You are on page 1of 5

สงครามเก้าทัพ

ราชการสงครามกับพม่าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
หลังจากกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราชได้ทรงกอบกู้เอกราชของไทยไว้ได้และทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี และมีราชการสงครามเกือบ
ตลอดรัชกาล ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ทรงปราบดาภิเษกเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา
โลกมหาราช สถาปนาราชวงศ์จักรี และย้ายเมืองหลวงมาฝั่งบางกอก ตั้งเป็นกรุงรัตนโกสินทร์หรือ
กรุงเทพมหานครนั่นเอง
นับตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีของไทย ราชอาณาจักรไทยได้ทาสงครามกับพม่ารวม
ทั้งหมดสิบครั้งด้วยกันเป็นสงครามฝ่ายพม่ารุกรานไทย๕ครั้ง ไทยไปโจมตีพม่า๕ครั้ง ในสิบครั้งนี้เป็น
สงครามในรัชกาลที่หนึ่ง๗ครั้ง รัชกาลที่สอง๑ครั้ง รัชกาลที่สาม๑ครั้ง และรัชกาลที่สี่๑ครั้งส่วนในรัชกาลที่
ห้า เป็นเพียงการขับไล่พวกพม่ามิได้ถึงกับรบพุ่งกัน และในการรบกันแต่ละครั้งเป็นสงครามใหญ่อยู่แต่ใน
สมัยรัชกาลที่๑ ส่วนในรัชกาลอื่นๆต่อมาเป็นเพียงการปะทะกันตามแนวชายแดน ไม่ได้เป็นการรบพุ่งกัน
จริงจังแต่อย่างใด
ในสมัยรัชกาลที่๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้เวลาสร้างกรุง
รัตนโกสินทร์เป็นเวลาสามปี ที่มีเวลาพอสร้างก็เพราะว่าพม่ามีปัญหาการเมืองภายใน พอแก้ปัญหาได้ ข้าง
ฝ่ายไทยก็ลงหลักปักฐานมั่นคงเสียแล้ว ประเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าจึงหมายยกทัพมาปราบไทยให้ราบคาบจึง
เป็นที่มาของสงครามครั้งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือที่รู้จักกันในนามสงครามเก้าทัพ ซึ่งในสงครามครั้ง
นี้ไทยได้ใช้ยุทธวิธีใหม่ไม่เหมือนที่ผ่านมาแต่เก่าก่อน กล่าวคือ ในสมัยอยุธยา ไทยได้ใช้ตัวพระนครเป็น
ปราการตั้งรับพม่า รอจนฤดูน้าหลากให้พม่าถอยทัพไปเองแต่ในสงครามคราวนี้ไทยได้ใช้ยุทธวิธีใหม่คือไม่
ใช้ตัวพระนครตั้งรับแต่ยกทัพไปออกมาตั้งรับจนถึงชายแดน เรียกว่ากลยุทธ์ปิดตรอกตีพม่า ซึ่งจะได้กล่าว
รายละเอียดในบทต่อๆไป หลังจากที่ไทยรบชนะพม่าหลายครั้งหลายครั้งก็คิดจะยกทัพไปตีพม่าบ้าง แต่ก็ไม่
สาเร็จได้แต่หัวเมืองลื้อ เขิน ของพม่ามาเป็นของไทยบ้างเท่านั้น
ในสมัยรัชกาลที่๒ พม่าก็ยกทัพมาตีไทยอีกแต่มีเหตุขัดข้อง เลยเพียงแค่ปล้นหัวเมืองฝ่ายใต้พอทัพ
หลวงยกไปปราบก็พ่ายแพ้ไป ในรัชกาลที่๓อังกฤษชวนไทยไปตีพม่า ไทยได้รบกับพม่าบ้างประปราย แต่
ไม่ได้ช่วยอังกฤษรบอย่างจริงจัง เพียงแต่ตั้งทัพคอยอยู่เท่านั้นเนื่องด้วยมีการขัดกันด้านผลประโยชน์ไม่ลงตัว
ในรัชกาลที่๔ไทยไปตีเมืองเชียงตุง เนื่องด้วยพม่ามักใช้เชียงตุงเป็นฐานมาตีหัวเมืองเหนือของไทยเสมอ ฝ่าย
ไทยจึงใคร่อยากได้เชียงตุงมาเป็นของไทยเพื่อเป็นการตัดทางพม่าแต่กระทาการไม่สาเร็จเพราะไม่ชานาญภูมิ
ประเทศ และเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เป็นการรบครั้งสุดท้ายกับพม่าเพราะหลังจากนี้อังกฤษได้ครอบครองหัวเมือง
มอญของพม่าทั้งหมด ต่อมาพระเจ้ามินดงพยายามจะทาสัมพันธไมตรีกับไทยแต่พระบาทสมเด็จพระจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงรับ
ในสมัยรัชกาลที่๕ พวกพม่าที่อพยพมาอยู่เมืองเชียงแสนเกิดกระด้างกระเดื่อง ร.๕จึงโปรดเกล้าฯให้
กองทัพเจ้านายในมณฑลพายัพยกขึ้นไปขับไล่พม่า พวกพม่าจึงหนีกลับเมืองพม่ากันหมด การรบครั้งนี้เป็น
เพียงการปราบปรามพวกพม่าที่อพยพมาเชียงแสนจานวนพันเศษเท่านั้นไม่นับว่าเป็นการทาสงครามกับ
ประเทศพม่า อีกอย่างหนึ่งคือพม่าในขณะนั้นเสียเอกราชแก่อังกฤษแล้ว ไม่มีกาลังจะมารบกับไทยได้อีก
ต่อไป

สาเหตุของการเกิดสงครามเก้าทัพ
ก่อนจะเกิดสงครามเก้าทัพในเมืองพม่าเกิดเหตุการณ์วุ่นวายตามที่พงศาวดารพม่าบันทึกไว้ ดังนี้
เมื่อพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์ มังลอกราชบุตรองค์โตขึ้นครองราชต่อมา พระเจ้ามังลอกมีราชบุตรกับ
มเหสีองค์หนึ่งชื่อมังหม่อง เมื่อพระเจ้ามังลอกสิ้นพระชนม์ราชสมบัติตกแก่มังระอนุชา เมื่อมังหม่องโต
ขึ้นมังระมีดาริจะฆ่ามังหม่องแต่นางราชชนนีผู้ย่าขอชีวิตไว้ให้บวชเรียนตลอดชีวิตมิให้ยุ่งเกี่ยวราชการ พระ
เจ้ามังระมีราชบุตรสององค์ องค์โตชื่อจิงกูจาเป็นลูกมเหสี องค์รองชื่อแชลงจาเป็นลูกพระสนม จิงกูจามี
ประพฤติเสเพล พระเจ้ามังระมิใคร่เต็มใจให้เป็นรัชทายาท

ครั้น พ.ศ.๒๓๑๙พระเจ้ามังระประชวนหนักใกล้สินพระชนม์จึงมอบราชสมบัติให้แก่จิงกูจา ด้วย


เกรงว่ามอบให้ผู้อื่นจะเกิดจราจล พระเจ้าจิงกูจาได้ราชสมบัติแล้วก็เกรงคนคิดร้าย จึงจับแชลงจาสาเร็จโทษ
เรียกอะแซหวุ่นกี้กลับจากเมืองพิษณุโลกแล้วถอดบรรดาศักดิ์ แล้วจับพระเจ้าอาองค์ใหญ่ชื่อ มังโปตะแคงอะ
เมียงสาเร็จโทษอีกองค์หนึ่ง และให้เนรเทศพระเจ้าอาอีกสามองค์ คือมังเวงตะแคงปดุง มังจูตะแคงพุกาม
และมังโพเชียงตะแคงแปงตะแล ไปจากเมืองอังวะเอาตัวไปคุมไว้ในหัวเมือง
พระเจ้าจิงกูจามีมเหสีแต่ไม่มีราชบุตร จากนั้นได้ธิดาอามาตย์อะตวนหวุ่นมาเป็นสนม แต่แรกมี
ความเสน่ห์หานางนั้นมากถึงกับยกให้เป็นสนมเอก บิดาของนางก็ยกย่องให้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ วันหนึ่ง
พระเจ้าจิงกูจาเมาและเกิดพิโรธให้เอานางสนมเอกไปถ่วงน้าเสีย แล้วถอดอะตวนหวุ่นบิดาลงมาเป็นไพร่
อะตวนหวุ่นโกรธแค้นจึงไปคบคิดกับตะแคงปดุงพระเจ้าอาปรึกษาจะกาจัดพระเจ้าจิงกูจาเสีย ตะแคงปดุง
กลัวอนุชาสององค์จะไม่ให้ราชสมบัติจึงอุดหนุนมังหม่องบุตรมเหสีพระเจ้ามังลอกซึ่งบวชเป็นสามเณรให้
ชิงราชสมบัติ
ปี พ.ศ.๒๓๒๔ พระเจ้าจิงกูจาเสด็จออกประพาสหัวเมือง มังหม่องจึงสึกออกมาคุมพรรคพวกเข้า
ปล้นเมืองอังวะได้โดยง่าย มังหม่องจะถวายราชสมบัติกับพระเจ้าอาทั้งสาม แต่พระเจ้าอาไม่ยอมรับ มังหม่อง
จึงขึ้นว่าราชการ แต่มังหม่องไม่สามารถปกครองแผ่นดินได้ พวกข้าราชการจึงเชิญตะแคงปดุงขึ้นครองราช
สมบัติ มังหม่องนั่งเมืองอยู่๑๑วันก็ถูกสาเร็จโทษ
ฝ่ายพระเจ้าจิงกูจาซึ่งออกประพาสหัวเมืองเมื่อทราบข่าวว่ามังหม่องชิงเมืองอังวะ พวกไพร่พลที่
ติดตามไปด้วยก็หลบหนีไปเป็นอันมาก เหลือแต่ขุนนางคนสนิทอยู่ไม่กี่คน แต่แรกพระเจ้าจิงกูจาคิดจะไป
อาศัยอยู่กระแซ แต่เป็นห่วงราชชนนีจึงลอบลงมาใกล้กรุงอังวะแล้วมีหนังสือกราบทูลว่าจะไปอยู่เมือง
กระแซ นางราชชนนีห้ามปรามว่า ”เกิดเป็นกษัตริย์ ถึงตายก็ชอบที่จะตายอยู่ในเมืองของตัว ที่จะหนีไปพึ่ง
เมืองน้อยอันเคยเป็นข้าหาควรไม่ ” พระเจ้าจิงกูจาก็เกิดมานะ พาพวกบริวารเข้าไปในเมืองอังวะ ทาเหมือน
เสด็จไปประพาสแล้วเสด็จกลับคืนพระนคร พวกไพร่พลที่รักษาประตูเห็นเป็นพระเจ้าจิงกูจาก็เกรงกลัวไม่
กล้าต่อสู้ พระเจ้าจิงกูจาเสด็จเข้าไปถึงในเมืองพออะตวนหวุ่นทราบความจึงคุมพลมาล้อมจับพระเจ้าจิงกูจา
อะตวนหวุ่นฟันพระเจ้าจิงกูจาสิ้นพระชนม์ พระเจ้าปดุงทรงทราบความว่าอะตวนหวุ่นฆ่าพระเจ้าจิงกูจาก็
ทรงพิโรธว่าควรจับมาถวายโดยละม่อม ไม่ควรฆ่าฟันเจ้านายโดยพละการ ให้เอาตัวอะตวนหวุ่นไปประหาร
ชีวิตเสีย
ขณะเมื่อเกิดแย่งชิงราชสมบัติกันวุ่นวายในเมืองพม่าครั้งนั้น พวกหัวเมืองต่างๆก็พากันกระด้าง
กระเดื่อง บางเมืองถึงขั้นยกทัพบุกอังวะเลยก็มี พระเจ้าปดุงจึงต้องทาสงครามปราบกบฎอยู่หลายปี แต่พระ
เจ้าปดุงนั้นทรงเชี่ยวชาญการศึกมากกว่ากษัตริย์องค์อื่นในราชวงศ์เดียวกันพระองค์ทรงสามารถปราบได้ทั้ง
พวกรามัญและไทยใหญ่ จากนั้นจึงทรงสร้างเมืองอมรบุระขึ้นเป็นราชธานีใหม่ แล้วยกทัพไปตีประเทศมณี
บุระทางฝ่ายเหนือ และยะไข่ทางตะวันตก ได้ทั้งสองประเทศ แผ่ขยายอาณาเขตได้มากกว่ารัชกาลอื่นๆที่ผ่าน
มา
พระเจ้าปดุงครองราชย์ได้สามปีก็คิดจะยกทัพมาตีประเทศไทย ให้ปรากฏเกียรติยศดังเช่นพระเจ้า
กรุงหงสาวดีบุเรงนอง ประกอบกับรบชนะมาทุกหัวเมืองทาให้ทหารมีความฮึกเหิมลาพองใจและได้รี้พล
เพิ่มเติมจากหัวเมืองต่างๆที่ตีได้ จึงหมายยกทัพใหญ่มาปราบให้ราบคาบเหมือนเมื่อคราวกรุงศรีอยุธยา

การจัดทัพของทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายพม่า
การจัดกาลังทัพของฝ่ายพม่า

ครั้นถึงวันพฤหัสบดี เดือนธันวาคม แรม ๔ ค่า ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๓๒๘ พระเจ้าปดุงสั่งเคลื่อนพลออก


จากเมาะตะมะ ซึ่งได้ยกทัพมาเป็นห้าทางตามที่พงศาวดารพม่าระบุคือ
ทางเส้นมะริด กาลังพล ๑๑,๐๐๐
ทางเส้นทวาย กาลังพล ๑๑ ,๐๐๐
ทางเส้นเชียงใหม่ กาลังพล ๓๓,๐๐๐
ทางเส้นระแหง กาลังพล ๕,๐๐๐
ทางด่านเจดีย์สามองค์พม่าเรียกทางเส้นไทรโยค มีกาลังรวม ๘๗ ,๙๐๐ แบ่งเป็นทัพช้าง ๕๐๐ ทัพม้า
๘,๔๐๐ และพลเดินเท้า ๗๙,๐๐๐ รวม ๑๔๗,๙๐๐๐
ส่วนพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่๑ฉบับเจ้าพระยาทิพพากรวงศ์ระบุไว้ว่าทัพพม่ายกมา ๑๐๓,๐๐๐
ส่วนพงศาวดารไทยรบพม่าของกรมพระยาดารงราชานุภาพระบุไว้ว่าพม่ายกทัพมา ๑๔๔,๐๐๐ จัดกระบวน
เป็นเก้าทัพคือ
ทัพที่๑ เมื่อแรกให้แมงยีแมงข่องกยอเป็นแม่ทัพแต่แมงยีแมงข่องกยอไม่อาจจัดหาเสบียงพอแกกองทัพเมื่อ
ทัพหลวงยกมาพระเจ้าปดุงจึงประหารเสียแล้วจึงยกเกงหวุ่นแมงยีมหาสีหะอัครมหาเสนาบดีเป็นแม่ทัพแทน
นายกองทัพย่อยมี๒ทัพได้แก่ ๑.นัดมีแลง,แปดตองจา,นัดจักกีโบ,ตองพะยุงโบ,ปะเลิงโบคุมพลตีเมืองชุมพร
เมืองไชยา ๒.ยี่วุ่น,บาวาเชียง,แวงยิงเดชะ,บอกินยอตีเมืองถลาง รวมจานวนคนทั้งหมด ๑๐,๐๐๐ ตีหัวเมือง
ฝ่ายใต้

ทัพที่ ๒ อนอกแฝกคิดหวุ่นเป็นแม่ทัพถือพล๑๐,๐๐๐ มาตั้งที่เมืองทวาย เดินทัพเข้าด่านบ้องตี้ตีราชบุรี


เพชรบุรีไปบรรจบกับทัพที่หนึ่งที่ชุมพร นายทัพย่อยมี๓ทัพได้แก่ ๑.ทวายวุ่น,จิกแก,มนีจอข้อง,สีหะแยจอ
ข้อง,เบยะโบยกทัพไปทางด่านเจ้าข้าว ๒.จิกสิบโบ,ตะเรียงยามะซู,มนีสินตะ,สุรินทะจอข้อง ๓.อนอกแฝก
คิดหวุ่น

ทัพที่ ๓ หวุ่นคยีสะโดะศิริมหาอุจจะนาเจ้าเมืองตองอูเป็นแม่ทัพถือพลสามหมื่นยกมาทางเชียงแสนมาตีเมือง
ลาปาง สวรรคโลก สุโขทัย พิษณุโลกลงมาบรรจบกับทัพใหญ่ที่กรุงเทพนายทัพย่อยมี เนมโยสีหซุย,ปันยีตะ
จองโบ,ลุยลั่นจองโบ,ปลันโบ,มัดชุนรันโบ,มิกอุโบ,แยจอนระทา,สาระจอซู

ทัพที่ ๔ เมียนหวุ่นแมงยีมหาทิมข่องเป็นแม่ทัพถือพล ๑๑,๐๐๐ ยกมาตั้งทัพที่เมาะตะมะเป็นทัพหน้าที่จะเข้า


สู่ด่านเจดีย์สามองค์ นายทัพย่อยประกอบด้วยกลาวุ่น,บิลุ่งยิง,สะเลจอ,ปิญาอู อากาจอแทง,ลันชังโบ,อะคุงวุ่น
,บันยีตะจอง,ละไมวุ่น,ซุยตองอากา

ทัพที่ ๕ เมียนเมหวุ่นเป็นแม่ทัพถือพล ๕,๐๐๐ มาตั้งที่เมาะตะมะเป็นทัพหนุนที่ ๔ นายทัพมี ยอยแหลกยาเย


ข้อง,จอกาโบ,จอกแยกาโบ,ตะเรียงบันยี

ทัพที่ ๖ ตะแคงกามะราชบุตรที่๒(ศิริธรรมราชา) เป็นแม่ทัพถือพล ๑๒,๐๐๐ มาตั้งที่เมืองเมาะตะมะเป็นทัพ


หน้าของทัพหลวงที่จะยกเข้ากรุงเทพทางด่านเจดีย์สามองค์ มีจานจุวุ่น,จิตกองสิริย,แยเลวุ่น,อะตอนวุ่นเป็น
นายทัพ

ทัพที่ ๗ ตะแคงจักกุราชบุตรที่๓(สะโดะมันซอ)เป็นแม่ทัพถือพล ๑๑,๐๐๐ มาตั้งที่เมาะตะมะเป็นทัพหน้าที่


สองของทัพหลวง นายทัพได้แก่ เมมราโบ,อะ กีตอ,อากาปันยี,มะโยลักวุน
ทัพที่ ๘ พระเจ้าปดุงเป็นจอมพลนาทัพหลวง ๕๐,๐๐๐ มาตั้งที่เมาะตะมะ แบ่งเป็น๕ทัพ
๑.พระเจ้าปดุงทัพกลาง
๒.อะแซวังมู ,จาวาโบ,ยะไข่โบ,ปะกันวุ่น,ลอกาซุนถ่อวุ่น,เมจุนวุ่นเป็นกองหน้า
๓.มะยอกวังมู ,อามะลอกวุ่น,ตวนแซงวุ่น,แลจาลอพวา,ยักจอกโบ,งาจูวุ่นเป็นปีกขวา
๔.ตองแมงวู ,แลกรุยกีมู,แลแซวุ่น,ยอนจูวุ่น,เยกีวา,สิบจอพวาเป็นปีกซ้าย
๕.อะนอกวังมู ,ระวาลักวุ่น,ออกกะมาวุ่น,โมกองจอพวา,โมเยียงจอพวา,โมมิกจอพวา ยกมาทางด่าน
เจดีย์สามองค์

ทัพที่ ๙ จอข่องนรทาเป็นแม่ทัพ(พงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่าซุยจองเวระจอแทงเป็นแม่ทัพ ) ยก
เข้ามาทางด่านแม่ละเมา มาตีเมืองตาก เมืองกาแพงเพชรลงมาบรรจบทัพหลวงที่กรุงเทพ แบ่งเป็นสองทัพคือ
๑.ทัพหน้ามีซุยจองเวระจอแทง,ซุยจองนรทา,ซุยจองสิริยะจอจะวา ๒.ทัพหลังมีจอข่องนรทา1

ทัพพม่าทั้งเก้านี้มีแผนที่จะตีหัวเมืองต่างๆของไทยทั้งทางทิศเหนือ ทิศตะวันตกและทิศใต้โดยจะมาบรรจบ
กัน๕ทัพที่กรุงเทพมหานคร หมายจะปิดล้อมจากสามทิศและเข้าตีให้ราบพนาสูรในคราวเดียวเหมือนเมื่อครั้ง
กรุงศรีอยุธยา ส่วนที่เหลืออีกสี่ทัพแบ่งตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ๒ทัพและหัวเมืองฝ่ายใต้สองทัพ

ฉบับนี้ กล่าวถึง สาเหตุของสงครามและการจัดทัพของพม่า ในฉบับต่อไปจะกล่าวถึง การจัดทัพของไทย


และการศึกที่สาคัญ ณ ทุ่งลาดหญ้า รออ่านกันต่อไปนะครับ

You might also like