You are on page 1of 3

เอกสารประกอบการเรียน ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา....

สมิงพระรามอาสา
ความเป็นมา
วรรณคดีเรื่อง ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา เป็นการทาสงครามระหว่างพม่ากับมอญ
เดิมต้นฉบับเป็นภาษามอญ แต่เนื่องจากเนื้อเรื่องมีความสนุกน่าสนใจ ให้ข้อคิดมากมายจึงได้มี
นักปราชญ์ ชาวไทยแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย ตั้งแต่ก่อนเสียกรุงเสียอยุธยาครั้งสุดท้าย
ภายหลังสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้น ครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้แปลและเรียบเรียงให้เรียบร้อยเสร็จสมบูรณ์อกี ครั้ง

ผู้เรียบเรียง
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ประวัติและผลงานของผู้เรียบเรียง
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บรมโกศเคยรับราชการเป็นหลวงสรวิชิต แล้วไปเป็นนายด่านเมืองอุทัยธานี ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุง
ธนบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้เลื่อนตาแหน่งเป็นพระยาพิพัฒน์โกษา และเป็นเจ้าพระยาพระคลัง
(หน) ผลงานที่สาคัญของท่านได้แก่ ราชาธิราช สามก๊ก ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก (กัณฑ์กุมาร และ
กัณฑ์มัทรี) บทมโหรีเรื่องกากี ลิลิตเพชรมงกุฎ และอิเหนาคาฉันท์ ท่านถึงแก่ อสัญกรรมเมื่อปี
พ.ศ. ๒๓๔๘

ลักษณะคาประพันธ์
เป็นวรรณคดีรอ้ ยแก้วแนวนิทานอิงประวัติศาสตร์

จุดประสงค์ในการแต่ง
รัชกาลที่ ๑ มีพระราชประสงค์ที่จะใช้วรรณคดีเรื่องนี้ให้เกิดประโยชน์ และพระบรมวงศานุ-
วงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทจะได้จดจาไว้เป็นคติบารุงสติปัญญา

เนื้อเรื่องย่อ
พระเจ้ากรุงต้าฉิงแห่งประเทศจีน ยกทัพมาล้อมกรุงอังวะ ต้องการให้พระเจ้ามณเฑียรทอง
ออกไปถวายบังคม และขอให้ส่งทหารออกมาขี่ม้าราทวนต่อสูก้ ันตัวต่อตัวกับกามะนีทหารเอกของเมือง
จีน ถ้าฝ่ายกรุงรัตนบุระอังวะแพ้ตอ้ งยกเมืองให้ฝ่ายจีน แต่ถ้าฝ่ายจีนแพ้จะยกทัพกลับทันที พระเจ้ากรุง
อังวะ ประกาศหาผู้ที่จะอาสาออกไปรบกับกามะนี ถ้าสามารถรบชนะกามะนีทหารเอกของเมืองจีน จะ
โปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ ให้เป็นพระมหาอุปราชและแบ่งสมบัติให้กึ่งหนึ่ง เมื่อสมิงพระรามทราบข่าว ก็คิดตึก

ครูไทยรัฐ โพธิพ์ ันธุ์ รส.บศ.


เอกสารประกอบการเรียน ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา....
2

ตรองว่า หากจีนชนะศึกครั้งนี้ จีนคงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีของตนต่อไปแน่ ควรคิดป้องกันไว้ก่อนจึง


อาสาออกรบแม้แรกๆ จะเกรงว่าการอาสารบนี้จะเป็น "หาบสองบ่า อาสาสองเจ้า" ก็ตาม โดยขอ
พระราชทานม้าฝีเม้าดีตัวหนึ่งและได้เลือกม้าของหญิงหม้าย สมิงพระรามนาม้าออกไปฝึกหัด ให้รู้จก
ทานองรบรับจนคล่องแคล่วสันทัดดี พร้อมทั้งทูลขอ ขอเหล็กและตะกรวยผูกข้างม้าในระหว่างการรบ
สมิงพระรามเห็นว่า กามะนีมีความชานาญด้านการรบเพลงทวนมาก และยังสวมหุ้มเกราะไว้แน่นหนา
สมิงพระรามจึงใช้อุบายว่าให้แต่ละฝ่ายแสดงท่าราให้อีกฝ่ายราตามก่อนที่จะต่อสู้กัน ทั้งนี้เพื่อจะคอย
หาช่องทางที่จะแทงทวนให้ถูกตัวกามะนีได้ เมื่อได้หลอกล่อให้กามะนีราตามในท่าต่าง ๆ จึงได้ช่องใต้
รักแร้กับบริเวณเกราะซ้อนท้ายหมวกที่เปิดออกได้ สมิงพระรามจึงหยุดราให้ต่อสู่กันโดยทาทีว่าสู้ไม่ได้
ขับม้าหนีของกามะนีเหนื่อย เมื่อได้ทีก็สอดทวนแทงซอกใต้รักแร้ แล้วฟันย้อนกลีบเกราะตัดศีรษะของ
กามะนีขาด แล้วเอาขอเหล็กสับใส่ตะกรวยโดยไม่ให้ตกดิน นามาถวายพระเจ้ามณเฑียรทองเมื่อฝ่ายจีน
แพ้ พระเจ้ากรุงจีนก็สั่งให้ยกทัพ กลับตามสัญญา พระเจ้ามณเฑียรทองพระราชทาน ตาแหน่งมหา
อุปราชและพระราชธิดา ให้เป็นบาทบริจาริกาแก่สมิงพระรามตามที่ได้รับสั่งไว้

การพิจารณาคุณค่า
๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ มีการใช้สานวนโวหารสูง แม้จะใช้ประโยคยาวแต่ใช้ถ้อยคาภาษา
และการเข้าประโยคที่สละสลวย
๑.๑ การใช้สานวนเปรียบเทียบที่คมคาย เช่น
“พระเจ้ากรุงจีนยกมาครั้งนีอ้ ุปมาดังฝนตกห่าใหญ่ตกลงน้านองท่วมป่าไหลเชี่ยวมาเมื่อวสันตฤ
ดูนั้นหาสิ่งใดจะต้านทานมิได้"
หมายถึง กองทัพของพระเจ้ากรุงจีนเป็นกองทัพที่ยิ่งใหญ่ไม่มีใครสามารถต้านทานได้
๑.๒ ใช้คาคมให้คติเตือนใจ เช่น
" เรารักสัตย์ยิ่งกว่าทรัพย์ อย่าว่าแต่สมบัติมนุษย์นี้เลย ถึงท่านจะเอาทิพยสมบัติของ สมเด็จอมรินทร์
มายกให้เรา เราก็มิได้ปรารถนา "
หมายถึง คนที่รักษาคาพูดถึงแม้จะนาทรัพย์อันมีค่ามาให้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
คาพูดที่เคยให้ไว้ได้"
๒. คุณค่าด้านสังคม ค่านิยม และความเชื่อ
๒.๑ ความเชื่อถือในเรื่องฤกษ์ เช่น ตอนพระเจ้ากรุงต้าฉิงยกทัมายังกรุงรัตนบุระอังวะ
ก็ต้องรอให้ฤกษ์ดกี ่อนจะยกทัพมาได้
๒.๒ ขนบธรรมเนียมในการส่งเครื่องราชบรรณาการไปเพื่อตอบแทน เมื่ออีกฝ่ายหนึ่ง
ประพฤติปฏิบัติตามที่ฝ่ายตนร้องขอ หรือส่งเครื่องราชบรรณาการไปเพื่อขอให้อีกฝ่ายหนึ่งทา
ตามที่ตนเองขอ เช่น การส่งพระราชสาส์นจากพระเจ้ากรุงต้าฉิง เพื่อจะให้พระเจ้าอังวะอยู่ใน
อานาจออกมาถวายบังคมและต้องการจะดูทหารราทวนขี่มา้ สู้กัน

ครูไทยรัฐ โพธิพ์ ันธุ์ รส.บศ.


เอกสารประกอบการเรียน ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา....
3

๒.๓ การรักษาสัจจะของบุคคลที่อยู่ในฐานะกษัตริย์ เช่น การรักษาคาพูดของพระเจ้า


กรุงต้าฉิง เมื่อกามะนีแพ้ก็ยกทัพกลับไปโดยไม่ทาอันตรายแก่ผู้ใดเลย ตามที่ได้พูดไว้
๒.๔ ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เช่น สมิงพระรามแม้จะอาสารบให้กับพระเจ้า
อังวะ แต่โดยใจจริงแล้วก็ทาเพื่อบ้านเมืองของตน และยังคงจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของ
ตน
๒.๕ การปูนบาเหน็จรางวัลให้แก่ ผู้ทาคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ เป็นการสร้าง
กาลังใจและผูกใจคนไว้ได้ ดังตอนที่พระเจ้าอังวะให้เหตุผลต่อสมิงพระราม เมื่อสมิงพระรามไม่
รับบาเหน็จจากการอาสารบ
"อนึ่งเราเกรงคนทั้งปวงจะครหานินทาได้ ท่านรับอาสากู้พระนครไว้มีความชอบเป็นอันมาก
มิได้รับบาเหน็จรางวัลสิ่งใด นานไปเบื้องหน้าถ้าบ้านเมืองเกิดการจลาจล หรือข้าศึกมาย่ายีเหลือกาลัง
ก็จะไม่มีผู้ใดรับอาสาอีกแล้ว"
ด้วยเหตุผลของพระเจ้าอังวะข้างต้น สมิงพระรามจึงต้องรับรางวัลในครั้งนี้

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
๑. คนดีมีความสามารถแม้อยู่ในเมืองศัตรูก็ยังมีคนเชิดชูได้เสมอ
๒. ผู้เป็นกษัตริย์ย่อถือความสัตย์เป็นสิ่งประเสริฐที่สุด
๓. ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย เช่น กามะนี
๔. ผู้ทีทากิจโดยอาศัยปฏิภาณไหวพริบและความสามารถเฉพาะตนจะประสบ
ความสาเร็จในชีวิตได้
๕. บ้านเมืองที่ประกอบไปด้วยกษัตริย์ ที่อยู่ในความสัตย์ เสนาอามาตย์มีความ
สามัคคี เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา และทหารที่มีความสามารถในการรบจัดเป็นบ้านเมืองที่
แข็งแกร่ง เป็นที่เกรงขามของประเทศทั่วไป และจะสามารถดารงเอกราชไว้ตราบนานเท่า
นาน

ครูไทยรัฐ โพธิพ์ ันธุ์ รส.บศ.

You might also like