียกชนิดของพายุจะแตกตางกันตามแหลงที่เกิด เชน


• เกิดในมหาสมุทรแปซิฟก  เหนือดานตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟก ใต และทะเลจีนใต เรียกวา พายุ
ไตฝุน
• เกิดในอาวเบงกอลหรือมหาสมุทรอินเดีย เรียก พายุไซโคลน

• เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อาวเม็กซิโก และทางดานตะวันตกของ


เม็กซิโก เรียก พายุเฮอรริเคน
• เกิดในทะเลประเทศฟลิปปนส เรียก พายุบาเกียว

• เกิดแถบทวีปออสเตรเลีย เรียก พายุวิลลี-วิลลี่

การกอตัวของพายุไซโคลน
พายุไซโคลน เปนพายุที่เกิดขึ้นในบริเวณแถบเขตรอน กอตัวขึ้นในทะเลที่มีความกดอากาศต่ํา ซึ่ง
มีน้ําอุนอยางนอย 27 องศาเซลเซียส และมีปริมาณไอน้ําสูง อากาศที่รอนเหนือน้ําอุนจะลอยตัวสูงขึ้น และ
อากาศบริเวณโดยรอบที่เย็นกวาจะพัดเขามาแทนที่ แตเนื่องจากโลกหมุน ทําใหลมที่พัดเขามา เกิดการ
หมุนไปดวย โดยพายุหมุนเขตรอนเหนือเสนศูนยสตู รจะหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา สวนพายุหมุน
เขตรอนใตเสนศูนยสูตรจะหมุนในทิศทางกลับกัน คือตามเข็มนาฬิกา
พายุหมุนเขตรอนเมื่ออยูในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเปนพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่ง
ในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเสนผานศูนยกลางตั้งแต 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพรอมกับลมที่
พัดแรงมาก
162
ผาพายุไซโคลน
การกอตัวของพายุไซโคลนแตละครั้ง ประกอบดวยสวนประกอบสําคัญ 3 สวน ไดแก
• ตาพายุ (Eye) เปนบริเวณจุดศูนยกลางของการหมุนของพายุ และเปนบริเวณที่มีความกดอากาศต่ํา

ลมพัดเบา ไมมีฝน มีเสนผานศูนยกลางประมาณ 10-50 กิโลเมตร


• ขอบตาพายุ หรือ กําแพงตา ( Eye Wall) เปนพื้นที่รอบๆ ตาพายุ เปนบริเวณที่ประกอบดวยลมที่

พัดรุนแรงที่สุด
• บริเวณแถบฝน (Rainbands) เปนบริเวณที่ประกอบดวยเมฆพายุ และวงจรการเกิดไอน้ํา โดยมีการ

กลั่นตัวเปนหยดน้ํา เพื่อปอนใหแกพายุ

ลักษณะการเกิด "พายุงวงชาง" หรือ "นาคเลนน้าํ " มี 2 แบบ ไดแก

1. เปนพายุทอรนาโด ที่เกิดขึ้นเหนือผืนน้ํา (ซึ่งอาจจะเปนทะเล ทะเลสาบ หรือแองน้ําใดๆ) โดย


พายุทอรนาโด จะเกิดขึ้นระหวางที่ฝนฟาคะนองอยางหนัก เรียกวา พายุฝนฟาคะนองแบบซูเปอรเซลล
(Supercell thunderstorm) และมีระบบอากาศหมุนวนที่เรียกวา เมโซไซโคลน ( Mesocyclone) จึงเรียกพายุ
นาคเลนน้ําแบบนี้วา นาคเลนน้ําที่เกิดจากทอรนาโด (Tornado waterspout)
2. เกิดจากการที่มวลอากาศเย็น เคลื่อนผานเหนือผิวน้ําที่อุนกวา โดยบริเวณใกลๆ ผิวน้ํามี
ความชื้นสูง และไมคอยมีลมพัด (หรือถามีก็พัดเบาๆ) ผลก็คืออากาศที่อยูติดกับผืนน้ําซึ่งอุนในบางบริเวณ
จะยกตัวขึน้ อยางรวดเร็วและรุนแรง ทําใหอากาศโดยรอบไหลเขามาแทนที่ จากนั้นจึงพุงเปนเกลียวขึ้นไป
แบบนี้เรียกวา "นาคเลนน้าํ " (True waterspout) ซึ่งมักเกิดในชวงอากาศดีพอสมควร (fair-weather
waterspout) อาจเกิดไดบอ ย และประเภทเดียวกับกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากในชวงที่เกิด
มักจะมีพายุฝนฟาคะนองรวมอยูดวย
ความแตกตางของ 2 แบบนี้ก็คือ นาคเลนน้ําที่เกิดจากทอรนาโดจะเริ่มจากอากาศหมุนวน (ใน
บริเวณเมฆฝนฟาคะนอง) แลวหยอนลํางวงลงมาแตะพื้น คืออากาศหมุนจากบนลงลาง สวนนาคเลนน้าํ
ของแทจะเริ่มจากอากาศหมุนวนบริเวณผิวพื้นน้ํา แลวพุงขึ้นไป คืออากาศหมุนจากลางขึ้นบน ในชวงที่
อากาศพุงขึ้นเปนเกลียววนนี้ หากน้ําในอากาศยังอยูในรูปของไอน้ํา เราจะยังมองไมเห็นอะไร แตหาก
อากาศขยายตัวและเย็นตัวลงถึงจุดหนึ่ง ไอน้ําก็จะกลั่นตัวเปนหยดน้ําจํานวนมาก ทําใหเราเห็นทอหรือ
"งวงชาง" เชื่อมผืนน้ําและเมฆ ซึ่งเปนที่มาของชื่อ "พายุงวงชาง"
โดยสวนใหญมีความยาวประมาณ 10 - 100 เมตร ขนาดเสนผานศูนยกลางมีตั้งแต 1 เมตร ไป
จนถึงหลาย 10 เมตร โดยในพายุอาจมีทอ หมุนวนเพียงทอเดียวหรือหลายทอก็ได แตละทอจะหมุนดวย
อัตราเร็วในชวง 20-80 เมตรตอวินาที กระแสลมในตัวพายุเร็วถึง 100 - 190 กิโลเมตรตอชั่วโมง และอาจ
สูงถึง 225 กิโลเมตรตอชั่วโมง ซึ่งสามารถคว่ําเรือเล็กๆ ไดสบาย ดังนั้น ชาวเรือควรสังเกตทิศทางการ
เคลื่อนที่ใหดี แลวหนีไปในทิศตรงกันขาม นอกจากนี้ พายุชนิดนี้ยังสามารถเคลื่อนที่ไดเร็วตั้งแต 3 - 130
163
กิโลเมตรตอชั่วโมง แตสวนใหญจะเคลื่อนที่คอนขางชาประมาณ 18 - 28 กิโลเมตรตอชั่วโมง ทั้งนี้ พายุนี้
มีอายุไมยืนยาวนัก คืออยูในชวง 2 - 20 นาที จากนั้นก็จะสลายตัวไปในอากาศอยางรวดเร็ว
อยางไรก็ตาม ดร.อานนท สนิทวงศ ณ อยุธยา ผอ.ศูนยเครือขายงานวิเคราะหวิจัย และฝกอบรม
การเปลี่ยนแปลงของโลก แหงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต กลาวถึงปรากฏการณ พายุงวงชาง วา
ปรากฏการณดังกลาวสวนใหญมักจะเกิดในน้ํา โดยเฉพาะในทะเลจะเห็นบอยกวาในน้ําจืด สําหรับ
ประเทศไทยเคยเกิดปรากฏการณนี้ขึ้น แตไมบอยนัก และไมเปนอันตราย เพราะมีขนาด 1% ของพายุทอร
นาโด

ฝนกรด การเผาผลาญน้ํามันเชื้อเพลิงจะสงผลใหกาซซัลเฟอรไดออกไซดและไนโตรเจน
ออกไซดเกิดขึ้น กาซเหลานี้จะลอยสูงขึ้นในชั้นบรรยากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงผลิตไฟฟา
ยานพาหนะและแพรกระจายลงในน้าํ ซึง่ จะระเหยเปนเมฆและรวมตัวกันเปนกรดตกลงมาเรียกวา ฝน
กรด ฝนกรดอาจสรางความเสียหายโดยตรงใหแกตนไม ถาน้ําในแมน้ําและทะเลสาบกลายมาเปนกรด
พืชและสัตวจะไมสามารถดํารงชีวิตอยูได ฝนกรดยังสรางความเสียหายใหกับอาคาร และสิ่งปลูกสราง
ดวย

ภาพ : การเกิดฝนกรด
164
ภัยพิบัติ หมายถึง เหตุการณที่อาจเกิดจากธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทําของมนุษยที่อาจเกิดขึ้น
ปจจุบันทันดวนหรือคอย ๆ เกิด มีผลตอชุมชนหรือประเทศชาติ ภัยพิบัติอาจเปนไดทั้งเหตุการณที่
เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เชน อุทกภัย หรือเปนเหตุการณที่มนุษยกระทําขึ้น เชน การแพรกระจายของ
สารเคมี เปนตน
165

เรื่องที่ 4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอม


สิ่งแวดลอมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไมมีชีวิตเกิดจากการกระทําของมนุษยหรือมีอยูตามธรรมชาติ
เชน อากาศ ดิน หิน แรธาตุ น้ํา หวย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตวตาง ๆ
ภาชนะเครื่องใชตาง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดลอมดังกลาวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยูเสมอ โดยเฉพาะมนุษยเปน
ตัวการสําคัญยิ่งที่ทําใหสิ่งแวดลอมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสรางและทําลาย
จะเห็นวา ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม มีความสัมพันธกันอยางใกลชิด
ตางกันที่สิ่งแวดลอมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอยางที่ ปรากฏ อยูร อบตัวเรา สวนทรัพยากรธรรมชาติเนนสิ่งที่
อํานวยประโยชนแกมนุษยมากกวาสิ่งอื่น

ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

ทรัพยากรธรรมชาติ แบงตามลักษณะที่นํามาใชไดเปน 2 ประเภทใหญ ๆ คือ


1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใชแลวไมหมดสิ้น ไดแก
1) ประเภทที่คงอยูตามสภาพเดิมไมมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เชน พลังงาน จากดว ง
อาทิตย ลม อากาศ ฝุน ใชเทาไรก็ไมมีการเปลี่ยนแปลงไมรูจักหมด
2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได เนื่องจากถูกใชในทางที่ผิด เชน ที่ดิน น้ํา ลักษณะภูมิ
ประเทศ ฯลฯ ถาใชไมเปนจะกอใหเกิดปญหาตามมา ไดแก การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ําๆ ซาก ๆ ในที่เดิม
ยอมทําใหดินเสื่อมคุณภาพ ไดผลผลิตนอยลงถาตองการใหดินมีคุณภาพดีตองใสปุยหรือปลูกพืชสลับและ
หมุนเวียน
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใชแลวหมดสิ้นไป ไดแก
1) ประเภทที่ใชแลวหมดไป แตสามารถรักษาใหคงสภาพเดิมไวได เชน ปาไม สัตวปา
ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณของดิน น้ําเสียจากโรงงาน น้ําในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม
ฯลฯ ซึ่งอาจทําใหเกิดขึ้นใหมได
2) ประเภทที่ไมอาจทําใหมีใหมได เชน คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พรสวรรคของ
มนุษย สติปญญา เผาพันธุของมนุษยชาติ ไมพุม ตนไมใหญ ดอกไมปา สัตวบก สัตวน้ํา ฯลฯ
3) ประเภทที่ไมอาจรักษาไวได เมือ่ ใชแลวหมดไป แตยังสามารถนํามายุบให กลับเปน
วัตถุเชนเดิม แลวนํากลับมาประดิษฐขึ้นใหม เชน โลหะตาง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ฯลฯ
4) ประเภทที่ใชแลวหมดสิ้นไปนํากลับมาใชอีกไมได เชน ถานหิน น้ํามันกาซ อโลหะ
สวนใหญ ฯลฯ ถูกนํามาใชเพียงครั้งเดียวก็เผาไหมหมดไป ไมสามารถนํามาใชใหมได
ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สําคัญของโลก และของประเทศไทยไดแก ดิน ปาไม สัตวปา น้ํา แร
ธาตุ และประชากร (มนุษย)
166
สิ่งแวดลอม
สิ่งแวดลอมของมนุษยที่อยูรอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไมมีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทําของ
มนุษยแบงออกเปน 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดลอมทางธรรมชาติ
2. สิง่ แวดลอมทางวัฒนธรรม หรือสิง่ แวดลอมประดิษฐ หรือมนุษยเสริมสรางกําหนดขึ้น
สิ่งแวดลอมธรรมชาติ จําแนกได 2 ชนิด คือ
1) สิ่งแวดลอมทางกายภาพ ไดแก อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ
ภูมิอากาศ ทัศนียภาพตาง ๆ ภูเขา หวย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและ
ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด
2) สิ่งแวดลอมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร ไดแก พืชพันธุธรรมชาติตางๆ
สัตวปา ปาไม สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยูรอบตัวเราและมวลมนุษย
สิ่งแวดลอมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดลอมประดิษฐ หรือมนุษยเสริมสรางขึ้น ไดแก
สิ่งแวดลอมทางสังคมที่มนุษยเสริมสรางขึ้นโดยใชกลวิธีสมัยใหม ตามความเหมาะสมของสังคม
เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เชน เครื่องจักร เครื่องยนต รถยนต พัดลม โทรทัศน วิทยุ
ฝนเทียม เขื่อน บานเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุ อื่น ๆ ไดแก อาหาร เครื่องนุงหม ที่อยูอาศัย คานิยม
และสุขภาพอนามัย
ประโยชนของทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติมีประโยชนมหาศาลตอมนุษยชาติทั้งทางตรงและทางออม แตละชนิดมี
ประโยชนแตกตางกัน ดังนี้
น้ํา มนุษยใชบริโภค อุปโภค ที่สําคัญก็คือ น้ําเปนปจจัยสําคัญสําหรั บทรัพยากร ธรรมชาติ
ชนิดอื่นดวย เชน สัตวปา ปาไม ทุงหญา และดิน
ดิน ทรัพยากรธรรมชาติสวนใหญ มีดินเปนแหลงอาศัย หรือบอเกิด มนุษยสามารถสราง
ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดทดแทนไดโดยอาศัยดินเปนปจจัยสําคัญ นอกจากมนุษยจะอาศัยอยูบน
พื้นดินแลว ยังนําดินมาเปนสวนประกอบสําคัญในการสรางที่อยูอาศัย เปนแหลงทํามาหากิน ทํา
การเกษตร ทําการอุตสาหกรรม เครื่องปนดินเผาตาง ๆ ถาขาดดินหรือดินขาดความอุดมสมบูรณ
ทรัพยากร ที่เปนปจจัย 4 ในการดํารงชีวติ จะนอยลงหรือหมดไป
ปาไม ประโยชนที่สําคัญของปาไมคือ ใชไมในการสรางที่อยูอาศัย เปนที่อาศัยของสัตวปา เปน
แหลงตนน้ําลําธาร เปนแหลงหาของปา เปนปจจัยสําคัญที่ทําใหเกิดวัฏจักรของน้ํา ทําใหอากาศบริสุทธิ์
ชวยอนุรักษดิน เปนแหลงนันทนาการ นอกจากนี้ปาไมยังกอใหเกิดการอุตสาหกรรมอีกหลายชนิด ทําให
ประชาชนมีงานทํา เกิดแหลงอาชีพอิสระ และเปนแหลงยาสมุนไพร
167
สัตวปา มนุษยไดอาหารจากสัตวปา สัตวปาหลายชนิดไดหนัง นอ เขา งา กระดูก ฯลฯ มาทํา
ของใช เครื่องนุงหม และประกอบยารักษาโรค สัตวปาชวยใหเกิดความงดงามและคุณคาทางธรรมชาติ
ชวยรักษาดุลธรรมชาติ
แรธาตุ มนุษยนําแรธาตุตาง ๆ มาถลุงเปนโลหะ ทําใหเกิดการอุตสาหกรรมหลายประเภท ทํา
ใหราษฎรมีงานทํา สงเปนสินคาออกนํารายไดมาสูประเทศปละมาก ๆ นอกจากนี้ยังมีผลพลอยไดจากการ
ถลุงหรือกลั่นอีกหลายชนิด เชน ยารักษาโรค น้ํามันชักเงา เครื่องสําอาง แรบางชนิดเกิดประโยชนใน
การเกษตร เชน แรโพแทสเซียม ใชทําปุย เปนตน
ทรัพยากรธรรมชาติตางเปนปจจัยเอื้ออํานวยตอกัน เชน ดินเปนที่เกิด ที่อยูอาศัยของสัตวปา ปา
ไม ชวยรักษาดินและเกิดปุยธรรมชาติ น้ําเปนปจจัยสําคัญชวยในการดํารงชีวิตของสัตว พืช ปาไม ทําให
เกิดวัฏจักรของน้ํา ซึ่งทําใหเกิดความสมดุลทางธรรมชาติ กอใหเกิดสิ่งแวดลอมที่ดีและเหมาะสมกับการ
ดํารงชีวิตของมนุษย

ปญหาของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
การพัฒนาที่ผานมาไดระดมใชทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดิน ปาไม แหลงน้ํา ทรัพยากร
ชายฝงทะเล ทรัพยากรธรณี ในอัตราที่สูงมากและเปนไปอยางไมมีประสิทธิภาพ จนมีผลทําให
ทรัพยากรธรรมชาติเหลานีเ้ กิดการรอยหรอ และเสื่อมโทรมลงอยางรวดเร็ว รวมทั้งเริ่มสงผลกระทบตอ
การดํารงชีวิตของประชาชนในชนบท ที่ตองพึ่งพาทรัพยากรเปนหลักในการยังชีพ ไดแก
ทรัพยากรปาไม พื้นที่ปาไมมีสภาพเสื่อมโทรมและมีแนวโนมลดลงอยางมาก เนื่องมาจากสาเหตุ
สําคัญหลายประการ ไดแก การลักลอบตัดไมทําลายปา การเผาปา การบุกรุก ทําลายปาเพื่อตองการที่ดิน
เปนที่อยูอาศัย และทําการเกษตร การทําไรเลื่อน ลอยของชาวเขาในพื้นที่ตนน้ําลําธาร และการใชที่ดินเพื่อ
ดําเนินโครงการของรัฐบาล เชน การจัดนิคมสรางตนเอง การชลประทาน การไฟฟาพลังน้ํา การกอสราง
ทาง กิจการรักษาความมั่นคงของชาติ เปนตน การที่พื้นที่ปาไมทั่ว ประเทศลดลงอยางมาก ไดสงผล
กระทบตอการควบคุมระบบนิเวศโดยสวนรวมอยางแจงชัด เชน กรณีเกิดวาตภัยและ อุทกภัยครั้งรายแรง
ในพื้นที่ภาคใต ปญหาความแหงแลงในภาคตางๆ ของประเทศ
168

ภาพ : การตัดไมทําลายปา

ทรัพยากรดิน ปญหาการพังทลายของดินและการสูญเสียหนาดิน โดยธรรมชาติ เชน การชะลาง


การกัดเซาะของน้ําและลม เปนตน และที่สําคัญคือ ปญหาจากการกระทําของมนุษย เชน การทําลายปา เผา
ปา การเพาะปลูกผิดวิธี เปนตน กอใหเกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณของดินทําใหใชประโยชนจาก
ทีด่ นิ ไดลดนอยลง ความสามารถในการผลิตทางดานเกษตรลดนอยลง และยังทําใหเกิดการทับถมของ
ตะกอนดินตามแมนาํ้ ลําคลอง เขื่อน อางเก็บน้ํา เปนเหตุใหแหลงน้ําตื้นเขิน
ทรัพยากรที่ดิน ปญหาการใชที่ดินไมเหมาะสมกับสมรรถนะของที่ดิน และไมคํานึงถึงผลกระทบ
ตอสิ่งแวดลอม ไดแก การใชที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมอยางไมถูกหลักวิชาการ ขาดการบํารุงรักษาดิน การ
ปลอยใหผิวดินปราศจากพืชปกคลุม ทําใหสูญ เสียความชุมชื้นในดิน การเพาะปลูกที่ ทําใหดิน
เสีย การใชปุยเคมีและยากําจัดศัตรูพืชเพื่อเรงผลิตผล ทําใหดินเสื่อมคุณภาพและสารพิษตกคางอยูในดิน
การบุกรุกเขาไปใชประโยชนที่ดินในเขตปาไมบนพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง รวมทั้งปญหาการขยายตัวของ
เมืองที่รุกล้ําเขาไปในพื้นที่เกษตรกรรม และการนํามาใชเปนที่อยูอาศัย ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม หรือ
การเก็บที่ดินไวเพื่อการเก็งกําไร โดยมิไดมีการนํามาใชประโยชนแตอยางใด
ทรัพยากรแหลงน้ํา การใชประโยชนจากแหลงน้ําเพื่อกิจกรรมตางๆ ยังมีความขัดแยงกัน ขึ้นอยู
กับวัตถุประสงคของแตละกิจกรรม กอใหเกิดความยุงยากตอการจัดการทรัพยากรน้ําและการพัฒนาแหลง
น้ําความขัดแยงดังกลาวมีแนวโนมวาจะสูงขึ้น จากปริมาณน้ําที่เก็บกักไดมีจํานวนจํากัด แตความตองการ
ใชน้ํามีปริมาณเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทั้งในดานเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค เปนผลให
มีน้ําไมเพียงพอกับความตองการ
169
ปะการัง ปะการังที่สวยงามในเมืองไทยหลายแหงตองเสื่อมโทรมลงอยางนาเสียดาย โดยเฉพาะ
ปญหาการถูกทําลายโดยฝมือมนุษย นับเปนปญหาสําคัญของความเสื่อมโทรมของปะการัง ไดแก การ
ระเบิดปลา เปนการทําลายปะการังอยางรุนแรง ซึ่งเทากับเปนการทําลายที่อยูอาศัยของสัตวและพืชใน
บริเวณนั้น และเปนการทําลายการประมงในอนาคตดวย

การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม หมายถึง การใชทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดลอมอยางฉลาด โดยใชใหนอยเพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุด โดยคํานึงถึงระยะเวลาในการใชให
ยาวนาน และกอใหเกิดผลเสียหายตอสิ่งแวดลอมนอยที่สุด รวมทั้งตองมีการกระจายการใช
ทรัพยากรธรรมชาติอยางทั่วถึง อยางไรก็ตาม ในสภาพปจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมมี
ความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมจึงมีความหมายรวมไปถึง
การพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดลอมดวย
การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมสามารถกระทําไดหลายวิธี ทั้งทางตรงและ
ทางออม ดังนี้

1. การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติไดในระดับบุคคล
องคกร และระดับประเทศ คือ
1) การใชอยางประหยัด คือ การใชเทาที่มีความจําเปน เพื่อใหมีทรัพยากรไวใชไดนาน
และเกิดประโยชนอยางคุมคามากที่สุด
2) การนํากลับมาใชซ้ําอีก สิ่งของบางอยางเมื่อมีการใชแลวครั้งหนึ่งสามารถที่จะนํามาใช
ซ้ําไดอีก เชน ถุงพลาสติก กระดาษ เปนตน หรือสามารถที่จะนํามาใชไดใหมโดยผานกระบวนการตาง ๆ
เชน การนํากระดาษที่ใชแลวไปผานกระบวนการตาง ๆ เพื่อทําเปนกระดาษแข็ง เปนตน ซึ่งเปนการลด
ปริมาณการใชทรัพยากรและการทําลายสิ่งแวดลอมได
3) การบูรณ ะซอมแซม สิ่งของบางอยางเมื่อใชเปนเวลานานอาจเกิดการชํารุดได
เพราะฉะนั้นถามีการบูรณะซอมแซม ทําใหสามารถยืดอายุการใชงานตอไปไดอีก
4) การบําบัดและการฟนฟู เปนวิธีการที่จะชวยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดวยการ
บําบัดกอน เชน การบําบัดน้ําเสียจากบานเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เปนตน กอนที่จะปลอยลงสู
แหลงน้ําสาธารณะ สวนการฟนฟูเปนการรื้อฟนธรรมชาติใหกลับสูสภาพเดิม เชน การปลูกปาชาย
เลน เพื่อฟนฟูความ สมดุลของปาชายเลนใหกลับมาอุดมสมบูรณ เปนตน
5) การใชสิ่งอื่นทดแทน เปนวิธีการที่จะชวยใหมีการใชทรัพยากรธรรมชาตินอยลงและไม
ทําลายสิ่งแวดลอม เชน การใชถุงผาแทนถุงพลาสติก การใชใบตองแทนโฟม การใชพลังงานแสงแดด
แทนแรเชื้อเพลิง การใชปุยชีวภาพแทนปุยเคมี เปนตน
170
6) การเฝาระวังดูแลและปองกัน เปนวิธีการที่จะไมใหทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
ถูกทําลาย เชน การเฝาระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแมน้ํา ลําคลอง การจัดทําแนวปองกันไฟปา เปนตน

2. การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมโดยทางออม สามารถทําไดหลายวิธี ดังนี้


1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โด ยสนับสนุนการศึกษาดานการอนุรกั ษ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมที่ถูกตองตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทําไดทุกระดับอายุ ทั้งในระบบ
โรงเรียนและสถาบันการศึกษาตาง ๆ และนอกระบบโรงเรียนผานสื่อสารมวลชนตาง ๆ เพื่อใหประชาชน
เกิดความตระหนักถึงความสําคัญและความจําเปนในการอนุรักษ เกิดความรักความหวงแหน และใหความ
รวมมืออยางจริงจัง
2) การใชมาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการ
อนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมตาง ๆ ตลอดจนการใหความรวมมือทั้งทางดานพลังกาย พลัง
ใจ พลังความคิด ดวยจิตสํานึกในความมีคุณคาของสิ่งแวดลอมและทรัพยากรที่มีตอตัวเรา เชน กลุมชมรม
อนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา
ตาง ๆ มูลนิธิคุมครองสัตวปาและพรรณพืชแหงประเทศไทย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว
เปนตน
3) สงเสริมใหประชาชนในทองถิ่นไดมีสวนรวมในการอนุรักษ ชวยกันดูแลรักษาใหคง
สภาพเดิม ไมใหเกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชนในการดํารงชีวิตในทองถิ่นของตน การประสานงาน
เพื่อสรางความรูความเขาใจ และความตระหนักระหวางหนวยงานของรัฐ องคกรปกครองสวนทองถิ่นกับ
ประชาชน ใหมีบทบาทหนาที่ในการปกปอง คุมครอง ฟนฟูการใชทรัพยากรอยางคุมคาและเกิดประ
โยชนสูงสุด
4) สงเสริมการศึกษาวิจัย คนหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใชในการจัดการกับ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมใหเกิดประโยชนสูงสุด เชน การใชความรูทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาจัดการวางแผนพัฒนา การพัฒนาอุปกรณเครื่องมือเครื่องใชใหมีการประหยัดพลังงานมากขึ้น
การคนควาวิจัยวิธีการจัดการ การปรับปรุง พัฒนาสิ่งแวดลอมใหมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เปนตน
5) การกําหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษและพัฒนาสิ่งแวดลอม
ทั้งในระยะสันและระยะยาว เพื่อเปนหลักการใหหนวยงานและเจาหนาที่ของรัฐที่เกี่ยวของยึดถือและ
นําไปปฏิบัติ รวมทั้งการเผยแพรขาวสารดานการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ทั้งทางตรง
และทางออม
171
เยาวชนกับการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม หมายถึงการใชทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพ
โดยไมเกิดผลกระทบในทางเสียหายตอสภาพแวดลอมปจจุบันและอนาคต
แนวคิดในการอนุรักษ
1. มนุษยเปนสวนหนึง่ ของสิง่ แวดลอม
2. มนุษยไมอาจแยกตัวเปนอิสระจากสิ่งแวดลอมได เพราะฉะนั้น กระบวนการทางการอนุรักษ
ยอมแสดงถึงการจัดการทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพ จึงนับเปนหนทางแหงการปกปองตนเองของ
มนุษยชาติ ใหสามารถอยูรอดไดชั่วนิรันดร
เยาวชนกับการอนุรักษ
(1) ตองมีหัวใจเปนนักอนุรักษ จากคํากลาวที่วา ทานถูกเรียกวานักรอง ดวยเหตุที่ทานรองเพลงได
ไพเราะ ทานถูกเรียกวาเปนจิตกร ดวยเหตุที่ทานสามารถสรางสรรคงานจิตรกรรมไดเปนที่ยอมรับตอ
สาธารณชน "ศิลปน ยอมมีผลงานศิลปะ " เพราะฉะนั้น นักอนุรักษไมเพียงแตรักงานอนุรักษ หรือเปน
นักวิชาการอนุรักษ จําเปนตองปฏิบัติตนเปนอนุรักษอยางแทจริงดวยตนเอง
(2) ตองมีหัวใจแหงการเสียสละ นั่นคือ ตองคํานึงถึงประโยชนของสังคมสวนรวมมากกวา
ประโยชนแหงตน
(3) ตองมีหัวใจที่รักและหวังดีตอเพื่อนมนุษยดวยกัน นั่นคือนักอนุรักษไมพึง มีอคติตอผูอื่น งาน
อนุรักษจะสําเร็จไดดวยมิตรภาพและความเขาใจอันดี
การพัฒนากับการอนุรักษ
การพัฒนา………..คือ การทําใหเจริญขึ้น ดีขึ้น
การอนุรักษ……….คือ ใชทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพ
กระบวนการพัฒนาที่เหมาะสมคือ การจัดการทางวิทยาการอยางมีประสิทธิภาพ โดยไมเกิด
ผลเสียทางสิ่งแวดลอม
172

ภาพ : แนวปองกันการกัดเซาะชายฝงทะเล (ใชลําไมไผ)

แนวทางการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
- การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม จะตองอาศัยความรวมมือจากทุกฝาย ทั้ง
ภาครัฐบาลและเอกชน โดยดําเนินการ ดังนี้
- แกไขแนวคิดและจิตสํานึกของคนใหมีความรูความเขาใจวา สิ่งแวดลอมมีความสําคัญตอความ
อยูรอดของมนุษยและสิ่งที่มีชีวิตซึ่งทุกคนตองมีสวนรวมในความรับผิดชอบ
- เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในทองถิ่น เชน การบริโภคทั้งกินและใช ตองใชและกินอยาง
ประหยัด เพราะปจจุบันทรัพยากรธรรมชาติมีอยูจํากัด ใชทรัพยากรธรรมชาติทุกอยางใหเกิดประโยชน
มากที่สุด และนานที่สุด
ภาวะโลกรอน
ภาวะโลกรอน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภูมิกาศที่เกิดจากการกระทําของมนุษย ที่ทําใหอุณหภูมิ
เฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกวา ภาวะโลกรอน ( Global Warming) กิจกรรมของมนุษยที่ทําใหเกิด
ภาวะโลกรอน คือ กิจกรรมที่ทําใหปริมาณกาซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ไดแก การเพิ่ม
ปริมาณกาซเรือนกระจกโดยตรง เชน การเผาไหมเชื้อเพลิง และการเพิ่มปริมาณกาซเรือนกระจกโดย
ทางออม คือ การตัดไมทําลายปา
ปรากฏการณเรือนกระจก หมายถึง การที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทําตัวเสมือนกระจกที่ยอมให
รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตยผานทะลุลงมายังผิวพื้นโลกได แตจะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไป
ไมใหหลุดออกนอกบรรยากาศ ทําใหโลกไมเย็นจัดในเวลากลางคืน บรรยากาศเปรียบเสมือนผาหมใหญที่
173
คลุมโลกไว กาซที่ยอมใหรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตยผานทะลุลงมาไดแตไมยอมใหรังสีคลื่นยาวที่โลก
คายออกไปหลุดออกนอกบรรยากาศ เรียกวา กาซเรือนกระจก
กาซเรือนกระจกที่สําคัญ ไดแก กาซคารบอนไดออกไซด กาซมีเทนและกาซไนตรัสออกไซด
1. กาซคารบอนไดออกไซด เกิดจากการเผาไหมเชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรมและการตัดไม
ทําลายปา
2. กาซมีเทน เกิดจาก การยอยสลายซากสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่มีน้ําขัง เชน นาขาว
3. กาซไนตรัสออกไซด เกิดจาก อุตสาหกรรมที่ใชกรดไนตริกในกระบวนการผลิต และการใช
ปุย ไนโตรเจนในการเกษตรกรรม
เราสามารถชวยกันปองกันและแกไขปญหาภาวะโลกรอนไดดวยวิธีการตาง ๆ เชน
- อาบน้ําดวยฝกบัว ประหยัดกวาตักอาบหรือใชอางอาบน้ําถึงครึ่งหนึ่งในเวลาเพียง 10 นาที
ปดน้าํ ขณะแปรงฟน ประหยัดไดเดือนละ 151 ลิตร
- เปดน้ํารอนใหนอยลง ในการทําน้ํารอน ใชพลังงานในการตมสูงมาก การปรับเครื่องทํา
น้ําอุนใหมีอุณหภูมิและแรงน้ําใหนอยลง จะลดคารบอนไดออกไซดได 159 กิโลกรัมตอป หรือการซักผา
ในน้าํ เย็นจะลดคารบอนไดออกไซด ไดปล ะ 227 กิโลกรัม
- ใชหลอดไฟตะเกียบ ประหยัดกวาหลอดธรรมดา 4 เทา ใชงานนานกวา 8 เทา แตละหลอด
ชวยลดการปลอยกาซคารบอนไดออกไซดได 4,500 กิโลกรัม หลอดไฟธรรมดาเปลี่ยนพลังงานนอยกวา
10% ไปเปนแสงไฟ สวนที่เหลือถูกเปลี่ยนไปเปนความรอนเทากับสูญพลังงานเปลา ๆ มากกวา 90%
- ถอดปลั๊กเครื่องใชไฟฟา เพราะยังคงกินพลังงานมากแมจะปดแลว ดังนั้นควรถอดปลั๊ก
โทรทัศน สเตริโอ คอมพิวเตอร ไมโครเวฟ ฯลฯ เมื่อไมใชหรือเสียบปลั๊กเขากับแผงเสียบปลั๊กที่คอยปด
สวิทซไวเสมอ เมื่อไมใชและควรถอดปลั๊กที่ชารจโทรศัพทมือถือและ MP3 เมื่อไฟเต็มแลว
- ใชตูเย็นแบบ 2 ประตู ขนาดความจุ 400 ลิตร ตั้งอุณหภูมิที่ 3 – 5 องศา และ -17 - -15 องศา
ในชองแชแข็ง มีประสิทธิภาพในการประหยัดไฟมากที่สุด
- เปดแอรที่ 25 องศา อุณหภูมิต่ํากวานี้ใชพลังงานเพิ่มขึ้น 5 – 10%
- ใชแล็ปท็อปจอแบน ประหยัดไฟมากกวาคอมพิวเตอรตั้งโตะถึง 5 เทา ใช screen server
และหมวดสแตนบายดไมไดชวยประหยัดไฟ พลังงานที่เสียไปเทากับซื้อคอมพิวเตอรใหมได 1 เครือ่ ง
และพริ้นเตอรเลเซอรประหยัดพลังงานมากกวาอิงคเจ็ท
- พกถุงผาไปช็อปปงแทนการใชถุงพลาสติก แตละปทั่วโลกทิ้งถึงพลาสติกจากซุปเปอรมา
เก็ตหลายแสนลานใบ อยาลืมวา ลดขยะเทากับลดการปลอยกาซคารบอนไดออกไซด
- ใสเสื้อผาฝายออรแกนิค และใชเครื่องใชรีไซเคิล หรือนํากลับมาใชใหมได หลีกเลี่ยง
ผลิตภัณฑที่มีบรรจุภัณฑมาก เพียงแคลดขยะของคุณเอง 10% จะลดคารบอนไดออกไซดได 545 กิโลกรัม
ตอป
174
- ปลูกตนไม เพราะตนไม 1 ตนดูดซับคารบอนไดออกไซดได 1 ตัน ตลอดอายุขัย และรดน้ํา
ชวงเชา และกลางคืน ปองกันการระเหย
- กินเนื้อสัตวใหนอยลง เพราะการผลิตเนื้อสัตวใชพลังงานและทรัพยากรมากกวาการปลูก
พืชและธัญพืช 18% ของกาซเรือนกระจกมาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว คุณไมตองเปนมังสวิรัติก็ได
เพื่อที่จะสรางความเปลี่ยนแปลง ลองไมกินเนื้อสัตวสัปดาหละครั้ง จะลดการปลอยกาซเรือนกระจกได
มหาศาล
- เดินแทนขับ พาหนะใชน้ํามันถึงครึ่งหนึ่งของโลก และปลอยกาซเรือนกระจกที่ 1 ใน 4
สวน การทิ้งรถไวที่บานแมเพียงสัปดาหละ 1 วัน สามารถประหยัดน้ํามันและการปลอยกาซเรือนกระจก
ไดมากมายภายใน 1 ป ลองเดิน ขี่จักรยาน นั่งรถกับคนอื่น หรือนั่งรถเมลหรือรถไฟฟาแทน หรือลองดูวา
คุณสามารถทํางานที่บาน โดยตอคอมพิวเตอรเขากับเครือขายของบริษัทสัปดาหละครั้งไดหรือไม
- เช็คลมยาง ใหแนใจวายางรถสูบลมแนนการขับรถโดยที่ลมยางมีลมนอย อาจทําใหเปลือง
น้ํามันขึ้นไดถึง 3% จากปกติ น้ํามันทุก ๆ แกลลอนที่ประหยัดไดจะลดคารบอนไดออกไซดได 9 กิโลกรัม
ยางที่สูบลมไมพอจะใชน้ํามันไดในระยะทางสั้นลง 5%
- ลด ใชซ้ํา และรีไซเคิลใหมากขึ้น ลดขยะของบานคุณใหไดครึ่งหนึ่งจะชวยลด
คารบอนไดออกไซดไดถงึ 1ลานกิโลกรัมตอป
สําคัญที่สุด ตองตั้งใจแนวแนวาจะชวยหยุดโลกรอน และตองใชพลังงานอยางมีประสิทธิภาพ
และเลือกใชพลังงานสะอาด
175
ใบงาน เรื่อง โลก บรรยากาศ ปรากฏการณทางธรรมชาติ สิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ
1. เหตุการณการเกิด “บิ๊กแบงค” มีลักษณะอยางไร
ตอบ…………………………………………………………………………………………
2. โลกใชเวลา หมุนรอบดวงอาทิตยเปนวงโคจรกี่วัน
ตอบ…………………………………………………………………………………………
3. สวนประกอบของโลก มีกี่อยาง อะไรบาง
ตอบ…………………………………………………………………………………………
4. เปลือกโลก (Crust) ประกอบดวยอะไรบาง
ตอบ…....................................................................................................................................
5. ชัน้ แมนเทิล (Mantle หรือ Earth's mantle) มีลักษณะเปนอยางไร
ตอบ…....................................................................................................................................
6. แกนโลกแบงไดออกเปนกี่ชน้ั ไดแกอะไรบาง
ตอบ…....................................................................................................................
7. แผนยูเรเซียนครอบคลุมทวีปอะไรบาง
ตอบ…....................................................................................................................................
8. การเคลื่อนที่ของแผนเปลือกโลกนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร
ตอบ…....................................................................................................................................
9. บรรยากาศมีสว นประกอบอะไรบาง
ตอบ…....................................................................................................................................
10. ทําไม “โอโซน” (Ozone) จึงเปนกาซที่สําคัญมากตอมนุษย
ตอบ…....................................................................................................................................
11. ซี เอฟ ซี (CFC) นํามาใชในอุตสาหกรรมประเภทใดบาง และมีผลกระทบกับโลกอยางไร
ตอบ……................................................................................................................................
12. จงอธิบายสภาพบรรยากาศในชั้นโทรโพสเฟยร และ ไอโอโนสเฟยร มาพอสังเขป
ตอบ……................................................................................................................................
13. มาตราวัด 40 องศาเซลเซียส (℃) เทากับ องศาเคลวิน (K)
ตอบ…....................................................................................................................................
176

14. มาตราวัด 25 องศาเซลเซียส (℃) กี่องศาฟาเรนไฮต (℉)


ตอบ…....................................................................................................................................
15. จงอธิบายความสําคัญของกระแสน้ําอุน และกระแสน้ําเย็นที่มีตอฤดูกาล
ตอบ…....................................................................................................................................
16. เมฆระดับสูง มีกี่ชนิด อะไรบาง
ตอบ…....................................................................................................................................
17. จงอธิบายลักษณะของการเกิด “ฝน”(Rain) มาพอสังเขป
ตอบ…....................................................................................................................................
18. ลม(Wind) เกิดจากสาเหตุอะไรบาง
ตอบ…....................................................................................................................................
19. ฝนกรด เกิดจากกาซชนิดใดบาง มีแหลงใด อุตสาหกรรม เปนตนเหตุ และ ความเสียหาย จาก
ฝนกรดเกิดไดอยางไร
ตอบ…....................................................................................................................................
20. จงอธิบายลักษณะของ “ลมทะเล” (Sea Breeze) และ “ลมบก” (Land Breeze)
ตอบ…....................................................................................................................................
21. ลมภูเขาและลมหุบเขา เปนลมชนิดใด และ เกิดในเวลาใดบาง
ตอบ…....................................................................................................................................
22. “ลมตะเภา” พัดจากทิศใดไปยังทิศใด จากบริเวณใดเขาสูบริเวณใด และเกิดในชวงเดือนใด
ตอบ…....................................................................................................................................
23. ใหยกตัวอยางทรัพยากรธรรมชาติประเภทใชแลวไมหมดสิ้นมา 6 อยาง
ตอบ…....................................................................................................................................
24. ใหยกตัวอยางทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สําคัญของโลก และของประเทศไทย มา 5 อยาง
ตอบ…....................................................................................................................................
25. ใหยกตัวอยาง สิง่ แวดลอมทางวัฒนธรรม หรือสิง่ แวดลอมประดิษฐ หรือมนุษยเสริมสราง
ขึ้นมา 10 อยาง
ตอบ…....................................................................................................................................
26. ใหอธิบายปญหาของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม มาพอสังเขป
ตอบ…....................................................................................................................................
177
27. ใหอธิบายการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม มาพอสังเขป
ตอบ…....................................................................................................................................
28. การพัฒนาคุณภาพประชาชน และ การใชมาตรการทางสังคมและกฎหมาย เพือ่ การ อนุรักษ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมแตกตางกันอยางไร จงอธิบาย
ตอบ…....................................................................................................................................
29. การพัฒนา กับ การอนุรักษ แตกตางกันอยางไร
ตอบ…....................................................................................................................................
178
เฉลยใบงาน เรื่อง โลก บรรยากาศ ปรากฏการณทางธรรมชาติ สิ่งแวดลอมและทรัพยากรธรรมชาติ
1. เหตุการณการเกิด “บิ๊กแบงค” มีลักษณะอยางไร
ตอบ…บิ๊กแบงค เกิดจาก การที่ฝุนกาชในอวกาศมารวมตัวกันเปนวงฝุนกาช โดยมีการอัดแนน
กันจนทําใหมีความหนาแนนและมีอุณหภูมิสูง เมื่อถึงขีดหนึ่งจึงทําใหเกิดการระเบิดจากใจกลาง ทําให
เกิดเปนดาวเคราะหนอยตาง ๆ มากมายหลายรอยลานดวง….
2. โลกใชเวลา หมุนรอบดวงอาทิตยเปนวงโคจรกี่วัน
ตอบ…365.25 วัน….
3. สวนประกอบของโลก มีกี่อยาง อะไรบาง
ตอบ…3 อยาง คือ เปลือกโลก แมนเทิลและแกนโลก….
4. เปลือกโลก (Crust) ประกอบดวยอะไรบาง
ตอบ…แผนดิน แผนน้ํา….
5. ชัน้ แมนเทิล (Mantle หรือ Earth's mantle) มีลักษณะเปนอยางไร
ตอบ…อยูระหวางเปลือกโลกกับแกนโลก มีบางสวนที่มีสถานะหลอมเหลว เรียกวา หินหนืด
(magma) มีความรอนสูงมาก….
6. แกนโลกแบงไดออกเปนกี่ชั้นไดแกอะไรบาง
ตอบ…มี 2 ชั้น
1.ชั้นนอก เปนธาตุเหล็กและนิกเกิลที่หลอมละลายมีความรอนสูง
2.ชั้นใน อยูตรงใจกลาง มีความกดดันอยางมหาศาล….
7. แผนยูเรเซียนครอบคลุมทวีปอะไรบาง
ตอบ…ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป….
8. การเคลื่อนที่ของแผนเปลือกโลกนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร
ตอบ…การรวมตัวและการแตกตัวของทวีป….
9. บรรยากาศมีสวนประกอบอะไรบาง
ตอบ…แกสตาง ๆ เชน N2 ,O2 ,CO2 ,Ar , ฝุนละอองและแกสอื่น ๆ….
10. ทําไม “โอโซน” (Ozone) จึงเปนกาซที่สําคัญมากตอมนุษย
ตอบ…เพราะชวยดูดกลืนรังสี UV และรังสีตางที่มาจากดวงอาทิตย ใหตกลงมาสูพื้นโลกนอยลง
ทําใหผิวหนังไมไหมเกรียม….
11. ซี เอฟ ซี (CFC) นํามาใชในอุตสาหกรรมประเภทใดบาง และมีผลกระทบกับโลกอยางไร
ตอบ…มาจากอุตสาหกรรมพลาสติก การทําความเย็น การทําโฟม ฯลฯ สงผลกระทบตอโลก คือ
ทําใหชั้นโอโซนเกิดรูรั่วหรือรูโหว ทําใหรังสี UV สามารถเขาสูพื้นโลกไดมากยิ่งขึ้น เปนสาเหตุทําให
เกิดปรากฎการณเรือนกระจก ….
179
12. จงอธิบายสภาพบรรยากาศในชั้นโทรโพสเฟยร และ ไอโอโนสเฟยร มาพอสังเขป
ตอบ…ชั้นโทรโฟสเพียร เปนชั้นบรรยากาศที่ติดกับผิวโลกเปนชั้นที่มี ไอน้ํา เมฆ หมอก
ชั้นไอโอโพรสเฟยร จะเปนชั้นบรรยากาศในลําดับที่ 4 นับจากผิวโลก ชั้นนี้มีอากาศเบาบาง
มาก….
13. มาตราวัด 40 องศาเซลเซียส (℃) เทากับ องศาเคลวิน (K)
ตอบ… K = ℃+ 273.15
K = 40 + 273.15
K = 313.15 องศาเคลวิน (K) ….
14. มาตราวัด 25 องศาเซลเซียส (℃) กี่องศาฟาเรนไฮต (℉)
ตอบ… F = 9
(℃ + 32)
5
F = 9 (25 + 32)
5
F = 9 (57)
5
F = 9x57
5
513
F=
5
F = 102.6 ℉….
15. จงอธิบายความสําคัญของกระแสน้ําอุน และกระแสน้ําเย็นที่มีตอฤดูกาล
ตอบ… การแสน้ําอุนและกระแสน้ําเย็น จะนําพาอากาศรอนและอากาศหนาวมา ทําให
เกิดการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ถากระแสน้ําอุนและกระแสน้ําเย็นเกิดความผิดปกติจะสงผลใหอากาศทั่ว
โลกเกิดการผิดเพี้ยนไป….
16. เมฆระดับสูง มีกี่ชนิด อะไรบาง
ตอบ… มี 3 ชนิด ไดแก เซอรโรคิวมูลัส เซอรรัสและเซอรโรสเตรตัส….
17. จงอธิบายลักษณะของการเกิด “ฝน”(Rain) มาพอสังเขป
ตอบ… ฝนเกิดจากละอองน้ําในกอนเมฆซึ่งเย็นจัด เมื่อไอน้ํากลั่นเปนละอองน้ําเกาะกับ
มากขึ้น ทําใหมีน้ําหนักมากขึ้นจนเกาะกันไมไหวจึงตกลงมาเปนน้ําฝนตามแรงดึงดูดของโลก….
18. ลม(Wind) เกิดจากสาเหตุอะไรบาง
ตอบ… ความแตกตางของอุณหภูมิและความแตกตางของหยอมความกดอากาศ….
180
19. ฝนกรด เกิดจากกาซชนิดใดบาง มีแหลงใดอุตสาหกรรมเปนตนเหตุ และความเสียหายจากฝนกรด
เกิดไดอยางไร
ตอบ… เกิดจากกาชซัลเฟอรไดออกไซดและไนโตรเจนออกไซด มาจากอุตสาหกรรมการผลิต
ไฟฟา ยานพาหนะ เมื่อสารเหลานี้กระจายลงสูแหลงน้ําและระเหยเปนไอ เกิดการรวมตัวกันกับกอนเมฆ
เมื่อฝนตกลงมาจึงกลายเปนฝนกรด ซึ่งสรางความเสียหายแกตนไม พืชและสัตว ทําใหไมสามารถ
ดํารงชีวิตอยูไดรวมถึงอาคารสิ่งปลูกสรางดวย….
20. จงอธิบายลักษณะของ “ลมทะเล” (Sea Breeze) และ “ลมบก” (Land Breeze)
ตอบ…ลมทะเลจะพัดเขาชายฝงในเวลากลางวัน เนื่องจากตอนกลางวันพื้นดินจะรอนกวาพื้นน้ํา
ทําใหอากาศบนพื้นดินยกตัวขึ้น อากาศจากทะเลจึงเขาแทนที่ สวนลมบกจะพัดจากฝงเขาสูทะเล ในเวลา
กลางคืน เพราะกลางคืนพื้นน้ําจะมีอุณหภูมิสูงกวาพื้นดิน อากาศจากพื้นดินเขไปแทนที่...
21. ลมภูเขาและลมหุบเขา เปนลมชนิดใด และ เกิดในเวลาใดบาง
ตอบ…ลมภูเขาและลมหุบเขาเปนลมประจําวัน ลมหุบเขาเกิดในเวลากลางวัน จะพัดจากลางขึ้นสู
พื้นบนเขา สวนลมภูเขาจะเกิดในเวลากลางคืน จะพัดจากยอดเขาลงสูหุบเขา….
22. “ลมตะเภา” พัดจากทิศใดไปยังทิศใด จากบริเวณใดเขาสูบริเวณใด และเกิดในชวงเดือนใด
ตอบ…ลมตะเภาเปนลมทองถิ่นในไทย จะพัดจากทิศใตไปสูทิศเหนือ คือ พัดจากอาวไทยเขาสู
ภาคกลางตอนลางเกิดในชวงเดือนกุมภาพันธถึงเดือนเมษายน เรียกวา ลมวาว….
23. ใหยกตัวอยางทรัพยากรธรรมชาติประเภทใชแลวไมหมดสิ้นมา 6 อยาง
ตอบ…แสงแดด กระแสลม ฝุน ดิน น้ํา อากาศ….
24. ใหยกตัวอยางทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สําคัญของโลก และของประเทศไทย มา 5 อยาง
ตอบ…น้ํา ดิน ปาไม สัตวปา แรธาตุ….
25. ใหยกตัวอยางสิง่ แวดลอมทางวัฒนธรรม หรือสิง่ แวดลอมประดิษฐ หรือมนุษยเสริมสรางขึ้น
มา 10 อยาง
ตอบ …เครื่องจักร เครื่องยนต รถยนต พัดลม โทรทัศน วิทยุ ฝนเทียม บานเรือน เขื่อน
โบราณสถาน….
26. ใหอธิบายปญหาของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม มาพอสังเขป
ตอบ…ปญหาของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม เกิดจากการพัฒนาทางดานเทคโนโลยี
อยางรวดเร็ว ซึ่งมีเทคโนโลยีหลายประเภทที่มนุษยนําไปใชในการเสาแสวงหาทรัพยากร ปาไม น้ํา แร
ธาตุ ในดินและแหลงน้ําออกมาใชอยางฟุมเฟอยจนทําใหธรรมชาติเสียสมดุล
181
27. ใหอธิบายการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม มาพอสังเขป
ตอบ…การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมเปนการใชทรัพยากรธรรมชาติอยางชาญ
ฉลาด กลาวคือ ใชในปริมาณนอย แตนํามาใชใหไดประโยชนสูงสุดหรือทําใหคุมคานั้นเอง
28. การพัฒนาคุณภาพประชาชน และ การใชมาตรการทางสังคมและกฎหมาย เพื่อการอนุรักษ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมแตกตางกันอยางไร จงอธิบาย
ตอบ…การพัฒนาคุณภาพประชาชน เปนการสงเสริม สนับสนุนใหคนมีความรูความเขาใจและ
ตระหนักถึงประโยชนของการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม สวนการใชมาตรการทาง
สังคมและกฎหมายเปนการออกระเบียบและกฎหมายใหมีผลบังคับใช เพื่อใหคนปฏิบัติตาม ถาไมปฏิบัติ
ตามใหถือวาผิดกฎหมายและระเบียบที่วางไว….
29. การพัฒนา กับ การอนุรักษ แตกตางกันอยางไร
ตอบ …การพัฒนาคือ การทําใหเจริญขึ้น สวนการอนุรักษ คือ การใชทรัพยากรอยางมี
ประสิทธิภาพ
182

แบบฝกหัดทายบทที่ 6
จงเลือกคําตอบที่ถูกตองที่สุดเพียง 1 ขอ โดยทําเครื่องหมาย × กับขอที่เลือก
1. โครงสรางของโลกแบงเปนกี่ชั้น
ก. 2 ชั้น
ข. 3 ชั้น
ค. 4 ชั้น
ง. 5 ชั้น
2. สวนใดที่อยูชั้นนอกสุดของโลก
ก. เปลือกโลก
ข. แกนโลก
ค. แมนเทิล
ง. ขั้วโลก
3. ปรากฏการณที่แผนเปลือกโลกเกิดการสั่นสะเทือน เนื่องมาจากการเลื่อนตัวของแผนเปลือกโลก
คือปรากฏการณใด
ก. ปฏิกิริยาเรือนกระจก
ข. ภูเขาไฟระเบิด
ค. แผนดินไหว
ง. ดินถลม
4. สาเหตุสําคัญที่ทําใหเกิดสภาพมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครคืออะไร
ก. การจราจรที่ติดขัดมาก
ข. โรงงานอุตสาหกรรมตางๆ
ค. อาคารบานเรือน และตึกสูงๆ
ง. การใชโฟมและถุงพลาสติกใสอาหาร
183
5. เครื่องมือที่ใชวัดความกดอากาศคือ เครื่องมืออะไร
ก. เทอรมอมิเตอร
ข. ไฮโกรมิเตอร
ค. บารอมิเตอร
ง. ศรลม
6. เครื่องมือที่ใชตรวจสอบความเร็วของกระแสลม คือเครื่องมืออะไร
ก. บารอมิเตอร
ข. ไฮโกรมิเตอร
ค. เทอรโมมิเตอร
ง. แอนนิมอมิเตอร
7. เหตุการณใดทําใหเกิดปรากฏการณฟารอง ฟาแลบ และฟาผา
ก. ฝนตก
ข. น้ําทวม
ค. แผนดินไหว
ง. ปรากฏการณเรือนกระจก
8. ปรากฏการณใดที่จําเปนตอการดํารงชีวิตของมนุษยมาก
ก. ฝน
ข. ฟาผา
ค. ฟารอง
ง. ฟาแลบ
9. เราจะชวยรักษาสภาพแวดลอมทางธรรมชาติไดอยางไร
ก. ไมฆาสัตวในวันพระ
ข. ไมใชน้ําในแมน้ําลําคลอง
ค. ไมเลี้ยงสัตวในบริเวณบาน
ง. ไมทิ้งขยะลงในแมน้ําลําคลอง
184
10. ขอใดหมายถึงกระบวนการรีไซเคิล
ก. วัสดุใชแลว --> ขาย
ข. วัสดุใชแลว --> เผาทําลาย
ค. วัสดุใชแลว --> ทําความสะอาด --> ใชใหม
ง. วัสดุใชแลว --> กระบวนการผลิต --> วัสดุใหม

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 6 เรือ่ งระบบนิเวศน


1. ข 2. ก 3. ค 4. ก 5. ค 6. ง 7. ก 8. ก 9. ง 10. ง
185

บทที่ 7
สารและการจําแนกสาร
สาระสําคัญ
สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมี ความแตกตาง และจําแนกธาตุ สารประกอบ สารละลาย
และสารผสม จําแนกสารโดยใชเนื้อสารและสถานะเปนเกณฑได

ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
อธิบายเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสาร การจําแนก สาร กรด เบส ธาตุ
สารประกอบ สารละลายและของผสมและใชสารและผลิตภัณฑใน ชีวิตประจําวันไดอยางถูกตองและ
ปลอดภัยตอชีวิต

ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 สมบัติของสาร และเกณฑในการจําแนกสาร
เรื่องที่ 2 สมบัติของธาตุ สารประกอบ สารละลาย สารผสม
186

เรื่องที่ 1 สมบัติของสาร และเกณฑในการจําแนกสาร


สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสาร เชน เนื้อสาร สี กลิ่น รส การนําไฟฟา การ
ละลายน้าํ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความเปนกรด– เบส เปนตน สารแตละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกตาง
กัน แบงเปน 2 ประเภทคือ
1. สมบัติทางกายภาพของสาร เปนสมบัติของสารที่สามารถสังเกตไดงาย เพื่อบอกลักษณะของ
สารอยางคราว ๆ ไดแก สถานะ ความแข็ง ความออน สี กลิ่น ลักษณะผลึก ความหนาแนนหรือเปน
สมบัติที่อาจตรวจสอบไดโดยทําการทดลองอยางงาย ๆ ไดแก การละลายน้ํา การหาจุดเดือด การหาจุด
หลอมเหลว หรือจุดเยือกแข็ง การนําไฟฟา การหาความถวงจําเพาะ การหาความรอนแฝง
2. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติเฉพาะตัวของสารที่เกี่ยวของกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี เชน การเกิด
สารใหม การสลายตัวใหไดสารใหม การเผาไหม การระเบิด และการเกิดสนิมของโลหะ เปนตน
เกณฑในการจําแนกสาร
ในการศึกษาเรื่องสาร จําเปนตองแบงสารออกเปนหมวดหมู เพื่อใหงายตอการจดจําสาร โดยทั่วไป
นิยมใชสมบัติทางกายภาพดานใดดานหนึ่งของสารเปนเกณฑในการจําแนกสารซึ่งมีหลายเกณฑดวยกัน เชน
1.ใชสถานะเปนเกณฑ จะแบงสารออกไดเปน3 กลุม คือ
1.1 ของแข็ง ( solid ) หมายถึงสารที่มีลักษณะรูปรางไมเปลี่ยนแปลง และมีรูปรางเฉพาะตัว
เนื่องจากอนุภาคในของแข็งจัดเรียงชิดติดกันและอัดแนนอยางมีระเบียบไมมีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ได
นอยมาก ไมสามารถทะลุผานไดและไมสามารถบีบหรือทําใหเล็กลงได เชน ไม หิน เหล็ก ทองคํา ดิน
ทราย พลาสติก กระดาษ เปนตน
1.2 ของเหลว ( liquid ) หมายถึงสารที่มีลักษณะไหลได มีรูปรางตามภาชนะที่บรรจุ
เนื่องจากอนุภาคในของเหลวอยูหางกันมากกวาของแข็ง อนุภาคไมยึดติดกันจึงสามารถเคลื่อนที่ไดใน
ระยะใกล และมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน มีปริมาตรคงที่ สามารถทะลุผานได เชน น้ํา แอลกอฮอล น้ํามัน
พืช น้ํามันเบนซิน เปนตน
1.3 แกส ( gas ) หมายถึงสารที่ลักษณะฟุงกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาคของ
แกสอยูหางกันมาก มีพลังงานในการเคลื่อนที่อยางรวดเร็วไปไดในทุกทิศทางตลอดเวลา จึงมีแรงดึงดูด
ระหวางอนุภาคนอยมาก สามารถทะลุผานไดงาย และบีบอัดใหเล็กลงไดงาย เชน อากาศ แกสออกซิเจน
แกสหุงตม เปนตน
2.ใชความเปนโลหะเปนเกณฑ แบงไดเปน3 กลุม คือ
2.1 โลหะ ( metal)
2.2 อโลหะ ( non-metal )
2.3 กึ่งโลหะ ( metaliod )
187

3.ใชการละลายน้ําเปนเกณฑ แบงได 2 กลุม คือ


3.1 สารที่ละลายน้ํา
3.2 สารที่ไมละลายน้ํา
4.ใชเนื้อสารเปนเกณฑ แบงออกเปน 2 กลุม คือ
4.1 สารเนือ้ เดียว ( homogeneous substance )
4.2 สารเนื้อผสม ( heterogeneous substance )
188

เรื่องที่ 2 สมบัติของธาตุ สารประกอบ สารละลาย สารผสม


ธาตุ (Element) หมายถึง สารบริสุทธิ์ที่มีองคประกอบอยางเดียว ธาตุไมสามารถจะนํามา
แยกสลายใหกลายเปนสารอื่นโดยวิธีการทางเคมี ธาตุมีทั้งสถานะที่เปนของแข็ง เชน ธาตุสังกะสี (Zn)
ตะกั่ว(Pb) เงิน (Ag) และดีบกุ (Sn) , เปนของเหลว เชน ปรอท (Hg) เปนกาซ เชน ไนโตรเจน (N2) ฮีเลียม
(He) ออกซิเจน (O2) ไฮโดรเจน (H2) เปนตน
สารประกอบ (compound) หมายถึง “สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่เกิดจากธาตุตั้งแตสองชนิดขึ้นไป
เปนองคประกอบ” สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของธาตุโดยวิธีการทางเคมี สามารถแยกสลายใหเกิด
เปนสารใหมหรือกลับคืนเปนธาตุเดิมได สารประกอบจะมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกตางจากธาตุเดิม เชน น้ํา
มีสูตรเคมีเปน H2O น้ําเปนสารประกอบที่เกิดจากธาตุไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) แตมีสมบัติ
แตกตางจากไฮโดรเจนและออกซิเจน น้ําตาลทรายประกอบดวยธาตุคารบอน ( C ),ไฮโดรเจน (H) ,และ
ออกซิเจน (O) เปนตน
สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไมบริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต 2 ชนิดขึ้นไปมา
รวมกัน
สารผสม หมายถึง สารที่มีองคประกอบภายในแตกตางกัน หรือสารที่เนื้อไมเหมือนกันทุกสวน
เชน พริกเกลือ คอนกรีต ดินหรืออาจเปนสารตั้งแตสองชนิดขึ้นไปผสมกันอยู โดยที่สารเหลานี้ยังมี
สมบัติเหมือนเดิมและสามารถแยกออกจากกันไดโดยวิธีงายๆ
189

แบบฝกหัดทายบทที่ 7
คําชี้แจง จงเลือกคําตอบที่คิดวาถูกตองที่สุดเพียงคําตอบเดียวในแตละขอ
1) ขอใดไมใชสสาร
ก. เกลือแกงใสลงในอาหาร
ข. เสียงของสุนัขหอน
ค. น้ําแกงกําลังเดือด
ง. สายไฟที่ทําจากพลาสติก
2) ทองเหลืองจัดเปนสารประเภทใด
ก. ธาตุ
ข. สารประกอบ
ค. สารละลาย
ง. สารเนื้อผสม
3) ขอใดตอไปนี้เปนความหมายของสารประกอบ
ก. โมเลกุลของสารประกอบดวยธาตุ 2 อะตอมขึน้ ไป
ข. สารที่ธาตุเปนชนิดเดียวกัน
ค. สารที่เกิดจากธาตุ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน
ง. ผลิตภัณฑที่ไดจากการทําปฏิกิริยากันของสาร 2 ชนิด
4) ขอความตอไปนี้ขอใดถูกตอง
ก. สารละลายทุกชนิดเปนสารบริสุทธิ์
ข. สารบริสุทธิ์บางชนิดเปนสารเนื้อเดียว
ค. สารประกอบทุกชนิดเปนสารเนื้อเดียว
ง. ธาตุบางชนิดเปนสารเนื้อเดียว
5) ถาจัด เหล็ก น้ําเชื่อม และสารละลายกรดซัลฟวริก ใหอยูในกลุมเดียวกัน จะตอง
ใชอะไรเปนเกณฑในการจัด
ก. การนําไฟฟา
ข. การละลาย
ค. การเปนสารเนื้อเดียวกัน
ง. สมบัติเปนกรด-เบส
190

6) วิธีการกลั่นน้ําใหบริสุทธิ์แบบธรรมดาจะไมเหมาะสม เมื่อนํามาใชกับอะไร
ก. น้ําทะเล
ข. น้ําคลอง
ค. น้าํ ผสมแอลกอฮอล
ง. สารละลายโพแทสเซียมคลอไรด
7) การแยกน้าํ มันดิบสวนใหญอาศัยวิธกี ารแบบใด
ก. การสันดาป
ข. การกลั่นลําดับสวน
ค. การตกตะกอนลําดับสวน
ง. การสลายตัวดวยความรอน
8) กรดในขอใดเปนกรดอินทรียท ง้ั หมด
ก. น้ํามะขาม กรดไฮโดรคลอริก
ข. น้าํ มะนาว กรดไนตริก
ค. กรดแอซิติก น้ํามะนาว
ง. น้ํามะขาม กรดซัลฟวริก
9) สารใดตอไปนี้มีสภาพเปนเบส ทั้งหมด
ก. น้ํามะนาว น้ําอัดลม
ข. น้ํามะขาม น้ําเกลือ
ค. สารละลายผงซักฟอก น้ําขี้เถา
ง. สารละลายยาสีฟน น้ํายาลางจาน
10) สบูเกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหวางสิ่งใด
ก. แชมพูกับน้ํามันพืช
ข. กรดกับไขมันสัตว
ค. ไขมันสัตวกับน้ําขี้เถา
ง. ไมมีขอใดถูก
191

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 7 เรื่องสารและการจําแนกสาร
1. ข
2. ก
3. ค
4. ค
5. ก
6. ง
7. ข
8. ก
9. ค
10. ง
192

บทที่ 8
ธาตุและสารประกอบ
สาระสําคัญ
จําแนกธาตุ สารประกอบ โลหะ อโลหะ และโลหะกึ่งโลหะ บอกผลกระทบที่เกิดจาก
ธาตุกัมมันตรังสี อธิบายการเกิดสารประกอบ บอกธาตุและสารประกอบที่ใชในชีวิตประจําวัน

ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
อธิบายเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสาร การจําแนก สาร กรด เบส ธาตุ
สารประกอบ สารละลายและของผสมและใชสารและผลิตภัณฑใน ชีวิตประจําวันไดอยางถูกตองและ
ปลอดภัยตอชีวิต

ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความหมายและสมบัติของธาตุ กัมมันตรังสี
เรื่องที่ 2 สมบัติของโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ
เรื่องที่ 3 ธาตุกัมมันตรังสี
เรื่องที่ 4 สารประกอบ
193

เรื่องที่ 1 ความหมายและสมบัติของธาตุ กัมมันตรังสี

กัมมันตภาพรังสี (Ionizing Radiation)


1. กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) หมายถึง รังสีที่แผออกมาไดเองจากธาตุบางชนิด
2. ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึง ธาตุที่มีในธรรมชาติที่แผรังสีออกมาไดเอง
3. เฮนรี่ เบคเคอเรล นักฟสิกสชาวฝรั่งเศส เปนผูคนพบกัมมันตภาพรังสีโดยบังเอิญ ในขณะที่
ทําการวิเคราะหเกี่ยวกับรังสีเอกซ กัมมันตภาพรังสีมีสมบัติแตกตางจากรังสีเอกซ คือ มีความเขมนอ ย
กวารังสีเอกซ การแผรังสีเกิดขึ้นอยางตอเนื่องตลอดเวลา
4. รังสี เปนปรากฏการณธรรมชาติ บางชนิดเปนคลื่นแมเหล็กไฟฟา เชน รังสีเอกซ รังสีอุล
ตราไวโอเลต รังสีอนิ ฟราเรด บางอยางเปนอนุภาค เชนรังสีที่เกิดจากอนุภาคอิเลคตรอน รังสีที่ไดจาก
ธาตุกัมมันตรังสีมี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีเบตา และรังสีแกมมา
ชนิดของกัมมันตภาพรังสี กัมมันตภาพรังสีมี 3 ชนิด คือ
1) รังสีแอลฟา (alpha, a) คือ นิวเคลียสของอะตอมธาตุฮเี ลียม 24He มีประจุไฟฟา +2 มีมวลมาก
ความเร็วต่ํา อํานาจทะลุทะลวงนอย มีพลังงานสูงมากทําใหเกิดการแตกตัวเปนอิออนไดดีที่สุด
2) รังสีเบตา (Beta, b) มี 2 ชนิด คือ อิเลคตรอน 0e-1 (ประจุลบ) และ โฟซิตรอน 0e+1 (ประจุ
บวก) มีความเร็วสูงมากใกลเคียงกับความเร็วแสง
3) รังสีแกมมา (gamma, g) คือ รังสีที่ไมมีประจุไฟฟา หมายถึง โฟตอนหรือควอนตัมของแสง มี
อํานาจในการทะลุทะลวงไดสูงมาก ไมเบี่ยงเบนในสนามแมเหล็กและสนามไฟฟา เปนคลื่น
แมเหล็กไฟฟาที่มีความถี่สูงกวารังสีเอกซ
คุณสมบัติของกัมมันตภาพรังสี
1. เดินทางเปนเสนตรง
2. บางชนิดเกิดการเลี้ยวเบนเมื่อผานสนามแมเหล็กและสนามไฟฟา เชน a, b
3. มีอํานาจในการทะลุสารตางๆ ไดดี
4. เมื่อผานสารตางๆจะสูญเสียพลังงานไปโดยการทําใหสารนั้นแตกตัวเปนอิออน ซึ่งอิออน
เหลานั้นจะกอใหเกิดปรากฏการณอื่นๆ เชน ปฏิกิริยาเคมี เกิดรอยดําบนฟลมถายรูป
5. การเปลี่ยนสภาพนิวเคลียส
5.1. การแผกัมมันตภาพรังสี เปนผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนิวเคลียส เมื่อนิวเคลียส
ปลดปลอยรังสีออกมานิวเคลียสเองจะเปลี่ยนสภาพเปนนิวเคลียสของธาตุใหม
5.2. การแผรังสีแอลฟา a นิวเคลียสของธาตุเดิมจะเปลี่ยนไปโดยที่มวล และนิวเคลียส
เดิมลดลงเทากับมวลของอนุภาคแอลฟา
5.3. การแผรังสีเบตา b ประจุไฟฟาของนิวเคลียสใหมจะเพิ่มหรือลดลง 1 e หนวย
194

5.4. รังสีแกมมา g เกิดจากการเปลี่ยนระดับพลังงานของนิวเคลียส จะไมมีการ


เปลี่ยนแปลงเลขมวลและเลขอะตอมของนิวเคลียสที่แผรังสีแกมมาออกมา
ชนิดและอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี
1. รังสีแกมมา มีอํานาจการทะลุทะลวงมากและสามารถทําลายเนื้อเยื่อของรางกายได
2. รังสีแอลฟาและรังสีเบตา เปนรังสีที่มีอนุภาคสามารถทําลายเนื้อเยื่อไดดี ถึงแมจะมีอํานาจการ
ทะลุทะลวงเทากับรังสีแกมมา แตถาหากรังสีชนิดนี้ไปฝงบริเวณเนื้อเยื่อของรางกายแลว ก็มีอํานาจการ
ทําลายไมแพรังสีแกมมา
3. รังสีเอ็กซ สามารถปลอยประจุไฟฟาแรงสูงในที่สุญญากาศ อันตรายอาจจะเกิดขึ้น ถาหากรังสี
เอ็กซรั่วไหลออกจากเครื่องมือและออกสูบรรยากาศ สัมผัสกับรังสีเอ็กซมากเกินไป เชน จากหลอด
เอ็กซเรยก็จะเกิดโรคผิวหนังที่มือ มีลักษณะหยาบ ผิวหนังแหงมีลักษณะคลายหูด แหงและเล็บหักงาย ถา
สัมผัสไปนาน ๆ เขา กระดูกก็จะถูกทําลาย
4. รังสีที่สามารถมองเห็นและรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสีเหนือมวง รังสีชนิดนี้จะไมทะลุ
ทะลวงผานชั้นใตผิวหนัง รังสีอัลตราไวโอเลตจะมีอันตรายรุนแรงกวารังสีอินฟราเรด และจะทําให
ผิวหนังไหมเกรียม และทําอันตรายตอเลนซตา คนทั่ว ๆ ไปจะไดรับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย
ฉะนั้นคนที่ทํางานกลางแสงอาทิตยแผดกลาติดตอกันเปนระยะเวลานาน โอกาสที่จะเปนเนื้องอกตาม
บริเวณผิวหนังที่ถูกแสงแดดในที่สุดก็จะกลายเปนเนื้อรายหรือมะเร็งได รังสีอัลตราไวโอเลตจะมีอันตราย
ตอผิวหนังมากขึ้น ถาหากผิวหนังของเราไปสัมผัสกับสารเคมีบางอยาง เชน ครีโซล ซึ่งเปนสารเคมีที่มี
ความไวตอแสงอาทิตยมาก
195

เรื่องที่ 2 สมบัติของโลหะ อโลหะ และโลหะกึ่งอโลหะ

ธาตุโลหะ (metal) จะเปนธาตุที่มีสถานะเปนของแข็ง (ยกเวนปรอท ที่เปนของเหลว ) มีผิวที่มันวาว


นําความรอน และไฟฟาไดดี มีจดุ เดือดและจุดหลอมเหลวสูง (ชวงอุณหภูมิระหวางจุดหลอมเหลวกับจุด
เดือดจะตางกันมาก ) ไดแก โซเดียม (Na), เหล็ก (Fe) , แคลเซียม (Ca) , ปรอท (Hg), อะลูมิเนียม (Al),
แมกนีเซียม (Mg) , สังกะสี (Zn) , ดีบุก (Sn) ฯลฯ
ธาตุอโลหะ มีไดทั้งสามสถานะ สมบัติสวนใหญจะตรงขามกับโลหะ เชน ผิวไมมันวาว ไมนํา
ไฟฟา ไมนําความรอน จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ํา เปนตน ไดแก คารบอน ( C ) , ฟอสฟอรัส (P) ,
กํามะถัน (S) โบรมีน (Br), ออกซิเจน (O2) ไฮโดรเจน (H2), คลอรีน (Cl2) , ฟลูออรีน (F2) เปนตน
1. มีทั้ง 3 สถานะ คือ
ของแข็งเชน คารบอน ( C ) กํามะถัน (S )
ของเหลว เชน โบรมีน ( )
กาช เชน ไฮโดรเจน ( ) ออกซิเจน ( )
2. มีจดุ เดือดและจุดหลอมเหลวต่าํ ยกเวนแกรไฟต
3. เปราะ แตกงาย ตีเปนแผนหรือดึงเปนเสนไมได
4. ไมนาํ ไฟฟาและความรอน ยกเวนแกรไฟต
5. มีความแตกตางของอุณหภูมริ ะหวางจุดเดือด และจุดหลอมเหลวแคบ
6. เคาะไมมีเสียงกังวาน
7. ผิวไมมันวาว
8. มีความหนาแนนต่าํ
9. มีคา EN สูง จึงรับอิเล็กตรอนไดงายเกิดเปนไอออนลบ เชน
ธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) ไดแก โบรอน (B) , ซิลิคอน ( Si) , เปนตน
หมายเหตุ
ก. ธาตุกึ่งโลหะ ถาใชการนําไฟฟาเปนเกณฑ จะหมายถึง ธาตุที่นําไฟฟาไดเล็กนอยที่อุณหภูมิ
ปกติ แตที่อุณหภูมิสูงขึ้นจะนําไฟฟาไดมากขึ้น เชน ธาตุโบรอน , ซิลิคอน ,เจอรมาเนียม ,
อารเซนิก
ข. ธาตุกึ่งโลหะ ถาใชสมบัติของออกไซดเปนเกณฑ จะหมายถึง ธาตุที่เกิดเปนออกไซดแลวทํา
ปฏิกิริยาไดทั้งกรดแกและเบสแก เชน ธาตุเบริลเลียม , อะลูมิเนียม , แกลเลียม , ดีบุก ,
และตะกั่ว
196

เรื่องที่ 3 ธาตุกัมมันตรังสี
ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึง ธาตุที่มีสมบัติในการแผรังสี สามารถแผรังสีและกลายเปนอะตอมของ
ธาตุอื่นไดรังสีที่เปลงออกมาจะมีอยู 3 ชนิด ดังนี้
1. รังสีแอลฟา มีสัญลักษณนิวเคลียรเปน บางครั้งอาจเรียกวา อนุภาคแอลฟา และใช
สัญลักษณเปน รังสีแอลฟาเปนนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม ซึ่งประกอบดวย 2 โปรตอน และ 2
นิวตรอนจึงมีประจุไฟฟาเปน +2 มีมวล 4.00276 amu รังสีแอลฟาอํานาจทะลุทะลวงต่ํา ไมสามารถทะลุ
ผานแผนกระดาษ หรือโลหะบางๆ ได และเนื่องจากมีประจุบวก เมื่ออยูในสนามไฟฟาจึงเบี่ยงเบนไปทาง
ขั้วลบ เมื่อวิ่งผานอากาศอาจจะทําใหอากาศแตกตัวเปนไอออนได
2. รังสีบีตา บางครั้งเรียกวาอนุภาคบีตา ใชสัญลักษณเปน b หรือ รังสีบีตา มีสมบัติเหมือน
อิเล็กตรอน คือ มีประจุไฟฟา -1 มีมวลเทากับ 0.000540 amu เทากับมวลของอิเล็กตรอน รังสีบีตามีอํานาจ
ในการทะลุทะลวงสูงกวารังสีแอลฟาประมาณ 100 เทา มีความเร็วในการเคลื่อนที่ใกลเคียงกับแสง
เนื่องจากมีประจุลบจึงเบี่ยงเบนไปทางขั้วบวก เมื่ออยูในสนามไฟฟา
3. รังสีแกมมา ใชสัญลักษณ g รังสีแกมมาเปนคลื่นแมเหล็กไฟฟาที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก
คือประมาณ 0.001-1.5 pm ไมมีมวลและไมมีประจุ มีอํานาจทะลุทะลวงสูงสุด สามารถทะลุผานสิ่งกีด
ขวางไดเปนอยางดี ดังนั้นวัตถุที่จะกั้นรังสีแกรมมาได จะตองมีความหนาแนนและความหนามากพอที่จะ
กั้นรังสีได เนื่องจากไมมีประจุไฟฟา จึงไมเบี่ยงเบนในสนามไฟฟา
ประโยชนของธาตุกัมมันตรังสี
1. ทําเตาปฏิกรณปรมาณู ทําโรงงานไฟฟาพลังงานปรมาณู และเรือดําน้ําปรมาณู
2. ใชสรางธาตุใหมหลังยูเรเนียม สรางขึ้นโดยยิงนิวเคลียสของธาตุหนักดวยอนุภาคแอลฟา
หรือดวย นิวเคลียสอื่นๆ ที่คอนขางหนัก และมีพลังงานสูง
3. ใชศึกษากลไกของปฏิกิริยาเคมี เชน การเกิดปฏิกิริยาของเอสเทอร
4. ใชในการหาปริมาณวิเคราะห
5. ใชในการหาอายุของซากสิ่งมีชีวิต
6. การรักษาโรค เชน มะเร็ง
โทษของธาตุกัมมันตรังสี
ถารางกายไดรับจะทําใหโมเลกุลภายในเซลลเกิดการเปลี่ยนแปลง ไมสามารถทํางานตามปกติ
ได ถาเปนเซลลที่เกี่ยวของกับการถายทอดลักษณะก็จะเกิดการผาเหลา เมื่อเขาไปในรางกายจะไปสะสม
ในกระดูก แสงอนุภาคแอลฟาที่เปลงออกมาจะไปทําลายเซลลที่ทําหนาที่ผลิตเม็ดเลือดแดง ทําใหเกิด
มะเร็งในเม็ดเลือดได
197

เรื่องที่ 4 สารประกอบ
สารประกอบ (compound) หมายถึง “สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่เกิดจากธาตุตั้งแตสองชนิดขึ้นไป
เปนองคประกอบ” สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของธาตุโดยวิธีการทางเคมี สามารถแยกสลายใหเกิด
เปนสารใหมหรือกลับคืนเปนธาตุเดิมได สารประกอบจะมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกตางจากธาตุเดิม เชน น้ํา
มีสูตรเคมีเปน H2O น้ําเปนสารประกอบที่เกิดจากธาตุไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) แตมีสมบัติ
แตกตางจากไฮโดรเจนและออกซิเจน น้ําตาลทรายประกอบดวยธาตุคารบอน ( C ),ไฮโดรเจน (H) ,และ
ออกซิเจน (O) เปนตน
- การเกิดสารประกอบ
สารประกอบเกิดจากการสรางพันธะเคมีระหวางอะตอมของธาตุตางชนิดกัน โดยการ
แลกเปลี่ยนอนุภาคมูลฐานภายในอะตอม การรวมตัวของธาตุเปนสารประกอบนั้น เปนที่นาสงสัยวา
สารประกอบที่เกิดขึ้นนั้นมีสมบัติที่แตกตางกันไป และแตกตางไปโดยสิ้นเชิงจากสมบัติของธาตุเดิมที่
เปนองคประกอบ เชน
น้ําตาลทราย เปนสารประกอบที่เกิดจากธาตุคารบอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O)
น้ํา เปนสารประกอบที่เกิดจากธาตุไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ดังภาพ

ภาพแสดง การรวมตัวของธาตุเปนสารประกอบ (น้ํา)

- ธาตุและสารในชีวิตประจําวัน
1. สารปรุงแตงอาหาร หมายถึง สารปรุงรสอาหารใชใสในอาหารเพื่อทําใหอาหารมีรสดีขึ้น เชน
น้ําตาล น้ําปลา น้ําสมสายชู น้ํามะนาว ซอสมะเขือเทศ และใหรสชาติตางๆ เชน
- น้ําตาล ใหรสหวาน
- เกลือ น้ําปลา ใหรสเค็ม
- น้ําสมสายชู น้ํามะนาว ซอสมะเขือเทศ ใหรสเปรี้ยว
198

2. สารทําความสะอาด ประเภทของสารทําความสะอาด แบงตามการเกิด ได 2 ประเภท คือ


1) ไดจากการสังเคราะห เชน น้ํายาลางจาน สบูกอน สบูเหลว แชมพูสระผม ผงซักฟอก
สารทําความสะอาดพื้นเปนตน

2) ไดจากธรรมชาติ เชน น้ํามะกรูด มะขามเปยก เกลือ เปนตน

ภาพแสดง สารทําความสะอาดที่ไดจากธรรมชาติ (มะกรูด มะนาว มะขามเปยก เกลือ)

การแบงตามวัตถุประสงคในการใชงานเปนเกณฑ แบงออกไดเปน 4 ประเภท คือ


1. สารประเภททําความสะอาดรางกาย ไดแก สบู แชมพูสระผม เปนตน
2. สารประเภททําความสะอาดเสื้อผา ไดแก สารซักฟอกชนิดตางๆ
3. สารประเภททําความสะอาดภาชนะ ไดแก น้ํายาลางจาน เปนตน
4. สารประเภททําความสะอาดหองน้ํา ไดแก สารทําความสะอาดหองน้ําทั้งชนิดผงและชนิดเหลว
199

แบบฝกหัดทายบทที่ 8
คําชี้แจง : ขอสอบมีทั้งหมด 10 ขอใหเลือกคําตอบที่ถูกตองที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1. อนุภาคที่เล็กที่สุดของสสารเรียกวาอะไร
ก. ธาตุ
ข. อะตอม
ค.โมเลกุล
ง.สารประกอบ
2.ขอใดถูกตอง
ก. ในภาวะปกติ ธาตุมีไดทั้ง 3 สถานะ
ข. ธาตุสามารถแยกเปนองคประกอบยอยไดอีก
ค. ธาตุอาจเปนสารเนื้อเดียวกัน หรือสารเนื้อผสมก็ได
ง. ธาตุสองชนิดขึ้นไปมาผสมกัน ตองไดสารประกอบเสมอ
3. ขอใดเปนธาตุทั้งหมด
ก. เหล็ก อากาศ ทองคํา
ข. ไฮโดรเจน คารบอน นิเกิล
ค. กํามะถัน ดางทับทิม ปรอท
ง. พลวง ปรอท แอลกอฮอล
4. ขอใดตอไปนี้ จัดเปนธาตุทั้งหมด
ก. CO2 NO2 O2 H2
ข. Mg N2 Br2 O2
ค. K Mg Be CO
ง. H2O He Na Cl2
5. ขอใดเปนสัญลักษณของธาตุทองคํา
ก. Au
ข. Ag
ค. Cu
ง. Ga
200

6. ธาตุในขอใด เปนโลหะทั้งหมด
ก. Li Al P
ข. Al B Zi
ค. Zn Ag Na
ง. Na Mg C
จงพิจารณาขอมูลตอไปนี้แลวตอบคําถามขอ 7-8
ธาตุ A มีสมบัตินําไฟฟาได, ผิวเปนมันวาว
ธาตุ B มีสมบัตินําไฟฟาไมได, เปราะ
ธาตุ C มีสมบัตินําไฟฟาได, เปราะ
ธาตุ D มีสมบัตินําไฟฟาไมได, มีสถานะกาซ
7. ธาตุใดเปนโลหะ
ก. A
ข. B
ค. C
ง. D
8. ธาตุใดเปนกึ่งโลหะ
ก. A
ข. B
ค. C
ง. D
9. โมเลกุลของ H3PO4 กับ C2H6O มีจํานวนอะตอมแตกตางกันกี่อะตอม
ก. 1 อะตอม
ข. 2 อะตอม
ค. 3 อะตอม
ง. 4 อะตอม
10. อนุภาคมูลฐานของธาตุ คือขอใด
ก. โปรตอน และอิเล็กตรอน
ข. โปรตอน และนิวตรอน
ค. นิวตรอน และอิเล็กตรอน
ง. โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน
201

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 8 เรื่อง ธาตุและสารประกอบ


1. ข
2. ก
3. ข
4. ค
5. ค
6. ค
7. ก
8. ค
9. ก
10. ง
202

บทที่ 9
สารละลาย
สาระสําคัญ
สมบัติและองคประกอบของสารละลาย ปจจัยที่มีผลตอการละลายของสาร หาความ
เขมขนของสารละลาย เตรียมสารละลายบางชนิด จําแนกกรด เบสและเกลือ ตรวจสอบความเปนกรด
เบส ของสารได การใชกรด เบส บางชนิดในชีวิตได

ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
อธิบายเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสาร การจําแนก สาร กรด เบส ธาตุ
สารประกอบ สารละลายและของผสมและใชสารและผลิตภัณฑใน ชีวิตประจําวันไดอยางถูกตองและ
ปลอดภัยตอชีวิต

ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 สารละลาย
เรื่องที่ 2 กรด – เบส
203

เรื่องที่ 1 สารละลาย
1.1 สมบัติของสารละลาย และองคประกอบของสารละลาย
สมบัติของสารละลาย
เมื่อเติมตัวถูกละลายลงในตัวทําละลายจะไดสารละลายเกิดขึ้น ในนี้มีผลทําใหสมบัติทางกายภาพของ
ตัวทําละลาย บริสุทธ เปลี่ยนแปลงไป ความแตกตางทางกายภาพของสารละลายกับตัวทําละลายบริสุทธิ์
เรียกวา สมบัติคอลลิเกตีฟ สมบัติคอลลิเกตีฟขึ้นอยูกับจํานวนอนุภาค หรือจํานวนโมเลกุลของตัวถูก
ละลายในสารละลาย ไมขึ้นอยูกับชนิดของตัวถูกละลายสารละลายที่มีสมบัติคอลลิเกตีฟตองเปน
สารละลายนอนอิเล็กโตรไลท ซึ่งไมแตกตัวเปนไอออนในสารละลาย และตัวถูกละลายตองเปนสารที่
ระเหยไดยากสมบัติคอลลิเกตีฟของสารละลายเปนสมบัติที่เกี่ยวของกับความดันไอ , จุดเดือด, จุดเยือก
แข็ง และความดันออสโมซิส ดังนี้
1. ความดันไอของสารละลายต่ํากวาความดันไอของตัวทําละลายบริสุทธิ์
2. จุดเดือดของสารละลายสูงกวาจุดเดือดของตัวทําละลายบริสุทธิ์
3. จุดเยือกแข็งของสารละลายต่ํากวาจุดเยือกแข็งของตัวทําละลายบริสุทธิ์
4. แสดงความดันออสโมซิส
องคประกอบของสารละลาย
1. ตัวทําละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทําใหสารตางๆ ละลายได
โดยไมทําปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น
2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทําละลายละลายใหกระจายออกไปทั่วในตัวทํา
ละลายโดยไมทําปฏิกิริยาเคมีตอกัน
1.2 ความสามารถในการละลายของสาร
ความสามารถในการละลายของสารชนิดหนึ่งในสารอีกชนิดหนึ่งนั้นสามารถหาไดจาก
อัตราสวนระหวางตัวถูกละลาย กับตัวทําละลาย หรือ อัตราสวนระหวางตัวถูกละลาย กับสารละลาย ใน
สภาวะที่สารละลายนั้นเปนสารละลายอิ่มตัว ซึ่งสามารถบอกเปนความหนาแนนสูงสุดของสารละลายนั้น
ไดอีกดวยซึ่งขึ้นอยูกับปจจัยหลายประการ เชน แรงระหวางโมเลกุลของตัวทําละลายกับตัวถูกละลาย
อุณหภูมิ ความดัน และปจจัยอื่นๆ
204

1.3 ปจจัยที่มีผลตอการละลายของสาร
ชนิดของสาร อุณหภูมิ ความดัน
ความสามารถในการละลายของสาร(Solubility)ขึ้นอยูกับ
ชนิดของสาร เชน โซเดียมคลอไรด (Nacl) แตบางชนิดเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นก็จะมี
ความสามารถในการละลายลดลง เชน กาซทุกชนิด แคลเซียมโครเมต( )
ความดัน ในกรณีที่กาซละลายในของเหลว ถาความดันสูงกาซจะละลายไดดี เชน กาซ
คารบอนไดออกไซคละลายในน้ําอัดลม ถาเราเพิ่มความดันปริมาณกาซคารบอนไดออกไซคที่ละลายใน
น้ําจะเพิ่มขึ้น แตถาเราเปดฝาขวด(ลดความดัน) จะทําใหกาซคารบอนไดออกไซคหนีจากของเหลว นั่นคือ
กาซละลายไดนอยลง
1.4 ความเขมขนของสารละลาย
ความเขมขนของสารละลายเปนคาที่บอกใหทราบวาในสารละลายหนึ่งๆ มีปริมาณตัวถูกละลาย
จํานวนเทาไหร และการบอกความเขมขนของสารละลาย สามารถบอกไดหลายวิธีดังนี้
1. รอยละ แบงออกไดเปน 3 ลักษณะ คือ
1.1 รอยละโดยมวลตอมวลหรือเรียกสั้น ๆ วารอยละโดยมวล เปนหนวยที่บอกมวลของตัว
ถูกละลายที่มีอยูในสารละลาย 100 หนวยมวลเดียวกัน (กรัม กิโลกรัม ) เชน สารละลาย
ยูเรียเขมขนรอยละ 25 โดยมวล หมายความวา ในสารละลายยูเรีย 100 กรัม มียูเรียละลาย
อยู 25 กรัม หรือในสารละลายยูเรีย 100 กิโลกรัม มียูเรียละลายอยู 25 กิโลกรัม

1.2 รอยละโดยปริมาตรตอปริมาตรหรือเรียกสั้นๆ วา รอยละโดยปริมาตร เปนหนวยที่บอก


ปริมาตรของตัวถูกละลายที่มีอยูในสารละลาย 100 หนวยปริมาตรเดียวกัน (ลูกบาศก
เซนติเมตร (cm3) ลูกบาศกเดซิเมตร (dm3) หรือลิตร) เชน สารละลายเอทานอลในน้ํา
เขมขนรอยละ 20 โดยปริมาตร หมายความวาในสารละลาย 100 cm3 มีเอทานอลละลาย
อยู 20 cm3 เปนตน

1.3 รอยละโดยมวลตอปริมาตร เปนหนวยที่บอกมวลของตัวถูกละลายที่มีอยูในสารละลาย


100 หนวยปริมาตร (หนวยของมวลและของปริมาตรจะตองสอดคลองกัน เชน กรัมตอ
ลูกบาศกเซ็นติเมตร (g/cm3) กิโลกรัมตอลูกบาศกเดซิเมตร (kg/dm3) เปนตน ) เชน
205

สารละลายกลูโคสเขมขนรอยละ 30 โดยมวลตอปริมาตร หมายความวา ในสารละลาย


100 cm3 มีกลูโคสละลายอยู 30 กรัม หรือในสารละลาย 100 dm3 มีกลูโคสละลายอยู 30
กิโลกรัม

2. โมลตอลูกบาศกเดซิเมตร หรือ โมลาริตี (mol/dm3 or Molarity)


เนือ่ งจาก 1 ลูกบาศกเดซิเมตรมีคาเทากับ 1 ลิตร จึงอนุโลมใหใชโมลตอลิตร (mol/l) หรือ
เรียกวา โมลาร (Molar) ใชสัญลักษณ “M” หนวยนีบ้ อกใหทราบวาในสารละลาย 1 dm3 มีตัว
ถูกละลายอยูก ี่โมล เชน สารละลายโซเดียมคลอไรตเขมขน 0.5 mol/dm3 (0.5 M) หมายความ
วาในสารละลาย 1 dm3 มีโซเดียมคลอไรตละลายอยู 0.5 mol
3. โมลตอกิโลกรัมหรือโมแลลิตี (mol/kg molality) หนวยนีอ้ าจเรียกวา โมแลล (Molal)
ใชสัญลักษณ “m” เปนหนวยความเขมขนที่บอกใหทราบวาในตัวทําละลาย 1 กิโลกรัม (kg)
มีตัวถูกละลาย ละลายอยูกี่โมล เชน สารละลายกลูโคสเขมขน 2 mol/kg หรือ 2 m
หมายความวามีกลูโคส 2 mol ละลายในน้าํ 1 kg
หมายเหตุ สารละลายหนึ่งๆ ถาไมระบุชนิดของตัวทําละลาย แสดงวามีน้ําเปนตัวทําละลาย
4. สวนในลานสวน (ppm) เปนหนวยความเขมขนที่บอกใหทรายวาในสารละลาย 1 ลานสวนมี
ตัวถูกละลาย ละลายอยูกี่สวน เชน ในอากาศมีกาซคารบอนมอนออกไซต (CO) 0.1 ppm
หมายความวาในอากาศ 1 ลานสวน มี CO อยู 0.1 สวน (เชน อากาศ 1 ลานลูกบาศก
เซ็นติเมตร มี CO 0.1 ลูกบาศกเซนติเมตร)
5. เศษสวนโมล (mole fraction) เปนหนวยทีแ่ สดงสัดสวนโดยจํานวนโมลของสารทีเ่ ปน
องคประกอบในสารละลายตอจํานวนโมลรวมของสารทุกชนิดในสารละลาย
1.5 การเตรียมสารละลาย
สวนมากในการทดลองทางเคมีมักใชสารละลายที่เปนของเหลว จึงนิยมเตรียมสารใหอยูในรูปของ
สารละลาย
1. เครื่องมือที่ใชในการเตรียมสารละลาย
1.1) เครื่องชั่งสาร นิยมใชชั่งน้ําหนักของสารที่เปนของแข็ง และมีความละเอี ยดถึงทศนิยม
ตําแหนงที่ 4
1.2) อุปกรณวัดปริมาตรไดแก กระบอกตวง ปเปต นิวเรต ขวดรูปชมพู และขวดวัดปริมาตร
206

2. วิธีการเตรียมสารละลาย
2.1) เตรียมจากสารบริสุทธิ์มีขั้นตอนคือ
1. คํานวณหาปริมาณสารที่ใชในการเตรียม
2. ชั่งสารตามจํานวนใสบีกเกอรแลวเติมน้ํากลั่นเล็กนอย คนจนละลาย
3. นําสารละลายในบีกเกอรรินใสขวดวัดปริมาตรตามจํานวนที่ตองการ
4. เทน้ําทีละนอย เพื่อลางสารในบีกเกอรเติมลงในขวดวัดปริมาตรหลาย ๆ ครั้ง
5. ใชหลอดหยดน้ํากลั่นบีบลงในขวดวัดปริมาตรจนไดปริมาตรตรงตามตองการ
6. ปดจุกแลวเขยาใหสารละลายเขากัน
7. เก็บสารละลายในขวดที่เหมาะสมหรือระบุชนิด สูตรสารความเขมขน และวันที่เตรียม
2.2) เตรียมจากสารละลาย มีขั้นตอนดังนี้
1. คํานวณหาปริมาตรสารที่ใชในการเตรียม
2. ตวงสารละลายดวยปเปตตามจํานวน ใสบีกเกอรเติมน้ําเล็กนอยจากนั้นรินใสขวดวั ด
ปริมาตรตามขนาดที่ตองการ
3. เทน้ํากลั่นทีละนอย เพื่อลางสารในบีกเกอรเติมลงในขวดวัดปริมาตรหลาย ๆครั้ง
4. ใชหลอดดูดน้ํากลั่นบีบลงในขวดวัดปริมาตรไดปริมาตรตรงตามตองการ
5. ปดจุกแลวเขยาใหสารละลายเขากัน
6. เก็บสารละลายในขวดที่เหมาะสม พรอมระบุชนิด สูตรสาร ความเขมขนและวันที่เตรียม
207

เรื่องที่ 2 กรด – เบส


2.1 ความหมายและสมบัติของกรด – เบส และเกลือ
กรด (Acid) คือ สารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจน(H) เปนองคประกอบ และอะตอมของ H อะตอม
ใหโลหะ หรือ หมูธาตุที่เทียบเทาโลหะที่ได และเมื่อกรดละลายน้ํา จะแตกตัวใหไฮโดรเจนอิออน
คุณสมบัติของกรด
1. มีธาตุไฮโดรเจนเปนองคประกอบ
2. มีรสเปรี้ยว
3. ทําปฏิกิริยากับโลหะ เชน สังกะสี แมกนีเซียม ทองแดง ดีบุก และอะลูมิเนียม จะไดแกส
ไฮโดรเจน
4. ทําปฏิกิริยากับหินปูนซึ่งเปนสารประกอบแคลเซียมคารบอเนต หินปูนสึกกรอน ไดแกส
คารบอนไดออกไซด ทําใหน้ําปูนใสขุน
5. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ําเงินเปนสีแดง
6. ทําปฏิกิริยากับเบสไดเกลือและน้ํา เชน กรดเกลือทําปฏิกิริยากับโซดาแผดเผาหรือโซเดียมไฮ
ดรอกไซดซึ่งเปนเบส ไดเกลือโซเดียมคลอไรดหรือเกลือแกง
7. สารละลายกรดทุกชนิดนําไฟฟาไดดี เพราะกรดสามารถแตกตัวใหไฮโดรเจนไอออน
8. กรดมีฤทธิ์ในการกัดกรอนสารตางๆไดโดยเฉพาะเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ถากรดถูกผิวหนังจะ
ทําใหผิวหนังไหม ปวดแสบปวดรอน ถากรดถูกเสนใยของเสื้อผา เสนใยจะถูกกัดกรอนให
ไหมได นอกจากนี้กรดยังทําลายเนื้อไม กระดาษ และพลาสติกบางชนิดไดดวย

เบส (Base) คือ สารละลายน้าํ แลวแตกตัวใหไฮดรอกไซดไอออน (OH-) ออกมา เมื่อทําปฏิกิริยา


กับกรดจะไดเกลือกับน้ํา หรือไดเกลืออยางเดียว
คุณสมบัติของเบส
1. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเปนสีน้ําเงิน
2. ทําปฏิกิริยากับแอมโมเนียมไนเตรต จะใหแกสแอมโมเนีย มีกลิ่นฉุน
3. ทําปฏิกิริยากับน้ํามันหรือไขมันไดสบู
4. ทําปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด
5. ลื่นคลายสบู
6. ทําปฏิกิริยากับกรดไดเกลือและน้ํา เชน สารละลายโซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด ) ทํา
ปฏิกิริยากับกรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก ) ไดเกลือโซเดียมคลอไรด หรือเกลือแกงที่ใชปรุง
อาหาร นอกจากนี้โซดาไฟยังสามารถทําปฏิกิริยากับกรดไขมัน ไดเกลือโซเดียมของกรด
ไขมัน หรือที่เรียกวา สบู
208

เกลือ (salt) คุณสมบัติทั่วไปของเกลือ


1. สวนมากมีลักษณะเปนผลึกสีขาว เชน NaCl แตมีหลายชนิดที่มีสี เชน
สีมวง ไดแก ดางทับทิม(โปแตสเซียมเปอรแมงกาเนต) KMnO4
สีน้ําเงิน ไดแก จุนสี(คอปเปอรซลั เฟต) CuSO4.5H2O
สีสม ไดแก โปแตสเซียมโครเมต KCr2O7
สีเขียว ไดแก ไอออน(II)ซัลเฟต FeSO4.7H2O
2. มีหลายรส เชน
รสเค็ม ไดแก เกลือแกง(โซเดียมคลอไรด) NaCl
รสฝาด ไดแก สารสม K2SO4.Al2(SO4)3.24H2O
รสขม ไดแก โปแตสเซียมคลอไรด , แมกนีเซียมซัลเฟต KCl, Mg SO4.7H2O
3. นําไฟฟาได (อิเล็กโตรไลท : electrolyte)
4. เมื่อละลายน้ํา อาจแสดงสมบัติเปนกรด เบส หรือ กลางก็ได
5. ไมกดั กรอนแกวและเซอรามิก

2.2 ความเปนกรด – เบสของสาร


ความเปนกรด-เบส ของสารเมื่อทดสอบกับกระดาษลิตมัส จะพบการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ําเงินเปนสีแดง แตสีแดงไมเปลี่ยน สารมีคุณสมบัติเปนกรด
2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเปนสีน้ําเงิน แตสีน้ําเงินไมเปลี่ยน สารมีคุณสมบัติเปนเบส
3. กระดาษลิตมัสทั้งสองสีไมเปลี่ยนแปลง สารมีคุณสมบัติเปนกลาง
ความเปนกรด-เบส ของสารเมื่อทดสอบกับสารละลายฟนอลฟทาลีน จะพบการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. สารละลายฟนอลฟทาลีนเปลี่ยนสีเปนสีชมพูมวง สารนั้นมีสมบัติเปนเบส
2. สารละลายฟนอลฟทาลีนใสไมมีสี สารนั้นอาจเปนกรดหรือเปนกลางก็ได
ความเปนกรด-เบส ของสารเมือ่ ทดสอบกับยูนเิ วอรซลั อินดิเคเตอร จะพบการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. คา pH มีคานอยกวา 7 สารละลายเปนกรด
2. คา pH มีคามากกวา 7 สารละลายเปนเบส
3. คา pH มีคาเทากับ 7 สารละลายเปนกลาง
209

2.3 กรด – เบส ของสารในชีวิตประจําวัน


สารละลายกรด – เบสในชีวิตประจําวันมีอยูมากมาย ซึ่งสามารถจําแนกไดดังนี้
1. สารประเภททําความสะอาด
- บางชนิดก็มีสมบัติเปนเบส เชน สบู ผงซักฟอก น้ํายาลางจาน
- บางชนิดมีสมบัติเปนกรด เชน น้ํายาลาง หองน้ํา และเครื่องสุขภัณฑ
2. สารที่ใชทางการเกษตร ไดแก ปุย
- บางชนิดก็มีสมบัติเปนเบส เชน ยูเรีย
- บางชนิดมีสมบัติเปนกรด เชน แอมโมเนียมคลอไรค
- บางชนิดมีสมบัติเปนกลาง เชน โพแทสเซียมไนเตรต
3. สารปรุงแตงอาหาร
- บางชนิดก็มีสมบัติเปนเบส เชน น้ําปูนใส น้ําขี้เถา
- บางชนิดมีสมบัติเปนกรด เชน น้ําสมสายชู น้ํามะนาว น้ํามะขาม
- บางชนิดมีสมบัติเปนกลาง เชน ผงชูรส เกลือแกง น้ําตาลทราย ฯลฯ
4. ยารักษาโรค
- บางชนิดก็มีสมบัติเปนเบส เชน ยาแอสไพริน วิตามินซี
- บางชนิดมีสมบัติเปนกรด เชน ยาลดกรด ยาธาตุ
5. เครื่องสําอาง
- บางชนิดมีสมบัติเปนกลาง เชน น้ําหอม สเปรยฉีดผม ยารักษาสิวฝา
210

2.4 กรณีศึกษากรด – เบส ที่มีผลตอคุณสมบัติของดิน

ความเปนกรด-เบสของดิน
ความเปนกรด-เบสของดิน หมายถึง ปริมาณของไฮโดรเจนที่มีอยูในดิน ความเปนกรด -
เบส กําหนดคาเปนตัวเลขตั้งแต 1-14 เรียกคาตัวเลขนี้วาคา pH โดยจัดวา
สารละลายใดที่มีคา pH นอยกวา 7 สารละลายนั้นมีสมบัติเปนกรด
สารละลายใดที่มีคา pH มากกวา 7 สารละลายนั้นมีสมบัติเปนเบส
สารละลายใดที่มีคา pH เทากับ 7 สารละลายนั้นมีสมบัติเปนกลาง
วิธีทดสอบความเปนกรด-เบสมีวิธีทดสอบไดดังนี้
1. ใชกระดาษลิตมัสสีน้ําเงินหรือสีแดง โดยนํากระดาษลิตมัสทดสอบกับสารที่สงสัย ถา
เปนกรดจะเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ําเงินเปนสีแดง และถาเปนเบสจะเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสี
แดงเปนสีน้ําเงิน
2. ใชกระดาษยูนเิ วอรแซลอินดิเคเตอร โดยนํากระดาษยูนเิ วแซลอินดิเคเตอรทดสอบกับ
สารแลวนําไปเทียบกับแผนสีที่ขางกลอง
3. ใชน้ํายาตรวจสอบความเปนกรด -เบส เชน สารละลายบรอมไทมอลบลูจะใหสีฟา
ออนในสารละลายที่มี pH มากกวา 7 และใหสีเหลืองในสารละลายที่มี pH นอยกวา 7

รูปแสดงกระดาษลิตมัสและยูนเิ วอรซลั อินดิเคเตอร


211

รูปแสดงการเปลี่ยนสีของกระดาษยูนิเวอรซัลอินดิเคเตอร

ปจจัยหรือสาเหตุที่ทําใหดินเปนกรด ไดแก การเนาเปอยของสารอินทรียในดิน การใส


ปุยเคมีบางชนิด สารที่ปลอยจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท
ปจจัยที่ทําใหดินเปนเบส ไดแก การใสปูนขาว (แคลเซียมไฮดรอกไซด)
ความเปนกรด-เบสของดินนั้นมีผลตอการเจริญเติบโตของพืช พืชแตละชนิดเจริญเติบโตไดดีใน
ดินที่มีคา pH ที่เหมาะแกพืชนั้นๆ ถาสภาพ pH ไมเหมาะสมทําใหพืชบางชนิดไมสามารถดูดซึม
แรธาตุที่ตองการที่มีใน ดินไปใชประโยชนได
การแกไขปรับปรุงดิน
ดินเปนกรด แกไขไดโดยการเติมปูนขาว หรือดินมารล
ดินเปนเบสแกไขไดโดยการเติมแอมโมเนียมซัลเฟต หรือผงกํามะถัน
212

ความรูเพิ่มเติม
อินดิเคเตอรจากธรรมชาติ คือ สารธรรมชาติที่สกัดไดจากสวนตางๆ ของพืช สามารถใชเพื่ อ
ตรวจสอบความเปนกรด-เบสของสารละลายได

ตารางแสดงชวงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอรจากธรรมชาติบางชนิด
ชนิดของพืช ชวง pH ที่เปลี่ยนสี สีที่มีการเปลี่ยนแปลง
อัญชัน 1-3 แดง-มวง
กุหลาบ 3-4 ชมพู-ไมมีสี
กระเจี๊ยบ 6-7 แดง- เขียว
ชงโค 6-7 ชมพู-เขียว
บานไมรโู รย 8-9 แดง-มวง
ดาวเรือง 9-10 ไมมีสี-เหลือง
ผกากรอง 10-11 ไมมีสี-เหลือง

การใชอินดิเคเตอรในการทดสอบหาคา pH ของสารละลายนั้นจะทราบคา pH โดยประมาณ


เทานั้น ถาตองการทราบคา pH ที่แทจริงจะตองใชเครื่องมือวัด pH ที่เรียกวา "พีเอชมิเตอร (pH meter)"
ซึ่งเปนเครื่องมือที่สามารถตรวจวัดคา pH ของสารละลายไดเปนเวลานานติดตอกัน ทําใหตรวจสอบการ
เปลี่ยนแปลงความเปนกรด -เบสของสารละลายได และคา pH ที่อานไดจะมีความละเอียดมากกวาการใช
อินดิเคเตอร
213

แบบฝกหัดทายบทที่ 9
คําชี้แจง : ขอสอบมีทั้งหมด 10 ขอใหเลือกคําตอบที่ถูกตองที่สุดเพียงคําตอบเดียว
1.ขอใดกลาวถึงสารละลายไดถูกตอง
ก.สารที่มีเนื้อสารเหมือนกันตลอดทุกสวน
ข.สารที่มีเนื้อสารมองดูใสไมมีสีกลิ่นและรส
ค.สารที่ไมบริสุทธิ์เกิดจากสารบริสุทธิ์ตั้งแต 2 ชนิดผสมกัน
ง.สารที่มีจุดหลอดเหลวต่ํากวา 100 องศาเซลเซียส
2.ขอใดผิดเกี่ยวกับตัวทําละลาย
ก.สารที่มีปริมาณมากกวา
ข.สารที่มีสถานะเดียวกับสาระละลาย
ค.สารที่มีสถานะเปนของเหลวเทานั้น
ง.สารที่มีสถานะเปนของแข็ง ของเหลว และกาซ
3.ตัวถูกละลายคืออะไร
ก.สารที่มีปริมาณนอยกวา
ข.สารที่มีสถานะเดียวกับสารละลาย
ค.สารที่มีสถานะเปนของเหลวเทานั้น
ง.สารที่มีความหนาแนนนอยกวาสารละลาย
4.สาร A สามารถละลายในน้ําได 15 กรัม แตเมื่อนําไปตม สาร A ละลายไดเพิ่มขึ้นเปน 25 กรัม
และก็ไมสามารถละลายไดอีก เราเรียกสารอะไร
ก.สารละลายอิ่มตัว
ข.สารละลายเขมขน
ค.สารละลายเจือจาง
ง.สารละลายไมอิ่มตัว
5.กระบวนการใดเรียกวา การตกผลึก
ก.การแยกตัวของตัวถูกละลายออกจากสารละลายอิ่มตัว
ข.การแยกตัวของตัวถูกละลายออกจากสารละลายเขมขน
ค.การแยกตัวของตัวทําละลายออกจากสารละลายอิ่มตัว
ง.การแยกตัวของตัวทําละลายออกจากสารละลายเขมขน
214

6. ความแตกตางของสารกับสารบริสุทธิ์คือขอใด
ก.สารละลายมีปริมาตรมากกวาสารบริสุทธิ์
ข.สารละลายมีจุดเดือดไมคงที่ สารบริสุทธิ์มีจุดเดือดคงที่
ค.สารละลายมีจุดเดือดคงที่ สารบริสุทธิ์มีจุดเดือดไมคงที่
ง.สารละลายมีจุดเยือกแข็งคงที่ สารบริสุทธิ์มีจุดเยือกแข็งไมคงที่
7. ขอใดตองใชตัวทําละลายตางจากพวก
ก.น้ําตาล
ข.เชลแล็ก
ค.เกลือแกง
ง.สีผสมอาหาร
8. ขอใดไมสงผลตอความสามารถในการละลายของสาร
ก.ความดัน
ข.อุณหภูมิ
ค.ความหนาแนน
ง.ชนิดของตัวทําละลายและตัวถูกละลาย
9. แอลกอฮอล 80% โดยปริมาตร มีความหมายตรงกับขอใด
ก.สารละลายนั้น 100 cm3 มีเอทิลแอลกอฮอลอยู 80 cm3
ข.สารละลายนั้น 100 กรัม มีเอทิลแอลกอฮอลอยู 80 กรัม
ค.สารละลายนั้น 100 cm3 มีเอทิลแอลกอฮอลอยู 80 กรัม
ง.สารละลายนั้น 100 กรัมมีเอทิลแอลกอฮอลอยู 80 cm3
10. ขอใดจัดเปนการพิสูจนวาสารx กับสาร y มีความสามารถในการละลายในของเหลวz ไดดีกวากัน
ก.ใชของเหลว Z ปริมาณเทากันที่อุณหภูมิเดียวกัน
ข. ใชของเหลว Z ปริมาณเทากันที่อุณหภูมิตางกัน
ค.ใชสาร x และ y ปริมาณเทากันที่อุณหภูมิตางกัน
ง.ใชสาร x และ y ปริมาณเทากันที่อุณหภูมิเดียวกัน
215

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 9 เรื่องสารละลาย
1. ก
2. ค
3. ก
4. ก
5. ค
6. ข
7. ข
8. ก
9. ก
10. ง
216

บทที่ 10
สารและผลิตภัณฑในชีวิต
สาระสําคัญ
ความหมายของ สาร ผลิตภัณฑ คุณสมบัติของสารประเภทตาง ๆ ไดแก สารอาหาร สารปรุงแตง
สารปนเปอน สารเจือปน สารพิษ สารสังเคราะห ประโยชนของสารและผลิตภัณฑในชีวิตประจําวัน
การเลือกใชสารและผลิตภัณฑอยางปลอดภัยผลกระทบและโทษที่เกิดจากการใชสารและผลิตภัณฑตอ
ชีวติ และสิง่ แวดลอม
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. อธิบายสารและสารสังเคราะหได
2. อธิบายการใชสารและผลิตภัณฑของสารบางชนิดในชีวิตประจําวันและเลือกใชได
3. อธิบายผลกระทบที่เกิดจากการใชสาร และผลิตภัณฑที่มีตอชีวิตและสิ่งแวดลอม
ขอบขายเนื้อหา
1. สารและคุณสมบัติของสาร
2. สารสังเคราะห
3. สารและผลิตภัณฑในชีวิต
4. การเลือกใชสารและผลิตภัณฑในชีวิต
5. ผลกระทบที่เกิดจากการใชสารและผลิตภัณฑตอชีวิตและสิ่งแวดลอม
217

เรื่องที่ 1 สารและคุณสมบัติของสาร
สาระสําคัญ
ความหมายของสาร คุณสมบัติของสารประเภทตาง ๆ ไดแก สารอาหาร สารปรุงแตง สาร
ปนเปอน สารเจือปน สารพิษ สารสังเคราะห คุณสมบัติและประโยชนของสาร ผลิตภัณฑใน
ชีวิตประจําวัน การเลือกใชสารอยางปลอดภัยในชีวิต และผลกระทบที่เกิดจากการใชสารตอชีวิตและ
สิง่ แวดลอม
ความหมายของสารและผลิตภัณฑ
สาร หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน มีมวลหรือน้ําหนัก ตองการที่อยูและสามารถสัมผัสได เชน ดิน หิน
อากาศ พืช และสัตว ทุกสิ่งทุกอยางมที่อยูรอบๆ ตัวเรา จัดเปนสารทั้งสิ้น สารแตละชนิดมีสมบัติ
แตกตางกัน แตสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะได
การที่สารมีสมบัติแตกตางกัน และมีสมบัติแตกตางกัน และมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง
สถานะไดแตกตางกันนี้ ถือวาเปนลักษณะเฉพาะของสารแตละชนิด ดังนั้นจึงมีการใชเกณฑการ
พิจารณาและอธิบายสมบัติของสารมาจัดจําแนกสาร และมีการทดสอบสมบัติของสารเพื่อพิสูจนวาสาร
นั้นเปนสารชนิดใด เพราะหากอาศัยแตการสังเกตหรือมองเห็นเพียงอยางเดียวในบางครั้งก็ไมสามารถจะ
ตัดสินไดแนนอน
ผลิตภัณฑ ( Product) หมายถึง สิ่งที่เสนอขายใหกับตลาด สามารถตอบสนองความตองการ
ของลูกคากลุมเปาหมายได ผลิตภัณฑที่เสนอขายอาจจะสัมผัสไดหรือสัมผัสไมได ทั้งนี้รวมถึง สินคา
บริการ สถานที่ องคกร บุคคล หรือความคิด

รูปภาพ ผลิตภัณฑที่ใชในชีวิตประจําวัน

1.1 สารอาหาร (nutrients) หรือโภชนาสาร


มีผูใหความหมายไวดังนี้ วีนัส และ ถนอมขวัญ ( 2541) อธิบายวา สารอาหาร หมายถึง
สารประกอบเคมี หรือแรธาตุที่มีอยูในอาหารชนิดตางๆ ที่รางกายตองการ สิริพันธุ (2542) อธิบายวา
สารอาหาร หมายถึง สวนประกอบที่เปนสารเคมีที่มีอยูในอาหาร เมื่อบริโภคเขาไปแลวรางกายสามารถ
นําไปใชประโยชนได โดยคารโบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เปนสารอาหารที่รางกายตองการปริมาณมาก
218

และเปนสารอาหารที่ใหพลังงานแกรางกาย เรียก “macronutrients ” สวนวิตามิน และเกลือแรเปน


สารอาหารที่รางกายตองการนอย และไมใหพลังงาน เรียก “micronutrients” เสาวนีย (2544) อธิบายวา
สารอาหาร หมายถึง สารเคมีที่มีอยูในอาหาร มี 6 ชนิด คือ
1. คารโบไฮเดรต 2. โปรตีน
3. ไขมัน 4. วิตามิน
5. เกลือแร 6. น้ํา
สารอาหารแตละพวกทําหนาที่อยางใดอยางหนึ่ง หรือหลายอยาง วินัย และคณะ ( 2545) อธิบาย
วา สารอาหาร หมายถึง สารเคมีที่พบในอาหาร เปนสารที่มีความสําคัญตอกระบวนการของชีวิต
สรุป สารอาหาร หรือโภชนสาร หมายถึง สารเคมีที่มีอยูในอาหาร มี 6 ชนิด เปนสารที่มีความสําคัญตอ
กระบวนการทํางานของรางกาย โดยแบงสารอาหารที่รางกายตองการเปน สารอาหารที่ตองการใน
ปริมาณมาก หรือสารอาหารที่ใหพลังงาน หรือศัพทสมัยใหมเรียก สารอาหารมหภาคไดแก
คารโบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ซึ่งทําหนาที่ใหพลังงาน และเสริมสรางเนื้อเยื่อในรางกาย สารอาหาร
ที่ตองการในปริมาณนอย หรือ สารอาหารที่ไมใหพลังงาน หรือสารอาหารจุลภาค ไดแก วิตามิน และ
เกลือแร สวนน้ําเปนสารอาหารที่ไมใหพลังงานแตชวยสนับสนุนการทํางานของรางกายซึ่งจะขาดไมได
ที่ผูเขียนสรุปวาน้ํา คือ สารอาหารตัวหนึ่งทั้งนี้ เพราะน้ํา เปนสารเคมีชนิดหนึ่งที่อยูในอาหารทุกชนิดมาก
นอยขึ้นอยูกับชนิดของอาหาร
การแบงประเภทของสารอาหาร แบงได (วีนสั และถนอมขวัญ , 2541) ดังนี้
1.สารอาหารที่รางกายตองการในปริมาณมาก ไดแก สารอาหาร คารโบไฮเดรต ไขมัน และ
โปรตีน ซึ่งทําหนาที่ใหพลังงาน และเสริมสรางเนื้อเยื่อ
2.สารอาหารที่รางกายตองการในปริมาณนอยไดแก วิตามิน และเกลือแร รางกายตองการสาร
เหลานี้เพื่อกําหนด และควบคุมกระบวนการทํางานของรางกายเพื่อดํารงไวซึ่งสุขภาพที่ดี
3.น้ําเปนสวนประกอบที่สําคัญในการสนับสนุนการทํางานของสารอาหารทั้งหมดใน
กระบวนการทํางานของสิ่งมีชีวิต

1.2 สารปรุงแตง
สารปรุงแตงอาหาร หมายถึง สารปรุงรสอาหารใชใสในอาหารเพื่อทําใหอาหารมีรสดีขึ้น เชน
น้ําตาล น้ําปลา น้ําสมสายชู น้ํามะนาว ซอสมะเขือเทศ และใหรสชาติตางๆ ดังรูป

รูปภาพ สารปรุงแตงรสอาหาร
219

กิจกรรมการเรียนรูที่ 1

วิธีการการตรวจสอบ ผงชูรส
เนื่องจากผงชูรสเปนวัตถุที่สังเคราะหขึ้นมา การตรวจสอบผงชูรสอาจทําไดโดยการสังเกต
ลักษณะภายนอก แตในบางครั้งก็เปนการยากในการสังเกต วิธีที่ดีที่สุดตองตรวจสอบโดยวิธีทางเคมีซึ่งมี
วิธีการดังนี้
1. การเผา โดยการนําผงชูรส ประมาณ 1 ชอนชา ใสลงชอนโลหะเผาบนเปลวไฟใหไหมแลว
สังเกต ถาเปนผงชูรสแทจะไหมเปนสีดํา แตถาเปนผงชูรสที่มีสารอื่นเจือปนจะเปนสีขาว
2. ตรวจสอบดวยกระดาษขมิน้ ซึ่งเตรียมโดยการเอาผงขมิ้นประมาณ 1 ชอนชา ละลายใน
แอลกอฮอลหรือน้าํ 10 ชอนชา จะไดสารสีเหลือง จากนั้นจุมกระดาษสีขาวหรือผาขาวลงในสารสาร
สีเหลือง นําไปผึ่งใหแหงจะไดกระดาษขมิ้นหรือผาขมิ้น การตรวจสอบทําไดโดยการละลายผงชูรสใน
น้ําสะอาด จากนั้นจุมกระดาษขมิ้นหรือผาขมิ้นลงไปพอเปยก สังเกตการณเปลี่ยนสี ถาเปนผงชูรสที่มี
สารอื่นเจือปนจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเปนสีแดง แตถาไมเปลี่ยนสีเปนผงชูรสแท
3. ตรวจดวยน้ํายาปูนขาวผสมน้ําสมสายชู การเตรียมน้ํายาปูนขาว ทําไดโดยเอาปูนขาวครึ่งชอน
ชา ละลาย ในน้ําสมสายชู 1 ชอนชา คนใหละลายตั้งทิ้งไวใหตกตะกอน จะไดสวนที่เปนน้ําใส คือ
น้ํายาปูนขาว การตรวจสอบทําไดโดยการเอาผงชูรสมาประมาณ 1 ชอนชา ละลายในน้าํ เทน้ํายาปูน
ขาวลงไป 1 ชอนชา สังเกตการณเปลี่ยนแปลง ถาเปนผงชูรสแทจะไมมีตะกอนสีขาว แตถาเปนผงชูรส
ที่มีสารอื่นเจือปนจะมีตะกอนสีขาว

กิจกรรมการเรียนรูที่ 2

การตรวจสอบน้ําปลา มีวิธีการทดสอบดังนี้
1.หยดน้ําปลาลงไปบนถานที่กําลังติดไฟ ไดกลิ่นปลาไหมจะเปนน้ําปลาแท ถาไมมีกลิ่นเปน
น้ําปลาปลอม
2.นํามาตั้งทิ้งไวแลวดูการตกตะกอน ถาเปนน้ําปลาแทจะไมตกตะกอน แตถาเปนน้ําปลาปลอม
จะตกตะกอน
3.การกรองโดยการนําน้ําปลามากรองดวยกระดาษกรองถากระดาษกรองไมเปลี่ยนสีเปนน้ําปลาแท
แตถากระดาษกรองเปลี่ยนสี เปนน้ําปลาปลอม
220

กิจกรรมการเรียนรูที่ 3

การตรวจสอบน้ําสมสายชู มีวิธี ดังนี้


1.การดมกลิ่นถาเปนน้ําสมสายชูแทจะมีกลิ่นหอมที่เกิดจากการหมักธัญพืชหรือผลไม ถาเปน
น้ําสมสายชูปลอม จะมีกลิ่นฉุนแสบจมูก
2. ทดสอบกับผักใบบาง เชน ใบผักชี นําลงไปแชลงในน้ําสมสายชูประมาณ 30-45 นาที ถา
พบวาใบผักชีไมเหี่ยวเปนน้ําสมสายชูแท แตถาใบผักชีเหี่ยวเปนน้ําสมสายชูปลอม
3.ทดสอบใชเจ็นเทียนไวโอเลต ( Gentian Violet ) หรือที่เรารูจักกันชื่อ ยามะมวง นําไปผสม
กับน้ําใหเจือจาง จากนั้นนําไปหยดลงในน้ําสมสายชูแท แตถาเปลี่ยนเปนสีเขียวหรือสีน้ําเงินออน ๆ
เปนน้ําสมสายชูปลอม

1.3 สารปนเปอน
สารปนเปอน (Contaminants) หมายถึง สารที่ปนเปอนกับอาหารโดยไมตั้งใจ แตเปนผลซึ่งเกิด
จากกระบวนการผลิต กรรมวิธีการผลิต โรงงานหรือสถานที่ผลิต การดูแลรักษา สิ่งปนเปอนอาหารไมวา
จะมีอยูตามธรรมชาติหรือมนุษยสรางขึ้นนี้ หากจําแนกตามคุณสมบัติของสาร จะแบงได ๓ ประเภท คือ
- สิ่งมีชีวิต (บัคเตรี เชือ้ รา เปนตน)
- สารเคมี (สารกําจัดแมลง โลหะ สารพิษที่จุลินทรียสรางขึ้น เปนตน)
- สารกัมมันตรังสี

1.4 สารเจือปน
สารเจือปน หมายถึง สารที่เติมลงไปเพื่อเพิ่มคุณลักษณะดาน สี กลิ่น รส ของอาหาร ใหมี
ลักษณะใกลเคียงธรรมชาติ อาจมีคุณคาทางโภชนาการ หรือไมก็ได เปนสารที่ตั้งใจเติมลงในอาหารไดแก
สารปรุงแตงสี สารปรุงแตงกลิ่น เชน สียอมผา

รูปภาพสารเจือปนในอาหาร
สาเหตุ ที่ตองใสวัตถุเจือปนอาหารลงไปก็เพื่อวัตถุประสงคทางดานเทคโนโลยีการผลิต การเตรียม
วัตถุดิบ และ การแปรรูป การบรรจุ การขนสง การเก็บรักษาอาหาร และ มีผลหรืออาจมีผลทางตรงหรือ
ทางออม ทําใหสารนั้นหรือผลิตผลพลอยไดของสารนั้นกลายเปนสวนประกอบของอาหารนั้น หรือ
221

มีผลตอคุณลักษณะของอาหารนั้น แตไมรวมถึง สารปนเปอน หรือ สารที่เติมลงไปเพื่อปรับปรุงคุณคา


ทางอาหารของอาหาร โดยที่การใชวัตถุเจือปนอาหารตองมิไดมีเจตนาหลอกลวงผูบริโภค หรือปดบังการ
ใชวัตถุดิบที่มีคุณภาพไมดี หรือการผลิตที่มีการสุขาภิบาลไมถูกตองและตองไมทําใหคุณคาทางอาหาร
ลดลงดวย

1.5 สารพิษ
สารพิษ หมายถึง สารที่เปนอันตรายตอสิ่งมีชีวิต และทรัพยสินสารพิษซึ่งมีหรือเกิดขึ้นใน
สิ่งแวดลอมรอบตัวเราที่เขามาปะปนหรือปนเปอนอาหาร แลวกอใหเกิดอาการพิษแกผูบริโภคนั้น จําแนก
ตามแหลงที่มาไดเปน 3 ประเภทคือ
1. สารพิษที่มีอยูตามธรรมชาติ ในสวนประกอบของอาหารซึ่งจะพบอยูในพืชและ
สัตว สิ่งเหลานี้จะมีโทษตอมนุษยก็ดวย ความไมรู หรือรูเทาไมถึงการณ ไปเก็บเอาอาหารที่เปนพิษมา
บริโภค เชน พิษจากเห็ดบางชนิด ลูกเนียง แมงดาทะเลเปนพิษ สารพิษในหัวมันสําปะหลังดิบ เปนตน

รูปภาพ แสดงตัวอยางสารพิษที่มีอยูในธรรมชาติ

2. สารพิษที่เกิดจากการปนเปอนในอาหารตามธรรมชาติ สารพิษที่มาจากจุลินทรียซึ่ง
มี 2 ประเภทใหญ คือ อันตรายที่เกิดจากตัวจุลินทรียและอันตรายที่เกิดจากสารพิษที่จุลินทรียสรางขึ้น
จุลินทรียที่ทําใหเกิดพิษเนื่องจากตัวของมันเอง มีอยู 5 พวก ไดแก
1. แบคทีเรีย เชน Salmonella Shigella Vibrio
2. รา เชน Aspergillus Penicillin fusarum Rhizopus
3. โปรโตซัว เชน Entamoeba histolytica
4. พาราสิต เชน Trichinosis Tapeworms
5. ไวรัส เชน Poliovirus Hepatitis Virus

รูปภาพ แสดงตัวอยางจุลินทรีย
222

จุลินทรียที่ทําใหเกิดพิษภัยอันเนื่องมาจากสารพิษที่สรางขึ้นในขณะที่จุลินทรียนั้นเจริญเติบโต
แลวปลอยทิง้ ไวในอาหาร มีทั้งสารพิษของแบคทีเรีย และของเชือ้ รา สารพิษที่สําคัญที่พบ ไดแกสารพิษ
ที่เกิดจาก Clostridium botulinum เปนจุลินทรียที่เปนสาเหตุใหเกิดพิษในอาหารกระปองและสารพิษจาก
เชือ้ รา ที่เรียกวา Alflatoxin มักจะพบในพืชตะกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วลิสงและผลิตภัณฑจากถั่ว
ลิสง ไดแก ถั่วกระจก ขนมตุบตั๊บ น้ํามัน ถั่วลิสง เปนตน
3. พิษที่เกิดจากสารเคมี ซึ่งปะปนมากับอาหาร ไดแก สารหนู และโซเดียมฟลูออไรด
ที่มีอยูในยาฆาแมลง หรือยาฆาวัชพืชตางๆ สําหรับยาฆาแมลงซึ่งใชมากเกินไปหรือเก็บพืชผลเร็วกวา
กําหนดเมื่อกินผักผลไมเขาไปจะทําใหรางกายสะสมพิษ และเปนสาเหตุทาํ ใหเกิดมะเร็งได สําหรับพิษ
จากสารปลอมปนและสารปรุงแตงอาหารไดกลาวแลว

รูปภาพ ตัวอยางอาหารที่กอใหเกิดสารพิษสะสมในรางกาย

ตารางแสดงตัวอยางสารพิษที่ปนมากับอาหารและอาการของผูที่ไดรับสารพิษ

ชนิดของโลหะ อาการ
ตะกั่ว ( Lead) - ระยะแรกรางกายออนเพลีย เบือ่ อาหาร ปวดศีรษะ โลหิตจาง
- ระยะที่สอง เปนอัมพาตตามแขนขา สมองไมปกติ ชักกระตุก
เพอคลั่ง หมดสติ
แคดเมียม ( Cadmium ) - ทองเดิน ไอหอบ เหนื่อยงาย โลหิตจาง กระดูกผุ ตับพิการ ไตพิการ
ปรอท ( Mercury ) - ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ มือสั่น นอนไมหลับ มีอาการทางประสาท
ระบบทางเดินอาหารและการทํางานของไตผิดปกติ
โครเมียม ( Chromium ) - เวียนศีรษะ เกิดแผลที่จมูก ปอด ทางเดินอาหาร เบือ่ อาหาร
คลื่นไส อาเจียน หมดสติ มีอันตรายตอตับ และไต อาจเสียชีวิตได
เนื่องจากปสสาวะเปนพิษ
สารหนู ( Arsenic ) - มีอาการทางผิวหนัง ตาอักเสบ เสนประสาทอักเสบ ปวดศีรษะ
วิงเวียน มีอาการทางสมอง ตับและไตพิการ
พลวง ( Antimony ) - อาเจียนบอย ๆ ถายอุจจาระเปนน้ํา มีพิษตอตับอยางรุนแรง
223

ชนิดของโลหะ อาการ
เซเรเนียม ( Selemium) - มีอาการปวดศีรษะบริเวณหนาผาก ตกใจงาย ลิ้นเปนฝา
ผิวหนังอักเสบ ออนเพลีย ตับถูกทําลาย

เรื่องที่ 2 สารสังเคราะห
สารสังเคราะห (synthetic substance)
สารที่ไดจากปฏิกิริยาเคมีนํามาใชประโยชนเพื่อทดแทนสารจากธรรมชาติซึ่งอาจมีปริมาณไม
เพียงพอ หรือคุณภาพไมเหมาะสม

รูปภาพ สารสังเคราะหที่ไดจากธรรมชาติ

สารสังเคราะห คือ สารที่มนุษยศึกษาคนควาวิจัยจากธรรมชาติจนคิดวารู และเขาใจในสิ่งนั้น


อยางถองแทสามารถสังเคราะหสรางสารนั้นขึ้นมาทดแทน การสรางของธรรมชาติ ตลอดจนมีการ
ดัดแปลงตอเติมโครงสรางบางประการใหเปนตามที่ตนตองการ โดยอาจไมคํานึงถึงผลกระทบตอสมดุล
ของธรรมชาติภายใตกฎเกณฑการเกิดขึ้น ตั้งอยูและดับไปโดยสัมพันธกับมิติของชีวิตจิตวิญญาณของมิติ
ของกาลเวลาใน ธรรมชาติ ซึ่งกอใหเกิดการรบกวนกฎเกณฑการควบคุมสมดุลของธรรมชาติโดยปกติ
เชน การสังเคราะหโพลิเมอรหลายชนิดที่ทนทานตอการยอยสลายในสภาวะแวดลอมปกติ ของธรรมชาติ
ในปจจุบัน การตัดตอพันธุกรรมพืช และสัตวใหผิดเพี้ยนจากวิวัฒนาการปจจุบันโดยไมคํานึงถึงความ
เหมาะสม สมดุลในกาลปจจุบัน โดยมุงสนองตอตัณหากิเลสความเกงกลาของตนเองเปนสาเหตุใหเกิด
การสูญพันธุ ของพืช และสัตวหลายชนิดจากการแทรกแซงวิถีปกติของธรรมชาติ เชน การตัดตอเอาสาร
พันธุกรรมของแบคทีเรียไปใสไวในพืชตระกูลฝาย แลวจดสิทธิบัตรเปนพันธุพืชของตนเองเรียกวาฝาย
BTในขณะเดียวกันเพื่อเปนการปกปองการละเมิดสิทธิบัตรของตน หรืออาจเจตนาทําลายฝายธรรมชาติ
ใหสูญพันธุหวังการผูกขาด การปลูกฝายจึงตัดตอยีนสใหฝาย BT เปนหมันโดยไมไดมีการปองกันการ
ปนเปอนยีนส BT จากการผสมเกสรของแมลงใหเปนหมันในรุนตอมา หรือยีนส BTของแบคทีเรียอาจ
กระตุนใหฝาย BT สรางสารพิษทําลายแมลงในธรรมชาติ จนกระทบหวงโซความสมดุลของแมลงใน
ธรรมชาติจนเกิดการสูญพันธุของพืชตระกูล ฝายและแมลงในธรรมชาติได
224

จะเห็นไดวาการเกิดขึ้นของสารสังเคราะห หรือการสังเคราะหสรางสรรพสิ่งที่ผิดเพี้ยนจาก
ธรรมชาติโ ดยยังขาดความตระหนัก ในความละเอียดออน ซับซอน ลึกซึ้งในสมดุลของธรรมชาติอาจ
กอใหเกิดหายนะภัยแกธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมเกินกวาจะแกไขเยียวยาไดในปจจุบันมนุษยพบวาอัตรา
การสูญ เผาพันธุของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติเพิ่มขึ้น ในอัตราที่นาตกใจความหลากหลายทางชีวภาพที่เสื่อม
ทรุดหดหายไป ยอมหลีก ไมพนที่จะกระทบตอการดํารงอยูของเผาพันธุมนุษยเชนเดียวกับการเกิดโรคอุบัติ
ใหมทั้งหลาย เชน ไขหวัดซาร เอดส ไขหวัดนก และอื่นๆ และโรคความเสื่อมจากการเสียสมดุลของ
รางกายจากผลกระทบของสารเคมีสังเคราะห ซึ่งกระทบตอสิ่งแวดลอมกระทบตอสมดุลของธาตุใน
รางกาย เชน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือด โรคไต และ ตับวายจากการทํางานหนัก ในการขจัดสาร
แปลกปลอมตางๆที่รบกวนสมดุลของรางกายโดยเฉพาะโรคภูมิแพ เหลานี้ลวนเกิดจากผลกรรมที่มนุษย
แทรกแทรงสมดุลของธรรมชาติใหเสียไปทั้งสิ้น

สารสังเคราะหที่มีสมบัติคลายฮอรโมน
สารสังเคราะหที่มีคุณสมบัติเหมือนออกซิน สังเคราะหเพื่อใชประโยชนทางการเกษตร สําหรับ
ใชเรงรากของกิ่งตอนหรือกิ่งปกชํา ชวยในการเปลี่ยนเพศดอกบางชนิด ชวยใหผลติดมากขึ้น ปองกันการ
รวงของผล สารสังเคราะหเหลานี้ ไดแก
- IBA (indolebutylic acid )
- NAA (naphtaleneacetic acid )
- 2, 4 - D (2-4 dichlorophenoxyacetic acid)
สารสังเคราะห 2, 4-D นําไปใชในวงการทหารในสงครามเวียดนาม ใชโปรยใสตนไมในปาเพื่อให
ใบรวง จะไดเห็นภูมิประเทศ ในปาไดชัดขึ้น สารสังเคราะหที่มีคุณสมบัติเหมือนไซโทไคนิน นิยม
นํามาใชกระตุนการเจริญของตาพืช ชวยรักษาความสด ของไมตัดดอกใหอยูไดนาน ไดแก
- BA (6-benzylamino purine)
- PBA (tetrahydropyranyl benzyladenine)
สารสังเคราะหที่มีคุณสมบัติเหมือนเอทิลีน ไดแก
- สารเอทิฟอน (ethephon, 2-chloroethyl phosphonic acid ) นํามาใชเพิ่มผลผลิตของน้ํายางพารา
- สาร Tria ใชเรงการเจริญเติบโตของพืช ประเภทขาว สม ยา
225

กิจกรรมการเรียนรูที่ 1

ปฏิกิริยาสะปอนนิฟเคชัน (การเตรียมสบู)
จุดประสงคการเรียนรู
1. ทําการทดลองเตรียมสบูได
2. อธิบายและเขียนสมการแสดงปฏิกิริยาน้ํามันพืชกับสารละลาย NaOH ได
อุปกรณ
1. ถวยกระเบื้องขนาดเสนผาศูนยกลาง 8 cm 1 ใบ
2. ขวดรูปกรวยขนาด 100 cm3 1 ใบ
3
3. บิกเกอรขนาด 250 cm 1 ใบ
4. กระบอกตวงขนาด 10 cm3 1 ใบ
5. แทงแกวคน 1 อัน
6. จุกยางปดขวดรูปกรวยขนาด 100 cm3 1 อัน
7. ตะเกียงแอลกอฮอลพรอมที่กั้นลม 1 ชุด
สารเคมี
1. น้ํามันพืช 3 cm3 (น้ํามันมะกอกหรือน้ํามันมะพราว)
2. สารละลาย NaOH 2.5 mod/dm3 จํานวน 5 cm3
3. น้ํา 20 cm3

ลําดับขั้นตอนการปฏิบัติ
1. ผสมน้ํามันมะกอก 3 cm3 กับสารละลาย NaOH 2.5 mod/dm3 จํานวน 5 cm3 ในถวยกระเบื้อง
ใหความรอนและคนตลอดเวลาจนสารในถวยกระเบื้องเกือบแหงตั้งทิ้งไวใหเย็น สังเกตการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นและบันทึกผล
2. แบงสารจากขอ 1 จํานวนเล็กนอยใสลงในขวดรูปกรวยแลวเติมน้าํ ลงไป 5 cm3 ปดจุกแลวเขยา
บันทึกผล
ผลการทดลอง
สารที่ไดจะมีสีเหลืองออนปนน้ําตาล มีกลิ่นคลายสบู เมื่อเติมน้ําลงไปแลวเขยา พบวา เกิดฟอง
สรุปและอภิปรายผล
สารที่เกิดจากปฏิกิริยาระหวางน้ํามันมะกอกกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด (NaOH) คือ สบู
226

เรื่องที่ 3 สารและผลิตภัณฑที่ใชในชีวิต
สารเคมีในชีวิตประจําวัน
ในชีวิตประจําวัน เราจะตองเกี่ยวของกับสารหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะแตกตางกัน สารที่ใชใน
ชีวิตประจําวันจะมีสารเคมีเปนองคประกอบ ซึ่งสามารถจําแนกเปนสารสังเคราะหและสารธรรมชาติ เชน
สารปรุงรสอาหาร สารแตงสีอาหาร สารทําความสะอาด สารกําจัดแมลงและสารกําจัดศัตรูพืช เปนตน ใน
การจําแนกสารเคมีเปนพวกๆ นั้นเราใชวัตถุประสงคในการใชเปนเกณฑการจําแนก ดังรายละเอียด
ตอไปนี้
ผลิตภัณฑทําความสะอาดคอมพิวเตอร (Computer Cleaners)
ที่มีจําหนายเปนสวนผสมของอะลิฟาติกไฮโดรคารบอนหลาย ๆ ชนิด ( aliphatic hydrocarbon)35
% อะลิฟาติกไฮโดรคารบอนนี้เปนสวนประกอบหลักของผลิตภัณฑที่ใชในชีวิตประจําวันหลายชนิด เชน
น้ํามันสน แกสโซลีน สีน้ํามันเปนตน คุณสมบัติของอะลิฟาติกไฮโดรคารบอนคือไวไฟได อะลิฟาติก
ไฮโดรคารบอนสวนใหญ หากสัมผัสซ้ํา ๆ ทําใหผิวหนังแหง เนื่องจากมันสามารถละลายไขมันที่ผิวหนัง
ไดดี ซึ่งอาจทําใหผิวหนังเกิดอาการแพเชนเปนผื่นแดง คัน เปนตุมพอง เปนแผลระบม ฟกช้ํา ตกสะเก็ด
และอะลิฟาติกไฮโดรคารบอนบางชนิด เชน n-hexane ยังเปนสารพิษที่ยับยั้งหรือทําลายเนื้อเยื่อของระบบ
ประสาท หากสูดไอระเหยเขาไปเปนเวลานานอยางตอเนือ่ ง การไดรับสารทั้งแบบระยะสั้นในปริมาณ
มากหรือตอเนื่องในระยะยาวทําใหมีปญหาดานสุขภาพ เชน การกดระบบประสาทสวนกลาง หัวใจ
ลมเหลว หมดสติ โคมา และอาจถึงตายได ดังนั้นในการใชสารพิษชนิดนี้เปนประจําควรมีเครื่องปองกัน
การหายใจ และใชในที่มีอากาศถายเทไดดี หลีกเลี่ยงการใชในที่ปด เชน หองปรับอากาศ หรือในมุมอับ
อากาศ และควรสวมถุงมือดวย
ผลิตภัณฑเพิ่มความชุมชื้นของผิวหนัง (Moisturizer)
ปกติผิวหนังจะมีการปกปองการสูญเสียน้ําตามธรรมชาติอยูแลว โดยมีผิวหนัง ขี้ไคล ซึ่งเปน
แผนใสคลุมผิวอยู นอกจากนั้นยังมีน้ํามันหลอเลี้ยงผิวหนังซึ่งชวยเก็บความชุมชื้นของผิวไวอีกชั้นหนึ่ง
แตบางคนหรือบางสถานการณ เชน โรคหนังแหงจากพันธุกรรม การชําระลางเกินความจําเปน หรือใน
ภาวะอากาศแหงในฤดูหนาว หรือการทํางานในหองปรับอากาศ น้ําจะระเหยจากผิวหนังเพิ่มมากขึ้น
ผลิตภัณฑเพิ่มเพื่อความชุมชื้นจึงเปนที่นิยม จนกลายเปนความจําเปนขึ้นมา ลักษณะของผลิตภัณฑมีทั้ง
ชนิดครีม โลชันขุน โลชั่นใส เจล สเปรย หลักการทํางานของมันก็คือ เพื่อใหผิวหนังมีความชุมชื้นเพิ่มขึ้น
องคประกอบมีทั้งสารชวยเพิ่มน้ําในชั้นผิวหนัง เชน กรดอะมิโน โซเดียมพีซีเอ (Sodium Pyrrolidone
Carboxylic Acid) โพลิเพปไทด ยูเรีย แลคเตต เปนตน สวนสารปองกันการระเหยของน้ําจากชั้นผิวก็เปน
พวกน้ํามันและขี้ผึ้ง ไขสัตว ซิลิโคน บางผลิตภัณฑจะเติมสารดูดความชื้นจากบรรยากาศเพื่อปองกันการ
ระเหยของน้ําจากเนื้อครีม เชน กลีเซอรีน น้ําผึ้ง กรดแลคติก
227

เอ เอช เอ (AHA) กับความงามบนใบหนา


AHA ยอมาจาก Alpha Hydroxyl Acids มีสรรพคุณที่กลาวขวัญวาเปนสารชวยลดริ้วรอยจุดดาง
ดําบนผิวหนังได จึงใชผสมกับครีมและโลชั่น เครื่องสําอางที่มี AHA เปนสวนประกอบถูกจัดในกลุม
เดียวกับสารเคมีสําหรับลอกผิว ซึ่งใชงานกันในหมูแพทยผิวหนังและศัลยกรรมพลาสติก AHA ที่ใชกัน
มากคือ กรดไกลโคลิก และกรดแลกติก แตยังมีหลายชนิดที่ใชเปนสวนประกอบ โดยปกติที่วางตลาดมี
ความเขมขนรอยละ 10 หรือนอยกวานั้น แตในกรณีของผูเชี่ยวชาญดานผิวหนังสามารถใชไดถึงระดับ
ความเขมขนรอยละ 20 -30 หรือสูงกวานั้น AHA จัดอยูในผลิตภัณฑที่ไมใชเครื่องสําอางทั่วไป แตอยูใน
หมวดของเวชสําอาง ( Cosmeceutical) ตามองคการอาหารและยาแหงสหรัฐอเมริกา (FDA) ซึ่งใหความ
สนใจเปนพิเศษ เนื่องจาก AHA ไมเหมือนเครื่องสําอางทั่วไป แตมันซึมผานเขาไปในชั้นผิวหนังได และ
หากเขมขนพอก็จะลอกผิว ซึ่งเกิดผลในทางลบคือทําใหเซลผิวเสื่อมเร็วขึ้น และยังทําใหผิวหนังชั้นนอก
บางลงดวย ผูใชผลิตภัณฑที่มี AHA จํานวนหนึ่ง ใชแลวพบวาผิวของตนไวตอแสงอาทิตยมากขึ้น หรือ
แพแดดนัน่ เอง การทดลองใชกรดไกลโคลิกเขมขนและตอเนือ่ ง จะพบอาการผิวแดงและทนตอแสงยูวไี ด
นอยลง องคการที่ดูแลความปลอดภัยของผูบริโภค ไดสรุปผลในการใช AHA อยางปลอดภัย ใหมีความ
เขมขนไมเกินรอยละ 10 และเมื่อผสมพรอมใชจะตองมีคาความเปนกรด-ดางไมต่ํากวา 3.5 นอกจากนัน้
ผลิตภัณฑนั้นยังตองมีสวนผสมที่ชวยลดระดับความไวตอแสงแดด หรือมีสารกันแดด หรือมีขอ ความ
แนะนําใหใชควบคูกับผลิตภัณฑสํา หรับกันแดด ถาอยากทราบวาผลิตภัณฑที่ใชอยูมี AHA หรือไมลอง
อานฉลากดู และมองหาชื่อสารเคมีตอไปนี้
- กรดไกลโคลิก (Glycolic acid)
- กรดแลคติก (Lactic acid)
- กรดไกลโคลิกและแอมโมเนียมไกลโคเลต (Glycolic acid and Ammonium glycolate)
- กรดอัลฟาไฮดรอกซีคาโพรลิก (Alphahydroxy caprylic acid)
- กรดผลไมรวม (Mixed fruit acid)
- กรดผลไมสามอยาง (Triple fruit acid)
- กรดผลไมชนิดไตรอัลฟาไฮดรอกซี (Tri-alpha hydroxyl fruit acid)
- สารสกัดจากน้ําตาลออย (Sugar cane extract)
228

ผลิตภัณฑกําจัดสิ่งอุดตัน

การเกิดสิ่งอุดตันในทอโดยเฉพาะทอน้ําทิ้งจากอางลางชาม สวนหนึง่ เกิดจากไขมัน จากเศษ


อาหารแข็งตัวเกาะอยูในทอ สารเคมีที่ใชเปนผลิตภัณฑกําจัดสิ่งอุดตันสวนใหญคือโซเดียมไฮดรอกไซด
หรือ โซดาไฟ (sodium hydroxide) ซึ่งมีทั้งชนิดผงหรือเม็ด และชนิดน้ํา ความเขมขนของทั้ง 2 ชนิดจะ
แตกตางกัน ชนิดผงจะมีความเขมขนของโซเดียมไฮดรอกไซด ประมาณ 50% โดยน้ําหนัก ในขณะที่ชนิด
น้ําจะมีความเขมขนประมาณ 25% โดยน้าํ หนักโซเดียมไฮดรอกไซด จะทําปฏิกิริยากับสิ่งอุดตันประเภท
ไขมันกลายเปนสารที่ละลายน้ําได
โซเดียมไฮดรอกไซด มีความเปนพิษมาก เพราะฤทธิ์กัดกรอน การสัมผัสทางผิวหนังทําใหเกิด
แผลไหม การสัมผัสถูกตามีฤทธิ์กัดกรอน ทําใหเกิดการระคายเคืองอยางรุนแรง เปนแผลแสบไหม อาจทํา
ใหมองไมเห็นและถึงขัน้ ตาบอดได การหายใจเอาฝุนหรือละอองของสารอาจทําใหเกิดการระคายเคือง
เล็กนอยของทางเดินหายใจสวนบนไปจนถึงระคายเคืองอยางรุนแรง ทั้งนี้ขึ้นอยูกับปริมาณของการไดรับ
สาร อาการอาจมีการจาม เจ็บคอ มีน้ํามูก เกิดการหดเกร็งของกลามเนื้อ อักเสบ การบวมน้ําที่ถุงลม และ
เกิดอาการบวมน้ําที่ปอด การกลืนหรือกินทําใหเกิดการไหมอยางรุนแรงของปาก คอ และชองทอง ทําให
เนื้อเยื่อเปนแผลรุนแรงและอาจตายได อาการยังรวมถึงเลือดออกในชองทอง อาเจียน ทองเสีย ความดัน
เลือดต่ํา การปฐมพยาบาลควรลางบริเวณที่ไดรับสารดวยน้ําอยางนอย 15 นาที โซเดียมไฮดรอกไซดเมือ่
ละลายในน้าํ จะใหความรอนสูงจนอาจเดือดกระเด็นเปนอันตรายได และยังทําใหเกิดละอองที่มีกลิ่นฉุน
และระคายเคืองมาก หามผสมหรือใช รวมกับผลิตภัณฑที่มีสมบัติเปนกรด ดังนั้นหามผสมน้ํายาลางหองน้ํา
ซึ่งมีฤทธิ์เปนกรด เพราะโซเดียมไฮดรอกไซดมีฤทธิ์เปนเบสซึ่ง เกิดปฏิกิริยารุนแรงและทําใหสารหมด
ประสิทธิภาพ ความเปนดางของโซเดียมไฮดรอกไซด มีผล ตอพีเอชหรือความเปนกรดดางของ
สิ่งแวดลอมจน ทําใหสิ่งมีชีวิตน้ําตายได หามทิ้งลงสูแหลงน้ํา น้ําเสีย หรือดิน ทางที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงใช
ผลิตภัณฑกําจัดสิ่งอุดตันประเภทนี้ หากจําเปนควรใชโซเดียมไฮดรอกไซด อยางระมัดระวัง ไมสัมผัส
สารโดยตรง ควรใสถุงมือ และใชสารใหหมดภายในครั้งเดียว การเก็บรักษาควรเก็บใหมิดชิด และปดฝา
ใหสนิทเนื่องจากโซเดียมไฮดรอกไซดดูดความชื้นและคารบอนไดออกไซดจากอากาศไดดีมาก ทําให
ประสิทธิภาพลดลง
229

ผลิตภัณฑไลยุง (Insect Repellents)


ผลิตภัณฑไลยุง (Insect Repellents) ที่ใชกันมีสารเคมีที่เปนสารออกฤทธิ์คอื DEET, ไดเมทิล พทา
เลต (dimethyl phthalate) และ เอทิลบิวทิลอเซติลามิโน โพรพิโนเอต (ethyl butylacetylamino propionate)
ผลิตภัณฑไลยุงมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสเปรย ลูกกลิ้ง (roll on) โลชั่นทากันยุง และแปงทาตัว DEET หรือ
diethyltoluamide เปนสารออกฤทธิ์ที่นิยมใชมาก เปนพิษแบบเฉียบพลันไมมากนัก ถาสัมผัสทางผิวหนัง
กอใหเกิดการระคายเคืองตอผิวหนังและตา หากสูดดมขาไป ทําใหเกิดการระคายเคืองที่แผนเยื่อเมือกและ
ทางเดินหายใจสวนบน และการไดรบั สารเปนเวลานานอาจกอใหเกิดอาการแพได ในการทดลองกับหนู
การไดรับสารแบบเรื้อรังจะกอใหเกิดการกลายพันธุและมีผลตอทารกในครรภ ความเขมขนของ DEET
ในผลิตภัณฑไลยุงอยูระหวาง 5-25% โดยน้ําหนัก ปริมาณ % ที่มากขึ้นไมไดหมายถึงประสิทธิภาพใน
การไลยุงจะมากขึ้น แตหมายถึงระยะเวลาในการปองกันยุงนานขึ้น เชนที่ 6% จะปองกันยุงได 2 ชั่วโมง
ในขณะที่ 20% จะปองกันยุงได 4 ชั่วโมง dimethyl phthalate มีความเปนพิษปานกลาง อาจทําใหเกิดการ
ระคายเคืองเชนเดียวกับ DEET แลวยังกดระบบประสาทสวนกลาง รบกวนระบบทางเดินอาหาร ทํา
อันตรายตอไต มีความเสี่ยงทําใหเกิดการพิการแตกําเนิดของทารกในครรภมีความเปนพิษเล็กนอยตอ
สิ่งมีชีวิตในน้ํา โดยเฉพาะกับปลา Ethyl butylacetylamino propionate มีความเปนพิษปานกลาง กอใหเกิด
การระคายเคืองตา นอกจากใชไลยุงแลว Ethyl butylacetylamino propionate มีประสิทธิภาพในการไลมด
แมลงวัน แมงมุม เห็บ หมัดอีกดวย ผลิตภัณฑไลยุงสวนใหญมีผลกอการกลายพันธุหากใชอยางตอเนื่อง
ดังนั้นควรใชเมื่อจําเปนเทานั้นและควรใชอยางระมัดระวัง...
คําแนะนําในการใช
- ไมควรใชทาผิวหนังที่มีเสื้อผาปกปดอยู
- อยาทาบริเวณที่มีบาดแผลหรือรอยผื่นคัน
- อยาทาบริเวณดวงตา ปาก ถาใชแบบสเปรยใหฉีดสเปรยลงบนมือกอนแลวจึงทาที่ใบหนา อยา
ฉีดสเปรยเขาที่ใบหนาโดยตรง
- หามเด็กใชผลิตภัณฑดวยตัวเอง ควรทาบนมือกอนแลวจึงทาใหเด็ก อยาฉีดหรือเทลงบนมือ
ของเด็ก
- ใชในปริมาณที่เพียงพอสําหรับปกปองผิว ไมจําเปนตองทาใหหนาเพราะไมชวยเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการไลยุง
- ถาใชแลวเกิดผื่นหรือเกิดผลขางเคียง ควรลางออกดวยน้ําสบู แลวไปพบแพทยพรอมกับนํา
ผลิตภัณฑไปดวย
- งดใชในสตรีมีครรภ
230

ลูกเหม็น (Mothball)
ลูกเหม็นที่เราคุนเคยมีลักษณะเปนกอนกลมสีขาวขนาดเสนผาศูนยกลางประมาณ 1 เซนติเมตร
เอาไวใสในตูเสื้อผาหรือตูเก็บรองเทาเพื่อระงับกลิ่นและปองกันแมลงกัดแทะ เพราะลูกเหม็นใหไอที่มี
กลิ่นออกมาจากสารเคมีที่เปนของแข็ง เรียกวาระเหิดออกมา (ถาไอออกมาจากของเหลว เรียกวา ระเหย)
สารเคมีที่มีกลิ่นและระเหิดไดนํามาใชทําลูกเหม็น ไดแก แนพธาลีน ( Naphthalene) เปนผลึกสีขาว แข็ง
และสามารถระเหิดเปนไอไดงาย หากกินหรือกลืนเขาไปทําใหมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส อาเจียน มึนงง
ระคายเคืองตอกระเพาะอาหารและลําไส การไดรับเขาไปในปริมาณที่มากอาจทําลายเซลเม็ดเลือดแดง
การหายใจเขาไปจะทําใหเจ็บคอ ไอ ปวดศีรษะ และคลื่นไส การสัมผัสทางผิวหนังทําใหเกิดการระคาย
เคืองปวดแสบปวดรอน สารนี้สามารถดูดซึมผานผิวหนังและทําใหเปนอันตรายได การสัมผัสถูกตาทําให
ปวดตา และสายตาพรามัว ยังมีอีกสารหนึ่งที่นํามาใชแทนแนพธาลีน คือ p-Dichlorobenzene (1,4-
Dichlorobenzene หรือ p-DCB) มีสมบัติสามารถระเหิดกลายเปนไอ อยางชาๆ และไอของมันจะทําหนาที่
ดับกลิ่น หรือฆาแมลงพิษของ p-Dichlorobenzene คลายๆแนพธาลีน มีความเปนพิษมาก
(www.wikipedia.org) สารเคมีที่ใชทําลูกเหม็นอีกชนิดหนึ่งคือ แคมเพอร หรือ การบรู ( Camphor; 1,7,7-
trimethylnorcamphor) มีความเปนพิษมาก ถาหายใจเขาไปกอใหเกิดการระคายเคืองตอทางเดินหายใจ ไอ
หายใจถี่ มีผลตอระบบประสาทเปนไดตั้งแตมึนงงจนถึงชัก ขึ้นอยูกับปริมาณและระยะเวลาที่ไดรับสาร
การกลืนหรือกินเขาไปกอใหเกิดการระคายเคืองตอทางเดินอาหาร เกิดอาการคลื่นไสอาเจียน ทองเสีย อาจ
ทําใหปวดศีรษะ เปนลมการสัมผัสทางผิวหนังกอใหเกิดอาการเปนผื่นแดงคัน และเจ็บ สามารถดูดซึมผาน
ผิวหนังไดอยางรวดเร็ว ถาไดรบั สารเปนเวลานา นอาจทําลายตับและไต คนที่มีอาการผิดปกติทางระบบ
ประสาทหรือเปนโรคเกี่ยวกับตับอยูแลวจะไดรับผลกระทบตอสารนี้ไดงาย
อยางไรก็ตาม การใชลูกเหม็นตามปกติไมไดใหอันตรายเชนวานี้ เพราะมันคอยๆระเหิดใหไอ
ออกมา เราไมไดไปสูดดมแรงๆ หรือสัมผัสนานๆ สิ่งที่ควรระมัดระวังคือเก็บใหพนมือเด็ก ที่อาจเลน
หรือหยิบไปใสปากได...

น้ํายาขัดพื้นและเฟอรนิเจอร
น้ํายาขัดพื้นและเฟอรนิเจอร มักมีสวนผสมของสารเคมีหลัก ๆ อยู 2-3 ชนิดคือ ไดเอธิลีน
ไกลคอล ( Diethylene Glycol) น้าํ มันปโตรเลียม และไนโตรเบนซีน ทัง้ หมดเปนสารไวไฟและให
ไอระเหย แตสว นใหญคอื 2 ชนิดแรก สวนไนโตรเบนซีนมีนอ ย ไดเอธิลีนไกลคอลและนํ้ามันปโตรเลียม
ทําหนาที่เปนตัวทําละลายความเปนพิษของทั้งสองตัวนี้ไมรุนแรงและไมมีพิษเฉียบพลัน นอกจากกลืน
กินเขาไป อันตรายจึงอยูที่ความไวไฟและไอระเหยที่อาจสูดดมเขาไประยะยาว แตเมื่อมันมาอยูในบานเรา
ก็ตองระวังเด็กกินเขาไปเทานั้น ถากลืนกินเขาไปจะมีอาการคลื่นไส อาเจียน ทองรวง ตองใหผูปวยดื่มน้ํา
มาก ๆ ลวงคอใหอาเจียนแลวสงแพทย สําหรับไนโตรเบนซีนที่อาจเปนสวนผสมอยูนั้น ดวยตัวของมัน
เองจะมีพิษมากกวา เพราะเมื่อสูดดมหรือซึมซับเขาผิวหนังเปนเวลานาน จะเปนพิษตอเม็ดเลือด อาการ
231

รุนแรงอาจถึงขั้นปวดศีรษะ ชีพจรเตน ไมเปนจังหวะ ความดันเลือดลดลง หายใจลําบาก เกิดอาการตัวเขียว


และระบบสวนกลางผิดปกติ เมื่อเกิดไฟไหม ใหใชโฟมสําหรับดับไฟ หรือผงเคมี หรือ
คารบอนไดออกไซดดับไฟได แตถาน้ํายาปริมาณไมมากก็ใชน้ําได การถูกผิวหนังไมมีอันตรายมากนัก
เพียงแตลางออกทันทีดวยน้ํามากๆ ที่สําคัญไมควรปลอยไนโตรเบนซีน สูสิ่งแวดลอม
การที่เราตองพึ่งพาน้ํายาตางๆ ตั้งแตน้ํายาขัดพื้นหองน้ําทั้งกรดและดาง แลวยังน้ํายาขัด
เฟอรนิเจอรอีก นาจะหยุดคิดวามีความจําเปนสักเพียงใด ลดลงไดหรือไม อาจหาสิ่งอื่นทดแทนก็ได เชน
อาจใชน้ํามันผสมน้ํามะนาว (2:1) ขัดเฟอรนิเจอรแทน หรือถาทอตันลองใชวิธีทะลวงทอหรือลางดวยน้ํา
รอน กอนหันไปใชโซเดียมไฮดรอกไซด หรือแทนที่จะใชน้ํายาลางหองน้ําที่เปนกรดไฮโดรคลอลิก อาจ
ใชแคน้ําผสมผงซักฟอกแลวขัดดวยแปรงก็ได หรือถาอยางออน ๆ ก็หันไปใชผงฟู (โซเดียมไบ
คารบอเนต) แทน ดังนั้นกอนจะซื้อน้ํายาทําความสะอาดใด ๆ มาใช หยุดคิดถึงสิ่งแวดลอมสักนิด ภัยใกล
ตัวก็อาจลดลงดวย

โฟมพลาสติก
โฟมพลาสติกที่เราใชกันแพรหลายทุกวันนี้ เรียกอีกอยางหนึ่งวา โพลิสไตรีนโฟม หรือสไต
โรโฟม มีลักษณะเปนเนื้อพอง เปนเม็ดกลมเบียดอัดกันแนนอยูในแผนโฟม แข็งแรง ยืดหยุนได ใชมีดตัด
แตงได เบา และราคาไมแพง จึงนิยมใชเปนหีบหอกันกระเทือน กันความรอน ใชเปนภาชนะใสอาหาร
สวนชนิดเบามีความหนาแนนนอย นิยมใชเปนวัสดุตกแตงเวที และพวงหรีด โฟมทําใหชีวิตประจําวัน
ของเราสะดวกสบายขึ้นก็จริง แตมันก็เปนตัวสรางปญหามลภาวะอยางมาก เพราะมันไมเนาเปอยหรือยอย
สลายตามธรรมชาติ โฟมใชแลวจะถูกทิ้งลงถังขยะ ความที่มันมีขนาดใหญ เบา และกินที่ การเก็บ
รวบรวมขยะจึงสรางปญหาใหกับเทศบาล เพราะมันเขาไปอุดตันตามทอระบายน้ํา และทําลายทัศนียภาพ
อีกทั้งยังตองใชเตาเผาพิเศษ จึงจะกําจัดได จึงควรหลีกเลี่ยงการใช นอกจากนั้นเมื่อเผาทําลายมันยังปลอย
กาซซีเอฟซีซึ่งเติมลงไปในกระบวนการผลิตทําใหเกิดการพองตัว กาซนี้เปนตัวทําลายชั้นโอโซนของ
บรรยากาศ สาเหตุของปรากฏการณโลกรอนอันเนื่องมาจากกาซเรือนกระจก ดังนั้น เราควรชวยกันลด
การใชโฟมเพื่อสิ่งแวดลอมที่เราอาศัยอยู
(ที่มา : http://www.chemtrack.org)
232

กิจกรรมการเรียนรูที่ 1
สบู ผงซักฟอก และแชมพูทําความสะอาดไดอยางไร
จุดประสงค
1.ทดลองเปรียบเทียบและสรุปเกี่ยวกับการละลายของน้ํามันพืชในน้ํา กอนและหลังเติมสารทํา
ความสะอาดบางชนิดได
2.อธิบายสาเหตุที่สบู ผงซักฟอก และแชมพู สามารถใชทําความสะอาดได
อุปกรณ
1.น้ํามันพืช 5 cm3
2.น้ําสบู 3 cm3
3.สารละลายผงซักฟอก 3 cm3
4.สารละลายแชมพู 3 cm3
5.น้ํากลั่น 50 cm3
6.หลอดทดลองขนาดกลาง 4 หลอด
7.ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน
8.กระบอกฉีดยาขนาด 5 cm3 1 อัน
9.หลอดหยด 1 อัน
10.บีกเกอรขนาด 50 cm3 4 ใบ

วิธีการทดลอง
1.ใชกระบอกฉีดยาดูดน้ํากลั่นที่เตนียมไวใสลงไปในหลอดทดลองทั้ง 4 หลอด หลอดละ 3 cm3
2.ใชหลอดหยดดูดน้าํ มันพืช แลวนําไปหยดใสหลอดทดลองทัง้ 4 หลอด หลอดละ 3 หยด สังเกต
การเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
3.นําหลอดทดลองที่ 1 มาเขยานานประมาณ 20 วินาที แลวนําไปตั้งทิ้งไวในที่ตั้งหลอดทดลอง
สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
4.ใชกระบอกฉีดยาดูดน้ําสบูที่เตรียมไว เติมลงไปในหลอดทดลองที่ 2 ปริมาณ 1 cm3
จากนั้นนําหลอดทดลองมาเขยาประมาณ 20 วินาที แลวนําไปตั้งทิ้งไวในที่ตั้งหลอดทดลอง
สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
5.ดําเนินการเชนเดียวกับขอ 4 แตจะใชสารละลายผงซักฟอกและแชมพู แทนน้ําสบู ตามลําดับ
233

ตารางบันทึกผลการทดลอง

การทดลอง ผลการทดลอง
1.เติมน้ํามันพืชลงในน้ํา มีหยดน้ํามันหยดเล็ก ๆ แทรกไปในน้ํา และเมื่อทิ้ง
ไปนาน ๆ น้าํ มันจะแยกออกจากน้าํ เปนชัน้ เห็นได
ชัดเจน
2.เติมน้ําสบูลงในน้ําที่มีน้ํามันพืชอยู ไดสารละลายขุนขาว ไมมีน้ํามันเหลืออยู
3.เติมสารละลายผงซักฟอกลงในน้ําที่มีน้ํามันพืช ไดสารละลายขุนขาว ไมมีน้ํามันเหลืออยู
อยู
4.เติมสารละลายแชมพูลงในน้ําที่มีน้ํามันพืชอยู ไดสารละลายขุนขาว ไมมีน้ํามันเหลืออยู

สรุปผลการทดลอง
เมื่อเติมน้ํามันพืชลงในน้ําหลังจากเขยาและตั้งทิ้งไว มีหยดน้ํามันหยดเล็ก ๆ แทรกไปในน้ํา
และเมื่อทิ้งไปนาน ๆ น้ํามันจะแยกออกจากน้ําเปนชั้นเห็นไดชัดเจน แตเมื่อเติมน้ําสบู สารละลาย
ผงซักฟอก สารละลายแชมพู ลงในน้ําที่มีน้ํามันพืชอยู หลังจากเขยาและตั้งทิ้งไว พบวา ไดสารละลาย
ขุนขาว ไมมีน้ํามันเหลืออยู จากการทดลองนี้แสดงใหเห็นวา น้ําสบู สารละลายผงซักฟอก สารละลาย
แชมพู ชวยทําใหน้ํามันละลายน้ําได
234

เรื่องที่ 4 การเลือกใชสารในชีวิต
สารเคมีในชีวิตประจําวัน
ทุกครัวเรือนจําเปนตองใชผลิตภัณฑตางๆที่มีสารเคมีเปนสวนประกอบ ซึ่งไดแก ผลิตภัณฑทํา
ความสะอาดหองน้ํา ผลิตภัณฑที่ใชในหองครัว ผลิตภัณฑที่ใชสวนบุคคล หรือแมแตยาฆาแมลง เปนตน
คุณเคยหยุดคิดสักนิดบางไหมวาผลิตภัณฑตางๆที่ใชภายในบานเหลานี้ประกอบดวยสารเคมีบางชนิดที่
เปนอันตรายตอสมาชิกในครอบครัวและสัตวเลี้ยงที่คุณรัก โดยถานําไปใช เก็บ หรือทําลายทิ้ง อยางไมถูก
วิธี อาจเปนอันตรายตอสุขภาพ และสิ่งแวดลอม หรืออาจติดไฟทําลายทรัพยสินของคุณได อยางไรก็ตาม
ถาเรารูจักใช เก็บ และทิ้งผลิตภัณฑเหลานี้อยางถูกวิธี เราก็จะสามารถปองกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได
และใชผลิตภัณฑเหลานี้ไดอยางปลอดภัย
ทําไมสารเคมีที่ใชภายในบานจึงเปนอันตราย
ผลิตภัณฑสารเคมีที่ใชภายในบานมีอันตราย โดยอยางนอยมีคุณสมบัติขอใดขอหนึ่งดังนี้ เปน
พิษ กัดกรอน ติดไฟได หรือทําปฏิกิริยาที่รุนแรงได ผลิตภัณฑที่มีสารเคมีที่เปนอันตรายเปน
สวนประกอบ ไดแก นํ้ายาทําความสะอาดทั่วไป ยาฆาแมลง สเปรยชนิดตางๆ นํ้ายาขจัดคราบไขมัน นํ้า
มันเชื้อเพลิง สีและผลิตภัณฑที่ถูกทาสีมาแลว แบตเตอรี และหมึก ผลิตภัณฑและสารเคมีตางๆเหลานี้
สวนมากถาไดรับหรือสัมผัสในปริมาณที่นอยคงไมกอใหเกิดอันตรายมากนัก แตถาไดรับหรือสัมผัสใน
ปริมาณที่มาก หรือในกรณีอุบัติเหตุ เชน สารเคมีหกรดรางกาย หรือรั่วออกจากภาชนะบรรจุ ก็อาจทําให
เกิดอันตรายถึงชีวิตได
สิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อใหบานของคุณปลอดภัย
1. จัดเก็บผลิตภัณฑตางๆไวในที่ที่แหงและเย็น หางจากความรอน จัดวางบนพื้นหรือชั้นที่มั่นคง
และเก็บใหเปนระบบ ควรแยกเก็บผลิตภัณฑที่มีฤทธิ์กัดกรอน ติดไฟได ทําปฏิกิริยาที่รุนแรงได หรือเปน
พิษ ไวบนชั้นตางหาก และทําความคุนเคยกับผลิตภัณฑแตละชนิด ควรจดจําใหไดวา เก็บไวทไ่ี หน และ
แตละผลิตภัณฑมีวัตถุประสงคในการใชอยางไร เมื่อใชเสร็จแลวควรนํามาเก็บไวที่เดิมทันที และตรวจให
แนใจวาภาชนะทุกชิ้นมีฝาปดที่แนนหนา ผลิตภัณฑบางชนิดอาจเปนอันตรายไดมากกวาที่คุณคิด
ผลิตภัณฑเหลานี้ไดแก
- ผลิตภัณฑทําความสะอาดภายในบาน เชน นํ้ายาเช็ดกระจก แอมโมเนีย นํ้ายาฆาเชื้อ นํ้ายาทํา
ความสะอาดพรม นํ้ายาขัดเฟอรนิเจอร รวมทั้งสเปรยปรับอากาศ เปนตน
- ผลิตภัณฑซักผา เชน ผงซักฟอก นํ้ายาปรับผานุม นํ้ายาฟอกสีผา เปนตน
- ผลิตภัณฑเพื่อสุขภาพและความงาม เชน สเปรยใสผม นํ้ายาทาเล็บ นํ้ายาลางเล็บ นํ้ายากําจัดขน
นํ้ายายอมผม เครื่องสําอางอื่นๆ เปนตน
- ผลิตภัณฑที่ใชในสวน เชน ปุย ยากําจัดวัชพืช ยาฆาแมลง เปนตน
- ผลิตภัณฑเพื่อการบํารุงรักษาบาน เชน สีทาบาน กาว นํ้ายากันซึม นํ้ามันลางสี เปนตน
235

- ผลิตภัณฑสําหรับรถยนต เชน นํ้ามันเชื้อเพลิง นํ้ามันเบรค นํ้ามันเครื่อง นํ้ายาลางรถ นํ้ายาขัดาเงเปนตน


2. ผลิตภัณฑสารเคมีทุกชนิดตองมีฉลากและตองอานฉลากกอนใชงานทุกครั้ง ผลิตภัณฑที่เปน
อันตรายควรตองใชดวยความระมัดระวัง อานฉลากและทําตามวิธีใชอยางถูกตองรอบคอบ โดยเฉพาะ
อยางยิ่ง ถาฉลากมีคําวา “อันตราย (DANGER)”, “สารพิษ (POISON)”, “คําเตือน (WARNING)”, หรือ
“ขอควรระวัง (CAUTION)” โดยมีรายละเอียดอธิบายไดดังนี้
- อันตราย (DANGER) แสดงใหเห็นวาควรใชผลิตภัณฑดวยความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นเปน
พิเศษ สารเคมีที่ไมไดถูกทําใหเจือจาง เมื่อสัมผัสถูกกับตาหรือผิวหนังโดยไมไดตั้งใจ อาจทําใหเนื้อเยื่อ
บริเวณนั้นถูกกัดทําลาย หรือสารบางอยางอาจติดไฟไดถาสัมผัสกับเปลวไฟ
- สารพิษ (POISON) คือ สารที่ทําใหเปนอันตราย หรือ ทําใหเสียชีวิต ถาถูกดูดซึมเขาสูรางกาย
ทางผิวหนัง รับประทาน หรือ สูดดม คํานี้เปนเปนขอเตือนถึงอันตรายที่รุนแรงที่สุด
- เปนพิษ (TOXIC) หมายถึง เปนอันตราย ทําใหอวัยวะตางๆทําหนาที่ผิดปกติไป หรือ ทําให
เสียชีวิตได ถาถูกดูดซึมเขาสูรางกายทางผิวหนัง รับประทาน หรือ สูดดม
- สารกอความระคายเคือง ( IRRITANT) หมายถึง สารที่ทําใหเกิดความระคายเคือง หรืออาการ
บวมตอผิวหนัง ตา เยื่อบุ และระบบทางเดินหายใจ
- ติดไฟได ( FLAMMABLE หรือ COMBUSTIBLE) หมายถึง สามารถติดไฟไดงาย และมี
แนวโนมทีจ่ ะเผาไหมไดอยางรวดเร็ว
- สารกัดกรอน (CORROSIVE) หมายถึง สารเคมี หรือไอระเหยของสารเคมีนั้นสามารถทําให
วัสดุถูกกัดกรอน ผุ หรือสิ่งมีชีวิตถูกทําลายได
3. เลือกซื้อผลิตภัณฑเทาที่ตองการใชเทานั้น อยาซื้อสิ่งที่ไมตองการใช เพราะเสมือนกับเปนการ
เก็บสารพิษไวใกลตัวโดยไมจําเปน พยายามใชผลิตภัณฑที่มีอยูเดิมใหหมดกอนซื้อมาเพิ่ม ถามีของที่ไม
จําเปนตองใชแลวเหลืออยู ควรบริจาคใหกับผูที่ตองการใชตอไป หรือไมก็ควรเก็บและทําฉลากใหดี
โดยเฉพาะอยางยิ่งเมื่อฉลากใกลหลุดหรือฉีกขาด และควรทิ้งผลิตภัณฑที่เกามากๆ ซึ่งไมควรนํามาใชอีก
ตอไป
4. เก็บใหไกลจากเด็ก สารทําความสะอาด หรือ สารเคมีที่ใชภายในบานอาจทําใหเปนอันตรายถึง
แกชีวิต ควรเก็บในตูที่เด็กเอื้อมไมถึง อาจล็อคตูดวยถาจําเปน สอนเด็กๆในบานใหทราบถึงอันตรายจาก
สารเคมี นอกจากนี้ ควรจดเบอรโทรศัพทฉุกเฉินไวใกลกับโทรศัพท เบอรโทรศัพทเหลานี้ ไดแก เบอร
รถพยาบาลหรือโรงพยาบาลที่ใกลบาน สถานีดับเพลิง สถานีตํารวจ หนวยงานที่ทําหนาที่เกี่ยวกับการ
ควบคุมสารพิษ และแพทยประจําตัว
5. ไมควรเก็บสารเคมีปะปนกับอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากสารเคมีอาจหกหรือมีไอระเหยทําให
ปนเปอนกับอาหารได และเมื่อใชผลิตภัณฑสารเคมีเสร็จแลวควรลางมือใหสะอาดทุกครั้ง
236

6. ไมควรเก็บของเหลวหรือกาซที่ติดไฟไดไวในบาน นํ้ามันเชื้อเพลิงสําหรับรถยนตหรือถัง
บรรจุกาซถาสามารถทําไดไมควรนํามาเก็บไวภายในบาน ถังบรรจุกาซควรเก็บไวนอกบานในบริเวณใต
รมเงาที่มีอากาศถายเทไดสะดวก ตองไมเก็บของเหลวหรือกาซที่ติดไฟไดไวใกลกับแหลงของความรอน
หรือเปลวไฟ และเก็บไวในภาชนะบรรจุดั้งเดิมหรือภาชนะที่ไดรับการรับรองแลวเทานั้น
7. เก็บสารเคมีไวในภาชนะบรรจุดั้งเดิมเทานั้น ไมควรเปลี่ยนถายสารเคมีที่ใชภายในบานลงใน
ภาชนะชนิดอืน่ ๆ ยกเวนภาชนะที่ติดฉลากไวอยางเหมาะสมและเขากันไดกับสารเคมีนั้นๆโดยไมทําให
เกิดการรั่วซึม นอกจากนี้ ไมควรเปลี่ยนถายสารเคมีลงในภาชนะที่ใชสําหรับบรรจุอาหาร เชน ขวดนํา้ อัด
ลม กระปองนม ขวดนม เปนตน เพื่อปองกันผูที่รูเทาไมถึงการณนําไปรับประทาน
8. ผลิตภัณฑหลายชนิดสามารถนําไปแปรรูปเพื่อนํากลับมาใชใหมได เพื่อลดปริมาณสารเคมีที่
เปนพิษในสิง่ แวดลอม
9. ใชผลิตภัณฑอื่นๆที่มีอันตรายนอยกวาทดแทนสําหรับงานบานทั่วๆไป ตัวอยางเชน สามารถ
ใชผงฟู และนํ้าสมสายชูเทลงในทอระบายนํ้า เพื่อปองกันการอุดตันได
10. ทิ้งผลิตภัณฑและภาชนะบรรจุใหถูกตองเหมาะสม ไมเทผลิตภัณฑลงในดินหรือในทอระบาย
นํ้าทิ้ง ผลิตภัณฑหลายชนิดไมควรทิ้งลงในถังขยะหรือเทลงในโถสวม ควรอานฉลากเพื่อทราบวิธีการทิ้ง
ที่เหมาะสมตามคําแนะนําของผูผลิต

ทําอยางไรใหปลอดภัยขณะใชสารเคมี
1. เลือกใชผลิตภัณฑที่ไมเปนพิษแทน
2. อานฉลากและปฏิบัติตามวิธีการใชทุกครั้ง
3. สวมถุงมือและเสื้อคลุมทุกครั้งถาผลิตภัณฑสามารถทําใหเกิดอันตรายไดโดยการสัมผัสตอผิวหนัง
4. สวมแวนตาปองกันสารเคมี ถาผลิตภัณฑสามารถทําใหเกิดอันตรายตอตา
5. หามสวมคอนแทคเลนสเมื่อใชตัวทําละลายอินทรีย เชน ทินเนอร เปนตน
6. หยุดใชผลิตภัณฑทันทีถารูสึกวิงเวียน ปวดทอง คลื่นไส อาเจียหรื
น อปวดศีรษะ
7. ควรใชผลิตภัณฑสารเคมีในที่ที่มีอากาศถายเทไดสะดวก ถาเปนไปไดควรใชผลิตภัณฑในที่โลงแจง
8. หามสูบบุหรี่เมื่อใชผลิตภัณฑที่สามารถติดไฟได
9. หามผสมผลิตภัณฑสารเคมีเอง เนื่องจากสารเคมีบางชนิดอาจทําปฏิกิริยาตอกันเกิดเปนไอควันพิษ
หรืออาจระเบิดได
10. พบแพทยทันทีถาสงสัยวาไดรับสารพิษหรือไดรับอันตรายเมื่อสัมผัสกับสารเคมีที่ใชภายในบาน
(ที่มา: http://oldweb.pharm.su.ac.th/Chemistry-in-Life/index2.html)
237

กิจกรรมการเรียนรูที่ 1

ทดสอบความเปนกรด-เบส ของสารที่ใชในชีวิตประจําวัน
จุดประสงค
1.จําแนกสารที่ใชในบานโดยใชและสมบัติความเปนกรด-เบส เปนเกณฑได
2.ทดสอบและสรุปสมบัติของสารเมื่อทําปฏิกิริยากับกระดาษลิตมัสได
อุปกรณ
1.น้ําอัดลม 5 cm3
2.น้ําสมสายชู 5 cm3
3.น้ําสบู 5 cm3
4.สารละลายยาสีฟน 5 cm3
5.เกลือแกง 5 cm3
6.หลอดทดลอง 5 หลอด
7.แทงแกวคน 1 หลอด
8.ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน
9.กระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้ําเงิน 10 แผน
วิธีการทดลอง
1.ตัดกระดาษลิตมัสสีนาํ้ เงินและสีแดง ขนาด 1 เซนติเมตร x 0.5 เซนติเมตร วางไวบนกระดาษ
ขาวเปนคู ๆ มีระยะหางกันพอสมควร
2.ใชแทงแกวคนจุมลงในน้ําอัดลม แลวนํามาแตะกระดาษลิตมัสสีน้ําเงินและสีแดงที่วางบน
กระดาษขาว สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แลวบันทึกผล
3.ดําเนินการเชนเดียวกับขอ 2 แตใชน้ําสมสายชู น้ําสบู สารละลายยาสีฟน และเกลือแกง พรอม
ทั้งบันทึกผลการทดลอง
หมายเหตุ
1.ตองลางแทงแกวใหสะอาดและเช็ดใหแหงกอนนํามาทดสอบสารแตละชนิด
2.สารละลายทุกชนิดตองทิ้งใหตกตะกอนและรินเอาเฉพาะสารละลายใส ๆ ใสหลอดทดลองไว
238

ตารางบันทึกผลการทดลอง
ผลการทดสอบกับกระดาษลิตมัส
สาร สีน้ําเงิน สีแดง
น้ําอัดลม เปลีย่ นเปนสีแดง -
น้ําสมสายชู เปลีย่ นเปนสีแดง -
น้ําสบู - เปลี่ยนเปนสีน้ําเงิน
สารละลายยาสีฟน - เปลี่ยนเปนสีน้ําเงิน
เกลือแกง - -

สรุปผลการทดลอง
สามารถจําแนกสารละลายโดยใชสมบัติของสารที่ทําใหกระดาษลิตมัสเปลี่ยนสีมาเปนเกณฑโดย
1.สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ําเงินเปนสีแดง จัดวามีสมบัติเปนกรด ไดแก น้ําอัดลม
น้ําสมสายชู
2.สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเปนสีน้ําเงิน จัดวามีสมบัติเปนเบส ไดแก น้ําสบู
สารละลายยาสีฟน
3.สารที่ไมเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส จัดวามีสมบัติเปนกลาง
239

เรื่องที่ 5 ผลกระทบที่เกิดจาการใชสารตอชีวิตและสิ่งแวดลอม
ปญหามลพิษทางสิ่งแวดลอม ตลอดจนแนวทางการปองกันแกไขทีด่ ี ปญหาสิ่งแวดลอมที่มนุษย
กําลังประสบอยูในปจจุบันที่สําคัญ ไดแก ปญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ปญหาสารพิษ และ
ปญหาของระบบนิเวศ ซึ่งปญหาที่สําคัญเหลานี้มาจากปญหายอยๆหลายปญหา เชน มลพิษทางน้ํา มลพิษ
ทางอากาศ มลพิษทางเสียง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เปนตน ปญหาเหลานี้ถาไมรีบปองกันแกไข อาจ
สงผลกระทบตอวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได ซึ่งการปองกันแกไขปญหาสิ่งแวดลอมเปนหนาที่ของทุกคน
ที่จะตองชวยกัน

มลพิษทางสิ่งแวดลอม
สิ่งแวดลอมตางๆ เชน น้ํา อากาศ ดิน เปนตน มีความจําเปนตอการดํารงชีวิตของมนุษย มนุษย
จําเปนตองใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติเหลานี้มากมาย แตการใชประโยชนโดยไมคํานึงถึง
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทําใหเกิดมลพิษขึ้นในสิ่งแวดลอมนั้นๆ
มลพิษทางสิ่งแวดลอม หมายถึง สภาวะที่สิ่งแวดลอมตามธรรมชาติถูกปะปนหรือปนเปอนดวย
สิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม หรือสารมลพิษ ทําใหมีลักษณะหรือสมบัติแตกตางไปจากเดิมหรือจาก
ธรรมชาติ โดยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลวลง ยังผลใหใชประโยชนไดนอยหรือใชประโยชนไมไดเลย
และมีผลเสียตอสุขภาพ มลพิษทางสิ่งแวดลอมที่สําคัญ ไดแก มลพิษทางน้ํา มลพิษทางอากาศ มลพิษทาง
เสียง และมลพิษที่เกิดจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

มลพิษทางน้ํา
มลพิษทางน้ํา (Water pollution) เปนปญหาสิ่งแวดลอมที่สําคัญที่สุดปญหาหนึ่งของประเทศเมื่อ
เปรียบเทียบกับปญหามลพิษอื่นๆปญหามลพิษทางน้ํามักเกิดกับเมืองใหญๆแหลงน้ําที่สําคัญของประเทศ
ถูกปนเปอนดวยสิ่งสกปรกและสารมลพิษตางๆทําใหไมสามารถใชประโยชนจากแหลงน้ําไดเต็มที่ ซึ่ง
สงผลกระทบตอคุณภาพชีวิตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
สาเหตุของการเกิดมลพิษทางน้ํา สวนใหญเกิดจากน้ําทิ้งจากที่อยูอาศัย ซึ่งมักจะมีสารอินทรีย
ปนเปอ นมาดวย น้ําทิ้งดังกลาวมักเปนสาเหตุของการที่น้ํามีสีดํา และมีกลิ่นเนาเหม็น น้ําที่มีสารพิษ
ตกคางอยู เชน น้ําจากแหลงเกษตรกรรมที่มีปุยและยากําจัดศัตรูพืช น้ําทิ้งที่มีโลหะหนักปนเปอนจาก
โรงงานอุตสาหกรรม เปนตน สารเหลานี้จะถูสะสมในวงโคจรโซอาหารของสัตวน้ํา และมีผลตอมนุษย
ภายหลัง

ผลกระทบจากมลพิษทางน้ํา
น้ําที่อยูในระดับรุนแรง ซึ่งประชาชนทั่วไปเรียกวา น้ําเสีย มีลักษณะที่เห็นไดชัดเจน คือตะกอนขุนขน สีดํา
คล้ํา สงกลิ่นเนาเหม็น กอใหเกิดความรําคาญตอชุมชน และอาจมีฟองลอยอยูเ หนือน้าํ เปนจํานวนมาก
240

อยางไรก็ตาม ลักษณะของน้ําเสียบางครั้งเราอาจมองไมเห็นก็ได ถาน้ํานั้นปนเปอนดวยสารพิษ เชน ยา


ปราบศัตรู หรือยาฆาแมลง แรธาตุ เปนตน

น้ําที่เปนมลพิษจะมีผลกระทบตอการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอยางเห็นไดชัดกวา ปญหา
สิ่งแวดลอมอื่นๆเพราะกอใหเกิดผลเสียหายหลายประการ ซึ่งสามารถสรุปไดดังนี้
1. ผลกระทบทางดานสาธารณสุข
2. ผลกระทบทางดานเศรษฐกิจ
3. ผลกระทบทางดานสังคม

แนวทางการปองกันแกไขปญหามลพิษทางน้ํา
1. การบําบัดน้ําเสีย
2. การกําจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
3. การใหการศึกษาและความเขาใจเกี่ยวกับปญหามลพิษทางน้ําแกประชาชน
4. การใชกฎหมาย มาตรการ และขอบังคับ
5. การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ําและสํารวจแหลงที่ระบายน้ําเสียลงสูแมน้ํา

กิจกรรมการเรียนรูที่ 1

คําสั่ง จงตอบคําถามหรือเติมชองวางดวยคําหรือขอความสั้นๆ
1. มลพิษทางน้ํา หมายถึง อะไร
ตอบ
2. มลพิษทางน้ําที่เมืองใหญ เชน กรุงเทพ เชียงใหม เปนตน กําลังเผชิญอยูในปจจุบันสวนใหญ
เกิดจากสาเหตุใด
ตอบ
3. สาเหตุสําคัญที่ทําใหเกิดปญหามลพิษทางน้ํา ไดแก อะไรบาง
ตอบ
4. ของเสียจากแหลงชุมชนสวนมากจะอยูในรูปของ สารประเภทใด
ตอบ
5. ของเสียที่ปลอยจากโรงงานอุตสาหกรรมจะมีลักษณะแตกตางกันไปขึ้นอยูกับอะไร
ตอบ
6. น้ําที่เปนมลพิษมีลักษณะที่เห็นไดชัดเจน คือ อะไร
ตอบ
241

7. น้ําเสียสงผลกระทบตอการบริโภคอาหาร ทําใหเกิดปญหาสุขภาพโดยตรงตอมนุษยจัดเปน
ผลกระทบทางดานใดบาง
ตอบ
8. การแกไขปญหามลพิษทางน้ําที่ไดผล และเปนการแกไขปญหาที่ตนเหตุ คือ อะไร
ตอบ

แนวคําตอบกิจกรรมการเรียนรูที่ 1
ขอที่ 1. แหลงน้ําที่ถูกปนเปอนดวยสิ่งสกปรกและสารมลพิษตางๆทําใหไมสามารถใชประโยชน
จากแหลงน้ําไดเต็มที่
ขอที่ 2. สวนใหญเกิดจากน้ําทิ้งจากที่อยูอาศัย
ขอที่ 3.
1. ของเสียจากแหลงชุมชน
2. ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
3. ของเสียจากกิจกรรมทางการเกษตร
4. สารมลพิษอื่นๆที่ไมมีแหลงกําเนิดแนนอน
ขอที่ 4. สารอินทรีย เชน เศษอาหาร สบู ผงซักฟอก อุจจาระ ปสสาวะ เปนตน
ขอที่ 5. ประเภทและชนิดของโรงงานอุตสาหกรรม
ขอที่ 6. คือตะกอนขุนขน สีดําคล้ํา สงกลิ่นเนาเหม็น
ขอที่ 7. ผลกระทบทางดานสาธารณสุข
ขอที่ 8. การใหการศึกษาและความเขาใจเกี่ยวกับปญหามลพิษทางน้ําแกประชาชน

มลพิษทางอากาศ
สวนใหญเกิดจากควันของยานพาหนะและจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันดังกลาวมีผลตอ
สุขภาพของมนุษยโดยตรง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมบางแหงที่มี กาซซัลเฟอรไดออกไซดหรือ
ไนโตรเจนออกไซด เปนองคประกอบ เมื่อรวมกับละอองน้ําในอากาศ จะกลายเปนสารละลายกรด
ซัลฟวริกหรือกรดไนตริก กลายเปนฝนกรด ตกลงมาอันเปนอันตรายตอสิ่งมีชีวิตและยังทําใหสิ่งกอสราง
เกิดการสึกกรอนได สถานที่กําลังประสบปญหากับมลพิษทางอากาศเหลานี้ จะมีผลกระทบตอสุขภาพ
ของมนุษยเปนอยางมาก โดยจะมีผลตอระบบทางเดินหายใจ อาจทําใหเกิดโรคภูมิแพ โรคทรวงอก เยื่อบุ
ตาอักเสบ และเปนอันตรายตอเด็กในครรภตลอดจนเสียชีวติ ได
242

ปรากฏการณเรือนกระจก (Green house effect)


เปนปรากฏการณที่ทําใหโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบตอภูมิอากาศทั่วโลกอยางที่ไมเคยปรากฏ
มากอน โดยนักวิทยาศาสตรไดประมาณการไววาที่บริเวณเหนือเสนศูนยสูตรขึ้นไป ฤดูหนาวจะสัน้ ขึน้
และมีความชื้นมาก สวนฤดูรอ นจะยาวนานขึน้ อาจทําใหพน้ื ดินบางแหงบนโลกกลายเปนทะเลทราย และ
ในเขตรอนอาจจะมีพายุบอยครั้งและรุนแรง บริเวณขั้วโลกความรอนสงผลโดยตรงตอการละลายของ
หิมะเปนเหตุ ใหปริมาณน้ําในทะเลเพิ่มขึ้น มีผลตอการเกิดอุทกภัย นอกจากนี้ยังสงผลกระทบตอพืชและ
สัตว เกิดการเปลี่ยนแปลงทําใหปากใบ พืชปดไมสามารถรับกาซคารบอนไดออกไซดและไอน้ําไดการ
สังเคราะหดว ยแสงลดลง สัตวบางชนิดอาจไดรับความกระทบกระเทือนตอเนื้อเยื่อตา ผิวหนัง และเปน
เหตุใหสูญพันธุไดในที่สุด
สารคลอโรฟลูออโรคารบอน( CFC) มีชื่อทางการคาวา ฟรีออน( Freon) ฟรีออนใชในการ
อุตสาหกรรมหลายประเภท เชน ใชเปนสารทําความเย็นในตูเย็น เครื่องปรับอากาศ ใชเปนกาซขับดันใน
ผลิตภัณฑสเปรย เปนสวนผสมในการผลิตโฟม ใชกับเครื่องสําอาง ใชกับผลิตภัณฑที่มีแอลกอฮออล ใช
เปนตัวทําละลายและทําความสะอาดใชเปนฉนวนไฟฟาและใชเปนสารดับเพลิงเปนตน

กิจกรรมการเรียนรูที่ 2

คําสั่ง จงตอบคําถามหรือเติมชองวางดวยคําหรือขอความสั้นๆ
1. มลพิษทางอากาศ หมายถึง
2. สิ่งที่เปนมลพิษที่ปลอยออกจากทอไอเสียรถยนต ไดแก
3. ผลกระทบของมลพิษทางอากาศชนิดเฉียบพลันที่มีตอมนุษย คือ
4. ตัวอยางผลกระทบตอพืชจากมลพิษทางอากาศ เชน
5. กาซสําคัญที่ทําใหเกิดปรากฏการณฝนกรด คือ
6. เมื่อกาซจากขอ 5 ถูกแสงแดดจะรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศเกิดปฏิกิริยาเคมีกลายเปน
สาร
7. คําถาม ผลกระทบของฝนกรดที่มีตอสิ่งมีชีวิต คือ
8. คําถาม กาซที่สําคัญที่ทําหนาที่หอหุมโลก ซึ่งเปรียบเหมือนกับกระจกของเรือนกระจก
ไดแก ถากาซเหลานี้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในบรรยากาศผลที่จะ
เกิดขึ้นตามมาคือ

แนวคําตอบกิจกรรมตอนที่ 2
ขอที่ 1. สภาวะที่อากาศตามธรรมชาติถูกปนเปอนหรือเจือปนดวยสิ่งแปลกปลอมทําใหองคประกอบสวน
ใดสวนหนึง่ เปลีย่ นแปลงไปและเสือ่ มโทรมลงกอใหเกิดผลกระทบตอมนุษย สัตว พืช และสิ่งแวดลอมอื่นๆ
243

ขอที่ 2. ฝุนละออง เขมาควัน กาซคารบอนมอนอกไซด สารตะกั่ว ไนโตรเจนออกไซด ซัลเฟอร


ไดออกไซด ไฮโดรคารบอน และคารบอนไดออกไซด
ขอที่ 3. เกิดจากการสูดหายใจเอาสารพิษในอากาศที่มีความเขมขนสูงเขาไป ทําใหเกิดผลเสียตอระบบ
ทางเดินหายใจ หัวใจ ปอด และทําใหตามในที่สุด
ขอที่ 4. ทําใหพืชไมเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง สีของตนไมและใบเปลี่ยนแปลงไป ทําใหการ
สังเคราะหดวยแสงและการหายใจของพืชเสื่อมลง
ขอที่ 5. กาซซัลเฟอรไดออกไซดและกาซไนโตรเจนออกไซด
ขอที่ 6. กรดซัลฟูริก(กรดกํามะถัน)และกรดไนตริก
ขอที่ 7. จะไปทําลายโซอาหารตามธรรมชาติที่สําคัญของมนุษย คือตนไมและปาไม
ขอที่ 8. คลอโรฟลูออโรคารบอน(CFC) ไนตรัสออกไซด มีเทน คารบอนไดออกไซด โอโซน และไอน้ํา
มลพิษทางเสียง
สิ่งที่เปนตนเหตุที่ทําใหเกิดเสียงดังจนเปนอันตรายตอมนุษยนั้นมีหลายประการ เชน เสียงอึกทึกที่
เกิดจากเครื่องยนตตามทองถนน โดยเฉพาะถนนที่มีปญหาเรื่องการจารจรติดขัด เสียงเครื่องบิน
เสียงดนตรี ในดิสโกเทค เสียงเพลงจากซาวดอะเบาท เสียงเครื่องจักรของโรงงาน เสียงเครื่องขยายเสียง
จากงานชุมชนตางๆ นอกจากนี้ยังมีเสียงจากอื่นๆอีกที่อยูในสิ่งแวดลอมอันเปนเสียงที่ไมพึงประสงคและ
มีเสียงดังเกินเหตุ ระดับเสียงปกติที่ไมเปนอันตรายตอการไดยินของคนจะอยูในระดับไมเกิน 80 – 85
เดซิเบล และระดับเสียงในระดับปกติธรรมดาควรไมเกิน 50 – 70 เดซิเบล แตระดับเสียงในดิสโกเทค
เฉลี่ยประมาณ 90 – 100 เดซิเบล นับวาเปนอันตรายอยางมากตอสุขภาพ โดยเฉพาะซาวดอะเบาท เปนการ
นําเอาเครื่องฟงแนบประกบไวกับหูตลอดเวลา และถามีเสียงรบกวนก็จะเปดเสียงดังเพิ่มขึ้น เปนการเพิ่ม
ระดับคลื่นเสียงใหมีผลตอระบบประสาทหูโดยตรง กอใหเกิดการสูญเสียการไดยิน เปนอันตรายตอเยื่อ
แกวหูอาจมีผลทําใหเกิดอาการหูหนวกเมื่อมีอายุมากขึ้นและเกิดปญหาหูตึงไดในที่สุด

ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
สวนใหญเปนการกระทําของมนุษย เชน การทิ้งขยะมูลฝอยลงบนถนน แมน้ํา ลําคลอง ชายหาด
หรือตามสถานที่สาธ ารณะตางๆ การปลูกสราง การติดปายโฆษณาการเดินสายไฟฟาที่ไมเปนระเบียบ
การปลอยน้ําเสียหรือควันของโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งเหลานี้ถือวาเปนการกระทําที่กอใหเกิดมลพิษทาง
ทัศนาการเพราะทําใหความสวยงามของสถานที่ตางๆตองสูญเสียไป
244
กิจกรรมการเรียนรูที่ 3
คําสั่ง จงตอบคําถามหรือเติมชองวางดวยคําหรือขอความสั้นๆ
1. สภาวะที่เสียงดังเกินไป ซึ่งคนเราไมประสงคที่จะไดยิน และกอใหเกิดความรําคาญ หรือเปน
อันตรายตอมนุษย เรียกวา
2. ระดับเสียงที่เปนอันตรายตอการไดยินของมนุษยจะอยูในระดับ
3. เสียงรบกวนในชุมชนสวนมากเกิดจาก
4. สาเหตุตามธรรมชาติที่ทําใหเกิดมลพิษทางเสียง ไดแก
5. ผลกระทบของมลพิษทางเสียงที่มีตอสุขภาพอนามัย เชน
6. แนวทางปองกันแกไขมลพิษทางเสียงที่สําคัญไดแก
7. ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เปนปญหาสิ่งแวดลอมที่มักเกิดขึ้นในเขต
8. ปญหาตางๆที่เกิดจากปญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ไดแก
แนวคําตอบกิจกรรมตอนที่ 3
ขอที่ 1. มลพิษทางเสียง
ขอที่ 2. 85 เดซิเบล
ขอที่ 3. กิจกรรมหรือการกระทําของมนุษย เชน เสียงจากเครื่องขยายเสียงตามสถานที่ตางๆเสียง
จากอูซอมรถยนต เสียงจากเครื่องจักร เครื่องยนตที่นํามาติดตั้งในโอกาสตางๆ เสียงจากยานพาหนะ
ขอที่ 4. ฟาแลบ ฟาผา ฟารอง
ขอที่ 5. ทําใหเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ โรคหัวใจบางชนิด
ขอที่ 6.
1. การใหการศึกษาและประชาสัมพันธ
2. การใชมาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบตาง ๆ บังคับ
3. การกําหนดเขตการใชที่ดินหรือกําหนดผังเมือง
4. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือใชเครื่องจักรเครื่องยนตที่ทันสมัย
5. การใชอุปกรณปองกันเสียง
ขอที่ 7. ในชุมชนใหญๆหรือเมืองใหญ เชน กรุงเทพมหานคร เชียงใหม นครราชสีมา เปนตน
ขอที่ 8.
1. ทําใหเกิดกลิ่นเหม็น
2. เปนแหลงอาหารและแหลงเพาะพันธุของสัตวนําโรคชนิดตาง ๆ เชนยุง แมลงวัน แมลงสาบ
3. ทําใหพื้นที่บริเวณนั้นสกปรกขาดความสวยงามและความเปนระเบียบ
4. ทําใหแหลงน้ําสกปรกและเกิดการเนาเสีย
5. ทําใหเกิดความสกปรกแกบรรยากาศ
245
บทที่ 11
แรงและการใชประโยชน

สาระสําคัญ
แรงเปนปริมาณที่มีขนาดและทิศทาง มีผลกระทบตอวัตถุ และสามารถนํามาประยุกตใชใน
ชีวติ ประจําวันได
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. ระบุประเภทและความหมายของแรงประเภทตางๆ ได
2. อธิบายการกระทําของแรงและโมเมนตของแรงได
3. ระบุประโยชนของแรงในชีวิตประจําวันได
4. การหาคาและผลกระทบของแรงและโมเมนตได
5. ใชความรูเรื่องโมเมนตในชีวิตประจําวันได
ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 แรง
เรื่องที่ 2 โมเมนต
246
เรื่องที่ 1 แรง
แรง (Force) คือ อํานาจอยางหนึ่งที่กระทําหรือพยายามกระทําตอวัตถุใหเปลี่ยนสภาวะ แรงเปน
ปริมาณเวกเตอรและมีหนวยเปนนิวตัน
ผลของแรงทําใหวัตถุเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1. เปลี่ยนรูปทรง
2. เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ เชน การเคลื่อนที่เร็วขึ้น การเคลื่อนที่ชาลง การหยุดนิ่ง หรือ
เปลี่ยนทิศทาง
ปริมาณในทางวิทยาศาสตรมี 2 ปริมาณดวยกัน ดังนี้
1. ปริมาณเวกเตอร (Vector quantity) เปนปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เชน น้ําหนัก แรง
ความเร็ว เปนตน
2. ปริมาณสเกลลาร (Scalar quantity) เปนปริมาณที่มีแตขนาดอยางเดียว เชน อุณหภูมิ เวลา
อัตราเร็ว มวล เปนตน
การเขียนปริมาณเวกเตอร เขียนแทนดวยเสนตรงที่มีหัวลูกศรกํากับ ความยาวของเสนตรงแทน
ขนาดของเวกเตอร และหัวลูกศรแทนทิศทางของเวกเตอร การเขียนสัญลักษณของแรง เขียนไดหลาย
รูปแบบ เชน เวกเตอร A เขียนแทนดวยสัญลักษณ A ตัวอยางเชน
A
ก) เวกเตอร A ไปทางทิศตะวันออก เขียนแทนดวย
ข) เวกเตอร A ไปทางทิศตะวันตก เขียนแทนดวย A

แรงลัพธของแรง (Resultant force) คือ ผลรวมของแรงหลายแรงที่กระทําตอวัตถุ


การหาแรงลัพธทําได 2 วิธี คือ
1. เมื่อแรงยอยที่กระทําตอวัตถุมีทิศทางเดียวกัน ขนาดของแรงลัพธจะไดจากการนําขนาดของ
แรงยอยตางๆ มารวมกัน

30 N
F1
20 N
F2

จากรูปแรงลัพธ (F) = F1 + F2 = 30 + 20 = 50 นิวตัน


247
2.เมื่อแรงที่กระทําตอวัตถุ มีทิศทางตรงกันขาม แรงลัพธมีขนาดเทากับผลตางของขนาดของแรง
ยอยที่กระทําตอวัตถุ และมีทิศทางไปทางเดียวกับทิศทางของแรงที่มีขนาดมากกวา

20 N 30 N

จากรูป ขนาดแรงลัพธเทากับ 30 – 20 = 10 นิวตัน

ตัวอยางที่ 1 แรง 5 นิวตัน และแรง 7 นิวตัน กระทําในทิศทางเดียวกัน แรงลัพธมีขนาดเทาใด

7N
A 5N

(5) + (7) = +12 นิวตัน


ตอบ แรงลัพธมีขนาด 12 นิวตัน มีทิศทางไปทางขวา

ตัวอยางที่ 2 แรงขนาด 4 นิวตัน และแรง 6 นิวตัน กระทําในทิศทางตรงกันขาม แรงลัพธมีขนาดเทากับ


เทาใด

4 นิวตัน 6 นิวตัน

(+6) +(-4) = 6 – 4 = 2 นิวตัน


แรงลัพธมีขนาด 2 นิวตัน มีทิศทางไปทางขวา
แบบฝกหัด
ใหตอบคําถามตอไปนี้
1. แรงมีความหมายวาอยางไร
2. ปริมาณเวกเตอรคอื อะไร
3. กําหนดใหแรง 6 นิวตัน และแรง 10 นิวตันกระทําในทิศทางเดียวกัน แรงลัพธมีคาเทาใด
248
4. แรง 2 แรงมีคา 2 และ 4 นิวตัน กระทําในทิศทางตรงขามกัน แรงลัพธมีคาเทาใด
5. จากรูป

4N 6N

แรงลัพธมีคาเทาใด
ทิศทางไปทางใด

ผลของแรงลัพธตอการเคลื่อนที่ของวัตถุ
1. เมื่อมีแรง 2 แรง มีขนาดเทากันมากระทําตอวัตถุในทิศทางเดียวกัน รถจะเคลื่อนที่ไปตาม
ทิศทางของแรงทั้งสอง
2. ถามีแรง 2 แรงมีขนาดเทากันมากระทําตอวัตถุในทิศทางตรงกันขาม ทําใหแรงลัพธมีคา
เทากับศูนย (0) วัตถุจะหยุดนิ่ง เพราะแรงทั้งสองสมดุลกัน
3. ถามีแรง 2 แรง มีขนาดตางกัน กระทําในทิศทางตรงกันขาม ผลที่เกิดทําใหวัตถุเคลื่อนที่ไป
ตามทิศทางของแรงมาก

ชนิดของแรง
แรงในธรรมชาติมีหลายชนิด เชน แรงกล แรงผลัก แรงโนมถวง แตในทางฟสิกสแบงประเภท
ของแรงออกเปน 4 ชนิด ดังนี้
1. แรงดึงดูดระหวางมวล หมายถึง แรงดึงดูดที่เกิดจากมวลสารที่อยูใกลกัน เชน แรงดึงดูดของ
โลกที่ดึงดูดวัตถุเขาสูศูนยกลางของโลก หรือแรงดึงดูดระหวางมวลวัตถุที่อยูใกลกัน เปนตน
2. แรงแมเหล็ก เปนแรงที่เกิดขึ้นระหวางขั้วแมเหล็กที่อยูหางกันในระยะไมไกลมาก โดยจะ
เปนแรงกระทําซึ่งกันและกัน
3. แรงไฟฟา หมายถึง แรงดึงดูด หรือผลักกันที่เกิดจากประจุไฟฟา 2 ชนิด คือ ประจุบวก (+)
และประจุลบ (-) ประจุไฟฟาจะออกแรงกระทําซึ่งกันและกัน ถาเปนประจุไฟฟาชนิด
เดียวกันจะผลักกัน ถาเปนประจุไฟฟาตางชนิดกันจะดูดกัน
4. แรงนิวเคลียร หมายถึง แรงที่เกิดจากแรงที่ยึดเหนี่ยวอนุภาคในนิวเคลียสของอะตอมใหอยู
รวมกัน ซึ่งเปนแรงที่มีคามหาศาลมาก
249
5. แรงเสียดทาน หมายถึง แรงที่เกิดขึ้นระหวางผิวทั้งสองของวัตถุ มี 2 ประเภท คือ
แรงเสียดทานสถิต คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหวางผิวสัมผัสของวัตถุ เมื่อมีแรงกระทําตอวัตถุ
แลววัตถุเคลื่อนที่
แรงเสียดทานจลน คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหวางผิวสัมผัสของวัตถุ เมื่อมีแรงมากระทําตอ
วัตถุแลววัตถุเคลื่อนที่

แรงเสียดทาน
ความหมายของแรงเสียดทาน (Friction force) หมายถึง แรงที่พยายามตานการเคลื่อนที่ของวัตถุ เกิดที่
ผิวสัมผัสของวัตถุ มีทิศทางตรงกันขามกับทิศของแรงที่กระทํากับวัตถุ หรือเปนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุ
หนึ่งพยายามเคลื่อนที่ หรือกําลังเคลื่อนที่ไปบนผิวของอีกวัตถุหนึ่ง เนื่องจากมีแรงมากระทํา
มีลักษณะสําคัญ ดังนี้
1. เกิดขึ้นระหวางผิวสัมผัสของวัตถุ
2. มีทิศทางตรงกันขามกับทิศทางที่วัตถุเคลื่อนที่หรือตรงขามทิศทางของแรงที่พยายามทําใหวัตถุ
เคลื่อนที่ดังรูป

รูปแสดงลักษณะของแรงเสียดทาน

ถาวาง A อยูบนวัตถุ B ออกแรง ลากวัตถุ วัตถุ A จะเคลื่อนที่หรือไมก็ตาม จะมีแรงเสียดทานเกิดขึ้น


ระหวางผิวของ A และ B แรงเสียดทานมีทิศทางตรงกันขามกับแรง ที่พยายามตอตานการเคลื่อนที่
ของ A

ประเภทของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานมี 2 ประเภท คือ
1. แรงเสียดทานสถิต (static friction) คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหวางผิวสัมผัสของวัตถุ ในสภาวะที่
วัตถุไดรับแรงกระทําแลวอยูนิ่ง
2. แรงเสียดทานจลน (kinetic friction) คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหวางผิวสัมผัสของวัตถุ ในสภาวะที่
วัตถุไดรับแรงกระทําแลวเกิดการเคลื่อนที่ดวยความเร็วคงที่
250
ปจจัยที่มีผลตอแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานระหวางผิวสัมผัสจะมีคามากหรือนอยขึ้นอยูกับ สิ่งตอไปนี้
1. แรงกดตั้งฉากกับผิวสัมผัส ถาแรงกดตัวฉากกับผิวสัมผัสมากจะเกิดแรงเสียดทานมาก ถาแรงกดตั้ง
ฉากกับผิวสัมผัสนอยจะเกิดแรงเสียดทานนอย ดังรูป

รูป ก แรงเสียดทานนอย รูป ข แรงเสียดทานมาก

2. ลักษณะของผิวสัมผัส ถาผิวสัมผัสหยาบ ขรุขระจะเกิดแรงเสียดทานมาก ดังรูป ก สวนผิวสัมผัสเรียบ


ลื่นจะเกิดแรงเสียดทานนอยดังรูป ข

รูป ก แรงเสียดทานมาก รูป ข แรงเสียดทานนอย

3. ชนิดของผิวสัมผัส เชน คอนกรีตกับเหล็ก เหล็กกับไม จะเห็นวาผิวสัมผัสแตละคู มีความหยาบ ขรุขระ


หรือเรียบลื่น เปนมันแตกตางกัน ทําใหเกิดแรงเสียดทานไมเทากัน

การลดแรงเสียดทาน
การลดแรงเสียดทานสามารถทําไดหลายวิธี ดังนี้
1. การใชน้ํามันหลอลื่นหรือจาระบี
2. การใชระบบลูกปน
3. การใชอุปกรณตางๆ เชน ตลับลูกปน
4. การออกแบบรูปรางของยานพาหนะใหเพรียวลมทําใหลดแรงเสียดทาน
251
การเพิม่ แรงเสียดทาน
การเพิ่มแรงเสียดทานในดานความปลอดภัยของมนุษย เชน
1. ยางรถยนตมีดอกยางเปนลวดลาย มีวัตถุประสงคเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานระหวางลอกับถนน
2. การหยุดรถตองเพิ่มแรงเสียดทานที่เบรก เพื่อหยุดหรือทําใหรถแลนชาลง
3. รองเทาบริเวณพื้นตองมีลวดลาย เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานทําใหเวลาเดินไมลื่นหกลมไดงาย
4. การปูพื้นหองน้ําควรใชกระเบื้องที่มีผิวขรุขระ เพื่อชวยเพิ่มแรงเสียดทาน เวลาเปยกน้ําจะไดไมลื่นลม

สมบัตขิ องแรงเสียดทาน
1. แรงเสียดทานมีคาเปนศูนย เมื่อวัตถุไมมีแรงภายนอกมากระทํา
2. ขณะที่มีแรงภายนอกมากระทําตอวัตถุ และวัตถุยังไมเคลื่อนที่ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นมีขนาดตางๆ กัน
ตามขนาดของแรงที่มากระทํา และแรงเสียดทานที่มีคามากที่สุดคือ แรงเสียดทานสถิต เปนแรงเสียดทาน
ที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่
3. แรงเสียดทานมีทิศทางตรงกันขามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
4. แรงเสียดทานสถิตมีคาสูงกวาแรงเสียดทานจลนเล็กนอย
5. แรงเสียดทานจะมีคามากหรือนอยขึ้นอยูกับลักษณะของผิวสัมผัส ผิวสัมผัสหยาบหรือขรุขระจะมีแรง
เสียดทานมากกวาผิวเรียบและลื่น
6. แรงเสียดทานขึ้นอยูกับน้ําหนักหรือแรงกดของวัตถุที่กดลงบนพื้น ถาน้าํ หนักหรือแรงกดมากแรงเสียด
ทานก็จะมากขึ้นดวย
7. แรงเสียดทานไมขึ้นอยูกับขนาดหรือพื้นที่ของผิวสัมผัส

ประโยชนจากแรงเสียดทาน
1. ประโยชนจากการเพิ่มแรงเสียดทาน
การผลิตน็อตและตะปูใหมีเกลียว เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานทําใหมีแรงยึดเหนี่ยวมากขึ้น
ยางรถยนต ทําเปนลวดลายที่เรียกวาดอกยาง เพื่อชวยใหยางเกาะถนนไดดีขึ้น ขณะที่รถแลน
ไปบนถนน ปองกันการลืน่ ไถลออกนอกถนน
การทําใหพื้นมีความขรุขระ เพราะจะชวยใหเดินไดอยางปลอดภัยไมลื่น
พื้นรองเทา ผลิตโดยใชวัสดุที่เพิ่มแรงเสียดทานระหวางพื้นกับรองเทา เพื่อการทรงตัว และเคลื่อนไหว
ไดสะดวกขึน้
2. ประโยชนจากการลดแรงเสียดทาน
ชวยลดการเสียดสีของขอตอของมนุษย ขณะที่มีการเคลื่อนไหว ไดแก มีสารหลอลื่นใน
สมอง และไขสันหลัง
252
ลูกสูบและกระบอกสูบของเครื่องจักรกล ซึ่งจะเสียดสีกันตลอดเวลา ก็จะใช
น้ํามันเครื่อง หรือน้ํามันหลอลื่น ชวยลดแรงเสียดทาน
การใชสาร พีทีเอฟอี (PTFE : Poly Tetra Fluoro Ethylene) ซึ่งมีชื่อทางการคาวา
เทฟลอน ฉายบนภาชนะ เพื่อใหเกิดความลื่น โดยไมตองทําการอัดฉีดดวยสารหลอลื่น
253
เรื่องที่ 2 โมเมนต
โมเมนต ( Moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทําตอวัตถุหมุนไปรอบจุดคงที่ ซึ่งเรียกวาจุด
ฟลคัม (Fulcrum)
คาของโมเมนต หาไดจากผลคูณของแรงที่มากระทํากับระยะที่วัดจากจุดฟลครัมมาตั้งฉากกับ
แนวแรง ดังสูตร M = F x S หรือ

ทิศทางของโมเมนต มี 2 ทิศทาง คือ


1. โมเมนตตามเข็มนาฬิกา
คาน A B มีจุดหมุนที่ F มีแรงมากระทําที่ปลายคาน A จะเกิดโมเมนตตามเข็มนาฬิกา

F
2. โมเมนตทวนเข็มนาฬิกา
คาน A B มีจุดหมุนที่ F มีแรงมากระทําที่ปลายคาน B จะเกิดโมเมนตทวนเข็มนาฬิกา

รูปแสดงทิศทางของโมเมนต

จากภาพ F เปนจุดหมุน เอาวัตถุ W วางไวที่ปลายคานขางหนึ่ง ออกแรงกดที่ปลายคานอีกขาง


หนึ่ง เพื่อใหไมอยูในแนวระดับพอดี
254
โมเมนตตามเข็มนาฬิกา = WxL2 (นิวตัน-เมตร)
โมเมนตทวนเข็มนาฬิกา = ExL1 (นิวตัน-เมตร)

กฎของโมเมนต
เมื่อวัตถุหนึ่งถูกกระทําดวย แรงหลายแรง แลวทําใหวัตถุนั้นอยูในสภาวะสมดุล (ไม
เคลื่อนที่และไมหมุน) จะไดวา
ผลรวมของโมเมนตทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนตตามเข็มนาฬิกา

คาน
หลักการของโมเมนต เรานํามาใชกับอุปกรณที่เรียกวา คาน (lever) หรือคานดีดคานงัด คานเปนเครื่องกล
ชนิดหนึ่งที่ใชดีดงัดวัตถุใหเคลื่อนที่รอบจุดหมด (fulcrum) มีลักษณะเปนแทงยาว หลักการทํางานของ
คานใชหลักของโมเมนต

รูปแสดงลักษณะของคาน

ถาโจทยไมกําหนดน้ําหนักคานมาใหแสดงวาคานไมมีน้ําหนัก จากรูป กําหนดให


W = แรงความตานทาน หรือน้ําหนักของวัตถุ
E = แรงความพยายาม หรือแรงที่กระทําตอคาน
a = ระยะตั้งฉากจากจุดหมุนถึงแรงตานทาน
b = ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนถึงแรงพยายาม

โดยมี F (Fulcrum) เปนจุดหมุนหรือจุดฟลกรัม


เมื่อคานอยูในภาวะสมดุล โมเมนตตามเข็มนาฬิกา = โมเมนตทวนเข็มนาฬิกา
Wxa=Exb
255
การจําแนกคาน คานจําแนกได 3 ประเภทหรือ 3 อันดับดังนี้
1. คานอันดับที่ 1 เปนคานที่มีจุด (F) อยูระหวางแรงความพยายาม (E) และแรงความตานทาน (W) เชน
กรรไกรตัดผา กรรไกรตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไมกระดก เปนตน

รูปแสดงคานอันดับ 1

2. คานอันดับ 2 เปนคานที่มีแรงความตานทาน (W) อยูระหวางแรงความพยายาม (E) และจุดหมุน (F)


เชน ที่เปดขวดน้ําอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เปนตน

รูปแสดงคานอันดับ 2
256
3. คานอันดับที่ 3 เปนคานที่มีแรงความพยายาม (E) อยูระหวางแรงความตานทาน (W) และจุดหมุน (F)
เชน ตะเกียบ คีมคีบถาน แหนบ เปนตน

รูปแสดงคานอันดับ 3

การผอนแรงของคาน จะมีคามากหรือนอยโดยดูจากระยะ E ถึง F และ W วาถาระยะ EF ยาวหรือสัน้ กวา


ระยะ WF ถาในกรณีที่ยาวกวาก็จะชวยผอนแรง ถาสั้นกวาก็จะไมผอนแรง

หลักการและขั้นตอนการคํานวณเรื่องคานและโมเมนต
1. วาดรูปคาน พรอมกับแสดงตําแหนงของแรงที่กระทําบนคานทั้งหมด
2. หาตําแหนงของจุดหมุนหรือจุดฟลครัม ถาไมมีใหสมมติขึ้น
3. ถาโจทยไมบอกน้ําหนักของคานมาให เราไมตองคิดน้ําหนักของคานและ ถือวา คานมีขนาดสม่ําเสมอ
กันตลอด
4. ถาโจทยบอกน้ําหนักคานมาใหตองคิดน้ําหนักคานดวย โดยถือวาน้ําหนักของคานจะอยูจุดกึ่งกลาง
คานเสมอ
5. เมื่อคานอยูในสภาวะสมดุล โมเมนตทวนเข็มนาฬิกาเทากับโมเมนตตามเข็มนาฬิกา
6. โมเมนตทวนเข็มนาฬิกา หรือโมเมนตตามเข็มนาฬิกามีคาเทากับ ผลบวกของโมเมนตยอยแตละชนิด
257
ตัวอยางการคํานวณเรือ่ งโมเมนต
ตัวอยางที่ 1 คานอันหนึ่งเบามากมีน้ําหนัก 300 นิวตันแขวนทีป่ ลายคานขางหนึง่ และอยูห า งจุดหมุน 1
เมตร จงหาวาจะตองแขวนน้าํ หนัก 150 นิวตัน ทางดานตรงกันขามที่ใดคานจึงจะสมดุล

วิธีทํา สมมุตใิ หแขวนน้าํ หนัก 150 นิวตัน หางจากจุดหมุนF = x เมตร( คิดโมเมนตที่จุด F)

1. วาดรูปแสดงแนวทางของแรงที่กระทําบนคานทั้งหมด

A B
1 X
150 N

2. ให F เปนจุดหมุน หาคาโมเมนตตามและโมเมนตทวน


โมเมนตตามเข็มนาฬิกา = 150 x (X) = 150 X นิวตัน-เมตร
โมเมนตทวนเข็มนาฬิกา = 1 x (300) = 300 นิวตัน-เมตร
3. ใชกฎของโมเมนต
โมเมนตตามเข็มนาฬิกา = โมเมนตทวนเข็มนาฬิกา
150 X = 300
X = 300/150 = 2 เมตร
ตองแขวนน้าํ หนัก 150 นิวตัน หางจากจุดหมุน 2 เมตร ตอบ

ตัวอยางที่ 2 คานยาว 6 เมตร หนัก 150 นิวตัน ใชงัดกอนหินซึ่งหนัก 3000 นิวตัน โดยวางใหจดุ หมุนอยู
หางจากกอนหิน 1 เมตร จงหาวา จะตองออกแรงที่ปลายคานเพื่องัดกอนหินเทาไร

F
A
1N 2 3 B

200 N
258
วิธีทํา สมมติใหออกแรงที่จุด B = X นิวตัน และคิดโมเมนตที่จุด F
โมเมนตตามเข็มนาฬิกา = โมเมนตทวนเข็มนาฬิกา
(X x 5) + (200 x 2) = 1 x 3000
5X + 400 = 3000
5X = 3000 – 400 = 2600
X = 3600/5 = 720
ตองออกแรงพยายาม = 720 นิวตัน ตอบ

ตัวอยางที่ 3 ไมกระดานหกยาว 5 เมตร นาย ก. หนัก 400 นิวตัน ยืนอยูที่ปลาย A สวนนาย ข. หนัก 600
นิวตัน ยืนอยูที่ปลาย B อยากทราบวาจะตองวางจุดหมุนไวที่ใด คานจึงจะสมดุล

วิธีทํา

สมมุติใหจุดหมุนอยูหางจากนาย ก. X เมตร
โมเมนตตามเข็มนาฬิกา = โมเมนตทวนเข็มนาฬิกา
600 (5- X) = 400 x X
6(5-X) = 4X
30 – 6X = 4X
30 = 10X
X =3

จุดหมุนอยูหางจาก นาย ก. 3 เมตร ตอบ

การใชโมเมนตในชีวิตประจําวัน
ความรูเกี่ยวกับเรื่องของโมเมนต สามารถนําไปใชในชีวิตประจําวันในดานตางๆ มากมาย
เชน การเลนกระดานหก การหาบของ ตราชั่งจีน การแขวนโมบาย ที่เปดขวด รถเข็น คีม ที่ตัดกระดาษ
เปนตน หรือในการใชเชือกหรือสลิงยึดคานเพื่อวางคานยื่นออกมาจากกําแพง
259
แบบฝกหัด

1. จงตอบคําถามตอไปนี้
1.1 แรง หมายถึงอะไร
1.2 ผลที่เกิดจากการกระทําของแรงมีอะไรบาง
1.3 แรงมีหนวยเปนอะไร
1.4 แรงเสียดทานคืออะไร
1.5 ยานพาหนะที่ใชในปจจุบันทุกชนิดตองมีลอเพื่ออะไร
1.6 ลอรถมีตลับลูกปน ลอ และใสน้ํามันหลอลื่น เพื่ออะไร
1.7 แรงเสียดทานมีคามากหรือนอยขึ้นอยูกับอะไร
1.8 นักเทนนิสตีลูกเทนนิสอยางแรง ขณะที่ลูกเทนนิสกําลังเคลื่อนที่อยูในอากาศ มีแรงใดบางมา
กระทําตอลูกเทนนิส
1.9 ถาเรายืนชั่งน้ําหนักใกลๆ กับโตะ แลวใชมือกดบนโตะไว คาที่อานไดจากเครื่องชั่งน้ําหนัก
จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพราะเหตุใด
1.10 โมเมนต คือ อะไร มีกี่ชนิด
2. คานยาว 3 เมตร ใชงัดวัตถุหนัก 400 นิวตัน โดยวางใหจดุ หมุนอยูห า งวัตถุ 0.5 เมตร จงหาวา
จะตองออกแรงที่ปลายคานอีกขางหนึ่งเทาไร คานจึงจะสมดุล (แสดงวิธที าํ )
260

บทที่ 12
งานและพลังงาน
สาระสําคัญ
ความหมายของงานและพลังงาน รูปของพลังงานประเภทตาง ๆ พลังงานไฟฟา กฎของโอหม การตอ
วงจรความตานทานแบบตาง ๆ การคํานวณหาคาความตานทาน การใชประโยชนจากไฟฟาในชีวิตประจําวัน
และการอนุรักษพลังงานไฟฟา แสงและคุณสมบัติของสาร เลนสชนิดตาง ๆ ประโยชนและโทษของแรงตอ
ชีวิต แหลงกําเนินของพลังงานความรอน การนําความรอนไปใชประโยชน พลังงานทดแทน
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. อธิบายความหมายของงานและพลังงานในรูปแบบตาง ๆ ได
2. ตอวงจรไฟฟาอยางงายได
3. ใชกฎของโอหมในการคํานวณได
4. บอกวิธกี ารอนุรกั ษและประหยัดพลังงานได
5. อธิบายสมบัติของแสง พลังงานความรอน และนําไปใชประโยชนในชีวิตประจําวันได
6. อธิบายพลังงานทดแทนและเลือกใชได
ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความหมายของงานและพลังงาน
เรื่องที่ 2 รูปของพลังงานประเภทตาง ๆ
เรื่องที่ 3 ไฟฟา
เรื่องที่ 4 แสง
261

เรื่องที่ 1 ความหมายของงานและพลังงาน
1.1 งาน (work)
คําวา “งาน” อาจมีความหมายที่แตกตางกันไป เชน คุณทํางานหรือยัง งานหนักไหม ? ทํางานบานกัน
เถอะ เหลานี้เปนตน แตการทํางานเหลานี้ในทางวิทยาศาสตรไมถือวาเปนงาน การทํางานในทางวิทยาศาสตร
เปนงานที่ไดจากการออกแรงเพื่อทําใหวัตถุเคลื่อนที่ในทิศทางของแรงที่กระทํากับวัตถุนั้น ดังภาพ

คนยกของจากพื้นไปไวที่รถกระบะ คนหลายคนชวยกันเข็นรถทีต่ ดิ หลม


งานในชีวิตประจําวัน

W=FxS …………………… (1)


เมือ่ กําหนดให
W เปนงานที่ทําใหมีหนวยเปนจูล (Joule : J) หรือนิวตัน - เมตร(Newton – metre : N.m)
F เปนแรงที่กระทํากับวัตถุมีหนวยเปนนิวตัน (Newton : N)
S เปนระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามทางของแรงที่กระทํากับวัตถุมีหนวยเปนเมตร(Metre : m)
1.2 พลังงาน (Energy)
ในชีวิตประจําวันของเรามักไดยินคําวาพลังงานอยูบอยๆ ตัวอยางเชน เราไดพลังงานจาก
อาหาร แหลงพลังงานมีอยูหลายชนิดที่สามารถทําใหโลกเราเกิดการทํางาน และหากศึกษาวิเคราะหในเชิง
ลึกแลวจะพบวาแหลงตนตอของพลังงานที่ใชทํางานในชีวิตประจําวันสวนใหญก็ลวนมาจากพลังงานอัน
มหาศาลที่แผจากดวงอาทิตยมาสูโลกเรานี่เอง พลังงานจากดวงอาทิตยนี้นอกจากจากจะสามารถใช
ประโยชนจากแสงและความรอนในการทํางานโดยตรง เชน การใหแสงสวาง การใหความรอนความอบอุน
การตากแหงตาง ๆ แลวก็ยังกอใหเกิดแหลงพลังงานอื่น ๆ อีกมากมาย เชน
- พลังงานลม ในรูปของพลังงานจลนของลม
- พลังงานน้ํา ในรูปของพลังงานศักยของน้ําฝนที่ตกลงมา และถูกกักเก็บไวในที่สูง
- พลังงานมหาสมุทร ในรูปของพลังงานจลนของคลื่นและกระแสน้ําและพลังงานความ
รอนในน้ําของมหาสมุทร
262

- พลังงานชีวมวล ในรูปของพลังงานเคมีของชีวมวล
- พลังงานฟอสซิล ในรูปของพลังงานเคมีของถานหิน น้ํามัน และกาซธรรมชาติ แหลง
พลังงานดังกลาวนี้อาจกลาวเปนอีกนัยวาเปนแหลงพลังงานทางออมของดวงอาทิตยก็ได
263

เรื่องที่ 2 รูปของพลังงานประเภทตาง ๆ
พลังงานที่เราใชกันอยูนั้นอยูในหลายรูปแบบดวยกัน เชน เราใชพลังงานเคมี ที่ไดจากสารอาหารใน
รางกายทํางานยกวัตถุตางๆ การทําใหวัตถุเคลื่อนที่ไปเรียกวา ทําใหวัตถุเกิดพลังงานกล เราใชพลังงานความ
รอน ในการหุงหาอาหารใหความอบอุนและทําใหเครื่องจักรไอน้ําเกิดพลังงานกล พลังงานแสง ชวยใหตาเรา
มองเห็นสิ่งตางๆรอบตัวได การที่เราไดยินเสียง และเราใชพลังงานไฟฟากับเครื่องใชไฟฟาตางๆ
รูปแบบของพลังงานจัดเปน 2 กลุม คือ พลังงานที่ทํางานได และพลังงานที่เก็บสะสมไว
- พลังงานที่เก็บสะสมไว เชน พลังงานเคมี พลังงานศักย พลังงานนิวเคลียร
- พลังงานที่ทํางานได คือพลังงานที่ไดจากกิจกรรมตางๆ เชน พลังงานความรอน พลังงาน
แสง พลังงานความรอน พลังงานแสงสวาง พลังงานเสียง พลังงานจลน
- พลังงานงานในรูปอื่น ๆ เชน พลังงานชีวมวล

พลังงานที่เก็บสะสมไว
พลังงานที่เก็บสะสมไวในสสารสามารถแบงได เชน
- พลังงานเคมี
- พลังงานนิวเคลียร
- พลังงานศักย
พลังงานศักย
พลังงานศักยเปนพลังงานของวัตถุเนื่องจากตําแหนงในสนามของแรง เนื่องจากตองทํางานจาก
ตําแหนงหนึ่งพลังงานศักยเปนพลังงานที่จัดเปนพลังงานที่สะสมไว มี 2 ชนิด คือ พลังงานศักยเนื่องจากแรง
โนมถวงของโลก และพลังงานศักยที่ไดจากวัตถุที่ยืดหยุน
พลังงานศักยโนมถวง
พลังงานศักยที่ขึ้นอยูกับตําแหนง หากวัตถุอยูบริเวณพื้นผิวโลกที่มีแรงดึงดูดของโลก หรือสนาม
ความโนมถวงของโลก พลังงานศักยที่อยูที่สูงซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแรงโนมถวงของโลกที่กระทําตอวัตถุ ถาเรา
ยกวัตถุมวล m ใหสงู ขึน้ ในแนวดิง่ จากพืน้ ดินเปนระยะ h โดยที่วัตถุเคลื่อนที่ดวยความเร็วคงตัวแลว เรา
จะตองออกแรง F ขนาดหนึ่งที่มีขนาดเทากับขนาดของน้ําหนักของวัตถุ mg จึงจะสามารถยกวัตถุขึ้นได ตาม
ตองการ พลังงานศักยโนมถวงจะไดตามสมการ …………………… (2)
264

พลังงานศักยยืดหยุน
คือ พลังงานที่สะสมอยูในสปริงหรือวัตถุยืดหยุนอื่นๆ ขณะที่ยืดตัวออกจากตําแหนงสมดุล ในการออก
แรงดึงสปริง เปนระยะ x จะเกิดงานเกิดขึ้น ปริมาณงานที่เกิดขึ้นในการดึงสปริง จะเกิดพลังงานศักยยืดหยุน
ถากําหนดให แทนดวยพลังงานศักยยดื หยุน จะไดตามสมการ
…………………… (3)

เมื่อ เปนคาคงตัวของสปริง

ตัวอยางการคํานวณ รถยนตคนนั่ง 4 คน โดยนั่งขางหนา 2 คน และขางหลัง 2 คน แตละคนมีมวล 80


กิโลกรัม สปริงที่โชคอัพทั้ง 4 ตัวถูกกดลงเปนระยะ 3 เซนติเมตร อยากทราบวาคาคงตัวของสปริงและ
พลังงานศักยยืดหยุนในสปริงแตละตัวมีคาเทาไร
วิธีทํา หาคาคงตัวของสปริง

จาก และ

นิวตัน เมตร

หาคาพลังงานศักยโนมถวง

จูล
พลังงานนิวเคลียร
การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียรนั้นตองอาศัยแรธาตุบางอยาง เชน แรยูเรเนียม ธาตุดิวเทอรเรียม เปนเชื้อเพลิงซึ่ง
อาจถือไดวาเปนแหลงพลังงานที่มีตนกําเนิดจากโลกเรานี้ นักวิทยาศาสตรผูโดงดัง อัลเบิรต ไอนสไตน
(Albert Einstein) ผูคิดคนสูตรฟสิกสขึ้นเปนคนแรกที่วาดวยมวลสารสามารถแปลงเปนพลังงาน และพลังงาน
( ) ที่เกิดขึ้นมีปริมาณเทากับ ( ) ที่หายไปจากการปฏิกิริยาคูณดวยความเร็วแสง ( ) ยกกําลัง 2 ตามสูตทาง
ฟสิกสดังนี้
…………………… (4)
265

เปนที่ทราบกันแลววาแสงเดินทางเร็วมาก ๆ ( เมตรตอวินาที) และเมื่อยิ่งยกกําลังสองแลว


พลังงานที่ใหออกมาในรูปของความรอนและแสงนั้นจึงมีปริมาณมหาศาลมาก การปฏิกิริยานิวเคลียรมีอยู 2
ประเภท คือ แบบฟชชัน (Fission) และ ฟวชัน (Fusion)
พลังงานเคมี
จัดเปนพลังงานที่เก็บสะสมไวในสสารตางๆ เชน อาหาร และเชื้อเพลิง พลังงานเคมีสามารถ
เปลี่ยนเปนพลังงานรูปอื่นได เชน อาหารที่เรารับประทานเขาไปในรางกายนั้นสามารถเปลี่ยนเปนพลังงานเคมี
ไวใชประโยชนสําหรับอวัยวะตาง ๆ ในรางกายได
พลังงานทีท่ าํ งานได
คือ พลังงานที่ไดจากการทํากิจกรรมตาง ๆ ใหไดพลังงานออกมาหลายรูปแบบเชน
- พลังงานความรอน
- พลังงานแสง
- พลังงานเสียง
- พลังงานอิเล็กทรอนิกส
- พลังงานจลน
พลังงานความรอน
พลังงานความรอนที่ไดจากการเผาไหม จากเตาพลังงานความรอนเราสามารถรูสึกได พลังงานความ
รอนที่ใหญที่สุดคือดวงอาทิตยจัดเปนเหลงพลังงานความรอนที่ใหญที่สุด
พลังงานเสียง
พลังงานเสียงเปนพลังงานรูปหนึ่งที่เกิดจากการสั่นสะเทือน เราสามารถไดยินได คือเปนพลังงานรูป
หนึ่งที่สําคัญโดยมนุษย เพราะเราใชเสียงในการสื่อสาร หรือแมแตสัตว หรือพืชบางชนิดจะใชเสียงในการสง
สัญญาณเชน พลังงานเสียงที่ไดจากพูดคุยกัน พลังงานเสียงที่ไดจากเครื่องดนตรี เปนตน
พลังงานแสง
หลอดไฟฟาใหพลังงานแสงแกเรา ดวงอาทิตยเปนอีกแหลงหนึ่งที่เปนพลังงานงานแสงสวางทําใหเรา
สามารถมองเห็นสิ่งตาง ๆ ได ถาปราศจากพลังงานแสงเราจะอยูในความมืด
พลังงานอิเล็กทรอนิกส
พลังงานประเภทหนึ่งที่ทําใหคอมพิวเตอรทํางาน เปนประเภทของพลังงานที่ใชไดอยางมากและเปน
พลังงานที่ใชไดอยางตอเนื่อง
พลังงานจลน
วัตถุทุกชนิดที่เคลื่อนที่ไดลวนแตมีพลังงานจลน วัตถุที่เคลื่อนที่ไดอยางรวดเร็วแสดงวามีพลังงาน
จลนมาก ตัวอยางเชน การขับรถยนตไดเร็วจะมีพลังงานจลนมากนั้นเอง
266

การหาคาพลังงานจลนของนักเลนสกีผูนี้ จะหาไดจากสมการ ถาเขาเคลื่อนที่ ดวยความเร็ว v และมี


มวล m จะหาพลังงานจลนอยูในรูป

…………………… (5)

ตัวอยางการคํานวณ รถยนตคันหนึ่งเคลื่อนที่ดวยความเร็ว 72 กิโลเมตรตอชั่วโมงถาเรงใหมีความเร็ว 72


กิโลเมตรตอชั่วโมง พลังงานจลนของรถยนตคันนี้เคลื่อนที่ดวยพลังงานจลนที่เปลี่ยนแปลงเทาใด

วิธีทํา จากสูตร

พลังงานจลนกอนการเปลี่ยน
จูล

พลังงานจลนหลังงานเปลี่ยนแปลง
จูล
เพราะฉะนั้นพลังงานจลนที่เปลี่ยนเทากับ พลังงานจลนหลังการเปลี่ยน - พลังงานจลนกอนการเปลี่ยน
=
จูล
พลังงานจลนที่เปลี่ยนแปลง จูล ตอบ

พลังงานรูปแบบอื่น ๆ
แหลงพลังงานมีอยูหลายชนิดที่สามารถทําใหโลกเราเกิดการทํางาน และหากศึกษาวิเคราะหในเชิงลึก
แลวจะพบวาแหลงตนตอของพลังงานที่ใชทํางานในชีวิตประจําวันสวนใหญก็ลวนมาจากพลังงานอันมหาศาล
ที่แผจากดวงอาทิตยมาสูโลกเรานี่เอง พลังงานจากดวงอาทิตยนี้นอกจากจากจะสามารถใชประโยชนจากแสง
และความรอนในการทํางานโดยตรง เชน การใหแสงสวาง การใหความรอนความอบอุน การตากแหงตาง ๆ
แลวก็ยังกอใหเกิดแหลงพลังงานอื่น ๆ อีกมากมาย เชน
- พลังงานลม ในรูปของพลังงานจลนของลม
- พลังงานน้ํา ในรูปของพลังงานศักยของน้ําฝนที่ตกลงมา และถูกกักเก็บไวในที่สูง
- พลังงานมหาสมุทร ในรูปของพลังงานจลนของคลื่นและกระแสน้ําและพลังงานความ
รอนในน้ําของมหาสมุทร
- พลังงานชีวมวล ในรูปของพลังงานเคมีของชีวมวล
- พลังงานฟอสซิล ในรูปของพลังงานเคมีของถานหิน น้ํามัน และกาซธรรมชาติ แหลง
พลังงานดังกลาวนี้อาจกลาวเปนอีกนัยวาเปนแหลงพลังงานทางออมของดวงอาทิตยก็ได
267

พลังงานน้ําขึ้นน้ําลง
พลังงานน้ําขึ้นน้ําลงที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรไดจัดแยกออกจากแหลงพลังงานมหาสมุทรอื่น ๆที่ได
กลาวไวขางตน เนื่องจากแหลงพลังงานในมหาสมุทรนี้มีสาเหตุมาจากแรงดึงดูดของดวงจันทรมากกวาดวง
อาทิตยและเปนแหลงพลังงานเดียวที่เกิดจากดวงจันทรเปนหลักและมีอิทธิพลถึงโลกเรานี้ ปรากฏการณน้ํา
ขึ้นน้ําลงนี้เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย โลก และดวงจันทรโคจรมาอยูใ นแนวเดียวกัน แรงดึงดูดของดวงจันทรซง่ึ
อยูใกลโลกเรามากกวานั้นจะดึงใหน้ําตามบริเวณเขตศูนยสูตรในมหาสมุทรสูงขึ้น และเมื่อการโคจรนี้ทําให
ดวงจันทรตั้งฉากกับดวงอาทิตยก็จะทําใหน้ําบริเวณศูนยสูตรนี้ลดลง วงจรการขึ้นลงของน้ําในมหาสมุทรนี้ก็
จะสอดคลองระยะเวลาการโคจรของดวงจันทรรอบโลกเรานี้เองซึ่งจะสังเกตไดวาน้ําจะขึ้นสูงเมื่อใกลวัน
ขางขึ้นและขางแรมตามปฏิทินจันทรคติ ความแตกตางของน้ําทะเลระหวางชวงที่ขึ้นสูงและชวงที่ต่ําถือได
วาเปนพลังงานศักยอันหนึ่งที่สามารถนํามาใชประโยชนได
พลังงานลม
มีสาเหตุใหญมาจากความรอนที่แผจากดวงอาทิตยสูโลกเราใหกับอากาศไมเทาเทียมกัน ทําใหอากาศ
รอนที่เบากวาลอยขึ้นและอากาศเย็นที่หนักกวาลอยเขามาแทนที่ เชน อากาศใกลบริเวณศูนยสูตรจะรอนกวา
อากาศใกลบริเวณขั้วโลกอากาศที่เบากวาจะลอยตัวขึ้นขณะที่อากาศหนักกวาจะเคลื่อนเขามาแทนที่
ลมเปนปรากฏการณทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกตางของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศ
และแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหลานี้เปนปจจัยที่กอใหเกิดความเร็วลมและกําลังลม เปนที่ยอมรับ
โดยทั่วไปวาลมเปนพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยูในตัวเอง ซึ่งในบางครั้งแรงที่เกิดจากลมอาจทําใหบานเรือนที่อยู
อาศัยพังทลายตนไมหักโคนลง สิ่งของวัตถุตางๆ ลมหรือปลิวลอยไปตามลม ฯลฯ ในปจจุบันมนุษยจึงไดให
ความสําคัญและนําพลังงานจากลมมาใชประโยชนมากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยูโดยทั่วไป ไมตองซื้อหา
เปนพลังงานที่สะอาดไมกอใหเกิดอันตรายตอสภาพแวดลอม และสามารถนํามาใชประโยชนไดอยางไมรูจัก
หมดสิน้
พลังงานมหาสมุทร
- พลังงานคลื่นมีสาเหตุใหญมาจากน้ําบนผิวมหาสมุทรถูกพัดดวยพลังงานลมจนเกิดการ
เคลื่อนไหวเปนคลื่น
- พลังงานกระแสน้ําเปนลักษณะเดียวกับลมแตกตางกันตรงที่แทนที่จะเปนอากาศก็เปนน้ํา
ในมหาสมุทรแทน
- พลังงานความรอนในมหาสมุทรเกิดจากบริเวณผิวน้ําของมหาสมุทรที่ไดรับความรอน
จากดวงอาทิตย (ที่ประมาณยี่สิบกวาองศาเซลเซียส) ซึ่งจะรอนกวาน้ําสวนที่ลึกลงไป
(ที่น้ําลึกประมาณ 1 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส) ความแตกตางของ
อุณหภูมิเชนนี้ถือไดวาเปนแหลงพลังงานชนิดหนึ่งเชนกัน
268

พลังงานฟอสซิล
เชื้อเพลิงฟอสซิลเกิดจากการยอยสลายของสิ่งมีชีวิตภายใตสิ่งแวดลอมที่เหมาะสม เมื่อพืชและสัตว
สมัยดึกดําบรรพ (ยุคไดโนเสาร) เสียชีวิตลงจะถูกยอยสลายและทับถมกันเปนชั้น ๆอยูใตดินหรือใตพิภพ ซึ่ง
ใชเวลาหลายลานปกวาที่จะเปลี่ยนซากเหลานี้ใหกลายเปนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่รูจักกันทั่วไปคือถานหินน้ํามัน
และกาซธรรมชาติ
ตามที่ไดกลาวไวในหัวขอที่แลววาสิ่งมีชีวิตก็เปนแหลงกักเก็บของพลังงานจากดวงอาทิตย รูปแบบ
หนึง่ ดังนั้น พลังงานฟอสซิลนี้ก็ถือวาเปนแหลงกักเก็บที่เกิดขึ้นหลายลานปกอน ของสิ่งมีชีวิตในยุคนั้น
พลังงานเหลานี้จะถูกปลดปลอยออกมาไดหรือเอามาใชทํางานไดก็มีอยูวิธีเดียวเทานั้นคือการเผาไหม
ซึ่งจะทําใหคารบอนและ ไฮโดรเจนที่อยูในเชื้อเพลิงรวมกับออกซิเจนในอากาศเปน คารบอนไดออกไซด และ
น้ํานอกจากนี้ยังมีสารอื่น ๆ อันเปนองคประกอบของสิ่งมีชีวิตที่เจือปนอยูในเชื้อเพลิงอีก เชน ซัลเฟอรและ
ไนโตรเจน ก็จะถูกปลดปลอยออกมาเปนกาซซัลเฟอรออกไซด ( SOX) และไนโตรเจนออกไซด - ( NOX) เมื่อ
ทําปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ
พลังงานไฟฟา
พลังงานไฟฟานับวาเปนพลังงานที่สําคัญและมนุษยนํามาใชมากที่สุด นับแต ทอมัส แอลวา เอดิสัน
ประดิษฐหลอดไฟสําเร็จเมื่อป พ.ศ. 2422 แลว เทคโนโลยีดานเครื่องใชไฟฟาไดมีการพัฒนาอยางรวดเร็ว ดังที่
เห็นไดรอบตัวในทุกวันนี้ เครื่องใชเหลานี้ใชเปลี่ยนพลังงานไฟฟาไปเปนพลังงานรูปอื่น
สิ่งที่นําพลังงานไฟฟาจากแหลงกําเนิดพลังงานไฟฟาไปยังเครื่องใชไฟฟาในบานและโรงงาน
อุตสาหกรรม ก็คือ กระแสไฟฟา เราสงกระแสไฟฟาไปยังที่ตางๆไดโดยผานกระแสไฟฟาไปตามสายไฟฟาซึ่ง
ทําดวยสาร ที่ยอมใหกระแสไฟฟาผานได
พลังงานชีวมวล
พืชทั้งหลายในโลกเรากอเกิดขึ้นมาไดลวนแตอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย พืชทําหนาที่เปลี่ยน
พลังงานแสงอาทิตยแลวเก็บสะสมไวเพื่อการดํารงชีพและเปนสวนประกอบสําคัญที่กอใหเกิดการเจริญเติบโต
ตามสวนตาง ๆ ของพืช เชน ราก ลําตน ใบ ดอกไม และผล ขบวนการสําคัญที่เก็บสะสมพลังงานแสงอาทิตยนี้
เรียกกันวากระบวนการสังเคราะหแสงโดยอาศัยสารคลอโรฟลล (Chlorophyll) บนพืชสีเขียวที่ทําตัวเสมือน
เปนโรงงานเล็ก ดูดกาซคารบอนไดออกไซด ( ) จากอากาศ และน้ํา ( ) จากดินมาทําปฏิกิริยากันแลว
ผลิตเปนสารประกอบกลุมหนึ่งขึ้นมา เชน น้ําตาล แปง และเซลลูโลส ซึ่งเรียกรวม ๆ วาคารโบไฮเดรต
(Carbohydrate) พลังงานแสงอาทิตยนี้จะถูกสะสมในรูปแบบของพันธเคมี ( Chemicalbonds) ของ
สารประกอบเหลานี้
สัตวทั้งหลายมีทั้งกินพืชและสัตว มนุษยกินพืช และสัตวการกินกันเปนทอด ๆ (หวงโซอาหาร) ของ
สิ่งมีชีวิต ทําใหมีการถายทอดพลังงานเคมีจากพืชไปสูสัตวและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ซึ่งอาจกลาวโดยสรุปคือ การ
269

ทํางานของสิ่งมีชีวิตโดยพื้นฐานลวนอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตยและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตก็เปน
แหลงสะสมพลังงานที่ไดรับจากดวงอาทิตยอีกเชนกัน
พลังงานชีวมวลก็ คือ พลังงานที่สะสมอยูในสิ่งมีชีวิตที่สามารถนํามาใชทํางานได เชน ตนไม กิ่งไม
หรือเศษวัสดุจากการเกษตรหรืออุตสาหกรรม เชน แกลบ ฟาง ชานออย ขี้เลื่อย เศษไม เปลือกไม มูลสัตว
รวมทั้งของเหลือหรือขยะจากครัวเรือนมนุษย เราไดใชพลังงานจากชีวมวลมาเปนเวลานานแลวจนถึงปจจุบัน
ก็ยังมีการน้ํามาใชประโยชนในสัดสวนที่ไมนอยเลยโดยเฉพาะประเทศที่กําลังพัฒนาอยางบานเราตามชนบทก็
ยังมีการใชไมฟนหรือถานในการหุงหาอาหาร

พลังงานทดแทน
พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นํามาใชแทนน้ํามันเชื้อเพลิง สามารถแบงตามแหลงที่ไดมาก
เปน 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหลงที่ใชแลวหมดไป อาจเรียกวา พลังงานสิ้นเปลือง ไดแก ถานหิน
กาซธรรมชาติ นิวเคลียร หินน้ํามัน และทรายน้ํามัน เปนตน และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึง่ เปนแหลง
พลังงานที่ใชแลวสามารถหมุนเวียนมาใชไดอีก เรียกวา พลังงานหมุนเวียน ไดแก แสงอาทิตย ลม ชีวมวล น้ํา
และไฮโดรเจน เปนตน ซึ่งในที่นี้จะขอกลาวถึงเฉพาะศักยภาพ และสถานภาพการใชประโยชนของพลังงาน
ทดแทน การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเปนการศึกษา คนควา ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจน
สงเสริมและเผยแพรพลังงานทดแทน ซึ่งเปนพลังงานที่สะอาด ไมมีผลกระทบตอสิ่งแวดลอม และเปนแหลง
พลังงานที่มีอยูในทองถิ่น เชน พลังงานลม แสงอาทิตย ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อใหมีการผลิต และการใช
ประโยชนอยางแพรหลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางดานเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม
สําหรับผูใชในเมือง และชนบท ซึ่งในการศึกษา คนควา และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกลาว ยังรวมถึงการ
พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช และอุปกรณเพื่อการใชงานมีประสิทธิภาพสูงสุดดวย งานศึกษา และพัฒนาพลังงาน
ทดแทน เปนสวนหนึง่ ของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวของโดยตรงภายใตแผนงานนี้
คือ โครงการศึกษาวิจัยดานพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบ
ผลิตไฟฟาประจุแบตเตอรี่ดวยเซลลแสงอาทิตยสําหรับหมูบานชนบทที่ไมมีไฟฟา โดยงานศึกษา และพัฒนา
พลังงานทดแทนจะเปนงานประจําที่มีลักษณะการดําเนินงานของกิจกรรมตางๆ ในเชิงกวางเพื่อสนับสนุนการ
พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ทั้งในดานวิชาการเชิงทฤษฎี และอุปกรณเครื่องมือทดลอง และการ
ทดสอบ รวมถึงการสงเสริมและเผยแพร ซึ่งจะเปนการสนับสนุน และรองรับความพรอมในการจัดตั้ง
โครงการใหมๆ ในโครงการศึกษาวิจัยดานพลังงานและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวของ เชน การศึกษาคนควา
เบื้องตน การติดตามความกาวหนาและรวมมือประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวของในการพัฒนาตนแบบ
ทดสอบ วิเคราะห และประเมินความเหมาะสมเบื้องตน และเปนงานสงเสริมการพัฒนาโครงการที่กําลัง
ดําเนินการใหมีความสมบูรณยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนใหโครงการทีเ่ สร็จสิน้ แลวไดนาํ ผลไปดําเนินการ
สงเสริม และเผยแพรและการใชประโยชนอยางเหมาะสมตอไป
270

เรื่องที่ 3 ไฟฟา
3.1 พลังงานไฟฟา
เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งภายในตัวนําไฟฟาการเคลื่อนที่ของ
อิเล็กตรอน เรียกวา กระแสไฟฟา Electrical Current ซึ่งเกิดจากการนําวัตถุที่มีประจุไฟฟาตางกันนํามาวาง
ไวใกลกันโดยจะใชตัวนําทางไฟฟา คือ ทองแดง การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่จากวัตถุที่มีประจุ
ไฟฟาบวกไปยังวัตถุ ที่มีประจุไฟฟาลบมีหนวยเปน Ampere อักษรยอคือ “ A “

รูปการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในตัวนําไฟฟา
271

กระแสไฟฟาสามารถแบงออกไดเปน 2 ชนิด
1. ไฟฟากระแสตรง (Direct Current) เปนกระแสไฟฟาที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจาก
แหลงจายไฟฟาไปยังอุปกรณไฟฟาใดๆไดเพียงทิศทางเดียว สําหรับแหลงจายไฟฟานั้น มาจากเซลลปฐมภูมิ
คือถานไฟฉาย หรือเซลลทุติยภูมิคือ แบตเตอรรี่ หรือเครื่องกําเนิดไฟฟากระแสตรง

รูปแบตเตอรรี่หรือเครื่องกําเนิดไฟฟากระแสตรง

2. ไฟฟากระแสสลับ (Alternating Current) เปนกระแสไฟฟาที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน


จากแหลงจายไฟไปยังอุปกรณไฟฟาใดๆโดยมีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาตลอดเวลา สําหรับแหลงจายไฟนั้น
มาจากเครื่องกําเนิดไฟฟากระแสสลับชนิดหนึ่งเฟสหรือเครื่องกําเนิดไฟฟากระแสสลับชนิดสามเฟส

รูปที่ เครื่องกําเนิดไฟฟากระแสสลับ

แรงดันไฟฟา (Voltage) เปนแรงที่ทําใหอิเล็กตรอนเกิดการเคลื่อนที่ หรือแรงที่ทําใหเกิดการไหล


ของไฟฟาโดยแรงดันไฟฟาที่มีระดับตางกันจะมีปริมาณไฟฟาสูงเนื่องจากปริมาณประจุไฟฟาทั้งสองดานมี
ความแตกตางกัน ทําใหเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน โดยทั่ว ๆไปแลวแรงดันไฟฟาที่ตกครอมอุปกรณ
ไฟฟาแตละตัวภายในวงจรไฟฟาหรือแรงดันไฟฟาของแหลงจายไฟฟา จะใชหนวยของแรงดันไฟฟาจะใช
ตัวอักษร V ตัวใหญธรรมดา จะแทนคําวา Volt ซึง่ เปนหนวยวัดของแรงดันไฟฟา
272

รูปการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากศักยสูงไปศักยต่ํา

ความตานทานไฟฟา (Resistance) เปนการตอตานการไหลของกระแสไฟฟาของวัตถุซึ่งจะมีคามาก


หรือคานอยจะขึ้นอยูกับชนิดของวัตถุนั้นๆ ความตานทานจะมีหนวยวัดเปน โอหม และจะใชสัญลักษณเปน
(Ohms)
ตัวนําไฟฟา (Conductors) วัตถุที่กระแสไฟฟาสามารถไหลผานไดโดยงายหรือวัตถุที่มีความ
ตานทานต่ํา เชนทองแดง อลูมิเนียม ทอง และเงิน ซึ่งเปนตัวนําไฟฟาที่ดีที่สุด คาความนําไฟฟาจะมีสัญลักษณ
เปน G และมีหนวยเปน ซีเมนส (S) โดยมีสูตรการคํานวณดังนี้

G = 1/R …………………… (6)


ตัวอยาง
วัตถุชนิดหนึ่งมีคาความตานทานไฟฟา 25 โอหม จงคํานวณหาคาความนําไฟฟาของวัตถุชนิดนี้มีคาเปนเทาไร
จากสูตร G = 1/R
แทนคา G = 1/25
คําตอบ G = 40 mS
273

ฉนวนไฟฟา (Insulators) วัตถุที่ซึ่งไมยอมใหกระแสไฟฟาไหลผานไปได หรือวัตถุที่มีความ


ตานทานไฟฟาสูง ซึ่งสามารถตานทานการไหลของกระแสได เชน ไมกา แกว และพลาสติก
3.2 กฎของโอหม
กระแสไฟฟาที่ไหลในวงจรไฟฟาไดนั้น เกิดจากแรงดันไฟฟาที่จายใหกับวงจรและปริมาณ
กระแสไฟฟาภายในวงจรจะถูกจํากัดโดยความตานทานไฟฟาภายในวงจรไฟฟานั้นๆ ดังนั้นปริมาณ
กระแสไฟฟาภายในวงจรจะขึ้นอยูกับแรงดันไฟฟาและคาความตานทานของวงจร ซึ่งวงจรนี้ถูกคนพบ
ดวย George Simon Ohm เปนนักฟสิกสชาวเยอรมันและนําออกมาเผยแพรในป ค.ศ. 1826 ซึ่งวงจรนี้
เรียกวา กฎของโอหม กลาววากระแสไฟฟาทีไ่ หลในวงจรจะแปรผันตรงกับแรงดันไฟฟาและแปรผกผัน
กับคาความตานทานไฟฟา โดยเขียนความสัมพันธไดดงั นี้

แอมแปร ……………… (7)


ตัวอยาง
จงคํานวนหาคาปริมาณกระแสไฟฟาของวงจรไฟฟาที่มีแรงดันไฟฟาขนาด 50 โวลต และมีคาความ
ตานทานของวงจรเทากับ 5โอหม
วิธีทํา
จากสูตร
แทนคา
274

กิจกรรมการเรียนรูเรื่อง การทดลองกฎของโอหม
อุปกรณทดลอง
1. เครื่องจายไฟฟากระแสตรงปรับคาได 0.30 V
2. มัลติมิเตอร
3. ตัวตานทานขนาดตาง ๆ จํานวน 3 ตัว
4. สายไฟ
การทดลอง

รูปที่ แสดงการตอวงจรเพื่อพิสูจนกฎของโอหม

1. นําตัวตานทาน แหลงจายไฟฟากระแสตรงที่ปรับคาได ตอวงจรดังรูป


2. ปรับคาโวลตที่แหลงจายไฟ ประมาณ 5 คา และแตละครั้งที่ปรับคาโวลต ใหวัดคากระแสไฟที่ไหล
ผานวงจร บันทึกผลการทดลอง
V
3. หาคาระหวาง
I
4. นําคาที่ไดไปเขียนกราฟระหวาง V กับ I
5. หาคาความชัน เปรียบเทียบกับคาที่ไดในขอ 3 เปรียบเทียบตัวตานทานและทําการทดลอง
เชนเดียวกันกับขอ 1 – 4

คําถาม
V
คา ที่ทดลองไดเปนไปตามกฎของโอหมหรือไม เพราะเหตุใด
I
275

3.3 การตอความตานทานแบบตาง ๆ
การตอความตานทาน หมายถึง การนําเอาความตานทานหลายๆ ตัวมาตอรวมกันในระหวางจุดสองจุด
ซึ่งในบทนี้จะกลาวถึงการตอความตานทานในลักษณะ ตางๆ กันโดยตั้งแตการตอความตานทานแบบ
อนุกรม การตอความตานทานแบบขนานและการตอความตานทานแบบผสม นอกจากนี้ลักษณะของตัวอยาง
ตาง ๆ ที่เราจะพบใน บทนี้นั้นสวนใหญแลวจะแนะนําถึงวิธีการพิจารณาและวิธีการคํานวณที่งาย ๆ เพือ่ ให
รวดเร็วที่สุดเทาที่จะกระทําไดทั้งนี้ก็เพื่อใหเปนแนวทางในการนําไปใชในการคํานวณเกี่ยวกับวงจรไฟฟาที่
ประกอบดวยความตานทานหลาย ๆ ตัวที่ตอกันในลักษณะยุงยากและซับซอนไดอยางถูกตองรวดเร็วและมี
ความมั่นใจในการแกปญหาโจทยเกี่ยวกับวงจรไฟฟาโดยทั่วๆ ไป

การตอความตานทานแบบอนุกรม
การตอความตานทานแบบอนุกรม หมายถึง การนําเอาความตานทานมาตอเรียงกันโดยให ปลายสาย
ของความตานทานตัวที่สองตอเชื่อมกับปลายของความตานทานตัวที่สาม ถาหากวามีความตานทานตัวที่สี่หรือ
ตัวตอ ๆ ไป ก็นํามาตอเรียงกันไปเรื่อย ๆ เปนลักษณะในแบบลูกโซซึ่งเราสามารถที่จะเขาใจไดงาย โดยการ
พิจารณาจาก

รูปการตอความตานทานแบบอนุกรม

จากรูปการตอความตานทานแบบอนุกรม จะได
Rt = R1 + R2 + R3
ในที่นี้
Rt = ความตานทานรวมหรือความตานทานทั้งหมด
R1 , R2 , R3 = ความตานทานยอย
276

การตอความตานทานแบบขนาน
การตอความตานทานแบบขนาน หมายถึง การนําเอาความตานทานหลาย ๆ ตัวมาตอเชื่อมกันใหอยูใน
ระหวางจุด 2 จุด โดยใหปลายดานหนึ่งของความตานทานทุก ๆ ตัวมาตอรวมกันที่จุด ๆ หนึ่ง และใหปลาย
อีกดานหนึ่งของความตานทานทุก ๆ ตัวมาตอรวมกันอีกที่จุดหนึ่ง ๆ ซึ่งพิจารณาไดอยางชัดเจนจาก รูปการตอ
ความตานทานแบบขนาน

รูปการตอความตานทานแบบขนาน
จากรูปการตอความตานทานแบบขนานจะได
1/Rt = (1/R1+1/R2+1/R3)
= (R2R3+R1R3+R1R2)/(R1R2R3)
ดังนั้น Rt = (R1R2R3)/(R2R3+R1R3+R1R2)
ในที่นี้ Rt = ความตานทานรวม หรือความตานทานทั้งหมด R1,R2,R3 = ความตานทานยอย
ขอสังเกต เมื่อความตานทาน 2 ตัวตอขนานกันและมีคาเทากันการคํานวณหาคาความตานทานรวมให
ใชคาความตานทานตัวใดตัวหนึ่งเปนตัวตั้ง (เพราะมีคาเทากัน)แลวหารดวยจํานวนของความตานทาน
คือ 2 ในลักษณะทํานองเดียวกัน ถาหากวามีความตานทานทั้งหมด n ตัวตอขนานกันและแตละตัวมีคา
เทา ๆ กันแลวเมื่อคํานวณหาคาความตานทานรวม ก็ใหใชคาของความตานทานตัวใดตัวหนึ่งเปนตัวตั้งแลว
หารดวยจํานวนของตัวตานทาน คือ n
วงจรแบบผสม
วงจรไฟฟาแบบผสม คือวงจรที่ประกอบดวยวงจรอนุกรม ( Series Circuit )และวงจรขนาน
( Parallel Circuit ) ยอยๆ อยูในวงจรใหญเดียวกัน ดังนั้นในการคํานวณเพื่อวิเคราะหหาคาปริมาณทางไฟฟา
ตางๆ เชน กระแสไฟฟา ( Current ) แรงดันไฟฟา ( Voltage ) และคาความตานทานรวม จึงตองใชความรูจาก
วงจรไฟฟาแบบอนุกรม วงจรไฟฟาแบบขนาน และกฎของโอหม ( Ohm’s Law ) วงจรไฟฟาแบบผสม
โดยทั่วไปจะมีอยู 2 ลักษณะ คือ แบบอนุกรม – ขนาน (Series -Parallel) และแบบขนาน – อนุกรม (Parallel –
Series ) ดังรูป วงจรไฟฟากระแสตรงแบบผสม (อนุกรม – ขนาน)
277

รูปวงจรไฟฟากระแสตรงแบบผสม (อนุกรม – ขนาน)


การหาคาความตานทานรวม ( RT ) จึงตองหาคาความตานทานรวม ( RT2 ) ระหวางตัวตานทานตัวที่ 2
และความตานทานตัวที่ 3 แบบวงจรขนานกอน จากนั้นจึงนําคาความตานทานรวม ( RT2 ) มารวมกับคาความ
ตานทานตัวที่ 1 ( RT1 ) แบบวงจรไฟฟาอนุกรม ( Series Circuit ) ในการหาคากระแสไฟฟา ( Current ) และ
แรงดันไฟฟา ( Voltage )ใหหาคาในวงจรโดยใชลกั ษณะและวิธกี ารเดียวกัน กับวงจรอนุกรม วงจรขนาน
ดังที่ผานมาโดยใหหาคาตางๆในวงจรรวม ก็จะไดคาตางๆตามที่ตองการ

3.4 การคํานวณหาคาความตานทาน
วงจรอนุกรม และวงจรขนาน
ตัวตานทานที่ตอแบบขนาน จะมีความตางศักยเทากันทุกตัว เราจึงหาความตานทานที่สมมูล ( R eq )
เสมือนวามีตัวตานทานเพียงตัวเดียว ไดดังนี้

เราสามารถแทนตัวตานทานที่ตอขนานกัน ดวยเสนตรง 2 เสน " || " ได สําหรับตัวตานทาน 2 ตัว เราจะเขียน


ดังนี้
278

กระแสไฟฟาที่ไหลผานตัวตานทานแบบอนุกรมจะเทากันเสมอ แตความตางศักยของตัวตานทานแตละตัวจะ
ไมเทากัน ดังนั้น ความตางศักยทั้งหมดจึงเทากับผลรวมของความตางศักย เราจึงหาความตานทานไดเทากับ

ตัวตานทานทีต่ อ แบบขนานและแบบอนุกรม รวมกันนัน้ เราสามารถแบงเปนสวนเล็กๆกอน แลวคํานวณความ


ตานทานทีละสวนได ดังตัวอยางนี้

ตัวตานทานแบบ 4 แถบสี
ตัวตานทานแบบ 4 แถบสีนั้นเปนแบบที่นิยมใชมากที่สุด โดยจะมีแถบสีระบายเปนเสน 4 เสนรอบตัว
ตานทาน โดยคาตัวเลขของ 2 แถบแรกจะเปน คาสองหลักแรกของความตานทาน แถบที่ 3 เปนตัวคูณ และ
แถบที่ 4 เปนคา ขอบเขตความเบี่ยงเบน ซึ่งมีคาเปน 2% , 5% , หรือ 10%

คาของรหัสสีตามมาตรฐาน EIA EIA-RS- 279


แถบ 3 แถบ 4
สี แถบ 1 แถบ 2 สัมประสิทธิ์ของอุณหภูมิ
( ตัวคูณ) ( ขอบเขตความเบี่ยงเบน)
ดํา 0 0 ?10 0
น้ําตาล 1 1 ?10 1 ?1% (F) 100 ppm
แดง 2 2 ?10 2 ?2% (G) 50 ppm
สม 3 3 ?10 3 15 ppm
เหลือง 4 4 ?10 4 25 ppm
เขียว 5 5 ?10 5 ?0.5% (D)
น้ําเงิน 6 6 ?10 6 ?0.25% (C)
มวง 7 7 ?10 7 ?0.1% (B)
เทา 8 8 ?10 8 ?0.05% (A)
ขาว 9 9 ?10 9
279

ทอง ?0.1 ?5% (J)


เงิน ?0.01 ?10% (K)
ไมมีสี ?20% (M)

หมายเหตุ : สีแดง ถึง มวง เปนสีรุง โดยที่สีแดงเปนสีพลังงานต่ํา และ สีมวงเปนสีพลังงานสูง

คาที่พึงประสงค
ตัวตานทานมาตรฐานที่ผลิต มีคาตั้งแตมิลลิโอหม จนถึง กิกะโอหม ซึ่งในชวงนี้ จะมีเพียงบางคาที่
เรียกวา คาที่พึง ประสงค เทานั้นที่ถูกผลิต และตัวทรานซิสเตอรที่เปนอุปกรณแยกในทองตลาดเหลานี้นั้น
ในทางปฏิบัติแลวไมไดมีคาตาม อุดมคติ ดังนั้นจึงมีการระบุขอบเขตของ การเบี่ยงเบนจากคาที่ระบุไว โดย
การใชแถบสีแถบสุดทาย
ตัวตานทานแบบมี 5 แถบสี
5 แถบสีนั้นปกติใชสําหรับตัวตานทานที่มีความแมนยําสูง (โดยมีคาขอบเขตของความเบี่ยงเบน 1%,
0.5%, 0.25% , 0.1%) แถบสี 3 แถบแรกนั้นใชระบุคาความตานทาน แถบที่ 4 ใชระบุคาตัวคูณ และ แถบที่ 5
ใชระบุขอบเขตของความ เบี่ยงเบน สวนตัวตานทานแบบ 5 แถบสีที่มีความแมนยําปกติ มีพบไดในตัว
ตานทานรุนเกา หรือ ตัวตานทานแบบพิเศษ ซึ่งคาขอบเขตของความเบี่ยงเบน จะอยูในตําแหนงปกติคือ แถบที่
4 สวนแถบที่ 5 นั้นใชบอกคาสัมประสิทธิ์ของอุณหภูมิ

ตัวตานทานแบบ SMT
ตัวตานทานแบบประกบผิวหนา ระบุคาความตานทานดวยรหัสตัวเลข โดยตัวตานทาน SMT ความ
แมนยําปกติ จะระบุดวยรหัสเลข 3 หลัก สองหลักแรกบอกคาสองหลักแรกของความตานทาน และ หลักที่ 3
คือคาเลขยกกําลังของ 10 ตัวอยางเชน "472" ใชหมายถึง "47" เปนคาสองหลักแรกของคาความตานทาน คูณ
ดวย 10 ยกกําลังสอง โอหม สวนตัวตานทาน SMT ความแมนยําสูง จะใชรหัสเลข
4 หลัก โดยที่ 3 หลักแรกบอกคาสามหลักแรกของความตานทาน และ หลักที่ 4 คือคาเลขยกกําลังของ 10

การวัดตัวตานทาน
ตัวตานทานก็คือตัวนําที่เลวได หรือในทางกลับกันตัวนําทีดีหรือตัวนําสมบูรณ เชน ซูเปอรคอนดัก
เตอร จะไมมีคาความตานทานเลย ดังนั้น ถาตองการทดสอบเครื่องมือวัดของเราวา มีคาเที่ยงตรง ในการวัด
มากนอยเทาใด เราสามารถทดสอบ ไดโดยการนําเครื่องมือวัดของเราไปวัดตัวนําที่มีคาความตานทาน ศูนย
โอหม เครื่องมือที่นําไปวัดจะตองวัดคาไดเทากับ ศูนยโอหมทุก ยานวัด (รูปที่ 1) ตัวนําที่ดีที่สุดหรือตัวนําที่
280

คอนขางดี จําเปนมากสําหรับวงจรอิเล็กทรอนิกสทั่วไป ในงานอิเล็กทรอนิกสจะใชอุปกรณที่รูจักกันในชื่อวา


โอหมมิเตอร เปนเครื่องมือที่ใชตรวจสอบคาความตานทานของตัวตานทาน

รูปที่ 1 ถาเราวัดความตานทานของตัวนําที่ดีจะไมมีความตานทานคือวัดไดศูนยโอหม

กิจกรรมการทดลอง เรื่อง ตัวตานทาน

วัตถุประสงค
1. เขาใจหลักการอานคาสีตัวตานทานไฟฟา
2. สามารถอานคาสีจากตัวตานทานไฟฟาไดอยางถูกตอง
อุปกรณที่ใชในการทดลอง
1. ตัวตานทานคาตางๆ

ตัวตานทานไฟฟา(Resistor)

ทดลอง
1.จากตัวตานทานสี น้ําตาล สี แดง สี สม แลวอานคาตานทาน กอนทดลอง (ตัวอยาง)
อานคาความตานทานดวยตนเองไดผล = ....................... โอหม
2.ใหเลือกตัวตานทานที่จัดเตรียมใหและนําไปทําการทดลองลงตามตาราง
3. จากตารางดานลางใหเขียนสีในแตละแถบสีเพื่อใหไดคาความตานทานตามกําหนด และใหลงมือปฏิบัติ
เปลี่ยนคาสีตามที่เขียนไวเพื่อดูผลเทียบกับที่เขียนไว
281

สีแถบสีที่ 1 สีแถบสีที่ 2 สีแถบสีที่ 3


30 โอหม
45 โอหม
53 โอหม
330 โอหม
680 โอหม
940 โอหม
1.2 กิโลโอหม
3.5 กิโลโอหม
120 กิโลโอหม
480 กิโลโอหม
1000 กิโลโอหม
1200 กิโลโอหม
3.5 ไฟฟาในชีวิตประจําวัน

ไฟฟาเปนสิ่งที่จําเปนและมีอิทธิพลมากใน
ชีวิตประจําวันของเราตั้งแตเกิดจนกระทั่งตาย เราสามารถ
นําไฟฟามาใชประโยชนในดานตางๆเชน ดานแสงสวาง
ดานความรอน ดานพลังงาน ดานเสียง เปนตน และการ
ใชประโยชนจากไฟฟาก็ตองใชอยางระมัดระวัง ตอง
เรียนรูการใชที่ถูกวิธี ตองรูวิธีการปองกันที่ถูกตอง ในที่นี้
จะขอกลาวถึงประเภทของไฟฟา และอุปกรณไฟฟาในชีวิตประจําวันที่ควรจะรูจัก

ไฟฟาในชีวิตประจําวันที่ควรรูจัก
1.เมนสวิตช (Main Switch) หรือสวิตชประธาน เปนอุปกรณหลักที่ใชสําหรับ ตัดตอวงจรของสายเมน
เขาอาคาร กับสายภายใน ทั้งหมด เปนอุปกรณสับปลด วงจรไฟฟาตัวแรก ถัดจากเครื่องวัดหนวยไฟฟา
(มิเตอร) ของการนําไฟฟา เขามาในบาน เมนสวิชตประกอบดวย เครื่องปลดวงจร ( Disconnecting Means)
และเครื่องปองกันกระแสเกิน ( Overcurrent Protective Device) หนาที่ของเมนสวิตช คือ คอยควบคุมการใช
ไฟฟา ใหเกิดความปลอดภัย ในกรณีที่ เกิดกระแสไฟฟาเกิน หรือ เกิดไฟฟาลัดวงจร เราสามารถสับหรือปลด
ออกไดทันที เพื่อตัดไมใหกระแสไฟฟาไหลเขามายังอาคาร
282

2.เบรกเกอร (เซอรกติ เบรกเกอร) หรือ สวิชตอัตโนมัติ หมายถึง อุปกรณที่สามารถใชสับ หรือปลด


วงจรไฟฟาไดโดยอัตโนมัติ โดยกระแสลัดวงจรนัน้ ตองไมเกินขนาดพิกดั ในการตัดกระแสลัดวงจรของ
เครือ่ ง (IC)
3. ฟวส เปนอุปกรณปองกัน กระแสไฟฟาเกินชนิดหนึ่ง โดยจะตัดวงจรไฟฟาอัตโนมัติ เมื่อมี
กระแสไฟฟาไหลเกินคาที่กําหนด และเมื่อฟวสทํางานแลว จะตองเปลี่ยนฟวสใหม ขนาดพิกัดการตัดกระแส
ลัดวงจร (IC) ของฟวสตองไมต่ํากวาขนาดกระแสลัดวงจรที่ผานฟวส
4. เครื่องตัดไฟรั่ว หมายถึง สวิชตอัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรไดอยางรวดเร็ว ภายในระยะเวลาที่กําหนด
เมื่อมีกระแสไฟฟารั่วไหลลงดินในปริมาณที่มากกวาคาที่กําหนดไว เครื่องตัดไฟรั่วมักจะใชเปนอุปกรณ
ปองกันเสริมกับระบบสายดิน เพื่อปองกันอันตรายจากไฟฟาดูด กรณีเครื่องใชไฟฟาที่ใชมีไฟรั่วเกิดขึ้น
5. สายดิน คือสายไฟเสนที่มีไวเพื่อใหเกิดความปลอดภัยตอการใชไฟฟา ปลายดานหนึ่งของสายดิน
จะตองมีการตอลงดิน สวนปลายอีกดานหนึ่ง จะตอเขากับวัตถุหรือเครื่องใชไฟฟา ที่ตองการใหมีศักยไฟฟา
เปนศูนยเทากับพื้นดิน
6. เตารับ หรือปลั๊กตัวเมีย คือ ขั้วรับสําหรับหัวเสียบ จากเครื่องใชไฟฟา ปกติเตารับจะติดตั้งอยูกับที่
เชน ติดอยูกับผนังอาคาร เปนตน
7. เตาเสียบ หรือปลั๊กตัวผู คือ ขั้วหรือหัวเสียบจากเครื่องใชไฟฟาเพื่อเสียบเขากับเตารับ ทําใหสามารถ
ใชเครื่องใชไฟฟานั้นได
8. เครื่องใชไฟฟาประเภท 1 หมายถึง เครื่องใชไฟฟาทั่วไปที่มีความหนาของฉนวนไฟฟาเพียงพอ
สําหรับการใชงานปกติเทานั้น โดยมักมีเปลือกนอก ของเครื่องใชไฟฟาทําดวยโลหะ เครื่องใชไฟฟาประเภทนี้
ผูผลิตจําเปนจะตองมีการตอสายดินของอุปกรณไฟฟาเขากับสวนที่เปนโลหะนั้น เพื่อใหสามารถตอลงดิน
มายังตูเมนสวิชต โดยผานทางขั้วสายดินของเตาเสียบ-เตารับ
9. เครื่องใชไฟฟาประเภท 2 หมายถึง เครื่องใชไฟฟาที่มีการหุมฉนวน สวนที่มีไฟฟา ดวยฉนวนที่มี
ความหนาเปน 2 เทาของความหนาที่ใชสําหรับเครื่องใชไฟฟาทั่วๆ ไป เครื่องใชไฟฟาประเภทนี้ไมจําเปนตอง
ตอสายดิน
10. เครื่องใชไฟฟาประเภท 3 หมายถึง เครื่องใชไฟฟาที่ใชกับแรงดันไฟฟากระแสสลับไมเกิน 50
โวลต เครื่องใชไฟฟาประเภทนี้ไมตองมีสายดิน
283

การปองกันอันตรายจากไฟฟาและการชวยเหลือผูประสบอันตรายจากไฟฟา
1. การปองกันอันตรายจากไฟฟา
สายไฟฟาและเครื่องใชไฟฟาตามปกติจะตองมีฉนวนหุม และมีการ
ตอสายอยางถูกตองและแข็งแรง เมื่อใชไฟฟาเปนระยะเวลานาน ฉนวนไฟฟา
อาจชํารุดฉีกขาด รอยตอหลวม หรือหลุดได เมื่อผูใชไฟฟาสัมผัสสวนที่เปน
โลหะจะเกิดกระแสไฟฟาผานรางกายลงดินอันตรายถึงเสียชีวิตได จึงควร
ปองกันเบื้องตน ดังนี้คือ
1. ตรวจดูฉนวน รอยตอ ของสายไฟฟากอนใชงาน
2. ใชไขควงขันรอยตอสายไฟฟากับอุปกรณใหแนนอยูในสภาพดีพรอมที่จะใชงาน
2. การปฐมพยาบาลและการเคลื่อนยายผูประสบอันตรายจากไฟฟา
การตอสายดิน คือ การตอสายไฟฟาขนาดที่เหมาะสมจากเปลือกโลหะของอุปกรณไฟฟาหรือ
เครื่องใชไฟฟานั้นลงสูดิน เพื่อใหกระแสที่รั่วออกมาไหลลงสูดิน ทําใหผูใชไฟฟาปลอดภัยจากการถูก
กระแสไฟฟา
3.การตอสายดินและตออุปกรณปองกันกระแสไฟฟารั่ว
อุปกรณการปองกันกระแสไฟฟารั่ว การเกิดกระแสไฟฟารั่วในระบบจําหนายไฟฟาทั่วไปนั้น มี
โอกาสเกิดขึ้นไดเนื่องจากการใชงาน ความเสื่อมของฉนวนตามอายุการใชงานและอุบัติเหตุตาง ๆที่อาจจะ
เกิดขึ้นได กระแสไฟฟารั่ว และการเกิดกระแสไฟฟาลัดวงจร ( short circuit) นั้น ไมมีผูใดทราบลวงหนาได จึง
จําเปนที่จะตองมีอุปกรณที่ใชเปนเครื่องบอกเหตุตาง ๆ ไว และทําการตัดวงจรไฟฟากอนที่จะเปนอันตราย
วิศวกรคิดวิธีปองกันไฟฟารั่วไว 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 คือ การตอสายดิน
เมื่อกระแสไฟฟารั่วไหลลงดินมีปริมาณมากพอ ทําใหเครื่องตัดวงจรทํางานตัดวงจรกระแสไฟฟาใน
วงจรนั้นออกไป ทําใหไมมีกระแสไฟฟา
วิธีที่ 2 ใชเครื่องปองกันกระแสไฟฟารั่ว
โดยอาศัยหลักการของการเหนี่ยวนําไฟฟาในหมอแปลงไฟฟาในสภาวะปกติกระแสไฟฟาไหลเขา
และไหลออกจากอุปกรณไฟฟาในวงจรเทากัน เสนแรงแมเหล็กที่เกิดขึ้นในแกนเหล็กจากขดลวดปฐมภูมิทั้ง
สองขดเทากัน จึงหักลางกันหมด กระแสไฟฟาในขดลวดทุติยภูมิไมมี เมื่อกระแสไฟฟารั่วเกิดขึ้น สายไฟฟา
284

ทั้งสองมีกระแสไหลไมเทากัน ทําใหเกิดเสนแรงแมเหล็กในแกนเหล็กเหนี่ยวนําไฟฟาขึ้นในขดลวดทุติยภูมิ
สงสัญญาณไปทําใหตัดวงจรไฟฟาออก
ผูประสบอันตรายจากกระแสไฟฟาจะเกิดอาการสิ้นสติ ( shock) ผูที่อยูขางเคียงหรือผูที่พบเหตุการณ
จะตองรีบชวยเหลืออยางถูกวิธี ดังนี้
ขั้นแรก ตัดวงจรกระแสไฟฟาออกโดยเร็ว ขั้นสองแยกผูปวยออกดวยการใชฉนวน เชน สายยาง ผา
แหง หรือกิ่งไมแหงคลองดึงผูปวยออกจากสายไฟ หามใชมือจับโดยเด็ดขาด ถาผูปวยไมหายใจใหรีบชวย
หายใจดวยการจับผูปวยนอนราบไปกับพื้น ยกศีรษะใหหงายขึ้นเล็กนอยบีบจมูก พรอมเปาลมเขาปากเปน
ระยะๆ โดยเปาใหแรงและเร็ว ประมาณนาทีละ 10 ครั้ง จนเห็นทรวงอกกระเพื่อม ทําตอไปเรื่อยๆแลวรีบ
นําสงโรงพยาบาล ทําการพยาบาลโดยการใหออกซิเจนชวยในการหายใจ และนวดหัวใจดวย
3.6 การอนุรักษพลังงานไฟฟา
การอนุรักษพลังงาน
ความหมายของการอนุรักษพลังงาน คือการผลิตและการใชพลังงานอยางมีประสิทธิภาพและ
ประหยัด การอนุรักษพลังงานนอกจากจะชวยลดปริมาณการใชพลังงาน ซึ่งเปนการประหยัด
คาใชจายในกิจการแลว ยังจะชวยลดปญหาสิ่งแวดลอมที่เกิดจากแหลงที่ใชและผลิตพลังงานดวย
การอนุรักษพลังงาน คืออะไร การอนุรักษพลังงาน เปนวัตถุประสงคหลักภายใตพระราชบัญญัติ
การสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ.2535 ที่กําหนดใหกลุมเปาหมายคือ อาคารควบคุมและโรงงาน
ควบคุม ตองจัดเตรียมโครงสรางพื้นฐาน เชน ขอมูล บุคลากร แผนงาน เปนตน เพื่อนําไปสูการ
อนุรักษพลังงานตามกฎหมายและกิจกรรมการอนุรักษพลังงานนี้ยังใชเปนกรอบและแนวทางปฏิบัติ
ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใชพลังงานใหดียิ่งขึ้น
การอนุรักษพลังงานตามกฎหมายตองทําอะไรบาง
พระราชบัญญัติการสงเสริมการอนุรักษพลังงาน พ.ศ.2535 ไดกําหนดใหผูที่เจาของอาคาร
ควบคุมและโรงงานควบคุม มีหนาที่ดําเนินการอนุรักษพลังงานในเรื่องดังตอไปนี้
1. จัดใหมีผูรับผิดชอบดานพลังงานอยางนอย 1 คน ประจํา ณ อาคาร ควบคุมและ
โรงงานควบคุมแตละแหง
2. ดําเนินการอนุรักษพลังงานใหเปนไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว
3. สงขอมูลเกี่ยวกับการผลิตการใชพลังงานและการอนุรักษพลังงาน ใหแกกรมพัฒนา
และสงเสริมพลังงาน
4. บันทึกขอมูลการใชพลังงาน การติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรืออุปกรณที่มี
ผลตอการใชพลังงานและการอนุรักษพลังงาน
285

5. กําหนดเปาหมายและแผนอนุรักษพลังงานสงใหกรมพัฒนาและ สงเสริมพลังงาน
6. ตรวจสอบและวิเคราะหการปฏิบัติตามเปาหมายและแผน การอนุรักษพลังงาน
รายละเอียดและวิธีปฏิบัติตางๆ ในขอ 2 ถึงขอ 6 จะประกาศออกเปนกฎกระทรวง โดยได
สรุปสาระสําคัญไวในหัวขอ เรื่อง ขั้นตอนการดําเนินการอนุรักษพลังงานตามกฎหมาย ขั้นตอนที่จะนํา
คุณไปสูความสําเร็จในการอนุรักษพลังงานและถูกตองตามขอกําหนดในกฎหมาย

วิธีการอนุรักษพลังงานไฟฟา
โดยทั่วไป "เครื่องใชไฟฟา" ภายในบานมักมีการใชพลังงานสูงแทบทุกชนิด ดังนั้นผูใชควรตองมี
ความรู และทราบถึงวิธีการใชไฟฟาอยางมีประสิทธิภาพ เพื่อลดคาไฟฟาภาย ในบานลง และลดปญหาในเรื่อง
การใชพลังงานอยางผิดวิธีดวย เอกสารนี้จะขอกลาวถึงเครื่องใชไฟฟาบางชนิดที่ยังไมไดจัดทําเปนเอกสาร
เผยแพรมา กอนหนานี้

เครื่องทําน้ําอุนไฟฟา

การใชอยางประหยัดพลังงานและถูกวิธี
1. ควรพิจารณาเลือกเครื่องทําน้ําอุนใหเหมาะสมกับการใชเปนหลัก เชน ตองการ ใชน้ําอุนเพื่ออาบน้ํา
เทานั้นก็ควรจะติดตั้งชนิดทําน้ําอุนไดจุดเดียว
2. ควรเลือกใชฝกบัวชนิดประหยัดน้ํา (Water Efficient Showerhead) เพราะ สามารถ ประหยัดน้ําไดถึง
รอยละ 25-75
3. ควรเลือกใชเครื่องทําน้ําอุนที่มีถังน้ําภายในตัวเครื่องและมีฉนวนหุม เพราะ สามารถลดการใช
พลังงานไดรอยละ 10-20
4. ควรหลีกเลี่ยงการใชเครื่องทําน้ําอุนไฟฟาชนิดที่ไมมีถังน้ําภายในเพราะจะทําใหสิ้น เปลืองการใช
พลังงาน
5. ปดวาลวน้ําและสวิตซทันทีเมื่อเลิกใชงาน
286

โทรทัศน
การเลือกใชอยางถูกวิธีและประหยัดพลังงาน
1. การเลือกใชโทรทัศนควรคํานึงถึงความตองการใชงาน โดยพิจารณาจากขนาดและการใชกําลังไฟฟา
2. โทรทัศนสีระบบเดียวกันแตขนาดตางกัน จะใชพลังงานตางกันดวย กลาวคือ โทรทัศนสีที่มีขนาดใหญ
และมีราคาแพงกวา จะใชกําลังไฟมากกวาโทรทัศนสี ขนาดเล็ก เชน
- ระบบทั่วไป ขนาด 16 นิ้ว จะเสียคาไฟฟามากกวา ขนาด 14 นิ้ว รอยละ 5 หรือ
- ขนาด 20 นิ้ว จะเสียคาไฟฟามากกวา ขนาด 14 นิ้ว รอยละ 30
- ระบบรีโมทคอนโทรล ขนาด 16 นิ้ว จะเสียคาไฟฟามากกวา ขนาด 14 นิ้ว รอยละ5
- หรือขนาด 20 นิ้ว จะเสียคาไฟฟามากกวา ขนาด 14 นิ้ว รอยละ 34
- โทรทัศนสีที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใชไฟฟามากกวาโทรทัศนสีระบบทั่วไปที่มีขนาดเดียวกัน เชน
- โทรทัศนสีขนาด 16 นิ้ว ระบบรีโมทคอนโทรลเสียคาไฟฟามากกวาระบบธรรมดา รอยละ 5
- โทรทัศนสีขนาด 20 นิ้ว ระบบรีโมทคอนโทรลเสียคาไฟฟามากกวาระบบธรรมดา รอยละ 18
3. อยาเสียบปลั๊กทิ้งไว เพราะโทรทัศนจะมีไฟฟาหลอเลี้ยงระบบภายในอยูตลอดเวลา นอกจากนัน้ อาจ
กอใหเกิดอันตรายในขณะที่ฟาแลบได
4. ปดเมื่อไมมีคนดู หรือตั้งเวลาปดโทรทัศนโดยอัตโนมัติ เพื่อชวยประหยัด ไฟฟา
5. ไมควรเสียบปลั๊กเครื่องเลนวิดีโอในขณะที่ยังไมตองการใช เพราะเครื่องเลนวิดีโอ จะทํางานอยู
ตลอดเวลา จึงทําใหเสียคาไฟฟาโดยไมจําเปน
6. พิจารณาเลือกดูรายการเอาไวลวงหนา ดูเฉพาะรายการที่เลือกตามชวงเวลานั้นๆหากดูรายการเดียวกันควร
เปดโทรทัศนเพียงเครื่องเดียว

พัดลม

การใชอยางประหยัดพลังงานและถูกวิธี
พัดลมตั้งโตะจะมีราคาต่ํากวาพัดลมตั้งพื้น และใชพลังงานไฟฟาต่ํากวา ทั้งนี้เพราะ มีขนาดมอเตอร
และกําลังไฟต่ํากวา แตพัดลมตั้งพื้นจะใหลมมากกวดัางนั้นในการเลือกใช จึงมีขอที่ควรพิจารณาดังนี้
287

1. พิจารณาตามความตองการและสถานที่ที่ใช เชน ถาใชเพียงคนเดียว หรือ ไมเกิน 2 คน ควรใชพัด


ลมตั้งโตะ
2. อยาเสียบปลั๊กทิ้งไว โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมี ไฟฟาไหลเขา
ตลอดเวลา เพื่อหลอเลี้ยงอุปกรณอิเล็กทรอนิกส
3. ควรเลือกใชความแรงหรือความเร็วของลมใหเหมาะสมกับความตองการและสถาน ที่ เพราะหาก
ความแรงของลมมากขึ้นจะใชไฟฟามากขึ้น
4. เมื่อไมตองการใชพัดลมควรรีบปด เพื่อใหมอเตอรไดมีการพักและไมเสื่อมสภาพ เร็วเกินไป
5. ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถายเทสะดวก เพราะพัดลมใชหลักการดูดอากาศจาก บริเวณรอบๆ ทาง
ดานหลังของตัวใบพัด แลวปลอยออกสูดานหนา เชน ถาอากาศบริเวณรอบ พัดลมอับชื้น ก็จะได
ในลักษณะลมรอนและอับชื้นเชนกัน นอกจากนี้มอเตอรยัง
ระบายความ รอนไดดีขึ้น ไมเสื่อมสภาพเร็วเกินไป

กระติกน้ํารอนไฟฟา
การใชอยางประหยัดพลังงานและถูกวิธี
1. ควรเลือกซื้อรุนที่มีฉนวนกันความรอนที่มีประสิทธิภาพ
2. ใสน้ําใหพอเหมาะกับความตองการหรือไมสูงกวาระดับที่กําหนดไว เพราะนอกจาก ไมประหยัด
พลังงานยังกอใหเกิดความเสียหายตอกระติก
3. ระวังอยาใหน้ําแหงหรือปลอยใหระดับน้ําต่ํากวาขีดกําหนด เพราะเมื่อน้ําแหง จะทําใหเกิดไฟฟา
ลัดวงจรในกระติกน้ํารอน เปนอันตรายอยางยิ่ง
4. ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใชน้ํารอนแลว เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ไมควรเสียบปลั๊ก ตลอดเวลา ถาไม
ตองการใชน้ําแลว แตถาหากมีความตองการใชน้ํารอนเปนระยะๆ ติดตอกัน เชน ในสถานที่ทํางาน
บางแหงที่มีน้ํารอนไวสําหรับเตรียมเครื่องดื่มตอนรับแขกก็ไมควรดึง ปลั๊กออกบอยๆ เพราะทุก
ครั้งเมื่อดึงปลั๊กออกอุณหภูมิของน้ําจะคอยๆ ลดลง กระติกน้ํารอน ไมสามารถเก็บความรอนได
นาน เมื่อจะใชงานใหมก็ตองเสียบปลั๊กและเริ่มทําการตมน้ําใหม เปนกาสิ้นเปลืองพลังงาน
5. ไมควรเสียบปลั๊กตลอดเวลา ถาไมตองการใชน้ํารอนแลว
6. อยานําสิ่งใดๆ มาปดชองไอน้ําออก
7. ตรวจสอบการทํางานของอุปกรณควบคุมอุณหภูมิใหอยูในสภาพใชงานไดเสมอ
8. ไมควรตั้งไวในหองที่มีการปรับอากาศ
288

เครื่องดูดฝุน
การใชอยางประหยัดพลังงานและถูกวิธี
1. ควรเลือกขนาดของเครื่องตามความจําเปนในการใชงาน
2. วัสดุที่เปนพรมหรือผาซึ่งฝุนสามารถเกาะอยางแนนหนา ควรใชเครื่องที่มีขนาด กําลังไฟฟามาก
(Heavy Duty) สวนบานเรือนที่เปนพื้นไม พื้นปูน หรือหินออนที่งายตอการ ทําความสะอาด เพราะ
ฝุนละอองไมเกาะติดแนน ควรใชเครื่องดูดฝุนที่มีกําลังไฟฟาต่ํา ซึ่งจะไม
สิ้นเปลืองการใชไฟฟา
3. ควรหมั่นถอดตัวกรองหรือตะแกรงดักฝุนออกมาทําความสะอาด เพราะถาเกิด
การอุดตัน นอกจากจะทําใหลดประสิทธิภาพการดูด ดูดฝุนไมเต็มที่ และเพิ่มเวลา
การดูดฝุน เปนการเพิ่มปริมาณการใชไฟฟาของมอเตอรที่ตองทํางานหนักและ
อาจไหมได
4. ควรใชในหองที่มีอากาศถายเทไดดี เพื่อเปนการระบายความรอนของตัว มอเตอร
5. ไมควรใชดูดวัสดุที่มีสวนประกอบของน้ํา ความชื้น และของเหลวตางๆ รวมทั้งสิ่ง ของที่มีคม
และของที่กําลังติดไฟ เชน ใบมีดโกน บุหรี่ เปนตน เพราะอาจกอใหเกิดอันตราย ตอสวนประกอบ
ตางๆ
6. ควรหมั่นถอดถุงผาหรือกลองเก็บฝุนออกมาเททิ้ง อยาใหสะสมจนเต็ม เพราะ มอเตอรตองทํางาน
หนักขึ้น อาจทําใหมอเตอรไหมได และยังทําใหการใชไฟฟาสิ้นเปลืองขึ้น
7. ใชหัวดูดฝุนใหเหมาะกับลักษณะฝุนหรือสถานที่ เชน หัวดูดชนิดปากปลาย แหลมจะใชกับบริเวณ
ที่เปนซอกเล็กๆ หัวดูดที่แปรง ใชกับโคมไฟ เพดาน กรอบรูป เปนตน ถาใชผิดประเภท จะทําให
ประสิทธิภาพการดูดลดลง สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟา
8. กอนดูดฝุนควรตรวจสอบขอตอของทอดูดหรือชิ้นสวนตางๆ ใหแนน มิฉะนั้น
อาจเกิดการรั่วของอากาศ ประสิทธิภาพของเครื่องจะลดลง และมอเตอรอาจ
ทํางานหนักและไหมได

เครื่องปรับอากาศ
การใชอยางประหยัดพลังงานและถูกวิธี
1. การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม ขนาดของเครื่องปรับอากาศที่ใชทําความเย็น
ใหแกหองตางๆ ภายในบาน โดยเฉลี่ย ความสูงของหอง โดยทั่วไปที่ 2.5-3 เมตร อาจประมาณ
คราวๆ จากคาตอไปนี้
- หองรับแขก หองอาหาร ประมาณ 15 ตร.ม./ตันความเย็น
289

- หองนอนที่เพดานหองเปนหลังคา ประมาณ 20 ตร.ม./ตันความเย็น


- หองนอนที่เพดานหองเปนพื้นของอีกชั้นหนึ่ง ประมาณ 23 ตร.ม./ตันความเย็น
2. การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ
- ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีเครื่องหมายการคาเปนที่รูจักทั่วไป เพราะเปนเครื่องที่มี คุณภาพ
สามารถเชื่อถือปริมาณความเย็นและพิจารณาการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟาของตัว เครื่องที่
ปรากฏอยูในแคตตาล็อคผูผลิตเปนสําคัญ
- หากเครื่องที่ตองการซื้อมีขนาดไมเกิน 25,000 บีทียู/ชม. ควรเลือก
เครื่องที่ ผานการรับรองการใชพลังงานไฟฟาหมายเลข 5 ซึ่งแสดงวาเปน
เครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงานไฟฟา โดยมีฉลากปดที่
ตัวเครื่องใหเห็นไดอยางชัดเจน
- ถาตองการซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญกวา 25,000 บีทียู/ชม.ใหเลือก เครื่องที่มี
การใชไฟไมเกิน 1.40 กิโลวัตตตอ 1 ตันความเย็นหรือมีคา EER (Energy Efficiency Ratio)
ไมนอยกวา 8.6 บีทียู ชม./วัตต โดยดูจากแคตตาล็อคผูผลิต
290

3. การใชงานเครื่องปรับอากาศ
การใชงานเครื่องปรับอากาศอยางถูกตอง ชวยใหเครื่อง
ทํางานอยางมีประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงานไฟฟา
สามารถทําโดยวิธีการดังตอไปนี้
- ปรับตั้งอุณหภูมิของหองใหเหมาะสม หองรับแขก
หองนั่งเลน และหองอาหาร อาจตั้งอุณหภูมิไมใหต่ํากวา
25 ํ C สําหรับหองนอนนั้นอาจตั้งอุณหภูมิสูงกวานี้ได ทั้งนี้เพราะ
รางกายมนุษยขณะหลับมิไดเคลื่อนไหว อีกทั้งการคายเหงื่อก็ลดลง หาก
ปรับอุณหภูมิ เปน 26-28 ํ C ก็ไมทําใหรูสึกรอนเกินไป แตจะชวยลดการ
ใชไฟฟาไดประมาณรอยละ 15-20
- ปดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่เลิกใชงาน หากสามารถทราบเวลาที่
แนนอน ควรตั้งเวลาการทํางานของตัวเครื่องไวลวงหนา เพือ่ ใหเครือ่ งหยุดเอง
โดยอัตโนมัติ
- อยานําสิ่งของไปกีดขวางทางลมเขาและลมออกของคอนเดนซิ่งยูนิตจะ
ทําให เครื่องระบายความรอนไมออก และตองทํางานหนักมากขึ้น
- อยานํารูปภาพหรือสิ่งของไปขวางทางลมเขาและลมออกของแฟน
คอยลยูนิต จะ ทําใหหองไมเย็น
- ควรเปดหลอดไฟและอุปกรณไฟฟาตางๆ ภายในหองเฉพาะเทาที่
จําเปนตอการ ใชงานเทานั้น และปดทุกครั้งเมื่อใชงานเสร็จ เพราะ
หลอดไฟและอุปกรณไฟฟาบางชนิดขณะ เปดใชงาน จะมีความรอน
ออกมาทําใหอุณหภูมิในหองสูงขึ้น
- หลีกเลี่ยงการนําเครื่องครัว หรือภาชนะที่มีผิวหนารอนจัด เชน เตาไฟฟา กะทะรอน
หมอตมน้ํา หมอตมสุกี้ เขาไปในหองที่มีการปรับอากาศ ควรปรุงอาหารในครัว แลวจึงนําเขามา
รับประทานภายในหอง
- ในชวงเวลาที่ไมใชหองหรือกอนเปดเครื่องปรับอากาศสัก
2 ชั่วโมง ควรเปด ประตูหนาตางทิ้งไวเพื่อใหอากาศบริสุทธิ์
ภายนอกเขาไปแทนที่อากาศเกาในหอง จะชวยลดกลิ่นตาง ๆ
ใหนอยลงโดยไมจําเปนตองเปดพัดลมระบายอากาศ ซึ่งจะทํา
ใหเครื่องปรับ อากาศทํางานหนักขึ้น
291

- ควรปดประตู หนาตางใหสนิทขณะใชงานเครื่องปรับอากาศ เพื่อปองกันมิให อากาศรอน


จากภายนอกเขามา อันจะทําใหเครื่องตองทํางานมากขึ้น
- ไมควรปลูกตนไม หรือตากผาภายในหองที่มีเครื่องปรับอากาศเพราะความชื้น จากสิ่ง
เหลานี้จะทําใหเครื่องตองทํางานหนักขึ้น

เครื่องปรับอากาศ
การใชอยางประหยัดพลังงานและถูกวิธี

- ปดไฟเมื่อไมใชงานเปนเวลานานกวา 15 นาที จะชวยประหยัดไฟ โดยไมมีผล กระทบตออายุการใชงาน


ของอุปกรณ เชน ในชวงพักเที่ยงของสํานักงาน ในหองเรียน สวน ตามบาน เชน ในหองน้ํา ในครัว เปนตน
- เปด ปดไฟ โดยอัตโนมัติ โดยใชอุปกรณตั้งเวลาหรือสั่งจากระบบควบคุม อัตโนมัติ ซึ่งจะชวยปองกันการ
ลืมปดไฟหลังเลิกงานในอาคารสํานักงาน หรือสั่งปดไฟ บริเวณระเบียงทางเดินในโรงแรม เปนตน
- ใชอุปกรณตรวจจับความเคลื่อนไหว (Occupancy Sensor) เหมาะกับหอง ประชุม หองเรียน และหอง
ทํางานสวนตัว โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ อินฟราเรด และอัลตรา โซนิค

ตารางมาตรฐานความสวาง (มาตรฐาน IES)


ลักษณะพื้นที่ใชงาน ความสวาง (ลักซ)
พื้นที่ทํางานทั่วไป 300-700
พื้นที่สวนกลาง ทางเดิน 100-200
หองเรียน 300-500
รานคา / ศูนยการคา 300-750
โรงแรม : บริเวณทางเดิน 300
หองครัว 500
หองพัก หองน้ํา 100-300
โรงพยาบาล : บริเวณทั่วไป 100-300
หองตรวจรักษา 500-1,000
บานที่อยูอาศัย : หองนอน 50
หัวเตียง 200
หองน้ํา 100-500
หองนั่งเลน 100-500
บริเวณบันได 100
หองครัว 300-500
292

เรื่องที่ 4 แสง
3.7 แสง และคุณสมบัติของแสง
แสงสวนใหญที่เราไดรับมาจากดวงอาทิตย เปนแหลง กําเนิดแสงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สวนแสงจาก
ดวงจันทรที่เราเห็นในเวลาค่ําคืน เปนแสงจากดวง อาทิตยตกกระทบผิวดวงจันทร แลวสะทอนมายังโลก
นอกจากแหลงกําเนิดแสงในธรรมชาติแลว ยังมีแหลงกําเนิดแสงที่มนุษยสรางขึ้น เชน หลอดไฟ ตะเกียง เทียน
ไข เปนตน แสงมีประโยชนและเปนสิ่งจําเปนตอสิ่งมีชีวิต

เมื่อจุดเทียนไขในหองมืด เราจะเห็นเปลวเทียนไขสวาง เนื่องจากแสงจากเปลว เทียนไขมาเขาตา สวน


สิ่งของอื่นๆ ในหองที่เราเห็นได เปนเพราะแสงจากเปลว เทียนไขไปตกกระทบสิ่งของนั้นๆ แลวสะทอนมา
เขาตา แสงที่เคลื่อนที่มาเขาตาหรือเคลื่อนที่ไปบริเวณใดๆ ก็ตามจะเคลื่อนที่ในแนวเสนตรง เชน ถาใหแสง
ผานรู บนกระดาษแข็ง ๓ แผน ถาชองของรูบนกระดาษแข็งไมอยูบนแนวเดียวกัน จะมองไมเห็นเปลวเทียน
และ หลังจากปรับแนวชองทั้งสามใหอยูในแนวเดียวกันแลว สังเกตไดวาถารอยเชือก และดึงเชือกเปนเสนตรง
เดียวกันได จะมองเห็นเปลวเทียนไข แสดงวา "แสงเคลื่อนที่ เปนเสนตรง" เราสามารถเขียนเสนตรงแทน
ลําแสงนีไ้ ด และเรียกเสนตรงนี้วา รังสีของแสง การเขียนเสนตรงแทนรังสีของแสงนี้ ใชเสนตรงที่มีหัวลูกศร
กํากับเสนตรงนั้น โดยเสนตรงแสดงลําแสงเล็กๆ และหัวลูกศรแสดงทิศการเคลื่อนที่ กลาวคือ หัวลูกศรชี้ไป
ทางใด แสดงวาแสงเคลื่อนที่ไปทางนั้น

การมองเห็นวัตถุใดๆ ตองมีแสงจากวัตถุมาเขาตา ซึ่งแบงไดเปน 2 กรณีคือ


1. เมื่อวัตถุนั้นมีแสงสวางในตัวเอง จะมีแสงสวางจากวัตถุเขาตาโดยตรง
2. วัตถุนั้นไมมีแสงสวางในตัวเอง ตองมีแสงจากแหลงกําเนิดแสงอื่นกระทบวัตถุนั้น แลวสะทอนเขา
ตาเมื่อแสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุตางๆ วัตถุบางชนิดแสงผานไปได แตวัตถุบางชนิดแสงผานไปไมได
เราอาจแบงวัตถุตามปริมาณแสงและลักษณะที่แสงผานวัตถุได 3 ประเภทดังนี้
1. วัตถุโปรงใส หมายถึงวัตถุที่แสงผานไดหมดหรือเกือบหมดอยางเปนระเบียบ เราจึงสามารถมอง
ผานวัตถุโปรงใส และมองเห็นวัตถุที่อยูอีกขางหนึ่งไดอยางชัดเจน วัตถุโปรงใสมีหลายชนิด เชน อากาศ
กระจกใส แกวใสน้ํา และแผนพลาสติกใส เปนตน
293

2. วัตถุโปรงแสง หมายถึง วัตถุที่แสงผานไดอยางไมเปนระเบียบ เมื่อเรามองผานวัตถุโปรงแสง จึง


เห็นวัตถุอีกดานหนึ่งไมชัดเจน เชน กระดาษชุบน้ํามัน กระจกฝา กระดาษไขหรือกระดาษลอกลาย และหมอก
เปนตน
3. วัตถุทึบแสง หมายถึง วัตถุที่แสงผานไปไมได เชนผา แผนไม แผนอะลูมิเนียม แผนสังกะสี
กระดาษหนา เหล็ก และทองแดง เปนตน
ดังที่ไดเรียนมาแลวแสง เปนคลื่นแมเหล็กไฟฟา สามารถเคลื่อนที่ไดโดยไมตองอาศัยตัว กลาง และมี
การเคลือ่ นทีแ่ นวเสนตรงในตัวกลางชนิดอืน่ ๆ จะเคลื่อนที่ผานตัวกลางแตละชนิดดวยความเร็วไมเทากัน
ตัวกลางใดมีความหนาแนนมากแสงจะเคลือ่ นทีผ่ า นตัวกลางนัน้ ดวยความเร็วนอย ถาแสงเคลื่อนที่ผานไมไดก็
เปนเพราะวัตถุมีการดูดกลืน สะทอนแสง หรือการแทรกสอดของแสง นั้นคือ คุณสมบัติของแสงที่จะกลาวใน
หนวยนี้

คุณสมบัติของแสง
คุณสมบัติตางๆ ของแสงแตละคุณสมบัตินั้น เราสามารถนําหลักการมาใชประโยชนไดหลายอยาง
เชน คุณสมบัติของการสะทอนแสงของวัตถุ เรานํามาใชในการออกแบบแผนสะทอนแสงของโคมไฟ การหัก
เหของแสงนํา มาออกแบบแผนปดหนาโคมไฟ ซึ่งเปนกระจก หรือพลาสติกเพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟ ที่
ออกจากโคมไปในทิศที่ตองการ การกระจายตัวของลําแสงเมื่อกระทบตัวกลางเรานํามาใชประโยชน เชนใช
แผนพลาสติกใสปดดวงโคมเพือ่ ลดความจาจากหลอดไฟ ตาง ๆ การดูดกลืนแสง เรานํามาทํา เตาอบพลังงาน
แสงอาทิตยเครื่องตมพลังงานแสง และการแทรกสอดของแสง นํามาใชประโยชนในกลองถายรูป เครื่องฉาย
ภาพตาง ๆ จะเห็นวาคุณสมบัติแสงดังกลาวก็ไดนํามาใชในชีวิตประจําวันของมนุษยเราทั้งนั้น

การสะทอนแสง(Reflection)
การสะทอนแสง หมายถึง การที่แสงไปกระทบกับตัวกลางแลวสะทอนไปในทิศทางอื่นหรือสะทอน
กลับมาทิศทางเดิมการสะทอนของแสงนั้นขึ้นอยูกับพื้นผิวของวัตถุดวยวาเรียบหรือหยาบโดยทั่วไปพื้นผิวที่
เรียบและมันจะทําใหมุมของแสงที่ตกกระทบมีคาเทากับมุมสะทอนตําแหนงที่แสงตกกระทบกับแสงสะทอน
บนพืน้ ผิวจะเปนตําแหนงเดียวกันดังรูป ก. ลักษณะของวัตถุดังกลาว เชน อลูมิเนียมขัดเงาเหล็กชุบโครเมียม
ทอง เงินและกระจกเงาเปนตน แตถาหากวัตถุมีผิวหยาบ แสงสะทอนก็จะมีลักษณะกระจายกันดังรูป ข. เชน
ผนังฉาบปูนกระดาษขาว โดยทั่วไปวัตถุสวนใหญจะเปนแบบผสมขึ้นอยูกับผิวนั้นมีความมันหรือหยาบ
มากกวา จะเห็นการสะทอนแสงไดจากรูป ก. และรูป ข.
294

รูป ก.การสะทอนแสงบนวัตถุผิวเรียบ รูป ข. การสะทอนแสงผิวขรุขระ

กฎการสะทอนแสง
1. รังสีตกกระทบ เสนปกติและรังสีสะทอนยอมอยูบนพื้นระนาบเดียวกัน
2. มุมในการตกกระทบยอมโตเทากับมุมสะทอน
การหักเหของแสง (Refraction)
การหักเห หมายถึง การที่แสงเคลื่อนที่ผานตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งทําใหแนวลําแสงเกิดการ
เบีย่ งเบนไปจากแนวเดิม เชน แสงผานจากอากาศไปยังน้ํา ดังแสดงในรูป

รูปแสดงลักษณะการเกิดหักเหของแสง

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการหักเหของแสง
- ความถี่ของแสงยังคงเทาเดิม สวนความยาวคลื่น และความเร็วของแสงจะไมเทาเดิม
- ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงจะอยูในแนวเดิมถาแสงตกตั้งฉากกับผิวรอยตอของตัวกลางจะไมอยูใน
แนวเดิม ถาแสงไมตกตั้งฉากกับผิวรอยตอของตัวกลาง
ตัวอยางการใชประโยชนของการหักเหของแสง เชน แผนปดหนาโคมไฟ ซึ่งเปนกระจกหรือพลาสติก
เพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟที่ออกจากโคมไปในทิศทางที่ตองการ จะเห็นวาแสงจากหลอดไฟจะกระจายไป
295

ยังทุกทิศทางรอบหลอดไฟแตเมื่อผานแผนปดหนาโคมไฟแลว แสงจะมีทิศทางเดียวกัน เชนไฟหนารถยนต


รถมอเตอรไซด ดังรูป

แสงที่ผานโคมไฟฟาหนารถยนตมีทิศทางเดียวกัน

การกระจายแสง (Diffusion)

การกระจายแสง หมายถึง แสงขาวซึ่งประกอบดวยแสงหลายความถี่ตกกระทบปริซึมแลวทําใหเกิด


การหักเหของแสง 2 ครั้ง (ที่ผิวรอยตอของปริซึม ทั้งขาเขา และขาออก) ทําใหแสงสีตาง ๆ แยกออกจากกัน
อยางเปนระเบียบเรียงตามความยาวคลื่นและความถี่ ที่เราเรียกวา สเปกตรัม (Spectrum)
รุงกินน้ํา เปนการกระจายของแสง เกิดจากแสงขาวหักเหผานผิวของละ อองน้ํา ทําใหแสงสีตาง ๆ
กระจายออกจากกันแลวเกิดการสะทอนกลับหมดที่ผิวดานหลังของละอองน้ําแลวหักเหออกสูอากาศ ทําให
แสงขาวกระจายออกเปนแสงสีตาง ๆ กัน แสงจะกระจายตัวออกเมื่อกระทบถูกผิวของตัวกลาง เราใช
ประโยชนจากการกระจายตัวของลําแสง เมื่อกระทบตัวกลางนี้ เชน ใชแผนพลาสติกใสปดดวงโคมเพื่อลด
ความจาจากหลอดไฟหรือ โคมไฟชนิดปดแบบตาง ๆ
296

ภาพรุงกินน้ํา
การทะลุผาน (Transmission)
การทะลุผาน หมายถึงการที่แสงพุงชนตัวกลางแลวทะลุผานมันออกไปอีกดานหนึ่ง โดยที่ความถี่ไม
เปลี่ยนแปลงวัตถุที่มีคุณสมบัติการทะลุผานได เชน กระจก ผลึกคริสตัล พลาสติกใส น้ําและของเหลวตาง ๆ
การดูดกลืน (Absorption)
การดูดกลืน หมายถึง การที่แสงถูกดูดกลืนหายเขาไปในตัวกลางทั่วไปเมื่อมีพลังงานแสงถูกดูดกลืน
หายเขาไปในวัตถุใด ๆเชน เตาอบพลังงานแสงอาทิตย เครื่องตมน้ําพลังงานแสง และยังนําคุณสมบัติของการ
ดูดกลืนแสงมาใชในชีวิตประจําวัน เชน การเลือกสวมใสเสื้อผาสีขาวจะดูดแสงนอยกวาสีดํา จะเห็นไดวาเวลา
ใสเสื้อผาสีดํา อยูกลางแดดจะทําใหรอนมากกวาสีขาว

การแทรกสอด (Interference)
การแทรกสอด หมายถึง การทีแ่ นวแสงจํานวน 2 เสนรวมตัวกันในทิศทางเดียวกัน หรือหักลางกัน
หากเปนการรวมกัน ของแสงที่มีทิศทางเดียวกัน ก็จะทําใหแสงมีความสวางมากขึ้น แตในทางตรงกันขามถา
หักลางกัน แสงก็จะสวางนอยลด การใชประโยชนจากการสอดแทรกของแสง เชน กลองถายรูปเครื่องฉายภาพ
ตาง ๆ และการลดแสงจากการสะทอน สวนในงานการสองสวาง จะใชในการสะทอนจากแผนสะทอนแสง

3.8 เลนส
การเกิดภาพจากกระจกเงาและเลนส
กระจกเงาราบ คือ กระจกแบนราบ ซึ่งมีดานหนึ่งสะทอนแสง ดังนั้นภาพที่เกิดขึ้นจึงเปนภาพเสมือน
อยูหลังกระจก มีระยะภาพเทากับระยะวัตถุ และขนาดภาพเทากับขนาดวัตถุ ภาพที่ไดจะกลับดานกันจากขวา
เปนซายของวัตถุจริง
297

รูปแสดงการเกิดภาพจากกระจกเงาราบ

การหาจํานวนภาพที่เกิดจากกระจกเงาราบ 2 บาน วางทํามุมกัน หาไดจากสูตร

กําหนดให
n = จํานวนภาพที่มองเห็น
θ = มุมที่กระจกเงาราบ 2 บานวางทํามุมตอกัน
ถาผลลัพธ n ที่ไดไมลงตัว ใหปดเศษขึ้นเปนหนึ่งได

ตัวอยางที่ 1 กระจกเงาราบ 2 บาน วางนํามุม 60 องศาตอกัน จงหาจํานวนภาพที่เกิดขึ้น


วิธีคิด จากสูตร

=5
= 5 ภาพ
จํานวนภาพที่เกิดจากกระจกเงาราบ 2 บานวางทํามุมตอกันเทากับ 5 ภาพ ตอบ

กระจกเงาผิวโคงทรงกลม
กระจกเงาผิวโคงทรงกลม มีอยู 2 ชนิด คือ กระจกเวาและกระจกนูน
1. กระจกเวา คือ กระจกที่ใชผิวโคงเวาเปนผิวสะทอนแสง หรือกระจกเงาที่รังสีตกกระทบและรังสี
สะทอนอยูดานเดียวกับจุดศูนยกลางความโคง ดังรูป
298

รูปแสดงรังสีตกกระทบและรังสีสะทอนของกระจกเวา

2. กระจกนูน คือ กระจกที่ใชผิวโคงนูนเปนผิวสะทอนแสง และรังสีสะทอนอยูคนละดานกับจุด


ศูนยกลางความโคง ดังรูป

รูปแสดงรังสีตกกระทบและรังสีสะทอนของกระจกนูน

ภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไวหนากระจกโคงนั้นตามปกติมีทั้งภาพจริงและภาพเสมือน โดยภาพจริง
จะอยูหนากระจก และภาพเสมือนจะอยูหลังกระจก โดยกระจกเวาจะใหทั้งภาพจริงและภาพเสมือน สําหรับ
ขนาดของภาพมีทั้งขนาดใหญกวาวัตถุ ขนาดเทาวัตถุ และขนาดเล็กกวาวัตถุ ทั้งนี้ขึ้นอยูกับระยะวัตถุ สวน
กระจกนูนจะใหภาพเสมือนที่มีขนาดเล็กกวาวัตถุทั้งสิ้น

หมายเหตุ ภาพ (image) เกิดจากการตัดกันหรือเสมือนตัดกันของรังสีของแสงที่สะทอนมาจากกระจกหรือ


หักเหผานเลนส แบงไดเปน 2 ประเภท คือ
1. ภาพจริง เกิดจากรังสีของแสงตัดกันจริง เกิดดานหนากระจกหรือดานหลังเลนส ตองมีฉากมารับจึง
จะมองเห็นภาพ ลักษณะภาพหัวกลับกับวัตถุ มีทั้งขนาดใหญกวาวัตถุ เทากับวัตถุ และเล็กกวาวัตถุ ซึ่งขนาด
ภาพจะสัมพันธกับระยะวัตถุ เชน ภาพที่ปรากฏบนจอภาพยนตร เปนตน
2. ภาพเสมือน เกิดจากรังสีของแสงเสมือนตัดกัน ทําใหเกิดภาพดานหลังกระจกหรือดานหนาเลนส
มองเห็นภาพไดโดยไมตองใชฉากรับภาพ ภาพมีลักษณะหัวตั้งเหมือนวัตถุ เชน ภาพเกิดจากแวนขยาย เปนตน
299

ตารางแสดงตัวอยางประโยชนของกระจกเวาและกระจกนูน
กระจกเวา กระจกนูน
1. ทันตแพทยใชสองดูฟนผูปวย เพื่อใหเห็นภาพของ 1. ใชติดรถยนตหรือรถจักรยานยนตเพื่อดูรถที่ตามมา
ฟนมีขนาดใหญกวาปกติ ขางหลัง และจะมองเห็นมุมที่กวางกวากระจกเงาราบ
2. ใชในกลองจุลทรรศนเพื่อชวยรวมแสงใหตกที่แผน 2. ใชติดตั้งบริเวณทางเลี้ยวเพื่อชวยใหเห็นรถที่วิ่ง
สไลด เพื่อทําใหเราเห็นภาพชัดขึ้น สวนทางหรือออมมาก็ได

เลนส
เลนส (lens) คือ วัตถุโปรงใสที่มีผิวหนาโคงทําจากแกวหรือพลาสติก เลนสแบงออกเปน 2 ชนิด ไดแก
เลนสนนู และเลนสเวา
เลนสนนู
เลนสนนู (convex lens) คือ เลนสที่มีลักษณะหนาตรงกลางและบางที่ขอบ ดังรูป

รูปแสดงลักษณะเลนสนูน

รูปแสดงสวนสําคัญและรังสีบางรังสีของเลนส
300

เลนสนูนทําหนาที่รวมแสงขนานไปตัดกันที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งแนวหรือทิศทางของแสงที่เขามายังเลนส


สามารถเขียนแทนดวยรังสีของแสง ถาแสงมาจากระยะไกลมากเรียกระยะนี้วา " ระยะอนันต"เชน แสงจาก
ดวงอาทิตยหรือดวงดาวตางๆ แสงจะสองมาเปนรังสีขนาน เมื่อรังสีของแสงผานเลนสจะมีการหักเหและไป
รวมกันที่จุดๆ หนึ่งเรียกวา "จุดโฟกัส (F)" ระยะจากจุดโฟกัสถึงกึ่งกลางเลนส เรียกวา "ความยาวโฟกัส ( f)"
และเสนตรงที่ลากผานจุดศูนยกลางความโคงของผิวทั้งสองของเลนสเรียกวา " แกนมุขสําคัญ ( principal
axis)"

ภาพที่เกิดจากเลนสนูน
ภาพจากเลนสนูนเปนภาพที่เกิดจากรังสีหักเหไปพบกันที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งมีทั้งภาพจริงและภาพเสมือน
ขึ้นอยูกับตําแหนงวัตถุที่วางหนาเลนส ดังรูป

รูปแสดงตัวอยางภาพจริงและภาพเสมือนที่เกิดจากเลนสนูน

(ก) การเกิดภาพเมื่อวัตถุอยูหางเลนสนูนระยะไกลกวาความยาวโฟกัส

(ข) การเกิดภาพเมื่อวัตถุอยูหางจากเลนสนูนที่ระยะใกลกวาความยาวโฟกัส
รูปแสดงตัวอยางการเกิดภาพที่ตําแหนงตางๆ ของเลนสนนู
301

เลนสเวา
เลนสเวา (concave lens) คือ เลนสที่มีลักษณะบางตรงกลางและหนาที่ขอบ ดังรูป

รูปแสดงลักษณะเลนสเวาภาพที่เกิดจากเลนสเวา
เมื่อแสงสองผานเลนสเวารังสีหักเหของแสงจะกระจายออก ดังรูป

รูปแสดงภาพที่เกิดจากเลนสเวาเมื่อวางวัตถุที่ระยะตางๆ

การหาชนิดและตําแหนงของภาพจากวิธีการคํานวณ
การหาตําแหนงภาพที่ผานมาใชวิธีเขียนแผนภาพของรังสี ยังมีอีกวิธีที่ใชหาตําแหนงภาพคือ วิธีคํานวณ ซึ่ง
สูตรที่ใชในการคํานวณมีดังตอไปนี้

สูตร =
302

เมื่อ m คือ กําลังขยายของเลนส


I คือ ขนาดหรือความสูงของภาพ
O คือ ขนาดหรือความสูงของวัตถุ

ในการคํานวณหาตําแหนงและชนิดของภาพจะตองมีการกําหนดเครื่องหมาย 1 และ 2 สําหรับปริมาณ


ตางๆ ในสมการดังนี้
1. s มีเครื่องหมาย + ถาวัตถุอยูหนาเลนส และ s มีเครื่องหมาย - ถาวัตถุอยูหลังเลนส
2. s' มีเครื่องหมาย + ถาวัตถุอยูหลังเลนส และ s' มีเครื่องหมาย - ถาวัตถุอยูหนาเลนส
3. f ของเลนสนูนมีเครื่องหมาย + และ f ของเลนสเวามีเครื่องหมาย –

ตัวอยางที่ 2 วางวัตถุหา งจากเลนสนนู เปนระยะ 12 เซนติเมตร ถาเลนสนูนมีความยาวโฟกัส 5 เซนติเมตร จะ


เกิดภาพชนิดใด และทีต่ าํ แหนงใด
303

3.9 ประโยชน และโทษของแสง

ประโยชนของแสง
แสงเปนพลังงานรูปหนึ่งซึ่งไมตองการที่อยู ไมมีน้ําหนัก แตสามารถทํางานได ในแสงอาทิตย มีคลื่น
รังสีหลายชนิดตามทีไ่ ดกลาวมาแลวในตอนตน ประโยชนที่เราไดรับจากแสงอาทิตยมีอยู 2 สวนคือ ความ
รอน และแสงสวาง ในชีวิตประจําวัน เราไดรับประโยชนจากความรอน และแสงสวางของดวงอาทิตย
ตลอดเวลา แสงอาทิตยทําใหโลกสวาง เราสามารถทํากิจกรรมตางๆ ไดอยางสะดวก อาชีพหลายอาชีพตองใช
ความรอนของแสงอาทิตยโดยตรง แมตอนที่ดวงอาทิตยตกดิน เราก็ยังไดรับความอบอุนจากแสงอาทิตยที่พื้น
โลกดูดซับไว ทําใหเราไมหนาวตาย ประโยชนของแสงสามารถแบงไดเปน 2 ทาง คือ ประโยชนทางตรง
และประโยชนทางออม

แสงแดดชวยทําใหผาที่ตากแหงเร็ว การทํานาเกลือ

1. ประโยชนจากแสงทางตรง เชน การทํานาเกลือ การทําอาหารตากแหง การตากผา การฆาเชื้อ


โรคในน้ําดื่ม ตองอาศัยความรอนจากแสงอาทิตย การแสดงหนังตะลุง และภาพยนตร ตองใชแสงเพื่อทํา
ใหเกิดเงาบนจอ การมองเห็นก็ถือเปนการใชประโยชนจากแสงทางตรง
2. ประโยชนจากแสงทางออม เชน ทําใหเกิดวัฏจักรของน้ํา (การเกิดฝน) พืชและสัตวที่เรา
รับประทาน ก็ไดรับการถายทอดพลังงานมาจากแสงอาทิตย
โทษของ แสง
1. ถาเรามองดูแสงที่มีความเขมมากเกินไปอาจเกิดอันตรายกับดวงตาได
2. เมือ่ แสงที่มีความเขมสูง โดนผิวหนังเปนเวลานาน ๆจะทําใหผิวหนังไหมและอาจเปนม ะเร็ง
ผิวหนังได
3. เมื่อแสงจากดวงอาทิตยสองลงมาบนโลกมากเกินไป ทําใหเกิดภาวะโลกรอน และเปนอันตราย
แกสิ่งมีชีวิตได
304

เรื่องที่ 5 พลังงานความรอนและแหลงกําเนิด
กิจกรรมการทดลอง เรื่อง เมื่อแสงผานเลนส

จุดประสงค เมื่อจบการทดลองนี้แลวผูเรียนสามารถ
1. บอกไดวาเมื่อแสงผานเลนสนูน รังสีหักเหจะเบนเขาหากัน
2. บอกไดวาเมื่อแสงผานเลนสเวา รังสีหักเหจะเบนออกจากกัน
3. บอกไดวา แวนขยายทําหนาทีร่ วมแสง
4. ใชแวนขยายสองดูสิ่งตางๆ ได
แนวความคิดหลัก
1. เลนสนนู มีสมบัตริ วมแสง
2. เลนสเวามีสมบัติกระจายแสง
3. แวนขยายมีเลนสนูนเปนสวนประกอบที่สําคัญ ทําหนาที่รวมแสง และใชสอ งดูวตั ถุขนาดเล็กให
มองเห็นภาพขนาดขยายได

อุปกรณการทดลอง

1. กระดาษขาว 2. เลนสนนู
3. เลนสเวา 4. กลองแสง
5. หมอแปลงไฟฟาโวลตต่ํา 6. สายไฟพรอมขั้วเสียบ
305

7. แผนชองแสงที่ใหลําแสง 1 ลํา 8. แผนชองแสงที่ใหลําแสง 5 ลํา


9. แวนขยาย

ขั้นตอนการทดลอง
1. วางเลนสนนู บนกระดาษขาวซึง่ อยูบ นโตะ โดยวางดานราบลงบนกระดาษ แลวลากเสนรอบเลนสบน
กระดาษ
2. นําแผนชองแสงที่ใหลําแสง 5 ลําเสียบที่ชองของกลองแสง แลวตอกลองแสงกับหมอแปลงไฟโวลตต่ํา
ขนาด 12 โวลต จากนัน้ วางกลองแสงหางเลนสนนู พอสมควร

3. ใชดนิ สอจุดบนแนวลําแสง แลวขีดเสนแสดงแนวรังสีตกกระทบ และรังสีหกั เห

4. ทําซ้ําโดยเปลี่ยนมุมของแนวรังสีตกกระทบ เขียนแนวรังสีตกกระทบ และรังสีหักเห

5. จัดลําแสง 5 ลํา จากกลองแสงใหผานเลนสนูน สังเกตแนวลําแสงที่ผานเลนสนูน เขียนรังสีตกกระทบ


และรังสีหักเหแทนลําแสงทั้งสาม

6. ทําซ้ําขอ 5 แตเปลีย่ นเลนสนนู เปนเลนสเวา และเปลีย่ นกระดาษขาวเปนแผนใหม

7. เปรียบเทียบแนวลําแสงทั้งหาที่ผานเลนสนูนและเลนสเวา

8. เมื่อสองแสงผานเลนสนูน หรือเลนสเวาแลว จากนั้นลองทดสอบโดยใชแวนขยายรับแสงอาทิตยโดยเริ่ม


306

จากใหแวนขยายอยูหางพื้น 2 เซนติเมตร เพิ่มระยะหางมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตความสวางบนพื้น

9. ปรับความสูงของแวนขยายจนไดความสวางบนพื้นสวางมากที่สุด ทําเชนนี้ซ้ําอีกครั้ง แตเปลีย่ นเปนเลนส


เวา

10. ใชแวนขยายสองดูตวั หนังสือ ปรับระยะหางระหวาง แวนขยายกับตัวหนังสือ สังเกตการณ


เปลี่ยนแปลงของภาพตัวหนังสือที่มองผานแวนขยาย

ผลการทดลอง
1. จงวาดรูปรังสีแสงเมื่อผานเลนสนูนและเลนสเวา
เลนสนนู เลนสเวา

2. เมื่อนําแวนขยายไปรับแสงอาทิตย จะปรากฏภาพอยางไร
…………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………….
สรุปผลการทดลอง
…………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………….
307

การทดลอง เรื่องแยกสีของแสงดวงอาทิตย

จุดประสงคการทดลอง

เมื่อจบการทดลองนี้แลว ผูเรียนสามารถทดลอง และสรุปถึงแสงสีที่ประกอบเปนแสงอาทิตยได

แนวความคิดหลัก
แสงอาทิตยประกอบดวยแสงสีตางๆ

อุปกรณการทดลอง

1. ปริซึมสามเหลี่ยม
2. ฉากขาว
3. อางน้ํา
4. กระจกเงา
308

ขั้นตอนการทดลอง
1. นําปริซึมสามเหลี่ยมมารับแสงอาทิตย จัดมุมรับแสงใหเหมาะสมจนเกิดแสงสีตางๆ บนฉาก สังเกตแสงที่
ผานปริซึมออกมา บันทึกผล

2. มองผานปริซึมโดยวางปริซึมใหชิดตา และมองดานขางของแทงปริซึม โดยหันไปทางที่สวาง หามมองไปที่


ดวงอาทิตย บันทึกผลสิ่งที่สังเกตได

3. เทน้ําใสลงในอางจนเกือบเต็ม แลวนํากระจกเงาราบจุมลงในน้ําทั้งแผน โดยกระจกพิงกับขอบอาง

4. นําอางน้ําไปวางรับแสงแดด ขยับกระจกไปมา เพื่อใหอยูในตําแหนงที่เหมาะสม ที่จะใหแสงอาทิตยตก


กระทบ แลวสะทอนกลับขึ้นมาปรากฏเปนแถบสีตางๆ บนแผนกระดาษขาวที่รับแสงอยูเหนืออาง
309

ผลการทดลอง
การทดลอง สิ่งที่สังเกตได
1. เมื่อนําปริซึมรับแสงจากดวงอาทิตย

2. เมื่อมองผานปริซึม

3. เมื่อมองที่ฉากขาว

สรุปผลการทดลอง
…………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………….

การทดลองเรื่อง การเกิดรุงกินน้ํา

จุดประสงคการทดลอง เมื่อจบการทดลองนี้แลวผูเรียนสามารถ
1. ทดลองและสรุปเกี่ยวกับการเกิดรุงได
2. บอกไดวา เราจะเห็นรุง ได ตองหันหลังใหดวงอาทิตยเสมอ
แนวความคิดหลัก
รุงกินน้ําเกิดไดเมื่อมีแสงอาทิตยผานละอองน้ําจํานวนมาก และเกิดกอนหรือหลังฝนตก
อุปกรณการทดลอง
กระบอกฉีดน้ําบรรจุน้ําประมาณครึ่งกระบอก
310

ขั้นตอนการทดลอง
1. ออกไปกลางแจง ยืนหันหนาใหดวงอาทิตย แลวฉีดน้ําจากกระบอกน้ํา(บรรจุน้ําประมาณครึ่งกระบอก) ให
เปนละอองฝอย สังเกตและบันทึกผล

2. หลังจากนัน้ ยืนหันหลังใหดวงอาทิตยแลวฉีดน้าํ สังเกตละอองน้ําที่ฉีด แลวบันทึกผล

ผลการทดลอง
……………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………….

สรุปผลการทดลอง
…………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………….
311

การทดลอง เรื่องการเกิดเงา

จุดประสงคการทดลอง เมื่อจบการทดลองนี้แลว ผูเรียนสามารถ


1. อธิบายการเกิดเงาจากการทดลองได
2. บอกความสัมพันธระหวางวัตถุกับเงาจากการทดลองได
3. นําความรูเรื่องเงาไปใชประโยชนได
แนวความคิดหลัก
1. เมื่อมีวัตถุมากั้นทางเดินของแสง แลวแสงไมสามารถผานวัตถุไปอีกดานหนึ่ง ทําใหเกิดบริเวณมืดบน
ฉาก ซึ่งเรียกวา เงา
2. รูปรางของเงาขึ้นอยูกับรูปรางของวัตถุที่ทําใหเกิดเงา
3. เงาเปลีย่ นขนาดและตําแหนงได
4. ถาเงามีแสงตกกระทบบางเรียกวา เงามัว
5. ถาเงาไมมีแสงตกกระทบเลยเรียกวา เงามืด
อุปกรณการทดลอง

1. วัตถุรูปทรงตางๆ (พลาสติกทรงสี่เหลี่ยม, กระจกฝา, ดินน้ํามัน, แทงพลาสติก, ถานไฟฉาย,


ลูกบอล)
2. ฉากรับแสง
3. กลองแสง
4. หมอแปลงไฟฟาโวลตต่ํา
5. สายไฟพรอมขั้วเสียบทั้ง 2 ปลาย
312

ขั้นตอนการทดลอง.
1. วางกลองแสงและฉากบนโตะใหหางกันประมาณ 15-20 เซนติเมตร ดังรูป เมื่อกลองแสงทํางาน สังเกต
ความสวางบนฉาก
2. นําลูกบอลมาวางระหวางกลองแสงกับฉาก โดยใหอยูใ นแนวเดียวกับหลอดไฟในกลองแสงและฉาก
สังเกตความสวางบนฉาก

3. คอยๆ เลื่อนลูกบอลจากกลองแสงเขาหาฉาก สังเกตความสวางบนฉาก


4. จัดลูกบอลใหหางจากฉากประมาณ 10 เซนติเมตร แลวคอยเลื่อนฉากเขาหาลูกบอล
สังเกตความสวางบนฉาก

5. ทําซ้ําขอ 2 ถึงขอ 4 แตเปลี่ยนลูกบอลเปนทรง


สี่เหลี่ยมผืนผา
313

ผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………….………
………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………….……
………………………………………………………………………………………………………………….

สรุปผลการทดลอง
……………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………..…….
……………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………..…….
314

การทดลอง เรื่องตากับการมองเห็น

จุดประสงคการทดลอง เมื่อจบการทดลองนี้แลว ผูเรียนสามารถ


1. บอกสวนประกอบของตาที่เกี่ยวของกับการมองเห็นได
2. ระบุหนาที่ของสวนประกอบของตาที่เกี่ยวของกับการมองเห็นได
3. สรุปจากการทดลองไดวา การมองดวยตา 2 ขาง ทําใหกะระยะไดดีกวาการมองดวยตาขางเดียว
4. บอกความสําคัญ และวิธรี ะวังรักษาตาได

แนวความคิดหลัก
1. สวนประกอบที่สําคัญของตาที่เกี่ยวกับการมองเห็นไดแก กระจกตา มานตา รูมานตา เรตินา
2. ดวงตามีความสําคัญตอการมองเห็น จึงตองระวังรักษา

อุปกรณการทดลอง
1. ภาพประกอบเรื่อง สวนประกอบของตา
2. ดินสอ 2 แทง

ขั้นตอนการทดลอง
1. จับคูเพื่อสังเกตนัยนตาของเพื่อน
2. จากนั้นเปรียบเทียบกับภาพสวนประกอบของนัยนตา
3. ครั้งที่ 1 ใหผูเรียนปดตาซาย แลวพยายามเคลื่อนดินสอ 2 แทง ที่อยูหางกันประมาณ 10
เซนติเมตร มาชนกัน โดยพยายามใหปลายดินสอชนกันบันทึกผล

4. ครั้งที่ 2 ปดตาขวา และทําซ้ําเชนเดียวกับขอที่ 3 บันทึกผล


5. และครั้งที่ 3 เปดตาทั้งสองขาง และทดลองซ้ําเชนเดียวกับขอ 3 และขอ 4 สังเกตและบันทึกผล
315

ผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………….………
………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………….……
………………………………………………………………………………………………………………….

สรุปผลการทดลอง
…………………………………………………………………………………………………………..………
………………………………………………………………………………………………………….……….
…………………………………………………………………………………………………………..………
316

แบบฝกหัดบทที่ 12

คําชี้แจง ใหนักเรียนเลือกคําตอบ ก. ข. ค. หรือ ง. ที่ถูกที่สุดเพียงคําตอบเดียว เสร็จแลวใหคลิกที่ปุม ตรวจ


แบบทดสอบ ที่อยูดานลาง
1. พลังงานในขอใด จัดเปน พลังงานสะอาด
ก. พลังงานจากถานหิน ข. พลังงานแสงอาทิตย
ค. พลังงานจากน้ํามันเชื้อเพลิง ง. พลังงานชีวภาพ
2. ขอใด คือ องคประกอบของแสงอาทิตย
ก. ความรอน ข. แสง
ค. ฝุนละออง ง. ขอ ก. และขอ ข. ถูก
3. เซลลสุริยะ ทําหนาที่อยางไร
ก. เปลี่ยนพลังงานไฟฟา เปนพลังงานกล ข. เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย เปนพลังงานกล
ค. เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย เปนพลังงานไฟฟา ง. เปลี่ยนพลังงานกล เปนพลังงานไฟฟา
4. อาชีพใด ใชประโยชนจากแสงโดยตรง
ก. ทํานาเกลือ ข. คาขาย
ค. ทําประมง ง. เลี้ยงสัตว
5. ถาหองเรียนมืด นักเรียนควรทําสิ่งใดเปนอันดับแรก
ก. เปดไฟฟา ข. เปดประตู หนาตาง
ค. กอไฟ ง. ออกไปเรียนนอกหอง
6. การแสดงในขอใด เกี่ยวของกับแสงมากที่สุด
ก. ลําตัด ข. ฟอนรํา
ค. เพลงบอก ง. หนังตะลุง
7. พืชใชแสงแดดปรุงอาหาร -> สัตวกินพืช -> มนุษยกินสัตว ขอความนี้แสดงถึงเรื่องใด
ก. กฎธรรมชาติ ข. การแกแคน
ค. ความสมดุล ง. การถายทอดพลังงาน
317

8. ขอใด ไม ควรปฏิบัติ


ก. เอานิ้วชี้รุงกินน้ํา ข. เลนเงาจากตะเกียง หรือหลอดไฟ
ค. จองมองดวงอาทิตยนาน ๆ ง. ทาครีมกันแดด เมื่อไปเที่ยวชายทะเล
9. พลังงานแสง สามารถเปลี่ยนเปนพลังงานรูปใดได
ก. พลังงานกล ข. พลังงานไฟฟา
ค. พลังงานเสียง ง. พลังงานลม
10. ขอใด กลาวถูกตอง
ก. พลังงานแสงอาทิตย ไมสรางมลภาวะ ข. ดวงอาทิตยสงแสงเฉพาะกลางวันเทานั้น
ค. โลกเปนดาวดวงเดียว ที่แสงอาทิตยสองมาถึง ง. แสงอาทิตยฆาเชื้อโรคไมได

เฉลยแบบทดสอบบทที่ 12 เรื่องงานและพลังงาน

1. ข 2. ข 3. ค 4. ก 5. ข 6. ง 7. ง 8. ค 9. ข 10. ก
318
บทที่ 13
ดวงดาวกับชีวิต
สาระสําคัญ
กลุมดาวจักราศีตาง ๆ การสังเกตตําแหนงดาวฤกษ และหาดาวจากแผนที่ ตลอดจนการใชประโยชน
จากกลุมดาวฤกษ
ผลการเรียนรูที่คาดหวัง
1. ระบุชื่อของกลุมดาวจักรราศีได
2. อธิบายวิธกี ารหาดาวเหนือได
3. อธิบายการใชแผนที่ดาวได
4. อธิบายประโยชนจากกลุมดาวฤกษตอการดํารงชีวิตประจําวันได
ขอบขายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 กลุมดาวจักรราศี
เรื่องที่ 2 การสังเกตตําแหนงของดาวฤกษ
เรื่องที่ 3 วิธกี ารหาดาวเหนือ
เรื่องที่ 4 แผนทีด่ าว
เรื่องที่ 5 การใชประโยชนจากกลุมดาวฤกษ
319
เรื่องที่ 1 กลุมดาวจักรราศี
ความหมายของ ดาวฤกษ
ดาวฤกษ (Star) หมายถึง ดาวซึ่งมีแสงสวางในตัวเอง ผลิตพลังงานไดเองโดยการเปลี่ยนมวลสาร
สวนหนึง่ (m) ณ แกนกลางของดาวใหเปนพลังงาน (E) ตามสมการ E = mc2 ของไอนสไตน เมื่อ c เปนอัตร
เร็วของ แสงซึ่งสูงเกือบ 300,000 กิโลเมตรตอวินาที การเปลี่ยนมวลเปนพลังงานของดาวฤกษเกิดขึ้นภายใต
อุณหภูมิที่สูงมากเปน 15 ลานเคลวิน ในการหลอมไฮโดรเจนเปนฮีเลี่ยม จึงเรียกวา ปฏิกิริยาเทอรโม
นิวเคลียร ดาวที่ผลิตพลังงานเชนนี้ไดตองมีมวลมากมหาศาล ดาวฤกษจึงมีมวลสารมาก เชนดวงอาทิตยที่มี
มวลประมาณ 2,000 ลานลานลานลานตัน ซึ่งคิดเปนมวลกวา 98% ของมวลของวัตถุในระบบสุริยะ ดาวฤกษ
ดวงอืน่ ๆ อยูไกลมาก แมจะสองมองดวยกลองโทรทรรศนขนาดใหญก็มองเห็นเปนเพียงจุดแสง ดาวฤกษ
เพื่อนบานของเรามีชื่อวา “แอลฟา เซนทอรี ” (Alpha Centauri) เปนระบบดาวฤกษสามดวง โคจรรอบกัน
และกัน อยูในกลุมดาวคนครึ่ง มา ดวงที่อยูใกลกับดวงอาทิตยมากที่สุดชื่อ “พรอกซิมา เซนทอรี ”
(Proxima Centauri) อยูห า งออกไป 40 ลานลานกิโลเมตร หรือ 4.2 ปแสง (1 ปแสง = ระยะทางซึ่งแสงใช
เวลา เดินทาง นาน 1 ป หรือ 9.5 ลานลานกิโลเมตร) ดาวฤกษบางดวงมีดาวเคราะหโคจรลอมรอบ
เชนเดียวกับดวงอาทิตยของเรา เราเรียกระบบสุริยะเชนนี้วา “ระบบสุริยะอื่น” (Extra solar system)
ความสัมพันธระหวางโลก และดวงอาทิตย
ดวงอาทิตย (The Sun) เปนดาวฤกษใกลโลกที่สุดอยูตรงกลางระบบสุริยะ มีดาวเคราะหเปนบริวาร
โคจรลอมรอบ อุณหภูมิที่แกนกลางของดวงอาทิตยสูงถึง 15 ลานเควิน สูงพอที่นิวเคลียสของไฮโดรเจน 4
นิวเคลียสจะหลอมรวมกันเปนนิวเคลียสฮีเลียม 1 นิวเคลียส อุณหภูมิพื้นผิวลดลงเปน 5,800 เคลวิน ดวง
อาทิตยมีขนาดเสนผานศูนยกลาง 1.4 ลานกิโลเมตร (ประมาณ 109 เทาของโลก)
โลกเปนดาวเคราะหดวงหนึ่งในระบบสุริยะและโคจรรอบดวงอาทิตยเปนวงรี โดยมีระยะทางเฉลี่ย
หางจากดวงอาทิตย 149,597,870 กิโลเมตร และใชเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย 1 ป เมื่อสังเกตจาก
พื้นโลกจะเห็นดวงอาทิตยขึ้นทางดานทิศตะวันออกและตกทาง ดานทิศตะวันตกทุกวัน ทั้งนี้เนื่องจากโลกมี
การหมุนรอบตัวเอง รอบละ 1 วัน อยางไรก็ตามหากติดตามเฝาสังเกตการขึ้น – ตก ของดวงอาทิตยเปน
ประจําจะพบวา ในรอบ 1 ป ดวงอาทิตยจะปรากฏขึ้น ณ จุดทิศตะวันออก และตก ณ จุด ทิศตะวันตกพอดี
เพียง 2 วันเทานั้น คือวันที่ 21 มีนาคม และวันที่ 23 กันยายน สวนวันอืน่ ๆ การขึ้น – ตกของดวงอาทิตย
จะเฉียงคอนไปทางทิศเหนือหรือทางทิศใตบาง โดยในวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตยจะขึ้นทางทิศ
ตะวันออกคอนไปทางทิศเหนือมากที่สุดและตกทางทิศตะวันตกคอนไปทางทิศเหนือมากที่สุด และในวันที่
22 ธันวาคม ดวงอาทิตยจะขึ้นทางทิศตะวันออกคอนไปทางทิศใตมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกคอนไป
ทางทิศใตมากที่สุด ดังแสดงในภาพที่ 1
320

ภาพที่ 1 ตําแหนงการขึน้ – ตกของดวงอาทิตยเปลี่ยนแปลงไปทุกวันในรอบป

การที่ตําแหนงการขึ้น – ตกของดวงอาทิตยเปลี่ยนแปลงไปทุกวันในรอบป เนื่องจากการที่โลก


โคจรรอบดวงอาทิตยใน 1 ปนั่นเอง โดยเมื่อสังเกตจากโลกจะสังเกตเห็นดวงอาทิตยเคลื่อนยายตําแหนงไป
ในทิศทางเดียวกับทิศทางที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย นั้นคือเคลื่อนยายไปทางทิศตะวันออก ตามกลุมดาว
12 กลุม ที่เรียกวากลุมดาวจัก รราศี (Zodiac) ตามภาพที่ 2 ไดแก กลุม ดาว แกะหรือ เมษ (Aries) วัวหรือ
พฤษภ (Taurus) คนคูหรือมิถุน (Gemini) ปูหรือกรกฏ (Cancer) สิงโตหรือสิงห (Leo) ผูหญิงสาวหรือ กันย
(Virgo) คันชั่งหรือ ตุล (Libra) แมงปองหรือ พฤศจิก (Scorpius) คนยิงธนูหรือ ธนู (Sagittarius) แพะทะเล
หรือมกร (Capricornus) คนแบกหมอน้าํ หรือ กุมภ (Aquarius) และปลาหรือ มีน (Pisces) ดวงอาทิตยจะ
ปรากฎยายตําแหนงไปทางตะวันออก ผานกลุมดาวเหลา นี้ ทําใหผูสังเกตเห็นดาวตาง ๆ บนทองฟาขึ้นเร็ว
กวาวันกอนเปนเวลา 4 นาทีทุกวัน ซึ่งหมายความวาใน 1 วันดวงอาทิตยจะมีการเลื่อนตําแหนงไป 1
องศาหรือรอบละ 1 ปนั่นเอง
321

ภาพที่ 2 กลุมดาว 12 กลุมในจักรราศีและการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตยทําใหผูสังเกต


เห็นดวงอาทิตยยายตําแหนงไปตามกลุมดาว จักรรราศี

ทางเดินปรากฏของดวงอาทิตยผานกลุมดาวจักรราศี เรียกวา “สุริยวิถี (Ecliptic)” ตําแหนงของดวง


อาทิตยบนเสนสุริยวิถี ณ วันที่ 21 มีนาคม เรียกวาจุด “วสันตวิษวุ ตั (Vernal Equinox)” สวนตําแหนง ณ
วันที่ 23 กันยายน เรียกวาจุด “ศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)” เมื่อดวงอาทิตยอยู ณ ตําแหนงทั้งสอง
ดังกลาวนี้ ดวงอาทิตยจะขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี และชวงเวลากลางวันจะเทากับ
กลางคืน เสนทางขึ้น-ตกของดวงอาทิตยในวันวิษุวัต เรียกวา “เสนศูนยสูตรทองฟาCelestial
( Eguator)”
ตําแหนงของดวงอาทิตยบนเสนสุริยวิถี ณ วันที่ 21 มิถุนายน เรียกวาจุด “คริษมายัน (Summer
Solstice)” ตําแหนงดังกลาว ดวงอาทิตยจะขึ้นและตกคอนไปทางเหนือมากที่สุด ในซีกโลกเหนือ ชวงเวลา
กลางวันจะยาวกวากลางคืนและจะเปนชวงฤดูรอ น(Summer) ตําแหนงของดวงอาทิตยบนเสนสุริยวิถี ณ วันที่
22 ธันวาคมเรียกวา จุด “เหมายัน (Winter Solstice)” ตําแหนงดังกลาว ดวงอาทิตยจะขึ้นและตกคอนไปทาง
ใตมากทีส่ ดุ ในซีกโลกเหนือ ชวงเวลากลางคืนจะยาวกวากลางวันและจะเปนชวงฤดูหนาว (Winter)
ฤดูกาลเกิดขึ้นเนื่องจากแกนของโลกเอียงทํามุม 23.5 องศากับเสนตั้งฉากของระนาบวงโคจรของโลก
รอบดวงอาทิตย และขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย ณ วันที21 ่ มิถุนายน ซีกโลกเหนือจึงเปนฤดูรอนและ
ซีกโลกใตจึงเปนฤดูหนาว ในทางกลับกัน ณ วันที่ 22 ธันวาคม ซีกโลกใตกลับเปนฤดูรอน ในขณะที่ซีก
โลกเหนือ เปนฤดูหนาวดังแสดงในภาพที่ 3 การเกิดฤดูกาลเปนผลเนื่องมาจากแตละสวนบนพื้นโลกรับ
พลังงานความรอนจากดวงอาทิตยไมเทากันในรอบป

ภาพที่ 3 : แกนของโลกเอียงทํามุม 23.5 องศากับเสนตั้งฉากของระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย


จึงทําใหเกิดฤดูกาลบนพื้นโลก
322
แสงอาทิตยเมื่อสองมากระทบวัตถุจะทําใหเกิด“ เงา (Shadow) ” ถาเอาแทงไมยาว ปกตั้งฉากบนพืร้นาบ
เมื่อแสงอาทิตยสองตกกระทบ จะปรากฏเงาของแทงไมดังกลาวทอดลงบนพื้น และหากสังเกตเงาเปน
เวลานาน จะเห็นเงามีการเปลี่ยนแปลงทั้งความยาวและทิศทางของเงาที่ทอดลงบนพื้น
พิจารณาภาพที่ 4 เมื่อดวงอาทิตยขึ้นในตอนเชาดานทิศตะวันออก เงาของแทงไมจะทอดยาวไป
ทางดานทิศตะวันตก ขณะที่ดวงอาทิตยเคลื่อนที่สูงขึ้นจากขอบฟาเงาของแทงไมจะหดสั้นลงและเงาเริ่มเบน
เขาสูทิศเหนือ จนเมื่อดวงอาทิตยปรากฏอยูบนแนวเมริเดียน (ตําแหนงสูงสุดของดวงอาทิตยบนทองฟาในแต
ละวัน) เงาของแทงไมจะปรากฏสั้นที่สุด และชี้ในแนวทิศเหนือ – ใตพอดี ในชวงบายดวงอาทิตยเคลื่อนที่
ไปทางทิศตะวันตก เงาของแทงไมจะปรากฏยาวขึ้นและเริ่มเบนออกจากทิศเหนือสูแนวทิศตะวันออก

ก. ข.
ภาพที่ 4 (ก) การเปลี่ยนแปลงของเงาของแทงไม เมื่อดวงอาทิตยอยู ณ ตําแหนงตาง ๆ
บนทองฟา (ข) เรขาคณิตของการทอดเงาของแทงไมบนพื้น

เนื่องจากตําแหนงการขึ้น – ตกของดาวอาทิตยแตละวัน แตกตางกันไปในรอบป ดังนั้นการทอดเงา


ของแทงไมในแตละวันจึงไมซอนทับแนวเดิม และมีความยาวของการทอดเงาไมเทากัน อยางไรก็ตาม ชวงที่
ดวงอาทิตยอยูบนแนวเมริเคียนในแตละวัน เงาของแทงไมยังคงสั้นที่สุด และทอดอยูในแนวทิศเหนือ – ใต
เสมอ นอกจากนี้ยังพบวา มีบางวันในรอบปที่ดวงอาทิตยมีตําแหนงอยูเหนือศีรษะพอดี เมื่อดวงอาทิตยปรากฏอยู
ในแนวเมริเคียน อาทิ เชน ที่จังหวัดเชียงใหม ดวงอาทิตยมีตําแหนงเหนือศีรษะพอดี ในวั15นทีพฤษภาคม
่ และ
วันที่ 30 กรกฎาคม ณ เวลาประมาณเที่ยงวัน และในวันและเวลาดังกลาวนี้วัตถุจะไมปรากฏเงาทอดลงบนพื้นเลย
ที่กรุงเทพฯ ดวงอาทิตยอยูเหนือศีรษะเวลาเที่ยงวันของวัน28ทีเมษายน
่ และ16 สิงหาคม
การเปลี่ยนแปลงของเงาของแทงไมในรอบวัน มีลักษณะคลายการเดินของ “เข็มชั่วโมง” ของนาฬิกา ซึ่ง
เมื่อกําหนดสเกลที่เหมาะสมของตําแหนงเงา ณ เวลาตาง ๆ ในรอบวัน เราจะสามารถสร “นาฬิ
างกาแดด(Sundial)”
อยางงายได
323
เราอาจหาตําแหนงการขึ้น– ตกของดาวอาทิตย โดยวัดคามุทิมศ (อาชิมุท) เมื่อมุมเงยของดวงอาทิตย เปน
0 องศา (ขณะที่ดวงอาทิตยปรากฏอยูที่ขอบฟาพอดี ทางดานตะวันออกหรือดานตะวัน)ตกณ วัน – เดือนตาง ๆ
ในรอบป และเนื่องจากดวงอาทิตยมีการเคลื่อนที่ไปตาม เสนสุริยวิถี ถาเรามีเครื่องมือที่วัดไดอยางแมนยํา จะวัด
ตําแหนงการขึน้ – ตกของดวงอาทิตย ไดตางกันทุกวัน วันละประมาณ 15 ลิปดา
หลังจากดวงอาทิตยขึ้นแลว จะเห็นวามุมเงยของดวงอาทิตยจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมีคาสูงสุดแลวคอย ๆ
ลดต่ําลงมา สวนมุมทิศจะเปลี่ยนคาทุกตําแหนงที่วัดมุมเงย แสดงวาดวงอาทิตยมีการเปลี่ยนตําแหนงตลอดเวลา
ตารางตอไปนี้แสดงคมุา มทิศ และมุมเงยของดวงอาทิตยในเดือนตาง ๆ ในรอบป

ตารางที่ 1 มุมทิศ ขณะขึ้น–ตกและมุมเงยสูงสุดของดวงอาทิตย วัดที่กรุงเทพมหานคร ณ วัน – เดือนตาง ๆ


ในรอบป
วัน – เดือน มุมทิศ (องศา) มุมเงยสูงสุด ฤดูกาล
ขณะขึ้น ขณะตก (องศา)
21 มีนาคม 90 270 76
27 เมษายน 76 284 90 ฤดูรอน
20 พฤษภาคม 70 290 84
22 มิถุนายน 67 293 81
20 กรกฎาคม 69 291 83
16 สิงหาคม 76 284 90 ฤดูฝน
23 กันยายน 90 270 76
20 ตุลาคม 100 260 66
20 พฤศจิกายน 110 250 56
22 ธันวาคม 113 247 52 ฤดูหนาว
20 มกราคม 110 250 56
20 กุมภาพันธ 101 259 67
324
จากขอมูลในตารางที่ 1-1 จึงเขียนแบบจําลองทรงกลมทองฟา พรอมกําหนดทิศเหนือ – ใต
ตะวันออก – ตะวันตก แลวเขียนทางเดินของดวงอาทิตย จากคามุมอาซิมุท ขณะขึ้น – ตกและมุมเงยสูงสุด
ของดวงอาทิตยในแตละวัน
เหนือศีรษะ

ตะวันตก
มุมเงย

ใต เหนือ

ตะวันออก มุมทิศ

ใตเทา

ภาพที่ 5 แบบจําลองทรงกลมทองฟาที่มีเสนขอบฟาเปนเสนแบงครึ่งทรงกลม บอกตําแหนงดาว


เทียบกับขอบฟาเปน มุมทิศ,มุมเงย

กลุมดาวและฤดูกาล
มนุษยในยุคโบราณสามารถสังเกตตําแหนงการขึ้น – ตกของดวงอาทิตยและการปรากฏของกลุม
ดาว สัมพันธกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ทําใหมนุษยสามารถดํารงชีวิตอยูไดเปนปกติสุข โดยการ
สังเกตดวงอาทิตยและกลุมดาวที่ปรากฏบนทองฟาหลังดวงอาทิตยตก มนุษยสามารถรูวา เมื่อใดควรเริ่ม
เพาะปลูก เมื่อใดควรเริ่มเก็บเกี่ยว เมื่อใดควรสะสมอาหารแหงเตรียมไวเพื่อบริโภคในฤดูหนาว มนุษยเริ่ม
รูจักใชวัตถุทองฟาเปนสิ่งกําหนดเวลาได โดยเฉพาะอยางยิ่งเมื่อมนุษยเริ่มเปลี่ยนสภาพการดํารงชีวิตแบบ
ปาเถื่อนมาอยูในระดับที่เจริญขึ้น ซึ่งการดํารงชีวิตเนนทางดานกสิกรรมหรือเกษตรกรรม มนุษยยิ่งตองมี
ความเขาใจอยางลึกซึ้งตอความเปลี่ยนแปลงอยางเปนจังหวะของธรรมชาติเหลานั้นมากขึ้น
325
เราอาจทําการสังเกตการณ หรือทําการทดลอง เพื่อศึกษาการขึ้น – ตกและตําแหนงของดาวอาทิตย
และการปรากฏของกลุมดาว ณ วันใด ๆ ในรอบปได เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตยครบ 1 รอบ คนบน
โลกจะเห็นดวงอาทิตยเคลื่อนที่ปรากฏผานกลุมดาวฤกษในจักรราศี ทั้ง 12 กลุมดังไดกลาวมาแลว ซึ่งโดย
เฉลี่ยดวงอาทิตยจะใชเวลาประมาณ 1 เดือนปรากฏเคลื่อนที่ในกลุมดาวแตละราศี

ภาพที่ 6 กลุมดาวจักรราศี 12 กลุมและตําแหนงโลกขณะที่ดวงอาทิตยปรากฏผานกลุมดาวเหลานี้

ราศีมีชื่อเกี่ยวกับกลุมดาวที่ดวงอาทิตยปรากฏผานเชนในยุคปจจุบันดวงอาทิตยปรากฏผานกลุมดาว
มีนหรือกลุมดาวปลา ระหวางวันที่ 21 มีนาคม-20 เมษายน เดือนมีนาคมซึ่งแปลวา มาถึง (อาคม) กลุมดาว
ปลา (มีน) แลว จึงเปนชวงเวลาที่ดวงอาทิตยอยูในกลุมดาวปลา เปนตน นั่นคือคนไทยตั้งซื่อเดือนตามกลุม
ดาวจักรราศี
326

ภาพที่ 7 กลุมดาวฤกษในจักรราศีและตําแหนงปรากฏของดวงอาทิตย ในกลุมดาว เมื่อมองจากโลก

ตําแหนงปรากฏของดวงอาทิตย ในกลุม ดาวในจัก รราศี จะสอดคลองกับชื่อเดือนทั้ง 12 เดือนที่


คนไทยไดกาํ หนดขึน้ ตัง้ แตรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว พระปยะมหาราช เชนดวง
อาทิตยปรากฏอยูใ นกลุมดาวราศีตุลในชวงราวเดือนตุลาคม และในชวงเดือนดังกลาวนี้ กลุมดาวจัก รราศีที่
ปรากฏบนทองฟาหลังดวงอาทิตยตกลับขอบฟาในตอนหัวค่ํา ก็จะเปนกลุมดาว แมงปอง คนยิงธนู แพะ
ทะเล คนแบกหมอน้ํา ปลา และ แกะ ตามลําดับจากทิศตะวั นตกตอเนื่องไปทางทิศตะวันออก ดังนั้น
ตําแหนงการขึน้ – ตกของดวงอาทิตยในรอบป ฤดูกาลและกลุมดาวที่ปรากฏบนทองฟาจึงมีความสัมพันธ
กันอยางใกลชิด
327
เรื่องที่ 2 การสังเกตตําแหนงของดาวฤกษ
คนในสมัยโบราณเชื่อวา ดวงดาวทั้งหมดบนทองฟาอยูหางจากโลกเปนระยะทางเทา ๆ กัน โดย
ดวงดาวเหลานัน้ ถูกตรึงอยูบ นผิวของทรงกลมขนาดใหญเรียกวา “ทรงกลมทองฟา” (Celestial sphere) โดย
มีโลกอยูที่ศูนยกลางของทรงกลม ทรงกลมทองฟาหมุนรอบโลกจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก
โดยที่โลกหยุดนิ่งอยูกับที่ ไมเคลื่อนไหว
นักปราชญในยุคตอมาทําการศึกษาดาราศาสตรกันมากขึ้น จึงพบวา ดวงดาวบนทองฟาอยูหางจาก
โลกเปนระยะทางที่แตกตางกัน กลางวันและกลางคืนเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก มิใชการหมุนของ
ทรงกลมทองฟา ดังที่เคยเชื่อกันในอดีต อยางไรก็ตามในปจจุบันนักดาราศาสตรยังคงใชทรงกลมทองฟา
เปนเครื่องมือในการระบุตําแหนงทางดาราศาสตร ทั้งนี้เปนเพราะ หากเราจินตนาการใหโลกเปนศูนยกลาง
โดยมีทรงกลมทองฟาเคลื่อนที่หมุนรอบ จะทําใหงายตอการระบุพิกัด หรือเปรียบเทียบตําแหนงของวัตถุบน
ทองฟา และสังเกตการเคลื่อนที่ของวัตถุเหลานั้นไดงายขึ้น
จินตนาการจากอวกาศ
• หากตอแกนหมุนของโลกออกไปบนทองฟาทั้งสองดาน
เราจะไดจุดสมมติเรียกวา “ขั้วฟาเหนือ” (North celestial
pole) และ “ขั้วฟาใต” (South celestial pole) โดยขั้วฟาทั้ง
สองจะมีแกนเดียวกันกับแกนการหมุนรอบตัวเองของ
โลก และขั้วฟาเหนือจะชี้ไปประมาณตําแหนงของดาว
เหนือ ทําใหเรามองเห็นวา ดาวเหนือไมมีการเคลื่อนที่
• หากขยายเสนศูนยสูตรโลกออกไปบนทองฟาโดยรอบ
เราจะไดเสนสมมติเรียกวา “เสนศูนยสูตรฟา” (Celestial
equator) เสนศูนยสูตรฟาแบงทองฟาออกเปน “ซีกฟา
ภาพที่ 8 ทรงกลมทองฟา เหนือ” (Northern hemisphere) และ “ซีกฟาใต”
(Southern hemisphere) เชนเดียวกับที่เสนศูนยสูตรโลก
แบงโลก ออกเปนซีกโลกเหนือ และซีกโลกใต
328
จินตนาการจากพื้นโลก
• ในความเปนจริง เราไมสามารถมองเห็นทรงกลมทองฟาได
ทั้งหมด เนื่องจากเราอยูบนพื้นผิวโลก จึงมองเห็นทรงกลม
ทองฟาไดเพียงครึ่งเดียว และเรียกแนวที่ทองฟาสัมผัสกับพื้น
โลกรอบตัวเราวา “เสนขอบฟา” (Horizon) ซึ่งเปนเสมือน
เสนรอบวงบนพื้นราบ ที่มีตัวเราเปนจุดศูนยกลาง
• หากลากเสนโยงจากทิศเหนือมายังทิศใต โดยผานจุดเหนือ
ภาพที่ 9 เสนสมมติบนทรงกลมทองฟา ศีรษะ จะไดเสนสมมติซึ่งเรียกวา “เสนเมริเดียน” (Meridian)
• หากลากเสนเชื่อมทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก โดยให ระนาบ
ของเสนสมมตินั้นตั้งฉากกับแกนหมุนของโลกตลอดเวลา จะ
ได “เสนศูนยสูตรฟา” ซึ่งแบงทองฟาออกเปนซีกฟาเหนือ
และซีกฟาใต หากทําการสังเกตการณจากประเทศไทย ซึ่งอยู
บนซีกโลกเหนือ จะมองเห็นซีกฟาเหนือมีอาณาบริเวณ
มากกวาซีกฟาใตเสมอ
การเคลื่อนที่ของทรงกลมทองฟา
เมื่อมองจากพื้นโลกเราจะเห็นทรงกลมทองฟาเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก อยางไร
ก็ตามเนื่องจากโลกของเราเปนทรงกลม ดังนั้นมุมมองของการเคลื่อนที่ของทรงกลมทองฟา ยอมขึ้นอยูกับ
ตําแหนงละติจดู (เสนรุง) ของผูสังเกตการณ เปนตนวา
• ถาผูสังเกตการณอยูบนเสนศูนยสูตร หรือละติจูด 0 ° ขั้วฟาเหนือก็จะอยูที่ขอบฟาดานทิศเหนือ
พอดี (ภาพที่ 10)
• ถาผูสังเกตการณอยูที่ละติจูดสูงขึ้นไป เชน ละติจูด 13° ขั้วฟาเหนือก็จะอยูสูงจากขอบฟา ทิศเหนือ
13° (ภาพที่ 11)
• ถาผูสังเกตการณอยูที่ขั้วโลกเหนือ หรือละติจูด 90 ° ขั้วฟาเหนือก็จะอยูสูงจากขอบฟา 90 ° (ภาพที่
12)
เราสามารถสรุปไดวา ถาผูสังเกตการณอยูที่ละติจูดเทาใด ขั้วฟาเหนือก็จะอยูสูงจากขอบฟาเทากับละติจูดนั้น
329
ภาพที่ 10 ละติจดู 0° N
ผูสังเกตการณอยูที่เสนศูนยสูตร (ละติจดู 0°)
ดาวเหนือจะอยูบ นเสนขอบฟาพอดี
ดาวขึน้ – ตก ในแนวในตัง้ ฉากกับขอบฟา

ภาพที่ 11 ละติจูด 13° N


ผูสังเกตการณอยูที่ กรุงเทพ ฯ (ละติจดู 13° N)
ดาวเหนือจะอยูส งู เหนือเสนขอบฟา ทิศเหนือ 13°
ดาวขึน้ – ตก ในแนวเฉียงไปทางใต 13°

ภาพที่ 12 ละติจูด 90° N


ผูสังเกตการณอยูที่ขั้วโลกเหนือ (ละติจดู 90° N)
ดาวเหนือจะอยูส งู เหนือเสนขอบฟา 90°
ดาวเคลือ่ นทีใ่ นแนวขนานกับพืน้ โลก
330
ระยะเชิงมุม
ในการวัดระยะหางระหวางดวงดาวบนทรงกลมทองฟานั้น เราไมสามารถวัดระยะหางออกมาเปน
หนวยเมตร หรือกิโลเมตรไดโดยตรง เพราะระยะระหวางดาวเปนทางโคงจึงตองวัดออกมาเปน “ระยะ
เชิงมุม” (Angular distance) ตัวอยางเชน เราบอกวา ดาว A อยูหางจาก ดาว B เปนระยะทาง 5 องศา หรือ
บอกวาดวงจันทรมีขนาดครึ่งองศา ซึ่งเปนการบอกระยะหางและขนาดเปนเชิงมุมทั้งสิ้น

ภาพที่ 13 แสดงการวัดระยะเชิงมุมระหวาวดาว A กับดาว B เทากับมุม


ระหวางเสนสองเสนที่ลากจากตาไปยังดาว A และดาว B
ระยะเชิงมุมที่วัดไดนั้น เปนระยะหางที่ปรากฏใหเห็นเทานั้น ทวาในความเปนจริง ดาว A และดาว
B อาจอยูหางจากเราไมเทากัน หรืออาจจะอยูหางจากเราเปนระยะที่เทากันจริง ๆ ก็ได เนื่องจากดาวที่เราเห็น
ในทองฟานั้นเราเห็นเพียง 2 มิติ สวนมิติความลึกนั้นเราไมสามารถสังเกตได
การวัดระยะเชิงมุมอยางงาย
ในการวัดระยะเชิงมุมถาตองการคาที่ละเอียดและมีความแมนยํา จะตองใชอุปกรณที่มีความซับซอน
มากในการวัด แตถาตองการเพียงคาโดยประมาณ เราสามารถวัดระยะเชิงมุมไดโดยใชเพียงมือและนิ้วของ
เราเองเทานั้น เชน ถาเรากางมือชูนิ้วโปงและนิ้วกอยโดยเหยียดแขนใหสุด ความกวางของนิ้วทั้งสองเทียบ
กับมุมบนทองฟาจะไดมุมประมาณ 18 องศา ถาดาวสองดวงอยูหางกันดวยความกวางนี้แสดงวา ดาวทั้งสอง
อยูหางกัน 18 องศาดวย

ภาพที่ 14 การใชมือวัดมุม
331
ในคืนที่มีดวงจันทรเต็มดวง ใหเราลองกํามือชูนิ้วกอยและเหยียดแขนออกไปใหสุด ทาบนิ้วกอยกับ
ดวงจันทร เราจะพบวานิ้วกอยของเราจะบังดวงจันทรไดพอดี เราจึงบอกไดวาดวงจันทรมี “ขนาดเชิงมุม”
(Angular Diameter) เทากับ ½ องศา โดยขนาดเชิงมุมก็คือ ระยะเชิงมุมที่วัดระหวางขอบของดวงจันทร
นั้นเอง ขนาดเชิงมุมของวัตถุขึ้นอยูกับระยะหางของวัตถุกับผูสังเกต และขนาดเสนผานศูนยกลางจริงของ
วัตถุนั้น

ภาพที่ 15 ขนาดเชิงมุม
ยกตัวอยาง: ลองจินตนาการภาพลูกบอลวางอยูหางจากเรา 1 เมตร ใหเราลองวัดขนาดเชิงมุมของลูก
บอล จากนั้นเลื่อนลูกบอลใหไกลออกไปเปนระยะทาง 3 เทา ขนาดเชิงมุมจะลดลงเปน 1 ใน 3 ของขนาดที่
วัดไดกอ นหนานี้
ดังนั้น “คาขนาดเชิงมุม” คือ อัตราสวนของ ขนาดจริง ตอ ระยะหางของวัตถุ
กลุมดาว
แมวาจะมีกลุมดาวบนทองฟาอยูถึง 88 กลุม แตในทางปฏิบัติมีกลุมดาว กลุมดาวจักรราศี 12 กลุม
และกลุมดาวเดนอื่นอีกประมาณเทากันที่เหมาะสมสําหรับการเริ่มตน กลุมดาวเหลานี้ก็มิไดมีใหเห็น
ตลอดเวลาเหตุเพราะโลกหมุนรอบตัวเอง และ โคจรรอบดวงอาทิตย กลุมดาวสวางแตละกลุมจะ ไมปรากฏ
ใหเห็นเฉพาะเมื่อกลุมดาวนั้นขึ้นและตกพรอมกับดวงอาทิตย
332
ดาวฤกษสวางรอบกลุมดาวหมีใหญ

ภาพที่ 16 ดาวฤกษสวางรอบกลุม ดาวหมีใหญ


ในการเริ่มตนดูดาวนั้น เราตองจับจุดจากดาวฤกษที่สวางเสียกอน แลวจึงคอยมองหารูปทรงของ
กลุมดาว สิ่งแรกที่ตองทําความเขาใจคือ การเคลื่อนที่ของทองฟา เราจะตองหาทิศเหนือใหพบ แลวสังเกต
การเคลื่อนที่ของกลุมดาว จากซีกฟาตะวันออกไปยังซีกฟาตะวันตก เนื่องจากการหมุนตัวเองของโลก
“กลุม ดาวหมีใหญ” (Ursa Major) ประกอบดวยดาวสวางเจ็ดดวง เรียงตัวเปนรูปกระบวยขนาด
ใหญ ดาวสองดวงแรกชาวยุโรปเรียกวา “ดาวชี้” ( The Pointer) หมายถึง ลูกศรซึ่งชี้เขาหา “ดาวเหนือ”
(Polaris) อยูต ลอดเวลา โดยดาวเหนือจะอยูห า งจากดาวสองดวงแรกนัน้ นับเปนระยะเชิงมุม หาเทา ของ
ระยะเชิงมุมระหวางดาวสองดวงนัน้ ดาวเหนืออยูใ นสวนปลายหางของ ”กลุมดาวหมีเล็ก” (Ursa Minor)
ซึ่งประกอบดวยดาวไมสวาง เรียงตัวเปนรูปกระบวยเล็ก แมวาดาวเหนือจะมีความสวางไมมากนัก แตใน
บริเวณขัว้ ฟาเหนือก็ไมมดี าวใดสวางไปกวาดาวเหนือดังนัน้ ดาวเหนือจึงมีความโดดเดนพอสมควร
เมื่อเราทราบตําแหนงของดาวเหนือ เราก็จะทราบทิศทางการหมุนของทรงกลมทองฟา หากเราหัน
หนาเขาหาดาวเหนือ ทางขวามือจะเปนทิศตะวันออก และทางซายมือจะเปนทิศตะวันตก กลุมดาวทั้งหลาย
จะเคลื่อนที่จากทางขวามือขึ้นไปสูงสุดทางทิศเหนือและไปตกทางซายมือ ในขั้นตอนตอไปเราจะตั้งหลักที่
กลุมดาวหมีใหญ วาดเสนโคงตาม “หางหมี” หรือ “ดามกระบวย” ตอออกไปยัง “ดาวดวงแกว” (Arcturus)
หรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งวา “ดาวยอดมหาจุฬามณี” เปนดาวสีสมสวางมากใน “กลุมดาวคนเลี้ยงสัตว”
(Bootes) และหากลากเสนโคงตอไปอีกเทาตัว ก็จะเห็นดาวสวางสีขาวชื่อวา “ดาวรวงขาว” (Spica) อยูใน
กลุม ดาวหญิงสาว (Virgo) หรือราศีกันย กลุมดาวนี้จะมีดาวสวางประมาณ 7 ดวงเรียงตัวเปนรูปตัว Y อยูบน
เสนสุริยวิถี
333
กลับมาที่กลุมดาวหมีใหญอีกครั้ง ดาวดวงที่ 4 และ 3 ตรงสวนของกระบวย จะชี้ไปยัง “ดาวหัวใจ
สิงห” (Regulus) ใน”กลุมดาวสิงโต” (Leo) หรือ สิงห พึงระลึกไววา กลุมดาวจัก รราศีจะอยูบนเสนสุริยวิถี
เสมอ ถาเราพบกลุมดาวราศีหนึ่ง เราก็สามารถไลหากลุมดาวราศีของเดือนอื่นซึ่งเรียงถัดไปได เชน ในภาพ
ที่ 16 เราเห็นกลุมดาวสิงห และกลุมดา วกันย เราก็สามารถประมาณไดวากลุมดาวกรกฏ และตุลจะอยูทาง
ไหน
สามเหลี่ยมฤดูหนาว

ภาพที่ 17 สามเหลีย่ มฤดูหนาว


ในชวงของหัวค่ําของฤดูหนาว จะมีกลุมดาวสวางอยูทางทิศตะวันออก คือ กลุมดาวนายพราน กลุม
ดาวสุนัขใหญ และกลุมดาวสุนัขเล็ก หากลากเสนเชื่อม ดาวบีเทลจุส ( Betelgeuse) - ดาวสวางสีแดงตรง
หัวไหลของนายพรานไปยัง ดาวซิริอุส (Sirius) – ดาวฤกษสวางที่สุดสีขาว ตรงหัวสุนัขใหญ และ ดาวโปรซี
ออน ( Procyon) - ดาวสวางสีขาวตรงหัวสุนัขเล็ก จะไดรูปสามเหลี่ยมดานเทา เรียกวา “สามเหลี่ยมฤดู
หนาว” (Winter Triangle) ซึ่งจะขึ้นในเวลาหัวค่ําของฤดูหนาว
กลุมดาวนายพรานเปนกลุมดาวที่เหมาะสมกับการเริ่มตนหัดดูดาวมากที่สุด เนื่องจากประกอบดวย
ดาวสวางที่มีรูปแบบการเรียงตัว ( pattern) ที่โดดเดนจํางาย และขึ้นตอนหัวค่ําของฤดูหนาว จึงเรียกวาเปน
กลุม ดาวหนาหนาว ซึ่งมักมีสภาพอากาศดี ทองฟาใสไมมีเมฆปกคลุม เอกลักษณของกลุมดาวนายพรานก็
คือ ดาวสวางสามดวงเรียงกันเปนเสนตรง ซึ่งเรียกวา “เข็มขัดนายพราน” (Orion’s belt) อยูภ ายในกรอบดาว
4 ดวง ทางทิศใตของเข็มขัดนายพราน มีดาวเล็ก ๆ สามดวงเรียงกัน คนไทยเราเห็นเปนรูป “ดามไถ” แตชาว
ยุโรปเรียกวา “ดาบนายพราน” (Orion’s sword) ที่ตรงกลางของบริเวณดาบนายพรานนี้ ถานํากลองสองดูจะ
พบ “เนบิวลา M42” เปนกลุมกาซในอวกาศ กําลังรวมตัวเปนดาวเกิดใหม ซึ่งอยูตรงใจกลางและสองแสงมา
กระทบเนบิวลา ทําใหเรามองเห็น
334
ดาวสวางสองดวงทีบ่ ริเวณหัวไหลดา นทิศตะวันออก และหัวเขาดานทิศตะวันตกของกลุม ดาว
นายพราน มีสีแตกตางกันมาก ดาวบีเทลจุส มีสีออกแดง แตดาวไรเจล ( Rigel) มีสีออกน้ําเงิน สีของดาว
บอกถึงอายุและอุณหภูมิ ผิวของดาว ดาวสีน้ําเงินเปนดาวที่มีอายุนอย และมีอุณหภูมิสูง 1 – 2 หมื่นเคลวิน
ดาวสีแดงเปนดาวที่มีอายุมาก และมีอุณหภูมิต่ําประมาณ 3,000 เคลวิน สวนดวงอาทิตยของเรามีสีเหลือง
เปนดาวฤกษซึ่งมีอายุปานกลาง และมีอุณหภูมิที่พื้นผิวประมาณ 5,800 เคลวิน
ในกลุม ดาวสุนขั ใหญ ( Canis Major) มีดาวฤกษที่สวางที่สุดบนทองฟามีชื่อวา ดาวซิริอุส ( Sirius)
คนไทยเราเรียกวา “ดาวโจร” (เนื่องจากสวางจนทําใหโจรมองเห็นทางเขามาปลน) ดาวซิริอุสมิไดมีขนาด
ใหญ แตวาอยูหางจากโลกเพียง 8.6 ปแสง ถาเทียบกับดาวไรเจลในกลุมดาวนายพรานแลว ดาวไรเจลมี
ขนาดใหญและมีความสวางกวาดาวซิริอุสนับพันเทา หากแตวาอยูหางไกลถึง 777 ปแสง เมื่อมองดูจากโลก
ดาวไรเจลจึงมีความสวางนอยกวาดาวซิริอุส

สามเหลี่ยมฤดูรอน

ภาพที่ 18 สามเหลี่ยมฤดูรอน

ในชวงหัวค่ําของตนฤดูหนาว จะมีกลุมดาวสวางทางดานทิศตะวันตก คือ กลุมดาวพิณ กลุมดาวหงส


และกลุมดาวนกอินทรี หากลากเสนเชื่อม ดาววีกา (Vega) - ดาวสวางสีขาวในกลุมดาวพิณไปยัง ดาวหางหงส
(Deneb) – ดาวสวางสีขาวในกลุม ดาวหงส และ ดาวตานกอินทรี ( Altair) – ดาวสวางสีขาวในกลุมดาว
นกอินทรี จะไดรูปสามเหลี่ยมดานไมเทาเรียกวา “สามเหลี่ยมฤดูรอน” (Summer Triangle) ซึ่งอยูในทิศ
ตรงขามกับสามเหลี่ยมฤดูหนาว ขณะที่สามเหลี่ยมฤดูรอนกําลังจะตก สามเหลี่ยมฤดูหนาวก็กําลังจะขึ้น
สามเหลี่ยมฤดู รอนขึ้นตอนหัวค่ําของฤดูรอนของยุโรปและอเมริกา ซึ่งเปนชวงฤดูฝนของประเทศไทย
ในคืนที่เปนขางแรมไรแสงจันทรรบกวน หากสังเกตใหดีจะเห็นวามีแถบฝาสวางคลายเมฆขาวพาดขาม
335
ทองฟา ผานบริเวณกลุมดาวนกอินทรี กลุมดาวหงส ไปยังกลุมดาวแคสสิโอเปย (คางคาว) แถบฝาสวางที่
เห็นนั้นแทที่จริงคือ “ทางชางเผือก” (The Milky Way)
เรื่องที่ 3 วิธีการหาดาวเหนือ
การหาจากกลุมดาวหมีใหญ

ภาพที่ 19 การหาดาวเหนือจากกลุม ดาวหมีใหญ


ในบางครั้งเรามองหาดาวเหนือไดจากการดู “กลุม ดาวหมีใหญ” (Ursa major) หรือที่คนไทยเรา
เรียกวา “กลุมดาวจระเข” กลุม ดาวนีม้ ดี าวสวางเจ็ดดวง เรียงตัวเปนรูปกระบวยตักน้าํ ดาวสองดวงแรกของ
กระบวยตักน้ํา จะชี้ไปยังดาวเหนือเสมอ ไมวาทรงกลมทองฟาจะหมุนไปอยางไรก็ตาม ดาวเหนือจะอยูหาง
ออกไป 5 เทาของระยะทางระหวางดาวสองดวงแรกเสมอ ดังที่แสดงในภาพที่ 19
การหาจากกลุมดาวคางคาว

ภาพที่ 20 การขึ้น - ตก ของกลุมดาวรอบขั้วฟาเหนือ


336
ในบางคืนกลุมดาวหมีใหญเพิ่งตกไป หรือยังไมขึ้นมา เราก็สามารถมองหาทิศเหนืออยางคราว ๆ
ไดโดยอาศัย “กลุมดาวคางคาว” (Cassiopeia) กลุมดาวคางคาวประกอบดวย ดาวสวาง 5 ดวง เรียงเปนรูปตัว
“M” หรือ “W” คว่ํา กลุมดาวคางคาวจะอยูในทิศตรงขามกับกลุมดาวหมีใหญเสมอ ดังนั้นขณะกลุมดาว
หมีใหญกําลังตก กลุมดาวคางคาวก็กําลังขึ้น และเมื่อกลุมดาวหมีใหญกําลังจะขึ้น กลุมดาวคางคาวก็กําลังจะ
ตก ดังที่แสดงในภาพที่ 20

การหาจากกลุมดาวนายพราน

ภาพที่ 21 กลุม ดาวนายพรานหันหัวเขาหาดาวเหนือเสมอ


แตในบางครั้งเมฆเขามาบังทองฟาทางดานทิศเหนือ เราก็ไมสามารถมองเห็นกลุมดาวหมีใหญ หรือ
กลุมดาวคางคาวไดเลย ในกรณีนี้เราอาจใช “กลุมดาวนายพราน ” (Orion) ในการนําทางได เปน อยางดี
เพราะกลุม ดาวนายพรานจะหันหัวเขาหาดาวเหนือเสมอ นอกจากนัน้ กลุม ดาวนายพรานยังตัง้ อยูบ นเสนศูนย
สูตรฟา นั่นหมายความวา กลุมดาวนายพรานจะขึ้น-ตก ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก เสมอ
337
เรื่องที่ 4 แผนที่ดาว
การอานแผนทีด่ าวเปน จะทําใหเราดูดาวหรือกลุมดาวที่ปรากฏบนทองฟา ณ วัน – เวลาใดไดอยาง
ถูกตอง กอนอานแผนที่ดาวเพื่อเปรียบเทียบกับดาวที่ปรากฏบนทองฟา ผูสังเกตตองรูทิศเหนือ – ใต
ตะวันออก – ตะวันตก ของที่นั้น ๆ กอน
• ใหลองคะเน มุมเงยและมุมทิศของดาวเหนือ
• เราทราบหรือไม อยางไรวา อาจหาดาวเหนือไดโดยอาศัยกลุม ดาวหมีใหญ (Ursa Major)
หรือกลุมดาวคางคาว (Cassiopeia)
แผนที่ดาวที่นิยมใชกันในปจจุบัน จะเปนแผนทีด่ าวแบบหมุน โดยเปนกระดาษแข็ง 2 แผนตรึง
ติดกันตรงกลาง โดยแผนหนึง่ จะเปนภาพของกลุม ดาวและดาวสวาง เขียนอยูใ นวงกลม โดยที่ขอบของ
วงกลมจะระบุ “วัน – เดือน” ไวโดยรอบ สายแผนติดอยูดานบน จะระบุ “เวลา” ไวโดยรอบ การใชแผน
ที่ดาวก็เพียงแตหมุนวัน – เดือนของแผนลางใหตรงกับเวลา ที่ตองการสังเกตการณของแผนบน กลุมดาวที่
ปรากฏบนแผนที่ดาวจะเปนกลุมดาวจริงที่ปรากฏจริงบนทองฟา ณ ขณะนั้น ดังแสดงในภาพที่ 22
ภาพที่ 22 แผนทีด่ าวแบบหมุน

การใชแผนที่ดาว ณ สถานที่สังเกตการณจริง ใหเราหันหนาไปทางทิศเหนือ แลวยกแผนทีด่ าวขึน้


เหนือศีรษะ โดยใหทศิ ในแผนทีด่ าว ตรงกับทิศจริง โดยทีแ่ ผนทีด่ าวดังกลาวหมุนวัน – เดือน ใหตรงกับ
เวลา ณ ขณะนั้น
• ในแผนทีด่ าวมีการบอกตําแหนงดวงจันทรและดาวเคราะหหรือไม เพราะเหตุใด
• ใหสังเกตกลุมดาวตาง ๆ ที่ปรากฏบนทองฟา โดยใชแผนทีด่ าว แลวระบุวา เห็นกลุม ดาว
อะไรบางอยูทางซีกฟาดานตะวันออก ตะวันตก กลางศีรษะและมีกลุมดาวในจักรราศีกลุม
ใดบางปรากฏบนทองฟา ณ ขณะนั้น
338
เรื่องที่ 5 การใชประโยชนจากกลุม ดาวฤกษ
มนุษยใชประโยชนจากการดูดาวมาตั้งแตครั้งอดีตกาลโดยสืบทอดกันมาจนถึงปจจุบัน
ถึงแมวาปจจุบันจะมีการนําเทคโนโลยีเขามาทดแทนจนเราอาจมองไมเห็นความสําคัญของดวงดาวอีกตอไป
แตแทจริงแลวดวงดาวยังมีความลึกลับใหศึกษาคนควาอีกมากมายโดยเฉพาะเทคโนโลยีที่สูงขึ้นชวยให
มนุษยเราศึกษาเรื่องราวของดวงดาวอยางไมหยุดยั้ง ดังนั้นดวงดาวยังคงยังประโยชนแกมนุษยชาติไปอีก
นานเทานาน เพราะดวงดาวในอวกาศคือหองปฏิบัติการในธรรมชาติซึ่งไมอาจสรางขึ้นไดในโลก การศึกษา
ดวงดาวเทานั้นจึงจะชวยใหเราเขาใจโลกและตัวเราไดมากขึ้น
แมปจจุบันคนทั่วไปจะใชประโยชนจากดวงดาวนอยลงไป แตก็ยังมีคนอีกหลายกลุม
พยายามใชประโยชนจากเครื่องมือที่ธรรมชาติมอบใหเราโดยไมตองเสียเงินซื้อมาในราคาแพงๆ เพื่อใหเห็น
ถึงแนวทางการใชประโยชนจึงขอยกตัวอยางพอเปนสังเขป ดังนี้
• ดานการดํารงชีวิต
ยังมีคนอีกหลายกลุมที่อาศัยการดูดาวเพื่อประกอบอาชีพ เชนเกษตรกร เขาใชดวงดาวใน
การบงบอกถึงฤดูเพาะปลูก หรือแมแตการเลือกปลูกพืชที่เหมาะสม ในอดีตคนไทยใชการดูดาวเพื่อทํานาย
ปริมาณฝนหรือเหตุการณตางๆ อีกมาก แมถึงปจจุบันก็ยังมี เกษตรกร ชาวประมง และนักเดินปา ก็ยั่งใชการ
สังเกตดวงดาวในการนําทาง หรือประมาณเวลาในยามค่ําคืน รวมทั้งตําแหนงของตนบนโลก
• ดานการศึกษา
ในอดีตผูคนมักตื่นตกใจกลัวเวลาที่เกิดปรากฏการณทางดาราศาสตรตางๆ เชน
ปรากฏการณ สุริยุปราคา จันทรุปราคา ดาวหางปรากฏบนฟา ทั้งนี้เพราะความไมเขาใจสาเหตุการเกิดที่
แทจริงปจจุบันเราไมตองตื่นตกใจอีกตอไป อันเปนผลมาจากการศึกษาดาราศาสตรทั้งสิ้น การศึกษาคนควา
ทางดานดาราศาสตรสามารถใหความรู ความเขาใจธรรมชาติแกเรามากขึ้นเสมอ ยิ่งมีความรูมากขึ้นก็ยิ่งมี
ความสงสัยมากขึ้น ดาราศาสตรจึงเปนวิชาที่ตอบปญหาเหลานี้ เทคโนโลยีหลายอยางที่ใชเพื่อศึกษาดวงดาว
ถูกนํามาพัฒนาในการดํารงชีวิต เชนรีโมทเซนซิง การถายภาพระบบซีซีดี ดาราศาสตรไมเพียงชวยใหเรา
เขาใจธรรมซาติ แตชวยใหเราอยูกับธรรมชาติไดอยางมีความสุข
339
แบบฝกหัด
คําสั่ง ใหนักเรียนทําเครื่องหมาย X หนาคําตอบที่เห็นวาถูกที่สุดเพียงขอเดียว
1. กลุมดาวจักรราศี แตละกลุมมีความยาวของเสนทางที่ดวงอาทิตยผานบนทองฟาประมาณ กี่องศา
ก. 10 องศา
ข. 20 องศา
ค. 30 องศา
ง. 40 องศา
2. เพระเหตุใดเราจึงเห็นดวงอาทิตยเคลื่อนที่ผานกลุมดาวจักรราศี
ก. ดวงอาทิตยโคจรรอบโลก
ข. โลกโจจรรอบดวงอาทิตย
ค. โลกหมุนรอบตัวเอง
ง. กลุมดาวจักรราศีโคจรผานดวงอาทิตย
3. กลุมดาวจักรราศีที่มีแนวขึ้นและตกคอนไปทางทิศใตมากที่สุดคือกลุมดาวใด
ก. กลุม ดาวคนยิงธนู
ข. กลุมดาวปลา
ค. กลุมดาวผูหญิงสาว
ง. กลุมดาวคนคู
4. กลุมดาวจักรราศีที่มีแนวขึ้นและตกคอนไปทางทิศเหนือมากที่สุดคือกลุมดาวใด
ก. กลุม ดาวคนยิงธนู
ข. กลุมดาวปลา
ค. กลุมดาวผูหญิงสาว
ง. กลุมดาวคนคู
5. กลุมดาวจักรราศีที่ปรากฏขึ้นและตก ณ ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกคือกลุมใด
ก. กลุมดาวปลาและกลุมดาวผูหญิงสาว
ข. กลุม ดาวคนคูแ ละกลุม ดาวคนยิงธนู
ค. กลุมดาวปูและกลุมดาวมกร
ง. กลุม ดาวสิงโตและกลุม ดาวคนแบกหมอน้าํ
340
6. ดวงอาทิตยจะเปลี่ยนตําแหนงบนทองฟาเทียบกับดาวฤกษวันละกี่องศา
ก. 1 องศา
ข. 10 องศา
ค. 20 องศา
ง. 30 องศา
7. เพราะเหตุใดเราจึงเห็นดาวขึน้ และตก
ก. ดวงอาทิตยโคจรรอบโลก
ข. โลกโจจรรอบดวงอาทิตย
ค. โลกหมุนรอบตัวเอง
ง. ดาวโคจรรอบโลก
8. เวลา 21.00 น. ของวันที่ 3 กันยายน เราจะเห็นกลุมดาวจักรราศีใดทางขอบฟาดานตะวันออก
ก. กลุม ดาวคนยิงธนู
ข. กลุมดาวมกร
ค. กลุม ดาวคนแบกหมอน้าํ
ง. กลุมดาวปลา
9. กลุมดาวใดตอไปนี้ที่เราจะเห็นตลอดทั้งคืนในฤดูรอน
ก. กลุมดาวนายพราน
ข. กลุม ดาวสุนขั ใหญ
ค. กลุมดาวสุนัขเล็ก
ง. กลุม ดาวหงส
10. กลุมดาวใดตอไปนี้ที่ไมใชสมาชิกของสามเหลี่ยมฤดูหนาว
ก. กลุมดาวนายพราน
ข. กลุม ดาวสุนขั ใหญ
ค. กลุมดาวสุนัขเล็ก
ง. กลุม ดาวหงส
11. กลุมดาวใดตอไปนี้ที่ขึ้นทางทิศตะวันออกตอนหัวค่ําในฤดูหนาว
ก. กลุมดาวนายพราน
ข. กลุมดาวพิณ
ค. กลุม ดาวนกอินทรี
ง. กลุม ดาวหงส
341
12. ดาวดวงใดตอไปนีท้ ไ่ี มปรากฏในแผนทีด่ าว
ก. ดาวนกอินทรี
ข. ดาวพุธ
ค. ดาวรวงขาว
ง. ดาวดวงแกว
13. เสนทึบที่ลากจากทิศตะวันออกขึ้นไปบนทองฟาถึงทิศตะวันตกในแผนที่ดาวหมายถึงเสนอะไร
ก. เสนสุรยวิถี
ข. เสนขอบฟา
ค. เสนศูนยสูตรทองฟา
ง. เสนเมริเดียน
14. เสนประที่ลากจากทิศตะวันออกขึ้นไปบนทองฟาถึงทิศตะวันตกในแผนที่ดาวหมายถึงเสนอะไร
ก. เสนสุริยวิถี
ข. เสนขอบฟา
ค. เสนศูนยสูตรทองฟา
ง. เสนเมริเดียน
15. ถาเราลากเสนตรงตามแนวเข็มขัดนายพรานไปทางทิศใต (ซายมือของนายพราน) เราจะพบดาว
สวางดวงใด
ก. ดาวตานกอินทรี
ข. ดาวตาวัว
ค. ดาวคาสเตอร
ง. ดาวสุนขั นอน (ดาวซีรีอัส)
16. ถาเราเห็นดาวนายพรายอยูกลางฟาแสดงวาทิศเหนืออยูทางสวนใดของนายพราน
ก. เข็มขัดนายพราน
ข. ขาของนายพราน
ค. หัวไหลของนายพราน
ง. ศีรษะของนายพราน
17. กลุมดาวที่ชวยใหเราหาดาวเหนือไดงายขึ้นคือกลุมดาวใด
ก. กลุมดาวนายพราน
ข. กลุม ดาวหมีใหญ
ค. กลุมดาวคางคาว
ง. ถูกทั้ง ขอ ข. และ ขอ ค.
342
18. ถาเราดูดาวที่กรุงเทพฯเราจะเห็นดาวเหนืออยูสูงจากขอบฟาประมาณกี่องศา
ก. 12 องศา
ข. 13 องศา
ค. 14 องศา
ง. 15 องศา
19. ถาเราดูดาวที่เชียงใหมเราจะเห็นดาวเหนืออยูสูงจากขอบฟากี่องศา
ก. 16 องศา
ข. 17 องศา
ค. 18 องศา
ง. 19 องศา
20. หากนักศึกษากําลังเดินทางอยูกลางทะเลแลวเห็นดาวเหนืออยูสูงจากขอบฟาประมาณ 15 องศา ขอ
ใดกลาวไดถูกตอง
ก. นักศึกษากําลังอยูที่ละติจูด ที่ 15 องศาเหนือ
ข. นักศึกษากําลังอยูที่ละติจูด ที่ 15 องศาใต
ค. นักศึกษากําลังอยูที่ลองจิจูด ที่ 15 องศาตะวันออก
ง. นักศึกษากําลังอยูที่ลองจิจูด ที่ 15 องศาตะวันตก
343
เฉลยแบบฝกหัด
1. ค.
2. ข.
3. ก.
4. ง.
5. ก.
6. ก.
7. ค.
8. ง.
9. ง.
10. ง.
11. ก.
12. ข.
13. ค.
14. ก.
15. ง.
16. ง.
17. ง.
18. ข.
19. ค.
20. ก.
บรรณานุกรม
การศึกษานอกโรงเรียน, กรม. วิทยาศาสตร ม.1 หมวดวิชาวิทยาศาสตร, 2544. ชุดการศึกษานอกโรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ . สงขลา : เทมการพิมพ, มปป.
คณะกรรมการวิจัยแหงชาติ, สํานักงาน. มนุษยกับธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภา, มปป.
คลอโรพลาส. (online) Available URL
http://www.geocities.com/m4232@ymail.com/pic/forweb/ chloroplastsfigure 1.jpg
เขาถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2552
โครงสรางพืน้ ฐานของเซลล. (online) Available URL
http://www. student.nu.ac.th/kaewsa/lesson1.htm เขาถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2552
เซลล. (online) Available URL
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/content/ nucleus. html
เขาถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2552
เซลลและการแบงเซลล .(online) Available URL
http://www.muic hatyai.ac.th/redesign/download/cell_grade7.ppt#267, 11,ภาพนิ่ง 11
เขาถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2552
เซลลและทฤษฎีเซลล. (online) Available URL
http://www.thaigoodview.com/.../25/.../cp00_cellandtheory.html
เขาถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2552
ทฤษฎีเซลล. (online) Available URL
http://www.school.obec.go.th/saneh/cell/cell/indexk1.htm เขาถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2552
ยุพา วรยศ ดร. และคณะ . กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร ม 3 . กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน
อจท.จํากัด , มปป.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. โครงงานวิทยาศาสตร 2544. กรุงเทพฯ :โรงพิมพคุรุสภา ลาดพราว, มปป.
สงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี,สถาบัน. คูมือการทําและการจัดแสดงโครงงาน
วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี , กรุงเทพฯ : สถาบันการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี, 2531.
สถาพร ทัพพะกุล ณ อยุธยา และคณะ . คูมือเตรียมสอบวิทยาศาสตร ม. 1 , 2 , 3 . กรุงเทพฯ :
หจก.สํานักพิมพ, มปป.
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. คณิตศาสตร 2 , กรุงเทพฯ : ศูนยสงเสริมวิชาการ, ม.ป.ป.
สุรินทร พงศศุภสมิทธิ์. ศ.ดร. คูมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรูวิทยาศาสตร :
สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตร. มปพ., 2550.
สุวัฒน คลองดี. เทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร(ฉบับประสบการณ) , 2534. เอกสารเผยแพร.
ไสว ฟกขาว. โครงงานวิทยาศาสตร. กรุงเทพฯ : เอมพันธุ, 2540.
หนวยศึกษานิเทศก, กรมอาชีวศึกษา. โครงงานวิทยาศาสตร. 2544. เอกสารเผยแพร.
สงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี,สถาบัน. คูมือการทําและการจัดแสดงโครงงาน
วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี, 2531 กรุงเทพ:สถาบันการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์, คณิตศาสตร 2,ม.ป.ป.กรุงเทพ:ศูนยสงเสริมวิชาการ.
สุวัฒน คลองดี,เทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร(ฉบับประสบการณ),2534 เอกสารเผยแพร
ไสว ฟกขาว,โครงงานวิทยาศาสตร,2540 กรุงเทพ:เอมพันธุ
หนวยศึกษานิเทศ,กรมอาชีวศึกษา,โครงงานวิทยาศาสตร ปพุทธศักราช 2544,เอกสารเผยแพร
รศ. ประวิตร ชูศิลป ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตรฯ สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม
สุวัฒก นิยมคา, รองศาสตราจารย ทฤษฎีและทางปฏิบัติในการสอนวิทยาศาสตร
แบบสืบเสาะหาความรู เลม 1 บริษัท เจเนอรัลบุค เซนเตอร จํากัด 2531, 385 หนา.
การรักษาสมดุลของเซลล จาก http://student.nu.ac.th/kaewsa/lesson2.htm
การแพร จาก http://www.indiana.edu/~phys215/lecture/lecnotes/lecgraphics/diffusion2.gif
การแพรและออสโมซิส จาก http://www.sritani.ac.th/ebook/chem40222/pretest.htm
โครงสรางพื้นฐานของเซลล จาก www. student.nu.ac.th/kaewsa/lesson1.htm
คลอโรพลาส จาก http://www.geocities.com/m4232@ymail.com/pic/forweb/chloroplastsfigure 1.jpg
เซลล จากhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/content/nucleus. html
เซลลและทฤษฎีเซลล จาก www.thaigoodview.com/.../25/.../cp00_cellandtheory.html
เซลลและการแบงเซลลจากhttp://www.muic hatyai.ac.th/redesign/download/cell_grade7.ppt#267,
11,ภาพนิ่ง 11
ทฤษฎีเซลล จาก www.school.obec.go.th/saneh/cell/cell/indexk1.htm
ศ.ดร.สุรินทร พงศศุภสมิทธิ์. คูมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรูวิทยาศาสตร : สถาบันสงเสริมการ
สอนวิทยาศาสตร, 2550. การศึกษานอกโรงเรียน, วิทยาศาสตรพื้นฐาน
วิทยาศาสตร ม. 1 หมวดวิชาวิทยาศาสตร, 2544. ชุดการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ.
สงขลา : เทมการพิมพ
นุภาศพัฒน จรูญโรจน และคณะ. .คูมือวิทยาศาสตรกายภาพ ชีวภาพ ม.4-5-6.
กรุงเทพฯ : ไฮเอดพับลิชซิ่ง
คณะกรรมการวิจัยแหงชาติ, สํานักงาน.มนุษยกับธรรมชาติ. จัดแปลและพิมพ : กรุงเทพฯ :
โรงพิมพคุรุสภา
บัญญัติ ลายพยัคฆ และชนินทรทิพย ลายพยัคฆ . หมวดวิชาวิทยาศาสตรระดับมัธยมศึกษา
ตอนตน . กรุงเทพฯ:สํานักพิมพบรรณกิจ , พิมพครั้งที่ 1 . 2546.
เสียง เชษฐศิริพงศ . สารและสมบัติของสาร มัธยมศึกษาปที่ 1 . กรุงเทพฯ : สํานักพิมพพัฒนาศึกษา,
ยุพา วรยศ ดร. และคณะ . กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร ม 3 . กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน
อจท.จํากัด , พิมพครั้งที่ 4 . 2548.
สถาพร ทัพพะกุล ณ อยุธยา และคณะ . คูมือเตรียมสอบวิทยาศาสตร ม. 1 , 2 , 3 . กรุงเทพฯ :
หจก.สํานักพิมพ ภูมิบัณฑิตการพิมพ จํากัด, 2547.
1

คณะผูจัดทํา
ที่ปรึกษา
1. นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน.
2. ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ รองเลขาธิการ กศน.
3. นายวัชรินทร จําป รองเลขาธิการ กศน.
4. ดร.ทองอยู แกวไทรฮะ ที่ปรึกษาดานการพัฒนาหลักสูตร กศน.
5. นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ ผูอํานวยการกลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
ผูเขียนและเรียบเรียง
1. นายสงัด ประดิษฐสุวรรณ อุทยานวิทยาศาสตรพระจอมเกลา ณ หวากอ
จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ
2. นายประกิต จันทรศรี ศูนยวิทยาศาสตรเพื่อการศึกษาสมุทรสาคร
3. นายสุชาติ มาลากรรณ ศูนยวิทยาศาสตรเพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
4. นายชัยกิจ อนันตนิรัติศัย ศูนยวิทยาศาสตรเพื่อการศึกษาตรัง
ผูบรรณาธิการ และพัฒนาปรับปรุง
5. นายสงัด ประดิษฐสุวรรณ อุทยานวิทยาศาสตรพระจอมเกลา ณ หวากอ
จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ
6. นายประกิต จันทรศรี ศูนยวิทยาศาสตรเพื่อการศึกษาสมุทรสาคร
7. นายสุชาติ มาลากรรณ ศูนยวิทยาศาสตรเพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา
8. นายชัยกิจ อนันตนิรัติศัย ศูนยวิทยาศาสตรเพื่อการศึกษาตรัง
9. นางธัญญวดี เหลาพาณิชย ขาราชการบํานาญ
10. นางสาวชนิตา จิตตธรรม ขาราชการบํานาญ
คณะทํางาน
1. นายสุรพงษ มั่นมะโน กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
2. นายศุภโชค ศรีรัตนศิลป กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
3. นางสาววรรณพร ปทมานนท กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
4. นางสาวศริญญา กุลประดิษฐ กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
5. นางสาวเพชรินทร เหลืองจิตวัฒนา กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
ผูพิมพตนฉบับ
นางสาวเพชรินทร เหลืองจิตวัฒนา กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
ผูออกแบบปก
นายศุภโชค ศรีรัตนศิลป กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

You might also like