You are on page 1of 11

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองตามความเชื่อทาง

ศาสนา และความต้องการครัง้ สุดท้ายของชีวิต

ความตายเป็ นภาวะที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การมีชีวิตอยู่ระหว่างความเป็ น และความตายในเวลาอันจำกัด ก่อให้เกิด
ความเศร้าโศก และความทุกข์ทรมานอย่างมากกับผู้ป่วยและญาติ ความ
ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพิ่มมากขึน
้ และจำเป็ น
ต้องใช้ชีวิตในวาระสุดท้ายอยู่ใน โรงพยาบาล ทีมสุขภาพ และครอบครัวมี
บทบาทสำคัญในการดูแลผูป
้ ่ วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีดุลยภาพทัง้ ด้าน
ร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ ให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบและมี
์ รี แต่การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะระยะ สุดท้ายให้จากไปอย่างสงบ
ศักดิศ
์ รีนน
และมีศักดิศ ั ้ จำเป็ นที่ทีมการดูแลต้องมีความรู้และเข้าใจในเรื่อง
ความเชื่อทาง ศาสนา และความต้องการครัง้ สุดท้ายของผู้ป่วย ซึ่งการ
ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องดูแลครอบคลุมทัง้ มิติทางกาย ใจ สังคม และ
จิตวิญญาณ

การดูแลแบบประคับประครองเป็ นการดูแลที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
ของผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคที่

คุกคามต่อชีวิตโดยให้การป้ องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆที่
เกิดขึน
้ กับผู้ป่วยและครอบครัว ทีค
่ รอบคลุมทุก มิติของสุขภาพ มีเป้ า
หมายหลักของการดูแล เพื่อลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และทำให้ผู้
ป่ วยได้จากไปอย่าง สงบตามความเชื่อของศาสนาซึ่งมีความเชื่อที่เป็ นไป
ในแนวเดียวกัน คือ ให้ผู้ป่วยจดจ่อกับสิ่งที่ดีงามและสงบสุข และ
สอดคล้องกับความต้องการครัง้ สุดท้ายของผู้ป่วยที่แสดงเจตนารมณ์ก่อน
ตายที่จะไม่ย้อ
ื ชีวิตด้วยความทุกข์ ทรมาน

ความเชื่อทางศาสนา

ศาสนาเป็ นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ แต่ละศาสนามีแนวทางหรือคำสัง่


สอนที่แตกต่างกัน หลาย ศาสนาเชื่อว่าการตายดี หรือการตายอย่างสงบ
และมีสติเป็ นเรื่องสำคัญ ความเชื่อทางศาสนาของผู้ป่วยและ ครอบครัวมี
อิทธิพลต่อความตายของผู้ป่วย การดูแลจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ความเชื่อทางศาสนาของผู้ป่วย และให้การช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง ดังนี ้

ความเชื่อทางพุทธศาสนา หลักคำสอนของพุทธศาสนา คือ การ


ทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส และเห็นว่า การเกิด แก่
เจ็บ และตายเป็ นทุกข์ พระศรีปริยัติโมลี (2547 อ้างถึงใน คณะ
อนุกรรมการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เครือข่ายชาวพุทธเพื่อ พระพุทธศาสนาและสังคมไทย ,2547) กล่าวว่า
มนุษย์มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ตลอดเวลา มนุษย์ทุกคนเกิด และตายใน
ชาติภพต่างๆมานับครัง้ ไม่ถ้วน ในระหว่างที่มีชีวิตจึงต้องพยายามทำแต่
ความดีเพื่อที่จะพัฒนาตนเอง ให้เลื่อนไปสู่ภพภูมิที่สูงขึน
้ จนสุดท้ายจะได้
หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด คือ การเข้าสู่นิพพานซึ่งเป็ นสภาวะ พึง
ประสงค์ที่สุดของชีวิตที่ปราศจากทุกข์
เนื่องจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในพุทธศาสนานัน
้ ถือเป็ นสิง่ ที่อยู่ใน
กระแสเดียวกันและมีการไหลเลื่อน อยู่ตลอดเวลา มนุษย์จักต้องมอง
ความจริงให้เห็น ให้เข้าใจอย่างรอบด้าน และปฏิบัติต่อสิ่งนัน
้ ตามความ
เป็ นจริง หากเข้าใจได้ ความตายจะไม่ใช่สิ่งน่ากลัว แต่เป็ นเพียงสิง่ หนึ่งใน
กระแสชีวิตที่ต้องเผชิญเท่านัน
้ ในช่วงเวลาใกล้ตาย (มรณสัญณกาล) จิต
ดวงสุดท้ายที่จะเคลื่อนออกจากภพนีไ้ ปเรียกว่า จุติจิต ในช่วงนีม
้ นุษย์จะ
เผชิญกับสภาวะจิตใน 2 ลักษณะสลับสับเปลี่ยนกันไป

คือ 1. จิตที่ขน
ึ ้ มารับอารมณ์

2. จิตที่หลับไป ผูป
้ ่ วยใกล้ตายมักจะอยู่ในสภาวะจิตเช่นนี ้ ซึ่งจะมี
แต่อารมณ์ในอดีต จิตอาจจะเห็น ภาพการกระท าในอดีต เป็ นกรรมดี
หรือกรรมชั่ว เรียกว่า กรรมนิมิต หรืออาจจะเห็นเป็ น คตินิมิต คือ เห็น
ภาพ ภพภูมิที่จะได้ไปอยู่หลังจากตายแล้ว

ศาสนาพุทธ มีประเพณี “การบอกหนทาง” ให้แก่ผู้ที่กำลังจะตาย


เป็ นการพูดจูงใจให้เตรียมสติให้ผู้ที่ กำลังจะตาย ระลึกถึงกรรมดีหรือบุญ
กุศลที่เคยทำไว้ หรือบอกให้นึกถึงพุทโธ พุทโธ ไปเรื่อยๆ จนสิน
้ ลม
อย่างไรก็ ตามเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่มรณาสันนวิถี ซึ่งเป็ นวิถีสุดท้ายซึ่งใกล้ชิด
กับความตายอย่างมาก ผู้ป่วยจะไม่สามารถรับรู้สิ่งใด ได้เลย ดังนัน
้ การ
บอกหนทาง หรือการให้สติแก่ผู้ป่วยควรกระทำในตอนต้นๆ ของมรณา
สันนกาลในขณะที่ยังพอ มีสติดีอยู่

แนวคิดการดูแลผู้ป่วยวิถีพุทธ

แม้ว่าในศาสนาพุทธแบบเถรวาท จะไม่มีพิธีกรรมอะไรเป็ นพิเศษ


แต่มีผู้สรุป แนวคิดในการดูแลผู้ป่วยตามวิถีพุทธ 11 ไว้ว่า มีวิธีการ
คือ 1. การดูแลสุขภาพกาย โดยเน้นเรื่องปั จจัยที่จำเป็ นพื้นฐาน คือ
อาหาร ยา เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และที่พักอาศัย ให้มีความสะอาด สงบ
เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย อีกทัง้ ดูแลการใช้ตา หู จมูก ลิน
้ และกาย
อย่างระมัดระวัง และให้เป็ นไปในทางกุศล

2. การดูแลในมิติทางศีล คือ มีความสัมพันธ์ที่ดี เกื้อกูล เห็นอก


เห็นใจ เข้าใจต่อ กันระหว่างผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล ซึง่ ความสัมพันธ์ที่ดี
จะส่งผลต่อกำลังใจที่ดีของผู้ป่วย

3. การดูแลในมิติทางจิตใจ โดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสภาวะจิตที่เข้ม
แข็ง มี คุณธรรม มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียด มีความสงบ ซึง่ อาจทำได้โดย
การทำสมาธิ ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และคุณงามความดี
ที่ได้กระทำมา

4. การดูแลในมิติทางปั ญญา เช่น การรับฟั งรายละเอียดการดูแล


รักษาจาก แพทย์ แล้วใคร่ครวญอย่างมีสติ เข้าใจชีวิตและอาการของโรค
ตามความเป็ นจริง มีกำลังใจ ที่จะดูแลตนเองให้ดี

ความเชื่อทางศาสนาคริสต์ศาสนาคริสต์ (คาทอลิก) มีความเชื่อ


ว่าชีวิตมนุษย์มาจากพระเจ้า ตลอด ช่วงการดำเนินชีวิต พระเจ้าจะให้
ปั จจัยที่จะดำเนินชีวิตด้วยความดีไว้ให้ นอกจากนีย
้ ังเชื่อในเรื่องดวง
วิญญาณที่ ถาวรในโลกหน้า ซึ่งพระเจ้าจะเป็ นผู้กำหนดเวลาที่คนจะก้าว
ไปสู่อีกโลกที่สมบูรณ์กว่านีใ้ ห้อีกเช่นกัน ชั่วชีวิตใน โลกนีเ้ ป็ นเวลาชั่วคราว
เท่านัน
้ ความตายไม่ใช่จุดสิน
้ สุด แต่เป็ นจุดเริ่มต้นสู่การไปพบพระเจ้า ดัง
นัน
้ คาทอลิกให้ ความสำคัญกับช่วงเวลาก่อนตายไม่น้อยกว่าเวลามีชีวิต
ถือว่าเป็ นช่วงเวลาที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็ นโอกาสสุดท้ายที่คน จะ
เปลี่ยนแปลงความรู้สึกผิดพลาดเกี่ยวกับการกระทำในอดีตได้ ฉะนัน
้ จึง
ไม่เห็นด้วยกับการฆ่าเพื่อยุติความ เจ็บปวด เพราะคนสามารถเปลี่ยน
ความเจ็บปวด ความยากลำบาก ความทุกข์ทรมาน และน้ำตา เป็ นกุศลได้
(บรรจง สันติสุขนิรันดร์, 2547 อ้างถึงใน คณะอนุกรรมการพัฒนาการ
ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ เครือข่ายชาวพุทธเพื่อ
พระพุทธศาสนาและสังคมไทย, 2547)

พระสงฆ์หรือบาทหลวงหรือญาติสามารถช่วยทางจิตวิญญาณ โดย
อภัยบาปในนามของพระเจ้า เพราะผู้ป่วยระยะนีม
้ ักจะคิดถึงความผิดใน
อดีต ทำให้กังวล หวาดกลัว โดยการอ่านพระคัมภีร์ตอนที่กล่าวว่าพระ
เจ้ามีเมตตา ให้อภัยลูกตลอดเวลา กล่าวซ้ำๆเพื่อให้เขาสงบและไว้ใจใน
พระเมตตาของพระเจ้า อ่านคัมภีร์ที่เกี่ยวกับเรื่องความตายให้ฟังเพื่อให้มี
สติตลอดเวลา ให้ศีลศักดิส์ ิทธิแ์ ห่งพระกายของพระเจ้า ที่จะให้กำลังทัง้
กาย และวิญญาณ คือ ศีลเจิมผู้ป่วย และศีลทาสุดท้าย สำหรับผูป
้ ่ วยใกล้
ตาย บาทหลวงจะเสกน้ำมันมะกอกเจิมผู้ป่วย ๓ จุด คือ ศีรษะ และมือทัง้
๒ ข้าง

การเยียวยาความเศร้าหลังการจากไป

ความทุกข์ ความเศร้า ที่เกิดจากการสูญเสียผู้ป่วยเป็ นเรื่องธรรมดา


เราสามารถ แสดงออกถึงความเศร้าโศกได้อย่างเหมาะสม และสามารถ
เยียวยาความเศร้าได้หลายวิธี เช่น

• การบอกข่าวการตายแก่ญาติอย่างค่อยเป็ นค่อยไป รวมทัง้ เตรียม


รับ สถานการณ์ เช่น การเป็ นลม ช็อก ที่อาจจะเกิดขึน
้ ด้วย
• อย่าบังคับ รบเร้า ให้ยอมรับความตาย แต่อยู่เป็ นเพื่อน ให้กำลัง
ใจ และ รับฟั งอย่างสงบ

• รู้ถึงความเจ็บปวด ความเศร้าที่เกิดขึน
้ ยอมรับว่าความรู้สึกเหล่า
นัน
้ เป็ น เรื่องธรรมดา อย่าปฏิเสธหรือข่มไว้

• เปิ ดโอกาสให้มีการพูดคุยถึงความตายและผู้ตาย การร้องไห้


เป็ นการ ระบายและเยียวยาความเศร้าได้

• หลายคนรู้สึกผิดที่ยังไม่ได้ทำสิ่งต่างๆ ให้ผู้ตาย ให้คิดว่าเรา


สามารถทำสิ่งที่ ดีๆ เกี่ยวเนื่องกับผู้ตาย เพื่อเป็ นบุญแก่ผู้ตายได้ • เปลี่ยน
ความทุกข์ ความโศกเศร้า เป็ นโอกาสในการทำความดีเพื่อส่งบุญถึง ผู้
ตาย

• พิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ นการทำบุญหรือการสวด เป็ นกำลังใจ


สำคัญใน การเยียวยาความทุกข์ได้

• ความเชื่อตามหลักศาสนาเป็ นสิ่งที่ช่วยคลายความทุกข์ได้ เช่น


ศาสนา คริสต์และอิสลามเชื่อว่าผู้ตายจะได้ไปอยู่กับพระเจ้า

ความเชื่อทางศาสนาอิสลาม

หลักศาสนาอิสลามมีความเชื่อว่าพระเจ้า (อัลลอฮ์) เป็ นผู้สร้าง


มนุษย์ขน
ึ ้ ในโลก โดยกำหนดเวลาเกิด เวลาตายไว้ให้แล้ว มนุษย์มีหน้าที่
ต้องเคารพ ศรัทธา สักการะอัลลอฮ์ด้วยการทำความดี นอกจากนีย
้ ังเชื่อ
เรื่องโลกหน้าว่าเป็ นโลกแท้จริงที่พึงปรารถนา เป็ นชีวิตที่จรัง ยั่งยืน ชีวิต
ในโลกนีเ้ ป็ นเพียงทางผ่านสู่โลกหน้าเท่านัน
้ ความตายจงไม่ใช่การสิน
้ สุด
ชีวิตแต่เป็ นการย้ายชีวิตจากโลกนีไ้ ปยังโลกหน้าที่สุขสบายกว่า ยั่งยืนกว่า
ศาสนาอิสลามจงสอนให้มนุษย์ระลึกถึงความตายอยู่เสมอจะได้ไม่
ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี และอดทนต่อความทุกข์ ความเจ็บป่ วยที่
ผ่านเข้ามา เพราะนั่นเป็ นเพียงบททดสอบถึงความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า
ผู้ที่ท้อแท้ สิน
้ หวังกับชีวิตพึงระลึกไว้เสมอว่าพระเจ้าเป็ นที่พึ่ง และทรงมี
เมตตา ให้อภัยมนุษย์เสมอ ดังนัน
้ มนุษย์จงควรทำความดีเพื่อจะได้ใช้
ชีวิตในโลกหน้าอย่างมีความสุข (ปราโมทย์ มีสุวรรณ. 2547 อ้างถึงใน
คณะอนุกรรมการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์ เครอข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย ,2547)

ถ้าผู้ป่วยยังมีสติให้พยายามนึกถึงพระเจ้าในทางที่ดี ระลึกไว้ว่า
พระเจ้าเป็ นผูซ
้ ึ่งมีเมตตา และหวังว่าท่านจะให้อภัยในบาปต่างๆที่ได้ทำลง
ไป จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทับสีข้างด้านขวา (หากทำไม่ได้ให้นอนหงาย)
หันใบหน้าไปทางทิศกิบลัต คือทิศที่ตงั ้ ของบัยติลละอ์ในนครมักกะฮ์
สำหรับประเทศไทยคือทิศตะวันตก และให้ผู้ป่วยกล่าวคำว่า “ลาอิลา ฮา
อิลลาลลอฮ์” ซึ่งมีความหมายว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์”
โดยสอนเบาๆที่ข้างหูขว เพื่อผู้ป่วยจะเกิดความสงบ เพราะคำนีเ้ ป็ นคำที่
ประเสริฐสุด หากก่อนตายใครได้กล่าวคำนีเ้ ป็ นคำสุดท้ายจะได้ขน
ึ ้ สวรรค์
โดยไม่ถูกสอบสวน หรืออ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านบท “ญาซีน” ให้ผู้ป่วยใกล้
ตายฟั งไม่ว่าเขาจะรู้สึกตัวหรือไม่ก็ตาม อ่านคัมภีร์บทนี ้ พระเจ้าจะส่ง
ความเมตตามายังสถานที่แห่งนัน
้ ทำให้วิญญาณออกจากร่างอย่างสงบ
สบาย ไม่เจ็บปวด

จากแนวคิดและความเชื่อทางศาสนาต่างๆนัน
้ ทุกศาสนาต่างเชื่อ
ว่าการตายไม่ใช่จุดสิน
้ สุดของชีวิตหากยังมีโลกหน้า การมีจิตสุดท้ายที่สงบ
จดจ่อกับสิ่งที่ดีงาม ก็จะทำให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบสุข การดูแลผู้ป่วยที่
ใกล้ตายเมื่อวิญญาณจะออกจากร่าง จงควรให้อยู่ในสภาพที่สงบที่สุด ไม่
ว่าผู้ป่วยจะนับถือศาสนาใดก็ตาม ผู้ดูแลควรช่วยเหลือให้ผู้ป่วยจากไป
อย่างสงบทัง้ กาย จิตวิญญาณ ตามแนวทางของแต่ละศาสนาเพื่อนำไปสู่
สุคติ เมื่อผู้ป่วยเจ็บหนักใกล้จะตาย หรือเรียกว่าเข้ามรณาสันนกาลแล้ว
โสตประสาท และจักษุประสาทยังไม่ดับ สิ่งที่สำคัญในระยะนี ้ คือ การนำ
ทางจิตวิญญาณ (spiritual guidance) ไม่ว่าผู้ป่วยกำลังจะตายจาก
สาเหตุใดก็ตามเพราะทุกศาสนาต่างเชื่อในหลักกฎแห่งกรรมและชีวิต
หลังความตาย ซึง่ อาจจะมีรูปแบบและการตีความหมายที่แตกต่างกัน
เท่านัน

การรักษาผู้ป่วยมุสลิม

เมื่อเจ็บป่ วย ศาสนาบัญญัติให้รักษาโรคพร้อมทัง้ นึกถึงอัลลอฮ์ และ


ขอพรมากๆ เพื่อให้หายจากโรคด้วยอนุมัติแห่งพระองค์ โดยมีข้อห้ามใน
การรักษา คือ ห้ามรับประทาน สิง่ ต้องห้าม ห้ามการรักษาด้วยสิ่งต้อง
ห้าม เช่น สุรา เวทย์มนต์คาถา เครื่องรางของขลัง การบนบาน
ไสยศาสตร์ ฯลฯ

หากเป็ นไปได้บุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การบริการผู้ป่วยควรเป็ น
ผู้ที่มีวิชาการ และคุณลักษณะ เช่น เป็ นเพศเดียวกัน ศาสนาเดียวกัน
หากไม่มีก็อนุโลมให้เป็ นผู้ที่เป็ น เพศเดียวกัน ศาสนาต่างกัน หรือยังไม่มีก็
อนุโลมให้เป็ นผู้ที่ต่างเพศกัน แต่ศาสนาเดียวกัน หากไม่มีเลยก็อนุโลมให้
เป็ นบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไปรักษาได้
การปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิต

• ให้ปฏิบัติต่อศพอย่างนิ่มนวลเปรียบเสมือนยังมีชีวิต โดยจะต้อง
ปิ ด เปลือกตาทัง้ สองของผู้ตายให้สนิท

• ใช้ผ้าคาดบริเวณใต้คางและผูกเข้ากับศีรษะ เพื่อป้ องกันไม่ให้ปาก


ของ ผู้ตายเปิ ดอ้า ควรดูแลข้อต่อส่วนต่างๆ ในร่างกายให้คงยืดหยุ่นได้
เพื่อให้การชำระล้างทำความสะอาดศพทำได้สะดวก ควรถอดเสื้อผ้า ผู้
ตายออก เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมมแก่ร่างกาย ใช้ผ้าบางๆ คลุมร่าง ผู้
ตายให้มิดชิด ห่อศพด้วยผ้าขาว ใช้วัตถุที่เหมาะสมวางบนท้องของ ผู้ตาย
เพื่อป้ องกันไม่ให้ศพบวมฉุ

• อนุญาตให้นำศพออกจากโรงพยาบาลอย่างเร็วที่สุด เพื่อไปทำพิธี
ทาง ศาสนา โดยปกติต้องทำให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมงหลังการตาย ไม่
อนุญาตให้ผ่าศพหรือกระทำการใดๆ อันเกิดความเสียหายต่อศพ

• เมื่อได้รับข่าวการตายของพี่น้องมุสลิม มุสลิมจะกล่าวว่า “อินนา


ลิล ลาฮิ วะอินนา อิลัยฮิรอญิอูน” ซึ่งแปลว่า “แท้จริงเราเป็ นของอัลลอฮ์
และยังพระองค์ที่เราต้องคืนกลับ” หลังจากนัน
้ ก็จะเดินทางไปเยี่ยม ญาติ
ของผู้ตาย และร่วมนมาซ (ละหมาด) ศพ ตลอดจนไปส่งศพที่ สุสานและ
ทำการฝั งอย่างทะนุถนอม
บรรณานุกรม

หนังสือ

กรรณจริยา สุขรุ่ง. (2553). สุขสุดท้ายที่ปลายทาง. พิมพ์ครัง้ ที่ 4.


กรุงเทพ: โครงการเผชิญ ความตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา.

เมตตานนโท ภิกขุ. (2549). ธรรมะ 5 ศาสนาในการดูแลผู้ป่วย


ระยะสุดท้าย. กรุงเทพ: บริษัททีเอ็นพี พริน
้ ติง้ จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2553). ก่อนวันผลัดใบ


หนังสือแสดงเจตนา การจากไปในวาระสุดท้าย. พิมพ์ครัง้ ที่ 4. กรุงเทพ:
ทีคิวพี บจก.

สุภาณี อ่อนชื่นจิต, ฤทัยพร ตรีตรง. (2549). การบริการสุขภาพที่


บ้าน. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
สุวภรณ์ แนวจำปา. (2554). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายใกล้ตาย
เชิงพุทธบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพ:
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

บทความ

สุวรรณา กิตติเนาวรัตน์, ชัชนาฎ ณ นคร และจอนผะจง เพ็งจาด. 2551.


“การพยาบาล ปั ญหาด้านร่างกายที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย” ใน
การดูแลผู้ป่วยระยะ สุดท้าย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์. 2551.

You might also like