You are on page 1of 7

หน่วยการเรียนที่ 1

ฟรานซิส เบคอน/ โทมัส ฮอบส์/ ปิ แอร์ กัสเซนดิ

วัตถุประสงค์ประจาหน่วยการเรียน
เพื่อให้ ผ้ เู รียนสามารถ:
1. บอกสาระสาคัญของระบบปรัชญาของเบคอน ฮอบส์ และกัสเซนดิได้
2. วิเคราะห์อทิ ธิพลของระบบปรัชญาเหล่านั้นต่อระยะเริ่มต้ นของปรัชญาสมัยใหม่

ขอบข่ายของเนื้ อหาประจาหน่วยการเรียน
1. ฟรานซิส เบคอน
2. โทมัส ฮอบส์
3. ปิ แอร์ กัสเซนดิ

ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon)


(ค.ศ. 1561-1626)
นักปรัชญาอังกฤษ
งานเขียนทีโ่ ดดเด่น
- The Advancement of Learning (1605)
- The Novum Organum (1620)
มโนทัศน์ทโี่ ดดเด่น
- ปรัชญาเชิงการทดลอง (Experimental Philosophy)
- เทวรูปทั้งสี่ (The Four Idols)

ฟรานซิส เบคอน เป็ นนักปรัชญาในช่วงต้ นของศตวรรษที่ 17 เป็ นนักปรัชญาอังกฤษคนสาคัญ


มากคนหนึ่ง ในทางประวัติปรัชญา มีการบ่งถึงว่าเขาได้ รับเกียรติในฐานะในฐานะบิดาแห่งแนวคิดประจักษ์
นิยม (father of empiricism) ด้ วยเพราะเป็ นแนวคิดที่การหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ท่เี น้ นการ
สร้ างความรู้จากทดลองทางวิทยาศาสตร์ และใช้ เหตุผลรูปแบบอุปนัย (induction) (Trainer, 2005: www)
งานเขียน The Advancement of Learning (1605) ของเบคอนนั้นชี้ให้ เห็นถึงแนวคิดสาคัญของ
เขาในการที่จะลดทอนความสาคัญของวิธีการทางปรัชญาที่มีมาก่อนหน้ าเขา ซึ่งก็คือวิธีการนิรนัยจากที่
อนุมานความรู้จากกฎทั่วไป เบคอนมองว่ าการให้ ความสาคัญกับลักษณะสากลของกฎธรรมชาติว่า เป็ น
ความรู้ข้นั สูงสุดแล้ วจะไม่ยังให้ เกิดความก้ าวหน้ าในทางความรู้ท่สี ูงกว่าได้ อีก การยกย่องอาริสโตเติลที่สร้ าง
ระบบความรู้เช่นนั้นจึงกลายเป็ นสิ่งที่ไม่สร้ างความก้ าวหน้ า เป็ นสิ่งที่ล้าสมัย (Bacon, 1605/2001: 29)
ส่วนงานเขียน The Novum Organum (1620) นั้น มีช่ือเต็มว่ า Novum Organum Scientiarum
ในชื่อภาษาอังกฤษมักจะเรียกว่า New Organon ทั้งนี้กเ็ พื่อตอกยา้ แนวคิดที่เบคอนแสดงความไม่เห็นด้ วย

1
กับ อาริ สโตเติล นั ยของชื่อ หนั งสือ นี้จึ งหมายถึงการสร้ า งระบบใหม่ จากคัมภีร์เดิมของอาริสโตเติลคือ
Aristotle’s Organon นั่นเอง แนวความคิดโดยรวมจึงยังมีความต่อเนื่องจากงานเขียนชิ้นก่อนหน้ านี้ ดังเช่น
การตอกยา้ ว่าวิธีการนิรนัยของอาริสโตเติลในซิลลอจิสม์ (syllogism) นั้นไม่เพียงพอ ด้ วยเพราะเป็ นความรู้
เกี่ยวกับคาและมโนทัศน์ท่สี ับสนและได้ จากการสรุปภาพกว้ าง ๆ ที่ไม่ได้ รับการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง
มากพอ แต่ควรที่จะเห็นความสาคัญมากขึ้นกับ วิธีการอุปนัย (induction) ที่ได้ จากการเก็บตัวอย่างเฉพาะ
ก่อนนาไปสู่การสรุปกฎทั่วไป (Bacon, 1831: 32-33; aphorism 14, 19) เช่นนี้เองที่ทาให้ ในวิชาการทาง
ปรัชญามักจะกล่าวถึงแนวคิดที่โดดเด่นของเบคอน ว่าก็คือการใช้ วิธีการอุปนัยในการสนับสนุนและสร้ าง
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ถือได้ ว่าเป็ นปรัชญาเชิงการทดลอง (Experimental Philosophy) ซึ่งมองว่าการทา
การทดลองทางวิทยาศาสตร์น้ันเป็ นหนทางใหม่ของการคิด (Jalobeanu, 2016: 324) ทาให้ พิจารณาได้ ว่า
เบคอนเองก็เ ป็ นนั ก ปรั ช ญาผู้ ห นึ่ ง ที่มี ส่ ว นเบิก โรงให้ กับ หนทางของการท าปรั ช ญาที่ไ ด้ ช่ือ ว่ า ปรั ชญา
สมัยใหม่ด้วยเพราะการเริ่มแสดงให้ เห็นชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับความสาคัญของการค้ นหาความรู้ท่ภี ายหลัง
เรียกกันว่าวิทยาศาสตร์ (science) อันเชื่อว่าเป็ นระบบความรู้ท่อี ธิบายได้ อย่างมีความเป็ นเหตุเป็ นผล หรือ
ที่ใช้ คาเรียกว่า ความมีเหตุผล (rationality) ซึ่งเป็ นสิ่งที่ควบคู่กับสภาวะความเป็ นสมัยใหม่ (modernity)
ตามความหมายที่ศึกษาและเข้ าใจกันในปัจจุบัน
อีกประเด็นที่สาคัญในงาน New Organon ดังกล่ าว คือการที่เบคอนกล่ า วถึงเทวรูป ทั้งสี่ (The
Four Idols) ในฐานะที่ว่า เป็ นอุ ปสรรคในการสร้ างความก้ าวหน้ าในทางความรู้ของมนุ ษย์ ด้ วยเพราะ
สะท้ อนกึงการยังคงยึดถือในค่านิยมบางประการโดยไม่ต้ังคาถามหรือแสดงความสงสัย (Bacon, 1831:
35) เทวรูปทั้งสี่ประการนั้นประกอบด้ วย
(1) เทวรูปแห่ งเผ่า (Idol of the Tribe) คือการยอมรับที่จะเข้ าใจในสิ่งใด ๆ ไปตามความโน้ ม
เอียงที่หมู่ชนจะตัดสินออกมาเป็ นหลักการทั่วไปบางอย่าง โดยก็ตัดสินด้ วยด้ วยสมรรถนะของมนุษย์ อันมี
อยู่จากัด
(2) เทวรูปแห่ งถา้ (Idol of the Den) คือความโน้ มเอียงส่วนบุคคลที่มนุษย์ทุกคนมีด้วยเพราะ
เป็ นปกติท่ีมนุ ษ ย์ ตัด สิน ใจในหลายสิ่งอย่ า งผิ ดพลาด เสมือนถ้า ส่วนตัว ที่ทาให้ รั บ รู้ ความจริ งแท้ ข อง
ธรรมชาติอย่างบิดเบือน
(3) เทวรูปแห่งตลาดนัด (Idol of the Market) คือภาษาที่มนุษย์ใช้ ติดต่อสื่อสารกันนั้นเองที่ ตัว
มันเองก็เป็ นกรอบที่ทาให้ เกิดขีดจากัดในการยอมรับความรู้บางประการ หรือคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เกินที่ภาษา
ของเขาจะมีได้
(4) เทวรู ป แห่ ง โรงละคร (Idol of the Theater) คื อ ระบบปรั ช ญาหรื อ แนวความคิ ด ที่ม นุ ษย์
ยอมรับในการใช้ อธิบายในศาสตร์ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้มีฐานะสมมติราวกับว่าเป็ นตัวละครที่โลดแล่นมีบทบาท
หนึ่ง ๆ ทว่ามนุษย์กลับตีค่าราวกับว่านั่นคือระบบความคิดที่มีฐานะของความจริงแท้ (Bacon, 1831: 36-
37)
ในงาน New Organon เล่มเดียวกันนั้น แสดงให้ เห็นอย่างชัดเจนว่ าเบคอนโต้ แย้ งตรรกศาสตร์
ของอาริสโตเติลว่าเป็ นวิธีการที่สร้ างผลเสียต่อการหาความรู้ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เบคอนมองว่าฝ่ าย
พวกที่ได้ ช่ ือว่ าหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์มาก่อนเขานั้น ไม่ว่าจะพวกถือข้ อมูลที่เก็บจากประสบการณ์
(empirics) หรือพวกถือความยึดมั่นในหลักการไม่คิดจะตรวจสอบ (dogmatical) ต่างก็มีจุดอ่อนด้ อย โดย

2
ทั้งนี้เบคอนใช้ การอ้ างเหตุผลเปรียบเทียบเพื่อสร้ างข้ อโต้ แย้ ง กล่าวคือเปรียบเทียบว่าพวกถือข้ อมูลที่เก็บ
จากประสบการณ์น้ันทาตัวเหมือนมด (ants) ที่เอาแต่เก็บข้ อมูลไปเรื่อย ๆ มาจดมาจาเอาไว้ แต่แล้ วก็
ไม่ได้ สร้ างความรู้อะไรออกจากข้ อมูลเหล่านั้น พวกยึดมั่นในหลักการไม่คิดจะตรวจสอบนั้นทาตัวเหมือน
แมงมุม (spiders) คือได้ แต่สร้ างใยที่แม้ ดูใหญ่โตเพียงใดก็ยังบางเบาไม่เป็ นหลักเป็ นฐานที่ม่ันคงในทาง
เหตุผลได้ จริงเพราะได้ แต่พ่ึงพาจากการครุ่นคิดนามธรรมเชิงเหตุผล แต่นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติท่มี ี
ความสามารถที่แท้ จริงต้ องทาทั้งการเก็บข้ อมูลจากประสบการณ์และครุ่นคิดหาเหตุผลโดยมีข้อมูลทาง
ประสบการณ์เหล่ านั้น หนุ นน าอยู่ ไม่ใช่ ทาขึ้นจากการครุ่น คิดเชิงมโนทัศน์ อย่ า งเดียว ความสามารถที่
แท้จริงของนักวิทยาศาสตร์แบบนี้เบคอนเปรียบเทียบกับผึ้ง (bees) ที่ร้ จู ักหานา้ หวานจากดอกไม้ และแปร
รูปเพื่อเก็บสิ่งเหล่านั้นเป็ นนา้ ผึ้งด้ วยความสามารถของพวกมันเอง (Bacon, 1831: 70)
สาหรับประโยคที่เป็ นที่ร้ จู ักกันโดยทั่วไปว่า “ความรู้คืออานาจ” นั้น ก็มักจะเป็ นที่กล่าวถึงกันว่ามี
ที่มาจากงานเขียนของฟรานซิส เบคอนด้ วย ซึ่งก็ถือได้ ว่ามีส่วนถูกต้ อง เพราะในงานเขียนชิ้นหนึ่งที่ช่ือว่า
Meditationes Sacrae (1597) บทที่ 11 ว่าด้ วย Heresies นั้น ก็กล่าวถึงอานาจของพระผู้เป็ นเจ้ าในการที่
พระองค์ทรงมีความรู้ โดยหากมนุษย์เข้ าใจสิ่งใดผิดก็ย่อมหมายว่าไม่ได้ กาลังรู้อย่างแท้ จริงซึ่งความรู้และ
อานาจของพระผู้เป็ นเจ้ า ทั้งนี้เบคอนขยายความว่า “...ด้ วยความรู้น้ันเองคืออานาจโดยวิถีซ่ึงพระองค์ได้
ทรงรู้ ” ในที่ น้ ี แปลจากภาษาอั ง กฤษคื อ “…for knowledge itself is a power whereby he knoweth”
(Bacon, 1825: 219; Montagu’s edition)
เห็นได้ ว่าเดิมนั้นประโยคที่ร้ ูจักกันโดยทั่วไปดังกล่าวดูแล้ วเบคอนจะหมายถึงความสัมพันธ์ของ
อานาจและความรู้ในฐานของพระผู้เป็ นเจ้ า ในสิ่งที่พระผู้เป็ นเจ้ าจะทรงมีได้ ซึ่งแตกต่างจากความเข้ าใจ
ปัจจุบันในประโยคดังกล่าวที่มองในฐานของมนุษย์ว่าผู้ท่สี ามารถกุมความรู้ได้ มากย่อมเสมือนว่ามีอานาจ
มากด้ วย อย่างไรก็ดี สันนิษฐานว่าที่มาของความเข้ าใจในปัจจุบันเช่นนั้น ก็น่าจะมาจากนักปรัชญาภายหลัง
จากเบคอนไม่นานนักนั่นเอง ซึ่ งก็คือโทมัส ฮอบส์ ซึ่งก็มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยเดียวกันนั้น (ดังที่ผ้ ูเขียนจะได้
กล่าวในรายละเอียดของหัวข้ อถัดไปที่เกี่ยวกับนักปรัชญาผู้น้ ีโดยตรง)

โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)


(ค.ศ. 1588-1679)
นักปรัชญาอังกฤษ
งานเขียนทีโ่ ดดเด่น
- Leviathan (1651, English/ 1668, Latin)
มโนทัศน์ทโี่ ดดเด่น
- อัตนิยมทางจริยศาสตร์ (Ethical Egoism)
- ทฤษฎีสญั ญาประชาคม (Social Contract Theory)

โทมัส ฮอบส์ เป็ นนักปรัชญาอังกฤษ เป็ นที่ร้ ูจักในวงวิชาการปรัชญาว่าเป็ นผู้วางรากฐานคนสาคัญ


ให้ กับทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ท่ีอธิบายจากธรรมชาติของมนุ ษย์เองว่ าเป็ นที่มาที่สาคัญของสังคมและ
การเมือง ทั้งนี้กเ็ ห็นได้ จากงานเขียนที่โดดเด่นของเขาเอง ซึ่งก็คือ Leviathan (1651/1668) ที่ต้งั ชื่อตาม

3
สัตว์ใหญ่ท่ดี ุร้ายน่าเกรงขามดังปรากฏในคัมภีร์ไบเบิล ฮอบส์เริ่มต้ นในหนังสือของเขาด้ วยการกล่ าวถึง
ธรรมชาติของการเป็ นมนุษย์ท่เี ป็ นไปตามทฤษฎีสสารนิยมและจักรกลนิยม คือมองว่า “ผัสสะ” (sense)
เป็ นสิ่งสาคัญ ที่สร้ า งความเป็ นไปของชีวิตมนุ ษย์ ทั้งนี้เพราะเป็ นสิ่งที่คอยตอบสนองสิ่งเร้ า ตามกฎเชิ ง
จักรกลของการเคลื่อนไหว (motion) เช่นหิวกระหายสิ่งที่ดีต่อผัสสะ หรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็ นอันตรายต่อ
ผัสสะ เช่ นนี้แล้ วก็ทาให้ มนุ ษย์มีธรรมชาติท่ีจาเป็ นอยู่เองจะต้ องเห็นแก่ความอยู่รอดของตน ทว่ าด้ วย
ศักยภาพเชิงเหตุผลที่มนุษย์มี ก็จะค้ นพบในที่สดุ ว่า ในสภาวะธรรมชาติ (a state of nature) นั้น การที่ต่าง
คนต่างเห็นแก่ความอยู่รอดของตนจะทาให้ เกิดความหวาดระแวงตลอดเวลา จนการทาลายผู้อ่นื ให้ ได้ ไว้
ก่อนจะเป็ นสิ่งที่รับประกันว่าตนจะจะอยู่รอด เช่นนี้กถ็ ือได้ ว่าเป็ นสภาวะของ “สงครามที่ทุกคนจะทาต่อ
กัน” (the war of all against all) (ฮอบส์กล่าวสรุปเช่นนี้ในภายหลังงาน Leviathan) ซึ่งกลับกลายเป็ นสิ่ง
ที่ ต รงกั น ข้ า มกั บ ความอยู่ ร อดปลอดภั ย เสี ย เอง เพราะเป็ นชี วิ ต ที่ อ ยู่ ยื น ยาวได้ ล าบาก ( Hobbes,
1651/1909: 99) ทว่าความที่มนุษย์น้ันยังคงถือความอยู่รอดของตนเองไว้ เป็ นหลักใหญ่ ก็เหนี่ยวนาให้
มนุษย์เลือกที่จะสร้ างความร่วมมือกันเพื่ ออย่างน้ อยก็มีข้อรับประกันว่าจะไม่เกิดสงครามเช่นที่ว่านั้น การ
สร้ างความร่วมมือเช่นนี้กถ็ ือได้ ว่าเป็ นพันธสัญญา (contract) ที่มนุษย์ต่างให้ ต่อกันและกันเพื่อจะลดสิทธิ
ตามธรรมชาติท่ีตนเคยทาอะไรก็ได้ เพื่อความอยู่รอดในสภาวะธรรมชาติ และถ่ายโอนไปสู่ผ้ ูท่ีจะเข้ ามา
ปกครองเพื่อเสมือนเป็ นผู้ประกันว่าทุกคนที่ร่วมทาพันธสัญญาจะรักษาคามั่นของการไม่ทาร้ ายกันจาก
ความหวาดระแวงนี้ (Hobbes, 1651/1909: 102)
การอธิบายเช่นนี้เองที่เป็ นที่มาของทฤษฎีการเมืองในรูปแบบทฤษฎีพันธสัญญาทางสังคม (social
contract theory) และเป็ นส่วนหนึ่ งของการมี ทฤษฎีในทางจริ ยศาสตร์ ท่ีช่ือว่ า อัตนิ ยมทางจริ ยศาสตร์
(ethical egoism) นั่นก็คือแนวความคิดที่ว่าการกระทาที่ถูกต้ องในทางจริยธรรมของมนุษย์น้ันมีพ้ นื ฐานมา
จากความเห็นแก่ตัว หรือก็คือความเห็นแก่ตัวนี้เองเหนี่ยวนาให้ มนุษย์ทาสิ่งที่ดีท้งั ต่อตนเองและผู้อ่นื ได้ มี
การพิจารณาโดยนักปรัชญาหลายคนว่าฮอบส์เองก็น่าจะมีจุดยืนในทานองนี้ท่วี ่าความเห็นแก่ตัวเป็ นที่มา
ของการท าดี เ พื่ อ ผู้ อ่ืน หรื อ ก็คื อ การท าดี เ พื่ อผู้ อ่ืน ของมนุ ษ ย์ น้ั น ลึ ก ๆ แล้ ว ถู ก ผลั ก ดั น โดยการเห็น
ประโยชน์ในส่วนของตนไม่มากก็น้อย ทว่าในปัจจุบันก็มีแนวเหตุผลที่แย้ งว่าฮอบส์เองไม่ได้ มีจุดยืนแบบนี้
(Chung, 2016)
ในส่วนของประเด็นว่าด้ วยอานาจและความรู้น้ัน ดังที่ได้ กล่าวไปข้ างต้ นแล้ วว่ามีท่มี าจากข้ อเขียน
ของฟรานซิส เบคอน ทว่าในขณะที่เบคอนกล่าวถึงมโนทัศน์เหล่านั้นในฐานของพระผู้เป็ นเจ้ า ไฉนเลย
ความหมายตามนั ย ที่ป รากฏในปั จ จุ บัน กลับ ชี้ ว่ า หมายถึง การกุ มอานาจของมนุ ษย์ ท่ีมี ความรู้ ผู้เขีย น
สันนิษฐานว่า ประโยคดังกล่าวน่าจะเป็ นที่ร้ จู ักโดยกว้ างขวางกันแล้ วในช่วงเวลานั้น และฮอบส์กน็ ามาปรับ
ใช้ ในงานชิ้นที่โด่งดังที่สดุ ของเขาก็คือ Leviathan (1651) ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกในภาษาอังกฤษ ปรากฏใน
ส่วนที่ 1 ว่ าด้ วยมนุ ษย์ (Of Man) ในบทที่ 10 ของส่วนดังกล่ าว ก็มีการพรรณนาถึงคุณลักษณะหลาย
ประการที่เป็ นส่วนหนึ่งของอานาจโดยที่การมีความรู้กเ็ ป็ นหนึ่งในสิ่งที่ฮอบส์กล่าวถึงอยู่ด้วย (Hobbes,
1651/1909: 66-67)
อย่างไรก็ดี เป็ นที่ทราบกันอยู่ก่อนแล้ วว่าหลังจากที่ฮอบส์เผยแพร่งานเขียนชิ้นนี้เป็ นภาษาอังกฤษ
อีกไม่ก่ปี ี ต่อมาก็เผยแพร่ในภาษาละตินตามธรรมเนียมนิยมในยุคนั้น ในภาษาละตินนี้เองที่กน็ ่าจะชัดเจน
ยิ่งขึ้นถึงการเป็ นที่มาของประโยคดังกล่ าว ดังเช่นที่เห็นได้ จากการเขียนใหม่ในบทว่า ด้ วยมนุ ษย์น้ัน เอง

4
ฮอบส์กล่าวว่าสิ่งที่มนุษย์ต้องการไขว่คว้ ามาคืออานาจ “ด้ วยเพราะความร่ารวย ความรู้ และเกียรติ ต่างก็
เป็ นสิ่งในประเภทต่าง ๆ ของอานาจนั้นเอง” (For riches, knowledge, and honour are but several sorts
of power.) (Hobbes, 1994: 41)

ปิ แอร์ กัสเซนดิ (Pierre Gassendi)


(ค.ศ. 1592-1655)
นักปรัชญาฝรั่งเศส
งานเขียนทีโ่ ดดเด่น
- Exercitationes paradoxicae adversus Aristoteleos (Paradoxical Exercises Against the Aristotelians)
- Syntagma philosophicum (Philosophical Treatise)
มโนทัศน์ทโี่ ดดเด่น
- อณูนิยม (Corpuscularianism)

ปิ แอร์ กัสเซนดิ เป็ นนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส โดยในทางวิทยาศาสตร์น้ันเขา


เป็ นที่ร้ ูจัก ในฐานะบุคคลแรกสุดที่แ สดงหลักฐานของการที่ดาวพุธโคจรผ่านหน้ าดวงอาทิตย์ (Fisher,
2013: Section 1) ผลงานสาคัญชิ้นหนึ่งของเขาคือ Exercitationes นั้นก็แสดงให้ เห็นถึงแนวคิดในทาง
ปรัชญาของเขาที่โต้ แย้ งกับระบบปรัชญาของอาริสโตเติล รวมทั้งโต้ แย้ งกับระบบปรัชญาของนักปรั ชญาร่วม
สมั ย กับ เขาด้ ว ยคื อ เดส์ ก าร์ ต ส์ จุ ด ส าคั ญ ของระบบปรั ช ญาของกั ส เซนดิ น้ั น คื อ การวางรากฐานของ
วิทยาศาสตร์ด้วยปรัชญาประจักษ์นิยมที่ศึกษาปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยมีฐานจากประสบการณ์ จุดโต้ แย้ ง
สาคัญที่มีต่ออาริสโตเติลก็คือในขณะที่อาริสโตเติลจะมองว่าปรากฏการณ์ท่ดี าเนินในโลกนั้นมีหลักการแห่ ง
ความจาเป็ นบางประการคอยขับเคลื่อนอยู่เบื้อหลัง แต่กัสเซนดิเห็นว่าไม่มีซ่ึงหลักการแห่ งความจาเป็ น
อะไรแบบนั้นอยู่จริง ปรากฏการณ์ใด ๆ ก็เคลื่อนไปตามแนวทางของจักรกลนิ ยม (mechanism) และ
สาหรับเดส์การ์ตส์ท่รี ่วมสมัยกับเขานั้นจะขับเคลื่อนระบบปรั ชญาด้ วยการเน้ นสิ่งนามธรรมดังเช่นจิตเพื่อ
โยงเข้ ากับความรู้ท่ไี ด้ จากการรับรู้โดย “ตัวฉัน” ผู้ท่กี าลังรู้ จนกระทั่งว่าตัวฉันสามารถกลายเป็ นมูลฐาน
ของความรู้ประการใด ๆ ในโลกภายนอกได้ ทว่ากัสเซนดิ กโ็ ต้ แย้ งแนวเหตุผลการแสดงซึ่งการรู้โดยใช้ ตัว
ฉันเช่นนั้น ทั้งนี้กเ็ พื่อชี้แจงว่าความรู้ของมนุษย์ย่อมได้ จากการสังเกตเชิงประจักษ์ ในโลกภายนอก การอ้ าง
ว่ามีแก่นสารแห่ งตัวฉันไม่ใช่ส่ิงที่สังเกตเชิงประจักษ์ได้ อีกทั้ง การที่ไปนามันมาเป็ นมูลฐานได้ ด้วยนั้น ไม่
อาจเป็ นที่ยอมรับได้ กัสเซนดิมองว่าการมีความรู้ของมนุษย์ย่อมประกอบด้ วยความไม่ อาจแน่ใจไปได้ เสีย
ทั้งหมดแบบนั้น เพราะเมื่อเชื่อและอ้ างว่าได้ ร้ แู ล้ วซึ่งสิ่งหนึ่ง ๆ เราก็ยังเหลือที่แห่งความสงสัยบางประการ
ได้ เสมอว่าสิ่งนั้น ๆ จะเป็ นเช่นนั้นจริงแน่แท้ได้ อย่างนั้นหรือไม่ แต่อย่างไรเสียเราก็ไม่ปฏิเสธซึ่งความรู้ท่กี ็
ได้ มาจากประสบการณ์เชิงประจักษ์เหล่านั้น แนวทางของกัสเซนดิเช่นนี้ทาให้ เห็นได้ ว่าเขาเองก็ใช้ แนวทาง
ของวิมัตินิยมมาสร้ า งระบบปรั ชญา ซึ่งก็คือมองว่ าสิ่งใด ๆ ก็สามารถเป็ นที่น่าสงสัยได้ ทว่ าเขากลับ มี
แนวทางของการมองว่าความสงสัยดังกล่าวก็อาศัยแนวทางของความรู้จากประสบการณ์เชิงประจักษ์อยู่ดี
และก็ทาให้ มนุษย์มีการแยกแยะได้ ว่าอะไรคือความเชื่อที่มีความสงสัยได้ มาก หรืออะไรที่ใกล้ จะเป็ นความ

5
เชื่อที่เริ่มมีความแน่นอนได้ มากขึ้นแล้ ว แนวทางเช่นนี้ของเขาจึงได้ รับการพิจารณาชื่อว่าเป็ นวิมัตินิยมเชิง
สร้ างสรรค์ (constructive skeptics) (Fisher, 2013: Section 3)
ในส่วนของทฤษฎีอณูนิยม (Corpuscularianism) นั้นเขาได้ ปรับใช้ จากแนวคิดอะตอมนิยมของ
เอปิ คิวรัส และมีจุดเด่นด้ วยตรงที่เขาแสดงให้ เห็นถึงการผสานระหว่างทรรศนะสสารนิยมแบบเอปิ คิวรัส
นั้นเข้ ากับความเชื่อในคริสต์ศาสนาเกี่ยวกับพระเจ้ า โดยทั้งนี้กัสเซนดิมองว่าพระเจ้ าเป็ นผู้สร้ างจักรวาลจึง
ทาให้ ป ริ ภูมิ (space) และเวลา (time) เป็ นสิ่งที่จากัด แต่ ส่ิงสร้ า งใด ๆ นั้ น ก็ป ระกอบขึ้นจากอณูหรือ
อนุภาคแบบที่เอปิ คิวรัสนั้นกล่าวเอาไว้ โดยที่พระเจ้ าสร้ างสิ่งเหล่านั้นให้ อยู่กับพื้นที่ของปริภูมิและเวลา
วัตถุ ท้ังหลายจึ งเป็ นสิ่งสร้ างสรรค์เชิงวัตถุ (material Creation) และตัวมัน เองได้ รั บ การสร้ า งสรรค์ให้
สามารถเคลื่อนไหวในลักษณะอาการและระดับต่าง ๆ กันไป (Fisher, 2013: Section 5)

คาถามประจาหน่วยการเรียน
1. ในช่วงต้ นของศตวรรษที่ 17 มีความตื่นตัวอย่างมากในการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ท่านเห็นว่า
บรรยากาศเช่นนี้มีส่วนสาคัญอย่างไรบ้ างในแนวคิดทางปรัชญาของเบคอนและกัสเซนดิ
2. ท่า นเห็น ด้ วยหรื อ ไม่ กับ การกล่ า วว่ า “ความรู้คืออานาจ” โดยเฉพาะจากแนวการอธิบ ายโดย
เบคอนที่ช้ ีว่าการแสวงหาความรู้อย่างไม่ลดละเป็ นหนทางประการหนึ่งในการแสดงออกซึ่งการ
สรรเสริญในพระปรีชาญาณของพระเจ้ า จงให้ เหตุผลประกอบคาตอบ
3. ความเชื่อมโยงระหว่างปรัชญาสสารนิยมของฮอบส์ ที่เชื่อมเข้ ากับแนวคิดที่ว่ามนุษย์เห็น แก่ตัว
และนามาสู่การสร้ างสัญญาประชาคมในที่สดุ นั้น เป็ นไปได้ อย่างไร จงอธิบายความเชื่อมโยงเหล่านี้
ตามความเข้ าใจของท่าน

รายการอ้างอิง
Bacon, Francis. (1605/2001). The Advancement of Learning. Edited by G. W. Kitchin and with an
Introduction by Jerry Weinberger. Philadelphia: Paul Dry Books.
Bacon, Francis. ( 1825). The Works of Francis Bacon, Lord Chancellor of England, Volume 1.
Edited by Basil Montagu. London: William Pickering.
Bacon, Francis. (1831). The Works of Francis Bacon, Lord Chancellor of England, Volume 14.
Edited by Basil Montagu. London: William Pickering.
Chung, Hun. (2016). Psychological Egoism and Hobbes. In Filozofia 71(3): 197-208.
Fisher, Saul. (2013). Pierre Gassendi. An Entry in Stanford Encyclopedia of Philosophy. Available
Online: < https://plato.stanford.edu/entries/gassendi/ > Accessed November 1st 2020.
Hobbes, Thomas. (1651/1909). Hobbes’s Leviathan. Reprinted from the Edition of 1651 with an
Essay by the Late W. G. Pogson Smith. London: Oxford University Press.
Hobbes, Thomas. ( 1994) . Leviathan: With Selected Variants from the Latin Edition of 1668.
Edited with Introduction by Edwin Curley. Indianapolis: Hackett.

6
Jalobeanu, Dana. (2016). Disciplining Experience: Francis Bacon’s Experimental Series and the Art
of Experimenting. In Perspectives on Science 24(3): 324-342.
Trainer, Chad. (2005). Finding a Philosophy in Leonardo. In Philosophy Now, a magazine of ideas. Issue 50.
Available online: < https://philosophynow.org/issues/50/Finding_a_Philosophy_in_Leonardo>

You might also like