You are on page 1of 34

วิจัย

โปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill


และ Shuttle drill ที่มีผลต่อความคล่องแคล่ว
ว่องไวและความเร็วของกีฬาฟุตซอล
ผู้รับผิดชอบ

นายยุทธภูมิ บรรดาศักดิ์
นายณัฐชนน พุทธกาล
นางสาวณัฏฐณิชา แสนเปา นายธนากร ขวัญมณีกุล
ที่ปรึกษาวิจัย

อาจารย์สุรศักดิ์ สิงห์สา
หัวหน้าภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการ
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทที่ 1
ที่มาและความสำคัญ
ความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถภาพทางกายมีความสำคัญต่อคนทั่วไปและนักกีฬา
ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์ของร่างกายที่จะสามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถ
นำพลังงานที่มีเหลือใช้ในยามที่เกิดสภาวะจำเป็น ความคล่องแคล่วว่องไว คือ การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทิศทาง
ของร่างกายด้วยความรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ ผลจากการหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ทำงานประสานกัน
อย่างดี กิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ทำงานประสานกันในการเปลี่ยนตำแหน่งทิศทางการ
เคลื่อนไหวของร่างกาย (วรศักดิ์ เพียรชอบ, 2548, น.14) ความเร็ว คือ ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่
จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยมีระยะเวลาในการเคลื่อนที่เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้ระยะเวลาให้น้อยที่สุด
องค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วนที่ทำงานประสานสัมพันธ์และสนับสนุนกัน คือ ความเร็ว พลังกล้ามเนื้อ ความอ่อน
ตัวและการทำงานประสานกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเล่นกีฬาต่าง ๆ
การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันและสำคัญต่อการดำรงชีวิต (Bompa, 1999, p.9)
จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1. เพื่อพัฒนาสมรรถภาพความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของนักศึกษาสาขาพลศึกษา
ชั้นปีที่ 1 จากโปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill
2. เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกระหว่าง ก่อนและหลังการใช้แบบฝึก 5 cone corner
cut drill และ Shuttle drill ที่มีต่อสมรรถภาพความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว
ของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาชั้นปีที่ 1
ขอบเขตของงานวิจัย

1. ประชากร คือ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เป็นนักกีฬาฟุตซอลจำนวน 10 คน
3. ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่
3.1 ตัวแปรอิสระ คือ โปรแกรม5 cone corner cut drill และ Shuttle drill
ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของกีฬาฟุตซอล
3.2 ตัวแปรตาม คือ ความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว
สมมติฐานของงานวิจัย

หลังการใช้โปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill


สามารถพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วได้เพิ่มขึ้น
กว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยเรื่อง โปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill
ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของกีฬาฟุตซอล ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา
และรวบรวมแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเป็นแนวทางในการทำวิจัย ดังนี้
1.ความรู้เกี่ยวกับกีฬาฟุตซอล 3. ความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว
1.1ประวัติกีฬาฟุตซอล 3.1 ความสำคัญของความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว
2.แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการฝึก 3.2 ประโยชน์ของความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว
2.1 วิธีการฝึกทั่วไป 3.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคล่องแคล่วว่องไว
2.2 วัตถุประสงค์การฝึกกีฬา 4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.3 ประโยชน์ของการฝึกกีฬา 5. กรอบแนวคิดงานวิจัย
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(ต่อ)
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เราะห์มาน ดิปุตรา (Rahman Diputra 2015) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ (1) ผลของการให้สว่านแบบสามกรวยต่อความคล่องตัวและ
ความเร็ว; (Three Cone Drill) (2) ผลของการใช้สว่านสี่กรวยต่อความว่องไวและความเร็ว (Four Cone Drill) (3) ผลของการเจาะห้ากรวยต่อความ
ว่องไวและความเร็ว (5 Cone Corner Cut Drill) (4) แบบฝึกหัดแบบฝึกหัดแบบกรวยสามแบบ แบบฝึกหัดแบบกรวยแบบสี่แบบ แบบฝึกหัดแบบ
กระสวยสว่าน (Shuttle Drills) แบบใดมีผลมากกว่าในการเพิ่มความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้คือผู้เข้าร่วม SSB
ในอำเภอปาเระ กลุ่มอายุระหว่าง 16-17 ปี โดยมีตัวอย่างผู้เข้าร่วมทั้งหมด 45 คน ประเภทของการวิจัยที่ใช้เป็นแบบเชิงปริมาณด้วยวิธีการทดลอง
การออกแบบการศึกษานี้ใช้การออกแบบการทดสอบก่อนและหลัง และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน กระบวนการรวบรวม
ข้อมูลดำเนินการโดยใช้แบบจำลอง Z เพื่อทดสอบความคล่องตัวและ 30 เมตรสำหรับความเร็วระหว่างการทดสอบก่อนและหลังการทดสอบ นอกจาก
นี้ ข้อมูลการวิจัยได้รับการวิเคราะห์โดยใช้ความช่วยเหลือของ SPSS series 17.0 ผลการวิจัยพบว่า: (1) Sig. ของ 0.000 น้อยกว่า 0.05 (p <0.05)
กล่าวอีกนัยหนึ่ง มีผลอย่างมากของแบบฝึกหัดกรวยสามแบบในการเพิ่มความว่องไวและความเร็ว (2) เครื่องหมาย ของ 0.000 น้อยกว่า 0.05 (p
<0.05) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ดอกสว่านทรงกรวยทั้งสี่มีผลอย่างมากต่อการเพิ่มความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว (3) เครื่องหมาย ของ 0.000 น้อยกว่า
0.05 (p <0.05) กล่าวอีกนัยหนึ่ง มีผลอย่างมากของดอกสว่านทรงกรวยห้าอันในการเพิ่มความคล่องตัวและความเร็ว
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)

กรอบแนวคิด
บทที่ 3
วิธีดำเนินงานวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill
ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของกีฬาฟุตซอล
2. เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว คือ แบบทดสอบ SEMO Test
และแบบทดสอบวิ่งเร็ว 40 เมตร
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ใบบันทึกความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย (ต่อ)

เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้มีขั้นตอนดังนี้
1. โปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไว
และความเร็วของกีฬาฟุตซอล ได้ดำเนินการดังนี้
1.1 ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.2 สร้างการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและ
ความเร็วของกีฬาฟุตซอล
1.3 ผู้วิจัยทำการสร้างโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว จำนวน 2 แบบ ประกอบด้วย
แบบฝึกการวิ่ง 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีโกวิท จอมคำ อาจารย์ชัชวรรณ ต๊ะผัด และอาจารย์ ดร.ธนัช ยอดดำเนิน
ตรวจสอบเหมาะสม และหาค่าความเชื่อมั่นของโปรแกรม
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย (ต่อ)

เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้มีขั้นตอนดังนี้
1.4 นำแบบฝึกที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้ว มาปรับปรุงแก้ ไขตามคำแนะนำของ ผู้ เชี่ยวชาญ และหาค่าดัชนี
ความสอดคล้อง (IOC : Index of Item Objective Congruence) เพื่อให้มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
(Content validity) ผลการประเมินพบว่า โปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill
มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 ดังตาราง

1.5 นำโปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไว
และความเร็วของกีฬาฟุตซอลที่ผ่านการแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ไปใช้กับกลุ่ม ตัวอย่าง
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้


ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยจำแนกตามอายุ
ตารางที่ 4.1 จำนวนและค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอายุ

จากตารางที่ 4.1 พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน มีนักศึกษาอายุ 18 ปี จำนวน 2 คน


คิดเป็นร้อยละ 20.00 และมีนักศึกษาอายุ 19 ปี จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ)

ตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบของสถิติการทดสอบก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่าง
ที่ได้รับการทดลองโดยใช้โปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill
ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของกีฬาฟุตซอล
ตารางที่ 4.2 วิเคราะห์ผลการทดสอบด้านความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนและหลังการ
ทดลอง
บทที่ 4

จากตารางที่ 4.2 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีสมรรถภาพทางกายด้านความความคล่องแคล่ว


ว่องไวหลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
บทที่ 4 ตารางที่ 4.3 วิเคราะห์ผลการทดสอบด้านความเร็ว ก่อนและหลัง

จากตารางที่ 4.3 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีสมรรถภาพทางกายด้านความความเร็วหลังการฝึก


สูงกว่าก่อนการฝึก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ)
ตอนที่ 3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสถิติการทดสอบก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่าง
ที่ได้รับการทดลองโดยใช้โปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill
ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของกีฬาฟุตซอล
ตารางที่ 4.4 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของความคล่องแคล่วว่องไว

จากตาราง 4.4 พบว่า ความคล่องแคล่วว่องไวของกลุ่มตัวอย่างที่ทำการฝึกโปรแกรมการฝึก 5 cone


corner cut drill และ Shuttle drill ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว ก่อนการฝึกมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 12.84 และมีส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.85 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
10.42 และมีส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.82
บทที่ 4 ตารางที่ 4.5 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของความเร็ว

จากตาราง 4.5 พบว่า ความเร็วของกลุ่มตัวอย่างที่ทำการการฝึกโปรแกรมการฝึก 5 cone


corner cut drill และ Shuttle drill ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วก่อนการ
ฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.01 และมีส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.00 และ หลังการฝึก
สัปดาห์ที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.50 และมีส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ)
ตอนที่ 4 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความ
คล่องแคล่วว่องไวและความเร็วก่อนและหลังการทดลอง ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทดลอง
โดยใช้โปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle drill ที่มีผลต่อความ
คล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของกีฬาฟุตซอล
ตารางที่ 4.6 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
ความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลัง การฝึก 4 สัปดาห์
บทที่ 4

* มีนัยความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากตาราง 4.6 พบว่า ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว
ก่อนการทดลองของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ (x̅ =12.84, S.D=0.85) และหลังการทดลองเท่ากับ (x̅ =10.42, S.D.=0.82)
โดยทำการทดสอบค่าที (t) พบว่า ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบความเร็ว ก่อนการทดลองของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ (x̅ =7.01, S.D=1.00)
และหลังการทดลองเท่ากับ (x̅ =5.50, S.D.=0.52) โดยทำการทดสอบค่าที (t)
พบว่า ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่าง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
บทที่ 4 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านความคล่องแคล่วว่องไว
บทที่ 4 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านความเร็ว
บทที่ 5 บทสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า
ความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทำการทดลอง ก่อนการฝึกและหลังการ
ฝึก 4 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พิจารณาได้ว่า ก่อนการฝึกและหลังการ
ฝึก 4 สัปดาห์ ของกลุ่มตัวอย่างที่ทำการฝึกตามโปรแกรมการฝึก มีความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วที่
ดีขึ้น ทำให้ก่อนการฝึกกับหลังการฝึก 4 สัปดาห์ แตกต่างกัน
สรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill และ Shuttle
drill ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของกีฬาฟุตซอล หลังการทดลองมีความคล่องแคล่ว
ว่องไวและมีความเร็วที่ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างเห็นได้ชัดจากคะแนนการทดสอบก่อนและหลังของ
แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว (SEMO Test และ วิ่งเร็ว 40 เมตร)
บทที่ 5 บทสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าในการฝึกตามโปรแกรมการฝึก 5 cone corner cut drill
และ Shuttle drill ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของกีฬาฟุตซอล
ควรมีการเพิ่มระยะเวลาในการฝึกและควรมีรูปแบบการฝึกหลากหลายรูปแบบให้มากขึ้น
เพื่อที่ผู้ฝึกจะได้ทำการฝึกได้อย่างเต็มศักยภาพ และควรมีการเพิ่มความหนักของการฝึก
หรือเพิ่มจำนวนครั้งภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4
บทที่ 5 บทสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกรูปแบบอื่น ๆ กับนักกีฬาประเภทอื่น ๆ
2. ควรมีการศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกรูปแบบต่าง ๆ ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายด้านอื่น ๆ
3. ควรมีการเพิ่มระยะเวลาในการฝึกให้มากขึ้น
แบบที่ 1
5 cone corner วิดีทัศน์การใช้แบบฝึก
cut drill
แบบที่ 2
Shuttle drill
วิดีทัศน์การใช้แบบฝึก
ขอบคุณค่ะ / ครับ

You might also like