You are on page 1of 16

บ ท ที่ ๑๓ ...

เทววิทยาเรื่องนรก

๑๓
มนุษย์สมัยนี้ไม่ค่อยยอมรับว่านรกมีอยู่จริง หรือไม่มีความเข้าใจว่านรก คืออะไร หลายคน
รูส้ กึ ว่านรกเป็นเรือ่ งทีห่ ลงเหลือมาจากสมัยกลาง (ราว ค.ศ. 400-1500) ซึง่ ไม่ควรนำมาพูดในสมัยนี้
บางคนคิดว่าผู้มีความเชื่อเรื่องนรก เขาหมิ่นประมาทความรู้ของมนุษย์ในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น ถ้ามอง
ในด้านเทววิทยา เรารูส้ กึ ว่าเรือ่ งนรกไม่คอ่ ยจะสอดคล้องกับแนวความคิดเกีย่ วกับความรักของพระเจ้า
ตามคำสอนในพระคัมภีร์ ถึงกระนั้น จำเป็นต้องศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนรก ดังที่พระศาสนจักร
สั่งสอน

1. คำสอนอย่างเป็นทางการของพระศาสนจักร
คำสั่งสอนของพระศาสนจักรเรื่องนรกมีไม่มากนัก แต่มีการอ้างถึงการลงโทษชั่วนิรันดรใน
นรกในเอกสารบางฉบับ เช่น ข้อเขียนที่เรียกกันว่า บทแสดงความเชื่อของพระสันตะปาปาดามาซุส
เราอ่านข้อความที่ว่า คนชั่วร้ายจะได้รับการลงโทษตลอดไป และบทยืนยันความเชื่อที่อ้างว่านักบุญ
อาทานาส (Athanasius 293-373) ได้เขียนไว้ (the Athanasian Creed) ซึ่งกล่าวว่า ผู้ที่ได้กระทำ
ความชั่วร้ายจะได้รับการลงโทษด้วยไฟนิรันดร ข้อความดังกล่าวนี้ ความพยายามให้คำนิยามเรื่องนรก

258
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

มีอยู่จริง ในฐานะที่เป็นการรับโทษนิรันดร โดยใช้ถ้อยคำตามพระคัมภีร์ ซึ่งบรรดาคริสตชนคุ้นเคย


อยู่แล้ว
ในศตวรรษที่ 6 สภาสังคายนาเมืองคอนสแตนติโนเปิลที่ 2 (Council of Constantinople
II, 553) ได้ประณามแนวคิดของผู้รื้อฟื้นคำสอนของออริเจน (Origen 185-254) ที่ว่า “ใน
ที่สุดจะมีการกลับคืนดีของสิ่งสร้างทั้งหมด รวมทั้งปีศาจและมนุษย์ที่ถูกพิพากษาให้ตกนรก” สภา-
สังคายนากลับสอนว่า “ถ้าผู้ใดถูกพิพากษาให้ตกนรกก็จะต้องอยู่ที่นั้นตลอดนิรันดร” หลายคนเข้าใจ
คำสอนนี้ผิด เหมือนกับว่าสภาสังคายนาครั้งนี้ต้องการสอนว่า ไม่มี ใครรู้ว่าจะมีคนตกนรกหรือไม่
จุดประสงค์ของการประณามไม่ใช่เรือ่ งทุกคนจะรอดพ้นหรือไม่ สังคายนาเพียงต้องการทีจ่ ะประณาม
คำสอนของออริเจนว่าไม่ถูกต้อง
สภาสังคายนาลาเตรัน (Lateran Council) ครั้งที่ 4 ปี 1215 มีการกำหนดข้อความเชื่อ
เพื่อต่อต้านชาวเมืองอัลบี (Albigensians) ว่าทุกคนจะกลับคืนชีพพร้อมกับร่างกายของตน และจะ
ถูกพิพากษาตามกิจการที่เขาได้กระทำ คนบาปจะได้รับการลงโทษตลอดไปพร้อมกับปีศาจ สภา-
สังคายนาเมืองลีอองครั้งแรก ในปี 1245 กำหนดข้อความเชื่อเป็นพระสัจธรรมว่า “ผู้ใดมีบาปหนัก
และสิ้นชีวิตโดยมิได้กลับใจจะต้องรับทรมานในนรกตลอดนิรันดรอย่างแน่นอน”
ต่อมา สภาสังคายนาเมืองลีออง (Council of Lyons) ครั้งที่ 2 ปี 1274 สภาสังคายนา
เมืองฟลอเรนซ์ (Council of Florence) ปี 1429 และสภาสังคายนาเมืองเตรนท์ (Council of
Trent) ปี 1547 มีคำสอนเรื่องนรกซึ่งอาจสรุปได้ว่า ผู้ที่สิ้นใจในสภาพบาปหนักก็จะต้องรับการลง
โทษตลอดไปนับตั้งแต่เวลานั้ การลงโทษนี้จะเป็นไปตามความหนักเบาของการกระทำของแต่ละคน
เอกสารสำคัญของสมัยกลาง คือ พระธรรมนูญที่พระสันตะปาปาเบเนดิกส์ ที่ 12 (Pope Bene-
dict XII, 1280-1342) ได้ประกาศเพื่อแก้ไขคำสอนที่ไม่ชัดเจนของพระสันตะปาปายอห์นที่ 22
(Pope John XXII, 1249-1334) ที่เพิ่งสิ้นพระชนม์ก่อนมีจะโอกาสประกาศผลการค้นคว้าของคณะ
เทววิทยาที่พระสันตะสำนัก ที่ได้พิจารณาความคิดเห็นของพระสันตะปาปาที่ว่า วิญญาณของผู้ที่จะ
รอดพ้นจะได้เข้าชมพระพักตร์พระเจ้าอย่างมีสขุ เพียงหลังจากพระเยซูเจ้าจะเสด็จกลับมาอย่างรุง่ โรจน์

259
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

เพือ่ พิพากษาผูเ้ ป็นและผูต้ าย และระหว่างทีก่ ำลังรอคอยการพิพากษา วิญญาณของผูร้ อดพ้นจะได้รบั


ความสุขยังไม่สมบูรณ์ ส่วนผู้ที่ไม่รอดพ้น ก็จะต้องรอวันพิพากษาก่อนจะตกนรก สรุปความคิดเห็น
ของพระสันตะปาปายอห์นที่ 22 ซึ่งยังไม่เป็นคำสอนทางการของพระศาสนจักร คือ “การตกนรก
ไม่ได้เริ่มทันทีหลังจากความตายแต่จะเริ่มหลังจากการพิพากษาประมวลพร้อม”
พระสันตะปาปาเบเนดิกส์ พร้อมกับคณะนักเทววิทยาของพระสันตะสำนักสอนว่า “วิญญาณ
ของผู้ที่จะรอดพ้นและไม่จำเป็นที่จะต้องรับการชำระจะได้เข้าชมพระพักตร์พระเจ้าทันที และผู้ที่ถูก
พิพากษาส่วนตัวให้ตกนรกก็จะได้รับโทษทันทีเช่นกัน” ในปี 1979 สมณกระทรวงปกป้องความเชื่อ
ย้ำอีกครั้งถึงคำสอนของสภาสังคายนาที่ได้กล่าวถึงนั้นว่า มีการลงโทษนิรันดรสำหรับผู้ที่สูญเสียมิตร
ภาพกับพระเจ้า เราพอจะสรุปคำสอนอย่างเป็นทางการของพระศาสนจักรได้ดังนี้
1. ผู้ที่ไม่รอดพ้นจะได้รับการลงโทษทันทีหลังจากความตาย และการลงโทษดังกล่าวนี้
จะคงอยู่ตลอดไป ไม่มีวันที่จะได้รับความรอดพ้นอีก
2. สภาพของนรก หมายถึง มนุษย์สูญเสียการชมพระพักตร์พระเจ้าที่นำความสุขตลอด
ไป
นอกจากนี้ สมณกระทรวงไม่ได้พูดถึงสภาวะของการลงโทษนิรันดร ดังนั้น คำสอนทางการ
ของพระศาสนจักร ไม่ได้อธิบายลักษณะของการลงโทษทั้งฝ่ายกายและฝ่ายใจ นอกจาก ความเจ็บ
ปวดที่มาจากการสูญเสียพระเจ้าและชีวิตพระ

2. พื้นฐานทางพระคัมภีร์
การเทศน์สอนของพระศาสนจักร เรือ่ งนรกมีพนื้ ฐานในพระคัมภีร์ แน่นอนว่า ช่วงแรกๆ ใน
การพัฒนาแนวคิดของฮีบรู เรือ่ งแดนผูต้ ายเป็นสิง่ ทีย่ งั ไม่ชดั เจน และดูเหมือนว่าไม่คอ่ ยจะแตกต่างกัน
ระหว่างชะตากรรมของคนดีกับคนชั่ว เพราะผู้ตายทุกคนต้องลงไปอยู่แดนผู้ตาย สภาพของผู้ตายใน
ดินแดนนี้ก็คลุมเครือ ประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาล ชาวยิวเริ่มนึกถึงความแตกต่างระหว่างชีวิต
หลังความตายของคนดีและคนชั่ว คนดีก็จะได้อยู่ในสถานที่พักผ่อนและมีสันติ คนชั่วก็จะได้อยู่ใน

260
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

สถานที่ต้องทนทุกข์และถูกลงโทษ (เทียบ อิสยาห์ 24:21, 15:11, 66:42) “คนจำนวนมากที่หลับ


อยู่ในผงคลีดินจะตื่นขึ้น บางคนจะเข้าสู่ชีวิตนิรันดร บางคนจะได้รับความอับอายและความอัปยศ
อดสูตลอดนิรันดร” (ดนล 12:2; เทียบ 2 มคค 6:26; ปชญ 4:19)
การเทศน์สอนของพระเยซูเจ้า และข้อเขียนของกลุ่มคริสตชนแรกเริ่มได้รับธรรมประเพณีน้ี
และมีส่วนในความเข้าใจของตน (ทียบ มธ 3:10ฯ; 25:41; 13:42) “เราบอกความจริงกับท่าน
ทั้งหลายว่า มนุษย์จะรับการอภัยบาปทุกประการ รวมทั้งคำดูหมิ่นพระเจ้าที่ ได้พูดออกไป แต่ใคร
ที่พูดดูหมิ่นพระจิตเจ้า จะไม่ได้รับการอภัยเลย เขามีความผิดตลอดนิรันดร” (มก 3:28-29; เทียบ ลก
16:19-31 ฯลฯ) เราอาจอ้างข้อความเช่นนี้ในพระคัมภีร์ได้หลายตอน เพื่อแสดงภาพชัดเจนของการ
ลงโทษนิรันดร นักเขียนคริสตชนสมัยแรกๆ รวมทั้งพระเยซูเจ้าพระองค์เอง ได้แสดงความคิดนี้โดย
ใช้ภาพจากวรรณกรรมประเภทวิวรณ์ ในกรณีของพระเยซูเจ้าคำสอนเรื่องนรกสะท้อนความสมดุลใน
การบรรยายรายละเอียด แต่ข้อความในพระคัมภีร์ที่เขียนภายหลัง นักเขียนเสนอความคิดของการ
ลงโทษนิรันดรโดยใช้ภาพที่น่าสะพรึงกลัว เช่น หนอน ไฟ การขบฟันด้วยความขุ่นเคือง

3. ความคิดเห็นต่างๆ ในเรื่องนรก
บรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักรไม่มีความยากลำบากในการยอมรับว่านรกมีอยู่จริง และ
ได้เขียนข้อความเรื่องนรกโดยอธิบายว่าในนรกมีไฟอย่างแท้จริง มีเพียงนักเทววิทยาผู้เดียวเท่านั้น
คือ ออริเจน ที่ได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า นรกไม่ใช่สถานที่ที่ลุกเป็นไฟ ซึ่งพระเจ้าได้ทรงสร้างขึ้นมา
แต่เป็นสภาพจิตใจที่ถูกทรมานของคนบาป ผู้คิดว่าบาปของตนทำให้เขาแยกตัวออกจากความรักของ
พระเจ้า คำสอนของออริเจนได้รับการสนับสนุนบ้างแต่ไม่ใช่จากปิตาจารย์อื่นๆ
นักบุญออกัสตินและนักบุญเกรโกรี่มหาราชใช้อำนาจคำสอนของตนเพื่อสนับสนุนทฤษฎี
ของธรรมประเพณีพระศาสนจักรทีส่ อนว่า ไฟเป็นการลงโทษในนรกอย่างแท้จริง นรกไม่ใช่การทรมาน
ตนเองของคนบาป แต่เป็นการลงโทษของพระเจ้าผู้ทรงเที่ยงธรรม และเป็นการลงโทษที่ใช้ไฟอย่าง
แท้จริง

261
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

ส่วนเรื่องนรกจะต้องอยู่ชั่วนิรันดรนั้นเป็นความจริงที่ทุกคนในสมัยแรกยอมรับเป็นเอกฉันท์
เคลเมนต์แห่งอเล็กซานเดรีย (Clement of Alexandria 150-215) เป็นคนแรกที่แสดงข้อสงสัยและ
ลังเลใจที่จะรับข้อความจริงนี้ ออริเจนหวังว่าทุกอย่างจะได้รับการไถ่กู้ในวาระสุดท้าย จะมีการฟื้นฟู
ทุกสิ่งในพระคริสตเจ้าและอาศัยพระคริสตเจ้าผู้ทรงชนะความชั่วร้ายทั้งสิ้น เขาเรียกการฟื้นฟูนี้
ว่า “apocatastasis” สำหรับออริเจนพื้นฐานของความหวังนี้ก็คือ 1 คร 15:25ฯ พระคริสตเจ้าทรง
ครองราชย์จนกว่าพระองค์จะมีชัยเหนือศัตรูทุกคนของพระองค์ สำหรับออริเจนเป็นไปได้ที่ปีศาจจะ
เห็นสวรรค์เปิดออกให้เขาในวาระสุดท้าย ความคิดนี้ของออริเจนเป็นเพียงสมมุติฐาน แต่ต่อมา
ปิตาจารย์หลายคนมีความหวังเช่นเดียวกับออริเจน เช่น นักบุญเกรโกรี่แห่งนิสซา เทโอโดแห่ง
มอพสุเอสเตีย และนักบุญเยโรมก็มีความคิดนี้ด้วยในช่วงระยะหนึ่ง
ในศตวรรษที่ 6 ผู้สนับสนุนความคิดของออริเจนทำให้ข้อสันนิษฐานของเขากลับเป็นความ
จริงที่แน่นอน ลัทธินี้ได้ชื่อว่าออริเจนนิยม (Origenism) คำสอนของเขาเหล่านั้นก่อให้เกิดปฏิกิริยา
อย่างรุนแรงในพระศาสนจักร ลัทธิออริเจนนิยมมีอิทธิพลเหนือความคิดของคริสตชนหลายคนทาง
ตะวันตก ทีย่ อมรับว่านรกคงอยูต่ ลอดนิรนั ดรก็จริง แต่เขายังสอนว่าคริสตชนทุกคนทีต่ ายในบาปหนัก
และตกนรก จะต้องพ้นจากนรกในวาระสุดท้าย เพราะคริสตชนมีตราประทับของศีลล้างบาปทีล่ บล้าง
ไม่ได้ และโดยอาศัยตรานี้เขายังคงเป็นของพระคริสตเจ้าตลอดไป ผู้เสนอข้อสมมุติฐานนี้ได้ชื่อว่า
“บรรดาผู้มีเมตตากรุณา” ในภาษาลาตินใช้คำว่า Misericordes
นักบุญออกัสตินได้โจมตีความคิดนี้อย่างรุนแรง ต่อมา ในปีคริสตศักราช 543 พระสันตะ-
ปาปาเวิรญิลิอุส (Virgilius) ประกาศว่า “ผู้ใดกล่าวหรือเชื่อว่าการลงโทษของปีศาจและของคน
อธรรมเป็นเพียงการลงโทษชั่วคราวเท่านั้นและจะสิ้นสุดลงภายในเวลาที่กำหนด หรือเชื่อว่าปีศาจ
และคนอธรรมจะได้รับการฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์ ผู้นั้นก็ถูกสาปแช่ง” (D 211)
อิทธิพลของ “บรรดาผูม้ เี มตตากรุณา” สืบค้นลงไปจนถึงสมัยกลาง และในบรรดาอัสมาจารย์
ยุคแรกๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะลดความเจ็บปวดของนรก ถึงแม้ว่าเราไม่ต้องสงสัยเรื่องนิรันดรภาพของ
นรก เราต้องยอมรับว่าปิตาจารย์บางคน เช่น นักบุญเกโกรี่แห่งนีซา ดิโอดอร์แห่งทาร์ซัส และ

262
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

นักบุญเยโรม ก็มีแนวคิดโน้มเอียงไปในทางของออริเจนทำให้เรารู้ว่า หลักสำคัญในการสอนของ


พระศาสนจักรมีผลมาจากการสั่งสอนของสภาสังคายนาคอนสแตนติโนเปิล ครั้งที่ 2
โยเซฟ รัตซิงเกอร์ได้ให้คำแนะนำว่า ปัญหาของผู้มีความคิดเช่นเดียวกับออริเจน คือ เขา
เข้าใจเรื่องความชั่วไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ การฟื้นฟูของทุกสิ่งอาจเป็นผลจากอิทธิพลของปรัชญา
เพลโต แต่ไม่เป็นผลสรุปที่สมเหตุสมผลที่มาจากพระคัมภีร์ ทุกยุคทุกสมัย ผู้อ้างถึงพระเมตตาของ
พระเจ้าคิดว่า ในที่สุดทุกคนก็จะได้รับความรอดพ้น เทววิทยาเรื่องการช่วยให้รอดพ้นจึงมีผลลบล้าง
การลงโทษนิรนั ดร การลงโทษหลังความตายจะเป็นเพียงการลงโทษชัว่ คราว คำสอนเรือ่ งนรกจึงต้อง
เปลี่ยนเป็นคำสอนเรื่อง “ไฟชำระ”
ประเด็นสำคัญในการอธิบายเรื่องนรกไม่ใช่ความรู้อย่างละเอียดเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะที่
รอคอยเราหลังความตาย ตามหลักการตีความหมายประโยคยืนยันอนันตกาลว่า เป็นการยืนยัน
เกี่ยวกับอนาคตจากประสบการณ์ปัจจุบันของความเชื่อและพระหรรษทาน สรุป ได้ว่า ธรรมล้ำลึก
เรื่องนรกมีพื้นฐานบ้างในประสบการณ์ปัจจุบัน ไม่เป็นความพยายามที่จะบรรยายโลกในอนาคต
การเข้าใจเรื่องนรก จึงขึ้นกับความเข้าใจเรื่องเสรีภาพและการรับผิดชอบของมนุษย์
ธรรมประเพณีของคริสตชนถือว่า การกระทำของมนุษย์มีความหมายสำหรับตัวเอง สำหรับ
โลก สำหรับประวัติศาสตร์ เราจึงมีพลังพื้นฐานที่จะกำหนดว่า อนาคตของเราจะเป็นเช่นไร ถึงแม้ว่า
จะมีปัจจัยซึ่งสร้างบริบทให้อิสรภาพของเราทำงานได้ เรารับอิทธิพลจากบริบทแต่ไม่ถูกกำหนดโดย
อัตโนมัติ การกระทำของเรามีรากฐานในเสรีภาพของเรา ความหมายว่าการพูดถึงความสำเร็จหรือ
ความล้มเหลวต้องไม่เข้าใจว่าเป็นตอบแทนและการลงโทษ ซึ่งอยู่นอกวิถีชีวิตของเรา ตรงกันข้าม
รางวัลเพราะการยอมรับพระเจ้าและดำเนินชีวิตด้วยความรักเป็นประสบการณ์แรกของความรัก และ
เป็นสมรรถภาพที่จะรักอย่างลึกมากกว่า ในทำนองเดียวกัน การลงโทษเพราะปฏิเสธไม่ยอมรับ
พระเจ้า เป็นการเลือกทีจ่ ะอยูโ่ ดดเดีย่ วและแยกตัวออกจากพระเจ้าตามทีเ่ ราได้เลือก เราจะมีควมสุข
หรือจะพินาศไม่ใช่เพราะเหตุภายนอกหรือพระประสงค์ของพระเจ้า แต่เพราะเหตุภายในของการ
ตัดสินใจของเรา เรามีประสบการณ์นี้แล้วในชีวิตของเราบนแผ่นดินนี้ ชีวิตที่เต็มเปี่ยมอยู่ในความ

263
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

สัมพันธ์กับผู้อื่น และเป็นการตอบแทนในตัว ส่วนชีวิตของผู้ที่เลือกอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายเป็นชีวิตที่


ตกต่ำและเป็นการลงโทษในตัว
เราจึงเข้าใจความเป็นไปได้ของนรก จากประสบการณ์ชีวิตของผู้ที่ ได้เลือกอยู่โดดเดี่ยว
สัญลักษณ์ของนรกเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไปได้ของความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และตลอดไปใน
การทำให้แผนการชีวติ สำเร็จลุลว่ งไป ถ้ามองในแง่น
ี้ ความเป็นไปได้ของนรกเป็นคำยืนยันทางเทววิทยา
เกี่ยวกับธรรมชาติของเสรีภาพมนุษย์ เรามีอำนาจที่จะตัดสินใจในเรื่องที่มีผลตลอดไป การตัดสินใจ
ของเราอาจกลายเป็นความหายนะ ดังนั้น คาร์ล ราห์เนอร์ จึงอธิบายว่า ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะคิดว่า
นรกเป็นเหมือนการลงโทษที่แสดงการแก้แค้น ซึ่งมาจากพระเจ้าผู้ทรงพระพิโรธและทรงหวงแหน
พระองค์จึงพอพระทัยที่ทรงเห็นคนบาปได้รับความทุกข์ทรมาน นรกไม่เป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงบังคับให้
เรารับจากภายนอก เหมือนเป็นการลงโทษเพราะความผิดของเรา ตรงกันข้ามเป็นผลของการตัดสิน
ใจอิสรภาพของเรา การตัดสินใจอิสระของมนุษย์จึงเรียกร้องความเป็นไปได้ของนรก ดังนั้น นรกไม่
เป็นสถานที่เราถูกโยนจากพระเจ้า แต่เป็นสภาพที่เราสร้างด้วยตนเอง พระเจ้าทรงเป็นผู้กระทำให้
มนุษย์รับโทษในนรก เพียงในแง่ที่พระองค์ไม่ทรงพลิกกิจการเสรีของมนุษย์ และไม่ทรงปล่อยมนุษย์
ให้ออกจากสภาพที่เขาได้เลือกอย่างอิสระ แม้สภาพนั้นขัดแย้งกับพระประสงค์ของพระองค์
ความเข้าใจนี้อาจช่วยให้เราเห็นว่า มีบางอย่างที่เป็นพื้นฐานสำคัญในคริสต์ศาสนาเกี่ยวกับ
เรื่องนรก และมีข้อแตกต่างที่สำคัญ แต่ก็ต้องแยกแยะความจริงนี้ออกจากภาพน่าสะพรึงกลัวที่มา
จากวรรณกรรมประเภทวิวรณ์ นรกจึงเป็นเพียงสัญลักษณ์ของการถูกแยกออกจากส่วนรวมและขาด
ความเป็นหนึ่งเดียว โดยไม่ติดต่อกับใคร จนกระทั่งมีชีวิตตกต่ำ นรกจึงเป็นผลของการเลือกที่จะ
อยู่อย่างโดดเดี่ยวและเพื่อตนเอง เป็นการเลือกที่จะดำเนินชีวิตสำหรับที่ขัดแย้งกับธรรมชาติของตน
ในฐานะที่ถูกสร้าง
โยเซฟ รัตซิงเกอร์ (Joseph Ratzinger) แนะนำว่า นรกเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่ที่มนุษย์
อยู่โดดเดี่ยว ปฏิเสธไม่ยอมรับความรัก นรกจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จงใจเลือกสร้างกำแพงกั้นชีวิตของตน
จากผู้อื่น และดำเนินชีวิตสำหรับตนเองเท่านั้น ถ้าบาปมีพื้นฐานในความล้มเหลวที่จะรัก นรกจึงเป็น

264
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

สภาพนี้ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดไป การที่มนุษย์มีอำนาจที่จะเลือกชีวิตโดดเดี่ยว ก็เป็นประสบ-


การณ์ที่ชัดเจนอยู่แล้ว มนุษย์มีอำนาจที่จะยึดมั่นในการตัดสินใจนี้เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าหรือไม่
เป็นประเด็นเรื่องนิรันดรภาพของนรก

4. ความรอดพ้นสากลตามความคิดร่วมสมัย
ปัญหาเรื่องนิรันดรภาพของนรกมีความสัมพันธ์กับปัญหาเรื่องความรอดพ้นสากล ตลอด
หลายศตวรรษที่ผ่านมา มีนักเทววิทยาบางคนที่มีแนวความคิดคล้ายกับของออริเจน และทุกวันนี้ยัง
มีนักเทววิทยาที่มีแนวโน้มเช่นนี้เหมือนกัน สำหรับคนเหล่านี้ ความคิดเกี่ยวกับนิรันดรภาพของนรก
ขัดแย้งกับธรรมชาติของพระเจ้าผู้ทรงเป็นความรัก เขาอ้างความรักและพระเมตตาของพระเจ้าเป็น
จุดเริ่มต้น เพื่อสรุปว่า มนุษย์ทุกคนต้องพบความรอดพ้น ในหมู่นักเทววิทยาปัจจุบันเราพบแนว
ความคิดนี้โดยเฉพาะในนักเทววิทยาสองคน คือ โรบินสัน (J.A.T Robinson) และ ฮิสค์ (J. Hick)
สำหรับโรบินสัน แนวความคิดตามธรรมประเพณีที่ถือนิรันดรภาพของนรกเป็นสถานการณ์
ที่จำเป็นให้เลือก คนที่ถือความคิดตามธรรมประเพณีถูกบังคับให้เลือกระหว่างเสรีภาพของมนุษย์กับ
การบีบบังคับของพระเจ้า ถ้าเรามีเสรีภาพอย่างแท้จริง เราก็ต้องยอมรับว่ามีนรกด้วย แต่ถ้าพระเจ้า
ทรงพระประสงค์ให้มนุษย์ทุกคนได้รับความรอดพ้น เราต้องยอมรับว่าพระองค์จำเป็นต้องบีบบังคับ
มนุษย์ ดังนั้น ปัญหานี้มีรากฐานในความคิดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการกระทำของพระเจ้าต่อเสรีภาพ
ของมนุษย์ โรบินสันเสนอแนะว่า เราต้องคิดถึงพระเจ้าในลักษณะที่ทรงพระเมตตาและทรงรักที่ทำ
ให้เชื่อได้มากกว่าในลักษณะที่ทรงมีอำนาจบีบบังคับได้ แนวความคิดของโรบินสันมาจากการเปรียบ
เทียบความรักของพระเจ้ากับประสบการณ์ความรักของมนุษย์ เรารู้ว่ามีประสบการณ์ความรักของ
มนุษย์อย่างลึกซึง้ จนกระทัง่ เรายอมรับพลังของความรักอย่างอิสระ และยอมให้ความรักนำเราให้มอบ
ตนแก่ผู้ที่เรารักโดยสิ้นเชิง นี่ไม่ใช่เรื่องการถูกบังคับ แต่เป็นเรื่องการมอบตนแก่ผู้อื่นโดยอิสระ การ
ยอมมอบตนเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าเราสูญเสียเสรีภาพ แต่ตรงกันข้าม เราค้นพบเสรีภาพที่แท้จริง

265
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

ถ้าเราคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าในลักษณะเดียวกัน ตามความคิดของ
โรบินสันเราจะพบว่า เราทนไม่ได้ที่จะพูดว่ามนุษย์คนเดียวอาจจะต้องพินาศไป ถ้าเราพูดเช่นนี้
หมายถึง การยอมรับว่าความรักของพระเจ้าล้มเหลวและล้มเหลวตลอดไป แต่มีข้อความหลายตอน
ในพระคัมภีร์ที่พูดถึงความรักของพระเจ้าที่จะต้องมีชัยชนะเหนือทุกอย่าง ทั้งความตายและพลังแห่ง
ความเลวร้าย ในที่สุด ทุกสิ่งจะต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า เพราะโดยหลักการทุกอย่าง
อยู่ในพระองค์แล้ว โรบินสันใช้ความคิดเรื่องบุคคลที่รวมกันขึ้นเป็นองค์กร สิ่งที่เกิดขึ้นในพระ-
คริสตเจ้าแล้วก็เกิดขึ้นสำหรับทุกคนแล้ว ดังนั้น ไม่มีผู้ใดอยู่นอกพระคริสตเจ้าแล้ว ถ้าเป็นเช่นนี้
นรกก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในฐานะที่ราเป็นมนุษย์เราตัดสินใจอย่างที่ดูเหมือนว่าเป็นการตัดสิน
เด็ดขาดและถาวร ที่เป็นเช่นนี้เพราะ นี่เป็นมุมมองของเราเมื่อเราตัดสินเช่นนี้ แต่ความจริงก็คือว่า
“ความรักก็ต้องชนะ”
โรบินสัน เน้นประเด็นสำคัญประการหนึ่ง เพื่อดึงดูดความสนใจของเราในเรื่องภาพลักษณ์
ของพระเจ้าทีเ่ รามีในเทววิทยาทัง้ หมด ไม่ใช่เพียงเกีย่ วกับปัญหานี้ แน่นอนมีปญ
ั หาหลายอย่างในการ
เข้าใจธรรมชาติของพระเจ้าตามเทววิทยาทั่วไป แต่ชัดเจนว่าการอ้างเหตุผลของโรบินสันมีปัญหา
หลายประการ บางทีเขาอ้างเหตุผลที่มีลักษณะสวยหรูและชวนให้ชื่นชอบ แต่ไม่ค่อยสมเหตุสมผล
แน่นอน เมื่อเราเริ่มเน้นความรักและพระเมตตาของพระเจ้า การใช้คำที่ว่า “ต้อง” ก็เป็นปัญหา
เพราะคำว่า “ต้อง” หมายถึงความจำเป็น แต่เมื่อหลักเกณฑ์พื้นฐาน คือ เสรีภาพและเป็นการทำให้
เชื่อ เราจะพูดถึงความจำเป็นได้หรือไม่ การอ้างถึงคริสตวิทยาก็ไม่มีผล เพราะไม่แยกเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นแล้วจากเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นในธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วใน
พระคริสตเจ้าและเหตุการณ์ทยี่ งั ไม่เกิดขึน้ ในพระวรกายของพระคริสตเจ้า ไม่ได้สดั ส่วนและตัง้ ปัญหา
เรื่องเสรีภาพของมนุษย์ในการตอบสนองพระเจ้า ความเชื่อของคริสตชนยืนยันว่า พระเยซูเจ้า
ทรงกลับคืนพระชนมชีพเพื่อมีชีวิตกับพระบิดาเจ้า ซึ่งเป็นสภาพชีวิตล่วงหน้าดังที่พระเจ้าทรงมี
พระประสงค์สำหรับมนุษย์ทุกคน แต่ความเชื่อไม่รู้ว่าเป้าหมายนี้จะสำเร็จไปสำหรับมนุษย์ที่ยังมีชีวิต
อยู่ เทววิทยาของคริสตชนจึงไม่สามารถที่จะ “รู้” ว่า ความรักของพระเจ้าจะต้องมีชัยชนะอย่างที่
มนุษย์ทุกคนจะเอาตัวรอดพ้น เราเพียงมี “ความหวัง” ว่าทุกคนจะได้รับความรอดพ้น

266
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

ทรรศนะของฮิคส์ก็มีประเด็นที่คล้ายกับความคิดของโรบินสัน ฮิคส์ได้เสนอให้คิดถึงพระเจ้า
ในฐานะที่เป็นอายุรแพทย์รักษาอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้มนุษย์เข้าหาพระเจ้า พระเจ้าทรงสร้างเรา
เพื่อเราจะร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และพระเจ้าก็ทรงทำงานในชีวิตของมนุษย์เพื่อช่วยให้เรามุ่ง
ไปถึงเป้าหมายนี้ ต่างจากอายุรแพทย์ที่เป็นมนุษย์ พระเจ้าทรงทำงานตลอดเวลาอย่างไม่มีขอบเขต
และเต็มไปด้วยความรอบรู้ที่ส มบูรณ์ ซึ่งในที่สุดทรงควบคุมทุกอย่างและไม่มีปัจจัยใดในสภาพ
แวดล้อมของชีวิตมนุษย์ที่ควบคุมพระองค์ได้ มนุษย์แต่ละคนก็มีเวลาชีวิตของตนอย่างจำกัด ฮิคส์คิด
อะไรกันแน่ เขาไม่ยอมรับความคิดทั่วไปเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด แต่เขาบอกว่า ชีวิตมีหลาย
ขั้นตอน ทั้งในชีวิตนี้และในชีวิตหน้า พระเจ้าในฐานะอายุรแพทย์ทรงทำงานในตัวเราเพื่อมนุษย์จะ
บรรลุถึงปลายทางโดยประสบความสำเร็จ ดังนั้น ทรรศนะอนาคตของความเชื่อตามความคิดของ
ฮิคส์แล้ว เป็นความเชื่อในชัยชนะของความรักเหนือมนุษย์ทุกคน
เราต้องถามว่า ทรรศนะของฮิคส์เข้าใจชีวติ ของมนุษย์อย่างถูกต้องหรือไม่ ฮิคส์คดิ ว่า ผลลัพธ์
ของประวัติศาสตร์มนุษย์ถูกกำหนดไว้แล้วอย่างแน่นอน ถ้าเช่นนั้น การที่มนุษย์ต้องต่อสู้ในชีวิตมี
ความหมายอะไร ด้วยเหตุนี้ เราต้องเข้าใจว่า พระเจ้าทรงควบคุมปัจจัยของสภาพแวดล้อมได้อย่างไร
ความคิดเรื่องขั้นตอนชีวิตหลังความตายซึ่งพระเจ้าทรงทำให้มนุษย์เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์จนสำเร็จสมบูรณ์
ดูเหมือนคล้ายกับคำสอนของธรรมประเพณีเรื่อง “ไฟชำระ” แม้ฮิคส์อธิบายคำสอนนี้คนละแบบ
แต่ในแก่นแท้ขั้นตอนเหล่านี้ของชีวิตหลังจากความตายเพื่อจะบรรลุวุฒิภาวะก็เป็นคำสอนเดียวกัน
ที่เทววิทยาเรื่อง “ไฟชำระ” ได้พยายามอธิบาย คือ พยายามอธิบายความไม่มีสัดส่วนระหว่างพระเจ้า
กับมนุษย์เมื่อเขาตายให้เป็นระบบ ที่ไม่ยอมรับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในชีวิตมนุษย์ในโลกนี้ทุก
รูปแบบ ที่สุด ข้าพเจ้าจะมีอิสรภาพแท้จริงได้อย่างไรถ้ามีผู้หนึ่งบอกข้าพเจ้าว่า “ท่านอาจเลือกที่จะ
รักหรือต่อต้านความรักได้ แต่ในที่สุด ท่านจะเป็นผู้รักอย่างแน่นอน คำพูดเช่นนี้ ทำให้เราสงสัยว่า
ชีวิตของเราถูกกำหนดไม่ใช่จากเสรีภาพหรือความรักของเรา แต่จากสิ่งที่อยู่เหนือเราและบังคับเรา
แนวคิดของฮิคส์อา้ งถึงปัญหาการเวียนว่ายตายเกิดแบบใหม่ ซึง่ ไม่หมายความว่าฮิคส์ยอมรับ
คำสอนการเวียนว่ายตายเกิดในรูปแบบธรรมดา แต่เขาอ้างถึงขั้นตอนที่ต่อเนื่อง เพื่อจะบรรลุความ

267
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

สมบูรณ์ ขั้นตอนเหล่านี้อยู่ระหว่างความตายของบุคคลในสภาพที่เขาเป็นอยู่กับสภาพสุดท้ายถาวร
ถ้าทฤษฎีนี้มีความเป็นไปได้

5. การเวียนว่ายตายเกิด
ทฤษฎีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดมักจะอ้างเหตุผลบางประการ ประการแรก ผู้มีทรรศนะนี้
คำนึงถึงช่องว่างใหญ่ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ถ้าช่องว่างนี้ดูเหมือนใหญ่ไพศาลจนกระทั่งมนุษย์ที่
ใกล้จะตายเกิดความคิดที่ว่า ถ้ามีวงจรชีวิตอีกรอบหนึ่งเขาคงจะอุดช่องว่างนั้นได้ แต่ถ้ารอบแรกยัง
ไม่พอ ก็มีอีกรอบอื่นๆ จนกว่าจะอุดช่องว่างใหญ่นั้นได้ ประการที่สอง ผู้มีทรรศนะนี้อ้างถึงปัญหา
เรื่องความทุกข์ทรมานของผู้บริสุทธิ์ เราจะอธิบายได้อย่างไรว่า คนที่เกิดในสภาพที่น่าเวทนาและ
ต้องพบกับความยากลำบาก ความทุกข์ทรมาน แม้เขาดูเหมือนว่าไม่มีบาปเลยอย่างน้อยเมื่อเขาเกิด
แต่บางทีเขาอาจไม่บริสทุ ธิต์ ามทีเ่ ขาคิด และต้องทนทุกข์ทรมานเพราะการกระทำของเขาในชาติกอ่ น
ประการที่สาม ผู้มีทรรศนะนี้รังเกียจความคิดทางเทววิทยาเรื่องนรก โดยทั่วไป ทฤษฎีการเวียนว่าย
ตายเกิดจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นคำสอนเรื่องความรอดพ้นสากลอีกแบบหนึ่ง
การเวียนว่ายตายเกิดจึงเป็นทรรศนะชีวิตที่แตกต่างจากทรรศนะของคริสตชน ขณะที่
คริสต์ศาสนามองทุกสิ่งในความสัมพันธ์กับบุคคล ไม่ว่ามนุษย์หรือพระเจ้า และเน้นความรักและความ
สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว ทฤษฎีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดให้เหตุผลที่เป็นระบบโดยความคิดเรื่องความ
ยุติธรรมเป็นหลักเกณฑ์ คริสต์ศาสนามีทรรศนะเรื่องความรอดพ้นสำหรับนุษย์ทั้งหมด ทั้งร่างกาย
และวิญญาณ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ตรงกันข้าม แนวคิดเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเป็นคำสอน
เรื่องความรอดพ้นของวิญญาณอมตะ ซึ่งมีร่างกายเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อมีประสบการณ์ในโลก
แก่นแท้ของทฤษฎีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด คือ เป็นระบบเหตุผลมากกว่าทรรศนะเสรีภาพ
เหตุการณ์ท่อี าจจะเกิดและความรัก ทฤษฎีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเป็นระบบของเหตุผลที่เรียกร้อง
ทฤษฎีความรอดพ้นสากล มีทรรศนะต่างกับคำสอนเรื่องมนุษย์และประวัติศาสตร์ พระศาสนจักรจึง
ต่อต้านทฤษฎีนี้โดยตลอด

268
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

6. เสียงส่วนใหญ่
การอธิบายเรื่องความรอดพ้นสากลช่วยเราให้เข้าใจเหตุผลของนักเทววิทยาส่วนใหญ่ เช่น
คาร์ล ราห์เนอร์ (Karl Rahner) และ โยเซฟ รัตซิงเกอร์ (Joseph Ratzinger) เพื่อเราจะเข้าใจ
การให้เหตุผลของเขา จำเป็นที่เราจะระลึกถึงคำสอนของพระศาสนจักรอย่างเป็นทางการซึ่งไม่เคย
ตัดสินว่าผู้ใดตกนรกอย่างเจาะจง พระศาสนจักรสอนว่าผู้ใดตายในสภาพบาปหนักก็จะต้องตกนรก
โดยทันที แต่ไม่เคยสอนย่างเจาะจงว่าบุคคลใดตายในสภาพนี้ พระศาสนจักรก็ไม่เคยรับรองนักบุญ
ออกัสตินเรื่องพระเจ้าทรงกำหนดล่วงหน้าว่า มนุษย์คนใดจะรอดพ้นหรือจะพินาศ เราจึงสรุปได้ว่า
นรกไม่เป็นประเด็นความเชื่อของพระศาสนจักรตามแบบที่สวรรค์เป็นข้อความเชื่อ เพราะการยืนยัน
ว่า มีสวรรค์มีรากฐานในการประกาศว่า พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ
ดังนัน้ เทววิทยาเพียงยืนยันว่า นรกมีความเป็นไปได้ ความเป็นไปได้นเี้ ป็นผลตามมาทีจ่ ำเป็น
ของการยืนยันอิสรภาพของมนุษย์ ถ้าความเป็นไปได้ของสวรรค์มีรากฐานในการกระทำความรักโดย
อิสระซึ่งมนุษย์ยอมรับและตอบสนองพระหรรษทานของพระเจ้า ความเป็นไปได้ของนรกก็มีรากฐาน
ในเสรีภาพเช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่มีอิสรภาพที่จะปฏิเสธความรัก เราก็คงไม่มีอิสรภาพที่ยอมรับ
ความรักด้วย ราห์เนอร์คดิ ว่า ในประเด็นนี้ เราจะเข้าใจความหมายของเสรีภาพทางปรัชญา อิสรภาพ
คือ เจตจำนงค์และความเป็นไปได้ที่เราจะเลือกอย่างเด็ดขาดถาวร เรามีความสามารถที่จะตัดสิน
ไม่ว่าจะนำความดีหรือความไม่ดี ซึ่งมีความหมายตลอดไปที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ในเมื่อได้ตัดสินใจไป
แล้ว ทั้งสำหรับตนและสำหรับพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า ตามความคิดของราห์เนอร์เกี่ยวกับ
เทววิทยาเรื่องความตาย มนุษย์อาจรับรองหรือเปลี่ยนการตัดสินเลือกพื้นฐานที่เคยมีผลตลอดชีวิต
ของตน ผลของการตัดสินใจนี้เป็นความรอดพ้นตลอดไปหรือความพินาศตลอดไป พระเจ้าไม่ทรงมอง
ข้ามเสรีภาพของมนุษย์เพื่อปลดปล่อยเขาจากผลการตัดสินอิสระของเขา การยืนยันว่านรกมีความ
เป็นไปได้เป็นข้อสรุปที่จำเป็นจากการเข้าใจเสรีภาพของมนุษย์ จึงไม่เป็นเพียงปัญหาของความหมาย
เรื่องเสรีภาพในเวลาของความตาย คำยืนยันนี้เรียกร้องให้เราเอาจริงเอาจังการตัดสินใจอิสระของเรา
ว่าดีหรือไม่ดีในชีวิตนี้ โยเซฟ รัตซิงเกอร์ มีความคิดว่าจุดประสงค์แท้จริงของคำสอนเรื่องนรก คือ

269
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

การเน้นว่าชีวิตและกิจการของมนุษย์เรียกร้องความตั้งใจจริง ถ้าเราคิดว่าชีวิตของเราเป็นโอกาสที่
เราจะเปลี่ยนแปลงทรรศนะอยู่เรื่อยๆ เราก็จะไม่เอาจริงเอาจังว่าการตัดสินของเราดีหรือไม่ดี แต่ถ้า
เราดำเนินชีวิตโดยคำนึงว่าเป็นไปได้ที่เราประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงก็จะเอาจริงเอาจังมากกว่า
อย่างแน่นอน
ความคิดนี้ ไม่มีจุดประสงค์ที่จะทำให้เรากลัวดังที่นักเทศน์เคยปลุกเร้าในจิตใจของสัตบุรุษ
ในอดีต เพราะความเรียกร้องให้เอาจริงเอาจังอยู่ในบริบทของความเชื่อ ถ้าเราอยู่อย่างโดดเดี่ยวใน
ความพยายามที่จะดำเนินชีวิตอย่างเอาจริงเอาจัง เราอาจจะมีเหตุผลที่ต้องกลัวหรือแม้แต่สิ้นหวัง
เพราะประวัติศาสตร์แสดงว่ามนุษย์โดยลำพังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างดี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เรา
เรียกร้องความเอาจริงเอาจังทางศีลธรรมในบริบทของพระสัญญาของพระเจ้า ขณะทีเ่ ราต้องตัดสินใจ
อย่างอิสระ พระเจ้าประทานพระหรรษทานที่ทำให้การตัดสินใจเช่นนี้เป็นไปได้ และทรงบันดาลให้
เราปฏิบัติเช่นนี้จนถึงวาระสุดท้าย ดังที่ ฮังส์ คึง (Hans Kueng) สอนว่า “ผู้ใดมีแนวโน้มที่จะสิ้นหวัง
เมื่อคำนึงถึงความล้มเหลวที่อาจเป็นไปได้แก่เขา ผู้นั้นจะได้รับความหวังจากข้อความในพันธสัญญา-
ใหม่ที่กล่าวถึงพระเมตตาของพระเจ้าต่อมนุษย์ทุกคน”
ในสมัยนี้ ไม่มีนักเทววิทยาคนใดที่เข้าใจเรื่องอิสรภาพของมนุษย์มากไปกว่าราห์เนอร์ ชีวิต
มนุษย์ได้รับอิทธิพลจากเสรีภาพอย่างลึกซึ้งอย่างยิ่งจนกระทั่งคาร์ล ราห์เนอร์สรุปว่า ผู้ใดอ้างความรู้
ทางเทววิทยาที่มนุษย์ทุกคนต้องได้รับความรอดพ้น เขาก็มั่นใจในตัวเองมากเกินไป แต่ถ้าเรามีความ
หวังว่าทีม่ นุษย์ทกุ คนจะได้รบั ความรอดพ้น ก็เป็นความคิดทีถ่ กู ต้อง ความเชือ่ ของคริสตชนประกาศว่า
ความรักของพระเจ้ามีชัยชนะในพระเยซูเจ้า และมีความหวังว่าความรักของพระองค์จะมีชัยชนะใน
มนุษย์อื่นๆ อีกด้วย แต่เราไม่สามารถอ้างว่าเรารู้ที่จะเป็นเช่นนั้น ในแง่ของอิสรภาพทั้งของพระเจ้า
และของมนุษย์ ถ้าจะบอกว่า “จำเป็น” ก็คงไม่เหมาะ ลุอิส (C.S. Lewis) สรุปประเด็นนี้อย่างดีว่า
ข้าพเจ้าพร้อมที่จะรับผลเพื่อแลกกลับสิ่งที่จะได้มาคือ พูดได้อย่างแท้จริงว่า “ทุกคนจะรอดพ้น” แต่
สติปัญญาของข้าพเจ้าถามว่า “เขาจะรอดพ้นโดยมีเจตนาหรือไม่มีเจตนา” ถ้าข้าพเจ้าพูดว่า “โดย
ไม่มีเจตนา” ข้าพเจ้าก็เห็นความขัดแย้งในตัว การจงใจที่จะมอบตนเองจะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตนาได้

270
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

หรือ ถ้าข้าพเจ้าพูดว่า “เขามีเจตนาที่จะรอดพ้น” สติปัญญาของข้าพเจ้าบอกว่า “แล้วเขาจะรอดพ้น


ได้อย่างไร ถ้าเขาไม่ยอมมอบตนเอง”

7. การไตร่ตรองทางเทววิทยา
ชีวิตที่ต้องทนทรมานในนิรันดรภาพนั้นมีลักษณะดังต่อไปนี้
7.1 การไม่ต้องการพระเจ้า
พระเจ้าทรงเสนอแผนการแห่งความรักให้เรา ทรงเชือ้ เชิญให้เราเป็นคนใหม่ เจริญชีวติ
ร่วมกับพระองค์ มีส่วนในแผนการแห่งการร่วมชิดสนิทกับพระองค์ แต่พระองค์ไม่ทรงบังคับเรา
พระองค์ทรงเชื้อเชิญและคอยการตอบรับ คำตอบของเราอาจจะเป็น “การยอมรับ” หรือ “การ
ปฏิเสธ” อาจจะตอบความรักด้วยความรัก หรือด้วยความเมินเฉยก็ได้ หรืออาจกล่าวว่า “ผมมี
โครงการชีวิตของผมเอง ผมมีความสุขกับของต่างๆ และกับคนอื่นๆ ผมไม่เห็นต้องการพระเจ้า”
เราสามารถตอบ “ไม่” กับพระเจ้าได้ และพระองค์ยดึ คำตอบนีข้ องมนุษย์อย่างจริงจัง เพราะพระองค์
ทรงเคารพเสรีภาพของมนุษย์ ดังที่พระองค์ได้ทรงปล่อยให้พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์เหมือนโจรผู้ร้าย
ทั้งๆ ที่พระองค์ไม่มีความผิด เพื่อจะไม่ “ขัด” การตัดสินใจอย่างอิสระของหัวหน้าชาวยิว นี่เป็น
แง่หนึ่งที่น่าอนาถของศักดิ์ศรีมนุษย์ มนุษย์สามารถเป็นกบฏต่อพระเจ้า สามารถปลงใจเลือกวิถีชีวิต
ที่ปิดอยู่ในตัวเองได้ เวลาที่มนุษย์บอกปัดความรักของพระเจ้า เขายังมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่เขาได้สร้าง
บางสิ่งขึ้น เป็นสิ่งใหม่ที่พระเจ้าไม่ได้สร้างเพราะพระองค์ไม่ทรงปรารถนาให้มีขึ้นมา แต่ได้มีขึ้นด้วย
น้ำมือของมนุษย์ มนุษย์ได้สร้าง “นรก” ให้บงั คับตัวอยูใ่ นความเห็นแก่ตวั เขาตัดตัวออกจากความรัก
ของพระเจ้า และมนุษย์อื่นๆ เพื่อทำให้ตัวเองเป็นเป้าหมายและมาตรการของแผนการและความหวัง
ทั้งหมดของเขา ดังที่สวรรค์เป็นการรับสภาพชีวิตแห่งพระหรรษทานถึงขั้นสูงสุด นรกก็เป็นการรับ
สภาพชีวิตบาปมากที่สุดเช่นกัน รูปแบบของบาปเหล่านี้ ไม่สามารถทำให้เรารักได้ และนรกก็คือ
การ “คงสภาพขั้นสุดท้าย” ในสถานะเช่นนี้นั่นเอง มนุษย์แบกนรกไว้ในตนเองเพราะมนุษย์ได้ก่อให้
เกิดขึน้ มา คุณพ่อคองการ์ (Congar) ใช้คำพูดว่า “นรกไม่ใช่สถานทีซ่ ง่ึ มีปศี าจเขายาวอาศัยอยู ่ ดังที่

271
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๓ ... เทววิทยาเรื่องนรก

เห็นกันในรูปภาพต่างๆ หรือดังที่นักเทศน์เคยบรรยายเพื่อทำให้ผู้ฟังเกิดความกลัว” แต่นรกเป็นการ


จงใจตัดตัวเองโดยสิ้นเชิงออกจากพระเจ้าและมนุษย์อื่นๆ เป็นการบรรลุถึงยอดแห่งการบูชาตนเอง
7.2 การทรมานในนรก
การตอบ “ไม่” กับพระเจ้าเพือ่ ตัง้ ตนเองขึน้ มาแทนนัน้ ในทีส่ ดุ ก็กลับกลายเป็นความ
เกลียดชังพระเจ้าจนไม่สามารถตอบรับ “ใช่” กับพระองค์อกี ต่อไปได้ นีเ่ ป็นความทุกข์ทแี่ สนเจ็บปวด
ทีส่ ดุ ทีม่ นุษย์ประสบ พระคัมภีรอ์ ธิบายด้วยวิธพี ดู ต่างๆ เช่น “หนอนไม่รจู้ กั ตาย การร่ำไห้ การขบฟัน
ด้วยความขุ่นเคือง ความมืด คุก ความตายครั้งที่ 2 ความพินาศ ฯลฯ วิธีการพูดแบบนี้นำมาจาก
ประสบการณ์ของมนุษย์เมื่อพบเห็นความเจ็บปวด ความหมดหวัง ความไม่สบอารมณ์ นรกปลด-
เปลื้องมนุษย์จากสิ่งที่เป็นธรรมชาติของเขา ธรรมชาติของเขาโดยหาอิสรภาพ แต่กลับต้องมาอยู่ใน
คุก มุ่งหาความสว่าง แต่กลับต้องมาอยู่ในความมืด มุ่งหาบ้านของพระบิดา แต่กลับต้องมาอยู่ข้าง
นอก และนี่เป็นสถานการณ์ที่จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง นรกหมายถึงการไม่มีอนาคต ไม่มีความสมหวัง
อันใดอีก เขาเป็นเหมือนผู้ที่ถูกตัดอวัยวะส่วนต่างๆ ออก ไม่มีตา หู จมูก ปาก มือ เท้า เขาจะ
ติดต่อกับใครไม่ได้ เขาต้องอยู่โดดเดี่ยว ถูกขังอยู่ในกำแพงแห่งการเห็นแก่ตัว
7.3 การสูญเสียพระเจ้า
ความผิดหวังทีป่ วดร้าวทีส่ ดุ ก็คอื การสูญเสียพระเจ้า ธรรมชาติของเราโหยหาพระเจ้า
แต่มนุษย์ผู้เป็นกบฏต่อพระองค์จะพบว่าเขาไม่สามารถพบพระองค์ได้อีก ในที่สุด เขาด่าแช่งสภาพอัน
น่าทุเรศของตน สะอิดสะเอียนตัวเอง แต่เขาก็ไม่สามารถเอาชนะแรงผลักดันภายในทีค่ อยเป็นกบฏต่อ
พระเจ้าร่ำไป บางคนแย้งว่า “ไม่มีใครต้องการสร้างความทุกข์และความอ้างว้างให้กับตัวเองอย่าง
เต็มใจได้ ฉะนัน้ “ไม่มนี รก” ผทู้ พ่ี ดู เช่นนีแ้ สดงว่า เข้าใจมนุษย์ไม่ได้ถกู ต้อง การทีเ่ ขาปฏิเสธนรกนี้
มิได้หมายความว่า เขาปฏิเสธพระเจ้า หรือพระยุติธรรมของพระองค์ แต่เขาปฏิเสธธรรมชาติมนุษย์
เขาไม่เข้าใจว่า อิสรภาพและการตัดสินใจของมนุษย์มีน้ำหนักเพียงไรต่อหน้าพระเจ้า อิสรภาพของ
มนุษย์สำคัญมากจนความสุขหรือการสาปแช่งนิรันดรขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกของเขาบนโลกนี้

272
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like