You are on page 1of 201

 

คำร้ อ งเพื ่ อ ขอให้ ม ี ก ารสอบสวน  

สถานการณ์ เ กี ่ ย วกั บ การกระทำอั น เป็ น อ


าชญากรรมต่ อ มนุ ษ ยชาติ  
ในราชอาณาจั ก รไทย  
 
 
 

ยื่นโดย  

สำนั ก งานกฎหมายอั ม สเตอร์ ด ั ม แอนด์ เ พรอฟฟ์  


 
 
 

ในนาม  

แนวร่ ว มประชาธิ ป ไตยต่ อ ต้ า นเผด็ จ การแห่ ง ชาติ  


 
 
 

ต่อ  

สำนั ก งานอั ย การศาลอาญาระหว่ า งประเทศ  

กรุ ง เฮก  ป ระเทศเนเธอแลนด์  

31  ม กราคม  พ .ศ.  2553  


1
สารบั ญ  
1.  บทนำ   6  

   

2.  เหตุการณ์อันนำไปสู่รัฐประหารปี  พ.ศ.  2549   10  

การขึ้นสู่อำนาจของทักษิณ  ชินวัตร   11  

เหตุการณ์รัฐประหารปี  2549   12  

กฎเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่   12  

นโยบายทำลายการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงโดยทางก 14  
าร  

   

3.  การสังหารหมู่กรุงเทพมหานคร   16  

3.1  การทำลายประชาธิปไตยโดยอภิสิทธ์   16  

3.2  เหตุการณ์ประชาชนลุกฮือในวันสงกรานต์   18  

3.3  การสังหารหมู่ปี  2553   20  

3.4  การบิดเบือนการใช้กฎหมายฉุกเฉิน   21  

พรบ.ความมั่งคงภายในราชอาณาจักร   57  

พรก.ฉุกเฉิน   58  

3.5  ยุทธศาสตร์การสร้างความตึงเครียด   61  

   

4.  อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ   69  

4.1  องค์ประกอบทั่วไป   70  

การสังหาร   71  

2
การคุมขังและการลิดรอนเสรีภาพทางร่างกายอย่างร้ายแรงใ 73  
นลักษณะอื่น  

การกระทำที่ไร้มนุษยธรรมลักษณะอื่น   75  

การคุกคามทางการเมือง   81  

4.2  องค์ประกอบพื้นฐานของอาชญากรรม   82  

การทำร้ายจะต้องเป็นการกระทำ   82  
“มุ่งโดยตรงต่อพลเรือนโดยรวม”  

เป็นการกระทำผ่านนโยบายรัฐหรือองค์กร   83  

การกระทำที่ระบุนี้เป็นการกระทำที่อาจถือเป็น”การทำร้ายอย่างกว้ 84  
างขวางหรือเป็นระบบ  

ความสัมพันธ์ของการกระทำแต่ละกรรมและการทำร้าย   85  

เจตนาหรือการรับรู้   86  

4.3  ความรับผิดทางอาญา   86  

ความรับผิดชอบทางอาญาของบุคคล   87  

การรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา   90  

การเทียบเคียงกับกรณีของไทย   91  

3
   

5.  เขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ   93  

5.1  การร้องทุกข์โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ   94  

สิทธิของคณะมนตรีความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับธรรมนูญของศาลอา 95  
ญาระหว่างประเทศ    

ข้อกำหนด   95  

บรรทัดฐาน   96  

เทียบเคียงกับคดีในปัจจุบัน   96  

5.2  เขตอำนาจเหนือบุคคล   97  

สถานการณ์ในอดีต   97  

กฏการคุ้มกันจากการรับโทษ   97  

เทียบเคียงกับคดีในปัจจุบัน   97  

5.3  สรุป   98  

   

6.  หลักเกณฑ์การรับพิจารณาคดี   98  

6.1  ความร้ายแรงแห่งคดี   99  

4
6.2  ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาคดี   99  
เมื่อรัฐล้มเหลวในการดำเนินการดังกล่าว  

“หยุดนิ่ง”  หรือ  “ไม่เต็มใจ”   99  

หลักการไม่พิจารณาคดีซ้ำ   100  

6.3  ปรับใช้กับสถานการณ์ไทย   101  

ประวัติความเป็นมาของการละเว้นโทษ   102  

การขาดความเป็นอิสระของระบบตุลาการ   104  

กรมสอบสวนคดีพิเศษ   105  

การดำเนินคดีกับคนเสื้อแดง   110  

   
 สร้างความซับซ้อนโดยใช้กระบวการ  “ปรองดองสมานฉันท์”     112  

6.4  สรุป   115  

   

7.  หนทางบรรเทาทุกข์   115  

อ้างอิง   117  

ภาคผนวก    

บทนำ  
5
วันที่  11  มีนาคม  2553  แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ  
(“นปช.”)  หรือ  “เสื้อแดง”  
มากกว่าหนึ่งแสนคนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศไทยเดินทางมากรุงเทพฯ  
เพื่อเข้าร่วมสมทบการชุมนุมกับชาวกรุงเทพฯ  
ที่มีจำนวนหลายหมื่นคนในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประ
วัติศาสตร์ของประเทศไทย  กลุ่มคนเสื้อแดงเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่าเป็น  
“การต่อสู้เพื่อต่อต้านเผด็จการครั้งสุดท้าย”  
ปฎิญานว่าจะไม่ยุติการชุมนุมจนกว่านายกรัฐมนตรี  อภิสิทธิ์  
เวชชาชีวะจะยอม  “ยุบสภา”  “คืนอำนาจให้กับประชาชน”  
และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่  สองเดือนหลังจากนั้น  
กลุ่มคนเสื้อแดงยังคงปักหลักอยู่หลังแนวค่ายผู้ชุมนุมที่สร้างขึ้นในพื้นที่ยุ
ทธศาสตร์และเป็นสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญใจอยู่กลางกรุงเทพฯ  
การแสดงพลังทางการเมืองครั้งใหญ่เป็น  
ความพยายามของคนไทยที่จะต่อสู้กับการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อ
เนื่อง  
 สิทธิดังกล่าวคือสิทธิในการกำหนดทางเลือกของตนผ่านการเลือกตั้งอย่
างแท้จริงที่ดำรงอยู่บนฐานของเจตจำนงของประชาชน  

การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและการลงมือทำรั
ฐประหาร  ในเดือนกันยายน  2549  
ด้วยความร่วมมือของสมาชิกในคณะองคมนตรี  
ผู้บัญชาการทหารของไทยทำการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตา
มระบอบประชาธิปไตยของนายกรัฐมนตรีทักษิณ    ชินวัตร  
หัวหน้าพรรคไทยรักไทย  ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง  3  สมัยติดต่อกัน  
คือในปี  2544,  2548  และ  2549  
ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงาน  ต่างๆ  ของรัฐบาล  
ยุบพรรคไทยรักไทย  และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา  
5  ปี  
เมื่อพรรคการเมืองที่สืบทอดจากพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งในปล
ายปี  2550  ได้ก็กลับถูกศาลเฉพาะกิจ  
อันประกอบไปด้วยผู้พิพากษาที่แต่งตั้งโดยผู้ทำการรัฐประหารตัดสินให้ยุ
บพรรคพร้อมทั้งตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา  5  ปี  
นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะได้อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  
เพียงเพราะว่าพรรคการเมืองต่างๆ  

6
ที่ชนะการเลือกตั้งในช่วงที่มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยไปทั้งหมดสี่ครั้
งก่อนนั้นถูกบังคับให้ยุบสภาอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย    
การทำรัฐประหารในปี  2549  
 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจของชนชั้นสูงที่เป็นกลุ่
มนายทุนเก่า  นายทหารระดับสูง  ข้าราชการระดับสูง  และกลุ่มองคมนตรี  –  
กลุ่มคนที่ในคำร้องนี้จะอ้างถึงโดยรวมว่า    “กลุ่มอำนาจเก่า”  
 การฟื้นฟูระบบการปกครองเก่าของไทยนำไปสู่การยุบพรรคไทยรักไทย  
การบังคับการเลือกตั้งที่มีมาจนถึงปัจจุบันที่สำคัญ  
ท้าทายทางประวัติศาสตร์ของอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่า  
ต่อมาก็เอารูปแบบของนโยบายร่วมกันที่  
เรียกร้องอะไรที่ไม่มากไปกว่าการทำลายการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไต
ยที่กลุ่มคนเสื้อแดงกำลังทำอยู่ในขณะนี้  

โดยแท้จริงแล้ว  ตามรายละเอียดด้านล่าง  หลังจากการรัฐประหารในปี  


2549  
เกือบจะทันทีที่ผู้นำทางการทหารและผู้นำทางการเมืองภายในกลุ่มอำนา
จเก่าเห็นพ้องต้องกันว่าคนเสื้อแดงจะลุกขึ้นต่อต้านเผด็จการทหารและรัฐ
บาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งที่กำหนดให้กับคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ไ
ด้  
กลุ่มอำนาจเก่าวางแผนและดำเนินการวิธีการตอบโต้ทางทหารโดยการเ
ตรียมมาตรการในการปราบปรามการที่รุนแรงต่อการชุมนุมเคลื่อนไหว  
ภายใต้การกำกับของพลเอกประยุทธ  จันทร์โอชา  
ผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปเป็น  ผู้บัญชาการทหาร    
กองทัพบกไทยฝึกซ้อมการปฎิบัติภารกิจโดยจำลองการฝึกซ้อมจากเหตุก
ารชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน  
 พวกเขารวบรวมทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการปฎิบัติการลับ  
ซึ่งรวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน  150  คนที่มีความชำนาญมากที่สุด  
เชียวชาญการใช้ปืนสไนเปอร์และพลแม่นปืนต่างๆ  
ที่มาจากค่ายทหารทุกแห่ง  
กลุ่มคนเหล่านี้กลายมาเป็นกลุ่มคนที่รู้จักในชื่อเรียกว่า"มือที่สาม"  และ  
"ชายชุดดำ"  ที่ลึกลับ  กลุ่มคนที่นายกรัฐมนตรีกล่าวโทษซ้ำ  ๆ  
ว่าเป็นกลุ่มคนที่ก่อความรุนแรงในปี  2553    -­‐-­‐  
เรื่องราวเหล่านี้ประติดประต่อกันเพื่อสร้างความเข้าใจผิด  ๆ  
ที่ว่าคนเสื้อแดงเป็นอันตราย  
และเป็นภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  

7
 ตามที่กล่าวไว้ข้างบน  แน่นอนที่สุดว่า  
ทันทีหลังจากเหตุการรัฐประหารในปี  2549  
นักการเมืองและผู้นำทหารคนสำคัญจากกลุ่มอำมาตย์ลงความเห็นว่าคน
เสื้อแดงจะลุกฮือประท้วงรัฐบาลทหารและรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือก
ตั้งซึ่งเป็นรัฐบาลที่กลุ่มอำมาตย์เลือกขึ้นมา  
กลุ่มอำมาตย์จึงวางแผนในการใช้กำลังทหารตระเตรียมการกดขี่โดยใช้ค
วามรุนแรงต่อกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง  
ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา-­‐
ซึ่งภายหลังถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบก-­‐
กองทัพไทยซ้อมรับมือกลุ่มผู้ชุมนุมโดยใช้เหตุการณ์จตุรัสเทียนอันเหมินเ
ป็นแบบอย่าง  พวกเขารวบรวมทีมผู้เชียวชาญในการปฏิบัติการลับ  
รวมถึงกลุ่มพลซุ่มยิงและนักแม่นปืนได้ได้รับการฝึกฝนอย่างดีและชำนาญ
ทั้ง  150  คน  จากทหารในหน่วยต่างๆ  กลุ่มชายเหล่านี้ต่อมารู้จักกันในนาม  
“มือที่สาม”  หรือ  “กลุ่มชายชุดดำ”  ปริศนา  
กลุ่มคนที่นายกรัฐมนตรีมักจะหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างบ่อยครั้งในปี  2553-­‐
เรื่องราวถูกประติดประต่อเพื่อสร้างภาพหลอกๆว่าคนเสื้อแดงเป็นกลุ่มที่เ
ป็นภัยและอันตรายต่อสถาบันกษัตริย์  

การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่  66  ในวันที่  19  พฤษภาคม  


2553  
เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ในกรุ
งเทพฯ  และทะลวงค่ายชุมนุมของคนเสื้อแดง  
ซึ่งนี่เป็นแผนปฎิบัติการสลายการชุมนุมครั้งที่  2  ของทางกองทัพบก  
หลายสับปดาห์ก่อนหน้านั้น  เมื่อวันที่  10  เมษายน  
กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้
าฯ  การปฎิบัติการทหารยามค่ำคืนที่ตามมาทันที  –  
นำโดยกองพลทหารราบที่  2  รักษาพระองค์ภายใต้คำสั่งของพลเอก  
ประยุทธ  –  ทำให้มีผู้เสียชีวิต  27ราย  
รวมทั้งทหารจำนวนหยิบมือหนึ่งที่เสียสละชีวิตเพื่อให้เป็นข้ออ้างในการเปิ
ดฉากยิงพลเรือนที่ปราศจากอาวุธเป็นพันๆ  
คนที่รวมตัวกันอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและบริเวณสี่แยกคอกวัว  

มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย  55  รายจากการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์  


ระหว่างวันที่  13  และ  19  พฤษภาคม  ทางทิศใต้ของราชประสงค์  
กองพันทหารม้าที่  2  นำโดยพลตรี  สุรศักดิ์  บุญศิริ  
รับคำสั่งภายใต้ผู้บัญชาการทหาร  อนุพงษ์  เผ่าจินดา  
ตั้งเขตการใช้กระสุนจริงตรงถนนรามา  4  

8
โดยมีคำสั่งด้วยวาจาให้ยิงทุกสิ่งที่เคลื่อนไหว  
ทหารเหล่านี้ยังได้รับคำสั่งให้ป้องกันมิให้มีภาพถ่ายการสังหาร  
(ซึ่งนำไปสู่การระบุเป้านักข่าว)  
และป้องกันมิให้มีการเคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิต  
(ซึ่งนำไปสู่การระบุเป้าบุคคลากรทางการแพทย์)  
คำสั่งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก  
"การปฎิบัติการข่าวกรอง"ของกองทัพที่ให้ทหารแฝงตัวเป็นคนขับรถพยา
บาลขับรถรับศพไปยังโรงพยาบาล  2  แห่งที่ได้มีการนัดแนะกันเอาไว้  
เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเผาศพเพื่อทำลายหลักฐานที่จะใช้ในการเอาควา
มผิด  กองพลทหารราบที่  1  ภายใต้คำสั่งของพลตรี  กัมปนาท  รุดดิษฐ์  
ได้รับคำสั่งเดียวกันนี้ในการปฎืบัติภารกิจในพื้นที่ดินแดงและราชปรารภ
พื้นที่ทางตอนเหนือของราชประสงค์  

วันที่  13  พฤษภาคม  


หนึ่งในพลซุ่มยิงที่ปฎิบัติภารกิจลับของกองทัพบได้ยิงกระสุนลึกลับที่สังหา
รพลตรี  ขัตติยะ  สวัสดิผล  (รู้จักในชื่อ  เสธ.แดง)  
ในขณะที่กำลังให้สัมภาษณ์สดกับนักข่าวจาก  New  York  Times  

วันที่  19  พฤษภาคม  กองพันทหารราบที่  2  กรมทหารราบที่  31  


รักษาพระองค์  พร้อมการสนับสนุนจากกรมรบพิเศษที่  3  
บุกทลายแนวกั้นของคนเสื้อแดงเพื่อสังหารกลุ่มแกนนำตามคำสั่งที่ได้รับ  
อย่างไรก็ตาม  
แหล่งข่าวภายกองทัพบกได้แจ้งรายละเอียดของคำสั่งนี้ต่อแกนนำคนเสื้อ
แดงทันเวลาที่แกนนำจะเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ  
จากการประกาศยอมแพ้  ได้มีผู้ชุมนุมมากกว่าพันคนหลบเข้าไปอยู่ใกล้ๆ  
กับวัดปทุมวนาราม  ที่ๆ  
ผู้ชุมนุมที่หนีออกจากบริเวณราชประสงค์เห็นว่าปลอดภัย  
 แต่พลซุ่มยิงที่อยู่รางรถไฟฟ้ายิงสังหารพลเรือนที่ปราศจากอาวุธจำนวน
ทั้งสิ้น  ๖  ศพ  เป็นอาสาสมัครพยาบาล  3  ศพ  ในช่วงเย็นของวันที่  19  
พฤษภาคม    

ต่อมาผู้นำกองทัพได้หาที่ซ่อนปืนไรเฟิลอัตโนมัติ  AK-­‐47  และระเบิดต่างๆ  


ได้ภายในวัดและภายในสวนลุมพินี  ซึ่งพันเอกสรรเสริญ  แก้วกำเนิด  
โฆษกประจำกองทัพบก  ได้แสดงให้เห็นในการแถลงข่าวที่เรียกว่าเป็น  
"การค้นพบ"  

นับถึงเวลาที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่ราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย  
อาคารพาณิชย์สำคัญๆ  มากกว่า  30  แห่งยังคงมีควันกรุ่น  
9
คนเสื้อแดงตกเป็นผู้สงสัยในการลอบวางเพลิงครั้งนี้  
พยานปากสำคัญที่ถูกวางตัวไว้ภายในทำเนียบรัฐบาลและกองทัพบกให้ก
ารว่าเหตุการณ์เหล่านี้ถูกทางกองทัพจัดเตรียมล่วงหน้าหลายสัปดาห์  
โดยมีการรู้เห็นและยินยอมจากทางเจ้าของอาคารเหล่านี้  
เพื่อเป็นการสร้าง  “หลักฐาน”  
เพิ่มเติมในการมีแนวโน้มการใช้ความรุนแรงของคนเสื้อแดง  
ในขณะที่มีบันทึกคำให้การของพยานผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายร้อยรายการ
และเอกสารที่เป็นคลิปวีดีโอเป็นพันๆ  
รายการที่บันทึกการใช้กระสุนจริงของทหารกองทัพบกต่อพลเมืองที่ปราศ
จากอาวุธ  นักข่าว  และบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉิน  
ทางรัฐบาลไทยได้อำพรางหลักฐานอย่างเป็นระบบ  
แทนที่จะยืนหยัดต่อหน้าที่ภายใต้กฎหมายระหว่างปรเทศในการตรวจสอ
บข้อเท็จจริงในการสังหารและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ  
รัฐบาลกลับเปลี่ยนแปลงข้อมูลการตรวจสอบข้อเท็จจริง  
ข่มขู่พยานผู้ให้การตามความเป็นจริง  
และตั้งข้อหาที่ไม่ถูกต้องให้กับแกนนำคนเสื้อแดงว่าเป็น  “ผู้ก่อการร้าย”  
 เพื่อหันเหความผิดทางอาญาของรัฐบาล  ที่จริงแล้ว  
กระบวนการพิจราณาคดีของศาลต่อแกนนำคนเสื้อแดง  
ซึ่งอาจมีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิตนั้นเต็มไปด้วยการปฎิบัติที่ไม่เป็นไ
ปตามระเบียบเช่น  
การไม่รับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและการที่ศาลปฏิเสธสิทธิในการเ
ข้ารับฟังการพิจารณาคดีของแกนนำเสื้อแดง  
เจ้าหน้าที่ของกองทัพบกที่มีส่วนร่วมในภารกิจการสลายการชุมนุม  
รวมทั้งผู้ตรวจสอบที่จัดการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายงานเพื่อให้เหมาะกับค
วามต้องการของรัฐบาล  
ต่างก็ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งทั้งสิ้น    

พยานนับร้อยๆ  คน  และวิดีโอคลิปพันๆ  คลิป  


ได้บันทึกการใช้กระสุนจริงอย่างเป็นระบบโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงข
องไทยต่อ  พลเรือนที่ไร้อาวุธ  
รวมถึงนักข่าวและเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ฉุกเฉินในเดือนเมษายนและพฤษ
ภาคม  รัฐบาลไทยทำลายหลักฐานของอาชญากรรมอย่างเป็นระบบ  
แทนที่จะปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศสอบสวนเหตุการณ์
สังหารและดำเนินคดีกับบุคคลผู้มีส่วนรัลผิดชอบ  
แต่รัฐบาลกลับควบคุมทิศทางการสอบสวน  ข่มขู่พยานที่พูดความจริง  

10
และจับกุมแกนนำเสื้อแดงด้วยข้อหาผิดๆด้วยข้อหา  “ก่อการร้าย”  
เพื่อเบี่ยงแบนความสนใจไปจากอาชญากรรมที่รัฐบาลกระทำ  
และแน่นอนที่สุดว่ากระบวนการดำเนินคดีกับแกนนำเสื้อแดง  
ซึ่งเป็นคดีที่มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตนั้นไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ  
รวมถึงการกันหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดีออกไปอย่างไม่เหมาะสม  
และศาลไม่อนุญาติให้แกนนำเสื้อแดงเข้ารับฟังการพิจารณาคดีของตนเอ
ง  
นอกจากนี้บุคคลในกองทัพไทยและพนักงานสอบสวนที่มีส่วนเกี่ยวข้องใน
การควบคุมทิศทางรายงานคดีให้สอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาล
ยังได้รับการเลื่อนขั้นหรือไม่ก็จะได้รับการเลื่อนขึ้น  

เป็นเวลาหลายเดือนตั้งแต่มีการสลายการชุมนุม  
ความวามพยายามของรัฐบาลในการทำลายขบวนการคนเสื้อแดงยังคงไ
ม่เป็นผล  รัฐบาลของนายกอภิสิทธิ์ยังคงต้องใช้  
“ยุทธศาสตร์ความตึงเครียด”    ต่อไป  
ให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทางการเมืองจัดฉากเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ  
และทำให้ประชาชนหวาดกลัวแล้วป้ายความผิดมาให้กับการชุมนุมที่สงบเ
พื่อเป็นการรักษาความชอบธรรมในการสลายการชุมนุมต่อไป  ในขณะที่  
การปราบปรามการแสดงออกอย่างเสรีที่รุนแรง  
ใช้มาตรการในการตรวจสอบสื่ออย่างเข้มงวดและมีการใช้กฎหมายดราโ
ก  ครอบงำความเห็นแย้งที่มีเหตุผลและชอบธรรม  
ผู้ประท้วงหลายร้อยรายยังคงถูกควบคุมตัวในข้อหาฝ่าฝืนและละเมิดพระ
ราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายในและพระราชกำหนดฉุกเฉิน  -­‐-­‐  
ตามรายงานระบุว่ามีผู้ประท้วงหลายรายถูกผู้คุมทำร้ายและทรมาน  
นอกจากนั้นยังมีรายงานว่ามีแกนนำท้องถิ่นหลายคนเสียชีวิตในจังหวัดช
ลบุรี,  โคราช,  ปทุมธานีและเชียงใหม่  

หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศไทยที่ร้ายแรงที่สุด  
นายกรัฐมนตรี  อภิสิทธิ์  ปรกาศให้มี  “การปรองดอง”  
การตรวจสอบข้อเท็จจริง  การยอมเจรจา  
และการเดินหน้าเข้าหาการเลือกตั้งที่อาจจะช่วยแก้ไขการเข้ามาเป็นรัฐบ
าลของนายกอภิสิทธิ์ที่ไม่ได้มาจากอำนาจประชาธิปไตยที่ชอบด้วยกฎหม
าย  เป็นเวลาหลายเดือนที่รัฐบาลทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำประกาศที่ให้ไว้  
แสดงการใช้อำนาจเข้าครอบงำทำลาย  
ซึ่งต่างจากวาทศิลป์ที่นายกอภิสิทธิ์ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้โดยสิ้นเชิง  
การเพิกเฉยของรัฐบาลต่อหน้าที่ในการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง  
ความรุนแรง  การปิดกั้นสื่อทางเลือก  

11
และการก่อกวนการชุมนุมประท้วงของเสื้อแดง    หมายถึงการ  “ปรองดอง”  
 ซึ่งแท้จริงแล้วคือ    “การยกเว้นโทษให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ”  รวมถึงการคืน  
“ความสมานฉันท์”  
ที่ทำโดยการโฆษณาชวนเชื่อและการปราบปรามการชุมนุม    

ในขณะที่รัฐบาลไทยได้ใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมเสื้อแดง  
ซึ่งตามมาด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตของพลเรือนหลายสิบชีวิต  
ซึ่งสมควรที่จะได้รับการพิจารณา  
กลับมีระบบที่เลือกปฏิบัติด้วยการลิดรอนสิทธิทางการเมืองของบุคคลแล
ะจำกัดสิทธิเสรีภาพของพลเมืองผู้ที่ต่อต้านรัฐบาล  
รวมทั้งมีกักขังและการล่วงละเมิดของผู้ถูกจองจำนับร้อย  
เปิดโอกาสให้มีการกระทำทารุณอย่างร้ายแรง  ซึ่งรวมไปถึง  
กระบวนการที่ยืดเยื้อ    
ซึ่งมีความจำอย่างที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ
ลงไป  แม้ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกในประเทศไทย  
ที่ซึ่งเคยมีเหตุการณ์สังหารหมู่ที่คล้ายกันในปี  2516,  2519  ,  และ    2535  
และไม่เคยมีการสอบสวนลงโทษมากก่อนหรือลงโทษต่อการกระทำที่สังห
ารพลเรือน  เป็นที่เห็นได้ชัดเจนในเวลานี้ว่า  
การกดดันจากนานาชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมา
ยระหว่างประเทศในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของการสังหารหมู่ในกรุงเท
พฯ    ว่ามิใช่เป็นเพียงแค่การพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงให้สับสน  
เพื่อป้องกันกลุ่มคนที่มีส่วนในการรับผิดชอบ  
ต่อการใช้ความรุนแรงหลายต่อหลายครั้งของรัฐบาลในประวัติศาสตร์ขอ
งประเทศไทยรอดพ้นจากความยุติธรรม      

 ด้วยเหตุนี้คำร้องเบื้องต้นนี้ได้ถูกยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ  ("ICC")  
ในกรุงเฮกประเทศเนเธอร์แลนด์  
ขอให้อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศได้ลงมือตรวจสอบรายงานเบื้องต้
นของการการะทำที่อาจถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในราชอาณ
าจักรไทยในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน  2549  จนถึงปี  
2553การสังหารหมู่และผลที่ตามมา  ผู้ร้อง  
ทราบดีว่าประเทศไทยมิได้ให้สัตยาบันและลงนามบทบัญญัติศาลอาญาระ
หว่างประเทศ  แต่ผู้ร้องประสงค์จะพิสูจน์ว่า  

ก.            
เหตุการณ์ในประเทศไทยอาจสามารถเรียกร้องความยุติธรรมได้ในศาลอ
าญาระหว่างประเทศ  

12
โดยผ่านการแนะนำโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ  
ภายใต้มาตรา  13  (b)  ของธรรมนูญแห่งโรม  

ข.            อย่างน้อยกับนายกรับมยตรี  อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  


ผู้ทีได้ให้อำนาจอย่างชัดเจนในการสังหารพลเรือนตามนโยบายในการทำ
ลายขบวนการเสื้อแดงตามนโยบายที่จะทำลายการเคลื่อนไหวเสื้อแดง  –  
ศาลอาญาระหว่างประเทศมีหลักอำนาจพิจารณาตามประเภทของคู่กรณี  
 นายอภิสิทธิ์ในความเป็นจริงเป็นพลเมืองของสหราชอาณาจักรซึ่งได้ให้สั
ตยาบันและลงนามบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  

ค.            เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการก่ออาชญากรรมระหว่างประเทศ  
ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ  

ง.              
ผู้นำทางการเมืองและทหารของประเทศไทยต้องรับผิดชอบต่อการกระทำ
ความผิดทางอาญาเหล่านี้  

วันที่  25  ตุลาคม  2553  


แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)  
ได้ส่งคำร้องเบื้องต้นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ  
 รายงานเบื้องต้นฉบับนี้ระบุหลักฐานเบื้อง้ต้นเป็นเหตุผลอันสมควรให้เชื่อ
ว่ารัฐบาลและกองทัพบกได้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ  ตามมาตราที่  5  
ธรรมนูญแห่งกรุงโรม  (ให้คำจำกัดความในมาตราที่  6  ,  7  และ  8)  –  
การกักขังและการลิดรอนอิสรภาพทางร่างกาย  
รวมถึงการกลั่นแกล้งทางการเมือง  และการฆาตรกรรม  
ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม  ๒๕๕๓  
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นพลเมืองเกือบ  90  ราย  
และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า  2,000  ราย  
ตามหลักฐานที่ปรากฏในรายงานเบื้องต้น  
การกระทำที่มีความผิดทางอาญาของเจ้าหน้าที่รัฐบาล  
ตามกฎหมายอาญาระหวางประเทศ  

 
รายงานล่าสุดได้ระบุถึงการใช้อำนาจศาลขั้นพื้นฐานในการตรวจสอบแล
ะนำเสนอหลักฐานใหม่ที่ยืนยันต่อคณะกรรมการของการก่ออาชญากรรม
ดังกล่าวข้างต้น  
ระบุรายละเอียดในเรื่องที่เกี่ยวกับความรับผิดของบุคคลทางอาญาและคว
ามรับผิดของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อหลักฐานใหม่ที่พบ  สุดท้าย  

13
แม้ว่าเอกสารคำร้องเบื้องต้นร้องขอให้อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ
พิจารณาข้อมูล  โดยหวังให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในอนาคต  
คำร้องนี้มีคำร้องทุกข์ที่มีรายละเอียดเฉพาะที่ส่งถึงอัยการศาลอาญาระห
ว่างประเทศด้วย    
 

2.  ค วามเป็ น มา:  
เหตุ ก ารณ์ อ ั น นำไปสู ่ ร ั ฐ ประหารปี  พ .ศ.  2549  
 
ตามทางการ  
ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการ
ปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ  ตั้งแต่ป  ี 2475  
โดยการปฏิวัติของคณะราษฎร    อย่างไรก็ตาม  
มีหลายครั้งที่การเปลี่ยนผ่านทางอำนาจส่วนใหญ่มักจะไม่ผ่านขั้นตอนใน
ระบอบประชาธิปไตย  
แต่เป็นการเปลี่ยนผ่านโดยการทำรัฐประหารของทหาร    
ยกเว้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆสามช่วงที่อาจเรียกว่าเป็นประชาธิปไตย  
"แท้จริง"  (2489-­‐2490,  2516-­‐2519,  2531-­‐2535)  
ซึ่งทั้งช่วงระยะเวลาทั้งหมดถูกปิดฉากโดยการแทรกแซงของทหาร    
ตั้งแต่ป  ี
2475ประเทศไทยได้ถูกครอบงำโดยทหารที่แฝงตัวและผสมกลมกลืนไปใน
รูปแบบที่แตกต่างในระบอบประชาธิปไตยและอำนาจนิยม  
อย่างไรก็ตามสิ่งที่คล้ายกันของรัฐบาลเหล่านี้คือ      
อำนาจสูงสุดถูกใช้โดยกลุ่มอำมาตย์ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง  –  
เครือข่ายของข้าราชการพลเรือนและทหาร  
รวมถึงกลุ่มธุรกิจครอบครัวขนาดใหญ่และที่ปรึกษากษัตริย์  
รูปแบบการปกครองได้หยุดชะงักอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เดือนพฤษภา
คม    2535  
เมื่อประวัติศาสตร์การใช้ความรุนแรงระหว่างพลเรือนและทหาร  
("พฤษภาทมิฬ")  ได้ถูกจารึกไว้    
ตลอดระยะเวลาห้าปีหลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้เกิดการเคลื่อนไห
วของกระบวนการของการปฏิรูปจนเกิดเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งมีผลป
14
ระกาศใช้ในวันที่  11  ตุลาคม  2540    
ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่สร้างเสถียรภาพทางการเมืองมากที่สุดเป็นประวัติก
ารณ์  นำพาประเทศไทยไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง    

การขึ ้ น สู ่ อ ำนาจของทั ก ษิ ณ  ช ิ น วั ต ร    

ทักษิณ    ชินวัตร  เข้าสู่การเมืองในปี  2537  


ด้วยการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศในระยะสั้น    
หลังจากนั้น  ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสองครั้งในรัฐบาลสองชุด  
ในวันที่  14  กรกฎาคม  2541  ทักษิณจัดตั้งพรรคไทยรักไทย  
และชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี  ๒๕๔๔  
ซึ่งทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนครบวาระ  
ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย  
ทักษิณและพรรคไทยรักไทยยังคงได้รับความนิยมและได้รับชัยชนะในการ
เลือกตั้งอีกครั้งในปี  2548  
ซึ่งถือเป็นความประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่เมื่อพรรคไทยรักไทยครอง
จำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรถึงสามในสี่  และส่งผลให้ทักษิณ  
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง  

หลังจากการชนะเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนมาก  
รัฐบาลพยายามควบคุมและกำหนดนโยบาย  
โดยมีนโยบายให้ทหารอยู่ภายใต้การควบคุมพลเรือน  
เพื่อที่จะรักษาระบบเก่า  
กลุ่มอำมาตย์สนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลให้ออกมาประท้วงบนท้องถนน  
โดยเรียกร้องให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทหารเข้ามาแทรกแซงการเมือง  
โดยขับไล่รัฐบาลไทยรักไทยของทักษิณออกไป  
ด้วยกล่าวหาที่ว่าทักษิณไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์    
ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ถูกนำมาใช้กล่าวหาบุคคลที่เป็นภัยต่อผลประโยชน์ขอ
งกลุ่มอำมาตย์ครั้งแล้วครั้งเล่า      
ความขัดแย้งอย่างรุนแรงยังเกิดจากกรณีที่ครอบครัวชินวัตรได้ทำการขา
ยบริษัทชินคอร์ป  ซึ่งในขณะนั้นเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  

15
ก่อนการเลือกตั้งปี  2544  ทักษิณได้ขายกิจการของเขาในบริษัทชินคอร์ป  
โดยการโอนหุ้นของเขาให้กับบุตรคนโตสองคน      ในต้นปี  2549  
ครอบครัวชินวัตรได้ขายหุ้น  49.6  เปอร์เซ็นต์ให้กับบริษัท  เทมาเส็กโฮลดิ้ง  
ซึ่งเป็นหน่วยงานกองทุนสำรองของประเทศสิงคโปร์    
นักวิจารณ์ออกมาวิจารณ์การกระทำครั้งนี้ว่า    
ทักษิณขายทรัพย์สินของชาติให้ต่างชาติและถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจในท
างมิชอบและใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี  
ระยะเวลาของการขายหุ้นของทักษิณทำให้กลุ่มผู้ต่อต้านทักษิณได้เปรียบ  
โดยในวันที่  4-­‐5  กุมภาพันธ์  2549ผู้ต่อต้านจำนวนห้าหมื่นคน  
โดยการนำของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกประท้วงต่อ
ต้านทักษิณ    โดยเรียกร้องให้  ทักษิณลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี    
ทักษิณตอบโต้ด้วยการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรและกำหนดให้มีการเ
ลือกตั้งใหม่ในวันที่  2  เมษายน  2549  โดยครั้งนั้น  
ฝ่ายค้านประท้วงผลการเลือกตั้ง    
และการเลือกตั้งในครั้งนั้นพรรคไทยรักไทยยังได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น  
แต่หลังจากนั้น  ศาลกลับตัดสินว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส    
ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญพิพากษามีมติให้ลงคะแนนใหม่ในเดือนตุลาคม      
ตามรายงานระบุว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดรัฐประหาร  ในขณะเดียวกัน  
รถที่บรรจุวัตถุระเบิดรวมเจ็ดสิบกิโลกรัมถูกพบอยู่ใกล้กับบริเวณที่พักของ
ทักษิณ  

 
 

รั ฐ ประหารปี  2549  
 

ในวันที่  19  กันยายน  2549  ขณะที่ทักษิณ  


ชินวัตรเข้าร่วมการประชุมของสมัชชาสหประชาชาติ  ณ  กรุงนิวยอร์ก  
กองกำลังทหารได้เข้าควบคุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร  
รัฐบาลเผด็จการทหารนำโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด  พลเอกสนธิ  
บุญยรัตกลิน  และเป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า  the  Council  for  Democratic  
Reform  (“CDR”)  หรือ  

16
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเ
ป็นประมุข    พลเอกสนธิได้ยึดอำนาจโดยอ้างถึง    "ความแตกแยก"    
ของคนไทย  และ  "สัญญาณการทุจริตที่รุนแรงขึ้นตามลำดับ"  
รวมไปถึง"การแทรกแซง”การดำเนินงานของหน่วยงานอิสระของรัฐ    
พลเอกสนธิควบคุมรัฐบาลทั้งหมด  
และวางรากฐานเพื่อการฟื้นฟูบทบาททางการเมืองของทหารที่เคยมีในระ
ยะเวลาอันยาวนาน        พลเอกสนธิฉีกรัฐธรรมนูญฉบับปี  2540  
ยกเลิกวุฒิสภา  สภาผู้แทนราษฎร  คณะรัฐมนตรีและศาลรัฐธรรมนูญ  
พลเอกสนธิกำหนดให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากกลุ่มผู้นำของ  
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเ
ป็นประมุข  (คือตัวของเขาเอง)  
และประกาศว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะถูกเลื่อนออกไปหนึ่งปี  นอกจากนี้  
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเ
ป็นประมุข  ยังกำหนดข้อห้ามมิให้มีการชุมนุมทางการเมืองใด  ๆ  
ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป  

กฎเกณฑ์ ใ นรั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ใหม่  


 
ในวันที่  1  ตุลาคม  2549    รัฐบาลเผด็จการทหาร  
ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ  (คมช.)  
และประกาศบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว  
ซึ่งมีผลให้ประกาศและคำสั่งทั้งหมดที่ออกโดยคณะปฏิรูปการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจากเหตุการณ์รั
ฐประหารมีความถูกต้อง  ชอบธรรมและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ    
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวยังกำหนดให้มีร่างรัฐธรรมนูญใหม่แ
บบถาวร    ซึ่งเป็นกระบวนการที่คณะปฏิรูปใช้สิทธิเด็ดขาดควบคุมโดยตรง      
และเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการคัดค้านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้      
รัฐบาลเผด็จการทหารได้ระดมประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ  
อีกทั้งยังออกข้อกำหนดและข้อบังคับที่เข้มงวดเพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่มี
โอกาสแสดงการต่อต้านการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้      
หลังจากการลงประชามติ  
17
รัฐธรรมนูญถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ  24  สิงหาคม  
2550ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี  
2549ในหลายประการด้วยกัน  

หลังการทำรัฐประหาร  พลเอกสนธิได้ประกาศยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ  
และแต่งตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ  ในวันที่  30  พฤษภาคม  2550  
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยและห้ามกรรมการระดั
บสูงจำนวน  111  
รายจากพรรคไทยรักไทยทำกิจกรรมอันเกี่ยวข้องกับการเมืองเป็นเวลาห้
าปี    โดยใช้พระราชบัญญัติซึ่งทำให้กฎหมายมีผลย้อนหลัง  
ตามกฎหมายที่พลเอกสนธิประกาศใช้ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้      
อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคมปี  2550  
ได้อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยจัดกลุ่มพรรคการเมืองใหม่ภายใต้ชื่อ    
“พรรคพลังประชาชน”  (พปช.)ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์  
พรรคพลังประชาชนได้รับชัยชนะในการเลือกทั่วไปตั้งครั้งแรกหลังจากเห
ตุการณ์รัฐประหาร  ซึ่งจัดขึ้นในเดือนธันวาคม    

2550  พรรคพลังประชาชนมีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลผสม  
ซึ่งนำโดยนายสมัคร  สุนทรเวช  ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี    
ชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นสัญญาณแห่งความจงรักภักดีของผู้สนับส
นุนทางการเมืองที่ยังมีต่อทักษิณ  ชินวัตร        ในช่วงเวลานี้  
กลุ่มพันธมิตรได้รวมตัวกันอีกครั้งบนท้องถนนในกรุงเทพมหานคร  
และตั้งเวทีบนถนนราชดำเนิน  และชุมนุมอย่างสงบในปลายเดือน  
พฤษภาคม  2548    แต่เมื่อเวลาผ่านไป  
กลุ่มพันธมิตรได้เริ่มเผชิญหน้าและมีความรุนแรงเพิ่มมาก    
ปลายเดือนสิงหาคม  
การ์ดติดอาวุธกลุ่มพันธมิตรบุกเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ในกรุงเทพมหานคร  
สำนักงานหลายกระทรวงถูกทำลาย  
และกลุ่มพันธมิตรยังเข้ายึดพื้นที่ของทำเนียบรัฐบาล    
ทำร้ายร่างกายและกันไม่ให้รัฐบาลเข้าไปทำงาน  
ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้สนับสนุนพันธมิตร  ได้ยึดสนามบินจังหวัดภูเก็ต  
กระบี่และหาดใหญ่  รวมถึงปิดกั้นถนนสายสำคัญและทางหลวงหลายแห่ง  
นอกจากนี้กลุ่ม  พันธมิตรยังได้เริ่มเรียกร้องให้มีการทำรัฐประหารอีกครั้ง  

18
ในวันที่  9  กันยายน  2551  
ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้นายกรัฐมนตรีนายสมัคร    
สุนทรเวชลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  
ด้วยข้อกล่าวหาว่าแสดงเป็นพิธีกรแสดงการทำอาหารทางสถานีโทรทัศน์  
ซึ่งเป็นกระทำที่ละเมิดและขัดต่อรัฐธรรมนูญ        หลังจากนั้นนายสมชาย    
วงศ์สวัสดิ์    
ซึ่งเป็นเพื่อนกับผู้นำพรรคพลังประชาชนและมีศักดิ์เป็นน้องเขยของทักษิณ
ตามกฎหมาย  ได้ขึ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี    
แต่กลุ่มพันธมิตรปฏิเสธที่จะสลายการชุมนุม  
ซึ่งก่อให้เกิดการปะทะอย่างรุนแรงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ    ในวันที่  7  ตุลาคม  
กลุ่มพันธมิตรเข้ายึดสนามบินสุวรรณภูมิที่กรุงเทพมหานครและสนามบิน
นานาชาติดอนเมือง  โดยเริ่มตั้งแต่  วันที่  25  พฤศจิกายน  2551    
นักเดินทางนับหมื่นคนได้รับผลกระทบจากการกระทำครั้งนี้      
รัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุ
กเฉิน  และเรียกร้องให้กองกำลังติดอาวุธเข้าควบคุมสถานการณ์    
อย่างไรก็ตามฝ่ายทหารปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม    ในที่สุดวันที่  2  ธันวาคม    
ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอื่
น    
ทั้งยังสั่งยกห้ามคณะกรรมการบริหารพรรคเล่นการเมืองเป็นระยะเวลาห้
าปี  ภายหลังจากคำสั่งศาลภายในไม่กี่ชั่วโมง  
กลุ่มพันธมิตรได้ยุติการปิดล้อมสนามบินและทำเนียบรัฐบาล  
หลังจากเหตุการณ์การปะทะระหว่างกลุ่มพันธมิตรและตำรวจ  
และคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ  
ทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมและแต่งตั้งให้นายอภิ
สิทธิ์  เวชชาชีวะ  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่  18  ธันวาคม  2551  
กลุ่มรัฐบาลผสมใหม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นจากการร่วมมือจากอดีตแกนนำสมา
ชิกพรรคพลังประชาชน  นำโดยนายเนวิน  ชิดชอบ    
มีการประชุมหารือกันในวันที่  6  ธันวาคม  ณ  บ้านของพลเอกอนุพงษ์  
เผ่าจินดา  ซึ่งมีการล๊อบบี้อย่างหนักโดยทหารและสมาชิกองคมนตรี  

19
 

นโยบายทำลายการเคลื ่ อ นไหวของกลุ ่ ม คนเสื ้ อ แดงโดย


ทางการ  

คำให้การโดยพยานปากที่  22  
เป็นคำให้การโดยนายทหารประจำการที่ได้อยู่ในตำแหน่งที่ดีในกองทัพบ
ก  
ผู้มีความประสงค์จะให้การในฐานะที่เป็นบุคคลนิรนามเนื่องจากเกรงว่าจะ
ตกอยู่ในอันตรายหากกองทัพหรือรัฐบาลไทยทราบชื่อจริงของพยาน  
ทนายของผู้ร้องรู้จักพยาน  
และพยานสามารถให้การกับอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศได้  
หากมีการจัดการคุ้มครองพยานและครอบครัวอย่างเหมาะสม  

พยานปากที่  22  เปิดเผยว่าไม่กี่เดือนหลังจากการยึดอำนาจในปี  2549  


รัฐบาลทหารเริ่มร่างนโยบายเพื่อกดขี่การเคลื่อนไหวประชาธิปไตยซึ่งอา
จเกิดขึ้นหลังการทำรัฐประหารทุกวิถีทาง  
แม้การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงยังใหม่อยู่ในขณะนั้น  
แต่นโยบายนี้เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลและกองทัพไทยคาดหวังอย่างมากว่าผู้
สนับสนุนนายกรัฐมนตรีผู้ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง  ทักษิณ  
ชินวัตรจะลุกฮือเพื่อเรียกร้องสิทธิประชาธิปไตยของตน  

หลังจากมีการทำรัฐประหารในปี  2549  
ที่ขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ  ชินวัตร  
ผู้นำที่มียศสูงสุดในกองทัพบกลงความเห็นว่าแนวร่วมประชาธิปไต
ยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ  (“นปช.”)  
หรือที่รู้จักในนามของกลุ่มคนเสื้อแดงจะต้องจัดให้มีการชุมนุมประท้
วงใหญ่เพื่อเป็นการตอบโต้รัฐบาลทหารที่เข้ามาบริหารประเทศหลัง
จากมีการทำรัฐประหาร  
ความเห็นนี้สอดคล้องกับมุมมองของรัฐบาลทหาร,  
ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์  
และชนชั้นปกครองที่เป็นคนชั้นสูงที่อยู่ในรัฐบาลไทย  
(ในที่นี้จะอ้างถึงโดยรวมว่า  “รัฐบาลไทย”)  

20
หลังจากนั้น  
ผู้นำภายในกองทัพบกเริ่มวางแผนการตอบโต้ทางการทหารโดยที่รั
ฐบาลไทยรับรู้และให้อำนาจเค็มที่  
นโยบายครอบคลุมที่สนับสนุนแผนการตอบโต้คือการใช้กำลังทหาร
ที่เด็ดขาดกับผู้ประท้วงทางการเมืองที่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดงเพื่อปรา
บปรามและทำลายการขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่อ
ยู่ในประเทศไทย    

นอกจากกำลังทหารซึ่งเป็นหนีงในกลยุทธ์หลักของนโยบายการปรา
บปรามแล้ว  ยังมีการใช้  (และยังคงใช้อยู่)  
กลยุทธ์ที่มีองค์ประกอบของการลวง  
กลยุทธ์นี้ได้สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องให้แก่ประชาชนในเรื่องที่ว่
าทางกองทัพและรัฐบาลไม่มีส่วนในการรับผิดชอบต่อการกระทำที่ผิ
ดกฎหมาย,  ไม่ชอบธรรม  และเกินกว่าเหตุต่อกลุ่มคนเสื้อแดง  
แต่กลุ่มคนเสื้อแดงต่างหากที่ต้องรับผิดชอบต่อการเป็นเหตุให้ทหา
รต้องใช้กำลังเข้าปราบปราม  
ทั้งทางกองทัพและรัฐบาลต่างช่วยกันใช้กลยุทธ์นี้ในหลายรูปแบบ  
เช่น  (ก)  การทำลายและ  /  
หรือจัดการหลักฐานทีเป็นผลเสียต่อกองทัพและรัฐบาลไทย;  (ข)  
การสร้างหลักฐานเพื่อใช้กล่าวหากลุ่มคนเสื้อแดง;  (ค)  
การปกปิดเรื่องการใช้อาวุธ  เช่น  ปืนซุ่มยิงระยะไกล  และระเบิด  
โดยใช้วิธีสร้างภาพผิดๆ  
ที่กลุ่มคนเสื้อแดงต้องรับผิดชอบต่อการใช้ความรุนแรง  และ  (ง)  
การประชาสัมพันธ์ชวนเชื่อของสื่อที่เสนอภาพที่ไม่ถูกต้องว่ากลุ่มค
นเสื้อสีแดงเป็นพวกใช้ความรุนแรง,  อันตราย  
และเป็นภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  

ผู้นำทางทหารที่รับผิดชอบนโยบายนี้  ได้แก่  พลเอก  เปรม  


ติณสูลานนท์,  พลเอก  อนุพงษ์  เผ่าจินดา,  พลเอก  ประวิตร  
วงษ์สุวรรณ,  พลเอก  ประยุทธ์  จันทร์โอชา,  พลเอก  กิตติพงษ์  
เกษโกวิท,  พลเอก  ทรงกิตติ  จักกาบาตร์,  พลเรือเอก  กำธร  พุ่มหิรัญ,  
พลอากาศเอก  อิทธพร  ศุภวงศ์,  พลตำรวจเอก  ประทีป  ตันประเสริฐ,  

21
พลเอก  พิรุณ  แผ้วพลสง,  พลเอก  วิทย์  เทพหัสดิน  ณ  อยุธยา,  พลเอก  
ธีระวัฒน์  บุญยะประดับ,  และพลเอก  ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ  

คำให้การของพยานปากที่  22  
ยังอธิบายถึงการตระเตรียมการและซ้อมจำลองเหตุการณ์การประท้วงครั้
งใหญ่ของกองทัพไทย  

พื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินถูกมองว่าเป็นพื้นที่หลักที่กลุ่มคนเสื้อแด
งใช้เป็นที่ชุมนุม  
เนื่องจากถนนราชดำเนินมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การเมือง  
ตั้งแต่ประมาณเดือนกุมภาพันธ์  2550  เป็นต้นมา  
เพื่อผลักดันนโยบายของกองทัพและรัฐบาลไทยจึงได้จัดให้มีการปรั
บพื้นที่ในกรมทหารราบที่  11  รักษาพระองค์  ที่ตั้งอยู่ที่เขตบางเขน  
ตอนเหนือของกรุงเทพฯ  
ให้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมในการปราบปรามผู้ประท้วงที่เป็นกลุ่มคนเสื้อ
แดง  สาเหตุที่เลือกกรมทหารราบที่  11  
เนื่องจากกองกำลังของกรมทหารราบนี้มีขนาดใหญ่พอที่จะเข้าครอ
บคลุมพื้นที่ของถนนราชดำเนินได้ทั้งหมด  
ซึ่งได้จัดทำแผนที่ภาคพื้นดินอย่างละเอียด  
เริ่มจากบริเวณอนุสาวรีย์รัชกาลที่  5  ,  ไปทางใต้เป็นสะพานผ่านฟ้า  
และทางตะวันตกติดกับสะพานปิ่นเกล้าฯ  ฝั่งแม้น้ำเจ้าพระยา    

 
ถนนทุกสายที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับถนนราชดำเนินถูกปรับให้เป็นส
นามซ้อมให้กับกองทัพทหารในการดำเนินการปราบปราม  
มีการฝึกซ้อมประจำอย่างต่อเนื่องจากตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  2550  
จากคำสั่งให้มีการฝึกซ้อมของพลเอก  ประยุทธ  
ซึ่งมีการเคลื่อนพลติดอาวุธจากหลายภาคส่วนเข้าสู่กรมทหารราบ
ที่  11  เพื่อทำการฝึกซ้อม  

 
นอกเหนือจากการฝึกซ้อมที่กรมทหารราบที่  11  พลซุ่มยิง  
ก็ซ้อมการปฎิบัติการอยู่บริเวณถนนราชดำเนิน  
พลทหารเหล่านี้ฝึกซ้อมในพื้นที่จนคุ้นเคยกับที่ตั้งของอาคาร  ตึกสูง  
22
และเขตพื้นที่ยุทธศาสตร์  ที่ใช้ในการซุ่มโจมตีด้วยปืนซุ่มยิง  
การฝึกเป็นนักแม่นปืนของพลซุ่มยิงต้องทำควบคู่ไปกับการตั้งเป้าห
มายสมมติโดยวัดจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ  
พลซุ่มยิงจัดเขตพื้นที่สังหาร,  กำหนดวิถีกระสุน  
และจัดให้มีพลซุ่มยิงประจำอยู่ตามจุดต่างๆ  ที่กำหนดไว้      

ทหารบางหน่วยได้รับอนุญาตให้ไว้ผมและหนวดให้ยาวและได้รับคำ
สั่งให้ไปปะปนอยู่กับกลุ่มผู้ประท้วง  นปช.  
ทหารหลายนายแฝงตัวไปเป็นคนขับรถ,  การ์ดรักษาความปลอดภัย,  
และช่างเครื่องเสียงให้กับแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงหลายคน  
ซึ่งทำให้ทหารกลุ่มนี้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคนเสื้อแดง  
พร้อมกับสามารถระบุเป้าหมายกลุ่มคนเสื้อแดงที่ทางกองทัพต้องก
ารได้    

ผู้นำกองทัพเริ่มตรวจสอบและศึกษาประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทา
งการเมืองของประเทศต่างๆ  
โดยศึกษาเฉพาะกลยุทธ์และยุทธวิธีต่างๆ  
ของทหารที่ใช้กำลังในการกำจัดผู้ประท้วงที่เป็นพลเมือง    

3.  ก ารสั ง หารหมู ่ ใ นกรุ ง เทพมหานคร  


วันที่  12  มีนาคม  2551  
สมาชิกของชาติแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ  (นปช.)  
หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในนามของกลุ่มเสื้อแดงจากหลายจังหวัดทั่
วประเทศ      
ได้เริ่มเดินทางมายังกรุงเทพมหานครโดยปฏิญาณตนว่าจะไม่หยุดการชุม
นุมจนกว่านายอภิสิทธิ์  
เวชชาชีวะจะยุบสภาและประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่  
โดยกลุ่มดังกล่าวเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณหลังจากรั
ฐประหาร  
กลุ่มเสื้อแดงได้สร้างองค์อันเข้มแข็งและขยายตัวไปอย่างช้าๆทั่วประเทศ  
การเคลื่อนไหวอันเป็นประชาธิปไตยนี้เข้มแข็งมาขึ้นตามลำดับ  

23
เนื่องจากศาลและทหารใช้อำนาจในการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง  
เพื่อเอื้อให้อภิสิทธิ์ขึ้นสู่อำนาจในปี  2551  

3.1  ก ารทำลายระบอบประชาธิ ป ไตยโดยอภิ ส ิ ท ธิ ์  

หลังจากขึ้นสู่อำนาจ  รัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามปิดปากฝ่ายตรงข้าม  
โดยใช้ระบบกฎหมาย  อาทิเช่น  
กฎหมายอันเข้มงวดอย่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  มาตรา  112  
ในประมวลกฎหมายอาญาและพรบ.คอมพิวเตอร์  ในปี  2549  
เพียงปีเดียวศาลรับพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถึง  164  คดี  
ซึ่งทำลายสถิติในปี  2550  ที่มี  126  คดี  ซึ่งเป็นปีหลังจากรัฐประหาร  
และมากเป็นสองเท่าหากเทียบกับระหว่างที่พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบา
ลในปี  2551  ซึ่งมีเพียง  77  คดี  จำนวนคดีสูงสุดก่อนหน้ารัฐประหารในปี  
2548  นั้นมี  33  คดี  
และเนื่องจากข้อจำจัดทางกฎหมายและความไม่เต็มใจของสื่อกระแสหลัก
ที่วิพากษ์วิจารณ์หรือให้รายข้อมูลซึ่งอาจทำลายภาพลักษณ์ของสถาบันก
ษัตริย์  
ทำให้คดีเหล่านี้หลายคดีไม่ถูกรายงานในสื่อท้องถิ่นและสื่อต่างชาติ  

ในปี  2552  ยังคงมีการคุกคามทางการเมือง  


และในบางกรณีมีการพิจารณาคดีและพิพากษาอย่างรุนแรงต่อนักกิจกรร
มที่ถูกจับกุมในข้อหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปีก่อนหน้านี้  
คดีอันน่าสะเทือนใจที่สุดคือ  คดีของนางสาวดรุณี  ชาญเชิงศิลปะกุล  
(ดาตอปิโด)  ที่ถูกพิพากษาจำคุก  18  
ปีต่อการกระทำผิดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  
จำนวนสามกระทงโดยการปราศรัยบนเวทีปี  2551  
ทั้งยังมีการพิจารณาคดีลับด้วยเหตุผลของ  “ความมั่งคงภายในประเทศ”  
ตรงข้ามกับผู้ถูกกล่าวหาคนอื่นที่ถูกฟ้องร้องในคดีเดียวกัน  
ดาตอปิโดปฏิเสธที่จะรับสารภาพ  ดังนั้น  
ไม่เพียงแต่เธอจะได้รับโทษพิพากษาจำคุกอย่างหนัก  
แต่เธอยังถูกแยกขังและถูกบังคับให้ห้อยป้ายที่ระบุว่าเธอถูกคุมขังข้อหาอ
ะไร  ซึ่งเปิดโอกาสให้เธอถูกรังแก  
 

24
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  
เป็นกฎหมายที่ขยายความผิดของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  
พันตำรวจเอก  สุชาติ  วงศ์อนันต์ชัย  
ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศได้ยอมรับเมื่อไม่นานม
านี้ว่า  
พบการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอม
พิวเตอร์  ในเวปไซต์กว่าห้าหมื่นเวปไชต์  

คดีของสุวิชา  ท้าค้อ  และจีรนุช  เปรมชัยพร  เป็นคดีที่ได้รับความสนใจ  


ทั้งสองถูกดำเนินคดีเรื่องการเผยแพร่รูปภาพหรือข้อความที่อาจเป็นการ
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพและละเมิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเ
กี่ยวกับคอมพิวเตอร์  สุวิชา  ท้าค้อถูกจับกุมในเดือนมกราคม  ปี  2551  
เพราะเผยแพร่ภาพที่อาจเป็นการหมิ่นสถาบันทางอินเตอร์เน็ต  
สุวิชาถูกพิพากษาจำคุกยี่สิบปี  
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ประกอบกั
บกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  
แต่เนื่องจากสุวิชาสารภาพจึงได้รับการลดโทษเหลือสิบปี  
หลังจากถูกคุมขังเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง  สุวิชาได้รับการอภัยโทษในวันที่  28  
มิถุนายน  2553  

จีรนุช  เปรมชัยพร  ผู้จัดการเวปไซต์สำนักข่าวอิสระประชาไท  


ถูกจับในเดือนมีนาคม  ปี  2552  
และถูกแจ้งข้อหาสิบข้อหาเนื่องจากละเมิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระ
ทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  
เธอถูกดำเนินคดีเพราะล้มเหลวที่จะลบความคิดเห็นบนกระดานสนทนาป
ระชาไทที่อาจเป็นการหมิ่นสถาบัน  
และจีรนุชอาจถูกพิพากษาจำคุกห้าสิบปีเมื่อคดีถึงที่สุดในเดือนกุมภาพัน
ธ์  ปี  2554  
ในขณะเดียวกันเวปไซต์ประชาไทถูกรัฐบาลตามปิดอยู่เป็นประจำ  
ตั้งแต่การชุมนุมของคนเสื้อแดงครั้งล่าสุด  

การจับกุมข้อหาละเมิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอม
พิวเตอร์  ยังรวมถึง  ณัฐ  สัตยาภรณ์พิสุทธิ์  (ที่ส่งวิดีโอต่ต้านสถาบัน)  
ธันทวัฒน์  ทวีวโรดมกุล  เผยแพร่ข้อความหมิ่น)  วิภาส  รักสกุลไทย  
25
(เผยแพร่ข้อความหมิ่นทางเฟซบุค)  และอีกสี่รายที่ถูกกล่าวหาว่าเผยแพร่  
“ข่าวลือ”  เกี่ยวสุขภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  อย่างน้อย  
สองในสี่รายนั้นเพียงแค่แปลบทความที่เกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวจากนิตรส
ารบลูมเบิร์กเป็นภาษาไทยเท่านั้น  

การคุกคามทางการเมืองโดยใช้ระบบกฎหมายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ทำให้ค
ณะกรรมการปกป้องนักข่าวและนักข่าวไร้พรมแดนประณามรัฐบาลอภิสิท
ธิ์อย่างรุนแรง  โดยทั่วไป  เมื่อสิ้นปี  2552  
เสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ลดลงอย่างมาก  
ในรายงานของ  Freedom  House  หัวข้อ  “เสรีภาพในโลกปี  2553”  
กล่าวว่าประเทศไทยไม่มี  “การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย”  
เนื่องจากมีการแทรกแซงทางการเมืองโดยทหารและการที่พรรคประชาธิ
ปัตย์ยืนยันที่จะขึ้นสู่อำนาจโดยปราศจากความชอบธรรมทางการเลือกตั้ง  
Freedom  House  ตำหนิรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ที่  
“บังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสด
งออก”  โดยเฉพาะต่อ  “นักกิจกรรม  นักวิชาการ  นักเรียน  นักข่าว  
นักเขียนต่างชาติและนักการเมือง”  ที่วิจารณ์รัฐบาล  
ในรายงานที่เผยแพร่เมื่อต้นปี  2553  กลุ่ม  Human  Rights  Watch  
ออกมากล่าวถึง    "ความเสื่อมถอย"  ของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย  
จากการสังเกตการณ์เหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยตั้งแต่
นายอภิสิทธ์ขึ้นดำรงตำแหน่ง    โดยมีการ  
“ทำลายสิทธิมนุษยชนและการบวนการกฎหมายอย่างต่อเนื่อง  
และรายงานล่าสุดเมื่อปี  2554  ผู้อำนวยการ  Human  Rights  Watch  กล่าวว่า  
“สิทธิมนุษยชนไทยถูกทำลายลงอย่างมากในปี  2553”  โดยระบุถึง  
“การปฎิบัติที่ไม่เหมาะสมกับผู้ถูกคุมขัง”  และ  
“การเซ็นเซอร์อย่างกว้างขวาง”  

3.1  ส งกรานต์ เ ลื อ ดปี  2552  

ในที่  11  เมษายนปี  2552  


กลุ่มเสื้อแดงนับร้อยชุมนุมได้ออกมาชุมนุมต่อต้านนายอภิสิทธ์ในระหว่าง
การประชุมผู้นำสุดยอดอาเซียนในพัทยา    
โดยขู่ว่าจะปิดโรงแรมที่ใช้เป็นสถานที่จัดการประชุม    

26
อันนำไปสู่การยกเลิกการประชุมในที่สุด  
จากความสำเร็จของการดำเนินการที่ไม่คาดคิดมาก่อน    
กลุ่มคนเสื้อแดงได้เดินทางกลับไปยังกรุงเทพ  
และได้ปิดการจราจรและตั้งเวทีขึ้นรอบเมือง    
รัฐบาลตอบโต้ด้วยการประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงเทพฯและปริมณฑลอีก
ห้าพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสลายการชุมนุมอย่างรวดเร็ว  
เช้าตรู่ของวันที่  13  
เมษายนกองกำลังทหารได้การสลายกลุ่มเสื้อแดงที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่
รอบกรุงเทพฯ  

กองทัพไม่ได้ใช้มาตรการในการควบคุมฝูงชนตามหลักของสหประชาชาติ  
-­‐-­‐แต่กลับใช้กองกำลังจากกองพันทหารราบที่สอง  โดยเรียกตัวเองว่า  
"ทหารเสือราชินี"  -­‐-­‐  
พวกเขาใช้วิธีการยั่วยุให้เสื้อแดงใช้กำลังกับทหารทุกครั้งที่มีการเผชิญหน้
า  
และมีการยิงพลเรือนที่ไม่มีอาวุธโดยใช้กระสุนจริงในความมืดก่อนรุ่งสาง  
ทำให้มีกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงกว่า  123  รายได้รับบาดเจ็บ    
การใช้ความรุนแรงมากเกินกว่าความจำเป็นของทหาร  
ส่งผลให้แกนนำเสื้อแดงยอมมอบตัวอย่างรวดเร็วและส่งสัญญาณเตือนใ
ห้ประชาชนผู้ชุมนุมรีบเดินทางออกจากพื้นที่ล้อมรอบทำเนียบรัฐบาลเพื่อ
หลีกเลี่ยงการล้อมปราบอย่างเหี้ยมโหดอำหิต  
 

ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะอ้างว่ากองทัพดำเนินการตามมาตรฐานสากล    
แต่พยานให้การว่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงจำนวนอย่างน้อย  6  
คนเสียชีวิตทันทีจากการสาดกระสุนยิงของทหาร    
แต่ศพผู้เสียชีวิตนั้นกลับถูกลำเลียงขึ้นรถบรรทุกทหารและขับออกจากพื้น
ที่ไปอย่างรวดเร็ว  เพื่อกันมิให้ศพเหล่านั้นถูกชันสูตร  
และมีการระบุว่าผู้ตายเป็นใคร  
หลายวันต่อมาศพผู้ชุมนุมเสื้อแดงสองรายลอยขึ้นอืดเหนือแม่น้ำเจ้าพระ
ยา  สภาพศพนั้นถูกมัดและมีผ้าปิดปากไว้  
แสดงให้เห็นว่าผู้ตายถูกทารุณกรรมก่อนเสียชีวิตอย่างชัดเจน  

27
คำให้การพยานปากที่  22  
ยืนยันว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นนโยบายของทางการที่จะทำลายกระบวน
การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง  

ในระหว่างช่วงต้นปี  2552  
กองทัพบกได้รู้ข่าวจากหน่วยข่าวกรองว่ากลุ่มคนเสื้อแดงกำลังวาง
แผนการชุมนุมใหญ่ในเดือนเมษายน  2552  
ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมชุมนุมหลายพันคน  
การชุมนุมที่ว่านี้เริ่มครั้งแรกประมาณวันที่  26  มีนาคม  2552  
ซึ่งก็เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ไว้  
ผู้ชุมนุมรวมตัวกันอยู่บริเวณทำเนียบรัฐบาลบนถนนราชดำเนินเรีย
กร้องให้มีการยุบรัฐสภาและมีการเลือกตั้งใหม่  

เพื่อเป็นการตอบโต้การชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นนี้  กองพลทหารราบที่  
๒  สังกัดกองทัพบก  (ที่รู้จักในชื่อของทหารเสือราชินี  หรือ  
บูรพาพยัคฆ์)  รับคำสั่งภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอก  ประยุทธ  
จันทร์โอชาและพลตรี  วลิต  โรจนภักดี  
รับหน้าที่ในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม  วันที่  9  เมษายน  2552  
กองพลทหารราบที่  ๒  
เดินทางออกจากค่ายทหารที่อยู่ในจังหวัดชลบุรี,  จังหวัดสระแก้ว  
และจังหวัดปราจีนบุรี  และมารวมพลกันที่กองทหารราบที่  ๑๑  
เขตบางเขน  

เวลาประมาณเที่ยงคืนของวันที่  12  เมษายน  


กองทัพถอนกำลังทหารของกองพลทหารราบที่  ๑  
และกองพลทหารราบที่  ๙  ที่ตรึงกำลังพื้นที่อยู่บริเวณดินแดง  
ทิศตะวันออกของทำเนียบรัฐบาล  โดยเปลี่ยนให้กองพลทหารราบที่  
๒  ที่มีพลตรี  วลิต  
โรจนภักดีเป็นผู้บังคับบัญชามาปฎิบัติหน้าที่ในการดำเนินการสลาย
การชุมนุมแทนแทน    

พลเอกวลิต  ได้รับคำสั่งที่สำคัญ  4  
ข้อที่เกี่ยวกับการปฎิบัติภารกิจดังนี้  (ก)  

28
ทำการปราบปรามให้เสร็จสิ้นก่อนเวลาพระอาทิตย์ตกดินของวันที่  
13  เมษายน  (ข)  ไม่ทิ้งให้มีผู้เสียชีวิตหรือผู้บาดเจ็บไว้    (ค)  
ไม่ทิ้งรอยเลือดหรือหลักฐานอื่นๆ  ที่ใช้เอาความผิดได้ไว้  และ  (ง)  
ป้องกันมิให้มีนักข่าวหรือสื่อเข้ามามีส่วนรู้เห็นการปฎิบัติภารกิจครั้ง
นี้  คำสั่งเหล่านี้มาจากพลเอก  ประยุทธ์  จันทร์โอชา  
ซึ่งได้รับความเป็นชอบจากนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์  พยานให้การว่า  
พยานเชื่อว่าเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการปฎิบัติการนี้คือการ
ฆ่าประชาชน  และพลเอก  ประยุทธ  ผู้บัญชาการของพลเอก  วลิต  
ผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในคณะรัฐบาล  รวมถึงนายกรัฐมนตรี  
อภิสิทธิ์  
รับรู้ว่าการปฏิบัติภสรกิจในครั้งนี้จะต้องมีการฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์  
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายครอบคลุมที่กองทัพและรัฐบาลในการป
ราบปรามและกำจัดขบวนการคนเสื้อแดง    

นอกจากนี้  พลเอก  เปรม  ติณสูลานนท์  มีคำสั่งมอบหมายให้พลเอก  


ประยุทธ  
สังหารแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนเพื่อเป็นการแก้แค้นกลุ่มผู้ชุ
มนุมเสื้อแดงที่มาชุมนุมประท้วงที่บริเวณหน้าที่พักของพลเอก  เปรม  

พลเอก  ประยุทธ  มอบหมายให้พันเอก  ร่มเกล้า  ธุวธรรม  


นำทหารกองพลทหารราบที่  ๒  ปฎิบัติภารกิจภาคพื้นดิน  

หน่วยทหารจากกองพลทหารราบที่  ๑  
ได้รับมอบหมายภารกิจในการเก็บศพผู้เสียชีวิตและขนย้ายออกนอ
กพื้นที่  นอกจากนี้หน่วยทหารของกองพลทหารราบที่  ๑  
ยังมีภารกิจอีกหนึ่งอย่าง  คือการจับกุมผู้ต้องหา  
ด้วยความช่วยเหลือจากศาลาว่าการกรุงเทพฯ  
ทหารได้ใช้รถบรรทุกน้ำล้างรอยเลือดต่างๆ  
ในขณะที่กองพลทหารราบที่  ๑  
ขนย้ายศพผู้เสียชีวิตที่เป็นคนเสื้อแดงไปอย่างน้อย  6  ศพ    

หลังจากเกิดเหตุการณ์ในเดือน  เมษายน  2552  


เจ้าหน้าที่ทั้งภายในกองทัพบกและรัฐบาลได้รายงานข้อมูลเท็จไปยัง

29
สื่อต่างๆ  
ในประเทศว่าไม่มีผู้ชุมนุมประท้วงเสื้อแดงแม้แต่รายเดียวที่เสียชีวิต
จากการปะทะกับทหาร  พันเอก  ร่มเกล้าและคนอื่นๆ  
ก็ได้ให้ข้อมูลในลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้ต่อคณะกรรมการตรวจสอ
บข้อเท็จจริงของรัฐสภาซึ่งแต่งตั้งขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่า
วในปี  2552  อย่างไรก็ตามคำพูดเหล่านี้ไม่เป็นความจริง  
กองพลทหารราบที่  ๒  
มีส่วนรับผิดชอบต่อการฆ่าประชาชนอย่างน้อย  6  
ศพและทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า  100  
รายในระหว่างการปฎิบัติภารกิจสลายกลุ่มผู้ชุมนุมในวันที่  9  
เมษายน  2552    

กองทัพบกและรัฐบาลใช้รูปแบบการฆ่าโดยไม่มีเหตุอันควรและการ
ลวงประชาชนมากขึ้นเพื่อเป็นการตอบโต้การชุมนุมประท้วงของกลุ่
มคนเสื้อแดงในปี  2553  ที่จริงแล้ว  
การที่สำนักข่าวต่างประเทศไม่ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้อาวุธสง
ครามของทหารในปี  2552  
ทำให้ผู้นำกองทัพใช้อาวุธสงครามได้อย่างเสรีมากขึ้นในปี  2553    

 3.3  ก ารสั ง หารหมู ่ ป ี  2553  


ในช่วงแรกของปี  2553    ซึ่งถือว่าเป็นจุดสูงสุดของกลุ่มนปช.  
หรือกลุ่มเสื้อแดง  
และถือว่าเป็นการแสดงพลังทางประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศา
สตร์ของประเทศไทย  ตามที่จะกล่าวในบทต่อไป  
การแสดงพลังครั้งนี้กลับถูกทำลายด้วยน้ำมือของกองกำลังทหาร    
ด้วยวิธีการเดียวกันกับปี  2552  แต่สิ่งที่โหดเหี้ยมกว่านั้นคือ  
การปฏิบัติการมุ่งสังหารแกนนำเสื้อแดง  
และมีการระบุว่าเป็นปฏบัติการของทหาร  
แผนการดังกล่าวมาการวางแผนยุทธศาสตร์ที่จะกำจัดพยานวัตถุและใส่ร้
ายคนเสื้อแดง  

พยานปากที่  22  อธิบายยุทธศาสตร์ดังนี้  

30
ช่วงต้นปี  2553  
ทางกองทัพได้รับข่าวจากหน่วยข่าวกรองว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะมีกา
รนัดชุมนุมใหญ่ที่กรุงเทพฯ  ตั้งแต่วันที่  12  มีนาคมเป็นต้นไป  
ที่บริเวณถนนราชดำเนินและแยกราชประสงค์  
ผู้นำสำคัญในคณะรัฐบาลและกองทัพเริ่มปรึกษาหารือกันในทันทีที่ก
องพันทหารราบที่  ๑๑  บางเขน  เพื่อวางแผนการสลายการชุมนุม  
ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นประจำจากฝั่งรัฐบาล  ได้แก่  นายกรัฐมนตรี  
อภิสิทธิ์,  รองนายกรัฐมนตรีนายสุเทพ  เทือกสุบรรณ  และนายธาริต  
เพ็งดิษฐ์  อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ  (เรียกโดยรวมว่า  
“ผู้นำรัฐบาล”)  ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นประจำจากฝั่งกองทัพ  ได้แก่  
พลเอก  อนุพงษ์  เผ่าจินดา,  พลเอก  ประวิตร  วงษ์สุวรรณ,  พลเอก  
ประยุทธ์  จันทร์โอชา,  พลเอก  กิตติพงษ์  เกษโกวิท,  พลเอก  ทรงกิตติ  
จักกาบาตร์,  พลเรือเอก  กำธร  พุ่มหิรัญ,  พลอากาศเอก  อิทธพร  
ศุภวงศ์,  พลตำรวจเอก  ประทีป  ตันประเสริฐ,  พลเอก  พิรุณ  
แผ้วพลสง,  พลเอก  วิทย์  เทพหัสดิน  ณ  อยุธยา,  พลเอก  ธีระวัฒน์  
บุญยะประดับ  และพลเอก  ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ  (เรียกโดยรวมว่า  
“ผู้นำกองทัพ”)  เช่นเดียวกันกับปี  2551  
วัตถุประสงค์ของการประชุมคือเพื่อพัฒนาและจัดทำแผนการสลาย
การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง  
พร้อมกับนโยบายที่ครอบคลุมไปถึงการกำจัดขบวนการกลุ่มคนเสื้อ
แดงให้หมดสิ้นไป    

 
มีการจัดตั้งกองกำลังทหารหน่วยปราบปรามขึ้น  
ซึ่งรับคำสั่งภายใต้การบังคับบัญชาของพลโท  ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ,  
พลเอก  อนุพงษ์  เผ่าจินดา  และพลเอก  ประยุทธ์  จันทร์โอชา  
เพื่อดำเนินการด้านการทหารในการการสลายการชุมนุม  
 

วันที่  8  มีนาคม  2553  นายณัฐวุฒิ  ไสยเกื้อ-­‐-­‐


แกนนำที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง  -­‐-­‐  
ได้ออกมาประกาศต่อสาธารณชนว่า  
กลุ่มเสื้อแดงจะเดินเข้ามาชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพฯโดยจะเริ่มต้นในวันที่  ๑๔  

31
มีนาคม  แม้ว่านายณัฐวุฒิจะยืนยันเจตนารมณ์การชุมนุมอย่างสงบ  
แต่นายอภิสิทธิ์กลับประกาศให้มีการใช้พระราชบัญญัติรักษาความมั่นคง
ภายทันที  

เมื่อประมาณวันที่  8  มีนาคม  2553  นายกรัฐมนตรี  


อภิสิทธิ์ย้ายไปพักอยู่ที่กรมทหารราบที่  11  
เขตบางเขนเพื่อที่จะไม่ต้องปรากฎอยู่ในบริเวณเดียวกับผู้ชุมนุมกลุ่
มคนเสื้อแดงแต่ในขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยผู้นำรัฐบา
ลและผู้นำทหารคนอื่นๆ  
ยังสามารถวางแผนตอบโต้การชุมนุมของผู้ประท้วงได้โดยตรง  
นายกรัฐมนตรี  
อภิสิทธิ์เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือร่วมกับผู้นำรัฐบาล,  
ผู้นำกองทัพและ  ศอฉ.  
ทุกครั้งที่เป็นการประชุมเกี่ยวกับผู้กลุ่มชุมนุมเสื้อแดงและนายกรัฐม
นตรีเห็นชอบกับคำสั่งทุกคำสั่งที่ให้กองทัพปฎิบัติตามผ่านผู้นำกอง
ทัพทั้งหลาย    

ผู้นำกองทัพและผู้นำรัฐบาลพิจารณาให้เริ่มดำเนินการสลายการชุม
นุมในวันที่  10  เมษายน  ในเขตพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนิน  
การปฎิบัติการนี้มีรูปแบบคล้ายคลึงกับการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้ว
งที่เป็นนักศึกษาที่จัตุรัสเทียนอันเหมินของทหารจีนในปี  2532  
และการปราบปรามในครั้งนั้นไม่เคยมีการตั้งคำถามว่าการปราบป
รามจะมีส่วนในการฆ่าประชาชนเป็นจำนวนมากหรือไม่  
กองทัพประมาณการณ์ไว้ว่าจะมียอดผู้เสียชีวิตจากการปราบปราม
ทั้งสิ้นประมาณ  500  คนและจากการประมาณการณ์นั้น  
การปฎิบัติภารกิจปราบปรามการชุมนุมจึงได้รับความเห็นชอบจาก
สมาชิกทุกคนในคณะผู้นำรัฐบาลซึ่งรวมนายกรัฐมนตรี  
อภิสิทธิ์และผู้นำทหารคนอื่นๆ  ด้วย    

วัตถุประสงค์เฉพาะของการปฎิบัติภารกิจครั้งนี้คือเพื่อเป็นการข่มข
วัญผู้ชุมนุม,  สังหารกลุ่มแกนนำ  
และปราบปรามขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง  
ซึ่งขัดแย้งกับความจริงที่เห็นชัดได้ว่า  

32
กลยุทธ์นี้ไม่ได้มีเจตนาเพื่อเป็นการขับไล่ผู้ชุมนุมแต่มุ่งเน้นไปที่การ
จำกัดกลุ่มผู้ชุมนุมไว้ในบริเวณที่กำหนด,  
ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงเพื่ออ้างเหตุผลในการสู้เพื่อป้องกันตนเอง  
และเปิดฉากยิง  

วันที่  12  มีนาคม  


กองกำลังทหารได้รวบรวมพลซุ่มยิงที่คัดเลือกมาจากค่ายทหารต่า
งๆ  ภายในกองทัพ  (ทุกกองในเขตพื้นที่ปฎิบัติการ)  กองทัพบก  
ส่งกรมรบพิเศษที่  3  (พลร่ม)กองทัพอากาศส่งหน่วยรบพิเศษ,  
กองทัพเรื่องส่งหน่วยซีล  
และกรมตำรวจส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจากหน่วยอรินทราช,  
หน่วยลาดตระเวนชายแดนทางอากาศและหน่วยคอมมานโด  
ซึ่งรวมแล้วมีพลซุ่มยิงคร่าวๆ  ประมาณ  40-­‐50  
กองที่มาจากแต่ละกรม  
พลซุ่มยิงทุกนายได้รับการฝึกให้ทำภารกิจในที่ซ่อนและใช้อาวุธแบบ
พิเศษ  หลังจากมีการฝึกซ้อมเพื่อภารกิจปราบปรามแล้ว  
พลซุ่มยิงแต่ละนายต่างได้รับอาวุธและคำสั่งให้ประจำตำแหน่งอยู่ใ
นระยะ  300  เมตร    
 

วันที่  13  มีนาคม    


กลุ่มคนเสื้อแดงหลายพันคนเริ่มทยอยเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานคร  
โดยส่วนใหญ่มาจากจังหวัดในแถบชนบท    
พวกเขารวมตัวกันที่สะพานผ่านฟ้าและถนนราชดำเนินซึ่งใกล้กับรัฐสภาแ
ละสถานที่ราชการสำคัญอื่น  ๆ  
และตามประวัติของพื้นที่แล้วถือว่าเป็นบริเวณที่เคยมีประวัติประชาชนออ
กมาเรียกร้องสิทธิทางการเมือง  กลุ่มผู้ชุมนุมได้กางเต็นท์  
และเตรียมตัวสำหรับการชุมนุมระยะยาว  
และยังได้ยึดเอาพื้นที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์เป็นสถานที่ชุมนุม  
ซึ่งเป็นย่านธุรกิจและเป็นหัวใจสำคัญ  
มีการจับจ่ายใช้สอยสินค้าราคาแพงของคนกรุงเทพ  
หลายสัปดาห์ต่อมาผู้ชุมนุมเสื้อแดงนับแสนคนได้ออกเดินทางประท้วงด้ว
ยพาหนะและด้วยการเดินเท้าจำนวนมาก  -­‐-­‐  

33
แหล่งข่าวหลายแห่งคาดว่าอาจจะมีจำนวนมากถึงหลายล้านคนที่บริเวณ
สี่แยกราชประสงค์    เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไป    
แม้ว่า  จะมีการปราศรัยและเสียงสนับสนุนอยู่เป็นระยะ  
แต่ก็เป็นไปอย่างสงบ  
และไม่มีหลักฐานของการก่อความรุนแรงของกลุ่มเสื้อแดงในช่วงระยะนี้  

ผู้ชุมนุมเสื้อแดงนับแสนคนได้ออกเดินทางประท้วงด้วยพาหนะและด้วยกา
รเดินเท้าจำนวนมาก  -­‐-­‐  
แหล่งข่าวหลายแห่งคาดว่าอาจจะมีจำนวนมากถึงหลายล้านคนที่บริเวณ
สี่แยกราชประสงค์    เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไป    
แม้ว่า  จะมีการปราศรัยและเสียงสนับสนุนอยู่เป็นระยะ  
แต่ก็เป็นไปอย่างสงบ  
และไม่มีหลักฐานของการก่อความรุนแรงของกลุ่มเสื้อแดงในช่วงระยะนี้  
 

อย่างไรก็ตามวันที่  7  เมษายน  
อภิสิทธิ์ได้ประการใช้พระราชบัญญัติบริหารราการแผ่นดินในสถานการณ์

34
ฉุกเฉินในกรุงเทพและปริมณฑลอีกห้าจังหวัด  
เพื่อเตรียมการสลายการชุมนุมที่รุนแรง  ภายใต้กฎหมายฉุกเฉิน  
รัฐบาลได้ตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน  
(ศอฉ.)นำโดยรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ  เทือกสุบรรณ  

วันที่  8  เมษายน    
กองทัพภาคได้ปิดการสื่อสารของกลุ่มเสื้อแดงโดยการเข้ายึดสถานีโทรทั
ศน์สถานีพีเพิลชาแนล  (พีทีวี)ที่ปทุมธานี  
และพยายามรบกวนสัญญาณการออกอากาศ  
ทำให้กลุ่มเสื้อแดงหลายพันคนตอบโต้ด้วยการเดินทางไปยังสถานีและเรี
ยกร้องให้มีการคืนการส่งสัญญาณ    
แต่กองกำลังทหารกลับยิงแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มเสื้อแดง    
ปรากฏว่าลมได้พัดแก๊สน้ำตากลับมายังกองกำลังทหาร  
ทำให้ทหารส่วนใหญ่ทิ้งวางอาวุธและล่าถอยไปยังพื้นที่โล่ง    
หลังจากนั้นกลุ่มคนเสื้อแดงได้เข้ายึดอาวุธ  
และยังได้ช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ทหารที่บาดเจ็บ  
ระหว่างนี้เองได้มีการเจรจาตกลงระหว่างทหารและกลุ่มเสื้อแดง  
โดยทหารตกลงที่จะแปลงสัญญาณกลับให้สถานีพีทีวีกลับมาออกอากาศไ
ด้อีกครั้ง  
โดยแลกกับการที่กลุ่มเสื้อแดงจะต้องคืนอาวุธทั้งหมดให้กับทหาร  
(แนบรายงานการคืนอาวุธเสื้อแดง  และคำให้การพยานปากที่  17)    
แต่ทันทีที่ข้อตกลงที่ไม่มีทีท่าว่าจะจริงตั้งแต่แรกได้สิ้นสุดลงเมื่อเสื้อแดงไ
ด้ทำการคืนอาวุธ    
ปรากฏว่าได้มีทหารซ่อนตัวอยู่บนหลังคาของอาคารสถานีพีทีวี  
และปิดสัญญาณการออกอากาศของสถานีพีทีวีอีกครั้ง      

การเจรจาตกลงระหว่างทหารและกลุ่มเสื้อแดง  
โดยทหารตกลงที่จะแปลงสัญญาณกลับให้สถานีพีทีวีกลับมาออกอากาศไ
ด้อีกครั้ง  
โดยแลกกับการที่กลุ่มเสื้อแดงจะต้องคืนอาวุธทั้งหมดให้กับทหาร  
(แนบรายงานการคืนอาวุธเสื้อแดง  และคำให้การพยานปากที่  ๑๗)    
แต่ทันทีที่ข้อตกลงที่ไม่มีทีท่าว่าจะจริงตั้งแต่แรกได้สิ้นสุดลงเมื่อเสื้อแดงไ
ด้ทำการคืนอาวุธ    

35
ปรากฏว่าได้มีทหารซ่อนตัวอยู่บนหลังคาของอาคารสถานีพีทีวี  
และปิดสัญญาณการออกอากาศของสถานีพีทีวีอีกครั้ง      

วันที่  10  เมษายน    รัฐบาลกระจายกำลังทหารไปยังบริเวณสะพานผ่านฟ้า    


ซึ่งในที่สุดจะนำมาซึ่งเหตุการณ์นองเลือดที่เข่นฆ่าและทำร้ายพลเรือนที่ปร
าศจากอาวุธจำนวนมาก  
รัฐบาลได้ออกมาประกาศถึงกฎของการใช้กองกำลังควบคุมฝูงชนทั้งเจ็ด
ขั้นตอน  
นายอภิสิทธิ์ปรากฎตัวบนทีวีและกล่าวว่าเหตุการณ์ครั้งนี้จะไม่เหมือนการ
ชุมนุมในพื้นที่ราชประสงค์  
โดยจะมีการอนุญาตให้มีการชุมนุมในพื้นที่สะพานผ่านฟ้า  
บริเวณถนนราชดำเนิน  อย่างไรก็ตาม  
ทหารก็ได้สลายผู้ชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน    

อีกครั้งหนึ่งที่พยานปากที่  22  
อธิบายถึงเบื้องหลังของการสลายการชุมนุมในวันที่  10  เมษายน  2553  

ช่วงเช้าของวันที่  10  เมษายน  


พลซุ่มยิงที่ก่อนหน้านี้รวมตัวกันมาจากหลายที่ทั้งจากกองทัพและห
น่วยงานอื่น  
ได้รับมอบหมายให้ไปประจำการตามพื้นที่ยุทธศาสตร์ต่างๆ  
ในบริเวณพื้นที่รอบสะพานผ่านฟ้าฯ  
พลซุ่มยิงประจำอยู่บนอาคารทำการของธนาคารกรุงเทพฯและบนด
าดฟ้าของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในแนวเดียวกับเวทีปราศรัยของแกนนำกลุ่มคนเสื้อ
แดง  ส่วนพื้นที่บริเวณอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย  
มีพลซุ่มยิงอยู่บนหลังคาโรงเรียนสตรีวิทย์  บนถนนดินสอใกล้ๆ  
กับสี่แยกคอกวัว  และตามหลังดาหรือดาดฟ้าของอาคารต่างๆ  
ที่ตั้งอยู่ติดๆ  กันในบริเวณนั้น  
นอกจากนี้ยังมีทหารสังเกตการณ์ประจำการอยู่บนยอดอาคารเพื่อ
ระบุเป้าหมายที่ต้องการ    

เวลาประมาณ  13.00  น.  ในวันที่  10  เมษายน  


ภารกิจในการสลายการชุมนุมได้เริ่มขึ้น  ในเวลานี้เอง  

36
กลุ่มคนเสื้อแดงรวมตัวกันอยู่เต็มพื้นที่รอบนอกถนนราชดำเนิน  
เป็นระยะทางประมาณ  2  กิโลเมตรไปทางใต้ถึงสะพานผ่านฟ้าฯ  
บริเวณที่เส้นทางถนนเลี้ยวไปทางตะวันตกและบรรจบกับถนนราชด
ำเนินกลาง  
ยาวไปจนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแล้วไกลออกไปทางทิศตะวันต
กตรงสี่แยกคอกวัวกับถนนตะนาว  
สิ้นสุดที่ถนนราชดำเนินกลางตัดกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานปิ่นเก
ล้า    

พยานปากที่  22  อธิบายต่อว่า  

กองกำลังทหารจากกองพลทหารราบที่  ๑  
ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอก  ประยุทธ  ได้รับมอบหมายจาก  
กองบัญชาการกองทัพภาคที่  ๑  
ให้เข้าประจำการอยู่บริเวณรอบนอกถนนราชดำเนินตรงสะพานมัฆ
วาน  คำสั่งของกองพลทหารรายที่  ๑  
คือการต้อนกลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ทางใต้ของถนนราชดำเนินรอบนอก  
หลังจากนั้นทหารจากกองพลทหารราบที่  ๙  
จะเข้ามาประจำการที่สะพานปิ่นเกล้าและต้อนผู้ชุมนุมทางฝั่งตะวันอ
อกตามถนนราชดำเนินกลาง  เมื่อทำได้เช่นนี้  
กลุ่มผู้ชุมนุมจะถูกต้อนให้เข้ามารวมตัวกันอยู่ตรงกลางบริเวณสะพ
านผ่านฟ้าฯ  
จำนวนผู้ชุมนุมที่มากและหนาแน่นจะช่วยให้ทหารติดอาวุธแปงตัวเข้
าไปอยู่กับกลุ่มคนเสื้อแดง  
ปะปนกับฝูงชนเพื่อสร้างความโกลาหนและลอบสังหารแกนนำที่ปรา
ศรัยอยู่บนเวที  และสามารถโทษใครก็ได้ที่ไม่ใช่กองทัพ  
วัตถุประสงค์ของภารกิจนี้คือเพื่อทำให้การสลายการชุมนุมประสบผ
ลสำเร็จภายในเวลา  18.00  น.  ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ยังไม่ตกดิน  
โดยในเวลาประมาณ  14.30  น.  
กองทัพใช้กระสุนยางที่เตรียมมาหมดแล้วและได้เริ่มใช้กระสุนจริงใ
นการยิงปะทะ    

37
ใช้ยุทธวิธีเพื่อเป็นการข่มขวัญมากกว่าการสลายการชุมนุม  เช่น  
การใช้กระบองตีบนโล่,  การยิงกระสุนยางตรงไปที่กลุ่มผู้ชุมนุม,  
และยิงกระสุนจริงขึ้นฟ้า  กองกำลังของกองพลทหารราบที่  ๑  
ประสบความสำเร็จในการต้อนกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงไปบริเวณส่วนน
อกของถนนราชดำเนินทางใต้ตัดกับถนนวิสุทธิกษัตริย์ในเขตพื้นที่ที่
เรียกว่าสี่แยก  จปร.    

โจ    เรย์  วิทตี้  เป็นทหารหน่วยรบพิเศษ  ติดยศจ่าสิบโท  (เกษียณ)  


ของกองทัพบก  สังกัดหน่วยรบพิเศษของสหรัฐ    
ปัจจุบันให้กับกรมตำรวจนครลอสแองเจลิสฝึกสอน  
การวางแผนและการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจในการควบคุมหรือจัดการกั
บการชุมนุมทั่วมหานครลอสแองเจลิสและทำงานหน่วยต่อต้านการก่อกา
รร้ายหรือหน่วยสวาท  (อาวุธและกลยุทธ์พิเศษ)โจ    เรย์  วิทตี้  
เดินทางมากรุงเทพเพื่อตรวจสอบและประเมินการตอบโต้ของกองทัพไทย
ที่มีต่อกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงในกรุงเทพฯ  
ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม  2553  รายงานของโจ    เรย์  
วิทตี้ยังถูกเผยแพร่ในภาคผนวกอีกด้วย  

รายงานฉบับนี้เขียนขึ้นด้วยความชำนาญของจ่าสิบโท  โจ    เรย์  วิทตี้  


ในการวางแผนและการปฎิบัติหน้าที่ของตำรวจในการควบคุมหรือจัดการ
กับการฝูงชน  
จบในหลักสูตรการเป็นพลลาดตระเวนซุ่มยิงของกองทัพและเป็นผู้เชี่ยวชา
ญด้านอาวุธระเบิด  เคยปฎิบัติภารกิจในการสู้รบทั้ง  2  
ครั้งที่ประเทศอัฟกานิสถานและประเทศอิรัก  ก่อนเขียนรายงาน  จ่าสิบโท  
โจ    เรย์  วิทตี้  ได้ตรวจสอบภาพวีดีโอจำนวนมาก  หลักฐานภาพถ่าย  
สัมภาษณ์พยาน  ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุหลายและจุดปฏิบัติการทหาร  
และศึกษาอ่านคำให้การพยายหลายปาก  

จ่าสิบโท  โจ    เรย์  


วิทตี้อธิบายว่าเหตุใดยุทธวิธีของกรมทหารราบในการสลายการชุมนุมเว
ลากลางวันจึงไม่ได้มาตราฐานของการจัดการฝูงชน  
หรือมาตราของกองทัพไทยเอง  

38
วันที่  10  เมษายน  2553  
ทหารหลายกองจากกองทัพบกเตรียมพร้อมในชุดป้องกันการปะทะ
การจลาจลที่ออกแบบมาสำหรับสวมใส่ในสถานการณ์ที่ต้องมีการก
ารจัดการฝูงชน    อุปกรณ์ที่กล่าวมานี้ได้แก่:  หมวกกันน๊อค  
รุ่นเดฟล่าร์,  ที่กั้นใบหน้า,  ที่กันกระแทกหน้าอก,  หัวไหล่,  ท่อนแขนบน,  
ปลายแขน,  ข้อศอก  มือและหน้าแข้ง  
นี่คืออุปกรณ์ป้องกันมาตรฐานที่ใช้ในการจัดการฝูงชนที่หน่วยงานบั
งคับใช้กฎหมายหลายแห่งใช้เพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่จากการถูกจู่โจม
ด้วยวิธีการที่หลากหลาย  และ/หรือ  
การถูกขว้างปาของแข็งเข้าใส่ในระหว่างปฎิบัติการควบคุมฝูงชน  
แต่ทหารบางคนของกองทัพบกได้สวมใส่หน้ากากป้องกันแก๊สที่ใช้ใ
นการปฎิบัติการโดยใช้แก๊สน้ำตา  
หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www.___________  
[ช่วงเวลากลางวัน  –  วันที่  10  เมษายน]    

กองทัพบกได้ประกาศกฎการใช้กำลัง  (ROE)  ไว้ทั้งสิ้น  7  ขั้นตอน  


ซึ่งเป็นกฎการใช้กำลังที่ต้องยึดถือปฎิบัติทุกครั้ง  
กระทำเฉพาะในกรณีที่จำเป็น  
และต้องมีการประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้าหากมีการยกระดับการใช้
ความรุนแรงในขั้นที่สูงขึ้น  ตามลำดับดังต่อไปนี้  (1)  
การเจรจาโดยใช้ลำโพง  (2)  จัดวางกองกำลังเพื่อแสดงพลัง  (3)  
ผลักดันฝูงชนด้วยการใช้โล่ห์และกระบอง  (4)  การใช้น้ำฉีด  (5)  
ใช้เครื่องขยายเสียง  (6)  ใช้แก๊สน้ำตาและ  (7)  
ใช้กระสุนยางยิงจากปืนลูกซอง  หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  
_______  (พันเอก  สรรเสริญ)  

มีทหารหลายนายของกองทัพบกที่ติดอาวุธปืนไรเฟิล  M-­‐16  
และสวมอุปกรณ์ป้องกันการจัดการฝูงชน  
ซึ่งการสวมอุปกรณ์ป้องกันพร้อมติดอาวุธดังกล่าวนี้ผิดหลักวัตถุปร
ะสงค์ของการจัดการฝูงชน  ตามความเห็นของผม  
กองกำลังที่สวมอุปกรณ์และติดอาวุธดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อข่มข
วัญ  
และ/หรือเพราะว่าได้รับคำสั่งให้จากผู้บังคัญบัญชาให้ปรับแผนการ

39
จัดการให้เป็นการสู้รบ  หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  
:______.    [ช่วงเวลากลางวัน  –  วันที่  10  เมษายน  (13)]    

มีทหารหลายนายได้ทำการปั้มยิงหรือยิงด้วยปืนลูกซองหนึ่งนัด  
แต่ตามคำให้การพยาน,  หลักฐานวิดีโอและหลักฐานทางวัตถุ  
ยังมีทหารที่ยิงด้วยกระสุนที่ที่มีอันตรายต่อชีวิตน้อยด้วย  (เช่น  
กระสุนยาง)  อย่างไรก็ตาม  
หลักฐานวิดีโอแสดงให้เห็นว่าในบางกรณีทหารใช้กระสุนที่ที่มีอันตร
ายต่อชีวิตน้อยนี้ยิงใส่ผู้ประท้วงที่มิได้มีท่าทีเป็นภัยคุกคามโดยที่มิไ
ด้มีการเตือนใดๆ  ก่อน  
และการยิงในลักษณะนี้มีลักษณะที่น่าจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บทา
งร่างกายรุนแรงได้  
การใช้กระสุนที่มีอันตรายต่อชัวิตน้อยนี้ขัดต่อระเบียบปฎิบัติในการ
จัดการฝูงชนที่เป็นที่ยอมรับและยังขัดต่อกฎการใช้ความรุนแรงของ
กองทัพไทย  ซึ่งแสดงถึงเจตนาที่มีความผิดทางอาญา  
ฐานทำร้ายร่างกาย  หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  
:______.    [ช่วงเวลากลางวัน  –  วันที่  10  เมษายน  (13)]    

นอกจากนี้  ผมยังได้ตรวจสอบปลอกกระสุนของปืนลูกซองขนาด  12-­‐


gauge  เก็บได้จากบริเวณที่มีการชุมนุมประท้วงของคนเสื้อแดง  
ชี้ให้เห็นว่า  
อย่างน้อยที่สุดก็มีทหารบางนายที่บรรจุและใช้กระสุนจริงยิง  
ตามรายละเอียดด้านล่างนี้เป็นความเห็นของผมที่ว่าสถานการณ์ที่เ
กิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดงนั้นไม่มีทางที่จะสามารถ
ทำให้ทางกองทัพบกอ้างสิทธิ์ในการใช้กระสุนจริงได้เลย  

ทหารส่วนใหญ่ที่ปฎิบัติหน้าที่โดยสวมใส่เครื่องป้องกันที่ใช้ในการสู้ร
บจะติดอาวุธปืนไรเฟิลจู่โจมอัตโนมัติรุ่น  Tarov-­‐21  หรือ  M-­‐16  
แสดงให้เห็นว่าคำสั่งต้องการให้ทหารกลุ่มนี้ใช้ความสามารถในกา
รสู้รบมากกว่าจะจัดการฝูงชนอย่างเข้มงวด  
หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.    [ช่วงเวลากลางวัน  
–  วันที่  10  เมษายน  (13)]    

40
กองทัพบกไทยใช้อาวุธอัตโนมัติในช่วงเวลากลางวันของวันที่  10  
เมษายน  
ผมสามารถบอกได้จากการฟังคลิปเสียงว่ามีการยิงโดยใช้อาวุธแบ
บอัตโนมัติโดยยิงทั้งหมดสามชุดอย่างชัดเจน  
มีทหารหลายนายที่ยิงปืนทำมุมขึ้นเหนือฝูงชน  
เป็นที่ชัดเจนว่าทหารเหล่านี้ใช้กระสุนจริง  
โดยสักเกตจากหลายปัจจัย  ดังนี้  ประการแรก  ไม่มีการติดตั้ง  
“ปลอกทวีแรงถอย”  (BFA)  
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้มีแรงดันแก๊สออกและช่วยให้คัดปลอกแ
ล้วบรรจุกระสุนนัดใหม่ได้โดยไม่ต้องดึงคันรั้งลูกเลื่อน  
แต่หากไม่ได้ติดตั้งปลอกทวีแรงถอยผู้ใช้ก็ต้องมาจัดการบรรจุกระ
สุนใหม่ในแต่ละครั้งที่มีการยิงกระสุนเปล่า  อย่างไรก็ตาม  
ผมสังเกตไม่พบทหารแม้แต่นายเดียวที่ต้องมาบรรจุกระสุนใหม่โดย
การดึงคันรั้งเอง  แต่กลับยิงแบบซ้ำๆ  ได้  
นอกจากนี้ปลอกทวีแรงถอยมักมีสีที่สะดุดตาเพื่อเหตุผลด้านความ
ปลอดภัย  
เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการนำเอากระสุนจริงมาใช้ในการฝึกซ้อม  
แต่ผมก็ยังไม่เห็นปลอกทวีแรงถอยติดกับอาวุธปืนที่ทางกองทัพบกใ
ช้ยิง  หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.    
[ช่วงเวลากลางวัน  –  วันที่  10  เมษายน  (13)]    

ประการที่สอง    
ผมตรวจสอบปลอกทองเหลืองที่เก็บกู้ได้จากรอบบริเวณพื้นที่ชุมนุม
ต่างๆ  ปลอกทองเหลืองทั้งหมดมาจากกระสุนจริง  
เพราะปลอกกระสุนเหล่านี้ไม่จีบรอบหัวกระสุนเหมือนกับที่พบในหัว
กระสุนของลูกเปล่า    

การยิงลูกกระสุนจริงขึ้นฟ้านั้นอันตรายมาก  
กระสุนจริงที่ยิงแนววิถียิงขึ้นนั้นในที่สุดก็ต้องตกลงมา  
ตามคู่มือกองทัพสหรัฐฯ  FM  3-­‐22.9  (M16/ไรเฟิล  A2)  
ช่วงระยะยิงสูงสุดของปีนไรเฟิล  M16A2  คือระยะ  3,600  เมตร  
การสุ่มยิงกระสุนจริงขึ้นฟ้าอาจทำอันตรายให้แก่ใครก็ได้ที่อยู่ในรัศ
มีดังกล่าว  จริงๆ  แล้วมีรายงานที่ตีพิมพ์ในเดือนธันวาคม  2537  

41
ในวารสาร  Journal  of  Trauma  ที่คณะแพทย์ที่  King  /  Drew  Medical  
Center  ที่ในเวลานั้นคือ  Los  Angeles  Trauma  Center  
รักษาผู้ป่วยจำนวน  118  คนระหว่างปี  2528  และ  2535  
จากการบาดเจ็บที่เกิดจากการถูกลูกกระสุนตกใส่ในช่วงเทศกาลปีใ
หม่และวันประกาศอิสรภาพ  มีผู้เสียชีวิตจำนวน  38  ราย  

การที่ทหารของกองทัพบกยิงกระสุนจริงขึ้นฟ้านั้นทำให้พลเมืองทุก
คนที่อยู่ในพื้นที่นั้นมีความเสี่ยงสูง  
การใช้กระสุนจริงของทางกองทัพบกภายใต้สถานการณ์ที่ไม่เป็นอัน
ตรายแม้ว่าจะเล็งเป้าเหนือศรีษะกลุ่มผู้ประท้วงก็ตาม  
ถือว่าเป็นการละเมิดระเบียบปฎิบัติในการจัดการฝูงชนที่ยอมรับทั่วไ
ปอย่างเห็นได้ชัด  
และตามความเห็นของผมเชื่อว่าอย่างน้อยที่สุดก็เป็นความประมาท
ทางอาญา    

จากการตรวจสอบหลักฐานวีดีโอหลายรายการ  
ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลไทยกระทำการที่ไม่เหมาะสมในการจัด
กำลังพลกองทัพบในการจัดการฝูงชน  
มีทหารหลายนายที่ไม่ได้รับการฝึกเรื่องกลยุทธและหลักปฎิบัติในก
ารควบคุมฝูงชนและไม่มีการสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในกา
รปฎิบัติงาน  
การขาดการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาทำให้มีผลลัพท์ออ
กมาอย่างที่เห็น  
คือมีทหารหลายนายสวมอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ในการจัดการฝูงชนค
วบคู่กับการติดอาวุธประเภทไรเฟิลจู่โจมซี่งเป็นการส่งข้อความที่ขัด
แย้งและสับสนให้แก่ทหารเหล่านี้  ตามความเห็นของผม  
ผู้ที่สมควรได้รับหน้าที่ในการปฎิบัติภารกิจในการจัดการฝูงชนควรเ
ป็นเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่าง
ดีแต่นี่กลับเป็นกำลังพลทหารที่ปฎิบัติภารกิจโดยไม่คำนึงถึงความป
ลอดภัยของประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว  

ในสถานการณ์ใกล้เคียงกันนี้  
การใช้มาตรฐานในการจัดการฝูงชนคือการเตรียมแผนและซักซ้อม
ทำความเข้าใจกับผู้นำในการจัดการฝูงชนทั้งหมด  
42
แล้วผู้นำต้องมาอธิบายรายละเอียดและดูแลความเรียบร้อยของผู้ป
ฎิบัติงานในทุกขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนเข้าใจกฎการใช้กำลังแ
ละปฎิบัติตามได้อย่างเหมาะสม  
การตัดสินใจควรทำเพื่อเป็นการสนับสนุนทิศทางของฝูงชนเพื่อสลา
ยตัวอย่างปกติ  การตั้งแนวป้องกันต้องเห็นได้ชัดและเข้าถึงพื้นที่  
ควรให้มีทางออกหลักอย่างน้อบหนึ่งทางให้ฝูงชนออกไปได้เอง  
ผู้นำใช้ระบบกระจายเสียงในการประกาศคำสั่งในการสลายฝูงชนแ
ละแจ้งทางออก  ควรให้เวลาฝูงชนในการทำตามคำสั่งแนะนำ  
เจ้าหน้าที่ควรตั้งแถวเดินตรงไปยังฝูงชนช้าๆ  
โดยที่ให้เจ้าหน้าทีผู้นำทีมประกาศแจ้งขั้นตอนต่างๆ  ให้กับฝูงชน  
อาจมีการใช้รถฉีดน้ำเพื่อให้ฝูงชนสลายตัวเร็วขึ้น  
และอาวุธที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงจนถึงชีวิตอาจนำมาใช้ได้เฉพาะ
กับบุคคลที่ฝ่าฝีนคำสั่งเท่านั้น  
บุคคลที่กระทำความผิดทางอาญาควรถูกจับกุมโดยใช้กำลังตามคว
ามจำเป็น  
ผู้กระทำความผิดที่หลบหนีเข้าไปปะปนกับฝูงชนควรได้รับการระบุตั
วเสียก่อนแล้วจึงเข้าทำการจับกุมโดยสามารถระบุตัวได้จากการดูก
ล้องวีดีโอที่ติดตั้งไว้ตามพื้นที่ดังกล่าว    

เห็นได้ชัดว่ามาตรการเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในวันที่  10  เมษายน  


กองทัพไทยล้มเหลวในการปฎิบัติตามมาตรฐานในการจัดการฝูงช
นและกฎการใช้ความรุนแรงที่ประกาศเอาไว้    

ผมได้อ่านคำให้การของพยานนิรนามปากที่  22  ใน  ¶  35  


ที่ให้การว่าวิธีการในการที่กองพลทหารราบที่  1  ใช้  เป็น  
“ยุทธวิธีเพื่อเป็นการข่มขวัญมากกว่าการสลายการชุมนุม”  
เมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่ผมได้ตรวจสอบ  
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำให้การที่ว่านี้  

พยานปากที่  22  ให้การว่า  

เวลาประมาณ  16:00  น.  กองพลทหารราบที่  ๑  


ได้รับคำสั่งให้ตรึงกำลังพื้นที่บริเวณสี่แยก  จปร.  เอาไว้  
43
เนื่องจากกองพลทหารราบที่  ๙  
ประสบปัญหาและไม่สามารถเคลื่อนพลผ่านสะพานปิ่นเกล้าฯ  ได้  
สถานการณ์การปะทะกันเริ่มขึ้นขึ้นเมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงได้รีบเดินหน้
าเข้ามาพบกับทหารกองพลทหารราบที่  ๙  
ตรงบริเวณสะพานปิ่นเกล้าฯ  
และทหารที่อยู่แนวหน้าซึ่งเป็นพลหุ้มเกราะไม่ต้องการที่จะขับรถพุ่ง
ชนประชาชนที่เป็นกลุ่มผู้ประท้วง  
เมื่อทหารไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้าไปไกลกว่านี้ได้  
กลุ่มผู้ชุมนุมจึงได้เข้ายึดรถทหารและปิดกั้นทางเข้าสะพานปิ่นเกล้า
ฯ  โดยสิ้นเชิง  พร้อมทั้งสกัดกั้นไม่ให้กองพลทหารราบที่  ๙  
ได้เคลื่อนกำลังรุกล้ำเข้ามา  

เวลาประมาณ  16:00  น.  


เป็นที่ชัดเจนว่ากองทัพไม่สามารถดำเนินการสลายการชุมนุมได้ก่อ
นเวลาพระอาทิตย์ตกดิน  
ส่งผลให้มีการประชุมกองกำลังปราบปรามที่ศูนย์บัญชาการชั่วครา
วภายในกองบัญชาการกองทัพภาคที่  ๑  ในช่วงเวลานี้เอง  พลเอก  
ประยุทธ  กล่าวว่าการสลายการชุมนุมควรจะแล้วเสร็จในทันที  
ไม่เกี่ยงว่าจะต้องทำในช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน  
มีนายทหารระดับนายพลหลายนายในกองกำลังปราบปรามที่ไม่เห็
นด้วยกับพลเอก  ประยุทธ  
แต่จากคำแนะนำโดยตรงจากนายกรัฐมนตรี  อภิสิทธิ์  
เป็นผลให้พลเอก  ประยุทธ  
ได้รับอำนาจสิทธ์ขาดให้รับผิดชอบการดำเนินภารกิจต่อไป  
แต่ไม่มีคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการปฎิบัติภารกิจสลาย
การชุมนุมในเวลากลางคืน  

นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์อนุมัติในพลเอกประยุทธ์ปฏิบัติการ  

แม้ว่าจะประกาศก่อนหน้านี้ว่าการสลายการชุมนุมจะกระทำในเวลากลาง

วันอย่างเคร่งครัด  พยานปากที่  22  ให้การต่อว่า  

เวลาประมาณ  17.00  น.  พลซุ่มยิง  (สไนเปอร์)  


เข้าประจำตำแหน่งอยู่บนอาคารต่างๆ  

44
บริเวณสี่แยกคอกวัวเริ่มเปิดฉากยิงกระสุนปืนจริงขนาด  .22  
ไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันอยู่ในบริเวณดังกล่าว  
โดยที่ไม่สามารถปลุกระดมให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าปะทะกับกองกำลังทห
ารได้    

พลเอก  
ประยุทธเพิ่มกำลังทหารที่ประจำการณ์อยู่ที่บริเวณปากทางเข้าถนน
ดินสอและถนนตะนาวโดยการจัดกำลังพลพร้อมอาวุธที่เขาไว้วางใ
จไปอยู่แถวหน้า  โดยใช้กำลังพลจากกองพลทหารราบที่  ๒  
ทั้งสองพื้นที่  
กองกำลังตรงบริเวณถนนดินสอมีพลหุ้มเกราะคอยสนับสนุนอยู่ทั้ง
สิ้น  6  คัน  นำโดยพันเอกร่มเกล้า  
กองกำลังนี้เดินหน้าลงไปยังถนนดินสอและถนนตะนาวจนกระทั่งแน
วหน้าของทหารเผชิญหน้าโดยตรงกับแนวหน้าของกลุ่มผู้ชุมนุม    

เวลา  18:00  
น.พลซุ่มยิงที่อยู่บนหลังคาโรงเรียนสตรีวิทย์เริ่มเปิดฉากยิงกระสุนปี
นขนาด  .22  
เข้าที่ขาของผู้ชุมนุมประท้วงจำนวนหนึ่งที่อยู่บริเวณอนุสาวรีย์ประช
าธิปไตยโดยหวังว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะเกิดความไม่พอใจและเข้าปะทะกั
บกลุ่มทหาร  นอกจากนั้น  
ทหารเริ่มยิงกระสุนยางใส่ฝูงชนและยิงกระสุนจริงขึ้นเหนือศรีษะ  
ทหารของ  กองพลที่  ๒  ยิงกระสุนปืนจริงขนาด  .50  
ใส่ฐานรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจากปืนกลที่ติดตั้งไว้ยานหุ้มเกร
าะคันหนึ่ง    ทหารบางส่วนเริ่มยิงใส่ฝูงชน  
 กระสุนปืนนัดหนึ่งทะลุร่างของนักข่าวชาวญี่ปุ่น  ฮิโรยูกิ  มุราโมโต  
เสียชีวิต  

45
 

ภารกิจทั้งหมดนี้ทำเพื่อยั่วยุให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรง  
เพื่อที่ทหารจะได้มีเหตุผลในการเปิดฉากยิงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม  
อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ได้กระทำการรุนแรงใด  
จะมีก็แค่การจุดประทัดและขว้างขวดน้ำพลาสติกใส่ทหารเท่านั้น  
ซึ่งการปะทะในลักษณะนี้กินเวลาต่อเนื่องกว่า  1  ชั่วโมง  

จ่าสิบโทโจ  เรย์  วิทตี้  


ได้สังเกตการณ์และสรุปเกี่ยวกับการปฏิบัติตามและการกระทำของกรมท
หารราบที่  2  กองทัพไทยในคืนวันที่  10  เมษายน  

 
จากคำให้การของพยาน  คำสัมภาษณ์  และหลักฐานทางวีดีโอ  
กองพลทหารราบที่  2  รักษาพระองค์  
จัดวางกองกำลังทหารในตอนบ่ายของวันที่  10  เมษายน  
จากบริเวณด้านข้างประตูทางเข้ากองทัพภาคที่  1  
ซึ่งอยู่ตรงถนนราชดำเนินนอกใกล้กัลป์สะพานมัฆวาน  
หน่วยเคลื่อนพลไปทางใต้พร้อมกับรถทหารและยึดพื้นที่ตรงถนนตะ
นาว  ทหารตั้งศูนย์บัญชาการ  (CP)  

46
บนถนนตะนาวทางทิศเหนือของสี่แยกตอกวัว  
ทางทิศตะวันตกเป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  
ยึดพื้นที่วงเวียนสิบสามห้างทหารเคลื่อนพลทางเท้าเข้ายึดและกระชั
บพื้นที่ตรงบริเวณทางเหนือของสี่แยกคอกวัวที่ที่ถนนตะนาวมาบรร
จบกับถนนราชดำเนินกลาง    

ทหารของกองพลทหารราบที่  2  
ได้ตั้งแนวกั้นทางทิศใต้ของสุดทางบทถนนดินสอบรรจบกับถนนราช
ดำเนินกลางที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  
มีพลหุ้มเกราะติดอาวุธปืนอัตโนมัติขนาดใหญ่อยู่ข้างบนพร้อมพลยิ
งคอยสนับสนุนทหารกองนี้อยู่  3  คัน  
ปินอัตโนมัติถูกติดตั้งติดเอาไว้บนพลหุ้มเกราะพร้อมสายกระสุนขน
าด  .50  หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.    

กองพลทหารราบที่  2  จัดกำลังพลปฎิบัติหน้าที่ด้วยความเด็ดขาด  
ในสถานการณ์ที่การคุกคามอาจนำไปสู่การปะทะกันได้  
กองพลทหารราบที่  2  
จัดเรียงกำลังพลอยู่หน้ายานหุ้มเกราะบนถนนดินสอ  
สวมใส่อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการฝูงชนและบางรายติดอาวุธปืนไรเ
ฟิลจู่โจมซึ่งขัดต่อระเบียบปฎิบัติของการจัดการฝูงชน  
ผมประมาณการณ์ว่ามีทหารกลุ่มนี้อยู่ประมาณ  80  นาย  
ถัดไปทางด้านหลังมีกำลังพลประมาณ  100  
กองพลที่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน  
ทำให้เชื่อว่าเจตนาที่แท้เจริงของการปฎิบัติภารกิจของกองพลทหาร
ราบที่  2  
ไม่ใช่เพื่อการจัดการและสลายการชุมนุมที่รัฐบาลได้ประกาศว่าผิด
กฎหมาย  
แต่เป็นการคุกคามพลเมืองที่ปราศจากอาวุธด้วยกองกำลังที่น่าสะ
พรึงกลัว  
ผมสังเกตเห็นว่ามีการขว้างกระป๋องแก๊สน้ำตาเข้าไปในกลุ่มผู้ประท้
วงด้วย    

ปฎิ บ ั ต ิ ก ารสลายการชุ ม นุ ม ของกองทั พ ในวั น ที ่  10  เ มษายน  


พ.ศ.2553  
47
13:00  เ นิ ่ ม สลายการชุ ม นุ ม  

16:00  ท หารเริ ่ ม เดิ น หน้ า  

 
 

17:00  น .  ม ี ก ารยิ ง ของพลซุ ่ ม ยิ ง อย่ า งกระจายยริ เ วณ                                                      


18:00  น .  ท หารตรึ ง กำลั ง  

 
 

19:15  น .  ม ี เ หตุ ร ะเบิ ด  M.79                                                                                              19:30  น .  


มี ก ารยิ ง อย่ า งไม่ ย ั ้ ง  

48
 
 

ผมได้ตรวจสอบหลักฐานภาพถ่ายของพลซุ่มยิงที่ยิงปืนไรเฟิลจากบ
นระเบียงชั้นสามบนอาคารสำนักงานสีขาวที่อยู่ตรงหัวมุมของถนน
ตะนาวและถนนราชดำเนิน  (กองสลากกินแบ่งรัฐบาล)  
ตามความเห็นของผม  
หลักฐานรูปถ่ายนี้แสดงให้เห็นที่ซ่อนของพลซู่มยิงในเมือง  
ซึ่งทำโดยพลซุ่มยิงที่ได้รับการฝึกทางทหาร  
ผมได้อ่านแถลงการณ์ของผู้นำทหารในการจัดวางกำลังพลซุ่มยิงใ
นพื้นที่บริเวณสี่แยกคอกวัว  
ซึ่งยิงเข้าใส่ฝูงชนโดยเริ่มยิงเมื่อเวลาประมาณ  17.00  น.  ในวันที่  10  
เมษายน  ด้วยมีเจตนาเพื่อเป็นการยั่วยุฝูงชนให้ใช้ความรุนแรง  
(ดูคำให้การของพยานนิรนามปากที่  22  ที่  ¶¶  32  และ  38)  
ตามความเห็นของผม  
หลักฐานภาพถ่ายที่ผมได้ตรวจสอบสนับสนุนแถลงการณ์ดังกล่าวนี้  
หลักฐานภาพถ่ายนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.      

49
 
 

   

50
 
 

51
 

   

   

   

   

เมื่อถึงเวลากลางคืน  ทหารกองพลทหารราบที่  2  
ลดการปฎิบัติภารกิจลงโดยการหยุดใช้อาวุธจู้โจม  M-­‐16  
ในขณะที่ทหารบางนายที่ปฎิบัติการอยู่บนถนนดินสอยิงกระสุนวิถีขึ้
นสูงเหนือศรีษะฝูงชนที่รวมตัวกันอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  

52
ก็มีทหารหลายนายที่ยิงเข้าใส่ฝูงชนโดยตรง  
ไม่มีการติดตั้งปลอกทวีแรงถอย  
ซึ่งนั้นก็แปลว่าทหารเหล่านี้ใช้กระสุนจริงยิงใส่ฝูงชน  
หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.        

ผมยังได้สังเกตอาวุธปืนกลหนัก  (.50  caliber)  


ที่ติดตั้งบนพลหุ้มเกราะคันหนึ่งที่ยิงโดยการตั้งเป็นระบบอัตโนมัติโด
ยลำกล้องอยู่ในระดับสายตาไม่ติดปลอกทวีแรงถอย  
ซึ่งแปลว่าอาวุธนั้นใช้กระสุนจริง  
นอกจานี้ผมยังได้สังเกตทหารกลายนายที่นั่งอย่างสงบอยู่บนพลหุ้ม
เกราะในช่วงเวลาเดียวกัน  
ซึ่งหมายถึงว่าทหารเหล่านั้นไม่รู้สึกว่าฝูงชนเป็นภัยคุกคาม  
ปืนกลหนักขนาด  .50  caliber  
ประเภทนี้มักใช้ในสมรภูมิรบเพื่อใช้ในการยิงทำลายยานพาหนะของ
ฝ่ายตรงข้ามโดยการยิงกระสุนขนาดใหญ่ใส่เครื่องยนต์และบางครั้
งก็ใช้ในการยิงต่อต้านยานอากาศ  
อาวุธชนิดนี้ให้ผลทำลายล้างที่รุนแรงมาก  
และการใช้ในบริบทของการจัดการฝูงชนอย่างในกรณีนี้  
ที่ไม่มีการคุกคามจริงต่อกองทหาร  
เป็นเรื่องที่น่าตกใจและน่าละอายมาก    
หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.    

จากคำให้การของพยาน  คำสัมภาษณ์  และหลักฐานทางวีดีโอ  


ปืนกลหนักได้ยิงตรงไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  
ซึ่งจำนวนของผู้ชุมนุมที่อยู่ในบริเวณนั้นเห็นได้ชัดว่ามีหลายพันคน  
ผู้ชุมนุมหลายคนยืนประจันหน้ากับทหาร  
อยู่ตรงบริเวณฐานของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยซึ่งมีความสูงเท่ากับ
ส่วนบนของพลหุ้มเกราะ  
เป็นที่แน่ชัดว่าพลยิงที่อยู่บนพลหุ้มเกราะมีความเสี่ยงร้ายแรงที่จะท
ำให้ฝูงชนได้รับบาดเจ็บจากการยิงทั้งกระสุนตรง,  กระสุนที่ตก  

53
และ/หรือกระสุนแฉลบ  
และจากเศษคอนกรีตที่ร่วงลงมาจากการยิงถูกอนุสาวรีย์ประชาธิป
ไตยด้วยกระสุนขนาด  .50  caliber  ด้วยความเร็วสูง    
หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.      

จากคำให้การของพยาน  คำสัมภาษณ์  และหลักฐานทางวีดีโอ  


นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมที่ว่าพฤติกรรมของฝูงชนในวันที่  
10  เมษายน  นั้นมิได้แสดงถึงภัยคุกคามจริงใดๆ  
ที่เป็นการมุ่งทำร้ายทหารให้ได้รับบาดเจ็บรุนแรง  
การยิงกระสุนจริงเหนือศรีษะของผู้ประท้วงขัดแย้งกับมาตรฐานของ
การจัดการฝูงชนที่ยอมรับได้,  
ละเมิดกฎหารใช้กำลังของทางกองทัพ  
และอย่างน้อยที่สุดเป็นการกระทำที่เป็นความประมาททางอาญา  
การยิงกระสุนจริงตรงไปยังฝูงชนเป็นความผิดทางอาญาอย่างมิต้อ
งสงสัย    

ก่อนเวลา  19.15  น.ไม่กี่นาที  


ทหารที่ปฎิบัติหน้าที่อยู่บริเวณถนนดินสอได้เพิ่มระดับความรุนแรงอ
ย่างเห็นได้ชัดเมื่อมีการเปิดฉากยิงด้วยอาวุธ  
ผมสังเกตเห็นเงาทหารที่ยกแขนขึ้นด้านบนซ้ำๆ  กับ  
ซึ่งเป็นการออกคำสั่งให้ทหารเพิ่มการยิงมากให้ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  
และการยิงที่ถี่ขึ้นก็สอดคล้องกับท่าทางของเงานั้นๆ  
ในการตอบโต้การระดมยิงครั้งนี้  ผู้ประท้วงบางคนได้ขว้างขวดน้ำ,  
ก้อนอิฐ,  ไม้  
และประทัดใส่กองทหารซึ่งอาจทำให้ได้รับการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อ
ย  แต่ตามความเห็นของผมแล้ว  
ผมคิดว่าสิ่งของส่วนใหญ่คงกระเด็นออกไปหมดเพราะทหารมีโล่ห์เ
ป็นกำบัง  
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกองทัพได้ใช้แก๊สน้ำตาในการแยกทหารและ
กลุ่มผู้ประท้วงออกจากกันได้อย่างมาก  

54
การแยกทหารออกจากกลุ่มผู้ประท้วงพิสูจน์ได้จากระยะความโค้งข
องขวดน้ำที่ผู้ประท้วงขว้างออกไป  
หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.      

ผมได้สังเกตุทหารที่ยืนอยู่บนพลหุ้มเกราะในมือถือปืนกึ่งอัตโนมัติซึ่
งผมเชื่อว่าจากลักาณะดังกล่าวทหารนายนี้เป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในตำแ
หน่งผู้นำ  
ทหารนายนี้ตอบโต้กลุ่มผู้ประท้วงที่ขว้างขวดน้ำพลาสติกด้วยการยิ
งปืนขึ้นฟ้าหลายนัดติดต่อกัน  
ไม่ต้องสงสัยเลยว่ากระสุนที่เขายิงขึ้นฟ้านั้นเป็นกระสุนจริงเพราะลูก
กระสุนเปล่าจากปืนพกกึ่งอัตโนมัตินั้นจะไม่ทำให้ปืนมีแรงดันมากพ
อที่จะทำให้ปืนบรรจุกระสุนชุดใหม่เข้าไปได้เอง  
ความจริงที่เจ้าหน้าที่คนนี้ต้องยิงกระสุนจริงด้วยปืนพก  
ในมุมมองของทหารและจากการที่ไม่มีภัยคุกคามที่ถูกต้องตามกฎห
มายใดๆ  ยืนยันว่ากองทหารได้รับคำสั่งให้ยิงอาวุธ  
และนี่ยังแสดงเจตนาของกองทัพในการยั่วยุฝูงชนอีกด้วย  
หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.        

ความเป็นไปได้ที่กองทหารที่อยู่บริเวณถนนดินสอได้รับคำสั่งให้ยกร
ะดับการยิงเพื่อกลบเสียงปืนสไรเปอร์ของพลซุ่มยิงที่ยิงเข้าใส่ฝูงชน  
นอกจากนั้น  เนื่องจากการระดมยิงนี้เกิดขึ้นก่อนเวลา  19.15  น.  
ไม่นาน  
ดังนั้นก็มีความเป็นไปได้ว่าการระดมยิงนั้นถูกตั้งเวลาให้ประจวบเห
มาะกับการระเบิดทั้งสองครั้งที่จะเกิดในเวลาประมาณ  19.15  น.  
ซึ่งทหารที่อยู่ตรงถนนดินสอระดมยิงใส่ฝูงชนไม่ยั้งทำให้มีผู้เสียชีวิต
หลายรายและบาดเจ็บหลายร้อยคน    

ที่จริงแล้ว  ในช่วงเวลาเดียวกันนี้  
มีการยิงหลอดไฟถนนตรงบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยทำให้บริเ
วณนั้นมีแสงสว่างน้อยมาก  
55
การกระทำดังกล่าวนี้ไม่เพียงแต่เป็นการกระทำที่ไม่ฉลาด  
แต่ยังเป็นอุปสรรคต่อความสามารถของทหารในการโต้ตอบกับการ
กระทำของฝูงชน  
ช่วงเวลาเกิดเหตุก่อนที่จะมีการระเบิดนี้ชวนให้ผมคิดว่าการกระทำ
ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่ใหญ่กว่าในการสร้างความสับส
น  และ/หรือการปกปิด  

ผมได้อ่านคำให้การของพยานนิรนามปากที่  22  ใน  ¶  41  ที่ให้การว่า  


“ภารกิจทั้งหมดนี้ทำเพื่อยั่วยุให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรง  
เพื่อที่ทหารจะได้มีเหตุผลในการเปิดฉากยิงเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุม”  
ตามความเห็นของผม  
เหตุการณ์นี้สอดคล้องกับคำให้การนี้เป็นอย่างยิ่ง    

   

ตามคำให้การของพยานนิรนามปากที่    22  
พลซุ่มยิงได้ยิงใส่พลเรือนในพื้นที่สี่แยกคอกวัว  ตั้งแต่เวลาประมาณ  17:00  
น.  และในบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งแต่เวลา  18:00  น.  
โดยไม่สามารถยั่วยุให้ผู้ประท้วงมีปฎิกิริยาโต้ตอบที่รุนแรงได้สำเร็จตามวั
ถุประสงค์  
ทหารส่วนใหญ่ที่ปฎิบัติการภาคพื้นดินที่ถนนตะนาวและถนนดินสอได้ยิงปื
นขึ้นเหนือศีรษะของฝูงชนแม้ว่าจะมีทหารบางนายเริ่มยิงตรงไปยังกลุ่มผู้ชุ
มนุมแล้วก็ตาม  ไม่กี่นาทีก่อนเวลา  19.45  
กองกำลังของกองพลทหารราบที่  2  
ปฎิบัติการที่สี่แยกคอกวัวบนถนนตะนาวได้เริ่มระดมยิงเข้าใส่ฝูงชน  [1]  

เกิดเหตุระเบิดขึ้นสองครั้งเมื่อเวลาประมาณ  19:15  
ภายในรัศมีของทหารกองพลทหารราบที่  2  ที่ปฎิบัติการอยู่บนถนนดินสอ  
ส่งผลให้มีทหารอย่างน้อย  6  นายเสียชีวิตและบาดเจ็บอีกหลายนาย      

หลังจากที่เกิดระเบิดครั้งที่หนึ่งจากการระเบิดทั้งสองครั้ง  
(เสียงระเบิดดังหลังจากระเบิดลูกแรก  34  วินาที),  
กองกำลังบนถนนดินสอเริ่มระดมยิงข้าใส่ฝูงชนไม่ยั้งทำให้มีผู้ประท้วงได้รั
บบาดเจ็บหลายร้อยคนและเสียชีวิตอีกมาก  
คำให้การของพยานนิรนามปากที่  22  ได้ให้การไว้ดังนี้:      

56
เวลาประมาณ  19:15  น.  
มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นสองครั้งบริเวณด้านหลังของแนวหน้ากองพลทห
ารราบที่  ๒  บนถนนดินสอ  เป็นเหตุให้มีทหารหลายนายเสียชีวิต  
หนึงในนั้นคือ  พันเอกร่มเกล้า  พยานให้การว่า  
ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิงระเบิดสองลูกนี้  
แม้ว่าพยานจะสงสัยว่าผู้ที่ยิงระเบิดจะเป็นหนึ่งในกองพลทหารราบ
ที่  ๑  รักษาพระองค์  
ซึ่งเคยมีเรื่องบาดหมางกันกับกองพลทหารราบที่  ๒  รักษาพระองค์  
เรื่องบาดหมางที่ว่าคือปัญหาว่ากองพลใดจะได้รับพิจารณาให้เป็นก
องพลที่จะได้ก้าวหน้าอยู่ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกซึ่งตามปร
ะวัติศาสตร์แล้วเส้นทางการเลื่อนตำแหน่งนี้เคยเป็นของกองพลทห
ารราบที่  ๑  รักษาพระองค์  
แต่ในปีที่ผ่านมาตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเป็นของกองพลทหาร
ราบที่  ๒  พยานให้การว่า  
พยานไม่แปลกใจเลยหากสาเหตุของการเกิดระเบิดในครั้งนี้จะมาจ
ากทหารที่รับคำสั่งจากพลเอก  
ประยุทธขว้างระเบิดเข้ามาเพื่อจะใช้เป็นข้ออ้างของทหารในการเปิด
ฉากยิงใส่ฝูงชน  

แต่ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ขว้างระเบิดสองลูกนี้เข้ามา  กองพลทหารราบที่  
๒  ก็ฉวยโอกาสนี้ในการเปิดฉากยิงใส่ฝูงชน  
มีประชาชนหลายร้อยคนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตอีกจำนวนมาก  
พลปืนที่ติดอาวุธปืนกลพร้อมลูกกระสุนขนาด  .50  
ที่ประจำอยู่บนรถหุ้มเกราะคันหนึ่งของกองพลทหารราบที่  ๒  
ได้รับคำสั่งให้ยิงปืนเข้าใส่ประชาชน  
แต่โชคดีที่นายทหารคนนี้ปฎิเสธไม่ทำตามคำสั่ง    

ก่อนหน้านี้  แม้ว่าจะไม่เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณถนนตะนาว  
แต่ทหารจากกองพลทหารราบที่  ๒  ที่ตรึงกำลังอยู่บนถนนตะนาว  
บริเวณสี่แยกคอกวัวได้ยิงกระสุนจริงเป็นพันๆ  
นัดใส่ประชาชนที่ปราศจากอาวุธ    

57
 
ในขณะที่ยังไม่มีใครทราบแหล่งที่มาของการเกิดระเบิดทั้งสองครั้งนี้อย่าง
แน่ชัด  แต่จ่าสิบโทวิทตี้  (เกษียณ)  
มีความเห็นว่าสาเหตุของการระเบิดน่าจะมาจากระเบิดมือ  M-­‐76  
ที่กองทัพบกไทยใช้บ่อยๆ  
และระเบิดดังกล่าวไม่น่าจะถูกขว้างมาจากทางฝั่งกลุ่มคนเสื้อแดงได้:        

ผมได้ตรวจสอบภาพวิดีโอการระเบิดที่สังหารทหารในกองทัพบกหล
ายนาย  บนถนนดินสอ  ที่เวลาประมาณ  19:15  น.  ของวันที่  10  เมษายน  
ผมสามารถกดหยุดวิดีโอหนึ่งได้ในช่วงเวลาที่มีการระเบิดครั้งแรก
พอดี  
และผมแน่ใจว่าการระเบิดครั้งนี้มีสาเหตุมาจากวัตถุระเบิดที่ใช้ในระ
ดับทหาร  ซึ่งน่าจะเป็นระเบิดมือ  
รูปแบบของสะเก็ตระเบิดที่ได้จากการระเบิดของวัตถุระเบิดชิ้นนี้ได้สั
ดส่วนกันมาก  
ชี้ให้เห็นว่าการเผาไหม้ของวัสดุที่ใช้ทำระเบิดเผาไหม้ในอัตราคงที่  
ในทางตรงกันข้าม  รูปแบบของสะเก็ตระเบิดจาก    
ระเบิดแสวงเครื่องมักจะไม่ได้สัดส่วนที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันเนื่อง
จากไม่มีทางที่จะประกอบระเบิดได้สมบูรณ์แบบ  
นั่นเป็นความจริงที่ว่าระเบิดแสวงเครื่องไม่ได้ถูกผลิตขึ้นในโรงงานผ
ลิตที่ผลิตระเบิดเพื่อใช้ในระดับทหาร  
ดังนั้นความชื้นสามารถเข้าไปในวัสดุที่ใช้ทำระเบิดแสวงเครื่องและล
ดอัตราการเผาไหม้ในพื้นผิววัสดุที่มีความชื้นนั้นๆ  
ทำให้สะเก็ตระเบิดมีขนาดไม่สม่ำเสมอ  อย่างไรก็ตาม  
สะเก็ตระเบิดจากการระเบิดครั้งแรกบนถนนดินสอนั้นได้สัดส่วนกัน
มากเกิดกว่าจะเป็นสะเก็ตระเบิดจากระแบบแสวงเครื่อง  
ทำให้ผมสามารถสรุปได้ว่าการระเบิดครั้งแรกนี้เป็นการระเบิดของ
อุปกรณ์ที่ใช้ในระดับทหาร    

นอกจากนี้  
ประกายไฟออกมาจากการระเบิดเป็นชิ้นส่วนของโลหะเหลวเป็นลัก
ษณะของระเบิดทางการทหารที่ออกแบบมาเพื่อให้กระจายออกมา  
นี่เป็นการระเบิดประสิทธิภาพสูงและรูปแบบของทหารที่กระเด็นตกล

58
งจากแรงระเบิดก็สอดคล้องกับผลที่จะได้จากระเบิดมือ  
ตามความเห็นของผม  การระเบิดครั้งนี้สอดคล้องกับการใช้  
ระเบิดมือแบบขว้าง  M67  ซึ่งนิยมใช้ในกองทัพบกไทย  
หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.        

หลังจากมีการระเบิดครั้งแรกเพียง  34  วินาที  


ก็ได้ยินเสียงระเบิดลูกที่สองบนถนนดินสอ  
แม้ว่าจะไม่เห็นภาพการระเบิดครั้งที่สองในวีดีโอที่ผมตรวจสอบแต่
ผมไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนของเสียงและจังหวะเสียงระเบิดขอ
งการระเบิดทั้งสองครั้ง  
เพราะว่าวัตถุระเบิดแต่ละประเถทนั้นให้เสียงที่แตกต่างกัน  
ดังนั้นมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าการระเบิดครั้งที่สองก็มีสาเหตุมาจากระเ
บิดมือที่ใช้ในทางทหารเช่นเดียวกัน        

หลังจากมีการระเบิดทั้งสองครั้งนี้  
ทหารได้เริ่มระดมยิงเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วงในทันที  
กองทหารถอยร่นขึ้นไปทางเหนือของถนนดินสอไกลออกจากอนุสา
วรีย์ประชาธิปไตย  แต่ในขณะที่มีการเคลื่อนพลออกจากพื้นที่นั้น  
ทหารก็ยังคงยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วงต่อไป  
ผมเข้าใจว่าด้วยเหตุนี้จึงมีพลเรือนเสียชีวิตหลายสิบรายและบาดเจ็
บอีกร้อยกว่าราย  หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.        

หลักฐานจากวีดีโอและจากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุด้วยตนเอ
ง  ทำให้ผมสรุปได้ว่า  
ระเบิดครั้งแรกไม่น่าจะสามารถมาจากทางฝั่งคนเสื้อแดงได้  
ประการแรก  หากระเบิดมาจากฝั่งคนเสื้อแดงจริง  
ต้องมีการขว้างระเบิดดังกล่าวมาจากระยะทางอย่างน้อย  70  หลา  
พลทหารทั่วๆ  ไปสามารถขว้างระเบิดมือแบบขว้างน้ำหนัก  14  ออนซ์  
ได้ในระยะที่น้อยกว่านั้นครึ่งหนึ่ง  คือแค่ประมาณ  30  หลา          

ประการที่สอง  
เมื่อคำนึงถึงระยะโคจรของขวดน้ำที่ถูกขว้างมาจากฝั่งคนเสื้อแดงต
รงมายังทางฝั่งทหารแล้ว  

59
ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่แปลกมากที่ทหารจะไม่ทันสังเกตเห็นระเบิดมือแ
บบขว้างน้ำหนัก  14  ออนซ์ล่วงหน้า  
ซึ่งถูกขว้างมาจากระยะทางที่ให้วิถีโคจรที่คล้ายคลีงกับการขว้างขว
ดน้ำได้  
ทหารทุกนายไม่เว้นแม้กระทั่งทหารในกองทัพบกไทยที่ผมเคยฝึกซ้อ
มให้  
ต้องเคยได้รับการฝึกให้มีปฎิกริยาตอบสนองต่อวัตถุอันตรายที่เข้า
มาในระยะที่ทหารนายนั้นอยู่  
ในกรณีที่มีการยิงระเบิดเข้ามาหรือมีวัตถุที่คล้ายกับระเบิดแม้อยู่ใน
ระยะไกล  
ทหารทุกนายได้รับการฝึกในกรณีนี้เป็นเศษว่าให้ตะโกนเตือนว่า  
“ระเบิด”  และรีบหาที่กำบังหรือหมอบราบลงบนพื้น  อย่างไรก็ตาม  
หลักฐานในวีดีโอก็ปรากฏชัดเจนว่าทหารไม่ได้มีปฎิกริยาตอบสนอง
ต่อการขว้างระเบิดก่อนที่จะเกิดการระเบิดเลย  
หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :______.        

ประการที่สาม  
การปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายที่ถูกต้องภายใต้สถานการณ์ดังกล่
าวต้องเรียกร้องให้มีการติดตั้งใช้งานกล้องวีดีโอในบริเวณพื้นที่นั้น
ๆ  
เพื่อสังเกตฝูงชนว่ามีความผิดปกติหรือไม่เพื่อการจะได้มีการยั้บยั้ง
ในทันทีและหากเห็นสมควร  
ให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นลำดับต่อไป  
ผมเข้าใจว่ารัฐบาลไทยไม่สามารถหาวีดีโอใดๆ  
ที่บันทึกภาพบุคคลจากฝั่งคนเสื้อแดงในขณะกำลังขว้างระเบิดลงใน
ระยะที่กองพลทหารราบที่  1  ปฎิบัติภารกิจอขู่บนถนนดินสอได้    

ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนแล้วสำหรับผมว่าได้มีการทิ้งหรือกลิ้งระเบิดมื
อมากับพื้น  
วิธีใดวิธีหนึ่งโดยบุคคลที่อยู่ภายในรัศมีกองทัพในระยะใกล้เคียงกับ
จุดที่มีการระเบิด  ระเบิดมือ  M67  จุดฉนวดภายในเวลา  5  วินาที  
มีเวลามากพอที่จะแอบทิ้งระเบิดมือในจดเกิดเหตุและไปหลบอยู่ข้าง
หลังพลหุ้มเกราะที่เห็นในหลักฐานภาพวีดีโอที่อยู่ไม่ไกลทันเวลาเพื่อ

60
หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ  ตามความเห็นของผม  
นี่เป็นเพียงการนิรนัยเหตุการณ์ที่ได้จากหลักฐานที่ผมได้ตรวจสอบ      

แม้ว่ารัฐบาลไทยได้อ้างมือระเบิดที่ก่อเหตุในครั้งนี้ว่าเป็นกลุ่มคนที่เรียกว่
า  "ชายชุดดำ"  
ซึ่งรัฐบาลเชื่อว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนเสื้อแดง  
กองทัพไทยมีประวัติอันยาวนานในการใช้กลุ่มผู้ก่อกวนทางการเมืองก่อเ
หตุต่างๆ  
เพื่ออ้างความชอบธรรมในการใช้กำลังรุนแรงต่อพลเรือนที่ปราศจากอา
วุธ  จ่าสิบโทวิทตี้  (เกษียณ)  
มีความเห็นว่าเหตุการณ์การระเบิดในครั้งนี้น่าจะมีสาเหตุมามาจากทหาร
ที่อยู่ในกองทัพบกไทยด้วยกันเอง    

ผมได้ยน
ิ มาว่ารัฐบาลได้อ้าง  "ชายชุดดำ"  หรือบุคคลนิรนามอื่นๆ  
ที่รัฐบาลเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดง  
ว่าเป็นผู้ที่ใช้ระเบิดโจมตีเมื่อวันที่  10  เมษายน  บนถนนดินสอ  
ในความคิดของผม  ไม่มีการนิรนัยใดๆ  ที่สมเหตุสมผล  
กองพลทหารราบที่  2  
กำลังปฎิบัติภารกิจอยู่บนถนนดินสอด้วยความเด็ดขาดซึ่ง  
แสดงให้เห็นว่าทหารของกองพลนี้ปฎิบัติตามกลยุทธ์และระเบียบวิธี
ปฎิบัติทางการทหารที่ออกแบบมาเพื่อรักษาเขตพื้นที่และป้องกันไม่
ให้บุคคลที่ไม่พึงประสงค์เข้ามาในเขตพื้นที่ได้  
ตามความเห็นของผมการปฎิบัติการดังกล่าวน่าจะช่วยป้องกันไม่ให้
มี  “ชายชุดดำ”  
คนใดหรือใครก็ตามที่ไม่ใช่คนของกองทัพบกเข้ามาใกล้พื้นที่ที่เกิดเ
หตุระเบิดได้เลย    

ผมได้อ่านคำให้การของพยานปากที่  22  
ที่ให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับการจู่โจมด้วยระเบิดบนถนนดินสอว่าอาจ
จะเป็นการกระทำของทหารที่มีความบาดหมางกัน  
นั่นคือทหารจากกองพลทหารราบที่  1  รักษาพระองค์  
หรือความเป็นไปได้อีกทางหนึ่งคือ  

61
บุคคลที่ทำการจู่โจมครั้งนี้ปฎิบัติหน้าที่โดยรับคำสั่งจากพลเอก  
ประยุทธ  จันทร์โอชา  ผู้บัญชาการของกองพลทหารราบที่  2  
ตามความเห็นของผม  ไม่ว่าจะ  
นิรนัยใดก็เป็นไปได้ทั้สิ้นเมื่อดูจากหลักฐานที่ผมได้ตรวจสอบ    

ผมได้อ่านคำให้การของพยานนิรนามปากที่  22  
ซึ่งให้การว่ากลยุทธ์ทางการทหารของกองทัพในวันที่  10  
เมษายนนั้น  
“ไม่ได้มีเจตนาเพื่อเป็นการขับไล่ผู้ชุมนุมแต่มุ่งเน้นไปที่การจำกัดกลุ่
มผู้ชุมนุมไว้ในบริเวณที่กำหนด,  
ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงเพื่ออ้างเหตุผลในการสู้เพื่อป้องกันตนเอง  
และเปิดฉากยิง”  (คำให้การพยานนิรนามปากที่  22  ที่  ¶  29)  
ตามความเห็นของผม  
โดยดูจากหลักฐานทั้งหมดที่ได้ตรวจสอบพบว่า  เหตุการณ์ต่างๆ  
ที่เกิดก่อนการระเบิดในวันที่  10  
เมษายนนั้นสอดคล้องกับคำให้การชิ้นนี้เป็นอย่างยิ่ง    

   
 

นอกจากนั้น  ตามความเห็นของผม  
คำให้การนี้เสนอแรงจูงใจที่สมเหตุสมผลต่อการจู่โจมโดยใช้ลูกระเ
บิด  

62
นี่เป็นเหตุผลที่แท้จริงต่อการมีปฎิกริยาโต้ตอบต่อเหตุระเบิดซึ่งคือก
ารเปิดฉากยิงใส่ฝูงชน      

ตามความเห็นของผม  
ถึงแม้ว่าระเบิดจะถูกขว้างมาจากฝั่งคนเสื้อแดงในวันที่  10  เมษายน  
–  ซึ่งผมอธิบายว่านี่ไม่ใช่การนิรนัยที่สมเหตุสมผล  -­‐  
แต่การตอบโต้ของทหารหลังจากที่มีการระเบิดก็ยังคงเป็นการกระท
ำที่มีความผิดทางอาญาอย่างแท้จริง  
ปฎิกริยาที่ทางกองทัพน่าจะมีหลังจากการเกิดระเบิดก็คือการหยุดยิ
ง,  ถอยร่น  
และจัดให้พลซุ่มยิงและพลชี้เป้าเข้าประจำการเพื่อระบุตัวผู้ที่น่าจะเป็
นคนร้ายขว้างระเบิดในฝูงชน  
การซุ่มยิงด้วยอาวุธร้ายแรงในสถานการณ์นี้มีความเหมาะสมหาก
พลชี้เป้าสามารถระบุบุคคลที่กำลังขว้างระเบิดลูกต่อมาได้  แต่ทว่า  
ตามที่ระบุไว้ข้างต้นว่าทหารระดมยิงใส่ฝูงชนไม่ยั้งและแม้ว่าจะมีกา
รถอยกำลังขึ้นไปทางเหนือของถนนดินสอ  
แต่ทหารก็ยังคงไม่หยุดยิง  
ผมคิดว่านี่เป็นกรกระทำที่มีความผิดทางอาญา          

นอกจากนั้น  หลังจากที่ทหารได้ถอยร่นและตั้งกำลังใหม่ประมาณ  
150  
เมตรห่างจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปทางเหนือบนถนนดินสอ  
ทหารก็ยังคงยิงเข้าใส่ฝูงชนโดยที่ไม่ได้มีการยั่วยุให้ต้องมีการยิงปะ
ทะกัน  
ข้อมูลนี้เป็นที่ปรากฎชัดเจนซึ่งได้จากหลักฐานวีดีโอที่ผมได้ตรวจสอ
บ  มีกรณีตัวอย่างหนึ่งที่พิสูจน์คำกล่าวนี้อย่าได้ชัดคือ  
มีชายหนุ่มถือธงที่มีสัญลักษณ์คนเสื้อแดงติดอยู่คนหนึ่ง  
เขากำลังเดินข้ามถนนดินสอจากฝั่งตะวันตกไปยังฝั่งตะวันออกอย่า
งช้าๆ  ห่างจากแนวกำลังของทหารกองพลทหารราบที่  2  
ที่ตั้งใหม่หลังจากต้องถอยร่นไปเพราะเหตุระเบิดเพียง  150  หลา  
ชายหนุ่มผู้นี้ไม่ได้พยายามเดินเข้าไปใกล้กองทหารหรือได้มีการแส
ดงท่าทีที่เป็นการคุกคามใดๆ  และชายผู้นี้ไม่มีอาวุธ  

63
ถึงกระนั้นชายผู้นี้ถูกยิงเข้าที่ศรีษะและในขณะที่เข้าทรุดลงกับพื้น  
สมองของเขากระจายลงบนพื้นถนนดินสอ  
มีการบันทึกภาพวีดีโอเหตุการณ์ในเหตุการณ์นี้และมีการถ่ายภาพข
องบาดแผลของผู้เสียชีวิตไว้ในระยะใกล้ด้วย  
หลักฐานทางวีดีโอนี้สามารถดูได้ที่:  www.__________  
และหลักฐานภาพถ่ายนี้สามารถดูได้ที่:  www.____________.      

ตามความเห็นของผม  
อาการบาดเจ็บที่ศรีษะของชายผู้นี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากกระสุนขนา
ด  5.56  มม.  ที่ยิงออกมาจากปืนไรเฟิล  M-­‐16  ทั่วไป  
รอยแตกของบาดแผลเป็นรอยแตกที่มีสาเหตุมาจากกระสุนปืนขนา
ด  .50  caliber  หรืออย่างน้อยก็ขนาด  7.62  มม.  อย่างไม่ต้องสงสัย  
ตามความเห็นของผม  ชายผู้นี้ถูกยิงโดยพลซุ่มยิงที่ใช้ปืนไรเฟิล  
Remington  M24  ที่ยิงด้วยกระสุนขนาด  7.62  มม.  
หรือไม่ก็ใช้ปืนไรเฟิล  Barrett  พร้อมกระสุนขนาด  .50  caliber  
ซึ่งปินทั้งสองประเภทนี้มีอยู่ในคลังเก็บอาวุธของกองทัพ  
นี่ความเห็นของผมที่มีต่อพฤติกรรมที่ไม่ได้เป็นภัยคุกคามของชายผู้
นี้และการสูญสียชีวิตอย่างกะทันหันของเขา  
คือการยิงชายผู้นี้ในลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำที่มีความ
ผิดทางอาญา  

อีกตัวอย่างหนึ่งของการยิงโดยที่ไม่มีการยั่วยุให้เกิดเหตุอันควรแม้
ว่าทหารบนถนนดินสอจะได้ถอยร่นลงไปแล้วก็ตามแต่ก็ยังมีการยิง
ใส่ผู้ประท้วงอย่างต่อเนื่อง  
ในวีดีโอคลิปมีภาพทหารนายหนึ่งได้รับบาดเจ็บนอนอยู่ตรงขอบถน
นไม่กี่หลาห่างจากจุดบรรจบระหว่างถนนดินสอและอนุสาวรีย์ประช
าธิปไตย  
สาเหตุของอาการบาดเจ็บที่แท้จริงของทหารนายนี้ไม่สามารถเห็นไ
ด้ชัดจากหลักฐานภาพในวีดีโอ  
แต่มีความเป็นไปได้ที่การบาดเจ็บนี้มีสาเหตุมาจากการระเบิดหรือจ
ากกระสุนปืนที่ทหารยิงอย่างสะเปะสะปะ  
ตอนที่ถอยร่นลงไปทางเหนือของถนนดินสอ  
ทหารที่ได้รับบาดเจ็บนายนี้ส่งเสียงร้องเป็นภาษาไทยซึ่งล่ามของผม

64
อธิบายว่าเขากำลังร้องขอความช่วยเหลือ  มีเสียงปืนยิงอยู่ใกล้ๆ  
ชายผู้หนึ่ง  –  พยานนิรนามปากที่  15  –  
เข้ามาหาทหารที่ได้รับบาดเจ็บนายนี้พร้อมกล่องปฐมพยาบาลที่มีเ
ครื่องหมายกาชาดติดอยู่บนกล่อง  
มีเสียงปืนดังขึ้นสองนัดและพยาบาลอาสาผู้นี้ได้รับบาดเจ็บที่เท้า  
เอกสารวีดีโอสามารถดูได้ที่:  www.________.  
คำให้การของพยานปากที่  15  อ่านได้ที่:  www.____________.      

พยานราว  255  รายลงรายชื่อเป็นพยานในเหตุการณ์วันที่  10  เมษายน  


2553  พยานส่วนใหญ่ให้การว่าการชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบ  
และทหารยิงรัวเข้าใส่ฝูงชน  

มีพยานหลายคนให้การถึงลักษณะที่ผู้ชุมนุมถูกปฏิบัติใกล้บริเวณอนุสาวรี
ย์ประชาธิปไตยในเย็นวันนั้น  
แม้ว่ามีคำให้การของพยานหลายคนที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อ  
แต่ผู้ร้องแนวร่วมเผด็จการเพื่อประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จจาการและบุค
คลอื่นทราบและมีข้อมูลดังกล่าว  
ทั้งยังสามารถเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่อัยการได้หากมีกระบวนการคุ
มครองชีวิตและความปลอดภัยของพยานและครอบครัว  

คำให้ ก ารของพยานปากที ่  14  


พยานเห็นเหตุการณ์ชุนนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้า  ในวันที่  10  เมษายน  
2553  เวลาประมาณ  18  นาฬีกา  30  นาที  พยานได้เดินทางไปยังถนนตะนาว  
พยานเล่าว่ามีคนเสื้อแดงราวหนึ่งพันคนชุมนุมอยู่ในบริเวณดังกล่าว  
มีทหารตั้งแถวพร้อมโล่อยู่บนถนนตะนาว  
จากทิศเหนือที่กลุ่มคนเสื้อแดงอยู่  
ทหารได้เคลื่อนขบวนจากถนนตะนาวทิศใต้  โดยได้ดันคนเสื้อแดงออกไป  
ทหารยิงกระสุนจริงเข้าใส่กลุ่มคนเสื้อแดงโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า  
พยานเห็นว่าเป็นกระสุนจริง  
เนื่องจากพยานเห็นคนที่ถูกยิงอย่างน้อยหนึ่งรายเลือดไหลออกมาหลังจา
กถูกยิง  และยังเห็นรูกระสุนบนกำแพงโดยรอบ  
ในระดับสายตาหรือต่ำกว่านั้น  
พยานได้ยินเสียงปืนและกระสุนถูกยิงเข้าที่ใบหน้าของชายคนหนึ่ง  
พยานเห็นชายคนดังกล่าวจมกองเลือด  หลังจากนั้น  
65
พยานเห็นการ์ดเลือดแดงใช้เชือกกั้นบริเวณที่ชายดังกล่าวล้มลง  
มีกองเลือดบนพื้น  และเศษกระดาษที่ระบุชื่อและอายุชายคนดังกล่าว  
พร้อมทั้งระบุว่าชายคนนั้นเสียชีวิตแล้ว  
พยานเห็นกองเลือดอีกสองกองใกล้ๆกัน  
และมีเศษกระดาษที่ระบุว่าชายทั้งสองคนถูกยิงเสียชีวิตในบริเวณดังกล่าว  

คำให้ ก ารของพยานปากที ่  2  
พยานให้การว่าแก๊สน้ำตาถูกยิงจากจากเฮลิคอปเตอร์ประมาณ  19  
นาฬิกา  ถึง  20  นาฬิกา  โดยปราศจากการเตือนล่วงหน้า  
ทหารได้เริ่มยิงปืนใส่กลุ่มผู้ชุมนุม  
พยานเห็นว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อยห้าราย  

คำให้ ก ารของพยานปากที ่  5  พยานเป็นนักข่าว  


และให้การว่าเวลาประมาณ  19  นาฬิกาของวันที่  10  เมษายน  2553    
บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  พยานเห็นกลุ่มทหารยิงปืน  M16  ขึ้นฟ้า  
พยานได้บันทึกภาพเอาไว้  เมื่อทหารได้ขับรถออกไป  
ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นใกล้กับที่พยานยืนอยู่  พยานให้การว่า  
พยานคิดว่าเป็นระเบิดปิงปองจากกลุ่มทหารที่สนับสนุนพันธมิตร  
ในขณะที่ขบวนรถทหารขับออกไป  
ชายผู้สนับสนุนคนเสื้อแดงถือกิ่งไม้และวิ่งบนถนนได้ตะโกนว่า  
“มันพี่น้องเรา  มันฆ่าพี่น้องเรา”  
รถขบวนทหารคันหลังซึ่งอยู่ห่างจากชายคนดังกล่าวราว  150  เมตร  
และโดยไม่มีเสียงเตือนชายคนดังกล่าวถูกยิงห้านัดจากทิศทางของรถขบ
วนทหาร  ชายคนดังกล่าวล้มลงบนพื้น  
และหลังจากนั้นอาสาพยาบาลได้ถูกหามตัวโดยชายคนดังกล่าวออกไป  

คำให้ ก ารบดิ น ทร์  เ วชโรพาลา  พยานให้การว่าราว  19  นาฬิกา  ในวันที่  


10  เมษายน  2553    
มีผู้ชุมนุมเสื้อแดงกว่าหนึ่งพันคนบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  
โดยปราศจากคำเตือนล่วงหน้า  ทหารได้เริ่มยิงปืนขึ้นฟ้า  
ในขณะที่ทหารถอนร่นไปยังบริเวณถนนดินสอ  
ทหารได้เริ่มใช้กระสุนปืนจริงยิงใส่กลุ่มคนเสื้อแดง  
ทั้งที่กลุ่มคนเสื้อแดงไม่มีอาวุธ  พยานเห็นชายคนหนึ่งถูกยิงที่ศีรษะ  
พยานเห็นสมองไหลออกมาจากหัวกะโหลกชายคนดังกล่าว  
66
และได้บันทึกภาพเอาไว้  หลังจากนั้นไม่นาน  
พยานเห็นเจ้าหน้าที่ทหารบาดเจ็บบริเวณถนนดินสอ  
และพยานได้บันทึกวีดีโอที่กลุ่มคนเสื้อแดงพยามปฐมพยาบาลทหารคนดั่
งกล่าว  
ในขณะที่ทหารยังคงยิงปืนใส่พยานและคนเสื้อแดงที่พยายามปฐมพยาบา
ลทหาร  คนเสื้อแดงที่ช่วยปฐมพยาบาลทหารถูกยิงที่เท้า  
ส่วนพยานถูกยิงเข้าที่ช่องท้อง  

คำให้ ก ารของพยานปากที ่  15  


พยานเป็นอาสาพยาบาลและอยู่ในเหตุการณ์การยิงปะทะที่อนุสาวรีย์ประ
ชาธิปไตย  
พยานให้การว่าพยานถูกเรียกไปช่วยทหารที่บาดเจ็บบนถนนดินสอ  
เมื่ออาสาพยาบาลไปถึงยังฝั่งทหาร  
ราวหกสิบเมตรทางทิศเหนืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  
พยานเห็นคนเสื้อแดงปฐมพยาบาลทหาร  อย่างไรก็ตาม  
ทหารจากกรมทหารราบที่สองยังคงยิงใส่ผู้ชุมุนมจากจุดที่พวกเขาอยู่หนึ่
งร้อยสี่สิบเมตรบนถนนดินสอ  
เพิกเฉยต่อสัญลักษณ์กาชาดบนอุปกรณ์ปฐมพยาบาล  
และอาสาพยาบาลถูกยิงที่เท้า  

จ่าสิบโทโจ  เรย์  วิทตี้ได้สรุปความเห็นต่อเหตุการณ์ในวันที่  10  เมษายน  


2553  ไว้ในข้อความด้านล่างนี้  

(1)นี่เป็นความคิดเห็นของผมที่ว่าทางกองทัพบกไทยมิได้ปฎิบัติก
ารจัดการฝูงชนอย่างมีเหตุมีผลหรือสมควรแก่เหตุซึ่งเกี่ยวข้องกั
บการพยายามที่แท้จริงในการสลายผู้ชุมนุมโดยปราศจากการก่
อให้เกิดความบาดเจ็บ  ในทางตรงกันข้าม  
กองทัพบกไทยจงใจปิดล้อมทางออกต่างๆ,  
ต้อนผู้ชุมนุมให้อยู่ในพื้นที่จำกัด,  
และกระทำการอันผิดกฎหมายที่หมายยั่วยุให้ฝูงชนใช้ความรุนแร
งเพื่อที่ทางทหารจะได้มีการอ้างเหตุผลอันควรในการใช้ความรุน
แรงต่อผู้ชุมนุม  

67
การกระทำที่ผิดกฎหมายที่อาจจะไม่ได้มีเพียงเท่าที่ระบุในที่นี้  
ได้แก่:  

(ก  
)การใช้พลซุ่มยิงที่มีความเชี่ยวชาญสูงมาซุ่มยิงผู้ชุมนุมที่ไม่มีอา
วุธโดยใช้กระสุนจริงซุ่มยิงจากที่สูงใน    
ตำแหน่งลับตาและซุ่มยิงโดยที่ไม่มีการยั่วยุความรุนแรงหรือการ
อ้างเหตุผลอันควรในการใช้พลซุ่มยิง    

(ข)มีการใช้อาวุธทางการทหารต่างๆ  รวมถึงปืนไรเฟิล  M-­‐16  


และอาวุธปืนอัติโนมัติอื่นๆ  
ที่บรรจุกระสุนจริงยิงตรงไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธที่รวมตัว
กันอยู่อย่างหนาแน่นอย่างจงใจและไม่เลือกหน้าโดยปราศจากก
ารยั่วยุให้เกิดหรือการมีเหตุอันสมควรให้ยิง,  และ  

(ค)การจงใจให้มีการเกิดระเบิดของวัตุระเบิดที่ใช้ในระดับทางกา
รทหารหลากหลายประเภทภายในบริเวณระยะประชิดของกองทห
าร  เป็นรูปแบบรุนแรงหนึ่งของ  “การยิงจากพวกเดียวกัน”  
ซึ่งกลยุทธ์นี้ออกแบบมาเพื่อสร้างความเข้าใจผิดว่าทหารถูกกลุ่
มผู้ชุมนุมเข้าโจมตี  

(/)กองทัพบกไทยนำกฎการใช้กำลังที่สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการ
ฝูงชนที่ยอมรับทั่วไปมาใช้อย่างเป็นทางการเพื่อที่จะสร้างความเข้าใจที่ไม่
ถูกต้องต่อการกระทำที่สมเหตุสมผล  อย่างไรก็ตาม  
กองทัพบกไทยได้ละเมิดกฎการใช้กำลังของทางกองทัพอย่างเป็นระบบใน
ลักษณะที่เป็นการกระทำความผิดทางอาญา        

68
(3)การปฎิบัติภารกิจของกองทัพบกไทยในวันที่  10  เมษายน  2553  
เป็นปฎิบัติการทางทหารโดยแท้จริง  
มีวัตถุประสงค์เพื่อสังหารพลเรือนผู้บริสุทธิ์โดยที่ไม่มีการยั่วยุหรือการมีเ
หตุอันสมควรเพื่อจะปราบปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดง    

ช่วงเวลาประมาณ  20.15นาฬิกา  ของวันที่  10  เมษายน  2553    


ข้าราชการผู้ใหญ่ได้ติดต่อกับผู้นำเสื้อแดงทางโทรศัพท์มือถือ    
เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นองเลือดที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น    
แกนนำเสื้อแดงได้ตกลงอย่างรวดเร็วที่จะประกาศให้กลุ่มเสื้อแดงสลายตั
ว  โดย  ณ  เวลานั้น  กองกำลังทหารได้ทำการสังหารเสื้อแดงไปถึง  17  ศพ  
และมีผู้บาดเจ็บจำนวนมากกว่า  600  ราย  
 

ความล้มเหลวของการสลายการชุมุนมทำให้เกิดความตึงเครียด  
รัฐบาลประชุมเพื่อหาแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาครั้งนี้  
คนเสื้อแดงยังคงปักหลักชุมนุมอยู่ที่แยกราชประสงค์  พยานปากที่  22  
กล่าวถึงปฏิบัติการที่ล้มเหลวในวันที่  10  เมษายน  2553  ว่า  

ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการปฎิบัติภารกิจคือ  
ทหารไม่สามารถสังหารแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงบนเวทีที่สะพานผ่าน
ฟ้าฯ  
ได้เพราะทหารไม่สามารถบีบต้อนกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อเข้าไปอยู่ในเขต
พื้นที่ที่จะสร้างความโกลาหลที่ทางกองทัพต้องการได้  นอกจากนี้  
ผู้นำทหารและผู้นำรัฐบาลคาดหวังไว้อย่างเต็มที่ว่าการสังหารแกน
นำที่เวทีปราศรัยที่สะพานผ่านฟ้าฯ  
จะทำให้การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์สลายไปได้  
แต่แทนที่จะเป็นเหมือนกับที่ทางนายทหารระดับสูงและผู้นำรัฐบาลคิ
ดไว้ผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันที่ถนนราชดำเนินเคลื่อนตัวมาสมทบกลุ่มผู้ชุ
มนุมที่อยู่ที่ราชประสงค์ทำให้การชุมนุมมีความเข้มแข็งมากขึ้นไปอี
ก  

ในช่วงสัปดาห์หลังจากวันที่  10  เมษายน  


ผู้นำรัฐบาลและผู้นำกองทัพหันมาสนใจการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม

69
คนเสื้อแดงที่แยกราชประสงค์  
แผนการของพวกเขาคือการเรียกร้องให้มีการตีวงล้อมรอบบริเวณ
พื้นที่ราชประสงค์และปิดล้อมทางเข้า-­‐ทางออกทุกทาง  
กองทัพจะบุกทลายแนวกั้นของกลุ่มผู้ชุมนุมและเข้าไปสังหารเหล่าแ
กนนำ  

วันที่  3  พฤษภาคม  
นายกรัฐมนตรีได้ประกาศแผนการปรองดองเพียงฝ่ายเดียว  
และรวมถึงความเป็นได้ที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในต้นเดือนพฤศจิกา
ยน  คนเสื้อแดงตกลงที่จะสลายการชุมนุม  
แต่เนื่องจากข้อเสนอยุบสภาดังกล่าวไม่มีคำมั่นสัญญาที่จริงใจจากอภิสิท
ธิ์  
รัฐบาลไม่ได้กระทำการใดที่ทำให้เชื่อว่าสถานการณ์การใช้กฎหมายอันเข้
มงวดและการจำกัดเสรีภาพจะได้รับการผ่อนปรนก่อนการเลือกตั้ง  
หรือจัดให้มีการสอบสวนถึงความรุนแรงในวันที่  10เมษายน  
คนเสื้อแดงยอบรับข้อเสนอแผนการปรองดองแต่ไม่ยอมสลายการชุมุนมเ
พราะต้องการความมั่นใจจากรัฐบาล  

70
ในวันที่  13  พฤษภาคม  
หนึ่งวันหลังจากที่รัฐบาลยกเลิกข้อเสนอให้มีการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า  
พลตรีขัตติยะ  สวัสดิผล  นายทหารที่รู้จักกันในนามของเสธแดง  
ซึ่งมักถูกอ้างว่าเป็นผู้นำฝ่ายเหยี่ยวของกลุ่มคนเสื้อแดงถูกสังหารโดยมือ
ปืนซุ่มยิงในระหว่างให้สัมภาษณ์กับสื่อตะวันตก  
โดยเสธแดงถูกยิงบริเวณตะวันเฉียงใต้ของส่วนลุมพินี    
ตามคำให้การของพยานปากที่  22  
ทหารคนที่สั่นไกคือหนึ่งในมือปืนซุ่มยิงมืออาชีพเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ
ทำลายการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง  

ในช่วงเวลาระหว่างวันที่  13  พฤษภาคม  และ  วันที่  19  พฤษภาคม  


กองพลทหารราบที่  ๑  และ  กองพลทหารม้าที่  ๒  ใช้ร้านคิงส์พาวเวอร์  
ในย่านราชประสงค์เป็นกองบัญชาการ  
พลซุ่มยิงชุดเดิมที่ปฎิบัติภารกิจในวันที่  10  เมษายน  
ก็ได้รับมอบหมายให้มาประจำการอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ในครั้งนี้ด้วยแล
ะพวกเขามีส่วนรับผิดชอบต่อการตายของพลตรี  ขัตติยะ  สวัสดิผล  
(รู้จักในชื่อ  เสธ.  แดง)  
ผู้ถูกลอบยิงเข้าที่บริเวณศรีษะจนถึงแก่ความตายในวันที่  13  พฤษภาคม  
ในขณะที่กำลังให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว  
 
กระสุนที่ปลิดชีวิตเสธแดง  
(เสธแดงเสียชีวิตไม่กี่วันหลังจากนั้น)เป็นกระสุนจริงชนิดเดียวกันที่ทหารใ
ช้ยิงผู้ชุมุนมที่ปราศจากอาวุธ  ผู้บริสุทธิ์ที่เดินผ่านไปมา  อาสาพยาบาล  
และนักข่าวตลอดทั้งอาทิตย์  
ในขณะที่คนเสื้อแดงเรียกร้องให้นานชาติช่วยเหลือเพื่อจะแก้ไขสถานการ
ณ์ทางการเมือง  รัฐบาลกลับใช้กำลังทหารสลายการชุมนุม  
เคลื่อนกองลังทหารและอาวุธไปยังบนท้องถนนในกรุงเทพมหานคร  

 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎการใช้กำลังอย่างเป็นทางการ  
เพื่อทหารจะได้  "ตอบโต้”  กับ  

คนเสื้อแดงซึ่งหลังจากเหตุการณ์ในวันที่  10  เมษายน  


รัฐบาลเรียกคนเสื้อแดงว่าเป็น  "ผู้ก่อการร้าย":      

จากเหตุการณ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในวันที่  10  เมษายน  2553  


การใช้อาวุธโดยบุคคลที่แฝงตัวอยู่ท่ามกลางผู้ชุมนุมประท้วงนั้นทำให้เกิด
71
การสูญเสียชีวิตไม่เพียงแต่เฉพาะชีวิตของผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธเท่านั้
นแต่ยังรวมถึงเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยด้วย  
กฎการใช้กำลังนี้จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อใช้ในการปฎิบัติการเข้าปิ
ดล้อมพื้นที่ราชประสงค์ในเดือนพฤษภาคม  ดังนั้น  
จึงได้มีการระบุรายละเอียดเพิ่มเติมในการอนุญาตให้มีการใช้กระสุนจริงใ
นกรณีดังต่อไปนี้คือ:เพื่อตอบโต้บุคคลที่ติดอาวุธที่ระบุตัวได้อย่างชัดเจน  
นอกจากนี้  
เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตเนื่องจากมีการเผชิญหน้
ากันในระยะใกล้ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่  10  เมษายน  
จึงมีการอนุญาติให้ใช้ปืนลูกซองต่อกลุ่มคนที่มีอาวุธและกลุ่มคนที่เข้าข่าย
เป็นผู้ก่อการร้ายที่เข้าใกล้หน่วยรักษาความปลอดภัยเพื่อเป็นการป้องกัน
มิให้การกระทำของกลุ่มคนเหล่านี้เป็นเหตุให้มีผู้อื่นต้องสูญเสียชีวิตหรือไ
ด้รับบาดเจ็บ  ในกรณีนี้  
กองกำลังรักษาความปลอดภัยจึงได้รับอนุญาตให้เล็งเป้ายิงที่ต่ำกว่าระดั
บหัวเข่าเท่านั้น  
ทั้งนี้ยังให้มีการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อรักษาระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่และกลุ่ม
ผู้ประท้วงที่มีอาวุธได้  
โดยหลักการแล้วหน่วยรักษาความปลอดภัยไม่สามารถใช้อาวุธที่มีอันตร
ายร้ายแรงถึงชีวิตต่อกลุ่มผู้ประท้วงที่ปราศจากอาวุธได้และไม่ว่าจะในกร
ณีใดๆ  ก็ตามห้ามมิให้มีการใช้อาวุธรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก        

จ่าสิบโทวิทตี้  (เกษียณ)  
มีความเห็นว่าการแก้ไขกฎการใช้กำลังนี้แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่แท้จริงข
องรัฐบาลนายอภิสิทธิ์:      

ตามความเห็นของผม  
การปรับกฎการใช้กำลังนี้ไม่มีความเหมาะสมเนื่องจากมีการปรับแ
ก้กฎการใช้กำลังเพื่อสร้างนโยบายในการใช้อาวุธร้ายแรงของเจ้าห
น้าที่เพื่อ  “ตอบโต้”  
การตอบโต้ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานที่สมเหตุสมผลในการจัดการฝูงชน
ที่เป็นที่ยอมรับได้  ด้วยเหตุนี้ผมเห็นว่าการใช้ข้อความ  “เพื่อตอบโต้”  
นั้นบ่งบอกเจตนาของรัฐบาลไทยในการกระทำความผิดทางอาญาผ่
านทางการใช้กำลังที่มิได้เป็นผลมาจากการยั่วยุต่อผู้ชุมนุมคนเสื้อแ
ดง  

72
 
 
 

ที่จริงแล้ว  ถึงแม้ว่ากฎการใช้กำลังฉบับแก้ไขนี้ได้ระบุเอาไว้ว่า  
ทหารจะใช้กำลังรุนแรงได้    อย่างน้อยที่สุดก็ต่อเมื่อ  
ทหารรู้สึกว่ามีภัยคุกคามมาถึงตนในระดับหนึ่ง  
แต่คำให้การของพยานนิ ร นามปากที ่  22  ยืนยันสิ่งที่บุคลอื่นๆ  
ได้บันทึกไว้อย่างกว้างขวาง  ว่าคำสั่งทางวาจานั้น  
คือคำสั่งที่ให้ทหารยิงอะไรก็ตามที่เคลื่อนไหวในพื้นที่การใช้กระสุนจริง  

ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม,  กองพลทหารม้าที่  ๒  
ภายใต้คำบังคับบัญชาของพลตรี  สุรศักดิ์  บุญศิริ,  
ได้รับคำสั่งให้ไปรักษาความปลอดภัยบริเวณถนนพระราม  5  
จากตั้งแต่จุดตัดกับถนนพญาไท  (ในพื้นที่สามย่าน)  
ไปจนถึงจุดตัดกับถนนวิทยุ  (พื้นที่บ่อนไก่)  ผู้บังคับบัญชาของพลตรี  
สุรศักดิ์  คือผู้บัญชาการทหารบก  พลเอก  อนุพงษ์  เผ่าจินดา  

73
คำสั่งอย่างเป็นทางการของพลตรี  
สุรศักดิ์คือการยิงเป้าหมายที่เป็นภัยคุกคามเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม  
คำสั่งจริงๆ  ที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษรคือ  
การยิงเป้าหมายเคลื่อนที่ใดๆ  ก็ได้ที่แยกบ่อนไก่  
โดยไม่คำนึงว่าเป้าหมายนั้นเป็นภัยคุกคามหรือไม่ก็ตาม    

นอกจากนี้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม  พลตรี  กัมปนาท  รุดดิษฐ์  


ผู้บัญชาการ  กองพลทหารราบที่  ๑  
ได้รับคำสั่งให้ไปปิดล้อมบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง-­ราชปรารภ  
พื้นที่ทางเหนือของราชประสงค์  กองพลทหารราบที่  ๑  
ได้รับคำสั่งสำคัญเหมือนกันกับกองพลทหารม้าที่  ๒  
ซึ่งปิดล้อมอยู่ทางใต้ของราชประสงค์  ดังนี้  (ก)  
ยิงเป้าเคลื่อนที่ทั้งหมด  โดยไม่คำนึงถึงระดับภัยคุกคาม  (ข)  
ป้องกันมิให้มีหลักฐานที่เป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว  และ  (ค)  
ป้งกันกำจัดมิให้มีการขนย้ายศพผู้เสียชีวิต  

หลายวันหลังจากการลอบสังหารเสธแดง  
รัฐบาลออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องต่อเหตุการณ์  
แม้ว่าก่อนหน้ารัฐบาลกล่าวว่าจะยิง  “ผู้ก่อการร้าย”  
และระบุว่าเสธแดงเป็น  “ผู้ก่อการร้าย”  
ในขณะที่กองทัพพยายามเข้ายึดที่ชุมนุม  
มีการฆ่าหมู่เกิดขึ้นในบริเวณทิศเหนือและใต้บริเวณที่ชุมุนมแยกราชประส
งค์  ดินแดง  และลุมพินี  

บางพื้นที่  เช่น  ถนนราชประสงค์ไปจนถึงทางทิศเหนือ  และถนนรามา  ๔  


ไปจนถึงทางทิศใต้  เป็นเขตที่ทหารประกาศใช้  “กระสุนจริง”  
จุดยืนของรัฐบาลคือเป็นหน้าที่ที่จะต้องอนุญาตที่จะให้มีการยิง  
“กลุ่มติดกำลังที่ีอาวุธมีการระบุชัดเจน”  
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้อย่างละเอียดโดยนักข่าวช่างภาพ  Nick  
Nostitz”  
มีคนที่เดินผ่านไปมาในบริเวณดังกล่าวถูกยิงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจ
ากการยิงของฝ่ายทหารจำนวนมาก  หนึ่งในนั้นคือเด็กผู้ชายอายุ  10  
ขวบถูกยิงเข้าบริเวณท้องใกล้ทางเชื่อมต่อสนามบินมักกะสัน    

74
จ่าสิบโทวิทตี้  (เกษียณ)  
มีความเห็นว่าคำสั่งที่ให้ทหารบังคับใช้พื้นที่การใช้กระสุนจริงนั้นสามารถ
อนุมานได้ไม่ยากจากหลักฐานทางวีดีโอ    เขาเห็นว่าการใช้  
"พื้นที่การใช้กระสุนจริง”  เป็นเรื่องที่คาดเดาได้      

ผมเข้าใจว่าช่วงต้นเดือนพฤษภาคม  2553  กองพลทหารม้าที่  2  


ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้รักษาความปลอดภัยบนถนนพระราม  4  
ย่านบ่อนไก่ที่อยู่ทางใต้ของราชประสงค์  
ในขณะที่กองพลทหารราบที่  1  
ได้รับมอบหมายให้รักษาความปลอดภัยในย่านดินแดงและราชปาร
ภ  ซึ่งพื้นที่ที่อยู่ทางเหนือของราชประสงค์  และผมเข้าใจต่อไปอีกว่า  
เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งของกองพลเหล่านี้ได้รับคำสั่งทางวาจาให้ทหา
รยิงเป้าเคลื่อนที่ได้ภายในรัศมีที่พวกเขารับผิดชอบดูแลโดยไม่สนใ
จว่าเป้าเคลื่อนที่นั้นเป็นภัยคุกคามหรือไม่ก็ตาม    (ดู  
คำให้การของพยานนิรนามปากที่  22  ที่  ¶¶  48  และ  52)  
คำสั่งดังกล่าวนี้เป็นการละเมิดมาตรฐานที่สมเหตุสมผลในการจัดก
ารฝูงชนและเป็นการกระทำที่มีความผิดทางอาญา  

จากการตรวจสอบจากคำให้การของพยาน,  คำสัมภาษณ์  
และหลักฐานวิดีโอ  ผมสรุปได้ว่า  
กองทัพสร้างเขตพื้นที่ใช้กระสุนจริงในพื้นที่บ่อนไก่,  ดินแดง  
และราชปรารภ  ซึ่งล้วนแต่เป็นพื้นที่ที่ใกล้กับราชประสงค์  
แม้ว่าจะมีวีดีโอหลายรายการที่แสดงภาพพลเมืองที่ปราศจากอาวุธถูกยิง
,  ได้รับบาดเจ็บ  
และถูกสังหารจากกระสุนปืนที่มีทิศทางมาจากฝั่งแนวกั้นของทหารในพื้น
ที่เหล่านี้ในระหว่างวันที่  13  –  19  พฤษภาคม  
ซึ่งมีหลักฐานเป็นคลิปวีดีโอหนึ่ง    

มีหลักฐานเป็นคลิปวีดีโอหนึ่งที่ถ่ายจากด้านหลังทหารที่ประจำอยู่ใ
นที่สูง  
แสดงให้เห็นชัดเจนว่าทหารได้ทำหน้าที่ตามคำสั่งที่ได้รับในการยิงเ
ป้าเคลื่อนที่  โดยไม่คำนึงถึงว่าเป้าหมายนั้นเป็นภัยคุกคามหรือไม่    
หลักฐานการบันทึกข้อมูลวิดีโอนี้สามารถดูได้ที่  www  :.____________.  

75
ตามความเห็นของผม  บุคคลใดๆ  
ก็ตามที่กำลังวิ่งไปตามตรอกซอกซอยไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อทหาร
ที่ประจำการอยู่บนที่สูงและติดอาวุธที่ไม่มีปลอกทวีแรงถอย  
ทหารเปิดฉากยิงเมื่อเห็นพลเรือนโดยเข้าข่ายการใช้กำลังรุนแรงโด
ยที่ไม่มีการยั่วยุหรือความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงดังกล่าว
เลย  ตามความเห็นของผม  
นี่ถือว่าเป็นการกระทำที่มีความผิดทางอาญาเช่นเดียวกับคำสั่งที่สั่ง
ให้มีการกระทำดังกล่าว    

มีคำให้การของพยานหลายรายที่ยืนยันพฤติกรรมของกองทัพไทยในระห
ว่างการปราบปรามในวันที่  13  –  19  พฤษภาคม  พยานจำนวน  180  
รายลงชื่อและบันทึกคำให้การเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว    
มีพยานอีก  133  
รายที่ให้การยืนยันว่าเห็นผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการถูกทหาร
ยิงเข้าใส่  ในกรณีดังกล่าวส่วนใหญ่ทหารจะยิงจากตำแหน่งสูง    

ในวันที่  ๑๔  พฤษภาคม  ๒๕๕๓  ก ฤตพจน์  บ ั ว ดี  


ซึ่งเป็นคนเสื้อแดงได้เดินทางไปยังสวนลุมพินี  
เพื่อตรวจสอบรายงานที่ระบุว่าทหารได้รวมตัวกันที่นั้นและวางแผนทำร้า
ยคนเสื้อแดง  พยานไม่ได้มีอาวุธแต่อย่างใด  
พยานเห็นทหารหลายคนอยู่นอกรั้วของสวน  โดยเล็งปืนเข้าไปในสวน  
และทหารที่อยู่ในสวนถือปืนสั้น  พยานหยุดทันทีที่เห็นทหาร  
พยานได้ยินเสียงกระสุนยิงเข้าที่เท้าของพยาน  
และพยานเห็นทหารอีกนายถือปืนไรเฟิล  M16  ที่มีลำกล้องส่อง  โดยทหาร  

คนดังกล่าวยิงพยานที่ขาขวาด้านล่าง  
พยานขับรถหนีและทหารยังคงยิงไล่ล่าพยาน  ราวสามสิบหรือสี่สิบครั้ง  
ขาและข้อเท้าขวาของพยานถูกยิงกระจุย  

ณั ฐ พล  ท องก้ อ น  ให้การในลักษณะคล้ายกันว่า  ในวันที่  14  พฤษภาคม  


2553  พยานเดินทางไปยังสวนลุมพินี  ในขณะที่พยานเข้าไปในสวน  
พยานสังเกตเห็นทหารห้าสิบถึงหกสิบรายยืนเรียงแถวตามรั้วด้านหน้าสว

76
น  โดยทหารได้เล็งปืนไรเฟิลเข้าไปในสวน    
ทหารคนหนึ่งยิงพยานด้วยปืนสั้นโดนหัวไหล่ด้านซ้าย  พยานวิ่งไปยังต้นไม้  
แต่ทหารยังคงยิงกระสุนสาดใส่พยานหลายนัด  สลับกับการยิงทีละนัด  
ทหารยิงใส่พยานอย่างน้อยหนึ่งร้อยครั้ง  
และพยานถูกยิงเป็นครั้งที่สองด้วยกระสุนปืนไรเฟิล  
พยานกระโดดลงไปในสระน้ำเพื่อที่จะซ่อนตัวโดยการดำลงไปใต้สระ  
เมื่อพยานโผล่ขึ้นมาจากน้ำ  พยานเห็นทหารสามนายยืนอยู่ข้างสระ  
กำลังมองหาพยานและพยายามพยานที่อยู่ใต้น้ำ  
พยานกระโดดขึ้นจากสระน้ำ  วิ่งหนี  
ทำให้พยานถูกยิงเป็นนัดที่สามด้วยกระสุนไรเฟิลเข้าที่น่องขาด้านซ้าย  
หลังจากได้รับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล  พยานถูกส่งตัวไปยังเรือนจำ  
และถูกล่ามโซ่ที่เตียงนอน  
พยานได้รับแจ้งว่าพยานถูกจับกุมเนื่องจากละเมิดพระราชกำหนดบริหาร
ราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน  
พยานถูกล่ามโซ่ไว้ที่เตียงนอนของพยานตลอด  24  
ชั่วโมงเป็นเวลาหนึ่งเดือน  หลังจากนั้นถูกคุมขังในห้องขังปกติ  
พยานไม่ได้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาทางอาญาอย่างเป็นทางการ  
พยานถูกเรียกไปให้ปากคำที่สำนักงานอัยการสองครั้ง  
แต่วันนัดหมายถูกเลื่อนออกไปทั้งสองครั้ง  

และในบริเวณใกล้กัน  น ายรุ ่ ง โรจน์  


ให้การว่าเห็นทหารใกล้ซอยงามดูพลีในวันที่  14  พฤษภาคม  
ซ่อนตัวอยู่ใต้สะพานไทย-­‐เบลเยี่ยม  พยานได้ยิงธนูใส่ทหาร  
และทหารโต้กลับด้วยการยิงกระสุนจริง  
พยานเห็นแม่ค้าอายุราวห้าสิบปีถูกยิงเสียชีวิต  
และชายหนุ่มอายุราวสามสิบปีถูกยิงเข้าที่แก้ม  
และชายหนุ่มที่มีลอยสักคนหนึ่งถูกยิงเข้าที่กระดูกสันหลัง  
พยานอ้างว่าเห็นผู้ถูกยิงทั้งหมดหกราย  ;  ยิง  สี่ในหกคนเสียชีวิต  
รวมถึงแม้ค้า  
และชายคนที่หกถูกยิงขณะกำลังบันทึกภาพวิดีโอด้วยโทรศัพท์มือถือ  
พยานและประชาชนอีกราวสามสิบคนได้เข้าไปหลบภัยในตรอกใกล้เวทีมว
ยลุมพินี  ทั้งหมดถูกทหารบังคับใช้กำลังให้ออกจากบริเวณดังกล่าว  
โดยเฉพาะนายทหารได้สั่งการและบังคับประชาชนโดยใช้กำลังความรุนแ
77
รง  โดยบังคับให้คนเหล่านั้นงอตัว  และยังเตะและตีผู้ชุมนุม  
รวมถึงใช้ปืนที่ปลดล๊อคแล้วเล็งใส่คนเหล่านั้นด้วย  
หลังจากรับสารภาพว่าละเมิดพระราชกำหนดบริหารบ้านเมืองในสถานก
ารณ์ฉุกเฉินแล้ว  โทษจำคุกจะถูกลดเหลือจากหนึ่งปีเป็นหกเดือน    

ในขณะเดียวกัน  ทางเหนือของแยกราชประสงค์  ตรงมุมถนนราชเทวี  


คำให้ ก ารของพยานปากที ่  8  
พยานเล่าถึงเหตุการณ์ที่ทหารยิงกระสุนจริงใส่กลุ่มคนซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นพ
ยานโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า  บริเวณมุมถนนราชเทวี  
ใกล้สามเหลียมดินแดง  ในวันที่  ๑๔  พฤษภาคม  ๒๕๕๓  
โดยประชาชนต่างพยายามวิ่งหนีห่ากระสุน  และจากเหตุการณ์ดังกล่าว  
พยานถูกยิงเข้าที่ต้นแขนขวา  

นายกั ง สดาล  พยานเป็นสมาชิกคนเสื้อแดง  จังหวัดอยุธยา  วันที่  14  


พฤษภาคม  2553  พยานอยู่ที่บริเวณแยกราชประสงค์  
และทหารกำลังจะเข้าไปสลายการชุมนุม  
พยานเห็นทหารเตรียมพร้อมที่จะยิงปืนใส่ผู้ชุมุนม  ทหารปิดทางเข้าออก  
และทำรั้วลวดหนาม  
เหมือนทหารได้เตรียมพร้อมและมีการฝึกฝนปฏิบัติการดังกล่าวไว้ก่อนห
น้านี้อย่างดี  ทหารเริ่มยิงใส่ฝูงชน  
พยานวิ่งหลบเข้าไปในมุมตึกโรงแรมเซ็นจูรี่  
และถูกยิงในขณะพยายามวิ่งหลบกระสุน    

คำให้ ก ารของพยานปากที ่  12  


พยานเป็นอาสาสมัครตำรวจในกรุงเทพมหานคร  
พยานและภรรยาได้เห็นเหตุการณ์สองเหตุการณ์  
บริเวณหน้าโรงแรมอินทรา  
พยานและภรรยาบังคับให้หยุดอยู่บริเวณดังกล่าว  
เนื่องจากจากทหารกันไม่ให้ประชาชนใช้ถนนราชปรารภ  
เหตุการณ์นี่เกิดขึ้นราว  18  นาฬิกา  30  นาที  ของวันที่  14  พฤษภาคม  2553    
มีประชาชนราวสามสิบคนรวมตัวกันในบริเวณดังกล่าว  
และไม่ใครถืออาวุธ  ฝั่งตรงข้ามถนน  

78
ตรงบริเวณสะพานลอยข้ามถนนราชปรารภมีเจ้าหน้าทหารจำนวนแปดนา
ยเฝ้าอยู่  ทหารยิงทุกสิ่งที่เคลื่อนไหวในทุกทิศทาง  
พยานเห็นทหารยิงอย่างน้อยห้าสิบครั้ง  
ทหารยังยิงใส่โรงแรงเพื่อกันไม่ให้คนออกมา  เวลาประมาณ  19  นาฬิกา  
หญิงสาวคนหนึ่งพยายามข้ามถนนราชปรารภได้ถูกทหารยิงก่อนจะก้าวเ
ท่าลงบนถนน  หญิงสาวคนดังกล่าวล้มลงกับพื้น  เวลาประมาณ  20  นาฬิกา  
พยานเห็นคนขับมอเตอร์ไซต์สองคัน  โดยไม่มีผู้โดยสารซ้อนท้าย  
ทหารที่เฝ้าอยู่บริเวณสะพานลอยยิงใส่มอเตอร์ไซต์ทั้งสองคัน  
คนขัยทั้งสองล้มลงกับพื้น  หลังจากนั้นไม่กี่นาที  
ได้เกิดเหตุระเบิดหน้าโรงแรมอินทรา  ก่อนเกิดเหตุระเบิด  
พยานเห็นแสงเลเซอร์ี่แดงยิงสาดลงมายังบริเวณดังกล่าว  
หลังจากแสงเลเซอร์สีแดงหายไป  และก็มีแสงเลเซอร์สีเขียวปรากฏ  
และจากนั้นได้เกิดเสียงระเบิดทันที่  และเมื่อพยานเห็นแสงดังกล่าวอีก  
ก็ได้เกิดเหตุระเบิดครั้งที่สอง  ราวสามเมตรห่างจากพยาน  
มีผู้บาดเจ็บสามคนรวมถึงพยาน  
พยานได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดมีแผลทีหลัง  

คำให้ ก ารของคำให้ ก ารของนายปาสกาล  แ อฟราร์ ด  (Pascal  


Evrad)  พยานเล่าถึงเหตุการณ์ที่ที่ถนนราชปรารภ  ระหว่างแยกดินแดง  
และซอยหลังสวน  ในวันที่  14-­‐15  พฤษภาคม  
พยานเห็นเหตุการณ์จากระเบียงห้องพัก  
พยานเห็นทหารมีอาวุธครบมือเปิดฉากยิงประชาชนที่ไม่มีอาวุธ  
พยานเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวในวันที่  14  พฤษภาคม  
โดยทหารเริ่มยิงใส่ประชาชน  เวลาประมาณ  18  นาฬิกา  ตอนแรก  
ทหารใช้กระสุนยาง  ตามกระสุนจริง  
ทหารยิงอย่างไม่แยกแยะว่าจะเป็นศีรษะหรือเท้า  
เหยื่อบางคนเป็นประชาชนที่มุงดูเหตุการณ์  วันรุ่งขึ้นราว  8  นาฬิกา  15  นาที  
พยานเห็นประชาชนราว  15  คนเดินขบวนบนถนน  พร้อมทั้งถือธงชาติไทย    
ทันใดนั้น  พวกเขาก็ถูกยิงด้วยอาวุธที่มุ่งสังหารปืนไรเฟิล  (นาโต  223)  
โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า  พยานเห็นพลเรือนสองคนถูกยิงเสียชีวิตทันที  
แต่ทหารยังคงสาดยิงกระสุนหลังจากนั้นราวสามสิบนาที  
และยังยิงคนที่พยายามเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บด้วย  
เป็นสิ่งที่น่าทึ่งยิ่งนักที่ทหารยิงสังหารประชาชนที่ไม่มีอาวุธ!  ”      
79
ระหว่างวันที่  15  ถึงวันที่  18  พฤษภาคม  น ายประทั ก ษ์  น ุ ช สถิ ต ย์  
พยานได้เข้าร่วมการชุมนุมที่ดินแดง  และในบริเวณที่ชุมนุม  
พยานเห็นทหารยิงศีรษะของหญิงสาวคนหนึ่งในประมาณวันที่  18  หรือ  ๑๙  
พฤษภาคม  ๒๕๕๓  โดยหญิงสาวคนดังกล่าวมีอาชีพเก็บขยะขาย  
การยิงอาจจะเป็นความผิดพลาดเพราะหญิงดังกล่าวไม่ใช่ผู้ชุมนุม  
กลุ่มทหารดังกล่าวมีอายุน้อยและยิงใส่ทุกคนในบริเวณดังกล่าว  
ไม่ว่าจะเป็นคนขับมอเตอร์ไซต์  

 
เป็นที่ชัดเจนว่ากองทัพบกไทยและรัฐบาลนายอภิสิทธิ์รับรู้ว่าการให้มีและ
การบังคับใช้พื้นที่การใช้กระสุนจริงนั้นเป็นการกระทำที่มีความผิดทางอา
ญา    
เนื่องจากทั้งทางกองทัพและรัฐบาลได้ช่วยกันปกปิดหลักฐานการกระทำค
วามผิด      

นอกจากนี้พลตรี  สุรศักดิ์  
ยังได้รับคำสั่งให้ป้องกันมิให้บุคคลใดถ่ายภาพทหารฆ่าประชาชนที่
ปราศจากอาวุธ  ซึ่งได้มีคำสั่งให้กองพลทหารม้าที่  ๒  
เล็งนักข่าวหรือคนของสื่อใดๆ  ก็ตามที่เข้ามาในบริเวณดังกล่าว  
คำสั่งนี้ถูกเปิดโปง  
โดยความจริงที่ว่ามีหลักฐานที่เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวมา
กมายจากการปฎิบัติการปราบปรามของทหารในวันที่  10  เมษายน  
และผู้นำทหารมองว่าการปฎิบัติการในวันที่  10  
เมษายนเป็นความล้มเหลว  
ในส่วนที่มีการคัดค้านจากประชาชนอย่างรุนแรงต่อเหตุการณ์ที่เกิด
ขึ้นนั่นเอง    

พลตรี  
สุรศักดิ์ยังได้รับคำสั่งให้ป้องกันมิให้มีการเตลื่อนย้ายศพของพลเรื
อนที่ถูกทหารใต้บังคับบัญชาของเขาฆ่าในเขตพื้นที่บ่อนไก่  
คำสั่งระบุให้ทหารของกองพลทหารม้าที่  ๒  
ยิงใครก็ตามที่พยายามเคลื่อนย้ายศพ  
และนั่นรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ด้วย    

80
 

กองพลทหารราบที่  ๑  
ได้รับคำสั่งให้ไปปิดล้อมบริเวณสามเหลี่ยมดินแดง-­ราชปรารภ  
พื้นที่ทางเหนือของราชประสงค์  กองพลทหารราบที่  ๑  
ได้รับคำสั่งสำคัญเหมือนกันกับกองพลทหารม้าที่  ๒  
ซึ่งปิดล้อมอยู่ทางใต้ของราชประสงค์  ดังนี้  (ก)  
ยิงเป้าเคลื่อนที่ทั้งหมด  โดยไม่คำนึงถึงระดับภัยคุกคาม  (ข)  
ป้องกันมิให้มีหลักฐานที่เป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว  และ  (ค)  
ป้งกันกำจัดมิให้มีการขนย้ายศพผู้เสียชีวิต  

คำสั่งที่ให้กองพลทหารราบที่  ๑  และ  กองพลทหารม้าที่  ๒  


ยิงใครก็ตามที่พยายามจะขนย้ายศพออกจากพื้นที่  
ที่ได้รับมอบหมายเพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือการดำเนินงานของกา
รปฎิบัติงานของ  “หน่ววข่าวกรอง”  
 ของกองทัพบกในการทำลายหลักฐานใด  ๆ  
ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าของทหาร    

โดยเฉพาะผู้นำกองทัพบกดำเนินการนโยบายการทำลายหลักฐานโ
ดยการสมรู้ร่วมคิดกับโรงพยาบาลรัฐบางแห่งในกรุงเทพฯ  หน่วย  
ลับของทั้งกองพลทหารราบที่  ๑  และ  กองพลทหารม้าที่  ๒  

81
แกล้งเป็นคนขับรถพยาบาล  
และไปปรากฏตัวที่พื้นที่ที่มีการยิงปะทะกันเพื่อเอาผู้ถูกยิงไป  
แสร้งว่าจะพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล  ในความเป็นจริงแล้ว  
รถพยาบาลเหล่านี้พาผู้บาดเจ็บหลายรายไปที่โรงพยาบาลทหารผ่า
นศึก  แถวดินแดง  และ  
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อปกปิดและการฌาปนกิจศพ  
วัตถุประสงค์หลักคือการทำลายหลักฐานความผิดทางอาญาใด  ๆ  
ของกองทัพบก  

เพราะการปฎิบัติการตามคำสั่งห้ามไม่ให้เคลื่อนย้ายศพ  
ทหารจึงปิดไม่ให้หน่วยพยาบาลฉุกเฉนเข้าไปในเขตใช้กระสุนจริง  
และยิงอาสาพยาบาลอย่างต่อเนื่องเมื่อพวกเขาพยายามเข้ามาช่วยผู้ชุม
นุมที่บาดเจ็บ  และทำให้การช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบาก  

   
 

82
   

   

 
 

บนขวา:  เ จ้ า หน้ า ที ่ ร ั ฐ ฉกเอากล้ อ งไปจากฟาบิ โ อ  โ พเลงกี  

รู ป อื ่ น :  แ ผนที ่ ต ำแหน่ ง มื อ ปื น ซุ ่ ม ยิ ง ที ่ พ บในกระเป๋ า ฟาปิ โ อ  


โพเลงกี  

ผู้สื่อข่าวก็ตกเป็นเป้าหมายของทหารเช่นเดียวกัน  เมื่อวันที่  14  พฤษภาคม  


ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าว  ฟรานซ์  24  นายเนลสัน  แรนด์  
ถูกยิงทั้งหมดสามครั้ง  
ที่เกิดเหตุบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสวนลุมพินี  ในขณะที่ช่างภาพ  
ชาวอิตาลี่  นายฟาบิโอ  โปเลงกี  เสียชีวิตจากบาดแผลที่ถูกยิงเข้าที่หน้าอก  
ในวันที่  19  พฤษภาคม  หลังจากที่เขาบันทึกภาพที่ซ่อนของพลซุ่มยิงได้  
มีบุคคลสวมเสื้อผ้าคล้ายทหารเอากล้องถ่ายรูปของเขาไป  อย่างไรก็ตาม  
นายโปเลงกี  ได้ซ่อนแผนที่แสดงตำแหน่งที่ซ่อนของพลซุ่มยิงที่วาดหยาบๆ  
จำนวน3  แผ่นไว้ในกระเป๋าสะพายหลัง    
พี่สาวของนายโปแลงกีเป็นคนพบแผนที่ทั้ง  3  
แผ่นในขณะที่ตรวจดูข้าวของส่วนตัวของเขา      

หลังจากปะทะกันอย่างดุเดือดหลายวัน  
คนเสื้อแดงได้อ่อนกำลังลงอย่างมาก  
คนเสื้อแดงพยายามเผายางรถเพื่อกันการเคลื่อนตัวของทหารอย่างสิ้นห

83
วัง  และยังพยายามที่จะขอเจรจาในวันที่  18  พฤษภาคม  
และรัฐบาลอภิสิทธิ์ปฏิเสธ  สุดท้ายในวันที่  19  พฤษภาคม  
ทหารได้ฝ่าด่านคนเสื้อแดง  พยานปากที่  22  อธิบายถึงเหตุการณ์วันที่  19  
พฤษภาคม  ที่ปฎิบัติการแยกราชประสงค์ว่า    
     
วันที่  19  พฤษภาคม  
ทหารตีฝ่าแนวกั้นที่กลุ่มคนเสื้อแดงทำเอาไว้รอบบริเวณราชประสง
ค์  กองกำลังที่ว่านี้เป็นชุดปฎิบัติงานเดียวกับวันที่  19  
พฤษภาคม  หทารที่ตีฝ่าแนวกั้นของกลุ่มคนเสื้อแดงเข้าไปได้เป็นทห
ารจากกองพันทหารราบที่  ๒  สังกัดกรมทหารราบที่  ๓๑  
รักษาพระองค์  นำโดยพันโท  ยอดอาวุธ  
พึ่งพักตร์ให้มีทหารประจำการทั้งภาคพื้นดินและบนรางรถไฟบีทีเอ
ส  มีทหารจากกรมรบพิเศษที่  ๓  
ประจำการร่วมบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสด้วย  

มีให้ยิงใครก็ตามที่สงสัยว่าพกพาอาวุธและทหารเหล่านี้ไม่จำเป็นต้
องพิจารณาว่าคนๆ  นั้นมีอาวุธจริงๆ  หรือไม่  
คำสั่งก่อนการเคลื่อนกำลังพลระบุไว้อย่างชัดเจนว่าการถือหนังสติ๊
กก็ถือว่ามีอาวุธไว้ในครอบครองและเป็นอันตรายแล้ว  
ทหารเหล่านี้ยังได้รับคำสั่งให้ยิงการ์ดของกลุ่มคนเสื้อแดงที่พบไม่ว่
าการ์ดคนนั้นจะมีอาวุธหรือไม่ก็ตาม  
ดังนั้นทหารได้รับอนุญาติให้ยิงใครก็ได้ที่ต้องการ  
คำสั่งเหล่านี้เองที่เป็นเหตุให้มีการยิงกันที่วัดปทุมวนารามในช่วงบ่า
ยของวันที่  19  พฤษภาคม  

กองทหารติดอาวุธที่ประจำอยู่บริเวณรางรถไฟฟ้าบีทีเอสได้รับคำสั่
งเฉพาะให้ระบุตัวและยิงแกนนำเท่านั้น  
อย่างไรก็ตามแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง  
ได้รับคำเตือนล่วงหน้าว่ามีคำสั่งให้สังหารแกนนำ  
พวกเขาจึงได้ยอมมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทันทีก่อนที่ทหารลงมื
อทำตามคำสั่งได้สำเร็จ  

84
   

 
 

ขวา:  ภ าพทหารเล็ ง อาวุ ธ เข้ า ไปในวั ด ปทุ ม วนารามวั น ที ่  19  


พฤษภาคม  2553  

ซ้ า ย:พยาบาลเกดนอนเสี ย ชี ว ิ ต วั ด ปทุ ม วนารามวั น ที ่  19  


พฤษภาคม  2553  

และไม่นานหลังจากนั้น  
แกนนำเสื้อแดงบริเวณสี่แยกราชประสงค์ได้ประกาศขอมอบตัวกับตำรวจ  
เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นองเลือดมากไปกว่านี้  ในขณะที่วันที่  19  
พฤษภาคม  
เป็นวันมหาวิปโยคแห่งการฆ่าหมู่ประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยมากที่
สุดในประวัติศาสตร์ไทย  
จำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะมีมากกว่านี้มากมายหากแกนนำเสื้อแดงไม่ยอมตั
ว    

อย่างไรก็ตาม  
การมอบตัวของแกนนำเสื้อแดงไม่ได้ยับยั้งการการสังหารอันทารุณ  
หลายชั่วโมงหลังจากการสลายการชุมนุม  
มีประชาชนอีกหกคนถูกสังหารในวัดปทุมวนาราม  
ซึ่งเป็นสถานที่หลบภัยจากวามุรุนแรงของผู้ชุมนุมเสื้อแดง  
นักข่าวต่างชาติที่ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุเล่าว่ามือปืนซุ่มยิงกองทัพยิง

85
ผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธที่อยู่ในวัดจากรางรถไฟฟ้า  
พยาบาลสามในสี่รายที่ประจำอยู่ที่เต็นท์ปฐมพยาบาลชั่วคราวในวันนี้สว
มเครื่องแบบที่บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นอาสาพยาบาล  
ซึ่งทังหมดเป็นหนึ่งในพลเรือนที่ถูกยิงเสียชีวิตโดยมือปืนซุ่มยิงจากรางรถ
ไฟฟ้า  

มีพยานอีก  88  
รายที่ได้ส่งชื่อและบันทึกคำให้การของพวกเขาไปยังทนายของผู้ร้องเกี่ยว
กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วัดปทุมวนารามในวันที่  19  พฤษภาคม  
มีผู้ให้การยืนยันเป็นพยานผู้เห็นเหตุการณ์ว่ามีผู้ถูกฆ่าหรือได้รับบาดเจ็บ
จากการยิงของทหารจากบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส  ที่เป็นทางยกระดับ  
เข้ามายังภายในบริเวณวัด  จำนวน  74  ราย      

พยานปากอื่นๆ  ได้ให้คำให้การที่มีรายละเอียดดังนี้:  

พยานนิ ร นามปากที ่  4  
ให้การว่าพยานเข้าไปภายในบริเวณวัดหลังจากที่แกนนำคนเสื้อแดงยอมเ
ข้ามอบตัว  เมื่อเวลาประมาณ  19:00  น.  ของวันที่  19  พฤษภาคม  2553  
มีผู้ชุมนุมประมาณสองพันคนอยู่ภายในบริเวณวัด  
พยานให้การว่ามีการยิงเข้ามาในวัด  
พยานได้ซ่อนตัวอยู่ภายในป้อมยามที่ทำมาจากคอนกรีตตั้งอยู่ภายในบริเ
วณวัด  พยานให้การว่า  พยานสามารถมองเห็นทหารอย่างน้อย  3  
นายประจำการณ์อยู่ข้างบนจุดที่พยานอยู่  ห่างออกไปประมาณครึ่งถนน  
บนทางเดินที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส  
สยามผ่านหน้าต่างในป้อมยามได้  พยานเห็นทหารทั้ง  3  
นายยิงเข้าไปภายในวัด  และพยานให้การว่า  
พยานได้ยินเสียงปืนสองแบบด้วยกัน  แบบหนึ่งเป็นเสียงรัวติดต่อกัน  
เหมือนปืนกล  และอีกแบบหนึ่งเป็นแบบยิงทีละนัด  
พยานรู้จักบุคคลหนึ่งที่เป็นอาสาสมัครพยาบาล  
พยานรู้จักบุคคลนี้ในชื่อว่า  เกด  
แม้ว่าพยานจะทราบภายหลังว่าชื่อเต็มของบุคคลนี้คือ  นางสาวกมนเกด  
อัคฮาด  
ตอนที่มีการเริ่มยิงเข้าไปในวัดบุคคลที่พยานรู้จักประจำอยู่ที่เต้นท์พยาบา
ลภายในวัด  ห่างไปทางด้านหลังเล็กน้อยจากจุดที่พยานอยู่  
ตอนที่ทหารกำลังยิงปืนจากตำแหน่งด้านบน  
พยานให้การว่าเห็นอาสาสมัครพยาบาลคนนี้ถูกยิงและล้มไปด้านหลัง    
 ค ำให้ ก ารของพยานปากที ่  6  แ ละ  ค ำให้ ก ารของพยานปากที ่  9  
86
พยานอยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ในวันที่  19  พฤษภาคม  
2553  เวลาประมาณ  13  นาฬิกา  
พยานได้ยินว่าแกนนำเสื้อแดงได้มอบตัวและขอให้ทุกคนเข้าไปหลบภัยใน
วัดปทุมวนาราม  
เพราะสถานการณ์ยังไม่ปลอดภัยที่ประชาชนจะเดินทางกลับบ้าน  
ในวัดทุกคนต่างเงียบสงบ    และเวลาราว  16  นาฬิกา  และ  17  นาฬิกา  
พยานเห็นทหารบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสตรงทางเข้าวัด  
ซึ่งรางรถไฟฟ้าตั้งอยู่สูงจากพื้นถนนหลายเมตร  
และสามารถมองเห็นบริเวณในวัดได้อย่างชัดเจน  ภายในวัด  
เต็นท์พยาบาลภายในวัดมีสัญญาลักษณ์กาชาดชัดเจน  เวลาประมาณ  18  
นาฬิกา  30  นาที  ทหารเริ่มยิงเข้าไปในเขตวัดโดยไม่มีคำเตือนล่วงหน้า  
ในขณะนั้น  เต็นท์พยาบาลถูกยิงกราด  
มีอาสาพยาบาลสามคนถูกยิงเสียชีวิต  กมลเกด  อักฮาด  มงคล  เข็มทอง  
และอัครเดช  แก้วขัน  ซึ่งอัครเดชเสียชีวิตลงอย่างเจ็บปวดทรมาน  
(ดู ค ำให้ ก ารของดร.ณั ฎ ฐิ ธ ิ ด า  ม ี ว ั ง ปลา)  
ทหารจากกองทัพภาคที่หนึ่งยิงทุกสิ่งที่เคลื่อนไหว  
เพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าไปขอความช่วยเหลือเบื้องต้นจากพยาบาลในเต็นท์  
เวลาประมาณ  ๑๙  นาฬิกา  กลุ่มทหารได้เข้าไปตะโดนด่าหยาบคายในวัด  
ในขณะที่พยานและคนอื่นช่วยกันลากศพไปไว้ในที่ปลอดภัยในวัด  
และทหารยังได้พยายามยิงพวกเขา  ทหารหยุดยิงราว  20  นาฬิกา  
และมีพยานหลายคนให้การว่า  เช้าวันรุ่งขึ้น  
ศพทั้งหกศพถูกวางเรียงกันตรงรั้วสวนในบริเวณวัด  

มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมุนม  
เพิ่มเป็นหกสิบรายจากการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่  19  
พฤษภาคม  แม้ว่า  จะมีการกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงเป็น  “ผู้ก่อการร้าย”  
แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตในช่วงปฏิบัติการดังกล่าว  
ในขณะที่ผู้เสียชีวิตไม่มีอาวุธแต่อย่างใด  

 
3.4  
การบิ ด เบื อ นการใช้ พ ระราชกำหนดบริ ห ารราชการแผ่ น
ดิ น ในสถานการณ์ ฉ ุ ก เฉิ น  

โดยที่มีประชาชนเสียชีวิต  90  คนและอีกประมาณ  1,800  


คนได้รับบาดเจ็บภายในระยะเวลา  6  สัปดาห์ก่อนวันที่  19  พฤษภาคม  
87
ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมที่เพิ่มขึ้นแ
สดงถึงความไม่จริงใจต่อ  “หลักความเป็นประชาธิปไตย”  
และ”การเคารพหลักนิติธรรม”  ที่รัฐบาลของนายอภิสิทธ์  
ได้อ้างว่าพยายามรักษามาตลอดระยะเวลาที่บริหารประเทศ    
เมื่อนายอภิสิทธ์ต้องเผชิญกับแรงคัดค้านความชอบด้วยกฎหมายของตน
เอง  ซึ่งมีจำนวนมาก  มีระบบระเบียบและเป็นไปโดยสงบเรียบร้อย  
นายอภิสิทธ์แสดงออกถึงการขาดความสามารถที่จะปกครองโดยอาศัยค
วามคุ้มครอง  ที่แม้แต่รัฐธรรมนูญฉบับหลังรัฐประหารปี  พ.ศ.  2550  
เคยมีให้กับประชาชนไทยมาก่อน    ทั้งนี้  แม้แต่ก่อนที่จะเริ่มมีการชุมนุม  
รัฐบาลได้ยกเลิกความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเป็นการชั่วคราวและประ
กาศให้นำ  พ.ร.บ.  การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  พ.ศ.  2551  
มาใช้  โดยพยายามที่จะจำกัดขอบเขตการดำเนินกิจกรรมของเสื้อแดง  
นอกจากนี้  ในวันก่อนวันที่เกิดเหตุการณ์การสลายการชุมนุมครั้งแรก  
รัฐบาลยังได้อ้างอำนาจเผด็จการและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย    

พ.ร.บ.  การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  

พ.ร.บ.  การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  ซึ่งบัญญัติขึ้นเมื่อปี  


พ.ศ.  2551  กำหนดความหมายของคำว่า  
“การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร”  ไว้อย่างกว้าง  
โดยให้หมายความรวมถึง  “การดำเนินการเพื่อป้องกัน  ควบคุม  
แก้ไขและฟื้นฟูสถานการณ์ใด  ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัย  
อันเกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข  
ทำลายหรือทำความเสียหายต่อชีวิต  ร่างกาย  ทรัพย์สิน  
ของประชาชนหรือของรัฐ”1  
โดยที่พ.ร.บ.นี้อนุญาตให้ใช้มาตรการเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักรัฐธรรม
นูญโดยมีวัตถุประสงค์  “ให้กลับสู่สภาวะปกติ  
เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน  หรือความมั่นคงของรัฐ”  
เมื่อคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง/คณะปฏิวัติร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นเมื่
อปลายปีพ.ศ.  2550      Human  Rights  Watch  
ได้มีการประณามอย่างรุนแรงว่า  
“เป็นไปเพื่อสนับสนุนการปกครองโดยทหารอย่างถาวร”  
และทำให้ประเทศไทยตกอยู่ใน  

88
“สภาพแวดล้อมที่มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือตามอำเภ
อใจ”2  
สภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งได้รับเลือกโดยคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง/
คณะปฏิวัติได้มีการอนุมัติร่างกฎหมายเมื่อวันที่  20  ธันวาคม  พ.ศ.  2550—  
เพียง  3  วันก่อนมีการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติครั้งล่าสุด    

พ.ร.บ.นี้วางอำนาจรัฐไว้ในการบริหารราชการของนายกรัฐมนตรี  
พ.ร.บ.กำหนดว่า  
“ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจัก
ร  แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน[…]  
คณะรัฐมนตรีจะมีมติมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใ
นราชอาณาจักร  (“กอ.รมน.”)  เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน  ปราบปราม  
ระงับ  ยับยั้ง  และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์  
ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรนั้น  
ภายในพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้”      
กอ.รมน.เป็นหน่วยงานย่อยของทหาร  
ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะกิจในการรักษาความมั่นคงของประเทศจากการคุกคา
มภายใน3  
โดยดำเนินการภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของนายกรัฐมนตรี  
ผู้ซึ่งพ.ร.บ.นี้กำหนดให้เป็น  
“ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร”4    

เมื่อมีมติดังกล่าวแล้ว  ผู้บริหารราชการแผ่นดินจะไม่ใช่  สภาผู้แทนราษฎร  


คณะรัฐมนตรี  และคณะตุลาการอีกต่อไป  แต่จะกลายเป็นนายกรัฐมนตรี  
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพบกในฐานะรองผู้อำนวยการ  
และเสนาธิการทหารบกในฐานะเลขานุการ5    
ผู้มีอำนาจที่เป็นตัวกลางเพียงกลุ่มเดียวที่พอจะมีคือ  คณะรัฐมนตรี  
แต่ก็มีอำนาจเพียงเล็กน้อยและจำกัดอยู่เพียงการอนุญาตให้นายกรัฐมน
ตรีใช้อำนาจ  “ออกข้อกำหนดดังต่อไปนี้”:  

1. ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบั
ติการอย่างหนึ่งอย่างใด  

89
2. ห้ามเข้าหรือออกจากบริเวณพื้นที่  อาคาร  
หรือสถานที่ที่กำหนดในห้วงเวลาปฏิบัติการ  
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลซึ่งได้รั
บการยกเว้น  
3. ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด  
4. ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน  
5. ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ  
หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพ
าหนะ  
6. ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่
ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  
เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ชีวิต  ร่างกาย  
หรือทรัพย์สินของประชาชน6  

ข้อกำหนดข้อ  (2)  ถึง  (6)  มีไว้เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้นเท่านั้น  


เนื่องจากขอบเขตอำนาจของนายกรัฐมนตรีนั้นได้ถูกกำหนดไว้ในข้อ  (1)  
แล้ว  อันได้แก่  อำนาจในการ  
“ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติการอย่าง
หนึ่งอย่างใด”    ซึ่งอำนาจเช่นว่านี้ใช้ผ่านการออก  “กฎกระทรวง”  
ไม่ใช่พ.ร.บ.ที่ต้องออกโดยผ่านความเห็นขอบของสภานิติบัญญัติ  อีกทั้ง  
ไม่ได้ผ่านการพิจารณาตามระบอบประชาธิปไตย  
ไม่ได้ผ่านการไตร่ตรองจากรัฐสภา    มีเพียงแต่นายกรัฐมนตรี  
คณะรัฐมนตรี  และกองทัพเท่านั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบในการใช้อำนาจ    
นี่คือสถานะการปกครองโดยหลักนิติธรรมที่มีอยู่ในประเทศไทยนับตั้งแต่
วันที่  11  มีนาคม  พ.ศ.  2553  เป็นต้นมา  แม้ก่อนที่จะมีการแก้ไขพ.ร.บ.  
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรครั้งล่าสุด  International  
Commission  of  Jurists  
ได้แสดงความกังวลอย่างมากในเรื่องที่การบริหารของรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้
อ้างอำนาจตามพ.ร.บ.นี้อย่างต่อเนื่องว่าเป็น  
“การล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและรวมตัวกัน  
ซึ่งรับรองโดย  International  Covenant  on  Civil  and  Political  Rights  
(ICCPR)”7    ในช่วงเวลาที่ผู้เขียนกำลังเขียนนี้  
พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ใ
นกรุงเทพมหานครและเขตพื้นที่ปริมณฑล  

90
ก่อนหน้าที่รัฐบาลจะประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอา
ณาจักร    International  Commission  of  Jurists  
แสดงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการใช้พรบ.ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่าเป็น
การกระทำที่  
“ละเมิดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุมที่รับรองไว้ใน  
ICCPR”  
และในปัจจุบันยังคงมีการใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณา
จักร  อยู่ในกรุงเทพและต่างจังงงหวัด      

สถานการณ์ฉุกเฉิน  

การประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและการ
ออกมาตรการอื่นๆเพื่อขัดขวางการเคลื่อนไหวนั้น  
ไม่เป็นอุปสรรคต่อกลุ่มเสื้อแดง    
โดยกลุ่มเสื้อแดงจากทุกเพศทุกวัยเป็นจำนวนนับพัน  
ยังคงเดินทางมาที่กรุงเทพมหานครเพื่อต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบันและเรีย
กร้องให้มีการเลือกตั้ง  เพื่อตอบโต้แรงต่อต้านอันมีเพิ่มมากขึ้น  
นายอภิสิทธิ์และครอบครัวได้ย้ายถิ่นที่อยู่จากในกรุงเทพมหานครไปยังค่
ายทหาร  
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่านายอภิสิทธิ์ได้พึ่งพาอาศัยและได้รับก
ารสนับสนุนจากนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายๆคน      เมื่อวันที่  7  เมษายน  
ซึ่งเป็นเวลาหลายสัปดาห์จากที่ได้มีการคาดการณ์ไว้    
รัฐบาลได้ประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรด้ว
ยความเข้มงวดกว่าเดิม(doubled  down)  
อีกทั้งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครและในพื้นที่ทั้งห
มดหรือบางส่วนของ  5    จังหวัดปริมณฑล  

 ภายใต้มาตรา  9  
ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ.  2548  
รัฐบาลห้ามมิให้มี  “การชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่  5  คนขึ้นไป”  รวมถึง  
“กระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย”  
ในรูปแบบดังต่อไปนี้:  

1. กีดขวางการจราจรในลักษณะที่ทำให้ไม่อาจใช้สัญจรได้ตามปกติ    
91
2. กีดขวางทางเข้า-­‐ออกของอาคารหรือสถานที่  
อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงาน  การประกอบกิจการ  
หรือการใช้ชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนโดยทั่วไป    
3. มีการประทุษร้ายหรือใช้กำลังอันทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียหายแ
ละเกรงกลัวอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต  ร่างกายและทรัพย์สิน    
4. ขัดขืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่  
ที่สั่งการเกี่ยวกับการชุมนุมเพื่อให้เป็นไปโดยสงบและไม่เกิดความเ
ดือดร้อนต่อประชาชน  

ผู้ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศนี้  “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน  2  ปี  


หรือปรับไม่เกิน  4  หมื่นบาท”8    นอกจากนี้รัฐบาลยังห้าม  “การเสนอข่าว  
การจำหน่าย  หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ  สิ่งพิมพ์  
หรือสิ่อื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจ
ตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร  
ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน  
จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ  
หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  
ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร”9      

 ภายใต้มาตรา  11  
ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  
รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดเพิ่มเติมซึ่งให้สิทธิอย่างเป็นทางการแก่ฝ่ายบริห
ารในการใช้อำนาจได้อย่างกว้างขวาง  โดยนอกเหนือสิ่งอื่นใด  คือ  
รัฐบาลในขณะนี้มีอำนาจในการ  
“จับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถา
นการณ์ฉุกเฉิน  หรือเป็นผู้ใช้  ผู้โฆษณา  ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น”    
“ออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  
หรือมาให้ถ้อยคำ  
หรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน”  
และ  “ห้ามมิให้กระทำการใดๆ  หรือสั่งให้กระทำการใดๆ  
เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ  
หรือความปลอดภัยของประชาชน”  

92
พระราชกำหนดบริหารราชแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินให้อำนาจเบื้องต้
นทางกฎหมายแก่รัฐบาล  ในการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง  ในวันที่  10  
เมษายน  2553  และ  13  ถึง  19  พฤษภาคม    ตามมาตรา  9  
แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน  
สั่งห้ามให้มีการรวมตัวหรือชุมนุมของคนตั้งแต่คนห้าหรือมากกว่า    
รวมทั้งการกระทำใดที่ปลุกระดมให้เกิดความไม่สงบ  ตามมาตรา  11    
รัฐบาลยังออกกฎระเบียบเพิ่มเติมที่ให้ขยายอำนาจพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่  
ใน"การจับกุมและคุมขังผู้ต้องสงสัยในกรณีที่ต้องสงสัยว่าเป็นส่วนหนึ่งใน
การยั่วยุหรือผู้ใดที่ทำการโฆษณาหรือสนับสนุนกับการกระทำดังกล่าว"  
รวมไปถึง"การเรียกตัวบุคคลมารรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่หรือให้หลักฐาน
เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน"    โดยวันที่  10  มิถุนายนรัฐบาลได้จับกุม  417  
รายที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกิจกรรมกลุ่มคนเสื้อแดงในข้อหากระทำห
รือฝ่าฝืนพระราชกำหนดฉุกเฉิน  

ในวันที่  13  พฤษภาคม  2553  


พระราชกำหนดบริหารราชการณ์แผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน  
ได้ถูกประกาศใช้ในภาคเหนือ  ตะวันออกเฉียงเหนือ  และภาคกลาง  
ปลายเดือนพฤษภาคม  
มีการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน
อีกยี่สิบสี่จังหวัด  ในวันที่  7  กรกฎาคม  2553  
รัฐบาลได้ต่อพระราชกำหนดบริหารราชแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินใน
สิบเก้าจังหวัดอีกสามเดือน  มีการประกาศยกเลิกใช้ตามลำดับ  
จนยกเลิกไปในวันที่  21  ธันวาคม  2553  

นอกจากแกนนำเสื้อแดงจะถูกคุมขัง  
และเผชิญกับโทษทางอาญาสูงสุดประหารชีวิตในข้อหาก่อการร้าย  ในวันที่  
10  มิถุนายน  รัฐบาลยังได้จับกุมประชาชน  417  ราย  
ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดง  
ส่วนใหญ่ถูกจับข้อห้าละเมิดพระราชกำหนดบริหารราชแผ่นดินในสถานก
ารณ์ฉุกเฉิน  หลายคนถูกพิพากษาลงโทษไม่กี่ชั่วโมงหลังการจับกุม  
นักกิจกรรม  นายสมบัติ  
บุญงามอนงค์ถูกจับกุมในระหว่างผูกผ้าแดงเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตที่แยก
ราชประสงค์ในวันที่  26  มิถุนายน  

93
ความเกรี้ยวกราดของรัฐบาลในการใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกับกลุ่
มเสื้อแดง  
แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับท่าทีความปราณีในการปฏิบัติต่อกา
รฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรและเสื้อหลา
กสี  และผู้ก่อตั้งของกลุ่มดังกล่าวในช่วงเวลาเดียวกัน  
ในขณะที่กลุ่มเสื้อแดงรวมตัวชุมนุมกัน  ณ  บริเวณราชประสงค์    
กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลจำนวนนับพันซึ่งตั้งเวทีชุมนุมที่ลานพระราชวังดุสิต
(Royal  Plaza)และถนนสีลม  
ไม่มีใครโดนจับกุมเนื่องจากฝ่าฝืนกฎสถานการณ์ฉุกเฉินเรื่องห้ามชุมนุมท
างการเมืองเลย      เมื่อวันที่  22  เมษายน  กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อหลากสี  
ได้รับการเกลี้ยกล่อมจากตำรวจหลังจากที่พวกตนได้บุกโจมตีค่ายที่พักข
องกลุ่มเสื้อแดงเป็นจำนวนหลายครั้ง  
และยังได้รับที่หลบภัยอันปลอดภัยในเขตแดนของทหารด้วย    
มีหลักฐานภาพถ่ายทางวีดีโอซึ่งแสดงให้เห็นว่าทหารกำลังถือปืนเล็งจ่อไ
ปที่ศีรษะของตำรวจผู้ซึ่งกำลังทำการจับกุมกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลที่กำลัง
ต่อสู้  

เป็นสิ่งที่ชัดเจนว่า  
พระราชกำหนดบริหารราชแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่ได้ถูกบังคับใช้
ในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉิน  
แต่เป็นการเอื้ออำนาจเผด็จการให้กับรัฐบาลในการทำลายอำนาจทางกา
รเมืองของฝ่ายตรงข้าม  
และการยืดพระราชกำหนดบริหารราชแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินออกไ
ป  
ยังเป็นการละเมิดสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิท
ธิทางการเมือง  (ICCPR)  ในมาตรา  4  
บัญญัติว่าการระงับสิทธิที่บัญญัติไว้ในสนธิสัญญา  อาทิเช่น  
สิทธิการชุมนุม  จะทำได้ต่อเมื่อมี  “ภัยต่อชีวิตของประชาชน”  และ  
“เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนของสถานการณ์”  เท่านั้น  
ในสถานการณ์อื่นใดนอกจากนี้  กฎหมายฉุกเฉินมิอาจใช้เพื่อ  
“ทำลายระบบนิติรัฐ  หรือสถาบันประชาธิปไตย”  
ตามคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ  กลุ่ม  Human  Rights  Watch  
กลุ่ม  International  Crisis  Group  องค์การนิรโทษกรรม  และ  
94
องค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลก  กล่าวการใช้  
พระราชกำหนดบริหารราชแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลไทย
นั้นไม่เป็นการใช้ที่ต้องตรงตามวัตถุประสงค์  

ในคำร้องที่ยื่นต่อต่อสภาสิทธิมนุษยชน  Asian  Legal  Resource  Centre  


(ALRC")  
ได้อธิบายถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้การคุ้มครองของพระราชกำ
หนดบริหารราชแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน  ทั้งนึ้  ALRC  
ยังเรียกร้องสภาสิทธิมนุษยชนให้ประณามการใช้  
พระราชกำหนดบริหารราชแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินว่า  
เป็นการฝ่าฝืนกฎของ  ICCPR  
และเป็นสาเหตุการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ      ในรายงานของ  ALRC  
ได้มุ่งความสนใจไปยังกรณีหนึ่งที่ได้มีการกักขังหน่วงเหนี่ยวและการล่วง
ละเมิดของผู้เยาว์  ซึ่งถูกบังคับให้เข้าพบนักจิตวิทยา  
เพราะเข้าร่วมประท้วงรัฐบาลที่จังหวัดเชียงใหม่    

3.5  ย ุ ท ธศาสตร์ ส ร้ า งความตึ ง เครี ย ด  

การประกาศถึงแผนการการชุมนุมครั้งใหญ่ของกลุ่มเสื้อแดงซึ่งเริ่มขึ้นกล
างเดือนมีนาคม    พ.ศ.  2553  
นำพาประเทศไทยเข้าสู่ช่วงเวลาซึ่งนักประวัติศาสตร์ชื่อ  Chris  Baker  
เรียกว่า  “ยุคแห่งความกลัวและความเขลา”  –  
ขบวนการใช้ระเบิดและก่อวินาศกรรมซึ่งทั้งน่ากลัวและเป็นปริศนา11—
อย่างรวดเร็ว    
ขบวนการเช่นว่านี้เริ่มขึ้นจากการโจมตีด้วยระเบิดขนาดเล็กอันน่าสงสัยซึ่
งมีเป้าหมายเล็งไปยังที่ประจำการของผู้บัญชาการทหารบก  
พลเอกอนุพงษ์  เผ่าจินดาในวันที่  15  มกราคม  พ.ศ.  2553    
และตามมาด้วยระเบิดคู่ลึกลับกลางเดือนกุมภาพันธ์  รวมทั้งการโจมตี  4  
สาขาของธนาคารกรุงเทพ  
อย่างต่อเนื่องและมีการประสานงานกันในวันที่  27  กุมภาพันธ์  
ซึ่งเป็นเวลาเพียงหนึ่งวันหลังจากที่ศาลฎีกาสั่งยึดทรัพย์สินของนายทักษิ
ณ  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรีคนก่อน  
และขบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นยาวนานตลอดระยะเวลาที่มีการชุมนุมของกลุ่

95
มเสื้อแดงและต่อเนื่องไปอีกเป็นเวลาหลายเดือน    
ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมดall  told  
พอที่จะสามารถสรุปรวบรวมเหตุการณ์โจมตีทั้งหมดที่เกิดอย่างต่อเนื่องกั
นคือ  ใน  70  พื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครและในจังหวัดอื่นๆ    
และการกระทำของกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า  “คนในชุดดำ”  เมื่อวันที่  10  
เมษายน  ซึ่งทำให้ทหารจำนวนมากเสียชีวิต  
รวมถึงการวางเพลิงเผาตึกจำนวนมากกว่า  36  ตึกในวันที่  19  พฤษภาคม    

   

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์    
เวชชาชีวะ  ได้สร้างช่องทางในการระบายความโกรธและความกลัวของปร
ะชาชนชาวไทยอันเกิดขึ้นจากการเหตุการณ์การโจมตีอย่างง่ายดาย  

96
ซึ่งได้แก่  กลุ่มคนเสื้อแดง  อันที่จริงแล้ว  
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมีส่วนสำคัญมาจากการสร้างภาพของรัฐบาลให้กลุ่
มคนเสื้อแดงกลายเป็น  “ผู้ก่อการร้าย”  –
ข้อกล่าวหาที่ภายหลังได้ถูกนำมาใช้อ้างเป็นเหตุผลในการแก้ตัวในการระ
งับชั่วคราวเสรีภาพของพลเมือง  
การใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมในเดือนเมษายนและพฤษภาคม  
การจำคุกแกนนำเสื้อแดงทั้ง  24  คน  
เนื่องจากพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ.  
2548  (ค.ศ.  2005)  มีวัตถุประสงค์ให้นำมาใช้กับกรณี  “สถานการณ์ฉุกเฉิน  
มีการก่อการร้าย  การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต  ร่างกาย  หรือทรัพย์สิน  
หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรง  
กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ  
ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล”  
ซึ่งเป็นข้อแก้ตัวในการนำอำนาจเผด็จการมาใช้เป็นกรณีพิเศษ  
จึงทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชนอย่างไม่ย่อถ
อย  ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้นิยามกลุ่มคนเสื้อแดงว่า  
เป็นการเคลื่อนไหวที่ล้มล้างบ่อนทำลาย  
เป็นอันตรายต่อหลักศีลธรรมและความมั่นคงของประเทศไทย  

   

โดยที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ขนานนามฝ่ายตรงข้ามตนว่าเป็น  
“ผู้ก่อการร้าย”  ได้อย่างรวดเร็ว    
แต่กลับล้มเหลวในการพิสูจน์ข้อกล่าวหาดังกล่าว    
เมื่อพิจารณาลึกลงไปอีกว่า    
ระดับความรุนแรงของข้อกล่าวหาว่าเป็น“ผู้ก่อการร้าย”  นั้น  
เป็นเครื่องมือให้รัฐบาลนี้สามารถตรวจสอบและคัดเลือกข้อมูลจากหลาย
แหล่งที่มา    ซึ่งทำให้รัฐบาลสามารถระงับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ  
และสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง  
โดยไม่ไปกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความโกรธแค้นและต่อต้าน    อีกทั้ง  
มีความเป็นไปได้สูงว่ากองกำลังติดอาวุธของไทยมีการจัดฉากการโจมตี
ทั้งหลายเหล่านี้ขึ้น  
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเรื่องทำให้เสื้อแดงเสียหายอย่างเปิดเผยต่อส

97
าธารณะ  หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ  
ฉากความรุนแรงทั้งหลายสอดคล้องกับ  “กลยุทธ์อันตึงเครียด”  
ซึ่งออกแบบมาเป็นข้อแก้ตัวของรัฐบาลในการอ้างอำนาจเพื่อสร้างข้อจำ
กัดอันเข้มงวดทารุณต่อการใช้สิทธิของฝ่ายตรงข้าม12    

 คงจะไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐบาลซึ่งมีภาพรวมผลงานที่ผ่านมาที่ใช้ความรุนแร
ง  การใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบ  และการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง  
จะสามารถจัดฉากเหตุการณ์บางอย่างขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อแก้ตัว  
(หรือเบี่ยงเบนความสนใจจาก)  ภาพรวมผลงานที่ใช้ความรุนแรง  
การใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบ  และการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง    
ยิ่งไปกว่านั้นอีก  
นี่ก็คงไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ในประเทศไทย    พวก  
“มือที่สาม”  ได้เคยมีบทบาทมาแล้ว  ทั้งในการชุมนุมปีพ.ศ.  2516  และพ.ศ.  
2535  
เมื่อตัวแทนพวกสายลับเพื่อก่อกวนทางการเมืองริเริ่มก่อการจลาจล  
ซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจมีข้ออ้างในการสลายการชุมนุม    
และเมื่อไม่นานมานี้เอง  อย่างที่ทราบกันดีว่า  ผู้สนับสนุนรัฐบาล  
กลุ่ม“คนเสื้อน้ำเงิน”  
ได้มีความพยายามผลักดันให้เกิดการเผชิญหน้าโดยการซุ่มโจมตีกลุ่มเสื้
อแดงซึ่งชุมนุมอยู่ที่พัทยาเมื่อเดือนเมษายนปีพ.ศ.  2552  

พยานปากที่  22  ให้การถึงยุทธศาสตร์ที่ใช้ในปี  2553  หนึ่งอาทิตย์ก่อนวันที่  


10  เมษษยน  2553  

แผนการของรัฐบาลรวมถึงการโน้มน้าวให้ประชาชนยอบรับว่าการ
กระทำของคนเสื้อแดงนั้นเป็นการกระทำที่รุนแรงและเป็นอันตราย  
ดังนั้น    ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ปี  2553  
กลุ่มยั่วยุประชาชนได้ทำงานร่วมกับกองทัพและรัฐบาลอภิสิทธิ์เพื่อ
จะสร้างความหวาดกลัวในสังคมและโทษว่าเป็นฝีมือของคนเสื้อแดง  
พวกเขาทำงานตามที่ตกลงในกรุงเทพ  
และวิธีการแรกคือการวางระเบิดชนิดต่างๆ  

98
แม้ว่ากิจกกรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากการสลายการชุมนุมของคน
เสื้อแดงในวันที่  19  พฤษภาคม  
แต่พวกยังได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมดังกล่าวแต่น้อยลง  
เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลในการต่อพรบ.ฉุกเฉิ
นในกรุงเทพ  

และอีกตัวอย่างคือ  ยุทธศาสตร์การป้ายสีต่อสาธารณชนรวมถึง  
การขนย้ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  กรุงเทพ  ในวันที่  30  
เมษายน  2553  มีการรายงานข่าวโดยทั่วไปว่า  
การขนย้ายผู้ป่วยเนื่องมาจากการบุกรุกของคนเสื้อแดงที่ต้องการค้นหามื
อปืนซุ่มยิง  ข้อเท็จจรองคือ  
มันเป็นแผนการที่วางแผนไว้ล่วงหน้าโดยผู้นำรัฐบาลและทหาร  
สมรู้ร่วมคิดกับนักข่าวบางสำนัก  
และผู้บริหารโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์บางคน  
หลังจากสื่อบางสำนักท้าให้แกนนำเสื้อแดงพิสูจน์ข้ออ้างที่ว่ามีมือปืนซุ่มยิ
งยิงลงมากดาดฟ้าโรงพยาบาล  
ผู้บริหารโรพยาบาลสั่งให้มีการขนย้ายผู้ป่วยทันที  
ไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าแกนนำเสื้อแดงมีท่าทีคุกคาม  
และคำสั่งให้ขนย้ายผู้ป่วยนั้นเพื่อเพิ่มความตึงเครียดและป้ายสีคนเสื้อแด
งว่ารุนแรงเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์  
 
การเลื่อนเปิดภาคการศึกษาในปีการศึกษา2553เดือนพฤษภาคมของผู้นำ
รัฐบาลเป็นยุทธศาสตร์การสร้างให้ประชาชนเกิดความรู้สึกต่อต้านคนเสื้
อแดง  การตัดสินใจไม่ได้เดจากการที่คนเสื้อแดงเป็นภัยอย่างแท้จริง  
แต่เป็นการสร้างภาพลวงตาว่าคนเสื้อแดงอันตราย  
 
การเลือกเวลาที่เหมาะสมในการโจมตีหลายต่อหลายครั้งที่ได้เกิดขึ้นตลอ
ดทั้งปี  2553  
เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมากซะจนต้องหยิบยกมาพูดถึงการระเบิดที่ไม่มีรา
ยงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตที่เกิดขึ้นที่สาขาย่อยของธนาคารกรุงเทพฯ  4  
แห่ง  ในคืนวันที่  27  
กุมภาพันธ์ซึ่งนำไปสู่การเตือนที่คลุมเครือแต่รุนแรงที่รัฐบาลระบุว่าหากมี  
"การก่อวินาศกรรม"  ขึ้นอีกนับตั้งแต่วันที่ประกาศเตือนจนถึงวันที่  
14มีนาคม  

99
จะมีการกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในความรุนแรงป
านปลายที่เกิดขึ้นจากการปะทะต่างๆ  
 
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคมเป็นข้ออ้างของรัฐบาลที่ใช้ออกกฎ
บังคับใช้พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่  8  
เมษายนและหวังให้มีการสลายการชุมนุมในวันที่  10  เมษายน  
และการปะทะรุนแรงที่สั่นสะเทือนกรุงเทพฯ  
 
ในช่วงปลายเดือนเมษายนได้ส่งผลให้มีการลอบสังหารเสธฯ  
แดงและการนองเลือดที่ดำเนินมาอีกกว่าหนึ่งสัปดาห์ในการสลายกลุ่มผู้ชุ
มนุมเสื้อแดงในขณะที่เหตุการณ์การไฟไฟม้ในวันที่  19  เมษายน  
เป็นเกราะกำบังให้กับรัฐบาลในการปัดความรับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิตที่เป็น
กลุ่มคนเสื้อแดงกว่า  
90  ศพไปได้  เวลาผ่านไปเดือนกว่าๆ  
หลังจากเกิดเหตุการณ์การปะทะกันก็เกิดระเบิดขึ้นสำนักงานใหญ่ที่ทำกา
รพรรคภูมิใจไทยทำให้รัฐบาลประกาศยกระดับความรุนแรงและขยายเวล
าใช้พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน  ออกไปอีก  3  เดือน  ในวันที่  6  กรกฎาคม  
 
แล้วในวันที่  25  
กรกฎาคมเวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนายกอภิสิทธิ์แถลงการต่อสื่อว่ารัฐ
บาลจะพิจารณาการยกระดับความรุนแรงของพ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน  
โดยเร่งด่วนก็ได้เกิดระเบิดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้า  Big  C  
สาขาราชดำริเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต  1  ราย  
และทำให้การเยียวยาการปรองดองเพื่อสิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชา
ชนต้องเลื่อนไปอีก  
เหตุการณ์เหล่านี้อาจเป็นแค่ความบังเอิญธรรมดาแต่ข้อเท็จจริงกลายเป็
นว่าการโจมตีของผู้ก่อการร้ายมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องการให้
เกิดและอีกประเด็นที่น่าสนใจคือ  
"ผู้ก่อการร้าย"หาหนทางในการทำในสิ่งที่รัฐบาลอยากให้ประชาชนเชื่อทุ
กครั้งไป  
ข้อแรกการชุมนุมเสื้อแดงไม่สามารถอยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ถ้าไม่ได้  
พรบ.ความมั่งคงภายใน  
แต่แล้วก็ปรากฎว่าพรบ.ความมั่นคงภายในอย่างเดียวก็ไม่พอที่จะจัดการ
กับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง  
หลังจากนั้นก็เกิดกรณีที่รัฐบาลต้องสลายกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ว่าจะต้องสูญ
เสียอะไรก็ตาม  
และกลายเป็นว่าคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตไปนั้นสมควรแก่เหตุแล้ว  

100
เมื่อพิจารณาว่ากลุ่มคนเสื้อแดงต้องการแรงสนับสนุนจากประชาชนในกรุ
งเทพฯมากกว่าที่อื่นๆ  
"ผู้ก่อการร้ายเหล่านี้"กลับช่วยให้รัฐบาลทำให้ประชาชนเห็นว่า  นปช.  
หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาตินี้ไม่สมควรได้รับกา
รช่วยเหลือสนับสนุนใดๆจากประชาชน    บางคนอาจกล่าวว่า  
"ผู้ก่อการร้าย"  เป็นพันธมิตรกับรัฐบาลเพราะถ้าไม่ใช่เป็นเพราะ  
"ผู้ก่อการร้าย"ก็มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลชุดนี้อาจไม่ได้อยู่ในตำแหน่ง  
จริงๆ  
แล้ว"ผู้ก่อการร้าย"ได้ช่วยทำให้นายกอภิสิทธิ์ได้รับการให้อภัยหลายต่อห
ลายครั้งจนทำให้บางคนสงสัยว่านี่เป็นจุดประสงค์ที่แท้จริงของรัฐบาลชุด
นี้หรือไม่  
 
ตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญที่เป็นการกระทำของ  
"ผู้ก่อการร้าย"คือการยอมเข้ามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจของแกนนำคนเ
สื้อแดงในเวลาบ่ายของวันที่19  พฤษภาคม  
ภาพกลุ่มควันสีดำที่ลอยออกจากอาคารต่างๆของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิ
ลด์ที่ราชประสงค์ออกอากาศทั่วโลกในขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่านี่เป็นกา
รประกาศยุติการชุมนุมอย่างเป็นทางการดูเหมือนว่าคนเสื้อแดงจะตกเป็น
แพะรับบาปในข้อหาวางเพลิงไปโดยปริยายแต่คำให้การของพยานนิรนา
มปากที่  
22ให้รายงานที่เป็นข้อมูลภายในเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในระหว่า
งตอนบ่าบของวันที่19  พฤษภาคม  2553  
 
 
หลังจากที่กองพันทหารราบที่  
๒สามารถฝ่าแนวป้องกันเครื่องกีดขวางของกลุ่มคนเสื้อแดงเข้ามา
ได้แล้วก็เข้าปิดล้อมพื้นที่บริเวณราชประสงค์ทั้งหมดโดยเวลา  17.00  
น.ทหารก็สามารถเข้าคุมพื้นที่บริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ได้ทั้ง
หมดทหารดูแลให้ประชาชนและรปภ.หลายคนที่ทำงานที่ศูนย์การค้า
ออกจากพื้นที่  
 
หลังจากที่ประชาชนทั้งหมดออกจากพื้นที่แล้วทหารของกองพันทหา
รราบที่  
๒ได้ประจำอยู่บริเวณรอบนอกศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ป้องกันไม่ใ
ห้มีใครเข้าใกล้หรือเข้าไปภายในอาคารการดำเนินการเช่นนี้ก็เพื่อใ
ห้ทีมลอบวางเพลิงที่ทางกองทัพให้มาติดตั้งวัตถุระเบิดความร้อนสู
งภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์วัตถุนำไฟเหล่านี้ถูกตั้งใจวางเพลิ

101
งจนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในเวลาประมาณ17.45  น.  
เพลิงไหม้ทำให้ห้างสรรพสินค้าเซ็นถูกทำลาย  
 
 
 

   

 
การกระทำดังกล่าวได้รับการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าหลายสัปดาห์ก่
อนวันที่  19พฤษภาคม  
โดยผู้นำกองทัพและแผนการนี้ยังได้รับความยินยอมและเห็นชอบจา
กผู้นำรัฐบาลรวมถึงเจ้าของอาคารที่ถูกทำลายด้วย  
วัตถุประสงค์ของการปฎิบัติการครั้งนี้คือการทำให้ประชาชนทั่วไปฝั
งใจเชื่อว่ากลุ่มคนเสื้อแดงเป็นพวกรุนแรงและอันตรายซึ่งผู้นำรัฐบา
ลและผู้นำกองทัพเชื่อว่าการปฎิบัติการครั้งนี้จะสร้างความรู้สึกที่ว่า
การกระทำต่างๆของทหารในการสลายการชุมนุมเป็นเรื่องที่ถูกต้อ
งข้อเท็จจริงคือกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับเหตุเพลิ
งไหม้และการทำลายศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เลยบันทึกคำให้การนี้
สอดคล้องกับสิ่งที่ประชาชนผู้อยู่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์สูงที่มองเ
ห็นศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ที่อยู่ราชประสงค์ได้เป็นพยานผู้เห็นเห
ตุการณ์ในครั้งนั้น:  
 
พยานให้การว่า  พยานผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ,  

102
ประเทศไทยพยานอาศัยอยู่ในพื้นที่ของสี่แยกราชประสงค์  
พยานเป็นผู้เห็นเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงของคนเสื้อแดงในพื้นที่
ใกล้เคียงกับที่พักของพยานทุกวันตั้งแต่วันที่  
3  เมษายนถึงวันที่  19  พฤษภาคม  2553  
พยานให้การว่าพยานไม่ได้เป็นผู้ร่วมประท้วงของคนเสื้อแดงและพ
ยานไม่ใช่คนไทยโดยกำเนิดพยานให้การว่า  
พยานมาจากประเทศในแถบยุโรปตอนกลางและได้มาอาศัยอยู่ในป
ระเทศไทยตั้งแต่ปี  2543  
 
พยานให้การว่า  
พยานเคยผ่านการฝึกอบรมทหารพยานเคยฝึกการใช้อาวุธปืนและ
ฝึกอบรมการป้องกันตัวและพยานคุ้นเคยกับเสียงของการยิงด้วยอ
าวุธอัตโนมัติและเสียงของการยิงลูกระเบิดพยานให้การว่า  
พยานได้ผ่านการฝึกให้เป็นวิศวกรชีวเคมีชีวภาพและพยานมีประสบ
การณ์เกี่ยวกับอาวุธชีวเคมีและการบังคับใช้ข้อจำกัดในการใช้อาวุธ
ชีวภาพที่กำหนดโดยระเบียบการใช้อาวุธชีวภาพของอนุสัญญาเจนี
วา  
 
พยานได้เห็นการพัฒนาของไฟที่ไหม้ที่เซ็นทรัลเวิลด์ในวันที่  19  
พฤษภาคม2553  
จากหน้าต่างห้องนอนที่สามารถมองเห็นศูนย์การค้านั้นได้อย่างชัดเ
ตนวันที่  19  พฤษภาคม  2553  
หลังจากที่ผู้ประท้วงคนเสื้อแดงยกเลิกการชุมนุมพยานให้การว่า  
พยานเห็นควันจากการไหม้เศษชิ้นส่วนเล็กๆนอกห้างเซ็นทรัลเวิลด์  
รวมทั้งมีการไหม้เล็กน้อยที่ยางรถ  
พยานให้การว่าพยานเห็นควันซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นควันที่ผสมกับไอน้
ำไฟไหม้เหล่านี้เกิออยู่ด้านนอกห้างเซ็นทรัลเวิลด์แม้ว่าอาจมีไฟไฟม้
บ้างเล็กน้อยตรงบริเวณชั้นหนึ่งของห้างเซ็นทรัลเวิลด์จนกระทั่งเวล
าประมาณ  16.30  น.  ของวันที่  19  
พฤษภาคมพยานเข้าใจว่ามีน้ำท่วมนองบนถนนรามา  1  
หน้าห้างสรรพสิค้าเซ็น  
จากเครื่องฉีดน้ำของห้าง  
 
พยานสรุปจากการไหม้เล็กน้อยภายนอกอาคารของศูนย์การค้าเซ็
นทรัลเวิลด์หลายๆที่  
รวมทั้งไฟไฟม้เล็กน้อยที่อาจเกิดที่บริเวณชั้นหนึ่งของศูนย์การค้านั้
นน่าจะดับได้ในทันทีจากระบบการทำงานของเครื่องฉีดน้ำของห้าง  

103
ในเวลานั้น  
พยานไม่เห็นทหารอยู่บริเวณภายนอกของอาคารเซ็นทรัลเวิลด์เลย
แม้แต่นายเดียวพยานเห็นว่ามีรถดับเพลิงอยู่อย่างน้อยสี่คันที่จอดอ
ยู่ห่างจากศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์แค่หนึ่งหรือสองช่วงตึก  
 
รถดับเพลิงเหล่านี้จอดอยู่ในบริเวณดังกล่าวมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพ
ฤษภาคมและรภดับเพลิงนั้นก็ขอดประจำอยู่ตลอดช่วงที่มีการชุมนุม
ของคนเสื้อแดงแต่ไม่มีรถดับเพลิงคันใดมีปฎิกริยาต่อเหตุเพลิงไหม้
เล็กน้อบตรงบริเวณชั้นหนึ่งของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ในวันที่  19  
พฤษภาคม  
2553แม้ว่าผู้ประท้วงเสื้อแดงจะได้ยกเลิกการชุมนุมไปหลายชั่วโมงก่
อนหน้านี้  
 
เริ่มต้นที่เวลาประมาณ  17ใ00  น.  วันที่  19  พฤษภาคม  
2553พยานเห็นทหารหลายกองอยู่บริเวณด้านหน้าห้างเซ็นทรัลเวิล
ด์  บนถนนราชดำริทหารมีท่าทางสบายๆ  เดินเท้า  
ไม่ได้มียานพาหนะและไม่ได้มีทีท่าว่าจะกลัวการคุกคามใดๆ  
ทหารเหล่านี้ติดอาวุธเต็มรูปแบบมีทั้งปีน  Israeli  Tavor  21,  
ปีนลูกซอง  Remington  12  gauge  หลายกระบอกและปืนพก  Barretta  9  
มม.  ในเวลานี้  
ไฟไหม้เล็กน้อยเริ่มเบาบางพยานไม่เห็นเปลวไฟที่ยังไหม้อยู่  
และควันไฟก็เบาบางและจางลง  
แต่ก็ยังคงเห็นได้ชัดว่าเป็นควันไฟผสมกับไอน่ำแสดงให้เห็นว่ายังมี
น้ำอยู่  
 
 
เวลาประมาณ  17.30  น.  วันที่  19  พฤษภาคม  
2553พยานสังเกตห็นควันไฟที่มาจากอาคารเซ็นทรัลเวิลด์พิ่มขึ้นอย่
างรวดเร็วมากควันเริ่มหนาขึ้นและดำมากขึ้นช่วงเวลาที่น่าสะพรึงก
ล้วมาที่สุดคือช่วงเวลาประมาณ  17ใ40  น.  
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พยานได้ยินเสียงการระเบิดครั้งใหญ่หลายครั้งพย
านสามารถระบุได้ว่าเสียงจากการระเบิดนั้นมาจากภายในห้างเซ็นท
รัลเวิลด์เวลาประมาณ  17.42  น.  
ควันทวีความหนาแน่นมากขึ้นชี้ให้เห็นว่ามีเชื้อเพลิงมากพยานได้บัน
ทึกภาพถ่ายเหตุการณืดังกล่าวไว้และเวลาที่ปรากฎบนภาพถ่ายคือเ
วลา17:42:01  
 

104
นับเป็นครั้งแรกที่มีเหตุไฟไหม้ที่มองเห็นได้ชัดเจนตรงบริเวณชั้นหนึ่
งของด้านหน้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ภายในเว
ลา  46  วินาที  
ควันไฟค่อนข้างจะเจือจางเหมือนเมื่อเชื้อเพลิงจากการระเบิดเริ่มม
อด  
และพยานสังเกตเห็นเป็นครั้งแรกว่ามีการเกิดไฟไหม้อยู่ที่บริเวณชั้น
ลอยที่อยู่บนชั้นที่แปดของห้างสรรพสินค้าเซนที่อยู่มุมด้านตะวันออ
กเฉียงใต้ของห้างเซ็นทรัลเวิลด์พยานได้บันทึกภาพถ่ายเหตุการณ์ดั
งกล่าวไว้และเวลาที่ปรากฎบนภาพถ่ายคือเวลา17:43:36  
 
พยานยังเห็นเปลวไฟได้ลุกลามไปทั่วบริเวณชั้นหนึ่งและชั้นสองของ
ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ทางด้านหน้าห้าเซ็นทรัลเวิลด์เปลวไฟลุกล
ามเข้าไปทางหน้าต่างที่เป็นกระจกรักษาความปลอดภัยชี้ให้เห็นว่าก
ารแตกของกระจกหน้าต่างรักษาความปลอดภัยนั้นเกิดจากการระเ
บิดที่รุนแรงจากด้านในของอาคาร  พยานได้บันทึกภาพถ่ายเหตุการ
ณ์ดังกล่าวไว้และเวลาที่ปรากฎบนภาพถ่ายคือเวลา17:46:49  

 
 
 
พยานได้บันทึกภาพถ่ายเหตุการณ์ต่อมาไว้และเวลาที่ปรากฎบนภา
พถ่ายคือเวลา19:01:27และเวลา  
19:02:54พยานบันทึกภาพเพื่อยึนยันข้อเท็จจริงที่ว่าไฟไหม้ที่บริเวณ
ชั้นลอยของห้างสรรพสินค้าเซนทำให้มีการลุกไหม้ของเปลวไฟที่บริ
เวณชั้นหนึ่งและชั้นสองของห้างลักษณะเหมือนกับผลเนื่องมาจากปร
ากฎการณ์ปล่องควันไฟ  
มีระยะห่างเป็นพื้นที่โล่งหลายเมตรระหว่างภายนอกของตัวอาคารแ
ละโครงสร้างที่เป็นพื้น/หลังคาจริงของอาคาร  
พยานให้การว่า  

105
พยานเชื่อว่าข้อเท็จจริงเหล่านี้ที่ว่าไฟถูกตั้งใจวางจากภายในตัวอา
คารโดยใครก็ตามที่มีความรู้ด้านวัตถุระเบิดความร้อนสูงและพลศา
สตร์ของไฟมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับโครงสร้า
งอาคาร  

 
โดยประมาณเวลา  21.00  น.  
ห้างสรรพสินค้าเซนถูกเพลิงไหม้ลุกท่วมทั้งห้างพยานได้บันทึกภาพ
ถ่ายเหตุการณ์ดังกล่าวไว้และเวลาที่ปรากฎบนภาพถ่ายคือเวลา20:
57:28  
 
เวลาประมาณ  21.40  น.  
ห้างสรรพสินค้าแซนได้ถล่มลงพยานได้บันทึกภาพถ่ายเหตุการณ์ดั
งกล่าวไว้และเวลาที่ปรากฎบนภาพถ่ายคือเวลา  
 

   

 
 
การถล่มลงของห้างสรรพสินค้าเชนเกิดขึ้นหลังจากที่มีการเกิดระเบิ
ดขึ้นครั้งแรกเมื่อสี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้  
ที่เวลาประมาณ  17.40  -­‐  21.40  น.  ในวันที่  19  พฤษภาคม  2553  
พยานให้การว่าพยานไม่เห็นว่าจะมีรถดับเพลิงที่ประจำอยู่ในบริเวณ
106
ใกล้เคียงออกไปที่สถานที่ที่เกิดเพลิงไหม้เลยแม้แต่คันเดียว  
 
วันที่  20  พฤษภาคม  
2553พยานเดินไปที่บริเวณที่เกิดไฟไหม้และพยานเห็นว่ามีรถดับเพลิ
งหลายคันกำลังฉีดน้ำลงบนตึกที่มีไฟไหม้ครุกรุ่น  
 
พยานสังเกตเห็นว่ามีเปลวไฟที่เผาไหม้ที่บริเวณห้างเซนเท่านั้นในข
ณะที่ห้างอื่นไม่ได้รับความเสียหาย  
ดูเหมือนว่านักผจญเพลิงจะมีเจตนาในการป้องกันความเสียหายใด  
ๆที่จะเกิดขึ้นกับอาคารใกล้เคียงซึ่งก็เป็นส่วนเดียวกับศูนย์การค้าเซ็
นทรัลเวิลด์ด้วยเข่นเดียวกัน  
 
4.อาชญากรรมต่ อ มนุ ษ ยชาติ  
ข้อมูลอันสมเหตุสมผลเบื้องต้นที่ทำให้เชื่อว่าอาชญากรรมที่อยู่ในอำนาจ
ศาลนั้นมีอยู่และกำลังเกิดขึ้น  
คือสิ่งสำคัญสูงสุดในการประกอบการตัดสินใจของอัยการว่าจะทำการสอ
บสวนเบื้องต้นหรือไม่  ซึ่งคุณสมบัติสองประการจะต้องครบถ้วน  
ประการแรก  อัยการจะตัดสินว่าข้อมูลอันสมเหตุสมผลเบื้องต้น  
ว่ามีอาชญากรรมเกิดขึ้นจริงหรือไม่;  ประการที่สอง  
จะต้องมีการพิจารณาว่าอาชญากรรมดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจศาลหรือไ
ม่  

จากเหตุการณ์ในเคนย่า  
สภารับพิจารณาคดีได้ยอมรับว่าข้อกำหนดว่าด้วย  
“ข้อมูลอันสมเหตุสมผลเบื้องต้นที่ทำให้เชื่อว่าอาชญากรรมนั้นเกิดขึ้นจริง
”      ที่บัญญัติไว้ในมาตรา  53(1)  ของบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  
อยู่ในหมวดหมู่เดียวกันกับข้อกำหนดว่าด้วย  
“ข้อมูลอันสมเหตุสมผลเบื้องต้นในการพิจารณาคดี”  
ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทนำของ  มาตรา  53  (1)  
บทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  
คำพิพากษาคดีแสดงให้เห็นว่าหลักการดังกล่าวควรจะถูกตีความและปรั
บใช้เพื่อต่อต้านวัตถุประสงค์ในการดำเนินการตามมาตรา  14  
(4)ของบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  

107
เพื่อที่จะขัดขวางไม่ให้ศาลดำเนินการสอบสวนคดีอย่างไร้ความเป็นธรรม  
ไม่มีน้ำหนัก  และมีแรงจูงใจทางการเมือง  
ซึ่งอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของศาล  
สภาอุทธรณ์ได้บัญญัติข้อกำหนดนี้ไว้ในมาตรา  58  
บทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศก่อนหน้านี้  หรืออีกนัยหนึ่งคือ  
เป็นการพอเพียงในขั้นตอนดังกล่าว  
ที่แสดงว่าบทสรุปอย่างสมเหตุสมผลอันระบุว่ามีการก่ออาชญากรรมขึ้นมี
หลักฐานและข้อมูลรองรับ  

การพิจารณาว่าอาชญากรรมอยู่ภายใต้อำนาจศาลหรือไม่  
การกระทำนั้นต้องประกอบองค์ประกอบสามประการด้วยกัน  :  

ก.  อาชญากรรมจะต้องเข้าองค์ประกอบที่บัญญัติไว้ใน  มาตรา  5  
ตามด้วยมาตรา  6,  7  และ  8  ของบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  
(เขตอำนาจศาล)  

ข.อาชญากรรมเกิดขึ้นในระยะเวลาตามบทบัญญัติในมาตรา  11  
ของบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  
(เขตอำนาจศาลว่าด้วนเรื่องระยะเวลา)  

ค.อาชญากรรมดังกล่าวต้องครบองค์ประกอบอย่างน้อยหนึ่งข้อจากข้อก
ำหนดสองข้อที่บัญญัติไว้ในมาตรา  ๑๒  
(สถานที่เกิดเหตุและบุคคลที่เกี่ยวข้อง)  
ในบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  
ประการต่อมาคืออาชญากรรมจะต้องเกิดขึ้นในรัฐที่ลงนาในบทบัญญัติศา
ลอาญาระหว่างประเทศ  หรือรัฐที่ประกาศตนภายใต้มาตรา  ๑๒  (๓)  
หรือการกระทำนั้นก่อขึ้นโดยพลเรือนของประเทศนั้น  

มีเอกสารอย่างแน่นหนาอันสมเหตุสมผลที่ทำให้เชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในประเทศไทยอันอยู่ภายใต้อำนาจศาลได้เกิดขึ้นจริง  

ในกรณีนี้  ประเด็นเรื่อง    การปราศจากอำนาจเฉพาะเวลา  (ratione  


temporis)  ไม่ได้เป็นประเด็นที่มีการโต้แย้ง    มาตรา  11  
ของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ  (ICC  Statute)  

108
กำหนดให้ศาลมีเขตอำนาจเฉพาะกรณีอาชญากรรมได้กระทำลงหลังจาก
ที่ธรรมนูญนี่มีผลบังคับใช้แล้ว  
ซึ่งแน่นอนรวมถึงเหตุเกิดในเดือนเมษายนและพฤษภาคมพ.ศ.  2553    
ตลอดจนอาชญากรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่การทำรัฐประหารปีพ.ศ.  2549  ด้วย  
ส่วนประเด็นเรื่อง  การปราศจากอำนาจเฉพาะสถานที่  (rationae  loci)  และ  
การปราศจากอำนาจเฉพาะตน  (rationae  
personae)ได้ถูกกล่าวถึงในคำขอนี้ภายหลัง  ส่วนที่เหลือในบทนี้จะกล่าวถึง  
การปราศจากอำนาจเฉพาะเรื่อง  (ratione  materiae)

4.1  อ าชญากรรมต่ อ มนุ ษ ยชาติ  :  ห ลั ก ทั ่ ว ไป  

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติถูกบัญญัติไว้ในมาตรา  7  (1)  
ของบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  
ลักษณะของการกระทำสี่ประการ  
ที่อาจถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอันได้อธิ
บายไว้ในคำร้องนี้  

- มาตรา  7  (1)(a)  อาชญากรรมต่อมนุษยชาติว่าด้วย  “การสังหาร”  


 

- มาตรา  7  (1)(e)  อาชญากรรมต่อมนุษยชาติว่าด้วย  “การคุมขัง  


และการลิดรอนเสรีภาพทางร่างกายอย่างร้ายแรง”    
 

- มาตรา  7  (1)(h)  
อาชญากรรมต่อมนุษยชาติว่าด้วยการ“การคุกคาม”  
 

- มาตรา  7  (1)(k)  อาชญากรรมต่อมนุษยชาติว่าด้วย  


“การกระทำที่ไร้มนุษยธรรมในลักษณะอื่น”  
 

โดยทั่วไป  
เหตุการณ์ข้างต้นอธิบายถึงการกระทำของกองทัพที่กดขี่ผู้ชุมนุมเสื้อแดง  
ซึ่งพลเมืองที่เข้าร่วมการชุมนุมเสื้อแดงถูกยิงโดยชายในชุดเครื่องแบบทห
าร  ส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิตกว่าแปดสิบราย  
และผู้บาดเจ็บราวสองพันราย  และยิ่งกล่าวนั้น  ใน  “สมุดปกขาว”  
109
ยังได้อธิบายถึงการใช้กฎ  กฎเกณฑ์  
และกฎหมายใหม่ที่ให้อำนาจจับกุมคุมขังพลเรือนผู้ซึ่งพยายามเผยแพร่ค
วามคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง  ประท้วง  
หรือร่วมชุมนุมในการชุมนุมขนาดเล็ก    
และกฎหมายดังกล่าวใช้เพื่อจัดการกับ  “การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง”  
อย่างเป็นวงกว้าง  
แต่ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่รัฐกลับไม่ได้บังคับใช้กฎหมายดังกล่าวต่อกลุ่
มที่อยู่ฝ่ายรัฐบาล  

 
การสั ง หาร  

ตามเองสารว่าด้วยองค์ประกอบพื้นฐานของอาชญากรรม  
การพิจารณาว่าอาชญากรรมการสังหารเกิดขึ้นหรือไม่  
สภารับพิจารณาคดีจะต้องเชื่อว่า  
“ผู้กระทำความผิดสังหารบุคคลหนึ่งคนหรือมากกว่านั้น”  ในคดี  JP  Pierre  
Bemba  Gombo  
กล่าวว่าอาชญากรรมมีอยู่หรือไม่จะต้องพิจารณาองค์ประกอบสองประก
าร:  การกระทำ  (  องค์ประกอบภายนอก)  และเจตนา  (  องค์ประกอบภายใน)  

ศาลได้วางหลักว่า  การกระทำการสังหารนั้น  
การเสียชิวิตและการตายของเหยื่อยนจะต้องเป็นผลมาจากการกระทำ  
โดยการกระทำดังกล่าวจะเป็นการกระทำการหรือการกระทำโดยงดเว้นก
ระทำการก็ได้  สภารับพิจารณาคดีเน้นว่า  
อาจสามารถสรุปการตายของเหยื่อโดยใช้เกิดสถานการณ์แวดล้อม  
แต่อัยการจะต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำนั้นและการตายข
องเหยื่อ  

ในกรณีดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับอัยการที่จะพิสูจน์การสังหารในแ
ต่ละครั้ง  การระบุเหยื่อ  และผู้กระทำการโดยตรง  
แม้ว่าจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องระบุจำนวนเหยื่อที่แน่ชัด  
เพราะเปิดโอกาสให้สภารับพิจารณาคดีพิจารณาพยานหลักฐานโดยอ้าง
ถึง  “มีการสังหารหลายกรรม  หรือหลายร้อยกรรม”  
โดยไม่ต้องระบุตัวเลขที่แน่ชัด  

110
ตามองค์ประกอบเบื้องต้นของเจตนาร้าย  ระบุว่าการ  “มีอยู่”  
ของเจตนาและความรับรู้สามารถพิจารณาได้จากสภาวะแวดล้อม  
แม้จะไม่ได้มีการบัญญัติเรื่องเจตนาไว้ในมาตรา  7  (1)(a)  ของบทบัญญัติ  
แต่สภาได้นำมาตรา  30  ของบทบัญญัตินั้นมาปรับใช้แทน  
โดยอัยการจะต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างการสังหารและการทำร้าย  

ตามที่ได้กล่าวอย่างละเอียดแล้วในคำขอนี้  
การแพร่กระจายของการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงเป็นสาเหตุการตายของ
พลเมืองมากกว่า  80  ชีวิต      ในวันที่  10  เมษายน  พ.ศ.  2553  
กองกำลังไม่สามารถสลายการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าได้สำเร็จ  
และทำให้มีผู้เสียชีวิต  27  ราย  นอกจากนี้  อย่างน้อยอีก  55  
รายเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ในช่วงวันที่  13  ถึง  
19พฤษภาคม  มีการรายงานว่าการเสียชีวิตของคนจำนวนกว่า  80  
รายด้วยน้ำมือของทหารไทยระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมพ.ศ.  
2553  เกิดขึ้นจากการฆาตกรรม  และการกระทำที่ผู้กระทำผิด  
“มีเจตนาทำร้ายเหยื่อให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสโดยประมาทและไม่ปราณีต่อ
ชีวิต”  

เมื่อคำนึงถึงเหตุความขัดแย้งที่ผ่านมา  
จำนวนผู้ตายหรือได้รับบาดเจ็บจากเหตุฆาตกรรมหมู่ในกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.  2553  นั้นมีมากพอๆกับการทำสงครามแบบเต็มพิกัด    
โดยที่การเสียชีวิตของคน  91  
รายถือเป็นตัวเลขที่สูงสำหรับสิ่งที่อ้างว่าเป็นการใช้กำลังปฏิบัติการอย่าง
มีวัฒนธรรมของตำรวจ    ผู้ได้รับบาดเจ็บอีก  2,000  รายโดยประมาณ  
เป็นถ้อยแถลงถึงการใช้กำลังที่ถูกสาปแช่งว่าใช้ความโหดร้ายทารุณของ
รัฐบาลไทย  อนึ่ง  
เมื่อเปรียบเทียบกับการเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บของชาวสหรัฐและกลุ่ม
สัมพันธมิตรในช่วงปีแรกของสงครามอิรัก  (ตั้งแต่ปีพ.ศ.  2546)  แล้ว    
จึงเห็นได้ชัดเจนถึงการประกาศสงครามกับประชาชนของตนเองของนาย
อภิสิทธิ์  

ภายใน  347  วันหลังจากเริ่มมีการรุกรานของอิรักเมื่อวันที่  20  มีนาคมพ.ศ.  


2546  จนถึง  29  กุมภาพันธ์  2547    
กองกำลังของกลุ่มสัมพันธมิตรเสี่ยชีวิตเป็นจำนวน  655  ราย  
เฉลี่ยได้ประมาณ  1.89  รายต่อวัน58      ในช่วงเวลากว่า  41  วันจาก  
เหตุการณ์โจมตีในวันที่  10  เมษายนพ.ศ.  2553  
ที่จัดฉากโดยทหารไทยใกล้บริเวณสะพานผ่านฟ้าจนถึงวันที่  20  
111
พฤษภาคมซึ่งทหารไทยได้เข้าควบคุมพื้นที่การชุมนุมที่ราชประสงค์ได้สำเ
ร็จ    มีประชาชนไทยเสียชีวิตในอัตรา  2.22  รายต่อวัน    
ซึ่งเป็นอัตราการตายที่มากกว่าเกือบร้อยละ  17.5  
เมื่อเทียบกับกองกำลังของกลุ่มสัมพันธมิตร  
ที่ประกอบไปด้วยหลายชาติในช่วงสงครามอิรักแบบเต็มรูปแบบ  

เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บแล้ว  
ยิ่งเป็นที่น่าตกใจหากพิจารณาตัวเลขโดยประมาณของผู้บาดเจ็บ  2,000  
รายระหว่างวันที่  10  เมษายนพ.ศ.  2553  ถึง  19  พฤษภาคมพ.ศ.  2553      
โดยใช้ตัวอย่างเดิมของ  347  วันแรกในสงครามอิรัก  
กองกำลังทหารของสหรัฐจำนวนทั้งหมด  2,756  รายได้รับบาดเจ็บ  
คิดเป็นอัตรา  7.95  รายต่อวัน  
อัตราผู้ได้รับอันตรายและบาดเจ็บในช่วงเวลา  41  วัน  
จากเหตุฆาตกรรมหมู่ในกรุงเทพมหานครพ.ศ.  2553  เท่ากับ  48.8  
รายต่อวัน  –สูงกว่าเกินร้อยละ  600      อันที่จริง  
ในช่วงปีที่แย่ที่สุดของการบาดเจ็บของกองทัพสหรัฐตลอดระยะเวลาสงค
รามอิรัก  (12  เดือนนับแต่เมษายน  พ.ศ.  2547)  คือเมื่อ  8,624  
รายได้รับบาดเจ็บ  คิดเป็นอัตรา  23.63  รายต่อวัน  
ซึ่งยังคงน้อยกว่าเหตุฆาตกรรมหมู่ในกรุงเทพมหานครพ.ศ.  2553  เกินครึ่ง  

ด้วยตัวเลขเหล่านี้    
ทำให้แทบไม่ต้องสงสัยว่าวิธีการปกครองของประเทศไทย  
ได้เปลี่ยนใจกลางกรุงเทพมหานครให้กลายเป็นสุสานในช่วงเมษายนถึงพ
ฤษภาคม    พ.ศ.  2553    
ซึ่งแสดงออกถึงความรุนแรงในระดับที่มีให้เห็นเฉพาะในสงครามสมัยใหม่
ครั้งใหญ่ๆเท่านั้น      เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต  
ประกอบกับคำให้การของผู้อยู่ในเหตุกาณ์โดยตรงที่อธิบายถึงการสลายก
ารชุมนุมที่กระจัดกระจายไปหลายพื้นที่ในเมือง  
เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการฆาตกรรมที่  
“มีเจตนาทำร้ายเหยื่อให้ได้รับบาดเจ็บสาหัสโดยประมาทและไม่ปราณีต่อ
ชีวิต”      อันที่จริง  
คำให้การของพยานสนับสนุนความคิดที่ว่าการสลายการชุมนุมเป็นการว
างแผนและดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์อันเฉพาะเจาะจงในการกล่าวโทษ
การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงให้ได้รับความเสียหายมากที่สุด  
โดยการเข่นฆ่ากลุ่มแกนนำคนเสื้อแดงและการสั่งหารหมู่ผู้สนับสนุนบนท้
องถนนในกรุงเทพมหานคร  

112
การจำคุ ก และการลิ ด รอนเสรี ภ าพทางร่ า งกายอย่ า งร้ า
ยแรง  

ตามองค์ประกอบความผิดทางอาญา  
ก่อนที่จะสรุปได้ว่ามีการก่ออาชญากรรมโดยการจำคุกและการลิดรอนเส
รีภาพทางร่างกายอย่างร้ายแรง    ตุลาการชั้นพิจารณาคดี  Trial  Chamber  
ต้องฟังข้อเท็จจริงจนเป็นที่พอใจว่าผู้ต้องหากระทำการลิดรอนเสรีภาพท
างร่างกายของบุคคลอื่นตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป  โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  

เป็นเวลาหลายเดือนนับตั้งแต่การสลายการชุมนุม    
ผู้ชุมนุมนับร้อยโดนกักขังอย่างยืดเยื้อในสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากด้วย
สาเหตุที่ว่าพวกเขาทำการฝ่าฝืนพ.ร.บ.  
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและพระราชกำหนดการบริหา
รราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  
ซึ่งผู้มีอำนาจของไทยใช้เป็นเครื่องมือในการพยายามทำให้การชุมนุมทาง
การเมืองมีความผิดทางอาญา  
มีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนเท่าใดที่โดนกักขังนับแต่มีการสลายการชุมนุมนั้
น  ยังคงถูก  “ปิดเป็นความลับ”  
ตามที่บทความแนวสืบสวนในตอนนั้นกล่าวไว้  
แต่มีการประเมินตัวเลขอิสระไว้อยู่ที่ประมาณ  470  คนขึ้นไป59    นอกจากนี้  
ยังมีสิ่งที่บ่งบอกว่าผู้ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลได้ถูกบังคับให้หายตัวไป
แม้หลังการชุมนุมได้สิ้นสุดลงแล้ว    ตามรายงานล่าสุด  
จากจำนวนคนทั้งหมด  88  รายที่  “มูลนิธิกระจกเงา”  (Mirror  Foundation)  
ได้บันทึกไว้แต่แรกว่าสูญหาย    ปรากฏว่ามี  51  รายที่โดนกักขัง  และ  27  
รายยังคงไม่ทราบสาเหตุ      Human  Rights  Watch  ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า:  

อย่างน้อยตั้งแต่วันที่  12  พฤษภาคม    


ศอ.รส.ได้ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพิ่มเติมในสระบุรี  
(ค่ายอดิศร)  ราชบุรี  (ค่ายพานุรังสี)  และจันทบุรี  
(ค่ายพนาสบดีศรีอุทัย)  
รวมถึงเขตตำรวจตระเวนชายแดนในปราจีนบุรี  (ค่านเรศวร)  
และปทุมธานี  (กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนที่1)  
เพื่อกักขังผู้ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารรา
ชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน    
จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาหรือว่าค
นเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหนในตอนนี้60  

113
ดังนั้น  จึงย่อมฟังได้ว่ายังมีผู้คนอีกไม่ทราบว่าเป็นจำนวนเท่าใด  
ที่กำลังถูกกักขังตามอำเภอใจอย่างยืดเยื้อและถูกลิดรอนเสรีภาพทางร่าง
กายอย่างร้ายแรง  

การกระทำที ่ ไ ร้ ม นุ ษ ยธรรมในลั ก ษณะอื ่ น  

การจะพิจารณาว่าอาชญากรรมอันเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมในลักษ
ณะอื่นครบองค์ประกอบพื้นฐานของอาชญากรรมนั้น  
สภารับพิจารณาคดีจะต้องเชื่อว่า  
“ผู้กระทำผิดกระทำการอันเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส  
หรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงต่อร่างกาย  สภาพจิตใจ  
หรือสุขภาพพลานามัย  ทุกวิถีทางการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม”  
คำจำกัดความตามบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นมีความคลุมเ
ครือ  ไม่ชัดเจนว่าอะไรที่อาจถือเป็น  “การกระทำที่ไร้มนุษยธรรม”  

สภารับพิจารณาคดีว่าบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศได้จำกัดควา
มหมายของคำว่า  “การกระทำที่ไร้มนุษยธรรมในลักษณะอื่น”  
ต่างจากบทบัญญัติก่อนหน้านั้น  อย่าง  กฎบัตร  Nuremburg,  ICTR  
และบทบัญญัติ  ICTY  โดยบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศได้กล่าวถึง  
“การกระทำที่ไร้มนุษยธรรมในลักษณะอื่น”  ในลักษณะ  
“ครอบคลุมทุกการกระทำ”  
ซึ่งให้อำนาจศาลในการตีความของการกระทำนั้น  

ในทางตรงข้าม  บทบัญญัติแห่งโรมได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจน  
โดยจำกัดความว่าเป็นการกระทำอันประกอบด้วยการกระทำอันไร้มนุษย
ธรรม  และต้องมีมาผลลัพธ์จากการกระทำนั้น  ตามมาตรา  7  (1)(k)(2)  
ว่าด้วยองค์ประกอบของอาชญากรรม  
“การกระทำที่ไร้มนุษยธรรมในลักษณะอื่น”  
จะต้องเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา  7  (1)  

114
บทบัญญัติแห่งโรม  เชิงอรรถ  30  
ขององค์ประกอบของอาชญากรรมกล่าวว่า  “ลักษณะการกระทำ”  
คือลักษณะและความร้ายแรงแห่งการกระทำนั้น  

แม้ว่าความคล้ายคลึงของการกระทำจะเป็นองค์ประกอบที่จำเป็น  
แต่มาตรา  7  (1)(k)  
บทบัญญัติแห่งโรมได้จำกัดความหมายของการกระทำอันเป็นการกระทำ
อันไร้มนุษยธรรม  “ในลักษณะอื่น”  
ซึ่งได้ระบุว่าการกระทำอันเข้าองค์ประกอบของอาชญากรรมต่อมนุษยชา
ติในมาตรา  7  (1)  (a)  ถึง  (j)  
ไม่ถือเป็นการกระทำอันไร้มนุษยธรรมในลักษณะอื่นตามมาตรา  7  (1)(k)  
แห่งบทบัญญัติแห่งโรม  อาทิเช่น  
การพิจารณาว่าการบาดเจ็บของร่างกายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติไ
ด้นั้น  สภาอุทธรณ์  ICTY  ได้กล่าวในคดีระหว่างอัยการและ  Kordic    และ  
Cerkez  ว่าจะต้องเข้าองค์ประกอบต่อไปนี้  :  

1. “  เหยื่อจะต้องได้รับอันตรายอย่างแสนสาหัสต่อร่างกาย  หรือจิตใจ  ;  
ระดับความร้ายแรงจะต้องได้รับการพิจารณาเป็นกรณี  
ประกอบกับสถานการณ์แวดล้อมในแต่ละกรณี  ;  
2. อันตรายอย่างแสนสาหัสนั้นเป็นผลมาจากการกระทำการหรืองดเว้
นกระทำการของผู้ถูกกล่าวหา  หรือผู้ใต้บังคับบัญชา;  และ  
3. เมื่อมีการทำร้ายดังกล่าว  ผู้ถูกกล่าวหา  หรือผู้ใต้บังคับบัญชา  
มีแรงจูงใจโดยมีเจตนาที่จะทำร้ายเหยื่อให้ได้รับอันตรายอย่างแสน
สาหัสต่อร่างกายและจิตใจ  
 

จากองค์ประกอบของเจตนาภายใน  
สภากล่าวว่าจะต้องเข้าองค์ประกอบตามเจตนาภายนอกโดยมีการกระทำ
โดยเจตนาและรับรู้ถึงการกระทำนั้น  ตามมาตรา  30  ของบทบัญญัติ  
มาตรา7  (1)(k)  ของเอกสารว่าด้วยองค์ประกอบอาชญากรรม    
โดยต้องพิสูจน์ว่า  “ผู้กระทำความผิดจะต้อง  (กระทำอย่างต่อเนื่อง)  
รับรู้ถึงสถานการณ์แวดล้อมอันทำให้เกิดการกระทำดังกล่าว”  
การทำร้ายดังกล่าวรวมถึง  

115
องค์ประกอบสำคัญอย่างแรกและที่สุดคือเจตนาโดยตรง  
เจตนาประสงค์ต่อผล  (ระดับหนึ่ง)  และ  เจตนาเล็งเห็นผล(ระดับสอง)  

การคุ ก คาม  

ตามเอกสารว่าด้วยเรืององค์ประกอบแห่งอาชญากรรม  
การพิจารณาว่าอาชญากรรมการคุกคามได้เกิดขึ้น  
สภารับพิจารณาคดีจะต้องเชื่อว่าจะต้องมีการกระทำอันเป็นการคุกคาม  
โดยผู้กระทำความผิดได้ลิดรอนสิทธิพื้นฐานของบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าอ
ย่างร้ายแรง  ซึ่งขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ  ในคดี  ICTY  
ระหว่างอัยการ  และ  kupreskic  
สภารับพิจารณาคดีกล่าวว่าอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่ว่าด้วยการคุกค
าม  “มีลักษณะพิเศษคือมีเจตนากีดกันบุคคลอื่น”  นอกจากนี้  
สภารับพิจารณาคดียังกล่าวว่าการคุกคามคือ  
“การกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอันเป็นการกีดกันหรือปฏิเสธ  
หรือละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานที่บัญญัติไว้ในกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างป
ระเทศ  หรือกฎหมายสนธิสัญญา”  

ก่อนที่คนเสื้อแดงจะปักหลักชุมุนมที่กรุงเทพมหานครในวันที่  ๑๓  
พฤษภาคม  ๒๕๕๓  
รัฐบาลได้พยายามปลุกระดมคุกคามทางการเมืองต่อต้านฝ่ายตรงข้ามเป็
นเวลาหลายปี  

ดังที่ได้เกริ่นไว้แล้ว    การรณรงค์เริ่มต้นพร้อมกับรัฐประหารเมื่อปี    ค.ศ.  


2006  (พ.ศ.  2549)  
ตอนที่บรรดานายพลไทยยึดรัฐไว้และล้มล้างรัฐธรรมนูญของประเทศด้ว
ยวัตถุประสงค์เดียวคือ  ขจัดพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศอยู่  
ยุบพรรคดังกล่าวด้วยกฎหมายที่มีผลย้อนหลัง  
ปฏิเสธสิทธิส่วนตัวของนักการเมืองไทยรักไทยที่จะลงสมัครและได้รับเลือ
กตั้ง  
ทำให้บรรดาแกนนำต้องตกอยู่ภายใต้การดำเนินคดีอาญาชนิดเลือกปฏิบั
ติ  เข้าควบคุมศาลต่าง  ๆ    ยึดทรัพย์สินของทักษิณ  ชินวัตร  
และเปลี่ยนกฎกติกาการ  “เล่นเกม”  
เพื่อขัดขวางพรรคที่ปกครองประเทศอยู่เดิมมิให้คืนกลับมาได้      

116
ตลอดระยะเวลาที่บรรดานายพลทั้งหลายอยู่ในอำนาจ  (กันยายน  ค.ศ.  
2006  –  ธันวาคม  ค.ศ.  2007)  
พวกเขาอุทิศตนในการถอนรากถอนโคนผู้สนับสนุนทักษิณ  
โดยใช้แทบจะทุกรูปแบบของการคุกคามทางการเมืองที่มีอยู่—
การบ่อนทำลายหลักนิติธรรม  การลิดรอนเสรีภาพ  
การปฏิเสธสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐานว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออกและเ
สรีภาพในการชุมนุม  การเพิกถอนสิทธิพลเมืองที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง  
การระงับเสรีภาพในการสมาคม  การรังควานโดยใช้กฎหมาย  
การยึดทรัพย์สิน  และการใช้กฎหมายโดยมุ่งต่อตัวบุคคล  (laws  ad  
personam)  [หมายเหตุผู้แปล:  แทนที่จะมุ่งต่อการกระทำที่เป็นความผิด]    
ตามคำพูดของบรรดานายพลในขณะนั้น  
ซึ่งกล่าวอย่างเปิดเผยถึงความจำเป็นที่จะต้องขจัด  “ระบอบ”  ทักษิณ  
มันจึงไม่มีคำถามเลยว่าความพยายามที่จะยุติไทยรักไทยนั้นเป็นการรณร
งค์ซึ่งมุ่งประสงค์อย่างชัดแจ้งที่จะเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของความสัมพัน
ธ์ทางการเมือง

คมช.  ซึ่งเข้าสู่อำนาจด้วยการใช้กำลังบังคับ  
ทำลายพรรคไทยรักไทยและทำลายความนิยมของพรรค  
ในเดือนมกราคม  2550  รัฐบาลทหารจัดสรรงบประมาณลับจำนวน  12  
ล้านบาท  
สำหรับการรณรงค์เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือและนโยบายของรัฐบาลทัก
ษิณ    
ตามรายงานกล่าวว่ารัฐบาลทหารอนุมัติให้มีการโฆษณารณรงค์โดยใช้เงิ
นภาษีจาก  ประชาชน-­‐
ดำเนินการโดยบริษัทโฆษณาซึ่งมีญาติของรองเลขาธิการ  คมช.-­‐  
พล.อ.สพรั่ง  กัลยาณมิตร  เป็นเจ้าของกิจการ  -­‐  
ทั้งยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์คนสำคัญ  
รวมถึงกรณ์  จาติกวณิช  และกอบศักดิ์  สภาวสุ  

ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญถูกสลายลงทันทีหลังการรัฐประหารเมื่อปี    ค.ศ.  
2006  
รัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งถูกออกบังคับใช้หลังจากนั้นไม่นานก็ตั้งคณะตุลาก
ารศาลรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกเก้าคน  
โดยทั้งหมดมาจากฝ่ายตุลาการ  แต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร[34]    เมื่อวันที่  30  
พฤษภาคม  ค.ศ.  2007  

117
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งถูกเลือกมานั้นก็ยุบพรรคไทยรักไทย  
เห็นได้ชัดว่าคำตัดสินนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำวินิจฉัยที่ว่าพรรคไทยรัก
ไทยได้ติดสินบนพรรคฝ่ายตรงข้ามที่เล็กกว่าให้เข้าร่วมการเลือกตั้งเมื่อเ
ดือนเมษายน  ค.ศ.  2006    พรรคประชาธิปัตย์—
พรรคตรงข้ามของไทยรักไทยในรัฐสภาที่มีเสียงมากที่สุด—
ก็ถูกกล่าวหาด้วยข้อกล่าวหาทำนองเดียวกัน  
กลับถูกวินิจฉัยให้พ้นผิดโดยคณะตุลาการฯ  ดังกล่าว      
นอกเหนือไปจากยุบพรรครัฐบาลเดิมแล้ว  คำวินิจฉัยของคณะตุลาการฯ  
ยังห้ามผู้บริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน  111  
คนจากการเมืองเป็นเวลาห้าปี  
ตามนโยบายที่ออกมาให้มีผลย้อนหลังโดยศอฉ.ตามประกาศเลขที่  27  
นี่ทำให้แน่ใจว่าเมื่อพรรคถูกสลาย  
บรรดาแกนนำของพรรคก็จะไม่สามารถถูกเลือกเข้ามาใหม่ภายใต้ชื่ออื่น  
โดยไม่คำนึงว่าข้อเท็จจริงซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นการประพฤติผิดนั้นเกิดขึ้น
หลายเดือนก่อนที่ประกาศเลขที่  27  จะถูกออกบังคับใช้    
แกนนำไทยรักไทยส่วนใหญ่ถูกปฏิเสธที่จะมีโอกาสได้พูดในศาลด้วยตนเอ
ง  

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียกล่าวถึงการตัดสินของศาลรัฐธรร
มนูญว่า  

“ด้วยเหตุนี้  
เราได้เห็นปรากฏการณ์พิเศษที่คณะผู้พิพากษาซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐ
บาล  
ทหารที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งและต่อต้านประชาธิปไตยดำเนินการตัดสินกา
รกระทำ  
ของพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งซึ่งถูกกล่าวหาว่าบ่อนทำลายกระบ
วนการ  ประชาธิปไตย”    

ในระบอบใหม่นี้  การเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบ  
แกนนำพรรคถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง  ภาพลักษณ์ของพวกเขาเสื่อมเสีย  
และพรรคที่ครั้งหนึ่งไม่มีใครเอาชนะได้แตกสลายเป็นเสี่ยงๆ  

ในเดือนสิงหาคม  2550  
อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยรวมตัวกันอีกครั้งอย่างไม่สะทกสะท้านต่อผ

118
ลการยุบ  พรรคไทยรักไทย  โดยใช้ชื่อพรรค  “พลังประชาชน”  
ผู้นำพรรคคือนายสมัคร  สุนทรเวช  นักการเมืองชาวกรุงเทพฯ  ผู้แก่พรรษา  
เพียงไม่นานหลังจากที่พรรคพลังประชาชนก่อตั้งขึ้น  
คมช.ก็มีคำสั่งห้ามกิจกรรมทางการเมืองของพรรค  
ทำให้พรรคร้องทุกข์กล่าวโทษ  คมช.  ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง  
อย่างไรก็ตาม  
คณะกรรมการการเลือกตั้งเพิกเฉยต่อคำร้องทุกข์ดังกล่าวซึ่งกล่าวหาว่า  
คมช.  
มีความผิดจากการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนู
ญฉบับ  ใหม่แทนรัฐธรรมนูญ  พ.ศ.2540  

วันที่  23  ธันวาคม  2550  


ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรกนับจากมีรัฐประหาร  แม้  
คมช.จะต่อต้านและใช้กลยุทธ์ในการปราบปรามอย่างหนัก  
แต่พรรคพลังประชาชนก็ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนจำนวนมาก  
โดยชนะการเลือกตั้ง  233  ที่นั่งจากทั้งหมด  480  ที่นั่ง  
แม้ว่าคณะกรมการการเลือกตั้งตัดสิทธินักการเมืองคนสำคัญที่ลงเลือกตั้
งในนาม  พรรคพลังประชาชนไปจำนวนมากแล้วก็ตาม    
พรรคจัดตั้งรัฐบาลผสมได้  โดยนายสมัคร  
สุนทรเวชขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่  29  มกราคม  2551    

กระบวนการทำลายล้างนี้ยังคงดำเนินไปในช่วงรัฐบาลสมัคร  สุนทรเวช  
และสมชาย  วงศ์สวัสดิ์  (มกราคม  2551  –  ธันวาคม  2551)  
แม้ว่าจะเปลี่ยนรูปแบบไปก็ตาม  ดังที่บันทึกไว้ในเอกสารฉบับนี้  
รัฐธรรมนูญ  2550  
ให้สิทธิแก่ศาลที่จะแทรกแซงการเมืองด้วยจุดประสงค์ในการพลิกผลการ
เลือกตั้ง  เปลี่ยนองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร  สั่งยุบพรรคการเมือง  
และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค(ไม่เว้นกระทั่งผู้ที่ไม่ได้กระทำผิด)ไม่ให้  
ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  

วันที่  9  กันยายน  ค.ศ.  2008  (พ.ศ.  2551)  


เพื่อตอบสนองต่อข้อกล่าวหาซึ่งนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและคณะกรรม
การการเลือกตั้งได้นำมาฟ้อง  ศาลรัฐธรรมนูญบังคับให้นายกรัฐมนตรี  
สมัคร  ต้องลาออก  
ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าสมัครได้เคยเป็นพิธีกรในรายการสอนทำอาหารบนโท
รทัศน์  
และดังนั้นจึงได้ฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้ผู้ได้รับเลือกตั้งรับค่าตอบแทนจากแหล่

119
งอื่น      สมัคร  ต่อสู้ว่าเขานั้นไม่ได้ถูกจ้างโดยสถานีโทรทัศน์  และว่า  
ถึงแม้รายการจะได้ออกอากาศในช่วงเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐม
นตรี  แต่พวกมันก็ได้ถูกบันทึกเทปเอาไว้ก่อนที่เขาจะมาดำรงตำแหน่ง      
อย่างไรก็ตาม  
ข้อต่อสู้เหล่านั้นไม่เป็นผลในศาลรัฐธรรมนูญซึ่งลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ถอด
ถอนเขา      เมื่อวันที่  18  กันยายน  ค.ศ.  2008  (พ.ศ.  2551)  สมัคร  
ถูกแทนที่ด้วยผู้นำพปช.  สมชาย  วงศ์สวัสดิ์  น้องเขยของทักษิณ    

ในวันที่    2  ธันวาคม  ค.ศ.  2008  (พ.ศ.  2551)  


ระหว่างที่การยึดครองสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองโดยพัน
ธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเริ่มเข้าสู่อาทิตย์ที่สอง  
ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้ยุบพรรคพลังประชาชน  
รวมทั้งพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาล—
ตัดสิทธิสมาชิกผู้บริหารพรรคทุกคนของทั้งสามพรรคจากการเมืองเป็นเว
ลาห้าปี      ผลคือหนึ่งในนักการเมืองที่ถูกห้ามคือนายกรัฐมนตรี  สมชาย  
วงศ์สวัสดิ์  ซึ่งถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยอัตโนมัติ      
หลังจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญนั้นเองที่พรรคประชาธิปัตย์สามาร
ถจัดตั้งรัฐบาล  และให้อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  เป็นนายกรัฐมนตรี  เมื่อวันที่  18  
ธันวาคม  ค.ศ.  2008  (พ.ศ.  2551)  

เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อกำหนดเรื่องการยุบพรรคซึ่งศาลรัฐธรรมนูญใช้เป็น  
ฐานในการตัดสินคดีนั้นอยู่ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ  พ.ศ.  2550  
ตามที่คณะรัฐบาลทหารเรียกร้อง  มองเผินๆ  
แล้วก็เหมือนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความเข้มแข็งให้กับฝ่ายตุลาการต่อสู้กับ  
การคอร์รัปชั่น  
รัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะทหารใ
ช้อำนาจ  อย่างกว้างขวางในการล้มล้างอำนาจผู้ที่ประชาชนเลือกมา  
ด้วยลักษณะที่คล้ายกันมากกับธรรมนูญชั่วคราวซึ่งถูกนำมาใช้ภายหลังก
ารรัฐ  ประหาร  รัฐธรรมนูญ  2550  
ให้ทางเลือกแก่ศาลในการยุบพรรคการเมืองใดๆ  
ก็ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งพบว่าคณะกรรมการบริหารพรรคหรือ
ผู้สมัครของ  พรรคแม้เพียงรายเดียวทุจริตการเลือกตั้ง  
เมื่อมีการตัดสินยุบพรรคการเมือง  
ศาลรัฐธรรมนูญอาจตัดสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคทั้ง
หมดเป็นเวลา  5  ปี    

120
คดีตัวอย่างเช่น  
ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิคณะกรรมการบริหารพ
รรคโดยอาศัยฐาน  การกระทำความผิดของยงยุทธ  ติยะไพรัช  
อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  
ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานทุจริตการเลือกตั้งครั้ง  
ในบรรดาอดีตกรรมการบริหารพรรคจำนวน  215  คน  
ซึ่งถูกตัดสิทธิที่จะเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยผลของคำ
สั่งศาลที่ให้ยุบพรรคไทยรักไทย  พรรคพลังประชาชน  พรรคชาติไทย  
และพรรคมัชฌิมาธิปไตย  
เพียงแค่ไม่กี่คนที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดใด  
มากกว่าสองร้อยคนถูกลิดรอนสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเพียงแ
ค่เพราะมีความเชื่อมโยงกับพรรค      ในระบอบประชาธิปไตย  ความคิดเรื่อง  
“ความผิดร่วม”  
ไม่อาจเป็นเหตุผลในการยุบพรรคการเมืองทั้งพรรคซึ่งเป็นตัวแทนสมาชิ
กหลายล้านคน  และในบางกรณี  
เป็นพรรคที่ถูกเลือกโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่าสิบล้านคน    
หรือแม้แต่สมาชิกรัฐสภาซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่  
(หรือกระทั่งพลเมืองคนหนึ่งคนใด)  
ก็ไม่ควรถูกลิดรอนสิทธิทางการเมืองของเขา/เธอเพราะการกระทำความ
ผิดของบุคคลอื่นโดยที่เขาหรือเธอไม่ได้รู้เรื่องด้วย  
(นับประสาอะไรกับการสมรู้ร่วมคิด)    

 กฎกติกาต่างๆ  
เหล่านี้ละเมิดสิทธิของปัจเจกบุคคลหลายประการดังที่ระบุไว้ใน  ICCPR  เช่น  
สิทธิในการ“มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการรัฐ  
ทั้งโดยตรงหรือผ่านตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกอย่างเสรี”  (ข้อ  25)  
และสิทธิที่จะมี“เสรีภาพในการรวมตัวกับผู้อื่น”  (ข้อ  
22)มันแทบไม่มีความหมายอะไรเลยที่คณะรัฐประหารอุตส่าห์เขียนเนื้อหา
เหล่า  
นี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ  กฎกติกาเหล่านี้ขัดโดยตรงกับพันธกรณีตามกติการะ
หว่าง  ประเทศฯ  ที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีโดยสมัครใจ  ยิ่งไปกว่านั้น  
อย่างที่นักวิชาการด้านกฎหมายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ณรงค์เดช  
สรุโฆษิต  ได้ชี้ให้เห็นว่า  
บทบัญญัติเหล่านี้ขัดแย้งโดยตรงกับหลักการเรื่องเสรีภาพในการสมาคม
/รวมตัว  ดังปรากฏอยู่ในมาตรา  65  
แห่งรัฐธรรมนูญของประเทศไทยเองแน่นอนว่า  

121
ในหลายประเทศศาลมีอำานาจที่จะยุบหรือถอดถอนพรรคการเมืองหากว่
าพบว่าละเลยหรือมีความผิดเกี่ยว  

กับข้อกำหนดทางการเงิน  เกี่ยวข้องกับ  กลุ่มกองกำาลัง  


และกระทำากิจกรรมที่มีความรุนแรง  อย่างไรก็ตาม  ไม่มีประเทศ  

ประชาธิปไตยประเทศไหนที่ให้อำานาจศาลสั่งยุบพรรคการเมืองเพียงแค่
การกระทำาผิดของตัวบุคคลเอง  และเป็นการ  

กระทำาผิดที่เกิดจากการตัดสินใจโดยฝ่ายบริหาร  (อาทิ  
การตัดสินใจที่ตีความโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง)  และไม่  

ประเทศประชาธิปไตยประเทศไหนที่ศาลมีอำานาจถอดถอนสมาชิกรับสภ
า  หรือตัดสิทธ์ิเลือกตั้งหรือสิทธ์ิลงเลือกตั้ง  

ของกรรมการบริหารพรรคเพราะการกระทำาผิดของบุคคลอื่น  นอกจากนี้  
ในจำานวนศาลใน  7  ประเทศที่มีอำานาจสั่งยุบ  

พรรคการเมืองที่ไม่สามารถชี้แจงการใช้จ่ายเงินของพรรค  (อาร์เจนติน่า,  
บัลกาเรีย,  สาธารณรัฐเชค,เคนย่า,  โปรตุเกส,  

ปาปัวนิวกินี  และประเทศไทย)  
มีเพียงสาสลในประเทศไทยและสาธารณรัฐเชคเท่านั้นที่สามารถตัดสินสั่ง
ยุบพรรคการเมืองด้วยเหตุผลที่พรรคการเมืองไม่สามารถแสดงเอกสาร
ภายในระยะเวลาที่กำาหนดเพียงครั้งเดียว  

เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งร้องขอให้สายยุบพรรคผู้นำารัฐบาลอย่าง
พรรคประชาธิปัตย์  ศาลก็พยายามหาเหตุผลที่จะ  

ไม่สั่งยุบพรรค  ในช่วงปลายเดือนพฤจิกายนและต้นเดือนธันวาคม  2553  


ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยกคำาฟ้  องขอให้ยุบพรรค  

ประชาธิปัตย์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง  
ซึ่งกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาคโดยมิชอบถึง  สองครั้ง  โดย  

อ้างเหตุผลทางเทคนิค  แม้ศาลจะใช้เวลาพิจารณาคดีนี้ถึง  6  เดือน  


โดยมีการไต่สวนพยาน  ตรวจสอบหลักฐาน  และฟัง  

122
คำาให้การของทั้งสองฝ่าย  ศาลตัดสินว่าคดีทั้งสองคดีนี้  
ไม่สามารถรับพิจารณาคดีได้ตั้งแต่ต้น  เพราะคณะกรรมการการ  

เลือกตั้งยนื่  ฟ้  องคดีช้าไป  หลักจากการพิจารณาคดี  นักรัฐศาสตร์  


นายฐิตินันท์  พงษ์สุทธิรักษ์  ได้เขียนบทความระบุว่า  

การสั่งยุบพรรค  หรือการตัดสิทธิ์ทางการเมืองของนักการเมืองฝ่  
ายเหนึ่ง  ในขณะที่ไม่ทำาอะไรกับอีกฝ่  ายหนึ่ง  แสดงให้  

ให้ถึงสิ่งที่เรียกว่า  “การขยายขอบเขตการใช้กระบวนการยุติธรรม”  
ในการเมืองของไทย  เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อ  

ให้กระบวนการยุติธรรมจัดวางทิศทางทางการเมือง  
และแก้ปมที่ซับซ้อนของวิกฤตปัญหาในประเทศไทย  แต่แทนที่  

จะช่วยสร้างความปรองดอง  เพื่อจะเดินไปข้างหน้า  
การขยายการใช้กระบวนการยุติธรรมกลับทำาให้ปัญหาแย่ลงกว่า  

เดิม  

นอกจากกฎหมายเรื่องการยุบพรรคการเมืองของไทยจะแสดงให้เห็นถึงก
ารลิดรอนเสรีภาพที่การันตีไว้ใน  ICCPR  ซึ่ง  

ไม่มีประเทศประชาธิปไตยหรือประเทศที่มีเสรีภาพไหนทำากันแล้ว  
การเลือกปฏิบัติและเลือกบังคับใช้กฎหมายกับ  

พรรคใดพรรคหนึ่งยังแสดงให้เห็นถึงการใช้ระบบตุลาการเป็นเครื่องมือท
างการเมืองในการปรับเปลี่ยนรัฐสภา  เปลี่ยน  

ผลการเลือกตั้ง  และกำาจัดฝ่ายตรงข้ามของกลุ่มอำานาจเก่า  

นักการเมืองทุกคนที่ถูกตัดสิทธ์ิทางการเมืองตั้งแต่รัฐประหารปี  2549  
ไม่สามารถลงสมัครเลือกตั้งได้ในการเลือกตั้งที่  

จะเกิดขึ้นในปลายปี  2554  กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง  111  


คนที่ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือก  

123
ตั้งปี  2550  จะได้มีสิทธิทางการเมืองอีกครั้งในกลางปี  2555  
ในขณะที่กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน  ชาติไทย  

และมัชชิมาธิปไตยจะต้องรอจนถึงปลายปี  2556  
ข้อเท็จจริงคือพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งถึงสี่ครั้งถูกสั่งยุบ  และ  

จำานวนสมาชิกที่มีศักยภาพของพรรคที่ถูกตัดสิทธ์ิทางการเมืองนั้นมีจำ
านวนเกือบครึ่งหนึงของสมาชิกสภาผู้แทน  

ราษฎร  
ผลกระทบที่รุนแรงของการตัดสินครั้งนี้ก็เพื่อเอื้อประโยชน์แก่พรรคประชา
ธิปัตย์  และลิดรอนตัวเลือกในการ  

เลือกตั้งของประชาชนชาวไทย  

กรณีที่กรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธ์ิทางการเมืองทั้ง  215  
คนมีความคล้ายคลึงกับกรณีของนักการเมืองพรรคฝ่ายค้านอย่างนายลีโ
อโพลโด  โลเปซ  เมนโดซ่า  อย่างมาก  
โดยเขาถูกตัดสิทธ์ิไม่ให้ลงเลือกตั้งในปี  2547  
แม้เขาจะไม่ได้ทำาผิดอะไรเลยก็ตาม  ในปี  2552  
คณะกรรมการอเมริกันสากล  ฝ่ายสิทธิมนุษยชน  (Inter-­‐American  
Commission)ซึ่งเป็นหน่วยงานใน  

องค์กรของอเมริกาได้หยิบยกเรืองดังกล่าวให้ศาลมนุษยชนขององค์กรอเ
มริกันสากล  โดยเรียกร้องให้ศาลสั่งให้เวเนซู  

เอล่าคืนสิทธิทางการเมืองให้แก่นายลีโอโพลโด  โลเปซ  เมนโดซ่าทันที  


และจ่ายค่าสินไหมทดแทนต่อผลกระทบที่นาย  

ลีโอโพลโด  โลเปซ  เมนโดซ่าได้รับจากความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น  


และบังคับให้เวเนซุเอล่าแก้ไขระบบกฎหมายภายใน  

ประเทศ  ในกรณีของประเทศไทย  
จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีหน่วยงานระหว่างประเทศใดพิจารณาถึงกรณีที่นัก
การเมือง  

124
กว่า  200  คน  (และหลายคนเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)  
ที่ถูกตัดสิทธ์ิลงสมัครรับเลือกตั้งใช้ข้อกล่าวหาที่ไม่มี  

อยู่จริง  

บางทีหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดของการตามทำลายล้างทางการเมืองคือการ
ลิดรอน  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  
ทั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน  
ด้วยการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น  
(censorship)ที่เข้มงวดที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทยในรอบสามสิบปี  
ตลอดจนการดำเนินคดีต่อคนจำนวนมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในข้
อหาอาชญากรรมทาง  ความคิด  

และเช่นกัน  
มันไม่สำคัญเลยว่าการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นและการคุมขังนักโท
ษทางการ  
เมืองจะได้รับการรับรองในกฎหมายอย่างพระราชบัญญัติการกระทำผิดท
าง  คอมพิวเตอร์และกฎหมายอาญามาตรา  
122  กฎหมายเหล่านี้โดยตัวของมันเองเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนไ
ทยที่จะมี  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการ  “แสวงหา  
รับ  และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท”  ซึ่งเป็นสิ่งที่  ICCPR  
ปกป้อง  
ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐมักจะอ้างความชอบธรรมสำหรับการลิดรอนดังกล่า
วว่าจำ  เป็นในการรักษาความมั่นคงของชาติ  
ความเสื่อมถอยของสิทธิฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองไทยถูกสังเกตการณ์โ
ดยนักข่าวไร้พรมแดน  โดยในรายงาน  “เสรีภาพสื่อในโลก”  
ระบุว่าเสรีภาพของสื่อในประเทศไทยอยู่ในอันดับที่  
153โดยก่อนหน้ารัฐประหารปี  2549  ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่  66  

เมื่อไม่นานมานี้  
การประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  
(ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่  ณ  วันที่ผู้เขียนเขียนบทความนี้)  
และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  
(ถูกยกเลิกไปเมื่อเดือนธันวาคมพ.ศ.2553)  
ได้ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวกันตาม

125
ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ไว้แก่ประชาชนชาวไทย    อย่างไรก็ดี  
มีเพียงแต่กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลเท่านั้นที่ถูกกลั่นแกล้ง  
คุมขังอย่างไม่มีกำหนด  
และถูกปฏิเสธมิให้ได้รับขั้นตอนการพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายสำหรับก
ารฝ่าฝืนกฎระเบียบที่ออกมาภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการใ
นสถานการณ์ฉุกเฉิน    ในขณะที่  
กลุ่มผู้ชุมนุมที่สนับสนุนรัฐบาลได้รับอนุญาตให้ปักหลังชุมนุมครั้งแล้วครั้ง
เล่าโดยไม่มีใครได้รับโทษดังกล่าวเลย    
นี่แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่เป็นสองมาตรฐานซึ่งไม่อาจยอมรับได้  

 ทั้งนี้  กล่าวโดยสรุปได้ว่า  กลุ่มผู้สนับสนุน  ดร.ทักษิณ  ชินวัตร  และผู้ต่อต้าน  


กลุ่มอำมาตย์ถูกกลั่นแกล้งและรังแกทางการเมืองตั้งแต่เกิดรัฐประหารปี
พ.ศ.  2549    โดยที่การกระทำทั้งหมดที่ได้กล่าวมาในคำขอนี้  
ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง  
การจัดการอย่างเป็นระบบและมีเป้าหมายเพื่อสร้างข้อจำกัดแก่ประชาชน
ที่ยังคงมีความจงรักภักดีต่อดร.ทักษิณ    
ประชาชนที่ต่อต้านการทำรัฐประหาร  
และ/หรือประชาชนที่ต้องการลดการใช้อำนาจที่นอกเหนืออำนาจตามรัฐ
ธรรมนูญของทหารไทย  
ซึ่งการกระทำทั้งหมดดังกล่าวได้แสดงถึงการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของ
ความสัมพันธ์ทางการเมือง  
 

4.2  อ งค์ ป ระกอบพื ้ น ฐานของอาชญากรรม  


 

มีคำอธิบายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเพิ่มเติมในเอกสารสำคัญ
อื่นของศาลอาญาระหว่างประเทศ-­‐  เช่น  
เอกสารว่าด้วยองค์ประกอบพื้นฐานของอาชญากรรม  
โดยต้องประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้:  

1. การทำร้ายจะต้องเป็นการกระทำโดยตรงต่ อ พลเรื อ น  
2. เป็ น การกระทำโดยนโยบายรั ฐ หรื อ องค์ ก ร  ;  
3. การกระทำโดยเฉพาะเจาะนั้นต้ อ งเป็ น เป็ น วงกว้ า งและเป็ น ระบ
บอย่ า งหนึ ่ ง อย่ า งใด  

126
4. ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งการกระทำส่ ว นบุ ค คลและการทำร้ า
ย;  
5. อย่างน้อยที่สุด  
ผู้กระทำการจะต้องสามารถรั บ รู ้ ห รื อ มี เ จตนาเข้ า ใจว่าการการ
กระทำดังกล่าวคือการทำร้ายอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ  
 

การทำร้ า ยจะต้ อ งเป็ น การกระทำ  


“มุ ่ ง โดยตรงต่ อ พลเรื อ นโดยรวม  

นิยามของ  “การทำร้าย”  
ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ในบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  
แต่ได้ถูกขยายความไว้ในเอกสารว่าองค์ประกอบพื้นฐานของอาชญากรร
ม  ซึ่งได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของมาตรา  7(1)  
บทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศว่า  การทำร้ายไม่ได้ถูกจำกัดแค่  
“การทำร้ายโดยกองทัพ”  นอกจากนี้สภารับพิจารณาคดีได้กล่าวไว้ในคดี  
Jean  Pierre  Bemba  Gomba  ว่า  
องค์ประกอบของการทำร้ายมีการกระทำที่รัฐว่าจ้างให้บุคคลที่สามกระท
ำการดังกล่าวตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา  7(1)  

เหตุการณ์ในเคนยา  สภารับพิจารณาคดีพิจาณาว่า  
“พลเมืองที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นเหยื่อของอาชญากรรมตามมาตรา  ๗  
นั้นจะถูกแบ่งแยกโดยสัญชาติ  เชื้อชาติ  
หรือการแบ่งแยกตามลักษณะอันโดดเด่นประการอื่น”  
อัยการจะต้องแสดงให้เห็นว่าการทำร้ายนั้น  
“เป็นการทำร้ายโดยตรงต่อพลเมืองโดยรวม  
ไม่ได้มุ่งทำร้ายบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยตรง”  นอกจากนี้  
พลเมืองกลายเป็นเป้าโดยตรงของการทำร้าย  
และมิได้เป็นเหยื่อของการทำร้ายโดยไม่เจตนา  คำว่า  “พลเมือง”  
หมายถึงบุคคลที่เป็นพลเรือนที่ต่อต้านสมาชิกของกองทัพหรือหรือกองก
ำลังอื่นรัฐ  

ตามที่ระบุในคำร้อง  
กองทัพกระทำการอันรุนแรงอย่างสูงสุดต่อผู้ชุมนุมชาวเสื้อแดงในเดือนเ
127
มษาและพฤษภาคมภายใต้การสั่งการของรัฐบาลไทย  
แม้รัฐบาลจะอ้างว่าได้สั่งให้ใช้กำลังต่อกลุ่มหัวรุนแรงในกลุ่มคนเสื้อแดงเ
ท่านั้น  แต่ไม่มีหลักฐานใดที่ระบุว่าผู้เสียชีวิตในวันที่  10  เมษายน  
และในช่วงการสลายการชุมนุมทั้งอาทิตย์  วันที่  13-­‐19  
พฤษภาคมได้ข่มขู่หน่วยรักษาความปลอดภัย  ข้อเท็จจริงปรากฏว่า  
คลิปวีดีโอหลายคลิป  ภาพถ่าย  
และพยานในเหตุการณ์ระบุว่าผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่ได้กระทำการใดอันเป็น
อันตรายอย่างเด่นชัดเลย  
โดยส่วนใหญ่ถูกยิงที่ศีรษะในขณะที่กำลังยิงหนังสติ๊ก    ถือธงชาติ  กล้อง  
หรืออุปกรณ์ปฐมพยาบาล    

รัฐบาลพยายามอธิบายว่าถึงความเป็นอันตรายของผู้เสียชีวิตหรือผู้บาดเ
จ็บที่เกิดจากการกระทำของกลุ่มกองทัพต่อพลเรือนราบบุคคล  โดยเฉพาะ  
ใช้เหตุผลที่ว่าเหยื่อได้ร่วมกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่รัฐบาลเรียกว่า  
“ผู้ก่อการร้าย”  ไม่ว่าจะมีมูลว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มนปช.  
หรือรู้จักโดยกว้างขวางว่าการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงจะสามารถเรียก
ว่า  “ผู้ก่อการร้าย”  หรือไม่  แต่การกระทำของรัฐบาลที่ไล่ล่า  “พลเรือน”  
โดยใช้เหตุผลของ  “การแบ่งแยกคนโดยใช้ลักษะอันโดดเด่น”  (เช่นสีเสื้อ)  
เพื่อระบุว่าสมาชิกของกลุ่มพลเรือน  
โดยไม่ได้พิจารณาการกระทำรายบุคคลว่าบุคคลนั้นได้ใช้ความรุนแรงแล
ะคุกคามหน่วยงานความปลอดภัยหรือไม่  โดยสรุป  
สามารถกล่าวได้ว่าพลเมืองที่ถูกคัดแยกโดยลักษณะที่โดดเด่นนั้นเป็นฝ่า
ยตรงข้ามรัฐบาล  และไม่ได้เป็นเพียงแค่วัตถุที่ถูกทำร้าย  
คำให้การของพยานที่ปรากฎในคำร้องนี้เป็นสิ่งที่โยงให้เห็นถึงข้ออ้างที่ว่า
การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงถูกวางแผนกำจัดมาเป็นอย่างดี  

เป็ น การกระทำผ่ า นนโยบายรั ฐ หรื อ องค์ ก ร  

ในย่อหน้าที่  ๓  
ของเอกสารว่าด้วยองค์ประกอบพื้นฐานของอาชญากรรมระบุว่า  
“นโยบายที่ทำให้เกิดการทำร้าย”  
ประกอบด้วยนโยบายของรัฐหรือองค์กรที่สนับสนุน  

128
หรือปลุกระดมให้มีการทำร้ายพลเรือน  นอกจากนี้ยังกล่าวว่า  
“นโยบายการปฏิบัติต่อพลเรือนเสมือนเป้าแห่งการทำร้ายได้กระทำโดยรั
ฐหรือองค์กรนั้น  หรือในบางกรณี  
อาจเป็นนโยบายที่งดเว้นการกระทำตามหน้าที่โดยเจตนา  
ซึ่งเป็นการส่งเสริมการทำร้ายดังกล่าว  
การที่รัฐบาลหรือองค์กรไม่กระทำการไม่ได้หมายความว่านโยบายนั้นไม่
มีอยู่”  

บทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศมิได้จำกัดความของคำว่า  
“นโยบาย”  หรือ  “รัฐหรือองค์กร”  
สภารับพิจารณาคดีในกรณีของเคนย่าและในคดี  Katanga  และ  Ngudjojo  
Chui  ได้กล่าวถึงองค์ประกอบข้อนี้ว่า  “(….)  
จะต้องมีการจัดการที่ละเอียดและมีรูปแบบกฎบังคับ  
และต้องมีการดำเนินนโยบายพื้นฐานที่ใช้ทรัพยากรสาธารณะหรือเอกชน    
นโยบายดังกล่าวอาจจะถูกร่างโดยกลุ่มบุคคลผู้ซึ่งมีอำนาจปกครองให้บา
งพื้นที่  
หรือองค์กรที่มีความสามารถในการทำร้ายพลเรือนอย่างเป็นวงกว้างและ
เป็นระบบ  
นโยบายไม่จำเป็นต้องมีการตีความอย่างชัดเจนโดยกลุ่มองกรค์  
การทำร้ายร่างกายที่มีการวางแผน  มุงประสงค์โดยตรง  
หรือโดยการจัดการ  
ซึ่งตรงข้ามกับการกระทำที่ไม่ได้วางแผนหรือการกระทำอันรุนแรงอันไม่สั
มพันธ์กัน  ถือว่าเข้าองค์ประกอบดังกล่าว”  

คำจัดกัดความนโยบายรัฐหรือองค์กร  สภารับพิจารณาคดีในคดีของ  
Blaskic  กล่าวว่า  
“นโยบายไม่จำเป็นที่จะต้องกระทำโดยกลไกลสูงสุดของรัฐ”  
ในคำตัดสินคดีเคนย่า  สภารับพิจารณาคดีอ้างและได้บันทึกคำตัดสินนี้ว่า  
“นโยบายที่ถูกนำไปใช้โดยหน่วยงานส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นถือว่าเข้าองค์
ประกอบของข้อกำหนดที่ว่าด้วยนโยบายรัฐ”  

129
คำจัดกัดความของคำว่า  “องค์กร”  
ที่บัญญัติไว้ในบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศมีความคลุมเครือ  
คำตัดสินคดีเคนย่า  
สภารับพิจารณาคดีอ้างคำกล่าวของคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเ
ทศว่า  
“บทบัญญัติไม่ได้ยกเว้นความเป็นไปที่ว่าเอกชนที่มีอำนาจในทางปฏิบัติหรื
อจัดตั้งกลุ่มหรือซ่องโจร  
อาจสามารถก่ออาชญากรรมละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบหรือมห
าศาล”  สภารับพิจารณาคดีกล่าวว่า  
“การพิจารณาว่ากลุ่มองค์กรใดเข้าองค์ประกอบตามบทบัญญัติหรือไม่  
จะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป”  ซึ่งมีกฎเกฎฑ์ที่อาจพิจารณาหกประการ:  

(1)  “กลุ่มมีส่วนรับผิดชอบต่อการสั่งการ  
หรือมีการจัดตั้งสายบัญชาการหรือไม่;  

(2)  ตามข้อเท็จจริง  
กลุ่มยึดถือและกระทำการทำร้ายพลเรือนอย่างเป็นวงกว้างและเป็นระบบ;  

(3)  กลุ่มมีอำนาจควบคุมบางพื้นที่อันตั้งอยู่ในเขตแดนของรัฐหรือไม่;  

(4)  กลุ่มมีวัตถุประสงค์ขั้นต้นในการก่ออาชญากรรมต่อพลเมืองหรือไม่;  

(5)  กลุ่มมีเจตนาจงใจ  ชัดเจน  


และปราศจากข้อสงสัยในการทำร้ายพลเรือนหรือไม่;  

(6)  กลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มใหญ่ที่กระทำการตามที่ได้กล่าวในข้างต้น  

130
สภารับพิจารณาคดีย้ำว่าข้อพิจารณาข้างต้นนั้นช่วยในการจำกัดความ  
แต่ไม่จำเป็นจะต้องครบถ้วนทุกประการ  

การสังหารในเดือนเมษายนและพฤษภาคม  2553  
ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกระจัดกระจาย  
แต่เกิดจากการทำงานร่วมกันในนโยบายตอบโต้การชุมนุมของคนเสื้อแด
ง  กองทัพได้เคลื่อนพลบ่อยครั้ง  
และคำสั่งถูกปฏิบัติตามตามสายบังคับบัญชาการ  
รวมถึงมีการทำงานร่วมกับรัฐบาลอภิสิทธิ์  อย่างเช่น  
หลังจากที่สั่งให้ทหารสลายการชุมนุมในวันที่    10  เมษายน  
2553รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชาการแผ่นดินในสถา
นการณ์ฉุกเฉิน  หรือที่กลุ่มนักข่าวไร้พรมแดนเรียกว่า  “ใบอนุญาตสังหาร”    
โดยให้อำนาจอย่างเต็มขั้นในการใช้กำลังที่จำเป็นสลายการชุมนุม  
ในขณะที่รายงายของผู้เชี่ยวชาญทางการทหารจ่าสิบโทวิทตี้กล่าวว่าวิดีโอ
และหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการจ่ายอาวุธทหารแบบไม่เลือกโดยตั้งใจ  
ดังนั้น  
เป็นสิ่งที่ชัดเจนว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์รู้เห็นเป็นใจหรืออนุมัติการปฏิบัติการนี้  
โดยมิได้คำนึงว่าจะมีการสูญเสียเลือดเนื้ออย่างไม่จำเป็น  

โดยสรุปคือ  
กองทัพปฏิบัติการทำร้ายคนเสื้อแดงซึ่งเป็นพลเรือนตามคำสั่งของรัฐบาล  
อันเป็น  “นโยบายของรัฐบาลหรือองค์กร”  
และได้รับการเห็นชอบและอนุมัติโดยรัฐบาลพลเรือนระดับสูงและนายทหา
รในกองทัพระดับสูง  

การกระทำที ่ ร ะบุ น ี ้ เ ป็ น การกระทำที ่ อ าจถื อ เป็ น ”การทำร้ า ยอย่ า


งกว้ า งขวางหรื อ เป็ น ระบบ  

การกระทำอันอาจถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ  
เมื่อมีการทำร้ายมุ่งตรงต่อพลเรือนอย่างเป็นวงกว้างและเป็นระบบ  
สภารับพิจารณาคดีได้กล่าวเมื่อไม่นานมานี้ว่า  
“การกระทำที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวต้องเป็นการกระทำในวงกว้างและเป็นร
ะบบจึงจะเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ  นอกจากนี้  

131
การทำร้ายอย่างเป็นวงกว้างอาจจะเป็น  
“ผลกระทบที่เพิ่มขึ้นจากการกระทำอันไร้มนุษยธรรมอย่างต่อเนื่อง  
หรือผลกระทบครั้งเดียวจากการกระทำอันไร้มนุษยธรรมอันเลวร้ายอย่าง
ใหญ่หลวง”  

คำว่าเป็นระบบนั้นหมายถึง  
“ลักษณะการกระทำอันรุนแรงโดยมีการจัดการและมิใช่การกระทำโดยบังเ
อิญ”  ในคำตัดสินคดีเคนย่า  สภารับพิจารณาคดีอ้างถึงคำกล่าวของ  ICTY  
และระบุว่าองค์ประกอบพื้นฐานของ  “ความเป็นระบบ”  อาจอธิบายได้ดังนี้:  

(1)  มีการจัดการอย่างละเอียด;  

(2)  มีการปฏิบัติตามรูปแบบที่เป็นปกติวิสัย;  

(3)  ตามนโยบายพื้นฐานร่วมกัน;  

(4)  มีการใช้ทรัพยากรสาธารณะหรือเอกชน;  

ในกรณีของประเทศไทย  ระดับและช่วงเวลาของการสังหาร  
รวมถึงลักษณะการกระทำ  
อาจชี้ให้เห็นถึงความสมบูรณ์ขององค์ประกอบทั้งสองประการ  
หรืออีกนัยหนึ่งคือยอดพลเรือนผู้เสียชีวิตกว่าแปดสิบราย  
และผู้บาดเจ็บราวสองพันรายภายในสี่สิบวัน  ชี้ให้เห็นถึงความเป็น  
“วงกว้าง”  ของการทำร้าย  และประการหนึ่งคือ  
เหตุการณ์เดิมที่เกิดขึ้นหลายครั้งและเป็นประจำแสดงให้เห็นถึง  
“ความเป็นระบบ”  
และการทำร้ายอย่างเฉพาะเจาะจงอธิบายถึงพฤติการณ์ของกองทัพที่ปฏิ
บัติตามนโยบายร่วมกัน  โดยการทำร้ายนั้นมีการวางแผนอย่างรอบคอบ  
และมีการใช้ทรัพยากรของรัฐ  
132
 

ความสั ม พั น ธ์ ข องการกระทำแต่ ล ะกรรมและการทำร้ า ย  

หากพิจารณาคดีตัวอย่างในอดีตจะพบว่า  องค์ประกอบว่าด้วย  
“ความสัมพันธ์กันของการกระทำแต่ละกรรมและการทำร้าย”  
ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในพิจารณาว่าคดีดังกล่าวว่าเข้าข่ายเป็น
การกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือไม่  นอกจากนี้  
หากจะพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวอยู่ในขอบเขตของมาตรา  7  (1)  
ของบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่  
สภาจะต้องพิจารณาถึงลักษณะ  จุดมุ่งหมาย  
และผลลัพธ์ของการกระทำนั้น  

ในขณะที่รัฐบาลไทยได้ปฎิเสธคำร้องที่สภาทนายความยื่นเพื่อขอดูหลักฐ
านเกี่ยวกับการเคลื่อนกำลังทหาร,  กฎการใช้กำลัง,  และคำสั่งต่างๆ  
ที่มีผลต่อพลเรือนและทหารในระหว่างการปราบปรามการชุมนุมในเดือนเ
มษายนและพฤษภาคม  2553  ซ้ำแล้วซ้ำเล่า  
แต่หลักฐานที่ปรากฏในคำร้องฉบับนี้พิสูจน์ว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่า
ง  การโจมตีของทหารต่อการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง  
และการสังหารแบบเจาะจง,  การกักขัง  
และการลิดรอนเสรีภาพทางด้านร่างกายอย่างรุนแรง  
รวมถึงการกระทำโหดร้ายป่าเถื่อนตั้งแต่เริ่มมีการประท้วงของคนเสื้อแด
งเป็นต้นมา  เช่นเดียวกับการกลั่นแกล้งทางการเมืองที่มีมาตั้งแต่ปี    2549  
ซึ่งการกลั่นแกล้งนี้เป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้ของรัฐบาลเพื่อกวาดล้างอง
ค์กรที่ตั้งตนเป็นฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มอำนาจเก่าไปให้พ้นจากพื้นที่การเมือ
งของประเทศไทย  ในแง่หนึ่ง  
ข้อมูลที่เผยแพร่ในสาธารณะที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ,  วัตถุประสงค์  
และผลที่ตามมาของการโจมตีที่เป็นข้อสังสัยอยู่ในขณะนี้เป็นหลักฐานที่มี
รายละเอียดที่อธิบายความเกี่ยวข้องกันระหว่าง  
การกระทำดังกล่าวและการร่วมมือในการโจมตีในวงกว้าง  ในอีกแง่หนึ่ง  
ข้อมูลที่ได้มาจากบุคลต่างๆ  
ภายในกองทัพบกไทยและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ  
ไม่เพียงแต่เป็นการย้ำว่ามีการโจมตีดังกล่าวจริง  
แต่ยังอธิบายวิธีการโจมตี,  

133
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด
และการปฎิบัติการโจมตีเหล่านี้ด้วย  

“ความรั บ รู ้ ห รื อ เจตนา”  

องค์ประกอบของอาชญากรรมต้องประกอบด้วย  mens  rea  หรือเจตนาร้าย  


ซึ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา  30  ของบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  
โดยระบุถึงเจตนาร้ายสองแบบด้วยกัน  
คือเจตนาร้ายโดยประสงค์ต่อผลซึ่งมีความร้ายแรงระดับหนึ่ง  
และเจตนาร้ายโดยเล็งเห็นผลซึ่งมีความร้ายแรงระดับสอง  มาตรา  30  
บัญญัติว่า  
บุคคลจะต้องรับผิดชอบและถูกลงโทษในอาชญากรรมที่ก่อขึ้นในอำนาจศ
าลโดยเจตนาและโดยรับรู้  นอกเสียจากว่าจะพิสูจน์ว่าเป็นอย่างอื่น  
สภาอุทธรณ์  ICTY  ใน  คดีระหว่างอัยการแลt  Tadic  กล่าวว่า  
“ผู้กระทำการต้องรู้ว่าการทำร้ายดังกล่าวเกิดขึ้นต่อพลเมือง  
และการกระทำของผู้กระทำความผิดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการทำร้ายดังก
ล่าว  
นอกเหนือไปจากการรับรู้ถึงภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยการกระทำของ
ผู้กระทำความผิด  บุคคลดังกล่าวยังเต็มใจกระทำการดังกล่าว  
อย่างไรก็ตาม  
ผู้กระทำการไม่จำเป็นที่จะต้องรู้รายละเอียดทั้งหมดของแผนการทำรายนั้
น”  

ความแตกต่างของระดับเจตนาโดยตรง  (dolus  directus)  


นำมาใช้กับสายการบังคับบัญชาในระดับที่แตกต่างกัน  
อย่างน้อยก็ในคดีฆาตรกรรมหรือการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอื่น  ๆ    

โดยดูจากหลักฐานที่อธิบายไว้ในคำร้องฉบับนี้,  
ผู้ที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการโจมตีต่อต้านการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแ
ดง  
ได้แก่ผู้นำทหารระดับสูงได้มีเจตนาเพื่อก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและการ
บาดเจ็บทางร่างกายที่ร้ายแรง  
นับว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดในระดับที่  1  คือมีเจตนาตรง  (dolus  
directusin)    

134
ความผิดสำหรับผู้นำพลเรือนของประเทศที่เห็นชอบต่อการกระทำดังกล่า
วรวมถึงมีส่วนรู้เห็นในการโจมตีให้นับว่ามีเจตนาตรงเล็กน้อย  (dolus  
directus)  เป็นความผิดในระดับที่  2    ตัวอย่างเช่น  เมื่อวันที่  17  พฤษภาคม  
2553  หนังสือพิมพ์มติชน  ฉบับรายวัน  
ระบุว่าคณะทำงานที่แต่งตั้งขึ้นโดยพรรคประชาธิปัตย์ในห้องประชุมยุทธก
ารณ์  (war  room)  พอใจที่มียอดผู้เสียชีวิต  “แค่”  35  ราย  
ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บประมาณ  200-­‐
500  ราย96  
ตัวเลขนั้นสอดคล้องกับทั้งหลักฐานที่ระบุไว้ในคำร้องฉบับนี้และรายงานข้
อมูลภายในของรัฐบาลที่รั่วออกมาที่แกนนำนปช.  นายจตุพร  
พรหมพันธุ์ได้เปิดเผยข้อมูลในรายงานฉบับนั้นต่อสื่อในวันที่  19  เมษายน  
2553  
ที่ว่าทหารวางแผนจะดำเนินการปราบปรามเป็นเวลามากกว่าหนึ่งสัปดาห์  
ตั้งยอดตัวเลขผู้สียชีวิตที่ยอมรับได้ไว้ที่  500  ราย97  
ในขณะที่คำให้การในเรื่องเดียวกันนี้ที่ผู้มีส่วนรู้เห็นในพรรคประชาธิปัตย์ใ
ห้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์มติชนนั้นไม่ได้มีเนื้อหาแสดงถึงความต้องการ
ที่จะฆ่าหรือทำร้ายผู้ประท้วงเลย  และคำให้การนี้ไม่ได้กล่าวถึงการโจมตี,  
ความเข้าใจถึงผลที่จะตามมาจากการโจมตี  
และความเต็มใจที่จะเสี่ยงรับผลที่ตามมาหากจะทำให้การโจมตีนร้ำเร็จลุ
ล่วง  
ผู้บังคับบัญชาระดับกลางที่เป็นผู้ออกคำสั่งหรือเป็นผู้นำทหารในการปฎิบั
ติภารกิจอาจการให้เหตุผลที่คล้ายตลึงกันนี้          

ต่อมาได้มีการยอมรับว่า  กองกำลังรักษาความปลอดภัย  
ผู้ลงมือสังหารและกระทำการอื่นๆ  ที่ไร้ซึ่งมนุษยธรรม  (เช่น  เหนี่ยวไกปืน)  
ตลอดระยะเวลาที่มีการปราบปรามในปี  2553  
กระทำการดังกล่าวโดยมีเจตนาที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงหรื
ออย่างน้อยเป็นการกระทำที่ไม่คำนึงถึงชีวิตหรือเกียรติของบุคคลอื่น  
แม้ว่าการสรุปว่ากองทหารที่เกี่ยวข้องในการโจมตีกลุ่มพลเรือนที่เป็นผู้ชุ
มนุมรู้รายละเอียดทั้งหมดของการปฎิบัติการจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้  
แต่ทว่ากองทหารที่มีความเชี่ยวชาญที่ต้องฝึกซ้อมอย่างเข้มข้น  (เช่น  
พลซุ่มยิง)  

135
นั้นน่าจะได้รับข้อมูลว่าจะมีการโจมตีและน่าจะได้รับการซักซ้อมทำความเ
ข้าใจรายละเอียดตร่าวๆ  นี้ด้วย  โดยสรุปแล้ว  อย่างน้อยที่สุด  
ข้อเท็จจริงที่ว่ามีการปราบปรามการชุมนุมในเดือนพฤษภาคมที่กินเวลา  1  
สัปดาห์เต็มและคำสั่งที่ให้มีการปฎิบัติภารกิจที่เหมือนกันของกองกำลังติ
ดอาวุธที่ประจำอยู่ในพื้นที่ต่างกันนั้นชี้ให้เห็นว่ากองกำลังที่มีส่วนเกี่ยวข้อ
งกับการปราบปรามนี้ปฎิบัติภารกิจด้วยการโจมตีที่แม่นยำและปฎิบัติในลั
กษณะที่ต้องให้ภารกิจลุล่วง  ถือว่ามีเจตนาตรงเล็กน้อย  (dolus  directus)  
เป็นความผิดในระดับที่  2    

เมื่อพิจารณาข้อมูลโดยรวม  
มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องในการปราบปรามการชุมนุมของคน
เสื้อแดงที่ปฎิบัติหน้าที่อยู่ในสายบังคับบัญชาแต่ละระดับของหน่วยงานทห
ารและพลเรือนได้กระทำการปราบปรามโดยรับรู้ว่ามีการโจมตีพร้อมทั้งมี
เจตนาที่จะฆ่าและ/หรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายที่ร้ายแรงหรือรั
บรู้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะมียอดผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บจากการโ
จมตีผู้ชุมนุม  นับว่าเป็นความผิดที่เป็นอาชญากรรมร้ายแรงต่อมนุษยชาติ  
ฆ่าเพราะมีเจตนาร้าย  (mens  rea)    

4.3  ค วามรั บ ผิ ด ทางอาญา  

ตามเอกสารว่าด้วยองค์ประกอบพื้นฐานของอาชญากรรม  
ตามหลักของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ  
ผู้กระทำความผิดจะต้องรับผิดทางอาญา  
และจำเป็นต้องมีการกระทำที่ถูกห้ามภายใต้กฎหมายทั่วไปของกฎหมายร
ะหว่างประเทศ  ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ไดรับการยอมรับทั่วโลก  

ความรั บ ผิ ด ชอบทางอาญาของบุ ค คล  

 มาตรา  25(3)  
ธรรมนูญกรุงโรมกำหนดหลักการทั่วไปของความรับผิดชอบทางอาญาขอ
งบุคคล,  แยกแตกต่างระหว่างแบบต่างๆของความรับผิดชอบแต่ละ  

   
ตามธรรมนูญนี้ให้ผู้ต้องอาญาและรับผิดชอบกับการลงโทษส
136
ำหรับการกระทำความผิดทางอาญาภายในเขตอำนาจของศา
ลถ้าบุคคลนั้น:  

   (ก)  กระทำความผิดทางอาญา  ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคล,  


ร่วมกับผู้อื่น  หรือผ่านทางบุคคลอื่น  ๆ  
ไม่ว่าบุคคลนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อคดีอาญาหรือไม่ก็ตาม;  

 (ข)  คำสั่ง,  คำเวิงวอน  หรือคำพูดโน้มน้าว  


ให้กระทำความผิดทางอาญาที่เกิดขึ้นหรือมีความพยายามให้
เกิดการกระทำดังกล่าว;  

 (ค)  
เพื่อจุดมุ่ฝหมายในการช่วยสนับสนุนการกระทำความผิดทาง
อาญา,  การให้ความช่วยเหลือ,  การยุยง,  
หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อช่วยในการกระทำความ
ผิดทางอาญาหรือความพยายามในการกระทำความผิดทางอ
าญารวมถึงการให้แนวทางในการกระทำการดังกล่าว;    

 (ง)  การกระทำอื่นๆ  
ที่ก่อให้เกิดหรือพยายามก่อให้เกิดการกระทำความผิดทางอา
ญาโดยกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน  
การสนับสนุนดังกล่าวจะต้องมีความตั้งใจและมีลักษณะอย่าง
หนึ่งอย่างใดต่อไปนี้:    

 (i)  
ทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำความผิดทางอาญาต่อ
ไปเรื่อยๆ  
หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำความผิดทางอาญาของก
ลุ่มคน  
ซึ่งการกระทำดังกล่าวหรือวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับก
ารกระทำดังกล่าวอยู่ภายในเขตอำนาจของศาลนั้น;หรือ  

 (ii)  
ทำโดยรับรู้ถึงความเจตนาของกลุ่มเพื่อการกระทำควา
มผิดทางอาญา;  

(จ)  ในส่วนที่เกี่ยวกับอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์  
ปลุกระดมทั้งทางตรงและทางสาธารณชนให้ผู้อื่นกระทำการฆ่
าล้างเผ่าพันธุ์;    

137
(ฉ)  
การพยายามที่จะกระทำความผิดทางอาญาโดยการดำเนินกา
รที่ต้องใช้ขั้นตอนมากมายแต่อาชญากรรมนั้นไม่เกิดขึ้นเพรา
ะสถานการณ์ขัดต่อความตั้งใจของบุคคลนั้น  อย่างไรก็ตาม  
ผู้ที่ละทิ้งความพยายามที่จะกระทำความผิดทางอาญาหรือมีปั
จจัยที่ทำให้การกระทำความผิดนั้นไม่สำเร็จและไม่ต้องรับโทษ
จากการกระทำความผิดตามธรรมนูญนี้  
สำหรับความพยายามในการกระทำความผิดทางอาญาและยุ
คคลนั้นได้ล้มเลิกความตั้งใจในการกระทำความผิดทางอาญ
าอย่างเต็มใจและโดยสิ้นเชิง    

แม้ว่าในขั้นนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศ  
ไม่มีความจำเป็นต้องระบุชื่อของผู้กระทำผิดแต่ละราย  
หลักฐานที่แนบในคำร้องนี้มีความสัมพันธ์กับการตีความของสภารับพิจา
รณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ  ตามมาตรา  25(3)(a)  
แห่งธรรมนูญโรม  

ประเด็นแรกที่กล่าวถึงในบทนี้คือความรับผิดส่วนบุคคลตามหลักการภาย
ใต้กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ  ประเด็นที่สองคือ  
การสมรู้ร่วมคิดกระทำอาชญากรรมตามมาตรา  (25)(3)(a)  
แห่งธรรมนูญโรม  ผู้สมรู้ร่วมคิด  “ร่วมกันตระเตรียมการ”  
ย่อมมีความรับผิดส่วนบุคคล  ในกรณีของคดี  Lubanga  
สภารับพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศได้กล่าวถึง  
การแยกความแตกต่างระหว่างหลักการที่สำคัญ  ตามที่กล่าวไว้ในมาตรา  
(25)(3)(a)  ของธรรมนูญแห่งโรม  และบทบัญญัติย่อย  
ว่าบุคคลสามารถควบคุมอาชญากรรมได้  ในคดี  Lubanga  
ระบุว่าการกระผิดร่วมมีความเกี่ยวพันกับองค์ประกอบทางวัตถุวิสัยสองข้
อและจิตวิสัยสามข้อ  

ในคดี  Benba  
สภารับพิจารณาคดีได้กล่าวถึงองค์ประกอบภายนอกสองประการ  (1)  
ผู้ต้องสงสัยจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของแผนการหรือข้อตกลงทั่วไปกับอีกบุค
คลหนึ่งหรือมากกว่านั้น  และ  (2)  

138
ผู้ต้องสงสัยและผู้ร่วมกระทำความผิดอื่นจะต้องปฏิบัติการส่วนสำคัญในลั
กษณะที่เป็นการกระทำร่วมกัน  
ซึ่งส่งผลทำให้องค์ประกอบของอาชญากรรมนั้นสมบูรณ์  

ส่วนกรณีขององค์ประกอบภายใน  จะต้องมีองค์ประกอบร่วมสามประการ  
โดนเฉพาะ  ผู้ต้องสงสัยจะต้อง  (ก)  
จะต้องกระทำครบองค์ประกอบของอาชญากรรมที่ถูกกล่าวหา  
ซึ่งประกอบด้วย  เจตนาและความรับรู้  ตามที่บัญญัติในมาตรา  30  
ของธรรมนูญ  (b)  
รับรู้และยอมรับว่าแผนการทั่วไปส่งผลทำให้องค์ประกอบภายนอกของอา
ชญากรรมสมบูรณ์  (ค)  
รับรู้ว่าข้อเท็จจริงของสถานการณ์ส่งผลทำให้บุคคลนั้นควบคุมการกระท
ำอาชญากรรมร่วมกับบุคคลอื่น  
หลักฐานที่แนบมากับคำร้องฉบับนี้ครบตามองค์ประกอบหลักฐานที่สันนิษ
ฐานว่าเป็นจริงจนกว่าจะมีการหักล้าง  (prima  facie)  

ประเด็นที่สามภายใต้มาตรา  25  (23)(a)  บัญญัติว่าเรื่องวีธีการกระทำ  


ในกรณีนี้  หลักการ  (วิธีการของผู้กระทำ)ใช้บุคคลอื่นสังหาร  
(ผู้กระทำโดยตรง)  เป็นเครื่องมือในการกระทำอาชญากรรม  

สภารับพิจารณาคดีในคดี  Lubanga  
อธิบายถึงหลักการของวิธีการกระทำความเพื่อทำให้การแยกระหว่างควา
มรับผิดหลักและการรับผิดย่อยมีความชัดเจนขึ้นภายใจเนื้อหาการกระทำ
อาชญากรรมร่วมและการกระทำอาชญากรรมหลายระดับ  ในคดี  Katanga  
และ  Chui  
สภาตัดสินว่าลักษณะของการกระทำดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่องกัน  เมื่อมี  
“ผู้กระทำการอยู่เบื้องหลังผู้กระทำการ”  
มีการกระทำอาชญากรรมระหว่างประเทศโดยบุคคลอื่นภายใต้  
“การสั่งการ”  ผ่านทางสายบังคับบัญชา  สภารับพิจารณาคดีระบุว่าในคดี  
Lubanga,  Katanga  และ  Chui  
ประกอบด้วยองค์ประกอบสี่ประการซึ่งทำให้เห็นถึงรูปแบบการกระทำควา

139
มผิด  ซึ่งจะกล่าวถงในบทข้างล่าง  ในการตัดสินพิจารณาคดี  Katanga  และ  
Chui  สภาระบุเพิ่มในเรื่องคุณสมบัติของการกระทำโดยอ้อม  
รวมถึงระบบโครงสร้างสายบังคับบัญชา  
ซึ่งมีการกระทำโดยทางตรงและทางอ้อม  
ซึ่งทำให้การกระทำโดยทางอ้อมมีความผิดทางอาญา  

ประการแรก  
องค์กรจะต้องมีความสัมพันธ์แบบสายบังคับบัญชาระหว่างผู้บังคัญบัญช
าและผู้ใต้บังคับบัญชา  
องค์กรจะต้องประกอบไปด้วยจำนวนผู้ใต้บังคัญบัญชาที่พอเพียงแก่การท
ำให้คำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้นปรรลุผล  
ต้องมีการกระทำตามคำสั่งโดยผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดคนหนึ่ง  
ซึ่งเป็นสิ่งที่การันตีว่าคำสั่งที่ออกโดยผู้บังคับบัญชานั้นจะมีผู้บังคับบัญชา
ปฏิบัติตาม  
นอกจากนี้ผู้ใต้บังคับบัญชาใดที่ไม่กระทำตามคำสั่งจะถูกแทนที่ด้วยบุคค
ลที่จะทำตามอาชญากรรมโดยอัตโนมัต  องค์ประกอบอื่นที่สภาย้ำคือ  
ในคดี  Lubanga  
ผู้บัญชาการหรือผู้นำเป็นคนใช้อำนาจและมีอำนาจเหนือสายบังคับบัญชา  
และอำนาจหรือการควบคุมของบุคลลนั้นเป็นที่ชัดแจ้งต่อผู้ใต้บังคับบัญช
าที่จะทำตามคำสั่ง  วิธีการควบคุมอาจรวมถึงความสามารถที่จะจ้าง  ฝึก  
ตั้งกฎระเบียบและจัดหาทรัพยากรให้ผู้ใต้บังคับบัญชา  นอกจากนี้  
ผู้นำจะต้องมีต่อสายบังคับบัญชาในการกระทำอาชกรรม  
ซึ่งหมายถึงบุคคลนั้นคือผู้กระทำที่อยู่เบื้องหลังผู้กระทำนั้น  
สามารถเคลื่อนย้ายจัดวางอำนาจภายในองค์กรเพื่อให้มีการกระทำตาม
คำสั่ง  
และคำสั่งนั้นรวมถึงการกระทำที่ถือเป็นอาชญากรรมภายใต้อำนาจการพิ
จารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ  

140
ตามคำให้การของพยานในคำร้องฉบับนี้  
คดีดังกล่าวจึงมีองค์ประกอบครบถ้วนตามที่ผู้พิพากษาศาลอาญาระหว่า
งประเทศระบุ  

การรั บ ผิ ด ชอบของผู ้ บ ั ง คั บ บั ญ ชา  

นอกเหนือจากความรับผิดชอบทางอาญาของบุคคล  
คำอธิบายนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา  
"ความรับผิดชอบผู้บังคับบัญชา"  
การลงโทษฐานละเลยที่จะกระทำการใดๆ  
ในฐานะที่เป็นผู ้ บ ั ง คั บ บั ญ ชา อาจจะต้องรับผิดชอบทางอาญาภายใต้กฎเ
กณฑ์ที่แม้จะมีการรับรู้การกระทำความผิดทางอาญาของผู้ใต้บังคับบัญช
า  
แต่ล้มเหลวในการปฏิบัติตามหน้าที่ในฐ่านะที่เป็นผู้บังคับบัญชาในการป้อ
งกันและลงโทษการกระทำความผิดดังกล่าว    
การขาดการเอาใจใส่ดูแลเป็นผลให้ต้องรับผิดชอบการกระทำความผิดท
างอาญาโดยตรง  
และหากเป็นการกระทำความผิดทางอาญาของผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับผิ
ดทางอ้อม  

"ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา"  อยู่ในมาตราที่  28  


ของธรรมนูญกรุงโรม  

นอกเหนือจาก  ความรับผิดชอยด้านอื่นๆ  
ของการกระทำความผิดทางอาญาภายใต้ธรรมนูญนี้  
สำหรับการกระทำความผิดทางอาญาภายในเขตอำนาจของศ
าล:    

   (ก)  
ผู้บัญชาการทหารหรือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหาร
จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำผิดทางอาญาภายในเขตอำน
าจของศาลที่กระทำโดยกองกำลังภายใต้คำสั่งและการควบคุ
มของบุคคลนั้น  
เขาหรือเธอล้มเหลวในการใช้อำนาจในการบังคับ;  ในกรณีที่    

141
(i)  
ผู้บัญชาการทหารหรือผู้ที่รู้เห็นหรืออยู่ในสถานการณ์ใน
ขณะนั้นควรจะรู้ว่ากองกำลังได้กำลังกระทำความผืดทา
งอาญาหรือกำลังจะกระทำความผิดทางอาญาดังกล่าว
และ  

 (ii)  
ผู้บัญชาการทหารหรือบุคคลล้มเหลวในการใช้มาตรกา
รที่จำเป็นและเหมาะสมภายในอำนาจของเขาหรือเธอ  
ล้มเหลวในการป้องกันหรือระงับการกระทำ  
หรือส่งเรื่องไปยังเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการสืบสวนและ
การฟ้องคดี  

(ข)  
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและ
ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่ได้ระบุไว้ในวรรคคือ  (ก)  
ผู้บังคับบัญชาจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำความผิดทางอา
ญาภายในเขตอำนาจของศาลที่กระทำโดยผู้ใต้บังคับบัญชา  
ภายใต้อำนาจและการควบคุมที่เด็ดขาดของเขาหรือเธอ  
การควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาหรือเธอล้มเหลว,  เมื่อ:  

 (1)  
ผู้บังคับบัญชารับรู้หรือไม่เช่นนั้นก็แสร้งทำเป็นไม่รู้ข้อมู
ลที่ได้รับการแจ้งอย่างชัดเจนว่าผู้ใต้บังคับบัญชาได้กระ
ทำความผิดหรื่อกำลังจะกระทำผิดทางอาญา  

 (2)  
ความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการกระทำที่เคยทำภายค
วามรับผิดชอบและการควบคุมของผู้บังคับบัญชา;  และ  

 (3)  
ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถใช้มาตรการที่จำเป็นและเหมา
ะสมภายในอำนาจของตนเพื่อป้องกันหรือระงับการกระ
ทำหรือรส่งเรื่องต่อไปให้ยังเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการสื
บสวนและการฟ้องคดี  

มาตราที่  28  
ของธรรมนูญกรุงโรมร่างขึ้นมาเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างผู้บังคับบั
ญชาและความสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ    เช่น  ทหาร  หรือ  ทหาร  เช่น  

142
ผู้บังคับบัญชา  
และพลเรือนที่ได้รับตำแหน่งที่มีอำนาจทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย    

การเที ย บเคี ย งกั บ กรณี ข องไทย  

แม้จะไม่มีข้อกำหนดให้ผู้ร้องต้องระบุรายชื่อของกลุ่มผู้กระทำผิดหรือบุค
คลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมอันระบุในคำร้องนี้ในขั้นตอนการยื่นเ
อกสาร  
แต่ถือเป็นเรื่องอันเหมาะสมที่จะสรุปความรับผิดทางอาญาของกลุ่มผู้นำ
พลเรือนและนายทหารระดับสูงในรัฐบาลไทย  
การที่กองทัพไทยใช้กำลังทำร้ายพลเรือนตามสั่งการของศูนย์อำนวยการ
แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน  (ศอฉ.)  
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดยอำนาจของพระราชกำหนดบริหารราชการใน
สถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่  ๗  เมษายน  ๒๕๕๓  
มีอำนาจสั่งการและควบคุมการปฏิบัติการตอบโต้การชุมนุมของคนเสื้อแ
ดง  
และนี่คอ
ื รายชื่อเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับสูงซึ่งมีตำแหน่งสำคัญใ
นรัฐบาล  และส่วนใหญ่เป็นสมาชิกระดับสูงของศอฉ.  
และมีส่วนร่วมในการร่างแผนการที่ก่อให้เกิดการกระทำอาชญากรรมตา
มที่ระบุไว้ในคำร้อง:  

               

ก.นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี  

ข.นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ  อดีตรองนายกรัฐมนตรี  


และอดีตผู้อำนวยการศูนย์                                            
อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน  

143
ค.  พลเอกอนุพงศ์  เผ่าจินดา  อดีตผู้บัญชาการทหารบก  
และอดีตผู้บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน  

ง.  พลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  


และอดีตรองผู้อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน  
(ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ)  

จ.  พลเอกประยุทธ  จันทร์โอชา  ผู้บัญชาการทหารบก  


และยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉินในปัจจุบัน  
(ดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับบัญชาทหารบกในช่วงสลายการชุมนุม)  

ฉ.  พลเอกกิตติพงษ์  เกษโกวิท  ปลัดกระทรวงกลาโหม  


และผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน  

ช.  พลเอกทรงกิตติ  จักกาบาตร์  ผู้บัญชาการทหารสูงสุด  


และผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน  

ซ.  พลเรือเอกกำธร  พุ่มหิรัญ  ผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ  


และผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน  

ฌ.  พลอากาศเอกอิทธพร  ศุภวงศ์  ผู้บัญชาการทหารอากาศ  


และผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน  

ญ.  พลตำรวจเอกประทีป  ตันประเสริฐ  
รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ    
และผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในระหว่า
งการสลายชุมนุม  

144
 

ฎ.  นายธาริต  เพ็งดิษฐ์  ผู้อำนวยการกรมสอบสวนคดีพิเศษ  


และสมาชิกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน  

ฏ.  พลเอกวิทย์  เทพหัสดิน  ณ  อยุธยา  


ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกในระหว่างการสลายการชุมนุม  
และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก  

ฐ.  พลเอกธีระวัฒน์  บุญยะประดับ  
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกในระหว่างการสลายการชุมนุม  
และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก  

ฑ.  พลเอกดาวว์พงษ์  รัตนสุวรรณ  
รองเสนาธิการทหารบกในระหว่างการสลายการชุมนุม  
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก  

5.  เ ขตอำนาจศาลอาญาระหว่ า งประเทศ  

ในกรณีของการฆ่าล้างเผ่าพันธ์  อาชญากรรมสงคราม  
และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ  ศาลอาญาระหว่างประเทศทำงาน  
“คู่ขนาน”ไปกับกระบวนการยุติธรรมของแต่ละประเทศซึ่งทีหน้าที่ดำเนินค
ดีกับผู้ต้องสงสัย  เหตุผลเบื้องหลังคือ  
เมื่อใดก็ตามที่กระบวนการยุติธรมของประเทศล้มเหลว  
ศาลอาญาระหว่างประเทศอาจจะเข้ามาช่วยเหลือเหมือนเป็น  
“ที่พึ่งพาสุดท้าย”  
บทนี้กล่าวถึงประเด็นสองประเด็นที่อาจทำให้คดีตกอยู่ในอำนาจพิจารณา
คดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ  
1)การร้องทุกข์โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ;  และ  
2)เขตอำนาจเหนือบุคคล  (jurisdiction  ratione  personae)  
การร้องขอเริ่มการสอบสวนโดยรัฐที่เกี่ยวข้องตามมาตรา  14  
นั้นไม่ได้ระบุในคำร้องฉบับนี้  

145
เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ลงนามและให้สัตยาบันต่อบทบัญญัติศาลอาญ
าระหว่างประเทศ    

5.1  
การร้ อ งทุ ก ข์ โ ดยคณะมนตรี ค วามมั ่ น คงแห่ ง สหประชาช
าติ    

กลไกในการเรียกเขตอำนาจศาลกลไกแรกในการยื่นคำร้องเฉพาะหน้านี้
จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ที่คณะมนตรีความมันคงร้องทุกข์ให้
จัดการตามมาตราที่  13(ข)    บทบัญญัตินี้อนุญาตให้ศาล  
ใช้เขตอำนาจของตนตามความในมาตรา  5  
ในกรณีที่คณะมนตรีความมั่นคงทำหน้าที่ภายใต้ของกฎบัตรของสหประช
าชาติ  บททึ่  7  
ยื่นคำร้องต่ออัยการศาลอาญาในกรณีที่มีการก่ออาชญากรรม    

ตามมาตราที่  2  
ว่าด้วยข้อตกลงแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสหประชาชาติและศาลอาญาระ
หว่างประเทศว่าความสัมพันธ์ในการร่วมมือกันอาจทำได้เฉพาะบนพื้นฐา
นของการเคารพหลักเกณฑ์ของการทำงานของทั้งสององค์กร  มาตราที่  
17  
ว่าด้วยข้อตกลงแห่งความสัมพันธ์ให้ความร่วมมือในกรณีที่มีการร้องทุก
ข์โดยคณะมนตรีความมั่นคง  

สิทธิของคณะมนตรีความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับธรรมนูญของศาลอาญาระ
หว่างประเทศ    

มาตราที่  53  (1),  (3)  และ  (4)  


ธรรมนูญของศาลอาญาระหว่างประเทศและกฎของขั้นตอนและหลักฐานเ
พิ่มเติมกำหนดสิทธิของคณะมนตรีความมั่นคง  ข้อ  104-­‐110  
ในการเข้าถึงศาล    
ซึ่งรวมถึงสิทธิ์ของคณะมนตรีความมั่นคงเพื่อขอให้อัยการของศาลอาญา
ระหว่างประเทศเริ่มต้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงในสถานการณ์นั้นๆ103    
นอกจากนี้ยังเป็นไปได้สำหรับคณะมนตรีความมั่นคงในการส่งผ่านข้อมูล
ในการยื่นคำร้องให้สำนักงานอัยการ104  
เมื่ออัยการศาลคำร้องไปดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้นคณะมนตรีความมั่
นคงมีสิทธิที่จะรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการยื่นคำร้อง105    
146
คณะมนตรีความมั่นคงมีสิทธิที่จะได้รับคำตัดสินใจจากสำนักงานอัยการใ
นการยื่นส่งคำร้อง106    

เมื่อสำนักงานอัยการได้ตัดสินใจที่จะไม่เริ่มต้นการตรวจสอบหาข้อเท็จจริ
งเบื้องต้น  (กฏข้อที่  105  (1)  ของ  RPE)  107  
หรือมีการตัดสินใจที่จะไม่ดำเนินคดี  (กฎข้อที่  106  (1)  ของ  RPE)  
คณะมนตรีความมั่นคงมีสิทธิในการได้รับแจ้ง    
นอกจากนี้คณะมนตรีความมั่นคงอาจจะขอให้องค์คณะพิจารณาคดีทบทว
นการการตัดสินใจไม่หาข้อเท็จจริงในเบื้องต้นของการดำเนินคดี  (กฎข้อที่  
107  (4)  RPE)  108  
นอกจากนี้คณะมนตรีความมั่นคงจะต้องได้รับการแจ้งการตัดสินใจของอ
งค์คณะพิจารณาคดีที่มีต่อคำ  ร้องขอให้ตรวจสอบ  (กฎข้อ  109  (2)  RPE)  
109    คณะมนตรีความมั่นคงอาจจะขอองค์คณะอุทธรณ์  

เพื่อกลับคำตัดสินใจขององค์คณะพิจารณาคดีที่ไม่ให้มีการขอฟ้องเพื่อพิ
จารณาการตัดสินใจที่จะปฏิเสธคำขอทั้หมดหรือบางส่วนอีกครั้ง10  และมี  
สิทธิในการได้รับแจ้งการตัดสินใจขององค์คณะการอุทธรณ์111  
คณะมนตรีความมั่นคงได้รับอนุญาตให้ส่งคำขอใหม่เพื่อการฟ้องเกี่ยวกับ
สถานการณ์เดียวกันแต่เป็นข้อเท็จจริงหรือข้อมูลใหม่    

ขอบเขตของสิทธิในการเข้าถึงศาลของคณะมนตรีความมั่นคงสะท้อนให้เ
ห็นถึงสถานะเที่ป็นผู้ร้องหรือบุคคลที่ร้องขอในขั้นตอนการเรียกเขตอำนา
จศาล    กลไกนี้ยังควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า  
"เนื้อหาสาระเรื่องที่ร้องขอและขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเ
ทศนั้น  [ถูก]  
จำกัดให้อยู่ในคดีอาชญากรรมที่มีแนวโน้มที่จะทำลายสันติภาพและความ
มั่นคงนานาชาติ”112      

ข้ อ กำหนด  

ในการร้องทุกข์โดยคณะมนตรีความมั่นคง  
ธรรมนูญของศาลอาญาระหว่างประเทศและธรรมนูญดำเนินการฟ้องร้อง
และพยานหลักฐาน  (RPE)  กำหนดว่าต้องผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด  2  
ข้อเสียก่อน  ข้อแรก  ตามธรรมนูญดำเนินการฟ้องร้องและพยานหลักฐาน  
ข้อที่  45  กำหนดว่าให้ยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษร113  ข้อที่สอง  
ตามมาตราที่  13(ข)  
ธรรมนูญกรุงโรมกำหนดไว้ว่าการร้องทุข์ต้องขึ้นอยู่กับมติคณะมนตรีควา
มมั่นคงภายใต้บทที่  VII  ของกฎบัตรสหประชาชาติ  

147
นอกจากนี้  ยังมีข้อตกลงที่สำคัญที่ต้องเข้าเกณฑ์  อีก  2  ข้อ  ข้อแรก  
แม้ธรรมนูญกรุงโรมจะไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนแต่การร้องทุกข์ให้ต้องมีการ
ตระเตรียมล่วงหน้าในเรื่องข้อจำกัดส่วนตัว,  ดินแดน,  
และสถานการณ์ที่ร้องทุกข์    ต่อมา  
การยื่นร้องทุกข์โดยคณะมนตรีความมั่นคงจะต้องมีเหตุผลในการ  
ยื่นขอคำร้อง  ได้แก่  
สิ่งที่จำเป็นในการยืนยันการยื่นร้องทุกข์ที่ต้องมีก่อนในเรื่องที่เกี่ยวกับสถ
านการณ์เฉพาะหน้า114    ทั้งธรรมนูญกรุงโรมและ  RPE  
ไม่มีบทบัญญัติสำหรับข้อกำหนดอย่างเป็นทางการและข้อกำหนดหลักต่อ
การตัดสินใจของอัยการศาลในการยืนยันการร้องทุกข์ของคณะมนตรีคว
ามมั่นคง  

บรรทั ด ฐาน  

สำหรับกรณีนี้  ตรวจสอบแนวบรรทัดฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง    
เมื่อวันที่  18  กันยายน  2547  คณะมนตรีความมั่นคงมีมติเห็นชอบ  1564  
เกี่ยวกับสถานการณ์ในดาร์ฟูร์  ประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกซูดาน  
ในการแก้ปัญหา  
คณะมนตรีความมั่นคงขอให้คณะกรรมการระหว่างประเทศของสอบถามร
ายละเอียดการตรวจสอบรายงานของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเท
ศและกฎหมายสิทธิมนุษยชนในดาร์ฟูร์."นอกจากนี้คณะมนตรีความมั่นคง
ขอให้คณะกรรมการตรวจสอบว่าการกระทำที่เป็นการสังหารเผ่าพันธุ์เดีย
วกันหรือไม่และระบุตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว  

ในรายงานเดือนมกราคม  2548  คณะกรรมาธิการสอบสวนสากล  


(International  Commission  of  Inquiry)    
ได้ร้องขอให้คณะมนตรีความมั่นคงยื่นคำร้องต่อศาลอาญาภายในประเท
ศในกรณีของสถานการณ์ในดาร์ฟูร์  คณะกรรมการให้มีหลักคุณธรรม  6  
ประการ    คณะกรรมการได้แย้งว่า  :  "[...]  
มีการตั้งศาลเพราะมีอาชญากรรมที่คุกคามสันติภาพและความมั่นคง"  
นี่คือ  
"เหตุผลหลักว่าทำไมคณะมนตรีความมั่นคงอาจทำให้มีเขตอำนาจศาลต
ามมาตราที่  13  (ข)  ธรรมนูญต่อมา  คณะมนตรีความมั่นคงมีมติ  1593  
ที่อ้างถึงสถานการณ์ในศาล”    

   

เที ย บเคี ย งกั บ คดี ใ นปั จ จุ บ ั น  

148
ประเทศไทยได้เข้าเป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติตั้งแต่ปี    2489  
ดังนั้นคณะมนตรีความมั่นคงทำหน้าที่ภายใต้บทที่  
7ของกฎบัตรสหประชาชาติเป็นผู้มีอำนาจแท้จริงที่จะนำมติที่อ้างถึงกรณี
ของประเทศไทยเต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ  

สมัชชาสหประชาชาติอาจหารือเกี่ยวกับข้อสงสัยประการใดก็ตามที่เกี่ยวกั
บการรักษาสันติภาพและความมั่นคงนานาชาติก่อนที่เสนอโดยสมาชิกสห
ประชาชาติหรือโดยคณะมนตรีความมั่นคงหรือโดยรัฐที่ไม่ได้เป็นสมาชิกข
องสหประชาชาติ  ตามมาตราที่  35  วรรค  2  
ของกฎบัตรของสหประชาชาตินอกจากนี้สมัชชาอาจเสนอแนะต่อคณะมน
ตรีความมั่นคงเกี่ยวกับข้อคำถามดังกล่าว  
นอกจากนี้ยังอาจจะเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงเข้าไปดูแลสถานก
ารณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อสันติภาพและความมั่นคงนานาชาติ  ในขณะที่ค
ณะมนตรีความมั่นคงดำเนินการที่เกี่ยวกับข้อพิพาทหรือสถานการณ์ใดๆ  
ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎบัตร,  สมัชชาจะต้องไม่ให้คำแนะนำใด  ๆ  
เกี่ยวกับข้อพิพาทหรือสถานการณ์ที่ยกเว้นกรณีที่คณะมนตรีความมั่นคงร้
องขอ  

สมัชชาประกอบด้วยคณะกรรมการและคณะทำงานหลายชุดที่รายงานเรื่อ
งราวต่างๆ  
ต่อสมัชชา  อาจเป็นไปได้สำหรับประเทศสมาชิกหรือเอ็นจีโอที่จะส่งปัญหา
ไปยังคณะกรรมการและกคณะทำงานเหล่านี้โดยหวังให้ประเด็นปัญหานั้น
ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันในการประชุมสามัญของสมัชชาใหญ่แห่งสหปร
ะชาชาติ  

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีของประเทศไทย  
สถานการณ์นี้สามารถนำเข้าไปในเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ  
โดยการส่งคำร้องไปยังสมัชชา  
ซึ่งอาจจะส่งต่อไปให้คณะมนตรีความมั่นคง  
ด้วยเหตุนี้สำนักงานอัยการสามารถส่งต่อคำร้องนี้ไปที่คณะกรรมการชุด
ที่หนึ่งหรือชุดที่สามของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ  

ในทางกลับกันนี้  (ที่หวังไว้)  
กลไกในการเรียกเขตอำนาจศาลสร้างฐานกฎหมายให้แก่อัยการศาลอา
ญาระหว่างประเทศในการตรวขสอบข้อเท็จจริงต่อประเทศที่ไม่ใช่รัฐภาคี    
เพื่อร้องขอมติจากคณะมนตรีความมั่นคงให้ช่วยอ้างถึงสถานการณ์ให้กับ
ประเทศไทยต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ  ตามมาตราที่  53  
ของธรรมนูญกรุงโรม  
149
ให้มีหลักเกณฑ์ที่ชอบด้วยกฎหมายสำหรับการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่
าว  ดังคำว่า  "ภายในเขตอำนาจของศาล"  
ไม่ได้ละเว้นความเป็นไปได้ที่อัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ  
อาจจะลงมือตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อการเตรียมการสำหรับการร้องทุกข์
ให้โดยคณะมนตรีความมั่นคง    

5.2  เ ขตอำนาจเหนื อ บุ ค คล  

กลไกในการเรียกเขตอำนาจศาลที่สองที่กล่าวไว้ในคำร้องนี้จะขึ้นอยู่กับเ
ขตอำนาจส่วนบุคคล    
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจในการดำ
เนินคดีกับคนชาติอื่นของรัฐที่ไม่ใช่รัฐภาคี  (เช่น  ประเทศไทย)  
ได้เฉพาะในกรณีที่ของรัฐนั้นๆ  
ยอมรับเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ  
บนพื้นฐานแบบเฉพาะกิจหรือตามคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคง  
แฟ่งสหประชาชาติ  
ศาลอาญาระหว่างประเทศใช้อำนาจศาลกับคนของรัฐภาคีผู้ถูกกล่าวหาว่
าก่ออาชญากรรมโดยไม่คำนึงว่าจะก่ออาชญกรรมนั้นที่ใด  ตามมาตราที่  
12  (2)  (ข)  ธรรมนูญกรุงโรม  

ดังเช่นในกรณีของประเทศเคนยา  
นอกเหนือจากเงื่อนไขของเขตอำนาจศาลตามเหตุผลเนื่องจากมูลกรณี    
(ratione  materiae)  และเขตอำนาจศาลดวยเหตุผลเรื่องเวลา  (ratione  
temporis)  คณะอุทรณ์ของศาลอาญาระหว่างประเทศ  
วินิจฉัยว่าสำหรับอาชญากรรมให้อยู่ภายในเขตอำนาจของศาลนั้นก็จะต้อ
งเข้าเกณฑ์หนึ่งในสองข้อ  ที่ระบุไว้ในมาตราที่  12  ของธรรมนูญ  (ratione  
loci  หรือ  ratione  personae  )    
เขตอำนาจศาลตามเหตุผลเนื่องจากตัวบุคคล    (ratione  loci)  
ใช้ในสถานการณ์ที่อาชญากรรมนั้นเกิดขึ้นในดินแดนของรัฐภาคีที่ได้ประ
กาศสัตยาบันตามมาตราที่  12  (3)  ของธรรมนูญ    ส่วน  (ratione  personae  )  
ใช้ในสถานการณ์ที่อาชญากรรมก่อขึ้นโดยคนในชาติของรัฐภาคีใดๆ  
ที่ได้ลงนามและให้สัตยาบัน  

สถานการณ์ ใ นอดี ต  

ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่เคยมีการใช้อำนาจศาลตามเหตุผลเนื่องจา
กตัวบุคคลที่เป็นคนของรัฐภาคี    (ratione  personae)  
แต่ใช้เขตอำนาจบนหลักการที่ว่าอาชญกรรมได้ก่อขึ้นในเขตแดนของรัฐภ

150
าคีหรือจากการร้องขอโดยคณะมนตรีความมั่นคง  
อย่างไรก็ตามการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับอิรัก  
อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่า  รายงานปี  2549  
ที่ได้มีคำถามที่เกี่ยวกับเรื่องเชื่อชาติที่เป็นคนสหราชอาณาจัก  
แต่ปก่ออาชญากรรมในดินแดนของประเทศอิรัก  
ซึ่งไม่ได้เป็นรัฐภาคีตามธรรมนูญกรุงโรม  ในกรณีของประเทศเคนย่า  
อย่างไรก็ตามองค์คณะอุทธรณ์ได้ทำบันทึกในเรื่องของอำนาจศาลตามเห
ตุผลเนื่องจากตัวบุคคล  (ratione  personae)  
“ถ้าข้อตกลงด้านดินแดนไม่เข้าเกณฑ์  
องค์คณะยังคงมีข้อผูกพันภายใต้อำนาจในมาตราที่  53  (l)(ก)  
ของธรรมนูญ  ในการตรวจสอบอำนาจศาลตามเหตุผลบุคคล  
แม้ว่าจะจำกัดอยู่เพียงให้ตรวจสอบดูว่าผู้กระทำความผิดเป็นคนของรัฐภ
าคีหรือไม่เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าสามารถเปิดการตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงไ
ด้"  

กฏการคุ ้ ม กั น จากการรั บ โทษ  

ธรรมนูญกรุงโรมตัดการคุ้มกันความผิดทางอาญาใดๆ    
ที่จะจัดสรรให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกไป    มาตรา  27  
ให้เป็นจุดสำคัญของธรรมนูญกรุงโรมเกี่ยวกับการคุ้มกันต่อหน้าศาล,ระยุ
ว่า:  

(1)  
ธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับแก่บุคคลอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ให้มี
ความแตกต่างขึ้นอยู่กับหน้าที่ทางราชการใด  ๆ  
โดยเฉพาะหน้าที่ทางราชการในฐานะ  ผ ู ้ น ำประเทศ  
หรื อ ผู ้ น ำรั ฐ บาล  สมาชิกของรัฐบาลหรือรัฐสภา  
ผู้แทนที่ได้รับเลือกหรือเจ้าหน้าที่รัฐบาลจะต้องไม่ได้รับการย
กเว้นบุคคลนั้นจากความรับผิดชอบทางอาญาไม่ว่าในกรณีใด
ๆตามธรรมนูญนี้และไม่มีการลดหย่อนในการตัดสินโทษ  

(2)  
การคุ้มกันหรือกฎระเบียบขั้นตอนพิเศษที่อาจจะมีมาพร้อมกับ
หน้าที่ทางราชการของบุคคล  
ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้กฎหมายประตำชาติหรือนานาชาติก็ดี  
จะต้องไม่ขัดขวางการใช้อำนาจของศาลที่มีต่อบุคคลนั้น    

151
มาตรา  27  
ของธรรมนูญกรุงโรมมีความสมบูรณ์ชัดเจนว่าการดำเนินงานของธรรม
นูญกำจัดการคุ้มกันทั้งหมดที่บุคคลใด  ๆ  
อาจเรียกร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศได้    ตามมาตราที่  27  
ศาลอาญาระหว่างประเทศใช้อำนาจตามเหตุผลเนื่องจากตัวบุคคล  
(ratione  personae  )  
ที่เป็นคนชาติของรัฐภาคีโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งของพวกเขา  -­‐-­‐  
รวมทั้งผู้นำประเทศและผู้นำรัฐบาล  

เที ย บเคี ย งคดี ใ นเหตุ ก ารณ์ ป ั จ จุ บ ั น    

อย่างน้อยที่สุด  
อ้างถึงบุคลคนหนึ่งที่กล่าวถึงในคำร้องนี้ว่ามีส่วนรับผิดชอบต่อการก่ออา
ชญากรรมต่อมนุษยชาติ  
ศาลอาญาระหว่างประเทศอาจถือเขตอำนาจเหนือสถานการณ์ของประเท
ศไทยขึ้นอยู่กับเขตอำนาจศาลพิจารณาตามเหตุผลเนื่องจากตัวบุคคล    
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  
ถือสัญชาติของสหราชอาณาจักร    
เพราะสหราชอาณาจักรได้ให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม  
ศาลอาญาระหว่างประเทศ  จะมี  (ratione  personae)    
เขตอำนาจเพื่อตรวจสอบและดำเนินคดีตามเหตุผลเนื่องจากตัวบุคคลกับ
นาย  อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  ตามมาตราที่  12  (2)  (ข)  นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์  
เกิดที่ประเทศสหราชอาณาจักร  เมื่อวันที่  3  สิงหาคม  พ.ศ.2507  
ภายใต้กฎหมายของสหราชอาณาจักร  
บุคคลที่เกิดในสหราชอาณาจักรก่อนปี  พ.ศ.  2526  
“จะถือเป็นพลเมืองของสหราชอาณาจักรและประเทศอาณานิคมโดยกำเนิ
ด”  นอกจากจะเป็นบุตรของทูตหรือศัตรูต่างชาติ  
การถือสัญชาติกระทำได้ทันทีและเป็นกรรมสิทธิ์ถาวร  
ไม่ว่าจะมีสถานะพำนักอยู่ในประเทศสถานะใดก็ตาม  
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์จึงถือเป็นพลเมืองของสหราชอาณาจักรในระหว่าง
ที่อาชญากรรมต้องสงสัยเกิดขึ้น  
นอกเสียจากว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ได้สละสัญชาติอย่างเป็นทางการ  
โดยการประกาศ  
“สละสิทธิ์การพลเมืองของสหราชอาณาจักรและประเทศอาณานิคม”  
ผู้ร้องทราบและเชื่อว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ไม่เคยประกาศสละสัญชาติ  
ดังนั้น  

152
แน่นอนว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์เป็นพลเมืองของประเทศสหราชอาณาจั
กร  

5.3  ส รุ ป  

จากข้อความด้านบน  ทำให้สามารถสรุปได้ว่า    ศาลอาญาระหว่างประเทศ  


มีอำนาจศาลต่อกรณีดังกล่าวในสองลักษณะ  ลักษณะแรก  
อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศอาจเปิดการสืบสวนหาข้อเท็จจริงเบื้อง
ต้นในการเตรียมเพื่อการร้องทุกข์ตามเขตอำนาจศาล  โดย  
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ  ตามมาตราที่  13(ข)  
ของบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ  ลักษณะที่สอง  
เนื่องจากสหราชอาณาจักรเป็นรัฐภาคีที่ให้สัตยาบันต่อศาลอาญาระหว่าง
ประเทศ  ดังนั้นภายในอำนาจของเจ้าหน้าที่ศาล  
(แม้ว่าจะไม่มีมติคณะมนตรีความมั่นคง)  
ในการถือสิทธิ์ของอำนาจศาลตามเหตุผลเนื่องจากตัวบุคคล  (ratione  
personae)  ต่อนายกรัฐมนตรี  อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  
โดยอ้างจากการที่นายอภิสิทธิ์ถือสัญชาติอังกฤษ      

6.  ก ารรั บ พิ จ ารณาคดี ต ามบทบั ญ ญั ต ิ ม าตรา  


17  ธ รรมนู ญ แห่ ง กรุ ง โรม  
ประเด็นที่ว่าด้วยการรับพิจารณาคดีนั้นเกี่ยวข้องกับคำถามที่ว่าคดีที่ศาล
อาญาระหว่างประเทศที่มีอำนาจพิจารณานั้นสมควรที่จะมีการดำเนินคดีใ
นศาลอาญาระหว่างประเทศหรือไม่  
กระบวนการรับพิจารณาคดีนั้นปรับใช้กับทุกคดีที่ขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่าง
ประเทศ  
แม้ว่าคดีดังกล่าวจะเป็นผลจากการอ้างอิงโดยคณะกรรมการความมั่นคง
ก็ตาม  สภาพิจารณารับคดีได้ตั้งข้อกำหนดการรับพิจารณาคดีว่า  มาตรา  
53  (1)(b)  
ของข้อบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศต้องตีความตามบริบทของบทบั
ญญัติ  ดังนั้นการพิจารณาเรื่องการรับพิจารณาคดีตามหลักมาตรา  53  (1)  
นั้นควรที่จะมีความเกี่ยวข้องกันขอ“เหตุการณ์”(แทนที่จะอ้างถึงคดีความทั้
งหมด)  

153
 

การตัดสินรับพิจารณาคดี  จะต้องมีองค์ประกอบทั้ง  2  ประการครบถ้วน  

1.ข้อกำหนดเรื่องความร้ายแรงแห่งเหตุการณ์  

2.ต้องมีการพิจารณาว่าระบบตุลาการในประเทศดังกล่าวนั้น  
“หยุดนิ่ง”  หรือ  “ไม่เต็มใจหรือไร้ประสิทธิภาพในการดำเนินคดี”  
นี่คือประเด็นของ  
“หลักการที่ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณา  
เมื่อรัฐล้มเหลวที่จะกระทำการดังกล่าว”  
ที่กล่าวไว้ในบทนำของบทบัญญัติ  

6.1  ค วามร้ า ยแรงแห่ ง คดี  

ข้อกำหนดที่ว่าด้วยความร้ายแรงแห่งคดีนั้นได้บัญญัติไว้ในมาตรา  ๑๗  
(๑)(d)  ของบทบัญญัติแห่งกรุงโรม  ในคดี  Lubanga  
สภาพิจารณารับคดีกล่าวว่า  
ผู้ร่างคำร้องดังกล่าวได้คัดเลือกลักษณะอาชญากรรมอย่างระวังตามข้อก
ำหนดที่ว่าด้วยความร้ายแรงแห่งคดี  

ตามข้อบัญญัติในมาตรา  ๖-­‐๘  ของบทบัญญัติ  


การคัดเลือกนั้นตั้งอยู่บทพื้นฐานของความร้ายแรงและเป็นการจำกัดโดย
ตรงของเขตศาลอาญาระหว่างประเทศ  โดยต้องเป็น  
“อาชญากรรมอันร้ายแรงที่ประชาคมโลกเป็นกังวล”  เท่านั้น  ซึ่งส่งผลให้  “”  
สภาพิจารณารับคดีระบุว่า  จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบสี่ประการ:  

1.การกระทำที่เป็นประเด็นหลักของคดีจะต้องเป็นการกระทำที่เป็นร
ะบบ  (รูปแบบของเหตุการณ์)  หรือเป็นการกระทำที่ใหญ่โต  

154
2.ลักษณะของการกระทำที่ผิดกฎหมายของอาชญากรรม  (อาทิ  
การเกิดของอาชญากรรม)  

3.ลักษณะของการกระทำ  

4.ผลกระทบจากอาชญากรรมที่เหยื่อและครอบครัวได้รับ  ในกรณีนี้  
ตัวแทนของเหยื่อจะเป็นบุคคลสำคัญต่อการรับพิจารณาของสภา  

สภาคณะได้เน้นย้ำว่าคดีอาญาทุกคดีที่มาถึงมือของอำนาจศาลอาญาระ
หว่างประเทศล้วนแต่มีความร้ายแรงทั้งสิ้น  อย่างไรก็ตาม  
การอ้างอิงในเรื่องความสำคัญที่ไม่มากเพียงพอแสดงให้เห็นว่ามีการป้อ
งกันมิให้ศาลตรวจสอบข้อเท็จจริง,  ฟ้องร้องดำเนินคดี  และ  
เหตุการณ์รอบนอก  

6.2  ห ลั ก ศาลอาญาระหว่ า งประเทศมี อ ำนาจพิ จ ารณาคดี  


เมื ่ อ รั ฐ ล้ ม เหลวในการดำเนิ น การดั ง กล่ า ว  

ประเด็นเรื่องความไม่เต็มใจเกิดขึ้นเมื่อรัฐเริ่มกระบวนการสอบสวนแต่ขา
ดการพิจารณาคดีอย่างถ่องแท้  และมีสิ่งที่ระบุว่ามีการ  
“พิจารณาคดีจอมปลอม”  
บทบัญญัติกำหนดให้ศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณาประเด็นดังกล่าว
ประกอบการพิจารณารับคดีตามกฎหมายระหว่างประเทศ  

หลักการสำคัญของศาลอาญาระหว่างประเทศคือ  
ศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีอำนาจพิจารณาคดีเมื่อรัฐไม่เจ็มใจหรือล้
มเหลวจากการะกระทำการดังกล่าว  
ศาลอาญาระหว่างประเทศจะสังเกตการณ์ศาลภายในประเทศนั้นๆก่อน  
หมายความว่าศาลอาญาระหว่างประเทศคือ  “ที่พึ่งพิงสุดท้าย”  
และจะเข้ามาดำเนินการตามมาตรา  
17แห่งธรรมนูญกรุงโรมเมื่อไม่มีความเต็มหรือสามารถการสอบสวนหรือ
ดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างจริงจังได้  

155
ในการสอบสวนสามกรณีแรกของอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ  
ได้แก่  เหตุการณ์ในสาธารณรัฐคองโก  สาธารณรัฐแอฟฟริกันกลาง  
และอูกานดา  เกิดขึ้นโดยการร้องทุกข์จองรัฐดังกล่าวตามมาตรา  14    

“หยุ ด นิ ่ ง ”  ห รื อ  “ไม่ เ ต็ ม ใจ”  

ตามที่  องค์คณะอุทธรณ์  (Appeals  Chambers)  ในกรณี  Katanga  


คำถามเบื้องต้นที่จะถามเมื่อพิจารณาว่าคดีเป็นคดีที่ไม่สามารถยอมรับไ
ด้ตามมาตราที่  17(1)(ก)  และ  (ข)  ของธรรมนูญมีดังต่อไปนี้  

(1)  มีการตรวจสอบหรือดำเนินคดีอย่างต่อเนื่องหรือไม่;  

(2)  
ได้มีการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงในอดีตและเขตอำนาจศาลข
องรัฐได้ตัดสินใจที่จะไม่ดำเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือไม่  

ปัญหาของความไม่เต็มใจและความไม่สามารถเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีที่คำ
ตอบของคำถามเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งคือ    ใช่    หากรัฐหยุดนิ่ง  
คำถามถึงความไม่เต็มใจและ  /  หรือการไร้ความสามารถจะไม่เกิดขึ้น    
การตัดสินใจของรัฐที่จะไม่ตรวจสอบและ  /  หรือการดำเนินคดี  
จะทำให้คดีนี้เป็นคดีที่ยอมรับได้ต่อหน้าศาลตามมาตราที่    17  (1)(ง)  
ของธรรมนูญ  

ในขณะที่มาตรฐานที่ถูกต้องในการตรวจสอบได้ที่จัดทำโดยหลักกฎหมาย
ของศาลอาญาระหว่างประเทศ    มาตราที่  17  ของธรรมนูญกรุงโรม  
ได้ให้คำนิยามที่ต้องทำความเข้าใจได้แก่คำว่า  "ไม่เต็มใจ"และ  
"ไม่สามารถ"  เพื่อดำเนินคดี  

เกี่ยวกับคำนิยาม  "ไม่เต็มใจ"  ดำเนินคดี  ตามมาตราที่  17(2)  


ของธรรมนูญกรุงโรมให้:  

เพื่อตรวจสอบความไม่เต็มใจในคดีนั้นๆ  
ศาลจะต้องพิจารณาโดยคำนึงถึงหลักการของกระบวนการที่ไ
ด้รับการยอมรับตามกฎหมายต่างประเทศ    
ให้เข้าเกณฑ์อย่างน้อยหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งข้อ:  

(ก)  
ได้มีการดำเนินการหรือกำลังมีการดำเนินการหรือการตัดสิน
ใจระดับชาติขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันผู้ที่เกี่ยวข้อ

156
งจากความรับผิดชอบทางอาญาสำหรับความผิดที่อยู่ภายในเ
ขตอำนาจของศาลที่กล่าวถึงในมาตราที่  5;  

(ข)  
มีความล่าช้าที่ไม่สมเหตุสมผลในการดำเนินคดีในกรณีที่ไม่ส
อดคล้องกับเจตนาในการนำผู้ที่เกี่ยวข้องมาเข้าสู่กระบวนการ
ยุติธรรม  

(ค)  
ไม่ได้เคยมีหรือกำลังมีการดำเนินการอย่างเป็นอิสระหรือเที่ย
งธรรม  
และได้มีหรือกำลังมีการดำเนินการในกรณีที่ไม่สอดคล้องกับเ
จตนาในการนำผู้ที่เกี่ยวข้องมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม  

เกี่ยวกับคำนิยาม  "ไม่สามารถ"  ดำเนินคดี    ตามมาตราที่  17  (3)  


ของธรรมนูญกรุงโรมให้:  

เพื่อตรวจสอบการไร้ความสามารถในคดีนั้นๆ    
ศาลจะต้องพิจารณาว่า  การยกเลิกหรือความไม่พร้อมของระ
บบตุลาการของชาติ  
ทำให้รัฐไม่สามารถให้ได้ข้อกล่าวหาหรือหลักฐานที่จำเป็นแล
ะพยานหลักฐานหรือไม่สามารถดำเนินการอย่างอื่นได้.  

หากศาลอาญาระหว่างประเทศพบว่ากรณีใด  ๆ  
ที่กล่าวถึงข้างต้นเหล่านี้เข้าเกณฑ์ที่กำหนด  
ก็อาจประกาศให้คดีดังกล่าวเป็นที่จะยอมรับได้และดำเนินการในคดีดังก
ล่าวโดยใช้เขตอำนาจศาล  
แม้จะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดีอยู่ในปัจจับุนหรือในอดึต
ที่ผ่านมาในคดีเดียวกันในระดับชาติ  

หลั ก การไม่ พ ิ จ ารณาคดี ซ ้ ำ  

ในกรณีที่คดีดังกล่าวได้ขั้นสู่กระบวนการยุติธรรมภายในประเทศ  
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศได้บัญญัติข้อยกเ
ว้นไว้ในมาตรา  20  ว่า  หากกระบวนการพิจาณาคดีภายในถึงที่สุดแล้ว  
คำตัดสินนั้นมีผลทำให้การดำเนินคดีโดยศาลไม่สามารถกระทำได้  ยกเว้น  
หากเป็นการ  “ดำเนินคดีอันจอมปลอม”  
เพราะสามารถตีความได้ว่ากระบวนการพิจารณาคดีดังกล่าวนี้ถูกใช้ปกป้

157
องผู้กระทำผิดจากความรับผิดหรือการดำเนินคดีทางอาญา  
ซึ่งเป็นการดำเนินคดีที่ไม่เป็นอิสระและยุติธรรม  
เพื่อพยายามจะนำบุคคลดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม  

6.3     ปรั บ ใช้ ก ั บ สถานการณ์ ไ ทย  

สืบเนื่องจากข้อกำหนดในเรื่องความสำคัญ  
ตำร้องฉบับนี้ได้อธิบายรูปแบบของเหตุการณ์ตามลำดับความสำคัญ  
การฆ่าโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมหรือการฆ่าตัดตอนส่วนใหญ่ไม่ไ
ด้เกิดจาก“ความรุนแรงของการสู้รบ,”  
แต่เกิดจากพลซุ่มยิงที่เล็งเป้าสังหารพลเมืองที่ปราศจากอาวุธจากระยะไ
กล  นอกเหนือไปจากนั้น  
รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดฉุกเฉินที่กำหนดขึ้นมาเองโดยพลกา
ร  
เพื่อมีจุดประสงค์ในการอำนวยความสะดวกให้รัฐบาลในการสร้างหลักเก
ณฑ์ที่เป็นกฎหมายหลอกที่ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญของพลเมือง  
โดยรัฐบาลมีอำนาจในการจับกุมและกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้สนับสนุนฝ่ายตร
งข้ามหลายร้อยคน  รวมถึงจำกัดการถือครองสิทธิ์อื่น  ๆ  
ที่กำหนดไว้ในสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  (ICCPR)  
ตามที่ได้เน้นในคำร้องฉบับนี้  
การกระทำที่เป็นความผิดทั้งหมดที่กล่าวมานั้นไม่มีความชอบธรรมเลยแ
ม้แต่นิดเดียว  และความเสียหายที่เกิดแก่เหยื่อ,  ครอบครัวของเหยื่อ  
และสังคมโดยรวมนั้นเป็นความเสียหายที่หนักหนาสาหัสอย่างเห็นได้ชัด    
อาจกล่าวได้ว่า  ความรุนแรงจากเหคุการณ์ต่างๆ  
ที่เกิดขึ้นในช่วงสี่สิบปีที่แล้วเป็นต้นมาได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ  
การละเว้นโทษทำให้ทหาร/ตำรวจและข้าราชการพลเรือนไม่ต้องรับความ
ผิดในขณะที่ประชาชนหลาร้อยรายถูกสังหารหมู่ในปี  2516,  2519  และ  2535  
ซึ่งการละเว้นโทษนี้ทำให้รัฐบาล  “กลุ่มอำนาจเก่า”  
ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งต่อต้านการเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยโดยกา
รหันปืนใส่ประชาชนของเขาเอง    

158
เนื่องจากปัญหาด้านความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายนั้นไม่เคยมีการพูดถึงใ
นประวัติศาสตร์ชาติไทยหรือแม้แต่จะมีการแก้ไขปัญหานี้บรรจุอยู่ในขั้นต
อนการดำเนินการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง  
ทำให้เชื่อว่าจะมีการสอบสวนหาข้อเท็จจริงที่จริงจังและเป็นกลางในเร็วๆ    
นี้  
กว่าที่คณะบริหารงานของนายอภิสิทธิ์จะยอมรับหน้าที่ในการตรวจสอบห
าข้อเท็จจริงในการกระทำรุนแรงต่างๆ  
ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคมปี  2553  
มาตรการที่มีก็ใช้เวลาเป็นเดือนๆ  ในการพิจารณานับตั้งแต่การสังหารหมู่  
ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นนี่การกระทำเพื่อปกปิด  
ตามสถานการณ์ที่ยกตัวอย่างไว้ในมาตราที่  17(2)  ของธรรมนูญกรุงโรม  
การสืบสวนที่กระทำโดยรัฐบาลไทยมี  
ความล่าช้าอย่างไม่มีเหตุผลและการขาดความเป็นกลางและความยุติธร
รมโดยสิ้นเชิง  หลักฐานแสดงให้เห็นว่าขั้นตอนต่างๆ  
ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของไทยนั้นมีเป้าหมายเพื่อการ  
ปกป้องผู้ที่กระทำความผิดจากการรับโทษตามความผิดทางอาญา    
มากกว่าเป็นการดำเนินการ  
เพื่อประโยชน์ในการนำบุคคลที่ต้องรับผิดชอบมาเข้าสู่กระบวนการยุติธร
รม  มีหลายปัจจัยที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยนั้นทั้ง  "ไม่เต็มใจ"  และ  
"ไม่สามารถดำเนินการอย่างจริงใจ"  
ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการสังหารหมู่ในกรุงเทพฯได้      

ประวั ต ิ ค วามเป็ น มาของการละเว้ น โทษ  

การสังหารหมู่ในปี  2553  ในกรุงเทพฯ  


มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสี่สิบปีที่แล้ว    
เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นที่รู้จักกันดีเพราะเป็นเหตุการณ์ที่กองทัพไทยได้ใช้
กำลังรุนแรงในการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงขนาดใหญ่ที่เรียกร้องให้มีก
ารจัดตั้ง  (หรือฟื้นฟู)  
ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยช่วงเดือนตุลาคม  2516,  ตุลาคม  2519  
และพฤษภาคม  2535  
ทั้งสามเหตุการณ์ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครออกมารับผิดชอบต่อการตายของ
ผู้ประท้วงเลยแม้แต่ครั้งเดียว  
คงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลนักที่จะหวังให้มีการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง
ในประเทศไทยที่ยุติธรรมและสมบูรณ์ต่อการสังหารในเหตุการณ์ครั้งล่าสุ
ดนี้  

159
โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่าเหตุการณ์ทั้งสี่ครั้งที่ผ่านมาล้วนแต่มีตัว
แปรที่คล้ายกันมากและยังมีผู้เล่นคนเดิมอีกด้วย    

นอกจากตัวเลขของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บแล้ว    
ยังมีอย่างน้อยอีกสามเรื่องใหญ่ๆ    
ที่มีความคล้ายคลึงกันกับการสังหารหมู่ในปี    2553  
และการปราบปรามประชาชนของทหารในปี  2516,  2519  และ  2535  

เรื่องที่หนึ่ง    
ซึ่งไม่ต่างกับการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยเหมือนครั้งที่ผ่านๆ  
มา  
คนเสื้อแดงได้กลายเป็นเหยื่อของสงครามสื่อที่เสนอภาพของพวกเขาว่าเ
ป็น  “ผู้ก่อการร้าย”  และเป็นปรปักษ์ต่อระบอบกษัตริย์  
การทำให้กลุ่มผู้ประท้วงกลายเป็นผู้ร้ายอย่างเป็นระบบเป็นเทคนิคที่รัฐใช้
สร้างแรงสนับสนุนจากประชาชนเพื่อให้รัฐการกระทำความรุนแรงได้  
เทคนิคนี้นับว่าเป็นเทคนิคที่มีประวัติอันยาวนานในประเทศไทย  
แล้วรัฐก็ใช้เทคนิคที่ว่านี้กับการประท้วงมาโดยตลอด  ยกตัวอย่างเช่น  
ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ  ในปี  2535  
กลุ่มผู้ประท้วงถูกมองว่าเป็น  “นักปฎิวัติ”  หัวรุนแรง  
ที่หมายจะโค่มล้มสถาบันพระมหากษัตริย์135    
ในขณะที่ในเหตุการณ์ก่อนหน้านี้  ทหารก็ได้เรียกกลุ่มผู้ประท้วงในปี  2516  
ว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์  

การบรรยายภาพของเสื้อแดงในสายตาของรัฐบาลชวนให้นึกถึงวิธีการที่
ทหารได้พยายามทำให้ประชาชนเชื่อว่าการสังหารผู้ประท้วงที่เป็นนักศึกษ
าเป็นสิบๆ    ราย  ซึ่งมีนักศึกษาบางรายถูกทรมาน,  
ถูกทุบตีตามร่างกายจนจำสภาพไม่ได้  และถูกเผาทั้งเป็น  
ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในวันที่  6  ตุลาคม  2519  
136  เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว  ซึ่งก็เหมือนกันกับกรณีคนเสื้อแดง  

นักศึกษาที่รวมตัวกันอยู่ภายในแนวรั้วภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็
ถูกกล่าวหาอย่างไม่ถูกต้องว่านักศึกษาได้เก็บสะสมอาวุธมากมายไว้ภาย
ใน  ซึ่งก็เหมือนกันกับกรณีคนเสื้อแดง  นักศึกษาถูกมองว่าไม่ใช่มนุษย์  
โดยมีการใช้ภาษาที่มีลักษณะยั่วยุให้เกิดการฆ่ากันเอง  เช่น  
เรียกนักศึกษาว่าเป็นพวกป่าเถื่อน,  ไม่ใช่คนไทย  
และเหมือนกับเนื้อหาในเพลงปลุกใจที่โด่งดังในช่วงปี  2518  
เป็นต้นมาอย่างเพลง  “หนักแผ่นดิน”  137    ซึ่งก็เหมือนกันกับกรณีคนเสื้อแดง  
นักศึกษาถูกกล่าวหาว่าได้แสดงข้อความที่เป็นภัยคุกคามต่อสถาบันพระม

160
หากษัตริย์,  ถูกแทรกแซงโดยชาวต่างชาติ,  และมีความคิดหัวรุนแรง  ในปี  
2519  นักศึกษาถูกตราหน้าว่าเป็นพวก  “คอมมิวนิสต์”,  แต่ในปี  2553  
รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนการใช้คำให้ทันสมัยต่อบริบทภูมิศาสตร์การเมืองที่เ
ปลี่ยนไปและตราหน้าคนเสื้อแดงว่าเป็น  “ผู้ก่อการร้าย”  

เรื่องที่สอง    ตลอดเหตุการณ์ที่ผ่านมา  
รัฐบาลไทยได้ให้ผู้ก่อกวนความไม่สงบทางการเมืองซึ่งเป็นคนของรัฐบาล
แทรกซึมเข้าไปเพื่อก่อความวุ่นวายและตระเตรียมเหตุการณ์ล่วงหน้าเพื่อ
ให้มีการปราบปรามที่รุนแรง  
เหมือนในกรณึการประท้วงของคนเสื้อแดงในปี  2553  
ผู้ก่อกวนที่เป็นคนของรัฐบาลปลุกปั่นยั่วยุให้มีการจลาจลได้สำเร็จ  
ส่งผลให้ทหารยิงปืนเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วงที่ไม่มีอาวุธในปี  2516  และ  ปี  
2535    วันที่  14  ตุลาคม  2516  
กองกำลังรักษาความปลอดภัยเข้าล้อมผู้ประท้วงที่รวมตัวกันอยู่นอกพระ
ราชวังสวนจิตรลดาฯ  
เพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าม
าแทรกแซงรัฐบาลทหารที่นำโดยอมพลถนอม  กิตติขจร  
และจอมพลประภาส  จารุเสถียร  
เมื่อผู้ประท้วงยอมทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับตัวแทนพระราชวังคือการยอ
มสลายการชุมนุม  
เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังต้อนผู้ประท้วงนับหมื่นคนให้ถอยร่นไปบริเวณลา
นพระราชวังที่ที่ผู้ประท้วงติดอยู่ตรงทางออกแคบๆ  แค่ทางเดียว  
ความโกลาหลวุ่นวายที่ตามมาทำให้ทหารมีข้ออ้างในการยิงใส่กลุ่มผู้ประ
ท้วง138    ซึ่งคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในวันที่  17  พฤษภาคม  2535  
การปราบปรามอย่างรุนแรงของทหารปะทุขึ้นจากเหตุการณ์การจลาจลต่
างๆ  และจากการวางเพลิงที่เกิดขึ้นโดยรอบบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ  
ซึ่งเชื่อว่าต้นเหตุของการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ  
นั้นมาจากกลุ่มคนที่ไม่สามารถระบุตัวได้หรือ  “มือที่สาม”  นั่นเอง      
   

อย่างไรก็ตาม  
ประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของการสร้างสถานการณ์ความตึงเครียดอย่าง
ยืดเยื้อและวินาศกรรมเกิดขึ้นในปี  2553  คือ  
นโยบายความรุนแรงที่กระทำโดยรัฐและกลุ่มอันพาลพลเรือนเพื่อจะทำล

161
ายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเป็นระบบในกลางยุค  70  
ก่อนเหตุการณ์การเลือกตั้งในปี  2519  
ทางการจัดตั้งและสนับสนุนกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน  นวพล  
และกระทิงแดงทางด้านการเงิน  
ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มศาลเตี้ยที่กำจัดกลุ่มฝ่ายซ้าย  นักการเมืองท้องถิ่น  
และนักกิจกรรมตามชนบท  
และกลุ่มดังกล่าวยังมีส่วนรับผิดชอบต่อการจลาจลต่อต้านเชื้อชาติในชุม
นุมคนเวียดนามในภาคอีสาน  
และการวางระเบิดที่สังหารผู้ชุมนุมทั่วประเทศ  
ความรุนแรงสร้างบรรยากาศของความไร้เสถียรภาพและความหวาดกลั
ว  ทำให้นำไปสู่เหตุการณ์การสังหารหมู่ในวันที่  6  ตุลาคม  2519  
ที่กลุ่มอันธพาลชุมนุมในกรุงเทพเพื่อปกป้องประเทศไทยจากภัย  
“คอมมิวนิสต์”  (และผู้ชุมนุมถูกป้ายสีว่าพยายามเผาวัดบวรนิเวศวิหาร)  
กลุ่มอันธพาลเข้าล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสังหารหมู่นักศึกษา  

ประการที่สาม  หลักจากเหตุการณ์การสังหารหมู่ดังกล่าว  
รัฐบาลพยายามโทษว่าเป็นความผิดของเหยื่อ  
ก่อนจอมพลถนอมและจอมพลประภาส  
และกองกำลังของพวกเขาจะเดินทางออกนอกประเทศไทย  
นายทหารทั้งสองนายพยายามจะสร้างความชอบธรรมให้กับการสังหารป
ระชาชนในวันที่  14  ตุลาคม  2516  
ดัวยการยืนยันว่าผู้ชุมนุมมีส่วนรับผิดชอบในเหตการณ์ความรุนแรง  
และบางคนติดอาวุธสงคราม  
เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังความรุนแรงวันที่  17-­‐18  พฤษภาคม  
2535  ที่กองทัพอ้างว่ายิงเพื่อป้องกันตัวเท่านั้น  
และรายการโทรทัศน์ยังกล่าวหาผู้ชุมนุมว่าติดอาวุธและพยายามบุกเข้าไ
นพระราชวังจิตรลดาโรหฐานซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างไม่มีมูล  

 อีกครั้งที่แสดงให้เห็นว่า  เหตุการณ์สังหารหมู่ปี  2553  


นั้นคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ปี  2519  ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ป่าเถื่อน  
นักศึกษานับร้อยถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุม  
ซึ่งคล้ายกับแกนนำเสื้อแดงในเหตุการณ์ปัจจุบัน  นอกจากนี้  
ผู้นำนักศึกษาปี  2519/กลุ่มเคลื่อนไหวภาคแรงงานชื่อว่า  “Bangkok  
Eighteen”  ถูกดำเนินคดีในศาลทหารหลายข้อหา  
รวมถึงข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระบรมโอรสาธิราช  
จัดกองกำลังติดอาวุธ  สมรู้ร่วมคิดกับกลุ่มคอมมิวนิสต์  
สังหารและพยายามสังหารเจ้าหน้าที่รัฐ  

162
พวกเขาถูกปล่อยตัวหลังจากมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมในปี  2522  
ซึ่งเป็นกฎหมายละเว้นความผิดไม่ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐบาล  
เจ้าหน้าที่รัฐ  และกลุ่มศาลเตี้ย  
ซึ่งเป็นผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์สังหารหมู่  

เหตุการณ์การชุมนุมตามมาด้วยความรุนแรงล่าสุดนั้นมีส่วนคล้ายคลึงกั
บเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ปี  2516,  2519  และ  2535  ตัวอย่างคือ  
คนเสื้อแดงที่เรียกร้อง  
“ประชาธิปไตย”ถูกรัฐบาลกล่าวหาว่าเป็นแนวคิดจอมปลอมที่เป็นภัยต่อบ้
านเมือง  คนเสื้อแดงกระทำความรุนแรง  
บุกรุกและทำลายอสังหาริมทรัพย์  
ทั้งนี้เพราะในสถานการณพวกเขาถูกโจมตี  แต่พวกเขาไม่ใช่  
“ผู้ก่อการร้าย”  ติดอาวุธอย่างที่รัฐบาลกล่าวหา    อย่างไรก็ตาม  
การกล่าวหาที่เลวร้ายว่าผู้ชุมนุมมีหัวรุนแรงและใช่วิธีการรุนแรงนี้เป็นไปเ
พื่อเป็นข้ออ้างให้ทหารกดขี่และยิงผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธอย่างไม่ต้องรับผิดใ
ดๆ  แม้กระทั่งปัจจุบัน  
กลุ่มอำมาตย์ไทยยังตอบโต้ผู้เรียกร้องประชาธิปไตย  

องค์ประกอบอีกข้อที่มีลักษณะคล้ายกันในการสังหารหมู่ก่อนหน้านี้คือ  
ไม่มีผู้กระทำความผิดคนใดถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือรับผิด
ใดๆต่อการสังหารประชาชน  
ไม่มีผู้มีส่วนรับผิดชอบคนใดต่อเหตุการณ์สังหารหมู่ปี  2516  ถูกดำเนินคดี  
ในขณะที่อาชญากรรมในเหตุการณ์ในปี  2519  และ  2535  
ถูกเปลี่ยนจากดำให้เป็นขาว  
และมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้เกี่ยวข้อง  
และมีเพียงเหตุการณ์ความรุนแรงพฤษภาฑมิฬปี  2535  
เท่านั้นที่มีการสอบสวนอย่างจริงจัง  อย่างไรก็ตามรายงานในปี  2543  
ตอบคำถามบางอย่าง    60เปอร์เซ็นต์ของรายงาน  
และข้อมูลที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ทหาร  กรมกอง  
คำสั่งและการกระทำถูกแก้ไขบนพื้นฐานของข้อมูลส่วนตัวของผู้ที่มีส่วนรั
บผิดไม่ถูกละเมิด  

สามารถกล่าวเพิ่มเติมได้ว่า  “การสอบสวน”  
ของรัฐบาลอยู่ในมาตราฐานที่แย่  
โดยล้มเหลวที่จะสอบสวนถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งกระทำโดยรัฐบาล  
อาทิเช่น  การเสียชีวิตของผู้ลี้ภัยชาวโรหิงญ่าทั้ง  500  ราย  
เพราะกองทัพเรือผลักเรือของพวกเขาออกไปยังน่านน้ำสากลในเดือนมก

163
ราคม  2552  
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้คาดว่าการสอบสวนเหตุการณ์เดือนเมษายนและ
พฤษภาคม  ปี  2553  ไม่น่าจะมีความคืบหน้าเช่นกัน  

 ก ารขาดความเป็ น อิ ส ระของระบบตุ ล าการ  

นักวิชาการและผู้สังเกตการณ์ต่างทราบและเห็นการถึงที่แทรกแซงทางกา
รเมืองของระบบตุลาการที่เพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างดี  
และในเวลาเดียวกับมีการใช้ระบบตุลาการเป็นเครื่องมือทางการเมือง    

นอกจากศาลจะไม่มีความน่าเชื่อถือและเต็มไปด้วยการโกงกิน  
ซึ่งเหมือนเป็นโรคระบาดในสถาบันรัฐบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทย  
ครั้งแล้วครั้งเล่า  
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าศาลกระทำตามแรงกดดันจากกลุ่มอำมาตย์  
ในเดือนเมษายน  2549  
มีการเผยแพร่วิดีโอเสียงบทสนทนาทางโทรศัพท์ของตุลาการศาลรัฐธรร
มนูญเกี่ยวกับการตัดสินให้ผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะโดยเหตุผลทางเมืองทั้
งหมด  และมีวิดีโอถูกถูกเผลแพร่กลางเดือนตุลาคมปี  2553  
โดยวิดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ในเวปไซต์ยูทูป  
ซึ่งวิดีโอดังกล่าวแสดงภาพให้เห็นว่าสมาชิกทีมกฎหมายของพรรคประชา
ธิปัตย์กำลังขอให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญช่วยเหลือในคดียุบพรรค  
และยังมีการสนทนาว่าหากศาลปล่อยให้พรรคประชาธิปัตย์หลุดคดี  
อาจจะทำให้คนเสื้อแดงอ้างถึง  “ความสองมาตรฐาน”  
นอกจากนี้ตุลาการยังเรียกนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่า  “มัน”  
ตลอดการสนทนา  ซึ่งในประเทศไทยใช้เรียกสัตว์  ในวิดีโอดังกล่าว  
ยังสามารถได้ยินตุลาการศาลรัฐธรรมนูญปรึกษากันว่าจะขโมยข้อสอบเข้
าทำงานที่ศาลไปให้ญาติพี่น้องของตนได้อย่างไร  
ในขณะที่มีการดำเนินคดีกับบุคคลที่อัดและเผยแพร่วิดีโอดังกล่าว  
แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูณได้ถูกดำเนินคดีหรือสอบสวนวินัยถึงเรื่องกา
รกระทำทุจริตแต่อย่างใด  

การใช้ระบบตุลาการเป็นเครื่องมือทางการเมือง  
เป็นสิ่งที่ยืนยันว่ารัฐจะไม่ทำการสอบสวนถึงความรุนแรง  

164
หรือปฏิบัติต่อคนเสื้อแดงที่ถูกกล่าวหาทางอาญาร้ายแรงอย่างเหมาะสม
และยุติธรรม  

กรมสอบสวนคดี พ ิ เ ศษ  

ในวันที่  20  เมษายน  2553  ศอฉ.ได้มอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ  


(ดีเอสไอ)  ทำหน้าที่สอบสวนการสังหารในกรุงเทพมหานคร  
การโอนอำนาจการสอบสวนคดีจากกรมตำรวจทำให้การสอบสวนที่ดำเนิ
นไปอย่างกว้างหน้าของกรมตำรวจหยุดชะงักลงทันที  
เมื่อมีการมอบอำนาจในการสอบสวนให้ดีเอส  
ทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่มีความน่าเชื่อถือที่จะทำการสอบสวนที่เป็นอิสระแล
ะเป็นธรรม  

ปลายเดือนสิงหาคม  2553  
หลังจากดีเอสไอประกาศว่าจะมีการรายงานผลความคืบหน้าของการสอ
บสวนและผลการชันสูตรของศพผู้เสียชีวิตทั้ง  ๙๑  ศพ  ให้ประชาชนทราบ  
ดีเอสไอจัดการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและปฏิเสธที่จะเปิดเผยถึงความคืบ
หน้าอย่างทันที  แม้ว่าก่อนหน้านี้  นายธาริต  เพ็งดิษฐ์  
ผู้อำนวยการดีเอสไอได้ออกมาประกาศว่าการชันสูตรทั้งหมดเสร็จสิ้นสม
บูรณ์แล้ว  แต่โฆษกดีเอสไอกลับคำพูด  
และกล่าวว่ามีการชันสูตรศพเสร็จสิ้นแล้วเพียง  ๔๒  ศพ  
และจะไม่มีการเปิดเผยผลการชุนสูตรดังกล่าวจนกว่าการสอบสวนทั้งหม
ดเสร็จสิ้น  นอกจากนี้  โฆษกดีเอสไอยังรีบประกาศว่า  
ในรายงานบางส่วนที่เขาไม่สามารถเปิดเผยได้นั้น  ระบุว่า  
ศพทั้งหมด“ไม่ได้”  ถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ  หลายเดือนหลังจากนั้น  
ดีเอสไอยังคงเก็บผลการชันสูตรไว้เป็นความลับ  
เจ้าหน้าที่วงในที่รู้ว่ารัฐบาลพยายามปกปิดหลักฐานการกระทำผิดกฎหม
ายได้แอบนำเอกสารดังกล่าวออกไปให้สื่อมวลชน  
รวมถึงรายงานผลชันสูตร  คำให้การพยาน  
และผลการสอบสวนเหตุการณ์แวดล้อมของการตามของประชาชนกว่า  
12  รายในการชุมนุม  ในแต่ละคดี  
เจ้าหน้าที่สอบสวนสรุปว่าเป็นการสังหารโดยเจ้าหน้าที่รัฐ  

165
คดีพิเศษของดีเอสไอ  หมายเลขคดี  61/2553  ซึ่งเป็นคดีของนายมูราโมโต  
ซึ่งสอยสวนถึงการละเมิดกฎหมายอาญาไทน  มาตรา  288  และมาตรา  289  
(การฆ่าโดยเจตนา)  การสอบสวนกระทำโดยเข้าหน้าที่ดีเอสไอสองนาย  
ได้แก่  พันตำรวจโทวีรวัชร์  เดชบุญภา  และพันตำรวจโทบัณฑูร  ฉิมกระ  
(“เจ้าหน้าที่สอบสวนดีเอสไอ”)  เจ้าหน้าที่สอบสวนสัมภาษณ์พยาน  
7รายที่อยู่ในเหตุการณ์บริเวณถนนดินสอ  
ซึ่งเป็นบริเวณที่มูราโมโตมอบหมายจากสำนักข่าวรอยเตอร์ให้ไปบันทึกภ
าพการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  
พยานในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่วมใส่เสื้อผ้าธรรมดา  
ซึ่งยืนอยู่ห่าจากมูรามูโตเพียง  1  เมตร  ตอนที่มูราโมโตถูกยิง  
และดูแลมูราโมโตจนกระทั่งถูกส่งตัวไปรักษาพยาบาล  

จากการสัมภาษณ์พยาน  เจ้าหน้าที่สอบสวนตีพิมพ์ข้อเท็จจริงดังนี้  (1)  


นายมูราโมโตเสียชีวิตจากกระสุกความเร็วสูง  ยิงทะลุหน้าอกซ้าย  
พุ่งออกทางต้นแขนขวา  (2)  กระสุนปืนไรเฟิลมาจากทหารราบที่  2  
(ทหารเสือราชินี)  ภายต้การนำของพันเอกธรรมนูญ  วิถี  
ซึ่งเป็นคนที่เห็นนายมูราโมโตบันทึกภาพวิดีโอการชุมนุม  และ  (3)  
นายมูราโมโตถูกยิงขณะที่หันข้าง  
และใบหน้าด้านข้างเขาหันไปทางกองทัพ  
และเขาถูกยิงในขณะที่บันทึกภาพวิดีโอของการชุมนุมคนเสื้อแดง  
ซึ่งยืนยันได้จากกล้องวิดีโอของเขา  
และตอนนี้กล้องอยู่ในการครอบครองของดีเอสไอ  

 จากข้อมูลนี้  เจ้าหน้าที่สอบสวนสรุปว่าการเสียชีวิตของมูราโมโตเกิดจาก  
“การยิงของทหารในขณะทำหน้าที่”  
และเจ้าหน้าที่สอบสวนแนะนำให้มอบหมายคดีดังกล่าวให้สำนักงานตำรว
จเพื่อทำการสอบสวนที่เหมาะสมภายใต้กฎหมายไทย  

คดีพิเศษของดีเอสไอ  หมายเลขคดี  3234/2553  


เกี่ยวข้องกับการสอบสวนการเสียชีวิต  6ราย  ที่เสียชีวิตในวันที่  19  
พฤษภาคม  2010  ภายในวัดปทุมวนาราม  
ซึ่งเป็นสถานที่ที่คนเสื้อแดงเข้าไปหลบภัยหลังจากแกนนำเสื้อแดงประกา
ศสลายการชุมนุม  
การสอบสวนกระทำโดยเจ้าหน้าที่ดีเอสไอพันตำรวจโททรนินท์  กลางทอง  
และนภัสนันท์  วัฒนาทัชพงษ์  เจ้าหน้าที่สอบสวนสัมภาษณ์พยาน  41ราย  
และรวบรวมหลักฐานหลายชิ้น  รวมถึงรายงานทางการแพทย์  

166
รายงานวิถีกระสุน  อาวุธ  วิดีโอบันทึกเหตุการณ์  
และสำเนาการเบิกจ่ายอาวุธของทหารแต่ละนาย  

จากหลักฐานดังกล่าว  เจ้าหน้าที่สอบสวนเขียนรายงานระบุว่า  (1)  


กองพันรบพิเศษที่  1  ทั้ง4กอง  
และกรมรบพิเศษที่สามถูกสั่งให้ประจำการบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสที่อยู่นอ
กวัดในตอนกลางวัน  วันที่  19  พฤษภาคม  2553  
ภายใต้การนำของพันตรีนิมิตร  วีระพงศ์  (2)  ทหาร  
5นายยิงกระสุนจริงเข้าไปในบริเวณวัด  โดยใช้ปืนไรเฟิล  ชนิด  M16A2  
ยิงกระสุน5.56  มม.  (3)  สะเก็ดหัวกระสุนเขียวขนาด  5.56มม.  
ซึ่งเป็นชนิดที่กองพันรบพิเศษที่  1  และกรมรบพิเศษที่สามใช้  
เป็นชนิดเดียวที่พบในร่างของเหยื่อทั้ง  6ราย  (4)  
กระสุนที่พบในร่างของเหยื่อถูกยิงจากที่สูง;  และ  (5)  ปอกกระสุนขนาด  
5.56มม.ยังพบอยู่บนรางรถไฟฟ้า  บริเวณนอกวัด  
เมื่อพิจารณามหลักฐานเหล่านี้  
เจ้าหน้าจึงสรุปว่ามีมูลที่น่าเชื่อถือว่าเหยื่อทั้ง  
6รายที่อยู่ในบริเวณวัดถูกทหารสังหาร  
โดยทหารยิงกระสุนลงมาจากรางรถไฟฟ้าบริเวณนอกวด  
และคดีดังกล่าวควรมอหบมายให้สำนักงานตำรวจทำการสอบสวนที่เหม
าะสมภายใต้กฎหมายไทย  

มีรายงานอย่างน้อยอีก  8  รายงานที่รั่วไหลออกมาสู่สื่อมวลชน  
ซึ่งมีข้อสรุปเดียวกัน  
โดยระบุว่าทหารในกองทัพไทยมีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหารพลเรือนที่ป
ราศจากอาวุธในระหว่างการสลายการชุมนุม  อย่างไรก็ตาม  
เมื่อมีการส่งยื่นเอกสารนั้นให้ผู้บังคับบัญชาในดีเอสไอ  
เอกสารนั้นกลับถูกปกปิด  

ไม่เพียงแต่ไม่มีการดำเนินคดีทางกฎหมายหรือดำเนินการทางวินัยต่อเจ้
าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเท่านั้น  แม้จะมีหลักฐานมากมาย  แต่โฆษกศอฉ.  
พันเอกสรรเสริญ  แก้วกำเนิดยังอ้างว่า  
  “ผมขอปฏิเสธอย่างมั่นใจว่ากองทัพไม่ได้สังหารหรือทำร้ายคนเสื้อ
แดงหรือผู้ชุมนุม”  ในที่สุด  วันที่  20  มกราคม  2554  
ดีเอสไอประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับผลการสอบสวนที่รอคอยกันม
านาน  ไม่น่าแปลกใจที่ผู้อำนวยการดีเอสไอ  นายธาริต  
เพ็งดิษฐ์ปล่าวประกาศว่า  “ยังไม่มีการสรุป”  
ผลการสอบสวนถึงการสังหารของผู้สียชีวิตส่วนใหญ๋  

167
รวมถึงเหตุการณ์ที่กล่าวไว้ข้างต้นที่ระบุว่าเจ้าหน้าสอบสวนดีเอสไอได้ระ
บุบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวไว้ในรายงาน  
นายธาริตยังยกข้ออ้างหลายข้อระบุถึงความล้มเหลวของเจ้าหน้าที่ดีเอสไ
อในการระบุตัวบุคคลผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตดังกล่าว  

คำให้การของพยานปากที่  22  
คือข้อมูลประกอบที่ได้มาจากเจ้าหน้าที่รัฐไทยที่มีหน้าที่บังคับใชกฎหมาย  
“อยู่ในตำแหน่งที่รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับการสอบสวนซึ่งกระทำโดยสำนั
กงานตำรวจและดีเอสไอ”  ขอย้ำเตือนอีกครั้งหนึ่งว่า  
คำให้การนี้เกี่ยวข้องบุคคลที่ต้องเสี่ยงต่อหน้าที่การงานและชีวิตดังนั้นจึง
เป็นเรื่องลำบากที่จะระบุชื่อ  
คำให้การระบุถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการสอบสวนคดีการสังหารของดีเอสไอ  
เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ที่จะหยิบยกคำให้การเต็มขึ้นมาอีกครั้ง  
เพราะแสดงให้เห็นถึงความพยายามปกปิดหลักฐานของดีเอสไอหลายครั้
ง  

     

พยานเป็นข้าราชการรับราชการในกรุงเทพ  
ตำแหน่งพยานทำให้พยานรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการสอบสวนของ
สำนักงานตำรวจ    (“ตำรวจ”)  กรมสอบสวนคดีพิเศษ  (“ดีเอสไอ”)  
เกี่ยวกับการสังหารที่เกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดงใน
กรุงเทพเมื่อเดือนเมษษยนและพฤษภาคม  ปี  2553  

รัฐบาลมีนโยบายอย่างเป็นทางการที่จะปกปิดและทำลายหลักฐานทั้
งหมดที่เกี่ยวกับการกระทำผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการสังหารพ
ลเรือนของรัฐบาลหรือผู้นำกองทัพ  
ตัวอย่างแรกคือรัฐจะส่งคือศพของเหยื่อพลเรือนเมื่อแน่ใจว่าครอบ
ครัวของเหยื่อจะประกอบพิธีฌาปนกิจ  
เป็นการทำลายความเป็นไปได้ที่อาจมีการพิสูจน์หรือตั้งคำถามในร
ายงานทางการแพทย์  และอีกตัวอย่างหนึ่งคือ  
นโยบายของกรุงเทพมหานคร-­‐  โดยการสั่งการของศอฉ.  –  
ให้ทำความสะอาดถนนในกรุงเทพทันทีหลังจากการชุมนุมของคนเสื้

168
อแดงสิ้นสุดลงในวันที่  19  พฤษภาคม  นี่คือนโยบายที่คงอยู่หลายวัน  
และผลก็คือ  
กรุงเทพมหานครทำลายหลักฐานวัตถุของกการตายของพลเรือนแ
ละสถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่  
นโยบายนี้ละเมิดต่อกฏหมายไทยที่ให้มีการเก็บหลักฐาน  
แต่นโยบายนี้สั่งการเพื่อมีวัตถุประสงค์ในการเคลื่อนย้ายหลักฐานก
ารกระทำผิดทางอาญาของผู้นำทหารและ/หรือรัฐบาลไทย  

หลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงในกรุงเทพที่เกิดขึ้นในวันที่  10  
เมษายน  2553  ในระหว่างที่ประชาชนราว  25คนถูกสังหาร  
ศอฉ.ให้อำนาจดีเอสไอในการสอบสวนคดี  
สาเหตุที่ตำรวจไม่ได้รับมอบหมายให้สอบสวนคดีนี้เพราะตำรวจมีจ
ำนวนมากและมีหลายหลายความเห็น  
จึงยากที่จะควบคุมผลการสอบสวน  
ตรงกันข้ามกับดีเอสไอซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก  นอกจากนี้  
ผู้อำนวยการดีเอสไอ  นายธาริต  เพ็งดิษฐ์  
และรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ  
เทือกสุบรรณยังเป็นสมาชิกศูนย์อำวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
อีกด้วย  (ศอฉ.)  อย่างไรก็ตาม  
การมอบหมายคดีนี้ให้ดีเอสไอแสดงถึงความขัดแย้งทางผลประโยช
น์โดยรวมที่ว่าสมควรหรือไม่ที่จะทำการสอบสวนคดีที่เกี่ยวกับการสั
งหารในวันที่  10  เมษายน  

แม้กระนั้น  ในวันที่  16  เมษายน  2553  ผู้อำนวยการดีเอสไอ  


นายธาริตได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนการสังหารในวั
นที่  10  เมษายน  นายธาริตมอบหมายให้เจ้าหน้าสอบสวนดีเอสไอ  
นายวีรวัชร์  เดชบุญภา  ซึ่งเป็นคนของนายธาริต  
ทำการสอบสวนการเสียชีวิตทั้ง  25  รายอย่างรวดเร็ว  
ซึ่งนายวีรวัชร์ไม่ทำการสอบสวนคดีดังกล่าวเลย  
หลังจากการสังหารในเดือนพฤษภาคม  ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพื่อเป็น  89  

169
รายนายวีรวัชร์ก็ได้รับมอยหมายให้สอบสวนคดีดังกล่าวอีก  
จนถึงปัจจุบันนี้  
นายวีรวัชร์ล้มเหลวในการทำการสอบสวนการเสียชีวิตของพลเรือน
ผู้บริสุทธิ์  และพยายามโยนความผิดให้กับแกนนำเสื้อแดงที่ถูกคุมขัง  
เพื่อสนับสนุนข้อกล่าวก่อการร้ายที่รัฐบาลป้ายให้แกนนำเสื้อแดงอ
ย่างออกนอกหน้า  
 

ตรงข้ามกับหน้าที่  
การสอบสวนของนายวัรวัชร์เต็มไปด้วยความลำเอียงเอื้อประโยชน์
ให้แก่ฝ่ายรัฐบาล  
อย่างเช่นของสรุปการสอบสวนของนายวัรวัชร์ที่ระบุว่าคนเสื้อแดงมี
ส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ระเบิดที่ถนนดินสอในคืนวันที่  10  
เมษายน  2553  ซึ่งทำให้พันเอกร่มเกล้า  
ธุรวธรรมและเจ้าหน้าที่ทหารอีกหลายคนเสียชีวิต  อย่างไรก็ตาม  
ข้อสรุปของเขาไม่มีหลักฐานใดสนับสนุนเลย  
การขาดหลักฐานนี้ยิ่งชัดเจนเมื่อไม่การจับกุมบุคคลที่วางระเบิด  

ช่วงเวลาระหว่างวันที่  13-­‐19  พฤษภาคม  2553  


ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นกว่า  60  รายในเหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดง  
แต่นายธาริตไม่ได้มอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำการสอบสวนจ
นกระทั่งวันที่  30  สิงหาคม  2553  
ทั้งนี้เนื่องจากมีเสียงเรียกร้องจากประชาชน  
ความล้าช้านี้ถือเป็นการละเมิดกฎหมายไทย  
ที่กำหนดระยะเวลาในการสรุปผลการสอบสวนถึงการเสียชีวิตที่กระ
ทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ  

คดีที่เหลือหลายคดีถูกมอบหมายให้เจ้าหน้าที่สอบสวนที่ไม่ต้องการ
จะมองข้ามความจริง  
และไม่ต้องการฟอกอาชญากรรมเพียงเพราะต้องการซื่อสัตย์ต่อนา
ยธาริตหรือนายอภิสิทธิ์  
แน่นอนว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของดีเอสไอปฏิบัติตามหน้าที่  
และไม่ต้องการจะสร้างหลักฐานหรือปกความจริงเพื่อสนับสนุนข้อส
รุปที่มีธงไว้แล้ว  ณ.จุดนี  ้
การสอบสวนการเสียชีวิตของการเสียชีวิตของประชาชน  89  

170
รายที่ทำโดยเจ้าหน้าที่สอบสวนมีความก้าวหน้ากว่าครึ่งหนึ่ง  
โดยมีข้อสรุปเบื้องต้นว่ากลุ่มทหารจากกองทัพไทยภายใต้การนำขอ
งรัฐบาลและศอฉ.มีส่วนรับผิดชองต่อการเสียชีวิตส่วนหนึ่ง  

เจ้าหน้าที่สอบสวนดีเอสไอบางรายถูกผู้บัญชาการสั่งให้เปลี่ยนผลก
ารสอบสวนดังกล่าว  

เหตุการณ์สังหารในช่วงวันที่  13-­‐19  พฤษภาคม  


2553ถูกมอบหมายให้แก่เข้าหน้าที่ที่ภักดีต่อนายธาริต  
และเต็มใจที่จะเพิกเฉยต่อกระบวนการการสอบสวนที่ถูกต้องเหมาะ
สม  เจ้าหน้าที่สอบสวนดีเอสไอเหล่านี้ไม่ทำการสอบสวนใดๆเลย  
นอกจากนี้พวกเขายังหวังที่จะนายธาริตจะแนะนำให้รัฐบาลเลื่อนตำ
แหน่งให้พวกเขาเป็นแบบพิเศษ  

ในขณะนี้  
เจ้าหน้าที่ดีเอสไอบางนายทำรายงายเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการเสียชีวิ
ตของประชาชนอย่างน้อยสี่รายที่เสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม  2553  
เสร็จสิ้นแล้ว  
ซึ่งสรุปว่าทหารบางนายจากกองทัพภายใต้คำสั่งรัฐบาลมีส่วนรับผิ
ดต่อการเสียชีวิตของบุคคลดังกล่าว  
หลังจากนั้นดีเอสไอจะปรึกษากับสำนักงานอัยการเพื่อขอให้อัยการ
ทำงานร่วมกับเจาหน้าที่สอบสวนของดีเอสไอเพื่อจะพิจารณาว่ากา
รสังหารนั้นกระทำโดยเจตนา  หรือเป็นการป้องกันตัว  อย่างไรก็ตาม  
นายธาริตยังไม่ได้เริ่มการสอบสวนถึงเจตนาของการกระทำนั้น  
ซึ่งขัดต่อกระบวนการของดีเอสไอและกฎหมายไทย  
และยังเป็นความพยายามที่จะทำให้คดีล่าช้า  

ผู้อำนวยการดีเอสไอ  
นายธาริตมีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามที่จะทำให้ผลการสอบส
วนของดีเอสไอล้าช้า  
เห็นได้จากความล้มเหลวของนายธาริตที่จะเริ่มทำการสอบสวนในเ
รื่องของเจตนาการกระทำ  
ความล้มเหลวในการทำให้คดีมีความคืบหน้า  
ซึ่งอย่างน้อยมาจากการที่นายธาริตเป็นสมาชิกของศอฉ.  
ซึ่งในทำให้เขาไม่สนใจสอบสวนคดี  

นอกจากนี้  
ยังรวมถึงความพยายามของรัฐบาลในการปกปิดหลักฐาน    

171
ผู้อำนวยการดีเอสไอ  
นายธาริตห้ามเจ้าหน้าที่สอบสวนของดีเอสไอเรียกเจ้าหน้าที่ทหารจ
ากกองทัพมาสอบสวน  
ซึ่งขัดต่อหลักปฏิบัติของดีเอสไอที่สามารถสอบสวนบุคคลที่ดีเอสไอ
สรุปว่ามีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหาร  

ในเดือนพฤษจิกายน  2553  
เอกสารรายงานดีเอสไอที่เกี่ยวกับการสังหารประชาชนในเดือนพฤ
ษภาคม  2553  ได้รั่วไหลออกมายังสื่อมวลชน  และแกนนำเสื้อแดง  
นายจตุพร  พรหมพันธุ์  
กล่าวต่อสื่อถึงข้อสรุปที่ว่าทหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของ
ประชาชน  ไม่นานหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว  
มีรายงานจากสื่อว่าผู้บังชาการทหารบก  พลเอกประยุทธ์  
จันทร์โอชาได้เรียกร้องให้ปลดผู้อำนวยการดีเอสไอ  นายธาริต  
และรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ  
เทือกสุบรรณเรียกให้ผู้อำนวยการดีเอสไอ  นายธาริตเข้าพบ  

หลังจากการประชุม  
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์กล่าวต่อหน้าสื่อมวลชนโดยให้การสนับสนุน
ผู้อำนวยการดีเอสไอ  นายธาริต  
โดยนายธาริตรอดจากการถูดปลดเพราะเขามีอำนาจตัดสินใจสุดท้
ายไม่สั่งดำเนินคดีกับผู้นำทหารหรือสมาชิกของศอฉ.  

ส่วนนายธาริตกล่าวกับสื่อมวลชนว่าคำพูดของนายจตุพรเกี่ยวกับเ
อกสารที่รั่วไหลว่าไม่ตรงกับข้อสรุปการสอบสวนของดีเอสไอ  
คำกล่าวของนายธาริตไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด  

ไม่นานหลังจากการพบปะการรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ  
เทือกสุบรรณ  นายธาริตได้ออกประกาศภายในดีเอสไอ  
โดยระบุว่าเขามีอำนาจที่จะตัดสินว่าการสังหารประชาชนดังกล่าวก
ระทำโดยเจตนาร้ายหรือไม่เพียงคนเดียว  
หากไม่มีการค้นหาว่าการกระทำดังกล่าวมีเจตนาร้ายหรือไม่  
ตามกฎหมายไทย  ผู้นำกองทัพ  สมาชิกศอฉ.หรือรัฐบาลไทย  
ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวนอกจากนี้  
หลังจากการพบปะครั้งหลังกับรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ  
เทือกสุบรรณ  นายธาริตกล่าวกับทีมเจ้าหน้าที่สอบสวนว่า  
หากพวกเขาไม่สามารถระบุรายชื่อของบุคคลที่ลั่นไกปืนในช่วงการ
ชุมนุมของคนเสื้อแดงได้  
172
พวกเขาจะต้องสรุปว่าคนเสื้อแดงเป็นคนทำ  ยิ่งกว่านั้น  
นายธาริตยังสั่งให้ลดจำนวนเหยื่อที่ถูกสังหารโดยทหารในวัดปทุมว
นาราม  ซึ่งมีการสรุปก่อนหน้านี้ว่ามีจำนวนอย่างน้อย  5ราย  
ให้เหลือเพียง  3  ราย  

จากเหตุการณ์เหล่านี้  
แสดงให้เห็นชัดเจนว่านายธาริตยืนยันกับนายกรัฐมนตรอภิสิทธิ์  
ผ่านทางรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ  
ว่าเขาจะสรุปว่าทหารไม่มีเจตนาร้ายในเหตุการณ์การเสียชีวิตของ
พลเรือนและทหารในเดือนเมษายนและพฤษภาคม  2553  
ไม่ว่าผลการสอบสวนจะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม  จากข้อตกลงนี้  
ทำให้นายธาริตรักษาตำแหน่งของเขาไว้ได้  

ไม่มีความเป็นไปได้อย่างแน่ชัดว่าดีเอสไอจะกระทำการสอบสวนอย่
างถูกต้องเหมาะสมถึงการที่พลเรือนและเจ้าหน้าที่ทหารถูกสังหารใ
นระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดง  

เมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว  รองผู้อำนวยการดีเอสไอ  พันตำรวจโทเสกสรรค์  


ศรีตุลาการ  ระบุว่า  
มีความกดดันจากภายนอกเป็นประจำที่จะทำให้ดีเอสไอกลายเป็น  
“เครื่องมือทางการเมือง”  
   

การดำเนิ น คดี ก ั บ คนเสื ้ อ แดง  

รัฐบาลจะหาทางยับยั้งการสอบสวนการสังหารประชาชน  
แม้ว่าจะมีหลักฐานมากมายแสดงถึงอาชญากรรมของกองทัพไทย  
รัฐบาลอภสิทธิ์กลับดำเนินคดีกับคนเสื้อแดงอย่างไม่หยุดหย่อน  วันที่  30  
กรกฎาคม  2553  
ดีเอสไอยื่นขอให้สำนักงานอัยการดำเนินคดีกับแกนนำคนเสื้อแดงถึง  24  
คน  รวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ  ชินวัตร  ในข้อหา  “ก่อการร้าย”  
ในวันที่  11  สิงหาคม  อัยการตัดสินใจดำเนินคดีกับแกนนำ  
19รายตามคาดหมาย  และเลื่อนการตัดสินดำเนินคดีต่อแกนนำอีก  6  คน  
โดยทั้งหมดอาจต้องโทษประหารชีวิต  

นอกจากแกนนำเสื้อแดงจะถูกกล่าวหาว่าทำให้เกิดการเสียชีวิตของประช
าชนในระหว่างการชุมนุมคนเสื้อแดงปี  2553-­‐  

173
แต่ข้อกล่าวหาดังกล่าวขาดการสอบสวนและข้อสรุปจากตำรวจ  
และปราศจากการดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการสัง
หารเกือบทั้งหมด  (หากไม่ใช่ทุกการสังหาร)-­‐  
ศาลลิดรอนสิทธิการดำเนินคดีในกระบวนการศาลของแกนนำเสื้อแดงใน
การแก้ต่างให้กับตนเอง  ผู้พิพากษาที่มีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าวคือ  
ผู้พิพากษาสุจิตรา  โพธายา  
ซึ่งมีส่วนร่วมในการดำเนินคดีอาญาต่ออดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ  ชินวัตร  

แม้ว่าข้อหาของแกนนำเสื้อแดงจะเป็นข้อหาที่มีความร้ายแรงแต่ผู้พิพาก
ษาสุจิตราได้กล่าวย้ำตังแต่เริ่มแรกว่า  
ห้ามไม่ให้จำเลยเข้าฟังการพิจารณาของตนเอง  
ในการพิจารณาคดีเบื้องต้นในวันที่  27  กันยายน  2553  
จำเลยถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้ามาในศาล  
ในคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรในการพิจารณาคดีเบื้องต้น  
ผู้พิพากษาสุจิรากล่าวว่า  

เนื่องจากมีผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีเข้าฟังการพิจารณาคดี  
ที่นั่งจึงไม่เพียงพอ  
ในการเข้าฟังการพิจารณาคดีครั้งต่อไปจะมีการกำหนดจำนวนพย
าน  และจำนวนครั้งการพิจารณาคดี  ดังนั้น  
จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องเข้าฟังการพิจารณาคดี  
แต่ทนายของจำเลยจะต้องเข้าฟังการพิจารณาคดี  

ในการพิจารณาคดีครั้งถัดมา  
จำเลยถูกนำตัวออกมาจากเรือนจำไปยังใต้ถุนศาล  
แต่ผู้พิพากษาสุจิตราไม่อนุญาตให้นำตัวจำเลยเข้าฟังการพิจารณาคดี  
คำร้องขอให้ดำเนินคดีให้ห้องพิจารณาคดีที่ใหญ่ขึ้นถูกปฏิเสธ  ดังนั้น  
จำเลยจึงถูกลิดรอนสิทธิพื้นฐานที่จะปรึกษากับทนายเพื่อตระเตรียมคดีข
องตน  เพราะเหตุผลที่ห้องพิจารณาคดีมีขนาดเล็กเกินไป  
แม้ว่าครอบครัวของจำเลยและเหยื่อยจะถูกกันไม่ให้เข้าฟังการพิจารณาค
ดี  
แต่มีสื่อมวลชนไทยบางรายได้รับอนุญาติให้เข้าสังเกตการณ์และเขียนรา
ยงาน  

174
ประการที่สองคือ  
ผู้พิพากษาสุจิตราสั่งห้ามไม่ให้จำเลยนำพยานคำสำคัญที่สามารถแก้ต่าง
ให้จำเลยขึ้นเบิกความในศาล  โดยเฉพาะ  
รายการชื่อพยานรวมถึงพยานที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลในกรุงเทพ
ทั้ง  13แห่ง  
ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เหยื่อเข้ารับการรักษาระหว่างการชุมนุมคนเสื้อแดง  
รายชื่อพยานเหล่านี้ถูกหยิบยกขึ้นมาเพราะ  
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นบุคคลเดียวที่สามารถระบุรายชื่อแพทย์ที่ทำ
การรักษาเหยื่อได้  หากปราศจากคำให้การของผู้อำนวยการ  
จำเลยจะไม่สามารถระบุหรือเรียกให้แพทย์มาให้ปากคำในกรณีของลักษ
ณะการบาดเจ็บของเหยื่อ  
อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาสุจิตราสั่งห้ามไม่ให้เรียกผู้อำนวยการมาให้ปาก
คำ  โดยกล่าวว่า    

ศาลเห็นว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ใช่แพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยโดยตรง  
ดังนั้นศาลจึงมาอนุญาติให้ใส่ชื่อบุคคลเหล่านั้นในฐานะพยาน  
และปฏิเสธคำร้องขอให้บุคคลเหล่านั้นเข้าเบิกความในศาล  

นอกจากนี้  
ผู้พิพากษาสุจิตรายังได้ร่างคำสั่งของตนในแบบที่ทนายของจำเลยจำเป็น
ต้องตกลงถอนรายชื่อของผู้อำนวยการออกจากรายชื่อพยาน  
ซึ่งตามกระบวนการพิจาณาคดีอาญา  
เป็นการจำนนต่อข้อเสนอที่ไม่สามารถอุทรณ์ได้  
ผลคือทนายของจำเลยได้ตัดสินใจครั้งใหญ่ปฎิเสธที่จะลงนานในคำสั่งขอ
งผู้พิพากษาสุจิตรา  

รัฐบาลไทยยังคงปฏิเสธให้แกนนำเสื้อแดงเข้าถึงหลักฐานผลชันสูตร  
เอกสาร  และวิดีโอภาพและเสียงที่ใช้ประกอบการดำเนินคดี  
นอกจากนี้ยังขาด  “หลักฐาน”  
ที่จะเชื่อมโยงการกระทำการก่อการร้ายกับการเป็นแกนนำเสื้อแดงเข้าด้ว
ยกัน  ดังนั้น  จนถึงทุกวันนี้  
หลักฐานที่รัฐบาลอ้างถึงคือคำปราศรัยสองครั้งในเดือนมกราคม  2553  
175
ของแกนนำเสื้อแดงสองคน  ได้แก่  ณัฐวุฒิ  ไสยเกื้อ  และอริสมันต์  
พงษ์เรืองรอง  มีการเตือนว่าจะมีการตอบโต้หากทหารทำรัฐประหาร  
(ในกรณีของณัฐวุฒิ)  หรือจะมีการใช้กำลังความรุนแรงต่อคนเสื้อแดง  
(ในกรณีของอริสมันต์)  ในกรณีของทักษิณ  
ก็ถูกกล่าวหาให้การสนับสนุนการกระทำดังกล่าวทางการเงิน    
และมีการกล่าวหาว่ามีคนปฏิบัติตามคำสั่งของทักษิณเพื่อจะทำลาย  
“ร่างแผนการปรองดอง”  
แต่รัฐบาลล้มเหลวที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาดังกล่าวด้วยข้อเท็จจริง  
รัฐบาลไทยมักจะประนามฝ่ายตรงข้ามว่าเป็น  “ผู้ก่อการร้าย”  
อย่างรวดเร็ว  แต่ล้มเหลวในการพิสูจน์ข้อกล่าวหานั้น  

หากพิจารณาว่ารัฐบาลพยายามเผยแพร่ข้อมูลที่สนับสนุนเรื่องราวโศกน
าถกรรมในเดือนเมษษยนและพฤษภาคมที่รัฐบาลบอกเล่าอย่างหนัก  
แต่การที่รัฐบาลปฏิเสธที่จะแสดงหลักฐานหนักที่แสดงให้เห็นว่าแกนนำเสื้
อแดงเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายต่อทีมทนายหรือสาธารณชนทำให้สรุป
ได้ว่าการจับกุมครั้งนี้เป็นเรื่องทางการเมือง  ข้อเท็จจริอคือ  ข้อกล่าวหา  
“ก่อการร้าย”  
ต่อคนเสื้อแดงสนับสนุนโดยเจ้าหน้าที่สอบสวนที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางก
ารเมืองและกระบวนการตุลาการที่คดงอ  และที่แน่นอนคือ  
การไต่สวนดังกล่าวไม่เป็นเพื่อค้นหาความจริง  
แต่การดำเนินคดีดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ความชอบธรรมกับการโฆษนาปร
าสัมพันธ์ของรัฐบาล  
หรือเพื่อจะขังแกนนำเสื้อแดงในนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  
ไม่ว่าการสอบสวนจะช่วยค้นหาข้อเท็จจริงหรือไม่  
แต่มีหลายครั้งในการเมืองไทยที่  
ระบบรัฐธรรมนูญและกฎหมายเหมือนฉากละครย่อยหรือภาพประกอบที่พ
ร่ามัว  ในขณะที่อำนาจการตัดสินเด็ดขาดเป็นของที่อื่น  

   
 ส ร้ า งความซั บ ซ้ อ นโดยใช้ ก ระบวการ  “ปรองดองสมานฉั น ท์ ”    

หลักจากการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่แยกราชประสงค์  
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะและรัฐบาลพยายามสร้าง  

176
“ความสมานฉันท์ปรองดอง”  น่าเสียดาย  เพราะเป็นที่ชัดเจนว่า  
ผู้นำประเทศไทยไม่มีความสามารถหรือเจตนารมย์ที่จะสร้างความปรองด
องสมานฉันท์  
รัฐบาลใช้วิธที่เข้มงวดและนโยบายคุกคามทางการเมืองในรอบหลายเดือ
นที่ผ่านมา-­‐  สังเกตได้จากการใช้พรก.ฉุกเฉิน  
ตามมาด้วยพรบ.ความมั่นคง  
มีการจับกุมคุมขังคนที่เห็นใจเสื้อแดงนับร้อย  
การกักตัวแกนนำเสื้อแดงในค่ายทหาร  
และการคุกคามเซ็นเซอร์สื่อทางเลือก  
การแต่งตั้งคธะกรรมการภายใต้ความพยายามอย่างหลอกๆที่จะพาประเ
ทศก้าวไปข้างหน้า  แสดงให้เห็นว่า  
“การสมานฉันท์ปรอดอง”ที่รัฐบาลหมายถึง  แท้ที่จริงแล้วคือ  
“อุดมการความสามัคคี”  
นโยบายดังกล่าวถูกบังคับผ่านทางการผสมผสานระหว่างการโฆษณาประ
ชาสัมพันธ์และการกดขี่  

เพื่อตามสนองความตอบสนองท่าทีของประชาคมโลกต่อเหตุการความรุ
นแรงในเดือนเมษายนและฤษภาคม  
รัฐบาลอภิสิทธิ์เห็นชอบที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการ  
“ค้นหาข้อเท็จ”เพื่อที่จะสอบสวนเหตุการณ์ความรุนแรงและนำไปสู่  
“ความปรองดองสมานฉันท์”  คณะกรรมการดังกล่าวนำโดยอดีตอัยการ  
นายคณิต  ณ  นคร  
และมีการแต่งตั้งบุคคลที่ภักดีต่อกลุมอำมาตย์อย่างไม่ต้องสงสัยเป็นคณ
ะกรรมการ  
คณะกรรมการได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีภาพลักษณ์ที่ไม่เป็นอิสระและไร้ซึ่
งการพยายามปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการ  

ยิ่งไปกว่านั้น  มีรายงานว่านายคณิตได้กล่าวว่า  
“คณะกรรมการค้นหาความจริง”  นั้นไม่สนใจที่จะ  
“ข้อหาข้อเท็จจริงหรือระบุว่าใครถูกหรือใครผิด”  แต่สนใจที่จะ  
“สนับสนุนการให้อภัยซึ่งกันและกัน”  

177
แต่ต้องชื่นชมนายคณิตในแง่ที่ว่าหลังเหตุการณ์ความรุนแรง  
นานคณิตได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของรัฐบาลหลายครั้ง  
หลักจากการแต่งตั้ง  
นายคณะวิจารณ์การกระทำที่บังคับให้แกนนำเสื้อแดงปรากฏตัวต่อหน้าศ
าลในขณะที่โดนล่ามโซ่ที่ข้อมือข้อเท้าอย่างหนักว่าเป็นสิ่งที่  
“ละเมิดกฎบังคับของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน”  
ต้นเดือนสิงหาคม  นายคณิตขอให้รัฐบาลทบทวนการใช้พรบ.ฉุกเฉิน  
ต่อมานายคณิตสัมภาษ์แกนนำและผู้สนับสนุนกลุ่มองค์กรต่างๆในสังงงค
มไทยและเรียกร้องให้รัฐบาลอนุญาติให้คนเสื้อแดงที่ถูกขังเพื่อรอพิจารณ
าคดีอยู่หลายเดือนประกันตัว  

อย่างไรก็ตาม  มีรายงานว่า  
“คณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์และค้นหาความจริง”  
ของนายคณิตไมได้พยายามสอบสวนเหตุการณ์ความรุนแรงหรือพบปำพู
ดคุยกับเหยื่อ  
แต่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์วิกฤตทางการเมืองมากกว่า  
ตั้งแต่เริ่มทำงาน  
นายคณิตอธิบายว่าการทำงานของเขาเจาะจงไปที่การหา  
“ปัญหารากเหง้า”  ของความขัดแย้ง  และไม่เห็นด้วยที่จะสอบสวน  
“เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์”  บางทีอาจเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่า  
นายคณิตยอมรับว่า  
คณะกรรมการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่สมบูรณ์เกี่ยวกับแผนการและปฏิ
บัติการของเจ้าหน้าที่ความมั่นคง  รายงานการชันสูตร  คำให้การพยาน  
ภาพถ่าย  และวิดีโดที่ศอฉ.มีอยู่ได้  ไม่น่าแปลกเลยว่า  
จนถึงวันนี้การสอบสวนล้มเหลวที่จะค้นหาข้อเท็จจริงใดๆ  

นายคณิตแสดงความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง  “การฟื้นฟูความยุติธรรม”  
ซึ่งเป็นความคิดที่ว่าความรุนแรงในอนาคตสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ห
ากมีการพูดคุยกับระหว่างเหยื่อและผู้กระทำโดยไม่จำเป็นต้องมีการดำเนิ
นคดี  หนึ่งในหลักการสำคัญของ  “การฟื้นฟูความยุติธรรม”  
คือการหาความเป็นกลาง  
“ระหว่างสิทธิของผู้กระทำและความต้องการของเหยื่อ”  และ  
“ระหว่างความจำเป็นในการฟื้นฟูผู้กระทำและหน้าที่ในการปกป้องสาธา

178
ณชน”  แต่แม้ความมุ่งหมายของนายคณิตจะเป็นสิ่งที่น่าชื่นชน  
แต่ด้วยเหตุผลทั่วไปและเฉพาะเจาะจง  
ข้อเสนอดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมในสถานการณ์ดังกล่าว  

ตาม  “คำประกาศแห่งนูเร็มเบิร์กว่าด้วยความสงบสุขและความยุติธรรม”  
ปี  2551  
ระบุว่าความสงบสุขที่มีความมั่งคงสาสารถสร้างขึ้นได้บนพื้นฐานของควา
มยุติธรรมเท่านั้น  -­‐  
“เป็นคำประการที่กล่าวถึงความรับผิดและความยุติธรรมในการปกป้องแ
ละป้องกันสิทธิและป้องกันแก้ไขการกรำทำผิด”  

เหมือนในประเทศอื่นๆ  
ประเทศไทยจะเจริญรุ่งเรืองและมีอนาคตที่สงบสุขได้ก็ต่อเมิ่อมีการจัดกา
รปัญหาการบิดเบือนการใช้กระบวนการยุติธรรมและเหตุการณ์ในอดีต  

แน่นอนที่สุดว่า  ไม่นานมานี้ประชาคมโลกกล่าวถึง  
“การเปลี่ยนผ่านความยุติธรรม”  
ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้กระทำความผิดต้องรับผิดชอบต่อการกระทำ  
องค์กรสหประชาชาติระบุใน  
“หลักการล่าสุดว่าด้วยการปกป้องและสนับสนุนสิทธิมนุษยชนโดยการต่อ
สูเพื่อไม่ต้องรับผิด”  ว่าไม่เพียงสังคมต้องมี  
“สิทธิเฉพาะบุคคลที่จัเข้าถึงความจริง”  และเหยื่อ  “มีสิทธิจะรู้”  
แต่พวกเขาต้อง  “มีสิทธิ์จะได้รับความยุติธรรม”  ซึ่งรัฐจะต้องประกันว่า  
“ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในอาชญากรรมร้ายแรงภายใต้กฎหมายระหว่างประ
เทศนั้นถูกดำเนินคดี  พิจารณาคดี  และลงโทษ”  
หลักการขององค์กรสหประชาชาติประกอบด้วยแนวทางการดำเนินกิจกร
รมการไต่สวนและการค้นหาความจริงนอกจากนี้  
หน่วยงานดังกล่าวต้องถูกแต่งตั้งผ่านทางกระบวนการที่การันตีว่าพวกเข
าจะมีความเป็นอิสระและเป็นธรรม  
หลักการในสหประชาชาติยังเน้นว่าการสอบสวนควรจะมุ่งความสนใจอย่า
งแรกไปที่การละเมิดอาชญากรรมร้ายแรงภายใต้กฎหมายระหว่างประเท
ศ  คำสนอแนะของนายคณิตเรื่อง“ปัญหารากเหง้า”  ของความขัดแย้ง  
มากกว่าการสอบสวนเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเฉพาะเจาะจง  

179
ทำให้หน่วยงานคณะกรรมการ  “ค้นหาความจริงและปรองดองสมานฉันท์”  
ของนายคณิตไม่ได้มาตราฐานตามที่องค์กรสหประชาชาติระบุ  

ในกรณีของประเทศไทย  “การฟื้นฟูความยุติธรรม”  
ตั้งอยู่บนหลักการที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษซึ่งเป็นปัญหา  กรณีแรกคือ  
เหตุการณ์การสังหารหมู่ในปี  2516  
แสดงให้เห็นว่ารัฐให้เกราะคุ้มกันการรับผิดของเจ้าหน้าที่ผ่านทาง  
“การปรองดองสมานฉันท์”  และ  “การให้อภัย”  
และนั้นเป็นการการันตีว่าโศกนาถกรรมจะเกิดขึ้นอีกครั้งแล้วครั้งเล่า  
ประการที่สอง  หากนายคณิตและคณะตั้งใจจะขุดหา  “รากเหง้าของปัญหา”  
ของความขัดแย้งจริง  
พวกเขาไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพราะความคับแค้นใจหลักของคนเสื้อแดงคื
อการไม่มีความเท่าเทียมภายใต้กฎหมายในประเทศไทย  
กระบวนการตุลาการเต็มไปด้วย  “สองมาตราฐาน”  
นั้นคือการสร้างเกาะกำบังให้ผู้มีอำนาจจากอาชญกรรมร้ายแรง  อาทิ  
การสังหารให้ไม่ต้องถูกดำเนินคดี  
ซึ่งการย้ำให้เห็นถึงข้อกล่าวอ้างข้างต้น  
นอกจากการปกป้องไม่ให้ผู้กระทำความผิดรับผิดต่อการกระทำในปี  2553  
จะขัดต่อกฎหมายะหว่างประเทศแล้ว  ยังทำให้ปัญหาความขัดแย้งแย่ลง  

อย่างไรก็ตาม  
นายคณิตยังมีความจริงใจที่หยิบยกและสนับสนุนเรื่องการพูดคุยกันระหว่
างผู้กระทำและเหยื่อ  แต่บางทีสิ่งที่สำคัญคือ  
รัฐบาลไทยไม่ได้พยายามทำอะไรที่จะดำเนินตามข้อเสนอดังกล่าวเลย  
นอกจากนี้รัฐบาลยังทำทุกวิถีทางที่จะใช้กระบวนการยุติธรรมในทางที่ผิด  
การคุมขังแกนนำเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง  
การกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย  
การลิดรอนสิทธิทางการพิจารณาคดีของคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง  
และการใช้ระบบทรัพยากรเพื่อกดขี่และสร้างความถูกต้องให้การลิดรอน
สิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมืองอย่างต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไ
ทยไม่สนใจที่จะสร้าง  “ความปรองดอง”  ระหว่างเหยื่อและผู้กระทำ  
แต่เป็นการทำให้เหยื่อยอมจำนนต่อผู้กระทำมากกว่า  นอกจากนี้  
รัฐบาลอภิสิทธิ์ยังปิดบังข้อมูล  เปลี่ยนการสอบสวนจากดำให้เป็นขาว  

180
และการโฆษณาประชาสัมพันธ์เล่าเรื่องข้างเดียว  
สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานที่แสดงว่ารัฐบาลไทยไม่เต็มใจและไม่สามารถที่จะ
ค้นหาความจริงได้  แต่พยายามที่ปกปิดความจริงมากกว่า  

เหตุการณ์ในรอบแปดเดือนที่ผ่านมา  แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าแผนการ  
“สมานฉันท์ปรองดอง”  
ของรัฐบาลไม่เป็นอะไรไปมากกว่าแผนการโน้มน้าวเพื่อเบี่ยงเบนประเด็น
ของการความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะทำลายฝ่ายตรงข้าม  
และปกป้องไม่ให้บุคคลที่มีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่ร้าย
แรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม  
ไม่มีความจริงหรือการปรองดองสมานฉันท์จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
ของคณะกรรมการนายคณิต  
ซึ่งเหมือนกับหน่วยงานที่รัฐบาลไทยจัดตั้งขึ้นในนามของ  
“การปรองดองสมานฉันท์”  ส่วนมาก  
ที่คณะกรรมการมีหน้าที่สร้างเกราะป้องกันการรับผิดแก่ผู้กระทำความผิด
ให้ดูดีในสายตาของสาธารณชนและประชาคมโลก  
กระบวนการเหล่านี้จึงสามารถนิยามได้ว่าว่า  “กระบวนการจอมปลอม”  
ตามที่อธิบายไว้ในบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ-­‐  
การสอบสวนหรือการพิจารณาคดีนั้นต้อง  
“กระทำในลักษณะที่สภาวะแวดล้อมนั้นประกอบไปด้วยเจตนาที่จะนำบุคค
ลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าสูกระบวนการยุติธรรม”  

6.4  ส รุ ป  

นอกจากจะเข้าองค์ประกอบแห่งความร้ายแรงของคดีที่บัญญัติในมาตรา  
17  (d)  ของข้อบัญญัติแห่งกรุงโรมแล้ว  
เหตุการณ์ในประเทศไทยยังเข้าองค์ประกอบการรับพิจารณาคดีของศาล
อาญาระหว่างประเทศ  
ตามหลักของศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจในการพิจารณาเมื่อรัฐไ
ม่เต็มใจหรือล้มเหลวในการสอบสวนเหตุการณ์  

เป็นสิ่งที่ชัดเจนว่า  
รัฐบาลไทยไม่มีทางจะสอบสวนเหตุการณ์อย่างยุติธรรมและสมบูรณ์  

181
รัฐบาลอภิสิทธิ์  
และกลุ่มผู้สนับสนุนไม่ต้องการที่จะสละอำนาจของตนโดยการดำเนินคดีกั
บกองทัพและผู้นำพลเรือนในการกระทำอาชญากรรมระหว่างประเทศ  
นอกจากนี้  
การคุมขังที่ยาวนานและละเลยสิทธิในกระบวนการดำเนินคดีของคนเสื้อแ
ดง  บุคคลที่รัฐบาลตัดสินว่าเป็น  “ผู้ก่อการร้าย”  
ทำให้เกิดคำถามถึงความเป็นธรรม  ท้ายนี้  
การทุจริตและการแทรกแซงทางการเมืองของกระบวนการยุติธรรมในปร
ะเทศไทย  การขาดความเป็นอิสระของการสอบสวนที่กระทำโดยดีเอสไอ  
หน่วยงานที่รัฐบาลเลือกให้ทำคดีเพราะเป็นพวกเดียวกัน  
มากกว่าความสามารถ  
และการเพิกเฉยของคณะกรรมการค้นหาความจริงและสมานฉันท์ของนา
ยคณิตในการค้นหาข้อเท็จจริงของการละเมิดทำให้กระบวนการสอบสวน
แปดเปื้อน  

 กล่าวอีกนับหนึ่งคือ  
รัฐบาลไทยไม่เต็มใจและไม่สามารถที่จะทำการสอบสวนที่เป็นธรรมและส
มบูรณ์  ภายใต้พันธกรณีที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศ  
สามารถพิจารณาได้จากการสังหารหมู่ของผู้เรียกร้องประชาธิปไตยโดยร
ฐไทยในปี  2516,  2519  และ  2535  
แต่หารศาลอาญาระหว่างประเทศไม่เข้าแทรกแซง  การฆ่าหมู่ในปี  2553  
มีแนวโน้มจะถูกเปลี่ยนจากดำให้เป็นขาว  ผ่านทางกระบวนการเดิม  
ที่ผิดกฎหมายซึ่งเป็นการประกันไม่ให้บุคคลที่สังหารประชาชนในประเทศไ
ทยนับร้อยต้องร้บผิด  

7.  ห นทางบรรเทาทุ ก ข์  
ตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น  ประกอบกับข้อมูลหลักที่แสดงในเอกสาร  
ผู้ร้องจึงร้องขออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศด้วยความเคารพให้เริ่ม
ทำการสอบสวนเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกั
บเหตุการณ์เดือนเมษายนและพฤษภาคม  ปี  2553  
รวมถึงนโยบายการคุกคามทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประ
หารในปี  2549  

182
จากการพิจารณาหลักฐานพบว่าสมาชิกในรัฐบาลไทยและกองทัพไทยมีส่

วนรับผิดชอบกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและนโยบายคุกค

ามทางการเมืองอย่างเป็นระบบ  อาทิเช่น  :  
 

(1) มีมูลอันสมเหตุสมผลที่ทำให้เชื่อว่าอาชญากรรมที่อยู่ภายใต้อ

ำนาจการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศเกิดขึ้นจริง  

โดยเฉพาะอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่รวมถึงการสังหาร,   คุมขัง  

และการลิดรอนเสรีภาพทางร่างกายอย่างร้ายแรงในลักษณะอื่น,  

การคุกคามทางการเมือง,  และการกระทำที่ไร้มนุษยชนลักษณะอื่น;  

(2)
  มีหลักฐานที่ชี้ว่ากลุ่มผู้นำระดับสูงทางพลเรือนและทหารในประเทศไ
ทยมีส่วนรับผิดชอบในส่วนผู้คนและการสั่งการ  

จากหลักฐานที่แสดงในรายงานทำให้สามารถกล่าวได้ว่าครบถ้วนตามอง

ค์ประกอบของอำนาจการพิจารณาและรับวินิจฉัยคดี   เช่น  

มีความชอบธรรมที่จะเริ่มทำการสอบสวนเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ใน

ประเทศไทย  

แม้จะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศที่จะสอบส

วนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐและนำตัวบุคคลเหล่านั้นเข้าสู่กระบวน

การยุติธรรม   แต่   “การสอบสวน”  

โดยรัฐบาลไทยนั้นจะจบลงด้วยการเปลี่ยนเหตุการณืทั้งหมดจากดำให้เป็

นขาวอย่างแน่นอน  

เหมือนกันที่เกิขึ้นกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่กระทำโดยรัฐในรอบสี่ทษวร

รษที่ผ่านมา   หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  

รัฐบาลไทยหลีกเลี่ยงดำเนิการสอบสวนเหตุการณ์การฆ่าหมู่กรุงเทพมหา

183
นครอย่างเหมาะสมทุกวิถีทาง  

แม้เจ้าหน้าที่พลเรือนมีความตั้งใจที่จะสอบสวน  

แต่ความสามารถกระทำการดังกล่าวจะถูกจำกัดโดยการที่พลเรือนไม่สา

มารถควบคุมกองทัพได้  

ดังนั้นสถานการณ์ของไทยจึงมีคุณสมบัติต้องตามอำนาจพิจารณาคดีขอ

งศาลอาญาระหว่างประเทศ  

ตามหลักการที่ว่าศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาคดีเมื่อรัฐไ

ม่เต็มใจหรือล้มเหลวในการสอบสวนเหตุการณ์   จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  

อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถพิจารณาความธรรมของคำร้อ

งนี้ได้จากการสอบสวนที่ดำเนินอยู่ในประเทศไทยขณะนี้  

ผู้ร้องเสนอให้อัยการกำหนดระยะเวลาต่อเจ้าหน้าที่รัฐไทยจะต้องตัดสินใ

จว่าการสอบสวนดังกล่าวจะลงเอยด้วยการดำเนินคดีทางอาญาหรือไม่  

หากอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศร้องขอ  

ผู้ร้องเต็มใจและสามารถยื่นหลักฐานเพิ่มเติมจากคำร้องนี้  

ซึ่งรวมถึงชื่อและข้อมูลประวัติของพยานนิรนามหลายรายที่ให้การในคำร้

องนี้    
 
 
 
 
 
 
 
 
 

184
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้ า งอิ ง  
1  “Announcement   on   the   Appointment   of   the   Leader   of   the   Council   for  
Democratic   Reform,”   September   20,   2006.  
http://www.mfa.go.th/internet/document/2826.pdf  
1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  4-­‐7.  Full  text  reproduced  

in  the  Appendix.  
1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  8-­‐12.  

1   Marwaan   Macan-­‐Markar,   “Thailand:   Lese   Majeste   Cases   Rise   but   Public   in  

the  Dark,”  Inter  Press  Service,  May  14,  2010.  


http://ipsnews.net/login.asp?redir=news.asp?idnews=51434  
1   Freedom   House,   “Freedom   in   the   World,   2010   Edition,”  
http://www.freedomhouse.org  
1   Human   Rights   Watch:   “Thailand   Serious   Backsliding   on   Human   Rights,”  

January  20,  2010.  


http://www.hrw.org/en/news/2010/01/20/thailand-­‐serious-­‐backsliding-­‐
human-­‐rights    
1  Human  Rights  Watch,  “Thailand:  Serious  Setbacks  in  Respecting  Rights,”  

January  25,  2011.  


http://www.hrw.org/en/news/2011/01/25/thailand-­‐serious-­‐setbacks-­‐
respecting-­‐rights    
1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  13-­‐21.  

1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  22-­‐23.  

185
1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶  27-­‐30.  
1  The  Prime  Minister’s  special  directive  No.  1/2553  Re:  The  Establishment  

of   the   Center   for   the   Resolution   of   the   Emergency   Situation,   issued   on   7  


April  B.E.  2553  (2010).  
1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  32-­‐33.  
1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  34-­‐35.  
1   Gary   J.   Ordog,   Peter   Dornhoffer,   Greg   Ackroyd,   Jonathan   Wasserberger,  

Micheal  Bishop,  William  Shoemaker,  and  Subramanium  Balasubramanium,  


“Spent   Bullets   and   Their   Injuries:   the   Result   of   Firing   Weapons   Into   the  
Sky,”   The   Journal   of   Trauma   Injury,   Infection,   and   Critical   Care,   December  
1994.  
1  Expert  Report  of  Joe  Ray  Witty,  at  ¶¶  23-­‐37.  

1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  36-­‐37.  

1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  38-­‐41.  

1  Expert  Statement  of  Joe  Ray  Witty,  at  ¶¶  38-­‐50.  

1  See  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶  44.  

1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  42-­‐44  

1  Expert  Statement  of  Joe  Ray  Witty,  at  ¶¶  51-­‐58.  

1  Expert  Statement  of  Joe  Ray  Witty,  at  ¶¶  59-­‐62.  

1  Expert  Report  of  Joe  Ray  Witty,  at  ¶¶  63-­‐66.  The  Statement  of  Anonymous  

Witness  No.  15  is  reproduced  in  the  Appendix.  


1   The   Statement   of   Anonymous   Witness   No.   15   is   reproduced   in   the  

Appendix.  
1   The   Statement   of   Anonymous   Witness   No.   2   is   reproduced   in   the  
Appendix.  
1   The   Statement   of   Anonymous   Witness   No.   5   is   reproduced   in   the  

Appendix.  
1  The  Statement  of  Mr.  Bordin  Vajropala  is  reproduced  in  the  Appendix.  

1  The  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  15  is  reproduced  in  the  

Appendix.  
1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  45-­‐46.  

186
1   Seh   Daeng   was   shot   in   the   head   in   front   of   Thomas   Fuller   of   the   New   York  

Times.   See   Thomas   Fuller   and   Seth   Mydans,   “Thai   General   Shot;   Army  
Moves  to  Face  Protesters,  New  York  Times,  May  13,  2010.  
http://www.nytimes.com/2010/05/14/world/asia/14thai.html    
1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶  53.  

1   Ministry   of   Foreign   Affairs,   “Backgrounder:   Current   Political   Situation   in  

Thailand,”  June  15,  2010,  note  3.  


http://www.thaiembassy.sg/announcements/backgrounder-­‐current-­‐
political-­‐situation-­‐in-­‐thailand  
1  Expert  Statement  of  Joe  Ray  Witty,  at  ¶  73.  

1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  47-­‐48,  52.  

1   Nick   Nostitz,   “Nick   Nostitz   in   the   Killing   Zone,”   New   Mandala,   May   16,  

2010.  
 http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2010/05/16/nick-­‐nostitz-­‐in-­‐
the-­‐killing-­‐zone/    
For  an  update  on  the  fate  of  some  of  the  Red  Shirt  protesters  who  were  at  
the  scene  described  in  the  report,  see  “Daughter  of  a  Slain  Red  Shirt  Hears  
Story  of  Father  from  Nick  Nostitz,”  Prachatai,  June  21,  2010.  
http://www.prachatai.com/english/node/1899  
1  Expert  Report  of  Joe  Ray  Witty,  at  ¶74.  

1  Expert  Report  of  Joe  Ray  Witty,  at  ¶¶  75-­‐76.  

 
1  The  Statement  of  Krittipoj  Buadee  is  reproduced  in  the  Appendix.  

 
1  The  Statement  of  Nattapon  Tongkoun  is  reproduced  in  the  Appendix.  
1   The   Statement   of   Anonymous   Witness   No.   8   is   reproduced   in   the  
Appendix.  
1  The  Statement  of  Mr.  Kangsadal  is  reproduced  in  the  Appendix.  
1   The   Statement   of   Anonymous   Witness   No.   12   is   reproduced   in   the  

Appendix.  
1  The  Statement  of  Pratak  Nutsathit  is  reproduced  in  the  Appendix.  

1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  49-­‐55.  

1  “Medics  Banned  from  Entering  'Red  Zones',”  The  Nation,  May  16,  2010.  

http://www.nationmultimedia.com/home/2010/05/16/national/Medics-­‐
banned-­‐from-­‐entering-­‐red-­‐zones-­‐30129456.html  

187
1   Bill   Schiller,   “Why   Did   So   Many   Civilians   Die   in   Bangkok   Violence?,”   The  

Star,  May  23,  2010.  


http://www.thestar.com/news/world/article/813547-­‐-­‐why-­‐did-­‐so-­‐many-­‐
civilians-­‐die-­‐in-­‐bangkok-­‐violence  
1  Expert  Report  of  Joe  Ray  Witty,  at  ¶¶  77-­‐78.  

1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  56-­‐58.  

1  Expert  Report  of  Joe  Ray  Witty,  at  ¶¶  79-­‐80.  


1  Andrew   Buncombe,   “Eyewitness:   Under   Fire   in   Thailand,”   The  
Independent,  May  20,  2010.  
http://www.independent.co.uk/news/world/asia/eyewitness-­‐under-­‐fire-­‐
in-­‐thailand-­‐1977647.html      
See   also:   Bangkok   Pundit   (pseud.),   “What   Happened   at   Wat   Pathum  
Wanaram?,”  Bangkok  Pundit,  May  31,  2010.  
http://asiancorrespondent.com/bangkok-­‐pundit-­‐blog/what-­‐happened-­‐at-­‐
wat-­‐pathum-­‐wanaram  
1   The   Statement   of   Anonymous   Witness   No.   4   is   reproduced   in   the  
Appendix.  
1  The  Statements  of  Anonymous  Witnesses  No.  6  and  No.  9  are  reproduced  

in  the  Appendix.  
1  Internal  Security  Act,  B.E.  2551  (2008),  s.  3.  

1   Human   Rights   Watch,   “Thailand:   Internal   Security   Act   Threatens  


Democracy  and  Human  Rights,”  November  5,  2007.  
http://www.hrw.org/en/news/2007/11/04/thailand-­‐internal-­‐security-­‐
act-­‐threatens-­‐democracy-­‐and-­‐human-­‐rights  
1   For   a   brief   account   of   ISOC’s   disturbing   human   rights   record,   see   Paul  

Busbarat,  “Thailand,  International  Human  Rights  and  ISOC,”  New  Mandala,  


January  27,  2009.  
http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2009/01/27/thailand-­‐
international-­‐human-­‐rights-­‐and-­‐isoc/  
1  Internal  Security  Act,  B.E.  2551  (2008),  ss.  4-­‐5.  
1  Internal  Security  Act,  B.E.  2551  (2008),  ss.  5.  

1  Internal  Security  Act,  B.E.  2551  (2008),  s.  18.  


1  
International   Commission   of   Jurists,   “Thailand’s   Internal   Security   Act:  
Risking  the  Rule  of  Law?”  February  2010  (http://icj.org/IMG/REPORT-­‐ISA-­‐
THAILAND.pdf)  

188
1   “Announcement   of   the   Centre   for   the   Resolution   of   the   Emergency  
Situation   Re:   Prohibition   of   Assembly   or   Gathering   to   Conspire,   April   8   B.E.  
2553  (2010).”  
1   “Regulation   pursuant   to   Section   9   of   the   Emergency   Decree   on   Public  

Administration  on  Emergency  Situation,  B.E.  2548  (2005).”  


1  “Announcement  pursuant  to  Section  9  of  the  Emergency  Decree  on  Public  

Administration  on  Emergency,  Situation  B.E.  2548  (2005).”  


1  “Announcement  pursuant  to  Section  11  of  the  Emergency  Decree  on  

Public  Administration  on  Emergency  Situation  B.E.  2548  (2005).”  


1  
Asian   Legal   Resource   Centre,   “Thailand:   Arbitrary   Detention   and  
Harassment  under  the  Emergency  Decree,”  August  31,  2010.  
http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2010statements/2791/  
1   Chris   Baker,   “From   Smoke   and   Mirrors   to   Fear   and   Folly,”   The   Nation,  

February  21,  2010.  


http://www.nationmultimedia.com/home/2010/02/22/opinion/From-­‐
smoke-­‐and-­‐mirrors-­‐to-­‐fear-­‐and-­‐folly-­‐30123119.html    
 
1  “Strategy  of  tension”  is  an  expression  originally  coined  to  describe  a  

campaign  of  terrorism  that  extreme  right  wing  groups  carried  out  in  Italy  
beginning  with  the  bombings  at  Piazza  Fontana  in  the  late  1960s.  The  
purpose  of  the  campaign,  which  was  blamed  on  left  wing  extra-­‐
parliamentary  groups,  was  to  prompt  the  Italian  state  to  impose  the  State  
of  Emergency  and  manipulate  public  opinion  to  support  the  state’s  
recourse  to  authoritarian  measures.  
1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶¶  24-­‐26.  

1  “Sabotage  Threat:  PM,”  The  Nation,  March  7,  2010.  

http://www.nationmultimedia.com/home/2010/03/07/politics/Sabotage
-­‐threat-­‐PM-­‐30124083.html  
1  “PM  Vows  to  Mull  Lifting  Decree  Urgently,”  Bangkok  Post,  July  25,  2010.  

http://www.bangkokpost.com/breakingnews/187820/pm-­‐vows-­‐to-­‐mull-­‐
lifting-­‐decree-­‐urgently  
1  Statement  of  Anonymous  Witness  No.  22,  at  ¶  59.  

189
1  Prosecutor  v.  Kenya,  ICC-­‐01/09-­‐19,  Decision  Pursuant  to  Article  15  of  the  

Rome  Statute  on  the  Authorization  of  an  Investigation  into  the  Situation  in  
the  Republic  of  Kenya,  March  31,    2010.  
1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para.  32.  
1  Appeals  Chamber,  Judgment  on  the  Appeal  of  the  Prosecutor  against  the  

“Decision  on  the  Prosecution’s  Application  for  a  Warrant  of  Arrest  against  
Omar,  Hassan  Ahmad  Al  Bashir,”    February  3,  2010,  para.  33.  
1   See   Elements   of   Crimes,   Article   7(1)(a)(1).   the   term   'killed'   is  

interchangeable  with  the  expression  “caused  death.”  


1  JP  Bemba  Gomba  Decision,  para.134.  
1   Pre-­‐Trial   Chamber   I,   Katanga   decision,   ICC-­‐01/04-­‐01/07-­‐717,   para.   421;  

see   also   ICTR,   The   Prosecutor   v.   Akayesu,   Case   No.   ICTR-­‐96-­‐4-­‐T,  


“Judgment”,   September   2   1998,   para.   589;   ICTR,   The   Prosecutor   v  
Rutaganda,   Case   No.   ICTR-­‐96-­‐3-­‐T,   “Judgment,”   December   6,   1999,   para.   80;  
ICTY,  Prosecutor  v.  Blaskic,  Case  No.  IT-­‐35-­‐14,  “Judgment,”  March  3,  2000,  
paras   216-­‐217;   ICTY,   Prosecutor   v   Delalic,   et   al,   Case   No.   IT-­‐96-­‐21,  
“Judgment,”  November  16,  1998,  para.  424.  
1   See   also   for   the   same   finding   in   Pre-­‐Trial   Chamber   I,   Katanga   decision,  

1CC-­‐01/04-­‐01/07-­‐717,  para.  287.  


1   See   also   ICTY,   Prosecutor   v   Knojelac,   Case   No.   IT-­‐97-­‐25,   “Judgment,”  

March  15,  2002,  paras  326-­‐327.  


1   P.   Currat,   Les   crimes   contre   l'humanité   dans   le   Statut   de   la   Cour   pénale  

internationale,  (Bruylant,  2006),  p.  146;  ICTY,  Prosecutor  v  Krnojelac,  Case  


No.  IT-­‐97-­‐25,  “Judgment,”  March  15,  2002,  para.  329.  
1  For  a  similar  approach,  see  ICTY,  Prosecutor  v.  Stokte,  Case  No.  IT-­‐97-­‐24-­‐

T,  “Judgment,”  July  31,  2003,  para.  201.  


1   This   approach   was   also   taken   in   ICTR,   The   Prosecutor   v.   Akayesu,   Case  

No.  ICTR-­‐96-­‐40-­‐T,  “Judgment,”  September  2,  1998,  para.  282:  Pursuant  to  a  
question   from   the   Chamber   as   to   the   killing   of   teachers,   witness   K   stated  
she   was   unsure   how   many   were   killed,   but   that   she   knew   the   names   of  
some  of  them;  ICTR,  The  Prosecutor  v  Kamuhanda,  Case  No.  ICTR-­‐95-­‐54A-­‐
T,   “Judgment,”   January   22,   2004,   para.   345:   “Prosecution   Witness   GEA  
testified  that  he  could  not  say  how  many  people  had  died  at  that  location,  
because   ‘that   day   there   were   very   many.’;”   ICTR,   The   Prosecutor   v  
Ntakirutimana,   Case   No.   ICTR-­‐96-­‐10   &   TCTR-­‐96-­‐17-­‐T,   “Judgment   and  
Sentence,”  February  21,  2003,  para.  631:  the  witness  specified  that  “many  
people  were  killed  as  a  result  of  this  attack.”  
 
1   Pre   Trial   Chamber   I,   Decision   on   the   Prosecutor’s   Application   for   a  

Warrant   of   Arrest   against   Omar   Hassan   Ahmad   Al   Bashir,   ICC-­‐


02/05/01/09-­‐3,  para.  36.  
1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para.  39.  

190
 
1ICC,   Situation   in   the   Democratic   Republic   of   the   Congo   in   the   Case   of   the  

Prosecutor   v.   Germain   Katanga   and   Mattieu   Ngudjolo   Chui,   ICC-­‐01/04-­‐


01/07   Decision   on   the   Confirmation   of   the   Charges,   September   30,   2008,  
(Pre-­‐Trial  Chamber  I,  Katanga  decision,  ICC-­‐01/04-­‐01/07-­‐717),  para.  423.  
1  Elements  of  Crimes,  Article  7(l)(a)  of  the  Statute,  para.  2.  
1   Figures   about   Iraq   war   casualties   are   from   the   website   “Iraq   Coalition  

Casualty  Count,”  http://icasualties.org/Iraq/USCasualtiesByState.aspx.    


1   Human   Rights   Watch,   “Thailand:   Revoke   ‘Live   Fire   Zones’   in   Bangkok,”  

May  15,  2010.  


http://www.hrw.org/en/news/2010/05/15/thailand-­‐revoke-­‐live-­‐fire-­‐
zones-­‐bangkok    
1   Amnesty   International,   “Thai   Military   Must   Halt   Reckless   Use   of   Lethal  

Force,”  May  18,  2010.  


http://www.amnestyusa.org/document.php?id=ENGNAU2010051816851
&lang=e    
1  Reporters  Without  Borders,  “Thailand:  Licence  to  Kill,”  July  2010.  

http://en.rsf.org/IMG/pdf/REPORT_RSF_THAILAND_Eng.pdf    
1   International   Crisis   Group,   “Bridging   Thailand’s   Deep   Divide,”   ICG   Asia  

Report  192,  July  5,  2010,  p.  18.  


 http://www.crisisgroup.org/~/media/Files/asia/south-­‐east-­‐
asia/thailand/192_Bridging%20Thailands%20Deep%20Divide.ashx  
1   Marwaan   Macar-­‐Markan,   “Jails   Fill   Up   with   Political   Prisoners,   Critics,”  

Inter-­Press  Service,  August  23,  2010.  


http://ipsnews.net/news.asp?idnews=52571    
1   Human   Rights   Watch,   “Thailand:   Repeal   the   Emergency   Decree,”  

November  24,  2010.  


http://www.hrw.org/en/news/2010/11/24/thailand-­‐repeal-­‐emergency-­‐
decree    
1  See  Elements  of  Crimes,  Article  7(1)(k)(1).  
1  Boot,  M.  revised  by  C.K.  Hall,  C.  K.,  “Article  7  -­‐  Crimes  against  Humanity”,  

in   O.   Triffener   (ed.),   Commentary   on   the   Rome   Statute   of   the   International  


Criminal  Court,  2nd  Edition  (München:  C.H.  Beck,  2008),  p.230.  
1  Pre-­‐Trial  Chamber  I,  Katanga  decision,  ICC-­‐01/04-­‐01/07-­‐717,  para.  450.  
1  Pre-­‐Trial  Chamber  I,  Katanga  decision,  ICC-­‐01/04-­‐01/07-­‐717,  para.  451.  
1  Pre-­‐Trial  Chamber  I,  Katanga  decision,  ICC-­‐01/04-­‐01/07-­‐717,  para.  452.  

 
 
1  ICTY  The  Prosecutor  y  Kordic  and  Cerkez,  Case  No.  IT-­‐95-­‐14/2-­‐A,  Appeals  

Judgment,  December  17,  2004,  para.  117.  

191
1  Pre-­‐Trial  Chamber  I,  Katanga  decision,  ICC-­‐01/04-­‐01/07-­‐717,  para.  461.  
1   For   English   translations   and   summaries   of   the   original   Thai   reports,   see  

Andrew  Spooner,  “Thai  Style  Human  Rights,”  Siam  Voices,  October  3,  2010.  
http://asiancorrespondent.com/41045/thai-­‐style-­‐human-­‐rights/  )    
See  also  Andrew  Spooner,  “Thai  Army  Brutality—  An  Account,”  Siam  Voices,  
November   16,   2010   (http://asiancorrespondent.com/42679/thai-­‐army-­‐
brutality-­‐an-­‐account/)    
1  See  “Panel  Claims  Red  Shirt  Inmates  Tortured,”  Bangkok  Post,  December  

7,  2010.  

http://www.bangkokpost.com/news/politics/210009/panel-­‐claims-­‐red-­‐
shirt-­‐inmates-­‐tortured    
1  See  Elements  of  Crimes,  Article  7  (1)  (h)  (1).  
1  ICTY,  Krnojelac,  Case  No.  IT-­‐95-­‐16-­‐T,  Judgment,  March  15,  2002,  para.436.  
1  ICTY,  Krnojelac,  Case  No.  IT-­‐95-­‐16-­‐T,  Judgment,  March  15,  2002,  para.436.  

1  “CNS’s  Anti-­‐Thaksin  Campaign,”  Bangkok  Post,  April  8,  2007.    

http://pages.citebite.com/i1t5f0u5a3yao    
1   “Saprang's   Cousin   Given   PR   Work   'Because   of   Experience',”   The   Nation,  

Apr.  11,  2007.  


http://www.nationmultimedia.com/2007/04/11/politics/politics_300316
50.php    
1  “Nine  Constitution  Tribunal  Members,”  The  Nation,  October  7,  2006.  

http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?newsid=30015571
;    
See   also   “Thailand’s   Struggle   for   Constitutional   Survival,”   Article   2   of   the  
International   Covenant   on   Civil   and   Political   Rights   (Special   Edition),  
6(2007),  p.  4.    
1  Vorajet  Pakirat  et  al.,  “Decision  of  the  Constitutional  Tribunal  to  Dissolve  

Thai  Rak  Thai  —  A  Legal  Analysis,”  Faculty  of  Law,  Thammasat  University.  
1   Asian   Human   Rights   Commission,   “THAILAND:   The   Judiciary   is   the   Real  

Loser,”  May  31,  2007.  


http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2007statements/1041/    
1  “Junta  ‘Never  Harmed  PPP’,”  Bangkok  Post,  December  13,  2007.    

http://thailandpost.blogspot.com/2007/12/junta-­‐never-­‐harmed-­‐ppp.html  
1  
“Thai   Election   Agency   Disqualifies   More   Winning   Candidates,”   People’s  
Daily,  January  7,  2008.  
http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/6333842.html  

192
1   Narongdech   Srukhosit,   “Some   Reflections   on   the   Dissolution   of   Political  

Parties   in   Thailand,”   International   Association   of   Law   Schools,   September  


11-­‐12,  2009.  
http://www.ialsnet.org/meetings/constit/papers/SrukhositNarongdech(T
hailand).pdf    
1  “EC  Hits  Back  at  Critics  of  Its  Actions,”  Bangkok  Post,  December  2,  2010.  

http://m.bangkokpost.com/topstories/209253  
1   Thitinan   Pongsudhirak,   “Thailand's   Growing   Political   Abyss,”   OpinionAsia,  

December  22,  2010.  


http://opinionasia.com/node/850    
1   Inter-­‐American   Commission   on   Human   Rights,   “Application   to   the   Inter-­‐

American   Court   of   Human   Rights   in   the   case   of   Leopoldo   Lopez   Mendoza  


(Caso   12.668)   against   Venezuela,”   December   14,   2009.   1   See   Article   7   (2)  
Rome  Statute  and  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para.  79.  
1   Kenyan   Decision   on   Article   15,   para.   80   and   Elements   of   Crimes,  

Introduction  to  Article  7  of  the  Statute,  para.  3.  


1   Pre-­‐Trial   Chamber   II,   ICC-­‐01/05-­‐01/08-­‐424,   Decision   Pursuant   to   Article  

61   (7)   (a)   and   (b)   of   the   Rome   Statute   on   the   Charges   of   the   Prosecutor   on  
against  Jean  Pierre  Bemba  Gomba,  June  15,  2009,  para  75.  
1   Kenyan   Decision   on   Article   15,   para.   81   and   JP   Bemba   Gomba   Decision,  

para.  76.  
 
1   Kenyan   Decision   on   Article   15,   para.   81and   JP   Bemba   Gomba   Decision,  

para.  76.  
1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para  82.  
1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para  82.  

1  Pre-­‐Trial  Chamber  II,  ICC-­‐01/04-­‐01/07-­‐717,  Decision  on  the  Confirmation  

of  the  Charges,  para  396.  


1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para.  89.  
1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para.  93.  
1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para.  93.  
1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para.  93.  

1   Kenyan   Decision   on   Art.   15,   para.   94,   See   also   Pre-­‐Trial   Chamber   I,  
Decision  on  the  confirmation  of  charges,  ICC-­‐01/04-­‐01/07-­‐717,  para.  412;  
ICTY,  Prosecutor  v.  Kunarac  et  al.  Case  No.  IT-­‐96-­‐23  &  IT-­‐96-­‐23/1-­‐A,  Appeal  
Judgement,  June  12,  2002,  para.  97.  
1   Kenyan   Decision   on   Article   15,   para.   95,   ICTY,   Prosecutor   v.   Blagojevic   and  

Jokic,  Case  No.  IT-­‐02-­‐60-­‐T,  Judgment,  January  17,  2005,  para.  545.  See  also  
Pre-­‐Trial   Chamber   II,   Decision   Pursuant   to   Article   61(7)(a)   and   (b)   of   the  

193
Rome  Statute  on  the  Charges  of  the  Prosecutor  Against  Jean-­‐Pierre  Bemba  
Gombo,   ICC-­‐01/05-­‐   01/08-­‐424,   para.   83,   ICTY,   Prosecutor   v.   Blaskic,   Case  
No.   IT-­‐95-­‐14-­‐T,   Judgement,   March   3,   2000,   para.   206;   ICTY,   Prosecutor   v.  
Kordic   and   Cerkez,   Case   No.   IT-­‐95-­‐14/2-­‐A,   Appeal   Judgement,   December  
17,  2004,  para.  94;  ICTY,  Prosecutor  v.  Blaskic,  Case  No.  IT-­‐95-­‐14-­‐A,  Appeal  
Judgment,  July  29,  2004,  para.  101.  
1   ICTY,   Prosecutor   v.   Blagojevic   and   Jokic,   Case   No.   IT-­‐02-­‐60-­‐T,   Judgement,  

January   17,   2005,   para.   545.   See   also   Pre-­‐Trial   Chamber   II,   JP   Bemba  
Gomba  Decision,  para.  83,  ICTY,  Prosecutor  v.  Blaskic,  Case  No.  IT-­‐95-­‐14-­‐T,  
Judgement,  March  3,  2000,  para.  206;  ICTY,  Prosecutor  v.  Kordic  and  Cerkez,  
Case   No.   IT-­‐95-­‐14/2-­‐A,   Appeal   Judgement,   December   17,   2004,   para.   94;  
ICTY,  Prosecutor  v.  Blaskic,  Case  No.  IT-­‐95-­‐14-­‐A,  Appeal  Judgment,  July  29,  
2004   ,   para.   101;   R.   Dixon,   C.   K.   Hall,   “Article   7,”   in   O.   Triffterer   (ed.),  
Commentary  on  the  Rome  Statute  of  the  International  Criminal  Court.  
1   ICTR,   Prosecutor   v.   Akayesu,   Case   No.   ICTR-­‐96-­‐4-­‐T,   Judgement,   September  

2,  1998,  para.  580.  


1  See  Elements  of  Crimes,  Article  7(l)(a)(2);  7(l)(d)(4);  7(1)  (g)-­‐l  (3);  (2),  7  

(l)(g)-­‐6  (4);  7(1)  (k)(4);  JP  Bemba  Gomba  Decision,  para.  85.  
1  JP  Bemba  Gomba  Decision,  para.  86.  See  also  ICTR,  Prosecutor  v.  Kalelijeli,  

Case   No.   ICTR-­‐98-­‐44A-­‐T,   Judgement,   December   1,   2003,   para.   866;  


Prosecutor   v.   Semanza,   Case   No.   ICTR-­‐97-­‐20-­‐T,   Judgement,   May   15,   2003,  
para.  326.  
1   The   general   objective   (material)   elements   of   a   crime   are   referred   to   in  

article   30(2)   and   (3)   of   the   Statute   as   conduct,   consequence   and  


circumstance.  
1   JP   Bemba   Gomba   Decision,   See   the   elaboration   on   the   forms   of   dolus   in  

part  VI  of  the  decision,  paragraphs  357  to  359.  


1  ICTY,  Prosecutor  v.  Blaskic,  Judgement,  March  3,  2000,  Case  No.  IT-­‐95-­‐14-­‐

T,  at  247,  251.  


1  ICTY,  Prosecutor  v.  Kunarac  and  others,  Judgement,  February  2001,  Case  

No.  IT-­‐96-­‐23-­‐T,  at  434.  


1   "บรรหาร-­‐เนวิน"   ขวางพรรคร่วมถอนตัว   คาด   "อภิสิทธิ์"  
ลาออกหลังลุยม็อบแดงจบ   อาจยืดเยื้ออีก   1   สัปดาห์,”     Matichon,   May   17,  
2010.    
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1274104360&catid=
01.  
1  “Sansern:  500  Terrorists  Infiltrating  Reds,”  Bangkok  Post,  May  14,  2010.  

 
http://www.bangkokpost.com/breakingnews/177896/500-­‐terrorists-­‐
blending-­‐with-­‐reds-­‐sansern  

194
1  Elements  of  Crimes  Introduction  under  (1).  

 
1  Lubanga  Confirmation  of  Charges,  paras.  326-­‐339.    
1  Prosecutor  v.  Jean-­Pierre  Bemba  Gombo,  ICC  01/05–01/08,  Decision  

Pursuant  to  Article  61(7)(a)  and  (b)  on  the  Charges  against  Jean-­‐Pierre  
Bemba  Gomba,  June  15,  2009  (hereafter  Bemba  confirmation  decision),  
para.  350.    
1  Bemba  Confirmation  Decision,  para.  351.    
1  Katanga  and  Chui  Confirmation  of  Charges,  paras.  500-­‐510.  

1  Lubanga  Confirmation  of  Charges,  paras  94-­‐96;  Katanga  and  Chui  

Confirmation  of  Charges,  paras.  511-­‐518.      


1  Katanga  and  Chui  Confirmation  of  Charges,  para.  512.    
1  Katanga  and  Chui  Confirmation  of  Charges,  para.  512.  
1  Katanga  and  Chui  Confirmation  of  Charges.  

1  See  Prosecutor  v.  Thomas  Lubanga  Dyilo,  ICC-­‐01/04–01/06,  Decision  on  

the  Confirmation  of  Charges,  January  29,  2007,  paras.  349  ff.  (352).  
1   See   W.   A.   Schabas,   An   Introduction   to   the   International   Criminal   Court  
(Cambridge:  Cambridge  University  Press,  2008),  p.  78.  
1  Schabas,  An  Introduction  to  the  International  Criminal  Court,  pp.  79-­‐80.  
1   See   also   Schabas,   An   Introduction   to   the   International   Criminal   Court,   p.  

153.  
1  Negotiated  Agreement  Between  the  International  Criminal  Court  and  the  

United  Nations,  Article  17.  


1  Article  1  (1)  UN  Charter.  
1  Article  1  (3)  UN  Charter.  
1  Article  1  (4)  UN  Charter  .  
1  Paras  3,  4,  5  and  9  of  the  preamble  of  the  Rome  Statute.  
1   Security   Council   Resolution   1422   (2002),   U.N.   Doc.   S/   Res/1422   (2002),  

July  12,  2002.  


1   Security   Council   Resolution   1487   (2003)   U.N.   Doc   S/RES/1487   (2003),  

June  13,  2003.  


1  Security  Council  Resolution  1422  U.N.  Doc.  S/  Res/1422  (2002),  July  12,  

2002.  
1  Para.  6  of  the  preambles  to  Security  Council  Resolutions  1422  and  1487.  
1  Para  7  of  the  preambles  to  Security  Council  Resolutions  1422  and  1487.  

195
1  Héctor  Olásolo,  The  Triggering  Procedure  of  the  International  Criminal  

Court  (Leiden:  Martinus  Nijhoff,  2005),  p.  91.  


1   See   also   article   17   Negotiated   Agreement   Between   the   International  
Criminal  Court  and  the  United  Nations.  
1   Olasolo,   The   Triggering   Procedure   of   the   International   Criminal   Court,   p.  

92.  
1   Olasolo,   The   Triggering   Procedure   of   the   International   Criminal   Court,   p.  

93.  
1  Report  of  the  International  Commission  of  Inquiry  on  Darfur  to  the  United  

Nations  Secretary-­‐  General,  Pursuant  to  Security  Council  Resolution  1564  


of  September  18,  2004,  Geneva,  25  January  2005.  
1  Report  of  the  International  Commission  of  Inquiry  on  Darfur  to  the  United  

States,  Secretary  General,  Pursuant  to  SC  resolution  1564  of  18  September  
2004,   Geneva,   January   25,   2005.   See   also   Schabas,   An   Introduction   to   the  
International  Criminal  Court,  p.  153.  
1  Resolution  1593  of  the  United  Nations  Security  Council.  
1  Article  11  (1)  Charter  of  the  United  Nations.    
1  Article  11  (2)  Charter  of  the  United  Nations.    
1  Article  11  (3)  Charter  of  the  United  Nations.  
1  Article  12  (1)  Charter  of  the  United  Nations.  

1  
Schabas,   An   Introduction   1   Pre-­‐Trial   Chamber   II,   Decision   Pursuant   to  
Article  15  of  the  Rome  Statute  on  the  Authorization  of  an  Investigation  into  
the  Situation  in  the  Republic  of  Kenya,  ICC-­‐01/09,  31  March  2010,  para.  39.    
1  ‘Letter  of  the  Prosecutor  dated  9  February  2006’  (Iraq).  Cited  in  Schabas,  

An  Introduction  to  the  International  Criminal  Cour,  p.  72.    


1  Pre-­‐Trial  Chamber  II,  Decision  Pursuant  to  Article  15  of  the  Rome  Statute  

on  the  Authorization  of  an  Investigation  into  the  Situation  in  the  Republic  
of  Kenya,  ICC-­‐01/09,  31  March  2010,  para.  65.  to  the  International  Criminal  
Court,  p.  71.  
1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para.  45.  

1  Schabas,  An  Introduction  to  the  International  Criminal  Court,  p.  186.  

 
1   Schabas,   An   Introduction   to   the   International   Criminal   Court,   p.   187   see  

also   Prosecutor   v.   Lubanga   (ICC-­‐01/04-­‐01/06-­‐8),   Decision   on   the  


Prosecutor’s   Application   for   a   Warrant   of   Arrest,   10   February   2006,   para.  
45.  

196
1   Kenyan   Decision   on   Article   15,   para.   62.   See   also   Rule   145   (10   and   2(b)  

(iv)  of  the  RPE  ICC.  


1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para.  56.  

1   Article   14   reads:   (1)   “A   State   Party   may   refer   to   the   Prosecutor   a   situation  

in  which  one  or  more  crimes  within  the  jurisdiction  of  the  Court  appear  to  
have  been  committed  requesting  the  Prosecutor  to  investigate  the  situation  
for   the   purpose   of   determining   whether   one   or   more   specific   persons  
should   be   charged   with   the   commission   of   such   crimes.   (2)   As   far   as  
possible,   a   referral   shall   specify   the   relevant   circumstances   and   be  
accompanied   by   such   supporting   documentation   as   is   available   to   the   State  
referring  the  situation.”  
1  
Press   release   of   23   June   2004,   available   at   www.icc-­‐cpi.int.   Cited   in  
Alexander   Zahar   and   Goran   Sluiter,   International   Criminal   Law:   A   Critical  
Introduction  (Oxford:  Oxford  University  Press,  2008),  p.  455-­‐456.    
1  
Report   of   the   Prosecutor   of   the   International   Criminal   Court,   Mr.   Luis  
Moreno  Ocampo,  to  the  Security  Council  pursuant  to  UNSCR  1593  (2005),  
p.  5.    
1  Kenyan  Decision  on  Article  15,  para.  78.  

1  
Enrique   Carnero   Rojo,   “The   Role   of   Fair   Trial   Considerations   in   the  
Complementarity   Regime   of   the   International   Criminal   Court:   From   ‘No  
Peace   without   Justice’   to   ‘No   Peace   with   Victor’s   Justice’?”  Leiden   Journal   of  
International  Law,  18(2005),  p.  833.  
1   Tan   Lian   Choo,   “Clashes   Provoked   by   Group   Bent   on   Revolt:   Suchinda,”  

The  Straits  Times,  May  20,  1992.    


1  Thongchai  Winichakul,  “Remembering/Silencing  the  Traumatic  Past:  The  

Ambivalence   Narratives   of   the   October   6,   1976   Massacre   in   Bangkok,”   in  


Cultural   Crisis   and   Social   Memory:   Modernity   and   Identity   in   Thailand   and  
Laos,   eds.   Charles   F.   Keyes   and   Shigeharu   Tanabe   (London:  
Routledge/Curzon,  2002),  pp.  243-­‐283.  
1   It   is   noteworthy   that   the   song   has   been   recently   dusted   off   for   use   in  

demonstrations  by  the  People’s  Alliance  for  Democracy  and  for  playing  on  
radios   controlled   by   the   Royal   Thai   Army.   For   reports   of   the   former,   see  
“Fierce   PAD   Nationalism   on   Stage,”   Prachatai,   November   17,   2009  
(http://www.prachatai.com/english/node/1495).  For  reports  of  the  latter,  

197
see   Andrew   Walker,   “Scum   of   the   Earth,”   New   Mandala,   September   11,  
2007  
(http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2007/09/11/scum-­‐of-­‐the-­‐
earth/).  
1   See   Alan   Klima,   The   Funeral   Casino:   Meditation,   Massacre,   and   Exchange  

with  the  Dead  in  Thailand  (Princeton,  NJ:  Princeton  University  Press,  2004),  
p.  61-­‐62.  
1  Klima,  The  Funeral  Casino,  pp.  117-­‐119.  
1   For   an   overview,   see   Katherine   Bowie,   Rituals   of   National   Loyalty:   An  

Anthropology   of   the   State   and   Village   Scout   Movement   in   Thailand   (New  


York:  Columbia  University  Press,  1997),  pp.  21-­‐33  and  pp.  105-­‐110.  
1   See   Ross   Prizzia,   Thailand   In   Transition:   The   Role   of   Oppositional   Forces  

(Honolulu:  Hawaii  University  Press,  1985),  p.  69.  


1   “Shootings   Were   in   Self-­‐Defence,   Says   Spokesman,”   The   Nation,   May   20,  

1992.  
1   See   Paul   M.   Handley,   The   King   Never   Smiles:   A   Biography   of   Thailand’s  

Bhumibol  Adulyadej  (New  Haven:  Yale  University  Press,  2006),  p.  353.  
1   See   David   Streckfuss,   The   Truth   on   Trial   in   Thailand:   Defamation,   Treason,  

and  Lèse-­Majesté  (London:  Routledge,  2010),  Ch.  10.  


1   Human   Rights   Watch,   “Thailand:   Serious   Backsliding   on   Human   Rights,”  

January  20,  2010.  


http://www.hrw.org/en/news/2010/01/20/thailand-­‐serious-­‐backsliding-­‐
human-­‐rights    
1   Pasuk   Phongpaichit   and   Chris   Baker,   Thaksin   (Chiang   Mai:   Silkworm,  

2009),  p.  276.  


1   “Arrest   Warrants   for   2   in   Court   Scandal,”   Bangkok   Post,   November   16,  

2010.  
http://www.bangkokpost.com/breakingnews/206665/warrants-­‐for-­‐2-­‐in-­‐
court-­‐scandal-­‐approved    
1  
“Court   Scandals   in   Thailand:   Judges   in   the   Dock,”   The   Economist,  
November  11,  2010.  
http://www.economist.com/node/17472738  
1  “Red  Shirt  Autopsy  Results  Tomorrow,”  The  Nation,  August  22,  2010.  

http://www.nationmultimedia.com/home/Red-­‐shirt-­‐autopsy-­‐results-­‐
tomorrow-­‐30136337.html    
1   Pongphon   Sarnsamak   “Anger   over   Riot   Autopsy   Report,”   The   Nation,  

August  24,  2010.  


http://www.nationmultimedia.com/home/Anger-­‐over-­‐riot-­‐autopsy-­‐
reports-­‐30136447.html    

198
1  
Pravit   Rojanaphruk,   “‘Leaked’   Reports   Blame   Military   for   Some  
Crackdown  Deaths,”  Prachatai,  December  24,  2010.  
http://www.prachatai.com/english/node/2209  
Pravit   Rojanaphruk,   “Leaked   DSI   Report   Reveals   Shooting   of   Teenager,”  
Prachatai,  December  25,  2010.  
http://www.prachatai.com/english/node/2211    
Pravit   Rojanaphruk,   “Leaked   Reports   Tie   Soldiers   to   Two   Shootings,”  
Prachatai,  December  27,  2010.  
http://www.prachatai.com/english/node/2212  
Pravit   Rojanaphruk,   “Reports   Link   Two   More   Civilian   Deaths   to   Army,”  
Prachatai,  January  4,  2011.  
http://www.prachatai.com/english/node/2224  
1   Anthony   Kuhn,   “Thai   Riots   Sign   Of   Simmering   Political   Tensions,”   NPR,  

December  17,  2010.  


http://www.npr.org/2010/12/17/132143512/thai-­‐riots-­‐sign-­‐of-­‐
simmering-­‐political-­‐tensions    
1  “Causes  of  Riot  Deaths  Inconclusive,”  Bangkok  Post,  January  20,  2010.  

http://www.bangkokpost.com/breakingnews/217349/causes-­‐of-­‐riot-­‐
deaths-­‐inconclusive    
1   รองอธิบดีดีเอสไอยอมรับมี   "การเมือง"  
แทรกแซงถูกใช้เป็นเครื่องมือเผยอยากให้องค์กร   เป็นอิสระเหมือน   ป.ป.ช.,  
Matichon,  12  July  2010.  
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278918895&catid=
17    
1  “UDD  Presents  Long  New  Witness  List,”  Bangkok  Post,  August  2,  2010.  

 http://www.bangkokpost.com/news/politics/189110/oag-­‐asked-­‐to-­‐
question-­‐250-­‐more-­‐witnesses  
1   “Prosecution   Review   Completed,   19   Red   Shirts   to   Face   Terrorism   Trial,”  

The  Nation,  August  11,  2010.  


http://www.nationmultimedia.com/home/Prosecution-­‐review-­‐completed-­‐
19-­‐red-­‐shirts-­‐to-­‐face-­‐30135707.html    
1  Order  dated  September  27,  2010,  at  p.  11.    An  English  translation  of  Judge  

Sujitra’s  Order  is  reproduced  in  the  Appendix.  


1  Order  dated  September  27,  2010,  at  p.  10.  

1  
Atiya   Achakulwisut,   “Reconciliation   Will   Have   Its   Price,”   Bangkok   Post,  
June   15,   2010.  
http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/38778/reconciliation-­‐
will-­‐have-­‐its-­‐price  

199
1  “Kanit  Decries  Chaining  of  Reds,”  The  Nation,  July  24,  2010.  

http://www.nationmultimedia.com/home/Kanit-­‐decries-­‐chaining-­‐of-­‐reds-­‐
30134467.html    
1   “Kanit   Panel   Calls   for   Transparency   over   Unrest   Details,”   The   Nation,  

August  3,  2010.  


http://www.nationmultimedia.com/home/Kanit-­‐panel-­‐calls-­‐for-­‐
transparency-­‐over-­‐unrest-­‐det-­‐30135083.html    
1   Pongphon   Sarnsamak,   “DSI   Report   ‘Ambiguous,   Unclear’,”   The   Nation,  

November  19,  2010.  


http://www.nationmultimedia.com/home/DSI-­‐report-­‐ambiguous-­‐unclear-­‐
-­‐30142568.html    
1  “Kanit  to  Dig  for  Root  Causes  of  Political  Conflict,”  The  Nation,  July  8,  2010.  

http://www.nationmultimedia.com/home/Kanit-­‐to-­‐dig-­‐for-­‐root-­‐causes-­‐of-­‐
political-­‐conflict-­‐30133319.html    
1   Human   Rights   Watch,   “Thailand:   Repeal   the   Emergency   Decree,”  

November  24,  2010.  


http://www.hrw.org/en/news/2010/11/24/thailand-­‐repeal-­‐emergency-­‐
decree  
1   Marian   Liebmann,   Restorative   Justice:   How   It   Works   (London:   Jessica  

Kingsley  Publishers,  2007),  p.  33.  


1  “Nuremberg  Declaration  on  Peace  and  Justice,”  June  13,  2008.  

http://www.peace-­‐justice-­‐
conference.info/download/Nuremberg%20Declaration%20A-­‐62-­‐
885%20eng.pdf    
1   United   Nations,   “Updated   Set   of   Principles   for   the   Protection   and  

Promotion  of  Human  Rights  through  Action  to  Combat  Impunity,”  February  
8,  2005.  
 
 
 

200
 

 
 

   

 
 

201

You might also like