You are on page 1of 24

บ ท ที่ ๑๑ ...

เทววิทยาเรื่องความตาย

๑๑
ไม่ว่าจะอ่านข่าวทางหนังสือพิมพ์ หรือฟังข่าวจากวิทยุ โทรทัศน์ เรารับรู้เรื่องคนตายเกือบ
ทุกๆ วัน เราไม่ค่อยชอบพูดถึงความตายเลย แต่เป็นประโยชน์ ที่จะมาศึกษาเรื่องความตายตามความ
เชื่อของคริสตชน เพื่อช่วยเราให้รู้จักดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความหมาย
เราจึงมาศึกษาค้นคว้าความหมายของความตายดังต่อไปนี้
1) เทววิทยาเรื่องความตายในพระคัมภีร์
2) ความตายในธรรมประเพณีทางเทววิทยา
3) ความตายตามคำสอนของนักเทววิทยาร่วมสมัย
4) การภาวนาเพื่อผู้ล่วงหลับกับพระคริสตเจ้า

1. เทววิทยาเรื่องความตายในพระคัมภีร์
แม้เรื่องความตายไม่ใช่คำสอนที่เป็นประเด็นหลักของพระคัมภีร์ แต่เรายังพบคำสอนเรื่อง
นี้อยู่บ้าง ชาวยิวสมัยโบราณตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตในโลกนี้มากกว่าที่จะคำนึงถึงความตายและ
ชีวิตหน้า ดังนั้น ก่อนอื่น เราจึงควรทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “ชีวิต” ตามความคิดของ

216
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

ชาวยิว เพื่อศึกษาข้อความในพระคัมภีร์เกี่ยวกับความตาย ชาวยิวมีจิตสำนึกถึงคุณค่าของชีวิตใน


โลกนี้ จึงมีความหวังทีจ่ ะมีชวี ติ ยืนยาว ดังข้อความในหนังสือปัญญาจารย์กล่าวว่า “สุนขั ทีม่ ชี วี ติ ย่อม
ดีกว่าสิงโตที่ตายแล้ว” (ปญจ 9:4)
1.1 ชีวิตมนุษย์ในทัศนะของชาวยิว
ชาวยิวเชื่อว่าการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้เป็นพระพรของพระเจ้า ชีวิตเป็นเรื่องราวที่เห็นได้
และเข้าใจได้ต้ังแต่เกิดจนกระทั่งตาย ชีวิตผูกติดกับร่างกาย ดังนั้น ถ้าลมหายใจหยุดลง ชีวิต
บนโลกนี้ก็สิ้นสุดลงด้วย “ถ้าพระองค์ทรงเรียกลมปราณกลับคืน สิ่งมีชีวิตก็ตาย และกลับเป็น
ฝุ่นดิน” (สดด 104:29)
ชีวิตที่ส มบูรณ์เป็นดังพละกำลังที่แข็งแรง แต่โรคภัยไข้เจ็บ ความแก่ชราและการ
พักผ่อนค่อยๆ ทำให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพลง มนุษย์จะบรรลุถึงชีวิตที่มีคุณภาพสูงสุด ก็ต่อเมื่อ
เขาดำเนินชีวิตพร้อมกับพระเจ้าในหมู่คณะของผู้ที่มีความเชื่อ และหวังว่าจะมีชีวิตเช่นนี้ ไปจนถึง
วัยชรา
พระเจ้าทรงตั้งชีวิตและความตายไว้ต่อหน้ามนุษย์ (เทียบ ฉธบ 30:15) ความตาย
ไม่ได้กีดขวางการมีชีวิต แต่เป็นเพียงวาระสุดท้ายของขบวนการมีชีวิตบนโลกนี้เท่านั้น คือ พลังแห่ง
ชี วิ ต ที่ ล ดลงจนถึ ง ขั้ น ต่ ำ สุ ด ดั ง นั้ น สภาพของคนตายจึ ง อยู่ ใ นสถานที่ ที่ เ รี ย กว่ า “แดนผู้ ตาย”
หรือ “แดนมรณะ” (Sheol) หมายถึง ชีวิตที่อยู่ขั้นต่ำสุด เราพบความเข้าใจเช่นนี้ได้ในบทภาวนา
ของกษัตริย์เฮเซคียาห์ขณะประชวรว่า “ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าจะต้องจากไป เพียงเมื่อยังอยู่ในวัย
กลางคน ข้าพเจ้าจำต้องอยู่ที่ประตูแดนมรณะ ตลอดเวลาชีวิตที่ยังเหลืออยู่ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
คิดว่าข้าพเจ้าจะไม่ได้เห็นพระยาห์เวห์ ในแผ่นดินของผู้เป็นอีกแล้ว” (อสย 38:10-11)
พระเจ้าทรงกำหนดเวลาให้มนุษย์แต่ละคนมีชีวิตอยู่บนโลก เวลาของมนุษย์จะประเสริฐ
ถ้าเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า “ความยำเกรงพระยาห์เวห์ จะทำให้ชีวิตยืนนาน แต่ปีของคน
ชัว่ ร้ายจะสัน้ ลง” (สภษ 10:27) ชาวยิวคิดว่า ถ้ามนุษย์มเี วลาเป็นของตนเอง พระเจ้าก็ตอ้ งมีเวลาเป็น
ของพระองค์เช่นกัน พระเจ้าทรงกำหนดขอบเขตของกาลเวลาให้แก่มนุษย์แต่ละคน ชีวิตที่สมบูรณ์
คือ ชีวิตที่ยืนยาวเช่นนี้

217
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

เราจึงสรุปได้ว่า ความเข้าใจทางเทววิทยาของชาวยิวเรื่อง “ชีวิต” คือ ชีวิตเป็นพระพร


ของพระเจ้า แต่มนุษย์มีขอบเขตและความอ่อนแอ เขาจึงต้องยอมรับว่าชีวิตของตนมีขีดจำกัด มีทั้ง
ความสุขและความทุกข์ ชีวิตจะมีความหมายเมื่อเขายอมรับความเป็นจริงนี้ มนุษย์ยอมรับชีวิตฉันใด
ก็จะต้องยอมรับความตายฉันนั้น เขาจะต้องยอมรับว่าชีวิตของตนเป็นธรรมล้ำลึกของพระเจ้า เพราะ
วิธีการของพระองค์อยู่เหนือสติปัญญาของมนุษย์เกินที่จะเข้าใจได้ บทภาวนาของโยบสรุปถึงการ
ยอมรับเช่นนี้อย่างดี “ข้าพเจ้าตัวเปล่าออกมาจากครรภ์มารดา ข้าพเจ้าก็จะตัวเปล่ากลับไป พระ-
ยาห์เวห์ประทานให้ พระยาห์เวห์ทรงเอาคืน ขอถวายพระพรแด่พระนามของพระยาห์เวห์” (โยบ
1:21)
1.2 ความตายในพันธสัญญาเดิม
หนังสือพันธสัญญาเดิมเช่นเดียวกับหนังสือพันธสัญญาใหม่ เสนอมุมมองเกีย่ วความตาย
ไว้หลายแง่หลายมุม เพราะมีพัฒนาการทางความคิดผ่านประวัติศาสตร์อันยาวนานเป็นพันปีอย่างไม่
ต่อเนื่อง กระนั้นก็ดี หนังสือทุกเล่มของพระคัมภีร์ไม่ว่าเขียนในสมัยใด ต่างยอมรับว่าความตายเป็น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกวัน พระเจ้าทรงรู้วันเวลาของชีวิตมนุษย์แต่ละคน และทรงกำหนดขอบเขตชีวิต
ของเขา “พระองค์ทรงกำหนดวันเวลาของชีวติ มนุษย์ จำนวนเดือนของเขา ก็ขน้ึ กับพระองค์ พระองค์
ทรงกำหนดขอบเขตไม่ให้เขาผ่านไปได้” (โยบ 14:5)
หนังสือพันธสัญญาเดิมเสนอความคิดที่ว่า ความตายเป็นเหตุการณ์ธรรมดาที่จะต้อง
เกิดขึ้น ซึ่งมนุษย์ควรยอมรับด้วยใจสงบหลังจากที่เขามีชีวิตยืนนาน เช่น พระเจ้าตรัสกับอับราฮัม
ถึงความตายของเขา คือ เขาจะกลับไปอยู่กับบรรพบุรุษอย่างสันติในวัยชรา หนังสือปฐมกาลเล่า
เหตุการณ์ความตายของอับราฮัมว่า “อับราฮัมมีอายุหนึ่งร้อยเจ็ดสิบห้าปี จึงสิ้นชีวิตในวัยชราอัน
ยาวนานและผาสุก ไปรวมอยู่กับบรรดาบรรพบุรุษ” (ปฐก 25:7-8)
ชาวยิวสมัยโบราณเข้าใจว่า วิญญาณมนุษย์ดำรงอยู่ไม่ได้ ถ้าปราศจากร่างกาย เพราะ
ถ้าร่างกายและวิญญาณแยกจากกัน มนุษย์จะมีชวี ติ อยูไ่ ด้อย่างไร ความปรารถนาของคนโบราณก็คอื
การมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขที่ยืนยาวบนโลกนี้ ความคิดของชาวยิวในสมัยแรกๆ เกี่ยวกับความตาย

218
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

คล้ายกับความคิดของชนชาติอื่นๆ ที่อยู่โดยรอบคือบรรดาผู้ตายจะลงไปในแดนมรณะ และอยู่ใน


สภาพที่ไม่เรียกว่ามีชีวิต เพราะที่นั่นผู้ตายไม่ได้รับรางวัลหรือการลงโทษ แต่จะดำรงอยู่เป็นเหมือน
“เงา” เท่านั้น ประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์จึงชี้ให้เราเห็นว่า ศาสนาไม่มีรากฐานอยู่บนความปรารถนา
ของมนุษย์ที่จะมีชีวิตหลังจากความตายหรือได้รับรางวัลเป็นการตอบแทนนิรันดร สิ่งสำคัญสำหรับคน
สมัยโบราณคือคุณภาพของชีวิตในโลกนี้ไม่ใช่ความหวังที่จะได้มีชีวิตที่ดีกว่าในโลกหน้า
ไม่เป็นประสบการณ์ของทุกคนที่ตายหลังจากมีชีวิตที่สมบูรณ์ในโลกนี้ มนุษย์หลายคน
มีความทุกข์ทรมานในชีวิตโดยไม่รู้เหตุผล อีกหลายคนต้องตายก่อนที่จะบรรลุวุฒิภาวะ ภาพของ
บรรพบุรุษที่ตายในวัยชราอย่างมีความสุข เพราะได้เห็นลูกหลานมากมายยืนอำลาอยู่รอบๆ ไม่เป็น
ประสบการณ์ของทุกคน ชีวิตดูเหมือนไม่ยุติธรรมสำหรับอีกหลายๆ คน ข้อเท็จจริงที่หลายคนตาย
ไปในขณะที่ยังมีอายุน้อยจะสอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า พระเจ้าทรงสร้างโลกและทรงทำพระสัญญา
กับชาวอิสราเอลด้วยพระทัยดีได้อย่างไร
ความคิดทีเ่ ราพบทัง้ ในพันธสัญญาเดิมและในพันธสัญญาใหม่คอื ความมัน่ ใจทีว่ า่ มนุษย์
ตายเพราะบาปที่ได้กระทำ พระวาจาของพระเจ้าทีต่ รัสกับมนุษย์คแู่ รกก็ชดั เจนทีส่ ดุ ในเรือ่ งนีว้ า่ “ท่าน
จะกินผลไม้จากต้นไม้ทุกต้นในสวนได้ แต่อย่ากินจากต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว วันใดที่ท่านกินผลจาก
ต้นนั้น ท่านจะต้องตาย” (ปฐก 2:16-17) ข้อความนี้ ไม่เพียงสรุปว่า ความตายฝ่ายกายเป็นผล
ของบาป
พระคัมภีร์เข้าใจชีวิตและความตายในความหมายของมนุษย์ทั้งหมด เป็นไปได้ที่มนุษย์
คนหนึ่งยังมีชีวิตฝ่ายกาย แต่ในชีวิตฝ่ายจิตเหมือนตายไปแล้ว เราจะพบชีวิตที่สมบูรณ์มากกว่าฝ่าย
กาย เมื่อเรามีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่น เราจะมีชีวิตอย่างสันติ มีสุขภาพดี มีโชคลาภ
และมีความปลอดภัย พระเจ้าผู้ทรงทำพันธสัญญากับชาวอิสราเอลทรงมีพระประสงค์ให้ประชากร
ของพระองค์มีชีวิตตามความหมายที่กล่าวมานี้ พระเจ้าผู้ทรงทำพันธสัญญาเป็นพระเจ้าผู้ทรงชีวิต
การมีชีวิตจึงหมายถึงการดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า และกับประชากรของพระองค์ การ
ที่คนหนึ่งแยกตัวออกจากประชากรของพระองค์หรือจากพระเจ้า เขาจึงเป็นเหมือนผู้ที่ตายแล้ว ทั้งๆ
ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ฝ่ายกาย

219
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

ตามความคิดของพระคัมภีร์ สภาพของมนุษย์ที่ได้ทำบาปเป็นความตายแบบหนึ่ง ถ้า


ชีวิตที่สมบูรณ์เป็นพระพรของพระเจ้า สิ่งใดๆ ที่ลดคุณค่าของชีวิตลงหรือคุกคามชีวิต สิ่งนั้นเป็น
ส่วนหนึ่งของความตาย ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บไข้ได้ป่วย ความทุกข์ทรมาน หรือความยากจน ล้วน
เป็นส่วนหนึ่งของความตาย ในเทววิทยาของชาวยิว สภาพเช่นนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสภาพบาป
ของมนุษย์ทุกคน
ประสบการณ์ความตายของมนุษย์จำนวนมาก ไม่ว่าผู้ชอบธรรมหรือคนอธรรม เป็นสิ่ง
เลวร้ายมากกว่าที่จะเป็นการจบชีวิตลงอย่างดี คนส่วนมากตายก่อนที่จะบรรลุความสำเร็จในชีวิต ข้อ
เท็จจริงนี้ทำให้พระคัมภีร์ยืนยันว่า ความตายเป็นเหตุการณ์ที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ เพราะชาวยิวมอง
ธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นคู่พันธสัญญากับพระเจ้า ผู้ทรงมีพระประสงค์ให้มนุษย์มีชีวิต
สมบูรณ์ ดังนั้น ถ้าเราตายก็ไม่ใช่พระประสงค์พระเจ้า
การไตร่ตรองลึกซึ้งเกี่ยวกับความตายพบได้ในหนังสือประเภทปรีชาญาณ ความคิดใน
หนังสือปัญญาจารย์ (1:12-2:26) พยายามแก้ปัญหาเกี่ยวกับชีวิตมมนุษย์ โดยสรุปว่า แม้คนหนึ่ง
ได้ดำเนินชีวิตอย่างเต็มเปี่ยมและร่ำรวย ถึงกระนั้น ชีวิตก็ยังเป็นเหมือนกับ “การวิ่งไล่ตามลม”
(ปญจ 2:26)
ถ้าความตายเป็นชะตากรรมของมนุษย์ทุกคน อะไรจะแตกต่างกันระหว่างคนบาปกับ
นักบุญ หรือคนโง่กับคนฉลาด ชีวิตดูเหมือนว่าเป็นการเล่นละครที่ ไร้ประโยชน์ ไม่มีคำอธิบายที่
ชัดเจนและสมเหตุสมผลเกี่ยวกับธรรมล้ำลึกของชีวิตมนุษย์ ในหนังสือประเภทปรีชาญาณฉบับอื่นๆ
ให้ความคิดที่ว่า พระเจ้าจะทรงตอบสนองผู้ชอบธรรม และสันนิษฐานว่า มนุษย์จะรับชีวิตหลังจาก
ความตายเป็นการตอบแทน เช่น โยบประสบความล้มเหลวอย่างสิน้ เชิง แต่เขายังยืนยันอย่างประทับ
ใจว่า “ข้าพเจ้ารู้ว่าพระผู้ปกป้องข้าพเจ้าทรงพระชนม์อยู่ จะทรงลุกขึ้นยืนเป็นคนสุดท้ายบนฝุ่นดิน
เมือ่ หนังของข้าพเจ้าถูกทำลาย และไม่มรี า่ งกายอีกแล้ว ข้าพเจ้าจะเห็นพระเจ้า” (โยบ 19:25 - 26)
ต่อมา ความหวังทีพ่ ระเจ้าจะทรงตอบแทนผูช้ อบธรรมทีถ่ กู เบียดเบียน ข่มเหง ช่วยทำให้
เข้าใจชะตากรรมของบรรดามรณสักขีที่ตาย เพราะความเชื่อและส่งเสริมความหวังที่จะมีชีวิตอยู่

220
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

หลังจากความตาย ความคิดในสมัยก่อนเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ในลักษณะเป็นเงาในแดนผู้ตายสำหรับ
ทุกคน ไม่ว่าเป็นคนดีหรือคนชั่วนั้นได้เปลี่ยนไป คนดีหวังจะได้รับการตอบแทนและคนชั่วจะได้รับ
การลงโทษ ความคิดนี้ยังพัฒนาต่อไปอีกจนกว่ามีความหวังที่พระเจ้าจะบันดาลให้คนตายกับคืนชีพ
(เทียบ สดด 16:10; 73:23-28; ดนล 12:2; 2 มคบ 7:9) ความคิดเรื่องการกลับคืนชีพนี้จึงเป็น
สัญลักษณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงความหวังว่าพระเจ้าจะทรงฟื้นฟูโลกขึ้นใหม่
1.3 ความตายในพันธสัญญาใหม่
ก) คำสอนในพระวรสารสหทรรศน์
ความคิดและรูปแบบของการไตร่ตรองเรื่องความตายที่เราพบในพันธสัญญาเดิมก็
ยังต่อเนื่องในพันธสัญญาใหม่ เราจึงต้องเข้าใจเรื่องชีวิตและความตายไม่เพียงฝ่ายกายเท่านั้น แต่
ในลักษณะชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าตามพระสัญญา หรือชีวิตที่แยกตัวออกจากพระองค์ พระ-
คริสตเจ้าทรงเรียกมนุษย์ให้กลับใจเปิดตนรับพระเจ้า มนุษย์ต้องยอมรับพระประสงค์ที่ทรงแสดงแก่
ทุกคนในเหตุการณ์ของชีวิต ผู้ใดที่ยอมกลับใจ คือ ยอมเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการยึดมั่นในตนเองมา
รับใช้พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ด้วยใจกว้าง ย่อมพบชีวิตแท้จริง “พระเยซูเจ้าทรงเรียกประชาชนและ
บรรดาศิษย์เข้ามา ตรัสว่า “ถ้าผู้ใดอยากติดตามเรา ก็ให้เขาเลิกนึกถึงตนเอง ให้แบกไม้กางเขน
ของตน และติดตามเรา ผู้ใดใคร่รักษาชีวิตของตนให้รอดพ้น จะต้องสูญเสียชีวิตนั้น แต่ถ้าผู้ใดเสีย
ชีวิตของตนเพราะเรา และเพราะข่าวดี ก็จะรักษาชีวิตได้” (มก 8:34-35)
ความตายไม่เป็นเรื่องที่หนังสือพระวรสารเน้นเป็นพิเศษ เพราะในพันธสัญญาใหม่
เรื่องความตายได้สูญเสียความสำคัญที่มีในพันธสัญญาเดิม แต่เรื่องสำคัญ ก็คือ ชีวิตนิรันดรและ
การกลับคืนชีพ ดังที่พระเยซูเจ้าทรงสอนบรรดาศิษย์ว่า “อย่ากลัวผู้ที่ฆ่าได้แต่กาย แต่ไม่อาจฆ่า
วิญญาณได้จงกลัวผู้ที่ทำลายทั้งกายและวิญญาณให้พินาศไปในนรก” (มธ 10:28) เราต้องเข้าใจ
พระวาจานี้ในบริบทของการเป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า ผู้ที่อยากเป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า จะต้อง
เลือกพระองค์เหนือสิ่งใดในโลกนี้ และไม่หวังค่าตอบแทนในชีวิตนี้อีกด้วย ความตายเป็นที่ยอมรับ
ในฐานะเรื่อ งจริง ของชีวิต หนัง สือพระวรสารไม่ยอมรับ ความเชื่อโบราณที่ว่า ความตายที่เป็น

221
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

โศกนาฏกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความตายก่อนวัยอันควรหรือความตายที่เกิดจากความรุนแรง หรือ


ภัยพิบัติ ล้วนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับบาปส่วนบุคคล (เทียบ ลก 13:1-3)
พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า ความตายมีความสัมพันธ์กับความชั่วร้าย ดังนั้น ในพระ-
อาณาจักรที่พระองค์จะทรงสถาปนา ก็จะไม่มีความตายอีกแล้ว หนังสือพระวรสารสหทรรศน์พูดถึง
ความตายฝ่ายกาย ต่างจากนักบุญเปาโลซึ่งมักจะพูดถึงความตายในลักษณะเปรียบเทียบ ในพระ-
วรสารสหทรรศน์เราพบเพียงพระวาจาเดียวที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ คำว่า “ตาย” ในลักษณะเปรียบ
เทียบ คือ “จงตามเรามา และปล่อยให้คนตายฝังคนตายของตนเถิด” (มธ 8:22)
ข) คำสอนของนักบุญเปาโล
นักบุญเปาโลได้พัฒนาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบาปกับความตายและเน้นเรื่องนี้
เป็นพิเศษ ความตายไม่เป็นเพียงเหตุการณ์ฝ่ายกายเท่านั้น แต่ยังหมายถึงทุกสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ
พระเจ้าอย่างสิ้นเชิง และเป็นพลังที่ทำให้มนุษย์ตกอยู่ใต้อำนาจของความตาย แต่พลังนี้ถูกทำลาย
โดยอาศัยการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า (เทียบ 2 ทธ 1:10) นักบุญ
เปาโลเปรี ย บเที ย บสภาพมนุ ษ ย์ ที่ อ ยู่ ใ ต้ อ ำนาจของบาปและความตาย กั บ สภาพมนุ ษ ย์ ที่ ไ ด้ รั บ
พระหรรษทานและการไถ่กจู้ ากพระคริสตเจ้า เพราะเป็นลักษณะตรงข้ามกัน เช่น “เพราะค่าตอบแทน
ที่ได้จากบาป คือ ความตาย ส่วนของประทานที่พระเจ้าประทานให้เปล่า คือ ชีวิตนิรันดรในพระ-
คริสตเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา” (รม 6:23; เทียบ รม 5:12-21)
ข้อความนี้บรรยายความสมานฉันท์ของมนุษยชาติในประวัติศาสตร์ของบาป และ
ความสมานฉันท์ของมนุษย์ทุกคนในธรรมล้ำลึกเรื่องการไถ่บาปและพระหรรษทาน บาปจึงเป็นพลังที่
แทรกซึมเข้าไปในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และนำไปสู่ความตายชีวิตฝ่ายจิตแก่มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ใน
โลกนี้และอาจจะนำความตายนิรันดรในชีวิตหน้าด้วย แต่พระอานุภาพของพระเจ้าผู้ทรงช่วยมนุษย์
ให้รอดพ้นในพระคริสตเจ้า ได้ทำลายบาปและความตายตลอดจนได้เปิดประตูประวัติศาสตร์ของ
มนุษย์ให้เข้าสู่ความเป็นไปได้ของชีวิตใหม่อีกด้วย เมื่อความตายซึ่งเป็นศัตรูตัวสุดท้ายของพระเจ้าได้
ถูกทำลายไปแล้ว พระคริสตเจ้าจะทรงมอบพระอาณาจักรแก่พระบิดาเจ้า (เทียบ 1 คร 15:23-26)

222
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

เป้าหมายของชีวติ มนุษย์กค็ อื ความสัมพันธ์เป็นหนึง่ เดียวไม่ใช่การแยกตัวออกไปอยูต่ า่ งหาก เป็นเรือ่ ง


ของชีวิตไม่ใช่เรื่องของความตาย
ข้อความจริงที่สำคัญในคำสอนคริสตชนไม่ใช่ความจริงเกี่ยวกับความตาย แต่เป็น
ธรรมล้ำลึกเรือ่ งการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า เพราะคริสตชนสมัยแรกๆ เข้าใจความหมาย
ลึกซึง้ ของการสิน้ พระชนม์จากแสงสว่างของการกลับคืนพระชนมชีพ พระชนมชีพและการสิน้ พระชนม์
ของพระคริสตเจ้าแสดงความหมายลึกซึ้งของชีวิตและความตายของมนุษย์
คริสตชนสมัยแรกๆ ไตร่ตรองถึงลักษณะภายนอกของการรับทรมานและสิน้ พระชนม์
ของพระคริสตเจ้าน้อยกว่าท่าทีภายในของพระองค์ผู้ทรงนอบน้อมและทรงมอบความไว้ใจต่อพระบิดา
ผู้ทรงซื่อสัตย์ ข้อคิดสำคัญสำหรับเทววิทยาเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้า คือ ถ้าปราศจาก
การกลับคืนพระชนมชีพแล้ว การรับทรมานและสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้าจะเป็นรูปแบบของชีวิต
มนุษย์ที่ไร้ความหมาย
ความตายจึงไม่รับรองชีวิตที่ไร้ความหมายและสิ้นหวัง แต่เป็นขั้นตอนสำคัญในการ
เกิดใหม่เพื่อรับชีวิตที่สมบูรณ์ตามพระสัญญาของพระเจ้าผู้ประทานชีวิต จากความเข้าใจเรื่องความ
ตายเช่นนี้ เรามองประสบการณ์ชีวิตและเห็นว่า เรายอมตายจากตนเองเพื่อส่งเสริมผู้อื่นอย่าง
ต่อเนื่อง ความตายเช่นนี้เป็นเครื่องหมายแสดงล่วงหน้าว่า เวลาความตายเป็นเวลาเกิดใหม่ เพื่อรับ
ชีวิตจากพระเจ้า ความตายเล็กน้อยที่เราประสบทุกครั้งที่เราตายจากตนเองไม่เป็นการเสียหาย แต่
เป็นการเกิดใหม่เพื่อร่วมชีวิตกับผู้อื่นอย่างเต็มเปี่ยม ส่วนความตายยิ่งใหญ่ที่รอคอยเราเมื่อสิ้นชีวิต ก็
เป็นการเกิดใหม่เพื่อร่วมชีวิตกับพระคริสตเจ้าอย่างสุขล้น
นักบุญเปาโลได้บรรยายถึงความจริงนี้ว่าเป็นการร่วมกับพระคริสตเจ้าทั้งในการสิ้น
พระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ นี่เป็นประสบการณ์ชีวิตของคริสตชนตั้งแต่วันรับ
ศีลล้างบาปจนถึงสิ้นชีวิต จากประสบการณ์ส่วนตัวนักบุญเปาโลเข้าใจงานประกาศข่าวดีว่า เป็นการ
ตายทุกวันร่วมกับการสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้า “พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าเสี่ยงชีวิตอยู่ทุกวันเช่น
เดียวกับที่ข้าพเจ้ามีความภูมิใจในท่านที่มีความเชื่อในพระคริสตเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา” (1 คร
15:31)

223
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

การร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้ามีชัยชนะเหนือความตาย คือ เมื่อผู้ที่มีความ


เชื่อเปิดชีวิตของตนต่อการเรียกร้องของพระเจ้า โดยละทิ้งความเห็นแก่ตัวและเลือกดำเนินชีวิตเพื่อผู้
อื่นและเพื่อพระเจ้า เมื่อดำเนินชีวิตเช่นนี้ความตายฝ่ายกายก็ยังมีอยู่ แต่ลดความหมายลงเพราะชีวิต
ยังมีมิติอื่นๆ อีกด้วย
ค) คำสอนของนักบุญยอห์น
ทัศนะของนักบุญเปาโลได้รับการรับรองจากธรรมประเพณีที่มาจากนักบุญยอห์น
ผู้เขียนว่า “เรารู้ว่า เราผ่านพ้นความตายมาสู่ชีวิตแล้ว เพราะเรารักพี่น้อง ผู้ใดไม่มีความรัก ย่อม
ดำรงอยู่ในความตาย” (1 ยน 3:14) หนังสือวิวรณ์กล่าวถึงความเป็นจริงในวาระสุดท้ายคือความตาย
การพิพากษาและการกลับคืนชีพของผู้ที่ถูกเบียดเบียน ซึ่งจะได้ร่วมอยู่กับพระคริสตเจ้าและจะเห็น
พระองค์ทรงทำลายบาป ซาตานและศัตรูของพระศาสนจักรอย่างสิ้นเชิง (เทียบ วว 21:3-4) ความ
ตายจึงเป็นความชัว่ ร้ายทีเ่ กิดจากกิจการของซาตาน ซึง่ ยังก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและโชคร้าย (เทียบ
วว 9:1-11) แต่พระคริสตเจ้าทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ในสวรรค์และอำนาจปกครองของ
พระองค์จะแผ่ไปทั่วโลก ชัยชนะสุดท้ายของพระองค์ คือ การมีชัยชนะเหนืออำนาจของซาตาน
ความตาย และแดนมรณะ (เทียบ วว 20:10-14)
ง) สรุปคำสอนในพันธสัญญาใหม่
หนังสือพันธสัญญาใหม่ร่วมกับคำสอนในพันธสัญญาเดิมสอนว่า ความหมายแรก
ของความตาย คือ การตายฝ่ายกาย ไม่มีข้อความใดที่เสนอความคิดที่ว่า มนุษย์อาจจะตายหลายครั้ง
ไม่มีความคิดเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเลย ตรงกันข้าม จดหมายถึงชาวฮีบรูสอนชัดเจนว่า “มนุษย์
ถูกกำหนดให้ตายเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นจะมีการพิพากษาฉันใด พระคริสตเจ้าก็ฉันนั้น พระองค์
ทรงถวายพระองค์เพียงครั้งเดียว เพื่อทรงแบกบาปของคนจำนวนมาก” (ฮบ 9:27-28)
การพิจารณาเรื่องความตายในพระคัมภีร์แสดงว่า “ชีวิตและความตาย” มีความ
หมายมากกว่าการมีชีวิตและการตายฝ่ายกาย ลักษณะสำคัญของชีวิตมนุษย์ คือ มีความสัมพันธ์กับผู้
อื่นและกับพระเจ้า เพราะพระเจ้าของพันธสัญญาทรงเรียกเราให้มีชีวิตเช่นนี้ ชีวิตมนุษย์ที่ปราศจาก

224
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

คุณลักษณะดังกล่าว แม้จะมีชีวิตฝ่ายกายก็เท่ากับว่าตายไปแล้ว ความหวังของชาวยิวที่จะมีความ


สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าก็แข็งแรงกว่าความตาย เพราะพระองค์ทรงซื่อสัตย์ ประทานการ
กลับคืนพระชนมชีพแก่พระเยซูเจ้า คริสตชนที่ไว้ใจในอำนาจของพระเจ้าในการประทานชีวิต ทำให้
เขามีความหวังมั่นคงว่า จะมีชีวิตนิรันดรร่วมกับพระเจ้า.

2. ความตายในธรรมประเพณีทางเทววิทยา
2.1 ความตายและบาป
ธรรมประเพณีด้านเทววิทยาถือกันมาช้านานแล้วว่า ประสบการณ์เกี่ยวกับความตาย
ของมนุษย์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับบาป คำสอนของพระศาสนจักรในเอกสารต่างๆ ได้
ยืนยันความจริงนี้หลายครั้ง แต่ไม่ได้อธิบายในรายละเอียด พื้นฐานทางพระคัมภีร์ของคำสอนนี้มีอยู่
ในหนังสือปฐมกาล (ปฐก 2:16ฯ; 3:19) และจดหมายถึงชาวโรม (รม 5:12) แต่พระศาสนจักรไม่เคย
ตีความหมายของข้อความเหล่านี้อย่างละเอียดในลักษณะที่เป็นกฎเกณฑ์บังคับ
รายละเอียดในข้อความเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหามากมายสำหรับผู้ตีความและสำหรับ
นักเทววิทยาสมัยใหม่ที่ต้องการใช้ในการอธิบายความเชื่อ แต่ผู้เขียนหนังสือคู่มือเทววิทยาโดยทั่วไป
มักจะตีความหมายอย่างง่ายๆ เพื่อสนับสนุนคำสอนของพระศาสนจักร และคิดว่าเป็นความหมายที่
ชัดเจนตรงไปตรงมา เขาสรุปความหมายของข้อความเหล่านี้ว่า ถ้ามนุษย์คู่แรกได้รักษาสภาพดั้งเดิม
แห่งความชอบธรรมโดยไม่ทำบาป มนุษย์ทุกคนคงจะไม่ต้องตาย เพราะเขาไม่สูญเสียพระคุณเหนือ
ธรรมชาติของพระเจ้า
นั ก บุ ญ ออกั ส ติ น คิ ด ว่ า พระพรของความเป็ น อมตะไม่ ห มายความว่ า มนุ ษ ย์ โ ดย
ธรรมชาติตายไม่ได้ แต่หมายความว่า มนุษย์อาจไม่ต้องตายเพราะฤทธิ์อำนาจของพระหรรษทาน
จากพระเจ้า ดังนั้น มนุษย์ไม่ได้เป็นอมตะโดยธรรมชาติ แต่หลุดพ้นจากความตายอาศัยพระพรเหนือ
ธรรมชาติของพระเจ้า ทัศนะของนักบุญออกัสตินมีอิทธิพลต่อเทววิทยาทางตะวันตกอย่างกว้างขวาง
ตลอดหลายศตวรรษ จึงนำไปสู่ความคิดทางเทววิทยาแบบทั่วไปว่า ถ้าไม่มีบาป มนุษย์จะไม่ตายใน
แง่ที่เป็นเหตุการณ์ทางชีวภาพ

225
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

ขณะที่ความคิดนี้ ได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานักเทววิทยาโดยทั่วไปแล้ว ก็ยังเป็นข้อ


สันนิษฐานที่อยู่เบื้องหลังของคำสอนพระศาสนจักร แต่ไม่เป็นข้อความเชื่อที่พระศาสนจักรได้นิยาม
อย่างละเอียดให้ทุกคนต้องเชื่อ คำสอนของพระศาสนจักรเกี่ยวกับบาปและความตายต้องการยืนยัน
ว่า ประสบการณ์ของมนุษย์ที่จะต้องตายทางชีวภาพมีความสัมพันธ์กับที่มนุษย์ได้กระทำบาป แต่
คำสอนของพระศาสนจักรไม่ได้อธิบายในรายละเอียดถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ว่าเป็นอะไร
2.2 ความตายเป็นการแยกวิญญาณออกจากร่างกาย
ธรรมประเพณีของคริสตชนมักจะอธิบายความตายว่าเป็นการแยกวิญญาณออกจาก
ร่างกาย หนังสือ “คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก” ยังคงใช้ภาษานีอ้ ยู่ ภาษาทางเทววิทยามีรากฐาน
ในการตีความหมายความเป็นจริง ในกรณีปรัชญาของเพลโต (427-347 ก.ค.ศ.) เขาสอนว่า
วิญญาณมนุษย์อาศัยอยู่ในร่างกายเหมือนกับกะลาสีที่อยู่ในเรือ หรือถูกขังอยู่ในร่างกายและถูก
บังคับให้รวมเป็นหนึ่งกับร่างกาย เมื่อมนุษย์ตาย วิญญาณได้รับการปลดปล่อยจากการถูกจองจำใน
ร่างกายทีเ่ ป็นวัตถุ วิญญาณก็เป็นอิสระจากร่างกาย เหมือนหลุดจากโซ่ตรวนหรือทีค่ มุ ขัง ถ้าวิญญาณ
และร่างกายถูกเข้าใจในความหมายนี้ ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้ว่า เพลโตมองร่างกายมนุษย์ในแง่ลบ และ
มีอิทธิพลมากต่อแนวความคิดของบรรดาปิตาจารย์และนักเทววิทยา จนถึงแนวความคิดของอาริส-
โตเติลเป็นที่รู้จักทั่วไปในสมัยกลาง
อีกวิธีหนึ่งที่นักเทววิทยาใช้อธิบายธรรมชาติหนึ่งเดียวของมนุษย์ มาจากปรัชญาของ
อาริสโตเติล (384-322 ก.ค.ศ.) ผู้สอนว่า วิญญาณเป็น “รูปแบบ” ของร่างกาย เป็นธรรมชาติ
พื้นฐานของบุคคลมนุษย์ และไม่อาจอยู่ได้ ถ้าแยกออกจากร่างกาย และร่างกายมีความเป็นอยู่ไม่ได้
ถ้าปราศจาก “รูปแบบ” คือวิญญาณ อาริสโตเติลคิดว่า เป็นไปไม่ได้ที่วิญญาณมนุษย์คงอยู่หลังจาก
ความตายถ้าไม่มีร่างกาย แต่นักบุญโทมัส อาไควนัส (1225-74) มีความคิดเห็นตรงข้ามกับอาริส-
โตเติล เขาคิดว่า แม้วิญญาณโดยธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะร่วมกับร่างกายซึ่งเป็นวัตถุ แต่หลังจาก
ความตายวิญญาณยังคงอยู่ปราศจากร่างกายได้ โดยรักษาแนวโน้มที่จะร่วมกับร่างกายในอนาคต
คือ จนกว่าวิญญาณจะรวมกับร่างกายอีกครั้งในการกลับคืนชีพ

226
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

ความเข้าใจของเพลโตและอาริสโตเติลในเรื่องธรรมชาติมนุษย์ เป็นพื้นฐานของนักเทววิทยาในความ
เข้าใจถึงความหมายของความตาย อิทธิพลของอาริสโตเติลแผ่ขยายไปในคริสตชนทางตะวันตก
ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับวิญญาณที่เคยเป็นความสัมพันธ์หละหลวมตามแนวคิดของ
เพลโต กระชับขึ้นโดยคำสอนของอาริสโตเติลว่า ร่างกายเป็นวัสดุเหตุและวิญญาณเป็นรูปเหตุของ
มนุษย์ นักบุญโทมัส อาไควนัส จึงเรียกวิญญาณว่า เป็นรูปเหตุของร่างกาย รูปเหตุเป็นตัวกำหนด
สสารให้เป็นร่างกายของมนุษย์โดยเฉพาะ เราต้องเข้าใจว่าวิญญาณเป็นองค์ประกอบพืน้ ฐานของความ
เป็นอยู่ของมนุษย์ซึ่งมีร่างกายเป็นวัสดุเหตุ
ความคิดเรื่องความตายของนักเทววิทยาโดยทั่วไป ทั้งที่มาพื้นฐานทางธรรมประเพณี
ของเพลโตและอาริสโตเติลก็เชือ่ ว่า ความตายป็นการแยกของวิญญาณออกจากร่างกาย นักเทววิทยา
ได้เสวนากับนักปรัชญาแนวอาริสโตเติลถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขความคิดเรื่อง “รูปเหตุ” เพื่อ
สร้างแนวความคิดใหม่ คือ ความเป็นไปได้ที่วิญญาณแยกออกจากร่างกายชั่วคราวและยังคงอยู่ต่อไป
เพราะตามปรัชญาของอาริสโตเติล รูปเหตุโดยทั่วไปเป็นอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีวัสดุเหตุเป็นองค์ประกอบ
ภายใน รูปเหตุจึงเกิดขึ้นพร้อมกับวัสดุเหตุ อาริสโตเติลเข้าใจว่า วิญญาณเป็นรูปแบบของร่างกาย
วิญญาณจึงสูญสลายไปเมื่อความเป็นอยู่ของมนุษย์สิ้นสุดลง จากมุมมองนี้ รูปเหตุที่ทำให้สสารเป็น
มนุษย์ก็สูญสลายไปเมื่อบุคคลตาย ศพไม่เป็นมนุษย์ และรูปแบบของศพก็ไม่ใช่วิญญาณของมนุษย์
ปรัชญาของอาริสโตเติลไม่คำนึงถึงความเป็นไปได้ที่วิญญาณมนุษย์จะรอดพ้นจากความตายในทางใด
ทางหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ นักเทววิทยาคริสตชนซึ่งปรารถนาที่จะใช้ทฤษฏีสสารและรูปแบบของอาริส-
โตเติล จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงความเข้าใจเรื่อง “รูปเหตุ” เพื่อจะนำมาใช้อธิบายข้อความเชื่อ
ตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักร การดัดแปลงทฤษฏีเรือ่ งรูปแบบนีน้ ำไปสูค่ วามคิดทีว่ า่ วิญญาณ
เป็นรูปแบบในความหมายใหม่ กล่าวคือ เป็นรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ที่จำเป็นกับสสาร แต่ความ
สัมพันธ์นี้ ไม่ได้หมายความว่า “รูปเหตุ” จำเป็นต้องร่วมกับสสารตลอดเวลา เพราะ “รูปเหตุ”
สามารถคงอยู่ได้ชั่วคราวโดยปราศจากสสาร แม้ยังมีแนวโน้มที่จะร่วมกับสสารอยู่เสมอ

227
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

วิญญาณที่แยกออกจากร่างกายยังมีความต้องการที่จะร่วมกับร่างกายสักวันหนึ่ง เพราะตามทฤษฎีนี้
วิญญาณเป็น “รูปเหตุ” ซึ่งมีความสัมพันธ์ภายในกับสสาร เมื่อวิญญาณแยกจากร่างกายจึงทำหน้าที่
2 ประการคือ
1) เป็นพื้นฐานสำหรับความเข้าใจว่า เอกลักษณ์ของมนุษย์ยังคงอยู่หลังจากความ
ตาย
2) เป็นพื้นฐานสำหรับความเข้าใจว่า เหตุใดมนุษย์ยังไม่สมบูรณ์จนกว่าร่างกายจะ
กลับคืนชีพ
2.3 ความตายเป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ส่วนตัวของมนุษย์แต่ละคน
ธรรมประเพณีทางเทววิทยาสอนโดยทั่วไปว่า ความตายไม่เป็นเหตุการณ์ทางร่างกาย
เท่านั้น แต่ยังเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณ จึงเป็นเหตุการณ์สำคัญอย่างยิ่งของมนุษย์
ทั้งหมด เพราะความตายของแต่ละบุคคลเป็นการสิ้นสุดทางประวัติศาสตร์ของตน
แม้วิชาการแพทย์อาจกำหนดความตายไว้ด้วยวิธีหลายอย่าง นักเทววิทยาเข้าใจถึง
ความตายของมนุษย์วา่ เป็นจุดจบของชีวติ ที่ไม่มวี นั หวนกลับมาอีก เราอาจจะไม่รอู้ ย่างแน่นอนว่าจุดจบ
ของชีวิตเกิดขึ้นอย่างไรและเมื่อไร และอาจจะไม่ตรงกับความตายที่การแพทย์กำหนดไว้จากข้อมูล
ทางชีวภาพ แต่สำหรับเทววิทยาของคริสตชน ความตายเป็นการสิ้นสุดทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์
อย่างแท้จริง ไม่ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไร ก็จะไม่เป็นชีวิตที่หวนกลับมาสู่ประสบการณ์ด้านเวลาและ
สถานที่เดิมในโลกนี้อย่างแน่นอน และจะไม่เป็นชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิด เวลาที่มนุษย์ดำเนินชีวิตโดย
เลือกกิจการอย่างอิสระไม่มีอีกต่อไปแล้ว แต่จะจบลงพร้อมกับความตาย
ประสบการณ์ของบางคนที่ดูเหมือนตายแล้ว แต่การแพทย์ช่วยเขาให้กลับมามีชีวิต
อีกครั้ง เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจมากในสมัยของเรา เมื่อพิจารณาจากมุมมองทางเทววิทยาแล้ว
ก็ต้องสรุปว่าประสบการณ์ดังกล่าวไม่ใช่ประสบการณ์ของผู้ที่ตายแล้ว แต่เป็นเพียงประสบการณ์
ของผู้ที่ใกล้จะตายเท่านั้น เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ประสบการณ์ดังกล่าวพิสูจน์ไม่ได้ว่า มนุษย์
ยังมีชีวิตหลังจากความตาย แม้ผู้ที่มีประสบการณ์นี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่ประสบการณ์ใกล้

228
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

จะตายมีความหมายในการพิสูจน์ความจริงอีกข้อหนึ่ง คือ มีหลักฐานพิสูจน์ว่า มนุษย์ยังเป็นผู้กระทำ


บางสิ่งบางอย่างแม้ในเวลาที่การแพทย์ไม่มีเครื่องหมายใดๆ ที่บ่งบอกได้ว่าจิตสำนึกยังมีชีวิตอยู่ เรา
มีหลักฐานอย่างพอเพียงที่จะสนับสนุนความคิดที่ว่า มนุษย์เป็นผู้กระทำด้วยตนเองตลอดชีวิตรวมทั้ง
เวลาที่ประสบกับความตาย เทววิทยาร่วมสมัยใช้ความคิดนี้เพื่ออธิบายความหมายเรื่องความตาย
พระศาสนจักรสอนความจริงอีกประการหนึง่ ทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั ความคิดทีว่ า่ ความตาย
เป็นการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ส่วนตัวของมนุษย์แต่ละคน คือ ความจริงที่ว่าหลังจากความตาย
วิญญาณของผู้ชอบธรรมที่ ไม่ต้องชำระตนให้บริสุทธิ์ จะมีความสุขอย่างแท้จริงในการเห็นพระเจ้า
ทันทีทันใด ส่วนวิญญาณของผู้ที่ตายในสภาพบาปหนัก จะได้รับความทุกข์ทรมานในนรกทันทีทันใด
เช่นกัน คำสอนทางการของพระศาสนจักรมีความรอบคอบในการประกาศชะตากรรมนิรันดรของ
มนุษย์แต่ละคน คริสตชนยืนยันว่าสวรรค์มอี ยูจ่ ริง เพราะเขามีความเชือ่ ว่า พระคริสตเจ้าทรงกลับคืน
พระชนมชีพและเสด็จสู่สวรรค์ พระศาสนจักรย้ำความจริงนี้เมื่อประกาศว่า พระนางมารีย์ทรงรับ
เกียรติยกขึ้นสวรรค์ และเมื่อสถาปนานักบุญองค์ใดองค์หนึ่ง หมายความว่า มีมนุษย์บางคนอยู่ใน
สวรรค์อย่างแน่นอน คือ พระเยซูเจ้า พระนางมารีย์และนักบุญทั้งหลาย แต่พระศาสนจักรไม่เคย
ยืนยันว่ามนุษย์ผู้ใดอยู่ในนรก แม้ยึดมั่นว่าเป็นไปได้ที่มนุษย์อาจพินาศไปตลอดนิรันดร
สรุปแล้ว คำสอนตามธรรมประเพณีของพระศาสนจักรเกี่ยวกับความตายยังมีข้อจำกัด
อยู่มาก เพราะมักจะศึกษาเหตุการณ์ก่อนหรือหลังความตาย มากกว่าที่จะอธิบายความเป็นจริงของ
การตายโดยตรง คำสอนทางการของพระศาสนจักรเพียงแต่ อธิบายว่า ความตายคือการทีว่ ญ ิ ญาณ
แยกออกจากร่างกาย เหตุการณ์ที่ควรจะเกิดขึ้นก่อนความตายคือ การกลับใจเป็นทุกข์ถึงบาป และ
รับศีลเจิมคนไข้ ส่วนเหตุการณ์ที่จะตามมาหลังจากความตาย คือ การพิพากษาส่วนตัว สวรรค์ นรก
ไฟชำระ และสถานะที่รอคอยการกลับคืนชีพ คำสอนเรื่องนี้มีพื้นฐานอยู่บนข้อสันนิษฐานที่ว่า ความ
ตาย คือ การที่วิญญาณแยกออกจากร่างกาย

229
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

3. ความตายในเทววิทยาร่วมสมัย
ความเข้าใจเรื่องความตาย นับเป็นหัวใจของวิชาอนันตวิทยาส่วนบุคคล นักเทววิทยาร่วม
สมัยตั้งคำถามว่า “อะไรจะเกิดขึ้นกับบุคคลเมื่อเขาตาย” บรรดานักเทววิทยาร่วมสมัยมีความคิด
หลากหลาย แต่ทุกคนมั่นใจว่า การอธิบายความตายเป็นการแยกกันระหว่างร่างกายกับวิญญาณนั้น
ไม่เป็นการเพียงพอ จะต้องค้นหาความหมายให้ลึกซึ้งมากกว่านี้
การพัฒนาความคิดหลักในเรื่องความตายมีนักเทววิทยาสำคัญ 3 ท่าน ที่ให้แนวคิดแบบ
ใหม่ไว้ คือ คาร์ล ราห์เนอร์ (K. Rahner) ทรัวฟังแตนส์ (R. Troisfontaines) โบรอส (L. Boros)
ทรัวฟังแตนส์ ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากปรัชญาของมาแซล (G.Marcel) แต่ราห์เนอร์และโบรอส
ได้ใช้ปรัชญาเชิงอุตรภาพเป็นพื้นฐาน เขาทั้งสามคนพยายามหาเหตุผลสนับสนุนความคิดที่ว่า ความ
ตายของมนุษย์ไม่เป็นเพียงเหตุการณ์ที่เขาเป็นฝ่ายรับอย่างเดียว แต่เขาเป็นผู้กระทำอีกด้วย ความ
ตายจึงเป็นการกระทำส่วนตัวของแต่ละคน ผลงานของราห์เนอร์มีอิทธิผลต่อนักเทววิทยาอื่นๆ หลาย
คน ในที่นี้ เราจะพิจารณาถึงทัศนะของราห์เนอร์ และผลกระทบของเขาที่มีต่องานของโบรอส
เท่านั้น
3.1 ความคิดของราห์เนอร์
ความคิดหลักของราห์เนอร์มาจากความมั่นใจที่ว่า ความตายไม่เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นกับ
บุคคลภายนอก หรือเป็นชะตากรรมซึ่งมีสาเหตุที่มนุษย์ไม่อาจควบคุมได้ แต่ยังมีความหมายมากกว่า
นี้คือ ความตายเป็นการกระทำของมนุษย์ที่จำเป็นต้องทำ ความตายไม่เพียงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
กับเราเองเท่านั้น แต่เป็นกิจการของเราอีกด้วย เพื่อจะเข้าใจความคิดของราห์เนอร์ เราจำเป็นที่จะ
มาพิจารณาความเข้าใจเรื่องชีวิตมนุษย์ตามที่ราห์เนอร์สั่งสอน
ราห์เนอร์มีความคิดว่ามนุษย์แสวงหาความหมายของชีวิตและพยายามที่จะได้ชีวิต
อย่างสมบูรณ์ ในทัศนะนีช้ วี ติ มนุษย์เป็นกระบวนการอย่างต่อเนือ่ งของการกระทำสองฝ่าย คือ ระหว่าง
การกระทำของแต่ละบุคคลกับการกระทำของผู้อื่น และระหว่างการกระทำของแต่ละคนกับสิ่งต่างๆ
ซึ่งเป็นบริบทของชีวิตของตน แต่ละบุคคลถูกกระทำจากผู้อื่นและในทางตรงกันข้ามเขามีปฏิกิริยาต่อ

230
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

ผู้อื่น เราจึงสรุปได้ว่า ชีวิตมนุษย์เป็นปฏิพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของกัมมันตภาพและอกัมมันตภาพ


(an ongoing dialectic of passivity and activity). อันดับแรกเราเป็นผู้ถูกกระทำ เราเริ่มมีชีวิต
ในครรภ์มารดาโดยไม่มีการกระทำของเราเลย เราได้รับชีวิตโดยไม่มีใครมาปรึกษาหารือกับเราก่อน
เราไม่ได้เลือกเองที่จะมีชีวิต แต่เมื่อเรามีชีวิตแล้ว เราต้องดำเนินชีวิตที่เราได้รับนั้น อาศัยการกระทำ
ของเราเองอีกด้วย ส่วนหนึ่งของชีวิตของเราเป็นผลของการกระทำที่เราจงใจกระทำ
ทำนองเดียวกัน ชีวิตของเรายังขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เราไม่อาจควบคุมได้ ความตายจึงเป็น
รูปแบบชัดเจนมากที่สุดของปฏิพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของกัมมันตภาพและอกัมมันตภาพ ซึ่งคงอยู่
ตลอดชีวิตของเรา ความตายสำหรับชีวิตมนุษย์จึงไม่ใช่เพียงเรื่องของร่างกายที่ดับสลายไป ดังที่เกิด
ขึ้นในสัตว์และต้นไม้ ความตายของมนุษย์มีความหมายมากกว่านั้น คือ เป็นการกระทำของบุคคลที่
ใช้ทั้งสติปัญญาและเจตจำนง เมื่อมนุษย์ตายก็เป็นเวลาที่เขาอยู่ใต้อำนาจของพลังที่ไม่อาจควบคุม
ได้ ในเวลาเดียวกันเขายังถูกเรียกให้แสดงเสรีภาพของตนเป็นครั้งสุดท้าย เพราะเขาเลือกทางใดทาง
หนึ่งก็จะดำรงอยู่ในทางนั้นตลอดไป
ความเข้าใจเช่นนี้ ทำให้เรามองความตายในแง่การกระทำที่นำความสมบูรณ์มาสู่ชีวิต
มนุษย์ เพราะความตายทำให้ทุกสิ่งที่มนุษย์เคยกระทำสำเร็จไป มองในแง่การกระทำของมนุษย์
ความตายจึงเป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้ายที่มนุษย์กระทำอย่างเสรี แม้ชีวิตทั้งหมดของมนุษย์นับว่า
เป็นการเตรียมการตัดสินใจครั้งสุดท้ายในเวลาแห่งความตายก็ตาม ความตายก็ยังเป็นเวลาพิเศษสุด
ที่มนุษย์ใช้เสรีภาพของตนในการตัดสินใจอย่างเด็ดขาด และการตัดสินใจครั้งนี้มีผลตลอดไป
ความคิดนี้ ทำให้เราเข้าใจเหตุผลอย่างชัดเจนที่ราห์เนอร์พบว่า ความตายไม่เป็นเพียง
การแยกกันของวิญญาณจากร่างกาย แต่ยังเป็นจุดจบของประวัติศาสตร์ส่วนตัวของแต่ละคน ความ
ตายไม่เพียงมีผลกระทบต่อร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อวิญญาณอีกด้วย เพราะเมื่อมนุษย์
ตาย วิญญาณของเขาบรรลุถึงความสมบูรณ์ วิญญาณเข้าสู่ความสัมพันธ์ใหม่และลึกซึ้งกับโลก ซึ่ง
ราห์เนอร์เรียกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบสหจักรวาล (pan-cosmic)” นัน่ คือ เมือ่ วิญญาณสละร่างกาย
ที่จำกัดของตนในชีวิตนี้ วิญญาณก็จะเปิดตัวต่อจักรวาลทั้งหมด

231
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

ราห์เนอร์ได้ให้คำอธิบายเหตุผลทีช่ ดั เจนสำหรับความคิดทีว่ า่ ความตายของมนุษย์แต่ละ


คนแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากความตายของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สัตว์และต้นไม้ ความตายของมนุษย์มี
ลักษณะเฉพาะเพราะเป็นการกระทำอิสระของมนุษย์ ความคิดของราห์เนอร์เป็นความคิดทางปรัชญา
ก็จริง แต่มีเหตุผลสนับสนุนจากคำสอนของพระคัมภีร์และของเทววิทยา ราห์เนอร์ชี้ ให้เห็นถึง
รายละเอียดที่พระคัมภีร์ใช้ในการบรรยายการสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้า ในข้อความของพระ-
คัมภีร์เราพบทั้งการกระทำของผู้อื่นและการกระทำของพระองค์ ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะที่ ได้
วิเคราะห์ทางปรัชญา
พระคริสตเจ้าไม่ทรงปรารถนาที่จะสิ้นพระชนม์ แต่เป็นเหตุการณ์ที่ทรงถูกกระทำ โดย
ทรงรับทรมาน (เทียบ มก 14:32-41; 15:34) อีกด้านหนึ่ง พระคัมภีร์อธิบายว่า การสิ้นพระชนม์
ของพระคริสตเจ้าเป็นกิจการของพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงมอบพระองค์อย่างอิสระไว้ในพระหัตถ์
ของพระบิดา (เทียบ ลก 23:46; ยน 14:2, 28; 16:7; 19:30) จากข้อความเหล่านี้ นักเทววิทยาได้
ไตร่ตรองเป็นเวลาหลายศตวรรษและสรุปว่า การสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้าเป็นกิจการสูงสุดที่
แสดงความนอบน้อมเชื่อฟังต่อพระประสงค์ของพระบิดาเจ้า ธรรมประเพณีทางเทววิทยาสอนว่า
การสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้าบนไม้กางเขนช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นได้ เพราะเป็นกิจการที่พระองค์
ทรงจงใจกระทำ การวิเคราะห์ของราห์เนอร์พัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับการสิ้นพระชนม์ของพระ-
คริสตเจ้ามากยิ่งขึ้น
3.2 ความคิดของโบรอส
โบรอสทำให้ความคิดของราห์เนอร์ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เขาพัฒนาปรัชญาของราห์เนอร์
เกี่ยวกับเสรีภาพ เพื่อจะได้เข้าใจความหมายของความตาย สำหรับโบรอส ความตายเป็นช่วงเวลา
พิเศษของเสรีภาพ คือ เวลาที่มนุษย์เปิดวิญญาณของตนให้มีความสัมพันธ์กว้างขวางกับโลกทั้งหมด
ถ้าวิญญาณเปิดตัวกว้างต่อโลกเช่นนี้แล้ว วิญญาณก็จะต้องเปิดตัวต่อพื้นฐานของโลก คือ พระเจ้า
โบรอสจึงเสนอทฤษฎีที่ว่า “ความตายเป็นกิจการแรกที่มนุษย์กระทำอย่างรู้ตัวและเป็นอิสระอย่าง
เต็มเปี่ยม เพราะฉะนั้น ในเวลาแห่งความตาย มนุษย์พบกับพระเจ้า โดยมีความรู้ตัวและมีเสรีภาพ

232
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

อย่างเต็มเปี่ยม ต่างกับการพบพระเจ้าในโอกาสอื่นๆ ในชีวิต เพื่อจะได้ตัดสินใจเลือกชะตากรรม


นิรันดรของตนเป็นครั้งสุดท้าย”
ความคิดของโบรอสเน้นเป็นพิเศษเรื่องการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของมนุษย์ในเวลาที่เขา
จะตาย เพราะการตัดสินดังกล่าวจะกำหนดชะตากรรมนิรันดรของมนุษย์ ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีนี้
มักจะชี้ว่า โบรอสเน้นการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของมนุษย์มากเกินไป ทำให้กิจการอื่นๆ ที่มนุษย์ทำ
ขณะมีชีวิตอยู่ลดความหมายลง แต่โบรอสพยายามตอบการโต้แย้งนี้ว่า การตัดสินใจครั้งสุดท้ายใน
เวลาแห่งความตายได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจครั้งอื่นๆ ที่มนุษย์ได้ทำในชีวิตก่อนตาย เพราะ
การตัดสินเหล่านี้ได้ตระเตรียมเขาให้ตัดสินใจในครั้งสุดท้าย กิจการอิสระที่มนุษย์กระทำตลอดชีวิตมี
อิทธิพลอย่างมากต่อการกำหนดอนาคตของตน การตัดสินใจครั้งสุดท้ายสำคัญกว่าการตัดสินใจครั้ง
อื่นๆ ที่ทำขณะมีชีวิต แต่ยังเป็นผลของการตัดสินใจเหล่านี้ และการตัดสินใจครั้งสุดท้ายจะเกิดขึ้น
ไม่ได้หากไม่มีการตัดสินใจครั้งก่อนๆ
ดังนั้น ทฤษฎีการตัดสินใจครั้งสุดท้ายในเวลาแห่งความตายไม่สนับสนุนให้ดำเนินชีวิต
โดยไม่รับผิดชอบ หรือไม่สนใจปฏิบัติศีลธรรม โบรอสคิดว่าทฤษฎีนี้สอดคล้องกับคำสอนทางพระ-
คัมภีร์เกี่ยวกับการตื่นเฝ้าระวังตลอดชีวิตและกับคำสอนทางธรรมประเพณีที่ยืนยันว่า มนุษย์ไม่รู้
อย่างแน่นอนว่าตนจะรอดพ้นหรือไม่
แนวความคิดนี้ ได้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการไตร่ตรองทางเทววิทยาโรมันคาทอลิกใน
เรื่องความตาย แม้จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้างในการยกเหตุผลสนับสนุน ทุกคนที่มีความคิดนี้
ยืนยันว่า ช่วงเวลาแห่งความตายเป็นช่วงเวลาพิเศษสำหรับมนุษย์ ไม่เหมือนช่วงเวลาอื่นๆ ในชีวิต
ของเขา เพราะเป็นช่วงเวลาที่เขาใช้เสรีภาพของตนอย่างเต็มเปี่ยม ทฤษฎีนี้ดูเหมือนมีทัศนะเช่น
เดียวกับในสมัยก่อน เมื่อสอนว่าความตายเป็นจุดสิ้นสุดของชีวิตของมนุษย์แต่ละคน
เราอาจสรุปความคิดของนักเทววิทยาร่วมสมัยเกี่ยวกับความตายได้ดังต่อไปนี้
1) ความตายเป็นจุดสุดท้ายแห่งปฏิพัฒนาการของการรับทรมานและ
การกระทำของมนุษย์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของชีวิตมนุษย์ จาก

233
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

ประสบการณ์ของผู้ที่สังเกตบุคคลที่กำลังสิ้นใจพบว่า ปฏิพัฒนาการ
เช่ น นี้ เ กิ ด ขึ้ น ในผู้ ที่ ต าย เทววิ ท ยาเรื่ อ งการตั ด สิ น ใจครั้ ง สุ ด ท้ า ย
พยายามวิเคราะห์ประสบการณ์นี้อย่างลึกซึ้ง ถ้ากระบวนการของผู้ที่
กำลังจะตายเป็นการกระทำส่วนบุคคล ความตายจึงจะเป็นโอกาสที่
ผู้ตายบรรลุถึงความสมบูรณ์โดยการกระทำของตนเอง ความตายจึง
เป็นจุดสิ้นสุดของกระบวนการแห่งชีวิต
2) ความตายเป็นการยอมจำนนตนเองเป็นครั้งสุดท้าย นี่คือความหมาย
ของความตายตามอุดมการณ์ แต่อาจจะไม่เป็นความจริงสำหรับทุกคน
เพราะเขาไม่ยอมรับชะตากรรมของตน ความตายควรจะเป็นกิจการ
สุดท้ายของผู้ที่ดำเนินชีวิตโดยพยายามที่จะรักและอุทิศตนแก่ผู้อื่น แต่
ประสบการณ์ของมนุษย์คลุมเครืออยู่เสมอ ไม่ชัดว่าอนาคตสำหรับเรา
เมือ่ ตายและหลังจากความตายจะเป็นอย่างไร เราจะพบความว่างเปล่า
หรือจะพบธรรมล้ำลึกอย่างสมบูรณ์ ผู้ที่อยู่ในโลกนี้ซึ่งยังไม่มีประสบ-
การณ์เกี่ยวกับความตายจึงตอบคำถามนี้ไม่ได้ ความรู้สึกล้มเหลวใน
เวลาแห่งความตายเป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่าเรากำลังจะสูญสลายไป
หรือว่าความรู้สึกว่างเปล่าเป็นเพียงเงื่อนไขเพื่อจะได้รับชีวิตอย่างถาวร
เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าผู้ทรงชีวิต โดยลำพังตนเองมนุษย์ไม่สามารถ
ที่จะตอบคำถามดังกล่าวนี้ แต่เมื่อเรามองการสิ้นพระชนม์และการ
กลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ในพระองค์เราพบตัวอย่างของ
มนุษย์ผู้หนึ่งซึ่งยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระบิดาเจ้าเป็นครั้ง
สุดท้าย และได้บรรลุถึงชีวิตที่ส มบูรณ์อย่างรุ่งโรจน์ ดังนั้น เรารู้
ความหมายของความตาย คือ การเป็นมนุษย์หมายถึงการยอมจำนน
โดยสิ้นเชิงต่อพระเจ้า เป็นการมอบชีวิตของตนแด่พระเจ้าด้วยความ

234
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

ไว้วางใจ เพราะเราเชื่อว่าพระองค์ทรงมีความรัก ความเมตตากรุณา


และทรงยอมรับทุกคนให้มีส่วนในชีวิตของพระองค์ ความตายเป็น
โอกาสสุดท้ายที่เราเลือกว่า จะรักหรือไม่รักผู้อื่น สำหรับคริสตชนการ
เลือกที่จะรักในช่วงสุดท้ายของชีวิตเป็นการมอบตนเองไว้ในพระหัตถ์
ของพระเจ้าผู้ทรงรักและทรงเมตตา เป็นการกระทำด้วยใจอิสระของ
ผู้มีความเชื่อ ทำให้เขามีส่วนร่วมกับธรรมล้ำลึกของการสิ้นพระชนม์
และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า
3) ความตายกำหนดจุดจบประวัติศาสตร์ของแต่ละคน นักเทววิทยาร่วม
สมัยสอนว่า ความตายเป็นการกระทำส่วนตัวของแต่ละคน และยัง
เสนออี ก วิ ธี ห นึ่ ง เพื่ อ อธิ บ ายความหมายของความตายในแง่ ที่ เ ป็ น
จุดจบของการเดินทางจาริกแสวงบุญของแต่ละคน เรามีชีวิตอยู่ใน
โลกนี้เพียงครั้งเดียว การตัดสินใจต่างๆ ที่เรากระทำในชีวิตนี้ โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง การตัดสินใจครั้งสุดท้ายในช่วงเวลาแห่งความตาย ก็
จะมีความหมายตลอดไป

4. การภาวนาเพื่อผู้ล่วงหลับกับพระคริสตเจ้า
คริสตชนใช้สำนวนว่า “ผู้ล่วงหลับ” ไม่ใช่ “ล่วงลับ” หมายถึงผู้ตาย เป็นการเปรียบเทียบ
ความตายว่าเป็นการนอนหลับ เราพบสำนวนนี้บ่อยๆ ในพันธสัญญาเดิม พันธสัญญาใหม่และ
วรรณคดีกรีก ทำนองเดียวกัน “การกลับคืนชีพ” จึงเปรียบได้กับ “การตื่นจากหลับ” ความเชื่อของ
คริสตชนถือว่า ความตายเป็นการหลับพักผ่อนในพระคริสตเจ้า นักบุญเปาโลใช้สำนวนนี้บ่อยๆ (1 คร
15:6, 18, 20, 51; 1 ธส 4:13)
แนวความคิดใหม่เรื่องความตายชวนให้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเลื่อมใสศรัทธาของคริสตชน
ที่มีต่อผู้ล่วงหลับ คำสอนทางการของพระศาสนจักรได้แสดงความมั่นใจว่าผู้ล่วงหลับไปแล้วอาจจะ

235
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

ได้รับความช่วยเหลืออย่างใดอย่างหนึ่งจากคำภาวนาและกิจการดีงามของผู้เป็น คำสอนตลอดหลาย
ศตวรรษมานี้ ได้รับการยืนยันใหม่จากเอกสารของคณะกรรมการเทววิทยาระหว่างประเทศ เมื่อ
ปี ค.ศ.1991 เอกสารนี้เตือนสัตบุรุษให้อธิษฐานภาวนาอุทิศแก่ผู้ตายว่า “สำหรับเรื่องวิญญาณของ
บรรดาผู้ตายที่ยังต้องการชำระให้บริสุทธิ์ “นับตั้งแต่แรกเริ่มของคริสตศาสนา พระศาสนจักรของผู้ที่
กำลังดำเนินชีวติ ในโลกนี้ ได้อธิษฐานภาวนาและทำบุญอุทศิ แก่พวกเขา” พระศาสนจักรเชือ่ ว่าวิญญาณ
ที่กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์ “จะได้รับความสดชื่นจากคำภาวนาและการทำบุญของสัตบุรุษที่ยังมีชีวิต
อยู่ เช่น จากการถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ การอธิษฐานภาวนา การให้ทาน และการกระทำกิจ
ศรัทธาอืน่ ๆ ตามธรรมเนียมทีส่ ตั บุรษุ ต้องถวายเพือ่ สัตบุรษุ คนอืน่ ตามข้อกำหนดของพระศาสนจักร”
(7:3)
คำสอนเรื่องไฟชำระมีความสัมพันธ์กับความหมายของคำภาวนาเพื่อผู้ล่วงหลับ และกับ
ความเข้าใจทางเทววิทยาเรื่องสหพันธ์นักบุญ และความหวังในการกลับคืนชีพ คำสอนเรื่องสหพันธ์
นักบุญเป็นข้อความเชื่อ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพอย่างลึกซึ้งในหมู่คริสตชน ความ
สมานฉันท์ของมนุษย์หยัง่ รากลึกในพระคัมภีร์ และเป็นข้อเท็จจริงสำคัญในคำสอนของพระศาสนจักร
เรื่องบาปกำเนิดและการไถ่บาป ความเข้าใจทางเทววิทยาเรื่องความสมานฉันท์นี้อาจจะชัดเจนขึ้น
ถ้าใช้ปรัชญามานุษยวิทยา ในด้านปรัชญา ความสมานฉันท์เป็นลักษณะสำคัญของธรรมชาติมนุษย์
ที่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม ในด้านเทววิทยา คำสอนเรื่องพระหรรษทานและความ
รอดพ้นของมนุษย์ส่งเสริมลักษณะดังกล่าวของธรรมชาติมนุษย์
พระคัมภีร์และคำสอนของบรรดาปิตาจารย์แสดงความคิดนี้โดยใช้คำอุปมาว่า มนุษย์ท่ีได้
รับพระหรรษทานและความรอดพ้นเป็นประชากรของพระบิดาเจ้า เป็นพระวรกายของพระคริสตเจ้า
และเป็นพระวิหารของพระจิตเจ้า เมื่อเรานำความคิดนี้มาร่วมกับความเชื่อในชีวิตนิรันดรกับพระตรี-
เอกภาพ เราสรุป ได้ว่า ความสมานฉันท์ของมนุษย์ในโลกนี้จะต้องคงไว้และต่อเนื่องไปในชีวิต
หลังจากความตาย ถ้ามนุษย์มีความสัมพันธ์กันโดยธรรมชาติและโดยพระหรรษทานเมื่อมีชีวิตอยู่ใน
โลกนี้แล้ว ความสัมพันธ์นี้จะไม่หมดสิ้นไปพร้อมกับความตาย

236
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

ตามความคิดเห็นของราห์เนอร์ พื้นฐานทางเทววิทยาของการภาวนาเพื่อผู้ล่วงหลับอยู่ใน
ความคิดที่ว่า แม้ความตายเป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของมนุษย์ ก็ไม่ได้หมายความว่าการตัดสินใจ
นั้นจะเกิดผลอย่างสมบูรณ์ในทันทีทันใด เราอาจคิดว่า การเจริญเติบโตทั้งหมดบุคคลหนึ่งไม่สำเร็จ
ลงในช่วงเวลาแห่งความตาย แต่ยังมีการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นหลังจากความตายจนถึงมนุษย์บรรลุ
ความสมบูรณ์ นี่คือความหมายของ “ไฟชำระ” ความคิดนี้ของราเนอร์ไม่สามารถอธิบายอย่างชัดเจน
ว่า คำภาวนาและกิจการดีของผู้มีชีวิตอยู่บนโลกนี้มีอิทธิพลต่อกระบวนการการเติบโตใน “ไฟชำระ”
อย่างไร
กระนั้นก็ดี ปรัชญาของราห์เนอร์ให้แนวความคิดและมุมมองที่พัฒนาได้ต่อไป มานุษยวิทยา
ของราห์เนอร์เน้นเอกภาพพืน้ ฐานของมนุษยชาติ และความสัมพันธ์ของแต่ละคนกับมนุษยชาติทง้ั หมด
ถ้าเรามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในชีวิตนี้ น่าจะสรุป ได้ว่า ความสัมพันธ์ต่อกันยังคงอยู่หลังจาก
ความตายในรูปแบบใหม่ ความสมานฉันท์ของมนุษย์นำเราข้ามพ้นเขตแดนแห่งความตาย ความ
สัมพันธ์ที่เรามีกับผู้อื่นเป็นลักษณะสำคัญของชีวิตของเราแต่ละคน ความจริงนี้ชัดเจนอยู่แล้วสำหรับ
มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ เราอาจนำความคิดนี้มาประยุกต์ใช้กับชีวิตหลังจากความตายอีกด้วย
เพราะชีวิตนิรันดรไม่มีลักษณะลำพังเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า มนุษย์แต่ละคนจะมีความสัมพันธ์กับ
ผู้อื่น เพราะความสัมพันธ์กับผู้อื่นทำให้เขาเป็นบุคคลอย่างที่เขาเป็น ถ้า “ไฟชำระ” หมายถึงขบวน-
การรักษาให้หายและการเจริญเติบโตของผู้ล่วงหลับ
พระคาร์ดินัล รัทซิงเกอร์ (Ratzinger) ได้เสนอความคิดเดียวกันว่า การเผชิญหน้ากับพระ-
คริสตเจ้าในความตายเป็นการพบปะกับพระวรกายของพระคริสตเจ้า ดังนัน้ จึงเป็นการพบปะระหว่าง
แต่ละคนที่ได้กระทำผิดต่อสมาชิกอื่นๆ ในพระวรกายของพระเยซูคริสตเจ้าและทำให้เขาต้องรับทน
ทุกข์ทรมาน กับพระคริสตเจ้า ศรีษะของพระวรกาย ซึ่งแสดงความรักที่ให้อภัย คำสอนเรื่อง “ไฟ
ชำระ” และการภาวนาอุทศิ ให้ผลู้ ว่ งหลับแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพของมนุษยชาติในความหมาย
กว้างที่สุด คำสอนนี้แสดงความเชื่อของพระศาสนจักรในพลังแห่งความรักที่ช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นและ

237
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๑ ... เทววิทยาเรื่องความตาย

คงอยู่ตลอดไป ความตายไม่ได้จำกัดข้อบังคับแห่งความรัก เราไม่รู้รายละเอียดของชีวิตหลังจากความ


ตายจะเป็นอย่างไร แต่ความสมานฉันท์ของมนุษย์เป็นเหตุผลพอสมควรที่เรายกมาเป็นพื้นฐานของ
ความเชื่อที่ว่า คำภาวนาและกิจการแสดงเมตตาจิตของคริสตชนมีผลต่อผู้ตาย

238
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like