You are on page 1of 15

เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น.

๑๐๑)
ผศ. ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ
๒. การตีความการแสดงเจตนา
อุทาหรณประกอบการพิจารณา
ก) ก. ทําพินัยกรรมยกที่ดินพรอมสิ่งปลูกสรางแปลงโฉนดเลขที่ ๑๐๑ ใหแก ข. หลังจาก ก.
ถึงแกความตายแลว ข. ไดรับแจงจาก บ. บุตรของ ก. วา ก. มีที่ดิน ๒ แปลงแปลงหนึ่งติดถนน คือแปลง
โฉนดเลขที่ ๑๐๑ สวนอีกแปลงหนึ่งเลขที่ ๑๑๑ ไมติดถนน และที่จริง ก. ตองการยกที่ดินแปลงเลขที่ ๑๑๑
ใหแก ข. ดังที่ปรากฏวา ก. ไดเคยกลาวแกญาติมิตรหลายคนกอนตายวาตนไดทําพินัยกรรมยกที่ดินแปลง
ไมติดถนนใหแก ข. ดังนี้ ข. จะมีสิทธิไดรับที่ดินแปลงใด
ข) ก. ตกลงจะซื้อที่ดินจาก ข. โดยไดไปดูที่ดินจนเปนที่ตกลงกันและทําสัญญาจะซื้อจะขาย
ไวเปนหนังสือ ปรากฏวาเมื่อถึงกําหนดวันโอนที่ดิน ข. ไดแจงให ก. ทราบวา โฉนดที่ดินแปลงที่ระบุใน
หนังสือสัญญาไมใชท่แี ปลงที่ไปดูและตกลงจะซื้อจะขายกัน การระบุเลขที่โฉนดเปนไปโดยสําคัญผิด จึง
ขอให ก. รับโอนที่ดินแปลงที่ไปดูกันไวซึ่งเล็กกวาแปลงที่ระบุในสัญญาครึ่งหนึ่ง ดังนี้ ก. จะมีสิทธิเรียก
ให ข. โอนที่ดินแปลงใดใหแกตน
ค) กรณีจะเปนอยางไร ถาปรากฏวา ข. ไดระบุทั้งในการเจรจา และในการทําสัญญาจะซื้อขาย
วาประสงคจะขายที่ดินแปลงเลขที่ ๑๐๑ มาโดยตลอด และปรากฏวา ก. ไดตรวจดูโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๑
และ และไดดูที่ดินแปลงดังกลาวดวย
ง) ก. กับ ข. เปนทันตแพทย เปดคลีนิคทันตกรรมอยูในหางสรรพสินคาคนละแหง ก. อยู
สาขาบางแค ข. อยูสาขารังสิต ตอมา ก. และ ข. ยายที่อยูจึงตกลงแลกสถานประกอบการกัน แตหลังจาก
นั้นเพียง ๑ เดือน ก. กลับมาเปดคลีนิคอยูในหางสรรพสินคาเดียวกันกับ ข. อีกแหงหนึ่งเปนเหตุใหคนไข
เดิมของ ก. ซึ่งโอนมาอยูกับ ข. กลับไปทําฟนกับ ก. ดังนั้น ข. จึงเกิดพิพาทกับ ก. ขึ้น โดย ข. อางวา ก. ไม
มีสิทธิเปดคลีนิคแขงขันกับตน สวน ก. ก็อางวาไมมีการตกลงหามเปดคลีนิคแขงขันระหวางกัน ดังนี้ทาน
จงวินิจฉัยสิทธิหนาที่ของคูกรณีทั้งสอง
จ) ก. ตกลงให ข. เชากิจการรานขายของชําขายบุหรี่ หนังสือพิมพ และเครื่องอุปโภคบริโภค
เล็ก ๆ นอย ๆ ของตนมีกําหนด ๕ ป ในสัญญาเชามีขอตกลงดวยวา ก. ตกลงไมเปดรานขายของชําแขงขัน
กับ ข. ในระยะรัศมี ๑๐๐ เมตรจากรานที่เชา แตตอมา ก. กลับมาตั้งแผงลอยขายบุหรี่หนังสือพิมพอยูบน
ริมถนนฝงตรงขามรานขายของชํา ดังนี้ ก. เปนฝายผิดสัญญาหรือไม
ช) ก. ขอแบงซื้อที่ดินสวนหนึ่งจาก ข. โดยทั้งสองฝายตกลงกันไวในสัญญาซื้อขายวา ก.
จะตองไมสรางอาคารโดยเจาะชองหนาตางหันหนามาทางที่ดินแปลงของ ข. ตอมา ก. ไดใหชางใชแผน
บลอกทําจากแกวโปรงแสงกอเปนกําแพงดานที่ติดกับที่ดินของ ข. เพื่อใหแสงสวางลอดไปสูอาคารของ
ตัว ดังนี้ ข. จะอางวา ก. ผิดสัญญาไดหรือไม

๒๗
ในวงวิชานิติศาสตรนั้น การตีความมีความสําคัญอยางยิ่ง ไมวาจะเปนการตีความกฎหมาย
หรือการตีความนิติกรรม การตีความนั้นยอมมีวัตถุประสงคที่จะนําเอาสิ่งที่ผูรางกฎหมาย หรือ
เจตนาที่บุคคลแสดงออก(ไดแกบทกฎหมาย หรือนิติกรรม) มาตีแผ เพื่อหาความมุงหมายที่แทจริง
นอกจากนั้น บทกฎหมายก็ดี นิติกรรมก็ดียังอาจมีชองวาง คือไมไดแสดงเจตนาหรือตกลงกันไวใน
ประเด็นที่เกิดพิพาทขัดแยงกันในภายหลัง ดังนั้น จึงอาจจําเปนตองตีความเพื่ออุดชองวางอีกดวย
ดวยเหตุนี้ เราจึงอาจแบงการตีความการแสดงเจตนาและการตีความนิติกรรมออกเปนสองประเภท
ใหญ ๆ คือการตีความตามธรรมดาอยางหนึ่ง และการตีความเพื่ออุดชองวาง อีกอยางหนึ่ง

๑. การตีความเพื่อหาความหมายตามธรรมดา
๑.๑ ความมุงหมายของการตีความ
ก) นิติกรรมเปนผลของการแสดงเจตนาที่มุงโดยตรงตอผลทางกฎหมาย โดยที่ปกติ
เมื่อบุคคลแสดงเจตนาออกมาใหปรากฏ คนทั่วไปก็ยอมเขาใจไดวาเจตนาที่แสดงออกนั้นยอม
เปนไปตามเจตนาแทจริงที่อยูภายใน แตก็มีกรณีจํานวนมากที่การแสดงเจตนาที่ปรากฏออกมา
ภายนอกหาไดตองตรงกับเจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนาแตประการใด หรือตองตรงกันเพียง
บางสวนเทานั้น ดังนั้นการตีความตามธรรมดาจึงเปนการตีความการแสดงเจตนาที่แสดงออก
เพื่อใหเขาใจเจตนาที่แทจริง การที่ตองสืบหาเจตนาที่แทจริงก็เพราะกฎหมายถือวาบุคคลยอม
ผูกพันตนตามเจตนาโดยอิสระของเขาเอง ภายใตหลักเสรีภาพสวนบุคคลนั่นเอง ดังนั้นหากบุคคล
กระทําการอยางใดอยางหนี่งโดยหาไดมีเจตนาที่จะผูกพันตน เขายอมไมควรถูกบังคับใหตอง
ผูกพันตามกฎหมาย
การที่จําเปนตองมีการตีความการแสดงเจตนาก็เพราะ การแสดงเจตนานั้นอาจมีความ-
หมายไดหลายนัย (เชนคําเสนอขายสินคาโดยใชหนวยเงินฟรังก โดยมิไดระบุวาเปนฟรังกสวิส,
ฝรั่งเศส หรือเบลเยี่ยม หรือใชหนวยเงินดอลลารโดยไมไดระบุแนนอนวาเปนสิงคโปรดอลลาร
หรืออเมริกันดอลลาร เปนตน) แมในกรณีที่การแสดงเจตนานั้นปรากฏชัดเจน (เชน คําเสนอขาย
ในราคา ๘๙๐ เหรียญ ทั้ง ๆ ที่แทจริงผูขายตองการเสนอในราคา ๙๘๐ เหรียญ แตในขณะทําคํา
เสนอไดพูดผิด หรือพิมพผิดไป เปนตน) หรือในการแสดงเจตนานั้นหากปรากฏวา ผูแสดงเจตนา
เขาใจความหมายของสิ่งที่ตนแสดงออกผิดไปจากที่คนทั่วไปเขาใจ เชน เขาใจวา ลอ (สัตวลูกผสม
ระหวางลากับมา) เรียกวา ลา หรือออกเสียงผิดโดยเขาใจวา “หมา” หมายถึง “มา” ดังนี้เปนตน
ตัวอยาง คําพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๔๓/๒๕๒๕ โจทกเปนผูเอาประกันภัยรถยนตคันพิพาทไว
กับจําเลย แตกรมธรรมประกันภัยระบุชื่อผูเอาประกันภัยผิดพลาดไป กรณีถือไดวาจําเลยกับโจทก

๒๘
มีเจตนาอันแทจริงที่จะผูกพันตอกันในฐานะคูสัญญาประกันภัย เมื่อรถยนตที่เอาประกันไวไดรับ
ความเสียหาย โจทกยอมมีอํานาจฟองได
ข) การตีความเพื่อสืบคนเจตนาที่แทจริงนั้นตองตั้งตนจากการตีความเจตนาที่แสดง-
ออก แตจะพิจารณาเพียงเจตนาที่แสดงออกแตเพียงอยางเดียวไมได มิฉะนั้นอาจจะไมไดความจริง
โดยเฉพาะในกรณีที่ผูแสดงเจตนา ไดแสดงเจตนาออกมาโดยไมตองตรงกับเจตนาที่แทจริง เชน
พูดผิด หรือเขียนผิด ดวยเหตุนี้เอง มาตรา ๑๗๑ แหงประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยจึงไดวาง
หลักในการตีความการแสดงเจตนาไววา
“ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ใหเพงเล็งถึงเจตนาที่แทจริงยิ่งกวาถอยคําสํานวนหรือ
ตัวอักษร”
อยางไรก็ดี การเขาถึงเจตนาที่แทจริงนี้จะเปนไปไดก็ตอเมื่อผูตีความการแสดงเจตนาได
พิเคราะหขอเท็จจริงแวดลอมประกอบดวยเทานั้น ดังนั้นในการตีความจึงตองพิเคราะหถึง ความรู
ความเขาใจทางภาษาของผูแสดงเจตนา การแสดงออกของเขาตอหนาบุคคลอื่น ๆ เอกสารที่
เกี่ยวของ เนื้อหาของการเจรจา ธรรมเนียมปฏิบัติระหวางคูกรณี และปกติประเพณีทางการคาอีก
ดวย
ตัวอยางเชน: ถาผูแสดงเจตนาเปนคนชาติฝรั่งเศส และขายสินคาที่มีแหลงกําเนิดใน
ฝรั่งเศส ดังนี้ก็อาจสรุปไดวา เมื่อเขากลาวถึงเงินฟรังก เขายอมหมายถึงฟรังกฝรั่งเศส ในกรณีมี
การบอกราคาผิดก็ตองพิเคราะหบัญชีราคาสินคาประกอบวา ผูบอกราคามุงกลาวถึงราคา ๙๘๐
เหรียญ ไมใช ๘๙๐ เหรียญ หรือหากผูซื้อตองการซื้อสัตวพาหนะสําหรับบรรทุกสัมภาระในเขต
ทุรกันดาร ดังนั้นก็สันนิษฐานไดวาเขาประสงคจะซื้อลอ ยิ่งกวาซื้อลา ดังนี้เปนตน
ผูทรงคุณวุฒิบางทานกลาววา การตีความจะจําเปนก็ตอเมื่อเจตนาที่แสดงออกมานั้น
เคลือบคลุมไมชัดเจน หรือมีขอสงสัยอาจมีความหมายไดเปนหลายนัย และการตีความการแสดง
เจตนาที่ชัดเจนแลวเปนของตองหาม ทําไมได๑ ดังนี้หากพิเคราะหใหลึกซื้งลงไปแลวจะพบวา ยัง

๑ ดู ประกอบ หุตะสิงห, นิติกรรมและสัญญา, พ.ศ. ๒๕๑๙, หนา ๖๗; และโปรดดู จําป โสตถิพันธุ, นิติ
กรรมสัญญา, พิมพครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๒, หนา ๑๐๙-๑๑๐ และคําพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๑๐/๒๕๒๖ ซึ่ง
วินิจฉัยวา โจทกจําเลยทําสัญญาเชาที่ดินเปนหนังสือ เจตนาที่แทจริงของคูสัญญายอมเห็นไดจากเอกสาร
หรือหนังสือ ถาขอความในสัญญาชัดแจงยอมไมมีความจําเปนที่จะตองมีการตีความการแสดงเจตนาและจะ
นําสืบพยานบุคคลวาคูสัญญามีเจตนาอันแทจริงยิ่งกวาขอความในสัญญาหาไดไม อยางไรก็ดีตาม
ความเห็นของผูเขียนแลว แทจริงคดีนี้เปนกรณีที่นําสืบใหศาลเชื่อไมไดมากกวา นอกจากนี้ยังมีฎีกาที่ ๓๒๑
- ๓๒๒/๒๕๓๘ ซึ่งศาลวินิจฉัยวา สัญญาที่โจทกจําเลยทํากันไวมีขอความชัดแจงวาเปนสัญญาซื้อขาย จึง
ไมตองตีความ; แตผูเขียนเห็นวาแทจริงแลวในฎีกานี้ ศาลไดตีความสัญญาเรียบรอยแลววาเปนสัญญาซื้อ

๒๙
ไมถูกตองทีเดียวนัก เพราะเจตนาที่แสดงออกอยางแนนอนชัดเจนนั้นอาจแตกตางจากเจตนาที่
แทจริงก็ได หากไดพิเคราะหถึงพฤติการณแวดลอมอยางถี่ถวนแลววาผูแสดงเจตนามีเจตนาที่
แทจริงตางจากเจตนาที่แสดงออก ก็ตองถือเอาเจตนาที่แทจริงเปนหลัก๒ กรณีเจตนาลวง นิติกรรม
อําพราง และสําคัญผิดที่กฎหมายรับรองใหมีผลทางกฎหมายตางจากเจตนาที่แสดงออกได จะ
เกิดผลก็ตอเมื่อมีการตีความการแสดงเจตนาที่แสดงออกแลวพบวาเจตนาที่แสดงออกนั้น ๆ ตาง
จากเจตนาที่แทจริงนั่นเอง
ตัวอยางเชน: ข. เสนอขายเปยนโนจํานวน ๑๐๐ หลังแก ก. ในราคาหลังละ ๑๐๐,๐๐๐
บาท หากปรากฏขอเท็จจริงวาอันที่จริงคูกรณี ก. กับ ข. ไดเจรจาซื้อขายอาวุธสงครามคือปนกล
หนัก โดยใชคําวาเปยนโนในเอกสารเพื่ออําพรางความจริง ดังนี้ การแสดงเจตนาเสนอขาย
“เปยนโน ๑๐๐ หลัง” นั้น ก็ตองแปลความวาเปนการเสนอขาย “ปนกลหนักจํานวน ๑๐๐
กระบอก” ตามเจตนาที่แทจริง
หรือในกรณีที่ ก. ทําพินัยกรรมโดยระบุวาตนยก “หนังสือทั้งหมดในหองสมุด” ของตน
ใหแก ข. และในการสอบถามญาติสนิทมิตรสหายของ ก. ไดความวา อันที่จริง ก. ใชคําวา
“หองสมุด” เปนชื่อเลนสําหรับเรียกหองเก็บสะสมเหลาองุนของตัว ดังนี้ยอมตองตีความวา ก.
ประสงคจะทําพินัยกรรมยกเหลาองุนที่ตนสะสมไวในหองสะสมเหลาองุนนั้นแกผูรับพินัยกรรม
ฎีกาที่ ๑๐๔๕/๒๔๙๑ สัญญาขนสงขาวสารทางเรือระบุวา ถาของที่บรรทุกขาดจํานวน
หรือเปยกน้ํา ผูรับขนจะใชคาเสียหาย หากถูกพายุหรืออุบัติเหตุใด ๆ ตางยกเลิกสัญญานี้ทั้งสิ้น
ปรากฏวาเรือที่รับขนถูกเรืออื่นชนโดยไมใชความผิดของผูรับขน นับวาเปนอุบัติเหตุตามสัญญา
ผูรับขนไมตองรับผิด

ขาย และที่ศาลกลาววาไมตองตีความนั้น ที่ถูกควรเขาใจวา ไมมีพฤติการณแวดลอมหรือขอเท็จจริงอื่นที่


แสดงวาผูแสดงเจตนามีความมุงหมายอยางอื่นมากกวา เพราะบางกรณีตองการซื้อขาย แตเรียกวาเชา หรือ
กลับกันมุงจะเชาซื้อกัน แตเรียกวาซื้อขายก็มี; อนึ่ง โปรดดูฎีกาที่ ๘๐๐/๒๕๒๙ ในกรณีที่สัญญากอสราง
ไมไดระบุแบบแปลนกอสรางไวแนนอน แตระบุขนาด จํานวนหอง และกําหนดเวลาแลวเสร็จไวชัดแจง
ดังนี้ถือไดวา แบบแปลนที่ผูรับเหมายื่นขออนุญาตจากเทศบาล เปนแบบแปลนตามสัญญาได ดังนั้นเมื่อ
ปรากฏขอความในสัญญาแจงชัดและถูกตองตามแนวปฏิบัติอันชอบดวยกฎหมายและขอบังคับของทาง
ราชการแลว ก็ถือไดวาไมเขากรณีที่มีขอสงสัย อันจะตองตีความใหเปนคุณแกจําเลย (ผูรับเหมา) อันเปนผู
ตองเสียในมูลหนี้ (อันที่จริงที่วาการแสดงเจตนาที่ชัดแจงแลวไมตองตีความนั้น เทากับการยืนยันวา ไดมี
การตีความวาเจตนาที่ปรากฏออกมานั้นคือเจตนาที่แทจริงนั่นเอง)
๒ ดู จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, พิมพครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๒๘, หนา ๑๑๒ นอกจากนี้เคยมีคําพิพากษา
ฎีกาที่ ๒๐๓๘/๒๕๑๙; ๑๗๐๗/๒๕๒๓ ซึ่งวินิจฉัยคดีโอนที่ดินมีโฉนดโดยโอนโฉนดสับกันวาตองถือ
ตามเจตนาที่แทจริง คือตามที่ไดสงมอบการครอบครองกันนั่นเอง.

๓๐
ค) ในการตีความนั้น สิ่งแรกที่ตองพิเคราะหก็คือ มีการแสดงเจตนาผูกพันหรือไม
ตัวอยางเชน: การที่ ก. กลาวกับ ข. วา “ตกลง” จะถือวาเปนการแสดงเจตนาไดหรือไม
จะตองพิจารณาตอไปดวยวา ข. ไดกลาวกับ ก. วาอยางไร เชนหาก ข. ถาม ก. วา จะซื้อหนังสือของ
ตนในราคา ๕๐๐ บาทหรือไม ดังนี้คํากลาวตกลงของ ก. ก็ถือไดวาเปนการแสดงเจตนาซื้อ แตถา
ข. ถาม ก. วา จะไปเที่ยวสวนสัตวดวยกันหรือไม คําตอบวาตกลงก็ไมนับเปนการแสดงเจตนาทํา
นิติกรรมผูกพัน เพราะเปนคําตอบที่เพียงแตแสดงออกซึ่งความประสงคเพื่ออัธยาศัยไมตรีในทาง
สมาคม มิไดประสงคตอผลทางกฎหมายแตประการใด
ยิ่งไปกวานั้น ในการพิเคราะหวาสัญญาเกิดขึ้นหรือไมนั้น จะตองพิจารณาเสียกอนวา การ
แสดงเจตนาของคูกรณีทั้งสองฝายมีเนื้อหาในทางเสนอสนองตองตรงกันหรือไม ดังนั้นกอนจะ
สรุปไดวาคําเสนอสนองตองตรงกันหรือไม จะตองมีการสืบคนวาเจตนาที่แทจริงของคูกรณีมีวา
อยางไรเสียกอน
ตัวอยางเชน: หากมีการทําสัญญาซื้อขายในประเทศไทย โดยตกลงกําหนดราคาซื้อขาย
เปนเงิน ๑,๐๐๐ ฟรังก ถาปรากฏวาฝายหนึ่งแสดงเจตนาโดยมุงหมายถึงฟรังกสวิส อีกฝายหนึ่งมุง
หมายถึงฟรังกฝรั่งเศส ดังนี้แมวาเจตนาที่แสดงออกจะตองตรงกันอยางชัดแจง แตเมื่อพิเคราะหถึง
เจตนาที่แทจริงก็จะพบวาคูกรณีมิไดมีเจตนาตองตรงกันเลย
นอกจากนี้ เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแลว หรือเมื่อนิติกรรมฝายเดียวสําเร็จเปนผลขึ้นแลว ก็ยัง
ตองมีการตีความตอไป เพื่อวินิจฉัยวาผลทางกฎหมายของสัญญาหรือนิติกรรมนั้น ๆ เปนอยางไร
ตัวอยางเชน: คูกรณีในสัญญาไดใชถอยคําในสัญญาตามที่นิยมใชกันอยูทั่วไปเชน เมื่อใช
คําวา “net price” ก็หมายความวาเมื่อผูซื้อไดรับสินคา ผูซื้อผูกพันที่จะชําระราคาเปนเงินสดเต็ม
จํานวน หรือในกรณีที่ผูเชาเขียนจดหมายถึงผูใหเชาวา ตนไดหองใหมในราคาถูกกวา และจะยาย
ออกเมื่อสิ้นเดือน ดังนี้ก็ตีความไดวาผูเชาไดบอกเลิกสัญญาเชาโดยใหมีผลเมื่อสิ้นเดือน ดังนี้เปน
ตน
ฎีกาที่ ๒๐๙๘/๒๕๑๘ ตามกรมธรรมประกันภัยระบุใหความคุมครองทรัพยสินของผูเอา
ประกันภัยในกรณีที่คนรายบุกรุกเขาปลนทรัพยในสถานที่โดยใชกําลัง และวิธีการรุนแรง ปรากฏ
วาผูเอาประกันภัยปดประตูรานคาโดยมีประตูเหล็กกั้น ใสกุญแจและเอาโซลามกุญแจอีกชั้นหนึ่ง
คนรายเปดประตูเขาไปลักทรัพยโดยโซและกุญแจหายไปดวย ดังนี้ศาลวินิจฉัยวาคนรายเขาไปโดย
ใชกําลังและวิธีการรุนแรงแลว

๑.๒ วิธีการตีความเพื่อหาความหมายของเจตนา
ในการตีความนิติกรรมผูตีความจะตองคํานึงถึงผลประโยชนไดเสียของคูกรณีที่เกี่ยวของ
ทั้งสองฝายคือฝายผูแสดงเจตนาและผูรับการแสดงเจตนาดวย ในการพิเคราะหเจตนาที่แสดงออก

๓๑
นั้น หากตีความโดยคํานึงถึงประโยชนไดเสียของผูแสดงเจตนาเปนสําคัญ ก็ตองสืบคนเจตนาที่
แทจริงของผูแสดงเจตนา ในทางตรงกันขาม หากจะตีความโดยคํานึงถึงประโยชนไดเสียของผูรับ
การแสดงเจตนาเปนสําคัญก็ตองใหน้ําหนักแกเจตนาตามที่วิญูชนพึงเขาใจเปนหลัก เจตนาที่พึง
เขาใจนี้อาจจะไมตองตรงกับเจตนาที่แทจริงก็ได
การตีความเพื่อสืบคนเจตนาที่แทจริงนั้นอาจเรียกไดวาเปนการตีความตามปกติเพื่อหา
เจตนาที่แทจริง (natural or normal interpretation) สวนการตีความเพื่อสืบคนเจตนาที่วิญูชนพึง
เขาใจนี้อาจเรียกวาเปนการตีความตามมาตรฐานวิญูชน (normative interpretation)

๑) การตีความตามปกติเพื่อหาเจตนาที่แทจริง
การตีความตามปกตินั้นจะคํานึงถึงสวนไดเสียของผูแสดงเจตนาวาเขาประสงคตอผลเชน
ไร โดยไมตองคํานึงถึงประโยชนสวนไดเสียของผูรับการแสดงเจตนา การตีความทํานองนี้ใชได
ในกรณีที่ไมมีบุคคลอื่นใดควรไดรับความคุมครองนอกจากผูแสดงเจตนาเอง หรืออาจใชไดใน
กรณีที่แมโดยทั่วไปยังมีบุคคลอื่นที่ควรไดรับการคุมครอง แตมีเหตุยกเวนที่ทาํ ใหเขาไมควรไดรับ
การคุมครองในกรณีนี้
ก) นิติกรรมบางประเภทเปนนิติกรรมที่จะตองคํานึงถึงผลประโยชนไดเสียของผูแสดง
เจตนาเทานั้น ตัวอยางที่สําคัญไดแกพินัยกรรม ในการทําพินัยกรรมไมมีประโยชนไดเสียของ
บุคคลอื่นใดที่ควรไดรับการคุมครองพิเศษ แมผูรับพินัยกรรม หรือทายาท ก็หาไดเปนบุคคลที่ควร
ไดรับการคุมครองประโยชนไดเสียในขอความที่ปรากฏในพินัยกรรมแตประการใด ทั้งนี้เพราะ
ผูรับพินัยกรรมก็ดี ทายาทก็ดีลวนแตเปนผูไดรับประโยชนโดยไมเสียคาตอบแทน ดังนั้นในการ
ตีความพินัยกรรม จึงตองคํานึงถึงผลประโยชนไดเสียของผูแสดงเจตนาเปนสําคัญ จึงจําเปนตอง
สืบคนเจตนาที่แทจริงของผูทําพินัยกรรม โดยไมตองคํานึงถึงวาเจตนาดังกลาวจะไดปรากฏให
เห็นในถอยคําที่ใชในการทําพินัยกรรมหรือไมก็ตาม
ดวยเหตุนี้ในอุทาหรณขอ ก) หากปรากฏวา ก. ประสงคจะทําพินัยกรรมยกที่ดินแปลงไม
ติดถนนใหแก ข. ก็ตองบังคับใหเปนไปตามเจตนาอันแทจริงของ ก. โดยไมตองคํานึงถึงวา ก. จะ
ไดระบุขอความไวในพินัยกรรมเปนอยางไร ในกรณีเชนนี้ ข. ยอมไดรับที่ดินแปลงโฉนดเลขที่
๑๑๑ ซึ่งไมติดถนนตามเจตนาที่แทจริงของผูทําพินัยกรรม แตถาไมไดความวา ก. มีเจตนาที่
แทจริงแตกตางจากถอยคําสํานวนตามตัวอักษร ดังนี้ยอมตองบังคับไปตามเจตนาที่แสดงออกเปน
ลายลักษณอกั ษรเปนสําคัญ
ในทํานองเดียวกัน หากปรากฏวาในการทําพินัยกรรมมุงใชคําวา “หนังสือในหองสมุด”
โดยหมายถึงเหลาไวนที่เก็บสะสมไว ดังนี้ผูรับพินัยกรรมยอมไดรับเหลาไวนเปนมรดก มิใช
หนังสือในหองสมุดตามความหมายตามตัวอักษร

๓๒
ข) อยางไรก็ตามในการตีความนิติกรรมสวนใหญ นอกจากจะตองคํานึงถึงประโยชนได
เสียของผูแสดงเจตนาแลว ยังตองคํานึงถึงประโยชนไดเสียของผูรับการแสดงเจตนาอีกดวย การ
แสดงเจตนาที่ตองมีผูรับการแสดงเจตนา เชน การบอกเลิกสัญญา คําเสนอ คําสนอง เหลานี้ เปน
การแสดงเจตนาที่มีผลกระทบประโยชนไดเสียของผูรับการแสดงเจตนาโดยตรง เพราะในกรณี
เหลานี้ ผูรับการแสดงเจตนามีประโยชนไดเสียในอันที่จะสามารถรูและเขาใจสถานภาพทาง
กฎหมายของตนอยางชัดเจน ดังนั้นหากเจตนาที่ผูแสดงเจตนาแสดงออกมานั้นแตกตางไปจาก
เจตนาที่แทจริง เชนผูขายบอกราคาสินคาวา ๘๙๐ เหรียญ ทั้ง ๆ ที่แทจริงตองการบอกราคา ๙๘๐
เหรียญ ก็ยอมมีปญหาไดวา หากผูไดรับการแสดงเจตนาเชื่อถือโดยสุจริตในราคาตามที่บอก ดังนี้
เขาควรจะไดรับการคุมครองตามในความเชื่อถือโดยสุจริตเชนนั้นหรือไม โดยทั่วไปเรากลาวไดวา
ผูรับการแสดงเจตนาควรไดรับการคุมครอง อยางไรก็ตามการคุมครองเชนนั้นยอมไมจําเปนใน ๒
กรณีตอไปนี้
(๑) หากเจตนาที่แทจริงไมตรงกับเจตนาที่แสดงออก แตผูรับการแสดงเจตนาลวงรูถึง
เจตนาที่แทจริงอันซอนอยูในใจของผูแสดงเจตนา ดังนี้เขายอมไมควรไดรับความคุมครอง ทั้งนี้
โดยไมตองคํานึงถึงขอเท็จจริงวา ผูแสดงเจตนาจะไดแสดงเจตนานั้นออกมาโดยจงใจ หรือโดย
สําคัญผิด หากผูรับการแสดงเจตนารูถึงเจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนา เขายอมจะมิไดเชื่อตาม
เจตนาที่แสดงออก ดังนั้นเจตนาที่มีผลก็คือเจตนาที่แทจริง ดังเราจะเห็นไดจากกรณีที่กฎหมาย
รับรองไวในมาตรา ๑๕๔ ปพพ. หรือในกรณีที่การแสดงเจตนากระทําโดยสําคัญผิด และอีกฝาย
หนึ่งลวงรูถึงความสําคัญผิดนั้น หรือตางสําคัญผิดดวยกันและตางมีเจตนาที่แทจริงตรงกัน ดังนี้
ตองถือวาเจตนาที่แทจริงมีผลบังคับ
ตัวอยางเชน: คูกรณีใชคําวา "เปยนโน" เปนรหัสหมายถึงอาวุธปน หรือ ก. กับ ข. ตกลง
ซื้อขายที่ดินโดยระบุวาเปนที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑๑ โดยทั้งสองเขาใจตรงกันวาหมายถึงที่ดินที่ทั้งคู
ไดไปชี้เขตมา ทั้ง ๆ ที่แทจริงแลวที่ดินแปลงที่ทั้งสองไปชี้เขตมานั้นคือที่ดินแปลงเลขที่ ๑๑๐ ดังนี้
ที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันคือที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ ๑๑๐ ไมใชที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ ๑๑๑ แต
ประการใด๓
ในอุทาหรณขอ ข) เราจึงวินิจฉัยไดวาแมคูกรณีจะระบุเลขที่ดินในสัญญาผิดไป สัญญาที่
เกิดขึ้นคือสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงที่ไดไปดูและตกลงกัน แมวาที่ดินแปลงดังกลาวจะเล็กกวา
แปลงที่ระบุไวเปนลายลักษณอักษรในสัญญาก็ตาม

๓ โปรดเทียบฎีกาที่ ๒๐๓๘/๒๕๑๙; ๑๗๐๗/๒๕๒๓ เรื่องการโอนโฉนดที่ดินไขวกัน ศาลตัดสินใหได


กรรมสิทธิ์ตามเจตนาที่แทจริง ไมใชตามโฉนด

๓๓
ในกรณีที่ผูซื้อสินคาพูดผิดไปวาตองการซื้อกาแฟปลอดนิโคติน ๑ ขวด และผูขายเขาใจได
วาหมายถึงกาแฟปลอดกาเฟอีน ๑ ขวด ดังนี้สัญญาที่เกิดขึ้นคือสัญญาซื้อขายกาแฟปลอดกาเฟอีน
ดังนั้นเราจึงอาจสรุปไดวา การเรียกชื่อผิดไมทําใหสัญญาเสียไป หากคูกรณีทั้งสองฝาย
ตางเขาใจความมุงหมายที่แทจริงตองตรงกัน ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่เขาใจตรงกันนั้นจะมีชื่อตางจากชื่อที่
คูกรณีใชกต็ าม กรณีนี้ในภาษิตกฎหมายละตินเรียกวา “falsa demonstratio non nocet” ประเด็น
สําคัญอยูที่วาผูรับการแสดงเจตนาเขาใจไดวาผูแสดงเจตนาอีกฝายหนึ่งนั้นประสงคอะไร ในกรณี
เชนนี้ตองถือเจตนาที่แทจริงเปนสําคัญ เพราะในกรณีนี้ไมมีเหตุที่จะคุมครองประโยชนไดเสียของ
ผูรับการแสดงเจตนาแตประการใด๔
(๒) แมในบางกรณีผูรับการแสดงเจตนาจะไมรูถึงเจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนาก็ตาม
แตหากวาความไมรูนั้นเปนไปเพราะความประมาทเลินเลอของผูรับการแสดงเจตนา ผูรับการ
แสดงเจตนายอมไมควรไดรับการคุมครอง
ตามปกติผูรับการแสดงเจตนายอมมีหนาที่ที่จะตีความการแสดงเจตนาตามหลักสุจริต และ
หลักถอยทีถอยปฏิบัติตอกัน ในกรณีมีเหตุควรเชื่อไดวาผูแสดงเจตนามิไดประสงคเชนที่
แสดงออก หรือมีเหตุควรสงสัยวาผูแสดงเจตนามุงหมายอยางอื่น ดังนี้ผูรับการแสดงเจตนาก็ควร
จะสอบถามผูแสดงเจตนาเสียใหกระจาง ในกรณีเหลานี้ผูรับการแสดงเจตนาไมมีสิทธิตีความเอา
ประโยชนแกตนเองตามอําเภอใจ
ตัวอยางเชน ก. ประสงคจะทําคําเสนอขายสินคาแก ข. แตกลับทําหนังสือ “เสนอซื้อ”
สินคาจาก ข. โดยระบุวาเปนการ “เสนอซื้อ” ตามรายการสินคาที่แนบมา ดังนี้หาก ข. ใช
วิจารณญาณตามมาตรฐานวิญูชน ข. ยอมสามารถรูไดวา แทจริง ก. ประสงคจะ “เสนอขาย”
สินคาตามรายการสินคาที่แนบมา ไมใชประสงคจะ “เสนอซื้อ” ดังนี้หากปรากฏวา ข. เพียงแต
ตอบไปยัง ก. วา “ตกลง” ก็ตองวินิจฉัยวา ข. ตกลงซื้อ ไมใชตกลงขาย
กรณีที่ ก. ทําหนังสือเสนอขายสินคาไปยัง ข. โดยระบุราคาเปนเงินฟรังก ดังนี้หากไมมี
ปกติประเพณี หรือพฤติการณแวดลอมอยางหนึ่งอยางใดพอที่จะสรุปไดวาเปนฟรังกเบลเยี่ยม
หรือฟรังกฝรั่งเศส หรือฟรังกสวิส ดังนี้เปนกรณีที่คําเสนอมีขอความไมชัดเจน หรือมีความหมาย
ไดหลายนัย กรณีเชนนี้ ข. จะตีความเอาตามใจชอบตามที่จะเปนประโยชนแกตนถายเดียวไมได

๔ ดู ประกอบ หุตะสิงห, นิติกรรมและสัญญา, พ.ศ. ๒๕๑๙, หนา ๔๙.

๓๔
๒) การตีความตามมาตรฐานวิญูชน (normative interpretation) หรือการตีความทาง
ภาววิสัย (objective interpretation)
การตีความทางภาววิสัยหมายถึงการตีความเพื่อหาความหมายที่วิญูชนพึงเขาใจวาเจตนา
ที่แสดงออกมานั้นหมายความอยางไร การตีความชนิดนี้มิไดมุงถึงเจตนาที่แทจริงของผูแสดง
เจตนา แตมุงพิจารณาความหมายของเจตนาที่แสดงออกตามมาตรฐานของวิญูชน
(๑) ความมุงหมายของการตีความทางภาววิสัยนี้ก็เพื่อคุมครองประโยชนของผูรับการ
แสดงเจตนา โดยทั่วไปผูรับการแสดงเจตนายอมเปนผูตีความเจตนาที่สงมาถึงตนซึ่งก็ยอมตอง
เปนไปตามหลักการตีความเจตนาวาตองตีความโดยเพงเล็งถึงเจตนาที่แทจริงตามมาตรา ๑๗๑
ปพพ. นั่นเอง หมายความวาผูรับการแสดงเจตนายอมตองสืบคนเจตนาที่แทจริงโดยอาศัยถอยคํา
สํานวนและพฤติการณแวดลอมเทาที่จะหาได แตในหลายกรณีผูรับการแสดงเจตนาก็ไมอยูใน
ฐานะที่จะรูชัดถึงเจตนาที่แทจริงได ดังนั้นผูรับการแสดงเจตนายอมชอบที่จะถือเอาเจตนาที่แสดง
ออกเปนเจตนาที่แทจริงตามมาตรฐานความรูสึกนึกคิดของวิญูชน
ในกรณีที่เจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนาแตกตางจากเจตนาที่แสดงออก และไมมี
พฤติการณหรือถอยคําสํานวนใด ๆ ใหผูรับการแสดงเจตนาเขาใจไดวาเจตนาที่แทจริงนั้นแตกตาง
จากเจตนาที่แสดงออก ดังนี้ผูรับการแสดงเจตนายอมถือเอาเจตนาที่แสดงออกเปนหลักและอาจเขา
ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกนั้น ในกรณีเชนนี้จะเห็นไดวาเจตนาที่แสดงออกนั้นก็ยังคงตางจาก
เจตนาที่แทจริง และเจตนาของคูกรณีทั้งสองฝายก็ยอมไมตองตรงกัน
ตัวอยางเชน ก. เสนอขายสินคารายการหนึ่งแก ข. ในราคา ๘๙,๐๐๐ บาท ทั้ง ๆ ที่ตองการ
เสนอขายในราคา ๙๘,๐๐๐ บาท ดังนี้หากไมมีพฤติการณแวดลอมหรือขอเท็จจริงอยางอื่นให
สามารถรูวาเจตนาที่แทจริงของ ก. ตางจากเจตนาที่แสดงออกแลว แม ข. จะตีความคําเสนอนี้ดวย
ความระมัดระวังเพียงใด ข. ยอมไมมีทางรูถึงเจตนาที่แทจริงของ ก. ได ดังนี้หาก ข. สนองรับคํา
เสนอของ ก. สัญญายอมเกิดขึ้นตามเจตนาที่ ก. แสดงออก ทั้ง ๆ ที่ขัดตอเจตนาที่แทจริงของ ก.
และเจตนาของ ก. กับ ข. ไมตองตรงกันเลยก็ตาม
ในกรณีนี้หากปรากฏวาเคยมีหนังสือเจรจาตอรองกันมากอน โดย ก. เคยแสดงใหปรากฏ
วาตนประสงคจะขายสินคารายนี้ในราคา ๙๘,๐๐๐ บาท หรือปรากฏในรายการราคาสินคา หรือ
เอกสารโฆษณาสินคาที่แนบมา อันจะชวยให ข. สามารถลวงรูถึงเจตนาที่แทจริงของ ก. ได หรือ
เห็นไดชัดวา ก. พิมพตัวเลขราคาสับกัน ดังนี้ตองถือตามเจตนาที่แทจริง จัดเปนกรณี falsa demon-
stratio non nocet แตหากไมมีพฤติการณหรือขอเท็จจริงแวดลอมเปนเหตุอันควรสงสัยเลย ข. ยอม
ตองถือวา ก. ประสงคจะเสนอขายสินคารายนี้ในราคา ๘๙,๐๐๐ บาท ตามมาตรฐานความรูสึกนึก
คิดของวิญูชน

๓๕
(๒) หากไมมีพฤติการณแวดลอมหรือขอเท็จจริงอื่นใดที่จะชวยใหผูรับการแสดงเจตนา
สามารถเขาถึงเจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนาไดแลว ก็เปนธรรมดาอยูเองที่ผูรับการแสดง
เจตนายอมจะเชื่อถือเจตนาที่แสดงออกเปนสําคัญ ดังนี้หากเราชั่งน้ําหนักประโยชนไดเสียของทั้ง
สองฝาย และพิจารณากรณีที่เกิดขึ้นอยางละเอียดก็จะเห็นไดวาเหตุแหงกรณีที่เจตนาที่แสดงออก
ตางจากเจตนาที่แทจริงนี้เปนเหตุที่เกิดจากฝายผูแสดงเจตนา ดังนี้ในระหวางผูสุจริตดวยกัน
กฎหมายก็ควรจะคุมครองประโยชนของผูรับการแสดงเจตนาอันเกิดจากความเชื่อถือในเจตนาที่
แสดงออกยิ่งกวาประโยชนแหงความสําเร็จตามเจตนาที่แทจริงของฝายผูแสดงเจตนา
การคุมครองประโยชนในความเชื่อถือของผูรับการแสดงเจตนาเปนสําคัญนี้ ปรากฏให
เห็นไดจากความในมาตรา ๓๖๘ ปพพ. ซึ่งบัญญัติใหตีความสัญญาไปตามความประสงคในทาง
สุจริต โดยพิเคราะหถึงปกติประเพณีดวย และกรณีตามมาตรา ๑๕๖, ๑๕๗ และ ๑๕๘ ปพพ. ซึ่ง
วางหลักวาการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในสาระสําคัญแหงนิติกรรมเปนโมฆะ (มาตรา ๑๕๖)
และการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลและทรัพยซึ่งปกติเปนสาระสําคัญแหง
นิติกรรมยอมเปนโมฆียะ (มาตรา ๑๕๗) แตถาเปนกรณีที่ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาโดยสําคัญ
ผิดเหลานั้นโดยประมาทเลินเลออยางรายแรง ดังนี้ กฎหมายวางหลักวาผูแสดงเจตนาจะถือเอา
ความสําคัญผิดมาใชเปนประโยชนแกตนมิได (มาตรา ๑๕๘) จะเห็นไดวาในกรณีเหลานี้หาก
เจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนาแตกตางจากเจตนาที่แสดงออก กฎหมายถือวาในกรณีมีเหตุให
ผูอื่นเชื่อถือในเจตนาที่แสดงออกนั้น ก็ใหถือเอาเจตนาที่แสดงออกเปนที่รับรูเขาใจของวิญูชน
เปนเจตนาที่มีผลบังคับ
ในกรณีที่ ก. ผูขายตองการบอกราคาขาย ๙๘,๐๐๐ บาท แตบอกผิดพลาดเปน ๘๙,๐๐๐
บาท และไมมีสิ่งอื่นใดใหสงสัยไดวาเจตนาที่แสดงออกมาตางจากเจตนาที่แทจริง ดังนี้หาก ข. ผู
ซื้อตกลงสนองรับคําเสนอตามราคาที่เสนอมา ก็ตองถือวาสัญญาซื้อขายสินคารายนี้เกิดขึ้นตาม
เนื้อหาทางภาววิสัยแหงเจตนาที่แสดงออก หรือตามมาตรฐานที่วิญูชนพึงเขาใจไดคือในราคา
๘๙,๐๐๐ บาท ทั้งนี้เปนไปตามหลัก normative or objective interpretation นั่นเอง
จะเห็นไดวาในกรณีขางตนนี้ ระหวางประโยชนของฝายผูแสดงเจตนา กับประโยชนของ
ผูรับการแสดงเจตนานั้น ประโยชนของฝายหลังอันเกิดจากความเชื่อถือในเจตนาที่แสดงออกควร
ไดรับการคุมครองยิ่งกวาประโยชนของฝายแรก ดังนั้นกฎหมายจึงถือวาหากผูแสดงเจตนาได
แสดงเจตนาโดยประมาทเลินเลออยางรายแรง เจตนาที่แสดงออกยอมมีผลเสมือนวาผูแสดงเจตนา
มีเจตนาแทจริงตรงตามเจตนาที่แสดงออกดวย ดังจะเห็นไดจากหลักในมาตรา ๑๕๘ ปพพ.
ในปญหาขอ ค. เมื่อปรากฏวา ข. ผูขายไดระบุเลขที่ที่ดินแปลงที่จะขายและระบุเลขที่ใน
การจดทะเบียนขายเปนแปลงที่ ๑๐๑ มาโดยตลอด และยังปรากฏวา ก. ผูซื้อไดตรวจดูที่ดินตาม

๓๖
โฉนดเลขที่ ๑๐๑ ดวย ดังนี้แม ข. จะประสงคขายที่ดินแปลงอื่น และไดระบุเลขที่ที่ดินแปลง ๑๐๑
ในสัญญาโดยสําคัญผิด ข. ก็ไมอาจหยิบยกความสําคัญผิดขึ้นอางเปนประโยชนแกตนได
จําเปนตองถือวาสัญญาซื้อขายที่ดินแปลง ๑๐๑ มีผลบังคับ กรณีนี้เปนกรณีที่ตองคุมครองความ
เชื่อถือในเจตนาที่แสดงออก๕
(๓) ปญหานาคิดอาจเกิดขึ้นไดในกรณีที่มีการกระทําอยางใดอยางหนึ่งซึ่งคนทั่วไปเขาใจ
ไดวาเปนการแสดงเจตนา แตตัวผูกระทํามิไดประสงคจะแสดงเจตนาเลย ดังนี้เราจะนําเอา
หลักการตีความตามเจตนาที่แสดงออกมาใชหรือไม เพียงใด
ตัวอยางเชน ก. เดินเขาไปในสถานที่ประมูลขายสินคาซึ่งทําการสูราคาประมูลดวยการชู
มือ หากปรากฏวา ก. ไมรูวา ขณะที่ตนเขาไปนั้นกําลังมีการประมูลอยู และ ก. ชูมือทักทายเพื่อน
ของตนคนหนึ่งซึ่งเปนกรรมการจัดการประมูล จะเห็นไดวา กรณีนี้ ก. มิไดประสงคจะแสดง
เจตนาเลย แตหากพิจารณาจากคนทั่วไปที่อยูในสถานที่นั้น เขายอมเขาใจวา ก. แสดงเจตนาโดย
การชูมือแลว ในกรณีนี้ผูรับการแสดงเจตนายอมเกิดความไววางใจในการกระทําของ ก. วาเปน
การแสดงเจตนา และยอมไววางใจดวยวาเจตนาที่ปรากฏนั้นยอมตรงกับเจตนาแทจริง เราอาจเห็น
ไดวาการที่ผูแสดงเจตนาแสดงเจตนาออกมาแลว แมเจตนานั้นไมตรงกับเจตนาแทจริง เจตนาที่
แสดงออกยังมีผลบังคับไดฉนั ใด การกระทําที่มิไดประสงคใหเปนการแสดงเจตนาเลย หากมีเหตุ
ใหผูอื่นเชื่อไดวาการกระทํานั้นเปนการแสดงเจตนา การกระทํานั้นยอมมีผลเปนการแสดงเจตนา
และยอมมีผลบังคับตามกฎหมายไดในทํานองเดียวกันดวย
กรณีเชนนี้ตองพิเคราะหประโยชนไดเสียของทั้งสองฝาย คือประโยชนในความเชื่อถือ
และความแนนอนทางการคาพาณิชยอันเปนประโยชนฝายผูรับการแสดงเจตนาที่ควรไดรับการ
คุมครอง และประโยชนของฝายที่กระทําการเปนเหตุใหเกิดเขาใจกันวาไดแสดงเจตนา ในกรณี
ทั่วไปเปนกรณีที่เห็นไดวา หาก ก. ใชความระมัดระวังเพียงเล็กนอย ก. ยอมควรไดรูวากําลังมีการ
ชุมนุมประมูลสินคาในสถานที่นั้น ดังนั้น การกระทําของ ก. ถือไดวาเปนการกระทําโดยประมาท
เลินเลออยางรายแรง และ ก. ควรจะตองรับผิดชอบในการกระทําของตน กรณีจึงอาจปรับใชหลัก
กฎหมายในมาตรา ๑๕๘ ปพพ. มาปรับใชได แตหากปรากฏเหตุอันควรอภัย หรือควรเชื่อไดวา ก.
ไมมีเหตุอันควรรูไดวากําลังมีการประมูลสินคา เชน ก. เปนคนตางดาว ไมรูภาษา และไมเคยพบ

๕ อยางไรก็ดี หากปรากฏวาที่ดินแปลงที่ระบุในสัญญามีขนาดตางจากที่ระบุเลขที่โฉนดไวอยางเห็นไดชัด
หรือราคาที่ซื้อขายกันต่ํากวาราคาตลาดของที่แปลงนั้นอยางมาก จนผิดสังเกต ถึงขนาดพอใหคนทั่วไป
สันนิษฐานไดวาผูขายโดยทั่วไปคงจะมิไดมีเจตนาขายที่ดินแปลงนั้นในราคาต่ําจนผิดสังเกตเชนนั้น ดังนี้
อาจนับเปนเหตุใหอางหลักสุจริตขึ้นไดวา เมื่อผูซื้อควรไดรูวาเจตนาที่แสดงออกนั้นแสดงออกโดยสําคัญ
ผิด ดังนี้ผูซื้อยอมไมมีสิทธิอางความผูกพันตามนิติกรรมที่สําคัญผิดนั้นได

๓๗
เห็นการประมูลเชนนั้นมากอน และ ก.ไมมีเหตุควรคาดหมายไดวานั่นเปนการประมูล ดังนี้ยอมถือ
ไมไดวา ก. ประมาทเลินเลออยางรายแรง และ ก. ยอมไมตองผูกพันในการกระทําของตน
เคยมีตัวอยางเกิดขึ้นในกรณีที่มีผูลงชื่อในสัญญากูในฐานะผูกู โดยสําคัญผิดวาเปนการลง
ชื่อในฐานะพยาน หรือลงชื่อในหนังสือเสนอขายในสัญญาซื้อขายโดยสําคัญผิดวาเปนการลงชื่อ
ในบัตรอวยพร ดังนี้ผูไดรับการแสดงเจตนายอมเขาใจวาเปนการทําสัญญากู หรือเปนการเสนอขาย
ดังนี้ปญหาจึงอยูที่ขอเท็จจริงวา การที่ ก. ไดแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดนั้น ก. กระทําไปโดย
ประมาทเลินเลออยางรายแรงหรือไม คือหาก ก. ไดใชความระมัดระวังเพียงเล็กนอย ก. ก็ควรไดรู
ถึงเหตุแหงความสําคัญผิดนั้นไดแลว ดังนี้ถือไดวา ก. ประมาทเลินเลออยางรายแรง และยกเหตุที่
สําคัญผิดขึ้นอางเปนประโยชนแกตนไมได หากอีกฝายหนึ่งไดทําคําสนองแลว ดังนี้สัญญายอม
เสมือนมีผลบังคับไดตามมาตรา ๑๕๘ ปพพ.

๒. การตีความเพื่ออุดชองวาง
๒.๑ ความหมายของการตีความเพื่ออุดชองวาง
การตีความเพื่ออุดชองวางมุงหมายอุดชองวางซึ่งอาจมีไดในนิติกรรมตาง ๆ ทั้งในสัญญา
หรือในนิติกรรมฝายเดียว เชนตีความพินัยกรรม เปนตน
ชองวางจะมีไดก็ตอเมื่อไดมีการตีความตามปกติเพื่อหาเจตนาที่แทจริง หรือตีความตามที่
วิญูชนพึงเขาใจแลวสรุปไดวามีนิติกรรม หรือสัญญาเกิดขึ้นแลว แตยังไมปรากฏวา คูกรณีใน
สัญญา หรือผูแสดงเจตนาในนิติกรรมนั้น ๆ ไดตกลงกันหรือไดแสดงเจตนาไวในประเด็นที่เปน
กรณีพิพาทหรือเปนประเด็นสงสัยขึ้นในภายหลัง การที่ไมไดตกลงกันหรือไมไดแสดงเจตนาไวนี้
อาจเปนเพราะคูกรณีที่เกี่ยวของหรือผูแสดงเจตนาจงใจปลอยไวไมตกลงกัน หรือจงใจปลอยวาง
ไวเพราะคาดไมถึงวาจะเกิดปญหาขึ้นในภายหลังก็ได ดังนั้นกอนที่จะใชวิธีตีความอุดชองวาง
จะตองมีการพิเคราะหใหแนเสียกอนวาเปนกรณีที่มีชองวางเกิดขึ้นแลว
โดยทั่วไป ถามีบทกฎหมายวางขอสันนิษฐานเจตนาของผูเกี่ยวของไว โดยเฉพาะในกรณี
ที่กฎหมายบัญญัติหลักเกณฑตาง ๆ อาทิเชน กรณีเอกเทศสัญญา หรือเรื่องมรดก ซึ่งในกรณี
เหลานี้กฎหมายมักบัญญัติไวในลักษณะเปนบทไมบังคับตายตัว (jus dispositivum) ดังนี้เทากับ
กฎหมายวางหลักเกณฑสําหรับอุดชองวางไวแลว หากคูสัญญาหรือผูแสดงเจตนามิไดตกลงหรือ
แสดงไวตางจากที่กฎหมายบัญญัติไว ก็ตองปรับใชหลักเกณฑที่กฎหมายบัญญัติใชแกกรณีนั้น ๆ

๓๘
ตัวอยางเชน ก. ตกลงซื้อทรัพยเฉพาะสิ่งชิ้นหนึ่งจาก ข. ในราคา ๕,๐๐๐ บาท โดยคูกรณี
มิไดตกลงกันวา หากทรัพยสินที่ซื้อขายกันเกิดชํารุดบกพรองจะทําอยางไร ทั้งนี้เพราะคูกรณีทั้ง
สองฝายตางเขาใจวาของที่ซื้อขายกันนี้มีคุณภาพดี ไมมีขอบกพรอง ดังนี้หากปรากฏวาทรัพยสินที่
ซื้อขายกันรายนี้ชํารุดบกพรอง หรือขาดตกบกพรองไปก็ตองนําเอาหลักเกณฑในเรื่องความรับผิด
เพื่อชํารุดบกพรองในมาตรา ๔๗๒ หรือมาตรา ๔๖๕, ๔๖๖ ปพพ. มาบังคับ จะเห็นไดวากรณีนี้
แมมีชองวางในสัญญา แตก็มีกฎหมายวางหลักสันนิษฐานเจตนาของคูกรณีสําหรับปรับใชอยูแลว
ไมใชกรณีที่จะตองตีความสัญญาเพื่ออุดชองวางแตอยางใด
อยางไรก็ดี อาจมีกรณีที่ไมมีบทสันนิษฐานของกฎหมายจะนํามาปรับใชใหตองแกกรณีได
ดังนี้ก็เปนกรณีที่ตองมีการตีความเพื่ออุดชองวางขึ้น ในกรณีเชนนี้ศาลไมควรนําเอาหลักเกณฑ
หรือบทบัญญัติใด ๆ มาปรับใชตามใจชอบ แตตองใชวิธีตีความสัญญาหรือเจตนานั้นเอง เพื่ออุด
ชองวางที่เกิดขึ้น
หลักสําคัญในการตีความเพื่ออุดชองวางก็คือ ผูตีความตองหาหลักเกณฑซึ่งหากคูกรณี
หรือผูแสดงเจตนาไดคาดถึงปญหาหรือชองวางที่เกิดขึ้นแลว เขายอมวางหลักเกณฑแกปญหานั้น
ๆ ไวเชนนั้น เชนในกรณีชํารุดบกพรอง ปกติคูกรณีฝายผูซื้อยอมประสงคไดทรัพยสินและผูขาย
ยอมประสงคไดเงิน ดังนี้หากคาดหมายไดวาอาจมีความชํารุดบกพรอง ทั้งสองฝายยอมตกลงใหผู
ซื้อเปลี่ยนสินคาที่ซื้อไปได หรือยอมมีการรับประกันคุณภาพกันไว และแมไมไดกลาวไววา
รับประกันอะไร ก็อาจสันนิษฐานไดวาปกติยอมมุงหมายถึงการประกันการซอมสินคาใหมีสภาพ
ปกติ ดังนี้เปนตน

๒.๒ ชองวาง
ไดกลาวแลววา การตีความเพื่ออุดชองวางจะมีไดก็ตอเมื่อปรากฏชองวางเสียกอน การที่จะ
รูวาเปนกรณีที่มีชองวางหรือไม ก็ยอมตองมีการตีความนิติกรรมนั้นเสียกอนวามีชองวางหรือไม
แตการตีความในกรณีเชนนี้ไมควรจํากัดอยูเฉพาะที่เจตนาทํานิติกรรมของคูกรณีเทานั้น แตควรจะ
พิเคราะหครอบคลุมไปถึงมูลเหตุจูงใจ วัตถุที่ประสงคแหงนิติกรรม และพฤติการณแวดลอมอื่น ๆ
ที่เปนเครื่องชักนําใหมีการแสดงเจตนานั้น ๆ ดวย กรณีที่จะถือไดวาเปนกรณีมีชองวางนั้น จะตอง
เปนกรณี หรือพฤติการณอยางหนึ่งอยางใดที่ผูแสดงเจตนา (เชนผูทําพินัยกรรม) หรือคูสัญญามิได
คํานึงถึง หรือไดคาดหมายผิดพลาดไป ทั้งนี้ไมวาพฤติการณที่ไมไดคาดหมายไวนั้น จะเปนกรณีที่
มีอยูในขณะทํานิติกรรมอยูแลว หรือเปนกรณีที่มิไดคาดเห็นถึงพฤติการณที่เกิดขึ้นในภายหลังก็
ตาม
กรณีในขอ ง) ในเรื่องทันตแพทย หากคูกรณีคาดหมายไดอยูแลวในขณะที่ทําสัญญากัน
นั้น วา ก. อาจมีเหตุจําเปนอยางหนึ่งอยางใดใหตองกลับมาทําคลีนิคที่รังสิตอีกก็ได หรือ ก. ได

๓๙
แสดงออกอยางใดอยางหนึ่งให ข. ทราบหรือควรไดทราบแลวในขณะทําสัญญาวา มีความเปนไป
ไดที่ ก. อาจจะกลับมาตั้งคลีนิคที่รังสิตอีกก็ได ดังนี้ก็เปนกรณีที่ไมมีชองวางของสัญญาใหตีความ
เพราะสามารถตีความจากเจตนาของคูกรณีไดอยูแลววา ข. ยอมให ก. กลับมาเปดคลีนิคที่รังสิตอีก
ได
แตถาเปนกรณีที่ในขณะทําสัญญานั้น คูกรณีมิไดคาดหมายเลยวา ก. อาจกลับมาเปดคลีนิค
ที่รังสิตอีก ดังนี้ก็เปนกรณีที่เกิดชองวางขึ้นและจําเปนตองมีการตีความ
สําหรับกรณีในขอ จ) นั้น จะเห็นไดวา คูกรณีมีเจตนาที่จะตกลงหามมิใหทําการคาแขงกัน
กรณีจึงขึ้นกับขอเท็จจริงวา ในขณะทําสัญญาคูกรณีทั้งสองฝายคาดหมายไดหรือไมวา การคาขาย
แขงกันนั้นอาจทําไดโดยการตั้งแผงลอยขายสินคาชนิดเดียวกันดวย กรณีชองวางจะมีไดก็เฉพาะ
กรณีที่ทั้งสองฝายมิไดคิดถึงกรณีตั้งแผงลอยขายแขงกันเทานั้น
สวนในกรณีปญหาขอ ช) เรื่องขอตกลงหามเจาะชองหนาตางนั้น ถาคูกรณีมิไดคาดหมาย
วา อาจใชวัสดุกอสรางอยางอื่นมากอกําแพง เพื่อใหแสงลอดเขาสูอาคารของ ก. ได และเขาใจวา
การเปดชองแสงยอมทําไดเฉพาะโดยการเจาะหนาตางเทานั้น ดังนี้ยอมเปนกรณีที่มีชองวางใหตอง
ตีความเพื่ออุดชองวางขึ้น กรณีเชนนี้ไมสําคัญวา เหตุที่คาดไมถึงนี้จะเปนเพราะเหตุที่ขณะที่ตกลง
กันนั้นยังไมมีการผลิตบล็อกกระจกออกจําหนายในทองตลาด หรือจะเปนเพราะเหตุที่คูกรณีมิได
คาดหมายถึงตามธรรมดา

๒.๓ การอุดชองวาง
หลักสําคัญในการอุดชองวางก็คือ หากสัญญามีชองวาง ศาลยอมมีหนาที่ตีความสัญญาเพื่อ
อุดชองวางนั้น ๆ ในกรณีเชนนี้ ศาลตองสืบคนเจตนาของคูกรณีวา หากคูกรณีไดรูถึงพฤติการณ
อันเปนชองวางที่มิไดตกลงกันไวนั้นแลว แตละฝายจะมีเจตนาอยางไร ดังนั้นสิ่งที่ชี้ขาดในการอุด
ชองวางจึงมิใชเจตนาที่แทจริง แตคือเจตนาที่พึงคาดหมาย (hypothetic will) ของคูกรณี การจะ
สืบคนดูวาคูกรณีมีเจตนาอันพึงคาดหมายไดเปนอยางไรตามวิสัยและพฤติการณที่เกิดชองวางนั้น
ขึ้น ซึ่งยอมตองพิเคราะหจากวัตถุที่ประสงคแหงสัญญานั้นเองวา หากคูกรณีรูถึงพฤติการณ
เชนนั้น เขาจะตัดสินใจเลือกตกลงใจและตกลงกันอยางไร
ตัวอยางที่อาจหยิบยกมาประกอบการพิจารณา ปรากฏใหเห็นไดในประมวลกฎหมายแพง
และพาณิชยอยูแลว เชนกรณีสงมอบทรัพยสินที่ซื้อขายขาดตกบกพรอง ดังนี้ผูซื้อยอมมีสิทธิลด
ราคาลงตามสวน หรือบอกปดไมรับการสงมอบ (มาตรา ๔๖๕) เปนตน
กรณีตามอุทาหรณในขอ ง) อาจพิจารณาไดวา หากคูกรณีไดคํานึงถึงกรณีที่ ข. อาจมีเหตุ
ตองกลับมาอยูที่รังสิตอีก ดังนี้ทั้งสองฝายก็คงจะคาดเห็นไดวา ก. ยอมไมอาจมีความสัมพันธกับ
คนไขเดิมของ ข. ไดในระยะเวลาสั้น ๆ และหาก ข. กลับมาเปดคลีนิคในสถานที่เดียวกันอีก ก.

๔๐
ยอมไดรับความเสียหาย และยอมกระทบตอวัตถุที่ประสงคในการตกลงแลกเปลี่ยนสถาน
ประกอบการคลีนิคระหวางกัน ขอสรุปเชนนี้นําไปสูขอยุติวา หากทั้งสองฝายคาดหมายวา ก.
อาจจะกลับมาทําคลีนิคในที่เดียวกันอีก คูกรณีก็ยอมจะตกลงกันกําหนดเวลาหามไมให ก. กลับมา
ตั้งคลีนิคแขงขันกับ ข. ดังนี้ศาลยอมตองตีความอุดชองวางของสัญญาโดยกําหนดเวลาหาม ก. ทํา
คลีนิคแขงขันกับ ข. มีระยะเวลาพอสมควรที่ ข. จะไดทํางานของตนจนรับความไววางใจจาก
คนไขตามสมควรแลว จึงอนุญาตให ก. มาตั้งคลีนิคแขงกันได
ในกรณีอุทาหรณขอ จ) ก็ตองพิจารณาวาวัตถุที่ประสงคแหงสัญญาคือการหามเปดราน
หรือประกอบกิจการคาขายแขงกัน ดังนี้หาก ก. ไมไดตั้งรานขายของชํา แตตั้งแผงลอยคาขาย
สินคาชนิดเดียวกันกับ ข. ดังนี้ยอมตองหามเชนเดียวกัน
สําหรับกรณีตามอุทาหรณในขอ ช) นั้น ตองพิจารณาวาวัตถุที่ประสงคแหงสัญญาระหวาง
กันนั้นคืออะไร การตกลงหามสรางอาคารโดยเจาะชองหนาตางหันหนามาทางที่ดินของ ข. นั้น
หากมีวัตถุประสงคเพียงเพื่อการปองกันการรบกวนจากการมองเห็นกันและกัน ปองกันลมหรือ
ปองกันไมใหเกิดเสียงรบกวนกัน ดังนี้การกอกําแพงโดยใชบล็อกโปรงแสงจึงไมขัดตอวัตถุที่
ประสงคอันแทจริงแหงสัญญานี้ แตหากวัตถุประสงคที่แทจริงแหงสัญญาเปนไปเพื่อปองกัน
ไมใหแสงสวางลอดจากที่ดินของ ก. ไปยังที่ดินของ ข. ดังนี้การกอกําแพงโดยใชบล็อกโปรงใส
ยอมขัดกับวัตถุประสงคแหงสัญญา และดังนั้นจะตองตีความสัญญาไปในทางที่สอดคลองกับ
วัตถุประสงคแหงสัญญา

๔๑

You might also like