You are on page 1of 5

องค์ความรู้ที่ ๒

เรือ่ ง หน่อไม้ฝรั่งจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
หน่อไม้ฝรั่ง เป็นพืชข้ามปีสามารถมีอายุนาน 3-10 ปี ลักษณะลาต้นเป็นไม้เนื้ออ่อนเจริญจากเหง้าใต้ดิน ใบมีลักษณะ
คล้ายเข็ม เมื่อแก่จะตายและรากมีลาต้นเกิดขึ้นใหม่ ดอกตัวเมียดอกตัวผู้แยกกันคนละต้นหน่อไม้ฝรั่งเจริญเติบโ ตได้ดีในสภาพ
ดินร่วนและระบายน้าได้ดี ความเป็นกรด-ด่างของดินประมาณ 6-6.7 อุณหภูมิที่เหมาะสม 20-30 องศาเซลเซียส ผลผลิต
สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ดี

1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
1. คัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดี แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง
2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
3. นาชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช
4. นาชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10–15 นาที
5. ใช้ปากคีบคีบชิ้นส่วนพืช ล้างในน้ากลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง
6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์
7. หลังจากนั้นจึงเขียนรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี รหัส แล้วนาไปพักในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อต่อไป

1
สูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยในห้องปฏิบัติการ

ส่วนประกอบสารอาหาร
ช่วงเวลา
สูตรอาหาร ระยะของหน่อไม้ฝรั่ง MS น้าตาล BA NAA KIN ผงวุ้น
(เดือน)
(g/l) (ml/L) (ml/L) (ml/L) (g/l)
2BA สร้างกอบวม ๑-๒  30 0.2 - - 6.8
KIN ขยายเพิ่มปริมาณ 3  20 - 0.05 1 6.8
KIN 0.5 ขยายเพิ่มปริมาณ 4  20 - 0.05 0.5 6.8
KIN 0.2 ขยายเพิ่มปริมาณ 5-8  20 - 0.05 0.2 6.8
KIN 0.1 สร้างความแก่ 9-10  30 - 0.05 0.1 6.8
P1 สร้างฐานกอ 11-15  30 - 0.05 0.01 6.8
N 61 ลงราก 12-16  60 - 0.35 0.05 6.8

2. การอนุบาลหน่อไม้ฝรั่งจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยือ่
ขั้นตอนการนาพืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อออกปลูก
ก่อนเข้าถึงขั้นตอนการดูแลหรืออนุบาลพืชเนื้อเยื่อระยะต่างๆ ควรมีการปรับสภาพให้เริ่มเรียนรู้และค่อยๆ ปรับตัว
อยู่กับสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติได้ โดยเพิ่มความเข้มแสง ลดความชื้นในภาชนะลง อาจใช้วิธีนาขวดเนื้อเยื่อพืชออกมา
วางในสภาพอุณหภูมิห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกแต่ไม่ควรให้เนื้อเยื่อพืชได้รับแสงแดดโดยตรงในระยะเวลา 2-3 วันแรก
ตามลาดับ ดังนี้
1.ปรับสภาพเนื้อเยื่อพืช 2-3 วัน ก่อนปลูกในสภาพอุณหภูมิห้องปกติที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
2.นาพืชออกจากภาชนะที่ได้จากการเพาะเลี้ยงด้วยฟอร์เซบหรือปากคีบ
3.ล้างอาหารวุ้นที่ติดอยู่บริเวณรากออกให้หมดด้วยน้าสะอาด
4.นาต้นพืชแช่ในสารป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย เป็นเวลา 3-5 นาที ก่อนปลูก เพื่อป้องกันโรคต้นเน่าเนื่องจาก
พืชยังอ่อนแอต่อการทาลายของเชื้อโรค

2
ขั้นตอนการย้ายเนื้อเยื่อออกปลูกอนุบาล
1.ทาหลุมเล็กๆ ในวัสดุปลูกภายในถาดหลุม วัสดุปลูก
2.ใช้ปากคีบจับโคนต้นพืช นาลงปลูก ขี้เถ้าแกลบ : พีทมอส
1:1
3.กลบวัสดุปลูกให้มิดรากหรือมิดโคนต้นพอดี เพราะ ถ้ารากโผล่พ้นวัสดุ
ปลูกสัมผัสกับอากาศ อาจทาให้รากและต้นพืชเหี่ยวได้

การดูแลต้นพืชในระยะอนุบาล 1
1.อุณหภูมิ ปรับสภาพภายในโรงเรือนให้มีระดับอุณหภูมิประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส
2.ความเข้มแสง ความเข้มแสงไม่เกิน 60% เพราะพืชยังมีขนาดเล็ก
3.ความชื้นสัมพัทธ์ ในช่วง 30 วันแรกของการย้ายปลูกควรรักษาความชื้นภายในโรงเรือนไว้ที่ 85-90%
4.การให้น้า หลังจากปลูกต้นเนื้อเยื่อ 2-3 วันแรก ไม่ต้องให้น้าอีกจนกว่าวัสดุจะแห้ง เพราะในโรงเรือน มี
ความชื้นสูง 85-90%
5.การให้ปุ๋ย วัสดุปลูกที่ใช้ในระยะอนุบาล 1 จะเน้นเรื่องคุณสมบัติของการระบายน้าที่ดี นิยมใช้ทรายผสมขี้เถ้า
แกลบ ซึ่งวัสดุดังกล่าวมีธาตุอาหารน้อยมากไม่เพียงพอต่อความต้องการ จะให้ปุ๋ยเสริมทางใบโดยเฉพาะธาตุ
ไนโตรเจน เพื่อการเจริญเติบโตทางลาต้นความเข้มของปุ๋ย ใช้เพียง 1/4 หรือ 1/2 ของการแนะนา

การดูแลต้นพืชในระยะอนุบาล 2
เป็ น การดู แลรั กษาต้น พื ช ที่ย้ ายปลู กต่ อจากระยะที่ 1 เป็น เวลา 30-45 วัน การดูแ ลรัก ษาและควบคุ ม
สภาพแวดล้อมไม่เข้มข้นเท่าอนุบาล 1 เนื่องจากพืชมีการเจริญเติบโตมากขึ้น ธาตุอาหารจาเป็นต้องให้เพิ่มขึ้น นิยมปลูก
ในถุงพลาสติก ในพืชบางชนิดหลังจากอนุบาลในระยะนี้แล้วก็สามารถนาไปปลูกในแปลงได้เลยเช่น หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย
เป็นต้นการดูแลพืชในระยะอนุบาล 3
ต้นพืชจากโรงเรือนอนุบาล 2 ซึ่งกาลังเจริญเติบโตจะถูกย้ายไปที่โรงเรือนอนุบาล 3 ซึ่งมีการควบคุมสภาพไม่
เข้มงวดมาก คือ ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และจะย้ายเปลี่ยนพืชลงภาชนะปลูกใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้
เหมาะสมกับ ระยะเติบ โตของพืช เช่น ถุงพลาสติกหรือกระถางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ต้นพืช จะอยู่ ในโรงเรือนอนุบาล 3
ประมาณ 30-45 วัน เพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่จะนาไปปลูกในสภาพธรรมชาติ

3
3. การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง
การขยายพันธุ์ สามารถทาได้ 3 วิธี คือ
1. การเพาะเมล็ด
2. การแบ่งกอ
3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การปลูกหน่อไม้ฝรั่งจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
1. การเตรียมแปลงปลูก ควรไถดินตากไว้ประมาณ 7-15 วัน แล้วไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง เพื่อกาจัดศัตรูพืช และให้
ดินร่วนซุย สะดวกในการย้ายปลูกต้นหน่อไม้ฝรั่ง หากดินมีความเป็นกรดด่างต่ากว่า 6.0 ควรหว่า นปูนขาวอัตรา 100
กิโลกรัมต่อไร่ ในดินร่วนปนทราย หรืออัตรา 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ ในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย แล้วไถกลบ
จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2-4 ตันต่อไร่
2. การปลูก เนื่องจากต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขยายกอเร็วกว่าต้นกล้าที่ได้จากการเพาะ
จากเมล็ด ระยะปลูกที่เหมาะสมสาหรับต้นกล้า ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือ 80x150 เซนติเมตร

การจัดการเพื่อความสมบูรณ์ของต้น
1. การใส่ปุ๋ย
ระยะย้ายปลูก ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 300-500 กรัมต่อหลุม เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น
หน่อไม้ฝรั่ง แล้วดินหนา 3-5 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้รากสัมผัสกับปุ๋ยโดยตรง
ระยะการเจริญเติบโต เมื่อย้ายกล้าปลูกแล้ว 1 เดือน ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
และให้อีกทีทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง และควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-5-20 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ทุกเดือน เมื่อต้น
หน่อไม้ฝรั่ง เริ่มให้ผลผลิต ควรพูนโคนทุกครั้งเมื่อมีการใส่ปุ๋ยเพื่อป้องกันมิให้ดินปลูกบริเวณโคนต้นยุบตัวลง ซึ้งจะทาให้
ระบบรากตื้น และลาตันล้มง่าย
ระยะพักตัว ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ และเสริมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 3-5 ตัน
ต่อไร่ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน และเมื่อต้นหน่อไม้ฝรั่งมีอายุ 2 ปี ขึ้นไป ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 -15-15 อัตรา
200 กิโลกรัมต่อไร่1 ปี แบ่งใส่ 4 ครั้ง ห่างกัน 3 เดือน
2. การให้น้า
ควรให้น้าวันละ 1 ครั้ง หลังการย้ายปลูก และเปลี่ยนเป็น 3-5 วันต่อครั้ง หรือหากหน่อไม้ฝรั่งตั้งตัวได้แล้ว
ควรตรวจสอบความชื้นในดินด้วย ก่อนการเก็บผลผลิตประมาณ 10 วัน ควรให้น้าอย่างสม่าเสมอถ้าขาดน้าผลผลิตจะ
ลดลง
3. การป้องกันและกาจัดศัตรูพืช
3.1 โรคลาต้นไหม้ ลักษณะเป็นแผลยาวแนวเดียวกับลาต้นสีม่วง หรือสีน้าตาลเมื่ออาการรุนแรงแผลจะขยาย
มาเชื่อมกันทาให้ลาต้นแห้งเป็นทางยาว โรคนี้เกิดได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว เมื่อพบอาการของโรค ควรถอนต้นที่
เป็นโรคเผาทาลาย แล้วพ่นสารคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี ในอัตรา 40 กรัมต่อน้า 20 ลิตร และควรหยุดฉีด
พ่นสาร 14 วันก่อนการเก็บเกี่ยว
3.2 โรคใบและกิ่งไหม้ ลักษณะแผลมีรูปร่างไม่แน่นอน สีม่วงอมน้าตาลพบบนปลายกิ่งแขนงและใบเทียม
อาการรุนแรงทาให้ใบเทียมร่วงและกิ่งแห้งตาย พบได้ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะเก็บเกี่ยว เมื่อพบอาการของโรค ควรถอน
ต้นที่เป็นโรคเผาทาลาย แล้วพ่นด้วยสารคอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี อัตรา 40 กรัม ต่อน้า 20 ลิตร ควร
หยุดฉีดพ่นสาร 14 วันก่อนการเก็บเกี่ยว หรือ สารแมนโคเซบ 85% ดับบิวพี อัตรา 30 กรัมต่อน้า 20 ลิตร พ่นเมื่อพบ
โรคแล้วพ่นซ้าทุก 5-7 วันและควรหยุดพ่นสาร 7 วันก่อนการเก็บเกี่ยว
4
3.3 โรคแอนแทรคโนส ลักษณะแผลเป็นวงสีน้าตาลหรือเทาดาซ้อนกันตามความยาวของต้น อาการรุนแรง
จะทาให้ส่วนที่เป็นโรคยุบตัวลงทาให้ลาต้นลีบและแห้งตาย เมื่อพบอาการของโรค ควรถอนต้นเผาทาลาย แล้วพ่นสารคอป
เปอร์ออกซิคลอไรด์ 85% ดับบิวพี อัตรา 20-40 กรัมต่อน้า 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน ในช่วงฤดูฝน
4. การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
4.1 การเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง โดยการใช้มีดหรือใช้วิธีการถอนโดยจับโคนหน่อที่ติด
กับดินแล้วดึงขึ้น และเลือกเก็บหน่อที่ปลายแน่น ไม่มีช่อใบ หน่อยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8
เซนติเมตร แล้วรวบรวมผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่เก็บเกี่ยวแล้วใส่ภาชนะบรรจุที่สะอาด
4.2 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว นาหน่อไม้ฝรั่งมาทาความสะอาดบริเวณโคนระวังอย่าให้ปลายหน่อถูกน้า
แล้วคัดแยกหน่อที่เสียหายจากการเก็บเกี่ยว ที่คุ ณภาพไม่ตรงตามความต้องการของตลาด หรือมีตาหนิจากโรคแมลงแยก
ต่างหากและนาหน่อที่คุณภาพมาตัดโคนให้เสมอกัน แล้วคัดแยกหน่อตามคุณภาพที่ตลาดต้องการ

You might also like